เชิญช่วยกันระดมความคิดเห็นเรื่อง"จิต" เพื่อสัจธรรมความจริง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 17 มิถุนายน 2013.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    น้องรัก...
    จะพูดอะไรควรชี้ชัดลงไปเลย อะไรเข้า-ออก เข้า-ออกทำไม?
    เข้าใจคำว่าภาษาสื่อสารมั้ย?
    ถามว่า เวลาทำจิตที่วุ่นวาย ซัดส่าย ให้กลับสู่คืนความมีสติสงบตั้งมั่น โดยลักษณะ
    ต้องเข้า-ออกมั้ย? ถ้าต้องเข้า-ออก เข้า-ออกอย่างไร?
    ภาษามีไว้ใช้ ไม่ใช่มีไว้ให้ยึด
    ที่พูดว่า"เป็นหนึ่งไปแล้ว ยังจะมีแยกมาเป็นสองมาจากที่ไหนอีก" พูดไว้ตรงไหน?
    เจริญในธรรมทุกๆท่าน


    ^
    ^
    ที่โม้กันอยู่ในนี้เรื่อง "วิมุตติ" ใช่"ตทังควิมุตติที่ไหน?
    เป็นแค่ความรู้สึกที่คิดขึ้นเองว่า"วิมุตติ"
    จึงได้พูดกึ่งถามไปไงว่า เคย"จิตรวมใหญ่"หรือยัง?
    ถ้าเคยผ่านการพูดว่า "รวมจิตใหญ่เป็นอารมณ์เดียว"
    ถือว่า"ผิด" เพราะไม่รู้จักสถาวธรรมเช่นนั้นจริง

    ^
    ^
    เฮ้อ!!!
    จิตที่ไม่เกิด-ดับ แต่มันแปรเปลี่ยนไปตามอารมณ์ตลอดเวลา
    ถ้า"จิต"มันเกิด-ดับ มันจะรู้ตลอดสายของการแปรเปลี่ยนนั้นหรือ?
    เมื่อมันมีการแปรเปลี่ยนไปตามอารมณ์เรื่อยๆ มันจะรวมใหญ่ตอนไหนได้?
    จำไว้นะ พระพุทธพจน์ที่ทรงตรัสไว้ดีแล้วไม่มี"ผิด"
    ที่"ผิด"เพราะชอบตีความกันเอาเองตามชอบใจ โดยไม่อาศัยหลัก

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน

    ปล. หัดอ่านพระพุทะพจน์ที่พยายามยกมาให้อ่านบ้าง ชัดเจนๆเรื่อง"จิตไม่เกิดดับ"
     
  2. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    แม้หากสัททารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยโสต ....
    แม้หากคันธารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยฆานะ ....
    แม้หากรสารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยชิวหา ....
    แม้หากโผฏฐัพพารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วกาย ....
    แม้หากธรรมารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยมโน
    ผ่านมาสู่คลองใจของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้
    ก็ไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลย
    จิตของภิกษุนั้น อันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้
    เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว และ
    ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับของจิตนั้น

    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=5&A=136&Z=223&pagebreak=0

    ....................................
    ^
    ^
    ชัดๆนะ เช่นนั้น วันหลังจะยกพระสูตรมานั้น

    ควรยกในส่วนที่ต่อเนื่องกันมาด้วยนะ

    พระสูตรชี้ชัดเจนในตัวเองอยู่แล้วนะ

    เช่นนั้นเองต่างหาก ที่อ่านพระสูตรไม่เข้าใจ จึงตีความตามชอบใจ

    หรือเชื่อตามๆกันมาโดยที่ไม่เคยพิจารณาให้ถ่องแท้เสียก่อนเลย

    พระอรหันต์ท่าน ย่อมไม่กล่าวขัดแย้งกันเองนะ

    จิตที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวแล้ว จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้

    คุณยังจะให้จิตที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวนั้นเกิด-ดับอีกหรือ?

    ตามความเป็นจริงแล้วควรเป็นอารมณ์ใช่มั้ยครับที่เกิด-ดับ?

    เพราะจิตของภิกษุนั้น อันอารมณ์เจือติดจิตไม่ได้ ครอบงำจิตของภิกษุนั้นไม่ได้

    ความเกิดและความดับไปควรเป็นอารมณ์ต่างๆเหล่านั้นใช่มั้ย?

    จิตของภิกษุนั้น(ไม่ใช่จิตของภิกษุอื่น) ย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับ(อารมณ์)ของจิตนั้นใช่มั้ย?

    ทำไมต้องของจิตนั้น เพราะเราจะไปรู้จิตของภิกษุอื่นไม่ได้ จิตใครจิตมันใช่หรือไม่?

    ตรงไหนครับที่ทรงกล่าวว่าจิตเกิด-ดับ ของแบบนี้คิดเองเออเองไม่ได้หรอกนะ

    อ่านพระสูตรหัดพิจารณาด้วยใจที่เป็นธรรม อย่าเอนเอียงสิครับ

    *พระสูตรกล่าวถึงอารมณ์ต่าง เช่นสัททารมณ์ คันธารมณ์ฯลฯ

    ที่ไม่สามารถครอบงำจิตของภิกษุนั้น หรือเจือติดที่จิตของภิกษุนั้นไม่ได้*

    แต่เวลาสัททารมณ์ คันธารมณ์ฯลฯเกิด-ดับกลับเมโมให้จิตเกิด-ดับ

    ทั้งที่เห็นๆอยู่ว่าที่เกิด-ดับนั้น ล้วนเป็นอารมณ์ต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นใช่หรือไม่?

    ยังมีพระสูตรยืนยันอีกนะครับว่า เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วจิตยังดำรงค์อยู่ใช่หรือไม่?

    ธรรมภูต

    ปล.เอาของเก่ามาแป๊ะโดยไม่ได้ตัดแต่งให้กลมกลืน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มิถุนายน 2013
  3. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    มันก็ไม่แปลกนี่นาว่าไหมครับที่ใครหลายคนจะเห็นอารมณ์กับจิตเป็นสิ่งเดียวกันได้ เพราะธรรมชาติการรับรู้และการรู้หรือการเกิดการรับรู้ มันเคลื่อนไปพร้อมๆกัน มันไม่ใช่อย่างที่ว่าคือ ขันธ์เคลื่อนไปแล้วจิตยังตั้งอยู่ที่เดิมเสียเมื่อไหร่ มันก็ต้องดำเนินเดินไปด้วยกันไม่ใช่เหรอครับ ทีนี้เมื่อมันดำเนินไปพร้อมกันและถ้าเกิดว่ามันเป็นเรื่องจริงที่การเคลื่อนไปของสังขารทั้งหลายมันเกิดขึ้นพร้อมกับการรับรู้เสมือนหนึ่งว่าเป็นสิ่งเดียวกันเป็นไปได้ไหมว่า อาจมองว่าเป็นสิ่งเดียวกัน แต่ถ้าผู้ใดสามารถเห็นการเคลื่อนไหวได้อย่างแท้จริงเห็นสังขารเคลื่อนไปจิตไม่ได้เคลื่อนควบคู่ไปด้วยซึ่งมันก็น่าจะเป็นเรื่องยากที่จะอธิบายได้ว่า ทำยังไงจิตกับอารมณ์หรือสังขารและการที่จะเกิดการรับรู้จะไม่ดำเนินไปพร้อมกัน...มันเรื่องแต่ละบุคคล คงประมาณนี้ใช่ไหมไม่ทราบ
    สาธุคั๊บ
     
  4. สันดุสิต

    สันดุสิต Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +86
    จิตนั้นเดิมเป็นธรรมชาติที่ผ่องใส อาศัยกิเลสที่จรมาจิตจึงเศร้าหมอง จิตของคนเราโดยทั่วไปก็มีทั้งเศร้าหมองและผ่องใส สำหรับนักปฏิบัติช่วงที่เป็นมรรคจิตก็ต้องผ่านอารมณ์ต่างๆ บางท่านอาจกล่าวได้ว่าแทบเป็นแทบตาย อาจจะใช้คำนี้ก็ได้ เพราะจิตเป็นธรรมชาติรู้ที่ต้องรู้ธรรมต่างๆที่เนื่องด้วยผัสสะที่ผ่านเข้ามา ท่านว่า จิตที่ฝึกดีแล้วนำความสุขมาให้
     
  5. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    ไปดีกว่าง่วงนอนแล้ว ก็ยังดีที่อย่างน้อยได้ศึกษาธรรมกันอยู่เนืองๆ ขอให้ทุกๆท่าน เจริญด้วยพละและอินทรีย์ ในการจะพิจารณาธรรมทั้งหลายตามความเป็นจริง
    อนุโมทนาสาธุกับทุกๆท่านคั๊บ
     
  6. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    เรื่องบางเรื่อง เมื่อแสดงไปแล้ว ผู้ฟังนั้นยังติดข้องอยู่ ก็ให้ถือว่าเป็นวาระกรรมของเขา ที่เขาจะต้องรับ ต้องผ่านตรงนั้น เราไม่มีสิทธิ์ไปข้องเกี่ยวมากกว่านั้น

    ก็ให้อุเบกขาไป เมื่อถึงวาระของเขาที่เขาพร้อม เมื่อเขาสะสมเหตุปัจจัยแห่งการภาวนาพร้อมแล้ว เขาจะเห็นสภาวะที่แท้จริงเอง
     
  7. โซ

    โซ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    352
    ค่าพลัง:
    +872
    ผมเคยได้ฟัง อ.ท่านหนึ่งบอกเกี่ยวกับจิตว่าอย่างนี้ เปรียบจิตได้กับกระดาษขาวสมมุติ กว้างxยาว4นิ้ว แล้วนำไปใส่ไว้ในถุงพลาสติกใส เราเอาปากกาสีละเลงวาดลงไปในพลาสติกใสในรูปแบบต่างๆที่เราต้องการ ท่านเปรียบกระดาษขาวนั้นคือ จิต ถุงพลาสติกที่ถูกเขียนนั้นคืออวิชชาของกิเลสต่างๆ จิตมันน่ะขาวใสบริสุทธิของมันอยู่แบบนั้น ไอ้ที่สกปรกน่ะมันคือถุงพลาสติก เมื่อเราแยกเอากระดาษขาวออกจากถุงพลาศติกเราก็จะเห็นได้ชัดว่าสิ่งไหนขาวบริสุทธิ์สิ่งไหนเปื้อนสกปรก ผมว่าอธิบายแบบนี้ก็เข้าท่าดีมองเห็นภาพดี ผมก็ยังสงสัยอยู่ครับว่า ตกลง จิตกับอวิชชาที่เป็นกิเลสเมื่อมันเกิดขึ้นมาตกลงมันแยกกันหรือรวมกัน ยกตัวอย่าง เปรียบเทียบจิตได้ดังนี้
    1.ร่างกายคน ร่างกายเป็นรูปที่เกิดตั้งอยู่เมื่อเราไปทำงานหรือกระทำอำไรก็ตามเกิดเหงื่อไหลหรือไปเปื้อนโคลนมา การกระทำที่ทำนั้นมันเป็นสภาวะภายนอกเพราะร่างกายเป็นผู้กระทำ ส่วนเหงื่อและโคลนนั้นที่เกิดมันก็เปรียบได้กับสภาวะอวิชชากิเลสที่เกิดภายนอก กระทำแล้วหรือไม่อย่างไร ก็เป็นการกระทำโดยร่างกาย เราไม่เอาเหงื่อกับโคลนมาเป็นส่วนอันหนึ่งอันเดียวกันกับร่างกาย ที่เราเอามาเป็นส่วนหนึ่งนั้นก็เพราะอวิชชาที่เกิดขึ้น เมื่อเราไปล้างออกร่างกายนี้ก็กลับมาสะอาดเหมือนเดิม
    2.น้ำในแก้ว ถ้าเปรียบจิตเหมือนน้ำในแก้ว น้ำในแก้วนั้นก็เป็นน้ำใสๆ แล้วเราเอาสีใส่ลงไป สีนั้นก็ได้เป็นส่วนหนึ่งอันเดียวกับน้ำแล้ว ก็ได้ไปอยู่รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับน้ำในแก้ว เมื่อเรากระทำการกลั่นกรองอย่างดีอีกทีน้ำก็กลับมาใสสะอาดเหมือนเดิม
    ท่านคิดว่าจิตเราควรเป็นแบบใดใน2อย่างนี้ เพราะทุกวันนี้ยังมีคนเห็นความแตกต่างว่าจิตตั้งอยู่แยกหรือรวมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับอวิชชาที่เกิดเป็นรูปนามแล้ว
     
  8. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ..............จริงจริง ดูที่ ปฎิจสมุปบาท นั่นแหละครับ.....จนกระทั่งถึง ---เวทนาปัจจัยตัณหา ตัณหาปัจจัยอุปาทาน----(อุปาทานักขันธิ์ ) ในมหาสติปัฎฐานสี่ ในท้ายพระสูตร ว่า...."ก็แหละ สติว่า (กาย เวทนา จิต)มีอยู่ ดังนี้ของเธอนั้น เป็นสติที่ดำรงไว้เพียงเพื่อ ความรู้ เพื่อ อาศัยระลึก ที่แท้เธอเป็นผู้ที่ ตัณหาและทิฎฐิอาศัยไม่ได้ และเธอไม่ยึดมั่นอะไรในโลกนี้"....................และกลับไปดู อริยสัจสี่ ทุกข์ควรกำหนดรู้ สมุทัยควรละ นิโรธควรทำให้แจ้ง มรรคควรเจริญ.....จะเห็นได้ว่า เมื่อ เราท่านไม่มีอุปาทานในขันธิ์5 จาก ตัณหาอันเป็นทุกข์สมุทัย จากการเจริญมรรค ละอภิชฌาและโทมนัส จากการเจริญสติ(สติปัฎฐาน อานาปานสติ) ซึ่งสามารถทำให้พ้นทุกข์ได้ เมื่อ พ้น ทุกข์ได้ จะไปเอาความหมายของอะไรอีก:cool: ปล. ผู้มีอวิชชา คือผู้ไม่รู้ อริยสัจสี่
     
  9. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    การพิจารณาแบบนั้นได้ย่อมเป็นการดี ไม่มีภัย(กรรม)ถึงตน
    แต่เมื่อพิจารณาลงรายละเอียดลึกลงไปอีกที
    ถ้าขืนปล่อยให้เป็นไปเช่นนี้ อนาคตของแท้คงหมดแน่

    เพราะของแท้นิ่งเงียบ ส่วนของเท็จเทียมเรียนแบบ
    เก่งมากในเรื่องสร้างภาพและโปรปากาดาตนเอง

    จนธรรมะกลายเป็นของกล้วยๆ ง่ายๆ สบายๆ และลัดสั้น
    ไม่ต้อง ไม่ตั้ง ไม่ต้องอะไรทั้งนั้น สมาธิความเพียรไม่จำเป็น(นิดหน่อยก็พอ)

    ดูตัวอย่างพ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่าน ท่านเพียรพยายามวางรากฐานสัจธรรมความจริงให้ปรากฎ
    ในการสั่งสอนฝึกฝนอบรมการปฏิบัติธรรมสมาธิกรรมฐานภาวนา(สัมมาสมาธิ)ให้คงอยู่

    เห็นเพียงนี้ฉันเองก็รู้สึกอายแล้ว ฉันได้ทำประโยชน์อะไรบ้างเพื่อให้ผู้คนรู้ถึงสัจธรรมความจริง
    เมื่อพิจารณาแล้ว ถึงจะโดนบ้างไม่มากก็น้อย(จริงๆโดนมามาก)
    แต่เพื่อช่วยยังให้สัจธรรมความจริงคงไว้ให้ได้นานที่สุด เท่าที่จะนานได้(ไม่หวัง)

    เจริญในธรรมที่เป็นสัจธรรมความจริงทุกๆท่าน
     
  10. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ" ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกกันว่า อวิชชา อวิชชาดังนี้นั้น เป็นอย่างไร และด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลชื่อว่า เป็นผู้ถึงซึ่งอวิชชา พระเจ้าข้า....ภิกษุ ในกรณีนี้ ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ไม่รู้ชัดแจ้งตามเป็นจริง ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน อันมีความก่อขึ้นเป็นธรรมดา ว่าเป็นสิ่งที่มีความก่อขึ้นเป็นธรรมดา ดังนี้ ไม่รู้ชัดแจ้งตามเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน อันมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ว่า เป็นสิ่งที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ดังนี้ ไม่รู้ชัดแจ้งตามที่เป้นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน อันมีทั้งความก่อขึ้นและความเสื่อมไปเป้นธรรมดา ดังนี้ ภิกษุความไม่รู้นี้เราเรียกว่า อวิชชา และบุคคลชื่อว่าเป้นผู้ถึงซึ่งอวิชชา ย่อมมีได้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล---ขนธ.สํ.17/209/320...:cool:
     
  11. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ดูก่อนมาคัณฑิยะ! อุปไมยก็ฉันนั้น.
    เราแสดงธรรมแก่ท่านว่า "อย่างนี้เป็นความไม่มีโรค; อย่างนี้ เป็นนิพพาน", ดังนี้.
    ท่านจะรู้จักความไม่มีโรคจะพึงเห็นนิพพานได้ก็ต่อเมื่อท่านละความเพลิดเพลินและความกำหนัด ในอุปาทานขันธ์ห้าเสียได้ พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่งธรรมจักษุของท่านนั้น.
    อนึ่ง ความรู้สึกจะพึงเกิดขึ้นแก่ท่านว่า "ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลายเอ๋ย! นานจริงหนอ ที่เราถูกจิตนี้
    คดโกง หลอกลวง ปลิ้นปลอก; จึงเราเมื่อยึดถือ ก็ยึดถือเอาแล้ว ซึ่งรูป,ซึ่งเวทนา, ซึ่งสัญญา, ซึ่งสังขาร, และซึ่งวิญญาณ นั่นเทียว :
    เพราะความยึดถือของเรานั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ;เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ:
    เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน :
    ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้".ดังนี้.
     
  12. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    (เมื่อยึดจิตโป็ะเดียวโดนทั้งกอง ขันธ์5). พระองค์ถึงบอกว่าไปยึดกายเสียยังดีกว่า(เอกภาวะมันอาจจะครายกำหนัดได้บ้าง) ถ้ายึดตัวเอกภาวะ(จิต)นี่ตายสถานเดียว!

    จิตเป็นต้น
    ไม่ใช่จิตสังขารตามที่เข้าใจ
    ถ้าเคยอ่านพระสูตรอื่นบ้าง เวลาพูดถึง อายตนะ ตา หู จมูก ฯ
    บางครั้งพระองค์ก็จะพูดย่อๆว่า ตาเป็นต้น ก็หมายถึงพูดทั่งหมด.
     
  13. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    สิ่งที่เรียก. ผมขีดเส้นไว้ให้พิจรานาดีๆ. พระองค์กำลังเรียกสิ่งๆนึงที่ชื่อว่า จิตเป็นต้น
    คุณไม่ได้เป็นผู้บัญญัติเอง ก็ต้องเงี่ยโสตลง ว่า สิ่งที่เรียกว่า จิต มโน วิญญาน มันเป็นอย่างไร ไม่ใช่สรุปเเบบตรรกะตัวอักษร เว้นจากความจริง กลายเป็นจิต ที่สร้างสรรค์เอง

     
  14. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ู^
    ^
    ขอชัดๆ กำกวมจัง เมื่อไม่ให้จิตเป็นต้น เป็น"จิตสังขาร"
    แล้วให้เป็นอะไร? ตกลงอ่านเข้าใจหรือไม่?
    พระพุทธพจน์ในพระสูตรมีเปรียบเทียบไว้ชัดเจนแล้ว

    ปุถุชนเห็นอย่างนี้ ยึดกายการ ดีกว่ายึดจิตเป็นต้นนั้น เพราะยังโง่อยู่
    ส่วนพระอริยสาวก พระสูตรชัดเจนว่า ไม่ยึดทั้งคู่ เพราะรู้แล้ว่าว่านั่นไม่ใช่เรา
    อย่าเล่นยกพระสูตรมาเพื่อสนองกับจริตของตนที่คิดเองเออเองเท่านั้น

    เจริญในธรมทุกๆท่าน
     
  15. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่, ความปริวิตกนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า
    "สัตว์โลกนี้หนอ ถึงแล้วซึ่งความยากเข็ญ ย่อมเกิด ย่อมแก่ ย่อมตายย่อมจุติ และย่อมอุบัติ,
    ก็เมื่อสัตว์โลก ไม่รู้จักอุบายเครื่องออกไปพ้นจากทุกข์(นิสารนะ) คือชรามรณะแล้ว
    การออกจากทุกข์คือชรามรณะนี้จักปรากฎขึ้นได้อย่างไร?".

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ความฉงนนี้เกิดขึ้นแก่เราว่า "เมื่ออะไรมีอยู่หนอ
    ชรามรณะ จึงได้มี :เพรามีอะไรเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ" ดังนี้.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ความรู้แจ้งอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทำในใจโดยแยบคายได้เกิดขึ้นแก่เราว่า
    "เพราะชาตินั่นแลมีอยู่ ชรามรณะ จึงได้มี :เพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ" ดังนี้.
    ....เพราะภพนั่นแล มีอยู่ ชาติ จึงได้มี : เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ" ดังนี้.
    ...เพราะอุปาทานนั่นแล มีอยู่ ภพ จึงได้มี : เพราะมีอุปทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ" ดังนี้.
    ...เพราะตัณหานั่นแล มีอยู่ อุปาทาน จึงได้มี : เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน" ดังนี้.
    ...เพราะเวทนานั่นแล มีอยู่ ตัณหา จึงได้มี : เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา" ดังนี้.
    ...เพราะผัสสะนั่นแล มีอยู่ เวทนา จึงได้มี : เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา" ดังนี้.
    ...เพราะสฬายตนะนั่นแล มีอยู่ ผัสสะ จึงได้มี : เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ" ดังนี้.
    ...เพราะนามรูปนั่นแล มีอยู่ สฬายตนะ จึงได้มี : เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ" ดังนี้.
    ...เพราะวิญญาณนั่นแล มีอยู่ นามรูป จึงได้มี : เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป" ดังนี้.

    ดูก่อนภิกษุภิกษุทั้งหลาย! ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "เมื่ออะไรมีอยู่หนอ
    วิญญาณจึงได้มี : เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ" ดังนี้.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ความรู้แจ้งอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทำในใจโดยแยบคาย ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า
    "เพราะนามรูปนั่นแล มีอยู่ วิญญาณ จึงได้มี : เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ" ดังนี้.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ความรู้แจ้งนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "วิญญาณนี้ ย่อมเวียนกลับจากนามรูป ย่อมไม่เลยไปอื่น.ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ สัตว์โลกนี้ พึงเกิดบ้าง พึงแก่บ้าง พึงตายบ้าง พึงจุติบ้าง พึงอุบัติบ้าง
     
  16. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    จริงๆมีเเต่ จิตตสังขาร นะ
    ส่วน จิต กับ จิตตสังขาร. มันก็คนละตัวกัน อย่างที่ปรากฏในสติปัฏฐาน(ในหมวดเวทนาทำจิตตสังขารให้ระงับ) หรือที่มีในอธิบายในสูตรอื่นๆ ตัวจิตตสังขารจะเนื่องกับจิต เป็น สัญญา กับ เวททนา
    ส่วนสิ่งที่เรียกว่าจิต ที่พระองค์ให้รู้เฉพาะซึ่งจิต เหตุเกิดของมันคือ นามรูป. ซึ่งเป็นบัญญัติเดียวกับวิญญาน
    จิต มันจึงเป็นตัวเดียวกับ วิญญาน ด้วย
    ด้วยเหตุนี้สัตว์จึงเกิดเเก่เจ็บตาย เพราะไม่รู้จักวิญญาน และ จิต (ปฏจสมุปบาท)
     
  17. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ^
    เวลาพูดไม่มีลอยๆ เอาที่มีในธรรมวินัยเท่านั้น
    ส่วนสิ่งที่เรียกว่าจิตนั้น มันมีเหตุเกิดคือ นามรูป มีปัจจัยทำให้เกิดขึ้น
    (ซึ่งไม่มีใครพูดได้ ถึงพูดก็เข้าใจได้ยาก)
     
  18. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    เคยแก้อารมณ์ให้นักปฏิบัติกรรมฐานจริงๆ หรือยัง?

    รู้ถึงความตื้น ลึก หนา บาง ในอุปาทานของสัตว์โลกหรือยัง?

    เข้าใจกลไกการทำงานของอุปาทานในจิตคน ที่มันคอยบังสภาวะรู้ หรือยัง?

    การแก้อารมณ์ผู้ที่ติดขัดในการปฏิบัติ ให้ดูตามผู้นั้น ว่าติดขัดอยู่ในสิ่งใด เป็นกรณีๆ ไป เพราะแต่ละคน สะสมอุปาทานในแต่ละเรื่องมาไม่เท่ากัน เส้นทางการเดินของจิตในการฝึก ก็ไม่ได้เป็นทางเดียวกันเสียทีเดียว วิธีแก้ก็เป็นเฉพาะแนวทางของแต่ละคน

    การมาพูดแบบนี้ แสดงว่าไม่เคยมีประสบการณ์ช่วยเหลือคนที่ติดขัดในการปฏิบัติระดับชั้นจิตอย่างแท้จริง การบอกกล่าวด้วยตำรา มันช่วยผู้คนในชั้นศรัทธา แต่จะไขปัญหาจิตที่ติดข้อง ธรรมภูต ไม่มีคุณสมบัติในข้อนี้
     
  19. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    [๘๑๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับแห่งสติปัฏฐาน ๔
    เธอทั้งหลายจงฟัง ก็ความเกิดแห่งกายเป็นอย่างไร?
    ความเกิดแห่งกายย่อมมี เพราะความเกิดแห่งอาหาร ความดับแห่งกายย่อมมี เพราะความดับแห่งอาหาร
    ความเกิดแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความเกิดแห่งผัสสะ ความดับแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ

    ความเกิดแห่งจิตย่อมมี เพราะความเกิดแห่งนามรูป ความดับแห่งจิตย่อมมี เพราะความดับแห่งนามรูป
    ความเกิดแห่งธรรมย่อมมี เพราะความเกิดแห่งมนสิการ ความดับแห่งธรรมย่อมมีเพราะความดับแห่งมนสิการ.
    จบ สูตรที่ ๒
    ^
    จิตมีราคะ ย่อมรู้ชัด จิตมีราคะ
    ไม่ใช่เเค่อาการของจิต (เจตสิก69ดวงอย่างที่คิด) หรือ จิตตสังขาร
    เกิดดับเเบบนี้ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย
    ชี้ชัดเจนเลยว่า เพราะจิตมันเกิดดับ จากรูปนาม(ไม่ได้พูดถึงจิตตสังขาร หรือ เจตสิกอะไรทั้งสิ้น)
    เมื่อ รูปนามมี จิตก็ต้องมี เเล้วอุปกิเลิส ที่จรเข้ามาในจิต. จิตก็ไปรับรู้เอาเอง
    ทำให้เห็นว่า ต้นเรื่อง ต้นเหตุ มาจาก จิต ที่ไม่เที่ยงเอง ทำให้จิต มีราคะ. เป็นต้น
     
  20. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    อ้าว!!!

    จากความจำ เห็นเคยอ้าง"อนัตตลักขณสูตร"

    ตรงไหนที่มีพระพุทะพจน์ตรัสไว้ชัดๆว่า จิตเป็นวิญญาณขันธ์

    รู้หรือเปล่า ที่ยกมานั้น เป็นปฏิสนธิวิญญาณหรือจุติจิต ไม่ใช่วิญญาณขันธ์

    ถ้าไม่รู้ก็อย่ารีบสรุปเอง พระพุทธพจน์จะเสียหายหมด

    แล้ววันหลังก็เอาที่สรุปชัดๆ ไม่ใช่แป๊ะเยอะเข้าไว้ อ่านไม่ไหวจริงๆ55+

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     

แชร์หน้านี้

Loading...