เพื่อการกุศล :::(เปิดจอง)ล็อกเกตพระแก้วมรกต"ภูริทัตตเถรานุสรณ์-สมเด็จองค์ปฐมอมฤตศุภมงคลญาณสังวร":::

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย dekdelta2, 13 พฤศจิกายน 2009.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ใบลาน

    สมบัติของพระภาวนาโกศลเถระ(เอี่ยม) พระอาจารย์ในสมเด็จพระปิยมหาราช
    เพิ่งไปอัญเชิญจากวัดโคนอนมา

    ว่างๆเดี๋ยวมาพิมพ์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0829.JPG
      IMG_0829.JPG
      ขนาดไฟล์:
      293.8 KB
      เปิดดู:
      409
  2. ตุลวรรธนะ

    ตุลวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    406
    ค่าพลัง:
    +3,460

    วันที่ 31/03/54 โอนเงินร่วมทำบุญ
    (ลำดับที่ 86) ฉากสีเขียว 1 องค์ 1,501 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • scb slip 2.jpg
      scb slip 2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      19.8 KB
      เปิดดู:
      126
  3. ทำความดี

    ทำความดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    550
    ค่าพลัง:
    +2,036
    ลำดับที่ 93 ทำความดี โอนแล้วนะครับ จำนวน 1500.41 วันที่ 31/03/11 เวลา 20.23
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC06082.JPG
      DSC06082.JPG
      ขนาดไฟล์:
      369.6 KB
      เปิดดู:
      155
  4. THANARATH 2010

    THANARATH 2010 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +1,721
    โอนให้เรียบร้อยแล้วครับวันนี้ 31/03/11 เวลา 19.19 เข้า บ/ช 630-2-12573-0
    จำนวน 1,500.99 บาท. ขอขอบคุณมากครับ และถ้ามีคนสละสิทธิ์ขอจองเพิ่มอีกนะครับถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไรครับ...ขอขอบคุณอีกครั้งครับคุณสุรเชษฐ์.......
     
  5. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    UPDATE
    ล็อกเกตพระแก้วมรกต ผ่านการพุทธาภิเษกแล้วดังนี้
    พิธีพุทธาภิเษก-เทวาภิเษก-มังคลาภิเษก
    1. พิธีพุทธาภิเษกพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอินทาราม วันที่ 15 พ.ย. 2552
    2. พิธีพุทธาภิเษก พญาวานร วัดบางพลีน้อย วันที่ 29 พ.ย. 2552
    3. พิธีพุทธาภิเษก วัดบางแคน้อย จ.สมุทรสงคราม วันที่ 6 ธ.ค. 2552
    4. พิธีพุทธาภิเษก วัดบวรสถานมงคล(อดีตวัดพระแก้ววังหน้า) วันที่ 19 ธ.ค. 2552
    5. พิธีเจริญพระพุทธมนต์ทำบุญครบรอบมรณภาพหลวงปู่หลุย จันทสาโร วันที่ 19 ธ.ค. 2552
    6. พิธีมหาพุทธาเษก "โครงการสร้างพระในใจ เทิดไท้องค์ราชันย์" วัดโฆสมังคลาราม จ.นครพนม วันที่ 26-28 ธ.ค. 2552
    7. พิธีสวดสักขีและเจริญพระพุทธมนต์จากพระสุปฏิปันโนสายวัดป่ากรรมฐาน 92 รูป วัดธรรมมงคล วันที่ 10 มกราคม 2553 (ด้วยความกรุณาอย่างหาที่สุดไม่ได้ของท่านพระอาจารย์ไม อินทสิริ ถือนำเข้าพิธี)
    8. พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลจัดสร้างโดยโรงพยาบาลภูมิพล ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2553
    9. พิธีสมโภชน์และพุทธาภิเษกหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ณ วัดแคราชานุวาส จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553
    10. พิธีพุทธาภิเษก ที่วัดมหาวัน จังหวัดลำพูน ในวิหารโยงสายสิญจน์จากหน้าพระสิกขี(แม่พระรอด) วันที่ 26 มีนาคม 2553
    11. พิธีพุทธาภิเษกล็อกเกตพระแก้วมรกตภูริทัตตเถรานุสรณ์ วัดป่าสันติสามัคคีธรรม จังหวัดสุรินทร์ วันที่ 4 เมษายน 2553 พระเถราจารย์ที่เข้าร่วมพิธี

    - หลวงปู่ใสย ปัญญพโล วัดเขาถ้ำตำบล ประธานจุดเทียนชัย
    - หลวงตาเอียน วัดป่าโคกม่อน อริยเจ้าผู้เร้นกาย พระอาจารย์ของพระอาจารย์วัน อุตตโม ดับเทียนชัย
    - หลวงพ่อคูณ สุเมโธ วัดป่าภูทอง จ.อุดรธานี
    - พระอาจารย์ไม อินทสิริ
    - พระอาจารย์อุทัย วัดภูย่าอู่
    - หลวงปู่บุญมา วัดถ้ำโพงพาง จ.ชุมพร
    - พระอาจารย์แดง วัดลุมพินี จ.พังงา
    - หลวงปู่สุมโน วัดถ้ำสองตา
    - พระอธิการใจ วัดพระยาญาติ
    - หลวงปู่บุญมี วัดถ้ำเต่า
    ฯลฯ
    12. พิธีหล่อพระอัครสาวกและพระอรหันตสาวก วัดเขาวง(ถ้ำนารายณ์) อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี วันที่ 1 พ.ค. 2553 (เข้าพิธีเฉพาะพระปิดตาที่อุดหลัง)
    13. พิธีเจริญพระพุทธมนต์ในงานประจำปีของชมรมรักษ์พระธาตุแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ วันที่ 15 พฤษภาคม 2553
    14. พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลของวัดตาลเอน(วัดสาขาของวัดอัมพวัน สิงห์บุรี) จ.พระนครศรีอยุธยา วันที่ 20 ตุลาคม 2553
    15. พิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งชินบัญชรเพ็ชรกลับเหนือโลกและเหรียญหล่ออจิณไตย หลวงปู่ละมัย ฐิตมโน ณ คณะเวฬุวัน อ.พยุห์ จ.ศรีษะเกษ วันที่ 6 พ.ย. 2553
    16. พิธีพุทธาภิเษกพระปิดตาเมตตามหาลาภ วัดทุ่งเศรษฐี วันที่ 21 พ.ย. 2553(วันลอยกระทง)
    พระพรหมสุธี วัดสระเกศ ประธานจุดเทียนชัย
    เจริญจิตตภาวนาโดย
    พ่อท่านเลิบ วัดทองตุ่มน้อย จ.ชุมพร
    หลวงปู่ครูบาสิงโต วัดดอยแก้ว จ.เชียงใหม่
    หลวงพ่อนพวรรณ วัดเสนานิมิต จ.อยุธยา
    ครูบาคำเป็ง อาศรมสุขาวดี จ.กำแพงเพชร
    หลวงพ่อทอง วัดไร่กล้วย จ.ชลบุรี
    หลวงพ่อพูนทรัพย์ วัดอ่างศิลา จ.ชลบุรี
    หลวงปู่ปั้น วัดนาดี จ.สระบุรี
    หลวงพ่อเหลือ วัดขอนชะโงก จ.สระบุรี
    หลวงพ่อบุญ วัดทุ่งเหียง จ.ชลบุรี
    หลวงพ่อเจริญ วัดเกาะอุทการาม จ.นครราชสีมา
    พระครูคัมภีร์ปัญญาวิกรม วัดอรุณฯ กรุงเทพฯ
    พระครูญาณวิรัช วัดตะกล่ำ กรุงเทพฯ
    หลวงพ่อชวน วัดบ้านบึงเก่า จ.บุรีรัมย์
    พระมหาเนื่อง วัดราษฎร์บำรุง จ.ชลบุรี
    หลวงพ่อเณร ญาณวินโย วัดทุ่งเศรษฐี กรุงเทพฯ

    17. พิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรูป ณ เทศบาลตำบลสำโรงเหนือ วันที่ 4 ธันวาคม 2553 (หลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อ จุดเทียนชัย หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร ดับเทียนชัย)

    18. พิธีสวดบูชานพเคราะห์และพุทธาภิเษกท้าวเวสสุวรรณ ณ วัดจุฬามณี ต.บางช้าง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม วันที่ 26 ธันวาคม 2553 พระเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธี

    ๑. หลวงปู่คง วัดเขากลิ้ง จ.เพชรบุรี
    ๒. หลวงพ่อชุบ วัดวังกระแจะ จ.กาญจนบุรี
    ๓. หลวงปู่ยวง วัดโพธิ์ศรี จ.ราชบุรี
    ๔. หลวงพ่ออุดม วัดประทุมคณาวาส จ.สมุทรสงคราม
    ๕. หลวงพ่ออวยพร วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
    ๖. หลวงพ่อไพศาล วัดทรงธรรมวรวิหาร จ.สมุทรปราการ
    ๗. หลวงพ่อผล วัดหนองแขม จ.เพชรบุรี
    ๘. หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง จ.ปทุมธานี
    ๙. หลวงพ่อสิริ สิริวฒฺฑโน
    ๑๐. หลวงพ่อเมียน จ.บุรีรัมย์
    ๑๑. หลวงพ่ออิฏฐ์ วัดจุฬามณี


    19. พิธีพุทธาภิเษกเหรียญครบรอบอายุ 93 ปี หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ วันที่ 12-13 มกราคม 2554

    20. พิธีพุทธาภิเษกพระสามสมัย วัดประดู่บางจาก กรุงเทพฯ วันที่ 26 มีนาคม 2554






    พิธีปลุกเสก/อธิษฐานจิตเดี่ยว
    เรียงตามวาระดังนี้
    1. พระใบฎีกายวง สุภัทโท วัดหน้าต่างใน อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา
    2. พระครูสมบูรณ์จริยธรรม(แม้น) วัดหน้าต่างนอก อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา
    3. พระครูประโชติธรรมวิจิตร(เพิ่ม) วัดป้อมแก้ว อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา (2 วาระ)
    4. พระครูสุวรรณศีลาธิคุณ(พูน) วัดบ้านแพน อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา
    5. พระมงคลนนทวุฒิ(เก๋) วัดปากน้ำ อ.เมือง จ.นนทบุรี
    6. พระครูเกษมวรกิจ(วิชัย) วัดถ้ำผาจม อ.แม่สาย จ.เชียงราย (2 วาระ)
    7. หลวงปู่คำบ่อ ฐิตปัญโญ วัดใหม่บ้านตาล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร (2 วาระ)
    8. พระราชวรคุณ(สมศักดิ์) วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์
    9. พระครูอุดมธรรมสุนทร(แปลง) วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร (2 วาระ)
    10. หลวงปู่เณรคำ(วิรพล) ขันติโก วัดป่าขันติธรรม อ.กัณทรารมย์ จ.ศรีษะเกษ
    11. พระอาจารย์สุมโน วัดถ้ำสองตา อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา (2 วาระ)
    12. หลวงปู่เนย สมจิตโต วัดโนนแสนคำ อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร
    13. หลวงปู่ผ่าน ปัญญาทีโป วัดป่าปทีปปุญญาราม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
    14. พระอาจารย์เจริญ ฐานยุตโต วัดโนนสว่าง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    15. หลวงปู่ครูบาดวงดี ยติโก วัดวุฒิราษฏร์(บ้านฟ่อน) อ.หางดง จ.เชียงใหม่ (2 วาระ)
    16. พระครูศีลพิลาศ(จันทร์แก้ว) วัดศรีสว่าง(วัวลาย) อ.หางดง จ.เชียงใหม่ (2 วาระ)
    17. พระครูวิสุทธิศีลสังวร(สาย) วัดร้องขุด อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
    18. หลวงปู่ดี ธัมมธีโร วัดเทพากร เขตบางพลัด กรุงเทพฯ (2 วาระ)
    19. พระครูปราสาทพรหมคุณ(หงษ์) สุสานทุ่งมน อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
    20. พระครูไพบูลย์สิกขการ(หวาน) วัดสะบ้าย้อย อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา
    21. พระราชสังวรญาณ(ไพบูลย์) วัดอนาลโย อ.เมือง จ.พะเยา (2 วาระ)
    22. หลวงปู่บุญมา คัมภีรธโร วัดป่าสีห์พนม อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร (4 วาระ)
    23. พระครูวิมลภาวนคุณ(คูณ) วัดป่าภูทอง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี (5 วาระ)
    24. หลวงพ่อเปรื่อง เขมปัญโญ วัดบางจาก อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
    25. หลวงปู่โปร่ง ปัญญธโร วัดตำหนักเหนือ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
    26. หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต สวนอาหารสวนทิพย์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
    27. พระครูปราโมทย์(อ้อน) วัดบางตะไนย์ อ.เมือง จ.ปทุมธานี
    28. หลวงพ่อสินธุ์ ฐิตาโก วัดสะพานสูง อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
    29. หลวงตาวาส สีลเตโช วัดสะพานสูง อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
    30. หลวงปู่อุดม ญาณรโต วัดป่าสถิตธรรมวนาราม อ.พรเจริญ จ.หนองคาย
    31. หลวงพ่อพระมหาวิบูลย์ วัดโพธิคุณ อ.แม่สอด จ.ตาก
    32. พระอาจารย์ประกอบบุญ สิริญาโณ วัดมหาวัน อ.เมือง จ.ลำพูน
    33. พระครูสุวรรณศาสนคุณ(นาม) วัดน้อยชมภู่ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี (3 วาระ)
    34. พระครูวิบูลโพธิธรรม(น่วม) วัดโพธิ์ศรีเจริญ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
    35. หลวงพ่อมนตรี ขันติธัมโม วัดป่าวิสุทธิธรรม อ.บ่อไร จ.ตราด
    36. พระครูวิสิษฐ์ชโลปการ(เกลี้ยง) วัดเนินสุทธาวาส อ.เมือง จ.ชลบุรี (2 วาระ)
    37. หลวงตาแตงอ่อน กัลยาณธัมโม วัดป่าโชคไพศาล อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร (2 วาระ)
    38. หลวงปู่วิไล เขมิโย วัดถ้ำพญาช้างเผือก อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ (4 วาระ)
    39. พระอาจารย์สมหมาย อัตตมโน วัดสันติกาวาส อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี
    40. หลวงปู่สรวง สิริปุญโญ วัดศรีฐานใน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร (2 วาระ)
    41. พระญาณสิทธาจารย์(ทองพูล) วัดสามัคคีอุปถัมป์(ภูกระแต) จ.บึงกาฬ
    42. หลวงปู่สำลี สุทธจิตโต วัดถ้ำคูหาวารี อ.วังสะพุง จ.เลย (2 วาระ)
    43. พระอาจารย์อุทัย สิริธโร วัดถ้ำพระภูวัว อ.เซกา จ.หนองคาย
    44. หลวงพ่อปริ่ง สิริจันโท วัดโพธิ์คอย อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
    45. พระครูประสิทธิ์ อัคคธัมโม วัดโฆสมังคลาราม อ.ปลาปาก จ.นครพนม
    46. หลวงปู่ครูบาตั๋น ปัญโญ ที่พักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่(2 วาระ)
    47. พระครูถาวรศีลพรต(อินถา) วัดอินทราพิบูลย์ อ.หางดง จ.เชียงใหม่
    48. พระครูโสภณสารคุณ(บุญมา) วัดศิริชัยนิมิตร อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่
    49. ครูบาบุญเป็ง คัมภีโร วัดทุ่งปูน อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
    50. หลวงปู่ครูบาสิงห์แก้ว อัตถกาโม วัดปางกอง อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่
    51. ครูบากฤษดา สุเมโธ วัดสันพระเจ้าแดง อ.บ้านธิ จ.ลำพูน
    52. หลวงปู่ครูบาบุญมา อนิญชิโต วัดบุปผาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่
    53. พระอุดมญาณโมลี(จันทร์ศรี) วัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี (อายุ 100 ปี)
    54. พระอาจารย์สมบูรณ์ กันตสีโล วัดป่าสมบูรณ์ธรรม อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก
    55. พระครูสันติวรญาณ(อ่ำ) ธุดงคสถานสันติวรญาณ อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์
    56. พระครูกิตติอุดมญาณ(ไม) วัดป่าหนองช้างคาว อ.กู่แก้ว จ.อุดรธานี (3 วาระ)
    57. พระครูวิทิตศาสนกิจ(ไพโรจน์) สำนักสงฆ์ดอยปุย อ.เมือง จ.เชียงใหม่
    58. หลวงปู่ประสาร สุมโน วัดป่าหนองไคร้ อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร (2 วาระ)
    59. หลวงปู่ลี ถาวโร วัดป่าหนองทับเรือ อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก (3 วาระ)
    60. พระเทพเจติยาจารย์(วิริยังค์) วัดธรรมมงคล เขตพระโขนง กรุงเทพฯ
    61. หลวงปู่บุญพิน กตปุญโญ วัดผาเทพนิมิต อ.นิคมน้ำอูน จ.สกลนคร
    62. พระราชสิทธิมงคล(สวัสดิ์) วัดศาลาปูนวรวิหาร อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
    63. พระสุนทรธรรมานุวัตร(เอียด) วัดไผ่ล้อม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา (ปลุกเสกขณะเกิดสุริยุปราคาเมื่อวันที่ 15 มกราคม)
    64. หลวงพ่อวงศ์ สุภาจาโร วัดคำพระองค์ กิ่ง อ.เฝ้าไร่ หนองคาย (2 วาระ)
    65. พระมงคลศีลจาร(ทองอินทร์) วัดกลางคลองสี่ อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี
    66. พระครูโสภณพัฒนาภิรม(บุญ) วัดทุ่งเหียง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี
    67. พระครูวิจิตรธรรมารัตน์(ขวัญชัย) วัดนามะตูม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี
    68. พระธรรมสิงหบุราจารย์(จรัญ) วัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี
    69. พระครูมงคลนวการ(ฉาบ) วัดศรีสาคร อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี
    70. หลวงพ่อเอิบ ฐิตตธัมโม วัดซุ้มกระต่าย (หนองหม้อแกง) อ.สรรพยา จ.ชัยนาท
    71. พระครูวิจิตรชยานุรักษ์(พร้า) วัดโคกดอกไม้ อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
    72. พระครูปัญญาวิมล(แป๋ว) วัดดาวเรือง อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี
    73. หลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน วัดป่าโสตถิผล อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
    74. พ่อท่านเอื้อม กตปุญโญ วัดสุวรรณจัตตุพลปัลนาราม(บางเนียน) อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช (อายุ 106 ปี)
    75. หลวงพ่อจำลอง เขมนัญโญ วัดเจดีย์แดง อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
    76. พระครูอนุศาสน์กิจจาทร(เขียว) วัดห้วยเงาะ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
    77. หลวงปู่เยี่ยม(สีโรจน์ ปิยธัมโม) วัดประดู่ทรงธรรม<!-- google_ad_section_end --> อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา (2 วาระ)
    78. ครูบาข่าย วัดหมูเปิ้ง ลำพูน
    79. ครูบาสุข วัดป่าซางน้อย ลำพูน
    80. ครูบาอุ่น วัดโรงวัว เชียงใหม่
    81. ครูบาบุญทา วัดเจดีย์สามยอด จ.ลำพูน
    82. ครูบาศรีวัย วัดหนองเงือก จ.ลำพูน
    83. หลวงพ่อผาด วัดบ้านกรวด จ.บุรีรัมย์(2 วาระ) (อายุ 100 ปี)
    84. หลวงพ่อพูลทรัพย์ วัดอ่างศิลา ชลบุรี
    85. หลวงปู่ใสย วัดเขาถ้ำตำบล ลพบุรี
    86. พระอาจารย์เจริญ วัดถ้ำปากเปียง เชียงใหม่(2 วาระ)
    87. พระอาจารย์อุทัย วัดภูย่าอู่ อุดรธานี(2 วาระ)
    88. หลวงพ่อบุญลือ วัดคำหยาด จ. อ่างทอง(2 วาระ)
    89. หลวงปู่ผาด วัดไร่้ จ.อ่างทอง
    90. หลวงพ่อเสียน วัดมะนาวหวาน จ.อ่างทอง(2 วาระ)
    91. หลวงปู่เปรี่ยม วัดบ้านคลองทรายเหนือ จ.สระแก้ว
    92. หลวงพ่อเณร วัดทุ่งเศรษฐี
    93. หลวงปู่ครูบาสิงห์โต วัดดอยแก้ว
    94. ครูบาเลิศ วัดทุ่งม่านใต้ ลำปาง
    95. ครูบาบุญมา วัดบ้านสา ลำปาง
    96. หลวงปู่ภัททันตะอาสภะมหาเถระอัครบัณฑิต วัดท่ามะโอ
    97. พระอาจารย์พรสิทธิ์ วัดสว่างอารมณ์<!-- google_ad_section_end -->
    98. หลวงพ่อสิน วัดละหารใหญ่ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง
    99. หลวงตาวรงคต วิริยธโร วัดถ้ำเมืองนะ จ.เชียงใหม่(อธิษฐานเฉพาะพระปิดตาที่ใช้อุดหลังล็อกเกต)
    100. หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี (2 วาระ)
    101. หลวงปู่อ่อง วัดสิงหาร จ.อุบลราชธานี<!-- google_ad_section_end -->
    102. หลวงพ่อแก่ วัดกล้วย พระนครศรีอยุธยา
    103. หลวงปู่ศรี วัดหน้าพระลาน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี
    104. หลวงพ่อผอง วัดพรหมยาม อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์
    105. หลวงปู่ละมัย ฐิตมโน สวนป่าสมุนไพร อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์(ไม่ทราบพรรษาแน่ชัด)
    106. หลวงปู่ปัญญา ปัญญาธโร วัดหนองผักหนามราษฎร์บำรุง อ.หนองใหญ่ จ. ชลบุรี (อายุ 106 ปี)
    107. หลวงปู่เรือง อาภัสโร ปูชนียสถานธรรมเขาสามยอด อ.เมือง จ.ลพบุรี
    108. หลวงพ่อสารันต์ วัดดงน้อย อ.เมือง จ.ลพบุรี<!-- google_ad_section_end -->
    109. หลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อ อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ
    110. พระครูปัญญาวราภรณ์(สมภาร) วัดป่าวิเวกพัฒนาราม อ.พรเจริญ หนองคาย
    111. พระครูธรรมสรคุณ (เขียน) วัดกระทิง อ.เขาคิชฌกูฎ จ.จันทบุรี
    112. พระญาณวิศิษฎ์(ทอง) วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
    113. พระครูอุดมภาวนาจารย์(ทองสุก) วัดอนาลโยพิทยาราม อ.เมือง จ.พะเยา
    114. พระราชภาวนาพินิจน์(สนธิ์) วัดพุทธบูชา เขตบางมด กรุงเทพฯ
    115. หลวงพ่อทองคำ กาญจวัณโณ วัดถ้ำบูชา อ.เซกา จ.หนองคาย
    116. พระครูอุดมวีรวัฒน์ (คูณ) วัดอุดมวารี อ.พาน จ.เชียงราย
    117. พระครูปัญญาธรรมวัฒน์ (อินทร) วัดสันป่ายางหลวง อ.เมือง จ.ลำพูน
    118. พระครูสุนธรธรรมโฆษิต(หลวงเตี่ยสุรเสียง) วัดป่าเลิงจาน อ.เมือง จ.มหาสารคาม
    119. หลวงพ่อบุญส่ง วัดทรงเมตตาราม อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
    120. พระอาจารย์เกษมสุข วัดประดู่ธรรมาธิปัตย์ เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ
    121. หลวงปู่เชิญ เทพนภา จ.สิงห์บุรี<!-- google_ad_section_end -->
    122. พระครูภาวนาวิรัชคุณ(คง) วัดเขากลิ้ง อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี
    123. หลวงพ่อผล วัดหนองแขม จ.เพชรบุรี
    124. หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง อ.บางกระดี่ จ.ปทุมธานี
    125. หลวงพ่อยวง วัดโพธิ์ศรี อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี
    <!-- google_ad_section_end -->126. หลวงปู่มหาเจิม วัดสระมงคล จ.นครปฐม
    127. หลวงปู่พุทธา พุทธจิตโต วัดป่าหนองยาว
    128. หลวงตาเก่ง ธนวโร วัดบ้านนาแก
    129. หลวงพ่อบุญรัตน์ วัดโขงขาว อ.หางดง จ.เชียงใหม่
    130. ครูบาอินตา วัดศาลา อ.หางดง จ.เชียงใหม่
    131. หลวงปู่ท่อน วัดศรีอภัยวัน จ.เลย<!-- google_ad_section_end -->
    132. หลวงปู่สิริ อคฺคสิริ วัดละหาร อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
    133. พระครูพิพิธชลธรรม (หลวงปู่หลาย) วัดนาจอมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
    134. พระครูสันติธรรมาภิรม(อ่อน รัตนวัณโณ)วัดสันต้นหวีด อ.เมือง จ.พะเยา
    135. พระครูอดุลปุญญาภิรม(ผัด) วัดหัวฝาย อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย
    136. หลวงปู่ครูบาครอง ขัตติโย สำนึกสงฆ์ท่าอุดม อ.เถิน จ.ลำปาง
    137. หลวงพ่อมหาสิงห์ วิสุทโธ วัดถ้ำป่าไผ่ อ.ลี้ จ.ลำพูน
    138. พระครูธรรมาธรเล็ก วัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
    139. หลวงปู่หลุย วัดราชโยธา เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ
    140. พระวิมลศีลาจาร (อำนวย) วัดบรมนิวาส เขตราชเทวี กรุงเทพฯ
    141. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์(มานิตย์) วัดสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ
    142. พระราชพิพัฒนาทร (ถาวร) วัดปทุมวนาราม เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
    143. หลวงพ่อสิริ สิริวัฒโน อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี
    144. หลวงปู่บู่ กิติญาโณ วัดสุมังคลาราม อ.เมือง จ.สกลนคร(ไม่ทราบพรรษาแน่ชัด)
    145. หลวงปู่สุธัมม์ ธัมมปาโล วัดเทพกัญญาราม อ.เมือง จ.สกลนคร
    146. พระครูโสภณสิริธรรม(สม) วัดโพธิ์ทอง อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง
    147. พระครูนิพัธธรรมรัต(เกลื่อน) วัดรางฉนวน อ.แสวงหา จ.อ่างทอง
    148. พระครูสิริบุญเขต(มี) วัดม่วงคัน อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง
    149. พ่อท่านเกลื่อน วัดประดู่หมู๋ (อายุ 104 ปี)
    150. พ่อท่านแก้ว วัดสะพานไม้แก่น (อายุ 100 ปี)
    151. พ่อท่านแสง วัดศิลาลอย
    152. พ่อท่านพรหม วัดพลานุภาพ
    153. พระอาจารย์ภัทร อริโย วัดนาทวี อ.นาทวี จ.สงขลา
    154. พระครูมนูญธรรมาภรณ์(อิ่นคำ) วัดมหาวัน อ.เมือง จ.เชียงใหม่
    155. ครูบาคำปัน ญาณเถระ วัดพระธาตุม่อนเปี๊ยะ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่
    156. หลวงปู่ชม ฐานคุตโต วัดป่าท่าสุด อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    157. หลวงปู่กวง โกสโร วัดป่านาบุญ อ.แม่งแตง จ.เชียงใหม่
    158. พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดป่าอรัญญวิเวก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    159. หลวงปู่สังข์ สังกิจโจ วัดป่าอาจารย์ตื้อ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    160. พระอธิการเสน่ห์ จันทสโร วัดเชียงขาง อ.สารภี จ.เชียงใหม่
    161. พระราชพุทธิมงคล(ทองบัว) วัดโรงธรรมสามัคคี อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่
    162. ครูบาน้อย เตชปัญโญ วัดศรีดอนมูล อ.สารภี จ.เชียงใหม่
    163. พระครูอุดมวิริยกิจ(แสง) วัดป่าฤกษ์อุดม อ.ปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ
    164. พระครูเกษมธรรมานุวัตร(ญาท่านเกษม) วัดเกษมสำราญ อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี
    165. หลวงปู่คล้าย อธิเตโช วัดราษฎร์นิยม(บ้านกระเดียน) อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี
    166. หลวงปู่จูมณี กังขามุตโต วัดธรรมรังสี อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี
    167. หลวงปู่บรรยงค์ ทัสสะนะธัมโม วัดสว่างวารี(วัดตุงลุง) อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี
    168. พระครูพิบูลธรรมภาณ(โชติ) วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
    169. พระครูโกวิทพัฒโนดม(เกลี้ยง) วัดบ้านโนนแกด อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ (อายุ 104 ปี)
    170. หลวงปู่พา อธิวโร วัดบัวระรมย์ อ.น้ำเกลี้ยง จ.ศรีสะเกษ
    171. พระครูโสภณจันทรังสี(เพ็ง) วัดโพธิ์ศรีละทาย อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ
    172. หลวงปู่ญาท่านโทน ขันติโก วัดบ้านพับ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
    173. หลวงปู่แสง ญาณวโร วัดป่าภูติศษา อ.ปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ
    174. หลวงปู่มหาคำแดง ฐานะทัตโต วัดคำภีราวาส อ.ตระการพืขผล จ.อุบลราชธานี
    175. สมเด็จพระพุฒาจารย์(เกี่ยว) วัดสระเกศวรมหาวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพฯ
    176. หลวงพ่อบุญมี ปภัสโร วัดสระเกศวรมหาวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพฯ (ศิษย์เอกหลวงปู่สังข์ วัดนากันตม)
    177. พระอาจารย์(ปิดตัว) อาจารย์สายวิชาการเล่นแร่แปรธาตุ เสกด้วยโองการพระเจ้าประชุมธาตุ เรียกปราณในอากาศมาสถิตในองค์พระ
    178. พระสมณธรรมสมาธิวัตร(เย็นเต็ก) วัดโพธิ์แมนคุณาราม เขตยานนาวา กรุงเทพฯ เจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย
    179. หลวงปู่มหาปลอด ติสสเทโว วัดโพธิ์นิมิต เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
    180. หลวงปู่พิศดู ธัมมจารี วัดเทพธารทอง กิ่งอ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี
    181. หลวงปู่แสวง อมโร วัดป่าชัยวารินทร์ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น (อดีตชีปะขาวติดตามหลวงปู่มั่น)
    182. หลวงปู่ถวิล สุจิณโณ สำนักสงฆ์สุจิณโณ อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น
    183. หลวงปู่ลี กุสลธโร วัดภูผาแดง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    184. หลวงปู่ฮ้อ วัดป่าสวนหม่อน อ.เมือง จ.ขอนแก่น
    185. หลวงปู่มหาโส กัสโป วัดป่าคำแคนเหนือ อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น



    รายนามอุบาสก-อุบาสิกาอธิษฐานจิตเชิญบารมีคุณพระรัตนตรัย

    1. อ.ธรรมนูญ บุญธรรม สำนักบัวแปดกลีบ อัญเชิญคุณบารมีพระแก้วมรกตและครูบาอาจารย์มาประสิทธิ์
    2. อ.ชินพร สุขสถิตย์ มูลนิธิหลวงปู่ทิม อิสริโก อัญเชิญเทพ พรหม เทวดา ครูบาอาจารย์อันมีหลวงปู่ทิม เป็นที่สุด
    3. อ.ศุภรัตน์ แสงจันทร์ อาศรมโพธิสัตว์ม่อนแก้ว อธิษฐานนำพระไปถวายสมเด็จองค์ปฐมครอบวิมานแก้ว
    4. ยายชีนวล วัดภูฆ้องคำ อายุ 100 ปี ศิษย์สำเร็จลุน<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  6. นิโรธสมาบัติ

    นิโรธสมาบัติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    828
    ค่าพลัง:
    +2,562

    ถ้าผมจะอยู่ใกล้หลวงปู่มหาโส กัสสโป แต่ตอนนี้ยังไม่ได้รถเลย 555 จองไว้ยังไม่ได้รับ

    ถ้ารับรถแล้ว จะเป็นธุระนำไปเสกให้ครับผม หรือถ้ามีครูบาอาจารย์ ทางมหาสารคาม ขอนแก่น ที่จะให้นำไปเสกให้ก็แนะนำมาได้ครับ
     
  7. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    ทางขอนแก่น-มหาสารคามไม่มีแล้วครับ ถ้าจะวานขอเป็นทางหนองบัวลำพู คือหลวงปู่สาย วัดป่าพรหมวิหาร อ่ะครับ หรือทางสกลนคร ยังมีหลายองค์เช่น หลวงปู่เคน หลวงปู่อว้าน หลวงปู่หนูเพชร เป็นต้นครับ ขอบคุณมากๆคับ
     
  8. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    แล้วอีก 3 องค์สุดท้ายถ้ามีคนเมตตาช่วยนำไปอฐิธานจิตให้จะดีมากๆพระเราจะเป็นตำนานทันทีคือ
    1.หลวงปู่คููณ บ้านไร่
    2.หลวงปู่สุภา กันตสีโล
    3.หลวงปู่สนธิ์ นครพนม อายุ 101 ปี

    แต่ล่ะองค์เป็นเกจิที่เสกพระตั้่งแต่รปี 2500 ต้นๆและทุกองค์มีชื่ออยู่ในพระแก้วมรกตหมดห่วงรุ่น1-2ของคุณสุธัณย์ ด้วยครับ
     
  9. TSKing

    TSKing Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2010
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +39
    หลวงพ่อคูณ หลวงปู่สนธิ์ กับทางสกลผมพาไปได้ครับ
     
  10. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    ขออนุญาตบอกบุญเร่งด่วนครับ อีกหนึ่งโครงการพระอริยะเจ้า

    [​IMG]

    เปิดจองให้ร่วมทำบุญล็อกเก็ตหลวงปู่อุดม ญาณรโต รุ่น 2 เนื่องในวาระโอกาศในงานมุทิตาจิต



    เนื่อง จากวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2554 เป็นวันมุทิตาจิตของ หลวงปู่อุดม ญาณรโต พระอริยะเจ้าแห่งวัดป่าสถิตย์ธรรมวนาราม ซึ่งเป็นพระสุปฏิปันโน ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เป็นพระมหาเถระ คณะศิษยานุศิษย์ได้เล่งเห็นว่าควรจัดสร้างมงคลที่ระลึกในวันงานมุทิตาจิต เพื่อให้องค์หลวงปู่อุดม ญาณรโต แจกเป็นที่ระลึกแด่ศิษยานุศิษย์ผู้มาร่วมงานและผู้มีความเคารพในองค์พระเดช พระคุณหลวงปู่ โดยแม่ชีกระแตเป็นผู้ขออนุญาตองค์หลวงปู่ เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554 และคณะศิษยานุศิษย์ลาดพร้าว เป็นผู้สร้าง โดยการจัดสร้างครั้งนึ้เป็นการจัดสร้างครั้งที่ 2 ของทางวัด และสร้างเป็นล็อกเก็ตรูปกลม โดยจะเปิดจองให้บูชาเฉพาะฉากทอง ร่วมทำบุญ 1000 บาท(ส่วนท่านใดให้จัดส่งขอความกรุณาช่วยค่าจัดส่ง 50 บาท ems) เพื่อนำมาสร้างฉากสีฟ้า ให้หลวงปู่ไว้แจก ถ้ามีผู้ร่วมบุญมาก หลวงปู่ก็จะได้ฉากสีฟ้าไว้แจกมาก โดยไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆ ฉากทองจะบรรจุของมงคลที่เกี่ยวหลวงปู่คือ เกศาและผ้ากาสายะที่หลวงปู่เคยใช้ อุดผงวิเศษที่้หลวงปู่อฐิธานจิต ผงอังคารธาตุพ่อแม่ครูอาจารย์สายป่านับ 100 องค์ นับตั้่งแต่หลวงปู่มั่นลงมาและปัจจุบัน ผงว่าน 108 หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉีมพลี ผงหลวงปู่แก้ว วัดเครือวัลย์ ผงหลวงปู่ยึ้ม วัดหนองบัว ผงหลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง ผงหลวงปู่ครูบาอิน อินโท ผงมงคลที่หลวงปู่หลอดอฐิธานจิต 8 ปีเต็ม ผงหลวงปู่สังวาลย์ เขมโก และผงรวมที่พ่อแม่ครูอาจารย์สายป่าอฐิธานจิตนับ 100 รูป โดยมีกำหนดให้โอนเงินก่อนวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2554 เพื่อจะนำเวลาทืี่เหลือไปอุดมวลสารและขึ้นไปถวายให้หลวงปู่เมตตาให้ก่อนวัน ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2554 เพื่อให้หลวงปู่แจก ผู้ใดสนใจโปรดติดต่อ นายธนกร เตมียบุตร เบอร์ 081-017-3129 ครับ
     
  11. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    [​IMG]

    ประวัติหลวงปู่อุดม ญาณรโต พระอริยะเจ้าแห่งวัดป่าสถิตย์ธรรมวนาราม

    "ถ้าสิ้นเราแล้วให้ไปกราบท่านอาจารย์อุดม ท่านเป็นคู่ธุดงค์คู่ทุกคู่ยากของอาตมา"

    หลวงปู่ลี วัดป่าเหวลึก พระอริยะเจ้าผู้อัฐิแปรสภาพเป็นพระธาตุ


    ชีวประวัติหลวงปู่อุดม ญาณรโต ว.ป่าสถิตธรรมวนาราม อ.พรเจริญ จ.หนองคาย
    ชาติกำเนิด
    หลวงปู่อุดม ญาณรโต ท่านเกิดในตระกูลชาวนา บิดาและมารดาท่านเป็นชาวนา หาปูหาปลากินตาม
    ธรรมชาติ ท่านเกิดเมื่อประมาณวันที่เท่าไรท่านก็ไม่สามารถบอกได้ ท่านเล่าว่าคนสมัยก่อนไม่ค่อย
    จำกัน ท่านบอกได้แต่ปีที่เกิด และเดือนที่ท่านเกิดคือ ประมาณ วันอังคารที่ 2 เดือนพฤษภาคม ปีขาล พ.ศ.๒๔๖๙ อยู่ในสกุล เชื้อขาวพิมพ์ ลักษณะรูปร่างของท่าน สันทัด สีผิวดำแดง โดยมีโยมบิดาชื่อ นายแว่น เชื้อขาวพิมพ์ และมารดาชื่อนางบับ เชื้อขาวพิมพ์ มีพี่น้องร่วมสายเลือดทั้งหมด 4 คน รวมหลวงปู่ คือ
    1. นางสม เชื้อขาวพิมพ์ (เสียชีวิตแล้ว)
    2. หลวงปู่อุดม ญาณรโต
    3. นายพรหมา เชื้อขาวพิมพ์
    4. นางลับ เชื้อขาวพิมพ์

    ชีวิตวัยเยาว์
    ชีวิตในสมัยเด็ก ท่านก็เหมือนเด็กชาวนาทั่วไป บิดามารดาทำนา ท่านก็ไปช่วยทำนา หลวงปู่เล่าให้ฟังว่า ท่านชอบในเพศบรรพชิตมาก ท่านเห็นพระภิษุสงฆ์เดินผ่านมา ท่านก็เกิดความเลื่อมใสขึ้นมาเอง ตั้งแต่วัยเด็ก นี่ก็เนื่องมาจากโยมบิดาและมารดาของท่านได้พาปฏิบัติศาสนกิจต่อพ่อแม่ครูบา อาจารย์ ในพุทธศาสนา เช่น ครูบาอาจารย์ในสมัยท่านพระอาจารย์มั่น บิดามารดาท่านมักพาไปปฏิบัติศาสนกิจมาด้วยโดยตลอด เช่น หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม ว.ป่าสาลวัน หลวงปู่มหาปิ่น ซึ่งเป็นน้องชายของหลวงปู่สิงห์ เป็นต้น ท่านเล่าว่าโยมบิดาท่านเคยได้บวชเณรอยู่ และสึกออกมามีครอบครัว ส่วนมารดาของท่านก็เข้าวัดทำบุญอยู่เป็นปกตินิสัย จึงทำให้ท่านมีความสนิทสนม และใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนามาโดยตลอดนั่นเอง


    บรรพชา
    เนื่องจากในวัยเด็ก ท่านเห็นพระภิษุสงฆ์แล้ว เกิดความปีติเลื่อมใสในสมณะสงฆ์ (มีความสุขเมื่อได้เห็นพระสงฆ์) ท่านคงมีความคิดที่อยากออกบวชอยู่ภายในใจมาโดยตลอด จากนั้นเมื่อท่านเริ่มโตเป็นหนุ่มท่านเคยได้อ่านหนังสือสวดมนต์และปฏิบัติ สมาธิภาวนา ของหลวงปู่สิงห์ ขัตยาคโม และพระอาจารย์มหาปิ่น ซึ่งทำให้ท่านจับจิตจับใจ มีจิตใจเข็มแข็งเด็ดเดี่ยว และมั่นใจในการที่จะได้บวชถือคลองเพศสมณะ ท่านได้ช่วยบิดามารดาทำนา หาปูหาปลา ตามประสาชาวโลก ท่านเล่าว่าปูปลาสมัยก่อนหาง่ายมาก ตัวก็ใหญ่โตทั้งนั้น ท่านเคยดำน้ำเพื่อหาปลา น้ำลึกมากๆหลายเมตรอยู่ ทำให้ท่านเลือดไหลออกมาจากหู (หูหนวก) ท่านมีอาการหูหนวกอยู่แรมเดื่อนกว่าจึงจะหายเหมือนเดิม ท่านบอกว่าชีวิตฆราวาสนั้นเป็นทุกข์ ต้องทำบาป สร้างกรรมเวรอยู่โดยตลอด จนในที่สุดเมื่อท่านมีอายุครบ ๒๓ ปี ท่านจึงได้ขอบิดามารดาของท่าน เข้าบรรพชาอุปสมบท ในวันที่ ๒๒ เมษายน ปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ซึ่งเป็นปีที่หลวงปู่มัน ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส มรณะภาพนั่นเอง โดยมีพระอุปัชฌาย์คือ พระครูอรุณสังฆกิจ (มหาเถื่อน อุชุกโร) วัดกุดเรือคำ ต.กุดเรือคำ อ. วานรนิวาส จ. สกลนคร และพระครูพิพิธธรรมสุนทร (พระคำฟอง เขมจาโร) วัดสำราญนิวาส อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และได้ฉายาทางภิกษุว่า ญาณรโต (ซึ่งแปลว่าผู้ทรงไว้ซึ้งญาณ) และในปีนั้นนั่นเอง ท่านได้เดินทางไปร่วมพิธีเผาศพหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร พร้อมทั้งพระอุปัชฌาย์ และพระกรรมวาจาจารย์ของท่านทั้งสองด้วย ท่านบอกว่างานศพหลวงปู่มั่นใหญ่โตมาก มีพระกรรมฐานมากมายเต็มไปหมด โดยสมัยก่อนวัดป่าสุทธาวาสยังคงมีสภาพเป็นป่าดงพงไพรอยู่ มีต้นไม้ใหญ่มากมายไม่เหมือนสมัยปัจจุบันที่เต็มไปด้วยหมู่บ้านเต็มไปหมด
    (ข้อมูลตามพรรษานี้ เป็นข้อมูลที่อัด และทอดเทปจากการสนทนาถาม-ตอบกับหลวงปู่อุดม ญาณรโต เมื่อท่านอายุ 82 ปี)


    พรรษาที่1-2 (พ.ศ.2492-2493)
    ท่านอยู่กับพระอุปัชฌาย์ พระครูอรุณสังฆกิจ (มหาเถื่อน อุชุกโร) ที่วัดกุดเรือคำ ต.กุดเรือคำ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร
    พรรษาที่ 3-5 (พ.ศ.2494-2497)
    ท่านเดินธุดงค์ไปในที่ต่างๆและกลับมาอยู่ที่วัดภูข้าวหลวง อ.สหัสขัน จ.กาฬสินธุ์

    พรรษาที่ 7-15 (พ.ศ.2498-2506)
    วัดบ้านนาโสก อ.นาแก ต.บ้านแก้ง จ.นครพนม ซึ่งเป็นบ้านญาติของท่านและเป็นบ้านเกิดของท่านเองต่อจากนั้นท่านได้ไปพัก อาศัยอยู่กับ หลวงปู่ลี ฐิตธัมโม ตอนนั้นหลวงปู่ลี ท่านอยู่วัดศรีชมพู ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

    พรรษาที่ 20 (พ.ศ.2507-2515)
    ท่านธุดงค์ไปอยู่ทางภาคเหนือบ้าง เช่น สุโขทัย แพร่ น่าน ลำปาง อุตรดิตถ์ พิจิตร เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ เลื่อยมา โดยท่านได้ไปพบกับ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ หลวงปูตื้อ อจลธัมโม วัดป่าอาจารย์ตื้อ จ.เชียงใหม่, หลวงปู่สิม พุทธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่, หลวงปู่แว่น ธนปาโล วัดถ้ำพระสบาย จ.ลำปาง, หลวงปู่หลวง กตปุญโญ วัดคีรีสุบรรพต ต.พระบาท จ.ลำปาง โดย
    ช่วงระยะเวลาที่ธุดงค์ในแถบภาคเหนือตั้งแต่จังหวัดเพชรบูรณ์นั้น ท่านมีสหธรรมมิกที่ร่วมเดินทางไป
    ด้วยกัน คือ หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล วัดอนาลโย จ.พะเยา และหลังจากที่ท่านไปธุดงค์ที่เชียงใหม่
    กลับมาท่านจึงได้มาอยู่ที่วัดป่าสถิตธรรมวนาราม ต.ศรีชมพู อ.พรเจริญ จ.หนองคาย จนกาละสมัย
    ปัจจุบันนี้ (นี้เป็นเพียงประวัติย่อๆเท่านั้นส่วนรายละเอียดปีกย่อยสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ประวัติหลวงปู่ลี ฐิตธัมโม )

    ครูบาอาจารย์ที่หลวงปู่ได้ไปพำนักอาศัย และฟังธรรม
    ครูบาอาจารย์ เท่าที่หลวงปู่จำได้และเล่าให้กระผมได้ฟังมานั้น ในอดีตที่ผ่านมาแล้วทั้งหลาย ในบางคราวท่านก็อาจจะลืมไปบ้าง ซึ่งข้อมูลต่างๆที่ได้ ก็อาจจะไม่ละเอียดมากนัก เพราะองค์หลวงปู่เอง ท่านเป็นพระเถระผู้พูดน้อยมาก เป็นจริตนิสัยอยู่แล้ว ส่วนตัวข้าพเจ้าจะก็ต้องพยายามสอบถามท่าน เท่าที่ท่านท่านพอจะจำได้นั้น มีก็ดังนี้ต่อไปนี้ครับ
    1. หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
    2. หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม วัดป่าอาจารตื้อ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    3. หลวงปู่สิม พุทธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
    4. หลวงปู่แว่น ธนปาโล วัดถ้ำพระสบาย จ.เชียงใหม่
    5. หลวงปู่สาม อกิญจโน วัดป่าไตรวิเวก สุรินทร์
    6. หลวงปู่ลี ฐิตธัมโม วัดเหวลึก ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    7. เจ้าคุณแดง วัดป่าประชานิยม ต.ในเมือง อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์
    8. หลวงปู่เอี่ยม วัดภูข้าวหลวง อ.สหัสขัน จ.กาฬสินธุ์

    การเดินธุดงค์
    ท่านเล่าว่าตั้งแต่โยมบิดาของท่านเสียชีวิตด้วยโรคชรา ตอนอายุ ได้ 73 ปี ก่อนท่านออกเดินธุดงค์ และมารดาท่านก็มาเสียชีวิตด้วยโรคชราเช่นกัน เมื่อตอนอายุได้ 79 ปี หลังจากที่ท่านธุดงค์กลับมาจากจ.เชียงใหม่ ท่านเล่าว่าตอนที่ท่านได้ไปพำนักอยู่ เพื่อฟังธรรมกับหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ที่วัดดอยแม่ปั๋งนั้น ท่านเกิดความประทับใจมาก หลวงปู่แหวนท่านเทศแบบง่ายๆ สั้นๆ แต่มีคุณภาพมากๆ คำพูดของท่านลึกซึ้งกว้างขวางมากนัก น่าเลื่อมใสมากๆ ซึ่งในเวลานั้นหลวงปู่ลี วัดเหวลึก ท่านก็ได้ไปร่วมฟังธรรมกับหลวงปู่แหวน และกับองค์ท่านด้วย ท่านอยู่ฟังธรรมกัน ประมาณ๒-๓ คืน
    จากนั้นท่านได้เดินทางไปจังหวัดลำปาง และเพชรบูรณ์ โดยเดินเท้าไป บางทีฆราวาสเห็นก็อาสาพาไปส่งบ้าง ท่านใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 เดือนเศษ โดยท่านเดินทางผ่านจังหวัด สุโขทัย แพร่ น่าน ลำปาง อุตรดิถต์ พิจิตร และเพชรบูรณ์ และใช้เวลาเดินทางจากเพชรบูรณ์ไปเชียงใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลาเดินทางประมาณอีก 2 เดือน ท่านเล่าว่าตอนเดินทางผ่าน จ.สุโขทัย ได้พบฆราวาสที่กินเจ คนแถวนั้นมักใส่ขนมปัง และน้ำตาลอ้อย โดยบางครั้งเขาจะนำขนมกับข้าวสุกใส่ให้เต็มบาตรเลย ไม่มีกับข้าวคาวเลย ท่านฉันทีแรกๆก็อร่อยดี แต่หลายวันเข้ามันชักไม่อร่อย โดยในตอนนั้นท่านได้เดินทางด้วยเท้าธุดงค์ร่วมกับพระอาจารย์ไพบูรณ์ สุมังคโล วัดอนาลโย จ.พะเยา ซึ่งท่านทั้งสอง สนิทสนมและคุ้นเคยกันอยู่เป็นอย่างดี

    การปฏิบัติธรรม
    โดยปกติหลวงปู่อุดมท่านชอบเดินจงกรม และนั่งสมาธิภาวนาเพื่อปฏิบัติทางจิตของท่านอยู่โดยตลอด ท่านบอกว่า หากวันไหนไม่ได้เดินจงกรมแล้วหล่ะก็ เดือดร้อนไม่ได้เลยนะ จิตจะเศร้าหมองทันที สมัยที่ท่านอยู่ที่เชียงใหม่ ท่านปฏิบัติธรรมอยู่นั้น จิตของท่านเกิดความสว่าง มีความสุขมาก จิตตกถึงฐานของจิต เข้าสู่พื้นเดิม ท่านเปรียบเหมือนการสักผ้า ถ้าผ้ามันลาย พื้นเดิมของจิตมันก็ลาย ถ้าผ้ามันดำ จิตพื้นเดิมมันก็ดำ (สำนวนของหลวงปู่อุดม) ท่านบอกว่ามันถึงฐานของมัน มีความสุขมากไม่มีอะไรจะมีความสุขเท่า มันมีความปีติ อิ่มอกอิ่มใจมาก ท่านจึงเอาตรงนี้มาเป็นอารมณ์ และค้นหาเข้าไปในจิตต่อจนถึงที่สุดของใจ ท่านเล่าว่ามันมีปัญญามากมายหลายอย่างเกิดขึ้นมา ท่านบอกว่าท่าน อดนอน อดอาหารเพื่อทำความเพียรภาวนา อยู่ ๕ วัน ๕ คืน ท่านบอกว่า อดนอนนี่ทุกข์ยิ่งกว่าอดอาหารอีก แต่เพราะว่ามีปีติอยู่ ท่านจึงสามารถทำได้ ภายหลังจากวันที่ ๕ วันผ่านไป จิตของท่าน ก็เบาสบาย ได้กำลังใจ และส่วนกำลังกาย ก็ยังแข็งแรงดีอยู่ เวลาธรรมเกิดขึ้นมา ๑๐๐ % ท่านนั่งสมาธิไปได้จนถึงแจ้งเลย(เช้าเลย) การปฏิบัติของท่านในเวลา ๖ โมงเย็น จนถึง ๕ ทุ่ม ท่านมักจะเดินจงกรม และในเวลา ๕ ทุ่มขึ้นไป ท่านจะนั่งสมาธิภาวนาไปเลื่อยจนบางทีถึงสว่างก็มี ในคราวที่ใจของท่านรวมลงจนถึงสภาวะเดิมของจิต ท่านเล่าว่ามีความสุขมากๆ ธรรมะของพระพุทธเจ้าที่เกิดขึ้นนั้น เหมือนกับอยู่ตรงหน้า สามารถยื่นมือแทบจะจับได้ต่อหน้าต่อตานี้เลยทีเดียว จิตมันไม่ท้อไม่ถอย กระจ่างหมดทุกอย่าง มันหาใจ แก้ใจตัวเองได้หมดทุกอย่าง ในเวลาฟังธรรมพ่อแม่ครูบาอาจารย์ เพียงนิดหน๋อยเท่านั้น จิตท่านก็สว่างโพรงเลย ท่านบอกว่าจิตท่านเห็นธรรมที่วัดป่าอาจารย์ตื้อ จ.เชียงใหม่ ซึ่งขณะนั้นท่านพำนักอาศัยอยู่กับ หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโมนั่นเอง ท่านยังเล่าต่ออีกว่า หลวงปู่ตื้อนั้น ท่านจะเป็นพระที่เทศตรงไปตรงมามาก จนในบางครั้งดูแล้วอาจจะไม่ไพเราะ แต่ท่านก็บอกว่า ผู้มีปัญญาก็ต้องเลือกฟังให้ถูกกับจิตของตนเอง อันไหนดีก็นำมาปฏิบัติให้ถูกกับจิตของตน ในยามที่ท่านเข้าไปนวดแขน นวดขาให้กับหลวงปู่ตื้อนั้น หลวงปู่ตื้อท่านจะเทศให้หลวงปู่อุดมฟัง หลวงปู่อุดมท่านเล่าว่าจับจิตจับใจมากเลยทีเดียว ทำให้เกิดความเลื่อมใสในองค์ของหลวงปู่ตื้อมากมายยิ่งขึ้นเลยทีเดียว องค์หลวงปู่ตื้อนั้น ท่านขุดดิน ฟันต้นไม้ ต้นกล้วยได้ ซึ่งจริงๆแล้ว สำหรับพระต้องปรับเป็นอาบัติ ส่วนองค์หลวงปู่ตื้อนั้นท่านคงอยู่เหนือสมมุตไปแล้ว เพราะในคราหนึ่งหลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง ท่านห้ามหลวงปู่ตื้อไม่ให้ทำเช่นนี้ แต่หลวงปู่ตื้อกลับหันมากล่าวกับหลวงปู่แหวนว่า ไม่ต้องมาสอนเฮาหรอกน่า เราพ้นแล้ว(จิตของหลวงปู่ตื้อท่านหลุดพ้นไปแล้วนั่นเอง)


    เรื่องราวประวัติโดยย่อ ขององค์หลวงปู่อุดม ญาณรโต วัดป่าสถิตธรรมวนาราม อ.พรเจริญ จ.หนองคาย นี้ ข้าพเจ้าได้รับความกรุณาเมตาจากองค์หลวงปู่ เป็นผู้เล่าประวัติของท่านเองทั้งหมด เนื่องจากข้าพเจ้าเองเห็นว่าองค์หลวงปู่ ก็มีอายุมากแล้ว โดยในปี พ.ศ. 2552 นี้ ท่านก็มีอายุถึง 83 ปี พรรษา 60 แล้ว และในช่วงเวลานี้ ธาตุขันต์ขององค์ หลวงปู่อุดม ญาณรโตนั้น ก็สุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง เวลาท่านเดินต้องมีพระคอยดูแลอยู่โดยตลอด เป็นผลสืบเนื่องมาจาก ท่านเพิ่งเข้ารับการผ่าตัดกระดูกสันหลังเมื่อประมาณปลายปี 2551 ที่ผ่านมา ซึ่งจริงๆแล้วท่านเคยผ่าตัดกระดูกสันหลังมา 3-4 ครั้ง และในปัจจุบันนี้ 2552 หลวงปู่ก็มีอาการกระดูกข้อเข่าของท่านขาดน้ำหล่อเลี้ยง ประมาณ เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2551 ท่านได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯลฯ และโรงพยาบาลตำรวจ กรุงเทพฯลฯ หมอวินิจฉัยว่า ข้อเข่าของท่านเสื่อมต้องได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายกระดูกข้อเข่าใหม่ แต่เนื่องจากท่านมีอายุมากถึง 83 ปี จึงมีความเสี่ยงมากในการผ่าตัด กระผมเห็นว่าองค์หลวงปู่เป็นพระเถระซึ่งอยู่ในต่างจังหวัด ไกลถึงจ.หนองคาย และหลวงปู่เป็นพระซึ่งไม่เคยเที่ยวบอกบุญกับญาติโยมคนใดเลย กระผมจึงกราบขอประวัติขององค์หลวงปู่มาลงเว็ปไซ เพื่อให้ญาติโยมทั้งหลายได้อ่านดู พิจารณากันเพื่อยังให้เกิดศรัทธาและเป็นศิริมงคลแก่ท่านทั้งหลาย และยังเป็นการจรรโลงพระพุทธศาสนาให้เจริญสืบไปด้วย เพราะปัจจุบันนี้พระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบนั้นล้วนแล้วแต่ค่อยๆดับขันต์ลาโลกไปอย่างต่อเนื่อง และในปัจจุบันนี้

    ขอขอบคุณข้อมูลจากคุณ pjo2517
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 เมษายน 2011
  12. Shinray01

    Shinray01 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,675
    ค่าพลัง:
    +2,310
    เผอิญไปเจอข่าวมาครับ


    พิธีมหามงคลพุทธาภิเษก วันที่ 5 เมษายน 2554 ณ พระอุโบสถวัดหนัง

    รายนามเกจินั้งพุทธาภิเษก นอกจากหลวงปู่คำบุ หลวงปู่สรวงหลวงปู่สรวงวัดถ้ำพรหมสวสัดิ์

    1.สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง ปธ.9 ) วัดปากน้ำ แขวงปากคลอง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
    2. พระธรรมกิตติวงศ์ (ปธ.9) วัดราชโอรสสาราม ราชวรวิหาร แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร
    3. หลวงปู่ท่อน ญาณธโร วัดศรีอภัยวัน จ.เลย
    4. หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร ฉะเชิงเทรา
    5. หลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อ อ.บางบ่อ สมุทรปราการ
    6. หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว จ.อยุธยา
    7.หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน จ.อยุธยา
    8.หลวงพ่อรวย วัดตะโก จ.อยุธยา
    9.หลวงพ่อมาลัย วัดบางหญ้าแพรก จ.สมุทรสาคร
    10.หลวงพ่อเพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน จ.ลพบุรี
    11.หลวงพ่อแย้ม วัดสามง่าม จ.นครปฐม
    12.หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู จ.อุบลราชธานี
    13. หลวงพ่อสาย วัดเจริญสุขาราม (บางไผ่เตี้ย) ต.บางกระเจ้า อ.เมือง จ.สมุทรสาคร
    14.พระเทพมงคลรังษี วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
    15.พระอาจารย์สุนทร ฐานวโร วัดสุทธาวาส ต.ลาดหลุมแก้ว อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี (ศิษย์สายหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง) ท่านเรียนตำราวัดหนังมาจาก พ.อ.คนึง ทองอู๋ ซึ่งเป็นเหลนหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง และ พ.อ.คนึง ทองอู๋ ท่านได้ศึกษาตำรามาจากพ่อถม ทองอู๋ ซึ่งเป็นพ่อของ พ.อ.คนึง ทองอู๋
    16.หลวงปู่แผ้ว ปวโร วัดกำแพงแสน นครปฐม
    17. พระอาจารย์ทวีป อธิวโร วัดป่าสักเรไร จ.อุตรดิตถ์
    18.พระอาจารย์ใหญ่ วัดทิพย์ อุบลราชธานี
    19. พระอาจารย์สมพร วัดสุทธิวราราม หนองคาย
    20.พระอาจารย์ไมตรี ฐิตปัญโญ วัดทางสาย ประจวบคีรีขันธ์


    ลูกศิษย์หลวงปู่คำบุและหลวงปู่สรวงวัดถ้ำพรหมสวสัดิ์ ใครไปแล้วมีวัตถุคงคลแจกฟรีครับ ไปซักเวลา 15.00 น.

    ใครว่างก็ขอเชิญได้ครับ ที่วัดหนังครับ 5 เมษายน 2554 ครับ
     
  13. krit_eng99

    krit_eng99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    791
    ค่าพลัง:
    +2,228
    เช้าวันนี้ผมพึ่งสอบ defence ไป หลังจากทำวิจัยมา 5 ปี
    ฮ่าๆๆๆจบซะที


    ผู้ที่จองไว้ เผื่อมีผู้สละสิทธิ์อีก

    THANARATH
    นิโรธสมาบัติ จองฉากขาว 1 องค์
    jirayu_ok
    KoRaT_191 จองฉากขาว 1 องค์


    UPDATE ตารางล็อกเกตพระแก้วมรกต
    ดูได้จากรูปด้านล่างครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • original451.JPG
      original451.JPG
      ขนาดไฟล์:
      236.5 KB
      เปิดดู:
      186
    • original452.JPG
      original452.JPG
      ขนาดไฟล์:
      243.3 KB
      เปิดดู:
      161
    • original453.JPG
      original453.JPG
      ขนาดไฟล์:
      204.4 KB
      เปิดดู:
      155
  14. jirayarn

    jirayarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,068
    ค่าพลัง:
    +4,290
    ยินดีกับคุณ krit_eng99 ด้วยครับ
     
  15. radien

    radien เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2010
    โพสต์:
    902
    ค่าพลัง:
    +1,057
    โอนเงินแล้วนะครับวันนี้ 3,050 บาท
    ฉากขาว 1 + ฉากดำ 1+ค่าส่ง 50 บาท
    รบกวนตรวจสอบดูอีกทีนะครับ
     
  16. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 109 พระมหาบัวผู้เปิดสามแดนโลกธาตุ

    <TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=25> </TD></TR></TBODY></TABLE>

    กำเนิด ในครอบครัวชาวนาผู้มีอันจะกิน ณ บ้านตาด อุดรธานี วันเกิด ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๕๖ นามว่า บัว โลหิตดี พี่น้องทั้งหมด ๑๖ คน สมัยเด็ก เคารพเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา โดยได้รวยทำบุญตักบาตรกับผู้ใหญ่อยู่เสมอ วัยหนุ่ม เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของครอบครัว ขยันขันแข็ง ทำงานอะไรทำจริงๆ จังๆ เป็นที่ไว้วางใจของพ่อแม่ในการงานทั้งปวง คู่ครอง เดิมไม่เคยคิดจะบวช เพราะอยากมีครอบครัว แต่มักมีอุปสรรคให้แคล้วคลาดทุกทีไป

    เหตุที่บวช เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี พ่อแม่ขอร้องให้บวชตามประเพณีอยู่หลายครั้ง ท่านก็ทำเฉย ๆ ตลอดมา ไม่ตอบรับหรือปฏิเสธแต่อย่างใด ในครั้งสุดท้ายนี้ ด้วยความปรารถนาอย่างแรงกล้า หวังพึ่งใบบุญจากการบวชของลูกให้ได้ ถึงกับทำให้พ่อแม่น้ำตาร่วง ครั้งนี้ท่านรู้สึกสะเทือนใจและเห็นใจพ่อแม่มาก จึงตัดสินใจ และยอมบวชตามประเพณี เพื่อตอบแทนพระคุณพ่อแม่ โดยตั้งใจไว้ในตอนต้นนี้ว่า จะบวชเพียงระยะสั้น ๆ เท่านั้น
    วันบวช ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ณ วัดโยธานิมิตร อุดรธานี พระอุปัชฌาย์ ชื่อ ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์(จูม พันธุโล) วัดโพธิสมภรณ์ คารพพระวินัย ด้วยเดิมมีนิสัยจริงจัง จึงบวชเพื่อเอาบุญกุศลจริง ๆ และตั้งใจรักษาสิกขาบทวินัยน้อยใหญ่อย่างเคร่งครัด ในพรรษาแรกท่านได้ตั้งสัจอธิษฐานว่า ในการทำวัตรเช้า-เย็นรวมและการบิณฑบาต จะไม่ให้มีวันใดขาดเลย และท่านก็ทำได้ตามที่ตั้งคำสัตย์ไว้
    เรียนปริยัติ เมื่อได้เรียนหนังสือทางธรรม ตั้งแต่นวโกวาท พุทธประวัติ ประวัติพระสาวกอรหันต์ ที่ท่านมาจากสกุลต่าง ๆ ตั้งแต่พระราชา เศรษฐี พ่อค้า จนถึงประชาชน หลังจากฟังพระพุทธโอวาทแล้ว ต่างก็เข้าบำเพ็ญเพียรในป่าเขาอย่างจริงจัง เดี๋ยวองค์นั้นสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในป่า เดี๋ยวองค์นี้สำเร็จในเขา ในเงื้อมผา ในที่สงบสงัด ท่านก็เกิดความเชื่อเลื่อมใสขึ้นมา อยากจะเป็นพระอรหันต์ พ้นจากทุกข์ทั้งปวงในชาตินี้อย่างพระสาวกท่านบ้าง
    สงสัย ช่วงเรียนปริยัติอยู่นี้ มีความลังเลสงสัยในใจว่า หากท่านดำเนินและปฏิบัติตามพระสาวกเหล่านั้น จะบรรลุถึงจุดที่พระสาวกท่านบรรลุหรือไม่ และบัดนี้จะยังมีมรรคผลนิพพานอยู่ เหมือนในครั้งพุทธกาลหรือไม่
    ตั้งสัจจะ ด้วยความมุ่งมั่นอยากเป็นพระอรหันต์บ้าง ท่านจึงตั้งสัจจะไว้ว่า จะขอเรียนบาลีให้จบแค่เปรียญ ๓ ประโยคเท่านั้น ส่วนนักธรรมแม้จะไม่จบชั้นก็ไม่เป็นไร จากนั้นจะออกปฏิบัติกรรมฐานโดยถ่ายเดียว จะไม่ยอมศึกษาและสอบประโยคต่อไปเป็นอันขาด
    เรียนจบ ท่านสอบได้ทั้งนักธรรมเอก และเปรียญ ๓ ประโยคในปีที่ท่านบวชได้ ๗ พรรษา ณ วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ และสถานที่แห่งนี้เอง เป็นที่แรกที่ท่านได้มีโอกาสพบเห็นท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งต่อมา ได้กลายเป็นพระอาจารย์องค์สำคัญที่สุดในชีวิตของท่าน
    ออกปฏิบัติ เมื่อหลวงตามหาบัวเรียนจบมหาเปรียญแล้ว แม้จะมีพระมหาเถระในกรุงเทพฯ สนับสนุนให้ท่านเรียนต่อในชั้นสูง ๆ ขึ้นไปก็ตาม แต่ด้วยท่านเป็นคนรักคำสัตย์ยิ่งกว่าชีวิต ดังนั้นเมื่อมีโอกาส ท่านจึงเข้ากราบลาพระผู้ใหญ่ และออกปฏิบัติกรรมฐานอย่างจริงจัง โดยมุ่งหน้าไปทางป่าเขาแถบจังหวัดนครราชสีมา แล้วเข้าจำพรรษาที่อำเภอจักราช นับเป็นพรรษาที่ ๘ ของการบวช
    พากเพียร ท่านเร่งความเพียรตลอดทั้งพรรษา ไม่ทำการงานอื่นใดทั้งนั้น มีแต่ทำสมาธิภาวนา-เดินจงกรมอย่างเดียวทั้งวันทั้งคืน จนจิตได้รับความสงบจากสมาธิธรรม
    มุ่งมั่น แม้พระเถระผู้ใหญ่ท่านอุตส่าห์เมตตาตามมาสั่งให้กลับเข้าเรียนบาลีต่อที่กรุงเทพฯอีก แต่ด้วยความมุ่งมั่นและตัดสินใจเด็ดขาดแล้ว ที่จะพ้นทุกข์ให้ได้ภายในชาตินี้ ท่านจึงหาโอกาสปลีกตัวออกปฏิบัติได้อีกวาระหนึ่ง
    จิตเสื่อม จากนั้นท่านกลับไปบ้านเกิดของท่าน เพื่อทำกลดไว้ใช้ในการออกวิเวกตามป่าเขา จิตที่เคยสงบร่มเย็น จึงกลับเริ่มเสื่อมลง ๆ เพราะเหตุที่ทำกลดคันนี้นี่เอง
    เสาะหา..อาจารย์ เดือนพฤษภาคม ๒๔๘๕ เดินทางไปขออยู่ศึกษากับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เหตุการณ์บังเอิญกุฏิที่พักเพิ่งจะว่างลงพอดี ท่านพระอาจารย์มั่นจึงเมตตารับไว้ และเทศน์สอนตรงกับปัญหาที่เก็บความสงสัยฝังใจมานานให้คลี่คลายไปได้ว่า ดินฟ้าอากาศแร่ธาตุต่างๆ เขาเป็นของเขาเอง เขาไม่ได้เป็นมรรคผลนิพพาน เขาไม่ได้เป็นกิเลส กิเลสจริง ๆ มรรคผลนิพพานจริง ๆ อยู่ที่ใจ หากกำหนดจิตจ่อด้วยสติที่ใจแล้ว จะเห็นความเคลื่อนไหวของทั้งธรรม ทั้งกิเลสในใจ ขณะเดียวกันจะเห็นมรรคผลนิพพานไปโดยลำดับ
    ปริยัติ..ไม่เพียงพอ จากนั้นท่านพระอาจารย์มั่นเมตตาแนะต่อว่า ธรรมที่เรียนมาถึงขั้นมหาเปรียญมากน้อยเพียงใด ยังไม่สามารถอำนวยประโยชน์ให้ได้ แต่กลับจะเป็นอุปสรรคต่อการภาวนา เพราะอดจะเป็นกังวลและนำธรรมที่เรียนมานั้น มาเทียบเคียงไม่ได้ในขณะที่ทำใจให้สงบ และยังจะกลายเป็นสัญญาอารมณ์คาดคะเนไปที่อื่น จนกลายเป็นคนไม่มีหลักได้
    ดังนั้น เพื่อให้สะดวกในเวลาทำความสงบหรือจะใช้ปัญญาคิดค้น ให้ยกธรรมที่เรียนมานั้นขึ้นบูชาไว้ก่อน ต่อเมื่อถึงกาลอันสมควร ธรรมที่เรียนมาทั้งหมด จะวิ่งเข้ามาประสานกันกับด้านปฏิบัติ และกลมกลืนกันได้อย่างสนิท
    โหมความเพียร จากการได้ศึกษากับผู้รู้จริง ได้รับอุบายต่าง ๆ มากมาย และหักโหมความเพียรเต็มกำลัง ชนิดนั่งสมาธิภาวนาตลอดรุ่งถึง ๙ คืน ๑๐ คืนโดยเว้น ๒ คืนบ้าง ๓ คืนบ้าง ทำให้ก้นของท่านระบมจนถึงกับแตกพอง เลอะเปื้อนสบงเลยทีเดียว แต่จิตใจที่เคยเสื่อมนั้น กลับเจริญขึ้น ๆ จนสามารถตั้งหลักได้
    จริงจัง ท่านถูกจริตกับการอดอาหาร เพราะทำให้ท่านตัวเบา การภาวนาง่ายสะดวก และจิตใจเจริญขึ้นได้ดี จึงมักงดฉันอาหารติดต่อกันเป็นเวลานาน คราวหนึ่งท่านออกวิเวกแถบป่าใกล้หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ชาวบ้านไม่เห็นท่านออกบิณฑบาตนานจนผิดสังเกต ถึงขนาดหัวหน้าหมู่บ้านต้องตีเกราะเรียกประชุมกัน ด้วยลือกันว่า ไม่ใช่ท่านตายแล้วหรือก็เคยมี
    [​IMG]
    นักรบธรรม ท่านไม่เห็นแก่การกินการนอนมากไปกว่าผลแห่งการปฏิบัติธรรม ดังนั้นในช่วงบำเพ็ญเพียร สภาพร่างกายของท่าน จึงเป็นที่น่าตกอกตกใจแก่ผู้พบเห็นอย่างมาก แม้ท่านพระอาจารย์มั่นเอง เห็นท่านซูบผอมจนผิดสังเกต ชนิดหนังห่อกระดูก ทั้งผิวก็ซีดเหลืองเหมือนเป็นดีซ่าน ท่านถึงกับทักว่า “โฮ้ ทำไมเป็นอย่างนี้ล่ะ” แต่ด้วยเกรงว่าลูกศิษย์จะตกใจและเสียกำลังใจ ท่านพระอาจารย์มั่นก็กลับพูดให้กำลังใจในทันทีนั้นว่า “มันต้องอย่างนี้ซิ จึงเรียกว่า นักรบ” ท่านเคยเล่าถึงความมุ่งมั่นในการต่อสู้กับกิเลส เพื่อจะเอาแพ้เอาชนะกันว่า “ถ้ากิเลสไม่ตาย เราก็ต้องตาย จะให้อยู่เป็นสองระหว่างกิเลสกับเรานั้น ไม่ได้”
    ปัญญาก้าวเดิน ด้วยความมุ่งมั่นจริงจังดังกล่าว ทำให้จิตใจของท่าน ได้หลักสมาธิแน่นหนามั่นคง ท่านทรงภาวะนี้นานถึง ๕ ปี ไม่ขยับก้าวหน้าต่อ ท่านพระอาจารย์มั่นจึงให้อุบายอย่างหนักเพื่อให้ออกพิจารณาทางด้านปัญญา ทั้งทางอสุภะ(ซากศพ) กระทั่งถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งส่วนหยาบ ส่วนกลาง และส่วนละเอียด จนสามารถรู้เรื่องรู้ราว ฆ่ากิเลสตัวนั้นได้ ตัดกิเลสตัวนี้ได้โดยลำดับ ๆ ในช่วงนี้ท่านมีความเพลิดเพลินในความเพียรเพื่อฆ่ากิเลส ชนิดเดินจงกรมไม่รู้จักหยุด ตั้งแต่เช้าหลังจังหันจนกระทั่งปัดกวาดในตอนบ่าย ไม่รู้จักเหน็ดจักเหนื่อย
    สิ้น..อาจารย์ ท่านพระอาจารย์มั่นได้มรณภาพลง เมื่อ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๒ ณ วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร ยังความเศร้าสลดสังเวชใจแก่ท่านอย่างเต็มที่ ด้วยรู้สึกว่าหมดที่พึ่งทางใจแล้ว จากนั้นท่านพยายามปลีกตัวจากหมู่เพื่อน อยู่ป่าเขาตามลำพัง แต่มุ่งอยู่กับความเพียรตลอด สติแนบแน่นกับจิตเป็นอัตโนมัติด้วยภาวนามยปัญญา

    ป่วย..แต่กาย คราวหนึ่งที่ท่านออกวิเวก ชาวบ้านป่วยเป็นโรคขัดหัวอก ล้มตายวันหนึ่ง ๆ จำนวนตั้งแต่ ๓-๘ คน เพราะหากใครเป็นโรคนี้แล้ว จะต้องตายภายใน ๒-๓ วันอย่างแน่นอน ท่านก็เมตตาสวด กุสลา มาติกา ให้คนตายที่ป่าช้า ชนิดไม่มีเวลาลุกไปไหน เพราะเดี๋ยวหามคนตายมาใหม่อีกแล้ว สักครู่ใหญ่ ก็หามมาใหม่อีกแล้ว กระทั่ง จู่ ๆ ท่านก็มาเป็นโรคเดียวกันนี้เข้าบ้าง ท่านจึงบอกชาวบ้านเพื่อขอหลบนั่งสมาธิภาวนา ต่อสู้กับทุกขเวทนาใหญ่นี้ด้วยธรรมโอสถ ด้วยการพิจารณาอริยสัจ ผลปรากฏว่าพิจารณาตก โรคหายเป็นปลิดทิ้งในเที่ยงคืนนั้นเอง
    คืนแห่ง..ความสำเร็จ จากนั้นไม่นานท่านก็มุ่งสู่วัดดอยธรรมเจดีย์ (ปัจจุบันอยู่ อ.โคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร) เป็นช่วงพรรษาที่ ๑๖ ของท่าน บนเขาลูกนี้นี่เองของคืนเดือนดับแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ (จันทร์ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓) เวลา ๕ ทุ่มตรง ท่านได้บรรลุธรรมด้วยความอดทนพากเพียร พยายามอย่างสืบเนื่องตลอดมา นับแต่วันออกปฏิบัติกรรมฐานอย่างเต็มเหนี่ยวรวมเวลา ๙ ปี
    คืนแห่งความสำเร็จระหว่างกิเลสกับธรรมภายในใจของท่านจึงตัดสินกันลงได้ ด้วยความประจักษ์ใจ หายสงสัยทุกสิ่งทุกอย่างเรื่องภพชาติ เรื่องเกิด แก่ เจ็บ ตาย กิเลสตัณหา อาสวะทุกประเภทได้ขาดกระเด็นออกไปจากใจในคืนวันนั้นเอง
    ยืนยัน…ชาตินี้ ชาติหน้า อดีตชาติ มีจริง สภาวะ ธรรมในใจของท่านขณะนั้น ท่านเคยเล่าให้พระภิกษุในวัดป่าบ้านตาดฟังว่า “เกิดความสลดสังเวชภพชาติแห่งความเป็นมาของตน และเกิดความอัศจรรย์ในพระพุทธเจ้า พระสาวกอรหันต์ที่ท่านหลุดพ้นไปแล้ว ท่านก็เคยเป็นมาอย่างนี้ เราก็เป็นมาอย่างนี้ แต่คราวนี้เป็นความอัศจรรย์ในวาระสุดท้าย ได้ทราบชัดเจนประจักษ์ใจ เพราะตัวพยานก็มีอยู่ภายในจิตนั้นแล้ว แต่ก่อนจิตเคยมีความเกี่ยวข้องพัวพันกับสิ่งใด บัดนี้ไม่มีสิ่งใดจะติดจะพัวพันอีกแล้ว…”
    สงเคราะห์…พระเณร กิจสูงสุดในพระพุทธศาสนา ท่านสมบูรณ์แล้วเหมือนพระในครั้งพุทธกาลที่ออกบวชมุ่งปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น หลังจากนั้นท่านก็เมตตาสงเคราะห์โลก
    เนื่องจากพระเณรหมู่เพื่อนเคยได้ยินท่านพระอาจารย์มั่นปรารภถึงท่านอยู่เนือง ๆ ว่า “ท่านมหาฯฉลาดทั้งภายนอกภายใน ต่อไปจะเป็นที่พึ่งแก่หมู่คณะได้มาก” ดังนั้น หลังพิธีศพท่านพระอาจารย์มั่นเสร็จสิ้นลง พระเณรหมู่คณะหลายสิบรูป จึงต่างพากันติดตามท่าน เพื่อหวังพึ่งพิงและขอรับคำแนะนำข้ออรรถธรรม และข้อวัตรปฏิบัติจากท่าน ท่านก็ให้การเมตตาอนุเคราะห์แต่นั้นมา จนทุกวันนี้
    การเทศนาพระเณร-ฆราวาส ปรากฏออกมาเป็นเทป-หนังสือจำนวนมากโดยแจกเป็นธรรมทานตลอดมา ไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใด เฉพาะหนังสือธรรมะภาษาไทยมีจำนวนกว่า ๑๐๒ เล่ม ภาษาอังกฤษกว่า ๘ เล่ม เทปเฉพาะที่มีการบันทึกการเทศนามีหลายพันกัณฑ์
    ตอบแทนพระคุณ..มารดา ท่านแนะสอนธรรมะแก่โยมมารดา และให้บวชปฏิบัติธรรม ด้วยหวังอยากให้รู้เห็นและพบความสุขจากธรรมนี้บ้าง จึงจำเป็นต้องตั้งวัดป่าบ้านตาดขึ้นมา ท่านคอยเอาใจใส่ดูแลโยมมารดาทั้งทางด้านร่างกาย พวกปัจจัย ๔ อาหาร หยูกยา ปัจจัยใช้สอยทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งให้คำแนะนำทางด้านจิตใจด้วยจิตภาวนาอย่างจริงจัง ด้วยระลึกพระคุณ แม้โยมมารดาจะสิ้นไปแล้วก็ตาม ท่านก็ไม่เคยลืมทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ โดยทำบุญในวันคล้ายวันเสียชีวิตประจำทุกปีตลอดมา
    ในวาระสุดท้ายก่อนหน้าโยมมารดาจะจากโลกไป ท่ามกลางทุกขเวทนากล้าที่พร้อมจะให้สิ้นชีวิตได้ทุกเมื่อ ท่านได้เข้าเยี่ยม และถามอาการ โยมมารดาตอบว่า “ร่างกายเจ็บไข้ได้ป่วยก็จริง แต่ใจนั้นใสสว่างกระจ่างแจ้งอยู่ตลอดเวลา” จึงเป็นที่เชื่อแน่ได้ว่า โยมมารดาของท่านได้ทรงอริยธรรมขั้นใดขั้นหนึ่งอย่างแน่นอน นับว่าสมเจตนารมณ์ของท่านที่ได้ทดแทนพระคุณโยมมารดาอย่างเต็มที่
    โปรด…ชาวอังกฤษ ฝรั่งชาวพุทธในอังกฤษ มีความสนใจต่อการปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก กราบขออาราธนานิมนต์ให้ท่านเมตตาเดินทางไปโปรด เพื่อบรรยายสอนธรรม ท่านก็เมตตาไปในช่วง ๗-๒๒ มิถุนายน ๒๕๑๗ โดยมีพระชาวอังกฤษและแคนาดา ที่จำพรรษาอยู่ ณ วัดป่าบ้านตาด ติดตามไปด้วย แม้ระยะต่อมาก็ประสงค์อยากกราบขอนิมนต์ท่านไปอีก แต่ด้วยปัญหาเรื่องสุขภาพและวัยชรา ท่านจึงงดเดินทางไปเทศนาตามสถานที่ต่าง ๆ ในต่างประเทศ
    สงเคราะห์…โรงพยาบาล ด้วยเหตุที่ท่านเคยเห็นสภาพคนไข้ ที่ต่างรอความหวังจากหมอ ว่าเป็นสภาพที่น่าสงสารมาก เหมือนคนจนตรอกจนมุม เมื่อวิ่งมาหาหมอ หากไม่มีเครื่องมือที่ทันสมัยที่ดีพอ ก็ก้าวไม่ออกรักษาไม่ได้ และสภาพคนชนบทก็เป็นคนยากจนส่วนมาก การบำบัดรักษาถ้าพอเป็นไปได้ก็ควรให้การรักษาใกล้บ้าน จะได้ไม่ต้องสิ้นเปลืองเงินทองมากในการเดินทาง ตลอดสถานที่พักอาศัยการกินอยู่หลับนอน
    ด้วยเหตุนี้ท่านจึงให้ความเอาใจใส่ต่อสถานพยาบาลต่าง ๆ ตลอดมาแบบเงียบๆ จนถึงขณะนี้ท่านได้สงเคราะห์ช่วยเหลือโรงพยาบาลในจังหวัดต่าง ๆ กว่า ๑๐๐ โรง โดยทั้งก่อสร้างตึกอาคารผู้ป่วย สงฆ์อาพาธ ห้องผู้ป่วย ห้องผ่าตัด ตั้งกองทุนศูนย์พิทักษ์ดวงตา กองทุนสงเคราะห์คนพิการ ซื้อที่ดิน บริจาครถยนต์พยาบาล และเครื่องมือต่าง ๆ เช่น เครื่องเอกซเรย์ อุลตร้าซาวด์ เครื่องตรวจคลื่นหัวใจ เครื่องช่วยชีวิตเด็ก ช่วยหายใจเด็กทารก เครื่องคลอด เตียงทำฟัน ฯลฯ รวมแบ่งเป็นประเภท ๆ ของรายการการสงเคราะห์ รวมแล้วกว่า ๕๐๐ รายการ
    สงเคราะห์…หน่วยราชการ การช่วยเหลือหน่วยราชการ ท่านก็เมตตาให้ตามเหตุผลความจำเป็น ตัวอย่างหน่วยงานที่ท่านช่วยเหลือ เช่น กองกำกับการตำรวจตระเวณชายแดน ๒๔ ค่ายเสณีรณยุทธ์, ตำรวจทางหลวงจังหวัด, สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง, สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท, สถานีตำรวจภูธรกิ่งอำเภอภูพาน, สถานีตำรวจภูธรอำเภอน้ำหนาว, ตำรวจสันติบาลจังหวัด, เรือนจำจังหวัด, สถานีรถไฟจังหวัดอุดรธานี
    สงเคราะห์…โรงเรียน ท่านเมตตาช่วยด้านอาคารเรียน วัสดุอุปกรณ์ต่าง สื่อการเรียนการสอน และอื่น ๆ ตัวอย่างโรงเรียน ได้แก่ ร.ร.สตรีราชินูทิศ ร.ร.บ้านตาด ร.ร.อุดรธรรมานุสรณ์ ร.ร.หนองแสงวิทยา ร.ร.บ้านดงเมือง ร.ร.บ้านหนองตุ เป็นต้น
    สงเคราะห์…ผู้ด้อยโอกาส ตัวอย่างเช่น สถานสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญา ปากเกร็ด ท่านอนุเคราะห์ให้ตั้งกองทุนโดยนำดอกเบี้ยออกมาใช้จ้างพี่เลี้ยงจำนวน ๑๒ คน จ่ายเป็นรายเดือนเริ่มแต่ปี ๒๕๓๓ สถานสงเคราะห์อื่น ๆ เช่น บุคคลปัญญาอ่อนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, เด็กหญิงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    ทัณฑสถานหญิง กรมราชทัณฑ์ บางเขน ท่านอนุเคราะห์ช่วยก่อสร้างเรือนนอน ๑ หลังมูลค่า ๓ ล้านกว่าบาท ตั้งกองทุนยารักษาโรค ๑ ล้านบาท และเคยช่วยเหลือจ่ายค่าจ้างเลี้ยงดูเด็กรายเดือนอยู่หลายปี (ตั้งแต่ปี ๒๕๓๗ ปัจจุบันไม่ได้ให้แล้ว)
    สงเคราะห์…สัตว์ ท่านอนุเคราะห์สัตว์ป่าในวัดอย่างทั่วถึงตลอดมา โดยเข้มงวดกับพระเณรให้ดูแลเรื่องอาหาร(กล้วย ข้าวสาร) น้ำ ไม่ให้ขาดตกบกพร่องแก่สัตว์ เช่น ไก่ป่า กระรอก กระจ้อน กระแต กระต่าย ท่านว่าเรามีปากมีท้องมีหิว เขาก็เช่นกันกับเรา เราต้องเมตตาสงสารเขา เขาเกิดมาตามวิบากวาระแห่งกรรม เขาก็มีโอกาสเกิดเป็นมนุษย์เหมือนกับเรา เราเองก็มีโอกาสกระทำผิดพลาดกลายเป็นสัตว์แบบเขาได้ จึงไม่ควรประมาทกัน แต่ให้เห็นใจสงสารกัน ช่วยเหลือสงเคราะห์กันไป
    บ้านสัตว์พิการ ซอยพระการุณย์ ปากเกร็ด เป็นสถานที่อาศัยของสัตว์พิการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สุนัข มีจำนวนมากหลายร้อยตัว อื่น ๆ เช่น แมว ไก่ เต่า นก ฯลฯ ท่านช่วยเหลือโดยซื้อที่ดิน ๒ งาน สร้างอาคาร ๓ ชั้นเป็นที่พัก และที่ทำการรักษาสัตว์ที่เจ็บป่วย เช่น สุนัขโดนรถชน เป็นต้น นอกจากนี้ท่านยังช่วยค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟ และอื่น ๆ โดยให้เป็นรายเดือน ๆ ละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท ตั้งแต่ปี ๒๕๓๗ เป็นต้นมา และสถานที่อีกแห่งหนึ่งคือ บ้านสงเคราะห์สุนัข ถ.พุทธมณฑลสาย ๓ มีสุนัขกว่าสองร้อยตัว ท่านช่วยเหลือขยายที่ดินเพิ่มให้ ๒ แปลง และช่วยเหลือค่าอาหาร ยา และอื่น ๆ เป็นรายเดือน ๆ ละ ๓๐,๐๐๐ บาท

    ช่วยชาติ นับแต่ท่านบำเพ็ญกิจของสมณเพศ อันเป็นกิจสำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนาเรียบร้อยลงแล้ว ท่านก็หันมาให้การสงเคราะห์ด้านธรรมะแก่พระเณร-ฆราวาสมาโดยตลอด ควบคู่ไปกับการบริจาคช่วยเหลือด้านวัตถุสิ่งของ ทั้งจตุปัจจัยไทยทาน แก่ประโยชน์ส่วนรวมตลอด ๔๐ กว่าปีนับแต่ตั้งวัดป่าบ้านตาดขึ้นในปี ๒๔๙๘ ท่านเคยเล่าว่าหากจะนับเป็นมูลค่าน่าจะเป็นหมื่นล้านบาทขึ้นไป เพราะมีเท่าไรไม่เคยเก็บสั่งสมไว้ หากจะนำมาใช้จ่ายในวัดก็เพียงเล็กน้อยตามจำเป็นจริง ๆ เพราะไม่มีกิจการงานก่อสร้างอื่นใด มุ่งเน้นแต่งานด้านจิตภาวนามาโดยตลอด มีการเดินจงกรมนั่งสมาธิเป็นหัวใจสำคัญ สำหรับปัจจัยไทยทานส่วนใหญ่ จึงมุ่งออกช่วยเหลือโลกตลอดมา

    ในยามปกติ ท่านก็ให้ความเมตตาสงเคราะห์สังคมชาติบ้านเมือง อยู่อย่างเต็มที่จริงจัง ดังกล่าวข้างต้นโดยย่อเป็นปกติอยู่แล้ว เมื่อถึงยามนี้ เกิดปัญหาหลายด้านหลายทาง ท่านจึงปรารภขึ้นอย่างจริงจังที่จะช่วยชาติไทย โดยช่วยเหลือด้านวัตถุเงินทองอุดหนุนชาติ ให้มีความแน่นหนามั่นคง ท่านว่าแม้การเสียสละช่วยเหลือดังกล่าว จะเป็นการช่วยเหลือปลายเหตุก็ตาม
    แต่ก็มีความจำเป็น เพราะขณะนี้สมบัติรวมของชาติยังขาดตกบกพร่องอยู่ จึงต้องร่วมไม้ร่วมมือกัน ต่างเสียสละช่วยกันอุดหนุนครั้งแล้วครั้งเล่า จนกระทั่งอิ่มพอ เหมือนเรารับประทานอาหาร หากยังไม่อิ่มก็เติมเข้าเรื่อย ช้อนเล็กบ้างใหญ่บ้าง ตักเติมเข้าปากจนอิ่ม การเสียสละมากบ้างน้อยบ้างก็เช่นกัน ต่างมีความจำเป็นต้องช่วยกันครั้งแล้วครั้งเล่า ความสามัคคีกัน ร่วมมือและเสียสละเช่นนี้ ยังเป็นคติตัวอย่างอันดีแก่เด็กและกุลบุตรสุดท้ายภายหลัง ให้ได้รับเครื่องฝังใจที่ดี ให้รู้จักมีแก่จิตแก่ใจเสียสละซึ่งกันและกัน ไม่เพิกเฉยท้อถอยง่าย ๆ ต่อปัญหาใด ๆ แต่กลับให้มีใจเป็นนักต่อสู้ ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค เด็กเหล่านี้จะเห็นตัวอย่างนี้ จากพ่อแม่พี่น้องปู่ย่าตายายในคราวเสียสละครั้งนี้เอง
    ท่านกล่าวถึงพระเณรควรแสดงน้ำใจ ออกมาช่วยชาติด้วยเหตุว่า พ่อแม่ของพระสงฆ์อยู่ตามป่าตามเขาบ้าง ในเมืองบ้าง อยู่ทั่วประเทศไทย เวลานี้กำลังตกทุกข์ได้ยากลำบาก ลูกสงฆ์คือลูกมีพ่อมีแม่ ย่อมควรมีเมตตาสงสารพ่อแม่ ด้วยการออกมาช่วยพ่อแม่ของสงฆ์ซึ่งอยู่ในชาติ เมื่อพ่อแม่กำลังตกทุกข์ได้ยากลำบากเข็ญใจ ลูกสงฆ์ทำไมถึงจะใจดำน้ำขุ่นช่วยพ่อช่วยแม่ไม่ได้ การช่วยแม้ไม่มากก็น้อย ควรรู้จักช่วยตามกำลังของตนถึงจะถูก ถึงจะสมกับเป็นลูกศิษย์พระตถาคต ที่มีพระเมตตามหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่แก่โลก ดังคำว่า มหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง
    ท่านกล่าวว่าการช่วยชาติที่แท้จริง ให้ต่างหันมาแก้ไขที่ต้นเหตุ คือ การทรงมรดกธรรมของพระพุทธศาสนา เอาศีลเอาธรรม ความประพฤติดีงาม ด้วยเหตุผลหลักเกณฑ์เข้ามาอุดหนุนจิตใจ จนมีหลักประกันภายในใจ เรียกว่า มีหลักใจ โดยหันกลับมาปรับปรุงตัวเราแต่ละคน ๆ ให้มีความประหยัด ไม่ลืมเนื้อลืมตัว ไม่ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม ด้วยการอยู่การกินการใช้การสอยการไปการมา โดยให้ดูแบบของพระผู้มีหลักเกณฑ์ภายในใจ เป็นแบบอย่างของความประหยัด ของผู้มีหลักเกณฑ์เหตุผล ให้มีธรรมคอยเหนี่ยวรั้งไว้ในใจไม่ให้ถูกลากจูงด้วยกิเลสตัณหาราคะ ด้วยความโลภโมโทสัน จนเลยเขตเลยแดน เหมือนรถที่มีแต่เหยียบคันเร่ง ไม่เหยียบเบรก ย่อมเป็นภัยอันตรายร้ายแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ในที่สุด หากต่างมีการหันมาอุดหนุนทั้งทางด้านหลักทรัพย์ และหลักใจควบคู่กันไป ปัญหาต่าง ๆ ของชาติย่อมทุเลาเบาบางลงเป็นลำดับ ๆ ไป

    ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน หรือ ” หลวงตาของเรา” ถือกำเนิดในครอบครัว ชาวนาผู้มีอันจะกิน แห่งสกุล “โลหิต ดี” ณตำบลบ้านตาดอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2456 โดยมีบิดา ” นายทองดี” และมารดา “นางแพง” ได้ให้มงคลนามว่า “บัว” ในจำนวน พี่น้องทั้งหมด 16 คน เฉพาะที่ยังมี ชีวิตอยู่ในปัจจุบัน 6 คน เว้นท่านเสีย เป็นชาย 1 คน หญิง 5 คน มีท่านเพียงผู้เดียว ที่ดำรงอยู่ในสมณเพศ และกอปรด้วยศี ลาจารวัตรอันงดงาม ทรงไว้ซึ่งคุณธรรมอันประเสริฐ เป็นที่เคารพสักการะบูชาของชาวพุทธเรา อย่างกว้างขวาง ทั้งในและนอกประเทศ
    ก่อนท่านจะออกบวชปรากฏว่าได้เป็นหัวเรี่ยวหัว แรงของครอบ ครัว เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจในงานทั้งปวง จนบิดามารดาหวังฝากผี ฝากไข้ฝากเป็นฝากตายไว้กับท่าน หลักประเพณี ของไทยเราแต่โบราณมาเมื่อบุตรชายอายุ ครบบวชมักจะให้บวชเสียก่อน ก่อนที่จะมีครอบครัวเหย้าเรือนต่อไป
    ดังนั้น เมื่อ ท่านมีอายุครบ 20 ปี บริบูรณ์สมควรที่ จะบวชได้แล้ว มารดาจึงได้นำเรื่องนี้มาปรึกษาปรารถกับท่าน….นี่พูดถึงสาเหตุที่เราจะออกบวชซึ่งไม่เคยคาดฝันมาก่อน คือ เย็นวันหนึ่งครอบครัวเรามีพ่อแม่และ ลูกชายหญิงหลายคนร่วมรับประทานกันอยู่ อย่างเงียบ ๆขณะนั้นพ่อพูดขึ้นชนิดไม่มี อะไรเป็น ต้นเหตุเลยว่า เรามีลูก หลายคนทั้งหญิงชาย แต่ไม่พ้นความวิตก ในเวลาเราจะตาย
    เพราะจะไม่มีลูกคนใดเป็นผู้ชายคิดบวชให้ พอเรา ได้เห็นผ้าเหลืองก่อนตาย ได้คลายความกังวลใจ ในเวลานั้น แล้ว ตายไปอย่างเป็นสุขหาย ห่วง ลูกเหล่านั้นกูไม่ว่ามันแหละ หมายถึงลูกผู้ชาย ส่วนลูกผู้หญิงกู ก็ ไม่เกี่ยวข้องมัน ลูกผู้ชายกูมีหลายคน แต่นอกนั้นกูก็ไม่สนใจ อะไรพอ จะอาศัยมันได้ แต่ไอ้บัว (หมายถึงเรา ) นี่ซิ ที่กูอาศัยมัน ได้น่ะ ปกติพ่อไม่เคยชมเรา อะไร ๆ ไม่เคยชม มีแต่กดลงเรื่อย ๆ นิสัยพ่อกับแม่ เราเป็นอย่างนั้น ไอ้นี่ลงมันได้ทำ การทำงานอะไร แล้ว กูไว้ใจมันได้ทุกอย่างกูทำยังสู้มันไม่ได้ลูกคนนี้กูไว้ใจที่สุด ว่าอย่างนั้น ถ้าลงมันได้ทำอะไรแล้วต้องเรียบไปหมด ไม่ มีที่น่าตำหนิติเตียน กูยังสู้ มันไม่ได้ ถ้าพูดถึงเรื่องหน้าที่การงาน แล้วมันเก่งจริงกูยกให้ลูก กูทั้ง หมดก็มีไอ้นี่แหละเป็นคนสำคัญ เรื่อง การงานต่าง ๆ นั้นกูไว้ใจมันได้แต่ที่สำคัญตอนกูขอให้มันบวชทีไร มันไม่เคยตอบไม่เคยพูดเลยเหมือนไม่มีหู ไม่มีปาก นั่นเองบทเวลากูตายแล้วจะไม่มีใครลากกูขึ้นจากหม้อ นรกเลยแม้แต่คนเดียว เลี้ยงลูกไว้หลายคน เท่าไร กูพอจะได้อาศัยมันก็ ไม่ ได้เรื่องถ้ากูอาศัยไอ้บัวคน เดียวแล้วกูก็หมดหวังเพราะลูกชายหลาย คนกูหวัง ใจอาศัยไอ้นี่เท่านั้น พอว่าอย่างนั้น โฮ้ย น้ำตาพ่อร่วงปุบปั๊บ ๆ เรามองไป เห็น แม่เองพอมองไปเห็นพ่อน้ำตา ร่วง แม่ก็เลยน้ำตาร่วงเข้าอีกคนเรา เห็นอาการสะเทือน ใจทนดูอยู่ไม่ได้ ก็ โดดออกจากที่รับประทาน ปุ๊บปั๊บหนีไปเลย นั่นแหละ
    เป็นต้นเหตุให้เราตัดสินใจบวช มันมีเหตุอย่างนั้น นำไปคิดอยู่ตั้ง สามวัน ไม่หยุด ไม่ยอมมารับประทานร่วมวง พ่อแม่อีก เลย ในสามวันนั้นแต่ก็ คิดไม่หยุดไม่ถอยคิดเทียบเคียงถึงเพื่อนฝูง ที่ เขาบวชกัน ตลอดถึงครูบาอาจารย์ที่ บวชมาเป็นจำนวนมาก ท่านยัง บวชกันได้ ทั่วโลกเมืองไทย การบวชนี่ก็ไม่เหมือนการติดคุกติดตะราง แม้เขาติดคุกติดตะราง เช่น ติดตลอดชีวิต เขาก็ยังพ้นโทษออก มาได้ เราไม่ใช่ติดคุกติดตะรางนี่ หมู่เพื่อนบวชเขายังบวชได้ เขาเป็นคนเหมือนกันและครูบาอาจารย์ ทั้งหลายที่ท่านบวช จนเป็นสมภารเจ้าวัด ท่านยังอยู่ได้ เหตุใด เราเป็น คนทั้งคน พ่อแม่เลี้ยงมาเหมือน คนทั้งหลาย อย่างอื่น ๆ เรายังอดได้ทนได้แต่การบวชนี่มันเหมือนติดคุกติด ตะรางเชียวเหรอ เราถึงจะบวช ไม่ได้ ทนไม่ได้ เราทำไมถึงจะต้องเอาเสียหน้า ต่ำช้าเอานักหนากว่า เพื่อนฝูงทั้งหลาย ถึงขนาดพ่อแม่ต้องน้ำตาร่วงเพราะเรานี่ไม่สม ควรอย่างยิ่ง คิดวกไปเวียน มาอยู่นั้นได้สามวัน เอาละที่นี่ ตัด สินใจปุ๊บ เอาทำไมจะ บวชไม่ได้ ตาย ก็ตายไปซิ เขาบวชกันมาไม่เห็นตาย เลย พ่อแม่ก็ไม่ได้ บอกให้บวชจนถึงวันตาย หรือบอกให้บวชถึงปีสองปี พ่อแม่ก็ไม่เห็น ว่านี่ แล้วทำไมถึง จะบวชไม่ได้ล่ะ เราก็คน ๆ หนึ่งแท้ ๆ เอ้าต้องบวช เมื่อพิจารณาเป็นที่ลงใจ แล้ว
    จึงได้มาบอกกับแม่ว่าเรื่องการบวช จะ บวชให้ แต่ว่าใครจะมาบังคับไม่ให้สึกไม่ได้นะบวชแล้วจะสึกเมื่อไรก็สึกใครจะมาบังคับว่าต้องเท่านั้นปี เท่านี้เดือนไม่ได้นะ มันหาทาง ออก ไว้แล้วนั่นดูซิ ทิฐิมานะของมันน่ะ แต่แม่ ฉลาดกว่าลูกนี่ “โถ แม่ไม่ว่าหรอก ขอให้ลูกไปบวชให้แม่เห็นต่อหน้าต่อ ตาแม่ทีเถอะ แล้วสึกออกมาทั้ง ๆ ที่คนไปบวชยังไม่กลับบ้านก็ตามสึก ต่อหน้า ต่อตาคนมาก ๆ นั้น แม่ก็ ไม่ว่า” แม่ใส่เข้าไปอย่างนี้เลย ก็ ใครจะเป็นพระหน้าด้านมาสึกต่อหน้าต่อตาคนมากๆที่ไปบวชเราได้ไม่บวชมันเสียดีกว่าเมื่อบวชแล้วมาสึกต่อหน้าต่อตาคน มันยิ่งขายหน้า กว่า อะไรเสียอีก นั่น เมื่อติดปัญหาแม่แล้วก็เลย ไปบวช…..
    ท่านอาจารย์บวชที่วัดโยธานิ มิตร อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี มีท่านเจ้าคุณธรรม เจดีย์ (ชุม พนธุโล) เป็นพระอุปัชฌายะ เมื่อ วันที่ 12 พฤษภาคม2477
    พระเถระผู้ใหญ่ผู้ เป็นอาจารย์สอนท่าน ปฏิบัติคือสมเด็จพระมหาวีร วงศ์ (พิมพ์ ชมมธโร) วัดพระศรีมหา ธาตุ บางเขน กรุงเทพมหานคร



    [​IMG]

    หลวงตามหาบัว เป็นพระอรหันต์ร้อยเปอร์เซนต์พันเปอร์เซนต์ - หลวงพ่อสังวาลย์ วัดทุ่งสามัคคีธรรม

    "ผมยอมท่านอาจารย์(หลวงตามหาบัว) ดูลักษณะท่าทางนี่ไม่ผิดกับท่านอาจารย์มั่น ผมจับได้หมดเลย ผมเคารพสุดยอด!!!!"
    หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท วัดป่าภูริทัตปฏิปทาราม



    [​IMG]

    ไม้จิกเชิงตะกอนพระราชทานเพลิงหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    ที่จะนำมาบดเป็นมวลสาร "ชิ้นเท่าแขน"




    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0865.JPG
      IMG_0865.JPG
      ขนาดไฟล์:
      248.6 KB
      เปิดดู:
      194
    • IMG_0866.JPG
      IMG_0866.JPG
      ขนาดไฟล์:
      162.9 KB
      เปิดดู:
      1,567
  17. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ช่วงนี้ผมไม่ค่อยมีเวลาเท่าไหร่ เลยไม่ค่อยได้พิมพ์อะไรเพิ่ม....
    ยังไงไว้ว่างๆจะมาลงมวลสาร เช่น ศิลาธิคุณ กายสิทธิ์สมเด็จโต
    ทีร่ำลือกันเป็นตำนาน ผมเองก็เคยได้ยินแต่ชื่อ แต่เมื่อบดผงก้นกรุบางขุนพรหม ก็พบศิลาธิคุณภายใน

    รวมทั้งผงอิทธิเจอายุ 200 ปีที่ใช้สร้างสมเด็จอรหัง ที่พบกันหม้อทำผงจากพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน

    ถ้าว่างจริงๆ จะไปเอาไม้ละมุดของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน กระดานชนวนแตกหัก ของหลวงปู่ภู วัดท่าฬ่อ ผงนะซ่อนตัว หลวงปู่จีน วัดท่าลาดเหนือ
    ..................................


    ตอนนี้คุณ kriteng99 ว่างมากขึ้นผมจะใช้ตรวจสอบสิทธิ์การจองและการโอนเงิน
    ขอความกรุณาโอนเงินทำบุญก่อนวันที่ 30 เมษายน 2554 มิเช่นนั้นจะถือว่าท่านสละสิทธิ์ในทุกกรณี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 เมษายน 2011
  18. krit_eng99

    krit_eng99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    791
    ค่าพลัง:
    +2,228
    [​IMG]

    ใกล้จะได้รับล็อกเกตแล้วนะครับ รออีกนิด
    ถ้าสามารถโพสรูปหลักฐานการโอนเงินได้ ก็จะดีครับ

    อนุโมทนาครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • original454.JPG
      original454.JPG
      ขนาดไฟล์:
      39.8 KB
      เปิดดู:
      1,513
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 เมษายน 2011
  19. THANARATH 2010

    THANARATH 2010 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +1,721
    ขอบคุณมากครับ

    เช้าวันนี้ผมพึ่งสอบ defence ไป หลังจากทำวิจัยมา 5 ปี
    ฮ่าๆๆๆจบซะที

    ผู้ที่จองไว้ เผื่อมีผู้สละสิทธิ์อีก

    THANARATH
    นิโรธสมาบัติ จองฉากขาว 1 องค์
    jirayu_ok
    KoRaT_191 จองฉากขาว 1 องค์
     
  20. somchai_aut

    somchai_aut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +137
    กรณีมีผู้สละสิทธิ์ฉากเขียว ผมขอจองไว้ 1 องค์นะครับ ขอบคุณคณะผู้จัดทำครับ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...