ไม่รู้ความหมาย เกิด-ดับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย somchai_eee, 24 มิถุนายน 2012.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๓
    ดูกรสันทกะ อีกประการหนึ่ง ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
    ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว ย่อมโน้มน้อมจิต
    ไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ
    นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินี
    ปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จาก
    อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์
    อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูกรสันทกะ ก็สาวก
    ย่อมบรรลุคุณวิเศษอันโอฬารเห็นปานนี้ ในศาสดาใด วิญญูชนพึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใน
    ศาสดานั้นโดยส่วนเดียว และเมื่ออยู่ ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สำเร็จได้.
     
  2. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    หากเป็นเช่นนี้ เชิญคุณแสวงหาต่อไปครับ ตามความอยากที่มี

    ผมได้อธิบายไปหมดแล้ว ทั้งวิธีปฎิบัติ แต่คุณไม่เข้าใจเองครับ

    ไม่ใช่ผมไม่ได้บอกกล่าว ผมไม่ได้จนมุม แต่ผมไม่เห็นประโยชน์

    ที่จะถกเถียงไปเรื่อยๆครับ เพราะผมบอกกล่าวอะไรไป ก็เป็นการถกเถียงอยู่ดีครับ

    ทั้งหมด 84,000 รวมแล้วอยู่ที่"หยุด"เท่านั้นครับ หยุดการปรุงแต่ง

    การปฎิบัติธรรมนั่งกรรมฐาน เพื่อฝึกความสงบ หากไม่หยุด ความสงบก็ไม่เกิดขึ้น

    ฝึกจนกว่าความสงบจะเป็นความเคยชิน จนเป็นนิสัย แล้วจึงจะเห็นความเป็นไป

    เห็นความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เห็นกระแสแห่งกาลเวลา เห็นเหตุที่ทำให้เกิด

    ด้วยการเข้าไปสู่ภายในจิต ไม่ใช่ออกไปด้านนอกจิต(การปรุงแต่ง)

    สาธุครับ
     
  3. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ คืออายตนะที่ไม่มีดิน น้ำ ไฟ ลม,อากาสานัญจายตนะ,วิญญานัญจายตนะ,อากิญจัญญายตนะ,เนวสัญญานาสัญญายตนะ,ไม่มีโลกนี้ ,ไม่มีโลกอื่น,ไม่มีพระจันทร์,ไม่มีพระอาทิตย์, เราไม่กล่าวถึงอายตนะนั้น ว่าเป็นการมา ,การไป,การตั้งอยู่,การจุติ(เคลื่อน),การอุปบัติ(เข้าถึงหรือเกิด), อายตนะนั้น ไม่มีที่ตั้ง ,ไม่มีความเป็นไป,ไม่มีอารมณ์ นั่นแหละเป็นที่สุดแห่งทุกข์”>>
     
  4. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    ใครยึดมั่น ก็โง่แล้ว [​IMG][​IMG][​IMG]
     
  5. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    ความเพียร->8มรรค+3ศิลสมาธิปัญญา+2สมถะวิปัสสนา+1เจริญสติ= 0นิพพาน
     
  6. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    ความสำคัญของ ปฏิจจสมุปบาท
    โอ
    ,ราชกุมาร! คาถาอันน่าเศร้า (อนจฺฉริยา) เหล่านี้ ที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน ได้ปรากฏแจ่มแจ้งแก่เราว่า:-

    "
    กาลนี้ ไม่ควรประกาศธรรมที่เราบรรลุได้แล้วโดยยาก.

    ธรรมนี้ สัตว์ที่ถูกราคะโทสะปิดกั้นแล้ว ไม่รู้ได้โดย
    ง่ายเลย
    . สัตว์ผู้กำหนัดแล้วด้วยราคะอันความมืด
    ห่อหุ้มแล้ว จักไม่เห็นธรรมอันไปทวนกระแส อันเป็น

    ธรรมละเอียด ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก เป็นอณู
    " ดังนี้.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    ! ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
    พระนามว่าวิปัสสี ได้ทรงพระดำริว่า
    "ถ้าอย่างไร เราพึงแสดงธรรมเถิด" ดังนี้.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    ! ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า
    วิปัสสี ได้ทรงพระดำริอีกว่า
    "ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้ เป็นธรรมอันลึก สัตว์อื่นเห็น
    ได้ยาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม เป็นธรรมระงับและปราณีต ไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงง่ายๆ
    แห่งความตรึก เป็นของละเอียด เป็นวิสัยรู้ได้เฉพาะบัณฑิต
    . ก็สัตว์เหล่านี้ มีอาลัย

    เป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในอาลัย เพลิดเพลินแล้วในอาลัย
    ; สำหรับสัตว์ผู้มีอาลัยเป็นที่มายินดี ยินดีเพลิดเพลินในอาลัยนั้น ยากนักที่จะเห็นสิ่งนี้ คือ อิทัปปัจจยตาปฏิจจ-สมุปบาท (ปฏิจจสมุปบาทกล่าวคือความที่สิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัยแก่สิ่งนี้ ๆ); และยากนักที่จะเห็นแม้สิ่งนี้ คือนิพพาน อันเป็นธรรมเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นธรรมอันสลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์. หากเราพึงแสดงธรรมแล้ว สัตว์อื่นไม่พึงรู้ทั่วถึง ข้อนั้นจักเป็นความเหนื่อยเปล่าแก่เรา, เป็นความลำบากแก่เรา" ดังนี้.
     
  7. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    ใครศึกษา ปฏิจจสมุปบาทแล้ว จะทราบว่า หลวงปู่ดุลย์นั้น สอนธรรมแบบตรงธรรม ไม่อ้อมค้อม ไม่ใช้ ปริศนาธรรม ใดๆเลย
     
  8. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    หลวงปู่ดุลย์ว่าไว้
    "ที่จริงพระอรหันต์ทั้งหลายท่านไม่ได้รู้อะไรมากมายเลย เพียงแต่เจริญจิตให้รู้แจ้งใน ขันธ์๕, แทงตลอดในปฏิจจสมุปบาท, หยุดการปรุงแต่ง, หยุดการแสวงหา, หยุดกริยาจิต มันก็จบแค่นี้ เหลือแต่ บริสุทธิ์ สะอาด สว่าง ว่าง มหาสุญตา ว่างมหาศาล"

    หลวงปู่บอกว่า
    "ก็แสดงถึงความผิดพลาดอยู่แล้ว เพราะบอกให้หยุดคิดหยุดนึก ก็กลับไปคิดที่จะหยุดคิดนั่นเสียอีกเล่า แล้วอาการหยุดจักอุบัติขึ้นได้อย่างไร จงกําจัดอวิชชาแห่งการหยุดคิดหยุดนึกเสียให้สิ้นเลิกล้มความคิดที่จะหยุดคิดเสียก็สิ้นเรื่อง"

    หลวงพ่อชา สุภัทโท

    "บ้านที่แท้จริงของเรานั้น คือว่า เรารู้สึกสงบ ความสงบนั่นแหละเป็นบ้านที่แท้จริงของเรา ท่านจะไม่พบความสงบเลย ถ้ามัวเสียเวลาแสวงหาคนที่ดีพร้อม ท่านจะได้เห็นความไม่เที่ยง ถ้าท่านยึดติดอยู่กับภาวะที่สงบ"

    ส่วนตัว
    การหยุดการปรุงแต่ง นั้น คือการเห็นลง ที่ใดเล่า จึงเรียกว่าไม่ปรุงแต่ง ..... คิดนึก(จิต)->รู้สึก(มโน) ลงที่ อนิจจัง ทุกข์ อนัตตา นั้นแล








    "ภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้ เราประพฤติ มิใช่เพื่อหลอกลวงคน มิใช่เพื่อให้คนมานิยมนับถือ มิใช่เพื่ออานิสงค์ลาภสักการะและสรรเสริญ มิใช่อานิสงค์เป็นเจ้าลัทธิอย่างนั้นอย่างนี้ฯ ที่แท้พรหมจรรย์นี้ เราประพฤติ เพื่อสังวระ-ความสำรวม เพื่อปหานะ-ความละ เพื่อวิราคะ-ความหายกำหนัดยินดี และเพื่อนิโรธะ-ความดับทุกข์ ผู้ปฏิบัติและนักบวชต้องมุ่งตามแนวทางนี้ นอกจากแนวทางนี้แล้วผิดทั้งหมด."
     
  9. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    *
    *
    ^
    ^
    ยังดีที่นำเอา พระพุทธวจนะมาตอบแทน
    แต่เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องนำไปสูการปฏิบัติได้จริง
    จึงยังมีข้อสักถามตามกาลอันควร

    จากพระสูตรที่ยกมานั้น
    จิตของภิกษุนั้นรู้อยู่เห็นอยู่ตลอดสายของการปฏิบัติ ใช่หริอไม่?

    เมื่อ"จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ"
    การหลุดพ้น"แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ"
    การหลุดพ้นเช่นนั้น ใช่สภาวะพระนิพพานหรือไม่?

    เมื่อเป็นเช่นนี้ก็แสดงว่า ภิกษุนั้น
    เมื่อบรรลุพระนิพพานแล้ว ก็รู้อยู่เห็นอยู่ว่าบรรลุแล้ว ใช่หรือไม่?
    เมื่อมีรู้ ก็มีธาตุรู้ที่ได้รับความบริสุทธิ์เป็นธรรมธาตุ ใช่หรือไม่?

    สนทนาธรรมทุกท่าน
     
  10. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เอาเป็นว่า เรามาเคลียร์เรื่องหน้าที่ให้เข้าใจกันก่อนดีกว่านะ
    เพราะมีส่วนสำคัญต่อการปฏิบัติ เพื่อตามหาควาจริงได้

    คำว่า"หน้าที่"นั้น ในความหมายทั่วๆไปเป็นสิ่งที่ดี ที่สมควรทำให้เกิดขึ้น ใช่หรือไม่?

    ส่วนจิตที่เกิดราคะ โทสะ โมหะขึ้นที่จิตนั้น ไม่น่าจะใช่หน้าที่ของจิตเลย
    แต่ล้วนเกิดจากการครอบงำของอวิชชา ตัณหา อุปาทาน
    กระทำทำให้เรื่องต่างๆเกิดขึ้น ใช่หรือไม่?

    ตามความหมายที่คุณอธิบายไว้ เกิดคือหน้าที่ ดับคือหยุดหน้าที่
    เมื่อเป็นเช่นนี้ เมื่อจิตดับอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ก็ต้องสมควรดับไปด้วยสิ
    เพราะดับของคุณ คือหยุดหน้าที่ของอวิชชา ตัณหา อุปาทาน
    เมื่อตริตรองดูแล้วเป็นไปได้หรือที่พูดมา?

    ส่วนหน้าที่ ที่ถูกต้องนั้น จิตต้องมีหน้าที่ในการสร้างสติ ปัญญา
    ให้เกิดขึ้นที่จิตของตน ใช่หรือไม่?
    เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดราคะ โทสะ โมหะ มาครอบงำจิตของตน ใช่หรือไม่?

    ที่แย้งไปก็เพื่อค้นหาสัจจะความจริง เข้าใจที่ถูกต้องเท่านั้น
    ไม่ได้มีอคติส่วนตัวใดๆ มาเป็นสิ่งกล่าวแย้ง
    ใครยืนอยู่บนหลักเหตุผลเข้าใจได้ ก็รับประโยชน์ไป

    ถ้าเอาแต่ศรัทธาความเชื่อเป็นที่ตั้งเท่านั้น
    โดยไม่เอาเหตุผลตามความเป็นจริง มาประกอบการพิจารณา
    ก็หมดปัญญา เพราะเป็นสิทธิส่วนบุคคลในเรื่องความเชื่อถือศรัทธาของตน

    ยังมีที่คุณยกพระพุทธพจน์มา มีข้อสงสัยซักถามอีกมากเช่นกัน
    แต่มาว่ากันให้เคลียร์เรื่องหน้าที่ก่อนดีกว่า

    เจริญในธรรมทุกท่าน
     
  11. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    เหมือนส่องกระจกครับ ย่อมเพลิดเพลินในเงา หรือ รู้ตัวว่าดูเงา

    แต่ไม่เคยรู้เลยว่า รู้นั้นไม่ได้เห็นเงา ที่เห็นเงาก็ไม่รู้เงา แม้เงาก็ไม่รู้ว่าเป็นเงา นับประสาอะไรกับรู้นั้นจะเป็นเรา ^^
     
  12. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๑๙๒/๔๑๘
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์
    ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพนี้ สิ้นรอบแล้ว
    หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่
    เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใด เป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ
    ความสิ้นไปแห่งโมหะ ของภิกษุนั้น นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

    ดูกรภิกษุทั้งหลายก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    เป็นพระอรหันตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว
    มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบเวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น
    เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลาย มีตัณหาเป็นต้น ให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จัก (ดับ) เย็น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
     
  13. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พิจารณาตามสายปฏิจจสมุปบาทครับ เพราะอะไรมี อะไรจึงมี เพราะอะไรเกิด อะไรจึงเกิด เพราะอะไรไม่มี อะไรจึงไม่มี เพราะอะไรดับ อะไรจึงดับ บางคนดับได้ที่ผัสสะ บางคนดับได้ที่เวทนา บางคนดับได้ที่ตัณหา ใครดับได้ตั้งแต่ต้นๆ ของสายปฏิจจสมุปบาท พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่ามี อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศครับ
     
  14. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ย่อมไม่เพลินในนิพพาน ย่อมไม่ยึดว่านิพพานเป็นเรา นิพพานของเรา นิพพานเป็นตัวตนของเรา
     
  15. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    เกิด-ดับ นั้นเป็นหลักธรรมขั้นพระอรหันต์ครับคุณ คุณเอาพระโสดาบันให้ได้ก่อนสิ ผมก็เคยภาวนาตรงนี้มาก่อน แนะนำจากประสบการณ์ว่า มันจะเข้าใจแบบสัญญา ถ้าเป็นปัญญาน่ะระดับพระอรหันต์ครับ ผมเป็นพระอนาคามีครับ แต่ผมยังไม่เข้าใจตรงนี้เลย และทางนิพพานนั้นมีหลายทาง แต่ก็สรุปลงที่อริยสัจจ์สี่...พระโสดาบันขณะเป็นมรรคควรมีดำริออกจากกาม ไม่มีทางอื่นถ้าไม่ดำริออกจากกาม...
     
  16. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    เห็นด้วยกับคุณโอ๊ทครับที่ต้องหยุดปรุงแต่ง อย่างเวลาทำสมาธิถ้าหยุดปรุงแต่ง คุณโอ๊ทหมายถึงจิตนิ่ง อารมณ์สงบ ใจว่าง ถ้าพูดภาษาง่ายๆคือไม่นึกไม่คิดอะไร แต่ตรงนี้เป็นมรรคครับยังไม่ใช่ผล ถ้าเป็นผลน่ะเหรอ ผมไม่รู้ครับ เพราะไม่ใช่พระอรหันต์...
     
  17. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    พี่ธรรมภูติครับ 1.ละมานะละยังไงครับ และละที่ปัญญาหรือจิตใจครับ 2.ช่วยอธิบายสัมมาสติด้วยครับ 3.ช่วยอธิบายสัมมาสมาธิด้วยครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ...
     
  18. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    ใช่ครับ แต่ ทำยังไงครับ...โปรดอธิบาย...ท่านอธิบายท่านย่อมได้กุศลอันน่ารัก...
     
  19. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    หยุดเขาหมายถึงการปฏิบัติสมาธิครับคุณ ปกติคนเราจะคิดเรื่องโน้นเรื่องนี้ แล้วเวลาทำสมาธิเนี่ยมันจัดเป็นมรรค ถ้าคุณจะได้ผลคุณก็ต้องทำกรรมฐานครับ การบรรลุธรรมไม่ใช่การนึกคิดปรุงแต่ง แต่ต้องปฏิบัติให้ถูกตามหลักวิชชา ส่วนปฏิจจสมุปปบาทน่ะคุณยังไม่ต้องไปสนใจมากอะไรหรอกครับ เอาให้ได้อรหันต์ก่อน ภาวนาไปก็เป็นแค่สัญญา...
     
  20. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    สัมมิติยะเป็นหนึ่งในนิกายที่แยกมาจากวัชชีบุตร ถือว่านิกายที่มีความขัดแย้งที่สุดในนิกายทั้งหมดที่ขัดแย้งกับฝ่ายเถรวาท นิกายนี้เขามีความเชื่อ บุคคล วิญญาณ หรืออัตตา เวลาตายแล้วจะทำการโยกย้ายจากภพนี้ไปสู่ภพโน้น จากภพโน้นก็ไปสู่ภพต่อๆไป ไม่มีการดับ นี้เป็นความเชื่อของลัทธิสัมมิตยะซึ่งเป็นความขัดแย้งกับเถรวาท ความเชื่อของเถรวาทว่าการเวียนว่ายตายเกิด เพราะมีเหตุปัจจัยจึงเกิด เมื่อหมดเหตุปัจจัยจึงดับเรียกสันตติ สันตตินี้มีการสืบต่ออย่างเช่นในอภิธรรมัตถสังคหะ ในวิถีมุตตสังคหะที่เป็นกถาตอนท้ายของปริจเฉทที่ ๕ ตโต ปรํ ปฏิสนฺธาทโย รถจกฺกมิวยถากฺกมเมว ปริวตฺตนฺตา ปวตฺตนฺตีติ. การหมุนไปเหมือนกับกงล้อ (เกวียน) คือ กระแสจิต ปฏิสนธิ ภวังค์ วิถี จุติ จะหมุนเวียนไปตลอดทั้งในภพนี้และทั้งในภพหน้า คือจะมีการสืบต่อกันไปตลอดตราบเท่าที่ยังไม่หมดกิเลส เพราะฉะนั้นจึงไม่มีการโยกย้ายเหมือนดังที่นิกายสัมมิติยะเชื่อ เพราะตามพระอภิธรรมแล้วจะมีการเกิดดับ และมีการสืบต่อ การที่จากภพนี้ไปสู่โน้นไม่ใช่เป็นการโยกย้าย อัตตา วิญญาน แต่เป็นปัจจัยให้กันและกัน เพราะความเชื่อนี้จึงขัดกับความเชื่อของฝ่ายเถรวาท และพวกสัมมิติยะ เชื่อว่าสัตว์ตายไปแล้ว ก่อนจะไปปฏิสนธิในภพใหม่เขาบอกว่ามีร่างกายละเอียดที่ไม่สามารถมองเห็นได้ ใช้เป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราว ลักษณะเป็นสัมภเวสี (เหมือนกับสัมภเวสีที่บอกว่าวิญญาณเร่ร่อนไป) คือสมมุติว่าเมื่อสัตว์ตายแล้ว ๒ - ๓ วัน ยังไม่ไปปฏิสนธิในภพอื่น ซึ่งความเห็นนี้ก็ขัดกับเถรวาท ฝ่ายเถระวาทเมื่อตายแล้วก็ปฏิสนธิทันที ในพระอภิธรรมสังคหะปริเฉทที่ ๕ ตสฺมึ นิรุทฺธาวเส ตสฺสานนฺตรเมว เมื่อจุติจิตดับไปไม่มีระหว่างอะไรมาคั่น คือ ระหว่างจุติไม่มีจิตดวงอื่นที่จะเข้ามาคั่นระหว่าง จุติกับปฏิสนธิ เพราะฉะนั้นจุติกับปฏิสนธิจึงอยู่ติดต่อกันไม่มีภพอื่นอย่างที่นิกายสัมมิติยะเชื่อ อันนี้ก็ขัดกับพระอภิธรรม นี้ก็คือตัวอย่างของความเชื่อที่สัมมิติยะเชื่อ อันนี้ก็ขัดกับพระอภิธรรม และก็มีอย่างหนึ่ง คือ ทานที่จะให้ผลได้ก็ต่อเมื่อผู้รับทานบริโภคใช้สอยสิ่งที่ให้นั้น หมายถึงว่า ถวายอะไรแก่ภิกษุถ้าภิกษุยังไม่ได้ฉันใช้สอย ก็คือทานนั้นยังไม่ให้ผล คือเขาเชื่อว่าทานที่จะให้ผลได้ก็ต่อเมื่อผู้รับทานนั้นได้บริโภคใช้สอยสิ่งที่ให้ไปแล้วนั้นก่อน ทานนั้นจึงจะสามารถให้ผลได้ อันนี้เป็นความเชื่อของนิกายสัมมิติยะเชื่ออย่างนั้น แต่จริงๆแล้ว กุศล อกุศลกรรม ที่เรียนมาไม่ได้ขึ้นอยู่กับวัตถุ เพราะฉะนั้น เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ และอีกความเชื่อหนึ่งเขาบอกว่าในพรหมโลกมี ฆานปสาท ชิวหาปสาท กายปสาท จริงๆ แล้วมีแต่ จักขุ โสต เท่านั้น ไม่มี ฆาน ชิวหา กายปสาท เพราะฉะนั้นความคิดของสัมมิติยะ จะขัดกับข้อสำคัญๆ ถือว่าเป็นลัทธิที่รุนแรงสอนให้คนเข้าใจผิดจากเถรวาทมาก นี่คือความเป็นมาของนิกายสัมมิติยะ และพวกสัมมิติยะเชื่อว่าในสวรรค์(หมายถึงเทวดาและพรหม ทั้งหมด) ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 มิถุนายน 2012

แชร์หน้านี้

Loading...