เทคนิคการรวม ธรรม เทพ จักรวาล ครั้งที่ 1

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย เดมีดี, 9 กันยายน 2011.

  1. J_Shaman

    J_Shaman สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +15
    นัน เดร อัล มา อาร
    รี
    มาน เด อาม
    ไม่มีมนุษย์คนไหนรู้จริง ยกเว้นสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่มนุษย์มองเห็น มนุษย์จึงเชื่อว่ามีจริง
     
  2. เดมีดี

    เดมีดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +1,271
    ยุ่งจนหัวฟูมาสองวัน ภาษาสื่อสารการทำงานเอกสาร ที่คนส่งกับคนรับเข้าใจไม่ตรงกัน เลยได้ถกประเด็นกันใหญ่ และ วันนี้ไปคุยงานกับลูกค้า ถึงเรื่องอนาคต ของงาน

    ภาพที่เห็นก่อนไปคือ ให้ทำถุงกำยาน เล็ก ๆ ไม่ใหญ่ ไว้ใส่ คริสตัล หรือ หินสี ที่เหมาะกับธาตุของตนเอง เพียงแค่ 1 ชิ้นเท่านั้น และ ปลุกมันขึ้นมา ไว้สำหรับการเชื่อมต่อ แต่ภาพที่ได้อีก คือ แผนผัง การแปรธาตุ ตื่นมาลืมหมดแล้ว เพราะคิดว่า จะล้างตัวเอง ออกจาก การที่มันฝันมันเห็น ให้หมด

    ก็เลยทำตัวยุ่ง ๆ กับงานเข้าไว้ งานก็มีมาให้ยุ่งสมใจ เพราะรู้สึกว่าจะทำอะไรต้องใช้เงิน จะช่วยใครไม่มีเงินก็ทำไม่ได้ ไม่มีค่ารถ 555+++

    เลยไปเจอลูกค้า สอนว่า ให้บอกว่า ฉันชอบเงินและฉันจะหาเงิน แต่ฉันไม่ได้เอาเปรียบใคร มันคือธุรกิจ ฮา......................

    ไปพักผ่อน ..........
     
  3. J_Shaman

    J_Shaman สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +15
    http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B9%8C_(%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2)คำถาม : อะไรเป็นองค์ประกอบในร่างกายมนุษย์หรือไม่ในธาตุทั้งหลาย

    คำตอบ : ส่วนใหญ่ของร่างกายมนุษย์ถูกสร้างขึ้นจากน้ำ, H2O, กับเซลล์ที่ประกอบด้วยน้ำ 65-90% โดยน้ำหนัก ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจว่าส่วนใหญ่ของมวลร่างกายมนุษย์คือก๊าซออกซิเจน คาร์บอน, หน่วยพื้นฐานสำหรับโมเลกุลของสารอินทรีย์มาในสอง 99% ของมวลของร่างกายมนุษย์ถูกสร้างขึ้นจากองค์ประกอบเพียงหก : ออกซิเจนคาร์บอนไฮโดรเจนไนโตรเจนแคลเซียมและฟอสฟอรัส

    1.Oxygen (65%)
    2.Carbon (18%)
    3.Hydrogen (10%)
    4.Nitrogen (3%)
    5.Calcium (1.5%)
    6.Phosphorus (1.0%)
    7.Potassium (0.35%)
    8.Sulfur (0.25%)
    9.Sodium (0.15%)
    10.Magnesium (0.05%)
    Molybdenum 11.Copper, สังกะสี, ซีลีเนียม,, ฟลูออรีน, คลอรีน, ไอโอดีน, แมงกานีส, โคบอลต์, เหล็ก (0.70%)
    12.Lithium, Strontium, อลูมิเนียมซิลิกอน, ตะกั่ว, วาเนเดียม, สารหนู, (trace amounts) โบรมีน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กันยายน 2011
  4. J_Shaman

    J_Shaman สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +15
    ธาตุตามหลักพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์

    ธาตุตามหลักพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์
    พระพุทธศาสนามีหลักคำสอนมากมาย ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสสั่งสอนพุทธสาวกและประชาชนทั้งหลาย ตลอดพระชนม์มายุ สี่สิบห้า พรรษา มีจำนวนถึง แปดหมื่นสี่พัน พระธรรมขันธ์ หลักคำสอนเหล่านี้รวามเรียกว่า พระไตรปิฏก หมายถึง คัมภีร์ที่รวบรวมหลักพระธรรมวินัยในทางพระพุทธศาสนาทั้งหมดเอาไว้ เรียกว่า ตะกร้าธรรม

    ท่านแบ่งออกเป็น สาม ประการ คือ
    พระวินัย คือ พระพุทธพจน์ที่ว่าด้วยวินัย หรือ สิกขาบท สำหรับพระภิกษุและภิกษุณี
    พระสูตร คือ พระพุทธพจน์ที่ว่าด้วยพระธรรมเทศนา คำบรรยาและเรื่องเล่าต่างๆอันยักเยื้องตามบุคคลและโอกาส
    พระอภิธรรม คือพุทธพจน์ที่ว่าด้วยหลักธรรมและคำอธิบายในรูปแบบวิชาการล้วนๆไม่ เกี่ยวด้วยเหตุการณ์และบุคคล

    อนึงหลักคำสอนทั้งหมดในพระพุทธศาสนาหรือพระไตรปิฏกนั้นมีเนื้อหาครอบคลุมแทบทุกแขนงวิชาหรือทุกๆศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษศาสตร์ เป็นต้น ในปัจจุบันจึงได้มีการศึกษาศาสตร์ต่างๆเหล่านั้น จนกลายมาเป็น สังคมศาสตร์ตามแนวทางพุทธ วิทยาศาสตร์ตามแนวพุทธ เศรษฐศาสตร์ตามแนวพุทธ เป็นต้น

    ซึ่งศาสตร์ทั้งหลายเหล่านี้แม้มีอยู่จริง แต่ก็ไม่ได้มีไว้ในฐานะที่เป็นศาสตร์ที่สมบูรณ์ในตัวเอง เพียงแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำเนื้อหาในศาสตร์ต่างๆเหล่านั้น ยกขึ้นมาอธิบายเพื่อประกอบการสอนการสอน หรือเพื่ออธิบายธรรมอันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นทุกข์เป็นจุดมุ่งหมายสำคัญเท่านั้น มิได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เข้าใจศาสตร์ต่างๆเหล่านั้นจนละเลยธรรม อย่างที่ศาสตร์ต่างๆกำลังศึกษาอยู่ในปัจจุบัน

    ดั่งในกรณีคำสอนเกี่ยวกับธาตุในทางพระพุทธศาสนาตามหลักพระพุทธศาสนาคำว่า ธาตุ หมายถึง สิ่งที่ทรงสภาวะของมันตามเหตุปัจจัย โดย แบ่งธาตุออกเป็น สี่ ได้แก่ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน)อาโปธาตุ(ธาตุน้ำ)เตโชธาตุ(ธาตุไฟ)และวาโยธาตุ(ธาตุลม)นอกจากนี้ยังมีธาตุ หก ซึ่งประด้วยธาตุ สี่ ดังกล่าว และเพิ่มเข้ามาอีกสองธาตุได้แก่อากาศธาตุ(ธาตุคืออากาศ)และวิญญาณธาตุ(ธาตุคือวิญญาณ)

    ในขณะที่วิทยาสาสตร์เคมีถือว่าธาตุหมายถึงสสารบริสุทธิ์เนื้อเดียวล้วน(เทหเอกพันธ์) ซึ่งไม่สามารถแยกสลายให้เป็นสารอื่นได้โดยวิธีทางเคมีใดๆธาตุทั้งหลายเหล่านี้มีอยู่ประมาณ ร้อยแปด ธาตุ แบ่งเป็นธาตุในธรรมชาติ เก้าสิบสอง ธาตุอันเป็นสสารเบื้องต้น ที่ก่อให้เกิดสรรพสิ่งในจักรวาลนอกจากนี้เป็นธาตุที่นักวิทยาศาสตร์สังเคราะห์ขึ้นได้ในห้องทดลองด้วยวิทยาการทางวิทยาศาสตร์เคมีที่ทันสมัยและผ่านการศึกษาค้นคว้าจากนักวิทยาศาสตร์มาหลายทศวรรษจนถึงปัจจุบัน ได้ช่วยพัฒนาแนวคิดต่างๆเกี่ยวกับธาตุอย่างมากมาย จากอดีตที่ถือว่า ธาตุ คือสสารบริสุทธิ์เนื้อเดียวล้วน ซึ่งไม่สามารถแยกสลายให้เป็นสารอื่นได้อีกด้วยวิธีทางเคมีใดๆแต่ตามทฤษฏี อะตอมในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์กลับพบว่า ภายในธาตุยังประกอบด้วยอะตอมต่างๆและอะตอมนี้ก็ไม่ใช่สิ่งที่เล็กที่สุดหากอะตอมของธาตุยังประกอบด้วยอนุภาคที่เล็กลงไปอีกเรียกว่า โปรตอน อิเลคตรอน และนิวตรอน และในอดีตที่มีธาตุเพียงไม่กี่ชนิด ในปัจจุบันกลับค้นพบ ร้อยแปดธาตุ แต่ขณะเดียวกัน หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ที่เกี่ยวกับเรื่องธาตุยังคงอยู่เท่าเดิม มิได้แปลเปลียน ทั้งนี้ด้านเนื้อหาและจำนวนคือมีธาตุ สี่และธาตุ หก เท่านั้น.
    นอกจากนี้ ท่านอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ ได้กล่าวไว้ว่า ด้วยเหตุที่นักวิทยาศาสตร์บางคน หรือผู้ที่ศึกษาวิทยาศาตร์สมัยใหม่ สำคัญผิดคิดว่า ธาตุที่เข้าใจในพระพุทธศาสนานั้น เป็นความเข้าใจผิด และเป็นการไม่รู้จักธาตุอย่างแท้จริง เพราะธาตุที่แท้จริงนั้น ต้องวิเคราะห์ลงไปให้ถึงที่สุดโดยมีปรมาณูเป็นแบบเดียวกัน จะแยกหรือทำการวิเคราะห์ทางเคมีให้มากกว่านั้นไม่ได้อีกแล้ว

    การที่พระพุทธศาสนาแสดงธาตุทั้ง สี่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ว่าเป็นธาตุแต่ละอย่างนั้น นับว่าเป็นความเข้าใจผิด เพราะดินไม่ใช่ธาตุแท้ เมื่อแยกธาตุแล้วอาจพบได้ว่าเป็นธาตุผสม คือ มีธาตุหลายๆอย่างผสมอยู่กับดิน แม้แต่ธาตุน้ำ ลม ไฟ ก็เช่นเดียวกันและนำไปสู่การมองเรื่อง ธาตุ ทางพระพุทธศาสนาว่า เป็นคำสอนที่ล้าสมัย ไม่พัฒนา แล้วไม่อยากศึกษา กลับหันไปสนใจศึกษาวิทยาศาสตร์ทางเคมีต่างไจนละเลยธรรมะ ทำให้บุคคลในสังคมปัจจุบันมีการศึกษาวิทยาศาสตร์เคมีหรือองค์ประกอบทางวัตถุมากขึ้น อันมีผลต่อสังคมในด้านความเจริญทางด้านวัตถุแต่ขาด ธรรมะ หรือขาดคุณธรรมซึ่งในกรณีนี้ พระเทพโสภณ ได้ให้เหตุผลว่า " การที่พระพุทธเจ้ามิได้ตรัสเรื่องธาตุให้มากกว่านี้ มิใช่พระองค์ไม่ทราบ แต่เป็นเพราะจะทำให้ผู้ฟังกลับไปสนใจแต่หลักการทางวิทยาศาสตร์เคมี หือสิ่งอันเป็นส่วนประกอบภายนอกทั้งหลายจนเกินไปจนละเลยธรรมะหรื่องภายในของตนเอง" ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า " ทั้งอดีต และ ปัจจุบัน เราสอนอยู่เรื่องเดียวเท่านั้น คือ เรื่องทุกข์และความดับทุกข์" ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเรื่องทุกข์และความดับทุกข์ในพุทธพจน์นี้ ล้วนเป็นปัญหาเกี่ยวกับมนุษย์ทั้งสิ้น มิใช่เรื่องเกี่ยวกับวัตถุภายนอกแต่ประการใด.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • images.jpg
      images.jpg
      ขนาดไฟล์:
      4.8 KB
      เปิดดู:
      181
  5. J_Shaman

    J_Shaman สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +15
    นิยามและความหมายของธาตุตามหลักพระพุทธศาสนา
    ธาตุ นี้ ตามตัวอักษรแปลว่า ผู้ทรงไว้ หรือ ทรงอยู่ สิ่งที่ทรงไว้ ภาวะที่ทรงไว้ หรือทรงอยู่
    หมายถึง สิ่งที่มีอยู่ เป็นอยู่คู่โลก ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมไม่สูญสลายไปไหน แต่อาจเปลี่ยนรูปขนาดสีสันไปเมื่อเวลาเปลี่ยนไป หรือเมื่อสถานที่เปลี่ยน ธาตุเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงของโลกก็
    -นิพพานธาตุ หมายถึง ความมีอยู่ เป็นอยู่ของนิพพานธาตุ
    -กามธาตุ หมายถึงความมีอยู่ เป็นอยู่ของภพภูมิของสัตว์ผู้เสวยกาม คือพวกที่เสวย

    กามคุณเช่นโลกมนุษย์
    -รูปธาตุ
    หมายถึง ความมีอยู่เป็นภพภูมิเทวดาชั้นรูปพรหม
    -อรูปธาตุ หมายถึง ความมีอยู่ของภพภูมิของเทวดาชั้น อรูปพรหม
    -อปริยาปันธาตุ หมายถึง ความมีอยู่เป็นอยู่ของภพภูมิที่เหนือขึ้นไป(โลกุตตรภูมิ)
    ดังนั้นคำว่าธาตุในทางพระพุทธศาสนา จึงมีความหมายกว้างขวางมากมาย และครอบคลุมสรรพสิ่งในโลกนี้ เราสามารถประมวลความหมายของธาตุได้เป็นสองนัย
    1. ในภาษาศาสตร์ เป็นความหมายในทางไวยากรณ์ของภาษาบาลีและสันสกฤต อันเป็นส่วนประกอบของผู้ที่ใช้กับคำพูดเหล่านี้ทุกคำล้วนมาจากธาตุทั้งสิ้น ธาตุในความหมายนี้จึงหมายถึงศัพท์หรือคำที่เป็นมูลรากเดิมของคำนั้นๆได้แก่ " พุทโธ "มีมูลรากเดิมมาจาก"พุธ"ธาตุ ในความตรัสรู้ เป็นต้น
    2. ความหมายในทางธรรม เรียกว่า ธรรมธาตุ แปลว่า กฏของธรรมดา กฏความเป็นไปธรรมดา กฏความเป็นระเบียบของธรรมชาติหรือกฏแห่งจักรวาล หมายถึง ความดำรงอยู่ ความเป็นระเบียบสม่ำเสมอ ความเป็นปัจจัยของกันและกันของสรรพสิ่ง หรือกฏแห่งสรรพสิ่งที่เกิดขึ้น ดำรงอยู่และแตกสลายไป เพราะมีเหตุปัจจัย พระพุทธศาสนาเรียกกฏเหล่านี้ว่า ปฏิจจสมุปบาท ดังพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า " ภิกษุทั้งหลาย ปฏิจจสุปบาทเป็นอย่างไร คือเพราะชาติเป็นปัจัย ชรามรณะจึงมี ตถาคตเกิดขึ้นก็ตาม ไม่เกิดก็ตามธาตุ อันนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ความที่มีสิ่งนี้เป็นปัจจัยของสิ่งนี้ ก็คงตั้งอยู่อย่างนั้น ตถาคตรู้ บรรลุธาตุนั้น ครั้นรู้แล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายและกล่าวว่า เธอทั้งหลายจงดูเถิด "
    สรรพสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัยเหล่านี้ พุทธศาสนาเรียกว่า สังขาร คือ สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง หรือสิ่งที่เกิดจากปัจจัย ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมหรือเรียกอีกอย่างว่า สังขตธรรม ก็ได้ ธาตุ ในความหมายนี้จึงหมายถึง ธรรมชาติที่ทรงสภาวะของตนไว้ หรือภาวะของตนเองตามที่เหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น เป็นไปตามธรรมนิยามคือกฏกำหนดแห่งธรรมดา ไม่มีผู้สร้างบันดาลในคำภีร์อภิธัมมัตถสังคหบาลีและอภิธัมมัตถวิภาวิณีฏีกา ได้ให้ความหมาย ธาตุ ตามนัยนี้ไว้ถึง เจ็ด ประการ ได้แก่
    -สิ่งที่ทรงสภาพของตนไว้
    -สิ่งที่ทรงไว้ซึ่งสังสารทุกข์เป็นเอนกประการตามสมควรแก่การสมภพ
    -สิ่งที่สัตว์ทรงไว้ คือ ธารไว้ ดุจภาระอันคนผู้นำภาระไปทรงไว้
    -สิ่งที่เป็นเพียงทรงทุกข์ไว้เทานั้น เพราะไม่เป็นไปตามอำนาจของใคร
    -สิ่งที่เป็นเหตุให้สัตว์เสวนสังสารทุกข์
    -สิ่งที่เป็นที่ตั้งคือเป็นที่ตั้ง หีอดำรงอยู่แห่งทุกข์
    -สิ่งที่เป็นส่วนย่อยสรีระและวัตถุ
    อนึ่ง ธาตุ นอกจากหมายถึง สังขตธรรมทั้งหลายแล้ว ยังมีความหมายรวม
    ถึงกฏธรรมชาติแห่งสิ่งที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง หรือสิ่งที่ไม่มีเหตุปัจจัยรวมอยู่ด้วย เรียกว่า อสังขตธรรม ได้แก่ พระนิพพาน อีกด้วย
    ที่เรียกว่า นิพพานธาตุ ดังพุทธพจน์ที่ตรัสว่า" ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเกิดขึ้นก็ตามไม่เกิดขึ้นก็ตาม ธาตุนั้นคือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ก็คงตั้งอยู่อย่างนั้น ตถาคตรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ครั้นบรรลุแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา"
    จะเห็นว่าธาตุในความหมายนี้หมายถึง กฏแห่งสรรพสิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่ง คือ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา ส่วนธรรมทั้งปวงเป็น อนัตตานั้น ท่านหมายถึง ทั้งสังขตธรรม และรวมถึงอสังขตธรรม อันได้แก่พระนิพพานด้วย
    ดังนั้นเราจะเห็นว่าคำว่า ธาตุ ในทางพระพุทธศาสนานั้น มีความหมายกว้างขวาง ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งรูปธรรม และนามธรรม
    ดังนั้นทุกสิ่งทุกอย่างจึงเป็น ธาตุ ไม่ว่าอะไร สังขตะหรือ อสังขตะหรืออะไรก็ตามล้วนเป็นธาตุทั้งสิ้น แต่ว่า ธาตุ นั้น ไม่อาจจะแสดงคุณหรือค่า หรือคุณสมบัติออกมาจนกว่าจะถึงโอกาส เมื่อมันได้ปัจจัยเฉพาะ ได้โอกาสแห่งการปรุงแต่ง ปรับปรุงถูกต้อง มันจึงจะแสดงคุณค่าที่แท้จริงออกมา
    ธาตุ ดิน ธาตุฯน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ นั้นก็เหมือนกัน โอกาสเหมาะมันจึงแสดงคุณค่านั้นออกมา(ไม่ใช่ตัววัตถุนั้นๆ)ถึงแม้แต่พระนิพานก็เหมือนกัน ต้องมีการปรับปรุง กาย วาจา ใจให้ครบถ้วน ถูกต้องพร้อมแล้ว มันจึงจะแหวกออกมาให้เห็นอย่างที่นิพพานธาตุแสดงออกมามาเป็นความสุขนั้น ไม่ใช่ตัวนิพพานมันเป็นเพียงปฏิกิริยาที่ออกมา จากการที่ จิต สัมผัสกับนิพพานธาตุ หรือคุณค่าของนิพพานธาตุเทานั้น

    ส่วนผลคือ ความสุข นั้น มันก็เป็น ธาตุ เรียกว่า เวทนาธาตุ ในทางพระพุทธศาสนาทุกสิ่งทุกอย่างจึงล้วนเป็นธาตุทั้งสิ้น.
     
  6. J_Shaman

    J_Shaman สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +15
    เรื่องธาตุทั้ง 4 ซึ่งประกอบไปด้วย ดิน น้ำ ลม และ ไฟซึ่งในทางพุทธศาสนา คือสิ่งที่ประกอบเข้าเป็นร่างกายและจิตใจมนุษย์รวมเป็นธาตุทั้ง 4 ซึ่งในความหมายของแต่ละธาตุแยกเป็นความเชื่อต่างกันดังนี้

    ธาตุทั้ง 4
    ธาตุไฟ คือ กำลังแรง ความเลื่อมใสศรัทธาและ อุดมคติมีธรรมชาติทะเยอทะยาน ต้องการแม้แต่สิ่งที่เอื้อมไม่ถึงและสิ่งที่ไม่อาจบรรลุได้ และมักมีอะไรบางอย่างอยู่เหนือความคิดนึกของมนุษย์ที่สูงสุด พร้อมทั้งความเชื่อมั่นในตนเองอีก ไฟนั้นต้องการลมเพื่อให้ช่วยส่งเสริมความรุ่งโรจน์ของตนเอง แต่ลมที่จะส่งเสริมไฟได้ต้องไม่ถูกอิทธิพลของดาวพุธที่ตลบแตลงหรือดาวเสาร์ที่เชื่องช้าเข้าครอบงำ จะส่งผลสูงสุดขณะมฤตยูผ่านวาบเข้าไปในลมนั้นเท่านั้น ทิศใต้
    ธาตุดิน คือ การปฏิบัติ ความอดทนบึกบึนและเสบียงอาหาร ต้องการแต่การปฏิบัติโดยลงมือทำจริงๆ ทำอย่างอดทนและบึกบึนไม่ท้อถอย ไม่เกรงกลัวในเรื่องความลำบาก ดังนั้นธาตุดินจึงเป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งราศีธาตุอื่นๆ ในเมื่อจะลืมความจำเป็นข้อนี้เสีย ทิศเหนือ
    ธาตุลม คือ ดินต้องการจะเป็นมิตรกับลมในเรื่องจิตใจ ให้เป็นรูปร่างซึ่งดินต้องการรู้อย่างสูงคือปัญญาความคิด ความไตร่ตรองหาเหตุผล และ ความเข้าใจ ตามปกติมักพิจารณาหาเหตุผลตามหลักแหล่งตรรกะญาณและความเข้าใจในสิ่งต่างๆ เป็นสำคัญที่สุด ไม่ชอบการเคลิ้มฝันในเรื่องที่เกี่ยวจิตใจ เพราะเห็นว่าไม่แน่นอนและไม่มีประโยชน์ ต้องการจะคิดหาเหตุผลในสิ่งต่างๆ และพิสูจน์ให้เป็นความจริงขึ้นมา ทิศตะวันออก
    ธาตุน้ำ คือ อารมณ์ ทั้งชนิดเคลิ้มฝันด้วยตัวเอง และรับอารมณ์จากสิ่งอื่นตลอดจนความฉลาดสามารถในเรื่องที่เกี่ยวกับจิตใจและสัญชาติญาณ ย่อมต้องการที่จะไหลไปสู่และรวมอยู่ในระดับเดียวกันแต่บางครั้งก็ไหลทวนขึ้นสู่เบื้องสูงเพราะอำนาจของอารมณ์ได้ แต่อย่างไรก็ดีมันจะต้องไหลลงสู่ระดับเดิม เพราะอารมณ์ไม่เป็นสิ่งจริงจัง และตามปกติก็ไม่ไหลทวนขึ้นไปเหนือระดับเดิมมากนัก เพราะน้ำไม่มีความทะเยอทะยานหรือความปรารถนา แต่มีความฝันในตัวของมันเองและพอใจในสิ่งที่น่าพิสมัยของมันเองอีกด้วย ทิศตะวันตก
     
  7. J_Shaman

    J_Shaman สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +15
    ราศีในแต่ละราศีนั้นจะเป็นตัวแทนของแต่ละฤดูกาล และจะมีคุณภาพของการปลดปล่อยพลังงานในธรรมชาติแตกต่างกันไป แม้ว่าราศีเหล่านั้นจะอยู่ในฤดูกาลเดียวกันก็ตามคุณะ อันเป็นการปลดปล่อยพลังงานที่แตกต่างกันในฤดูกาล จึงแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
    1.จรราศี ได้แก่ ราศี เมษ กรกฎ ตุลย์ มกร ซึ่งแสดงออกจากพลังงานที่มากเกินรุนแรง มีความดิ้นรนทะเยอทะยาน เอาดีด้วย การแสดงออก การเคลื่อนไหวแบบ แรงดัน การระเบิด ทุ่มสุดตัว


    2.สถิรราศี ได้แก่ ราศี พฤษภ สิงห์ พิจิก กุมภ์ ซึ่งแสดงออกจากพลังงานที่สมดุลและเต็มพอดี แน่วแน่ พินิจพิจารณา และใช้เวลา เอาดีด้วยการกักตุน คงที่ สม่ำเสมอ


    3. อุภยราศี ได้แก่ ราศี มิถุน กันย์ ธนู และมีน ซึ่งแสดงออกจากพลังงานที่มีความอ่อนตัว โอนอ่อน โลเล แบ่งรับแบ่งสู้ ดูทีท่า ใช้เวลาแก้ปัญหา

    ธาตุ (Element ) ในทางการพยากรณ์ไพ่ยิปซี นั้น ระบบธาตุที่นิยมใช้มาก คือ ธาตุสี่อันประกอบไปด้วย

    1. ธาตุไฟ = คฑา คือ การคุกคาม สร้างสรรค์ ผู้นำ ว่องไว ฉลาด ราศี เมษ สิงห์ ธนู


    2. ธาตุดิน = เหรียญ คือ การมั่นคง หนักแน่น จริงจัง สงบเสงี่ยม เห็นการณ์ไกล ราศี พฤษภ กันย์ มังกร

    3. ธาตุลม = ดาบ คือ การประสาน คล่องตัว ชอบเรียนรู้ รวดเร็ว ปรับตนเข้ากับสถานการณ์ได้ดี ราศี มิถุน ตุลย์ กุมภ์

    4. ธาตุน้ำ = ถ้วย คือ ปรับตัว ลึกซึ้ง ช่างคิดฝัน ความรู้สึกไว ราศี กรกฎ พิจิก และมีน
     
  8. J_Shaman

    J_Shaman สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +15
    เริ่มจาก ธาตุ ในแต่ละ จักรราศี ต้องอาศัยหลักธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ประกอบกันสัญลักษณ์ ของธาตุ 3 ประเภท คือ Cardinal Signs - Fixed Sighs - Mutable Signs

    1. Cardinal Signs ไฟ น้ำ ลม ดิน ( อาการเคลื่อนไหว ) หมายถึง แม่ธาตุทั้งสี่แรก จรราศี 1-4-7-10 เมษ กรกฎ ตุลย์ มกร

    ไฟ หมายถึง ใจป้ำ กล้าได้กล้าเสีย กระตือรือร้นจนออกนอกหน้า จะทำอะไรใจจอใจจ่อ มุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวไม่เลิก

    ดิน หมายถึง สนใจ กระตือรือร้น แต่ก็ยังใช้ความคิดบ้าง

    ลม หมายถึง อารมณ์ฉุนเฉียว เอาแต่ใจเกินไป


    น้ำ หมายถึง ความรู้สึกรุนแรง ท่าทางวางอำนาจเต็มที่


    2. Fixed Signs ไฟ น้ำ ลม ดิน (บอกเวลา กำหนดเวลา ) แม่ธาตุทั้งสี่ รอง

    สถิรราศี 2-5-8-11 พฤษภ สิงห์ พิจิก กุมภ์

    ไฟ หมายถึง เด็ดเดี่ยว เอาจริงเอาจัง แสดงพละกำลัง

    ดิน หมายถึง ตั้งใจจะทำต้องให้ได้ ไม่รอรีอีก เว้นไว้แต่จะพบว่าสิ่งนั้นจะทำไม่ได้จริง

    และมีแต่จะต้องเปลี่ยนใหม่เท่านั้น ติดรอบคอบ

    ลม หมายถึง ไม่เปลี่ยนความคิด ไม่เปลี่ยนใจ ไม่เปลี่ยนความประสงค์

    น้ำ หมายถึง อารมณ์ยึดมั่น แน่วแน่ เที่ยงตรง
     
  9. J_Shaman

    J_Shaman สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +15
    3. Mutable Sings (ให้ช่วง ให้ระยะ ให้แวดวง) แม่ธาตุทั้ง 4 ช่วงสุดท้าย


    อุภยราศี 3-6-9-12 มิถุน กันย์ ธนู มีน

    ไฟ หมายถึง กระตือรือร้นเอาจริงเอาจังแต่แรก แต่แล้วก็เปลี่ยนไปทำอย่างอื่นเสียได้


    ดิน หมายถึง มีความคิดอ่านดี แนะนำให้ได้ประโยชน์ในการงาน และก็ใช้การได้ด้วย


    ลม หมายถึง มีจิตใจ สามารถทำงานจนลุล่วงไปด้วยความสามารถได้ ทั้งการให้คำแนะ

    นำและกระทำจริง

    น้ำ หมายถึง มีอารมณ์จะดำเนินงาน มีอารมณ์คิด อารมณ์ปฏิบัติ จำแนกแยกแยะสิ่งถูกสิ่งผิด
     
  10. J_Shaman

    J_Shaman สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +15
    ขันธ์ 5 คืออะไร

    สรรพสิ่งทั้งหลายในอนันตจักรวาลนั้น แยกประเภทได้เป็น 3 ส่วน (ดูแผนผังด้านล่างประกอบ) คือ

    1.) ส่วนที่เป็นวัตถุทั้งหลาย ได้แก่ สสารทั้งหลาย แสง สีทั้งหลาย เสียง กลิ่น รส ความเย็น ความร้อน ความอ่อน ความแข็ง ความหย่อน ความตึง อาการเคลื่อนไหวของสิ่งต่างๆ ช่องว่างต่างๆ อากาศ ดิน น้ำ ไฟ ลม สภาพแห่งความเป็นหญิง เป็นชาย เนื้อสมองและระบบของเส้นประสาททั้งหลาย อันเป็นฐานให้จิตเกิด รวมทั้งอาการแห่งความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ เสื่อมไป ดับไปของวัตถุทั้งหลายด้วย
    ซึ่งรวมเรียกว่ารูปขันธ์ (ขันธ์ = กอง หมวด หมู่)

    2.) ส่วนที่เป็นความรู้สึกนึกคิด และความคิดทั้งหลาย รวมเรียกว่านามขันธ์ แยกได้ 4 ชนิดคือ

    2.1) เวทนาขันธ์ คือความรู้สึกเป็นสุขทางกาย ทุกข์ทางกาย โสมนัส(สุขทางใจ) โทมนัส(ทุกข์ทางใจ) อุเบกขาหรืออทุกขมสุขเวทนา(เป็นกลางๆ ไม่สุขไม่ทุกข์)

    2.2) สัญญาขันธ์ คือความจำได้หมายรู้ในสิ่งต่างๆ คือส่วนที่ทำหน้าที่ในการจำนั่นเอง (ไม่ใช่เนื้อสมอง แต่เป็นส่วนของความรู้สึกนึกคิด เนื้อสมองนั้นจัดเป็นรูปขันธ์ เนื้อสมองเป็นเหมือนสำนักงาน ส่วนนามขันธ์ทั้งหลายเหมือนผู้ที่ทำงานในสำนักงานนั้น)

    2.3) สังขารขันธ์ คือส่วนที่ปรุงแต่งจิต คือสภาพที่ปรากฎของจิตนั่นเอง เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ทาน(สภาพของจิตที่สละสิ่งต่างๆ ออกไป) ความเมตตา กรุณา มุทิตา สมาธิ ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่ท้อถอย ความง่วง ความละอาย ความเกรงกลัว ความไม่ละอาย ความไม่เกรงกลัว เจตนาในการทำสิ่งต่างๆ ความลังเลสงสัย ความมั่นใจ ความเย่อหยิ่งถือตัว ความเพียร ปิติ ความยินดีพอใจ ความอิจฉา ความตระหนี่ ศรัทธา สติ ปัญญา การคิด การตรึกตรอง

    2.4) วิญญาณขันธ์ หรือจิต คือผู้ที่รับรู้สิ่งทั้งปวง คือรับรู้ความรู้สึกต่างๆ
    ตั้งแต่ ข้อ 2.1 จนถึงข้อ 2.3 และเป็นผู้รับรู้ถึงส่วนที่เป็นรูปขันธ์ทั้งหลายด้วย อันได้แก่เป็นผู้รับรู้สิ่งทั้งหลาย ที่มากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง รวมถึงเป็นผู้รับรู้ในสภาวะแห่งนิพพานด้วย

    3.) นิพพาน คือสภาวะที่พ้นจากรูปขันธ์และนามขันธ์ทั้งปวง
    หรือสภาวะจิตที่พ้นจากความยึดมั่นผูกพันธ์ในสิ่งทั้งปวง รวมถึงไม่ยึดมั่นในนิพพานด้วย
    นิพพาน = นิ + วาน (ในภาษาบาลีนั้น ว. กับ พ. ใช้แทนกันได้ วาน จึงเท่ากับ พาน)
    นิ = พ้น
    วาน = สิ่งที่เกี่ยวโยงไว้ ได้แก่ ตัณหาคือความทะยานอยาก และอุปาทานคือความยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง
    นิวาน หรือนิพพาน แปลตามตัวจึงหมายถึงความพ้นจากเครื่องเกี่ยวโยง(ตัณหาและอุปาทาน) นั่นเอง

    สรุปแล้วขันธ์ 5 ประกอบด้วย

    1.) รูปขันธ์
    2.) เวทนาขันธ์
    3.) สัญญาขันธ์
    4.) สังขารขันธ์
    5.) วิญญาณขันธ์

    โดยที่เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์รวมเรียกว่าเจตสิก ซึ่งแปลว่าเป็นสิ่งที่เกิดร่วมกับจิตเสมอ (ในภาษาบาลีนั้นสระ อิ กับสระ เอ ใช้แทนกันได้ เจต จึงเท่ากับ จิต นั่นเอง) คือจิตและเจตสิกจะเกิดและดับพร้อมกันเสมอ จะแยกกันเกิดไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกันอยู่ เพียงแต่ว่าตอนนั้นนามขันธ์ตัวไหนจะแสดงตัวเด่นกว่าตัวอื่นเท่านั้นเอง
     
  11. J_Shaman

    J_Shaman สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +15
    พระโพธิสัตว์ปัจเจกพุทธเจ้าทั้ง5
    พระองค์จะได้เสด็จลงมาตรัสรู้ธรรมหลังจาก 5000 พระพรรษาแล้วพระองค์จึงเสด็จ เมื่อพระองค์ได้เสด็จลงมาตรัสรู้ธรรมสำเร็จแล้ว มาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว มีชื่อว่า พระศรีอริยเมตไตย นั้นเป็นที่มาของปฏิจสมุปบาท ในหลักการปฏิบัติธรรมขององค์การวิปัสสนาจารย์แห่งกรรมฐาน 40 ห้อง จึงได้เอามาจัดตั้งไว้เป็นหลักแห่งการ เริ่มต้นคือแม่ธาตุใหญ่ แม่ธาตุใหญ่คือ นะโมพุทธายะ

    1.นะ ได้แก่ พระกุกุสันโท เป็นดวงธาตุน้ำ คือ นะ
    2.โม ได้แก่ พระโกนาคม เป็นดวงธาตุดิน คือ มะ
    3.พุท ได้แก่ พระกัสสะโป หรือ กัสสะปะ ได้แก่ดวงธาตุไฟ คือ อะ
    4.ธา ได้แก่ พระสมณโคดม เป็นดวงธาตุลม คือ อุ
    5.ส่วนยะ เป็นดวงธรรมพิเศษอันเป็นชื่อของพระปัจเจกพุทธเจ้า พระองค์จะลงมาตรัสรู้ธรรมหลังจาก 5000 พระพรรษาแล้ว พระองค์จึงเสด็จ เมื่อพระองค์ตรัสรู้ธรรมแล้ว ได้มาเป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วคือ พระศรีอริยเมตไตย

    เมื่อมีองค์การปฏิจสมุปบาทแล้ว ส่วนที่จะมาประกอบขององค์การปฏิจสมุปบาท ก็จะตามมาคือดวงแก้วทั้ง4 อันเป็นดวงธาตุนั้น เราท่านจำเป็นต้องได้เอามาแยกออก ให้เป็นดวงธาตุทั้ง4 ดวงธาตุทั้ง4 นั้นคือ

    1.ดวงแก้วมณีโชติ ได้แก่พยัญชนะคือ นะ เป็นดวงธาตุน้ำ
    2.ดวงแก้วไพทูรย์ ได้แก่พยัญชนะคือ มะ เป็นดวงธาตุดิน
    3.ดวงแก้ววิเชียร ได้แก่พยัญชนะคือ อะ เป็นดวงธาตุไฟ
    4.ดวงแก้วปัทมราช ได้แก่พยัญชนะคือ อุ เป็นดวงธาตุลม

    นั้นเป็นดวงธาตุทั้ง4 ที่ได้มาจาก ดวงแก้วทั้ง 4 ส่วนแม่ธาตุได้มีชื่อว่าเป็นฐานที่ตั้งชื่อของพระโพธิสัตว์ ทั้ง 5 พระองค์นั้น เอามาเป็นแม่ธาตุใหญ่ คือ นะโมพุทธายะ นั้นเป็นแม่ธาตุใหญ่

    ส่วนดวงธาตุของธาตุทั้ง4 คือ นะ มะ พะ ทะ อันจะมาประกอบให้เป็นดวงธาตุทั้ง4 ได้แก่
    1.ธาตุน้ำ
    2.ธาตุดิน
    3.ธาตุไฟ
    4.ธาตุลม


    นั้นคือ นะ มะ อะ อุ ส่วนธาตุกรณี คือ จะ พะ กะ สะ
     
  12. J_Shaman

    J_Shaman สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +15
    โดยเหตุนี้ วิปัสสนาจารย์ ท่านจึงได้เอามาจัดเข้าให้เป็นองค์การของแม่ธาตุใหญ่ แห่งการมาดำรงไว้อยู่ในหลักสูตรของพระอภิธรรมคัมภีร์ปิฎก อันเป็นหัวใจของดวงธรรม พระปรมัตถ์ นั้นคือ

    นะโมพุทธายะ
    นะมะพะทะ
    นะมะอะอุ
    จะพะกะสะ

    จิ เจ รู นิ ได้แก่ รูป เจตสิก จิต พระนิพพาน ธรรมของพระปรมัตถ์ธรรมมี 2 คือ

    1 ได้แก่ จิต 89 ดวง หรือ 121 ดวง เจตสิก 52 ดวง รูปมี 28 ดวง
    2 อสังขตธรรม คือ ธรรมที่ไม่ได้ถูกปรุงแต่งให้เกิดให้มีขึ้นมาโดยปัจจัยทั้ง4 คือ พระนิพพาน ส่วนอสังขตธรรมอีก ที่ไม่ได้ถูกปรุงแต่งให้เกิดให้มีขึ้นมาโดยปัจจัยทั้ง4 นั้นคือ กรรม จิต อุตุ อาหาร ส่วนที่ได้มาจากสิ่งที่เป็นธรรมชาติมาประกอบให้เป็นปัจจัยทั้ง4 คือ โลกเป็นที่มาของสังขาร สังขารเป็นที่มาของโลก ส่วนลมหายใจออก เป็นรูปธรรม ลมหายใจเข้ามาในร่างกายเป็น นามธรรม

    เพราะเหตุฉันใดจึงได้เอาลมหายใจออกมากล่าวก่อน ส่วนลมหายใจเข้ามาในร่างกายกล่าวตามทีหลัง ก็เพราะว่า รูปธรรมเกิดก่อน นามธรรมเกิดตามมาทีหลัง ถ้าหากว่า การหายใจออกไปแล้ว ไม่มีการหายใจเอาลมเข้ามาในร่างกายอีกแล้วก็แปลว่า รูปธรรมได้ดับแล้ว จำต้องนามธรรมก็จะได้ดับตามไป ดังนั้นท่านผู้ที่อยากได้ธรรม อยากรู้ธรรม อยากเห็นธรรม ให้ทำการค้นหาเอาอยู่ในตัวของมนุษย์คนเรานี้ ถ้าหากว่าไปทำการค้นหาเอาดวงธรรมอยู่นอกตัวของมนุษย์คนเราแล้ว จะไม่มีวันเห็นธรรม ได้เลย

    สรุปความแล้วโลกของมนุษย์เรานี้ ก็คล้ายกับสถานที่มาทำให้พระโพธิสัตว์ มาจุติบังเกิดขึ้นแล้วมาบำเพ็ญสร้างบารมีธรรม ไว้แล้วก็จากไป ถึงเวลาแล้วก็กลับมา ปฏิสนธิ เกิด แล้วก็มาบำเพ็ญธรรม แล้วก็ตรัสรู้ธรรม กล่าวอีกอย่างหนึ่ง ถ้าหากว่าไม่มีโลกมนุษย์เราแล้วก็ไม่มีพระโพธิสัตว์มาจุติเกิด ถ้าหากว่าไม่มีพระโพธิสัตว์มาจุติเกิดแล้ว ก็ไม่มีการตรัสรู้ธรรม ถ้าหากว่าไม่มีการตรัสรู้ธรรมแล้ว ก็ไม่มีพระพุทธเจ้า

    เมื่อไม่มีพระพุทธเจ้าแล้ว โลกก็ไม่มีศาสนา เมื่อโลกมนุษย์ไม่มีศาสนาแล้ว มนุษย์ก็คล้ายกับสัตว์ป่า กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ท้องฟ้าไม่มีแสงสว่างจะมีแต่ดวงดาวนั้นละ นั้นเป็นที่มาของความอัศจรรย์ของ ดวงปฏิจจสมุปบาท จึงได้มาทำให้ดวงธรรมพระปรมัตถ์เกิดมีขึ้น เพราะเหตุนี้ดวงธรรมพระปรมัตถ์ จึงได้ให้ผลประโยชน์แก่การ เกื้อกูลต่อมนุษยชาติ อย่างหาปริมาณมิได้ เพราะเหตุนี้จึงได้เอามากล่าว เพื่อสาธุชนผู้ที่ได้สดับรับฟังแล้ว จะได้รู้แหล่งมาของดวงธรรมแห่งองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า จึงขอฝากท่านไว้ด้วย
    เขียนและเรียบเรียงโดย หลวงตานามพระครู จันพี มณีวงศ์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กันยายน 2011
  13. J_Shaman

    J_Shaman สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +15
    ณ.บัดนี้ อาตมาจะได้ นำเอาเรื่ององค์การพินทุมากล่าวต่อ ตามที่ได้ทำความเพียรมาแล้ว พอจะเป็นข้อคิดเอามาฝากท่าน สิ่งทั้งหมดที่ได้เกิดมีอยู่ในร่างกาย ตลอดไปถึงอุณหภูมิ และความรู้สึกของดวงจิต 89 ดวง หรือ 121 ดวง เพราะเหตุฉันใดจึงได้เอามากล่าว ก็เพราะองค์การพินทุ เป็นองค์การพิเศษ เพราะองค์การพินทุไม่ได้ถูกปรุงแต่งให้เกิดมีขึ้นมาโดยปัจจัยทั้ง4 คือ กรรม จิต อุตุ พร้อมไปด้วยอาหาร

    กรรมเก่าจะหมดไปองค์การพินทุก็รู้ กรรมใหม่จะเกิดมีขึ้นมาองค์การพินทุก็รู้ ตลอดไปถึงอุณหภูมิและอากาศ อันเป็นระบบหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง และผันแปรของอากาศที่มีอยู่ และอากาศจะเข้ามาในร่างกายมาทำให้อินทรีย์มีชีวิตอยู่ มาทำให้สังขารได้ดำรงอยู่ในช่วงระยะสั้นๆก็ตาม จิตเกิดมีความเศร้าหมองขึ้นมาองค์การพินทุก็รู้ จิตเกิดมีความสดชื่นแจ่มใสปิติสุของค์การพินทุก็รู้ สิ่งทั้งหมดที่มีอยู่ในร่างกายและรูปนาม อันเป็นส่วนมาประกอบ มาทำให้สังขารและรูปนามทั้งหมดนั้นๆองค์การพินทุได้รับรู้ทั้งหมด ถ้าจะกล่าวแล้วองค์การพินทุก็คล้ายกับน้ำมาทำให้ พืชพันธุ์ธัญญาหารพร้อมไปด้วยสิ่งทั้งหมดที่มีอินทรีย์ชีวิตอันเป็นธรรมชาติ ได้มีมาดำรงอยู่ในโลกมนุษย์เรานี้ ต่างๆก็ได้รับความเกื้อกูลมาจากน้ำ ตลอดไปถึงมนุษย์และสัตว์ น้อยใหญ่ทั้งหลาย พร้อมไปด้วยอุณหภูมิ และสิ่งแวดล้อมทั้งหมด ที่มีอยู่ในพื้นปฐพีและเวหา เพราะเหตุฉันใดจึงได้เอาเวหา มากล่าวด้วย ก็เพราะว่าเวหา ถ้าหากว่าไม่มีน้ำแล้ว อากาศอันจะมาทำให้อุณหภูมิเกิดนั้น ก็จะเกิดขึ้นมาไม่ได้ ในพื้นปฐพีอันเรียกว่า โลกมนุษย์ ที่มนุษย์ได้อาศัยอยู่พร้อมไปด้วยพืชพันธ์ธัญญาหาร สิ่งทั้งหมดที่เป็นธรรมชาติที่มีอยู่นั้นก็จะหมดไป ตลอดไปถึงมนุษย์ด้วยก็จะไม่มีเหลืออยู่ใน โลกมนุษย์นี้อีก จึงได้เอาเวหามากล่าวด้วย นั้นเป็นที่มาของสิ่งทั้งหมด ที่องค์การพินทุ ได้มีส่วนเกี่ยวข้องเกื้อกูลให้และรับรู้ ยังส่วนที่มีอยู่ในร่างกาย ของมนุษย์คนเรา ได้มีชื่อว่า โลกสังขาร มาจากความรู้สึก จะได้ตั้งจุดเริ่มต้นตั้งแต่เบื้องต่ำปลายผมลงมา เบื้องสูงตั้งแต่หลังเท้าทั้งสองขึ้นไป ผ่านขุมขนอันเป็นทวารทั้งหมด ที่มีอยู่ในร่างกายทุกๆส่วนของมนุษย์คนเรา ตลอดไปถึงรูปธรรมและนามธรรมด้วย ในความรู้สึกของระบบเส้นประสาท ทั้งหมด พร้อมไปด้วยลมหายใจมาประกอบทำให้ดวงจิต 89 ดวง หรือ 121 ดวงนั้น นั้นเป็นที่มาของดวงจิต ดวงจิตจึงได้เปลี่ยนมาเป็นดวงวิญญาณ ที่มีอยู่ในรูปธรรมและนามธรรม ในสังขารของร่างกาย ในการปรุงแต่งทั้งหมด จึงได้มาเป็นสัญญาจดจำ และแตกดับ ก็เพราะเหตุนี้จึงได้เอามากล่าว สิ่งที่มีอยู่ในรูปธรรมและนามธรรม แล้วเอามาสรุปลง ในบททุกขมักติกาแล้ว ได้ความว่า รูปิโน ได้แก่ รูปธรรม อรูปิโน ได้แก่ นามธรรม จึงได้เอามาสรุปลงในมติของสิ่งทั้งหมดที่มีอยู่ในสังขารอินทรีย์ชีวิตอยู่หรือตาย ตามศัพท์ คำที่ว่า อยู่หรือตาย แปลออกมาว่า ธรรมชาติเกิดและตาย นั้นละท่านเอ๊ย จึงได้เอามาจัดเข้าและสรุปลง ในมติว่า ขังสูญยังทเรติติขันธานั้นละ

    ณ.บัดนี้ อาตมาจะได้ขอกล่าวถึงประโยค แห่งกระทู้ธรรม ในพยัญชนะที่ว่า สรุปลงในบท ทุกขมักติกา ได้ดังนี้คือ ขังสูญยังทเรติติขันธา คำที่ว่า ติติ ก็คือวิวัฒนาการต่อๆไป ในความหมายว่า ในเรื่องนั้น ในกระทู้ธรรมนั้น หรือในประโยคนั้นต่อๆไป ขอยกตัวอย่างเช่น พระสงฆ์ท่านกล่าวนะโม 3 จบแล้ว ท่านจะเอาธรรมะมาแสดงต่อ ท่านยกเอาหัวข้อแห่งกระทู้ธรรมที่จะเอามาแสดงนั้น ท่านกล่าวจบแล้วท่านก็มาพักอยู่ที่ติติ แล้วท่านจึงเฉลยกระทู้ธรรม นั้นต่อไปจนกว่าจะจบ ก่อนจะจบลงท่านกล่าว ม้วนท้ายในประโยคที่ว่า เอวัง ก็มีด้วยประการละฉะนี้แล

    เพราะเหตุนี้ อาตมาจำเป็นต้องได้เอามากล่าว เพราะเรื่องที่ได้กล่าวมาทั้งหมด ในกระทู้ธรรมที่ผ่านมาแล้ว แล้วมาสรุปลงในบททุกขมักติกาแล้วว่า ติติขันธา นั้นละ ถ้าหากว่าอาตมาไม่เอามาเฉลยต่อท่าน ท่านจะกล่าวหาว่าจับต้นชนปลายก็ไม่ถูก จึงเกิดความละอายใจแด่ท่าน จำต้องได้เอามาเฉลยต่อท่าน ตามความหมาย ที่ได้เข้าใจในกระทู้ธรรมนั้น ในคำศัพท์ที่ว่า ติติ ก็คือวิวัฒนาการต่อๆไป ส่วนคำที่ว่า ขันธ์ ก็คือ กองหนึ่ง หมวดหนึ่ง มัดหนึ่ง อย่างนี้เป็นต้น ศาสนา เกจิท่านได้เขียน และจัดเข้าไว้ในหลักสูตร มาจากพระอภิธรรมคัมภีร์ปิฎกว่า ขันธ์ ศัพท์คำนี้ได้มาจาก วิวัฒนาการของพระมหาบุรุษ ผู้ที่ได้มาดำรงไว้ในศาสนาพุทธ คือ พระพุทธเจ้า ส่วนที่เอามาประกอบเข้านั้น มาจากสังคายนาครั้งที่1 หลังจากพระพุทธเจ้า พระองค์ได้พระปรินิพพาน ผ่านไปได้ 7 วัน แล้วจึงได้จัดให้มีการสังคายนาขึ้น ที่ในสถานที่ทำสังคายนานั้น ทำอยู่บนเวภาละ กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ พระมหาเถระกัสสะปะ เป็นองค์ประธาน มีพระสงฆ์เข้ามารวมทั้งหมด ส่วนพระอรหันต์ มีจำนวน 500 พระองค์ เข้ามาร่วมด้วย แต่การทำสังคายนานั้น ท่านไม่ได้กล่าวไว้ว่า ทำครั้งวันที่เท่าไร แต่เรารู้ได้ว่าทำอยู่ในฤดูฝน ทำอยู่เป็นเวลา 7 อาทิตย์ จึงสำเร็จ หลังจากการสำเร็จเรียบร้อยแล้ว มีการทำบุญฉลองอยู่เป็น 7 วัน 7 คืน จึงขอฝากท่านไว้ด้วย นั้นเป็นการรับรู้และลงมติ จึงได้เอามาใช้ในวิวัฒนาการต่อๆไปของกระทู้ธรรม และเรื่องนั้น ในประโยคนั้น ต่อๆไป ในคำที่ว่า ติติ

    ส่วนคำที่ว่า สังขารทั้งหมด ได้มาประกอบส่วนให้เป็นมนุษย์นั้น ก็ได้จบลงในบททุกขมักติกา ว่า ติติขันธา มาจากขันธ์5 คือ
    1.รูปขันธ์
    2.เวทนาขันธ์
    3.สัญญาขันธ์
    4.สังขารขันธ์
    5.วิญญาณขันธ์

    ก็ได้อวสาน ลงแล้ว คือ ขันทาติติ ทา มาจากดวงธาตุลม คือสังขารทั้งหมด ได้มาประกอบส่วนเข้าให้เป็นขันธ์นั้นๆ ในเวลานี้ก็ได้แตกดับละลายสูญหาย ออกจากกันไปหมดแล้ว คงยังเหลือไว้แต่ กิริยา คือความว่างเปล่า นั้นเป็นที่มาของการที่ได้สรุปลงในบททุกขมักติกา แล้วว่า ขังสูญยังทเรติติขันทา คำที่ว่า ทา มาจากดวงธาตุลม นั้นละ ที่ได้เอามาต่ออยู่ท้ายสุดของประโยคนั้น จึงขอฝากท่านไว้ด้วย

    ณ.บัดนี้ อาตมาจะได้ขอเฉลยต่อ ในคำที่ว่า ติติ นั้น เป็นวิวัฒนาการต่อๆไป ในทางเจริญรุ่งเรืองและสันติสุข และเป็นวิวัฒนาไปในทางเสื่อมและทางทุกข์ต่อๆไป พระผู้มี พระภาคเจ้า พระองค์ได้เอามาเผยต่อวิไนยสัตว์แล้ว ณ.บัดนี้จะได้ขอกล่าวถึง กระทู้ธรรมในประโยคที่ ได้กล่าวมาแล้วว่า ติติ ในวิวัฒนาการไปในทาง เจริญรุ่งเรืองและสันติสุข และวิวัฒนาการไปในทางเสื่อมและทางทุกข์ จะขอยกตัวอย่างอาทิเช่น พระสงฆ์ท่านกล่าว นะโม 3 จบ แล้วท่านเอากระทู้ธรรมในประโยคนั้นมาต่อคือ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ติติ ในความหมายว่า ในวิวัฒนาการต่อๆไปนั้น ในวิวัฒนาการก็คือ พุทธัง สรณังคัจฉามิ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ได้นำเอายังความเจริญรุ่งเรืองและสันติสุข มาให้แก่สรรพสัตว์น้อยใหญ่ทั้งหลาย อันมีมนุษย์ตลอดไปถึงเทพเทพาทั้งหลายทุกๆเหล่า ต่างก็ได้รับความเมตตากรุณาธิคุณจากพระองค์ นั้นเป็น วิวัฒนาการไปในทางเจริญรุ่งเรืองและสันติสุข

    ส่วนที่เป็นวิวัฒนาไปในทางเสื่อมและทางทุกข์ พระองค์ก็ได้เอามาแสดงให้รู้ถึงที่มาของความเสื่อมและความทุกข์ ขอยกตัวอย่างในกระทู้ธรรม ในประโยคที่ว่า พระสงฆ์ ท่านกล่าวนะโม 3 จบแล้ว ท่านเอากระทู้ธรรมมาต่อ ว่าขังสูญญังขันทาติติ นั้นเป็นวิวัฒนาไปในทางทุกข์และทางเสื่อม เพราะเหตุฉันใดจึงได้เอามากล่าวว่า ทุกข์และเสื่อม ก็เพราะอยู่ ในพยัญชนะ ที่ว่า ขันทา คำที่ว่า ขัน ได้มาจาก สังขารทั้งหมด ได้มาประกอบส่วนให้เป็นมนุษย์ มีการมาประกอบไปด้วย ดวงธาตุทั้ง4 ที่มีอยู่ ในรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และ วิญญาณขันธ์ ได้มาจากธรรมชาติ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เกิด แก่ เจ็บ ตาย อันเป็นวิวัฒนามาจากความทุกข์และความเสื่อม สิ่งทั้งหมดนั้นได้แตกดับละลายสูญหายออกจากกันไปหมดแล้ว คงยังเหลือไว้แต่ กิริยาคือความว่างเปล่า อันได้มาจากความเสื่อม เพราะเบื้องต้น มีเกิด ต่อไปมีแก่ ตามมาก็มีเจ็บ สุดท้ายก็มีตาย อันเป็นกิริยามาจากความทุกข์ ยื่นให้แก่ผู้ครองสังขารได้รับความทุกข์นั้นๆ แล้วก็ไปถึงแก่ความตาย อันเป็นความทุกข์ครั้งสุดท้ายของมนุษย์ อันเป็นที่มาของสิ่งทั้งหมด ได้มาประกอบเข้าให้เป็น รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ในเวลานี้ก็ได้แตกดับละลายสูญหายออกจากกันไปหมดแล้ว คงยังเหลือไว้แต่ความว่างเปล่า มาจากดวงธาตุลมคือ ทา จึงได้เอามาสรุปลงในบท ทุกขมักติกา แล้วว่า ขังสูญญังทเรติติขันทา นั้นเป็นที่มาของความทุกข์และความเสื่อมได้มาทำให้เราเป็นมนุษย์ เกิดมาแล้วก็มีแก่ มีตาย ท้ายสุดก็ไม่มีอะไรเหลืออยู่ มีแต่ความว่างเปล่า ธรรมะที่จะเอามาฝากท่านสาธุชนพุทธบริษัท จะได้สดับรับฟังต่อไปนั้นคือ ทำความเพียรเพื่อการหลุดพ้น

    ณ.บัดนี้ อาตมาจะได้ นำเอาเรื่ององค์การพินทุมากล่าวต่อ ตามที่ได้ทำความเพียรมาแล้ว พอจะเป็นข้อคิดเอามาฝากท่าน สิ่งทั้งหมดที่ได้เกิดมีอยู่ในร่างกาย ตลอดไปถึงอุณหภูมิ และความรู้สึกของดวงจิต 89 ดวง หรือ 121 ดวง เพราะเหตุฉันใดจึงได้เอามากล่าว ก็เพราะองค์การพินทุ เป็นองค์การพิเศษ เพราะองค์การพินทุไม่ได้ถูกปรุงแต่งให้เกิดมีขึ้นมาโดยปัจจัยทั้ง4 คือ กรรม จิต อุตุ พร้อมไปด้วยอาหาร
    กรรมเก่าจะหมดไปองค์การพินทุก็รู้ กรรมใหม่จะเกิดมีขึ้นมาองค์การพินทุก็รู้ ตลอดไปถึงอุณหภูมิและอากาศ อันเป็นระบบหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง และผันแปรของอากาศที่มีอยู่ และอากาศจะเข้ามาในร่างกายมาทำให้อินทรีย์มีชีวิตอยู่ มาทำให้สังขารได้ดำรงอยู่ในช่วงระยะสั้นๆก็ตาม จิตเกิดมีความเศร้าหมองขึ้นมาองค์การพินทุก็รู้ จิตเกิดมีความสดชื่นแจ่มใสปิติสุของค์การพินทุก็รู้ สิ่งทั้งหมดที่มีอยู่ในร่างกายและรูปนาม อันเป็นส่วนมาประกอบ มาทำให้สังขารและรูปนามทั้งหมดนั้นๆองค์การพินทุได้รับรู้ทั้งหมด ถ้าจะกล่าวแล้วองค์การพินทุก็คล้ายกับน้ำมาทำให้ พืชพันธุ์ธัญญาหารพร้อมไปด้วยสิ่งทั้งหมดที่มีอินทรีย์ชีวิตอันเป็นธรรมชาติ ได้มีมาดำรงอยู่ในโลกมนุษย์เรานี้ ต่างๆก็ได้รับความเกื้อกูลมาจากน้ำ ตลอดไปถึงมนุษย์และสัตว์ น้อยใหญ่ทั้งหลาย พร้อมไปด้วยอุณหภูมิ และสิ่งแวดล้อมทั้งหมด ที่มีอยู่ในพื้นปฐพีและเวหา เพราะเหตุฉันใดจึงได้เอาเวหา มากล่าวด้วย ก็เพราะว่าเวหา ถ้าหากว่าไม่มีน้ำแล้ว อากาศอันจะมาทำให้อุณหภูมิเกิดนั้น ก็จะเกิดขึ้นมาไม่ได้ ในพื้นปฐพีอันเรียกว่า โลกมนุษย์ ที่มนุษย์ได้อาศัยอยู่พร้อมไปด้วยพืชพันธ์ธัญญาหาร สิ่งทั้งหมดที่เป็นธรรมชาติที่มีอยู่นั้นก็จะหมดไป ตลอดไปถึงมนุษย์ด้วยก็จะไม่มีเหลืออยู่ใน โลกมนุษย์นี้อีก จึงได้เอาเวหามากล่าวด้วย นั้นเป็นที่มาของสิ่งทั้งหมด ที่องค์การพินทุ ได้มีส่วนเกี่ยวข้องเกื้อกูลให้และรับรู้ ยังส่วนที่มีอยู่ในร่างกาย ของมนุษย์คนเรา ได้มีชื่อว่า โลกสังขาร มาจากความรู้สึก จะได้ตั้งจุดเริ่มต้นตั้งแต่เบื้องต่ำปลายผมลงมา เบื้องสูงตั้งแต่หลังเท้าทั้งสองขึ้นไป ผ่านขุมขนอันเป็นทวารทั้งหมด ที่มีอยู่ในร่างกายทุกๆส่วนของมนุษย์คนเรา ตลอดไปถึงรูปธรรมและนามธรรมด้วย ในความรู้สึกของระบบเส้นประสาท ทั้งหมด พร้อมไปด้วยลมหายใจมาประกอบทำให้ดวงจิต 89 ดวง หรือ 121 ดวงนั้น นั้นเป็นที่มาของดวงจิต ดวงจิตจึงได้เปลี่ยนมาเป็นดวงวิญญาณ ที่มีอยู่ในรูปธรรมและนามธรรม ในสังขารของร่างกาย ในการปรุงแต่งทั้งหมด จึงได้มาเป็นสัญญาจดจำ และแตกดับ ก็เพราะเหตุนี้จึงได้เอามากล่าว สิ่งที่มีอยู่ในรูปธรรมและนามธรรม แล้วเอามาสรุปลง ในบททุกขมักติกาแล้ว ได้ความว่า รูปิโน ได้แก่ รูปธรรม อรูปิโน ได้แก่ นามธรรม จึงได้เอามาสรุปลงในมติของสิ่งทั้งหมดที่มีอยู่ในสังขารอินทรีย์ชีวิตอยู่หรือตาย ตามศัพท์ คำที่ว่า อยู่หรือตาย แปลออกมาว่า ธรรมชาติเกิดและตาย นั้นละท่านเอ๊ย จึงได้เอามาจัดเข้าและสรุปลง ในมติว่า ขังสูญยังทเรติติขันธานั้นละ

    เขียนและเรียบเรียงโดย หลวงตานามพระครู จันพี มณีวงศ์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กันยายน 2011
  14. J_Shaman

    J_Shaman สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +15
    ณ.บัดนี้ อาตมาจะได้ขอกล่าวถึงประโยค แห่งกระทู้ธรรม ในพยัญชนะที่ว่า สรุปลงในบท ทุกขมักติกา ได้ดังนี้คือ ขังสูญยังทเรติติขันธา คำที่ว่า ติติ ก็คือวิวัฒนาการต่อๆไป ในความหมายว่า ในเรื่องนั้น ในกระทู้ธรรมนั้น หรือในประโยคนั้นต่อๆไป ขอยกตัวอย่างเช่น พระสงฆ์ท่านกล่าวนะโม 3 จบแล้ว ท่านจะเอาธรรมะมาแสดงต่อ ท่านยกเอาหัวข้อแห่งกระทู้ธรรมที่จะเอามาแสดงนั้น ท่านกล่าวจบแล้วท่านก็มาพักอยู่ที่ติติ แล้วท่านจึงเฉลยกระทู้ธรรม นั้นต่อไปจนกว่าจะจบ ก่อนจะจบลงท่านกล่าว ม้วนท้ายในประโยคที่ว่า เอวัง ก็มีด้วยประการละฉะนี้แล

    เพราะเหตุนี้ อาตมาจำเป็นต้องได้เอามากล่าว เพราะเรื่องที่ได้กล่าวมาทั้งหมด ในกระทู้ธรรมที่ผ่านมาแล้ว แล้วมาสรุปลงในบททุกขมักติกาแล้วว่า ติติขันธา นั้นละ ถ้าหากว่าอาตมาไม่เอามาเฉลยต่อท่าน ท่านจะกล่าวหาว่าจับต้นชนปลายก็ไม่ถูก จึงเกิดความละอายใจแด่ท่าน จำต้องได้เอามาเฉลยต่อท่าน ตามความหมาย ที่ได้เข้าใจในกระทู้ธรรมนั้น ในคำศัพท์ที่ว่า ติติ ก็คือวิวัฒนาการต่อๆไป ส่วนคำที่ว่า ขันธ์ ก็คือ กองหนึ่ง หมวดหนึ่ง มัดหนึ่ง อย่างนี้เป็นต้น ศาสนา เกจิท่านได้เขียน และจัดเข้าไว้ในหลักสูตร มาจากพระอภิธรรมคัมภีร์ปิฎกว่า ขันธ์ ศัพท์คำนี้ได้มาจาก วิวัฒนาการของพระมหาบุรุษ ผู้ที่ได้มาดำรงไว้ในศาสนาพุทธ คือ พระพุทธเจ้า
    ส่วนที่เอามาประกอบเข้านั้น มาจากสังคายนาครั้งที่1 หลังจากพระพุทธเจ้า พระองค์ได้พระปรินิพพาน ผ่านไปได้ 7 วัน แล้วจึงได้จัดให้มีการสังคายนาขึ้น ที่ในสถานที่ทำสังคายนานั้น ทำอยู่บนเวภาละ กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ พระมหาเถระกัสสะปะ เป็นองค์ประธาน มีพระสงฆ์เข้ามารวมทั้งหมด ส่วนพระอรหันต์ มีจำนวน 500 พระองค์ เข้ามาร่วมด้วย แต่การทำสังคายนานั้น ท่านไม่ได้กล่าวไว้ว่า ทำครั้งวันที่เท่าไร แต่เรารู้ได้ว่าทำอยู่ในฤดูฝน ทำอยู่เป็นเวลา 7 อาทิตย์ จึงสำเร็จ หลังจากการสำเร็จเรียบร้อยแล้ว มีการทำบุญฉลองอยู่เป็น 7 วัน 7 คืน จึงขอฝากท่านไว้ด้วย นั้นเป็นการรับรู้และลงมติ จึงได้เอามาใช้ในวิวัฒนาการต่อๆไปของกระทู้ธรรม และเรื่องนั้น ในประโยคนั้น ต่อๆไป ในคำที่ว่า ติติ

    ส่วนคำที่ว่า สังขารทั้งหมด ได้มาประกอบส่วนให้เป็นมนุษย์นั้น ก็ได้จบลงในบททุกขมักติกา ว่า ติติขันธา มาจากขันธ์5 คือ
    1.รูปขันธ์
    2.เวทนาขันธ์
    3.สัญญาขันธ์
    4.สังขารขันธ์
    5.วิญญาณขันธ์

    ก็ได้อวสาน ลงแล้ว คือ ขันทาติติ ทา มาจากดวงธาตุลม คือสังขารทั้งหมด ได้มาประกอบส่วนเข้าให้เป็นขันธ์นั้นๆ ในเวลานี้ก็ได้แตกดับละลายสูญหาย ออกจากกันไปหมดแล้ว คงยังเหลือไว้แต่ กิริยา คือความว่างเปล่า นั้นเป็นที่มาของการที่ได้สรุปลงในบททุกขมักติกา แล้วว่า ขังสูญยังทเรติติขันทา คำที่ว่า ทา มาจากดวงธาตุลม นั้นละ ที่ได้เอามาต่ออยู่ท้ายสุดของประโยคนั้น จึงขอฝากท่านไว้ด้วย

    ณ.บัดนี้ อาตมาจะได้ขอเฉลยต่อ ในคำที่ว่า ติติ นั้น เป็นวิวัฒนาการต่อๆไป ในทางเจริญรุ่งเรืองและสันติสุข และเป็นวิวัฒนาไปในทางเสื่อมและทางทุกข์ต่อๆไป พระผู้มี พระภาคเจ้า พระองค์ได้เอามาเผยต่อวิไนยสัตว์แล้ว ณ.บัดนี้จะได้ขอกล่าวถึง กระทู้ธรรมในประโยคที่ ได้กล่าวมาแล้วว่า ติติ ในวิวัฒนาการไปในทาง เจริญรุ่งเรืองและสันติสุข และวิวัฒนาการไปในทางเสื่อมและทางทุกข์ จะขอยกตัวอย่างอาทิเช่น พระสงฆ์ท่านกล่าว นะโม 3 จบ แล้วท่านเอากระทู้ธรรมในประโยคนั้นมาต่อคือ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ติติ ในความหมายว่า ในวิวัฒนาการต่อๆไปนั้น ในวิวัฒนาการก็คือ พุทธัง สรณังคัจฉามิ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ได้นำเอายังความเจริญรุ่งเรืองและสันติสุข มาให้แก่สรรพสัตว์น้อยใหญ่ทั้งหลาย อันมีมนุษย์ตลอดไปถึงเทพเทพาทั้งหลายทุกๆเหล่า ต่างก็ได้รับความเมตตากรุณาธิคุณจากพระองค์ นั้นเป็น วิวัฒนาการไปในทางเจริญรุ่งเรืองและสันติสุข

    ส่วนที่เป็นวิวัฒนาไปในทางเสื่อมและทางทุกข์ พระองค์ก็ได้เอามาแสดงให้รู้ถึงที่มาของความเสื่อมและความทุกข์ ขอยกตัวอย่างในกระทู้ธรรม ในประโยคที่ว่า พระสงฆ์ ท่านกล่าวนะโม 3 จบแล้ว ท่านเอากระทู้ธรรมมาต่อ ว่าขังสูญญังขันทาติติ นั้นเป็นวิวัฒนาไปในทางทุกข์และทางเสื่อม เพราะเหตุฉันใดจึงได้เอามากล่าวว่า ทุกข์และเสื่อม ก็เพราะอยู่ ในพยัญชนะ ที่ว่า ขันทา คำที่ว่า ขัน ได้มาจาก สังขารทั้งหมด ได้มาประกอบส่วนให้เป็นมนุษย์ มีการมาประกอบไปด้วย ดวงธาตุทั้ง4 ที่มีอยู่ ในรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และ วิญญาณขันธ์ ได้มาจากธรรมชาติ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เกิด แก่ เจ็บ ตาย อันเป็นวิวัฒนามาจากความทุกข์และความเสื่อม สิ่งทั้งหมดนั้นได้แตกดับละลายสูญหายออกจากกันไปหมดแล้ว คงยังเหลือไว้แต่ กิริยาคือความว่างเปล่า อันได้มาจากความเสื่อม เพราะเบื้องต้น มีเกิด ต่อไปมีแก่ ตามมาก็มีเจ็บ สุดท้ายก็มีตาย อันเป็นกิริยามาจากความทุกข์ ยื่นให้แก่ผู้ครองสังขารได้รับความทุกข์นั้นๆ แล้วก็ไปถึงแก่ความตาย อันเป็นความทุกข์ครั้งสุดท้ายของมนุษย์ อันเป็นที่มาของสิ่งทั้งหมด ได้มาประกอบเข้าให้เป็น รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ในเวลานี้ก็ได้แตกดับละลายสูญหายออกจากกันไปหมดแล้ว คงยังเหลือไว้แต่ความว่างเปล่า มาจากดวงธาตุลมคือ ทา จึงได้เอามาสรุปลงในบท ทุกขมักติกา แล้วว่า ขังสูญญังทเรติติขันทา นั้นเป็นที่มาของความทุกข์และความเสื่อมได้มาทำให้เราเป็นมนุษย์ เกิดมาแล้วก็มีแก่ มีตาย ท้ายสุดก็ไม่มีอะไรเหลืออยู่ มีแต่ความว่างเปล่า ธรรมะที่จะเอามาฝากท่านสาธุชนพุทธบริษัท จะได้สดับรับฟังต่อไปนั้นคือ ทำความเพียรเพื่อการหลุดพ้น
    เขียนและเรียบเรียงโดย หลวงตานามพระครู จันพี มณีวงศ์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กันยายน 2011
  15. J_Shaman

    J_Shaman สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +15
    ณ.บัดนี้อาตมาจะขอกล่าว เรื่อง ดวงญาณหลุดพ้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ได้ทำความเพียรในการค้นหาเอาดวงธรรมแห่งการหลุดพ้นเป็นเวลา 6 ปี ในการที่พระองค์ทำความเพียรค้นหาเอายังดวงธรรมและสิ่งทั้งหลายอันเป็นเหตุและผลมาจากปัจจัยเป็นที่มาของธรรมชาติประกอบด้วยเหตุและผลพร้อมด้วย สิ่งแวดล้อมทั้งหมด พระองค์จึงได้เอามาประกอบเข้าให้เป็นที่สมบูรณ์ แล้วพระองค์จึงได้เอามาเผยต่อวิไนยสัตว์ต่อๆไป นั้นเป็นส่วนที่พระองค์ค้นหา เห็นเท่านั้น

    ยังส่วนดวงญาณหลุดพ้นนั้น ได้เกิดขึ้นมาจากอานิสงฆ์ผลบุญ พระบารมีธรรมที่พระองค์ได้สร้างสมไว้ในอดีตชาติปางหลัง จึงได้มาอำนวยผลให้ และได้มาประกอบ ให้เกิดมีขึ้นในตอนเช้า ของวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ยามรุ่งอรุณของตอนเช้า เป็นยามตรัสรู้ธรรมของพระองค์ ดวงญาณหลุดพ้นจึงได้เกิด มีขึ้นในการตรัสรู้ธรรมของพระองค์ พระองค์จึงได้หลุดพ้นออกมาว่า องค์สัมมาสัมพุทธะ

    พระพุทธปัจเจกะ ก่อนจะได้มาตรัสรู้ธรรมและมาเป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้นั้น จำต้องได้มาทำความเพียร สร้างบุญบารมีให้ได้เต็มที่ก่อน แล้วก็จากไป เวลามาถึงแล้ว ก็กลับมาปฏิสนธิเกิด แล้วมาบำเพ็ญพรตให้ถึงยังดวงธรรม และทำการค้นหาเอาสัจธรรม เมื่อพร้อมแล้วเวลามาถึงก็ตรัสรู้ธรรม หลังจากตรัสรู้ธรรมแล้วได้มาเป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว พระองค์จึงได้เอาสิ่งที่พระองค์ค้นหาเห็นทั้งหมดนั้น เอามาเผยต่อวิไนยสัตว์ต่อไป นั้นสิ่งที่เป็นมาของเหตุและผลอันเป็นปัจจัยของและเป็นที่มาของพระปัจเจกะก่อนที่จะได้มาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจำต้องได้ผ่านสิ่งทั้งหมดที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น นั้นเป็นเหตุที่มาของพระปัจเจกพุทธะ ได้มีคำถาม เกิดขึ้นมาว่า

    “ ก่อนจะได้มาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น จะมีส่วนประกอบอะไรบ้าง “

    ตอบ ผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้นั้น จำต้องมีพร้อม 3 อย่าง คือ
    1.การบำเพ็ญให้ถึงพร้อมยังดวงธรรม
    2.จำต้องได้รู้ถึง ทุกข์ นิโรธ สมุหทัย มรรค
    3.เมื่อพร้อมแล้ว การตรัสรู้ธรรมก็จะเกิดขึ้นมาโดยอัตโนมัติ

    เมื่อตรัสรู้ธรรมแล้ว ตำแหน่งพระพุทธเจ้า ก็จะเกิดขึ้นมาเอง ก็คล้ายกับประโยคที่ว่า พระพุทธะ และได้มีประโยคมาเสริมต่ออยู่ท้ายของประโยค ท่านเรียกว่าเสริมยศเสริมเกียรติแด่พระองค์ ให้สมบูรณ์ออกมา ในมหาราชาศัพท์ว่า พระพุทธเจ้า หรือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อีกประโยคหนึ่งกล่าวว่า พระบรมศาสดา จารย์แห่งองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างนี้เป็นต้น

    ส่วนประโยคในศัพท์ที่จะเอามากล่าวถวายพระพรแด่พระองค์ ก็มีอยู่ 3 ประโยคด้วยกันคือ
    1.ได้แก่กล่าวคำถวายพระพรแด่พระองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า
    2.ได้แก่กล่าวคำสรรเสริญแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
    3.ได้แก่กล่าวคำสดุดีแด่พระบรมศาสดาจารย์เจ้า แห่งองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ กล่าวคำสดุดีแด่พระองค์ ในประโยคท้ายสุดนี้ใช้ใน บุคคลาธิฐาน เห็นสมควรแล้วจึงใช้ จึงขอฝากท่านไว้ด้วย

    ณ.บัดนี้อาตมาจะได้ขอย้อนกลับไปยัง ดวงญาณหลุดพ้นอีกครั้งหนึ่งเพื่อจะได้เอามาเฉลยต่อท่าน ตามความที่ได้เข้าใจ ในการที่ได้ทำความเพียรปฏิบัติธรรมมาแล้ว เห็นว่าควรจะเป็นอย่างนั้นต่อไป ส่วนดวงญานหลุดพ้นที่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ได้ทำความเพียรอยู่เป็นเวลา 6ปี ในตอนเช้าของวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน6 ปีจอ ยามรุ่งอรุณของตอนเช้า เป็นยามตรัสรู้ธรรมของพระองค์ ดวงญาณหลุดพ้นจึงได้เกิดขึ้นมาในการตรัสรู้ธรรมของพระองค์ พระองค์จึงได้หลุดพ้นออกมาว่า พระสัมมาสัมพุทธะ ในการตรัสรู้ธรรมของพระองค์ โดยที่ไม่ได้มีครูอาจารย์ใดสอนทั้งสิ้น นั้นเป็นดวงญาณหลุดพ้น ได้มาจากพยัญชนะ 2 ตัว เอามาประกอบเข้าจึงได้เกิดมหาอานุภาพขึ้น พยัญชนะ2ตัวนั้นก็คือ

    พะ มาจากดวงธาตุไฟ อันเป็นชื่อของพระพุทธปัจเจกะที่พระองค์ได้มาตรัสรู้ธรรม ที่ได้ผ่านมาแล้วนั้น คือ พระกัสสะโป หรือ กัสสะปะ ที่มีอยู่ในพุทธประวัติ ของทางพระพุทธศาสนา

    ส่วนพยัญชนะตัวที่2 มาจาก ทา คือ ชื่อของพระสมณโคดม นั้นเป็นดวงธาตุลม เอาดวงธาตุทั้ง2 นั้น มาประกอบผสมเข้าแล้วก็ได้ประโยคออกมาว่า พุท มาจากธาตุไฟและธาตุลม จึงได้เกิดเป็นมหาอานุภาพขึ้น จึงได้มาเป็นดวงญาณหลุดพ้นในการตรัสรู้ธรรมขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้ชื่อว่าดวงญาณหลุดพ้น โดยสมบูรณ์ถี่ถ้วน

    ณ.บัดนี้ อาตมาจะต่อในประโยคที่ว่าหลุดพ้น ได้มีคำถามเกิดขึ้นมาว่า“ ดวงญาณหลุดพ้นนั้นๆหมายถึง อย่างไร “

    ตอบ คำที่ว่า “ หลุดพ้นนั้น “ ก็อุปมา ก็คล้ายกับบุคคลคนหนึ่ง อยู่ในสถานที่มืด ในบริเวณนั้น อุปมา 12 วามณฑล ที่มีความมืดครอบงำอยู่ ไม่สามารถ ที่จะมองเห็นอะไรได้ทั้งสิ้น ส่วนที่จะเอามาเป็นปัจจัยและเหตุ เอามากำจัดเสียความมืดนั้นให้หมดไปจากบริเวณนั้น คือ

    1.ดวงเทียนไข 1 ดวง และไม้ขีดไฟ 1 ดวง ไม้ขีดไฟเป็นเหตุ ส่วนเทียนไขเป็นปัจจัย
    เทียนไขมีการประกอบอยู่ 2 อย่าง คือ
    1.ไขมัน
    2.ฝ้ายไส้เทียน

    เอามาประกอบให้เป็น ดวงเทียน ส่วนผู้ที่อยู่ในความมืดนั้นๆ และสถานที่นั้นจำต้องได้มีอุณหภูมิ ถ้าหากว่าไม่มีอุณหภูมิแล้ว ก็ไม่สามารถจุดดวงเทียน นั้นให้เกิดไหม้ขึ้นมาได้ เพราะสูญญากาศ คำที่ว่า “ อุณหภูมิและอากาศ “ ก็คล้ายกับคำที่ว่า ศรัทธา ถ้าหากว่าไม่มีศรัทธาแล้ว การทำความเพียรให้ถึงยังที่สุด แห่งการหลุดพ้นก็จะไม่มีไม่เกิดขึ้นมาได้ ศรัทธาเป็นส่วนสำคัญที่สุด เมื่อปัจจัยมีพร้อมแล้วก็ทำการจุดดวงเทียนนั้นให้ไหม้ การเผาไหม้ของดวงเทียนนั้นจะมา ทำให้แสงสว่างเกิดขึ้น แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดจากดวงเทียนได้กำลังเต็มที่แล้ว แสงสว่างนั้นก็มากำจัดเสียยังความมืดนั้นให้หมดไป เมื่อความมืดหมดไปแล้ว นั้นแหละเป็นที่มาของการหลุดพ้น

    คำที่ว่า “ หลุด “ แปลว่า ออกจากสิ่งที่มาครอบงำทั้งหมดนั้นได้แล้ว ส่วนคำที่ว่า “ พ้น “ ก็คล้ายกับการได้เป็นอิสรภาพ ไม่ได้ถูกอยู่ใต้อำนาจของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่มาครอบงำทั้งสิ้น สรุปความแล้วว่า ได้เป็นอิสรภาพนั้นล่ะ ส่วนคำที่ว่า “ เจ้า “มาจากดวงเทียนที่มีแสงสว่าง อันเป็นมหาอานุภาพได้มากำจัดความมืดนั้นให้หมดไป นั้นละคำที่ว่า “ เจ้า “

    ณ.บัดนี้อาตมาจะขอกล่าวถึง ผู้ที่ได้เห็นผลประโยชน์ของตนและคนอื่น ก็คล้ายกับบุคคลคนหนึ่ง ได้ทำบุญไปด้วยความบริสุทธิ์ เมื่อได้ทำไปแล้ว อานิสงค์ของการ บำเพ็ญบุญนั้น มาทำให้ได้รับความสุข เพราะคนๆนั้นได้เสียสละทรัพย์ของตนออกจากความตระหนี่เหนียวแน่น เอามาบำเพ็ญทำประโยชน์ให้แก่ตนและคนอื่น เมื่อทำไปแล้วอานิสงค์มาจากอานุภาพของการบำเพ็ญบุญได้มาอำนวยผลให้ได้รับความสุข ก็เช่นเดียวกับพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ได้เห็นว่าปวงสัตว์โลกทั้งหลาย ได้ตกอยู่ในห้วงลึกแห่งความทุกข์ พระองค์จึงได้เสียสละสิ่งทั้งหมดที่พระองค์มีอยู่ บุตร ภรรยา พระบิดา พระมารดา ตลอดไปถึงไพร่ฟ้าราษฎร และพระบัลลังก์ของพระองค์ พระองค์ได้เอาสิ่งทั้งหมดที่พระองค์มีอยู่นั้นไว้เบื้องหลัง แล้วพระองค์เดินหน้าต่อไปแล้วพระองค์เอาชีวิตของพระองค์มาวางไว้ เป็นเดิมพัน แล้วพระองค์มาทำความเพียร ทำการค้นหาเอายังดวงธรรมอันเป็นสัจธรรม เพื่อจะเอามาโปรดวิไนยสัตว์ของพระองค์ให้ได้หลุดพ้น ออกจากความทุกข์นั้นให้หมดไป
    นั้นเป็นที่มาของดวงญาณหลุดพ้น ได้เอาดวงธาตุทั้ง 2 มาประกอบทำการผสมเข้าให้เป็น ดวงเดียว จึงได้เกิดมหาอานุภาพขึ้น เพราะดวงธาตุทั้ง2 นั้นมาจาก ดวงธาตุไฟและดวงธาตุลม เมื่อได้เอามาประกอบเข้าแล้ว จึงได้เกิดดวงญาณหลุดพ้นมาในการตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธะ จึงได้ขนานนามว่า ดวงญาณหลุดพ้น โดยสมบูรณ์ถี่ถ้วน ส่วนที่จะเอามาเสริมเข้า ให้เต็มเกียรติเต็มยศ ในการถวายพระพรแด่พระองค์ ในมหาราชาศัพท์กล่าวว่า พระสัมมาสัมพุทธะ หรือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถึงอย่างใดก็ตาม มหาราชาศัพท์เบื้องต้นของพระมหาบุรุษ ผู้ที่ได้ทำความเพียรค้นหาสัจธรรมได้โดยสำเร็จ ก็คงยังดำรงตั้งอยู่เป็นหลักอย่างสง่าผ่าเผย ก็คือ พระสัมมาสัมพุทธะส่วนที่จะเอา มาประกอบนั้นมี 5 ประโยคด้วยกันคือ


    1.พระพุทธะ หรือ พระพุทธเจ้า ก่อนจะได้มาเป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้นั้น จำต้องมีการประกอบอยู่ 3 อย่างคือ <DIR sb_id="ms__id2028">1.การบำเพ็ญพรตให้ถึงพร้อมแห่งดวงธรรม
    2.ต้องรู้ ทุกข์ นิโรธ สมุหทัย
    3.การบำเพ็ญถึงพร้อมแล้ว การตรัสรู้ธรรมก็จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อตรัสรู้ธรรมแล้ว จึงได้มาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์
    </DIR>2.พุทธศาสนา
    3.พุทธรัตนตรัย
    4.พุทธจักรกัปวัตนสูติ
    5.พุทธภพ

    1.พระพุทธะ หรือ พระพุทธเจ้า มีประกอบไปด้วยองค์ 3 คือ


    <DIR sb_id="ms__id2039">1.พุทธัง ได้แก่ พระพุทธเจ้า
    2.ธัมมัง ได้แก่ ดวงธรรมของพระองค์
    3.สังฆัง ได้แก่ พระสงฆ์สาวกแห่งพระองค์
    </DIR>2.พระพุทธศาสนา มีประกอบด้วยองค์ 3 คือ


    <DIR sb_id="ms__id2045">1.ชาติ 2.ศาสนา 3.วัฒนธรรม</DIR>3.พระพุทธรัตนตรัย มีประกอบองค์ 3 คือ


    <DIR sb_id="ms__id2049">1.พระพุทธเจ้า 2.พระธรรม 3.พระสงฆ์</DIR>4.พุทธจักรกัปวัตนสูติ มีประกอบด้วยองค์ 3 คือ


    <DIR sb_id="ms__id2053"></DIR><DIR sb_id="ms__id2054">1.พระสูตรปิฎก 2.พระวินัยปิฎก 3.พระอภิธรรมคัมภีร์ปิฎก</DIR>5.พุทธภพ มีประกอบไปด้วยภพทั้ง 5 คือ


    <DIR sb_id="ms__id2058">1.พรหมโลก 2.เทวโลก 3.นาคาโลก 4.มนุษยโลก 5.ยมโลก </DIR><DIR sb_id="ms__id2060"></DIR>นั้นตรงกับคำศัพท์ในเบื้องต้นที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นคือ องค์การปฎิจจสมุทปบาท วิปัสสนาจารย์ท่านได้เขียนไว้ในหลักสูตรนั้น ศัพท์คำนี้ที่ได้กล่าวไว้ใน เบื้องต้นนั้นว่า องค์การปฏิจจสมุทปบาท วิปัสสนาจารย์ท่าน จึงได้เขียนไว้ในหลักสูตรของกรรมฐาน 40 ห้องว่า ก่อนดวงธรรมพระปรมัตถ์จะเกิด มีขึ้นมาได้นั้น มาจากองค์การปฎิจจสมุทปบาท เป็นผู้มาประกอบส่วนทำให้เกิดมีขึ้น ก็คล้ายกับการค้นหาเห็นแล้วเอามาเผยต่อวิไนยสัตว์ ผู้ที่ทำการค้นหา นั้นก็คือ พระโพธิสัตว์ อันเป็น ปัจเจกพุทธะ พระองค์ได้มาตรัสรู้ธรรมสำเร็จแล้วมาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันมีชื่อทั้งหมดและได้เขียนจารึกไว้ใน พุทธประวัติแห่งทางพระพุทธศาสนามีชื่อว่า

    1.พระกุกุสันโท
    2.พระโกนาคม
    3.พระกัสสะปะ หรือ กัสสะโป
    4.พระสมณโคดม หรือ โคตะมะ
    5.พระศรีอริยเมตไตย พระองค์จะเสด็จลงมาตรัสรู้ธรรมในโลกมนุษย์หลังจาก 5000 พระพรรษาแล้วพระองค์จึงเสด็จ เมื่อพระองค์เสด็จลงมา ตรัสรู้ธรรมแล้ว สำเร็จมาเป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วมีชื่อว่า พระศรีอริยเมตไตย

    ดังนั้นจึงได้เอามาประกอบให้สมบูรณ์ตามหลักการที่ได้เข้าใจ ในการได้เพียรปฏิบัติธรรมมาแล้ว เห็นว่าควรจะเป็นดังนั้น จึงขอฝากท่านไว้ด้วย อาตมาได้เข้ามาถวายตัว ต่อพระรัตนตรัย เข้ามาทำความเพียรปฏิบัติธรรม เป็นหลักพระธรรมคำสั่งสอนขององค์บรมศาสดาจารย์ที่เป็นบรมครู เป็นจอมแห่งเทพทั้งหลาย ในการทำความเพียร ปฏิบัติธรรม จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบรมครู ที่พระองค์ได้ประทานพรให้แก่ข้าพระพุทธเจ้า ผู้เป็นทาสแห่งความยินดีต่อหลักพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ อันเป็นพระตถาคตโคดมเจ้า จึงได้เอามาเขียนไว้เพื่อท่าน ผู้ที่มีความประสงค์ อยากรู้เท่านั้น ไม่ได้คิดจะสอนท่าน ด้วยเหตุนี้จึงขอฝากท่านด้วยความเคารพธรรม เจริญพร

    เขียนครั้งวันที่ 21-03-1954 วันอาทิตย์ แรม 2 ค่ำ เดือน 4 พ.ศ.2500
    ที่บ้านตากแดด ที่ภูเขาควาย ประเทศลาว
    จบไว้ด้วยความเคารพธรรม

    เขียนและเรียบเรียงโดย หลวงตานามพระครู จันพี มณีวงศ์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กันยายน 2011
  16. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    บญจขันธ์ (ขันธ์ 5)
    the Five Aggregates;
    the five groups of existence;
    the five causally conditioned elements of
    existence forming a being or entity, viz.,

    corporeality,
    feeling ,
    perception,
    mental formations and consciousness.

    รูป
    1. matter; form; material; body; shape; corporeality.
    2. object of the eye; visible object.

    เวทนา
    feeling; sensation.

    สัญญา
    perception; idea; ideation.

    สังขาร
    1. compounded things; component things; conditioned things; the world of phenomena; all things which have been made up by pre-existing causes; (as in “Sabbe Sankhara anicca-ti).

    2. volitional activities; formations; Karma formations; mental formations; mental predispositions; volitional impulses; impulses and emotions; volition; all the mental factors except feeling and perception having volition as the constant factor, (as in the Five Aggregates and in the Law of Causation).

    3. essential conditions; the sum of the
    conditions or essential properties for a given process or result; constructing or formative factors, (as in Ayusankhara, Kayasankhara).

    4. conductive factors; instigation (as in Sasankharika, Asankharika).


    วิญญาณ
    consciousness; act of consciousness;
    (T., mis.) soul, spirit.
     
  17. J_Shaman

    J_Shaman สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +15
    ขอบพระคุณมากครับคุณอัคนีวาต
     
  18. J_Shaman

    J_Shaman สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +15
    ไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) เป็นลักษณะตามธรรมชาติของทุกสรรพสิ่ง คือมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป(อนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขัง เปลี่ยนแปลงไป อนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้) อยู่ทุกขณะ ตัวอย่าง ปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่า ที่มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ของแต่ละประจุ แต่ละขณะ อย่างรวดเร็ว จนเป็นเป็นปรากฏการณ์ฟ้าผ่า ชีวิตของมนุษย์ ก็เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติชนิดหนึ่ง เป็นการส่งผ่านของพลังงานแต่ละขณะ เช่นพลังงานแสง พลังงานเสียง และพลังงานอื่นๆ แต่ละขณะจึงเป็นการเกิดดับ อย่างสมบูรณ์แต่ละขณะ เมื่อเป็นเช่นนี้ ในสัจธรรม อดีตจึงไม่มี
    แล้วเราจะเชื่อได้อย่างไรว่าอดีตไม่มี? ถามว่าสิ่งที่เห็นในอดีต ทำให้เป็นสุข หรือเป็นทุกข์ หรือไม่ ตอบว่าไม่ เพราะ สิ่งเดียวกันที่เห็น คนหนึ่งกับบอกว่าสุข คนหนึ่งกลับบอกว่าทุกข์ คนหนึ่งอาจบอกว่าเป็นสิ่งนั้น คนหนึ่งกลับบอกว่าเป็นสิ่งนี้ คนหนึ่งบอกว่าเป็นเพียงธาตุ 4 คนหนึ่งบอกว่าเป็นพลังงานแสงเท่านั้น คนหนึ่งบอกว่าสิ่งนั้นไม่มี จึงได้ข้อสรุปว่า ทุกสิ่งเกิดจากการปรุงแต่งของจิตเท่านั้น จิตที่ปรุงแต่งความบริสุทธิ์ของพลังงานให้เป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้

    เมื่อแจ้งในไตรลักษณ์แล้ว ทุกข์ในขันธ์ 5 ก็จะลดลง น้อยลง จนถึงขั้นหมดไป เพราะเมื่ออดีตดับไปอย่างสิ้นเชิงด้วยจิตที่รู้ในไตรลักษณ์ แล้ว จะเอาอะไรมาเทียบให้เป็น สุข หรือทุกข์ เป็น สิ่งนั้น สิ่งนี้ ที่เหลือก็เพียง การกระทบของพลังงานที่บริสุทธิ์ โดยปราศจากความรู้ แต่เต็มไปด้วยสติ เป็นการกระทบตามธรรมชาติ ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปแต่ละขณะ ตามธรรมชาติ (เข้าถึงความเป็นปรมัตถธรรม)
     
  19. J_Shaman

    J_Shaman สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +15
    เมื่อเรามีความปรารถนา ในการเห็น เราจึงมีพลังแสง
    เมื่อเรามีความปรารถนา ในการได้ยิน เราจึงมีพลังงานเสียง
    เมื่อเรามีความปรารถนา ในการรู้กลิ่น รู้รส เราจึงมีพลังงานในรูปแบบต่างๆ
    เมื่อเรามีความปรารถนา ในการสัมผัส เราจึงมีธาตุ 4
    เมื่อเรามีความปรารถนาครบทั้งหมดเช่นนี้ จึงส่งผลให้ เราต้องมาอยู่บนโลกมนุษย์ ที่มีความปรารถนาในขันธ์ทั้ง 5 และ ธาตุ 4 ร่วมกัน

    เมื่อเราหมดความปรารถนา ในการเห็น เราจะ มีเพียงพลังงานเสียง พลังงานในรูปต่างๆ และพลังงานกล(การสัมผัส)
    เมื่อเราหมดความปรารถนา ในการเห็น การได้ยิน เราจึง มีเพียงพลังงานในรูปแบบต่างๆ และและพลังงานกล(การสัมผัส)
    เมื่อเราหมดความปรารถนา ในการเห็น การได้ยิน ในการรู้กลิ่น รู้รส เราจึง มีเพียงพลังงานในรูปแบบและพลังงานกล(การสัมผัส)
     
  20. J_Shaman

    J_Shaman สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +15
    แล้วทำไมเราจึงมีขันธ์ 5 และธาตุ 4 ที่เป็นทุกข์?

    ก็เพราะเรามีความปรารถนา ในขันธ์ 5 และธาตุ 4 ความปรารถนานี้เกิดจากอวิชชาความไม่รู้ของจิด คือความไม่รู้ในความเป็นไปในสัจจธรรม ของชีวิต ว่ามันไม่ใช่ตัวเรา ของเรา มันเป็นเพียงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติในรูปแบบหนึ่งเท่านั้น (คือการไม่แจ้งในไตรลักษณ์ และปรมัตถธรรมนั้นเอง) จึงก่อให้เกิด การปรุงแต่งในพลังงานที่เกิดดับอย่างบริสุทธิ์ และเกิดการสร้างพลังงานด้วยจิตที่ไม่แจ้งในไตรลักษณ์ อยู่ตลอดเวลา

    และความไม่รู้ว่าชีวิตเป็นเพียงปรากฏธรรมชาติ ตกอยู่ภายใต้ครรลองของพลังงาน นี้เอง
    ที่ก่อให้เกิดความกลัว ทั้งที่จริง ตามครรลองของพลังงานแล้ว อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด อะไรจะไม่เกิดก็จะไม่เกิด แต่เพราะความไม่รู้ นี้ จึงก่อให้เกิดการปรุงแต่ง เพื่อให้ได้มา และเพื่อหลบเลี่ยง ซึ่งทำไปก็เท่านั้น
    อะไรจะเกิดหากเป็นไปตามครรลองของพลังงานแล้วมันก็ต้องเกิด
    อะไรไม่อยากให้เกิด หากเป็นไปตามครรลองของพลังงานแล้วมันก็จะไม่เกิด

    ดังนั้น เมื่อแจ้งในไตรลักษณ์บ้างแล้ว เราก็จะมีความกล้าหาญ ในคามเป็นไปของชีวิตเพิ่มมากขึ้น

    และเมื่อแจ้งในไตรลักษณ์บ้างแล้ว ความปรารถนาในรูปแบบต่างๆ ลดน้อยลง ควรหมั่นพิจารณาอยู่เรื่อยๆ
    เมื่อจิตไม่หวนถึงอดีต อยู่กับปัจจุบัน รับและทุกสรรพสิ่ง ด้วยความบริสุทธ์ตามธรรมชาติ ปราศจากการปรุงแต่ง ความรู้ เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ ซึ่งแท้จริงชีวิตก็เป็นธรรมชาติอยู่แล้ว แต่ขอให้รู้ “ มีจุดต่อมแห่งผู้รู้เมื่อใด นั่นและคือตัวทุกข์”
    แต่เมื่อเราพยายามศึกษาไตรลักษณ์ ในขณะที่ยังมีธาตุ 4 และขันธ์ 5 อยู่ จะทำอย่างไร?

    จิตบริสุทธ์เป็นธรรมชาติก็อยู่ส่วนจิต ส่วนธาตุ 4 และขันธ์ 5 ก็ปล่อยให้เป็นไปตามความธรรมชาติของมันตามการเกิดดับของพลังงานแต่ละขณะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...