คลังเรื่องเด่น
-
แนะนำวิธีสนทนาธรรมต่อกันให้เกิดบุญ
แนะนำวิธีสนทนาธรรมต่อกันให้เกิดบุญ
สนทนาธรรมตามกาล
การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดด้วยจิตเมตตา เป็นที่มาแห่งความเจริญก้าวหน้าของวิชาการทางโลกฉันใด การสนทนาธรรมตามกาลด้วยความเคารพในธรรม ก็ย่อมนำมาซึ่งสติปัญญาอันเป็นหนทางเพื่อความพ้นทุกข์ฉันนั้น
ทำไมจึงต้องสนทนาธรรมตามกาล ?
"ปญฺญา นารนํ รตนํ
ปัญญาเป็นรัตนะของคน"
นี่คือพุทธพจนะที่แสดงให้เห็นถึงคุณค่า ของปัญญา เพราะชีวิตคนนั้นมีปัญหามาก ปัญหาเหล่า นั้นล้วนต้องแก้ด้วยปัญญา ใครมีมากก็เหมือนมี แก้วสารพัดนึกไว้ในตัว ย่อมสามารถฝ่าฟันอุปสรรค ปัญหาต่าง ๆ ได้โดยง่าย
ปัญญาเกิดได้จาก 2 เหตุคือ
1. จากการฟังธรรมของกัลยาณมิตร ผู้มีปัญญารู้จริง
2. จากการพิจารณาไตร่ตรองโดยแยบคาย
วิธีลัดที่จะทำให้เกิดปัญญาอย่างรวด เร็ว คือ การสนทนาธรรมตามกาล ซึ่งเป็นการบังคับให้ ตนเองต้องทั้งฟังทั้งพูด ต้องเป็นนักฟังที่ ดี ฟังผู้อื่นพูดด้วยความตั้งใจ ฟังแล้วก็ต้อง พิจารณาไตร่ตรองโดยแยบคายตามไปทันที สงสัยอะไร ก็สามารถซักถามได้ นอกจากนั้นถ้าตนเองมี ความรู้ในธรรมะเรื่องใดก็นำมาพูดเล่าสู่ ให้ผู้อื่นฟังได้ด้วย
แต่ทั้งหมดนี้จะต้องทำอย่างระมัดระวัง... -
สร้างองค์ปฐมชีวิตนี้ไม่ตกนรกแน่นอนจริงหรือเปล่าครับ ?
ถาม : แล้วที่ผมเคยได้ยินมาครับว่า สร้างองค์ปฐมชีวิตนี้ไม่ตกนรกแน่นอนจริงหรือเปล่าครับ ?
ตอบ : ถ้าไม่ทำอนันตริยกรรม คือกรรมหนักไม่สามารถแก้ไขได้ ๕ ประการตัวอย่างคือ ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ฆ่าพระอรหันต์ ทำร้ายพระพุทธเจ้าถึงห้อพระโลหิต หรือยุสงฆ์ให้แตกกัน ถ้าไม่ได้ทำกรรมหนัก ๕ อย่างนี้ บุคคลที่ร่วมสร้างสมเด็จองค์ปฐม พระยายมท่านรับปากว่าจะพยายามประคับประคองกำลังใจให้นึกถึงด้านบุญให้ได้ คนที่ทำบุญนี้จะต้องนึกถึงด้านบุญก่อน
ถาม : นั่นน่ะซิครับ ถ้าอย่างนี้ตอนจะตายไม่คิดอะไรก็ ....?
ตอบ : ท่านจะบังคับให้คิด ถ้าไม่คิดก็ตีกบาล (หัวเราะ) ยังไงก็ต้องคิดดีให้ได้ เรื่องอำนาจของเทวดา ของพรหมเรื่องบังคับความคิดของเรานี่เป็นเรื่องที่หมูที่สุดของท่านเลย แต่เนื่องจากว่าท่านเองท่านจะไม่ยุ่งกับเราในสิ่งที่เกินกฏของกรรม เหตุที่ท่านรับปากได้เพราะว่าอานิสงส์ที่เราสร้างมันสูงมาก ในเมื่อมันสูงมากท่านก็สามารถจะช่วยได้หน่อย ยังไง ๆ ก็อย่าชั่วมากก็แล้วกัน
ถาม : การสร้างพระใหญ่นี่ระหว่างสมเด็จองค์ปฐมกับพระพุทธรูปองค์อื่นอานิสงส์จะเท่ากันหรือต่างกันครับ ?
ตอบ : มันก็จะหนักเบาไปตามบารมีของท่าน
ถาม :... -
" เมตตา แผ่ให้ได้ผล "
พุทธศาสตร์ศึกษาโดยวิธีอุปมาอุปมัย
เรื่อง "วิธีทำบุญให้ได้ผลที่สุด" (ตอนที่ ๕ การแผ่เมตตา)
พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์
ข้อปฏิบัติประการหนึ่งที่จะขาดไม่ได้ของผู้ที่ปฏิบัติธรรม หลังจากการสวดมนต์ภาวนา และปฏิบัติกัมมัฏฐานแล้ว คือ "การสวดแผ่เมตตา" ซึ่งมีบทสวดเป็นภาษาบาลีที่อ่านเป็นไทยได้ว่า "สัพเพ สัตตา สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ สัพเพ สัตตา อัพยาปัชฌา โหนตุ สัพเพ สัตตา อะนีฆา โหนตุ สัพเพ สัตตา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ" แปลเป็นไทยได้ว่า "สัตว์โลกทั้งหลายที่เป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น จงอย่ามีเวรซึ่งกันและกันเลย จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด จงอย่าพยาบาท เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย จงอย่ามีความลำบาก จงอย่ามีความเดือดร้อน จงอย่ามีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย"
การสวดแผ่เมตตานี้เป็นบุญกิริยาอย่างหนึ่งจัดอยู่ในประเภท "การทำทาน" ดังที่ได้กล่าวไว้ในตอนที่ ๒ และเป็นกิจกรรมที่มีส่วนช่วยให้เจตสิกของท่านผู้นั้นได้รับการฝึกและพัฒนาเกิดเป็น "อัปปมัญญาเจตสิก" ที่เฝ้าคอยกระตุ้นจิตให้ระลึก มีอารมณ์มีความสงสารเห็นใจผู้ที่กำลังได้รับทุกข์เวทนา... -
เน้นหนักที่การปฏิบัติ - คำสอนหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
หลวงปู่ดู่ท่านให้ความสำคัญอย่างมากในเรื่องของการปฏิบัติสมาธิภาวนา ท่านว่า "ถ้าไม่เอา (ปฏิบัติ) เป็นเถ้าเสียดีกว่า" ในสมัยก่อนเมื่อตอนที่ศาลาปฏิบัติธรรมหน้ากุฏิท่านยังสร้างไม่เสร็จนั้น ท่านก็เมตตาให้ใช้ห้องส่วนตัวที่ท่านใช้จำวัด เป็นที่รับรองสานุศิษย์ และผู้สนใจได้ใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรม ซึ่งนับเป็นความเมตตาอย่างสูง
สำหรับผู้ที่ไปกราบนมัสการท่านบ่อยๆ หรือมีโอกาสได้ฟังท่านสนทนาธรรม ก็คงได้เห็นลีลาการสอนของท่าน ที่จะโน้มน้าวผู้ฟังให้วกเข้าสู่การปรับปรุงแก้ไขตนเอง เช่น ครั้งหนึ่งมีลูกศิษย์วิพากษ์วิจารณ์คนนั้นคนนี้ ให้ท่านฟังในเชิงว่ากล่าว ว่าเป็นต้นเหตุของปัญหาและความยุ่งยาก แทนที่ท่านจะเออออไปตาม อันจะทำให้เรื่องยิ่งบานปลายออกไป ท่านกลับปรามว่า "เรื่องของคนอื่น เราไปแก้เขาไม่ได้ ที่แก้ได้คือตัวเรา แก้ข้างนอกเป็นเรื่องโลก แต่แก้ที่ตัวเราเป็นเรื่องธรรม"
แม้ว่าหลวงปู่ดู่จะรับรองในความศักดิ์สิทธิ์ของพระเครื่องที่ท่านอธิษฐานจิตให้ แต่สิ่งที่ท่านยกไว้เหนือกว่านั้นก็คือ การปฏิบัติ ดังจะเห็นได้จากคำพูดของท่านที่ว่า "เอาของจริงดีกว่า พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ นี่แหละของแท้"... -
อรูปฌาณเป็นสัมมาสมาธิหรือไม่? ทำไมพระไตรปิฎกกล่าวถึงแต่รูปฌาณ...ขอความรู้ครับ
สัมมาสมาธิในอริยมรรคมีองค์ 8 ก็คือ ฌาน1-4 ทำไมอรูปฌานจึงไม่จัดอยู่ในหมวดของสัมมาสมาธิในอริยมรรคมีองค์ 8 ล่ะครับ -
พระบางรูปบรรลุอรหันต์ แต่ท่านพูดไม่เพราะ เพราะอุปนิสัย (เราควรระวังอย่าตำหนิท่าน)
พระบางรูป บรรลุธรรมะแล้ว แต่ท่านอาจพูดไม่เพราะ เป็นเพราะอุปนิสัยของท่าน อย่าคิดว่าท่าน
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕
ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๖. ปิลินทวัจฉสูตร
[๗๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล
ท่านพระปิลินทวัจฉะย่อมร้องเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยคำพูดว่าคนถ่อย ครั้งนั้นแล ภิกษุมากด้วยกัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ี่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระปิลินทวัจฉะย่อม ร้องเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยคำพูดว่าคนถ่อย ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งว่า ดูกรภิกษุ เธอจงไปเรียกปิลินทวัจฉภิกษุมาตามคำของเราว่า ดูกรอาวุโสวัจฉะ พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน
ภิกษุนั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้วเข้าไปหาท่านพระปิลินทวัจฉะถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านปิลินทวัจฉะว่าดูกรอาวุโส พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน ท่านพระปิลินทวัจฉะรับคำภิกษุนั้นแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ... -
วิธีการทรงฌานในพรหมวิหาร ๔
วิธีการทรงฌานในพรหมวิหาร ๔
ท่านโยคาวจรทั้งหลาย วันนี้บรรดาท่านทั้งหลายได้พากันสมาทานศีล สมาทานพระกรรมฐานแล้ว โปรดตั้งใจสดับเรื่องราวของพรหมวิหาร ๔ ต่อไป
สำหรับการเจริญพระกรรมฐานเพื่อหวังมรรคผล หรือว่าเพื่อฌานสมาบัติ หรือว่าเพียงแค่จิตสงบ ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน อย่าลืมกฎสำคัญในพระพุทธศาสนาที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาทรงตรัสไว้
" บุคคลใดที่คล่องในอิทธิบาท ๔ หมายความว่าเป็นผู้มีความชำนาญในอิทธิบาท ๔
บุคคลนั้นจะทำอะไรก็ตามจะมีผลสำเร็จทุกอย่าง "
ฉะนั้น ขอท่านทั้งหลายที่ตั้งใจสร้างความดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งความดีที่ท่านทั้งหลายตั้งใจทำกัน นั่นก็คือ ความดีแห่งการหมดทุกข์ แต่ทว่า ท่านทั้งหลายจงอย่าลืมความรู้สึกของท่าน คือ สติสัมปชัญญะและปัญญา ก่อนที่จะพูดก่อนที่จะทำอะไร ใช้สติเป็นเครื่องระลึก ใช้สัมปชัญญะเป็นเครื่องรู้ตัว ใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเสียก่อน ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าแม้แต่การสอนพระกรรมฐาน เราสอนกันอยู่เป็นปกติ ฟังกันเป็นปกติ แต่ก็มีความรู้สึกอยู่ว่าบางท่านขาดสติสัมปชัญญะอยู่มาก และบางรายก็ไร้ทั้งสติสัมปชัญญะและก็ปัญญา อาการที่แสดงออกมาจากการพูดก็ดี จากการกระทำก็ดี... -
หลวงปู่คำคะนิงพบนางแบบลงนรก
หลวงปู่คำคะนิงเดินเที่ยวชมเมืองนรกต่อไป เห็นสถานที่แห่งหนึ่ง สว่างไสวรุ่งเรืองดุจแสงฟ้าแลบอยู่แปลบปลาบ เป็นยกพื้นเวทีกว้างคล้ายสะพานทอดยาวโค้งลงไปในสระน้ำอันกว้างใหญ่ สระน้ำนั้นลุกไหม้เป็นเปลวไฟแดงฉานโชติช่วง น่าสะพรึงกลัว ก็รู้ว่าเป็นขุมนรก
บนสะพานนั้นมีหญิงสาวรูปร่างอรชรสวยงามจำนวนมาก พากันเดินออกจากเวทีมีม่านผืนใหญ่มหึมา หญิงสาวเหล่านั้นแต่งกายด้วยเสื้อผ้าอาภรณ์สวยงาม เดินนวยนาดลงจากเวที ทอดแขนทอดขามาตามสะพาน
จ่ายมบาลอธิบายว่า มนุษย์ผู้หญิงเหล่านี้เป็นพวกนางงามนางแบบ กำลังเดินโชว์ร่างกายและเสื้อผ้า หลวงปู่คำคะนิงยืนงุนงงประหลาดใจยิ่ง
นางงาม นางแบบ เสื้อผ้าอาภรณ์อันสวยงามฉูดฉาดสะดุดตาเหล่านั้น เดินเรียงรายตามกันออกไปยืนอยู่กลางสะพาน แล้วเยื้องกรายเปลื้องเสื้อผ้าออกก่อน เหลือแต่ร่างเปลือยล่อนจ้อนอุจาดนัยน์ตา แต่ละนางร่างสวยงามด้วยส่วนสัดปานนางฟ้า
จากนั้นก็มีนกอินทรีตัวใหญ่บินมาจากไหนไม่รู้ นัยน์ตานกอินทรีแดงฉานพวยพุ่งออกมาเป็นเปลวไฟ มันบินมาตรงหน้าหญิงสาวแต่ละนางที่ยืนเปลือยกายอยู่
แล้วใช้จะงอยปากอันคมกริบจิกเข้าที่หน้าผากหญิงสาว กระชากทีเดียว... -
พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องนิพพานอย่างไร (ค้นคว้าโดย มรว.เสริมศุขสวัสดิ์)
คำถาม เรื่องนิพพานสูญกับนิพพานไม่สูญ อีกเรื่องหนึ่งทุ่มเถียงกันมาก มีคนเขาว่าพระอรหันต์ หรือพระพุทธเจ้า เมื่อท่านนิพพานไปแล้วก็ไม่มีแล้ว จะเอามาพูดกันได้ยังไงว่า มาแสดงให้ปรากฏอีกได้
คำตอบ เรื่องนิพพานนี้หลวงพ่อท่านก็เทศน์ก็สอนไว้แล้วว่า ไม่สูญ แต่ถ้าจะเอาหลักฐานจากพระไตรปิฎก จะค้นมาให้ดูก็ได้ พวกนิพพานสูญ ไม่รู้เขา ไปเอามาจากไหนกัน เห็นแต่อ้างว่า พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า "นิพพานัง ปรมัง สุญญัง" เมื่อสูญก็แปลว่า หายไป ไม่มีแล้ว แต่พวกนี้แปลก ก็ที "นิพพานัง ปรมัง สุขขัง"
ไม่ยักยกมาพูด ได้กล่าวมาแล้วว่า พระพุทธเจ้า พูดไม่ผิด และ ค้านไม่ได้ แย้งกันเองก็ไม่ได้ ตามหลักก็ ต้องถือว่า เป็นเช่นนั้นทั้งคู่ สุญญัง ด้วย สุขขัง ด้วย
คำว่า สุญญัง นี้ หลายท่านแปลว่า ว่าง ไม่แปลว่า สูญหายไป ว่างจากกิเลสอย่างยิ่ง ลองค้นดูใจ ความเกี่ยว กับคำว่า ดับ ว่า สูญ นี้จะพบหลายแห่ง
เล่ม 1 หน้า 3
"เรากล่าวความขาดสูญแห่งราคะ โทสะ โมหะ" สูญ คือ หายไปขาดคือสิ้น ไม่มีทางเกิดอีก เช่นนี้กระมัง
เล่ม 11 หน้า 46
"พระผู้มีพระภาคนั้นเป็นผู้ดับแล้ว ย่อมแสดงธรรมเพื่อความดับ" ความดับในที่นี้จะแปลว่าสูญก็ไม่ได้... -
คาถาบูชาหลวงปู่ใหญ่พระครูธรรมเทพโลกอุดร
คาถาบูชาหลวงปู่ใหญ่พระครูธรรมเทพโลกอุดร
โย อะริโย มะหาเถโร อะระหัง อะภิญญาธะโร
ปะฎิสัมภิทัปปัตโต เตวิชโช พุทธะสาวะโก
พะหู เมตตาทิวาสะโน มะหาเถรานุสาสะโก
อะมะตัญเญวะ สุชีวะติ อะภินันที คุหาวะนัง
โส โลกุตตะโร นาโม อัมเหหิ อะภิปูชิโต
อิธะ ฐานูปะมาคัมมะ กุสะเล โน นิโยชะเย
ปุตตะเมวะ ปิยัง เทสี มัคคะผะลัง วะ เทสสะติ
ปะระมะสารีริกะธาตุ วะชิรัญจาปิวานิตัง
โส โลเก จะ อุปปันโน เอเกเนวะ หิตังกะโล
อะยัง โน โข ปุญญะลาโภ อัปปะมัตโต ภะเวตัพโพ
สาธุกันตัง อะนุกะริสสามะ ยัง วะเรนะ สุภาสิตัง
โลกุตตะโร จะ มะหาเถโร เทวะตานะระปูชิโน
โลกุตตะระคุณัง เอตัง อะหัง วันทามิ ตัง สะทา
มะหาเถรานุภาเวนะ สุขัง โสตถีภะวันตุเม -
หลวงปู่ดู่สอนศิษย์เรื่อง กรรมทางวาจา
หลวงปู่ดู่สอนศิษย์
หลวงปู่ท่านมักกล่าวถึงมงคลที่สำคัญที่ท่านอยากให้ลูกศิษย์ได้
นำไปปฏิบัติ คือ มงคล 38 ประการ มงคลที่ท่านพูดถึงบ่อย ๆ
นั่นคือ สัมมาวาจาชอบ คือ พูดแต่สิ่งที่เป็นมงคล
ท่านว่าคนส่วนมากมักสร้างกรรมทางวาจา เพราะกรรมนี้สร้างได้ง่าย
แต่เขาไม่รู้หรอกว่าผลของกรรม เมื่อส่งผลจะร้ายแรงเพียงไร
คำพูดนั้นสำคัญมาก บางคนพูดไม่ดีกับผู้อื่น
จนเป็นเหตุถึงโกรธเกลียดกันชั่วชีวิตก็มี
บางรายคำพูดเพียงไม่กี่คำ ก็ทำให้ไม่พูดกันไปหลายปี
คนส่วนมากที่ขึ้นโรงขึ้นศาล หรือทะเลาะกันจนไปถึงฆ่ากันตาย
ก็เพราะคำพูดที่ไม่ดีนี่แหละ
หลวงปู่ท่านสอนอยู่เสมอว่า อย่าไปพูดไม่ดีกับใครเขา
ถ้ามีคนมาว่าหรือด่าเราแต่เราไม่ว่าหรือด่าเขาตอบมันก็จะไม่มีเรื่องกัน
แต่ถ้าแกไปด่าเขาเมื่อไรนั่นแหละเรื่องใหญ่ ท่านสอนศิษย์เสมอว่า
อย่าไปพูดทำลายความหวังของใครเขา
เพราะนั้นอาจจะเป็นความหวังเดียวที่เขามีอยู่
ถ้าแกไปพูดเข้าเมื่อไหร่กรรมใหญ่จะตกแก่ตนเอง
ท่านบอกไว้อีกว่า คนที่ชอบด่าหรือใส่ร้ายผู้อื่นรวมไป
ถึงการพูดไม่ดีต่าง ๆ กับคนอื่นนั้น กรรมจะมาเร็วมาก
เขาผู้นั้นจะเป็นคนที่มีศัตรูทั้งภายนอกและภายใน
ไม่เป็นที่รักของคนทั่วไป... -
อานิสงส์ของการเพ่งกสิณ
อานิสงส์ของการเพ่งกสิณ
Advantage of Kasina's Meditation
การทำสมาธิด้วยวิธีเพ่งกสิณ ถือว่าเป็นกรรมฐานอันดับหนึ่งที่ให้จิตมีอานุภาพเกิดขึ้นมากมายยิ่งกว่ากรรมฐานอย่างอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่เกี่ยวอภิญญาอภินิหารทั้งหลาย ล้วนแต่เกิดขึ้นจากอำนาจของกสิณทั้งสิ้น ยกตัวอย่างอภิญญาที่เกิดขึ้นกับพระพุทธองค์และพระสาวกทั้งหลาย โดยมากจะเกิดด้วยอำนาจของกสิณ ทั้งที่เกิดขึ้นด้วยกสิณที่เจริญโดยตรงในชาตินี้ และทั้งที่เกิดโดยอ้อมจากกสิณในอดีตชาติส่งให้เกิดเมื่อบรรลุธรรมถึงที่สุดแล้ว ตามหลักฐานแล้วผู้เพ่งกสิณอย่างใดอย่างหนึ่งมามีอานิสงส์ที่จะได้จากการเพ่งกสิณหลายอย่างด้วยกัน คือ
อานิสงส์ข้อที่ 1 การเพ่งกสิณสามารถทำจิตให้เป็นสมาธิได้เร็ว และตั้งมั่นอยู่ได้นานกว่ากรรมฐานอื่น ๆ ทั้งหมด ทั้งนี้เพราะการเพ่งกสิณเป็นการฝึกจิตด้วยวิธีการใช้กสิณเป็นสื่อเพื่อดึงจิตให้จับอยู่กับกสิณนั้น ๆ และเมื่อจิตจับอยู่กับกสิณนั้นนานๆ จิตจะสามารถเก็บเอาภาพของกสิณนั้นเข้าไปไว้ในสัญญาของเราได้ ภาพที่จิตของเราเก็บเอามาจากกสิณนั้น เราเรียกว่า นิมิต (Mental Image) ซึ่งถ้าหากจิตเก็บไว้ได้ดีภาพนั้นจะชัดเจนมาก... -
ตีกันเพราะกรรมเก่า .......สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี
ตีกันเพราะกรรมเก่า
ต่อมาครั้งหนึ่ง พระวัดระฆังเกิดทะเลาะกันรุนแรงถึงขั้นลงไม้ลงมือตีกันหัวแตก องค์ที่ถูกตีมาฟ้องเจ้าประคุณสมเด็จฯ ให้ช่วยชำระคดีให้ที แต่ท่านบอกกับพระองค์นั้นว่า
"คุณตีเขาก่อนนี่จ๊ะ"
"กระผมไม่ได้ตี มีคนเป็นพยานได้" พระรูปนั้นเถียง
ท่านก็ยังยืนยันว่า คุณตีเขาก่อน อยู่นั่นเอง
พระรูปนั้นไม่พอใจ จึงไปฟ้องสมเด็จพระวันรัต (เซ่ง) วัดอรุณ ว่าเจ้าประคุณสมเด็จฯ โต ไม่ยอมให้ความเป็นธรรม เราถูกตีก็บอกว่าเราตีเขาก่อน ทั้งทีไม่ได้ตีเลย
สมเด็จพระวันรัตจึงถามเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านก็ยังยืนยันคำพูดเดิม สมเด็จพระวันรัตจึงถามว่า รู้ได้อย่างไรว่าพระองค์นี้ตีเขาก่อน
ท่านก็ตอบว่า รู้ได้ตามพระพุทธภาษิตว่า "เวรไม่ระงับเพราะการจองเวร นี่เป็นเวรต่อเวรมันตอบแทนกัน" (หมายถึงองค์ที่ถูกตีนั้น เมื่อก่อน-ชาติก่อนเคยตีเขามาก่อนแล้ว)
"ถ้าอย่างนั้น ท่านจงรับภาระช่วยระงับอธิกรณ์นี้ อย่าให้เป็นเวรกันเถอะ"
ท่านจึงให้โอวาทว่า ให้ตั้งอยู่ในสมณสัญญา มีหิริโอตตัปปะ และไม่พึงจองเวรอาฆาตมาดร้ายกันต่อไป แล้วท่านก็เอาเงินทำขวัญให้แก่พระที่ถูกตี 12 บาท บอกว่า ท่านทั้งสองไม่มีความผิด ฉันเป็นผู้ผิด... -
เมื่อท่านเจ้าคุณนรถอดกายทิพย์
เมื่อท่านเจ้าคุณนรฯ ถอดกายทิพย์
วันหนึ่งได้มีคุณหญิงผู้หนึ่งมาพบท่าน คุณหญิงผู้นี้เป็นนักวิปัสสนา ได้ไปนั่งวิปัสสนาอยู่ที่อยุธยา
ขณะที่นั่งวิปัสสนานี้ไม่ก้าวหน้าทางวิปัสสนา การนั่งไปติดอยู่ ซึ่งเกิดจากอะไรผมก็ไม่เข้าใจ เพราะไม่ได้ศึกษามาทางด้านนี้เลย
และปรากฏว่าคืนวันหนึ่ง ขณะที่ท่านนั่งทำสมาธิได้พบท่านธมฺมวิตกฺโก(ท่านเจ้าคุณนรฯ) และท่านธมฺมวิตกฺโก ได้แนะนำเกี่ยวกับเรื่องการนั่งวิปัสสนา ทำให้คุณหญิงผู้นี้นั่งวิปัสสนาก้าวหน้าต่อไปได้
จึงมาหาท่านและมาขอบคุณที่กรุณาแนะนำ เรื่องนี้ท่านธมฺมวิตกฺโกไม่ตอบรับหรือปฏิเสธเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร ได้แต่รับฟัง และบอกว่าดีแล้วที่ก้าวหน้า และ สั่งว่าไม่ต้องมาหาอีก เพราะฝึกได้ก้าวหน้าและให้พรไป
วันหนึ่งขณะที่กำลังจะลงโบสถ์ตอนเย็น ได้มีชายคนหนึ่ง เข้าไปกราบท่านธมฺมวิตกฺโก ท่านได้หยุดทักทายแล้วก็ไปลงโบสถ์
เมื่อออกจากโบสถ์แล้ว ท่านได้เล่าว่าชายคนนั้นเคยบวชที่วัดเทพศิรินทร์ และได้รู้จักกับท่าน
หลังจากลาสิกขาไปแล้ว ได้ไปกับเพื่อนนายตำรวจไปตรวจดู ตามสถานที่ต่าง ๆ ได้ถูกทำร้าย และถูกเชือดคอ ชายคนนั้นได้นึกถึงท่านธมฺมวิตกฺโก... -
อานิสงส์ของการปิดทอง
อานิสงส์ของการปิดทอง
การใช้ทองคำเปลวปิดลูกนิมิต หรือ ปูชนียวัตถุอื่นๆ ในครั้งพุทธกาล คงยังไม่เคยมีปรากฎ จึงไม่พบหลักฐานในพระไตรปิฎก ในพระไตรปิฎก มีแต่หลักฐานแสดงว่าใช้ทองฉาบทาพระสถูปเจดีย์ของพระพุทธเจ้าถวายเป็นพุทธบูชา อานิสงส์ของการฉาบทาทองที่พระเจดีย์เป็นพุทธบูชา ด้วยจิตใจศรัทธาเลื่อมใสเต็มเปี่ยมนั้น มีไพศาลประมาณไม่ได้ นับไม่ได้ ดังเรื่องของพระมหากัจจายนเถระ พระอรหันตสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งมีร่างกายงดงาม มีผิวพรรณผ่องผุดประดุจทอง ยกเว้นพระพุทธเจ้า พระองค์ เดียวเท่านั้น ยากที่จะหาใครเสมอเหมือนท่านได้ ผู้ที่พบเห็นท่านย่อมที่จะตะลึงแลนิยมชมชอบท่านไม่ได้ ในมหากัจจายนเถราปาทาน ท่านพระมหากัจจายนเถระ ได้แสดงอดีตชาติาของท่านให้ทราบว่า ท่านได้ทำบุญด้วยการใช้ทองฉาบทาพระเจดีย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตระ พร้อมกั้นฉัตรแก้ว และใช้พัดวาล วิชนี พัดถวายพระพุทธเจ้า จึงได้ผลอันเลิศกล่าวคือ ได้เสวยเทวรัชสมบัติ 30 กัป ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่า ปภัสสระ ต่อมาได้มาเกิดเป็นมนุษย์ก็เป็นกษัตริย์ มีรัตนะ 8 ประการโชติช่วงอยู่โดยรอบตลอดเวลา... -
ประสบการณ์โลกทิพย์...เสือ...กลัว...หลวงปู่ตื้อ (01)
เสือกลัวหลวงปู่ตื้อ
หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม เป็นลูกศิษย์ท่านอาจารย์มั่นองค์หนึ่ง มีจิตใจกล้าหาญชาญชัยมาก ท่านมีอายุพรรษามากกว่าหลวงตา ในเรื่องที่ว่าเสือเกรงกลัวท่านนั้น หลวงตาเล่าถึงที่มา ดังนี้
"...อย่างหลวงปู่ตื้อ ดังที่ผู้เฒ่าเล่าให้ฟัง คือคาถาของผู้เฒ่าเป็นคาถาที่ทำให้เสือใจอ่อน กลัว ใจไม่มีกำลังจะต่อสู้ คาถามันครอบเอา อำนาจของคาถาครอบเอาไว้ เสือใจอ่อนลงไปเลย ทำอะไรไม่ได้ ท่านมีคาถาขู่เสือ เป็นครูเสือก็ได้ ขู่เสือก็ได้...หากครูแบบหนึ่งเป็นครูแบบพระ ไม่ได้ขี่เสือ
หลวงปู่ตื้อ บ้านข่า สามผง เราเคยไปพักอยู่เหมือนกัน แต่ก่อนไปภาวนา เสือชุมมากแถวนั้น หลวงปู่ตื้อท่านมีคาถาเป็นครูเสือ ไปอยู่ไหน เสือมักมานอนเฝ้าอยู่รอบๆ ข้างๆ ที่พักท่าน ท่านไปอยู่แม่ฮ่องสอนไปอยู่ในป่า เสือก็มาอยู่ด้วย เสือโคร่งใหญ่นะ มันมาแอบอยู่ด้วย
ผู้เฒ่าไม่ได้สนใจกลัวมันแหละ เพราะเป็นครูมัน คนอื่นนั่นซิ พระไปอยู่ด้วย พอดีกลางคืนพระปวดเบาจะออกมาเบา ออกมาเสือมันนอนอยู่ข้างๆ เสือฮ่าๆ ใส่ เสียงร้องจ้าวิ่ง
"มันไม่มีอะไร มันจะเป็นอะไร มันไม่เป็นไรแหละ" หลวงปู่ตื้อบอก
"ไม่เป็นไร มันตื่น บางทีมันอาจทักทายเฉยๆ ก็ได้"... -
พระอดีตวงศ์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้มาตรัสรู้ในอดีตกาล
พระอดีตวงศ์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ที่ได้มาตรัสรู้ในอดีตกาลอันยาวนานหาที่สุดไม่ได้
พระพุทธองค์ทรงกล่าวไว้ว่า จำนวนพระพุทธเจ้ามีมากมาย
กว่าจำนวนเม็ดทรายในมหาสมุทร
เรียนเชิญผู้สนใจศรัทธาทุกๆท่านมาร่วม
ศึกษาและหาข้อมูลเท่าที่พอจะหาได้เกี่ยวกับ
พระพุทธเจ้าในอดีตกาลย้อนหลังไปอนึงเพื่อระลึกถึง
พระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์
ในอดีตที่ได้มาตรัสรู้อันเป็นกระแสสายธารแห่งพุทธวงศ์
และเหล่าหน่อเนื้อพุทธภูมิมาจนถึงปัจจุบัน
และเรื่อยไปถึงเหล่าพุทธวงศ์ในอณาคต
ทั้งนี้ขอเรียนเชิญท่านทั้งหลายมาศึกษา
เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตกาล
เพื่อได้รับทราบถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตกาล
และเพื่อน้อมถวายเป็น พุทธบูชา ธรรมะบูชา สังฆะบูชา
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทนามิ...
น้อมถวายเป็น พุทธบูชา ธรรมะบูชา สังฆบูชา
แก่พระรัตตรัย แต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคต -
สิ่งที่สูงกว่าพระเจ้าจักพรรดิและพระพุทธเจ้า
ปัญหา พระเจ้าจักพรรดิและพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอาศัยอะไร ในการปฏิบัติภาระหน้าที่ของพระองค์ ?
พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักพรรดิผู้ทรงธรรมเป็นธรรมราชา ทรงอาศัยธรรมนั่นเอง สักการะธรรม เคารพธรรม ยำเกรงธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษาป้องกัน คุ้มครอง กษัตริย์ผู้ตามเสด็จ กองทัพพราหมณ์ และคฤหบดีชาวนิคมและชาวชนบท สมณะและพราหมณ์ เนื้อและนก ด้วยธรรม ย่อมทรงหมุนจักรให้เป็นไปด้วยธรรมเท่านั้น จักรที่มนุษย์ ข้าศึก หรือสัตว์ใด ๆ จะหมุนไปไม่ได้ฉันใด
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงธรรมเป็นธรรมราชา ทรงอาศัยพระธรรม สักการะพระธรรม เคารพพระธรรม ยำแรงพระธรรม มีพระธรรมเป็นธง มีพระธรรมเป็นตรามีพระธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา คุ้มครอง ป้องกัน อันประกอบด้วยธรรม ไว้ในกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมแล้ว ทรงหมุนจักรคือพระธรรมให้เป็นไปโดยธรรมจักรนั้น สมณะหรือพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลกให้หมุนไปไม่ได้....”
คัดลอกมาจาก
จักกวัตติสูตร ติก. อํ. (๔๕๓)
ตบ. ๒๐ : ๑๓๘-๑๓๙ ตท. ๒๐ : ๑๒๕-๑๒๖
ตอ. G.S. ๑ : ๙๔-๙๕ -
"เวทนา"กุญแจสู่ภพชาติ
ชีวิตคนเราเมื่อมีโอกาสได้เกิดมา และมีลมหายใจอยู่บนโลกนั้นยังนับว่าโชคดี แม้ต่างอาจต้องผจญอยู่บนกองทุกข์ ซึ่งมีกันทุกคนไม่ว่าเศรษฐีหรือยาจก บ้างก็ทุกข์มาก บ้างก็ทุกข์น้อย ความทุกข์มักทำให้ใครหลายคนเข้าใจชีวิตได้ดีขึ้น และยังลึกซึ้งในหลักสัจธรรมภายใต้กฎแห่ง ไตรลักษณ์ คือความไม่เที่ยง ทุกสิ่งย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป
ความจริงแห่งชีวิตมนุษย์ที่ ทุกข์ นั้น มีหลากหลายเหตุผล หากเป็นนักปฏิบัติย่อมรู้เหตุแห่งทุกข์ ว่าทุกสิ่งที่เกิดกับตนนั้นเป็นผลของ วิบากกรรม จากภพชาติเก่าในอดีตที่เราเคยเวียนว่ายตายเกิดผ่านมาหลายภพ หลายชาติ
การปฏิบัติธรรมด้วยสมาธิสายใดก็ตาม เป็นทางออกที่สำคัญที่จะทำให้เราสามารถรู้กรรมในอดีตด้วยตัวของเราเอง ดังนั้น การเห็น ภพชาติ ขณะปฏิบัติสำหรับบางคนจึงเป็นเรื่องน่ายินดีที่จะทำให้เขาสามารถรู้เหตุแห่งทุกข์ ว่าเกิดจากบาปกรรมใด เพื่อเร่งแก้ไขให้โทษหนักกลับกลายเป็นเบา และ ขออโหสิกรรม ให้หมดสิ้นเวรกรรมกันไป
เวทนา กุญแจสู่ภพชาติ จากหนังสือกฎแห่งกรรม : ธรรมปฏิบัติของหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมโม เป็นการเขียนเล่าเรื่องที่เกิดขณะปฏิบัติกรรมฐานภายในวัดอัมพวัน... -
"หลวงปู่หลอด ปโมทิโต (เผชิญอำนาจวิญญาณร้ายเข้าสิง) ชุด 2.ของจริง...
พ่อแม่ครูบาอาจารย์ หลวงปู่หลอด ปโมทิโต
ในวัยชราท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนานิคม) เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร
หลวงปู่หลอด ปโมทิโต (เผชิญอำนาจวิญญาณร้ายเข้าสิง) ชุด2ของจริงครับ
ในวัยฉกรรจ์... พระเถราจารย์ท่านนี้ยึดถือธุดงค์ 13 ข้อ เป็นวัตรตลอดเวลา ๙ เดือนของกาลออกพรรษาเป็นเวลานับ ๑๐ ปี ท่านเป็นพระปฏิบัติในกองทัพธรรมศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และอยู่ศึกษาธรรมกับหลวงปู่มั่น หลายปี
ตลอดเวลาอันยาวนานซึ่งหลวงปู่หลอด ได้ธุดงค์จาริกสู่ป่าเขาอันเปล่าเปลี่ยว ห่างไกลจากผู้คนพลุกพล่านและร้อนเร่าด้วยไฟกิเลส ก็เพื่อพารูปกายสังขารนี้ไปสู่ความวิเวก มุ่งหน้าฝึกจิตด้วยการปฏิบัติสมณธรรมอย่างอุกฤษฏ์ มุ่งมั่นตัดขาดปวงกิเลสทั้งหลายซึ่งเกาะติดจิตวิญญาณข้ามภพข้ามชาติเหลือที่จะนับมาแล้วให้จงได้
และในห้วงเวลาดังกล่าวนั้น หลวงปู่หลอดได้เผชิญกับประสบการณ์ซึ่งไม่ผิดกับพลังแห่งสัจจธรรมที่หล่อหลอมดวงจิตให้แข็งแกร่งภายใต้สติอันมั่นคง
ดังเช่นการเผชิญกับเสือเป็นครั้งแรกในชีวิตของท่าน
"เสือ" ...เดรัจฉานผู้ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็น "จ้าวป่า" คือสัตว์กินเนื้อที่น่ากลัวที่สุด... -
"สัจจบารมี (ความจริงใจ)"พระบารมีพระเจ้าอยู่หัว..พายุเกย์ยังเปลี่ยนทิศทาง
สัจจบารมี (ความจริงใจ)ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โดย พลตำรวจตรีสุชาติ เผือกสกนธ์
“สัจจบารมี” เป็นบารมีหนึ่งในทศบารมี ซึ่งเป็นชาดกกล่าวถึงเรื่องของการเสวยพระชาติของพระพุทธเจ้า เป็นพระโพธิสัตว์เพื่อบำเพ็ญบารมีต่างๆ รวม ๑๐ ชาติ ก่อนที่จะเสวยพระชาติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะแล้วเสด็จออกบวช จนกระทั่งทรงบรรลุพระโพธิญาณตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในที่สุด
คำว่า “สัจจะ” หมายถึง “จริงใจ คือ ความซื่อสัตย์ จริงวาจา คือ พูดจริง” และ “จริงการ คือ ทำจริง” ส่วนคำว่า “บารมี” หรือ “ปารมี” มีความหมายอยู่ ๒ ประการ คือ “อย่างยิ่ง, เลิศประเสริฐที่สุด” และ “คุณธรรมที่ได้สั่งสมกันมาโดยลำดับ หรือ การสะสมคุณงามความดี ทำบุญกุศลกันโดยลำดับต่อเนื่อง”
“สัจจบารมี” จึงหมายความว่า “บารมีที่เกิดขึ้นโดยวิธีการฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้มีความจริงใจ มีความซื่อสัตย์ พูดจริง กระทำจริง” นอกจาก “สัจจบารมี” แล้ว ยังมีอีกบารมีหนึ่งที่จำเป็นต้องบำเพ็ญควบคู่กัน เสมือนพี่น้องฝาแฝด คือ “อธิษฐานบารมี”
คำว่า “อธิษฐาน” หมายถึง “ความตั้งใจมั่น เด็ดเดี่ยว แน่วแน่ ที่จะกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้บรรลุความมุ่งหมายของตน”... -
การกระทบกระทั่งกันของสังคมคนปฎิบัติธรรม - คำสอน หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
ทัศนะต่างกันและอุเบกขาธรรม
หลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปัญโญ วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
จากหนังสือ พรหมปัญโญบูชา
ทรรศนะต่างกัน
การมาอยู่ด้วยกัน ปฏิบัติด้วยกันมากเข้าย่อมมีเรื่องกระทบกระทั่งกันเป็นธรรมดา ตราบใดที่ยังเป็นปุถุชนคนธรรมดาอยู่ ทิฐิความเห็นย่อมต่างกัน ขอให้เอาแต่ส่วนดีมาสนับสนุนกัน อย่าเอาเลวมาอวดกัน การปรามาสพระก็ดี การพูดจาจ้วงจาบในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์หรือท่านที่มีศีลมีธรรมก็ดี จะเป็นกรรมติดตัวเราและขัดขวางการปฏิบัติธรรมในภายหน้า ดังนั้น หากใครทำความดี ก็ควรอนุโมทนายินดีด้วย แม้ต่างวัดต่างสำนักหรือแบบปฏิบัติต่างกันก็ตาม ไม่มีใครผิดหรอก เพราะจุดมุ่งหมายต่างก็เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์เช่นกัน เพียงแต่เราจะทำให้ดี ดียิ่ง ดีที่สุด เท่านั้น ขอให้ถามตัวเราเองเสียก่อนว่า แล้วเราล่ะถึงที่สุดแล้วหรือยัง
หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
อุเบกขาธรรม
การอยากชวนคนมาวัด มาปฏิบัติให้มาก ๆโดยลืมดูพื้นฐานจิตใจของบุคคลที่กำลังจะชวนว่า เขามีความสนใจมากน้อยเพียงใด หลวงปู่ท่านบอกว่า
ให้ระวังให้ดีจะเป็นบาป เปรียบเสมือนกับการจุดไฟไว้ตรงกลางระหว่างคน 2 คน ถ้าเราเอาธรรมะไปชวนเขา เขาไม่เห็นด้วย... -
หลวงปู่ดู่กับในหลวง(ร.๙) (ลูกศิษย์บันทึก)
ธรรมบรรยาย
หลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปัญโญ
วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
หลวงพ่อกับในหลวง(ร.๙)
หลวงพ่อเคยเล่าให้ฟังว่าเมื่อหลายสิบปีก่อน ครั้งที่ท่านได้ฟังข่าวในหลวงรัชกาลที่ 8 เสด็จสวรรคต ท่านเกิดความสลดสังเวชมากว่าคนไทย หลายคนยังขาดกตัญญูกตเวทิตาคุณต่อพระเจ้าอยู่หัวท่านคิดอยู่เสมอว่า ทำอย่างไรจะให้คนไทยมีความรักชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ องค์ท่านเองนั้นตั้งแต่บัดนี้จนกระทั่งทุกวันนี้ แม้กาลเวลาล่วงเลยไปหลายสิบปี กิจวัตรอันหนึ่งท่านทำอยู่มิได้ขาด คือ การสวดมนต์ถวายพระพรแด่ในหลวงทุกวันตลอดมา ขอให้พระองค์มีพระชนมายุยิ่งยืนนานเป็นมิ่งขวัญคนไทยตลอดไป หลวงพ่อยังได้กล่าวกับผู้เขียนอีกว่าเพราะ พระเจ้าแผ่นดิน (ร.9) ท่านปฏิบัติ (ธรรม) ต่อไปพุทธศาสนาในเมืองไทยจะเจริญขึ้น เพราะท่านเป็นผู้นำ เป็นแบบอย่าง
หนึ่งในสี่
ครั้งหนึ่งหลวงพ่อได้ปรารภธรรมกับผู้เขียนว่า...
" ข้านั่งดูดยา มองดูซองยาแล้วก็ตั้งปัญหาถามตัวเองว่าเรานี่ปฏิบัติได้ 1 ใน 4 ของศาสนาแล้วหรือยัง? ถ้าซองยานี้แบ่งเป็น 4 ส่วน เรานี่ยังไม่ได้ 1 ใน 4 มันจวนเจียนจะได้แล้วมันก็คลาย เหมือนเรามัดเชือกจนเกือบจะแน่นได้ที่แล้วเราปล่อย... -
ฝึกมโนยิทธิครั้งที่ 3 ไปฝึกที่วัดท่าซุง ที่วิหาร 100 เมตร
ฝึกมโนยิทธิครั้งที่ 3 ฝึกที่วัดท่าซุงในวิการ 100 เมตร
<O</O
การเดินทางที่มีอุปสรรคแต่ไม่ย้อท้อเพราะกำลังศรัทธา<O</O
ออกเดินทางวันเสาร์ตอนตี 3<O</O
การฝึกมโนยิทธิแบบครึ่งกำลังครั้งนี้เป็นการฝึกครั้งที่ 3 สองครั้งแรกไปฝึกที่บ้านสายลม ครั้งที่ 3 เป็นการฝึกที่วัดท่าซุงเลย ตอนที่ผมยกพานครูผมได้อธิฐานต่อหน้าพระพุทธชินราชในวิหาร 100 เมตรว่าถ้าลูกฝึกมโนยิทธินี้ได้สำเร็จลูกจะมาเผยแพร่ความรู้ที่ได้ฝึกมาบอกเล่าเป็นธรรมทานให้ผู้คนทั้งหลายได้อ่านและศึกษากัน การเดินทางของผมในครั้งนี้ผมเช่ารถตู้ไป วัดหลวงพ่อจรัญก่อนที่สิงห์บุรี การไปคราวนี้ผมไปทั้งครอบครัวเลย เช่ารถตู้ไป 2
ที่คือไปวัดอัมพวันก่อน แล้วต่อด้วยวัดท่าซุง ซึ่งตาของผมเป็นเจ้าภาพจัดไปไป 2 คันรถซึ่งเป็นคนในครอบครัวของผมทั้งหมด ซึ่งเสียค่ารถตู้ 5000 บาท วิ่งจากราชบุรีคือบ้านของผม ไปถึงสิงห์บุรีก่อนคือผมตั้งใจจะไปวัดท่าซุงแต่ตาของผมศรัทธาในตัวหลวงพ่อจรัญมากผมก็ศรัทธาเหมือนกัน แต่ผมตอนนั้นอยากไปวัดท่าซุงเป็นที่สุด ไปถึงวัดหลวงพ่อจรัญตอน 8 โมงเช้าพอดี คณะผมมีทั้งหมด 14 คน
ขึ้นไปถวายอาหารพระฉันในตอนเช้า... -
หลวงปู่แหวน..ผจญเปรตที่นาหมีนายูง
จำพรรษากับหลวงปู่มั่นที่นาหมีนายูง
หลวงปู่แหวน เคยจำพรรษาอยู่กับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ในป่าที่เรียกว่า นาหมีนายูง ในเขต อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี
บริเวณนาหมีนายูงนี้ เป็นป่ารกชัฏ ชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่า ไข้ป่า พื้นที่เป็นที่ราบอยู่ติดภูเขา เลียบเลาะไปตามลำน้ำโขง
ความจริงแล้วพื้นที่นี้เหมาะแก่การเพาะปลูก แต่ไม่มีใครกล้าเข้าไปจับจอง เพราะหวาดกลัวความเจ็บไข้ และกลัวอันตรายต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อันตรายจากสิ่งลึกลับที่ไม่เห็นตัว
ตามความเชื่อถือของชาวบ้าน ซึ่งเชื่อถือสืบต่อกันมานานว่า ถ้าใครขืนเข้าไปตัดไม้ในป่าบริเวณนั้น จะต้องถูกผีป่าทำอันตรายเอา ทำให้เป็นไปต่างๆ บางรายถึงกับตายก็มี ดังนั้น ชาวบ้านจึงไม่กล้าเข้าไปในบริเวณนั้น
ในพรรษานั้น หลวงปู่แหวนได้ร่วมจำพรรษาอยู่กับ หลวงปู่มั่น โดยมีตาผ้าขาวคอยอุปัฏฐากอยู่ด้วย ๑ คน
การปรารภความเพียรในพรรษานั้นเป็นไปอย่างเต็มที่ เพราะมีครูอาจารย์ คือ หลวงปู่มั่น คอยควบคุมแนะนำ และให้อุบายจิตภาวนาโดยใกล้ชิด
เปรตที่นาหมีนายูง
ระหว่างอยู่ที่นาหมีนายูง วันหนึ่ง พระอาจารย์ใหญ่พูดว่า ที่ถ้ำใกล้ฝั่งโขง นั้นมีเจ้าของเขาอยู่ จึงบอกหลวงปู่แหวน... -
อานิสงส์กฐินทานในพระไตรปิฏก
เทวดาในหมื่นโลกธาตุสาธุ ส่วนบุญของ ติณณปาละคนเข็ญใจ ได้เปลื้องผ้านุ่งของตนออกมาเข้าส่วนกฐินทาน และต่อไปจะได้สำเร็จพระอรหันต์องค์หนึ่งของพระศรีอริยเมตไตรย์
อานิสงส์กฐินทานในพระไตรปิฏก
......ในครั้งศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า มาอุบัติในโลก มีบุรุษเข็ญใจไร้ญาติพี่น้องทั้งทรัพย์
สินเงินทองก็ขาดแคลนอาศัยเลี้ยงชีพอยู่ในเมืองพาราณสี ไปหาสิริธรรมมหาเศรษฐีมีทรัพย์
๘๐ โกฏิ แล้ววิงวอนขออยู่เป็นลูกจ้าง ท่านเศรษฐีมีความสงสารจึงถามว่ามีความรู้อะไรบ้าง บุรุษเข็ญ
ใจบอกว่า ข้าพเจ้าไม่มีความรู้อะไรเลย มีแต่กำลังกายเท่านั้นท่านเศรษฐีกล่าวว่าถ้าเช่นนั้นเจ้าจง
ไปรักษาหญ้าเราจะให้ข้าววันละหม้อ
ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา บุรุษก็รักษาหญ้าจนมีชื่อว่า ติณณปาละ อยู่มาวันหนึ่ง ติณณปาละมาคิดว่าตัวเรานี้ ในชาติปางก่อนคงจะไม่ได้ทำบุญกุศลอันใดไว้เลย มาถึงชาติ นี้เราจึงได้ลำบากยากแค้น แม้แต่อาหารจะรับประทานไปวันหนึ่งๆ ก็ทั้งยาก แต่นี้ต่อไปเราจะต้องขวนขวายให้ทานทุก ๆ วัน เมื่อมีความตั้งใจอย่างนี้แล้ว ก็แบ่งอาหารออกเป็น ๒ ส่วน ๆ หนึ่ง ถวายแก่พระภิกษุสงฆ์... -
อุบายชนะกามคุณ 5 โดยรวมครูบาอาจารย์สายศิษย์หลวงปู่มั่น
อุบายชนะกามคุณ ๕
หลวงปู่หลอด ปโมทิโต
วัดสิริกมลาวาส เสนานิคม กรุงเทพ
สิ่งที่นักปฏิบัติควรใส่ใจให้มาก คือต้องพยายามลดหรือพยายามเลิกละกามคุณทั้ง ๕ เพราะกามคุณเป็นศัตรูของจิตใจ ทำให้ใจเดือดร้อนวุ่นวาย เป็นทุกข์
ถ้าทำใจให้สงบจากกามคุณทั้ง ๕ ได้ จึงจะพบคำว่า วิเวก (ความสงบ) แนวทางสำหรับปฏิบัติก็คือ ให้มองทุกสิ่งทุกอย่างว่า ล้วนตกอยู่ในกฎพระไตรลักษณ์ คือ ไม่มีอะไรที่จะคงสภาพอยู่เหมือนเดิม
แต่จะต้องเปลี่ยนแปร มีลักษณะแฝงอยู่ที่เรียกว่าเป็นทุกข์ เพราะทนต่อสภาพอยู่อย่างเดิมไม่ได้ มีลักษณะที่เรียกว่าเป็นอนัตตา คือ ไม่มีจุดที่จะบังคับได้ว่า อย่า แก่ อย่าเจ็บ อย่าแปร รวมความคือ ทุกๆ สิ่ง ทุก ๆ อย่าง ล้วนมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และสลายไป การกำหนดได้อย่างนี้ ความยึดมั่น(อุปทาน) จะอ่อนกำลัง ถ้าความยึดมั่นอ่อนตัว ทุกข์ก็จะน้อยลง
ถ้าจิตไม่ยึดมั่นเลย เช่นเห็นก็สักแต่ว่าเห็น ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน เป็นต้น ใจก็ไม่เป็นทุกข์
น. ๒๐
ข้าพเจ้าก็เจอมารทางจิตใจอย่างสาหัส มันโถมกำลังย่ำยี จนข้าพเจ้าแทบป่นปี้ ตั้งตัวไม่ติด มารที่ว่าคือ กามคุณ ๕ (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ)... -
เรื่อง ญาณสมาธิของหลวงปู่จันทร์ เขมิโย ในการช่วยปลาพระโพธิสัตว์
พระเทพสิทธาจารย์ (หลวงปู่จันทร์ เขมิโย )
วัดศรีเทพประดิษฐาราม อ.เมือง จ.นครพนม
สายป่ากรรมฐานหลวงปู่เสาร์ ,หลวงปู่มั่น
--------------------------------------
หลวงปู่จันทร์ เขมิโย กับ ปลาพระโพธิสัตว์
โพสท์ในเวปพันทิป หมวดศาสนา กระทู้ที่ Y3298099 โดยคุณ : บัวอธิษฐาน - [ 16 ก.พ. 48 ]
หลายคนคงจะสงสัยว่าการเกิดมาเพื่อบำเพ็ญบารมีเพื่อจะไปเป็นพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ นั้นมีจริงหรือไม่ลองอ่านเรื่องนี้แล้วพิจารณาดู
เหตุเกิดที่ จ.นครพนม ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม โดยท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) ท่านเล่าเอาไว้ว่า
มีอยู่คืนหนึ่งท่านกำลังทำสมาธิกรรมฐานก็ปรากฏภาพนิมิตขึ้นในสมาธิเป็นภาพของแอ่งน้ำกำลังแห้งมีปลาอยู่หกตัว เป็นปลาหมอ ๓ ตัว ปลาดุก ๓ ตัวกำลังดิ้นรนกระเสือกกระสนอยู่ ท่านจึงกำหนดจิตถามว่าเป็นคู่เวรคู่กรรมมาทวงหนี้เวรกรรมหรือไม่
ปลาเหล่านั้นตอบว่า พวกเราเป็นพระโพธิสัตว์มาเกิดเป็นปลาเพื่อบำเพ็ญบารมี แต่ถูกกระแสกรรมทำให้ถูกนายบุญช่วย สุวรรณทรรภจับมาขังเอาไว้ในตุ่มน้ำในสวนกล้วยติดหลังวัด ตอนนี้น้ำกำลังแห้ง ถ้าตายก่อนจะหมดโอกาสบำเพ็ญบารมี... -
วัดผลการปฏิบัติด้วยสิ่งใด ? หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
.
มีผู้ปฏิบัติหลายคน ปฏิบัติไปนานเข้าชักเขว ไม่ชัดเจน
ว่าตนปฏิบัติไปทำไม หรือปฏิบัติไปเพื่ออะไร
ดังครั้งหนึ่ง เคยมี ลูกศิษย์กราบเรียน ถามหลวงพ่อท่านว่า
" ภาวนามาก็นานพอสมควรแล้ว รู้สึกว่ายังไม่ได้รู้ได้เห็นสิ่งต่างๆ
มีนิมิตรภายนอก แสงสีต่างๆ เป็นต้น ดังที่ผู้อื่นเขารู้เห็นทางปฏิบัติกันเลย ''
หลวงพ่อท่านย้อนถาม สั้นๆ ว่า
'' ปฏิบัติแล้ว โกรธ โลภ หลง แกลดน้อยลงหรือเปล่าล่ะ
ถ้าลดลง ข้าว่าแกใช้ได้ ''
ที่มา : พิมพ์จากหนังสือพรหมปัญโญอนุสรณ์
หน้า 413 ของ 414