เเจกความรู้เรื่องยาสมุนไพร ทุกขนานครับ

ในห้อง 'แจกฟรี' ตั้งกระทู้โดย ไร้หนทาง, 7 มกราคม 2013.

  1. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ขลู่
    ขลู หนาดงั่ว หนวดงิ้ว หนาดวัว (อุดรธานี) เพี้ยฟาย (อีสาน)
    สรรพคุณ
    ทั้งต้น ใช้ต้มกิน รักษาอาการ ขัดเบา ปัสสาวะพิการ ขับปัสสาวะ รับประทาน วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหารครั้งละ
    75 มิลลิลิตร หรือ 1 ถ้วยชา นอกจากนี้ยังรักษาโรค วัณโรคที่ต่อมน้ำเหลือง โรคเบาหวาน ริดสี ดวงทวาร ขุดเอาแต่ผิวต้น ผสมกับยาสูบแล้ว นำมามวนสูบรักษาริดสีดวงจมูก
    สรรพคุณขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แพทย์ไทยโบราณนิยมใช่ขลู่ชงให้ผู้ป่วยรับประทาน ลดอาการบวม และลดน้ำหนักตัว ใช้เป็นยารักษาอาการขัดเบา วันละ 1 กำมือ (สดหนัก 40 - 50 กรัม แห้งหนัก 15 - 20 กรัม) หั่นเป็นชิ้น ๆ ต้มกับน้ำดื่ม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหารครั้งละ 1 ถ้วยชา (หรือ 75 มิลลิลิตร)ตำรายาไทย ใช้ ใบ รสหอมฝาดเมาเค็ม เป็นยาขับปัสสาวะ แก้เบาหวาน ขับนิ่ว นำใบสดแก่ นำมาตำแล้วบีบเอาน้ำ ทาตรงหัวริดสีดวงทวาร ทำให้หัวริดสีดวงหดหายไป แก้กระษัย ยาอายุวัฒนะ สมานภายนอกและภายใน แก้ไข้ ขับเหงื่อ นำใบมาตำผสมกับเกลือกินรักษากลิ่นปาก และระงับกลิ่นตัว นำใบมาต้มดื่มแทนชาลดน้ำหนัก บรรเทาอาการปวดเมื่อย มุตกิด น้ำคั้นจากใบสดรักษาริดสีดวงทวาร ใบต้มน้ำอาบแก้ผื่นคัน บำรุงประสาท เป็นยาบีบมดลูก น้ำคั้นใบสดรักษาริดสีดวงทวาร โรคบิด ใบและต้นอ่อน บรรเทาอาการปวดข้อ ในโรคไขข้ออักเสบ รักษาประดง เลือดลม ตำผสมกับแอลกอฮอล์ ทาหลังบริเวณเหนือไต บรรเทาอาการปวดเอว ต้มน้ำอาบรักษาหิด ขี้เรื้อน ใบและราก เป็นยาฝาดสมาน แก้ไข้ ขับเหงื่อ พอกแก้แผลอักเสบ ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำอาบรักษาเส้นตึง และทำเป็นขี้ผึ้งทาแผลเรื้อรัง เปลือกต้น นำมาสับเป็นชิ้นมวนบุหรี่สูบแก้โพรงจมูกอับเสบ (ไซนัส) ดอก รสหอมฝาดเมาเค็ม แก้นิ่ว ราก รสหอมฝาดเมาเค็ม แก้กระษัย ขับนิ่ว ทั้งต้น รสหอมฝาดเมาเค็ม ใช้ต้มกินรักษาอาการขัดเบา แก้นิ่วในไต ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้ริดสีดวงทวาร แก้มุตกิดระดูขาว แก้ตานขโมย แก้เบาหวาน รักษาวัณโรคที่ต่อมน้ำเหลือง ต้มอาบ แก้ผื่นคัน แก้ประดง เลือดลม และแก้โรคผิวหนัง เปลือกต้น รสเมาขื่นหอม แก้ริดสีดวงจมูก ริดสีดวงทวาร แก้กระษัย ขูดเอาขนออกให้สะอาด ลอกเอาแต่เปลือก หั่นเป็นเส้นมวนสูบ แก้ริดสีดวงจมูก หรือต้มรมริดสีดวงทวารหนัก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ข่อย
    กักไม้ฝอย (ภาคเหนือ) ข่อย (ทั่วไป) ซะโยเส่ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) ตองขะแหน่ (กะเหรี่ยงกาญจนบุรี) ส้มพอ (ร้อยเอ็ด) สะนาย (เขมร)
    สรรพคุณทางยา

    กิ่งข่อย ใช้ในการแปรง ฟันแทนแปรงสีฟันได้ แต่ต้องทุบให้นิ่มๆก่อน

    เปลือก สามารถรักษาแผล แก้ท้องร่วง ดับพิษภายใน ทาริดสีดวงแก้พยาธิผิวหนัง และเมื่อต้มกับเกลือจะได้เป็นยาอมแก้รำมะนาด

    ยาง มีน้ำย่อยชื่อ milk (lotting enzyme) ใช้ย่อยน้ำนม

    ราก สามารถนำมารักษาแผลได้

    แก่น / เนื้อ คนเชียงใหม่ใช้แก่นข่อยหั่นเป็นฝอยมวนเป็นบุหรี่สูบแก้ริดสีดวงจมูก

    เมล็ด นำมารับประทานเป็นยาอายุวัฒนะได้ และทำให้เจริญอาหาร
    ตำรายาไทย ใช้ กิ่งสด ขนาดเล็กนำมาทุบใช้สีฟัน ทำให้เหงือกและฟันทน เปลือกต้น รสเมาฝาดขม นำมาต้มใส่เกลือให้เค็มใช้รักษาโรครำมะนาด แก้โรคฟัน รักษาฟันให้แข็งแรง แก้ปวดฟัน ดับพิษในกระดูกในเส้น แก้พยาธิผิวหนัง เรื้อน มะเร็ง ดับพิษทั้งปวง หุงเป็นน้ำมันทาหัวริดสีดวง ปรุงเป็นยาแก้ท้องร่วง เปลือกใช้มวนสูบรักษาริดสีดวงจมูก เปลือกต้นต้มกับน้ำใช้ชะล้างบาดแผล และโรคผิวหนัง ราก รสเมาฝาดขม ปรุงเป็นยารักษาแผลเรื้อรัง แก้โรคคอตีบ เป็นส่วนผสมในยารักษากระดูก ปวดเส้นประสาทและปวดเอว ฆ่าพยาธิ เปลือกราก รสเมาขมบำรุงหัวใจ พบมีสารบำรุงหัวใจ ใบ รสเมาเฝื่อน น้ำต้มแก้โรคบิด ใบข่อยคั่วชงน้ำดื่มก่อนมีประจำเดือน สำหรับสตรีที่มักมีอาการปวดท้องขณะมีประจำเดือน จะบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ใบคั่วกินแก้โรคไต ขับน้ำนม แก้บิด ใช้ภายนอกแก้โรคริดสีดวงทวาร ตำผสมข้าวสารคั้นเอาน้ำดื่มครึ่งถ้วยชา ทำให้อาเจียนถอนพิษยาเบื่อยาเมา หรืออาหารแสลง ชงกับน้ำร้อนดื่มระบายท้อง แก้ปวดท้องขณะมีประจำเดือน แก้ปวดเมื่อย บำรุงธาตุ ยาระบายอ่อนๆ ขับผายลม แก้ท้องอืดเฟ้อ ทั้งต้น ต้มใส่เกลือ แก้ฟันผุ กระพี้ รสเมาฝาดขม แก้พยาธิ แก้มะเร็ง ฝนกับน้ำปูนใสทาแก้ผื่นคน เยื่อหุ้มกระพี้ รสเมาฝาดเย็น ขูดเอามาใช้ทำยาสูบแก้ริดสีดวงจมูก ผล รสเมาหวานร้อน บำรุงธาตุ แก้ลม แก้กระษัย ขับลมจุกเสียด เป็นยาอายุวัฒนะ เมล็ด รสเมามันร้อน เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงธาตุเจริญอาหาร ขับผายลม แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้โลหิตและลม ขับลมในลำไส้
    ตำรายานครราชสีมา ใช้ ใบ แก้ท้องเสียโดยนำใบ 1 กำมือ ตำให้แหลกผสมกับน้ำประมาณครึ่งแก้วดื่ม เปลือกต้น แก้รำมะนาด โดยนำเปลือกผสมกับเกลือทะเลอย่างละเท่าๆกัน ต้มให้เกลือละลาย อมเช้า-เย็น หลังอาหารและก่อนนอน
    ตำราเภสัชกรรมล้านนา ใช้ ใบ เปลือก ราก และเมล็ด รักษาอาการไอ ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ รักษาเหงือก แก้ปวดฟัน
    ในพม่า ใช้ เปลือกต้นแก้ท้องร่วง แก้ปวดฟัน ช่วยให้ฟันแข็งแรง ต้มน้ำกินแก้ไข้ แก้บิด แก้ท้องเสีย และแก้มะเร็ง เป็นยาอายุวัฒนะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ข่อยหย่อง
    ข่อยหยอง , ข่อยหนาม , กะชึ่ม , ข่อยเตี้ย , ผักรูด (ประจวบฯ) ข่อยดิน, หัสสะท้อน (เหนือ) ,ชาป่า (ศรีราชา) , กันทรง (สุราษฎร์)
    เนื้อไม้และราก ใช้ปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ ขับเมือกในลำไส้ และรักษาโรคกษัย ไตพิการ

    ใบ รสเมาเฝื่อน ตำกับข้าวสาร คั้นเอาน้ำดื่มทำให้อาเจียนถอนพิษยาเบื่อเมาหรืออาหารแสลง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • jopp.jpg
      jopp.jpg
      ขนาดไฟล์:
      11.9 KB
      เปิดดู:
      54
  4. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ขะย่อมหลวง
    นางแย้ม(นครราชสีมา) ขะย่อมตีนหมา ขะย่อมหลวง(เหนือ) ระย่อมใหญ่
    ราก จะมีแอลคอลอยด์อยู่หลายชนิด ใช้รักษาอาการไข้ และเป็นยาบำรุงประสาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ขันทองพยาบาท
    ฮ่อสะพายควาย ยางปลอก(แพร่,น่าน) ขันทองพยาบาท (ไทยภาคกลาง) ขันทองพยาบาทเครือ (จันทบุรี) ป่าช้สหมอง
    สรรพคุณของสมุนไพร

    เนื้อไม้ เนื้อไม้ของขันทองพยาบาทจะมีรสเฝื่อนเมา ใช้รักษาอาการพิษในกระดูก ประดง รักษาโรคเรื้อนมะเร็งคุทราด กลากเกลื้อน ลมเป็นพิษ โรคผิวหนัง ฆ่าพยาธิโรคผิวหันงทุกชนิด กามโรค

    เปลือก เปลือกขันทองพยาบาทใช้เป็นยาบำรุงเหงือกใช้รักษาเหงือกอักเสบ และใช้เป็นยาถ่ายรักษาโรคตับพิการ โรคผิวหนังกลากเกลื้อน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ขอบชะนาง
    ขอบชะนางขาว หนอนตายอยากขาว หนอนขาว (ไทยภาคกลาง) ขอบชะนางแดง หนอนตายอยากแดง หนอนแดง (ไทยภาคกลาง) หญ้าหนอนตาย (เหนือ) หญ้ามูกมาย (สระบุรี) ตาสียาเก้อ ตอสีเพาะเกล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
    สรรพคุณ

    - ทั้งต้น นำมาปิ้งไฟและชงกับน้ำเดือด ใช้ขับพยาธิในเด็ก
    - ต้นและดอกใบ จะมีรสเมาเบื่อ นำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก เอามาในปากไหปลาร้าที่หนอน อีกไม่นานหนอนก็จะตาย
    - ต้นสด ใช้ตำเป็นยาฆ่าหนอน ฆ่าแมลง วัวควายที่เป็นแผลจนเน่าขนาดใหญ่ หนอนจะตายและจะช่วยรักษาแผลด้วย
    - เปลือกของต้น ช่วยดับพิษในกระดูกและในเส้นเอ็น รักษาพยาธิผิวหนัง เช่น หุงน้ำมันทาริดสีดวง หรือจะใช้ต้มผสมเกลือให้เค็มนำมารักษาโรครำมะนาด ขอบชะนางทั้ง ๒ ชนิด นำมาปรุงรับประทานเป็นยาขับเลือด และขับระดูขาว ขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน

    ตำรับยา

    ปวดฟัน ให้ใช้ผลแห้ง บดเป็นผง แล้วใช้ทาบาง ๆ ตามบริเวณจมูกและอุดฟัน

    ปวดท้อง อาเจียนเป็นฟอง เบื่ออาหาร ให้ใช้ผลแห้งเอกเปลือกออกใส่พริกห้าง (Piper longum) เปลือกอบเชย แปะซุก (Atractylodes macrocephala koidz.) ตังกุย (Angelica sinensis Diels) นำมาคั่วและบดหยาบ ๆ โสม (Panax ginseng C.A. Mey.) แล้วตัดส่วนหัวออก ใช้อย่างละ ๑๕ กรัม หู่จี้ (Aconitum carmichaeli Debx.) แล้วคั่วให้แตกบดพอหยาบ ๆ เปลือกส้ม ๑ กรัมนำมาแช่น้ำเอาใยสีขาวออก แล้วคั่วไฟพอเหลือง ซวงเจีย (Zanthoxylum bugeanum Maxim.) คั่วพอให้หอม ๑ กรัม นำทั้งหมดมารวมกันบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้ง แล้วทำเป็นยาเม็ดเท่าเมล็ดถั่วเขียว ใช้รับประทานกับน้ำขิงครั้งละ ๓๐ เม็ด เมื่อเริ่มมีอาการ

    ขับน้ำคาวปลาหลังการคลอดบุตร และเป็นยาระบายใช้เหง้าสด เอามาตำแล้วคั้นเอาน้ำ ๑ แก้ว ผสมมะขามเปียกและเกลือใช้รับประทานได้

    เป็นเกลื้อน ให้นำเหง้าสดามหั่นเป็นแผ่น จุ่มเหล้าขาวทาบริเวณที่เป็น ๒ เวลา เช้า-เย็น หรือใช้เหง้าแห้งนำมาบดเป็นผง ผสมกับน้ำมะพร้าวใช้ทา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ข่า
    ข่าตาแดง ข่าหยวก (ภาคเหนือ)ข่าใหญ่ ข่าหลวง ข่าหยวก (เหนือ)เสะเออเคย สะเชย(แม่ฮ่องสอน)

    รสและสรรพคุณยาไทย เหง้าข่ามีรสเผ็ด ขับลม แก้บวม ฟกช้ำ

    ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา ช่วงเวลาที่เหง้าแก่

    วิธีใช้
    อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ทำได้โดยใช้เหง้าแก่ของข่าสดหรือแห้ง
    ขนาดเท่าหัวแม่มือต้มกับน้ำดื่ม กลากเกลื่อน เอาหัวข่าแก่ล้างให้สะอาด
    ฝานออกเป็นแว่นบางๆหรือทุบให้แตก เอาไปแช่เหล้าโรงทิ้งไว้ 1 คืน
    ทำความสะอาดบริเวณที่เป็น เอายามาทาบริเวณที่เป็น จนกว่าจะหาย 1. ใช้เหง้าสดตำให้ละเอียดผสมกับน้ำปูนใส รับประทานครั้งละครึ่งแก้วช่วยขับลมแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องเดินและบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน

    2. ใช้รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อนและแก้ลมพิษ โดยใช้เหง้าสดตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าขาวทาบริเวณที่เป็นบ่อยๆจนกว่าจะดีขึ้น

    3. สารสกัดจากข่านำมาประกอบเป็นยารักษาโรคได้หลายชนิด เช่น ยารักษาแผลสด แก้โรคปวดบวมตามข้อ แก้โรคหลอดลมอักเสบ ยาธาตุและยาขับลม

    4. ใช้ไล่แมลงโดยนำเหง้ามาทุบหรือตำให้ละเอียดเพื่อให้น้ำมันหอมระเหยออกมา แล้วนำไปวางในบริเวณที่มีแมลง

    5. ผลข่ามีสรรพคุณคล้ายกับเหง้าคือ ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง ท้องร่วง ฆ่าเชื้อบิด และช่วยย่อยอาหาร ผงจากผลแห้งสามารถรักษาอาการปวดฟันได้ โดยนำไปบดและทาบริเวณที่ปวด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ข้าวโพด
    ข้าวสาลี สาลี(ภาคเหนือ) โพด(ภาคใต้) บือเคส่ะ(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ข้าวแข่(เงี้ยว-ฉาน-แม่ฮ่องสอน) เง็กบี้ เง็กจกซู่ (จีน)
    ส่วนที่ใช้ : เมล็ด (เม็ด) ราก ใบ ช่อดอก ยอดเกสรตัวเมีย (ไหมข้าวโพด) และซังข้าวโพดใช้เป็นยา

    สรรพคุณ :

    เมล็ด ใช้ต้มกินหรือจะเอามาบดเป็นแป้งทำขนมกิน ใช้บำรุงกระเพาะอาหาร ฝาดสมาน บำรุงหัวใจ ปอด ทำให้เจริญอาหาร มีรสชุ่ม ไม่มีพิษ สามารถใช้ต้มรับประทานมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ และใช้พอกแผลเพื่อทำให้เยื่ออ่อนนุ่มไม่ให้เกิดการระคายเคือง
    ซัง ใช้ที่แห้งแล้วประมาณ 10-12 กรัม นำมาต้มน้ำกินหรือเอามาเผาเป็นถ่านผสมกับน้ำกิน มีรสชุ่ม บำรุงม้าม ขับปัสสาวะ รักษาบวมน้ำ รักษาบิดและท้องร่วง ใช้ภายนอกเผาเป็นเถ้า บด ผสมกันใช้ทา ต้นและใบ ใช้จำนวนพอสมควรใช้สดหรือแห้ง นำมาต้มน้ำกิน รักษานิ่ว
    ยอดเกสรตัวเมีย (ไหมข้าวโพด) ใช้แห้งประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มน้ำกินหรือนำมาเผาเป็นเถ้า บด ผสมกิน หรือใช้ภายนอก ใช้สูบหรือรมควัน มีรสชุ่ม ช่วยขับปัสสาวะ ขับน้ำดี บำรุงตับ รักษาตับอักเสบเป็นดีซ่าน ไตอักเสบบวมน้ำ ความดันเลือดสูง นิ่วในถุงน้ำดี อาเจียนเป็นเลือด เบาหวาน โพรงจมูกอักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบ ฝีหลายหัวที่เต้านม เลือดกำเดาอักเสบ
    ราก ใช้แห้งประมาณ 60-120 นำมาต้มน้ำกิน รักษษนิ่ว และอาเจียนเป็นเลือด สามารถขับปัสสาวะได้
    แป้ง แป้งข้าวโพดเปียกใช้เป็นอาหารที่ดีสำหรับบุคคลที่ฟื้นจากการเป็นไข้ แป้งข้าวโพดเป็นแป้งที่ย่อยง่าย เชื่อกันว่าขนมปังที่ทำจากแป้งข้าวโพดมีคุณค่าทางอาหารมากกว่าขนมปัง ที่ทำมาจากแป้งสาลี สมควรใช้กับบุคคลที่เป็รโรคเกี่ยวกับตับและไต น้ำมัน ประกอบด้วยกรดไขมันคือ กรดโอเลอิค (oleic) ร้อนละ 37 กรดลิโนเลอิค (linoleic) ร้อยละ 50 กรดปาล์มมิติค (plamitic) ร้อยละ 10 และกรดสเตียริค (stearic) ร้อยละ 3 น้ำมันข้าวโพดสามารถนำมาประกอบอาหาร ใช้เป็นตัวทำละลายของสาร ergosterol เอามาเติมไฮโดรเจน (hydrogenated) น้ำมันจะแข็งขึ้นนำมาทำเป็นเนยเทีนมใช้ทำขนมเค้กตามที่ต้องการให้เป็นมัน

    ตำรับยา

    1. รักษานิ่ว ควรใช้ต้นและใบสดหรือแห้ง โดยการนำมาต้มน้ำกิน หรือจะใช้รากที่แห้งประมาณ 60-120 กรัม ต้มน้ำกิน

    2. รักษษโรคเบาหวาน โดยใช้ยอดเกสรตัวเมียที่ตากแห้งนำมาประมาณ 30 กรัม ต้มน้ำกิน

    3. รักษาท้องร่วง โดยนำซังข้าวโพดที่เผาเป็นถ่านมาบด แล้วผสมน้ำกิน

    4 รักษาเนื่องจากบวมน้ำ ควรใช้ซังข้าวโพดแห้ง 60 กรัม ฮวงเฮียงก้วย (ผลของ Liquidambar taiwaniana Hance) 30 กรัม นำมาต้มน้ำกิน

    5. ขับปัสสาวะ โดยใช้ยอดเกสรตัวเมียเมื่อซังข้าวโพดเอามาต้มกินแทนน้ำชาได้

    6. ไตอักเสบ หรือเริ่มเป็นนิ่วที่ไต ให้ใช้ยอดเกสรตัวเมียพอสมควร ต้มจนข้นแล้วกิน

    7. ความดันเลือดสูง ให้นำยอดเกสรตัวเมียที่แห้ง เปลือกแตงโมแห้งและเปลือกกล้วยหอมแห้งเอามาอย่างละเท่า ๆ กัน นำมาต้มกิน

    8. ความจำเสื่อมลืมง่าย ใช้ยอดเกสรตัวเมียแห้งเอามาใส่ลงในกล้องยาสูบแล้วจุดสูบ

    9. ตรากตรำทำงานหนัก ไอเป็นเลือดหรือตกเลือด ใช้ยอดเกสรตัวเมีย ต้มกับเนื้อสัตว์แล้วกิน

    10. เด็กเป็นแผลที่ผิวหนังมีเลือดออก ให้ใช้ซังข้าวโพดเผาให้เป็นเถ้า นำมาผสมน้ำมันเมล็ดป่าน หรือน้ำมันพืชทาได้
    ข้อมูลทางคลีนิค

    1. โรคเกี่ยวกับไต ให้ใช้ยอดเกสรตัวเมียที่แห้ง 60 กรัม นำมาต้มกินวันละ 2 ครั้ง แล้วกินโปแตสเซี่ยมคลอโรด์ร่วมด้วย โดยทั่วไปกินยานี้เข้าไปแล้ว 3 วัน ปัสสาวะมีมากขึ้น ปริมาณของอัลบูมินและสารจำพวกไนโตรเจนที่ไม่ใช่โปรตีนในปัสสาวะนั้นลดลง คนไข้บางรายจะมีปริมาณอัลบูมินในโลหิตสูง บางรายความดันโลหิตจะลดลงสู่ระดับปรกติ

    2. โรคไตอักเสบเรื้อรัง ให้ใช้ยอดเสรตัวเมียที่แห้ง 50 กรัม ใช้ต้มกินน้ำ มีฤทธิ์หลักคือช่วยขับปัสสาวะ ทำให้ไตทำงานดีขึ้น จากการบวมน้ำและปริมาณอัลบูมิน ในปัสสาวะนั้นลดลง คนไข้ที่กินติดต่อกัน 6 เดือน ยังไม่ปรากฏอาการพิษ

    3. รักษาอาหารไม่ย่อย ให้ใช้ข้าวโพด 500 กรัม เปลือกทับทิม 120 กรัม นำไปพิงไฟให้แห้ง แล้วบดเป็นผง เอามาผสมกับน้ำให้ได้ประมาณ 1500 มล. แล้วกินประมาณ 10มล. ต่ออายุ 1 ปี สามารถรักษาอาการพิษได้ ในช่วงการรักษาต้องระวังคอยดูแลระดับน้ำ และอุณหภูมิของร่างกายไม่ให้เกิดอาการผิดปรกติ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ข่าต้น
    ไม้จวง จวงหอม(ภาคใต้) กะเพาะต้น (สระบุรี) เทพธาโร(ปราจีน)ข่าต้น(กรุงเทพฯ) จะไค้ต้น (พายัพ) มือแดกะมางิง(ปัตตานี) ตะไคร้ต้น(อิสาน)
    สรรพคุณ :

    ข่าต้น จะมีรสเผ็ด ช่วยขับโลหะและน้ำเหลือง หรือจะทำเป็นไม้ตีพริก ทำให้พริกมีกลิ่นหอม และใช้ขับลมในลำไส้ด้วย
    เนื้อไม้ ใช้ปรุงกับสะค้านและต้นดาวเรือง นำมารับประทานรักษาฝีลมท และใช้ปรุงเป็นยาหอม ยาลม รักษาท้องขึ้นอืดเฟ้อจุกเสียดและเป็นยาบำรุงธาตุด้วย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ข้าวฟ่างสมุทรโคดม
    มกโคดม มุทโคดม(ภาคใต้) ข้าวป้างนก ข้าวป้างหางช้าง(ภาคเหนือ) เกาเลี้ยง ฮวงซู่ (จีน) จังหันมะพุด สมุทรโคดม (ภาคกลาง)
    ส่วนที่ใช้ : เมล็ด และรากใช้เป็นยา เมล็ดจะเก็บเมมื่อต้นแก่แล้วฟาดเก็บเมล็ดตากแห้งเก็บไว้ใช้ ส่วนรากนั้นจะใช้สด หรือแห้งก็ได้

    สรรพคุณ : เมล็ด ใช้แห้ง 30-60 กรัม ต้มน้ำกิน จะมีรสชุ่ม บำรุงกายและให้พลังงาน รักษษโรคอหิวาตกโรค บิด ฝาดสมานลำไส้และกระเพาะอาหาร ช่วยขับปัสสาวะไม่มีพิษ ราก ใช้แห้งประมาณ 15-30 กรัม และสด 30-60 กรัม ต้มน้ำกินจะมีรสชุ่ม ใช้ขับปัสสาวะ ห้ามโลหิต ระงับอาการหอบ สามารถรักษาปวดกระเพาะอาหาร ไอหอบ ตกโลหิตหลังคลอด สงบประสาท และยังช่วยในการเร่งคลอดทารก

    ข้อห้ามใช้ : สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทาน

    ตำรับยา

    1. สตรีคลอดบุตรยาก นำเอารากที่แห้งในที่ร่ม เผาให้เป็นเถ้านำมาบดให้เป็นผง ใช้รับประทานครั้งละ 6 กรัม ผสมกับเหล้า

    2. ระบบการย่อยอาหารของเด็กไม่ดี ควรใช้เมล็ดที่แห้งแล้วประมาณ 30 กรัม นำมาคั่วจนเหลืองลูกพุทธา (Zizyphus jujuba Mill. Var inermjin (Bge.)Rehd) คั่วจนเกรียม รวมกันบดเป็นผง กินวันละ 2 ครั้ง

    3. เจ็บกระเพาะอาหาร หรือเจ็บปวดบริเวรหน้าอก ใช้รากสดต้มน้ำกินตอนอุ่น ๆ

    4. สตรีที่ตกโลหิตหลังคลอด ให้ใช้รากสดประมาณ 7 ต้น ผสมกับน้ำตาลทรายแดงประมาณ
    15 กรัม แล้วต้มน้ำกิน

    5. รักษาโรคประสาท ควบคุมอารมณ์ไม่อยู่ ให้ใช้รากที่แห้งประมาณ 30 กรัม เหง้าว่านน้ำเล้ก (Acorus gramineus soland.) หญ้าปล้องจีน (Juncus effuses L.) ชนิดละ 15 กรัม ใบไผ่ขมจีน (Pleioblastus amarus(Keng) Keng f.) 5 ใบ ใช้ต้มน้ำกิน

    6. รักษาอาการไอ หอบ ให้ใช้รากแห้งประมาณ 15 กรัม ตุ๋นน้ำตาลแล้วใช้กรวดกิน

    ข้อมูลทางคลีนิค

    รักษาระบบการย่อยอาหารไม่ดี ให้ใช้เมล้ด แล้วคัดเอาสิ่งเจือปนอื่น ๆ ทิ้ง แล้วคั่นจนเหลืองและมีกลิ่นหอม วางผึ่งให้เย็นก่อนกินควรบดประมาณครั้งละ 1.5-3 กรัม วันละ 3-4 ครั้ง

    หมายเหตุ : เมล็ด ใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์ เมล็ดที่มีเชื้อราจำพวก Rhizopus nigricans จะมีสารที่เป็นพิษ afatoxin เมื่อกินเข้าไปแล้วจะทำให้เกิดอาการพิษ ร่างกายเสียน้ำมาก กระหายน้ำ ปัสสาวะมาก อ่อนเพลีย และเป็นตะคิว เมล็ดอาจจะนำมาหมักเหล้า และได้เหล้าที่มีกลิ่นหอม หรือใช้หุงต้มเป็นอาหาร จะทำเป็นขนมก็ได้หรือนำเมล็ดที่คั่วพองนั้นำไปย้อมสีต่างต่างกัน ทำเป็นดอกไม้เทียมได้ ในเมล็ดมีความชื้นประมาณ 10.4-13.0% โปรตีนประมาณ 9.73-10.29% ไขมัน 2.80-3.18% เถ้า 1.57-1.87% ประกอบด้วยแคลเซี่ยม 51.4-127.3 มก.% ฟอสฟอรัส 149.6-204.0 มก.% เหล็ก 1.1-6 มก.% น้ำตาล 1.2% ส่วนมากจะเป็น sucrose 0.85% fructose 0.09% glucose 0.09% raffinose,maltose 0.11% และ stachyose อีกเล้กน้อย คาร์โบไฮเดรท 72.6% ส่วนมากเป็นแป้ง pentosan และ cellulose โปรตีน 10.4% มี albumin 1.3-7.7% glbulin 1.5-9.3% แต่ขาด lysine ซึ่งมีกรดอมิโนที่จำเป็น เมล็ดอ่อน aspartic acid,lysine,glycine มากกว่าเมล็ดแก่ แต่จะมีปริมาณของ glutamic acid,proline และ leucine น้อยกว่าเมล็ดแก่ เมล็ดจะมีไขมันประมาณ 2.8-3.2% เป็นน้ำมัน 2.5% wax 0.5% ส่วนที่เหลือจะเป็น bound lipids 0.140.28% ประกอบด้วย lysolecithin,lecithin และ unsaponified matters 1.7-3.2% และในน้ำจะประกอบก้วย linkoleic acid 40.0-55.0% palmitic acid 6.0-10.0% stearic acid 30.3-47.0% และ linolenic acid 0-1.0% unsaponified matters นอกจากนี้ในเมล็ดยังมีวิตามินเอ 79 I.U.,biotin 0.009-0.04 มก.% nicotinic acid 2.8 มก.% thiamine 0.37มก.% pantothenic acid 0.46-1.48 มก.% riboflavin 0.28มก.% pyridoxine 0.21-0.86 มก.% choline chloride 41.9 มก.% และมีสารที่มีฤทธิ์คล้าย gibberillin 12.5 ไมโครกรัม ต่อ 100กรัม เมล็ดสีขาวจะมี carotenoids ประมาณ 1.5 ppm. และ p-coumaric aicd น้ำแช่เมล็ดมี lactic acid และ phytic acid ต้นอ่อน ต้นสดและยอดอ่อน มี cyanogenetic glycosides สัตว์ถ้ากินพืชนี้สด อาจเป็นอันตรายถึงตายได้
    cyanogenetic glycosides มีมากในต้นอ่อน ข้าวฟ่างที่ปลอดภัยสามารถนำมใาเป็นอาหารสัตว์ได้ต้องเป็นข้าวฟ่างที่มีอายุประมาณ 80 วัน สัตว์ที่กินต้อนข้าวฟ่างสดจะมมีอาการน้ำลายเป็นฟอง เดินโซเซ หัวตก หายใจถี่ สำรอกอาหาร และตายในที่สุด ถ้าสัตว์เริ่มมีอาการพิษ ให้ฉีดโซเดี่ยมไนไตรท์และโซเดียมไทโอซัลเฟต เข้าในหลอดโลหิตดำก่อนที่จะเกิดอาการหนัก และเมื่อเมล็ดเริ่มงอก จะมีอัลคาลอยด์ hordenine (b-p -hydroxy-phenethyl dimethyl amylamine, c10 H15 ON) 0.07% ซึ่งมีผลต่อการหายใจ ในปริมาณมาก ๆ อาจเกิดอันตรายถึงตายได้ในต้นอ่อน และยอดอ่อนยังมี cadaverine,putrescine, p-hydroxyphenylformaldehyde และ cyanogenetic glycosides อื่น ๆ อีก ผล จะมีเปลือกประมาณ 7.3-9.3% ไขมันประมาณ 7.8-12.1% แป้งประมาณ 80.8-84.6% และสารจะมีสีที่เปลือกนอก เปลือกผล จะมีสีแดงและสีน้ำตาลเป็นสีจำพวก phenolic pigments tannic acid 0.2-2.0% และ anthocyanogen จะมีรสขมเป็นพวก eriodictyol และ pelargonidin เปลือกผลชั้นกลาง จะมี apgenin-5-glucoside,
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ข้าวสารดอกเล็ก เมือยสาร(ชุมพร) เคือคิก(สกลนคร) ข้าวสารดอกเล็ก(กรุงเทพฯ)
    สรรพคุณ : ผลและดอก ใช้เป็นอาหาร ส่วนในเมล็ดจะมี cardiac glycoside ที่เป็นพิษ

    สรรพคุณ ความสามารถด้านการรักษาโรค ของต้น ข้าวสารดอกเล็ก

    ราก – ทำยาหยอดตา แก้ตาฝ้า ตาแดง ตามัว เข้ายาถอนพิษ ยาเบื่อเมา ทำให้อาเจียน ยาระงับพิษทั้งปวง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ข้าวสารดอกใหญ่
    ข้าวสาร(กลาง) เครื่อเขาหนัง(เหนือ) ขาวสารดอกใหญ่(กรุงเทพฯ) เคือคิก(สกลนคร) โอเคือ(ลาว) ไคร้เครือ(สระบุรี) เซงคุยมังอูมื่อ มังอุยเหมื่อเซงครึย(กะเหรี่ยง-ลำปาง) เมืองสาร(ชุมพร)
    ส่วนที่ใช้ : ผล ดอก และเมล็ด

    สรรพคุณ :

    ดอก และ ผล ใช้เป็นอาหาร
    เมล็ด จะมี Cardiac glycoside ที่เป็นพิษ ใช้รักษาอาการไข้และขับเหงื่อ
    ข้าวสารดอกใหญ่

    ข้าวสาร เป็นไม้เถาเลื้อย ดอกทานได้ นิยมนำมาแกงส้ม ต้มทานกับน้ำพริก หรือทอดกับไข่ เถา ลอกเปลือกจิ้มน้ำพริก โคนต้นที่หมกดิน ล้างแล้วต้มลอกเปลือกนำมา เป็นผักจิ้มน้ำพริก ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆในเวลากลางคืน ให้ดอกดกทั้งต้นในช่วงฤดูฝนครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1224747771.jpg
      1224747771.jpg
      ขนาดไฟล์:
      75.4 KB
      เปิดดู:
      105
    • 1224747809.jpg
      1224747809.jpg
      ขนาดไฟล์:
      77.5 KB
      เปิดดู:
      120
    • 1224747887.jpg
      1224747887.jpg
      ขนาดไฟล์:
      95.2 KB
      เปิดดู:
      132
    • 1224747948.jpg
      1224747948.jpg
      ขนาดไฟล์:
      88.6 KB
      เปิดดู:
      138
  13. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ขิง
    ขิงแกลง ขิงแดง (จันทบุรี) ขิงเผือก (เชียงใหม่) สะเอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
    วนที่ใช้ : เหง้าแก่สด ต้น ใบ ดอก ผล


    สรรพคุณ :

    เหง้าแก่สด
    - ยาแก้อาเจียน
    - ยาขมเจริญอาหาร
    - ยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม
    - แก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงธาตุ
    - สามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ลดอาการจุกเสียดได้ดี
    - มีฤทธิ์ในการขับน้ำดี เพื่อย่อยอาหาร
    - แก้ปากคอเปื่อย แก้ท้องผูก
    - ลดความดันโลหิต

    ต้น - ขับผายลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้คอเปื่อย ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้โรคตา แก้บิด แก้ลมป่วง แก้ท้องร่วงอย่างแรง แก้อาเจียน

    ใบ - แก้โรคกำเดา ขับผายลม แก้นิ่วแก้เบาขัด แก้คอเปื่อย บำรุงไฟธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้โรคตา ขับลมในลำไส้

    ดอก - ทำให้ชุ่มชื่น แก้โรคตาแฉะ ฆ่าพยาธิ ช่วยย่อยอาหาร แก้คอเปื่อย บำรุงไฟธาตุ แก้นิ่ว แก้เบาขัด แก้บิด

    ผล - แก้ไข้

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    ยาแก้อาเจียน
    ใช้ขิงแก่สด หรือแห้ง ขิงสดขนาดหัวแม่มือ (ประมาณ 5 กรัม) ทุบให้แตก ถ้าแห้ง 5-7 ชิ้น ต้มกับน้ำดื่ม
    นำขิงสด 3 หัว หัวโตยาวประมาณ 5 นิ้ว ใส่น้ำ 1 แก้ว ต้มจนเหลือ 1/2 แก้ว (ประมาณ 15-20 นาที หลังจากเดือดแล้ว) รินเอาน้ำดื่ม

    ยาขมเจริญอาหาร
    ใช้เหง้าสดประมาณ 1 องคุลี ถ้าผงแห้งใช้ 1/2 ช้อนโต๊ะ หรือประมาณ 0.6 กรัม
    ผงแห้งชงกับน้ำดื่ม เหง้าสดต้มน้ำ หรือปรุงอาหาร เช่น ผัด หรือรับประทานสดๆ เช่น กับลาบ แหนม และอื่นๆ

    แก้อาการท้องอืดเฟ้อ จุกเสียดและปวดท้อง
    - น้ำกระสายขิง น้ำขิง 30 กรัม มาชงด้วยน้ำเดือด 500 ซีซี ชงแช่ไว้นาน 1 ชั่วโมง กรองรับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ
    - ใช้ขิงแก่ต้มกับน้ำ รินน้ำดื่มแก้โรคจุกเสียด ทำให้หลับสบาย
    - ขิงแก่ยาว 2 นิ้ว ทุบพอแหลก เทน้ำเดือดลงไปครึ่งแก้ว ปิดฝา ตั้งทิ้งไว้นาน 5 นาที รินเอาแต่น้ำมาดื่มระหว่างอาหารแต่ละมื้อ
    - ใช้ผงขิงแห้ง 1 ช้อนโต๊ะปาดๆ หรือ 0.6 กรัม ถ้าขิงแก่สดยาวประมาณ 1 องคุลี หรือประมาณ 5 กรัม ต้มกับน้ำ เติมน้ำตาลดื่มทุกๆ วัน ถ้าเป็นผงขิงแห้งให้ชงน้ำร้อน เติมน้ำตาลดื่ม

    แก้ไอและขับเสมหะ
    ใช้ขิงสดฝนกับน้ำมะนาว แทรกเกลือ ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ

    ลดความดันโลหิต
    ใช้ขิงสดเอามาฝานต้มกับน้ำรับประทาน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ขี้กาขาวหรือเเตงโมป่า
    ขี้กาขาว เถาขี้กา
    วนที่ใช้ : เถา ใบสด

    สรรพคุณ : เถา ใช้ปรุงเป็นยาบำรุงถุงน้ำดี ลูกถ่ายแรงกว่าเถา บำรุงน้ำดี ล้างเสมหะ ดับพิษเสมหะและโลหิต รักษาตับปอดพิการ ใช้เถาต้มกับน้ำให้เดือดนาน ๆ ใช้เป็นยาฆ่าเลือดไร และเหาได้ ใบสด ใช้ตำสุมขม่อมเด็กเวลาเย็น รักษาอาการคัดจมูกได้ดี ใช้ปรุงเป็นยา ขี้กาขาวจะใช้นอยกว่าขี้กาแดง
    การปรุงอาหาร

    ส่วนของขี้กาขาวที่นิยมนำมากิน คือ ยอดอ่อนของขี้กาขาวมีรสชาติกรอบอร่อย ไม่มีรสชมกินง่าย นิยมนำมาผัดกับกะทิ เป็นผักจิ้มกับน้ำพริก หรืออาจจะต้มกับน้ำธรรมดาก็สามารถทำได้เหมือนกัน แล้วแต่รสชาติอาจจะขาดความหวานมันไปเล็กน้อย

    สรรพคุณทางยาของขี้กาขาว

    ใบของขี้กาขาวสามารถนำมาตำแล้วไปโปะที่ศีรษะเด็กเมื่อเวลาเป็นไข้ ช่วยทำให้ลดไข้ได้ดี บรรอาการหวัดลงได้ ส่วนเถาของขี้กาขาวนำมาต้มกินเป็นยาบำรุงและน้ำเหลืองได้ดีมาก และยังรักษาโรคตับและปอดอักเสบได้อีกวิธีหนึ่ง แต่หากเคี่ยวน้ำต้มของเถาให้นานๆ จนข้ม สามารถนำมาใส่ผมรักษาเหาหรือฆ่าไรบนหัวไก่ได้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    วันนี้ผมลงหน่อยเดียวเองครับพอดีไม่ว่างส่งพระอาจารย์ทั้ง5รุปขึ้นเขาเย็นๆๆกลับมาจะโพสสมุนไพรต่อครับ พาไปเอากำลังเสือโคร่ง ม้ากระทืบโรง โคลคลาน ผักอีตู๋ กระจ้อนเน่า เข็มขัดฤาษี เอ็นอ่อน เอ็นเเดง เอ็นขาว ชองระอาเถา เครือเถาไฟเเดง
    ข่าต้น ตะไคร่ต้น ขมิ้นต้น พญามือเหล็ก กำเเพงเจ็ดชั้น ตบท้ายด้วยว่านอีแปะหรือว่านโยนี ครับ แม้หลายรายการเลยผม หนักครับงานนี้ผมแบกสิครับหนัก เอิกๆๆๆๆ
     
  16. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ขี้กาเเดง
    แตงโมป่า มะกาดิน ขี้กาขาว เป็นไม้เถาเลื้อย ลำเถาอวบน้ำและสากมีขนสีขาวสั้นตั้งตรงเกาะติดหนาแน่น
    สรรพคุณ

    ใบ รสขม ตำพอกฝี ทาแก้โรคผิวหนังอักเสบ
    หัว รสขม บำรุงหัวใจ แก้ม้ามย้อย ตับโต หรืออวัยวะในช่องท้องบวมโต
    ราก รสขม บำรุงน้ำดี แก้ไข้ ดับพิษไข้ แก้ปวดศีรษะ แก้จุกเสียด บดทาฝีฝักบัว แก้ตับโต ม้ามย้อย อวัยวะในช่องท้องบวมโต
    ผล รสขม บำรุงน้ำดี แก้พิษเสมหะและโลหิต ถ่ายพิษเสมหะให้ตก แก้พิษตานซาง แก้ตานขโมย ขับพยาธิ เป็นยาถ่ายอย่างแรง ใช้ควันรม แก้หืด
    ทั้งเถา รสขม ต้มอาบ แก้เม็ดผดผื่นคัน แก้ไข้หัว ไข้พิษ ไข้กาฬ ต้มดื่ม บำรุงน้ำดี ขับเสมหะ ดับพิษ แก้ไอเป็นเลือด[2
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ขี้ไก่ย่าน
    ขี้ไก่ย่าน (สงขลา)
    ส่วนที่ใช้ : ใบ ใช้เป็นยา

    สรรพคุณ : ใช้ใบตำพอกตามบาดแผล หรือแผลบวม รักษาดรคหิด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • yarn_kee_gai.jpg
      yarn_kee_gai.jpg
      ขนาดไฟล์:
      54.3 KB
      เปิดดู:
      126
    • images.jpg
      images.jpg
      ขนาดไฟล์:
      16 KB
      เปิดดู:
      74
    • 9kgEq.JPG
      9kgEq.JPG
      ขนาดไฟล์:
      51.1 KB
      เปิดดู:
      103
  18. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ขี้ครอก
    ขมดง ชบาป่า บอเทอ ปะเทาะ ปอเส้ง ปูลุ เส้ง หญ้าผมยุ้ง หญ้าอียู หญ้าหัวยุ่ง นางนวล
    สรรพคุณ
    ต้นเเละใบใช้ต้ม รักษาโรค ไต ไตพิการ ขับปัสาวะ
    ใบ เเก้ ไอ ขับเสมหะ
    ราก เเก้พิษไข้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ขี้หนอน
    ขี้มอด
    เอาเปลือกต้นขี้หนอนมาหั่นบางๆ เอามาแช่น้ำจะเกิดฟองขึ้นมากมาย เอาฟองนี้ไปใส่ศรีษะเด็กจะเป็นยาแก้หวัดคัดจมูกได้ หรือเอาเปลือกไปผสมเป็นยาเขียวแก้ไข้แก้ร้อนในก็ได้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ขี้เหล็ก
    ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง) ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลาง) ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ) ผักจี้ลี้ (เงี้ยง-แม่ฮ่องสอน) ยะหา (ปัตตานี) ขี้เหล็กจิหรี่ (ภาคใต้)
    รสและสรรพคุณยาไทย : ดอกตูมและใบอ่่อน รสขม ช่วยระบายท้อง ดอกตูมทำให้นอนหลับเจริญอาหาร
    ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ : ใบอ่อนและดอกพบว่า มีสารพวก Chromone มีชื่อว่า Barakol ส่วนในใบพบสาร A. nthraquinones (เช่น Rhein, Sennoside, Chrysophanol. Aole-emodin) , Alkaloid และสารอื่นอีกหลายชนิด จากการศึกษาพบว่า ใบออกฤทธิ์เป็นยาระบาย เพราะมีสาร Anthraquinone และ พ.ศ.2492 อุไร อรุณลักษณ์ และคณะ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริาชพยาบาล ได้ศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่า สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ของใบขี้เหล็ก นี้มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางทำให้สัตว์ทดลอง มีอาการซึม เคลื่อนไหวช้า ชอบซุกตัวแต่ไม่หลับและศึกษาโดยใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการกระวนกระวาย นอนไม่หลับ พบว่าสารสกัดใบขี้เหล็กด้วยแอลกอฮอล์มีฤทธิ์สงบประสาทได้ดี ช่วยให้นอนหลับสบายและระงับอาการตื่นเต้นทางประสาทได้ แต่ไม่ใช่ยานอนหลับโดยตรง และไม่พบอาการเป็นพิษ มีความปลอดภัยในการใช้สูง
    วิธีใช้ : ขี้เหล็กใช้เป็นยารักษาอาการท้องผูกได้ดี และอาการนอนไม่หลับก็ได้ โดยการปฏิบัติดังต่อไปนี้
    อาการท้องผูก ใช้ใบขี้เหล็ก (ทั้งใบอ่อน และใบแก่) 4-5 กำมือ ต้มเอาน้ำดื่มก่อนอาหาร หรือเวลามีอาการ
    อาการนอนไม่หลับ กังวลเบื่ออาหาร ให้ใช้ใบแห้งหนัก 30 กรัม หรือใช้ใบสดหนัก 50 กรัม ต้มเอาน้ำรับประทานก่อนนอน หรือใช้ใบอ่อนเป็นยาดองเหล้า (ใส่เหล้าขาวพอท่วมยา แช่เอาไว้ 7 วัน ต้องมีการคนทุกวันๆ ละครั้ง ให้สม่ำเสมอ กรองกากยาออก จะได้น้ำยาดองเหล้าขี้เหล็ก ให้ดื่มครั้งละ 1-2 ช้อนชาก่อนนอน
    คุณค่าทางด้านอาหาร : ดอกตูมและใบอ่อนของขี้เหล็กมีรสขม ต้องคั้นน้ำทิ้งหลายๆ ครั้ง ก่อนจึงเอามาปรุงอาหารได้ นิยมทำเป็นแกงกะทิ หรือทำเป็นผักจิ้ม จะช่วยระบายท้องได้ดีทั้งดอกตูมและใบอ่อน มีสารอาหารหลายอย่าง คือ วิตามิน เอ และวิตามิน ซี ค่อนข้้างสูง ในดอกมีมากกว่าในใบ เอาใบขี้เหล็กมาบ่มรวมกับผลไม้จะช่วยทำให้ผลไม้สุกเร็วขึ้นด้วย.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...