ไม่ใช้คำบริกรรมได้หรือไม่

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย pupreecha, 21 เมษายน 2013.

  1. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    คิดเองเออเอง อีกแล้ว หรือ ครูบาอาจารย์ ที่ไหนสอนหนอ กล่าวอ้าง การบริกรรม เป็น มิจฉา



    ไม่ไหวจะเครียร์

    อ่านดูนะว่า ว่า บรรลุอริยเจ้า เพราะอะไร


    ยังฌานในนิมิตนั้นนั่นแลให้เกิดขึ้นแล้ว ทำฌานให้เป็นบาท เริ่มเจริญวิปัสสนาก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมทั้งปฏิสัมภิทา ๔.


    พระศาสดาตรัสว่า ปันถกะเอ๋ย! อย่าคิดมากไปเลย. เธอบวชในศาสนาของเรา มานี่ มารับผ้าผืนนี้ไป แล้วจงทำบริกรรมในใจว่า รโชหรณํ รโชหรณํ (ผ้าเช็ดธุลี ผ้าเช็ดธุลี) ดังนี้แล้ว จึงได้ประทานท่อนผ้าสะอาดอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ให้.

    ท่านนั่งใช้มือลูกคลำบริกรรมท่อนผ้าที่พระศาสดาทรงประทานให้มาว่า รโชหรณํ รโชหรณํ ดังนี้. เมื่อท่านบริกรรมลูบคลำผ้าผืนนั้นไปมา ผ้าสะอาดก็กลายเป็นเศร้าหมอง เมื่อท่านบริกรรมลูบคลำไปอีก ผ้าสะอาดก็กลายเป็นเช่นกับผ้าเช็ดหม้อข้าว, เพราะมีญาณอันแก่กล้า ท่านจึงคิดอย่างนี้ว่า แต่เดิมมาท่อนผ้าผืนนี้ก็บริสุทธิ์สะอาด เพราะอาศัยสรีระอันมีวิญญาณครองนี้ จึงได้กลายเป็นอย่างอื่นเศร้าหมองไป ฉะนั้น ผ้าผืนนี้เป็นอนิจจังอย่างไร แม้จิตก็คงเป็นอย่างนั้นแน่ จึงเริ่มตั้งความสิ้นไปเสื่อมไป ยังฌานในนิมิตนั้นนั่นแลให้เกิดขึ้นแล้ว ทำฌานให้เป็นบาท เริ่มเจริญวิปัสสนาก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมทั้งปฏิสัมภิทา ๔.
    พอท่านได้บรรลุพระอรหัตแล้วเท่านั้น พระไตรปิฎกและอภิญญา ๕ ก็ติดตามมาแล้ว.

    ------------------------------------------------------------
    อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๒.
    สีหาสนิวรรค ๔. จุลลปันถกเถราปทาน
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=16
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 เมษายน 2013
  2. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ภิกษุ ท.! ภิกษุผู้ไม่มีสังวรนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! ภิกษุ
    ในกรณีนี้ เมื่อเห็นรูปด้วยตา, ฟังเสียงด้วยหู, ดมกลิ่นด้วยจมูก, ลิ้มรสด้วยลิ้น
    สัมผัสโผฏฐัพพะด้วยกาย, รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ
    ก็สยบอยู่ในอารมณ์ที่น่ารัก
    เคียดแค้นในอารมณ์อันไม่น่ารัก,
    เป็นผู้ไม่ตั้งไว้ซึ่งกายคตาสติ,
    มีจิตเลื่อนลอย
    ตามอารมณ์, ไม่รู้ตามเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับแห่งบาป
    อกุศลที่เกิดแล้วแก่เขานั้น โดยสิ้นเชิง.
    ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์หกชนิด อันมีที่อยู่อาศัยต่างกัน
    มีที่เที่ยวหากันต่างกัน มาผูกรวมกันด้วยเชือกอันมั่นคง คือเขาจับงูมาผูกด้วย
    เชือกเหนียวเส้นหนึ่ง, จับจระเข้, จับนก, จับสุนัขบ้าน, จับสุนัขจิ้งจอก, จับลิง,
    มาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่ง ๆ แล้วผูกรวมเข้าด้วยกันเป็นปมเดียวในท่ามกลาง
    ปล่อยแล้ว. ภิกษุ ท.! ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้น ทั้งหกชนิด มีที่อาศัยและที่เที่ยวต่าง ๆ กัน ก็ยื้อแย่งฉุดดึงกัน เพื่อจะไปสู่ที่อาศัยที่เที่ยวของตน ๆ :
    งูจะเข้าจอมปลวก, จระเข้จะลงน้ำ, นกจะบินขึ้นไปในอากาศ, สุนัข
    จะเข้าบ้าน, สุนัขจิ้งจอกจะไปป่าช้า, ลิงก็จะไปป่า. ครั้นเหนื่อยล้ากัน
    ทั้งหกสัตว์แล้ว สัตว์ใดมีกำลังกว่า สัตว์นอกนั้นก็ต้องถูกลากติดตามไปตามอำนาจ
    ของสัตว์นั้น; ข้อนี้ฉันใด.
    ภิกษุ ท.! ภิกษุใดไม่อบรมทำให้มากในกายคตาสติแล้ว ตา ก็จะ
    ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารูปที่น่าพอใจ, รูปที่ไม่น่าพอใจก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึก
    อึดอัดขยะแขยง, หู ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาเสียงที่น่าฟัง, เสียงที่ไม่น่าฟัง
    ก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง, จมูก ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหากลิ่น
    ที่น่าสูดดม, กลิ่นที่ไม่น่าสูดดมก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง, ลิ้น
    ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารสที่ชอบใจ, รสที่ไม่ชอบใจก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึก
    อึดอัดขยะแขยง, กาย ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาสัมผัสที่ยั่วยวนใจ, สัมผัส
    ที่ไม่ยั่วยวนใจก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง, และใจ ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้น
    ไปหาธรรมารมณ์ที่ถูกใจ, ธรรมารมณ์ที่ไม่ถูกใจก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัด
    ขยะแขยง; ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
    ภิกษุ ท.! ภิกษุผู้ไม่มีสังวรเป็นอย่างนี้แล.
     
  3. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ภิกษุ ท.! ภิกษุผู้มีสังวรนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อเห็นรูปด้วยตา, ฟังเสียงด้วยหู, ดมกลิ่นด้วยจมูก,
    ลิ้มรส ด้วยลิ้น, สัมผัสโผฏฐัพพะด้วยกาย, รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ
    ก็ไม่สยบอยู่ในอารมณ์ที่น่ารัก
    ไม่เคียดแค้นในอารมณ์อันไม่น่ารัก
    เป็นผู้ตั้งไว้ซึ่งกายคตาสติ มีจิตไม่เลื่อนลอยตามอารมณ์, ย่อมรู้ตามที่เป็นจริงซึ่ง เจโตวิมุตติปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับแห่งบาปอกุศลที่
    เกิดแล้วแก่เขานั้นโดยสิ้นเชิง.

    ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์หกชนิด อันมีที่อยู่อาศัยต่างกันมีที่เที่ยวหากินต่างกัน มาผูกรวมกันด้วยเชือกอันมั่นคง คือ
    เขาจับงูมาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่ง, จับจระเข้, จับนก, จับสุนัขบ้าน,จับสุนัขจิ้งจอก และจับลิง, มาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่ง ๆ
    ครั้นแล้ว นำไปผูกไว้กับเสาเขื่อนหรือเสาหลักอีกต่อหนึ่ง,

    ภิกษุ ท.! ครั้งนั้น สัตว์ทั้งหกชนิดเหล่านั้นมีที่อาศัยและที่เที่ยวต่าง ๆ กันก็ยื้อแย่งฉุดดึงกัน เพื่อจะไปสู่ที่อาศัยและที่เที่ยวของตน ๆ :
    งูจะเข้าจอมปลวก, จระเข้จะลงน้ำ, นกจะบินขึ้นไปในอากาศ, สุนัขจะเข้าบ้าน,สุนัขจิ้งจอกจะไปป่าช้า, และลิงก็จะไปป่า,

    ภิกษุ ท.! ในกาลใดแล ความเป็นไปภายในของสัตว์ทั้งหกชนิดเหล่านั้น มีแต่ความเมื่อยล้าแล้ว,ในกาลนั้นมันทั้งหลายก็จะพึงเข้าไป ยืนเจ่า
    นั่งเจ่า นอนเจ่า อยู่ข้างเสาเขื่อน หรือเสาหลักนั้นเอง. ข้อนี้ฉันใด ;

    ภิกษุ ท.! ภิกษุรูปใดได้อบรมกระทำให้มากในกายคตาสติแล้วตา ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารูปที่น่าพอใจ, รูปที่ไม่น่าพอใจก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอ
    รู้สึกอึดอัดขยะแขยง ; หู ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาเสียงที่น่าฟัง, เสียงที่ไม่น่าฟังก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง ; จมูก ก็จะไม่ฉุด
    เอาภิกษุนั้นไปหากลิ่นที่น่าสูดดม, กลิ่นที่ไม่น่าสูดดมก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง ; ลิ้น ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารสที่ชอบใจ,
    รสที่ไม่ชอบใจก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง ; กาย ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาสัมผัสที่ยั่วยวนใจ, สัมผัสที่ไม่ยั่วยวนใจก็ไม่เป็นสิ่ง
    ที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง ; และใจ ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาธรรมารมณ์ที่ถูกใจ,ธรรมารมณ์ที่ไม่ถูกใจก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง ;
    ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

    ภิกษุ ท.! ภิกษุผู้มีสังวร เป็นอย่างนี้.
    ภิกษุ ท.! คำว่า “เสาเขื่อน หรือเสาหลัก” นี้เป็นคำเรียกแทนชื่อแห่ง กายคตาสติ.
    ภิกษุ ท.! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ว่า “กายคตาสติของเราทั้งหลาย จำเป็นสิ่งที่เราอบรม กระทำให้มากกระทำ
    ให้เป็นยานเครื่องนำไป กระทำให้เป็นของที่อาศัยได้ เพียรตั้งไว้เนือง ๆ เพียรเสริมสร้างโดยรอบคอบ เพียรปรารถสม่ำเสมอด้วยดี”ดังนี้.
    ภิกษุ ท.! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้แล.
     
  4. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    การบริกรรมคือการทำความในใจที่มีเรื่องราว ไปในทางความเป็นกุศลหรือมีความหมายที่ทำให้เขาใจถึงความจริง ไม่ใช่บริกรรมแบบยึดคำใดคำหนึ่งแล้วไม่เข้าใจในคำนั้นหรือไม่ได้ระลึกถึงอรรถในคำนั้น ซึ่งนำไปสู่มิจฉาสมาธิได้
    จูฬปันถกะ - พระมหาสาวกองค์หนึ่งในอสีติมหาสาวก เป็นบุตรของธิดาเศรษฐีกรุงราชคฤห์ และเป็นน้องชายของมหาปันถกะ ออกบวชในพระพุทธศาสนา ปรากฏว่ามีปัญญาทึบอย่างยิ่ง พี่ชายมอบคาถาเพียง ๑ คาถาให้ท่องตลอดเวลา ๔ เดือน ก็ท่องไม่ได้ จึงถูกพี่ชายขับไล่ เสียใจคิดจะสึก พอดีพบพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสปลอบแล้วประทานผ้าขาวบริสุทธิ์ให้ไปลูบคลำพร้อมทั้งบริกรรมสั้นๆ ว่า “รโชหรณํ ๆ ๆ” ผ้านั้นหมองเพราะมือคลำอยู่เสมอ ทำให้ท่านมองเห็นไตรลักษณ์และได้สำเร็จพระอรหัต ท่านมีความชำนาญ แคล่วคล่อง ในอภิญญา ๖ ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในบรรดาผู้ฉลาดในเจโตวิวัฏฏ์; ชื่อท่านเรียกง่าย ๆ ว่าจูฬบันถก
     
  5. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ฉะนันการบริกรรมนั้น ไม่ใช่แต่จะนึกอะไรกเอามาบริกรรมครับ ถ้าท่านzaberคิดว่าคำใดก็ได้ คงไม่ใช้แลวล่ะครับ โดราเอมอน อิอิ
     
  6. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ไหนใครกล่าวบอกว่า ใครสั่งสอนว่า การบริกรรม เป็น มิจฉา
     
  7. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    แล้วที่ทำกันอยู่ทุกวันนี้เป็นสัมมาหรือมิจฉาครับ
     
  8. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    สัมมาสมาธิกับมิจฉาสมาธิ ต่างกันอย่างไร[พระอาจารย์มิตซูโอะ




    ถามตัวเองดูนะ กล่าวว่า บริกรรมเป็น มิจฉา ก็คงเป็นเพราะตัวเองเป็น มิจฉา หนอ .
     
  9. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    การบริกรรมเป็นมิจฉา ยังไม่เข้าใจหรอครับ ถ้าปราศจากการเข้าใจที่ถูกต้อง และการบริกรรมที่มีในทุกวันนี้ก็เห็นจะมีแต่สอนให้กล่าวคำนั้นคำนี้โดยปราศจากการเข้าใจ และท่าพอจะเข้าใจสิ่งที่ผมกล่าวแล้วใช่ป่าว โดราเอมอน อิอิ
     
  10. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ฉะนั้นแล้วการบริกรรมคำต่างๆโดยไม่มีนิมิตนั้นย่อมเป็นมิจฉาสมาธิครับ
     
  11. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    เงิบ

    สงสัยจะไม่รู้จัก บริกรรม


    แนะนำว่า ก่อนจะ ปรามาส มากไปกว่านี้ สร้างกรรมหนัก

    ให้ไปศึกษา คำสอน ครูบาอาจารย์ ให้มากๆ นะ



    กรรมฐานโดยวิธีอานาปานัสสติภาวนา แบบบริกรรม "พุทโธ"

    ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต


    กัมมัฏฐานหลวงปู่มั่น อานาปาน

    ขนาด คำสอนของ ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ยังกล้ากล่าวว่า เป็น มิจฉาสมาธิ แบบนี้

    คงไม่ต้องบอกว่า หนัก ขนาดไหน

    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 เมษายน 2013
  12. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ผมอานาปานครับ คุณโดราเอมอนเหรอ อิอิ
     
  13. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    พระพุทธเจ้าสอนอานาปานแบบไหนหรอ และพุทธานุสติที่พระองค์สอนเป็นอย่างไรหรืิอ saber
     
  14. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
  15. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    saberเริ่มเกเลแล้ว ผมนะพูดเรื่องจริง จะทำอะไรก็ต้องให้มันรู้รอบทั้งหมด ผมนะไม่ได้กล่าวหาแบบเลื่อนลอยนะ ผมมีเหตุผล ถ้าจะให้ตรงประเด็นเลยนะครับ คนเรานี่นั้นมักจะทำอะไรแบบไม่ค่อยได้ศึกษากันละเอียดซึ่งผมเองก็เป็นเช่นนั้นมาก่อน ผมจึงไม่อยากให้หลงทางเสียเวลากันไป การบริกรรมนั้นจะต้องมีนิมิตหรือเครื่องหมายของความจริงที่มุ่งไปสู่ความหลุดพ้นนิมิตนี้นั้นจะต้องเป็นลักษณะของปัญญาที่บ่งบอกของความหลุดพ้น การบริกรรมที่ไม่มีเครื่องหมายนันสุ่มเสียงต่อการเิกิดผลสมาธิที่ไม่ได้เป็นไปเพื่อความรู้แจ้ง ถ้าบุคคลนั้นหลงไปละเป็นเรื่องยุ่งเลยน่าสงสารมากทีเดียวหลุดจากอริยสัจไปมาก แต่ถ้าเขาพอมีสติปัญญาก็กลับมาสู่เส้นทางหลุดพ้นได้ไม่ยากนัก คำว่ามิจฉานี่นั้นอย่าตีความหมายน่ากลัวกันไปนักเลยมันไม่ได้น่ากลัวขนาดนั้น เพียงแต่ในขณะนั้นผลมันไม่ได้เป็นไปเพื่อความหลุดพ้นเท่านั้น อาจารย์แต่ละท่านที่บริกรรมส่วนใหญ่ก็กลับเข้ามาได้บาง บางท่านก็อาจจะยังหลงอยู่ก็มีเยอะ สิ่งเหล่านั้มันไม่โหดร้ายน่ากลัวกว่าการผิดศิลห้าหรอก แต่ถาเราเลือกได้ง่ายๆกับตัวเราดีกับตัวเราเราจะไปบริกรรมทำไมในเมื่อพระบิดาเราก็ไม่ได้สรรเสริญเลย จะอ้อมทำไม ตรงๆง่ายๆก็มีอานาปานสติไงคำกล่าวของพระศาสดาเรากลับไม่ค่อยทำตาม อย่างพวกฤทธิ์ทั้งหลาย พระศาสดาบอกว่ารู้สึกอึดอัดรังเกลียดขยะแขยง แต่พวกเราก็ชอบที่จะทำมันให้ได้ อึมแปลกจัง อึมก็พอเข้าใจได้นะแต่ก็อดไม่ได้จริงๆขออภัย เป็นลูกเป็นหลาน เขกกระบานแล้วอิอิ
     
  16. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    และผมขอยืนยันด้วยคำของพระศาสดา ผู้ใดไม่บริโภคกายคตาสติผูนั้นไม่ได้บริโภคอมตะ และผู้ใดไม่หลงลืมลมหายใจผู้นั้นไม่เหินห่างจากฌาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 เมษายน 2013
  17. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573
    ชอบ หัวข้อ นี้ จัง อนุโมทนาบุญ ผู้ตั้งกระทู้นี้ ด้วย จ้า และ แต่ละท่าน แสดงความคิดเห็นได้ดี เยียม

    ไม่ได้เก่งอะไร น้าจ้า แต่ขอ แจม ด้วย น้าจ้า คิคิ

    การบริกรรม น่าจะแล้วแต่ ผู้ปฏิบัติ สามารถเข้า หรือ ทรง สมาธิ ได้แข็งแกร่ง หรือ ไม่
    บางที ไม่ต้อง บริกรรม ก้อ สมาธิ ได้เลย บางที บริกรรม สักพัก ก้อ สมาธิ
    บางที่ แม้แต่ สมาธิสงบ ไปแล้ว อยู่ดีๆ จิต แกว่ง อาจมาหลายสาเหตุ เช่น เจอ เวทนา
    ไม่ว่า ทุกข์เวทนา แสนเจ็บปวด สุขเวทนา ทำเอา น้ำตาเร็ด หัวเราะก๊ากกกก จน หา ฐานจิตเดิม ไม่เจอ บางทีใช้บริกรรม เพื่อให้จิตกลับฐาน (จิตนิ่ง) บางทีอาจต้องเปลี่ยน คำบริกรรม ตาม สภาวะ ก้อ ว่ากัน ไป แล้ว แต่ เทคนิค

    บริกรรม มี ประโยชน์ ในตัวเขาเอง แล้ว แต่ว่า เราจะเลือกใช้ หรือ ไม่ใช้ ให้ เหมาะกะ สภาวะ นั้นๆ หรือ จุดประสงค์การทำสมาธิ ก้อ ว่ากันไป

    คิดได้แค่นี้ หละ จ้า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 เมษายน 2013
  18. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    และใครเจอการบริกรรมคำล้วนๆมีไหมที่พระศาสดาสอนก็ไม่เห็นมี ที่มีก็เห็นแต่ที่ว่า รโชหรณัง ซึ่งพระองค์ก็ยื่นผ้าขาวให้เพื่อเป็นนิมิตเพื่อให้เข้าถึงธรรมตามความจริง ท่านsaber พอมียกมาแสดงบางมั้ยครับ ที่ใชคำบริกรรมล้วนๆ
     
  19. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ความสำคัญของกรรมฐานที่เหมาะแก่จริต(เรื่องบุตรนายช่างทอง)

    (1/2) > >>

    nathaponson:
    ความสำคัญของกรรมฐานที่เหมาะแก่จริต(เรื่องบุตรนายช่างทอง)
    ๗. เรื่องสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตรเถระ [๒๑๐]

    ข้อความเบื้องต้น
    พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตรเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อุจฺฉินฺท" เป็นต้น.

    มาณพบวชแล้วได้กัมมัฏฐานไม่ถูกอัธยาศัย

    ได้ยินว่า บุตรของนายช่างทองคนหนึ่งมีรูปสวย บวชในสำนักของพระเถระแล้ว. พระเถระดำริว่า "พวกคนหนุ่ม มีราคะหนา" แล้วได้ให้อสุภกัมมัฏฐานแก่ท่าน เพื่อกำจัดราคะ. แต่กัมมัฏฐานนั้นไม่เป็นที่สบายสำหรับท่าน เพราะเหตุนั้น ท่านเข้าไปสู่ป่าแล้ว พยายามอยู่สิ้น ๓ เดือน ไม่ได้แม้ซึ่งคุณมาตรว่าความเป็นผู้มีจิตแน่แน่วแล้ว จึงมาสู่สำนักของพระเถระอีก

    เมื่อพระเถระกล่าวว่า "ท่าน กัมมัฏฐานมาปรากฏแก่ท่านแล้วหรือ?" จึงบอกความเป็นไปนั้น. ครั้งนั้น พระเถระกล่าว (กะท่าน) ว่า "การถึงการปลงใจว่า ‘กัมมัฏฐานไม่สำเร็จ’ ดังนี้ ย่อมไม่สมควร" แล้วบอกกัมมัฏฐานนั้นแหละให้ดีขึ้นอีก แล้วได้ให้แก่ท่าน.

    แม้ในวาระที่ ๒ ท่านก็ไม่อาจยังคุณวิเศษอะไรๆ ให้เกิดขึ้นได้ จึง (กลับ) มาบอกแก่พระเถระ. แม้พระเถระบอกกัมมัฏฐานนั้นเอง ทำให้มีเหตุมีอุปมา. ท่านก็มาบอกความที่กัมมัฏฐานไม่สำเร็จแม้อีก.

    พระเถระคิดว่า "ภิกษุผู้ทำ (ความเพียร) ย่อมทราบนิวรณธรรม มีความพอใจในกามเป็นต้น ซึ่งมีอยู่ในตนว่า ‘มีอยู่’ และที่ไม่มีว่า ‘ไม่มี’ ก็ภิกษุแม้นี้ เป็นผู้ทำ(ความเพียร) มิใช่เป็นผู้ไม่ทำ เป็นผู้ปฏิบัติ มิใช่เป็นผู้ไม่ปฏิบัติ แต่เราไม่รู้อัธยาศัยของภิกษุนั่น, ภิกษุนั่นจักเป็นผู้อันพระพุทธเจ้าพึงแนะนำ"

    จึงพาท่านเข้าไปเฝ้าพระศาสดาในเวลาเย็น แล้วกราบทูลความเป็นไปนั้นทั้งหมดว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้เป็นสัทธิวิหาริกของข้าพระองค์, ข้าพระองค์ให้กัมมัฏฐานชื่อนี้แก่ภิกษุนี้ ด้วยเหตุนี้."

    พระศาสดาประทานกัมมัฏฐานที่เหมาะแก่ภิกษุนั้น

    ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสกะพระเถระนั้นว่า "ชื่อว่าอาสยานุสยญาณนั่น ย่อมมีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้บำเพ็ญบารมีแล้ว ยังหมื่นโลกธาตุให้บันลือแล้ว ถึงความเป็นพระสัพพัญญูนั่นแล" แล้วทรงรำพึงอยู่ว่า "ภิกษุนี้บวชจากสกุลไหนหนอแล?"

    ทรงทราบว่า "จากสกุลช่างทอง" ทรงพิจารณาอัตภาพที่ล่วงมาแล้ว ทรงเห็นอัตภาพ ๕๐๐ ของภิกษุนั้นอันเกิดโดยลำดับเฉพาะในสกุลช่างทอง แล้วทรงดำริว่า "ภิกษุหนุ่มนี้ ทำหน้าที่ช่างทองอยู่ตลอดกาลนาน หลอมแต่ทองมีสีสุกอย่างเดียว ด้วยคิดว่า "เราจักทำให้เป็นดอกกรรณิการ์และดอกปทุมเป็นต้น. อสุภปฏิกูลกัมมัฏฐานไม่เหมาะแก่ภิกษุหนุ่มนี้, กัมมัฏฐานที่พอใจเท่านั้น จึงจะเป็นกัมมัฏฐานที่สบายแก่เธอ"

    จึงตรัสว่า "สารีบุตร เธอจักเห็นภิกษุที่เธอให้กัมมัฏฐาน ลำบากแล้วตลอด ๔ เดือน บรรลุพระอรหัตในภายหลังภัต ในวันนี้นั่นแหละ เธอไปเถิด" ดังนี้แล้ว ทรงส่งพระเถระไป ทรงนิรมิตดอกปทุมทอง ประมาณเท่าจักรด้วยพระฤทธิ์ แล้วทรงทำให้เป็นเหมือนหลั่งหยาดน้ำจากใบและก้าน แล้วได้ประทานให้ด้วยพระดำรัสว่า "เอาเถิด ภิกษุ เธอจงถือเอาดอกปทุมนี้ไปวางไว้ที่กองทรายที่ท้ายวิหาร นั่งขัดสมาธิในที่ตรงหน้า แล้วทำบริกรรมว่า ‘โลหิตกํ โลหิตกํ’ "

    เมื่อภิกษุนั้นรับดอกปทุมจากพระหัตถ์ของพระศาสดาเท่านั้น จิตก็เลื่อมใสแล้ว, ท่านไปยังท้ายวิหารพูนทรายขึ้นแล้ว เสียบก้านดอกปทุมที่กองทรายนั่นแล้ว นั่งขัดสมาธิในที่ตรงหน้า เริ่มบริกรรมว่า "โลหิตกํ โลหิตกํ."

    ภิกษุนั้นสำเร็จคุณวิเศษ

    ครั้งนั้น นิวรณ์ทั้งหลายของท่านระงับแล้วในขณะนั้นนั่นเอง อุปจารฌานเกิดแล้ว. ท่านยังปฐมฌานให้เกิดขึ้น ในลำดับแห่งอุปจารฌานนั้น ให้ถึงความเป็นผู้ชำนาญโดยอาการ#- ๕ นั่งอยู่ตามเดิมเทียว บรรลุฌานทั้งหลายมีทุติยฌานเป็นต้นแล้ว นั่งเล่นฌานในจตุตถฌานที่ชำนาญอยู่.

    #- อาการ ๕ คือ
    อาวัชชนะ การนึก, สมาปัชชนะ การเข้า, วุฏฐานะ การออก,
    อธิฏฐานะ การตั้งใจปรารถนา, ปัจจเวกขณะ การพิจารณา.

    พระศาสดาทรงทราบว่าฌานทั้งหลายเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นแล้ว ทรงพิจารณาดูว่า "ภิกษุนี่จักอาจเพื่อยังคุณวิเศษอันยิ่งให้เกิดขึ้นตามธรรมดาของตนหรือหนอ?" ทรงทราบว่า "จักไม่อาจ" แล้วทรงอธิษฐานว่า "ขอดอกปทุมนั้นจงเหี่ยวแห้งไป" ดอกปทุมนั้นได้เหี่ยวแห้งมีสีดำ เหมือนดอกปทุมที่ถูกขยี้ด้วยมือฉะนั้น.

    ภิกษุนั้นออกจากฌานแล้ว แลดูดอกปทุมนั้น เห็นอนิจจลักษณะว่า "ทำไมหนอแล ดอกปทุมนี้ถูกชรากระทบแล้ว จึงปรากฏได้, แม้เมื่ออนุปาทินนกสังขารอันชรายังครอบงำได้อย่างนี้, ในอุปาทินนกสังขารก็ไม่จำต้องพูดถึง, อันชราคงจักครอบงำอุปาทินนกสังขารแม้นี้."

    ก็ครั้นอนิจจลักษณะนั้น อันท่านเห็นแล้ว, ทุกขลักษณะและอนัตตลักษณะ ก็ย่อมเป็นอันเห็นแล้วเหมือนกัน. ภพ ๓ ปรากฏแล้วแก่ท่านดุจไฟติดทั่วแล้ว และดุจซากศพอันบุคคลผูกไว้ที่คอ.

    ในขณะนั้น พวกเด็กลงสู่สระแห่งหนึ่ง ในที่ไม่ไกลภิกษุนั้น เด็ดดอกโกมุททั้งหลายแล้ว ทำให้เป็นกองไว้บนบก. ภิกษุนั้นแลดูดอกโกมุททั้งหลายบนบกและในน้ำ. ลำดับนั้น ดอกโกมุทในน้ำงดงาม ปรากฏแก่เธอประดุจหลั่งน้ำออกอยู่ ดอกโกมุทนอกนี้เหี่ยวแห้งแล้วที่ปลายๆ. ภิกษุนั้นเห็นอนิจจลักษณะเป็นต้นดีขึ้นว่า "ชราย่อมกระทบอนุปาทินนกสังขารอย่างนี้ ทำไมจึงจักไม่กระทบอุปาทินนกสังขารเล่า?"

    จงตัดความเยื่อใย เจริญทางสงบ

    พระศาสดาทรงทราบว่า "บัดนี้ กัมมัฏฐานปรากฏแก่ภิกษุนี้แล้ว ประทับนั่งในพระคันธกุฎีเทียว ทรงเปล่งพระรัศมีไป. พระรัศมีนั้นกระทบหน้าภิกษุนั้น. ครั้นเมื่อท่านพิจารณาอยู่ว่า "นั่นอะไรหนอ?" พระศาสดาได้เป็นประหนึ่งว่าเสด็จมาประทับยืนอยู่ที่ตรงหน้า.

    ท่านลุกขึ้นแล้วประคองอัญชลี.
    ลำดับนั้น พระศาสดาทรงกำหนดธรรมเป็นที่สบายของเธอแล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-


    ๗. อุจฺฉินฺท สิเนหมตฺตโน
    กุมุทํ สารทิกํว ปาณินา
    สนฺติมคฺคเมว พฺรูหย
    นิพฺพานํ สุคเตน เทสิตํ.
    เธอจงตัดความเยื่อใยของตนเสีย เหมือนบุคคลถอน
    ดอกโกมุทที่เกิดในสรทกาลด้วยมือ, จงเจริญทางแห่ง
    สันติทีเดียว (เพราะ) พระนิพพาน อันพระสุคตแสดง
    แล้ว.


    แก้อรรถ

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุจฺฉินฺท คือ จงตัดด้วยอรหัตมรรค.
    บทว่า สารทิกํ ได้แก่ ที่เกิดแล้วในสรทกาล.
    บทว่า สนฺติมคฺคํ คือ ซึ่งทางอันมีองค์ ๘ ที่ยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน.
    บทว่า พฺรูหย คือ จงเจริญ.
    บทว่า นิพฺพานํ ความว่า เพราะพระนิพพานอันพระสุคตทรงแสดงแล้ว เพราะฉะนั้น ท่านจงเจริญทางแห่งพระนิพพานนั้น.
    ในเวลาจบเทศนา ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว ดังนี้แล.

    เรื่องสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตรเถระ จบ.

    ที่มา: http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=30&p=7
    ความสำคัญของกรรมฐานที่เหมาะแก่จริต(เรื่องบุตรนายช่างทอง)
     
  20. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ๑. มิจฉาทิฏฐิสูตร



    ว่าด้วยผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิเข้าถึงนรก


    [๒๔๘] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตร
    นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
    ได้สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตได้เห็นสัตว์ผู้ประกอบด้วย
    กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดมั่น
    การกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวคำนั้นแลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้
    เห็นสัตว์ผู้ประกอบด้วยกายทุจริต...เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะ
    ได้ฟังต่อสมณะหรือพราหมณ์อื่นก็หามิได้ ก็แต่ว่า เราตถาคตรู้มาเอง เห็น
    มาเอง ทราบมาเอง จึงกล่าวคำนั้นแลว่า เราตถาคตเห็นสัตว์ผู้ประกอบด้วย
    กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดมั่น
    การกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
    นรก.
     

แชร์หน้านี้

Loading...