ไม่เอาตำรา ไม่อ้างคัมภีร์จริงๆอ่ะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 21 มิถุนายน 2015.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ลักษณะของจิตที่เป็นสมาธิ


    ดังได้กล่าวแล้วข้างต้นว่า อธิจิตตสิกขา คือ การฝึกปรือเพื่อเสริมสร้างคุณภาพ และสมรรถภาพของจิต ดังนั้น สมาธิซึ่งเป็นเป้าหมายของอธิจิตตสิกขานั้น จึงหมายถึงภาวะจิตที่มีคุณภาพ และมีสมรรถภาพดีที่สุด

    จิตที่เป็นสมาธิ หรือมีคุณภาพดี มีสมรรถภาพนั้น มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้

    1. แข็งแรง มีพลังมาก ท่านเปรียบไว้ว่าเหมือนกระแสน้ำ ที่ถูกควบคุมให้ไหลพุ่งไปในทิศทาง เดียวย่อมมีกำลังแรงกว่าน้ำ ที่ถูกปล่อยให้ไหลพร่ากระจายออกไป
    2. ราบเรียบ สงบซึ้ง เหมือนสระ หรือ บึงน้ำใหญ่ ที่มีน้ำนิ่ง ไม่มีลมพัดต้อง ไม่มีสิ่งรบกวนให้กระเพื่อมไหว
    3. ใส กระจ่าง มองเห็นอะไรๆได้ชัด เหมือนน้ำสงบนิ่ง ไม่เป็นริ้วคลื่น และฝุ่นละอองที่มีก็ตกตะกอนนอนก้นหมด
    4. นุ่มนวล ควรแก่งาน หรือเหมาะแก่การใช้งาน เพราะไม่เครียด ไม่กระด้าง ไม่วุ่น ไม่ขุ่นมัว ไม่สับสน ไม่เร่าร้อน ไม่กระวนกระวาย


    ไวพจน์ที่แสดงความหมายของสมาธิคำหนึ่ง คือ เอกัคคตา แปลว่า ภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว แต่ถ้าว่าตามรูปศัพท์ จะเห็นลักษณะของจิตที่คล้ายกับในข้อแรก คือ เอกัคคตา = เอก + อัคค + ตา (ภาวะ)


    คำว่า อัคคะ ที่นี้ ท่านแปลว่าอารมณ์ แต่ความหมายเดิมแท้ คือ จุดยอด หรือจุดปลาย โดยนัยนี้ จิตเป็นสมาธิ ก็คือ จิตที่มียอด หรือมีจุดปลายจุดเดียว ซึ่งย่อมมีลักษณะแหลมพุ่ง รวมมุ่งดิ่งไป หรือแทงทะลุไปได้ง่าย


    จิตที่มีสมาธิขั้นสมบูรณ์ เฉพาะอย่างยิ่ง สมาธิถึงขั้นฌาน พระอรรถกถาจารย์เรียกว่า จิตพร้อมด้วยองค์ ๘ (อัฏฐังคสมันนาคตจิต) องค์ ๘ นั้น ท่านนับจากคำบรรยายที่เป็นพุทธพจน์นั่นเอง กล่าวคือ

    ๑. ตั้งมั่น
    ๒. บริสุทธิ์
    ๓. ผ่องใส
    ๔. โปร่งโล่ง เกลี้ยงเกลา
    ๕. ปราศจากสิ่งมัวหมอง
    ๖. นุ่มนวล
    ๗. ควรแก่งาน
    ๘. อยู่ตัว ไม่วอกแวกหวั่นไหว


    ท่านว่า จิตที่มีองค์ประกอบเช่นนี้ เหมาะแก่การนำเอาไปใช้ได้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเอาไปใช้งานทางปัญญา พิจารณา ให้เกิดความรู้เข้าใจถูกต้องแจ้งชัด หรือใช้ในทางสร้างพลังจิต ให้เกิดอภิญญาสมาบัติอย่างใดๆ ก็ได้

    ตามที่กล่าวมานี้ มีข้อควรย้ำว่า ลักษณะเด่นที่สุดของจิตที่เป็นสมาธิ ซึ่งสัมพันธ์กับความมุ่งหมายของสมาธิด้วย ก็คือ ความ "ควรแก่งาน" หรือ ความเหมาะแก่การใช้งาน และงานที่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา ก็คือ งานทางปัญญา อันได้แก่ การใช้จิตที่พร้อมดีเช่นนั้น เป็นสนามปฏิบัติการของปัญญา ในการพิจารณาสภาวธรรม ให้เกิดความรู้แจ้งตามเป็นจริง

    ควรย้ำเพิ่มไว้อีกว่า สมาธิที่ถูกต้อง ไม่ใช่อาการที่จิตหมดความรู้สึก ปล่อยตัวตนเข้ารวมหายไปในอะไรๆ แต่เป็นภาวะที่ใจสว่าง โปร่งโล่ง หลุดออกจากสิ่งบดบังบีบคั้นกั้นขวาง เป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ตื่นอยู่ เบิกบาน พร้อมที่จะใช้ปัญญา


    พึงพิจารณาพุทธพจน์ต่อไปนี้


    "ภิกษุ ทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการต่อไปนี้ เป็นเครื่องปิดกั้น เป็นนิวรณ์ เป็นสิ่งที่กดทับจิต ทำให้ปัญญาอ่อนกำลัง ๕ ประการ กล่าวคือ กามฉันท์...พยาบาท...ถีนมิทธะ...อุทธัจจกุกกุจจะ...วิจิกิจฉา...

    "ภิกษุ ไม่ละธรรม ๕ ประการ ที่เป็นเครื่องปิดกั้น เป็นนิวรณ์ เป็นสิ่งที่กดทับจิต ทำให้ปัญญา อ่อนกำลังแล้ว จักรู้จักประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจักประจักษ์แจ้ง ซึ่งญาณทัศนะอันวิเศษ ที่สามารถทำให้เป็นอริยะ ซึ่งยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์สามัญ ด้วยปัญญาที่ทุรพลไร้กำลัง ข้อนี้ ย่อมมิใช่ฐานะที่จะเป็นไปได้

    "เปรียบ เหมือนแม่น้ำที่เกิดบนภูเขา ไหลลงเป็นสายยาวไกล มีกระแสเชียว พัดพาสิ่งที่พอจะพัดเอาไปได้ บุรุษเปิดปากเหมืองออกทั้งสองข้างของแม่น้ำนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น กระแสน้ำท่ามกลางแม่น้ำนั้น ก็กระจาย ส่ายพร่า เขวคว้าง ไม่แล่นไหลไปไกล ไม่มีกระแสเชียว และพัดพาสิ่งที่พอจะพัดเอาไปไม่ได้...


    ครั้งหนึ่ง สังคารวพราหมณ์ กราบทูลถามพระพุทธเจ้า และพระองค์ได้ตรัสตอบ ดังนี้

    พราหมณ์: ท่านพระโคตมะผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยให้ ในบางคราว มนต์ทั้งหลาย แม้ที่ได้สาธยายมาแล้วตลอดเวลายาวนาน ก็ไม่แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้สาธยาย และอะไรหนอเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยให้ ในบางคราว มนต์ทั้งหลาย แม้ที่ได้สาธยายตลอดเวลายาวนาน ก็แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ได้สาธยาย

    พระพุทธเจ้า: ดูกรพราหมณ์ ในเวลาใด บุคคลมีใจกลุ้มรุมด้วยกามราคะ ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งทางออกแห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว ในเวลานั้น เขาย่อมไม่รู้ชัด มองไม่เห็นตามเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ตน แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่น แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองฝ่าย มนต์ทั้งหลาย แม้ที่ได้สาธยายมาตลอดเวลายาวนาน ก็ย่อมไม่แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้สาธยาย

    (บุคคลมีใจกลุ้มรุมด้วยพยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา ก็เช่นเดียวกัน และทรงเปรียบจิตที่ถูกนิวรณ์ข้อต่างๆ ครอบงำ ดังต่อไปนี้)

    ๑. (จิตที่ถูกกามราคะครอบงำ) เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ ซึ่งเอาสีครั่งบ้าง สีขมิ้นบ้าง สีเขียวบ้าง สีแดงอ่อนบ้าง ผสมปนกันบ้าง คนตาดีมองดูเงาหน้าของคนในภาชนะน้ำนั้น ก็ไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริง

    ๒. (จิตที่ถูกพยาบาทครอบงำ) เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ ที่เอาไฟเผาลน เดือดพล่าน มีไอพลุ่ง คนตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะน้ำนั้น ก็ไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริง

    ๓. (จิตที่ถูกถีนมิทธะครอบงำ) เปรียบเหมือนภาชนะใส่ น้ำ ที่ถูกสาหร่ายและจอกแหนปกคลุม คนตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะน้ำน้ำ ก็ไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริง

    ๔. (จิตที่ถูกอุทธัจจะกุกกุจจะครอบงำ) เปรียบเหมือน ภาชนะใส่น้ำ ที่ถูกลมพัด ไหวกระเพื่อม เป็นคลื่น คนตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะน้ำนั้น ก็ไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริง

    ๕. (จิตที่ถูกวิจิกิจฉาครอบงำ) เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ ที่ขุ่น มัว เป็นตม ซึ่งวางไว้ในที่มืด คนตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะน้ำนั้น ก็ไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริง


    ส่วนบุคคลที่ใจไม่มีนิวรณ์ ๕ ครอบงำ และรู้ทางออกของนิวรณ์ ๕ ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้เห็นตามเป็นจริง ทั้งประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองฝ่าย มนต์แม้ที่มิได้สาธยายตลอดเวลายาวนาน ก็แจ่มแจ้งได้ ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ได้สาธยาย และมีอุปมาต่างๆ ตรงข้ามกับที่ได้กล่าวมาแล้ว *


    "อุปกิเลสแห่งจิตทั้ง ๕ อย่างต่อไปนี้ จิตพัวพันเศร้าหมองเข้าแล้ว ย่อมไม่นุ่มนวล ไม่ควรแก่งาน ไม่ผ่องใส เปราะเสาะ และไม่ตั้งมั่นด้วยดี (ไม่เป็นสัมมาสมาธิ) เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ฉันนั้น ๕ อย่างนั้นเป็นไฉน? ได้แก่ กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา...

    "เมื่อใด จิตหลุดพ้นจากอุปกิเลส ๕ ประการเหล่านี้แล้ว ก็จะเป็นสภาพอ่อนโยน ควรแก่งาน ผ่องใส ไม่เปราะเสาะ และย่อมตั้งมั่นด้วยดี (เป็นเป็นสัมมาสมาธิ) เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย อนึ่ง เธอะน้อมจิตไป เพื่อรู้จำเพาะประจักษ์แจ้ง ซึ่งอภิญญาสัจฉิกรณียธรรม (สิ่งที่พึงทำให้ประจักษ์แจ้งด้วยการรู้เจาะตรง) อย่างใดๆ ก็ย่อมถึงภาวะที่สามารถเป็นพยานในธรรมนั้นๆได้ ในเมื่อเหตุมีอยู่.."

    มีพุทธพจน์บางแห่ง ตรัสว่า

    "ถ้าภิกษุปราศจากนิวรณ์ทั้ง ๕ และได้เริ่มทำความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติกำกับอยู่ ไม่เลื่อนหลง กายผ่อนคลายสงบ ไม่เครียดกระสับกระส่าย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์หนึ่งเดียว ไม่ว่าเธอจะเที่ยวไปอยู่ก็ตาม ยืนอยู่ก็ตาม นั่งอยู่ก็ตาม นอนตื่นอยู่ก็ตาม ก็เรียกได้ว่า เป็นผู้มีความเพียร มีโอตตัปปะ ได้เริ่มระดมความเพียรต่อเนื่องสม่ำเสมอ และเป็นผู้อุทิศตัวเด็ดเดี่ยวแล้ว"


    ข้ออุปมาของพระอรรถกถาจารย์เกี่ยวกับสมาธินี้ ก็น่าฟัง ท่านว่า สมาธิทำให้จิตตั้งอยู่ในอารมณ์อย่างสม่ำเสมอ ทำให้องค์ธรรมทั้งหลายที่เกิดร่วมกับมัน ผนึก ประสานกันอยู่ ไม่พร่า ไม่ฟุ้งกระจาย เหมือนน้ำผนึกประสานแป้งเข้าเป็นก้อนเดียว และทำให้จิตสืบต่ออย่างนิ่งแน่วมั่นคง เหมือนเปลวเทียนในที่สงัดลม ติดไฟอยู่สงบนิ่ง ลุกไหม้ไปเรื่อยๆ ส่องแสงสว่างสม่ำเสมอเป็นอย่างดี"

    ...........

    อ้างอิงที่ *

    * ไม่แจ่มแจ้ง หมายถึงนึกไม่ออก หรือคิดไม่ออก อีกแห่งหนึ่ง ตรัสถึงจิตที่ไม่ขุ่นมัว เหมือนห้วงน้ำใส มองเห็นก้อนหิน ก้นกรวด หอย และปลาทีแหวกว่ายในน้ำ ส่วนจิตที่ขุ่นมัว ก็เหมือนห้วงน้ำขุ่นที่ตรงกันข้าม
    (องฺ.เอก. ๒๐/๔๖-๔๗/๑๐)
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
  3. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    กั๊กๆ

    จะไปเอาอะไรกับกำลังใจ

    สมาธิของ " มาจากเด_ " ทำเสร็จ จะเอาไปใช้งาน พระพุทธองค์ บอกให้
    น้อมไปใน อานิสงค์ของ สมาธิ10อย่าง

    มีการเห็น นรก สววรคิ์ มีการแสดงฤทธิต่างๆ เป็น อาธิ

    แต่ " มาจากเด_ " กระทืบ คำสอน พระพุทธองค์ ไม่เอาตำรา ส่ายหน้าบอกว่า
    เหล่านั้นไม่ต้อง

    แล้วก็ หัวหกก้นขวิด

    จิตเป็นสมาธิ สำเร็จสมาธิแล้ว เสือกทะลึ่ง ไป พิจารณา นิวรณ์

    เปรียบเหมือน คนเดินเลย ป้ายนิวรณ์ มาถึง สถาณที่ทำงาน แต่ทะลึ่ง วิ่งกลับไปข้างหลัง
    กลับไป พิจารณานิวรณ์ ที่พ้นไปแล้ว ( ไม่เช่นนั้น จิตไม่เป็นสมาธิ )
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ได้ปรารภไว้ที่ # 8 ประมาณว่า

    "ศัทพ์แสงที่เรานำมาใช้มาพูด ล้วนมาจากตำราจากคัมภีร์ทางศาสนาทั้งสิ้น คงไม่มีใครบัญญัติขึ้นมาเองดอกนะ ถึงตนจะได้ยินได้ฟังจำต่อๆๆกันมาจากใครๆ จากอาจารย์ แต่บุคคลดังกล่าว ก็นำมาจากตำราจากคัมภีร์ เป็นทอดๆมา

    ปัญหามันอยู่ตรงนี้ครับ คือ เมื่อนำของเขามาใช้แล้ว ตนไม่ดูความหมายเดิมของเขามาด้วย เอาแต่ศัพท์ของเขามา แล้วมาพูดมาอธิบายกันเอาเอง ย้ำ มาพูดมาอธิบายกันเอาเอง ทีนี้ มันก็ไม่ตรงกับของเดิมเขาสิ (ความหมายเพี้ยน) นี่คือต้นตอของปัญหาในปัจจุบัน"


    พูดไม่ทันขาดคำ เอกวีร์เอาเลย

    ศัพท์ทางธรรม ทุกๆคำ ที่เอกวีร์นำมาพูดเนืย ตัวเองไม่ได้รู้เข้าใจสักตัว เอาของเขามา แล้วก็มโนความหมายเอาเอง นี่แหละธรรมปฏิรูป เพี้ยนหมด :(


    [FONT=&quot]วิมังสา[/FONT][FONT=&quot]การสอบสวนทดลอง[/FONT][FONT=&quot], การตรวจสอบ,การมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น (ข้อ ๔ ในอิทธิบาท ๔)

    [/FONT]
    [FONT=&quot][FONT=&quot]http://group.wunjun.com/whatisnippana/topic/593180-25640



    [/FONT]
    [/FONT]

    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" DefUnhideWhenUsed="true" DefSemiHidden="true" DefQFormat="false" DefPriority="99" LatentStyleCount="267"> <w:LsdException Locked="false" Priority="0" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Normal"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="heading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="35" QFormat="true" Name="caption"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="10" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" Name="Default Paragraph Font"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="11" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtitle"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="22" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Strong"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="20" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="59" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Table Grid"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Placeholder Text"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="No Spacing"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Revision"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="34" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="List Paragraph"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="29" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="30" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="19" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="21" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="31" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="32" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="33" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Book Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="37" Name="Bibliography"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" QFormat="true" Name="TOC Heading"/> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-priority:99; mso-style-qformat:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin-top:0cm; mso-para-margin-right:0cm; mso-para-margin-bottom:10.0pt; mso-para-margin-left:0cm; line-height:115%; mso-pagination:widow-orphan; font-size:11.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Calibri","serif"; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-ascii-theme-font:minor-latin; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-theme-font:minor-fareast; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin;} </style> <![endif]-->
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    นี่อีกคนอ่านหนังสือไม่แตก เหมือนคุณนพไม่มีผิด

    ตรงไหนที่ว่าเนื่ย

    นำมาสิ (deejai)

    ถามงี้หายอีก

    ยังมีผู้มาอนุโมทนาแนะ คิกๆๆ

    ใครนะเปิดดูหน้าหน่อยสิ

    ว๊ายยย ตาเถรตกบันได

    nopphakan (เมื่อวานนี้), [-VaLentine-] (เมื่อวานนี้)


    คิกๆๆๆ
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    คุณนพ ผมได้บอกคุณแล้วที่กระทู้กสิณนี่

    คุณอย่ากังวลใจไปเลยว่า ตัวคุณเองจะเผยแพร่ลัทธิจิตทิพย์จิตเป็นทิพย์.อะไรๆอีกต่อไปไม่ได้แล้ว เพราะมีผมอยู่ คงไม่หรอกครับ ความจริงมีอยู่ว่า ใครซึ่งยังเชื่อยังศรัทธาคุณอยู่ ก็ยังเชื่ออยู่ไม่เปลี่ยนแปลง มี ตย. เทียบเคียง คือ ลัทธินิครนถ์ ซึ่งเขาถือการนุ่งลมห่มฟ้า แก้ผ้าเดินโทงๆ ยังมีสาวกสืบต่อจนถึงทุกวันนี้ (ศาสดามหาวีระเป็นนักบวชร่วมสมัยกับพระพุทธเจ้า) แต่พระพุทธศาสนากลับสูญสิ้นจากแผ่นดินพุทธภูมิ เพราะฉะนั้นคุณนพอย่ากลัวเลยเผยแพร่ลัทธิจิตทิพย์ต่อไปเถอะครับ ผมเชียร์

    ผิดไปจากที่ผมพูดสะที่ไหน เห็นมะวาเลนไทน์ตามมาเชียร์นั่นน่ะ
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    เฉลย "ธรรมปฏิรูป" # 44

    ปฏิรูป สมควร, เหมาะสม, ปรับปรุงให้สมควร, ถ้าอยู่ท้ายในคำสมาส แปลว่า "เทียม" "ปลอม" "ไม่แท้" เช่น สัทธรรมปฏิรูป แปลว่า "สัทธรรมเทียม" หรือ "ธรรมปลอม"


    ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในประเทศอันสมควร, อยู่ในถิ่นที่เหมาะ หมายถึง อยู่ในถิ่นเจริญ มีคนดี มีนักปราชญ์

    (ข้อ ๑ ในจักร ๔ ข้อ ๖ ในมงคล ๓๘)
     
  8. bosslnwskr10

    bosslnwskr10 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    1,912
    ค่าพลัง:
    +1,512
    คนดีกับคนบ้ามักทำตัวเหมือนกัน

    คล้ายแต่แตกต่าง
     
  9. bosslnwskr10

    bosslnwskr10 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    1,912
    ค่าพลัง:
    +1,512
    การปฏิบัติธรรมที่แท้จริงต้องทำแล้วเกิดสุข ถ้าเกิดทุกข์คือผิดทาง

    ปฏิบัติธรรมก็เป็นไปเพื่อเข้าใจตนเอง และเข้าใจผู้อื่น
    ไม่ใช่ให้คนอื่นมาเข้าใจตน
    อันนี้ผมเพิ่งบอกตัวเองเมื่อกี้นะ
     
  10. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    ไม่ได้ชวนทะเลาะนะครับ มีเห็นพูดกันบ่อย

    ปฏิบัติธรรมที่ว่านี้ หมายถึงยังไง พอยกตัวอย่างให้เห็นภาพได้ไหมครับ
     
  11. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ก็บอกไปหลายหนแล้ว

    ธรรมะ ที่แปลแบบ ภาษาปุถุชน มันแปลแบบ อลุ่มอล่วยไปทางโลก เอา เยี่ยวหมา
    มาประเสริฐกว่าถาดทอง


    คุณคร้าบ

    ถ้าคุณภาวนาให้เป็นสักนิด ธรรมว่าด้วย อิทธิบาท มันจะต้องเริ่มต้นด้วย สติปัฏฐาน4

    เรียกว่า เริ่มต้นเนี่ยะ ก็พิจารณาแยกธาตุ แยกขันธ์ " พิจารณาลงเป็น กาย เวทนา
    จิต ธรรม "

    ทีนี้ หากภาวนาจนเป็นแล้ว แยกธาตุ แยกขันธ์ได้แล้ว สัมมัปปธาน 4 มันก็เริ่มต้น

    หลังจากนั้น ด้วย กรรมฐานตัวเดิม ใครจะใช้อะไรเป็นอุบายในการเจริญสติปัฏฐาน4
    ไม่ว่าจะ กสิณสัญญา บริกรรมสัญญา กถาสัญญา อานาปานสติสัญญา อนุสติ
    สัญญา ... จิตมันจะแยกออก เด่นดวงพอสมควรแล้ว และ กระบวนการตรึก
    ไตร่ตรอง ที่ค่อนไปทาง วิปัสสนึกเนี่ยะ จะต้อง ยุติ หรือ ไม่กำเริบอีก ตั้งแต่ส่วน
    สัมมัปธาน จิตเป็นมหากุศลจิต มีความเบา ไม่มีน้ำหนัก เนี่ยะ จะซักฟอกกันตรง
    นั้น ศีล จาคะ ฮาอะไร อัดกันตรงนั้น กำเริบกันตรงนั้น ตกจาก วิปัสสนาไป
    วิปัสสนึกกันตรงนั้น

    มันถึงจะมาเข้าถึง " จิตรำพึง " ที่ไม่ใช่การคิดๆ นึกๆ อีกต่อไป ....วิมังสาที่
    เป็นการใคร่ครวญด้วย การพิจารณาเปรียบเทียบด้วยความคิด ต้องตกจากฌาณ1-8 ลงไปเนี่ยะ
    นั่นมัน สมาธิส้นตี_ ภาวนาแทบตายให้จิตเป็นฌาณ จะทะลึ่ง
    ไปเอา คิดๆ นึกๆ แบบกระบืกสิณัง มาภาวนา มาเสริมอะไรกันอีก

    ดังนั้น ความเป็นกลางต่อสังขารทั้งปวงเนี่ยะ มันจะต้องเข้าขั้นแล้ว แต่.....

    สำหรับคนที่ไม่เอา สติปัฏฐานมาเป็น สัมมาทิฏฐิประกอบเป็น บาทฐาน คนที่
    ฝึกตรงนี้จะไม่ทราบว่า ตนกำลังฝึกออกนอกแนว การรำพึงของจิต จะต้อง
    กลับไปโน้น กลับไปสภาวมีกาย มีอัตตา แล้ว ค่อยกลับมารำพึงอธิษฐาน
    ซึ่งอะไรแบบนั้น เราจะเรียกว่า ไปฝึกไสยศาตาร์ มันจะมีความหนักแน่น
    ปรากฏกดถ่วงจิตก่อน แล้วจึงออกฤทธิ์ออกค้าง [ เพราะมันกลับไปมีกาย อันมี ตัณหานั่งเป็น นายช่าง ]

    แต่ถ้า เอาสติปัฏฐานเป็นฐาน จิตจะไม่เคลื่อนออกจากฐานไปมี สักกายทิฏฐิ
    จิตจะไม่เกิด ทิฏฐิดำริ แบบที่ มารมันสบช่อง ....ดังนั้น จิตรำพึง ที่มี สติปัฏฐาน
    เป็นเขื่อนกั้น มันจะไม่เกิดอัตตา

    จิตจะไม่เกิดน้ำหนัก มีแต่ความเบา มีลหุสัญญา มีวิราคะ มีวิสังขาร ให้ระลึก
    เป็นทาง จึงรู้ชัดอะไรใช่ทาง ไม่ใช่ทาง โดยไม่ต้องไป ทบทวนฮาอะไรเอาข้างนอก
    [ นิมิตจะมี หรือไม่มี ก็ คว่ำลงเป็น ส่วนขันธ์ ไม่มากดถ่วงจิต เห็นไปด้วยความ
    เป็นกลางนับแสนนับล้าน แล้วแต่จิตดวงนั้น ด้วยความเป็น " ยังกิญจิ สมุทยธัมมัง... " ]


    อิทธิบาท4 จึงทรงอยู่ในฌาณได้ อยู่กับฌาณ แต่ไม่ใช่ฌาณ เพราะ ฌาณ
    เป็นส่วน สังขาร อภิสังขาร ...... แล้วจิตนักภาวนาค่อนไปทางไหน ค่อนไปทาง
    สิ่งที่เรียกว่า ธรรมธาตุ(วิสังขาร มีวิมังสาเป็นสังวรณ์ประธาน) แบบว่า ภาวนาเก่งๆ
    เนี่ยะ แทบจะสอยนิพพานด้วยมือได้เลย

    แบบที่ว่า เห็นพระพุทธเจ้าเสด็จมา ละก้อ " ให้ฆ่าทิ้งเสีย " แบบที่ หลวงปู่ดูลย์อุตโลไม่มีใดเทียมฝากไว้ได้เลย

    แต่ถ้าเป็น ไสยศาสตร์ เป็นธรรมของมาร พระพุทธเจ้าเสด็จมา จิตมันจะเคลื่อน
    ไปต้อนรับ โง่ฉิหาย !!!

    นิพพานตาเหลือกไปข้างบน ทิ้งกายไว้ใน ห่อผัสดุพลาสติกใส ทิ้งไว้เป็นตัวแทนของ ตัณหา หิวเงิน จานลาย


    ปล.ลิง ตลิงปลิง : อ่านแล้ว วิมังสาเอาเอง นะฮับ อย่าลากผมไปบาปกรรม โน้น นั่นนี่ อย่าขาดสติ กั้น!!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มิถุนายน 2015
  12. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ทีนี้ การลงมือปฏิบัติจริง จิตมันติดอวิชชาของมันอยู่ จิตยังตกข้างอวิชชาอยู่
    มันจะผลิกออก ปลิ้นออกจากทาง นี่เรื่องปรกติของนักภาวนา

    ดังนั้น

    เขาจึงไม่เที่ยวตำหนิ เวลาที่ จิตของนักภาวนามันแฉลบออก ไปเชื่อธรรมฝ่ายไสย
    แบบ โลกียภิญญา5

    เราจะอาศัย สังเกต รสของการปรารภ อภิญญาตัวที่6 มีหรือเปล่า

    มีใน สังวรณ์ประธานของ อิทธิบาทหรือเปล่า หรือ ประมาทในธรรม เมาโลกียภิญญา
    ลูกเดียว ทิ้ง อภิญญาตัวที่6 โยนเข้าป่า(ทิฏฐิ)ไปโน้น[ อาศัยการสำคัญตัวว่า สำเร็จ
    มรรคผลนิพพาน หลอกกันเอง ]
     
  13. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    เอกวีร์ขยัน (ฟุ้งซ่าน) พิมพ์ได้มากมาย แต่จับเอาสาระจับประเด็นไม่ได้ว่า ประเด็นมันอยู่ตรงไหน ใช้ภาษาเทพแล้วคนจะรู้เรื่องไหมเนี่ย

    เอาเถอะ แต่ก็พอเห็นประเด็นอยู่หน่อย(deejai)

    อ้างอิงคำพูด

    "ถ้าคุณภาวนาให้เป็นสักนิด ธรรมว่าด้วย อิทธิบาท มันจะต้องเริ่มต้นด้วย สติปัฏฐาน4"


    ขอเชิญเอกวีร์แนะนำวิธีภาวนาเลยครับ ว่าไปๆให้ไปเชื่อมกับสติปัฏฐาน 4 ดังกล่าว ว่าไป เวอร์ชั่นเต็มเลยครับ ผมจะรับฟังและน้อมนำไปปฏิบัติ

    ปล. อย่าหายจ้อย หรือข้ามไปนะครับ :d
     
  14. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    งง หละซี่ คิดว่าเขาคุย ด้วยหรือจั๊บ

    เปล่านะจั๊บ ธรรมะสองโพสนั้น ส่งอารมณ์กรรมฐานสั้นๆ เพียง ช้างกระดิกหู งูแล๊บลิ้น

    พยายาม ท้าทาย ให้คนที่ อ่านแล้ว พอเข้าใจ ใช้ความอดทน อดกลั้น ไม่ ชิงสุกก่อนห่าม

    พยายาม มีสติ รักษาจิต หา ฐานจิต ให้เจอ !!!

    ซึ่ง ธรรมะใดที่กล่าวเพียง การหาฐานจิตให้เจอ อันนี้ เขาเรียกว่า ธรรมเด็กอนุบาล เขาฟังๆ เพื่อเริ่มต้นทำกรรมฐาน
     
  15. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ถาม งัวกสิณํ ตอบ กระบือกสิณํ

    วิ่งรอกไปฐานจิตอีก :d

    [​IMG]



    แล้วมัน
     
  16. bosslnwskr10

    bosslnwskr10 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    1,912
    ค่าพลัง:
    +1,512

    ครับผม ;) เรื่องคนดีกับคนบ้า ทำตัวเหมือนกัน ขอยกตัวอย่างนะ

    คนที่ทำคุณไสยนั้น มักจะเอาผ้าห่อศพมาทำพิธี เพราะมีความเหี้ยนสูง คาถาอาคมจะแกล้งกล้า
    ในคณะที่ พระพุทธเจ้าก็ สอนให้สาวก เอาผ้าห่อศพ มาย้อมสี แล้วให้สาวกใส่
    ซึ่งผ้าเหลือง ที่เป็นตารางก็ได้มาจากพระอานน ออกแบบตามคำสั่งของพระพุทธเจ้า

    ทั้งมนต์ดำ และ พระสาวก ต่างก็ต้องการผ้าท่อศพ การกระทำเหมือนกัน แต่เจตนาต่างกัน
    ในบางครั้งการที่เห็นเขาทำอะไร อย่างเช่นเอาผ้าห่อศพมาจากศพ อย่างเพิ่งตัดสินว่า คนนั้นดีหรือไม่ดี
    ข้อคิดนะครับ
     
  17. bosslnwskr10

    bosslnwskr10 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    1,912
    ค่าพลัง:
    +1,512
    ส่วนคนที่บอกว่าไม่เอาตำรา
    ในบางครั้ง
    เคยได้ยินคำว่า คนที่ปฏิบัติมักไม่รู้ ส่วนคนรู้ไม่ได้ปฏิบัติใหมครับ

    มันคล้ายกับคำที่ว่า คนรู้ธรรมมีเยอะ แต่คนมีธรรมมีน้อย

    คนที่รู้ว่าฤิทธิ์ มีอะไรบ้างเรียกว่าอะไร มักไม่มีฤิทธิ์
    แต่คนที่เน้นปฏิบัติ โดยที่ไม่รู้ว่าจะได้อะไร มักได้ฤิทธิ์เดช แต่อาจจะรู้ทีหลังว่าเรียกว่าอะไร

    ในกึ่งพุทธกาลเช่นนี้มารย่อมเยอะ จะแยกออกได้อย่างไร ว่าอันใหนมาร อันใหนพระ
    เพราะการกระทำมักคล้ายๆกัน ในคณะที่มารมักจะพูดแต่พระมักจะนิ่ง ทำให้มองยาก

    แต่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ศาสนาพุทธถ้าจะดับ ก็ด้วยคนพุทธ ไม่ใช่คน สัตว์ ยัก มาร เทวดา หรือพรห์ม นอกศาสนา
     
  18. bosslnwskr10

    bosslnwskr10 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    1,912
    ค่าพลัง:
    +1,512
    ปฏิบัติธรรม เพื่อเข้าใจตน ไม่ใช่ให้คนอื่นเข้าใจเราก็คือ

    ทุกข์จะเกิดก็เพราะเรา ไม่ใช่เพราะเขา

    พระที่ต้องการฝึกตนจึงมักเข้าป่า เพื่อไปฝึกตน

    ให้อยู่ใกล้กับอันตราย ไม่ว่าจะสัตว์ หรือภูติ ผี ปีศาจ
    แต่เมื่ออยู่ไปนานๆ ในความมืดที่มองไม่เห้นแม้แต่นิ้วมือตัวเอง
    จะหนีก็ไม่ได้ จะสู้ก็ไม่ได้ จะร้องขอความช่วยเหลือก็ไม่ได้
    เราจะพบศัตรูที่แท้จริง คือจิตตัวเอง เมื่อเจอแน่ชัด แล้วถ้าเราจะสู้
    เราก็สู้กับศัตรูได้ถูกตัว และคู่ควรที่นักปฏิบัติสมควรเอาชนะแล้วใครที่ชนะใจตนได้
    จะเข้าใจคำพูดของพระพุทธเจ้าที่ว่า ชนะใจตนนั้นประเสร็จสุด ด้วยปิติ อย่างที่สุด
     
  19. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    "การปฏิบัติธรรม" ก็คืออย่างที่พูด อย่างที่ถาม ครับผม
     
  20. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    หมายถึงยังไงครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...