เมื่อภัยจะมาถึง ขอให้ทุกท่านเร่งสร้างความดี ปัจจุบันสำคัญที่สุด อย่าได้ประมาท

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย korn95, 28 มิถุนายน 2013.

  1. korn95

    korn95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +2,226
    062 พระพุทธเจ้าเพียงแต่บอกหนทาง

    ปัญหา บริษัท ๔ ที่เกิดร่วมยุคกับพระพุทธองค์ ได้ฟังธรรมเฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธองค์ นับว่าเป็นผู้มีโชคอันประเสริฐ น่าจะได้สำเร็จมรรคผลทั้งหมด แต่ไฉนจึงได้บรรลุแต่เพียงบางคนเท่านั้น?

    พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉนบุรุษผู้ปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์พึงมาในสำนักของท่าน เขาเข้ามาหาท่านแล้วพูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าปรารถนาจะไปยังกรุงราชคฤห์ ขอท่านจงชี้ทางไปเมืองราชคฤห์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ท่านพึงบอกแก่เขาอย่างนี้ว่า ดูก่อนพ่อมหาจำเริญ มาเถิด ทางนี้ไปเมืองราชคฤห์ ท่านจงไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเป็นบ้านชื่อโน้น..... ไปตามทางชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเป็นนิคมชื่อโน้น...... จักเห็นสวนที่น่ารื่นรมย์...... จักเห็นป่าที่น่ารื่นรมย์ ภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ของเมืองราชคฤห์ บุรุษนั้นอันท่านแนะนำสั่งสอนอยู่อย่างนี้จำทางผิด กลับเดินไปเสียตรงกันข้าม ต่อมาบุรุษคนที่สอง ปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ พึงมาในสำนักของท่าน.... แล้วพูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ...... ขอท่านจงชี้ทางไปเมืองราชคฤห์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ท่านพึงบอกแก่เขาอย่างนี้ว่า...... ทางนี้ไปเมืองราชคฤห์....... บุรุษนั้นอันท่านแนะนำพร่ำสอนอยู่อย่างนี้ พึงไปถึงเมืองราชคฤห์โดยสวัสดี ดูก่อนพราหมณ์ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยในเมื่อเมืองราชคฤห์ดำรงอยู่ ทางไปเมืองราชคฤห์ก็ดำรงอยู่ ท่านผู้ชี้แจงก็ดำรงอยู่ แต่ก็บุรุษอันท่านแนะนำพร่ำสั่งอยู่อย่างนี้ คนหนึ่งจำทางผิด กลับเดินไปทางตรงกันข้าม คนหนึ่งไปถึงเมืองราชคฤห์โดยสวัสดี ?”
    คณกโมคคัลลานะ “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าจะทำอย่างไรได้ ข้าพเจ้าเป็นแต่ผู้บอทาง”
    “ดูก่อนพราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ในเมื่อนิพพานก็ดำรงอยู่ ทางไปนิพพานก็ดำรงอยู่ เราผู้ชักชวนก็ดำรงอยู่ แต่ก็สาวกของเราอันเราโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกเพียงส่วนน้อยยินดีนิพพานอันมีความสำเร็จเยี่ยมยอด บางพวกก็ไม่ยินดี ดูก่อนพราหมณ์ ในเรื่องนี้เราจะทำอย่างไรได้ ตถาคตเป็นแต่ผู้บอกหนทางให้”

    คณกโมคคัลลาน ปญ
    สูตร อุ. ม. (๑๐๒-๑๐๓)
    ตบ. ๑๔ : ๘๖-๘๗ ตท. ๑๔ : ๗๑-๗๒
    ตอ. MLS. III : ๕๖
     
  2. korn95

    korn95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +2,226
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กุมภาพันธ์ 2014
  3. korn95

    korn95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +2,226
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กุมภาพันธ์ 2014
  4. korn95

    korn95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +2,226
    [​IMG]
     
  5. korn95

    korn95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +2,226
    158 วัฏสงสารที่ไม่มีเบื้องต้นเบื้องปลาย

    ปัญหา เราอาจจะทราบได้ไหมว่า เราเริ่มเกิดขึ้นในวัฏสงสารเมื่อใดและจะสิ้นสุดลงเมื่อใด ?

    พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ
    “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษตัวทอนหญ้าไม้ กิ่งไม้ใบไม้ ในชมพูทวีปนี้ แล้วจึงรวมกันไว้ ครั้นแล้ว พึงกระทำให้เป็นมัดมัดละ ๔ นิ้ว วางไว้ สมมติว่านี้เป็นมารดาของเรา นี้เป็นมารดาของมารดาของเราโดยลำดับ มารดาของมารดาแห่งบุรุษนั้น ไม่พึงสิ้นสุด ส่วนว่าหญ้าไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ในชมพูทวีปนี้ พึงถึงการหมดสิ้นไปข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ พวกเธอได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฏพีที่เป็นป่าช้าตลอดกาลนาน ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้”

    ติณกัฏฐสูตร นิ. สํ. (๔๒๑-๔๒๒)
    ตบ. ๑๖ : ๒๑๒ ตท. ๑๖ : ๑๙๙
    ตอ. K.S. II : ๑๑๘-๑๑๙
     
  6. korn95

    korn95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +2,226
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 กุมภาพันธ์ 2014
  7. korn95

    korn95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +2,226
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 กุมภาพันธ์ 2014
  8. korn95

    korn95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +2,226
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 กุมภาพันธ์ 2014
  9. korn95

    korn95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +2,226
    173 ของที่กินไม่รู้จักอิ่ม

    ปัญหา ของอะไรบ้าง ที่มนุษย์เสพแล้วไม่รู้จักอิ่ม ไม่รู้จักพอ ?

    พุทธดำรัสตอบ “..... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความอิ่มในการเสพสิ่ง ๓ อย่าง ไม่มี ๓ อย่างเป็นไฉน คือในการเสพความหลับ ๑ ในการดื่มสุราและเมรัย ๑ ในการเสพเมถุนธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความอิ่มในการเสพสิ่ง ๓ อย่างนี้แล ไม่มี ฯ”

    อติตตสูตร ติ. อํ. (๕๔๘)
    ตบ. ๒๐ : ๓๓๕ ตท. ๒๐ : ๒๙๒-๒๙๓
    ตอ. G.S. I : ๒๓๔-๒๔๐
     
  10. korn95

    korn95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +2,226
    [​IMG]
     
  11. korn95

    korn95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +2,226
    [​IMG]
     
  12. korn95

    korn95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +2,226
    027 วิธีปฏิบัติเมื่อถูกทำร้าย

    ปัญหา เมื่อภิกษุถูกเบียดเบียนทำร้าย ทางพระพุทธศาสนาสอนให้พิจารณาอย่างไร ?

    พุทธสารีบุตรตอบ “.....ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากชนเหล่าอื่นจะพยายามทำร้ายภิกษุนั้น ด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ คือด้วยการประหารด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยการประหารด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยการประหารด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยการประหารด้วยศัสตราบ้าง ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายนี้เป็นสภาพที่เป็นไปด้วยการประหาร ด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง.... ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศัสตราบ้าง อนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ในพระโอวาทอันเปรียบด้วยเลื่อยดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ว่าพวกโจรผู้มีความประพฤติต่ำช้า พึงตัดทอนอวัยวะใหญ่น้อยทั้งหลายด้วยเลื่อยอันมีด้ามสองข้างไซร้ ภิกษุผู้ที่ยังใจให้ประทุษร้ายในโจร แม้พวกนั้นย่อมไม่เชื่อว่าทำตามคำสอนของเรา..... อนึ่ง ความเพียรอันเราปรารภแล้ว จักไม่ย่อหย่อน สติอันเราตั้งไว้มั่นแล้วจักไม่หลงลืม กายอันเราให้สงบแล้ว จักไม่กระวนกระวาย จิตอันเราตั้งไว้มั่นแล้ว จักมีอารมณ์อย่างเดียว การประหารด้วยฝ่ามือ.... ด้วย ก้อนดิน.... ด้วยท่อนไม้.... ด้วยศัสตราทั้งหลาย จงเป็นไปในกายนี้เถิด คำสอนของพระพุทธเจ้า .... เราจะทำให้จงได้ดังนี้ ฯ ”

    มหาหัตถิปโทปมสูตร มู. ม. (๓๔๒)
    ตบ. ๑๒ : ๓๕๑ ตท.๑๒ : ๒๙๑
    ตอ. MLS. I : ๒๓๒
     
  13. korn95

    korn95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +2,226
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กุมภาพันธ์ 2014
  14. korn95

    korn95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +2,226
    [​IMG]
     
  15. korn95

    korn95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +2,226
    [​IMG]
     
  16. korn95

    korn95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +2,226
    039 อานิสงส์การเจริญภาวนา

    ปัญหา การอยู่ในโลกอันเต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวายนี้ บุคคลจะต้องได้รับการอบรมจิตพอสมควรจึงจะอยู่ได้อย่างสงบสุข พระผู้มีพระภาคทรงแนะวิธีอบรมจิตไว้อย่างไรบ้าง?

    พุทธดำรัสตอบ
    “... ดูก่อนราหุล เธอจงเจริญภาวนา (อบรมจิต) เสมอด้วยแผ่นดินเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้
    ดูก่อนราหุล เปรียบเหมือนคนทั้งหลายทิ้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือกบ้าง ลงที่แผ่นดิน แผ่นดินจะอึดอัด หรือระอา หรือเกลียดด้วยของนั้น ก็หาไม่ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินนั้น ฉันนั้นแล”

    “... ดูก่อนราหุล เธอจงเจริญภาวนาด้วยน้ำเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้... เปรียบเหมือนคนทั้งหลายล้างของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง ลงในน้ำ... น้ำจะอึดอัด หรือระอา หรือเกลียดด้วยของนั้น ก็หาไม่...”
    “... ดูก่อนราหุล เธอจงเจริญภาวนาด้วยลมเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยลมอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตของเธอได้... เปรียบเหมือนลม ย่อมพัดต้องของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง... ลมจะอึดอัด หรือระอา หรือเกลียดด้วยของนั้น ก็หาไม่...”

    “... ดูก่อนราหุล เธอจงเจริญภาวนาด้วยอากาศเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยอากาศอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้... เปรียบเหมือนอากาศไม่ตั้งอยู่ในที่ไหนๆ...”

    “... ดูก่อนราหุล เธอจงเจริญเมตตาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญเมตตาภาวนาอยู่ จักละพยาบาท (ความคิดจองล้าง) ได้ เธอจงเจริญกรุณาภาวนาเถิดเพราะเธอเมื่อเจริญกรุณาภาวนาอยู่ จักละวิหิงสา (ความคิดเบียดเบียน) ได้เธอจงเจริญมุทิตาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญมุทิตาภาวนาอยู่ จักละอรติ (ความอิจฉาตาร้อน) ได้ เธอจงเจริญอุเบกขาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอุเบกขาภาวนาอยู่ จักละปฏิฆะ (ความขุ่นเคือง) ได้ เธอจงเจริญอสุภภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอสุภภาวนาอยู่ จักละราคะ (ความกำหนัดยินดี) ได้เธอจงเจริญอนิจจสัญญาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอนิจจสัญญาภาวนาอยู่จักละอัสมิมานะ (ความถือตัวว่าเป็นเรา) ได้”

    มหาราหุโลวาทสูตร ม. ม. (๑๔๐-๑๔๕)
    ตบ. ๑๓ : ๑๓๘-๑๔๐ ตท.๑๓ : ๑๒๖-๑๒๘
    ตอ. MLS. II : ๙๔-๙๖
     
  17. korn95

    korn95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +2,226
    [​IMG]
     
  18. korn95

    korn95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +2,226
    [​IMG]
     
  19. korn95

    korn95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +2,226
    [​IMG]
     
  20. korn95

    korn95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +2,226
    026 กุญแจสู่มรรคผลและนิพพาน

    ปัญหา อะไรเป็นเครื่องมืออันสำคัญ ที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติได้ปุพเพนิวาสนุสสติญาณระลึกชาติก่อนได้ จุตูปปาตญาณ รู้จุติและอุบัติของสัตว์ ทั้งหลาย อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้หมดสิ้นไป?

    พุทธดำรัสตอบ “ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ภิกษุนั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก.... ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่อรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย..... ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ.... ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์นี้เหตุให้ทุกข์เกิด นี้ความดับทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ทางปฏิบัติเพื่อความดับอาสวะ....
    “เมื่อภิกษุรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวสาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่าพ้นแล้ว ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีฯ ”

    จูฬหัตถิปโทปมาสูตร มู. ม. (๓๓๖)
    ตบ. ๑๒ : ๓๔๖-๓๔๘ ตท.๑๒ : ๒๘๖-๒๘๘
    ตอ. MLS. I : ๒๒๘-๒๓๐
     

แชร์หน้านี้

Loading...