เพื่อการกุศล :::(เปิดจอง)ล็อกเกตพระแก้วมรกต"ภูริทัตตเถรานุสรณ์-สมเด็จองค์ปฐมอมฤตศุภมงคลญาณสังวร":::

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย dekdelta2, 13 พฤศจิกายน 2009.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 110 พระโพธิสัตว์ใหญ่ เทพเจ้าแห่งชาวมอญ

    [​IMG]
    พระราชอุดมมงคล
    หลวงพ่ออุตตมะ (เทพเจ้าของชาวมอญ)

    พระมหาอุตตมะรัมโภภิกขุ หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนามของ “หลวงพ่ออุตตมะ” พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดกาญจนบุรี ทั้งยังเป็นพระภิกษุสงฆ์ชาวมอญ ผู้มีบทบาทผู้นำคนสำคัญของชาวมอญพลัดถิ่นที่สังขละบุรี

    ประวัติหลวงพ่ออุตตมะ
    หลวงพ่ออุตตมะ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๔ ปีจอ จุลศักราช ๑๒๗๒ (พ.ศ. ๒๔๕๓) ที่หมู่บ้านโมกกะเนียง ตำบลเกลาสะ อำเภอเย จังหวัดมะละแหม่ง เป็นบุตรของนายโงและนางทองสุข อาชีพทำนา มีพี่น้องรวม ๑๒ คน เนื่องจากเป็นทารกเพศชายเกิดในวันอาทิตย์ จึงมีชื่อว่า “เอหม่อง”

    ปี พ.ศ. ๒๔๖๒ ขณะเด็กชายเอหม่องมีอายุได้ ๙ ขวบ เกิดอหิวาตกโรคระบาดขึ้นในหมู่บ้าน บิดามารดาจึงพาเด็กชายเอหม่องไปฝากกับพระอาจารย์นันทสาโรแห่งวัดโมกกะเนียงผู้เป็นลุงเพื่อให้ปรนนิบัติรับใช้และศึกษาพระธรรมเป็นเครื่องคุ้มครองจากโรคภัย เด็กชายเอหม่องเป็นผู้ใฝ่ใจในการศึกษาอย่างยิ่ง จนสามารถสอบได้ชนะเด็กในวัยเดียวกันเป็นประจำทุก ๆ ปี

    ปี พ.ศ. ๒๔๖๗ เด็กชายเอหม่องอายุได้ ๑๔ ปี เกิดอหิวาตกโรคระบาดครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ส่งผลให้ต้องสูญเสียน้องชายถึง ๕ คน เด็กชายเอหม่องจึงขอออกจากวัดโมกกะเนียงเพื่อมาช่วยเหลือทางบ้านด้วยความขยันขันแข็ง จนกระทั่งอายุ ๑๘ ปี เจ้าอาวาสวัดเกลาสะได้ไปขอกับบิดามารดาให้เด็กชายเอหม่องไปบรรพชาเป็นสามเณร

    หลวงพ่ออุตตมะ บรรพาเป็นสามเณร ณ วัดเกลาสะ ตำบลเกลาสะ อำเภอเย จังหวัดมะละแหม่ง เมื่อจุลศักราช ๑๒๙๑ (พ.ศ. ๒๔๗๒) โดยมีพระเกตุมาลาเป็นพระอุปัชฌาย์ ปีนั้นเอง หลวงพ่อศึกษาภาษาบาลี และพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมตรี อีกปีหนึ่งต่อมาสอบได้นักธรรมโท แต่ไม่นาน หลวงพ่อก็ตัดสินใจสึกออกมาเพราะเห็นว่าไม่มีใครช่วยบิดามารดาทำนา

    จนกระทั่งหม่องเอ ซึ่งเป็นลูกของพี่สาวของบิดา ได้มาอาศัยอยู่ด้วย หลังจากที่บิดามารดาของหม่องเอเสียชีวิตจนหมดสิ้น ซึ่งเท่ากับว่ามีคนมาช่วยแบ่งเบาภาระในการทำนา และมีญาติซึ่งไว้วางใจได้มาคอยดูแลบิดามารดา หลวงพ่ออุตตมะจึงตัดสินใจอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดเกลาสะ โดยมีพระเกตุมาลา วัดเกลาสะ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระนันทสาโร วัดโมกกะเนียง เป็นพระกรรมวาจารย์ พระวิสารทะ วัดเจ้าคะเล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้รับฉายาว่า “อุตตมรัมโภ” แปลว่า ผู้มีความพากเพียรอันสูงสุด” โดยหลวงพ่ออุตตมะได้ตั้งเจตจำนงที่จะบวชไม่สึกจนตลอดชีวิต

    ด้วยความพากเพียรและใฝ่ใจในการศึกษาพระธรรม ในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ หลวงพ่ออุตตมะ สามารถสอบได้ นักธรรมชั้นเอก ณ สำนักเรียนวัดปราสาททอง อำเภอเย จังหวัดมะละแหม่ง ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ สอบได้เปรียญธรรม ๘ ประโยค ที่สำนักเรียนวัดสุขการี อำเภอสะเทิม จังหวัดสะเทิม ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของคณะสงฆ์ในประเทศพม่า ขณะนั้น บ้านเมืองกำลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ หลวงพ่อจึงเดินทางกลับวัดเกลาสะ และได้รับมอบหมายให้เป็นอาจารย์สอนภาษาบาลีแก่ภิกษุสามเณร

    ต่อมาท่านก็ลาพระอุปัชฌาย์เดินทางไปศึกษาวิปัสนากรรมฐานที่วัดตองจอย จังหวัดมะละแหม่ง และวัดป่าเลไลย์ จังหวัดมัณฑะเลย์ จนมีความรู้ความสามารถในเรื่องวิปัสนากรรมฐานตลอดจนวิชาไสยศาสตร์และพุทธคมเป็นอย่างดี ปี พ.ศ. ๒๔๘๖ หลวงพ่อจึงเริ่มออกธุดงค์เพื่อหาประสบการณ์

    หลวงพ่ออุตตมะ ออกธุดงค์ไปตามที่ต่าง ๆ ในประเทศพม่า และเข้ามาประเทศไทยครั้งแรกทางจังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาทราบข่าวว่าพระเกตุมาลา พระอุปัชฌาย์กำลังอาพาธ จึงรีบเดินทางกลับพม่า จนกระทั่งพระเกตุมาลามรณภาพ ท่านก็ได้เดินทางเข้ามาประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง โดยครั้งนี้ หลวงพ่อเดินทางเข้ามาทางตำบลปิล็อก อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๒

    และใน ปี พ.ศ. ๒๔๙๒ อันเป็นพรรษาที่ ๑๖ ของพระมหาอุตตมะรัมโภ พายุไต้ฝุ่นพัดจากทะเลอันดามัน สร้างความเสียหายให้กับชาวบ้านอย่างใหญ่หลวง โดยเฉพาะบ้านโมกกะเนียง และเกลาสะ มีผู้เสียชีวิตมากกว่าร้อยคน บ้านเรือนเหลือเพียงไม่กี่หลังคาเรือน ชาวบ้านลำบากยากแค้นแสนสาหัส ข้าวของอาหารการกินขาดแคลนกันทั่วหน้า

    นอกจากภัยธรรมชาติแล้ว ชาวบ้านยังต้องประสบเคราะห์กรรมจากปัญหาความขัดแย้งในทางการเมืองอีกด้วย เนื่องจากการปะทะและต่อสู้ระหว่าง กองทหารของรัฐบาลพม่า กับกองกำลังติดอาวุธกู้ชาติ อีกทั้งกองกำลังกู้ชาติบางกลุ่มแปรตัวเองไปเป็นโจรปล้นสดมภ์ชาวบ้าน

    ด้วยความเบื่อหน่ายเรื่องการรบราฆ่าฟันกัน ระหว่างชนเผ่า หลวงพ่ออุตตมะ จึงตัดสินใจจากบ้านเกิด มุ่งหน้าสู่ดินแดนประเทศไทย เป้าหมายที่แท้จริงของท่านในเวลานั้น คือเขาพระวิหาร ปรากฏว่าเมื่อชาวบ้านรู้ข่าวต่างเสียใจ ไม่อยากให้ท่านจากไป พากันร้องไห้ระงมด้วยความอาลัย ซึ่งท่านได้ชี้แจงการออกเดินทางของท่านว่า
    “การไปของเราจะเป็นปรหิต เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น”

    หลวงพ่ออุตตมะ เดินทางเข้าเมืองไทยในช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๒-๒๔๙๓ ทางหมู่บ้านอีต่อง ตำบลปิล็อก ชายแดนเขตจังหวัดกาญจนบุรี โดยได้รับความช่วยเหลือจากคนไทยสองคน ซึ่งมีเชื้อสายมอญพระประแดงที่มาทำเหมืองแร่ที่บ้านอีต่อง ทั้งคู่ได้จัดบ้านพักหลังหนึ่งให้เป็นกุฏิชั่วคราวของหลวงพ่อ มีชาวเหมืองจำนวนมากมาทำบุญกับหลวงพ่อ เนื่องจากพื้นที่บริเวณนั้นไม่มีวัดและพระสงฆ์เลย

    เดิมทีนั้น คนไทยเชื้อสายมอญพระประแดงทั้งสอง ต้องการสร้างกุฏิถวายหลวงพ่ออุตตมะให้จำพรรษาอยู่ที่บ้านอีต่อง แต่หลวงพ่อไม่รับ เนื่องจากเกรงว่าจะกลายเป็นพระเถื่อนเข้าเมืองไทย ท่านจึงต้องการไปขออนุญาตจากพระผู้ใหญ่ที่ปกครองเขตปิล็อกเสียก่อน ทั้งสองจึงพาหลวงพ่ออุตตมะ มาจำพรรษาที่วัดท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี กับหลวงพ่อไตแนม ซึ่งเป็นชาวกะเหรี่ยงและอุปสมบทที่วัดเกลาสะเช่นเเดียวกับหลวงพ่ออุตตมะ

    ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ขณะจำพรรษาที่วัดท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี หลวงพ่ออุตตมะมีโอกาสไปสักการะพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ทำให้หลวงพ่อได้พบชาวไทยเชื้อสายมอญ ที่มาจากเมืองต่าง ๆ เช่น แม่กลอง สมุทรสาคร มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้นิมนต์หลวงพ่อ ไปจำพรรษาที่วัดบางปลา ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร

    หลังจากเดินทางกลับจากวัดบางปลา มาจำพรรษาที่วัดท่าขนุน หลวงพ่อไตแนมขอให้หลวงพ่ออุตตมะ ไปจำพรรษาที่วัดปรังกาสีซึ่งเป็นวัดร้าง บริเวณวัดปรังกาสีมีชาวกะเหรี่ยงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และบริเวณนั้นไม่มีพระหรือวัดอื่นเลย หลวงพ่อร่วมกับกำนันชาวกะเหรี่ยงนิมนต์พระกะเหรี่ยง จากตลอดแม่น้ำแควใหญ่และแควน้อยได้ ๔๒ รูป มาอยู่ปริวาสที่วัดปรังกาสี ๙ วัน ๙ คืน หลัง

    จากนั้นก็สร้างกุฏิและเจดีย์ขึ้น หลวงพ่ออุตตมะนิมนต์พระกะเหรี่ยงมาจำพรรษาที่วัด ๓ รูป ท่านสอนภาษามอญแก่พระทั้ง ๓ รูปนี้ เพื่อเป็นพื้นฐานในการสอนธรรมะต่อไป

    หลวงพ่ออุตตมะจำพรรษาอยู่วัดปรังกาสีหนึ่งพรรษา ต่อมาผู้ใหญ่ทุม จากท่าขนุนมานิมนต์หลวงพ่อไปเยี่ยมหลวงปู่แสงที่วัดเกาะ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ซึ่งเคยไปจำพรรษาที่วัดโมกกะเนียง เกลาสะ และมะละแหม่งมาก่อน และในพรรษานั้น หลวงพ่ออุตตมะได้จำพรรษาอยู่ที่วัดเกาะ ตามคำนิมนต์ของหลวงปู่แสง

    ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ขณะที่หลวงพ่อจำพรรษาอยู่ที่วัดเกาะ มีคนมาแจ้งข่าวแก่หลวงพ่อว่า ที่กิ่งอำเภอสังขละบุรีมีชาวมอญจากบ้านเดิมของหลวงพ่ออพยพเข้าเมืองไทย ทางบีคลี่เป็นจำนวนมาก และต้องการนิมนต์หลวงพ่อไปเยี่ยม เมื่อหลวงพ่ออุตตมะออกจากจำพรรษา แล้วเดินทางกลับไปยังอำเภอทองผาภูมิ และไปยังอำเภอสังขละบุรี และพบกับคนมอญทั้งหมดที่มาจากโมกกะเนียง เจ้าคะเล และมะละแหม่ง บ้านเกิดของท่าน หลวงพ่อจึงพาชาวมอญเหล่านี้ไปอาศัยอยู่ที่บ้านวังกะล่าง นับเป็นจุดกำเนิดแรกเริ่มของชุมชนชาวมอญในสังขละบุรี

    กำเนิดวัดหลวงพ่ออุตตมะ

    ในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ หลวงพ่ออุตตมะ ร่วมกับชาวบ้านที่เป็นชาวกะเหรี่ยงและชาวมอญได้พร้อมใจกันสร้างศาลาวัดขึ้น และสร้างเสร็จในเดือน ๖ ของปีนั้นเอง แต่เนื่องจากยังมิได้มีการขออนุญาตจากกรมการศาสนา วัดที่สร้างเสร็จจึงมีฐานะเป็นสำนักสงฆ์ แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกว่า “วัดหลวงพ่ออุตตมะ” ตั้งอยู่บนเนินสูงในบริเวณที่เรียกว่า “สามประสบ” เพราะมีแม่น้ำ ๓ สายไหลมาบรรจบกัน คือแม่น้ำซองกาเลีย แม่น้ำบีคลี่ และแม่น้ำรันตี

    ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ เมื่อได้รับอนุญาตจากกรมการศาสนาเป็นที่เรียบร้อย หลวงพ่ออุตตมะจึงได้ตั้งชื่อสำนักสงฆ์ตามชื่ออำเภอเก่า (อำเภอวังกะ) ว่า “วัดวังก์วิเวการาม”

    ในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ หลวงพ่อเริ่มสร้างพระอุโบสถวัดวังก์วิเวการามโดยปั้นอิฐเอง

    ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ หลวงพ่อได้เริ่มสร้างเจดีย์จำลองแบบจากเจดีย์พุทธคยาที่ประเทศอินเดีย และสร้างเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๒๙

    ตำแหน่งด้านการปกครองคณะสงฆ์และสมณศักดิ์

    ปี พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็นเจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม
    ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีสุวรรณาราม
    ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เป็นพระอุปัชฌาย์
    ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูอุดมสิทธาจารย์ ตำแหน่งเจ้าคณะตำบลชั้นโท
    ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นพระครูเจ้าคณะตำบลชั้นเอก
    ปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ที่ พระอุดมสังวรเถร
    ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็น พระราชอุดมมงคล


    ** หลวงพ่ออุตตะมะ มรณภาพวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๙ **

    [​IMG]


    หลวงพ่ออุตตมะท่านก็เป็นหนึ่งในตำนานของพระเกจิที่เข้าร่วมพุทธาภิเษกร่วมสมัยกับ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ขนาดผงว่าน 108 ที่หลวงปู่โต๊ะรวบรวมท่านทราบว่าถ้าหลังจากท่านละสังขารจะมีการแต่งกันวุ่นวายจึงให้ศิษย์มือซ้ายของหลวงพ่ออุตตมะมารับไป

    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย เมื่อพบกับหลวงพ่ออุตตมะครั้งใดจะก้มกราบหลวงพ่ออุตตมะก่อนเสมอ ท่านกล่าวกับศิษย์ของหลวงปู่มา วัดสันติวิเวก ว่า หลวงพ่ออุตตมะเป็นพระสำคัญ เป็นพระโพธิสัตว์ที่ได้รับการพยากรณ์แล้ว

    ฉะนั้นครูบาอาจารย์หลายรูป จึงเกรงใจหลวงพ่ออุตตมะกันมาก

    ผงนี้เป็นผงมหาจักรพรรดิ หลวงพ่ออุตตมะ ซึ่งนอกจากหลวงปู่ดู่จะเขียนแล้ว หลวงพอ่อุตตมะท่านก็เขีนยเหมือนกันตอนสมัยท่านอยู่ในถ้ำ โดยนำพระบุเรงนองหลังกบที่ชำรุดเสียส่วนมากมาเป็นส่วนผสม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 111 หลวงปู่อุดม ญาณรโต วัดป่าสถิตธรรมาราม


    ประวัติอะไรดูด้านบนแล้วกัน ผงนี้เป็นผงหัวเชื้อที่เหลือจากการสร้างพระผงรุ่นแรกของหลวงปู่อุดม ที่ลงในหนังสือพุทธามหาเวท ส่วนผสมหลักเป็นอังารครูบาอาจารย์สายกรรมฐานประมาณ 60 รูป รวมกับ เลือดของหลวงปู่ และไขสันหลังที่แปรสภาพเป็นพระธาตุที่หลวงปู่เข้ารับการผ่าตัด(น่าจะเป็น laminectomy)

    ผมจำได้ว่าผมเคยนำพระไปให้หลวงปู่ท่านอธิษฐานให้ หลังจากนั้น 1 วันกำลังเดินๆอยู่ในคณะ สวนกับพระองค์หนึ่ง เอ๊ะรู้สึกว่าท่านคุ้นๆ ว่ะ อุปัฏฐากก็คุ้นๆ กลายเป็นหลวงปู่อุมดนั้นเอง ท่านมากราบสมเด็จพระสังฆราชครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 112 ทรายเสก 7 เดือน บุตรบุญธรรม หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน

    [​IMG]

    ภูมิหลังชาติกำเนิด
    วันพุธ ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 5 พุทธศักราช 2441 ณ.บ้านไซโรงโขน อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร นายบุญนาค นางจ่าย แม่พริ้ง ได้ให้กำเนิดบุตรคนที่ 4 เพศชาย(ในจำนวนพี่น้องชายหญิง 8 คน) บิดามารดาได้ตั้งชื่อ เด็กชายทองดำ เม่นพริ้ง
    การศึกษา
    วัยเด็ก
    ขณะเด็กชายทองดำ อายุ 3 ขวบ บิดามารดาได้นำไปถวายเป็นบุตรบุญธรรมกับหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ (วัดบางคลาน จ.พิจิตร) หลวงพ่อเงินเห็นครั้งแรกได้เอ๋ยคำออกมา "ไอ้หนูเด็กน้อยคนนี้เป็นเทวดามาเกิด ใครเสี้ยงก็ไม่ได้ มาเป็นลูกของเราเถิดนะ" หลวงพ่อเงินเอาผ้าผืนลงปูรองรับเด็กน้อยคนนี้ ทำพิธีรับลูก
    จากนั้นเด็กคนนี้ได้รับการเลี้ยงดูอุปถัมภ์ สั่งสอน อบรม วิชาความรู้ และสรรพวิชาต่าง ๆ โดยได้พักอาศัยกับหลวงพ่อ เมื่อหลวงพ่อเงินเงินท่องบทสวดมนต์เด็กชายทองดำก็สามารถท่องได้จบเล่มในวันเดียว ชาวบ้านรู้ข่าวต่างแห่มาดูการใหญ่ว่าเด็กน้อยคนนี้มีหน้าตาอย่างไร
    กระทั่งโตขึ้นบิดามารดามารับเด็กชายทองดำไปเล่าเรียนศึกษากับอาจารย์โต (เจ้าอาวาสวัดท่าทอง ต.วังกะพี้ จ.อุตรดิตถ์ในสมัยนั้น)
    วัยหนุ่มฉกรรจ์
    นายทองดำได้ฝึกฝนและศึกษาศิลปะการต่อสู้แม่ไม้มวยไทยจนมีความชำนาญ จนได้เป็นนักมวยที่มีฝีมือดีคนหนึ่ง ซึ่งช่วงวัยหนุ่มนี้ทองดำได้เพื่อนคนหนึ่งชื่อ "เล็กย่งหลี"(ต้นตระกูลเล็กอุทัย)มีรูปร่างเล็กไปไหนไหด้วยกันประจำ ได้ฝึกชกมวยด้วยกันมา หากออกชกมวยที่ไหนจะให้เล็กย่งหลีขึ้นไปเปรียบหาคู่ชก แต่ตอนเวลาชกนายทองดำจะเป็นผู้ชกแทน ก่อนชกนายทองดำจะบริกรรมคาถาที่ได้ร่ำเรียนมาโยมปู่จนรู้สึกตัวหนา(ของขึ้น)และนายทองดำก็สามารถชกมวยชนะแทบทุกครั้ง
    อายุครบเกณฑ์ทหาร ได้เข้ารับเป็นทหาร 2 ปี ปลดจากทหารประจำการแล้วจึงได้อุปสมบทสู่ร่มพระศาสนา
    สู่ร่มพระศาสนา
    อุปสมบทเมื่ออายุ 22 ปี ณ. พระอุโบสถ วัดวังหมู ต.หาดกรวด อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ โดยมีพระครูวิเชียรปัญญามหามุนี (เรือง )เจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ เจ้าอาวาสวัดท่าถนน ต.ท่าอฐ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ ในขณะนั้นเป็นองค์อุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2463
    พระอาจารย์แส เจ้าอาวาสวัดวังหมู ต.หาดกรวด อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า
    “ฐิตวณโณ” เมื่ออุปสมบทแล้ว ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดท่าทอง 1 พรรษา ทางวัดท่าทอง ต.วังกะพี้ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ ตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลง คณะศรัทธา วัดท่าทองได้ลงความเห็นพ้องกัน โดยได้ไปกราบนมัสการเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อขออนุญาตจากเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ด้วยดี คณะศรัทธาให้”พระภิกษุทองดำ” เพื่อนิมนต์ให้ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดท่าทอง ซึ่งหลวงพ่อเองก็มีเจตนาอันบริสุทธิ์และจิตใจอันแน่วแน่ต่อพระพุทธศาสนาและเป็นโอกาสที่จะได้พัฒนาทำนุบำรุงเพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุงเรืองยิ่งขึ้นสมความตั้งใจ หลวงพ่อจึงรับภารกิจนิมนต์ครั้งนี้และย้ายมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดท่าทอง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2468เป็นต้นมา
    การศึกษาพระปริยัติธรรม
    การที่หลวงย้ายมาจากวัดท่าทองมาอยู่วัดท่าถนน ซึ่งเป็นวัดของพระอุปัชฌาย์ของท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่นั้น ด้วยความมุ่งมั่นที่จะศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างจริงจัง เพื่อศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับพระธรรมวินัยให้ละเอียดและถ่องแท้ หลวงปู่ได้มีความขยันเพียนตั้งใจศึกษาด้วยความวิริยะอุตสาหะภายในปีเดียวก็สอบได้นักธรรมตรี (พ.ศ.2466) ด้วยเหตุแห่งการศึกษาทางพระธรรมวินัยในสมัยนั้นยังไม่เจริญพอการศึกษามีเพียงชั้นนักธรรมตรีเท่านั้น ฉะนั้นการศึกษาของท่านต้องหยุดชะงักลง
    ตำแหน่งการปกครองและสมณศักดิ์ที่ได้รับตั้งแต่ปี พ.ศ.2468
    หลวงปู่มีตำแหน่งการปกครองคณะสงฆ์และสมณศักดิ์พัดยศดังนี้
    - ปีพ.ศ.2468 อายุ 27 ปี พรรษา 5 ดำลงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดท่าทอง
    - ปี พ.ศ.2478 ได้รับสมณศักดิ์แต่งตั้งเป็นพระธรรมธรฐานานุกรมของพระครูวิเชียรปัญญา มหามุณีศรีอุตรดิตถ์ เจ้าคณะอุตรดิถต์
    - ปี พ.ศ.2482 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะเป็นเจ้าคณะตำบลหาดกรวด-วังกะพี้ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์และในปีนั้นได้เลือนสมณศักดิ์แต่งตั้งเป็นพระปลัดฐานานุกรม ของพระครูธรรมสารโกวิทย์ (ยศ)เจ้าคณะแขวงเมืองอุตรดิตถ์
    - ปี พ.ศ. ได้รับการแต่งตั้งเป็นสาธารณูปการ อ.เมืองอุตรดิตถ์
    - ปี พ.ศ. 2487 ได้รับพระราชทานเป็นพระครูธรรมมาภรณ์ประสาท
    - ปี พ.ศ.2497 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์
    - ปี พ.ศ.2498 ได้รับการแต่งตั้งเป็นสาธารณูปการจังหวัดอุตรดิตถ์
    - ปี พ.ศ.2504 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชทานคณะชั้นสามัญนาม “พระนิมมานโกวิท”
    - ปี พ.ศ.2510 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นคณะอำเภอเมืองอุตรดิตถ์
    - ปี พ.ศ.2542 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จวบจนมรณภาพ
    การศึกษาด้านเวทย์มนต์คาถาอาคม
    ช่วยวัยเด็กหลวงปู่ได้ติดตามบิดาล่องเรือขายยาสูบระหว่างอุตรดิตถ์ จ.พิจิตร จ.นครสวรรค์ บิดามารดาได้ฝากเป็นเด็กวัด เรียนหนังสือกับหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ วัดบางคลาน จ.พิจิตร คอยรับใช้ใกล้ชิดท่านอนุญาตให้พักกุฎิเดียวกับท่าน หลวงพ่อเงินได้สอนสรรพวิชาอาคมไสยเวทต่าง ๆ คาถาที่หลวงพ่อเงินสอนไว้นั้นที่สำคัญคือ “นะโมพุทธายะ” (พระเจ้าห้าพระองค์) ซึ่งต่อมาหลวงปู่ได้ใช้เป็นคาถาประจำตัวของท่านตลออดมา นอกจากนั้นหลวงปู่ยังได้ศึกษาวิชาอาคมกับโยมปู่ของท่าน ซึ่งเป็นวิชาอยู่ยงคงกระพัน เพื่อป้องกันตนเอง หลวงปู่ได้ใช้วิชานี้ปลุกเศกตัวเองก่อนจะขึ้นชกมวยทุกครั้ง โดยก่อนจะขึ้นชกมวยหลวงปู่จะบริกรรมคาถาจนรู้สึกว่าเนื้อเริ่มหน่าขึ้น (ของชึ้น)จึงจะขกได้
    เมื่อขณะหลวงอุปสมบทแล้ว ได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดท่าถนน (วัดหลวงพ่อเพ็ชร)ซึ่งอยู่ในตัวเมืองอุตรดิตถ์ หลวงปู่ทราบทราบว่าที่วัดกลวงอยู่ห่างจากวัดท่าถนนทางทิศใต้ประมาณ 2 กโลเมตร มีพระภิกษุชราอยู่รูปหนึ่ง “หลวงพ่อทิม”ขาดการดูแลเอาใจใส่ หลวงปู่จึงได้ใช้เวลาว่างเดินทางจากวัดท่าถนนมาวัดกลางทุกวัน เพื่อปรนนิบัติรับใช้หลวงพ่อทิมด้วยจิตใจเมตตาและให้ความเคราพนับถึอ โดยหลวงปู่ได้ปฎิบัติภารกิจเป็นประจำทุกวัน ได้แก่ ตักน้ำ ขึ้นมาจากท่าแม่น้ำน่าน นำมาใส่ตุ่มไว้ให้หลวงพ่อทิมได้สรง เก็บกวาดกุฎิ ชำระล้างภาชนะต่าง ๆ ประจำมิขาด โดยหลวงมิได้หวังสิ่งค่าตอบแทนใดทั้งสิ้น แต่ทำไปเพราะจิตเมตตาแก่ภิกษุผู้สูงอายุโดยแท้ซึงจากการกระทำความดีของหลวงปู่ๆ ทำให้หลวงพ่อทิมซึ่งขณะนั้นไม่มีผู้ใดทราบเป็นมาหลวงพ่อทิม เป็นพระภิกษุเชี่ยวชาญมนต์คาถาทุกด้าน ซึ่งกิตติศัพท์ ชานบ้านย่านเกาะบางโพและตำบลใกล้เคียงทราบคือ “ตะกรุดโทน”
    ซึ่งหลวงพ่อปลุกเศกโดยดำลงน้ำจารอักขระบนแผ่นตะกรุดจนกว่าเสร็จ *น่าเสียดายวันหนึ่งมีมนุษย์ผู้เขลาด้วยปัญญา นำตะกรุดที่ท่านมอบไปผูกคอสุนัขและยิงสุนัข แต่ปาฎิหารย์กระสุนด้านหมด เมื่อหลวงพ่อทิมเห็นสุขันวิ่งหลบใต้กุฎิจึงถอดออกจากคอสุนัข ท่านโกรธจึงประกาศงดให้เครื่องรางของขลังแก่ชาวบ้าน หลวงปู่เมื่อได้รับมอบวิชาและตำราจากหลวงพ่อทิมไปแล้ว ท่านหมั่นศึกษาภาวนาปฎิบัติ ทุกบท ทุกวรรคตอน จนสิ้นกระบวนความในตำรา จนชาวบ้านเกาะต่างกล่าวกันว่าหลวงพ่อทิมไปเกิดที่วัดท่าทอง หลวงปู่ได้ใช้คาถาอาคมช่วยเหลือชาวบ้านตลอดมา ประพรมชาวบ้านที่แวะเวียนมากราบนมัสการท่าน ซึ่งน้ำมนต์นี้หลวงปู่จะปลุกเศกทุกวัน ใส่โองมังกรขนาดใหญ่
    [​IMG]


    องค์นี้ เคยนำเครื่องบิน 5 ลำ ของชาติพันธมิตรมาจอดที่ลานวัด

    องค์นี้ หลวงพ่อเกษม เขมโก บอกกับผู้ไปกราบว่าเก่งกว่าท่าน

    องค์นี้ หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ บอกศิษย์ว่า ท่านนั่ง 5 นาที จิตท่านไปถึงไหนต่อไหน กูตามท่านไม่ท่านด๊อก!!!


    ทรายเสก 7 เดือนนี้วางไว้ที่หน้าพระประธานในวิหาร โดยผ่านพุทธาภิเษก 2 ครั้ง ใน ปี 2545 และ หลวงพ่อทองดำวัดท่าทอง ได้อธิษฐานสวดมนต์ทุกวัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 113 ผงอิทธะเจสร้างสมเด็จอรหัง อายุกว่า 200 ปี

    พบในหม้อทำผงสมเด็จอรหัง จากพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน

    พระที่มีบารมีระดับสมเด็จพระสังฆราช ศิษย์ของสมเด็จพระพนรัตน์

    มีบารมีขนาดได้สืบทอดไม้เท้าเบิกไพรต้นวงศ์พระกรรมฐานของพระราหุล

    มีบารมีขนาดเป็นอาจารย์ของสมเด็จพระสังฆราชต้นวงศ์รัตนโกสินทร์ถึง 4 พระองค์

    เป็นอาจารย์สอนพระกรรมฐานแก่ สมเด็จโต พรหมรังสี

    [​IMG]

    ได้มาไม่มาก ใส่นิดเดียวนะครับ สำหรับพระรุ่นนี้ แต่จะไว้อุดสมเด็จองค์ปฐมที่คุณ krit eng99 สร้างเยอะหน่อย เพราะจะปิดด้วยพระจีวรพระราชทานของสมเด็จพระสังฆราชสุก ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 114 ข้าวก้นบาตร หลวงปู่หล้า วัดภูจ้อก้อ

    [​IMG]
    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

    หลวงปู่หล้า เขมปัตโต เกิดเมื่อ วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2454 ที่บ้านกุดสระ อำเภอหมากแข้ง จังหวัดอุดรธานี บิดาชื่อนายคูน เสวตร์วงศ์ มารดาชื่อ นางแพง เสวตร์วงศ์ เป็นบุตรคนสุดท้อง ในจำนวนพี่น้อง 8 คน อาชีพของครอบครัว คือ ทำนา ท่านศึกษาในโรงเรียนชั้นประถม ปีที่ 2 ก็ต้องออกมา ในวัยเยาว์ท่านได้มีโอกาสรับใช้พระธุดงค์ที่จาริกมา ในละแวกบ้านซึ่งมีส่วนช่วย หล่อหลอมจิตใจให้ใฝ่ในทางธรรม

    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

    เมื่ออายุได้ 18 ปี บวชเป็นเณร เมื่ออายุครบเกณฑ์ก็ได้บวชเป็นพระตามประเพณี จากนั้นก็ลาสิกขา มาครองเรือนได้ประสพความเป็นอนิจจัง ทุกขัง แห่งสังขาร และการพลัดพราก ครั้นปี พ.ศ.2486 บวชเป็นพระมหานิกายที่วัดบ้านยางมีพระครูคูณเป็นอุปัชฌาย์ พรรษาแรกก็สอบนักธรรมโทได้ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2488 ท่านได้ญัตติเข้าในคณะธรรมยุต ที่วัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) ครั้งเป็นพระเทพกวีเป็นอุปัชฌาย์ และให้ท่านไปพำนักฝึกการปฏิบัติกับหลวงปู่บุญมี ชลิตโต ที่วัดโพธิ์ชัย หนองน้ำเค็ม อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นวัดที่เจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ เคยอาราธนาท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ไปพำนักครั้งที่ท่านกลับจากเชียงใหม่ และหลวงปู่บุญมี เคยได้รับการศึกษาอบรมกับท่านพระอาจารย์มั่น และดำเนินปฏิปทาตามพระบุพพาจารย์ ถวายตัวต่อ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif]ออกพรรษาปี พ.ศ.2488 แล้ว ได้กราบลาหลวงปู่บุญมี วัดโพธิ์ชัย หนองน้ำเค็ม เพื่อไปนมัสการ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งมาพำนักที่วัดป่าบ้านหนองผือนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร พระหล้า เขมปัตโต ออกเดินทางด้วยเท้าค่ำไหนก็ปักกรดจำวัดได้แวะ พักบำเพ็ญความเพียรที่ถ้ำพระเวสก์อยู่ระยะหนึ่งจากนั้นก็ออกเดินทาง จุดหมายก็คือวัดป่าบ้านหนองผือนาใน ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาในกิตติศัพท์แห่งปฏิปทาบารมีธรรมของพระเดช พระคุณหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ทำให้พระหล้า เขมปัตโต อุสาหะ วิริยะ ดันด้นมาจนถึงสำนักป่าแห่งนี้ ความสงบร่มรื่นเป็นสัปปายะสถานแห่งผู้บำเพ็ญ สมณะกรรม โอกาสทองแห่งชีวิตก็มาถึงพระหล้า เขมปัตโต มีโอกาสเข้าไปกราบแทบเท้าท่านพระอาจารย์ใหญ่ สัจจะวาจาแห่งผู้กล้าเอ่ย "ขอมอบกายถวายชีวิตต่อพระอาจารย์ผูกขาดทุกลมปราณ " ท่ามกลาง คณะสงฆ์คณะศิษย์ที่อยู่ร่วมสำนัก อาทิ ท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน , พระอาจารย์วัน อุตตโม พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโน หลวงปู่มั่น ท่านเมตตาปฏิสันฐานบอกให้พระเณรนำบริขารไปที่กุฏิว่าง [/FONT]
    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif]เมื่อล่วงถึง 5 วัน ก็เข้าไปกราบเท้าขอนิสัยกับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต องค์ท่านก็ได้กรุณารับ การพำนักที่วัดป่าบ้านหนองผือนาใน พระหล้า เขมปัตโต ได้รับเมตตาจากท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน ให้คำแนะนำสั่งสอน ให้อุบายธรรมอันเป็นสิ่งที่ท่านจดจำสำนึกตลอดมา [/FONT]
    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif]ในพรรษาปี พ.ศ.2489 ท่านได้จำพรรษาเฝ้าฝึกศึกษาปฏิบัติธรรมกับท่านพระอาจารย์มั่นและถวาย การปฏิบัติครูอาจารย์ด้วยความเคารพ ณ วัดป่าบ้านหนองผือนาใน ซึ่งเป็นขุมคลังแห่งพุทธิปัญญา วิปัสสนากรรมฐานแห่งยุคสมัย และยังได้รับเมตตาธรรมจากพระเถราจารย์ ตลอดจนสหธรรมมิกร่วมสำนัก[/FONT]
    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif]หลังออกพรรษา ปี พ.ศ.2489 ได้ติดตามท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน ออกวิเวกไปตามป่าเขา ต่อมาได้มีโอกาสพบท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ที่ถ้ำบ้านไผ่ และท่านก็เมตตาช่วยเหลืออนุโมทนา ในกิจธุดงค์ด้วยดี เมื่อได้เวลาอันควรพระอาจารย์หล้า เขมปัตโต ก็เดินทางกลับมากราบ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าบ้านหนองผือนาใน และมีโอกาส ถวายการปฏิบัติรับใช้พ่อแม่ครูอาจารย์ ด้วยความเคารพศรัทธา กระทั่งปี พ.ศ. 2492 ได้บังเกิดเหตุที่นำความเศร้าสลดมาสู่พระอาจารย์หล้า เขมปัตโต อย่างใหญ่หลวงคือพระเดชพระคุณหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ผู้เปรียบประดุจร่มโพธิ์แก้วของท่าน ได้ละสังขาร จากโลกนี้ไปอย่างไม่มีวันกลับ คงเหลือไว้ซึ่งคุณูปการเอนกอนันต์แห่งธรรมและข้อวัตรปฏิบัติอันยอดเยี่ยม พระอาจารย์หล้า เขมปัตโต ได้รับเป็นภาระธุระในกิจน้อยใหญ่ โดยไม่เกี่ยงเพื่อบำเพ็ญกุศลถวายท่าน พระอาจารย์ใหญ่ ที่ตนมอบกายถวายชีวิตด้วยเศียรเกล้า [/FONT]
    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif]เมื่อถวายเพลิงสรีระหลวงปู่มั่น ภูริทัตโตแล้ว ท่านจึงติดตามหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ออกวิเวก และมีโอกาส ติดตามหลวงปู่เทสก์ลงไปทางใต้แถบจังหวัด ภูเก็ต-พังงา และจำพรรษาที่ 6 ที่ โคกกลอย พระอาจารย์หล้า ธุดงค์ไปในเกาะภูเก็ต พังงา และจังหวัดตรัง ช่วงระยะหนึ่งจึงกลับมา กรุงเทพฯ พักที่วัดบรมนิวาส 5-6 วันแล้วกลับไปอีสาน จุดหมายคือ วัดบ้านห้วยทราย (หรือวัดวิเวกวัฒนาราม) อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน ท่านพำนักอยู่ที่นี่ พระอาจารย์หล้า ได้พำนักร่วมกับ ท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน 3 พรรษา[/FONT]
    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif]ปลายปี พ.ศ.2500 ชาวบ้านบ้านแวงหนองสูงใต้ มากราบนิมนต์ ท่านไปพำนักที่ภูจ้อก้อ หลวงปู่หล้า เขมปัตโต จึงได้มาพำนักที่ ภูจ้อก้อ หรือวัดบรรพตคีรี ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา วัดบรรพตคีรี (ภูจ้อก้อ) บ้านแวง ตำบลหนองสูงใต้ อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ตั้งอยู่บนภูเขา ทิวทัศน์งดงามร่มรื่นมีก้อนหินน้อยใหญ่เรียงรายงดงาม ศาสนสถานแห่งนี้ หลวงปู่หล้า เขมปัตโต ท่านเป็นผู้นำศรัทธา ในการสร้างเพื่อถวายไว้เป็น ศาสนสมบัติ หลวงปู่หล้า เขมปัตโต ท่านเป็นพระธุดงคกรรมฐานที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรง ธรรมเทศนาของท่าน เป็นธรรมะพระป่าที่เข้มข้นตรงไปตรงมา [/FONT]
    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif]หลวงปู่หล้า เขมปัตโต ในปัจฉิมวัย ท่านอาพาธด้วยโรคาพยาธิ และในที่สุด ท่านมรณภาพ ด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2539 ก่อนมรณภาพ ท่านขอให้ตั้งศพบำเพ็ญกุศล เพียง 3 วัน จากนั้นให้ฌาปนกิจอย่างเรียบง่าย ชีวิตสมณะของหลวงปู่หล้า เขมปัตโต เป็นชีวิตพระป่า พระธุดงคกรรมฐานที่องอาจ กล้าหาญเด็ดเดี่ยว แต่นอบน้อมต่อครูอาจารย์ผู้มีพระคุณเป็นที่สุด[/FONT]
    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif]ธรรมโอวาท
    ๑. มุ่งดีในโลกีย์เป็นทางวนเวียน มุ่งดีในทางโลกุตตระเป็นทางพ้นทุกข์
    [/FONT]

    [​IMG]


    รูปแสดง มวลสาร
    - ข้าวก้นบาตร หลวงปู่หล้า เขมปัตโต
    - ข้าวก้นบาตร หลวงพ่อเกษม เขมโก
    - ไพลินพิธีอธิษฐานคุ้มเกล้า หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ผมมีเรื่องมาแจ้งท่านอีกเรื่องหนึ่งนะครับ

    คือ เรื่องหนังสือประกอบการจัดสร้าง ผมจะเขียนภายในปี 2554 นี้โดยจะ rewrite เนื้อหาและ sequece ทั้งหมด โดยจะจัดพิมพ์โดยการทำ plate และส่งโรงพิมพ์ อาจจะมีหน้าสีด้วย ทำให้ต้นทุนเพิ่มมหาศาล ผมจึงจะไม่ทำเอกสารให้ท่านแล้ว โดยจะทำหนังสือทีเดียวเลย โดยจะจำหน่ายราคาไม่สูงนัก (ท่านเห็นด้วยหรือไม่?) ถือว่าผมทำผิดสัญญาที่จะทำหนังสือประกอบการจัดสร้าง เนื่องจากเงินทั้งหมดที่โอนเข้าบัญชีกสิกรไทยผมถวายพระไปสร้างเจดีย์เหลือแค่ 12000 เศษ เท่านั้น เพราะฉะนั้นท่านใดมีความขับข้องใจสามารถสละสิทธิ์การจองโดยผมจะโอนเงินคืนให้ท่านเต็มจำนวนครับ

    หนังสือคงจะเขียนไม่ทันพุทธาภิเษกครั้งสุดท้าย ผมมีภาระมากมายต้องเรียน ทำงาน เขียนหนังสือหาเงินเองอีก 2-3 เล่ม แถมต้องเอาพระไปเสกเองอีก คนอื่นทำเค้ามีแต่ฝากไปเสก แต่ถ้าฝากเสกก็นู่นเลยเอาไปไว้ปลายสายสิญจน์ พระท่านไม่ได้เป่าลงปราณให้โดยตรงในพระ
    ขออภัยในความล่าช้าที่เกิดขึ้นทั้งปวง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 เมษายน 2011
  7. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    update ให้ฟังแบบติดสนามเลย

    เมื่อวานได้ปลุกเสกอีกหนึ่งองค์ องค์นี้เชิญเทพทั้งฝ่ายมหายานและเถรวาทมาเสกเต็มไปหมด หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี กับหลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อมก็น่าจะมา

    น 18+ ความเชื่อส่วนบุคคล กรุณาใช้วิจารณญาณในการรับชม
     
  8. jirayarn

    jirayarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,068
    ค่าพลัง:
    +4,290
    สนับสนุนต่อ ครับ ไม่สละสิทธิ์
     
  9. THANARATH 2010

    THANARATH 2010 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +1,721
    ผมเห็นด้วยครับคุณ dekdelta 2 ครับ จะได้เก็บไว้เป็นสิ่งมงคลประจำบ้านเรือนครับ
    และทำให้ทราบประวัติที่ถูกต้องในการสร้างที่แน่นอน มีหลักฐานอ้างอิงครบถ้วน สนับสนุนครับทำดีแล้วขอชมนะครับ แต่ว่าท่านต้องเหนื่อยขึ้นอีกหลายเท่านะครับขอมอบกำลังใจช่วยอีกแรงครับ ขอขอบคุณท่าน dekdelta 2 ที่มอบสิ่งดี ๆ ให้เพื่อนสมาชิกครับ
     
  10. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    ถ้าคุณตี้ต้องการนำพระไปที่เมืองเหนือวันนึ้ ช่วยนำพระมาก่อน17.00 น. ด้วย ถือว่าแจ้งแล้วน่ะครับ
     
  11. Fedor

    Fedor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2010
    โพสต์:
    197
    ค่าพลัง:
    +112
    เห็นด้วยในเรื่องทำหนังสือครับ

    เป็นกำลังใจให้ครับ
     
  12. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    UPDATE
    ล็อกเกตพระแก้วมรกต ผ่านการพุทธาภิเษกแล้วดังนี้
    พิธีพุทธาภิเษก-เทวาภิเษก-มังคลาภิเษก
    1. พิธีพุทธาภิเษกพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอินทาราม วันที่ 15 พ.ย. 2552
    2. พิธีพุทธาภิเษก พญาวานร วัดบางพลีน้อย วันที่ 29 พ.ย. 2552
    3. พิธีพุทธาภิเษก วัดบางแคน้อย จ.สมุทรสงคราม วันที่ 6 ธ.ค. 2552
    4. พิธีพุทธาภิเษก วัดบวรสถานมงคล(อดีตวัดพระแก้ววังหน้า) วันที่ 19 ธ.ค. 2552
    5. พิธีเจริญพระพุทธมนต์ทำบุญครบรอบมรณภาพหลวงปู่หลุย จันทสาโร วันที่ 19 ธ.ค. 2552
    6. พิธีมหาพุทธาเษก "โครงการสร้างพระในใจ เทิดไท้องค์ราชันย์" วัดโฆสมังคลาราม จ.นครพนม วันที่ 26-28 ธ.ค. 2552
    7. พิธีสวดสักขีและเจริญพระพุทธมนต์จากพระสุปฏิปันโนสายวัดป่ากรรมฐาน 92 รูป วัดธรรมมงคล วันที่ 10 มกราคม 2553 (ด้วยความกรุณาอย่างหาที่สุดไม่ได้ของท่านพระอาจารย์ไม อินทสิริ ถือนำเข้าพิธี)
    8. พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลจัดสร้างโดยโรงพยาบาลภูมิพล ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2553
    9. พิธีสมโภชน์และพุทธาภิเษกหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ณ วัดแคราชานุวาส จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553
    10. พิธีพุทธาภิเษก ที่วัดมหาวัน จังหวัดลำพูน ในวิหารโยงสายสิญจน์จากหน้าพระสิกขี(แม่พระรอด) วันที่ 26 มีนาคม 2553
    11. พิธีพุทธาภิเษกล็อกเกตพระแก้วมรกตภูริทัตตเถรานุสรณ์ วัดป่าสันติสามัคคีธรรม จังหวัดสุรินทร์ วันที่ 4 เมษายน 2553 พระเถราจารย์ที่เข้าร่วมพิธี

    - หลวงปู่ใสย ปัญญพโล วัดเขาถ้ำตำบล ประธานจุดเทียนชัย
    - หลวงตาเอียน วัดป่าโคกม่อน อริยเจ้าผู้เร้นกาย พระอาจารย์ของพระอาจารย์วัน อุตตโม ดับเทียนชัย
    - หลวงพ่อคูณ สุเมโธ วัดป่าภูทอง จ.อุดรธานี
    - พระอาจารย์ไม อินทสิริ
    - พระอาจารย์อุทัย วัดภูย่าอู่
    - หลวงปู่บุญมา วัดถ้ำโพงพาง จ.ชุมพร
    - พระอาจารย์แดง วัดลุมพินี จ.พังงา
    - หลวงปู่สุมโน วัดถ้ำสองตา
    - พระอธิการใจ วัดพระยาญาติ
    - หลวงปู่บุญมี วัดถ้ำเต่า
    ฯลฯ
    12. พิธีหล่อพระอัครสาวกและพระอรหันตสาวก วัดเขาวง(ถ้ำนารายณ์) อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี วันที่ 1 พ.ค. 2553 (เข้าพิธีเฉพาะพระปิดตาที่อุดหลัง)
    13. พิธีเจริญพระพุทธมนต์ในงานประจำปีของชมรมรักษ์พระธาตุแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ วันที่ 15 พฤษภาคม 2553
    14. พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลของวัดตาลเอน(วัดสาขาของวัดอัมพวัน สิงห์บุรี) จ.พระนครศรีอยุธยา วันที่ 20 ตุลาคม 2553
    15. พิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งชินบัญชรเพ็ชรกลับเหนือโลกและเหรียญหล่ออจิณไตย หลวงปู่ละมัย ฐิตมโน ณ คณะเวฬุวัน อ.พยุห์ จ.ศรีษะเกษ วันที่ 6 พ.ย. 2553
    16. พิธีพุทธาภิเษกพระปิดตาเมตตามหาลาภ วัดทุ่งเศรษฐี วันที่ 21 พ.ย. 2553(วันลอยกระทง)
    พระพรหมสุธี วัดสระเกศ ประธานจุดเทียนชัย
    เจริญจิตตภาวนาโดย
    พ่อท่านเลิบ วัดทองตุ่มน้อย จ.ชุมพร
    หลวงปู่ครูบาสิงโต วัดดอยแก้ว จ.เชียงใหม่
    หลวงพ่อนพวรรณ วัดเสนานิมิต จ.อยุธยา
    ครูบาคำเป็ง อาศรมสุขาวดี จ.กำแพงเพชร
    หลวงพ่อทอง วัดไร่กล้วย จ.ชลบุรี
    หลวงพ่อพูนทรัพย์ วัดอ่างศิลา จ.ชลบุรี
    หลวงปู่ปั้น วัดนาดี จ.สระบุรี
    หลวงพ่อเหลือ วัดขอนชะโงก จ.สระบุรี
    หลวงพ่อบุญ วัดทุ่งเหียง จ.ชลบุรี
    หลวงพ่อเจริญ วัดเกาะอุทการาม จ.นครราชสีมา
    พระครูคัมภีร์ปัญญาวิกรม วัดอรุณฯ กรุงเทพฯ
    พระครูญาณวิรัช วัดตะกล่ำ กรุงเทพฯ
    หลวงพ่อชวน วัดบ้านบึงเก่า จ.บุรีรัมย์
    พระมหาเนื่อง วัดราษฎร์บำรุง จ.ชลบุรี
    หลวงพ่อเณร ญาณวินโย วัดทุ่งเศรษฐี กรุงเทพฯ

    17. พิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรูป ณ เทศบาลตำบลสำโรงเหนือ วันที่ 4 ธันวาคม 2553 (หลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อ จุดเทียนชัย หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร ดับเทียนชัย)

    18. พิธีสวดบูชานพเคราะห์และพุทธาภิเษกท้าวเวสสุวรรณ ณ วัดจุฬามณี ต.บางช้าง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม วันที่ 26 ธันวาคม 2553 พระเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธี

    ๑. หลวงปู่คง วัดเขากลิ้ง จ.เพชรบุรี
    ๒. หลวงพ่อชุบ วัดวังกระแจะ จ.กาญจนบุรี
    ๓. หลวงปู่ยวง วัดโพธิ์ศรี จ.ราชบุรี
    ๔. หลวงพ่ออุดม วัดประทุมคณาวาส จ.สมุทรสงคราม
    ๕. หลวงพ่ออวยพร วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
    ๖. หลวงพ่อไพศาล วัดทรงธรรมวรวิหาร จ.สมุทรปราการ
    ๗. หลวงพ่อผล วัดหนองแขม จ.เพชรบุรี
    ๘. หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง จ.ปทุมธานี
    ๙. หลวงพ่อสิริ สิริวฒฺฑโน
    ๑๐. หลวงพ่อเมียน จ.บุรีรัมย์
    ๑๑. หลวงพ่ออิฏฐ์ วัดจุฬามณี


    19. พิธีพุทธาภิเษกเหรียญครบรอบอายุ 93 ปี หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ วันที่ 13 มกราคม 2554

    20. พิธีพุทธาภิเษกพระสามสมัย วัดประดู่บางจาก กรุงเทพฯ วันที่ 26 มีนาคม 2554

    21. พิธีมหาพุทธาภิเษก พระเจ้าใหญ่ิอินทร์แปลงรุ่นมหาบารมีโชคดีปลอดภัย ที่วัดมหาวนาราม(วัดป่าใหญ่) ต่อหน้าพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง
    นั่งปรกโดย
    1.หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู
    2.หลวงปู่ลี ถาวโร วัดผาสุการาม
    3.หลวงปู่อ่่อง วัดสิงหาญ
    4.หลวงพ่อบุญชู (ญาท่านเกษม) วัดเกษมสำราญ
    5.หลวงปู่คล้าย วัดบ้านกระเดียน
    6. หลวงปู่บุญรอด วัดกุดคูณ
    7. หลวงปู่เก่ง วัดกิตติราชเจริญศรี





    พิธีปลุกเสก/อธิษฐานจิตเดี่ยว
    เรียงตามวาระดังนี้
    1. พระใบฎีกายวง สุภัทโท วัดหน้าต่างใน อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา
    2. พระครูสมบูรณ์จริยธรรม(แม้น) วัดหน้าต่างนอก อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา
    3. พระครูประโชติธรรมวิจิตร(เพิ่ม) วัดป้อมแก้ว อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา (2 วาระ)
    4. พระครูสุวรรณศีลาธิคุณ(พูน) วัดบ้านแพน อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา
    5. พระมงคลนนทวุฒิ(เก๋) วัดปากน้ำ อ.เมือง จ.นนทบุรี
    6. พระครูเกษมวรกิจ(วิชัย) วัดถ้ำผาจม อ.แม่สาย จ.เชียงราย (2 วาระ)
    7. หลวงปู่คำบ่อ ฐิตปัญโญ วัดใหม่บ้านตาล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร (2 วาระ)
    8. พระราชวรคุณ(สมศักดิ์) วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์
    9. พระครูอุดมธรรมสุนทร(แปลง) วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร (2 วาระ)
    10. หลวงปู่เณรคำ(วิรพล) ขันติโก วัดป่าขันติธรรม อ.กัณทรารมย์ จ.ศรีษะเกษ
    11. พระอาจารย์สุมโน วัดถ้ำสองตา อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา (2 วาระ)
    12. หลวงปู่เนย สมจิตโต วัดโนนแสนคำ อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร
    13. หลวงปู่ผ่าน ปัญญาทีโป วัดป่าปทีปปุญญาราม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
    14. พระอาจารย์เจริญ ฐานยุตโต วัดโนนสว่าง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    15. หลวงปู่ครูบาดวงดี ยติโก วัดวุฒิราษฏร์(บ้านฟ่อน) อ.หางดง จ.เชียงใหม่ (2 วาระ)
    16. พระครูศีลพิลาศ(จันทร์แก้ว) วัดศรีสว่าง(วัวลาย) อ.หางดง จ.เชียงใหม่ (2 วาระ)
    17. พระครูวิสุทธิศีลสังวร(สาย) วัดร้องขุด อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
    18. หลวงปู่ดี ธัมมธีโร วัดเทพากร เขตบางพลัด กรุงเทพฯ (2 วาระ)
    19. พระครูปราสาทพรหมคุณ(หงษ์) สุสานทุ่งมน อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
    20. พระครูไพบูลย์สิกขการ(หวาน) วัดสะบ้าย้อย อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา
    21. พระราชสังวรญาณ(ไพบูลย์) วัดอนาลโย อ.เมือง จ.พะเยา (2 วาระ)
    22. หลวงปู่บุญมา คัมภีรธโร วัดป่าสีห์พนม อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร (4 วาระ)
    23. พระครูวิมลภาวนคุณ(คูณ) วัดป่าภูทอง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี (5 วาระ)
    24. หลวงพ่อเปรื่อง เขมปัญโญ วัดบางจาก อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
    25. หลวงปู่โปร่ง ปัญญธโร วัดตำหนักเหนือ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
    26. หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต สวนอาหารสวนทิพย์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
    27. พระครูปราโมทย์(อ้อน) วัดบางตะไนย์ อ.เมือง จ.ปทุมธานี
    28. หลวงพ่อสินธุ์ ฐิตาโก วัดสะพานสูง อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
    29. หลวงตาวาส สีลเตโช วัดสะพานสูง อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
    30. หลวงปู่อุดม ญาณรโต วัดป่าสถิตธรรมวนาราม อ.พรเจริญ จ.หนองคาย
    31. หลวงพ่อพระมหาวิบูลย์ วัดโพธิคุณ อ.แม่สอด จ.ตาก
    32. พระอาจารย์ประกอบบุญ สิริญาโณ วัดมหาวัน อ.เมือง จ.ลำพูน
    33. พระครูสุวรรณศาสนคุณ(นาม) วัดน้อยชมภู่ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี (3 วาระ)
    34. พระครูวิบูลโพธิธรรม(น่วม) วัดโพธิ์ศรีเจริญ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
    35. หลวงพ่อมนตรี ขันติธัมโม วัดป่าวิสุทธิธรรม อ.บ่อไร จ.ตราด
    36. พระครูวิสิษฐ์ชโลปการ(เกลี้ยง) วัดเนินสุทธาวาส อ.เมือง จ.ชลบุรี (2 วาระ)
    37. หลวงตาแตงอ่อน กัลยาณธัมโม วัดป่าโชคไพศาล อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร (2 วาระ)
    38. หลวงปู่วิไล เขมิโย วัดถ้ำพญาช้างเผือก อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ (4 วาระ)
    39. พระอาจารย์สมหมาย อัตตมโน วัดสันติกาวาส อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี
    40. หลวงปู่สรวง สิริปุญโญ วัดศรีฐานใน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร (2 วาระ)
    41. พระญาณสิทธาจารย์(ทองพูล) วัดสามัคคีอุปถัมป์(ภูกระแต) จ.บึงกาฬ
    42. หลวงปู่สำลี สุทธจิตโต วัดถ้ำคูหาวารี อ.วังสะพุง จ.เลย (2 วาระ)
    43. พระอาจารย์อุทัย สิริธโร วัดถ้ำพระภูวัว อ.เซกา จ.หนองคาย
    44. หลวงพ่อปริ่ง สิริจันโท วัดโพธิ์คอย อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
    45. พระครูประสิทธิ์ อัคคธัมโม วัดโฆสมังคลาราม อ.ปลาปาก จ.นครพนม
    46. หลวงปู่ครูบาตั๋น ปัญโญ ที่พักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่(2 วาระ)
    47. พระครูถาวรศีลพรต(อินถา) วัดอินทราพิบูลย์ อ.หางดง จ.เชียงใหม่
    48. พระครูโสภณสารคุณ(บุญมา) วัดศิริชัยนิมิตร อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่
    49. ครูบาบุญเป็ง คัมภีโร วัดทุ่งปูน อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
    50. หลวงปู่ครูบาสิงห์แก้ว อัตถกาโม วัดปางกอง อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่
    51. ครูบากฤษดา สุเมโธ วัดสันพระเจ้าแดง อ.บ้านธิ จ.ลำพูน
    52. หลวงปู่ครูบาบุญมา อนิญชิโต วัดบุปผาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่
    53. พระอุดมญาณโมลี(จันทร์ศรี) วัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี (อายุ 100 ปี)
    54. พระอาจารย์สมบูรณ์ กันตสีโล วัดป่าสมบูรณ์ธรรม อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก
    55. พระครูสันติวรญาณ(อ่ำ) ธุดงคสถานสันติวรญาณ อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์
    56. พระครูกิตติอุดมญาณ(ไม) วัดป่าหนองช้างคาว อ.กู่แก้ว จ.อุดรธานี (3 วาระ)
    57. พระครูวิทิตศาสนกิจ(ไพโรจน์) สำนักสงฆ์ดอยปุย อ.เมือง จ.เชียงใหม่
    58. หลวงปู่ประสาร สุมโน วัดป่าหนองไคร้ อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร (2 วาระ)
    59. หลวงปู่ลี ถาวโร วัดป่าหนองทับเรือ อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก (3 วาระ)
    60. พระเทพเจติยาจารย์(วิริยังค์) วัดธรรมมงคล เขตพระโขนง กรุงเทพฯ
    61. หลวงปู่บุญพิน กตปุญโญ วัดผาเทพนิมิต อ.นิคมน้ำอูน จ.สกลนคร
    62. พระราชสิทธิมงคล(สวัสดิ์) วัดศาลาปูนวรวิหาร อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
    63. พระสุนทรธรรมานุวัตร(เอียด) วัดไผ่ล้อม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา (ปลุกเสกขณะเกิดสุริยุปราคาเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2553)
    64. หลวงพ่อวงศ์ สุภาจาโร วัดคำพระองค์ กิ่ง อ.เฝ้าไร่ หนองคาย (2 วาระ)
    65. พระมงคลศีลจาร(ทองอินทร์) วัดกลางคลองสี่ อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี
    66. พระครูโสภณพัฒนาภิรม(บุญ) วัดทุ่งเหียง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี
    67. พระครูวิจิตรธรรมารัตน์(ขวัญชัย) วัดนามะตูม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี
    68. พระธรรมสิงหบุราจารย์(จรัญ) วัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี
    69. พระครูมงคลนวการ(ฉาบ) วัดศรีสาคร อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี
    70. หลวงพ่อเอิบ ฐิตตธัมโม วัดซุ้มกระต่าย (หนองหม้อแกง) อ.สรรพยา จ.ชัยนาท
    71. พระครูวิจิตรชยานุรักษ์(พร้า) วัดโคกดอกไม้ อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
    72. พระครูปัญญาวิมล(แป๋ว) วัดดาวเรือง อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี
    73. หลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน วัดป่าโสตถิผล อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
    74. พ่อท่านเอื้อม กตปุญโญ วัดสุวรรณจัตตุพลปัลนาราม(บางเนียน) อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช (อายุ 106 ปี)
    75. หลวงพ่อจำลอง เขมนัญโญ วัดเจดีย์แดง อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
    76. พระครูอนุศาสน์กิจจาทร(เขียว) วัดห้วยเงาะ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
    77. หลวงปู่เยี่ยม(สีโรจน์ ปิยธัมโม) วัดประดู่ทรงธรรม<!-- google_ad_section_end --> อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา (2 วาระ)
    78. พระครูประจักษ์ธรรมพิจารณ์(ข่าย) วัดหมูเปิ้ง อ.เมือง จ.ลำพูน
    79. พระครูบวรสุขบท(สุข) วัดป่าซางน้อย อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
    80. พระครูอรรถกิจจาธร(อุ่น) วัดโรงวัว อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
    81. หลวงปู่ครูบาบุญทา ยติกาโร วัดเจดีย์สามยอด อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
    82. พระครูโพธิโสภณ(ศรีวัย) วัดหนองเงือก อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
    83. หลวงพ่อผาด วัดบ้านกรวด จ.บุรีรัมย์(2 วาระ) (อายุ 100 ปี)
    84. หลวงพ่อพูลทรัพย์ วัดอ่างศิลา ชลบุรี
    85. หลวงปู่ใสย วัดเขาถ้ำตำบล ลพบุรี
    86. พระอาจารย์เจริญ วัดถ้ำปากเปียง เชียงใหม่(2 วาระ)
    87. พระอาจารย์อุทัย วัดภูย่าอู่ อุดรธานี(2 วาระ)
    88. หลวงพ่อบุญลือ วัดคำหยาด จ. อ่างทอง(2 วาระ)
    89. หลวงปู่ผาด วัดไร่้ จ.อ่างทอง
    90. หลวงพ่อเสียน วัดมะนาวหวาน จ.อ่างทอง(2 วาระ)
    91. หลวงปู่เปรี่ยม วัดบ้านคลองทรายเหนือ จ.สระแก้ว
    92. หลวงพ่อเณร วัดทุ่งเศรษฐี
    93. หลวงปู่ครูบาสิงห์โต วัดดอยแก้ว
    94. ครูบาเลิศ วัดทุ่งม่านใต้ ลำปาง
    95. ครูบาบุญมา วัดบ้านสา ลำปาง
    96. หลวงปู่ภัททันตะอาสภะมหาเถระอัครบัณฑิต วัดท่ามะโอ
    97. พระอาจารย์พรสิทธิ์ วัดสว่างอารมณ์<!-- google_ad_section_end -->
    98. หลวงพ่อสิน วัดละหารใหญ่ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง
    99. หลวงตาวรงคต วิริยธโร วัดถ้ำเมืองนะ จ.เชียงใหม่(อธิษฐานเฉพาะพระปิดตาที่ใช้อุดหลังล็อกเกต)
    100. หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี (2 วาระ)
    101. หลวงปู่อ่อง วัดสิงหาร จ.อุบลราชธานี<!-- google_ad_section_end -->
    102. หลวงพ่อแก่ วัดกล้วย พระนครศรีอยุธยา
    103. หลวงปู่ศรี วัดหน้าพระลาน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี
    104. หลวงพ่อผอง วัดพรหมยาม อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์
    105. หลวงปู่ละมัย ฐิตมโน สวนป่าสมุนไพร อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์(ไม่ทราบพรรษาแน่ชัด)
    106. หลวงปู่ปัญญา ปัญญาธโร วัดหนองผักหนามราษฎร์บำรุง อ.หนองใหญ่ จ. ชลบุรี (อายุ 106 ปี)
    107. หลวงปู่เรือง อาภัสโร ปูชนียสถานธรรมเขาสามยอด อ.เมือง จ.ลพบุรี
    108. หลวงพ่อสารันต์ วัดดงน้อย อ.เมือง จ.ลพบุรี<!-- google_ad_section_end -->
    109. หลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อ อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ
    110. พระครูปัญญาวราภรณ์(สมภาร) วัดป่าวิเวกพัฒนาราม อ.พรเจริญ หนองคาย
    111. พระครูธรรมสรคุณ (เขียน) วัดกระทิง อ.เขาคิชฌกูฎ จ.จันทบุรี
    112. พระญาณวิศิษฎ์(ทอง) วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
    113. พระครูอุดมภาวนาจารย์(ทองสุก) วัดอนาลโยพิทยาราม อ.เมือง จ.พะเยา
    114. พระราชภาวนาพินิจน์(สนธิ์) วัดพุทธบูชา เขตบางมด กรุงเทพฯ
    115. หลวงพ่อทองคำ กาญจวัณโณ วัดถ้ำบูชา อ.เซกา จ.หนองคาย
    116. พระครูอุดมวีรวัฒน์ (คูณ) วัดอุดมวารี อ.พาน จ.เชียงราย
    117. พระครูปัญญาธรรมวัฒน์ (อินทร) วัดสันป่ายางหลวง อ.เมือง จ.ลำพูน
    118. พระครูสุนธรธรรมโฆษิต(หลวงเตี่ยสุรเสียง) วัดป่าเลิงจาน อ.เมือง จ.มหาสารคาม
    119. หลวงพ่อบุญส่ง วัดทรงเมตตาราม อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
    120. พระอาจารย์เกษมสุข วัดประดู่ธรรมาธิปัตย์ เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ
    121. หลวงปู่เชิญ เทพนภา จ.สิงห์บุรี<!-- google_ad_section_end -->
    122. พระครูภาวนาวิรัชคุณ(คง) วัดเขากลิ้ง อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี
    123. หลวงพ่อผล วัดหนองแขม จ.เพชรบุรี
    124. หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง อ.บางกระดี่ จ.ปทุมธานี
    125. หลวงพ่อยวง วัดโพธิ์ศรี อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี
    <!-- google_ad_section_end -->126. หลวงปู่มหาเจิม วัดสระมงคล จ.นครปฐม
    127. หลวงปู่พุทธา พุทธจิตโต วัดป่าหนองยาว
    128. หลวงตาเก่ง ธนวโร วัดบ้านนาแก
    129. หลวงพ่อบุญรัตน์ วัดโขงขาว อ.หางดง จ.เชียงใหม่
    130. ครูบาอินตา วัดศาลา อ.หางดง จ.เชียงใหม่
    131. หลวงปู่ท่อน วัดศรีอภัยวัน จ.เลย<!-- google_ad_section_end -->
    132. หลวงปู่สิริ อคฺคสิริ วัดละหาร อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
    133. พระครูพิพิธชลธรรม (หลวงปู่หลาย) วัดนาจอมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
    134. พระครูสันติธรรมาภิรม(อ่อน รัตนวัณโณ)วัดสันต้นหวีด อ.เมือง จ.พะเยา
    135. พระครูอดุลปุญญาภิรม(ผัด) วัดหัวฝาย อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย
    136. หลวงปู่ครูบาครอง ขัตติโย สำนึกสงฆ์ท่าอุดม อ.เถิน จ.ลำปาง
    137. หลวงพ่อมหาสิงห์ วิสุทโธ วัดถ้ำป่าไผ่ อ.ลี้ จ.ลำพูน
    138. พระครูธรรมาธรเล็ก วัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
    139. หลวงปู่หลุย วัดราชโยธา เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ
    140. พระวิมลศีลาจาร (อำนวย) วัดบรมนิวาส เขตราชเทวี กรุงเทพฯ
    141. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์(มานิตย์) วัดสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ
    142. พระราชพิพัฒนาทร (ถาวร) วัดปทุมวนาราม เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
    143. หลวงพ่อสิริ สิริวัฒโน อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี
    144. หลวงปู่บู่ กิติญาโณ วัดสุมังคลาราม อ.เมือง จ.สกลนคร(ไม่ทราบพรรษาแน่ชัด)
    145. หลวงปู่สุธัมม์ ธัมมปาโล วัดเทพกัญญาราม อ.เมือง จ.สกลนคร
    146. พระครูโสภณสิริธรรม(สม) วัดโพธิ์ทอง อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง
    147. พระครูนิพัธธรรมรัต(เกลื่อน) วัดรางฉนวน อ.แสวงหา จ.อ่างทอง
    148. พระครูสิริบุญเขต(มี) วัดม่วงคัน อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง
    149. พ่อท่านเกลื่อน วัดประดู่หมู๋ (อายุ 104 ปี)
    150. พ่อท่านแก้ว วัดสะพานไม้แก่น (อายุ 100 ปี)
    151. พ่อท่านแสง วัดศิลาลอย
    152. พ่อท่านพรหม วัดพลานุภาพ
    153. พระอาจารย์ภัทร อริโย วัดนาทวี อ.นาทวี จ.สงขลา
    154. พระครูมนูญธรรมาภรณ์(อิ่นคำ) วัดมหาวัน อ.เมือง จ.เชียงใหม่
    155. ครูบาคำปัน ญาณเถระ วัดพระธาตุม่อนเปี๊ยะ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่
    156. หลวงปู่ชม ฐานคุตโต วัดป่าท่าสุด อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    157. หลวงปู่กวง โกสโร วัดป่านาบุญ อ.แม่งแตง จ.เชียงใหม่
    158. พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดป่าอรัญญวิเวก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    159. หลวงปู่สังข์ สังกิจโจ วัดป่าอาจารย์ตื้อ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    160. พระอธิการเสน่ห์ จันทสโร วัดเชียงขาง อ.สารภี จ.เชียงใหม่
    161. พระราชพุทธิมงคล(ทองบัว) วัดโรงธรรมสามัคคี อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่
    162. ครูบาน้อย เตชปัญโญ วัดศรีดอนมูล อ.สารภี จ.เชียงใหม่
    163. พระครูอุดมวิริยกิจ(แสง) วัดป่าฤกษ์อุดม อ.ปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ
    164. พระครูเกษมธรรมานุวัตร(ญาท่านเกษม) วัดเกษมสำราญ อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี
    165. หลวงปู่คล้าย อธิเตโช วัดราษฎร์นิยม(บ้านกระเดียน) อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี
    166. หลวงปู่จูมณี กังขามุตโต วัดธรรมรังสี อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี
    167. หลวงปู่บรรยงค์ ทัสสะนะธัมโม วัดสว่างวารี(วัดตุงลุง) อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี
    168. พระครูพิบูลธรรมภาณ(โชติ) วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
    169. พระครูโกวิทพัฒโนดม(เกลี้ยง) วัดบ้านโนนแกด อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ (อายุ 104 ปี)
    170. หลวงปู่พา อธิวโร วัดบัวระรมย์ อ.น้ำเกลี้ยง จ.ศรีสะเกษ
    171. พระครูโสภณจันทรังสี(เพ็ง) วัดโพธิ์ศรีละทาย อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ
    172. หลวงปู่ญาท่านโทน ขันติโก วัดบ้านพับ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
    173. หลวงปู่แสง ญาณวโร วัดป่าภูติศษา อ.ปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ
    174. หลวงปู่มหาคำแดง ฐานะทัตโต วัดคำภีราวาส อ.ตระการพืขผล จ.อุบลราชธานี
    175. สมเด็จพระพุฒาจารย์(เกี่ยว) วัดสระเกศวรมหาวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพฯ
    176. หลวงพ่อบุญมี ปภัสโร วัดสระเกศวรมหาวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพฯ (ศิษย์เอกหลวงปู่สังข์ วัดนากันตม)
    177. พระอาจารย์(ปิดตัว) อาจารย์สายวิชาการเล่นแร่แปรธาตุ เสกด้วยโองการพระเจ้าประชุมธาตุ เรียกปราณในอากาศมาสถิตในองค์พระ
    178. พระสมณธรรมสมาธิวัตร(เย็นเต็ก) วัดโพธิ์แมนคุณาราม เขตยานนาวา กรุงเทพฯ เจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย
    179. หลวงปู่มหาปลอด ติสสเทโว วัดโพธิ์นิมิต เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
    180. หลวงปู่พิศดู ธัมมจารี วัดเทพธารทอง กิ่งอ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี
    181. หลวงปู่แสวง อมโร วัดป่าชัยวารินทร์ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น (อดีตชีปะขาวติดตามหลวงปู่มั่น)
    182. หลวงปู่ถวิล สุจิณโณ สำนักสงฆ์สุจิณโณ อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น
    183. หลวงปู่ลี กุสลธโร วัดภูผาแดง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    184. หลวงปู่ฮ้อ วัดป่าสวนหม่อน อ.เมือง จ.ขอนแก่น
    185. หลวงปู่มหาโส กัสสโป วัดป่าคำแคนเหนือ อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น
    186. พระครูโสภิตวิริยาภรณ์(อิฏฐ์) วัดจุฬามณี อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม
    187. หลวงพ่อจำเนียร สีลเสฏโฐ วัดถ้ำเสือวิปัสสนา อ.เมือง จ.กระบี่
    188. พระเทพวิทยาคม(คูณ) วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา
    189. พระครูพิชิตธีรคุณ(ธีร์) วัดจันทราวาส อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์
    190. หลวงปู่เที่ยง ปภังกโร วัดพระพุทธบาทเขากระโดง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์
    191. หลวงปู่พวง ธัมมสาโรส วัดโคกตาสิงห์ อ.เมือง จ.บุรีรัมย์
    192. พระครูวิสุทธิสีลากร(เส็ง) วัดปราสาทเยอร์ใต้ อ.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ
    193. พระครูภัทรธรรมพิบูล(สอน) วัดหลวง อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี (อธิษฐานต่อหน้าองค์พระแก้วไพฑูรย์)
    194. หลวงปู่สี สิริญาโณ วัดป่าศรีมงคล อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี (ศิษย์ที่มีพรรษาสูงสุดของหลวงพ่อชา สุภัทโท)



    รายนามอุบาสก-อุบาสิกาอธิษฐานจิตเชิญบารมีคุณพระรัตนตรัย

    1. อ.ธรรมนูญ บุญธรรม สำนักบัวแปดกลีบ อัญเชิญคุณบารมีพระแก้วมรกตและครูบาอาจารย์มาประสิทธิ์
    2. อ.ชินพร สุขสถิตย์ มูลนิธิหลวงปู่ทิม อิสริโก อัญเชิญเทพ พรหม เทวดา ครูบาอาจารย์อันมีหลวงปู่ทิม เป็นที่สุด
    3. อ.ศุภรัตน์ แสงจันทร์ อาศรมโพธิสัตว์ม่อนแก้ว อธิษฐานนำพระไปถวายสมเด็จองค์ปฐมครอบวิมานแก้ว
    4. ยายชีนวล วัดภูฆ้องคำ อายุ 100 ปี ศิษย์ที่ทันสำเร็จลุน <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 เมษายน 2011
  13. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ว่างวันไหนจะเล่าเรื่อง

    พระองค์หนึ่งที่ปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ท่านห้ามถ่ายรูปทุกกรณี ท่านเป็นสหธรรมิกรุ่นน้องหลวงปู่ฝั้น มีพลังจิตสูงมาก มีรายชื่อในนามอธิษฐานจิตแล้ว

    พระองค์หนึ่งท่านชอบอธิษฐานไฉ่ชิงเอี้ย แต่จริงๆแล้วท่านมีญาณบารมี ของเทพนาจา พอสัมผัสกับญาณบารมีของพระโพธิสัตว์กวนอิมจึงเมตตาอธิษฐานแบบเต็มสูตร ลูกศิษย์ถึงกับงง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 เมษายน 2011
  14. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    Update เรื่องสำคัญอีกเรื่องนะครับ เจดีย์ภูริทัตตเถรานุสรณ์ สร้างเสร็จ 98 % ด้วยเงินส่วนหนึ่งจากการทำบุญของทุกท่าน อนุโมทนาบุญด้วยครับ ปลายปีทางวัดจะนิมนต์ หลวงปู่บุญมี วัดป่านาคูณ หลวงปู่ลี วัดภูผาแดง ฯลฯ มาในงานฉลองพระเจดีย์ด้วยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 เมษายน 2011
  15. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    [​IMG]

    ล็อกเกตพระอาจารย์มั่น ที่ผมได้ถวายมวลสารไปส่วนหนึ่ง และได้ขอกลับมาส่วนหนึ่ง ราคาจองบูชา 1000 บาท ล่าสุดอยู่ที่ 4000 บาทในระยะเวลาเดือนเศษ

    ล็อกเกตรุ่นนี้ปลุกเสกโดย หลวงพ่อประสิทธิ์ หลวงปู่สังข์ หลวงปู่ชม หลวงปู่ทองบัว หลวงพ่อบัวเกตุ ยังราคาขนาดนี้
    ไม่อยากคิดว่าล็อกเกตพระแก้วมรกตที่จำนวนสร้างน้อยกว่า ปลุกเสกอธิษฐานมากกว่าแถมนอกจากสายหลวงปู่มั่นแล้ว ยังมีศิษย์สายล้านนา พระเวทย์วัดประดู่ทรงธรรม สายเขาอ้อ สายโพธิสัตว์มหายาน สายสำเร็จลุน สายลังกาสุกะ สายไสยศาสตร์พม่า สายเขมร และต่อไปจะมีครูบาอาจารย์ที่เป็นศิษย์นอกและในดงของหลวงปู่เทพโลกอุดรเสกไม่ต่ำกว่า 5 องค์ จะดีดราคาถึงขนาดไหน แต่ถ้าขายไปแล้วก็หาไม่ได้แล้วนะครับ เพราะจะหาคนที่โง่และบ้าแบบผม นี่ไม่ได้มีง่ายๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 เมษายน 2011
  16. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    ในบรรดาพระกรรมฐานมีท่านเล่านึ้ที่อยากจะนำล็อกเก็ตไปให้ท่านอฐิธาน ตอนนึ้ทุนทรัพทย์ในการอฐิธานจิตล็อกเก็ตภูริทัตไม่พอแล้ว ใครจะเมตตาพาไปจะกราบขอบพระคุณอย่างยิ่ง
    1.ท่านพ่อเมือง กาสินธุ์ พระโพธิสัตว์ผู้มากไปด้วยพลัังจิต
    2.หลวงปู่สาย วัดป่าพรหมวิหาร พระอรหันต์ทรงอภิญญาสมาบัติ
    3.พระอาจารย์จันทร์เรียน คุณวโร หลวงปู่เจี๊ยะบอกว่า ฤทธิ์มากกว่าหลวงปู่ฝั่น
    4.พระอาจารย์สุวัฒน์ อาจาโร พระอรหันต์ที่หลวงตายกย่องว่า มีตบะและฤทธิ์อันดับ 1 ของภาคเหนือ ตอนงานวัดอโศการาม หลวงตาไม่ยอมให้ท่านอาจารย์สุวัฒน์กราบ (ถ้าอาจารย์โสและอาจารย์จันทร์เรียนอฐิธานจิตพระรุ่นนึ้ พระจะเป็น ใน แผ่นดิน)
    5.ท่านพระอาจารย์ประสิทธิ์ ปุญญามากโร พระอรหันต์ผู้ทรงคุณวิเศษองค์หนึ่ง เล็บแปรสภาพเป็นพระธาตุ
    6.ท่านพระอาจารย์อัครเดช(ตั๋น) ถีรจิตโต พระอรหันต์ที่หลวงตาและหลวงปู่พิศดู พยากรณ์ว่า จะเป็นผู้นำกองทัพธรรมทางฝ่ายตะวันออก
    7.ท่านพระอาจารย์สมกอง ญาณาสโย วัดด่านนกเขียน พระอริยะเจ้าที่ปิดตัวมานานนับ 20 ปี(วัตถุมงคลท่านปืนยิงไม่ออก)
    8.หลวงปู่ผาง โกสโล วัดภูหินแตก อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร(ท่านทรงปรจิตวิชามากๆถามท่านชิดชัยได้๗
    9.ท่านพระอาจารย์สุรจิต สุรจิตโค วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี พระอรหันต์ที่หลวงพ่อฤาษีรับรองว่าเป็นพระอรหันต์องค์ที่ 2 ของวัดท่าซุงต่อจากท่าน(ให้ท่านเมตตาอัญเชิญบารมีพระให้)
    10.ท่านพระอาจารย์ครูบาอินสม สุวีโร พระอรหันต์ผู้ทรงเตโชกสิน

    ผมคิดว่า 10 องค์ ถ้าครบหมด ต่อให้เหรียญพระแก้วมรกตหมดห่วงก็สู้ไม่ได้ครับ
     
  17. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    10 องค์นี้น่าจะได้อธิษฐานประมาณ 5 องค์

    ส่วนในสายวิทยายุทธนั้น องค์ที่น่าจะได้เสกคือ

    1. หลวงตาเร่ง วัดดงแขวน ประสบการณ์ตกตึกแล้วลุกขึ้นมาเฉยไม่เป็นอะไร ปืนยิงแล้วปืนแตก

    2. หลวงปู่ชม วัดสามัคคี มีคนนำไซให้ท่านเสก ท่านไม่ยอมเสกชวนคุยเรื่องเสื้อเหลืองเสื้อแดง คนไปกราบเลยไม่ศรัทธาพอเอาไปเช็ครังสีออร่าพบว่า สว่างไสวกว่าเกจิองค์ใดๆในแผ่นดิน

    3. หลวงปู่สนธิ์ วัดอรัญวาโพธิ์ องค์นี้ท่านสื่อๆมาบอกแล้วนะครับว่าต้องไปให้ได้ ท่านปลุกเสกร่วมยุคตั้งแต่สมัยหลวงปู่ฝั้น หลวงปู่ขาว หลวงปู่ดูลย์ เป็นศิษย์ญาคูสีทัตต์องค์สุดท้าย ถ้าไม่เก่งไม่มีเหรียญ 70 กว่ารุ่น แจกสมัยคอมมิวนิสต์

    4. หลวงปู่ขาว พุทธรักขิตโต ผู้สัมผัสถึงหลวงปู่เทพโลกอุดร

    5. หลวงพ่อมาลัย วัดบางหญ้าแพรก recommend โดยหลวงปู่ขาว ว่า พระมอญองค์นี้เก่งมหาอุตม์จนน่าตกใจเลยว่ะ

    6. หลวงปู่หุน วัดบางผึ้ง ชอบๆใจดี และมีวิชาอธิษฐานทางโภคทรัพย์

    7. หลวงพ่ออุดม วัดประทุมฯ องค์นี้มีวิชาแมงมุมดักทรัพย์ที่เฉียบขาด มีบุคคลสำคัญเสด็จมาเป็นการส่วนพระองค์

    8. หลวงปู่โสฬส วัดโคกอู่ทอง

    9. หลวงพ่อเสน่ห์ วัดพันสี ท่านเสกพระและตะกรุดจะเสกจนถึงเข้ากระดูกดำ ถ้าไม่เก่งเหรียญรุ่นแรกท่านจะไม่ออกตั้งแต่ 40 ปีที่แล้ว

    10. หลวงปู่... องค์นี้หลวงปู่บุญมี วัดสระประสานสุขและญาท่านสวน วัดนาอุดม ถ้าจะจัดพุทธาภิเษกจะต้องเชิญท่านมาร่วมทุกครั้ง เป็นอันขาดไม่ได้

    11. หลวงปู่กินเจี้ยวมหาเถระ เจ้าคณะใหญ่อานัมนิกาย เชิญญาณบารมีโพธิสัตว์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 เมษายน 2011
  18. Shinray01

    Shinray01 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,675
    ค่าพลัง:
    +2,310
    ถ้าหลวงพ่อมาลัย วัดบางหญ้าแพรกผมเคยได้ยินว่าเป็นอาจารย์ของตี๋ใหญ่นะครับ
     
  19. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    วันที่ 9 เมษายน 2554 เวลาประมาณ 7.30 น. พระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทโธ) ปลุกเสกอธิษฐานจิต คุณ Farren เล่าว่าท่านมองตั้งนาน ตั้งแต่ท่านเดินออกกำลังกายแล้ว
     
  20. ตุลวรรธนะ

    ตุลวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    406
    ค่าพลัง:
    +3,460
    เห็นด้วยในเรื่องทำหนังสือครับ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...