ไม่เอาตำรา ไม่อ้างคัมภีร์จริงๆอ่ะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 21 มิถุนายน 2015.

  1. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    ทางสายกลางครับ ใช้ตำราเป็นเครื่องชี้นำ ใช้การปฏิบัติเป็นตัวเข้าถึง
    ไม่ยึดตำรา แต่อาศัยตำรา
    ไม่เอาตำรา แต่ไม่ทิ้งตำรา
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    คุณก็ ค่อยสิขอรับ ผมขี้ตกใจอยู่ด้วย ล้อเล่ง

    เอาๆว่าอะไรว่าตามกัน :d

    เราจะเจริญสมาธิยังไงกันดีครับ
     
  3. ชมทรัพย์

    ชมทรัพย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2015
    โพสต์:
    551
    ค่าพลัง:
    +248
    สักว่ารู้กาย สักว่ารู้อารมณ์ นั่นไงสมาธิแท้ๆ ทุกคนรู้
    พูดได้ทุกคนหละครับ แต่ว่าทำจริงๆ ใครได้ไหม

    คนเค้าแนะกัน ถ้าฟังได้ศัพท์ก็จับมาให้เป็นประโยชน์
    ไม่ได้ให้เลิกสนใจตำรา ให้วางตำราลงบ้างตอนปฏิบัติมันจะเป็นนิวรณ์
    แล้วก็นู่น เรือนว่าง โคนไม้
    กายก็มีแล้ว อารมณ์ก็มีแล้ว
    จะให้ไปขี้แทนให้ไหมหละ

    เอาๆกระตุก พอได้สะเทือน ผมยอมแพ้คุณแล้ว ไปหละ
     
  4. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +1,558
    ที่นี่วุ่นวายหนอ...(kiss)
     
  5. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +3,084
    ทางที่ต้องการไปกัน ยากมากๆๆๆๆๆๆ จึงควรศึกษาตำรา

    แต่ถ้าศึกษาแล้ว ไปคิดว่าคนโน้นถูก คนโน้นผิด น่าจะลองทบทวนจิตตัว กิเลสเพิ่มหรือปล่าว

    ขาดสติในการสอบอารมณ์ตัวเองหรือปล่าว รู้เท่าทันจิตตัวเองไหม กิเลสเกิดรู้หรือปล่าว

    ให้ลองปรับ อินทรีย์ใหม่

    อ่านตำราแล้ว ได้ปฎิบัติตามไหม ตำราอธิบายตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงเบื้องปลาย

    เราปฎิบัติระดับไหนก็ควรศึกษาในระดับพอเหมาะแก่ตน ทบทวนไปมา เพื่อให้เกิดผล
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ขอนำแผนที่ คือ วิธีเจริญสมาธิ (แต่บ้านเรามักเรียก นั่งสมาธิ) แทรกไว้ ลองสังเกตดูครับ

    [​IMG]


    วิธีเจริญสมาธิ

    คือผู้ปฏิบัติธรรมอาจใช้สมาธิเพียงขั้นต้น ที่เรียกว่า ขณิกสมาธิ เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับใช้ปัญญาพิจารณาสภาวธรรมตามหลักวิปัสสนา และสมาธินั้นก็จะเจริญขึ้นไปกับการเจริญวิปัสสนาด้วย

    อย่างไรก็ดี แม้ว่าสมาธิที่เจริญขึ้นไปด้วยการปฏิบัติเช่นนี้ ในที่สุดก็จะมีกำลังพอที่จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติบรรลุผลที่หมายของวิปัสสนา คือความหลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์ ประจักษ์แจ้งนิพพานได้ก็จริง แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะให้ได้ผลสำเร็จทางจิต ที่เป็นส่วนพิเศษออกไป คืออภิญญาขั้นโลกีย์ต่างๆ มีอิทธิปาฏิหาริย์เป็นต้น

    นอกจากนั้น การเริ่มต้นด้วยสมาธิที่ยิ่งอ่อน ก็เหมือนคนเดินทางที่มีกำลังน้อย ไม่แข็งแรง ทำให้มีความพร้อมในการเดินทางน้อยลง แม้จะหวังไปค่อยๆเสริมกำลังข้างหน้า ก็สู้คนที่เตรียมพร้อมเต็มที่ไปแต่ต้น เริ่มเดินทางด้วยความมั่นคงไม่มีห่วงกังวลเลย ไม่ได้ ยิ่งถ้าปัญญาไม่เฉียบแหลมอีกด้วย ก็ยิ่งยากลำบาก หรือปัญญาแก่ไป บางทีก็พาให้ฟุ้งซ่านเสียอีก ดังนั้น จึงเกิดความนิยมที่จะฝึกพัฒนาเน้นหนักด้านสมาธิให้เป็นพื้นฐานไปก่อน ไม่มากก็น้อย แม้จะไม่หวังผลสำเร็จทางด้านพลังจิตถึงขั้นอภิญญาอะไร แต่ก็พอให้เป็นพื้นฐานที่มั่นคงพอสมควร ในการเจริญปัญญาต่อไป


    เรื่องที่ว่านี้ ถ้ามองดูความเป็นไปในชีวิตจริง จะเห็นชัดยิ่งขึ้น คนบางคน ถ้าอยู่ในสถานที่มีเสียงรบกวนเพียงเล็กน้อย หรือมีคนอื่นเดินผ่านไปผ่านมา จะทำอะไรที่ใช้ความคิดไม่ได้เลย ที่จะใช้ปัญญาพิจารณาอะไรอย่างลึกซึ้ง เป็นอันไม่ต้องพูดถึง แต่คนบางคนมีจิตแน่วแน่มั่นคงดีกว่า แม้จะมีเสียงต่างๆ รบกวนรอบด้าน มีคนพลุกพล่านจอแจ ก็สามารถใช้ความคิดพิจารณาทำงานที่ต้องใช้สติปัญญาได้อย่างปกติ


    บาง คนมีกำลังจิตเข้มแข็งมาก แม้อยู่ในสถานการณ์ที่น่าตื่นเต้นหวาดกลัว ก็ไม่หวั่นไหว สามารถใช้ปัญญามองการณ์และคิดการต่างๆอย่างได้ผลดี ดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ


    ดังมีเรื่องเล่าว่า พระเจ้านะโปเลียนที่ ๑ แห่งฝรั่งเศส มีพลังจิตสูง ประสงค์คิดเรื่องไหนเวลาใด ก็คิดเรื่องนั้นเวลานั้น ไม่ประสงค์คิดเรื่องใด ก็ไม่คิดเรื่องนั้น เปรียบสมองเหมือนมีลิ้นชักจัดแยกเก็บเรื่องต่างๆไว้เป็นพวกๆ อย่างมีระเบียบ ชักออกมาใช้ได้ตรงเรื่องตามต้องการ แม้อยู่ในสนามรบ ท่ามกลางเสียงปืนเสียงระเบิดกึกก้อง เสียงคนเสียงม้าศึกวุ่นวายสับสน ก็มีกิริยาอาการสงบ คิดการได้เฉียบแหลมเหมือนในสถานการณ์ปกติ หากประสงค์จะพักผ่อน ก็หลับได้ทันที ต่างจากคนสามัญจำนวนมากที่ไม่ได้ฝึก เมื่อตกอยู่ในถานการณ์เช่นนั้น อย่าว่าแต่คิดการใดๆเลย แม้แต่เพียงจะควบคุมจิตใจให้อยู่ที่ ก็ไม่ได้ มักจะขวัญหนี ใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว ตื่นเต้นไม่เป็นกระบวน

    เรื่องเล่านี้ แม้จะยังไม่พบหลักฐาน แต่ในกรณีทั่วไป ทุกคนก็คงพอจะมองเห็นได้ถึงความแตกต่าง ระหว่างคนที่กำลังจิตเข้มแข็ง กับคนที่มีใจอ่อนแอ เรื่องพระเจ้านะโปเลียนที่เล่ากันมานั้น ก็ไม่ใช่เรื่องอัศจรรย์เลย หากเทียบกับตัวอย่างในคัมภีร์ เช่น อาฬารดาบส กาลามโคตร ระหว่างเดินทางไกล นั่งพักกลางวันอยู่ใต้ร่มไม้แห่งหนึ่ง มีกองเกวียนประมาณ ๕๐๐ เล่ม ผ่านไปใกล้ๆ ท่านก็มิได้เห็น ไม่ได้ยินเสียงกองเกวียนนั้นเลย

    พระพุทธเจ้า คราวหนึ่ง ขณะประทับอยู่ ณ เมืองอาตุมา มีฝนตกหนักมาก ฟ้าคะนอง เสียงฟ้าผ่าครื้นครั่นสนั่นไหว ชาวนาสองพี่น้อง และโคสี่ตัว ถูกฟ้าผ่าตาย ใกล้ที่ประทับพักอยู่นั้นเอง พระพุทธเจ้า อยู่ด้วยวิหารธรรมอันสงบ ไม่ทรงได้ยินเสียงทั้งหมดนั้นเลย


    มีพุทธพจน์แห่งหนึ่งตรัสว่า ผู้ที่ฟ้าผ่าไม่สะดุ้ง ก็มีแต่พระอรหันต์ขีณาสพ ช้างอาชาไนย ม้าอาชาไนย และพญาสีหราช ในหมู่คนสามัญกำลังใจ กำลังปัญญา ความแน่วแน่มั่นคงของจิต ก็ยังแตกต่างกันออกไปเป็นอันมาก

    สำหรับคนส่วนใหญ่ ซึ่งกำลังความมั่นคงของจิตก็ไม่มาก กำลังปัญญาก็ไม่เฉียบแหลมนัก อาจารย์ใหญ่มากหลายท่าน จึงเห็นว่าถ้าไม่เตรียมจิตที่เป็นสนามทำงานของปัญญาให้พร้อมดีก่อน โอกาสที่จะแทงตลอดสัจธรรมด้วยโลกุตรปัญญา ย่อมเป็นไปได้ยากยิ่ง ท่านจึงเน้นการฝึกจิตด้วยกระบวนสมาธิภาวนาให้เป็นฐานไว้ก่อนเจริญปัญญาอย่างจริงจังต่อไป


    การฝึกอบรมเจริญสมาธินั้น แม้ว่าโดยหลักการ จะพูดได้สั้นนิดเดียว แต่ในด้านวิธีการ มีเนื้อหารายละเอียดมากมาย ยิ่งถ้าพูดต่อออกไปจนถึงการใช้สมาธิ (คือจิตเป็นสมาธิ) นั้น เป็นสนามปฏิบัติการของปัญญา ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาด้วยแล้ว กลายเป็นเรื่องใหญ่มาก มีขอบเขตกว้างขวาง รวมเรียกว่า สมถะ และ วิปัสสนา จึงเฉพาะในที่นี้ จะกล่าวไว้แต่หลักสำคัญกว้างๆ พอเป็นเค้าให้เห็นแนวทาง
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    การการเจริญสมาธิแบบธรรมดาพาไปเอง


    การเจริญสมาธิในข้อนี้ ก็คือ การปฏิบัติตามหลักการเกิดขึ้นของสมาธิในกระบวนธรรมที่เป็นไปเองตามธรรมดาของธรรมชาติ หรือธรรมดาพาไปโดยไม่ต้องคิดตั้งใจ ซึ่งมีพุทธพจน์แสดงไว้มากมายหลายแห่ง สาระสำคัญของกระบวนธรรมนี้คือ กระทำสิ่งที่ดีงามอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้เกิดปราโมทย์ขึ้น จากนั้น ก็จะเกิดมีปีติ ซึ่งตามมาด้วยปัสสัทธิ ความสุข และสมาธิในที่สุด พูดเป็นคำไทยว่า เกิดความ มีความชื่นบานบันเทิงใจ จากนั้น ก็จะเกิดความเอิบอิ่มใจ ร่างกาย ผ่อนคลายสงบ จิตใจสบายมีความสุข แล้วสมาธิก็เกิดขึ้นได้ เขียนให้ดูง่ายดังนี้

    ปราโมทย์ => ปีติ => ปัสสัทธิ => สุข => สมาธิ


    หลักทั่วไป มีอยู่อย่างหนึ่งว่า การที่กระบวนธรรมเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้นั้น ตามปกติจะต้องมีศีลเป็นฐานรองรับอยู่ก่อน สำหรับคนทั่วไป ศีลนี้ ก็หมายเอาเพียงแค่การที่มิได้ไปเบียดเบียนล่วงละเมิดใครมา ที่จะเป็นเหตุให้ใจคอวุ่นวายคอยระแวงหวาดหวั่นกลัวโทษ หรือเดือดร้อนใจในความผิด ความชั่วร้าย ของตนเอง มีความประพฤติสุจริตเป็นที่สบายใจของตน ทำให้เกิดความเป็นปกติมั่นใจตัวเองได้


    ส่วนการกระทำที่จะให้เกิดปราโมทย์ ก็มีได้หลายอย่าง เช่น อาจนึกถึงความประพฤติดีงามสุจริตของตนเองแล้ว เกิดความปลาบปลื้มบันเทิงใจขึ้นก็ได้ อาจระลึกถึงการทำงานการบำเพ็ญประโยชน์ของตน อาจระลึกถึงพระรัตนตรัย และสิ่งดีงามอื่นๆ อาจหยิบยกเอาหลักธรรมบางอย่างขึ้นมาพิจารณา แล้วเกิดความเข้าใจได้หลักได้ความหมายเป็นต้น แล้วเกิดความปลาบปลื้มบันเทิงใจขึ้นมา ก็ได้ทั้งสิ้น


    องค์ธรรมสำคัญที่จะเป็นบรรทัดฐาน หรือเป็นปัจจัยใกล้ชิดที่สุดให้สมาธิเกิดขึ้นได้ ก็คือ ความสุข ดังพุทธพจน์ที่ตรัสเป็นแบบไว้เสมอๆ ว่า "สุขิโน จิตฺตํ สมาธิยติ" แปลว่า ผู้มีสุข จิตย่อมเป็นสมาธิ ขอยกตัวอย่าง ความเต็มมาดูสักแห่งหนึ่ง

    "(เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม) ปราโมทย์ ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์ ปีติ ย่อมเกิด เมื่อมีใจปีติ กาย ย่อมผ่อนคลายสงบ ผู้มีกายผ่อนคลายสงบ ย่อมได้เสวยสุข ผู้สุข จิต ย่อมตั้งมั่น" * (ที.ปา. 11/302/254)

    อย่างไรก็ตาม ว่าที่จริง การเจริญสมาธิในข้อนี้ ก็คือหลักทั่วไปของการฝึกสมาธิ ซึ่งเป็นแกนกลางของวิธีฝึกทั่วไปถึงขั้นก่อนจะได้ฌานนั่นเอง ในที่นี้ จะไม่กล่าวถึงรายละเอียดใดๆ จึงยุติเพียงเท่านี้ก่อน

    ........

    * ข้อความในวงเล็บ แสดงเหตุให้เกิดปราโมทย์ในกรณีนี้ ซึ่งในกรณีอื่นๆ จะแปลกกันไปได้ต่างๆ ส่วนความนอกวงเล็บ คือหลักทั่วไป


    ความหมายศัพท์

    ปราโมทย์ ความบันเทิงใจ, ความปลื้มใจ, (ปราโมชก็ใช้)
    ปีติ ความอิ่มใจ, ความดื่มด่ำในใจ มี ๕ อย่าง คือ ๑. ขุททกาปีติ ปีติเล็กน้อยพอขนชันน้ำตาไหล ๒. ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะรู้สึกแปลบๆ ดุจฟ้าแลบ ๓. โอกกันติกาปีติ ปีติเป็นระลอกรู้สึกซู่ลงมาๆ ดุจคลื่นซัดฝั่ง ๔. อุพเพคาปีติ ปีติโลดลอย ให้ใจฟู ตัวเบาหรืออุทานออกมา ๕. ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน เอิบอาบไปทั่วสรรพางค์ เป็นของประกอบกับสมาธิ
    ปัสสัทธิ ความสงบกายสงบใจ, ความสงบใจและอารมณ์, ความสงบเย็น, ความผ่อนคลายกายใจ
    สุข ความสบาย, ความสำราญ, ความฉ่ำชื่นรื่นกายรื่นใจ มี ๒ คือ ๑. กายิกสุข สุขทางกาย ๒. เจตยิกสุข สุขทางใจ
    สมาธิ ความมีใจตั้งมั่น, ความตั้งมั่นแห่งจิต, การทำให้ใจสงบแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน, ภาวะที่จิตตั้งเรียบแน่วอยู่ในอารมณ์คือสิ่งอันหนึ่งอันเดียว มักใช้เป็นคำเรียกง่ายๆ สำหรับอธิจิตตสิกขา


    [​IMG]
     
  8. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ฉลาด แต่ไม่เฉลียว โง่ยิ่งกว่า ม้า แล ช้าง ...........

    ก็ ในพุทธพจน์ ก็กล่าวอยู่ว่า สมาธิอันยอดเยี่ยมที่บรรยายเสียเลอเลิศ ฟ้าผ่าไม่สะดุ้ง
    กล่าวว่า เป็นต้นเค้าของปัญญา

    ก็ ไอ้ฮา !! เอ้ย หัดอ่านให้มันดีๆ ก็ ช้าง และ ม้า อีกทั้ง ราชสีห์ เดรัจฉานแท้ๆ
    มันยังทำได้ สมาธิเช่นนั้น

    แล้ว สัตว์เยี่ยงคน ตนไหนหละ ยัง ละเมอ โง่บานลาย ยอยก ใน สมาธิ ว่า
    จะนำปัญญา มาให้

    โง่ ยิ่งเสียกว่า ช้าง ม้า เจ้าแมวเหมียวตัวโต หละไม่ว่า
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    การเจริญสมาธิตามหลักอิทธิบาท


    อิทธิบาท แปลว่า ธรรมเครื่องให้ถึงอิทธิ (ฤทธิ์ หรือความสำเร็จ) หรือธรรมที่เป็นเหตุให้ประสบความสำเร็จ หรือแปลง่ายๆว่า ทางแห่งความสำเร็จ มี ๔ อย่าง คือ ฉันทะ (ความพอใจ) วิริยะ (ความเพียร) จิตตะ (ความมีใจจดจ่อ) และวิมังสา (ความสอบสวนไตร่ตรอง) แปลให้จำง่ายว่า มีใจรัก พากเพียรทำ เอาจิตฝักใฝ่ ใช้ปัญญาสอบสวน

    อิทธิบาทนั้น พระพุทธเจ้าตรัสพันไว้กับเรื่องสมาธิ เพราะอิทธิบาทเป็นข้อปฏิบัติที่ทำให้เกิดสมาธิ และนำไปสู่ผลสำเร็จที่เป็นจุดหมายของสมาธิ สมาธิเกิดจากอิทธิบาทข้อใด ก็มีชื่อเรียกตามอิทธิบาทข้อนั้น โดยนัยนี้ จึงมีสมาธิ ๔ ข้อ คือ

    ๑. ฉันทะสมาธิ สมาธิที่เกิดจากฉันทะ หรือสมาธิที่มีฉันทะเป็นใหญ่
    ๒. วิริยสมาธิ สมาธิที่เกิดจากวิริยะ หรือสมาธิที่มีวิริยะเป็นใหญ่
    ๓. จิตตสมาธิ สมาธิที่เกิดจากจิตตะ หรือสมาธิที่มีจิตตะเป็นใหญ่
    ๔. วิมังสาสมาธิ สมาธิที่เกิดจากวิมังสา หรือสมาธิที่มีวิมังสาเป็นใหญ่

    อนึ่ง สมาธิเหล่านี้ จะเกิดมีควบคู่ไปด้วยกันกับความเพียรพยายาม ที่เรียกว่า "ปธานสังขาร" ซึ่งแปลว่า สังขารที่เป็นตัวความเพียร หรือความเพียรที่เป็นเครื่องปรุงแต่ง แปลง่ายๆว่า ความเพียรที่เป็นแรงสร้างสรรค์หรือความเพียรสร้างสรรค์ (ได้แก่ ความเพียรซึ่งทำหน้าที่ ๔: กัน-ละ-เจริญ-รักษา ที่เรียกว่า ปธาน ๔ นั่นเอง)
     
  10. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    แต่ละ คคห. เลื่อนลอยเหมือนเปลือกมะพร้าวลอยน้ำ

    เอาเท่าที่เอกวีร์สบายใจนะ rabbit_run_away
     
  11. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ต่อจาก # 29

    สมาธิเกิดจาก ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา หรือจากความมีใจรัก พากเพียรทำ เอาจิตฝักใฝ่ ใช้ปัญญาสอบสวนได้อย่างไร มีแนวความเข้าใจ ดังนี้

    ๑. ฉันทะ ความพอใจ ได้แก่ ความมีใจรักในสิ่งที่ทำ และพอใจใฝ่รักในจุดหมายของสิ่งที่ทำนั้น อยากทำสิ่งนั้นๆ ให้สำเร็จ อยากให้งานนั้นหรือสิ่งนั้นบรรลุจุดหมาย พูดง่ายๆว่า รักงาน และรักจุดหมายของงาน พูดให้ลึกลงไปในทางธรรมว่า ความรักใคร่ใฝ่ใจปรารถนาต่อภาวะดีงามเต็มเปี่ยม สมบูรณ์ ซึ่งเป็นจุดหมายของสิ่งที่กระทำ หรือซึ่งจะเข้าได้ด้วยการกระทำนั้น อยากให้สิ่งนั้นๆ เข้าถึงหรือดำรงอยู่ในภาวะที่ดีที่งาดงามที่ประณีต ที่สมบูรณ์ที่สุดของมัน หรืออยาให้ภาวะดีงามเต็มเปี่ยมสมบูรณ์ของสิ่งนั้นๆ ของงานนั้น เกิดมีเป็นจริงขึ้น อยากทำให้สำเร็จผลตามจุดหมายทีดีงามนั้น

    ความอยากที่เป็นฉันทะนี้ เป็นคนละอย่างกับความอยากได้สิ่งนั้นๆมาเสพ หรืออยากเอามาเพื่อตัวตนในรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าเป็นตัณหา ความอยากของฉันทะนั้น ให้เกิดความสุขความชื่นชม เมื่อเห็นสิ่งนั้นๆ งานนั้นๆ บรรลุความสำเร็จ เข้าถึงความสมบูรณ์ อยู่ในภาวะอันดีงามของมัน

    อาการของความอยากที่เป็นฉันทะนี้ พูดแยกออกไปว่า ขณะเมื่อสิ่งนั้น หรืองานนั้น กำลังเดินหน้าไปสู่จุดหมาย ก็เกิดปีติ เป็นความเอิบอิ่มใจ ครั้นสิ่งหรืองานที่ทำบรรลุจุดหมาย ก็ได้รับโสมนัส มีความสุข เป็นความฉ่ำชื่นใจ ที่พร้อมด้วยความรู้สึกโปร่งโล่งผ่องใสเบิกบานแผ่ออกไปเป็นอิสระ ไร้ขอบเขต

    ส่วนความอยากของตัณหา ให้เกิดความสุขความชื่นชม เมื่อได้สิ่งนั้นมาให้ตนเสพเสวยรสอร่อย หรือปรนเปรอความยิ่งใหญ่พองขยายของตัวตน เป็นความฉ่ำชื่นใจที่เศร้าหมอง หมกหมักตัว กีดกั้นกักตนไว้ในความคับแคบ และมักติดตามมาด้วยคามหวงแหนห่วงกังวลเศร้าเสียดาย และหรือหวั่นกลัวหวาดระแวง

    ๒. วิริยะ ความ เพียร ได้แก่ ความอาจหาญ แกล้วกล้า บากบั่น ก้าวไป ใจสู้ ไม่ย่อท้อ ไม่หวั่นกลัวต่ออุปสรรคและความอยากลำบาก เมื่อคนรู้ว่าสิ่งใดมีคุณค่าควรแก่การบรรลุถึง ถ้าวิริยะเกิดขึ้นแก่เขาแล้ว แม้ได้ยินว่าจุดหมายนั้นจะลุถึงได้ยากนัก มีอุปสรรคมาก หรืออาจใช้เวลายาวนานเท่านั้นปี เท่านี้เดือน เขาก็ไม่ท้อถอย กลับเห็นเป็นสิ่งท้าทาย ที่จะเอาชนะให้ได้ ทำให้สำเร็จ

    ในพุทธกาล มีนักบวชนอกศาสนาหลายท่าน เมื่อสดับพุทธธรรมแล้วเลื่อมใส ขอบรรพชาอุปสมบท ครั้นได้รู้ว่า ผู้เคยเป็นนักบวชนอกศาสนาจะต้องประพฤติวัตรทดสอบตนเองก่อน เรียกว่าอยู่ปริวาส (ติตถิยปริวาส เป็นเวลา ๔ เดือน ก็ไม่ท้อถอย กลับกล้าเสนอตัวประพฤติวัตรทดสอบเพิ่มเป็นเวลาถึง ๔ ปี)

    ส่วนผู้ขาดความเพียร อยากบรรลุความสำเร็จเหมือนกัน แต่พอได้ยินว่าต้องใช้เวลานานเป็นปี ก็หมดแรง ถอยหลัง ถ้าอยู่ระหว่างปฏิบัติ ก็ฟุ้งซ่าน จิตใจวุ่นวาย ปฏิบัติได้ผลยาก

    คนที่มีความเพียร เท่ากับมีแรงหนุน เวลาทำงาน หรือปฏิบัติธรรมระดับใดก็ตาม จิตใจจะแน่วแน่ มั่นคง พุ่งตรงต่อจุดหมาย สมาธิก็เกิดขึ้นได้ เรียกว่า เป็นวิริยสมาธิ พร้อมทั้งมีปธานสังขาร คือความเพียรสร้างสรรค์เข้าประกอบคู่ไปด้วยกัน

    ๓. จิตตะ ความมีใจจดจ่อ หรือเอาใจฝักใฝ่ ได้แก่ ความมีจิตจุดผูกพัน จดจ่อ เฝ้าคิดเรื่องนั้น ใจอยู่กับงานนั้น ไม่ปล่อย ไม่ห่างไปไหน ถ้าจิตตะเป็นไปอย่างแรงกล้าในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรืองานอย่างใดอย่างหนึ่ง คนผู้นั้นจะไม่สนใจ ไม่รับรู้เรื่องอื่นๆ ใครจะพูดอะไรเรื่องอื่นๆ ไม่สนใจ แต่ถ้าพูดเรื่องนั้น งานนั้น จะสนใจเป็นพิเศษทันที บางทีจัดทำเรื่องนั้น งานนั้น ขลุกง่วนอยู่ได้ทั้งวันทั้งคืน ไม่เอาใจใส่ร่างกาย การแต่งเนื้อแต่งตัว อะไรจะเกิดขึ้น ก็ไม่สนใจ เรื่องอื่นเกิดขึ้นใกล้ๆ บางทีก็ไม่รู้ ทำจนลืมวันลืมคืน ลืมกินลืมนอน

    ความมีใจจดจ่อฝักใฝ่เช่นนี้ ย่อมนำให้สมาธิเกิดขึ้น จิตจะแน่วแน่ แนบสนิทในกิจที่ทำ มีกำลังมาก เรียกว่าเป็นจิตตสมาธิ พร้อมนั้นก็เกิดปธานสังขาร คือความเพียรสร้างสรรค์ร่วมสนับสนุนไปด้วย

    ๔. วิมังสา ความ สอบสวนไตร่ตรอง ได้แก่ การใช้ปัญญาพิจารณาหมั่นใคร่ครวญตรวจตราหาเหตุผลและตรวจสอบข้อยิ่งหย่อน เกินเลย บกพร่อง หรือขัดข้อง เป็นต้น ในกิจที่ทำ รู้จักทดสอบ และคิดค้นหาทางแก้ไขปรับปรุง

    ข้อนี้เป็นการใช้ปัญญาชักนำสมาธิ ซึ่งจะเห็นได้ไม่ยาก คนมีวิมังสา ชอบคิดค้นหาเหตุผล ชอบสอบสวนชอบทดลอง เมื่อทำอะไร ก็คิดพิจารณาทดสอบไป เช่น คิดว่า ผลนี้เกิดจากเหตุอะไร ทำไมจึงเป็นอย่างนี้ ผลคราวนี้เกิดจากปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบเหล่านี้เท่านี้ ถ้าชักองค์ประกอบนี้ออกเสีย จะเป็นอย่างนี้ ถ้าเพิ่มองค์ประกอบนี้เข้าไปแทน จะเกิดผลอย่างนี้ ลองเปลี่ยนองค์ประกอบนั้นแล้ว ไม่เกิดผลอย่างที่คาดหมาย เป็นเพราะอะไร จะแก้ไขที่จุดไหน ฯลฯ

    ในการปฏิบัติธรรม วิมังสกชนก็ชอบพิจารณาใคร่ครวญสอบสวน เช่นว่า ธรรมข้อนี้ๆ มีความหมายอย่างไร มีความมุ่งหมายอย่างไร ควรใช้ในโอกาสอย่างใด ควบคู่สัมพันธ์กับข้อธรรมอื่นข้อใด ปฏิบัติธรรมคราวนี้ ไม่ค่อยก้าวหน้า อินทรีย์ใดอ่อนไป ควรใช้วิธีอย่างใด ควรเน้นความหมายด้านไหน เป็นต้น

    การคิดหาเหตุผลตรวจตรองสอบสวนทดลองอย่างนี้ ย่อมช่วยรวมจิตให้คอยกำหนดและติดตามเรื่องที่พิจารณาติดแจตลอดเวลา เป็นเหตุให้จิตแล่นดิ่งแน่วไปกับเรื่องที่พิจารณา ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วอกแวก และมีกำลัง เรียกว่าเป็นวิมังสาสมาธิ ซึ่งก็จะมีปธานสังขาร คือความเพียรสร้างสรรค์เกิดมาด้วย เช่นเดียวกับสมาธิข้ออื่นๆ

    ความจริง อิทธิบาท ๔ อย่างนี้ เกื้อหนุนกัน และมักมาด้วยกัน เช่น เกิดฉันทะ มีใจรักแล้ว ก็ทำให้พากเพียร เมื่อพากเพียร ก็เอาใจจดจ่อใฝ่ใจอยู่เสมอ และเปิดช่องให้ใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรอง แต่ที่แยกเป็นแต่ละข้ออย่างนี้ ก็ด้วยถือเอาภาวะที่เดินเป็นใหญ่ เป็นตัวนำ เป็นตัวชักจูงข้ออื่นๆ ในแต่ละกรณี เช่นว่า

    เมื่อฟังธรรมด้วยกัน คนหนึ่งชอบศึกษาธรรม ฟังด้วยความรักความพอใจในธรรม อยากรู้อยากเข้าใจธรรมให้ยิ่งๆขึ้นไป (หรือแม้เพียงแต่ชอบใจธรรมที่แสดงในคราวนั้น หรือชอบผู้แสดงธรรมคราวนั้น) จึงฟังด้วยจิตใจแน่วแน่ ก็มี ฉันทะ เป็นตัวเด่น ชักนำสมาธิ และกุศลธรรมอื่นๆ

    อีกคนหนึ่ง มีนิสัย หรือแม้แต่มีความรู้สึกเกิดขึ้นในขณะนั้นว่า เมื่อพบอะไรที่ควรทำ ก็ต้องสู้ ต้องเอาชนะ ต้องเข้าเผชิญ และต้องทำให้สำเร็จ จึงฟังด้วยความรู้สึกว่าเป็นสิ่งท้าทาย จะต้องพยายามเข้าใจให้ได้ ก็มีวิริยะ เป็นธรรมเด่น

    อีกคนหนึ่ง มีนิสัยเอาใจใส่รับผิดชอบ ไม่ว่าอะไรที่ตนเกี่ยวข้อง ก็จะต้องใส่ใจเอาจิตจดจ่อติดตาม จึงตั้งใจฟัง เอาจิตติดตามเนื้อความนั้น ก็มีจิตตะ เป็นใหญ่

    อีกคนหนึ่ง คิดจะตรวจสอบว่า ธรรมที่แสดงนั้น จริงหรือไม่ ดีหรือไม่ หรือจะค้นหาเหตุผลในธรรมที่ฟัง ฟังไปก็คิดใคร่ครวญพิจารณาสอบสวนไป ใจจึงแน่วแน่อยู่กับธรรมที่ฟัง ก็มีวิมังสา เป็นใหญ่

    ด้วยเหตุนี้ บางแห่งท่านจึงเรียกอิทธิบาท ๔ นี้ว่า เป็นอธิบดี หรืออธิปไตย ๔ โดยกำหนดเอาภาวะที่เป็นใหญ่ เป็นหัวหน้า ในกรณีนั้นๆ


    สาระของการสร้างสมาธิตามหลักอิทธิบาท ก็คือ เอางาน สิ่งที่ทำ หรือจุดหมายที่ต้องการ เป็นอารมณ์ของจิต แล้วปลุกเร้าระดมฉันทะ วิริยะ จิตตะ หรือวิมังสา เข้านำหนุน สมาธิก็เกิดขึ้น และมีกำลังแข็งกล้า ช่วยให้ทำงานอย่างมีความสุข และบรรลุผลสำเร็จด้วยดี

    โดยนัยนี้ ในการปฏิบัติธรรมก็ดี ในการเล่าเรียนศึกษา หรือประกอบกิจการงานอื่นใดก็ดี เมื่อต้องการสมาธิ เพื่อให้กิจที่ทำนั้นดำเนินไปอย่างได้ผลดี ก็พึงปลุกเร้าและชักจูงอิทธิบาท ๔ อย่างนี้ ให้เกิดผลเป็นองค์ธรรมเด่นขึ้นมาสักข้อหนึ่ง แล้วสมาธิ ความสุขสบายใจ และการทำงานที่ได้ผล ก็เป็นอันหวังได้เป็นอย่างมากว่าจะเกิดมีตามมาเอง พร้อมกันนั้น การฝึกสมาธิ หรือการปฏิบัติธรรมส่วนหนึ่ง ก็จะเกิดมีขึ้นในห้องเรียน ในบ้าน ในทุ่งนา ในที่ทำงาน และในสถานที่ทุกๆแห่ง

    ตัวอย่างเช่น เมื่อจะสอนวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ครูก็ทำตนเป็นกัลยาณมิตร โดยอาจชี้แจงให้นักเรียนเห็นคุณค่าความดีของวิชานั้น หรือเรื่องราวนั้น ให้มองเห็นว่า วิชานั้นมีประโยชน์อย่างไร อาจเป็นประโยชน์ของตัวผู้เรียนเองเกี่ยวกับการหางานทำ การได้รับผลตอบแทน หรือความเจริญก้าวหน้าในชีวิต เป็นต้น (ใช้โลภะ เป็นปัจจัยแก่ฉันทะ) ก็ได้ หรือถ้าจะให้ดี ควรเป็นประโยชน์ของส่วนรวม เช่น ความเกื้อกูลแก่เพื่อนมนุษย์ (ฉันทะบริสิทธิ์) ก็ได้ จนทำให้นักเรียนเกิดความรักความพอใจ อยากเรียนเพราะอยากรู้วิชานั้น นี่เรียกว่าปลุก ฉันทะ ให้เกิดขึ้น

    อีกอย่างหนึ่ง อาจพูดปลุกเร้าในแง่ที่เป็นสิ่งท้ายทายสติปัญญาความสามารถ กระตุ้นความเข้มแข็งคึกคักที่จะเรียน หรือกล่าวถึงตัวอย่างการกระทำสำเร็จของผู้อื่น ให้เกิดกำลังใจสู้ เป็นต้น เรียกว่า ปลุกเร้า วิริยะ ขึ้น

    อีกอย่างหนึ่ง อาจ พูดปลุกเร้าในแง่ความรู้สึกเกี่ยวกับหน้าที่ หรือความรับผิดชอบ ให้เห็นความเกี่ยวข้องและความสำคัญของเรื่องนั้น ต่อชีวิต หรือต่อสังคม เช่น เรื่องเกี่ยวกับภัยอันตราย และความปลอดภัย เป็นต้น ซึ่งแม้นักเรียนจะมิได้ชอบ มิได้รักเรื่องนั้น แต่ก็จะเอาใจใส่ตั้งจิตจดจ่อเรียนอย่างแน่วแน่ เรียกว่า ทำให้เกิด จิตตะ

    อีกอย่างหนึ่ง ครูอาจสอนตามแนวของการสำรวจตรวจสอบสืบสวนทดลอง หรือค้นคว้าหาเหตุผล เช่น ตั้งเป็นปัญหา หรือคำถาม เป็นต้น ซึ่งทำให้นักเรียนต้องใช้วิมังสา นักเรียนก็จะเรียนอย่างมีสมาธิได้เหมือนกัน เรียกว่าใช้วิธีวิมังสา

    ยิ่งถ้าครูจับหลักลักษณะนิสัยของนักเรียนได้ แล้วปลุกเร้าอิทธิบาทข้อที่ตรงกับลักษณะนิสัยอย่างนั้น ก็ยิ่งดี หรืออาจปลุกอิทธิบาทหลายๆข้อ ไปพร้อมกันก็ได้

    ในขณะเดียวกัน ผู้เรียน หรือผู้ทำงานที่ฉลาด ก็อาจใช้โยนิโสมนสิการปลุกเร้าอิทธิบาทขึ้นมาใช้สร้างผลสำเร็จได้ด้วยตนเอง
     
  12. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    น้องๆ หนูๆ คนไหน มาอ่าน ตรงช่วงนี้ อย่าเอา อะไรแบบนี้ไปปฏิบัติ นะครับ

    อะไรแบบข้างบนเนี่ยะ เขาเรียกว่า ภาวนาไม่เป็น กิเลสไม่เคยเห็น การปรารภความเพียร
    จะผิด ตั้งแต่เริ่ม จรดลองบาสสตาร์ท กันเลยที่เดียว

    การตรึก นั้นจะต้องเป็นไปเพื่อ " ลด ละ เลิก ใน ราคะ โทษะ โมหะ " ถ้าการปรารภไม่มี
    เรื่องราวของการเห็นกิเลส ยกกิเลสขึ้นพิจารณา เพื่อลด ละ วาง ละก้อ พระพุทธองค์
    ให้หลักตัดสินคำสอนนั้นเลยว่า เดียรถีย์ ไม่ใช่ทาง " ข้ามน้ำผิดท่า "

    ก็เมื่อไหร่ก็ตาม หากตรึกไปแล้ว น้อมไปแล้ว เห็น จิตของต้น ก้าวข้าม สละ วาง ซึ่งราคะ
    โทษะ โมหะ ....จิตนั้น จะเกิดความปราโมทย์โดยไม่ต้องจงใจเจตนาให้เกิด เมื่อมันไม่ได้
    เกิดจาก เราเจตนาจงใจ ไปคิดๆ นึกๆ ลูบๆ คลำๆ มันจะไม่มี เรา หรือ ตัวตน ของเรา
    เข้าไปแอบเอา อามิสจากปราโมทย์นั้น จิตจึงเกิด " ปิติโพฌงค์ได้ "

    แตถ้า มีตน ความสุขตน บุญตน คนทีคนศรัทา เคารพรัก มี ตนเข้าไปแทรก ไอ้นั่นเขา
    เรียกว่า ธรรมก๊อปปี้ ลอกสูตร สุกเอาเผากิน ภาวนาไม่เป็น แต่จะ อ้างเอาดื้อๆว่า ข้ามี
    สุขเพราะเป็นพวก เป็นคนข้างโน้น ข้างนี้ หมาเท่านั้น ที่มันจะ ทำอาการประจบสอพลอ
    แบบนั้น ธรรมเชลีย !!
     
  13. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    น้องๆ หนูๆ มา พิสูจน์กันต่อ จากที่ ได้กล่าวปักปรำ คนที่ เอาปราโมทย์ ด้วยการ ตรึก
    ด้วยเอา ตน เป็นสิ่งรองรับแต่แรก ....และได้ ปรักปรำว่า การตรึกแบบนั้น จะได้ "ธรรมเชลีย "

    หรือ ปฏิบัติเพื่อเป็น ยอดแห่งการเป็น " หมาบุหลุด "

    ก็เนี่ยะ สังเกตวิธีการทำ วิริยะ จะเห็นว่า ต้องส่งออก ส่งจิตออกนอก ไปเชลีย ใครสักคน
    แล้วจะเกิด ความ กระดี้ กระด้า หาญกล้า !!!! โอยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย
     
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ขอยกความจากบาลี มาเป็นเครื่องทบทวนความเข้าใจ เริ่มตั้งแต่ความหมายของคำว่า อิทธิไปทีเดียว

    อิทธิ แปลว่า ความสำเร็จ

    "คำว่า อิทธิ หมายความว่า ความสำเร็จ ความสัมฤทธิ์ การสำเร็จ การสำเร็จด้วยดี การได้ การได้จำเพาะ การถึง สมบัติ การสัมผัส การประจักษ์แจ้ง การบำเพ็ญให้ถึงพร้อม ซึ่งธรรมเหล่านั้น"

    (อภิ.วิ.๓๕/๕๐๘/๒๙๓)

    เท่านี้พอเดี๋ยวไปตรงกับตัวอย่างความหมายที่ตรงจริตคนเข้าจะไปกันใหญ่ :cool:
     
  15. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    วิมังสา เขามีแต่ ปลงใจ พอใจในผลที่ได้ ไม่ว่ามันจะล้มเหลว หรือ สำเร็จ ก็มีความ
    ปลงใจ ราบเรียบเสมอกัน [ ซึ่งหาก ทำถูกต้อง จะทำให้
    เกิดความอาจหาญ ในการ ลงมือทำกิจเดิม ที่เคยทำนั่นแหละ ไม่ต้องเปลี่ยน ทำซ้ำแล้ว ซ้ำเล่าๆๆๆๆๆๆๆๆ ]



    แต่ วิมังสา แนว ธรรมเชลีย หมาบุหลุด

    วิมังสา ของเขา จะต้อง วิ่งแจ้น ส่งออก ไม่สามารถหยุดนิ่ง มีแต่ความ ฝุ้งซ่าน
    อยากได้ดีกว่าเดิม อยากได้โน้น ได้นี่ ไอ้โน้นก็ไม่เสร็จ ไอ้นี้ก็ไม่สำเร็จ สำเร็จดี
    เยี่ยมก็แล้ว ก็ยังอยาก สิ่งที่ควรก๊อปปี้ เชลียเป็น ขา ต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มิถุนายน 2015
  16. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    การเจริญสมาธิอย่างสามัญ หรือฝึกสมาธิโดยใช้สติเป็นตัวนำ

    การฝึกสมาธิด้วยอิทธิบาท ๔ นั้น ในด้านชีวิตประจำวัน ใช้ได้กับงาน หรือการประกอบกิจต่างๆ เช่น การเล่าเรียนและกิจกรรมทั้งหลาย ซึ่งมีความก้าวหน้าหรือความสำเร็จของงานหรือกิจนั้นๆ เป็นเป้าหมายให้แก่อิทธิบาท ทำให้เกิดแรงความเพียรประกอบการ ที่เรียกว่าปธานสังขารขึ้นมา พุ่งแล่นไปสู่เป้าหมายนั้น ไม่ว่าจะเป็นการป้องกัน แก้ไข สร้างขึ้นใหม่ หรืออนุรักษ์ ก็ตาม จึงหมุนให้จิตตั้งมั่นแน่วแน่ เป็นสมาธิอยู่ได้

    แต่ในการสัมพันธ์กับอารมณ์ ซึ่งเพียงผ่านไปๆ เกี่ยวข้องกับสิ่งที่นิ่งเฉย หรือสิ่งที่ดำรงอยู่ตามสภาพ แทบไม่มีฐานที่ตั้งตัวหรือเป็นที่ทำการของอิทธิบาท ในกรณีเช่นนี้ องค์ธรรมที่จะใช้เป็นเครื่องชักนำหรือฝึกให้เกิดสมาธิ ก็คือ องค์ธรรมพื้นฐานที่เรียกว่า "สติ" เพราะสติเป็นเครื่องดึง และกุมจิตไว้กับอารมณ์ คือสิ่งที่พึงเกี่ยวข้อง และกิจที่ต้องทำในเวลานั้น ดังได้กล่าวแล้วข้างต้นว่า สติเป็นที่พึ่งพำนักของใจ

    ในวิธีนี้ ใช้สติเริ่มต้นให้แล้ว พอรู้สึกว่าเข้าที่ หรืออย่างที่ใช้คำพูดแบบชาวบ้านว่าเข้าท่าเข้าทาง ฉันทะก็จะมาตามธรรมชาติเอง

    การฝึกสมาธิด้วยอาศัยเป็นหลัก แยกได้เป็น ๒ วิธีใหญ่ คือ

    ๑. การฝึกเพื่อใช้งานทางปัญญา หรือมุ่งประโยชน์ทางปัญญา ได้แก่ การใช้สตินำทางให้แก่ปัญญา หรือ ทำงานร่วมกับปัญญา โดยคอยจับอารมณ์ส่งเสนอให้ปัญญารู้ หรือพิจารณา (พูดอีกอย่างหนึ่งว่า สติดึง หรือกุมจิตอยู่กับอารมณ์แล้ว ปัญญาก็พิจารณาหรือรู้เข้าใจอารมณ์นั้น)

    ตามวิธีฝึกแบบนี้ สมาธิไม่ใช่ตัวเน้น แต่พลอยได้รับการฝึกไปด้วย พลอยเจริญไปด้วยเอง พร้อมกับที่พลอยช่วยส่งเสริมการใช้ปัญญาให้ไดผลดียิ่งขึ้นด้วย การฝึกแบบนี้ ได้แก่ วิธีการส่วนใหญ่ของสติปัฏฐาน ซึ่งได้แสดงหลักการทั่วไปไว้แล้วในตอนที่ว่าด้วยสัมมาสติข้างต้น และเรียกได้ว่า เป็นการเจริญสมาธิในชีวิตประจำวัน

    ๒. การฝึกเพื่อสร้างสมาธิล้วนๆ หรือมุ่งลึกลงไปในทางสมาธิเพียงด้านเดียว ได้แก่ การใช้สติคอยจับอารมณ์ไว้ ให้จิตอยู่กับอารมณ์นั้น ไม่คลาดจากกัน หรือตรึงจิตให้อยู่กับอารมณ์ที่กำลังกำหนดนั้นเรื่อยไป เป็นวิธีการที่เน้นสมาธิโดยตรง แม้หากบางครั้งจะใช้ปัญญาบ้าง ก็เพียงเล็กน้อยเป็นส่วนประกอบ เช่น เพียงคิดพิจารณารู้ไปตามที่จำๆมา ไม่มุ่งหยั่งถึงตัวสภาวะ

    การฝึกแบบนี้ ได้แก่ ส่วนสาระสำคัญของวิธีฝึกแบบที่ ๔ คือ การเจริญสมาธิอย่างเป็นแบบแผน (วิธีฝึกแบบที่ ๔ ยาว)
     
  17. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    เอาของเอกวีร์ประกบมาสิ

    วิมังสาเอกวีเป็นไงว่าไป เอ้า
     
  18. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    หักลงตรงนี้ก่อน



    สัมมาสมาธิ เป็นองค์มรรคข้อสุดท้าย และเป็นข้อทีี่่มีเนื้อหาสำหรับศึกษามาก เพราะเป็นเรื่องของการฝึกอบรมพัฒนาจิตในขั้นเต็มกระบวน เป็นเรื่องละเอียดประณีต ทั้งในแง่ที่เป็นเรื่องของจิตอันเป็นของละเอียดและในแง่การปฏิบัติที่มีรายละเอียดกว้างขวางซับซ้อน หรือเป็นสนามรวมของการปฏิบัติ

    ความหมายของสมาธิ

    สมาธิ แปลกันว่า ความตั้งมั่นของจิต หรือ ภาวะที่จิตแน่วแน่ต่อส่ิงที่กำหนด คำจำกัดความของสมาธิ ที่่พบเสมอ คือ "จิตตัสเสกัคคตา" หรือ เรียกสั้นๆว่า "เอกัคคตา" ซึ่งแปลว่า ภาวะที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ การที่จิตแน่วแน่แนบสนิทอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ส่าย ไม่วอกแวก

    คัมภีร์รุ่นอรรถกถาระบุว่า สมาธิ คือภาวะมีอารมณ์หนึ่งเดียว ของกุศลจิต และไขความว่า หมายถึงการดำรงจิต และเจตสิกไว้ในอารมณ์หนึ่งเดียว อย่างเรียบสม่ำเสมอ และด้วยดี หรือแม้แต่แค่จิตตั้งมั่น *

    พร้อมนั้น ท่านแสดงสาระสำคัญไว้ ซึ่งขอพูดให้ง่ายว่า สมาธิมีลักษณะไม่ส่ายหรือไม่ฟุ้งซ่าน มีหน้าที่ช่วยให้ประดาธรรมทีเกิดร่วมรวมตัวกันอยู่ได้ เหมือนน้ำผนึกผงแป้งไว้ไม่ฟุ้งกระจาย ปรากฏเป็นความสงบ โดยมีความสุขเป็นปทัฏฐาน (เหตุใกล้) อย่าง่พิเศษที่จะให้ถึงสมาธิ จิตที่เป็นสมาธินั้น นิ่งแน่ว เหมือนเปลวเทียนในที่ไม่มีลมกวน ไฟทำงานเผาไหม้ต่อเนื่องไปอย่างสม่ำเสมอ มิใช่หยุดนิ่ง แต่สงบนิ่งแน่ว

    "สัมมาสมาธิ" ตามคำจำกัดความในพระสูตรทั่วไป เจาะจงว่า ได้แก่ สมาธิตามแนวฌาน ๔ ดังนี้

    "ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิเป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

    ๑. สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตก มีวิจาร มีปีติ และสุขเกิดแต่วิเวก อยู่

    ๒. เข้าถึงทุติยฌาน อันมีความผ่องใสแห่งจิตภายใน มีภาวะใจเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารระงับไป มีปีิติและสุขเกิดแต่สมาธิ อยู่

    ๓. เพราะปีติจางไป เธอมีอุเบกขาอยู่ มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าถึงตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายกล่าวว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข

    ๔. เพราะละสุขและทุกข์ และเพราะโสมนัสโทมนัสดับหายไปก่อน เข้าถึงจตุตถฌาน อันไ่ม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่"


    อย่างไรก็ตาม คำจำกัดความนี้ น่าจะถือเป็นการแดสงความหมายแบบเต็มกระบวน ดังจะเห็นว่า บางแห่ง ท่านกล่าวถึงจิตตัสเสกัคคตานั่นเอง ว่าเป็นสมาธินทรีย์ ดังบาลีว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ คือ สมาธิ เป็นไฉน? คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กำหนดภาวะปล่อยวางเป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาแห่งจิต (ภาวะที่ิจิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว) นี้ เรียกว่าอินทรีย์ คือ สมาธิ"


    ส่วนคำจำกัดความในอภิธรรมปิฎก ว่าดังนี้

    "สัมมาสมาธิ เป็นไฉน? ความตั้งอยู่แห่งจิต ความตั้งแน่ว ความมั่นลงไป ควมไม่ส่ายไป ความไม่ฟุ้งซ่าน ภาวะที่มีใจไม่ซัดส่าย ความสงบ (สมถะ) สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ ที่เป็นองค์แ่ห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี่เรียกว่า สัมมาสมาธิ"


    ว่าโดยสาระสำคัญ สมาธิิที่ใช้ถูกทาง เพื่อจุดหมายในทางหลุดพ้น เป็นไปเพื่อปัญญาที่รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง มิใช่เพื่อผลในทางสนองความอยากของตัวตน เช่น จะอวดฤทธิ์ อวดความสามารถ เป็นต้น นั่นเอง เป็นสัมมาสมาธิ * ดังหลักการที่ท่านแสดงไว้ว่า ผู้ปฏิบัติธรรมสามารถเจริญวิปัสสนาได้ โดยใช้สมาธิเพียงขั้นต้นๆ ที่เรียกว่า วิปัสสนาสมาธิ คือสมาธิที่ใช้ประกอบกับวิปัสสนา หรือเพื่อสร้างปัญญาที่รู้แจ้ง อันเป็นสมาธิในระดับระหว่างขณิกสมาธิ กับอุปจารสมาธิเท่านั้น

    ............

    อ้างอิงที่ *

    วิสุทธิ.๑/๑๐๕...ในอกุศลจิต เอกัคคตาหรือสมาธิ ก็เกิดได้ ดังที่ อภิ.สํ.๓๔/๒๗๕-๓๓๖/๑๐๑-๑๒๗ แสดงการที่เอกัคคตา สมาธินทรีย์ และมิจฉาสมาธิ ประกอบร่วมอยู่ในจิตที่เป็นอกุศล และอรรถกถาได้ยกตัวอย่าง เช่น คนที่มีจิตแน่วแน่ในขณะเอามีดฟาดฟันลงที่่ตัวของสัตว์ ไม่ให้ผิดพลาด ในเวลาตั้งใจลักของเขา และในเวลาประพฤติกาเมสุมิจฉาจาร เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เอกัคคตาในฝ่ายอกุศลนี้ มีกำลังน้อย อ่อนแอ ไม่เข้มแข็งทนทานเหมือนในฝ่ายกุศล เปรียบดังเอาน้ำราดในที่แห้งฝุ่นฟุ้ง ฝุ่นสงบลงชั่วเวลาสั้น ไม่นาน ก็จะแห้ง มีฝุ่นขึ้นตามเดิม...


    * อรรถกถาแสดงไว้อีกแห่งหนึ่งว่า สัมมาสมาธิ ได้แก่ ยาถาวสมาธิ (สมาธิที่แท้ หรือสมาธิที่ตรงตามสภาวะ) นิยยานิกสมาธิ (สมาธิที่นำออกจากวัฏฏะ คือ นำไปสู่ความหลุดพ้นจากทุกข์ หรือสู่ความเป็นอิสระ) กุศลสมาธิ (สมาธิที่เป็นกุศล) เช่น สงฺคณี. อ. ๒๒๔
     
  19. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ศัตรูของสมาธิ


    สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้ ไม่ใช่สมาธิ แต่เป็นปฏิปักษ์ เป็นศัตรูของสมาธิ เป็นสิ่งที่ต้องกำจัดเสีย จึงจะเกิดสมาธิได้ หรือจะพูดว่า เป็นสิ่งที่ต้องกำจัดเสียด้วยสมาธิก็ได้ สิ่งเหล่านี้ มีชื่อเฉพาะเรียกว่า นิวรณ์

    นิวรณ์ แปลว่า เครื่องกีดกั้น เครื่องขัดขวาง แปลเอาความตามหลักวิขาว่า สิ่งที่กีดกั้นการทำงานของจิตไม่ให้ก้าวหน้าในกุศลธรรม ธรรมฝ่ายชั่วที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดี หรืออกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมองและทำปัญญาให้อ่อนกำลัง

    คำอธิบายลักษณะของนิวรณ์ ที่เป็นพุทธพจน์มีว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ เป็นเครื่องปิดกั้น (กุศลธรรม) เป็นเครื่องห้าม (ความเจริญงอกงาม) ขึ้นกดทับจิตไว้ ทำปัญญาให้อ่อนกำลัง"

    "...เป็นอุปกิเลสแห่งจิต (สนิมใจ หรือสิ่งที่ทำให้ใจเศร้าหมอง) ทำปัญญาให้อ่อนกำลัง"

    "ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ เป็นนิวรณ์ ทำให้มืดบอด ทำให้ไร้จักษุ ทำให้ไม่มีญาณ (สร้างความไม่รู้) ทำให้ปัญญาดับ ส่งเสริมความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน"

    นิวรณ์ ๕ อย่างนี้ พึงระวัง อย่านำมาสับสนกับสมถะ หรือสมาธิ หากพบที่ใด พึงตระหนักไว้ว่า นี้ไม่ใช่สมถะ นี้ไม่ใช่สมาธิ นิวรณ์ ๕ อย่างนั้น คือ

    ๑. กามฉันท์ ความอยากได้ อยากเอา (แปลตามศัพท์ว่า ความพอใจในกาม) หรืออภิชฌา ความเพ่งเล็งอยากได้ หรือจ้องจะเอา หมายถึง ความอยากได้กามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นกิเลสพวกโลภะ จิตที่ถูกล่อด้วยอารมณ์ต่างๆ คิดอยากได้โน่นอยากได้นี่ ติดใจโน่นติดใจนี่ คอยเขวออกไปหาอารมณ์อื่น ครุ่นข้องอยู่ ย่อมไม่ตั้งมั่น ไม่เดินเรียบไป ไม่อาจเป็นสมาธิได้

    ๒. พยาบาท ความ ขัดเคืองแค้นใจ ได้แก่ ความขัดใจ แค้นเคือง เกลียดชัง ความผูกใจเจ็บ การมองในแง่ร้าย การคิดร้าย มองเห็นคนอื่นเป็นศัตรู ตลอดจนความโกรธ ความหงุดหงิด ฉุนเฉียว ความรู้สึกขัดใจ ไม่พอใจต่างๆ จิตที่มัวกระทบนั่นกระทบนี่ สะดุดนั่นสะดุดนี่ เดินไม่เรียบ ไม่ไหลเนื่อง ย่อมไม่อาจเป็นสมาธิ

    ๓. ถีนมิทธะ ความหดหู่และเซื่องซึม หรือเซ็งและซึม แยกเป็นถีนะ ความหดหู่ ห่อเหี่ยว ถอดถอย ระย่อ ท้อแท้ ความซบเซา เหงาหงอย ละเหี่ย ที่เป็นอาการของจิตใจ กับ มิทธะ ความเซื่องซึม เฉื่อยเฉา ง่วงเหงา อืดอาด มึนมัว ตื้อตัน อาการซึมๆ เฉาๆ ที่เป็นไปทางกาย (ท่านหมายถึงนามกาย คือกองเจตสิก) จิตที่ถูกอาการอย่างนี้ครอบงำ ย่อมไม่เข็มแข็ง ไม่คล่องตัว ไม่เหมาะแก่การใช้งาน จึงไม่อาจเป็นสมาธิได้

    ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและเดือดร้อนใจ แยกเป็นอุทธัจจะ ความที่จิตฟุ้งซ่าน ไม่สงบ ส่ายพร่า พล่านไป กับ กุกกุจจะ ความวุ่นวายใจ รำคาญใจ ระแวง เดือดร้อนใจ ยุ่งใจ กลุ้มใจ กังวลใจ จิตที่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำ ย่อมพล่าน งุ่นง่าน ย่อมคว้างไป ไม่อาจสงบได้ จึงไม่เป็นสมาธิ

    ๕. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ได้แก่ ความเคลือบแคลง ไม่แน่ใจ เกี่ยวกับพระศาสดา พระธรรม พระสงฆ์ เกี่ยวกับสิกขา เป็นต้น พูดสั้นๆว่า คลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลาย ตกลงใจไม่ได้ เช่นว่า ธรรมนี้ สมาธิภาวนานี้ ฯลฯ มีคุณค่า มีประโยชน์ควรแก่การปฏิบัติหรือไม่ จะได้ผลจริงไหม คิดแยกไปสองทาง วางใจไม่ลง จิตที่ถูกวิจิกิจฉาขัดไว้ กวนไว้ ให้ค้าง ให้พร่า ให้ว้าวุ่น ลังเลอยู่ มีแต่จะเครียด ไม่อาจแน่วแน่เป็นสมาธิ
     
  20. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    [๓๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมาก เจริญ
    แล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว ให้ดำรงอยู่
    เนืองๆ แล้ว อบรมแล้ว ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการ
    นี้ คือ

    (๑) อดกลั้นต่อความไม่ยินดีและความยินดีได้ ไม่ถูกความไม่ยินดี
    ครอบงำ ย่อมครอบงำความไม่ยินดีที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย ฯ

    (๒) อดกลั้นต่อภัยและความหวาดกลัวได้ ไม่ถูกภัยและความหวาดกลัว
    ครอบงำ ย่อมครอบงำภัยและความหวาดกลัว ที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย ฯ

    (๓) อดทน คือเป็นผู้มีปรกติอดกลั้นต่อความหนาว ความร้อน ความหิว
    ความกระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และ สัตว์เสือกคลาน ต่อ
    ทำนองคำพูดที่กล่าวร้าย ใส่ร้าย ต่อเวทนาประจำสรีระที่เกิดขึ้นแล้ว อันเป็น
    ทุกข์กล้า เจ็บแสบ ไม่ใช่ความสำราญ ไม่เป็นที่ชอบใจ พอจะสังหารชีวิตได้ ฯ

    (๔) เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเกิดมีในมหัคคตจิต เครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน
    ตามความปรารถนา ไม่ยาก ไม่ลำบาก ฯ

    (๕) ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอเนกประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้
    หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ปรากฏตัวหรือหายตัวไปนอกฝา นอกกำแพง นอก
    ภูเขาได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ทำการผุดขึ้นและดำลงในแผ่นดิน
    เหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศ
    โดยบัลลังก์เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์และพระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพ
    มากปานฉะนี้ ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ ฯ

    (๖) ย่อมฟังเสียงทั้งสอง คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่ไกลและ
    ที่ใกล้ได้ด้วยทิพยโสตธาตุ อันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์ ฯ

    (๗) ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น และบุคคลอื่นได้ ด้วยใจ คือ จิต
    มีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็
    รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่า
    จิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่
    จิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะก็รู้ว่าจิตเป็นมหัคคตะหรือจิตไม่เป็น
    มหัคคตะก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหัคคตะ จิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า
    หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตตั้งมั่น หรือ
    จิตไม่ตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่าจิตหลุดพ้นแล้ว หรือจิตยังไม่
    หลุดพ้นก็รู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้น ฯ

    (๘) ย่อมระลึกถึงขันธ์ ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ คือ
    ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติ
    บ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง
    พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายสังวัฏกัปบ้าง หลายวิวัฏกัปบ้าง หลายสังวัฏ-
    *วิวัฏกัปบ้าง ว่าในชาติโน้น เรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้
    มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจาก
    ชาตินั้นแล้ว บังเกิดในชาติโน้น แม้ในชาตินั้น เราก็มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้
    มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้
    เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว จึงเข้าถึงในชาตินี้ ย่อมระลึกขันธ์ที่อยู่อาศัยในชาติ
    ก่อนได้เป็นอเนกประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ เช่นนี้ ฯ

    (๙) ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณ
    ดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์
    ฯลฯ ๑- ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี
    มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อม
    ทราบชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม เช่นนี้ ฯ

    (๑๐) ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ
    อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมากเจริญแล้ว ทำ
    ให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว ให้ดำรงอยู่เนืองๆ แล้ว
    อบรมแล้ว ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการได้ ดังนี้แล ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
    พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มิถุนายน 2015

แชร์หน้านี้

Loading...