ไม่รู้ความหมาย เกิด-ดับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย somchai_eee, 24 มิถุนายน 2012.

  1. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    เห้ย ก็ถามอยู่ว่า คุณศึกษา อรรถรสทางธรรม โดยลำพัง แต่ ตัวหนังสือ เหรอ

    "ปล่อยจิต" หากดูกันตามตัวหนังสือ คุณคงหมายถึง ปล่อยกาย ปล่อยใจ
    แบบ คนใจแตก เหรอ

    "ปล่อยจิต" เนี่ยะ เป็นตัวหนังสือ แต่ถ้า ใน อรรถทางการปฏิบัติ เนี่ยะ
    หากปฏิบัตมาจริง มันก็ต้องรู้สิว่า มี

    ไม่งั้น หลวงพ่อราชรีจะพูดออกมาได้เหรอว่า "อรหันต์ไม่มีจิต" อรหันต์
    ไม่มีจิตเนี่ยะ เป็น ภาษาปฏิบัตินะ เพราะ หลวงพ่อราชรี พูด ย่อมต้องเป็น
    ภาษาปฏิบัติแน่นอน

    แต่ถ้า ใช้ตรรกะศาสตร์ และ ภาษา พิสูจน์ ก็ งง เต็กอยู่ร่ำไป

    ...................

    แต่ถ้าไม่งงนะ กลับไปอ่านพระไตรปิฏก "คำสอนใดที่เป็นไปเพื่อละความ
    เห็น กายของเรา จิตของเรา" เหล่านี้จะเป็นคำสอนวิธีปฏิบัติ ให้คนบรรลุ
    จากความเป็น ปุถุชน ได้ หากไม่มีคำสอนเหล่านี้ ก็ไม่มีทาง ละความเป็น
    ปุถุชนได้

    ก็ลองอ่านดูเนาะ ใน มหามาลุงโกยวาทสูตร นั่นแหละ
     
  2. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    ที่สุดแล้ว ไอ้นิสัยจอมเสี้ยม จนไม่เป็นตัวของตัวเอง ก็ยังงี้แหละ
    คำก็หลวงพ่อราชบุรี สองคำก็หลวงพ่อราชบุรี ไอ้เสี้ยมตีกินแบบนี้
    ก็มีแต่พวกมหาโจรนอกรีตทำผิดต่อพระสูตรชัดๆ

    ถามโดยตรรกะนะ แล้วตอบชัดๆด้วยนะ
    ที่ปฏิบัติธรรมกันอยู่นี้
    เพื่อจิตใจของเราหมดจดจากเครื่องเศร้าหมอง ใช่หรือไม่?
    อย่าลืมตอบแบบชัดนะ ใช่เพราะอะไร? ไม่ใช่เพราะอะไร?

    แล้วเป็นไปเพื่อความเห็นของใคร? ใช่ละควา่มเห็นที่จิตของเรา ใช่หรือไม่?
    อย่าบอกนะว่ามีแต่การละ ผู้ละไม่มีอยู่จริง
    ไอ้สอนแบบนี้ เป็นเรื่องโกหกพกลมชัดๆ

    ส่วนเรื่องท่านพระอาจารย์ที่ราชบุรีนั้น
    ถกกันมามากจนเป็นที่เข้าใจ ควรเลิกเสี้ยมได้แล้ว
    ไม่ต้องหวังว่าลูกศิษย์ท่าน จะเข้าใจผิดหรอก

    เฮ้อ!!!นิสัยถาวรนี้เปลี่ยนยากจริงๆ ให้ตายสิโรบิน

    เจริญในธรรมทุกท่าน
     
  3. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    จิตนี้มีดวงเดียว : ปุจฉา วิสัชนา หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

    ปุจฉา วิสัชนา หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

    ที่ห้อง ธรรมาบดี กระทรวงอุตสาหกรรม

    วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 เวลา 08:30 - 09:00 น.

    โพสท์ในลานธรรมเสวนา กระทู้ที่ 000469 โดยคุณ : พัลวัน [ 1 ต.ค. 2542 ]

    เนื้อความ :

    (หมายเหตุ เช้าวันที่ 1 ตุลาคม 2542 ได้ไปยืนรอหลวงปู่ที่หน้ากระทรวงอุตสาหกรรม เลยมีโอกาสได้สนทนากับท่าน ก่อนรับประเคนอาหารครับ ทั้งหมดมาจากความจำครับ ไม่ได้จด ก็พยายามเรียบเรียงจากความจำให้ใกล้เคียงที่สุดครับ อย่าถือเอาไปเป็นเอกสารอ้างอิงครับ)

    ปุจฉา : หลวงปู่ครับ เมื่อเรารู้สึก โมโห โกรธ เศร้าหมอง เหล่านี้เป็นอาการของจิต ไม่ใช่จิตใช่มั้ยครับ

    วิสัชนา : จิตนี้มีดวงเดียว ความเศร้าหมองเป็นอกุศล เมื่อจิตถูกครอบงำด้วยอารมณ์อันเป็นอกุศล ก็เศร้าหมอง จิตเองโดยปกตินี้ มันก็เลื่อมใสอยู่ ต่อเมื่อมีกิเลสมันมา ก็ทำให้เศร้าหมอง

    ปุจฉา : ทุกวันนี้ ผมเองก็เห็นอาการ โมโห โกรธ ยินดี ยินร้าย และเห็นรอยต่อของมันด้วย เช่นเห็นภาพในใจ แล้วก็เกิดความยินดียินร้าย ตรงรอยต่อตรงนั้น ผมก็ไม่รู้ว่าเป็นอะไร

    วิสัชนา : จิตนี้มีดวงเดียว เมื่อมันเห็นอารมณ์ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ทนอยู่ได้ยาก รู้ความเป็นจริง มันก็ละไปเอง โลภะ โทสะ โมหะ เมื่อจิตรู้ก็ละมันไปเอง เมื่อละไปได้ ก็ไม่มีอุปาทาน

    ปุจฉา : พระอรหันต์ เมื่อละสังขารแล้วสูญมั้ยครับ

    วิสัชนา : หมด ไม่มีอะไรเหลือ นิพพานนั้นพระพุทธเจ้าตั้งชื่อขึ้นเพื่อเรียกให้คนเข้าใจ จิตที่ละ โลภะ โทสะ โมหะ นั่นคือนิพพาน นิพพานไม่มีในโลกนี้หรือโลกไหนๆ ที่เราคิดๆกันไปก็เพราะเราติดในสมมุติ ติดในบัญญัติ จิตที่ไม่มี โลภะ โทสะ โมหะ นั่นแหละคือจิตที่เป็นนิพพาน แต่นิพพานมีอยู่นะ เป็นหนึ่ง ไม่มีสอง

    ปุจฉา : ที่ว่า จิตประภัสสรนี้เป็นอวิชชา ผมไม่เข้าใจครับ

    วิสัชนา : จิตนั้นปกติแล้วมันก็ผ่องใส เลื่อมใส อยู่ของมันทั้งนั้น ไม่ว่าจะจิตของคนธรรมดา หรือว่าจิตของพระอรหันต์ แต่ว่า จิตของคนธรรมดามันไม่มีปัญญา ดังนั้นจึงเศร้าหมองเมื่อกิเลสจรมา เราจึงต้องหมั่นอบรมให้มีปัญญา

    ปุจฉา : ขันธ์ทั้ง 5 ของพระอรหันต์ ต่างคนต่างอยู่ ไม่เกี่ยวข้องกัน มันเป็นอย่างไรครับ

    วิสัชนา : (หลวงปู่เลยเล่าเรื่องให้ฟัง) ในสมัยหนึ่ง มีช่างทำแก้ว เจียระไนแก้วฝีมือดี วันหนึ่งนิมนต์พระไปฉันอาหารที่บ้าน แต่ไม่รู้ว่าพระนั้นเป็นพระอรหันต์ ในวันนั้นพระราชาก็เอาลูกแก้วมาให้เจียระไน ตนเองทำกับข้าวอยู่ มือเลยเปื้อนเลือด ลูกแก้วนั้นก็พลอยเปื้อนเลือดไปด้วย ช่างทำแก้วนั้นได้รับลูกแก้วมา ก็เอาลูกแก้ววางไว้ทั้งๆ ที่มือเปื้อนเลือด นกกระสาเห็นลูกแก้วที่เปื้อนเลือดก็นึกว่าเป็นก้อนเลือด ก็เลยมากินกลืนลงท้อง พอช่างทำแก้วมาหาไม่เห็น ก็คิดว่าพระที่นิมนต์มาที่บ้านเป็นผู้เอาไป แต่พระปฏิเสธ ช่างทำแก้วไม่เชื่อก็ทุบตีพระอรหันต์นั้น

    แม้ว่าพระจะรู้ว่านกกระสากินไปก็ตาม แต่ไม่ตอบ ด้วยกลัวว่าจะทำให้นกกระสานั้นถูกฆ่า ฝ่ายภริยาช่างทำแก้ว ก็พยายามที่จะห้ามมิให้ทำร้ายพระ ด้วยเห็นว่า พระองค์นี้มีความเป็นอยู่ดี (หมายถึงเรียบร้อย สงบเสงี่ยม) ช่างทำแก้วเห็นพระอรหันต์องค์นั้นไม่ตอบ ก็เลยเอาเชือกมาพันรอบศีรษะ (แบบขันชะเนาะ) แล้วขันเชือกให้แน่นเข้าๆ จนกระทั่งบีบให้ ลูกตาหลุดออกมาพร้อมเลือด นกกระสาเห็นลูกตาที่หลุดกระเด็นออกมีเลือด ก็เห็นว่าเป็นก้อนเลือด ก็กระโดดเข้ามาจะจิกกิน

    ในขณะนั้นเอง ช่างทำแก้วก็กำลังจะเตะพระอรหันต์องค์นั้นพอดี เลยพลาดไปถูกนกตาย พระอรหันต์เห็นดังนั้นจึงว่า ให้คลายเชือกออกแล้วจะบอก พอช่างทำแก้วคลายเชือกออก พระอรหันต์องค์นั้นก็บอกว่า ลูกแก้วที่ว่านั้นอยู่ที่นกที่ถูกเตะตายไปเมื่อตะกี้นี้ ช่างทำแก้วผ่าออกดูเห็นว่าเป็นจริง ก็ตกใจ รู้ตัวว่าทำผิดไปแล้ว

    แต่พระอรหันต์องค์นั้น ได้เข้าฌานแล้วเหาะกลับไปอยู่ในที่ของท่าน แล้วเข้านิพพานในที่นั้น หลวงปู่เหรียญท่านกล่าวต่อว่า จิตของพระอรหันต์นั้น เด็ดขาด แล้วว่า นกกระสาตัวนั้น ตายแล้วไปเกิดเป็นลูกของภริยา นางภริยาช่างทำแก้วตายแล้วไปเกิดในสวรรค์ ส่วนนายช่างทำแก้วนั้นตายไปแล้วตกนรก

    ผมจบคำสนทนากับหลวงปู่เพียงเท่านี้ครับ และจากการที่ผมอ่านทบทวน ผมเชื่อว่า บางทีอาจจะทำให้เกิดความสงสัยอีกมากมายในธรรมที่นำมาเสนอครั้งนี้ แต่สำหรับผมเองแล้ว ผมยืนยันว่า ธรรมที่หลวงปู่แสดงนั้น ทำลายตัวสงสัยที่ผมมีไปได้มากๆ ครับ จนปัจจุบันนี้ยังไม่มีตัวสงสัยตัวไหนผุดออกมาครับ หากอ่านดูแล้วแปลกๆ ใจเชื่อไม่ลง ก็ขอให้ถือเสียว่า หลวงปู่ท่านแก้สงสัยให้ผมก็แล้วกันครับ

    จากคุณ : พัลวัน [ 1 ต.ค. 2542 ]

    จบกระทู้บริบูรณ์
     
  4. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    แล้วหลวงพ่อพุธท่านก็ปฏิเสธเรื่องจิตเกิดดับด้วย

    ส่วนอันนี้มาจากหนังสือหลวงพ่อพุธ การฝึกอบรมกัมมัฏฐานภาคปฏิบัติ หน้า8 เทศน์วันที่17 เมษายน 2521 ลองอ่านดูว่าที่เขาเรียกกันว่าดูจิตเกิดดับๆนี่ตรงกับหลวงพ่อพุธหรือไม่

    "ท่านลองคิดดูซิว่าจิตคนเรานี้มันมีโอกาสที่จะดับได้ไหม ถ้าหากว่าจิตมันดับแล้วเราปฏิบัติกันนี้ จะเอาอะไรไปบรรลุคุณธรรม ในเมื่อว่าจิตมันดับแล้วเราก็ตายเท่านั้นเอง แต่ต้องเข้าใจว่ามันไม่ใช่เป็นอย่างนั้น

    อาการที่จิตดับนี้ ผมขอเสนอมติความเห็นเพื่อเป็นแนวพิจารณาสำหรับท่านทั้งหลายดังนี้ครับ โดยปกติคนเรานั้น เรามีกายกับใจ หรือในที่นี้ขอสมมติว่าจิต พระอาจารย์องค์นั้นสอนว่าให้จิตดับ ทำจิตให้ดับ เรามีกายกับจิต โดยปกติมันอาศัยกันติดต่อกับโลกภายนอกโดยทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ ทีนี้เมื่อเรามาบริกรรมภาวนา มีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา บริกรรมภาวนาจนจิตสงบ เป็นขณกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ โดยลำดับ เมื่อจิตเข้าถึงอันปปนาสมาธิแล้ว ตามหลักปริยัติท่านก็ว่าจิตเข้าสู่ความเป็นหนึ่งคือ เอกัคคตา เมื่อจิตประกอบด้วย เอกัคคตากับอุเบกขา อันนี้ท่านเรียกว่าจิตเป็นอัปปนาสมาธิ จิตในตอนนี้ละเว้นจากการรู้สึกทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ มันยังเหลืออยู่แต่ใจที่สงบนิ่ง อยู่ในจุดเดียว จุดนั้นอยู่ที่ไหน ใจอยู่ที่ไหน จุดนั้นก็อยู่ที่นั่น จิตก็อยู่ที่จิตนั้นเอง ไม่ส่งกระแสออกมารับรู้อารมณ์อื่นๆในภายนอก มีแต่จิตตัวเดียวนิ่งอยู่ ตั้งเห็นอยู่แล้วมีความสว่างไสวอยู่ ไม่ได้รู้ทารงตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ แม้แต่ใครจะมาทำเสียงให้ดังขึ้นสักปานใดในขณะนั้น ผู้ภาวนานั้นจะไม่มีความรู้สึกเกิดขึ้น นี่ตามความเข้าใจของผมเข้าใจว่าดังนี้ คำว่าจิตดับมันหมายถึงว่าดับอย่างนี้ อันนี้เรียกว่าจิตดับในขั้นสมถกรรมฐาน

    ทีนี้จิตดับในขั้นวิปัสสนากรรมฐาน หมายถึงจิตที่รับผู้อารมณ์อยู่ แต่หากไม่มีปฏิกิริยาใดๆเกิดขึ้น ตาเห็นรูปสักแต่ว่าเห็น หูฟังเสียงสักแต่ว่าได้ยิน จมูกได้กลิ่นสักแต่ว่าได้กลิ่น ลิ้นลิ้มรสก็สักแต่ว่ารู้รส กายถูกต้องสัมผัสก็สักแต่ว่าถูกต้องสัมผัส ใจนึกคิดก็สัแต่ว่านึกคิด แต่มันปราศจากความยินดียินร้าย คืออิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ จิตดำรงตนเป็นกลางโดยเที่ยงธรรม เรียกว่า มัชฌิมา คือ มันไม่มีความยินยินร้าย อันนี้จิตดับกิเลส แต่ตัวจิตเองไม่ได้ดับ มันยังมีอยู่ สภาวะที่ตั้งจิตผู้รู้ยังมีอยู่ นี่ผมขอเสนอแนะความคิดเห็นของผมตามที่ได้ประสบการณ์มา เพื่อเป็นแนวทางพิจารณาของบรรดาท่านทั้งหลาย"
     
  5. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    เอ้า จะยก คำเทศนาของหลวงพ่อพุธ มาทำไมอีกหละครับ

    ในเมื่อ พระพุทธองค์ก็กล่าวเอาไว้แล้วว่า สาวกที่เป็นอรหันต์เนี่ยะ
    จะกล่าวตู่ มรรควิธีของพระพุทธองค์ให้เป็นอื่น ให้ดูเหมือนว่าไม่
    มีการ


    แล้วอีกอย่าง

    หลวงพ่อพุธ ท่าน เสนอยัติ ให้ รับเอาคำว่า จิตดับ เอาไว้

    ไม่ใช่ปฏิเสธ การใช้คำว่า จิตดับ นะครับ ตรงนี้ให้อ่านดีๆ

    แต่ถึงแม้จะเป็นการเสนอคำว่า จิตดับ ให้ใช้ก็เถอะ แต่ก็ถือว่า
    หลวงพ่อพุธได้กล่าวกลบ มรรควิธี โดยไม่จำเป็น ให้ถือว่า
    "เป็นคำเปล่า" ไป

    แล้วกลับไปพิจารณา

    เนี่ยะ ธรรมภูติ จะรับหรือไม่รับ

    จะมุ่งทำลายเนื้อความ "ดูกรอานนท์....." ในบทนี้ไหม ถ้า จะมุ่งทำลาย
    พระสูตรนี้ให้สิ้นไป ก็อย่ามาเสียเวลาต่อล้อต่อเถียงกับผมอยู่ เพราะ ผม
    ย่อมไม่ใช่เหตุที่จะช่วยยก หรือ ทำลายพระสูตรนี้ได้

    คุณต้องขุดพระสูตรนี้ ด้วยตัวคุณเอง

    หรือ

    รับไว้ ตามนั้น ไปเลย

    **********

    แล้ว เพียงแค่ ธรรมภูติ ยอมรับ พุทธวัจนะ นั้น ด้วย การปรารภ
    ปากเปล่า แต่ใจไม่เห็นอรรถ ไม่ลงให้กับ พุทธวัจนะนี้ โดยพุทธโองการ
    ก็บอกให้ เรารับคุณเป็นพวกได้

    คือ แม้นใจจะยังปฏิเสธ พุทธวัจนะ แต่ ก็ไม่คิดจะ เอาเท้าไปลบพระสูตรนี้
    ทิ้ง ก็ให้ถือว่า เป็นพวกเดียวกันได้

    เพราะ ธรรมดาอยู่เองที่ มรรคปฏิปทาในบางข้อ สาวกที่เป็นอรหันต์เลิศ
    ยิ่งยวดแค่ไหนก็ตาม ย่อม งง และ ไม่เข้าใน มรรคในบางข้อ เป็น
    ธรรมดา

    ประสาอะไร กับ พวกขี้ทูต กุดถัง โมฆะบุรุษ เล่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กรกฎาคม 2012
  6. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ศึกษา ๔ นิกาย ๔ ทัศนะมหายาน


    นิกายจิตอมตวาท

    นิกายนี้ได้เจริญขึ้นในราชวงศ์คุปตะ ไม่พบผู้ก่อตั้งนิกาย พระสูตรที่สำคัญในนิกายเช่น ศรีมาลาเทวีสิงหนาทสูตร ศูรางคมสมาธิสูตร ตถาคตครรภสูตร สุวรรณประภาสสูตร พุทธยานสาครสมาธิสูตร อจินไตยยสูตร วิเศษจินตาพรหมปริปฤจฉาสูตร เป็นต้น

    คำสอนในนิกายนี้ตรงข้ามกับศูนยวาทและโยคาจาร ข้อแตกต่างที่สำคัญคือ จักรภพมีปทัฏฐานจากสมบูรณภาพ จากสิ่งนี้คือสมบูรณภาพ จึงก่อเกิดจักรภพชีวิตขึ้น ภาวะอันเป็นแก่นเดิมของโลกคือความจริงแท้ สิ่งที่เป็นมายามีรากฐานมาจากภาวะอันแท้จริงไม่แปรผัน นิกายจิตอมตวาทนี้ได้บัญญัติภาวะอันนี้ด้วยนามต่างๆเช่น พุทธะภาวะ ตถาคตครรภ ภูตตถตา อมฤตจิต นิพพาน นิกายนี้ชี้แจงว่าคำสอนที่เกี่ยวกับอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นเพียงบุรพภาค เป็นเพียงปริยายธรรม ยังมีธรรมที่สุขุมคัมภีรภาพไปกว่านั้น คือธรรมที่แสดงถึง นิจจัง สุขัง อัตตา การที่พระพุทธองค์ทรงแสดงอนัตตา ก็เพื่อให้เราได้เข้าถึงอัตตาที่แท้จริง กล่าวคือ สมบูรณภาพหรือพุทธภาวะ และพุทธภาวะมีในทุกๆสิ่ง แต่ถ้ามองในแง่ลักษณะภายนอก สิ่งทั้งสองก็แตกต่างกันออกไปโดยสัณฐาน โดยนิมิต และโดยพยัญชนะ

    นิกายนี้ ได้ให้ข้ออุปมา เกี่ยวกับสมบูรณภาพว่า ธรรมดาภาวะของจิตหรือสมบูรณภาพนั้น เที่ยงแท้ ไม่เกิด ไม่ด้บ เบื้องต้นไม่ปรากฏเบื้องปลายไม่ปรากฏ แต่ที่เห็นเกิดดับนั้นเพียงอาการของจิต ไม่ใช่ตัวจิต เพราะฉะนั้นจิตจึงไม่ใช่วิญญาณขันธ์"

    เมื่อจิตมิใช่วิญญาณขันธ์ จิตจึงเป็นผู้รู้ขันธ์ ผู้ปล่อยขันธ์ สภาพของธาตุรู้ ท่านเปรียบเหมือนธาตุทอง ที่ยังปะปนอยู่กับดินทราย หรือธาตุเพชรที่ยังอยู่ในหิน ธาตุทองและธาตุเพชรไม่ใช่ดินทราย ไม่ใช่หินฉันใด พุทธภาวะหรือจิตในสรรพสัตว์ แม้จะห่อหุ้มด้วยกิเลสตัณหา ก็ไม่ใช่กิเลสตัณหาและไม่ใช่ขันธ์ 5 ฉันนั้น อีกอุปมาหนึ่งท่านเปรียบเหมือนดวงอาทิตย์ ย่อมมีปรกติส่องแสงสว่าง แต่ในบางคราวเกิดมืดมัว ก็มิได้หมายความว่า ดวงอาทิตย์นั้นอัปแสงไปหากเนื่องมาจากเมฆหมอกมาปกคลุม เปรียบดังกิเลสตัณหามาบังพุทธภาวะในปุถุชนเหมือนทองที่ยังไม่ได้ร่อนไม่ได้หุง เหมือนเพชรที่ยังไม่ได้เจียรนัย เหมือนดวงอาทิตย์ที่ถูกเมฆคลุม แต่พุทธภาวะในพระอริยะเจ้า เปรียบเหมือนทองที่เป็นรูปพรรณเหมือนเพชรที่เจียรนัย เหมือนตะวันที่พ้นเมฆหมอกแล้ว ปุถุชนจึงเป็นพุทธะในส่วนเหตุ พระอริยบุคคลเป็นพุทธะในส่วนผล

    นิกายนี้เชื่อมั่นว่า สัตว์ทั้งปวงในวันหนึ่งข้างหน้านี้ จักต้องตรัสรู้เหมือนกัน ต้องเป็นพุทธะหมด เพราะทุกคนมีทุนเดิมอยู่ในจิตด้วยกันทุกคน

    อีกอุปมาหนึ่ง ท่านเปรียบประดุจท้องมหาสมุทรในยามปรกติย่อมราบเรียบ แต่ที่ยังเกิดเป็นคลื่นก็เพราะลมมหาสมุทร คือพุทธภาวะหรือจิตแท้ลมที่พัดมาคืออวิชชาตัณหาอุปทาน ลูกคลื่นที่เกิดขึ้น แต่ละลูก เปรียบเหมือนสัตว์ต่างๆเกิดแล้วดับไปในมหาสมุทรนั่นเอง มีปัญหาถามว่าอวิชชามีก่อนหรือพุทธภาวะมีก่อน ถ้าอวิชชามีก่อน ก็มิใช่พุทธะภาวะแท้ เพราะไม่รู้มีก่อนรู้ รู้นั้นก็ไม่ใช่รู้จริง ใช้ไม่ได้ ถ้าว่าพุทธะภาวะมีก่อน พระอริยะก็จะกลับเป็นปุถุชนได้ นิกายจิตอมตวาทตอบว่า พุทธภาวะกับอวิชชาไม่ก่อนไม่หลังกัน มีมาด้วยกันนับแต่ภาวะเริ่มต้นไม่ปรากฏ เหมือนกับธาตุทองกับดินทราย จะว่าใครเกิดก่อนเกิดหลังไม่ได้
     
  7. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    นิกายตันตรยาน

    นิกายนี้เกิดขึ้นในช่วงปลายราชวงศ์คุปตะ ในช่วงนั้นถือว่าเป็นช่วงที่ฮินดูได้รุกหนักเพื่อแย่งชิงพื้นที่ของขาวพุทธ ปรัชญาและการปฏิบัติที่ดีของชาวพุทธ ถูกชาวฮินดูนำไปใช้และอ้างว่าเป็นสิ่งที่ตนคิดค้นขึ้นมา ดังเช่นตันตระวิธี ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติจิตซึ่งเกิดขึ้นในชมพูทวีปมาช้านาน แต่นักปฏิบัติชาวพุทธตั้งแต่ยุคที่พระพุทธองค์ยังคงพระชนม์ชีพอยู่ได้นำมาพัฒนาและนำมาใช้อย่างได้ผล แม้จะไม่แพร่หลายอย่างกว้างขวาง แต่ก็มีการใช้และพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ จนเมื่อถึงช่วงปลายคุปตะ จึงได้ใช้ตันตระวิธีในหมู่ชาวพุทธอย่างกว้างขวาง เพื่อต่อต้านและทวงคืนสิ่งที่ชาวฮินดูยึดเอาไป และนี่เป็นบ่อเกิดของระบบ พุทธตันตรยาน, มนตรายาน รหัสยาน, คุยหยาน, สหัชยาน ซึ่งไม่ว่าจะเรียกชื่อต่างกันอย่างไร แต่ก็มีหลักการไม่ต่างกันเท่าไหร่ คือหลักปรัชญายังคงเป็น หลักปรัชญาของพุทธมหายาน ส่วนการปฏิบัติจิต ใช้วิธีการปฏิบัติตันตระเป็นหลัก โดยเน้น ทุกส่วนของร่างกายเข้าไปในวิธีการปฏิบัติ กำหนดพิธีการในการใช้ร่างกายอย่างเหมาะสมและให้ได้ผลอย่างเต็มที่ เช่น กายประกอบมุทรา วาจาสวดสาธยายมนตราธารณี ใจสร้างมโนจิตจินตภาพ เมื่อชาวพุทธได้ใช้วิธีการซึ่งชาวพุทธเองได้คิดค้นพัฒนากันมาเองอย่างยาวนาน จึงบรรลุผลสำเร็จอย่างรวดเร็ว ชาวชมพูทวีปและดินแดนทั้งใกล้และไกลจึงนิยมเลื่อมใสศรัทธาและนำไปใช้อย่างกว้างขวาง เช่นในแถบหิมาลัยทั้งหมด จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินโดนีเซีย สุวรรณภูมิ เขมร ฯลฯ

    ชาวพุทธตันตระได้ใช้หลักคำสอนลับของพระพุทธเจ้าที่ทรงประทานแก่กษัตริย์อินทรภูติในหมุนกงล้อธรรมครั้งที่3 เป็นหลักคิดและกำหนดหลักการปฏิบัติให้สอดคล้องกับตันตระวิธี ดังนี้

    1 ถือว่า อาทิพุทธเจ้า เป็นปฐมภาวะพุทธ หรือพระพุทธเจ้าองค์ปฐม ซึ่งกำเนิดขึ้นพร้อมกับการเกิดขึ้นโลก เมื่อธาตุๆสัมพันธ์กันตามหลักการแห่งปรตีตยสมุตปาท ให้กำเนิดโลกและสรรพสิ่งทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเกิดขึ้น ภาวะต่างๆก็กำเนิดตามมาด้วย ดังเช่น ภาวะแห่งวัฎฎ และภาวะแห่งนิพพาน ซึ่งภาวะทั้งสองก็คือปฐมภาวะพุทธนั่นเอง เมื่อนำมาอธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้น จึงได้เกิดเป็นอาทิพุทธในรูปของบุคคลาธิฐานขึ้น พระศากยมุนีพุทธเจ้าถือว่าเป็นการแสดง ให้เห็นเป็นรูปเป็นร่างของปฐมพุทธภาวะ เพื่อผลในการอบรมสั่งสอน ให้รู้ว่า สรรพสิ่งหรือสรรพชีวิตที่เกิดขึ้นมาในในโลกนี้ มีธาตุแห่งปฐมพุทธภาวะผสมอยู่ เมื่อใดที่ สรรพชีวิตนั้นรู้,เข้าใจ,และรวมการปฎิบัติของตนเข้ากับธาตุปฐมภาวะพุทธดั้งเดิมได้ เมื่อนั้น สรรพสัตว์นั้นก็เป็นพุทธเจ้า

    2 นับถือธยานิพุทธะ 5 พระองค์เป็นหลักในการปฏิบัติ ธยานิพุทธเป็นตัวแทนแห่งอารมณ์ของสรรพชีวิต เพื่อแสดงให้สรรพชีวิตได้เห็นว่า ไม่ว่าเขาจะมีภาวะอารมณ์เป็นเช่นใดก็บรรลุพุทธภาวะได้

    3 ด้วยหลักโพธิจิต ที่ชาวพุทธตันตระยึดถือเป็นสองรากฐาน ซึ่งได้แก่ เมตตาหนึ่งและปัญญาหนึ่ง อีกทั้งความเชื่อเรื่องธยานิพุทธ จึงได้แพร่หลายแนวคิดเรื่องพระพุทธเจ้าปางซึ่งแสดงอารมณ์ต่างๆ อีกทั้งยังได้แพร่หลายแนวคิดเรื่องพระโพธิสัตว์ผู้ช่วยสำคัญของพระพุทธเจ้าในการปฎิบัติฐานสำคัญทั้งสอง และโพธิสัตว์ก็มีปางซึ่งแสดงอารมณ์ต่างๆกันได้ ด้วยหลักแห่งฐานปัญญา มิใช่อารมณ์สงบเพียงอย่างเดียวที่บรรลุพุทธภาวะได้ อารมณ์อื่นก็บรรลุได้ ด้วยหลักแห่งฐานเมตตา ภาวะจิตของสรรพสัตว์ที่ต้องช่วยเป็นหลักในการใช้วิธีเข้าช่วย

    4 ใช้ธารณี ซึ่งก็คือ เสียงสำเนียง ซึ่งพระพุทธเจ้าในอดีตได้เลือกสรรค์และมอบไว้ไห้ ว่าเป็นเสียงซึ่งมีพลังและคุณวิเศษ โดยมอบผ่านมาทางพระศากยมุนีพุทธเจ้า ดังนั้น ธารณีเหล่านั้นจึงให้ประโยชน์สูงสุดในการช่วยเหลือสรรพชีวิตให้บรรลุผลสำเร็จ

    5 ใช้ท่ามุทรา ความหมายดังเช่นในข้อ4 มุทราก็คือการแสดงท่วงท่า และก็เป็นท่วงท่า ซึง พระพุทธเจ้าในอดีตได้ใช้และเลือกสรรค์ท่าที่ให้ผลสูงสุดมามอบให้ ดังนั้น จึงมิต้องสงสัยในพลังแห่งมุทรานั้นๆเลย

    6 นำการปฏิบัติทั้งปวงมากำหนดให้เป็นมณฑลพิธีและพิธีการในการปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลสูงสุด

    ด้วยเหตุนี้ ฐานะของพระพุทธศาสนาจึงได้มั่นคงแข็งแรงขึ้น มีมหาวิทยาลัยสงฆ์เกิดขึ้นหลายแห่ง ส่วนใหญ่แล้วจะสอนพุทธตันตระเป็นหลัก ดังเช่น มหาวิทยาลัยสงฆ์นาลันทา (ซึ่งจัดเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกของโลก และเป็นมหาวิทยาสัยที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย) ,มหาวิทยาลัยวิกรมศิลา, มหาวิทยาลัยโอทันตบุรี, มหาวิทยาลัยชคัททะ ฯลฯ พระอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเหล่านี้ ได้เผยแพร่พุทธศาสนาไปทั่วทุกทิศ
     
  8. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    นิกายฌานหรือเซน(เสี่ยมจง)

    ในสมัยพุทธกาลท่ามกลางประชุมบริษัท 4 พระศาสดาได้ชูดอกหนึ่ง มิได้ตรัสเทศนาว่าอย่างไร ที่ประชุมไม่มีผู้ใดเข้าใจความหมาย มีแต่พระมหากัสสปเถระเท่านั้นที่ยิ้มน้อยๆอยู่ พระศาสดา จึงตรัสว่า "ดูก่อน กัสสปะ ตถาคตมีธรรมจักษุครรภ์อันถูกต้องและนิพพานจิต ลักษณะที่แท้จริง ย่อมไม่มีลักษณะได้มอบไว้ให้แก่เธอแล้ว" นิกายนี้จึงนับถือพระมหากัสสปเถระว่าเป็นปฐมา จารย์และถือว่าเป็นนิกายวิปัสสนาโดยเฉพาะ ไม่ต้องอาศัยหนังสือหรือปริยัติธรรมใดๆ แต่ชี้ตรง ไปยังจุดของจิตใจ ในอินเดียได้สืบทอดปรมาจารย์มา 28 องค์ จนในราวพุทธศตวรรษที่ 10 ท่านโพธิธรรม(ตั๊กมอโจวซือ)ได้นำนิกายนี้เข้าสู่ประเทศจีนและถือว่าท่านเป็นปฐมาจารย์องค์ แรกของนิกายในประเทศจีน และได้เจริญรุ่งเรืองมาจนถึงสมัยปัจจุบัน ปรมาจารย์องค์สำคัญ และมีชื่อเสียงเลืองลือมากอีกท่านหนึ่งคือ ปรมาจารย์องค์ที่ 6 ท่านฮุ่ยเล้งหรือเวยหล่าง ในยุค ราชวงศ์ถัง ด้วยโศลกของท่านที่ให้ไว้หลังได้พบโศลกศิษย์อาวุโสที่เขียนไว้

    "กายนี้อุปมาเหมือนต้นโพธิ์ ใจนี้อุปมาเหมือนกระจกเงา
    จงหมั่นเช็ดถูมันอยู่ทุกๆเวลา อย่าให้ฝุ่นละอองจับ คลุมได้"
    ท่านได้ต่อไว้ว่า

    "ตันโพธิ์นี้เดิมมิใช่เป็นต้นโพธิ์ ไม่มีกระจกเงาอันใสบริสุทธิ์ด้วย
    แต่เดิมไม่มีอะไรสักอย่าง แล้วฝุ่นละอองจะจับคลุมที่ตรงไหน"


    นิกายเซนได้สอนว่า สรรพสัตว์ มีพุทธภาวะหรือธรรมกายรุ่งเรืองสุกใสอยู่ด้วยกันทุกๆคน คำพูดหรือตัวหนังสือหาเพียงพอที่จะ อธิบายถึงสัจจะภาวะนั้นไม่ เพราะฉะนั้น บางคราวจำเป็นต้องอาศัยปริศนาธรรมและคำพูดที่ แทงเข้าไปสู่หัวใจโดยตรงเพื่อเปิดทางออกการพุทธภาวะนั้น นอกจากปริศนาธรรมในครั้งสำ คัญแล้ว การปฏิบัติธรรม การศึกษาค้นคว้าก็ถือเป็นเรื่องปกติที่ต้องปฏิบัติ ด้วยว่าพื้นภูมิของ แต่ละผู้คนสูงต่ำต่างกัน จึงจำเป็นต้องอาศัยพระธรรมและการปฏิบัติ มาเสริมสร้างเพื่อรอเวลา การส่องประกายออกของจิตประภัสสร ดังที่พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตรโพธิ์แจ้งกล่าว ไว้ว่า "ซี้ก่าวฮวยจิ่วคุย" เมื่อถึงเวลาดอกไม้ก็บาน ฉะนั้นก่อนถึงเวลา การบำรุงรักษาต้นเพื่อรอดอกจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องกระทำ ถ้าต้นไม้เหี่ยวเฉาตายก่อนจะมีดอกได้อย่างไร
     
  9. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    นิกายศูนยวาทหรือมาธยมิก

    มาธยมิก แปลว่าทางสายกลาง นิกายนี้ตั้งขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 7 ท่านคุรุนาคารชุนเป็นผู้ก่อตั้ง ได้อรรถาธิบายพุทธมติ ด้วยระบบวิภาษวิธี ซึ่งก่อความตื่นเต้นในวงนักปราชญ์ทางพุทธศาสนา ท่านได้กำจัดปรวาทีพ่ายแพ้ไปทุกแห่งหน พุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายานจึงยกย่องท่านว่าเป็นพุทธะองค์ใหม่ ในปัจฉิมวัยท่านดับขันธ์ลง ณ มหาวิหารแห่งหนึ่งที่เมืองอมราวดีในแคว้นอันธระ ทักษิณาบถ ปัจจุบันนี้อินเดียทางใต้ยังมีโบราณสถานแห่งหนึ่ง ซึ่งมีซากพระสถูปเจดีย์ชื่อว่า "นาคารชุนโกณฑะ" งานสำคัญของคุรุนาคารชุนคือ การย่อยทรรศนะในมหาปรัชญาปารมิตาสูตร แล้วจัดระบบวิภาษวิธีเพื่อให้เข้าถึงความจริงในปรัชญานั้น คัมภีร์ที่มีชื่อเสียงของท่านคือ อรรถกถาแห่งพระสูตรดังกล่าวและคัมภีร์มาธยมิกการิกะ คัมภีร์นี้เป็นเพชรน้ำเอกในทัศนะเกี่ยวกับพุทธมติ อย่างที่โลกพุทธศาสนาไม่เคยมีมาก่อนเลย นักปราชญ์ในโลกตะวันตกยุคหลังที่ได้อ่านคัมภีร์นี้ ต่างก็ยอมรับว่า คุรุนาคารชุนเป็นนักตรรกวิทยาที่ยิ่งใหญ่ของโลก ไม่มีปรัชญ์ใดในทางนี้ของตะวันตกที่จะเทียบเคียงได้

    มหาปรัชญาปารมิตาสูตร มีสาระสำคัญซึ่งเป็นบ่อเกิดของนิกายศูนยวาทนั้นสาระสำคัญเรียกว่า "ปรัชญาปารมิตาหฤทัย" ซึ่งเป็นพระสูตรสั้นๆที่แก่นแท้แห่งศูนยตาภาวะ ซึ่งชาวพุทธมหายานทั้งมวลต้องรู้ต้องสวดภาวนาเป็นประจำ

    ในคัมภีร์มาธยมิกวฤติ ท่านคุรุนาคารชุนได้เขียนไว้ 27 บรรพ ท่านได้เริ่มปณามคาถาในต้นปกรณ์ว่า “ไม่มีความเกิดขึ้น ไม่มีความดับ ไม่มีความขาดสูญ ไม่มีความเที่ยงแท้ ไม่มีอรรถแต่อย่าง เดียว ไม่มีอรรถนานาประการ ไม่มีการมา ไม่มีการไป ท่านใดกล่าวไว้ เป็นปฏิจจสมุปบาทธรรม ท่านผู้นั้นคือพระพุทธเจ้า ข้าขอนอบน้อม แด่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ดับเสียได้ซึ่ง ปปัญจธรรมเป็นเลิศยิ่งกว่าวาทะทั้งหลาย”

    ใจความในปณามคาถานี้ แบ่งออกเป็น 8 คำ 4 คู่

    ในทรรศนะของนิกายศูนยวาทเห็นว่า โลกนี้ที่ปรากฏแก่เรา มิได้เป็นทั้งสัต หรืออสัต เพราะฉะนั้นจึงปฏิเสธด้วยคำ 8 คำ 4 คู่ ข้างต้นโดยเฉพาะคำแรกคือคำว่า "ไม่มีความเกิดขึ้น" ท่านให้เหตุผลไว้ว่า ธรรมดาย่อมถือว่าความเกิดมาจากกรณี 4 อย่างคือ

    1 เกิดขึ้นเอง
    2 สิ่งอื่นทำให้เกิด
    3 ทั้งเกิดขึ้นเอง ทั้งสิ่งอื่นทำให้เกิด รวมกันทำให้เกิดขึ้น
    4 เกิดอย่างไร้เหตุคือเกิดลอยๆ


    ท่านนาคารชุนปฏิเสธหมดทั้ง 4 ข้อ คือท่านค้านว่า หากท่านปรวาทีกล่าวว่า "โลกนี้เป็นสัตไซร้ ธรรมดาสิ่งที่มีอยู่เอง ไม่จำเป็นต้องมีการเกิดขึ้น คำว่าเกิดขึ้น ต้องใช้กับสิ่งซึ่งไม่เคยมีมาก่อน ภายหลังมีขึ้นเรียกว่าเกิดขึ้น ก็เมื่อท่านปรวาทีถืออยู่แล้วว่าโลกเป็น คือมีอยู่เอง แล้วยังกล่าวว่าสิ่งที่มีอยู่เกิดขึ้น จึงเป็นการขัดต่อเหตุผล นั่นก็คือหมายความว่า สภาวะธรรมจะเกิดขึ้นเองไม่ได้ ตัวเองจะให้ตัวเองเกิดไม่ได้

    ท่านปรวาทีแก้ตัวว่า โลกเกิดจากสิ่งอื่นทำให้เกิด ที่จริงสิ่งอื่นนั้นก็คือตัวเองนั่นเอง เพราะการเปรียบเทียบจึงมีเรากับเขาขึ้น บุรุษหนึ่ง เมื่อพบบุรุษหนึ่งอีกคน จึงเกิดคำว่าฉันและท่านขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ตัวเองและผู้อื่นช่วยกันทำให้เกิดขึ้น
    ฝ่ายศูนยวาทค้านว่า เปรียบเหมือนคนตาบอดคนเดียวมองไม่เห็น แม้จะเพิ่มคนตาบอดอีกคนมาอยู่รวมกัน ก็ไม่เกิดการเห็นใดๆขึ้น

    ท่านปรวาทีกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้นก็เกิดขึ้นโดยไร้เหตุผล
    ฝ่ายศูนยวาทท้วงว่า ไม่ได้ ไฟย่อมเกิดจากพื้น แม่น้ำย่อมเกิดแต่ฝน ทุกสิ่งย่อมมีเหตุ เมือเป็นเช่นนั้นแล้ว เราจึงยืนยันได้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่มีอะไรอุบัติขี้นเลย ที่เราประสบอยู่คือโลกที่ปรากฏแก่เรา เปรียบเหมือนปีศาจเปรียบเหมือนพยับแดด เปรียบเหมือนความฝัน เปรียบเหมือนมายากล โลกจึงไม่เป็นสัต และทั้งไม่เป็นอสัตด้วย เพราะมีสัตจึงมีอสัตเป็นเครื่องเปรียบเทียบ ก็เมื่อสัตเราปฏิเสธเสียแล้วอสัตจึงพลอยถูกปฏิเสธไปด้วย

    เมื่อนิกายศูนยวาทถือว่า โลกไม่เป็นทั้งสัตหรืออสัตเช่นนี้ หากมีกระทู้ถามว่า
    ถ้าอย่างนั้นโลกเป็นอะไร ท่านคุรุนาคารชุนตอบว่า
    เป็นปฏิจจสมุปบาทธรรม คือธรรมอันอาศัยเหตุพร้อมทั้งผลเกิดขึ้น เมื่อเป็นปฏิจจสมุปบาทธรรมจึงชื่อว่าเป็น "ศูนยตา" คำว่า "ศูนยตา" ในที่นี้ไม่ใช่หมายถึงความไม่มีอะไรสิ้นเชิง ผิดกับคำว่าอุจเฉทะ หรือ นัตถิกะ ซึ่งเป็นคำปฏิเสธเด็ดขาด

    ศูนยตา หมายถึง ความไม่มีสวลักษณะหรือสวภาวะ เท่านั้น คือไม่มีสิ่งใดในโลก ที่เป็นอยู่ด้วยตัวมันเอง โดยไม่ความสัมพันธ์กันสิ่งอื่น ทุกสิ่งสัมพันธ์กันหมด เพราะเหตุนั้นปฏิจจสมุปบาทธรรมคืออันใด ศูนยตาก็อันนั้น ศูนยตาอันใดมัชฌิมาปฏิปทาก็อันนั้น

    ท่านคุรุนาคารชุน ได้ยกพุทธภาษิตในสังยุตตนิกายมาอ้างว่า "ดูก่อนกัจจนะ เมื่อพิจารณาโลก โดยสายดับแล้วความยึดถือในอัตถิตาก็หมดไป เมื่อพิจารณาโลกในสายเกิดแล้ว ความยึดถือในนัตถิตาก็หมดไป ตถาคตก็ย่อมแสดงธรรมเป็นท่ามกลางไม่ติดในส่วนสุดทั้งสองข้างนั้น" ยากที่ปฏิเสธโลกว่า ไม่เป็นทั้งสัตและอสัตนั้น ดังตัวอย่างในความรู้สึกของสามัญชนว่า สภาวะของความยาวมีอยู่จริง สภาวะของความสั้นก็มีจริง แต่ข้อเท็จจริงคือที่รู้ว่ายาวเพราะความรู้ว่าสั้นมาเปรียบเทียบ เช่นเดียวกันที่เรารู้ว่าสั้น ก็เพราะอาศัยความยาวเป็นเครื่องเปรียบเทียบ เมื่อเป็นเช่นนี้ยาวกันสั้นมีได้ก็เพราะความสัมพันธ์กัน หากไม่มีความสัมพันธ์กัน ยาวสั้นก็หามีไม่ นั่นคือสวลักษณ์ของความยาวนั้นไม่มี ของความสั้นก็ไม่มี เมื่อสวลักษณ์ไม่มีเช่นนี้ จึงเรียกว่า"ศูนยตา"

    เมื่อสรรพธรรมไม่มีสวลักษณะเช่นนี้ สรรพธรรมจึงเป็นปฏิจจสมุปบาทธรรมโลกกับนิพพาน เมื่อว่าโดยปรมัตถโวหาร ก็เป็นมายาธรรม ทั้งนี้เพราะเหตุว่าเมื่อโลกไม่มีสวลักษณะ เปรียบเหมือนพยับแดด เหมือนฟองน้ำ ความดับไปแห่งโลก กล่าวคือพระนิพพานจะมีสวลักษณะอยู่ได้อย่างไร เพราะฉะนั้นเมื่อโลกเป็นมายา ความดับไปแห่งความเป็นมายานั้นจึงพลอยเป็นมายาด้วย เพราะเนื้อแท้ไม่มีอะไรดับ โลกกับพระนิพพานจึงไม่ใช่หนึ่ง ไม่ใช่สอง ทั้งนี้เพราะเหตุว่า ในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง เมื่อพิจารณาโดสมุทัยวารแล้ว คืออวิชชาเกิดสังขารเกิดเป็นลำดับ สมุทัยก็เกิดขึ้นในปฏิจจสมุปบาทอันเดียวกันนั้น ครั้นพิจารณาตามนิโรธวารแล้ว กล่าวคืออวิชชาดับสังขารดับตามลำดับไซร้ โลกนิโรธกล่าวคือพระนิพพานย่อมอยู่ ณ ที่นั้นเอง ผู้ใดเห็นว่าโลกกับนิพพานเป็นหนึ่ง ผู้นั้นเป็นฝ่ายข้างสัสสตทิฎฐิ ผู้ใดเห็นว่าโลกกับนิพพานเป็นสอง ผู้นั้นเป็นฝ่ายนัตถิกทิฎฐิ โดยแท้จริงพระนิพพานนั้น ไม่เป็นทั้งภาวะและอภาวะ ผู้ใดเห็นพระนิพพานเป็นภาวะ ผู้นั้นเป็นผู้ถือเอาส่วนสุดฝ่ายอัตถิตา ผู้ใดเห็นพระนิพพานเป็นอภาวะ ผู้นั้นถือเอาส่วนสุดฝ่ายนัตถิตา โดยความจริงแล้ว นิพพานพ้นจากความมีและความไม่มี นี้เป็นวาทะของคุรุนาคารชุน

    เมื่อฝ่ายศูนยวาท แสดงทัศนะมาถึงตอนนี้ ฝ่ายปรวาทีได้ตั้งข้อโต้แย้งขึ้นว่าการที่ฝ่ายศูนยวาท ปฏิเสธลักษณะในธรรมทั้งปวงนั้น ฝ่ายศูนยวาทยังจะมีหลักฐานพุทธพจน์ยืนยันหรือไม่ ท่านคุรุนาคารชุนจึงยกพุทธภาษิตในสังยุตตนิกายขึ้นอ้างว่า "รูปเปรียบเหมือนฟองน้ำ เวทนาเปรียบเสมือนต่อมน้ำ สัญญาเปรียบเสมือนพยับแดด สังขารเปรียบเสมือนต้นกล้วย วิญญาณเปรียบเสมือนนักเล่นกล อันพระผู้เผ่าพงศ์อาทิตย์แสดงแล้ว" พุทธภาษิตแสดงให้เห็นว่า เบญจขันธ์เป็นมายาธรรม เมื่อเบญจขันธ์เป็นมายาธรรมแล้วก็มีแต่มายามีทุกข์ นั่นก็คือแสดงให้เห็นว่า สรรพธรรมไม่มีสวลักษณะหรือสวภาวะไม่มีใครมีกิเลสหรือพ้นกิเลส พระนิพพานอันเป็นความดับแห่งเบญจขันธ์จักมีสวภาวะเอกเทศอยู่อย่างไร แท้จริงไม่มีอะไรเกิดหรือดับเลย ถ้าสังขตธรรม มีอยู่อสังขตธรรมจึงมีได้ เพราะความปฏิเสธสังขตคืออสังขตะก็เมื่ออสังขตะไม่เป็นของจริง.อสังขตะจะมีอยู่อย่างไร เหมือนกับพูดว่า การไปการมาการเกิดการดับย่อมต้องอาศัยคนเป็นปทัฎฐานคือ คนไป คนมา คนเกิด คนดับ ก็เมื่อตัวคนไม่มีแล้ว อาการเหล่านั้นจะอยู่ได้อย่างไร

    ฝ่ายปรวาทีแย้งว่า ถ้าเช่นนั้นทิฎฐิของท่านก็เป็นอุจเฉทะ พระพุทธองค์จะสอนให้บุคคลเจริญมรรคผลไปทำไม ในเมื่อทุกสิ่งทุกอย่างว่างเปล่าเช่นนี้ วาทะของท่านนั้นเป็นนัสติกะ ทำลายกุศลธรรมทั้งปวง

    ท่านคุรุนาคารชุนโต้กลับไปว่า วาทะของเรา แบ่งเป็น 2 นัย คือโดยโลกียะนัย เรากล่าวว่า ธรรมทั้งปวงมีอยู่อย่างมายา เช่นเดียวกับความฝัน เราไม่ได้ปฏิเสธเหตุการณ์ในความฝันว่า เป็นของไม่มีอยู่ เรากล่าวว่าความฝันมีอยู่แต่มีอยู่อย่างไม่จริง เรารับสมมติบัญญัติตามโลกโวหาร ไม่ได้ปฏิเสธกรรมกิริยา เหมือนกับเราไม่ได้ปฏิเสธความฝันว่าไม่มี แต่เมื่อว่าโดยปรมัตถนัย สิ่งทั้งปวงเป็นศูนยตาเหมือนเรากล่าวว่าความฝันไม่ใช่ความจริงเราจึงไม่ใช่พวกนัสติกะ ตรงกันข้ามกับพวกท่านนั่นแหละ กลับจะเป็นฝ่ายปฏิเสธบุญกรรมกิริยาเสียเอง เพราะพวกท่านยึดถือว่า สิ่งทั้งปวงมีสวลักษณะ เมื่อเป็นเช่นนี้ คนทำบาปก็ต้องทำบาปวันยังค่ำไม่มีทางกลับตัวเป็นคนดีได้เพราะคนทำบาปมีสวลักษณะ การทำก็มีสวลักษณะ บาปก็มีสวลักษณะ สิ่งใดเป็นสวลักษณะ สิ่งนั้นเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เป็นอยู่ด้วยตัวมันเองไม่อาศัยสิ่งอื่น เพราะฉะนั้น ฝ่ายท่านจึงปฏิเสธบุญกรรมกิริยา ฝ่ายเราถือว่าสวลักษณะไม่มี เป็นศูนยตา คนชั่วจึงกลายเป็นคนดีได้ ปุถุชนจึงเป็นอรหันต์ได้ เด็กจึงเติบโตเป็นผู้ใหญ่ได้ ถ้าถืออย่างมติท่าน เด็กต้องเป็นเด็กตลอดไป ถ้าเด็กเปลี่ยนเป็นผู้ใหญ่ ย่อมแสดงว่าเด็กคนนั้นไม่มีสวลักษณะเป็นศูนยตา เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า เพราะมีศูนยตานี่เอง อุบัติกาลของโลกจึงได้เป็นไปตามระเบียบ

    ฝ่ายมาธยมิกะ ได้เปรียบเทียบทัศนะในเรื่องความเห็นว่างเปล่า ในระหว่างตนกับพวกนัตถิกะว่า เหมือนบุคคลสองคน นาย ก. เห็นโจรคนหนึ่งประกอบโจรกรรมเฉพาะหน้า นาย ข.ไม่ได้เห็นโจรคนนั้นประกอบโจรกรรมเลย แต่พูดไปตามนาย ก.ความเข้าใจและคุณค่าในเรื่องความรู้ระหว่างนาย ก. กับนาย ข.นี้แตกต่างกันฉันใด ฝ่ายเรา คือ ท่านคุรุนาคารชุน เห็นสรรพสิ่งเป็นของสูญด้วยยถาภูตญาณทัศนะ ฝ่ายท่าน คือฝ่ายนัตถิกทิฎฐิ เห็นทุกสิ่งเป็นของไม่มี เป็นความเห็นที่เกิดจากตรรกะ มิได้เกิดจากยถาภูตญาณทัศนะมีอุปมัยดุจเดียวกับบุคคลสองคนฉะนั้น

    ท่านคุรุนาคารชุนย้ำว่า บุคคลใดที่จะมีทัศนะในเรื่องศูนยตา บุคคลนั้นจะต้องมีศีล สมาธิเป็นปทัฏฐาน ถ้าปราศจากศีล และสมาธิแล้ว ทัศนะของผู้นั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ

    คัมภีร์ปัญจวิงสติกล่าวไว้ถึง ลักษณะศูนยตา 18 ประเภท

    ศูนยตาคือ สภาพรับรู้ ความมีก็ไม่ใช่ ความไม่มีก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ความมีก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ความไม่มีก็ไม่ใช่ สี่สภาวะสุดขั้วมิใช่ ศูนยตา สภาพการรับรู้ตรงกลางนั้นคือ ศูนย์ตา หรือจะกล่าวว่า ในโลกแห่งสมมุตินี้ การรับรู้สภาพที่สรรพสิ่งเป็นมายา เป็นความว่าง นี่คือ ศูนยตา ในโลกปรมัตถ์ของพุทธะ สรรพสิ่งอิงอาศัยกันมี ดังเช่น อริยะสัจจ์, ทางสายกลาง ,ปรตีตยสมุทปาท ทั้งมวลนี้คือ ศูนยตา
     
  10. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    แล้วนิกายเถรวาท มีทัศนะอย่างไร

    หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 3 เดือน พระสาวกผู้ได้เคยสดับสั่งสอนของพระองค์จำนวน 500 รูป ก็ประชุมทำสังคายนาครั้งแรก ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา ใกล้เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ใช้เวลาสอบทานอยู่ 7 เดือน จึงประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรก นับเป็นบ่อเกิดของคัมภีร์พระไตรปิฎก คำสอนที่ลงมติกันไว้ในครั้งปฐมสังคายนาและได้นับถือกันสืบมา เรียกว่า เถรวาท แปลว่า คำสอนที่วางไว้เป็นหลักการโดยพระเถระ คำว่า เถระ ในที่นี้ หมายถึงพระเถระผู้ประชุมทำสังคายนาครั้งแรก และพระพุทธศาสนาซึ่งถือตามหลักที่ได้สังคายนาครั้งแรกดังกล่าว เรียกว่า นิกายเถรวาท อันหมายถึง คณะสงฆ์กลุ่มที่ยึดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งถ้อยคำ และเนื้อความที่ท่านสังคายนาไว้โดยเคร่งครัด ตลอดจนรักษาแม้แต่ตัวภาษาดั้งเดิมคือภาษาบาลี


    นิพพาน


    ความมีอยู่ของพระนิพพาน มิใช่สภาวะที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของจิต แต่มีอยู่โดยตัวของตัวเอง คือเป็นความจริงขั้นปรมัตถสัจ ที่ตรงข้ามกับสมมติสัจในโลกแห่งปรากฏการณ์ มีสภาวะที่เที่ยง ไม่ใช่สิ่งที่เกิดดับสลับกันไปแบบสิ่งต่างๆ ในโลก นิพพานจึงเป็นอสังขตธรรมที่พ้นไปจากปัจจัยปรุงแต่ง

    ในสภาวะของนิพพานทั้งนาม (จิต) และรูป ย่อมดับไม่เหลือ ดังพุทธวจนะในเกวัฏฏสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ได้กล่าวถึงนิพพานว่าเป็น "ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีใครชี้ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใสโดยประการทั้งปวง ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้ อุปาทยรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้ นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้ เพราะวิญญาณดับ นามและรูปย่อมดับ ไม่มีเหลือในธรรมชาติ ดังนี้ฯ" (ที.สี.14/350)

    เพราะฉะนั้น นิพพานจึงไม่ใช่จิต หรือสัมปชัญญะบริสุทธิ์ ซึ่งนั่นเป็นลักษณะของพรหมมันหรืออาตมันของปรัชญาฮินดู ทั้งยังไม่ใช่เจตสิกที่อาศัยจิตเกิดขึ้น เพราะทั้งจิตและเจตสิกนั้นล้วนเป็นสังขตธรรม ซึ่งต้องอาศัยปัจจัยปรุงแต่ง มีธรรมชาติเกิดดับ มีการเปลี่ยนแปร เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เช่นเดียวกับสิ่งอื่นๆ แต่นิพพานอยู่เหนือสภาพเช่นนี้ และว่างเปล่าจากสิ่งเหล่านี้ ขณะเดียวกัน นิพพานก็ไม่ใช่ความดับสูญอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเป็นลักษณะของอุจเฉททิฏฐิการใช้ภาษาอธิบายนิพพานเป็นสิ่งที่ต้องกระทำอย่างรัดกุม เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดว่าเป็นอัตตาเที่ยงแท้ (สัสสตทิฏฐิ) หรือว่าเป็นความขาดสูญ (อุจเฉททิฏฐิ) ซึ่งเป็นทัศนะที่คลาดเคลื่อนจากพระบาลีทั้งสิ้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 กรกฎาคม 2012
  11. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ทีนี้สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พุทธศาสนารุ่งเรืองมาก

    ใครๆอยากเข้ามาบวช มาแฝงตัวในพุทธศาสนา เพราะมันสบาย ได้ทรัพย์มาง่ายๆ

    ยุคนั้นพวกแฝงบวช แสวงทรัพย์มีมาก พระดีๆก็หลีกเล้นเข้าป่า ทำให้เกิดนิกายแปลกๆ ตีความพระไตรปิฏกแปลกๆ สอนแปลกๆ เกิดขึ้นมาก

    จนพระเจ้าอโศกนิมนต์พระเถระรจนาคำภีร์กถาวัตถุ เพื่อแสดงทัศนะพุทธศาสนาที่ตรงต่อเถรวาท และทัศนะนิกายอื่นว่าต่างกันอย่างไร

    พูดง่ายๆ ทัศนะเถรวาทตามพระไตรปิฏกมีทัศนะอย่างนี้ จนเข้าสังคยนาครั้งที่ ๓

    ตรงนี้คนเข้าใจผิดมาก ว่า พระอภิธรรมเป็นภาษาแต่งขึ้นใหม่ พึ่งทราบว่าเฉพาะคำภีร์กถาวัตถุเท่านั้น ซึ่งท่านก็แยกไว้ชัดเจน ดังคำนำที่ท่านกล่าวนอบน้อมแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า


    ตัวอย่างทัศนะ ความเข้าใจไม่ตรง ว่าจิตดวงเดียว จนเป็นทิฏฐิจิตเที่ยง

    และอธิบาย ทัศนะจิตไม่เที่ยง เป็นอนัตตา อ้างอิงตามพุทธพจน์

     
  12. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ทีนี้ศึกษา โมกษะ บ้าง

    ก็คงไม่พ้น บรมอัตตา หรือ อัตตาใหญ่ จิตอมตะ อัตตาเที่ยงแท้ในขั้นสุดยอด

    ลองสำรวจดูครับ ว่ามีทิฏฐิเข้าทางโมกษะกันบ้างไหม ^^



    หลักโมกษะ

    โมกษะ ตามความหมายที่ปรากฏในภควัทคีตามีความหมายว่าอย่างไร ? ประเด็นนี้ต้องพิจารณาถ้อยคำที่ปรากฏในภควัทคีตาโดยละเอียด เพราะในคัมภีร์มีการกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้หลายลักษณะ จำเป็นต้องนำลักษณะต่าง ๆ ที่ปรากฏในคัมภีร์เหล่านั้นทั้งหมดมาพิจารณาโดยภาพรวม เพื่อให้เห็นแก่น หรือหลักการในเรื่องได้ถูกต้องสมบูรณ์

    ก.ลักษณะหรือสภาวะโมกษะ

    ลักษณะหรือสภาวะของโมกษะในคัมภีร์ภควัทคีตาเป็นอย่างไร ขอประมวลจากโศลกในอัธยายะต่าง ๆ เพื่อเป็นตัวอย่างประกอบการพิจารณาดังต่อไปนี้

    ปารถ ! ศานตินี้เป็นธรรมชาติที่มีอยู่ในพรหม
    ผู้ได้รับศานตินี้แล้วย่อมไม่งมงาย
    ผู้ดำรงอยู่ในศานติอันเป็นธรรมชาติที่มีอยู่ในพรหมนี้แล้ว
    ย่อมได้รับนิรวาณอันเป็นพรหมแม้ในเวลาใกล้ตาย//


    คำสำคัญที่ปรากฏในโศลกบทนี้ก็คือคำว่า “ศานติ” ท่านใช้คำนี้อธิบายถึงธรรมชาติของพรหม ดังนั้นการกล่าวว่า เข้าไปเป็นหนึ่งเดียวกับพรหมจึงมีความหมายว่า เข้าไปเป็นหนึ่งเดียวกับศานติ ถ้าเราต้องการให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้นว่า สภาวะของพรหมันเป็นอย่าง เราก็ต้องไปพิจารณาความหมายของคำว่า ศานติว่าคืออะไร โดยวิธีการนี้ เราก็จะได้รายละเอียดเกี่ยวกับพรหมันเพิ่มขึ้น

    ลักษณะหรือสภาวะของศานติเป็นอย่างไร ? เบื้องต้นเราต้องไปพิจารณารายละเอียดในภควัทคีตาว่าอธิบายเรื่องนี้อย่างไร

    ในภควัทคีตาแม้จะไม่ได้มีอรรถาธิบายว่าศานติคืออะไร แต่คำนี้ ก็เป็นอันทราบโดยทั่วไปว่าหมายถึง ความสงบ เป็นความสงบภายใน ส่วนจะสงบอย่างไร หรือสงบได้อย่างไร เราก็อาจสืบสาวเนื้อหา หรือข้อความจากภควัทคีตามาประติดประต่อกันเพื่อพิจาณานัยโดยภาพรวม ผู้เขียนขอประมวลเป็นข้อ ๆ ดังต่อไปนี้

    - ไม่หวั่นไหวต่อผัสสะ มีความสม่ำเสมอในสุขและทุกข์ วางตนเสมอในทุกข์และสุข ตั้งอยู่ในภาวะแห่งอาตมา เห็นก้อนดิน ก้อนหิน และทองคำมีสภาพเสมอกัน สิ่งที่รักและไม่รักมีสภาพเท่ากัน มีปัญญามั่นคง ติเตียน และสรรเสริญมีสภาพเท่ากัน

    - พ้นจากเครื่องผูกพัน คือการเกิด เป็นภูมิอันหาทุกข์มิได้

    - ใจไม่เดือดร้อนในทุกข์ ไม่ทะเยอทะยานในสุข และปราศจากราคะ ภัย โกรธ ไม่มีเสน่หาในที่ทั้งปวง คือแม้จะได้รับดีและชั่วนั้น ๆ แล้วก็ไม่ยินดีและไม่เสียใจ

    - ไม่แปดเปื้อนด้วยบาป เสมือนใบบัวอันไม่เปียกเปื้อนด้วยน้ำ มีใจผ่องใส ไม่เศร้าโศก ไม่ปรารถนา มีความสม่ำเสมอในสรรพสิ่ง

    - ไม่ข้องในสัมผัสภายนอก เสวยความสุขที่อยู่ภายใน กล่าวคือมีความสุขในอาตมัน เริงรมณ์ในอาตมัน และรุ่งเรืองในอาตมัน

    - ไม่เสื่อมสูญ ชี้ให้เห็นไม่ได้ ไม่มีรูปร่าง มีอยู่ทั่วไป เป็นอจินไตย ตั้งมั่นเหมือนภูเขา ไม่หวั่นไหว และเที่ยงแท้


    จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ทำให้เราได้มองเห็นภาพของศานติ ขณะเดียวกันก็สะท้อนให้เห็นสภาวะของพรหมัน ที่เมื่อบุคคลเข้าถึงแล้ว ก็เกิดความสงบ เพราะอยู่เหนือกิเลส และความสุข หรือความทุกข์ทั้งปวง เป็นภาวะที่มั่นคง ไม่หวั่นไหว พ้นจากเครื่องพันธนาการอันได้แก่การเวียนว่ายตายเกิด เข้าถึงบรมสุขอันเที่ยงแท้เป็นอมตะตลอดกาล

    ข.แนวทางในการปฏิบัติตนเพื่อบรรลุโมกษะ

    แนวทางในการปฏิบัติเพื่อบรรลุโมกษะ นอกจากที่ได้กล่าวในเรื่องโยคะ ๓ ประการ อันได้แก่กรรมโยคะ ญาณโยคะ และภักติโยคะซึ่งถือเป็นหลักการใหญ่แล้ว ดังได้กล่าวมาแล้วในเรื่องแนวความคิดเรื่องหลักโยคะ ถึงกระนั้นในรายละเอียด ยังมีข้อปฏิบัติปลีกย่อย ซึ่งถือเป็นปฏิปทาเฉพาะสำหรับผู้ที่มุ่งสู่หนทางนี้

    รายละเอียดดังกล่าว สะท้อนให้เห็นแนวทางปฏิบัติ ตั้งแต่เบื้องต้น คือการเตรียมตัว ซึ่งก็ได้แก่การวางท่าทีของจิตให้ถูกต้อง การปฏิบัติที่ถูกต้อง กระทั่งบรรลุถึงโมกษะ เราจะพิจารณาเรื่องนี้ไปพร้อม ๆ กับตัวอย่างที่คัดมาประกอบ ตั้งแต่อัธยายะต้น ๆ กระทั่งถึงอัธยายะสุดท้าย


    แน่ท่านผู้เลิศบุรุษ ธีรชนผู้ไม่หวั่นไหวต่อผัสสะเหล่านี้
    มีความสม่ำเสมอในสุขและทุกข์นั้น
    ย่อมเหมาะแก่ความเป็นอมฤต//



    เมื่อใด จิตได้ถูกบังคับไว้ดีแล้ว
    ตั้งมั่นอยู่ในอาตมันโดยแท้
    ปราศจากความอยาก จากความใคร่ทั้งปวง
    เมื่อนั้นจึงได้ชื่อว่าโยคี//



    อรชุน ! ผู้ใดเห็นสุขหรือทุกข์ในทุก ๆ สิ่ง
    เสมอด้วยสุขหรือทุกข์ของตนเอง
    ผู้นั้น ชื่อว่าเป็นบรมโยคี//



    ผู้ใดสำรวมทวารทั้งปวงได้แล้ว
    และกักขังใจไว้ในดวงฤทัย
    ตั้งลมปราณไว้ที่กระหม่อมของตนด้วยดวงจิตเป็นสมาธิไว้ //



    เปล่งเสียง “โอม” พยางค์เดียวซึ่งเป็นพรหม
    ระลึกถึงอาตมาอยู่
    ละร่างไปแล้ว ผู้นั้นย่อมบรรลุบรมคติ //



    ปารถ ! ผู้ใดมีใจไม่นอกเหนือไปจากอาตมาตลอดนิรันดร
    ระลึกถึงอาตมาเนื่องนิตย์
    อาตมารับรองอย่างดีซึ่งผู้นั้น
    อันเป็นโยคีประกอบสมาธิเป็นนิตย์//



    ผู้ใดเห็นปรเมศวรอันดำรงอยู่ในสรรพสิ่งทั้งหลาย
    สม่ำเสมอ ไม่เสื่อมสูญ แต่อยู่ในสิ่งที่เสื่อมสูญ
    ผู้นั้นชื่อได้มองเห็นเห็นแล้ว //



    เพราะว่าเมื่อเห็นอิศวรดำรงอยู่ในสิ่งทั้งปวงสม่ำเสมอแล้ว
    ย่อมไม่ล้างผลาญอาตมาด้วยอาตมา
    แต่นั้นย่อมบรรลุบรมคติ//



    กาลใดเขาพิจารณาเห็นความแตกต่าง
    ระหว่างสิ่งทั้งหลายอยู่ในความเป็นอันเดียวกัน
    แต่นั้น เขาย่อมบรรลุพรหมอันแผ่นซ่านในกาลนั้นโดยแท้//



    ผู้ประกอบด้วยพุทธิอันหมดจด
    และข่มตนเองได้ด้วยธฤติ สละอารมณ์มีสัททารมณ์เป็นต้น
    และละความรักความชัง//



    เสพที่สงัด บริโภคน้อย บังคับกาย วาจา ใจ
    ยึดสมาธิเป็นหลัก อาศัยวิราคธรรมเป็นนิตย์//



    พ้นอหังการ ความห้าวหาญ ดื้อ กาม โกรธ บริเคราะห์
    ไม่มีมมังการ มีความสงบ
    ย่อมเหมาะที่จะตรัสรู้พรหม//
     
  13. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    หากท่านเข้าใจธรรมนี้
    ธรรมไม่เจือกับจิต เป็นไฉน?
    รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เจือกับจิต.

    จิต จะกล่าวว่าเจือกับจิตก็ไม่ได้ ว่าไม่เจือกับจิตก็ไม่ได้.
    แล้ว ท่านจะเข้าใจ ความหมายที่หลวงพ่อว่า อรหันต์ไม่มีจิต หรือ จิตของอรหันต์ หรือ จิตก็ไม่ใช่จิต ไม่เรียกว่าจิต
    แยกสมมติ กับ ปรมัติ และ การเอาสมมติ มากล่าวถึงปรมัติ ให้ออกด้วย เด่อครับ ไม่งันเถียงกันตาย

    อย่ามืดบอดด้วย อัตตา เลย

    ขอให้เห็น อนัตตา กันทุกคนทุกท่านเถิด


     
  14. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    เวลาคุณส่องกระจกก็นั่นแหละคุณเห็นอนัตตา คุณฟังพี่ธรรมภูติน่ะดีแล้ว แนะว่าศึกษามงคล 38 แล้วปฏิบัติตามนะครับ มีแต่ความเจริญ...
     
  15. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    เรื่องจิตผมว่าพี่ธรรมภูติกล่าวไว้ดีแล้ว เขาไม่เชื่อเขาก็บรรลุธรรมไม่ได้ พระอรหันต์ที่ไหนไม่มีจิต พระอรหันต์ไม่มีจิตก็ตายน่ะสิ อย่างที่ผมเคยกล่าว จิตของพระโสดาบันอย่างนึง จิตพระอนาคามีอย่างนึง เป็นต้น ในเว็บนี้มีเยวชนร่วมอ่านด้วยอยู่เยอะพอสมควรเลยที่เดียว เพียงแต่น้องๆเขายังไม่โพสต์ ท่านๆที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ไม่ว่าคุณจะบรรลุธรรมขั้นไหน ช่วยๆกันเผยแผ่ธรรมะที่ถูกต้องนะครับ และพี่ธรรมภูติกล่าวเรื่องหลักธรรมขั้นสูงระวังด้วยนะครับ ด้วยความเป็นมิตร...
     
  16. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413


    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG]ท่านช่วยอธิบายธรรม ธรรมไม่เจือกับจิต เป็นไฉน?
    รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เจือกับจิต.จิต จะกล่าวว่าเจือกับจิตก็ไม่ได้ ว่าไม่เจือกับจิตก็ไม่ได้


    ให้ผู้โง่เขล่า อย่างผมฟังสักหน่อยซิครับ ผมยัง งง อยู่เลย
     
  17. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    คุณอย่าเพิ่งสนใจเรื่องจิตเลย เอาเรื่องใจก่อน และศึกษาสังโยชน์น่ะ ในขั้นต้นละสังโยชน์ 3 ให้ได้เสียก่อน แล้วคุณถึงจะเข้าใจเรื่องจิต ความจริงการศึกษาและปฏิบัติธรรมของคุณมันเป้นทางลัด แต่มันช้า ถ้าไปทางตรงและเร็วกว่าก็ ทาน ศีล ภาวนา และอย่าดื่มเหล้า ทำได้หรือเปล่าละ ละสังโยชน์ 3 น่ะ ให้เข้าใจความหมายของอนัตตาและสักกายะทิฏฐิ...โปรดอยู่ในปางพระอนาคามีนะเนี่ย...แล้วแต่จะเชื่อหรือไม่เชื่อ..........
     
  18. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    แล้วท่านรู้ได้อย่างไรว่า ใครทำได้ไม่ได่เล่า งง?

    สรุปแล้ว อมภูมิรู้ ไม่อยากอธิบาย หรือครับ โอ้ คนฉลาดเขา ถ่อมตนอย่างนี้นีเอง

    ส่วนไอ้ ระดับชั้น นู้ นี้ นั้น กระผมไม่เคย สนมาตั้งแต่เริ่ม ปฏิบัติแล้วครับ จะเอาอะไรไปเป็น ได้เล่า

    [​IMG][​IMG][​IMG]
     
  19. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    ในโลกนี้ไม่มีอะไรเกิดไม่มีอะไรดับนอกจากทุกข์เกิดทุกข์ดับ พิจรณาลงที่ขันธุ์ 5 เป็นอนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา ต้องมีความเพียรด้วย...และที่อย่างดิน น้ำ ไฟ ลม มันเป็นสันตติน่ะจริง มันก้เกิดอยู่ตลอดเวลาและดับอยู่ตลอดเวลาน่ะแหละ แต่ตรงนี้เห็นทะเลาะกันจัง *_* ในขั้นต้นๆพิจรณากายน่ะครับ...ให้เห็นเป็นปฏิกูลด้วย เป็นไตรลักษณ์ด้วย.........
     
  20. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413

    แล้วธรรมที่กระผมถามเล่าท่าน
    นั้นมัน อนัตตา ล้วนๆนะครับ
    ไหนท่านบอกว่า ส่องกระจกแล้ว เห็น อนัตตา นั้นมัน เด็กๆไป มองตรงไหน ก็อนัตตา นั้นแหละ แต่อย่าเอา ความเข้าใจแบบ พื้นๆมาแบให้ดูเลย ครับ

    เอาแบบภูมิลึกๆของท่านก็ได้ คนอื่นและผมจะได้ มีแสงสว่างนำทาง ไงครับท่าน
     

แชร์หน้านี้

Loading...