เงินเฟ้อที่เพิ่มความรุนแรงขึ้นแล้ว??? รู้ทันโลก (โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย k.kwan, 11 พฤศจิกายน 2010.

  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ตร.ญี่ปุ่นรวบตัวอดีตประธาน “โอลิมปัส” ฐานตกแต่งบัญชี-ปิดบังการขาดทุน
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 กุมภาพันธ์ 2555 15:09 น.

    [​IMG]

    [​IMG]
    สึโยชิ คิกุกาวะ (ขวา) ประธานโอลิมปัสระหว่างปี 1998-2011 และอดีตรองประธาน ฮิซาชิ โมริ ถูกจับกุมพร้อมกับผู้เกี่ยวข้องอีก 5 คน ฐานปลอมแปลงเอกสารทางการเงิน โดยตกแต่งบัญชีงบดุลประจำปีของบริษัท โอลิมปัส คอร์ปอเรชัน ให้สูงเกินความเป็นจริง เพื่อปิดบังผลประกอบการที่ขาดทุน


    เอเอฟพี - อดีตประธานบริษัท โอลิมปัส ผู้ผลิตกล่องถ่ายรูปชั้นนำที่กำลังถูกสอบสวนคดีทุจริต ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจบุกจับตัวแล้วในกรุงโตเกียว อัยการเปิดเผยวันนี้ (16) ทั้งนี้ คดีนี้กำลังสั่นคลอนความเชื่อมั่นต่อหลักบรรษัทภิบาลแดนอาทิตย์อุทัย





    สึโยชิ คิกุกาวะ ประธานโอลิมปัสระหว่างปี 1998-2011ถูกกล่าวหาเป็นตัวการตกแต่งบัญชีงบดุลของโอลิมปัส เพื่อปิดบังผลประกอบการที่ขาดทุนมูลค่า 1,700 ล้านดอลลาร์ เขาถูกจับกุมตัว ฐานละเมิดกฎหมายป้องกันการปลอมแปลงเอกสารทางการเงิน

    สำนักอัยการแขวงโตเกียวระบุว่า ในคดีเดียวกันนี้ ตำรวจยังได้จับกุม อดีตรองประธาน ฮิซาชิ โมริ วัย 54, ฮิเดโอะ ยามาดะ อดีตผู้สอบบัญชี วัย 67 ปี และ อากิโอะ นากางาวะ อดีตผู้บริหารบริษัทนายหน้า วัย 61 ปี

    ขณะเดียวกัน สำนักงานตำรวจนครบาลญี่ปุ่นก็ได้เข้าจับกุมอดีตพนักงานบริษัทนายหน้าอีก 3 คน

    ผู้ต้องหาทั้งหมดรวม 7 คน ร่วมกันแจ้งงบดุลบัญชีอันเป็นเท็จของบริษัท โอลิมปัส คอร์ปอเรชัน ด้วยการตกแต่งข้อมูลสินทรัพย์สุทธิให้เป็น 344,000 ล้านเยน ในปีงบประมาณ 2006 แทนข้อมูลจริงที่ 233,000 ล้านเยน คำแถลงของอัยการโตเกียวระบุ

    ต่อมาในปี 2007 ทั้งหมดยังสมคบคิดกันแจ้งข้อมูลเท็จ จาก 254,000 ล้านเยน กลับแจ้งไว้ที่ 367,000 ล้านเยน

    สถานีข่าว เอ็นเอชเค รายงานว่า อัยการจะเข้าตรวจค้นบ้านพักและบริษัทที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ทั้งหมด โดยเฉพาะบ้านพักของ อดีตประธานคิกุกาวะ ขณะที่ฮิซาชิ โมริ และ ฮิเดโอะ ยามาดะ ยอมรับกับคณะอัยการว่า มีส่วนเกี่ยวข้องในการตกแต่งบัญชี โดยที่ สึโยชิ คิกุกาวะ ประธานบริษัทในขณะนั้น ก็รู้เห็นทั้งหมด

    ในคดีที่สั่นคลอนความเชื่อมั่นต่อหลักบรรษัทภิบาลในญี่ปุ่นนี้ โอลิมปัส คอร์ปอเรชัน ประกาศยอมรับว่า มีผู้บริหารระดับสูงกลุ่มหนึ่งตกแต่งบัญชีให้สูงเกินจริง เพื่อปิดบังการลงทุนที่ชะงักงันของบริษัท ย้อนกลับไปถึงทศวรรษที่ 1990

    บริษัทผู้ผลิตกล้องที่ดำเนินกิจการมานาน 92 ปีแห่งนี้ ยอมรับในเดือนพฤศจิกายน ว่า ได้ซ่อนเร้นผลขาดทุนของบริษัท หลังจากไมเคิล วูดฟอร์ด อดีตผู้บริหารชาวอังกฤษ นำเรื่องนี้ออกมาตีแผ่ ภายหลังจากที่เขาถูกไล่ออกจากตำแหน่งประธานบริษัทที่เข้าช่วงต่อจาก สึโยชิ คิกุกาวะ

    หลังถูกไล่ออก วูดฟอร์ดเปิดศึกโจมตี คิกุกาวะ ผ่านสื่อ โดยตั้งคำถามถึงสัญญาฉบับต่างๆ และค่าที่ปรึกษาแพงเกินจริงที่บริษัทต้องจ่าย

    อย่างไรก็ตาม ไมเคิล วูดฟอร์ด ประธานโอลิมปัสคนแรกที่ไม่ใช่คนญี่ปุ่น ก็ไม่ได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุนสถาบันญี่ปุ่น และล้มเลิกแผนที่จะหวนคืนสู่เก้าผู้บริหารโอลิมปัสอีกครั้ง

    Around the World - Manager Online -
     
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    'ยิว'คำรามใส่อิหร่าน-'ก่อการร้าย'โจมตีทูต-ขู่ใช้มาตรการ'หยุดยั้ง'
    โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 16 กุมภาพันธ์ 2555 00:41 น.

    เอเอฟพี/เอเจนซีส์ - เหตุระเบิดในไทยซึ่งเกิดขึ้นตามหลังการก่อเหตุบึ้มในอินเดียและจอร์เจีย กำลังกลายเป็นชนวนเพิ่มความตึงเครียดระหว่างอิสราเอลกับอิหร่าน ซึ่งเป็นศัตรูคู่อาฆาตกันมานมนาน ให้ปะทุพุ่งปริ๊ดขึ้นไปอีก นายกรัฐมนตรีอิสราเอลระบุวานนี้(15)ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นระลอกเหล่านี้ คือการเปิดโปงให้เห็น “กิจกรรมก่อการร้าย” ของอิหร่าน ขณะที่โฆษกกระทรวงการต่างประเทศอิหร่านปฏิเสธทันควัน และตอบโต้ว่ากลุ่มที่เกี่ยวข้องกับ “ลัทธิฟื้นชาติยิว” ต่างหากซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบก่อเรื่อง ทางด้านผู้นำญี่ปุ่นหวั่นเกรงสถานการณ์บานปลาย จนออกมาเตือนรัฐยิวให้ละเว้นการใช้ปฏิบัติการทางทหารเล่นงานอิหร่าน

    อิสราเอลประณามอิหร่านว่า เป็นผู้บงการก่อเหตุระเบิดที่พุ่งเป้าเล่นงานนักการทูตของตนในอินเดียและจอร์เจียเมื่อวันจันทร์(13) ตลอดจนเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการระเบิดหลายๆ ครั้งในกรุงเทพฯเมื่อวันอังคาร(14) ซึ่งน่าจะเกิดจากความผิดพลาดของกลุ่มคนร้าย และพวกเจ้าหน้าที่ข่าวกรองของไทยระบุว่า มุ่งหมายที่จะโจมตีนักการทูตระดับสูงของรัฐยิว

    “มาถึงเวลานี้ กิจกรรมก่อการร้ายต่างๆ ของอิหร่านกำลังถูกเปิดโปงออกมาให้ทุกคนได้เห็นแล้ว” นายกรัฐมนตรี เบนจามิน เนทันยาฮู ของอิสราเอล กล่าวที่นครเยรูซาเลม พร้อมกับกล่าวหาอิหร่านว่า “กำลังมุ่งทำร้ายนักการทูตผู้บริสุทธิ์ตลอดทั่วโลก”

    “ประเทศทั้งหลายในโลกจะต้องช่วยกันประณามเหตุการณ์เหล่านี้ และขีดเส้นแดงให้เห็นกันอย่างชัดเจนว่าต่อต้านพฤติการณ์ก้าวร้าวเช่นนี้ของอิหร่าน” เขาบอก พร้อมกับระบุด้วยว่า “การก้าวร้าวเช่นนี้ ถ้าหากไม่หาทางหยุดยั้งแล้ว ลงท้ายมันก็จะแผ่กระจายออกไปเรื่อยๆ”

    ในเวลาต่อมาคณะรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงของอิสราเอลได้ประชุมกัน เพื่อรับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับการที่อิหร่าน “เข้าเกี่ยวข้องพัวพันกับความพยายามครั้งแล้วครั้งเล่าที่จะโจมตีเล่นงานเป้าหมายที่เป็นคนและผลประโยชน์ของอิสราเอล” ตลอดทั่วโลก คำแถลงของสำนักนายกรัฐมนตรีอิสราเอลระบุ พร้อมกับบอกด้วยว่า ที่ประชุมนี้ยังได้ทบทวนเกี่ยวกับ “มาตรการในทางป้องกันต่างๆ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อต่อต้านการรณรงค์ก่อการร้ายของอิหร่าน”

    ท่าทีของอิสราเอลเช่นนี้สร้างความกังวลให้แก่นานาประเทศว่า ความขัดแย้งระหว่างรัฐยิวกับสาธารณรัฐอิสลามซึ่งเป็นศัตรูคู่อาฆาตกันในตะวันออกกลาง กำลังทวีความดุเดือดรุนแรงขึ้นไปสูงลิ่ว ความวิตกกังวลเช่นนี้สะท้อนให้เห็นจากการที่นายกรัฐมนตรี โยชิฮิโกะ โนดะ ของญี่ปุ่น ต้องออกมาขอร้องให้รัฐยิวอย่าโจมตีทางทหารต่ออิหร่าน

    สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ในระหว่าางการพบปะหารือกันที่โตเกียววานนี้ โนดะได้กล่าวตือนรัฐมนตรีกลาโหม เอฮุด บารัค ของอิสราเอล ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างตระเวนเยือนชาติในเอเชียว่า ถ้าหากรัฐยิวใช้ปฏิบัติการทางทหารต่ออิหร่าน ก็อาจจะ “เป็นอันตรายอย่างร้ายแรงที่สุด” เพราะในสถานการณ์เฉกเช่นปัจจุบัน มันมีความเสี่ยงที่จะ “ยกระดับความรุนแรง”

    เมื่อวันจันทร์ รถยนต์คันหนึ่งของสถานเอกอัครราชทูตอิสราเอลในกรุงนิวเดลีได้ถูกวางระเบิด จนกระทั่งนักการทูตหญิงผู้หนึ่งได้รับบาดเจ็บสาหัส นอกจากนั้นในวันเดียวกัน ยังมีคนร้ายก่อเหตุด้วยวิธีเดียวกันที่กรุงทบิลิซิ ของจอร์เจีย นั่นคือคนร้ายขี่จักรยานยนต์แอบนำระเบิดแม่เหล็กติดเข้ากับรถยนต์คันหนึ่งของสถานเอกอัครราชทูตอิสราเอล ทว่าระเบิดถูกตรวจพบเสียก่อน

    หลังจากนั้นไม่ถึง 24 ชั่วโมง ก็เกิดการระเบิดขึ้น 3 ครั้งในกรุงเทพฯ โดยที่ตำรวจไทยได้จับกุมผู้ต้องสงสัยเป็นมือระเบิดได้ 2 คน และขอความร่วมมือจากมาเลเซียให้จับกุมคนร้ายคนที่ 3 ซึ่งหลบหนีไป โดยที่ทางการแดนเสือเหลืองแจ้งในเวลาต่อมาว่าได้จับกุมตัวเอาไว้ได้แล้ว ทั้ง 3 คนต่างเป็นคนอิหร่าน ขณะที่เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านข่าวกรองของไทยผู้หนึ่งบอกกับสำนักข่าวเอเอฟพีว่า คนร้ายกลุ่มนี้วางแผนจะลอบสังหารนักการทูตอิสราเอล รวมถึงตัวเอกอัครราชทูตด้วย

    สำหรับฝ่ายอิหร่านนั้นได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาเหล่านี้อย่างแข็งขัน รามิน เมห์มานปารัสต์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศอิหร่าน บอกด้วยว่า การกล่าวหาของอิสราเอล ซึ่งอิหร่านเรียกขานว่า ระบอบปกครองไซออนนิสต์ (ลัทธิฟื้นชาติยิว) คือ “ความพยายามที่จะสร้างความเสียหายให้แก่ความสัมพันธ์ฉันมิตรและเก่าแก่ยาวนานระหว่างอิหร่านกับประเทศไทย”

    “สาธารณรัฐอิสลามอิหร่านเชื่อว่า กลุ่มต่างๆ ของระบอบปกครองไซออนนิสต์นั่นแหละเป็นผู้รับผิดชอบต่ออาชญากรรมคราวนี้ และเตรียมพร้อมที่จะช่วยเหลือและให้ความร่วมมือกับรัฐบาลไทยในการสาดส่องแสงสว่างทุกๆ อย่างให้แก่เหตุการณ์เหล่านี้” เขากล่าวต่อ

    เมห์มานปารัสต์ชี้ว่า ข้อกล่าวหาของอิสราเอลมีขึ้นตามหลังการที่สหรัฐฯได้เคยกล่าวหาในเดือนตุลาคมปีที่แล้วว่า อิหร่านบงการวางแผนร้ายหมายลอบสังหารเอกอัครราชทูตซาอุดีอาระเบียประจำกรุงวอชิงตัน ตลอดจนการที่อิสราเอลกล่าวหาเตหะรานว่าอยู่เบื้องหลังเหตุระเบิดที่อินเดียและจอร์เจียในวันจันทร์ ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้ต่างเป็นข้อกล่าวหาที่ “ไม่มีมูลความจริง”

    Daily News - Manager Online - '
     
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    แม้แต่ประธานาธิบดี โอบาม่า ก็ยังเป็นห่วง ครอบครัวของ วิตนีย์ ฮูสตั้น
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 กุมภาพันธ์ 2555 07:59 น.
    [​IMG]

    บ็อบบี คริสตินา ฮูสตัน ลูกสาวคนเดียวของ วิตนีย์ อาการน่าเป็นห่วงที่สุดในขณะนี้

    >>กรณีการเสียชีวิตของ วิตนีย์ ฮูสตั้น นอกจากจะช็อคคนทั่วโลกแล้ว แน่นอนว่าคนที่ช็อคที่สุดคงไม่พ้นสมาชิคในครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกสาววัย 18 ปี บ็อบบี คริสตินา ฮูสตัน ที่ต้องถูกนำส่งโรงพยาบาลถึงสองครั้งสองครา จากอาการช็อคสุดขีดจนระบบประสาทไม่สั่งงานชั่วขณะ และความพยายามฆ่าตัวตายจากอาการเครียด
    [​IMG]

    [​IMG]

    แม้แต่ บารัค โอบาม่า ก็ยังต้องแถลงการณ์ถึง วิตนีย์ ฮูสตัน


    เรื่องน่าสลดดังกล่าวนี้กล่ายเป็นที่พูดถึงไปทั่วโลกไม่เว้นแม้กระทั่งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา บารัคโอบามา ที่ถึงกับออกแถลงการณ์ต่อเรื่องดังกล่าว

    โดย เจย์ คาร์นีย์ เลขาของ โอบาม่าได้ออกมาแถลงว่า ท่านประธานาธิบดี รู้สึกเสียใจเป็นอย่างยิ่งต่อการจากไปของ วิตย์นีย์ และเขาได้สวดมนต์ต่อพระผู้เป็นเจ้าให้กับสมาชิกครอบครัวของเธอทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คริสตินา ที่ โอบาม่าอยากเห็นเธอกลับมาเป็นปกติอย่างเร็วที่สุด :: Text by FLASH

    Celeb Online - Manager Online -
     
  4. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555 01:00
    กาแฟดำ
    แม้ไทยจะเป็นแค่ ‘soft target’ ก็ไม่ได้แปลว่าปลอดภัย
    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตอบคำถามนักข่าวว่า ยังบอกไม่ได้ว่าเหตุระเบิดกลางกรุง เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาเป็นเหตุ “ก่อการร้าย” หรือไม่...

    หนึ่งวันต่อมารัฐมนตรีกลาโหม พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต ยืนยันว่า “ไม่ใช่การก่อการร้าย” ย้อนไปไม่กี่สัปดาห์ก่อน รองนายกฯ เฉลิม อยู่บำรุง บอกว่ารู้ตัวว่าใครเป็นใครหลังสถานทูตต่างประเทศหลายแห่งออกคำเตือนถึงคนของตนเองว่าอาจมีเหตุ “terrorist threat” ในเมืองไทยรัฐบาลไทยยืนยันว่าผู้ก่อเหตุร้ายไม่มีใครต้องการมาทำอะไรในเมืองไทย ส่วนใหญ่ถือว่าไทยเป็นเพียงทางผ่าน หรือไม่ก็เป็นจุดนัดพบหรือที่พักผ่อนเท่านั้น “ยืนยันว่าผู้ก่อการร้ายสากลไม่มาทำอะไรในไทยแน่” คือคำรับรองยืนยันของรองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง

    กระทรวงต่างประเทศไทยพูดจากับหลายสถานทูต ขอให้เขาถอนคำเตือนนั้นเสียเพราะกระทบภาพลักษณ์การลงทุนท่องเที่ยวของไทย และยืนยันว่าจะไม่มีเหตุร้ายในไทยแน่นอน สถานทูตอเมริกาและอังกฤษไม่ยกเลิกคำเตือน และลดน้ำหนักลงในเว็บไซต์ของเขาหลังคำร้องขอจากไทย แต่พอถึงบ่ายวันอังคาร เมื่อเกิดเหตุระเบิดตูมตาม และมีผู้ต้องสงสัยเป็นชาวอิหร่านสามคน เป็นระเบิดรุนแรงอีกด้วย สถานทูตทั้งหลายไม่รอให้รัฐบาลไทยแถลง, ออกคำเตือน “ฉบับใหม่” ทันทีเช่นกัน

    ระดับ “ความน่าเชื่อถือ” ของแถลงการณ์ของรัฐบาลไทยในเรื่องมีหรือไม่มีเหตุก่อการร้ายในไทย จึงถูกเหตุร้ายวันอังคารลดทอนลงไม่น้อย เป็นบทเรียนว่ารัฐบาลไทยต้องเผชิญกับความเป็นจริง และเลิกยึดประโยคเก่าๆ ว่า “ไม่มีเหตุก่อการร้ายในไทยเพราะผู้ก่อการร้ายไม่ต้องการทำอะไรในไทย...ไทยไม่ได้เป็นศัตรูกับใคร....เขาเข้าออกเพื่อจะพักผ่อนและนัดพบเท่านั้น...” เพราะพูดอย่างนี้แล้วเกิดเหตุระเบิดขึ้นกลางเมืองหลวงของเราก็ย่อมทำให้คนอื่นเขาตั้งคำถามว่า “ตกลง รัฐบาลและข่าวกรองไทยนี่มีความน่าเชื่อถือเพียงใด?” เหตุร้ายในกรุงเทพฯ ครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากกรณีละม้ายที่อินเดียและจอร์เจียที่น่าสนใจ คือรัฐมนตรีกลาโหมอิสราเอล Ehud Barak ผ่านเมืองไทยเมื่อวันอาทิตย์เพื่อเดินทางต่อไปสิงคโปร์ อิสราเอลกล่าวหาอิหร่านว่าอยู่เบื้องหลังการก่อเหตุในเมืองไทยโดยร่วมมือกับกลุ่ม Hezbollah ที่มีฐานปฏิบัติการอยู่เลบานอน และเขาเชื่อว่าเหตุการณ์ในอินเดีย, จอร์เจีย และไทยมีความเกี่ยวเนื่องกัน

    สหรัฐกับอิสราเอลเห็นตรงกันว่านี่คือความพยายามของอิหร่านที่จะก่อเหตุต่อเป้าหมายที่เป็นทั้งสหรัฐ, โลกตะวันตก และอิสราเอล ไทยเราอาจจะไม่ใช่ “เป้าหลัก” แต่ก็อาจเข้าข่ายเป็น “เป้านิ่ม” หรือ “soft target” ในภาษาความมั่นคงระหว่างประเทศนั่นคือเป็นจุดที่ผู้ก่อเหตุร้ายสามารถใช้เป็นที่ทำลายเป้าหมายหลักได้ เพราะเรามีมาตรการการป้องกันที่หละหลวมกว่าประเทศที่ถือว่าเป็นเป้าหลัก ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะประมาทด้วยการปฏิเสธความจริงว่าแม้เราจะเป็นเป้ารอง แต่ความเสียหายที่สามารถเกิดขึ้นได้กับชีวิตและทรัพย์สินของคนไทยและคนต่างชาติในไทยนั้นอาจจะมีไม่น้อยกว่าที่จะเป็นเป้าหลักเช่นกัน

    ดังนั้น, รัฐบาลจึงควรจะปรับวิธีคิดและแนวทางการปฏิบัติสำหรับตั้งรับเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้นต่อไป โดยสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศและในประเทศ อีกทั้งจะต้องปรับปรุงการหาข่าวกรองและสร้างระบบที่จะร่วมมือกับภาคประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ เพราะโลกที่ย่อส่วนลงมาเป็นชุมชนสากลเช่นนี้ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าตัวเองรอดจากการตกเป็นเหยื่อของความขัดแย้งระหว่างประเทศ เพราะแม้ว่าเราจะคิดเข้าข้างตัวเองว่าเราเป็น “ข้อยกเว้น” และไม่ได้เป็นศัตรูกับใคร, แต่การเป็น “ทางผ่าน” หรือ “เป้าหมายรอง” ก็หาได้รับรองความปลอดภัยแต่อย่างใดไม่

    http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/suthichaiyoon/20120216/436394/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B9%88-%E2%80%98soft-target%E2%80%99-%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2.html
     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555 14:15
    นักวิเคราะห์คาดจีดีพีกรีซอาจทรุดตัว 30%
    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    [​IMG]

    นักวิเคราะห์คาดจีดีพีกรีซอาจทรุดตัว 30%ขณะเผชิญภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ

    เศรษฐกิจกรีซอยู่ในภาวะถดถอยมาเป็นเวลานาน 5 ปีแล้ว และอาจตกต่ำลงอย่างรุนแรง ซึ่งอาจส่งผลให้กรีซกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเศรษฐกิจตกต่ำลงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคใหม่

    ทั้งนี้ เศรษฐกิจกรีซ หดตัวลง 6.8 % ในปี 2554 โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของกรีซดิ่งลงมาแล้ว 16 % จากจุดสูงสุดในช่วงก่อนเกิดวิกฤติหนี้สิน ขณะที่อัตราการว่างานพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงกว่า 20 % ในปัจจุบัน จากระดับ 7.7 % ในปี 2551

    จีดีพีอาร์เจนตินา เคยทรุดตัวลง 20 % จากจุดสูงสุดเมื่ออาร์เจนตินาผิดนัดชำระหนี้ในปี 2544 ส่วนเศรษฐกิจแลตเวียเคยหดตัวลง 24 % เนื่องจากวิกฤติการเงินโลกปี 2551

    นายอูริ ดาดุช นักเศรษฐศาสตร์ของสถาบันวิจัยคาร์เนกี เอ็นดาวเมนท์ ในสหรัฐ ให้ความเห็นว่า กรีซจำเป็นต้องดำเนินมาตรการรัดเข็มขัดเพิ่มเติมเพื่อแลกกับมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินรอบสอง ซึ่งมีวงเงิน 1.30 แสนล้านยูโร (1.72 แสนล้านดอลลาร์) ดังนั้น เศรษฐกิจกรีซ จึงมีแนวโน้มตกต่ำลงไปอีก และอาจทรุดตัวรุนแรงกว่าอาร์เจนตินาและแลตเวีย

    นายดาดุช กล่าวว่า แนวโน้มในขณะนี้บ่งชี้ว่า จีดีพีกรีซ อาจจะร่วงลง 25-30 % ซึ่งจะถือเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และจะถือเป็นหายนะสำหรับกรีซ

    ประชาชนชาวกรีซเผชิญกับแนวโน้มที่เลวร้ายในช่วงนี้ โดยข้าราชการบางคน ถูกปรับลดเงินเดือนลงครึ่งหนึ่ง เกิดภาวะขาดแคลนยาบางตัว มีการปิดธุรกิจในกรีซทุกวัน และสามีภรรยาชาวกรีซ ที่มีลูกจำเป็นต้องย้ายกลับไปอยู่กับพ่อแม่ของตนเองเพื่อประหยัดเงิน

    ธนาคารโลก ระบุว่า จีดีพีรัสเซีย เคยดิ่งลง 44 % ในช่วงระหว่างปี 2532-2541 ในขณะที่จีดีพีสหรัฐลดลง 29 % ในช่วงที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในทศวรรษ 2473

    อย่างไรก็ดี ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในรัสเซียเกิดขึ้นในช่วงที่สหภาพโซเวียตล่มสลาย ดังนั้น นักวิเคราะห์ จึงมักจะไม่นำเหตุการณ์นี้มาใช้ในการศึกษาภาวะเศรษฐกิจถดถอยยุคปัจจุบัน

    นักวิเคราะห์กล่าวว่า การเปรียบเทียบวิกฤติระหว่างประเทศต่างๆเป็นเหมือนกับการเปรียบเทียบแอปเปิลกับส้ม เพราะแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันไปทั้งในทางการเมืองและเศรษฐกิจ

    อย่างไรก็ดี นายมาร์ค ไวสบรอท ผู้อำนวยการร่วมของศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและนโยบายในกรุงวอชิงตันกล่าวว่า วิกฤติกรีซมีแง่มุมหนึ่งที่สำคัญนั่นก็คือ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในกรีซกินเวลายาวนานเป็นสองเท่าของวิกฤติทั่วไป และยังไม่มีแนวโน้มสิ้นสุดลง

    รัฐบาลกรีซ ล้มเหลวในการปฏิบัติตามมาตรการปฏิรูปที่เคยให้สัญญาไว้เพื่อแลกกับมาตรการให้ความช่วยเหลือรอบแรกในปี 2553 ซึ่งมีวงเงิน 1.10 แสนล้านยูโร และความล้มเหลวนี้สร้างความไม่พอใจให้แก่กลุ่มผู้ให้ความช่วยเหลือ หรือ "ทรอยกา" ซึ่งประกอบด้วยสหภาพยุโรป (อียู) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี)

    อย่างไรก็ดี ถึงแม้รัฐบาลกรีซไม่สามารถบรรลุเป้าหมายเรื่องการปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณ แต่รัฐบาลก็ประสบความคืบหน้าเป็นอย่างมากในเรื่องดุลการคลังเบื้องต้น ซึ่งไม่รวมรายจ่ายด้านดอกเบี้ย โดยความคืบหน้าในเรื่องนี้ เป็นผลมาจากมาตรการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) และมาตรการปรับลดเงินบำนาญ เงินเดือน และบริการสาธารณะ

    http://www.bangkokbiznews.com/home/...4/นักวิเคราะห์คาดจีดีพีกรีซอาจทรุดตัว-30.html
     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555 13:55
    มูดี้ส์เล็งหั่นเรตติ้งแบงก์ 17 แห่ง
    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

    [​IMG]

    "มูดี้ส์" เล็งหั่นเรตติ้งธนาคารระดับโลก 17 แห่ง พ่วง 114 สถาบันการเงินยุโรป เหตุวิกฤติหนี้ยูโรโซนกระทบหนักระบบการเงินโลก

    มูดี้ส์ บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือสหรัฐ ประกาศเตือนว่า บริษัทอาจตัดสินใจปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารระดับโลกอีก 17 แห่ง รวมไปถึงสถาบันการเงินยุโรปอีก 114 แห่ง สะท้อนว่าผลกระทบจากวิกฤติหนี้ยูโรโซนได้แพร่ไปยังระบบการเงินโลก

    มูดี้ส์ ระบุว่า การประกาศเตือนครั้งนี้ เกิดจากการที่ชาติยุโรปทั้ง 16 ชาติ สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบจากปัญหาหนี้ยุโรปที่ยืดเยื้อ รวมถึงความน่าเชื่อถือของรัฐบาลในกลุ่มยูโรโซนที่กำลังเสื่อมถอย โดยยกตัวอย่างถึงสภาวะการระดมทุนที่ยังเปราะบาง ภาระทางกฎระเบียบต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น และสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ ซึ่งเป็นสัญญาณที่ทำให้บริษัทต้องทบทวนการจัดเรตติ้งของธนาคารและสถาบันการเงินระดับโลก

    ความเคลื่อนไหวของมูดี้ส์ครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจากบริษัทได้ปรับลดเรตติ้งประเทศในยูโรโซนมาหลายแห่งแล้ว หลังประเทศในยูโรโซนต่างดิ้นรนอย่างหนักเพื่อช่วยเหลือกรีซ ซึ่งเป็นจุดอ่อนและมีปัญหาหนี้จำนวนมากที่สุดในกลุ่มนี้ ทำให้ต้นทุนกู้ยืมเงินเพิ่มขึ้น และสร้างแรงกดดันทางการเงินในประเทศต่างๆ

    โดยเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (13 ก.พ.) มูดี้ส์เพิ่งปรับลดเรตติ้ง 6 ชาติยุโรป อาทิ อิตาลี สเปน โปรตุเกส และยังส่งสัญญาณเตือนไปยังฝรั่งเศส อังกฤษ และออสเตรียที่มีอันดับความน่าเชื่อถือในระดับ AAA

    มูดี้ส์ ระบุว่า บริษัทกำลังทบทวนอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวและอันดับความน่าเชื่อถือในการปล่อยสินเชื่อ ของแบงก์ ออฟ อเมริกา ซิตี้กรุ๊ป โกลแมนด์ แซคส์ เจพี มอร์แกน เชส มอร์แกน สแตนเลย์ โรยัล แบงก์ ออฟ แคนาดา ส่วนในยุโรป อาทิ บาร์เคลย์ส บีเอ็นพี พาริบาส์ เครดิต อะกริโกล ดอยช์แบงก์ เอชเอสบีซี โรยัล แบงก์ ออฟ สก็อตแลนด์ โซซิเอเต้ เจเนราล รวมถึงเครดิต สวิส แมคควอรีส์ ยูบีเอส และโนมูระ

    http://www.bangkokbiznews.com/home/...6525/มูดี้ส์เล็งหั่นเรตติ้งแบงก์-17-แห่ง.html
     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555 13:38
    อียูดับฝันกรีซแม้บรรลุแผนรัดเข็มขัด
    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    [​IMG]

    อียูดับฝันกรีซแม้บรรลุเงื่อนไขเล็งเบรกปล่อยเงินกู้รอเลือกตั้งเม.ย.

    กรีซ แสดงความหวังว่าจะสามารถได้รับเงินช่วยเหลือรอบ 2 จากสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) โดยหวังว่าจะบรรลุข้อตกลงในสัปดาห์หน้า ที่จะช่วยบรรเทาภาระหนี้ของประเทศ หลังจากที่กรีซ สามารถปฏิบัติตามข้อเรียกร้อง 2 ข้อสุดท้ายของอียูและไอเอ็มเอฟเพื่อแลกกับเงินช่วยเหลือ 1.30 แสนล้านยูโรแล้ว แต่ประเทศในยูโรโซน ชี้แจงว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมานานหลายเดือนยังไม่ได้ข้อยุติ

    ทั้งนี้ รัฐมนตรีคลังยูโรโซน ได้ตั้งเงื่อนไข 3 ประการ สำหรับกรีซ ก่อนที่จะมีการตัดสินใจว่า จะอนุมัติมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน 1.30 แสนล้านยูโรหรือไม่ โดยกรีซ จำเป็นต้องได้รับเงินช่วยเหลือเพื่อนำมาชำระหนี้ 1.45 หมื่นล้านยูโร เมื่อพันธบัตรกรีซ ครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 20 มี.ค. ไม่เช่นนั้นกรีซจะผิดนัดชำระหนี้

    เงื่อนไขที่กลุ่มยูโรกรุ๊ปตั้งไว้ ได้แก่ 1 รัฐสภากรีซต้องให้การรับรองมาตรการรัดเข็มขัด 2 รัฐบาลกรีซ ต้องชี้แจงว่า จะใช้วิธีการใดในการตัดงบรายจ่ายลงอีก 325 ล้านยูโร (427 ล้านดอลลาร์) ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนการตัดงบประมาณ 3.3 พันล้านยูโรสำหรับปีนี้ 3 ผู้นำพรรคการเมืองของกรีซ จะต้องทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรว่าจะปฏิบัติตามมาตรการรัดเข็มขัด

    สำหรับเงื่อนไขข้อที่ 1 นั้น รัฐสภากรีซ ได้ให้ความเห็นชอบต่อร่างกฎหมาย เกี่ยวกับมาตรการรัดเข็มขัดแล้ว ในวันที่ 13 ก.พ.

    นายอีวานเจลอส เวนิเซลอส รัฐมนตรีคลังของกรีซ กล่าวว่า กรีซ ได้ปฏิบัติตามข้อเรียกร้อง 2 ประการสุดท้ายแล้ว ซึ่งจะทำให้กรีซได้เงินช่วยเหลือเพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ในการไถ่ถอนพันธบัตรในวันที่ 20 มี.ค.

    นายเวนิเซลอส กล่าวด้วยว่า คณะรัฐมนตรีของกรีซ มีแนวทางในการลดงบรายจ่ายลงอีก 325 ล้านยูโร ในการประหยัดงบประมาณพิเศษ 3.3 พันล้านยูโรในปีนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่อียูและไอเอ็มเอฟเรียกร้อง

    นอกจากนี้ เขายังระบุว่า ผู้นำของทั้งสองพรรคในรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีลูคัส ปาปาเดมอส ได้ลงนามเป็นลายลักษณ์อักษร ยืนยันที่จะดำเนินมาตรการรัดเข็มขัดแล้ว แต่เจ้าหน้าที่รัฐบาลของเยอรมนี ซึ่งมีส่วนร่วมในการเจรจากับกรีซ กล่าวว่า กรีซยังคงมีคำถามที่ต้องตอบ

    ทั้งนี้ กรีซ ฝากความหวังไว้ที่การประชุมรัฐมนตรีคลังยูโรโซน ในวันจันทร์หน้า หลังการเจรจาในกรุงเอเธนส์ และในระดับยูโรโซน ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงที่จะหลีกเลี่ยงการล้มละลายของกรีซ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินทั่วโลก

    อย่างไรก็ดี แม้กรีซบรรลุเงื่อนไขที่ 2 และ 3 แล้ว แต่อียู ยังคงมีความไม่มั่นใจต่อการรักษาข้อตกลงของกรีซ โดยแหล่งข่าวหลายรายในอียู เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ด้านการคลังของยูโรโซนกำลังพิจารณาชะลอการอนุมัติมาตรการช่วยเหลือรอบ 2 สำหรับกรีซในบางส่วน หรือทั้งหมด แต่ขณะเดียวกัน ก็จะหาทางให้กรีซสามารถหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้อย่างไม่เป็นระบบ

    ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ของยูโรโซน อาจชะลอการให้ความช่วยเหลือกรีซไปจนกว่ากรีซจะจัดการเลือกตั้งแล้วเสร็จ ซึ่งคาดว่าจะมีขึ้นในเดือนเม.ย.นี้

    เจ้าหน้าที่สองรายกล่าวว่า เยอรมนี ฟินแลนด์ และเนเธอร์แลนด์ เป็นประเทศที่ผลักดันให้มีการชะลอการอนุมัติมาตรการช่วยเหลือกรีซ โดยเยอรมนีเป็นประเทศที่ผลักดันเรื่องนี้มากที่สุด ขณะที่ระบุว่าการอนุมัติในขั้นสุดท้ายจะมีขึ้นก็ต่อเมื่อกรีซจัดการเลือกตั้งเสร็จแล้ว

    หลังจากรัฐมนตรีคลังของประเทศสมาชิกยูโรโซน 17 ประเทศได้ประชุมกันทางโทรศัพท์เป็นเวลานาน 3 ชั่วโมงวานนี้ นายฌอง-คล็อด ยุงเกอร์ ประธานยูโรกรุ๊ป ก็ได้ออกแถลงการณ์ระบุว่า มีความคืบหน้าเกิดขึ้น แต่เขาก็แทบไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆ แต่บอกว่า ประเด็นบางประเด็นยังคงขึ้นอยู่กับการรับประกันว่ากรีซจะปฏิบัติตามมาตรการให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่หรือไม่

    http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/foreign/20120216/436522/%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9D%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%8B%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%87%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%94.html
     
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555 16:00
    โพลล์ชี้คอร์รัปชั่นปัญหาใหญ่ยุโรป
    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    [​IMG]

    ผลสำรวจความเห็นชาวยุโรป3ใน4มองว่าคอร์รัปชั่นเป็นปัญหาใหญ่ในยุโรป

    คณะกรรมาธิการยุโรปเปิดเผยผลสำรวจของยูโรบารอมิเตอร์ ล่าสุดว่า ชาวยุโรปเกือบ 3 ใน 4 เชื่อว่า การคอร์รัปชั่น เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ ทั้งนี้ ผลสำรวจดังกล่าว สอบถามความคิดเห็นประชากร 27 ชาติที่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป(อียู) ระบุว่า เกือบครึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามคิดว่า ระดับการคอร์รัปชั่นของประเทศปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา

    ขณะที่ 2 ใน 3 เชื่อว่า การคอร์รัปชั่น กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กรของประเทศ ผลสำรวจยังชี้ว่า 8% ของผู้ทำแบบสอบถามเปิดเผยว่า เคยได้รับการร้องขอให้จ่ายสินบนในปีที่ผ่านมา

    "คอร์รัปชั่น เป็นเชื้อร้ายที่ทำลายประเทศจากภายในเอง โดยกัดกร่อนความน่าเชื่อถือของหน่วยงานที่ผดุงความยุติธรรม บั่นทอนสำนึกความรับผิดชอบของผู้นำทางการเมือง และเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มอาชญากร" เซซิเลีย มาล์มสตอร์ม คณะกรรมการอียูด้านกิจการภายใน กล่าว

    ทั้งนี้ มีการประเมินความเสียหายทางเศรษฐกิจ ที่เป็นผลมาจากการคอร์รัปชั่นในอียูไว้ที่ปีละ 1.2 แสนล้านยูโร (1.57 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ)

    เมื่อปีที่แล้ว คณะกรรมาธิการยุโรป ได้ใช้มาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่น ที่ผลักดันให้นโยบายของอียูทั้งหมด พุ่งความสำคัญไปกับการต่อต้านคอร์รัปชั่น โดยมาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่นฉบับแรกของอียู จะมีการแถลงในปีหน้า

    http://www.bangkokbiznews.com/home/...436574/โพลล์ชี้คอร์รัปชั่นปัญหาใหญ่ยุโรป.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 กุมภาพันธ์ 2012
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เอกชนเซ็ง FATF ขึ้นบัญชีดำประเทศไทย ฟอกเงิน-ให้ทุนสนับสนุนการก่อการร้าย

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 กุมภาพันธ์ 2555 12:50 น.
    [​IMG]

    เอกชนเซ็ง FATF ขึ้นแบล็กลิสต์ประเทศไทย และอีก 4 ประเทศ ยัดเข้าบัญชีดำฟอกเงินก่อการร้าย อ้างเป็นหนึ่งในประเทศที่ไม่ทำตาม กม. ฟอกเงินฯ และการให้ทุนสนับสนุนการก่อการร้าย

    รายงานข่าวแจ้งว่า คณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงิน (FATF) ที่มีการประชุมกันในวันนี้ ได้มีมติขึ้นบัญชีดำไทย , ปากีสถาน , อินโดนีเซีย , กานา และแทนซาเนีย ในรายชื่อประเทศที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการสกัดการฟอกเงิน

    นายริค แมคโดเนล เลขาธิการ FATF กล่าวกับสื่อมวลชนว่า FATF พบว่า ประเทศทั้ง 5 ไม่ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำเรื่องการปราบปรามการฟอกเงิน และการให้ทุนสนับสนุนการก่อการร้าย

    ทั้งนี้ FATF ไม่ได้ปลดรายชื่อประเทศใดออกจากบัญชีดำเดิม (blacklist) แต่มีการปลดฮอนดูรัส และปารากวัย ออกจากบัญชีเทา (grey-list) หรือรายชื่อ ประเทศที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานสากล ถึงแม้เคยแสดงความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตาม มาตรฐานดังกล่าว

    ทั้งนี้ พบว่ามี 17 ประเทศ ที่มีชื่อติดอยู่ใน blacklist ของ FATF ในขณะนี้ โดยนอกจาก 5 ประเทศใหม่แล้ว ประเทศที่เหลือประกอบด้วยโบลิเวีย , คิวบา , เอธิโอเปีย , อิหร่าน , เคนยา , พม่า , ไนจีเรีย , เกาหลีเหนือ , เซา โตเม แอนด์ ปรินซิเป , ศรีลังกา , ซีเรีย และตุรกี

    ส่วนอีก 22 ประเทศที่มีชื่อติดอยู่ใน grey-list ประกอบด้วย แอลจีเรีย , แองโกลา , แอนติกวา แอนด์ บาร์บูดา , อาร์เจนตินา , บังคลาเทศ , บรูไน , กัมพูชา , เอกวาดอร์ , เคอร์กิซสถาน , มองโกเลีย , โมร็อกโก , นามิเบีย , นิคารากัว , ฟิลิปปินส์ , ซูดาน , ทาจิคิสถาน, ตรินิแดด แอนด์ โตเบโก, เตอร์กเมนิสถาน, เวเนซุเอลา , เวียดนาม , เยเมน และซิมบับเว

    ความคิดเห็นที่ 14
    ทีพวกประเทศที่เป็น Tax heaven country หมู่เกาะเวอร์จิ้น หมู่เกาะเคย์แมน ไม่โดนเพราะบริษัทฝรั่งไปตั้งอยู่เพียบ ทั้งที่มันเป็นสวรรค์ของนักฟอกเงินเลย
    Big K
    http://manager.co.th/Business/ViewNews.aspx?NewsID=9550000021951
     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ฮิซบอลเลาะห์โต้ไม่มีเอี่ยวเหตุระเบิดในไทย ลั่นถ้าทำแรงกว่านี้
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 กุมภาพันธ์ 2555 04:29 น.
    [​IMG]
    ภาพถ่ายบนไอโฟนของผู้เห็นเหตุการณ์เป็นภาพชายผู้ต้องสงสัยชาวอิหร่านนอนจมกองเลือดในสภาพขาขาดย่านใจกลางกรุงเทพฯ หลังจากทำระเบิดตกจนขาขาด


    เอเอฟพี/เอเจนซี - นายฮาสซาน นาสราลเลาะห์ ผู้นำฮิซบอลเลาะห์ วานนี้ (16) ยืนยันทางกลุ่มไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับเหตุโจมตีนักการทูตอิสราเอล ในอินเดีย จอร์เจียและไทยเมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ระบุถ้าจะแก้แค้นให้ผู้บัญชาการระดับสูงที่ถูกลอบสังหารจะจัดหนักอย่างสมเกียรติ

    “เมื่อพิจารณาถึงเหตุระเบิดหลายจุดที่เกิดขึ้นในอินเดีย จอร์เจีย และไทย ผมยืนยันกับพวกคุณได้ว่าฮิซบอลเลาะห์ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เล่านั้นอย่างจริงแท้แน่นอน” ผู้นำกองกำลังติดอาวุธชีอะห์หัวรุนแรงฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอน แถลงผ่านสถานีโทรทัศน์

    พร้อมกันนั้น นายนาสราลเลาะห์ยังบอกว่าฮิซบอลเลาะห์จะใช้วิธีการอื่นสำหรับแก้แค้นพวกที่ฆ่าไอมัด มุกห์นิยาห์ ผู้บัญชาการระดับสูงของกลุ่ม ที่ถูกลอบสังหารด้วยระเบิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2008 โดยบอกว่าเหตุระเบิดที่เกิดขึ้นเมื่อช่วงต้นสัปดาห์ถือว่ากระจ้อยร่อยเกินกว่าจะเป็นฝีมือของฮิซบอลเลาะห์

    “เราจะไม่แก้แค้นทหาร นักการทูต หรือประชาชนชาวอิสราเอล” ผู้นำฮิซบอลเลาะห์กล่าวโดยไม่ได้ให้รายละเอียดที่ชัดเจน “เมื่อวันนั้นมาถึง เราจะแก้แค้นให้ ไอมัด มุกห์นิยาห์ อย่างสมเกียรติ” เขากล่าว

    อิสราเอลกล่าวหาว่าอิหร่านและฮิซบอลเลาะห์ อยู่เบื้องหลังเหตุระเบิดเหล่านั้น ข้อกล่าวหาที่ทางเตหะรานได้ออกมาปฏิเสธไปก่อนหน้านี้แล้ว

    สำนักข่าวต่างประเทศระบุว่า ตำรวจไทยบอกว่านักการทูตอิสราเอลคือเป้าหมายของเหตุโจมตีด้วยระเบิดที่ล้มเหลวในกรุงเทพฯ เมื่อวันอังคาร (14) เหตุความรุนแรงซึ่งเกิดขึ้น 1 วันหลังจากนักการทูตอิสราเอลถูกโจมตีในอินเดียและจอร์เจีย

    ขณะเดียวกัน หนังสือพิมพ์เยรูซาเลมโพสต์รายงานเมื่อวันพฤหัสบดี (16) ว่าเครือข่ายก่อการร้ายฮิซบอลเลาะห์-อิหร่าน วางแผนลอบสังหารรัฐมนตรีกลาโหมอิสราเอลระหว่างเยือนสิงคโปร์ แต่ถูกเจ้าหน้าที่ความมั่นคงแดนลอนช่องสกัดได้เสียก่อน อย่างไรก็ตามข่าวนี้ก็ถูกปฏิเสธจากทั้งสองฝ่าย

    กรุงเทพฯ อยู่ในความเฝ้าระวังตั้งแต่กลางเดือนมกราคม หลังตำรวจจับกุมชายชาวเลบานอนที่ถูกกล่าวหาว่ามีความเกี่ยวข้องกับฮิซบอลเลาะห์ ฐานต้องสงสัยวางแผนโจมตีกรุงเทพฯ ตามหลังคำเตือนจากสหรัฐฯ ที่บอกว่านักท่องเที่ยวต่างชาติคือเป้าหมายของแผนโจมตีนี้

    Around the World - Manager Online -
     
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ครม.ญี่ปุ่นอนุมัติแผนขึ้น “ภาษีผู้บริโภค” เป็น 2 เท่าผ่อนหนี้สาธารณะ
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 กุมภาพันธ์ 2555 12:06 น.
    [​IMG]
    นายกรัฐมนตรี โยชิฮิโกะ โนดะ แห่งญี่ปุ่น

    เอเอฟพี - คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นอนุมัติแผนขึ้นภาษีผู้บริโภคอีก 1 เท่าตัวเพื่อลดภาระหนี้สาธารณะ วันนี้(17) ขณะที่อัตราชราภาพที่สูงอย่างต่อเนื่องส่งผลให้รัฐบาลแดนปลาดิบต้องแบกรับค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการสังคมเพิ่มขึ้น

    หากกฎหมายดังกล่าวผ่านความเห็นชอบจากสภา จะทำให้ภาษีผู้บริโภคซึ่งอยู่ที่ 5.0 เปอร์เซ็นต์ในปัจจุบัน ปรับขึ้นเป็น 8.0 เปอร์เซ็นต์ ในเดือนเมษายนปี 2014 และขยับขึ้นเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ ในเดือนตุลาคม ปี 2015

    อย่างไรก็ตาม คาดว่าร่างกฎหมายฉบับนี้จะถูกต่อต้านจากฝ่ายค้านซึ่งครองที่นั่งในสภาสูง รวมถึง ส.ส.บางรายในพรรครัฐบาล เดโมแครติก ปาร์ตี ออฟ เจแปน ซึ่งก็ยังไม่เห็นด้วย

    นายกรัฐมนตรี โยชิฮิโกะ โนดะ กล่าวเตือนว่า อนาคตของญี่ปุ่นซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 3 ของโลก ขึ้นอยู่กับการลดหนี้สาธารณะลงให้ได้ และขณะนี้ “ไม่มีเวลารีรอ” ที่จะสะสางปัญหาหนี้สินอีกแล้ว

    ในขณะที่รัฐบาลมีค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการสังคมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากอัตราชราภาพสูงขึ้นแต่จำนวนประชากรลดลง รายได้จากเงินภาษีกลับคิดเป็นเพียงร้อยละ 40 ของงบรายจ่ายทั้งหมด ส่วนที่เหลือมาจากการกู้ยืม ส่งผลให้หนี้สาธารณะของญี่ปุ่นในปัจจุบันสูงถึง 200 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นอีก หากไม่มีการเก็บภาษีเพิ่มหรือลดรายจ่ายลง นักวิเคราะห์เตือน

    Around the World - Manager Online -
     
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    สหรัฐฯเตรียมถอนทหาร 11,000 นายออกจากยุโรป-เดินหน้ายุทธศาสตร์ “มุ่งเอเชีย”
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 กุมภาพันธ์ 2555 11:50 น.
    [​IMG]

    ลีออน เพเนตตา รมว.กลาโหมสหรัฐฯ(ซ้าย) แถลงข่าวร่วมกับ โทมัส เดอ เมซิแอร์ รมว.กลาโหมเยอรมนี เกี่ยวกับแผนถอนทหารอเมริกันบางส่วนออกจากยุโรปภายในปีนี้ ณ กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ

    เอเอฟพี - สหรัฐฯเผยแผนถอนทหารกว่า 11,000 นายออกจากทวีปยุโรป อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์มุ่งสู่เอเชีย ทว่ายืนยันจะรักษาสายสัมพันธ์ด้านการทหารอย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรในยุโรปต่อไป วานนี้(16)

    “ไม่ควรมีใครมองว่า การที่เราลดจำนวนทหารอเมริกันที่ประจำการในยุโรปอย่างถาวรลง หมายความว่าความสัมพันธ์ของเรากับพันธมิตรยุโรปจะลดลงตามไปด้วย” จอร์จ ลิตเติล โฆษกกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ให้สัมภาษณ์

    เพนตากอน เปิดเผยรายละเอียดของแผนถอนทหารสหรัฐฯออกจากยุโรป ซึ่งจะครอบคลุม 2 กองพลน้อยและอีก 2 ฝูงบิน ระหว่างที่ ลีออน เพเนตตา รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ร่วมหารือกับ โทมัส เดอ เมซิแอร์ รัฐมนตรีกลาโหมเยอรมนี ที่กรุงวอชิงตัน โดย เพเนตตา ยืนยันว่า นโยบายดังกล่าวจะไม่ทำให้พันธกรณีระหว่างสหรัฐฯและนาโตเปลี่ยนแปลงไป

    เพเนตตา ระบุว่า ทหารสหรัฐฯจะยังประจำการอยู่ในเยอรมนีราว 40,000 นาย และ “ยุทธศาสตร์กลาโหมใหม่ของสหรัฐฯยังให้ความสำคัญต่อความร่วมมือข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกกับพันธมิตรนาโตอย่าง เยอรมนี”

    รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯเผยด้วยว่า เดอ เมซิแอร์ “เข้าใจดีถึงความจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยน ในยามที่สหรัฐฯหันมาใช้ยุทธศาสตร์ใหม่เพื่อให้สอดรับกับงบประมาณที่มีอยู่” ขณะที่ เดอ เมซิแอร์ ก็ยืนยันว่า เยอรมนีจะมีบทบาทสำคัญต่อกองทัพสหรัฐฯต่อไป และตัวเขาก็ไม่อาจตำหนิแนวทางของเพนตากอนได้ เพราะรัฐบาลเยอรมนีเองก็กำลังใช้นโยบายเดียวกัน

    เจ้าหน้าที่ระบุว่า กองทัพสหรัฐฯจะเริ่มถอนทหาร 2 กองพลน้อย, ฝูงบินรบ 2 ฝูง และทหารกองหนุนอีกราว 2,500 นาย ออกจากยุโรปภายในปีนี้ ซึ่งจะส่งผลให้ทหารอเมริกันในยุโรปราว 81,000 นาย ลดลงเหลือเพียง 70,000 นาย

    ทั้งนี้ หน่วยทหารที่จะเดินทางออกจากยุโรป ได้แก่ กองพลทหารราบที่ 170 และ 172 ในเมืองกราเฟนเวอร์ , ฝูงบินรบที่ 81 ในเมืองสปังดาห์เลม และหน่วยควบคุมฝูงบินที่ 603 ซึ่งประจำการอยู่ที่เมืองอาเวียโนของอิตาลี

    บทบาทของกองทัพสหรัฐฯในยุโรปลดลงอย่างมากนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามเย็น โดยก่อนหน้านั้นเคยมีทหารสหรัฐฯปฏิบัติหน้าที่อยู่ในภูมิภาคยุโรปราว 270,000 นาย

    Around the World - Manager Online -
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    สมัชชาใหญ่ UN ออกมติประณามเหตุรุนแรงในซีเรีย
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 กุมภาพันธ์ 2555 09:39 น.

    [​IMG]
    บัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ (แฟ้มภาพ)


    เอเอฟพี - ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ประกาศมติประณามซีเรียด้วยคะแนนโหวต 137 ต่อ 12 เสียง และเรียกร้องให้รัฐบาลซีเรียยุติการปราบปรามผู้ประท้วงในทันที วานนี้(16)

    จีน, รัสเซีย และอิหร่าน ยังคงเดินหน้าคัดค้านมติประณามซีเรีย ซึ่งอียิปต์และชาติอาหรับอื่นๆ เสนอขึ้นโดยมีตะวันตกหนุนหลัง ขณะที่สมาชิกยูเอ็นที่เหลืออีก 17 ประเทศงดออกเสียง

    โดยมติดังกล่าวได้ประณาม “การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ” โดยระบอบประธานาธิบดี บาชาร์ อัล-อัสซาด ขณะที่สมาชิกยูเอ็นที่เหลืออีก 17 ประเทศงดออกเสียง

    การลงมติประณามโดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติมีขึ้นเพียงไม่กี่วัน หลังจากปักกิ่งและมอสโกใช้สิทธิวีโตมติเดียวกันนี้ในที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เป็นครั้งที่ 2

    แม้มติประณามครั้งนี้จะเพิ่มแรงกดดันแก่อัสซาด ทว่าก็ไม่มีผลบังคับใดๆ และไม่มีน้ำหนักเทียบเท่ามติจากคณะมนตรีความมั่นคงฯ

    อุซามะห์ อับเดลคอลิก รองผู้แทนอียิปต์ประจำองค์การสหประชาชาติ ระบุว่า สมัชชาใหญ่ยูเอ็นได้ส่งสารอันชัดเจนไปยังกรุงดามัสกัสแล้วว่า “ถึงเวลาแล้วที่จะต้องฟังเสียงประชาชน”

    อย่างไรก็ตาม บาชาร์ จาฟารี ผู้แทนซีเรียประจำยูเอ็น ออกมาติเตียนมติดังกล่าวว่า เป็นการแทรกแซงกิจการภายในซีเรียโดยปราศจากสิทธิ์อันชอบธรรม ในช่วงเวลาที่ดามัสกัสกำลัง “สู้รบกับกลุ่มก่อการร้าย” และเตรียมทำประชามติรัฐธรรมนูญใหม่ในอีก 10 วันข้างหน้า

    “ม้าไม้เมืองทรอยของชาติอาหรับเผยธาตุแท้ของมันออกมาแล้ว” จาฟารี ระบุ พร้อมทั้งอ้างว่า มหาอำนาจตะวันตกกำลังใช้สันนิบาตอาหรับเป็นเครื่องมือยกระดับปัญหาภายในซีเรียให้เป็นเรื่องระหว่างประเทศ

    นักสิทธิมนุษยชนเผยว่า ตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2011 เป็นต้นมา มีประชาชนถูกทหาร อัสซาด สังหารไปแล้วไม่ต่ำกว่า 6,000 ราย หลังชาวซีเรียลุกฮือขึ้นต่อต้านรัฐบาลตามอย่างกระแสปฏิวัติประชาธิปไตยในโลกอาหรับ

    โมฮัมหมัด คอซาอี ผู้แทนอิหร่านประจำยูเอ็น กล่าวว่า มติประณามจากสมัชชาใหญ่ยูเอ็นจะยิ่งทำให้วิกฤตการณ์ในซีเรีย “ลุกลามขยายสาขาไปทั่วภูมิภาค” ขณะที่ผู้แทนรัสเซียชี้ว่า มติครั้งนี้ไม่ได้คำนึงถึงข้อเสนอแนะของมอสโกเลย ส่วนผู้แทนจีนก็เตือนว่า เป็นการล่วงละเมิดอย่างไม่สมควรต่อกิจการภายในของรัฐซึ่งมีอธิปไตย

    เนื้อหาของมติประณามระบุให้ซีเรีย “ยุติความรุนแรงในทุกรูปแบบ และหันมาปกป้องประชาชน” ปลดปล่อยผู้ประท้วงที่ถูกคุมขัง ถอนทหารออกจากเมืองต่างๆ และรับรองเสรีภาพในการแสดงออกของพลเมือง

    มติประณามยังเรียกร้องให้รัฐบาลซีเรียยอมให้ผู้สังเกตการณ์สันนิบาตอาหรับ ตลอดจนสื่อต่างชาติ “เข้าไปปฏิบัติภารกิจได้อย่างเต็มที่โดยไม่ถูกขัดขวาง... เพื่อพิสูจน์ความจริงที่เกิดขึ้นบริเวณจุดประท้วง”

    วิลเลียม เฮก รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ แถลงว่า “ประธานาธิบดี อัสซาด และบุคคลที่อยู่รอบข้างเขามั่นใจได้ว่า พวกเราจะยังสนับสนุนชาวซีเรียที่ปรารถนาให้มีการเปลี่ยนขั้วอำนาจทางการเมืองอย่างสันติ”

    ด้าน บัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวในแถลงการณ์ว่า “เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่ทั่วโลกจะต้องกล่าวเป็นเสียงเดียวกัน เพื่อยับยั้งเหตุนองเลือด และใช้ความพยายามอย่างถึงที่สุดเพื่อให้วิกฤตการณ์ในซีเรียคลี่คลายลงอย่างสันติ”

    “ในวันนี้ สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้กระทำเช่นนั้นแล้ว โดยชี้แนะแนวทางผ่านมติประณาม เพื่อนำไปสู่ทางออกและอนาคตที่เต็มไปด้วยสันติภาพของซีเรีย เพื่อระบอบประชาธิปไตย, สิทธิมนุษยชน และศักดิ์ศรีสำหรับชาวซีเรียทุกคน”

    Around the World - Manager Online -
     
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555 13:09
    ปปง.ชี้FATFขึ้นแบล็กลิสต์ กระทบธุรกรรมการเงินตปท.
    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    [​IMG]
    ปปง.ชี้ผลกระทบ FATF ขึ้นแบล็กลิสต์ไทยเป็นประเทศเฝ้าระวังฟอกเงิน หลังไม่ยอมทำตามคำแนะนำ ส่งผลต่อการทำธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ

    พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ รักษาราชการแทนเลขาธิการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือกับคณะผู้แทนจากกลุ่มความร่วมมือต่อต้านการฟอกเงินเอเชียแปซิฟิก (The Asia Pacific Group on Money Laundering – APG) และผู้แทนกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ( International Monetary Fund - IMF) ว่า ระหว่างวันที่ 13-20 กพ.นี้ ตนจะเดินทางร่วมประชุมคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงิน (Financial Action Task Force on Money Laundering – FATF) ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งมีแนวโน้มว่าไทยจะถูกขึ้นบัญชีเป็นประเทศเฝ้าระวังจากการฟอกเงิน

    โดยผลดังกล่าวสืบเนื่องจากการประชุมกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 20 ประเทศ (G-20) ณ กรุงวอชิงตัน กรุงลอนดอน และนครพิตส์เบิร์ก เกี่ยวกับวิกฤตเศรษฐกิจโลก ซึ่งที่ประชุมได้ออก ข้อเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ เพิ่มมาตรการบรรษัทภิบาลของภาคการเงิน รวมถึงการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (Anti-Money Laundering and Combating the Financing of Terrorism - AML/CFT) โดยได้มีการมอบหมายให้คณะทำงานเฉพาะกิจฯ และ International Cooperation Review Group – ICRG ทำหน้าที่ประเมินความเสี่ยงด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและต่อต้านการก่อการร้าย

    ผลการประเมินในปี 2552 ระบุว่า ประเทศไทยมีข้อบกพร่องด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยได้พยายามแก้ไขข้อบกพร่องตามผลการประเมิน ต่อมาในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2554 ประธาน FATF ได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมสรุปว่า ประเทศไทยยังคงมีข้อบกพร่องเชิงยุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (AML/CFT) บางประการ และขอให้ประเทศไทยดำเนินการตามแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่อง 3 เรื่อง คือ เรื่องแก้ไขกฎหมายกำหนดให้การสนับสนุนทางเงินแก่การการก่อการร้ายเป็นความผิดอาญาอย่างครบถ้วน

    เรื่องดำเนินมาตรการในการตรวจสอบและอายัดทรัพย์สินของผู้ก่อการร้าย และเรื่องการปรับปรุงการกำกับดูแลสถาบันการเงินและธุรกิจต่างๆเกี่ยวกับด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (AML/CFT) ให้มีประสิทธิภาพ

    "เราได้ดำเนินการร่างยกร่างพ.ร.บ.ต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายมาตลอด แต่ที่ผ่านมาประเทศไทยประสบปัญหาน้ำท่วมและความขัดแย้งทางการเมือง จึงทำให้การผลักดันกฎหมายดังกล่าวทำได้เพียงการยกร่างเท่านั้น "

    พ.ต.อ.สีหนาท ยังกล่าวถึงผลกระทบหากประเทศไทยจะถูกปรับลดไปอยู่ในกลุ่มประเทศที่ถูกขึ้นบัญชีเป็นประเทศที่ต้องถูกเฝ้าระวังในการทำธุรกรรมทางการเงินว่า จะส่งผลกระทบหลายด้าน โดยเฉพาะ ต่อสถาบันการเงิน ภาคธุรกิจ และภาคประชาชนในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ ซึ่งการประชุมครั้งนี้ตนคงไปชี้แจงข้อจำกัดให้ FATF รับทราบ ซึ่งได้แต่หวังว่าเขาจะเข้าใจ เพราะหากเราถูกขึ้นบัญชีดำก็จะมีผลต่อการทำธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายมากต่อระบบเศรษฐกิจและการลงทุน

    ทั้งนี้ การที่ประเทศไทยถูกกดดันให้มีกฎหมายดังกล่าวบังคับใช้ เนื่องจากประเทศไทย เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ จึงผูกพันตามข้อ 7 แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ ที่จะต้องปฏิบัติตามมติคณะมนตรีความมั่นคงฯ และ ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะออกมาตรการและดำเนินการตามมาตรการทางกฎหมายในเรื่องนี้อย่างเข้มงวด

    แนวทางการแก้ไข ที่จะสามารถพ้นจากการถูกปรับลดไปอยู่ในกลุ่มประเทศที่ถูกขึ้นบัญชีเป็นประเทศที่ต้องเฝ้าระวังในการทำธุรกรรมทางการเงิน คือ การเร่งผลักดันให้รัฐสภาผ่านร่างกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และ กฎหมายว่าด้วยการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายอย่างเร่งด่วน

    ทางด้านพล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี ระบุกรณีไทยถูกขึ้นแบล็กลิสต์เรื่องการฟอกเงิน โดยยืนยันว่าไทยไม่ใช่แหล่งฟอกเงิน แต่เป็นเพียงทางผ่านของขบวนการเท่านั้น
    http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics/20120217/436778/%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%87.%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89FATF%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B9%8C-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%9B%E0%B8%97..html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กุมภาพันธ์ 2012
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555 01:00
    กาแฟดำ
    หากไม่ตั้งหลักให้ดี ไทยจะหลุดเข้าไป ในสมรภูมิสงครามยิว-อิหร่าน
    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    ทำท่าจะสับสันกันเอง ระหว่างคนในรัฐบาลกับหน่วยข่าวกรอง และความมั่นคง

    ในการวิเคราะห์เบื้องหน้าเบื้องหลัง ของระเบิดกลางกรุง 3 จุดที่โยงเกี่ยวกับอิสราเอล และอิหร่าน

    ความพยายามของฝ่ายการเมืองที่ต้องการวาดภาพให้เป็นเรื่อง “พยายามสังหารตัวบุคคล” และ “ไม่ใช่การก่อการร้าย” ขัดกับแนวทางฝ่ายตำรวจที่สอบสวนตั้งประเด็นว่า “ระเบิดแม่เหล็ก” ที่พบนั้นเหมือนกับที่ใช้ก่อเหตุร้ายในทำนองเดียวกันที่อินเดีย และจอร์เจีย ก่อนหน้านี้

    และชี้ไปว่าเป็นแผนที่จะสังหารนักการทูตอิสราเอล ซึ่งไม่อาจจะปฏิเสธว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ “ก่อการร้ายข้ามชาติ” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

    ความพยายามจะแยกว่าอะไรคือ “อาชญากรรมข้ามชาติ” และอะไรคือการ “ก่อการร้ายระหว่างประเทศ” นั้น ย่อมจะไม่ช่วยให้ภาพลักษณ์ของไทยดีขึ้นในสายตาระหว่างประเทศ เพราะประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่าฝ่ายไทยจะเรียกมันว่าอะไร แต่ประชาคมโลกเห็นแล้วว่าไทยถูกใช้เป็น “เป้าหมายรอง” ซึ่งก็จะต้องวางมาตรการป้องกันและติดตามอย่างเข้มข้นจากนี้ไปพร้อมๆ กับประเทศอื่นๆ

    แน่นอนว่าเราก็ต้องรับฟังรัฐบาลอิหร่าน ที่ยืนยันปฏิเสธข้อกล่าวหาของอิสราเอล และสหรัฐอย่างขึงขังด้วย เพราะนั่นเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญที่ไทยจะต้องนำมาประกอบการวิเคราะห์อย่างรอบด้าน

    ไทยไม่จำเป็นต้องตั้งตนเป็นศัตรูกับทั้งอิสราเอล และอิหร่าน หากแต่จะต้องวางตนให้อยู่เหนือความขัดแย้ง และต้องไม่ให้ไทยถูกดึงเข้าสู่วงจรของความขัดแย้งที่ทำท่าว่าจะบานปลายต่อไปอย่างค่อนข้างแน่นอน

    ต่อไปนี้คนไทยจะต้องใส่ใจกับข่าวต่างประเทศโดยเฉพาะประเด็นความขัดแย้งที่กำลังทำท่าว่าจะรุนแรงหนักหน่วงขึ้นระหว่างสองค่ายนี้ เพราะมีความเป็นไปได้สูงว่าหากการเผชิญหน้ายังตึงเครียดกันเช่นนี้ต่อไป, สงครามรอบใหม่อาจระเบิดขึ้นได้

    อิสราเอลอาจโจมตีจุดที่ตั้งนิวเคลียร์ของอิหร่าน
    อิหร่านอาจจะใช้อาวุธร้ายแรงของตนถล่มอิสราเอล

    ทั้งสองฝ่ายอาจจะใช้วิธีการ “โจมตีคุณก่อนที่คุณจะโจมตีฉัน” หรือที่เรียกว่า pre-emptive strike เป็นข้ออ้าง ซึ่งก็อาจจะนำไปสู่สงครามเต็มรูปแบบอย่างน่าประหวั่นพรั่นพรึงสำหรับชาวโลก เพราะหากเกิดศึกระหว่างสองประเทศนี้ สหรัฐก็จะเข้าข้างอิสราเอล และจีนกับรัสเซียก็อาจจะโอนเอียงไปทางด้านอิหร่าน

    ผลร้ายที่จะเกิดกับการเมืองและเศรษฐกิจโลก ก็จะหนักหนาสากรรจ์เกินกว่าที่จะประเมินได้ในขณะนี้

    อเมริกากับโลกตะวันตกได้คว่ำบาตรอิหร่านแล้ว และอิหร่านก็ประกาศจะต้อง “ทำลายล้าง” อิสราเอล อย่างเปิดเผย ขณะที่อิสราเอล ก็ถือเป็นจุดยืนทางการว่าหากอิหร่าน พัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ต่อเนื่อง, ตนก็อยู่เฉยๆ ไม่ได้เพราะเท่ากับเป็นการคุกคามตนเอง, จึงจะต้องโจมตีทำลายจุดที่ตั้งของอาวุธเหล่านั้นก่อนที่จะถูกใช้เป็นเครื่องมือทำลายล้างตน

    ระเบิดที่เมืองไทยวันก่อนจะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับความตึงเครียดของสองชาตินี้ก็ต้องดูจากคำประกาศของเว็บไซต์ Rafah ซึ่งมีความใกล้ชิดกับประธานาธิบดีมาห์มูด อาห์มาดิเนจัด ของอิหร่าน ที่ประกาศเมื่อเดือนที่แล้วว่า
    อิหร่านจะทำลายไม่เพียงแต่อิสราเอลเท่านั้น แต่ยังจะพุ่งเป้าไปที่ “ชุมชนชาวยิวทั่วโลก” ด้วย

    ตอนหนึ่งของคำประกาศนี้บอกว่า
    “Iran will take the war beyond the borders of Iran and beyond the borders of the region.”
    และพาดหัวของ Iranian News Agency เมื่อสัปดาห์ก่อนยืนยันว่าคนอิสราเอลจะต้องถูกกำจัดให้สิ้นซากหรือ
    “Israeli people must be annihilated.”

    ขณะที่สื่อของอิสราเอล อย่าง Jerusalem Post ก็ใช้ภาษาดุเดือดไม่แพ้กันว่าอิสราเอล จะต้องทำทุกอย่างเพื่อป้องกันตัวเองจากการตระเตรียมแผนร้ายของอิหร่าน

    ถือได้ว่าเป็นการประกาศความพร้อมจะทำสงครามระหว่างสองประเทศนี้แล้ว

    นั่นคือเหตุผลที่มีคำเตือนว่าสถานทูตและกงสุลของอิสราเอลทั่วโลกกำลังเป็นเป้าของการถูกโจมตี

    ดังนั้น เมื่อเกิดระเบิดรถยนต์คันหนึ่งหน้าสถานทูตอิสราเอล ที่นิวเดลฮี และมีความพยายามวางระเบิดที่เมืองทะบลิซี ที่จอร์เจีย เมื่อไม่นานมานี้...ระเบิดที่กรุงเทพฯ เมื่อต้นสัปดาห์ที่มีผู้ต้องสงสัยเป็นชาวอิหร่าน จึงถูกตีความว่าเป็นเรื่องเดียวกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

    ทั้งหมดนี้คือเหตุผลว่าทำไมฝ่ายไทยเราจะต้องตั้งหลักให้มั่น เพราะจากนี้ไปเรื่องอ่อนไหวและเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายสำหรับคนไทยและคนต่างชาติในไทยจะสูงขึ้นตามลำดับ

    ความฉับไวในข่าวสาร, การสร้างระบบประสานงานระหว่างหน่วยข่าวกรองกับความมั่นคง และฝ่ายเอกชนและการแถลงข่าวต่อสาธารณชนที่รวดเร็ว, แม่นยำและรอบด้านอย่างมีเอกภาพจึงเป็นหัวใจของการตั้งรับกับสถานการณ์ที่ไม่ปกติ

    และต้องวางนโยบายกับวิถีปฏิบัติบนพื้นฐานที่ว่าความไม่ปกตินี้จะอยู่กับเราไปอีกยาวนานพอสมควรทีเดียว
    เพราะภาพที่ออกมาว่า “ต่างคนต่างทำ, ต่างคนต่างพูด, ต่างคนต่างมีแนวทางของตน” นั้นย่อมจะหมายถึงความล้มเหลวที่จะสร้างความเสียหายหนักหน่วงได้

    ทราบแล้วเปลี่ยน, และต้องเปลี่ยนไปในทิศทาง และแนวปฏิบัติเดียวกันด้วย
    http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/suthichaiyoon/20120217/436657/%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%94%E0%B8%B5-%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%9B-%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B8%A7-%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กุมภาพันธ์ 2012
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555 05:39
    ท็อป 10 ประเทศอ่วมหนี้มากสุดในโลก
    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    [​IMG]


    วิกฤตหนี้ในยุโรปมีส่วนชี้ชะตาเศรษฐกิจโลกที่ยังคงเปราะบาง โดยเฉพาะกรีซที่ยังหาทางออกไม่เจอ และจุดชนวนความรุนแรงในประเทศ

    ล่าสุด รัฐมนตรีคลังยูโรโซน เลื่อนการประชุม เพื่อพิจารณาความช่วยเหลือทางการเงินแก่กรีซรอบ 2 ออกไปเป็นวันที่ 20 กุมภาพันธ์ หรืออาจเลื่อนยาวไปถึงช่วงหลังการเลือกตั้งของกรีซ ซึ่งจะมีขึ้นในเดือนเมษายน หากกรีซไม่ได้เงินช่วยเหลือ 1.3 แสนล้านยูโร เพื่อชำระหนี้พันธบัตร ที่จะครบกำหนดไถ่ถอนวันที่ 20 มีนาคม ก็จะทำให้กรีซผิดนัดชำระหนี้ และกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างยากจะหลีกเลี่ยง เพราะเท่ากับเอเธนส์เดินใกล้ภาวะล้มละลายมากขึ้นทุกที

    นอกจากกรีซแล้ว สมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) หลายประเทศ ก็กำลังเผชิญกับภาระหนี้มหาศาลเช่นกัน เมื่อต้นสัปดาห์ “มูดี้ส์” เพิ่งลดอันดับความน่าเชื่อถือของ 6 ประเทศยุโรป อาทิ อิตาลี โปรตุเกส สเปน แม้แต่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก ทั้งสหรัฐ เยอรมนี ญี่ปุ่น ต่างก็พบวิบากกรรมหนี้กันถ้วนหน้า เพียงแต่หลายประเทศยังสามารถบริหารจัดการได้

    เว็บไซต์ 24/7 วอลล์สตรีท จัดอันดับท็อป 10 ประเทศอ่วมหนี้มากที่สุด โดยใช้ข้อมูลส่วนใหญ่ในปี 2554 ซึ่งหลายประเทศมีระดับหนี้สูงมากเมื่อเทียบกับจีดีพี ที่ถูกกระทบจากภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลก ประกอบกับอัตราว่างงานในระดับสูง ระดับจีดีพีต่อหัวต่อปีที่ต่ำ และขีดความสามารถในการผลิตที่ลดลง แต่บางประเทศ อาทิ เยอรมนี ญี่ปุ่น แม้จะมีหนี้สูงแต่สามารถรับมือได้ เพราะเศรษฐกิจยังคงแข็งแกร่ง

    ประเทศที่เป็นแชมป์หนี้ ได้แก่ “ญี่ปุ่น” มีสัดส่วนหนี้ คิดเป็นร้อยละของจีดีพีอยู่ที่ 233.1% สูงที่สุดในหมู่ชาติพัฒนาแล้วด้วยกัน แต่แม้ปริมาณหนี้จะมหาศาล ทว่า ญี่ปุ่นสามารถบริหารจัดการให้รอดพ้นจากหายนะทางเศรษฐกิจ ไม่ซ้ำรอยกรีซและโปรตุเกส เนื่องจากแดนซามูไร มีอัตราว่างงานในระดับต่ำเพียง 4.6% และเจ้าหนี้พันธบัตรรัฐบาล 95% เป็นชาวญี่ปุ่นเอง ไม่ใช่ต่างชาติ

    ขณะที่หนี้ภาครัฐอยู่ที่ 13.7 ล้านล้านดอลลาร์ ตัวเลขจีดีพีต่อคนต่อปี อยู่ที่ 33.994 ดอลลาร์ ส่วนมูลค่าจีดีพี (nominal GDP) อยู่ที่ 5.88 ล้านล้านดอลลาร์

    รองแชมป์ตกเป็นของ “กรีซ” ที่ขอรับความช่วยเหลือทางการเงินไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ล่าสุดเอเธนส์ มีสัดส่วนหนี้ ที่คิดเป็นร้อยละของจีดีพี 168.2% เพิ่มจากเมื่อปี 2553 ที่อยู่ที่ระดับ 143%

    ตัวเลขหนี้ของรัฐบาลเอเธนส์อยู่ที่ 4.89 แสนล้านดอลลาร์ ส่วนจีดีพีต่อคนต่อปีอยู่ที่ 28,154 ดอลลาร์ มูลค่าจีดีพีอยู่ที่ 3.03 แสนล้านดอลลาร์ และมีอัตราว่างงานสูงถึง 19.2%

    อันดับ 3 คือ “อิตาลี” มีสัดส่วนหนี้ ที่คิดเป็นร้อยละของจีดีพี 120.5% โดยปัญหาหนี้ มาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ของแดนมักกะโรนี ซึ่งจีดีพีเติบโตเพียง 1.3% ในปี 2553 จนอิตาลีต้องประกาศมาตรการรัดเข็มขัดเมื่อปลายปีที่แล้ว

    หนี้ของรัฐบาลอิตาลีอยู่ที่ 2.54 ล้านล้านดอลลาร์ จีดีพีต่อคนต่อปีอยู่ที่ 31,555 ดอลลาร์ มูลค่าจีดีพีอยู่ที่ 2.2 ล้านล้านดอลลาร์ และมีอัตราว่างงานที่ 8.9%

    อันดับ 4 ได้แก่ “ไอร์แลนด์” ซึ่งครั้งหนึ่ง เคยมีเศรษฐกิจแข็งแกร่งที่สุดในอียู มีอัตราเติบโตของจีดีพีเฉลี่ย 10% และมีอัตราว่างงานต่ำสุดในหมู่ชาติอุตสาหกรรมที่พัฒนาแล้ว จนกระทั่งเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอย เศรษฐกิจไอร์แลนด์ก็เริ่มหดตัว จนถึงปี 2553 ไอร์แลนด์ขาดดุลงบประมาณ 32.4% ของจีดีพี และยอดหนี้พุ่งกว่า 500% นับตั้งแต่ปี 2544

    ล่าสุด ไอร์แลนด์ มีสัดส่วนหนี้ที่คิดเป็นร้อยละของจีดีพี 108.1% มีหนี้ภาครัฐ 2.25 แสนล้านดอลลาร์ จีดีพีต่อคนต่อปี 39,727 ดอลลาร์ มูลค่าจีดีพีอยู่ที่ 2.17 แสนล้านดอลลาร์ และอัตราว่างงาน 14.5%

    อับดับ 5 “โปรตุเกส” ที่ได้รับแรงกระแทกจากเศรษฐกิจโลกถดถอยอย่างหนักหน่วง เมื่อปี 2554 แดนฝอยทองขอรับเงินช่วยเหลือจากอียูและไอเอ็มเอฟไปแล้ว 1.04 แสนล้านดอลลาร์ เนื่องจากการขาดดุลงบประมาณและหนี้ที่เพิ่มขึ้นมาก

    ปัจจุบัน โปรตุเกส มีสัดส่วนหนี้ที่คิดเป็นร้อยละของจีดีพี 101.6% มีหนี้ภาครัฐ 2.57 แสนล้านดอลลาร์ จีดีพีต่อคนต่อปีอยู่ที่ 25,575 ดอลลาร์ มีมูลค่าจีดีพี 2.39 แสนล้านดอลลาร์ และอัตราว่างงานอยู่ที่ 13.6%

    อันดับ 6 “เบลเยี่ยม” ล่าสุด มีสัดส่วนหนี้ ที่คิดเป็นร้อยละของจีดีพี 97.2% ทั้งนี้ ไอร์แลนด์เคยมีอัตราหนี้ต่อจีดีพีสูงถึง 135% เมื่อปี 2536 และค่อยๆ ลดเหลือ 84% ในปี 2550 แต่ภายใน 4 ปีต่อมาก็กลับเพิ่มเป็น 95%

    เบลเยี่ยมมีหนี้ภาครัฐ 4.79 แสนล้านดอลลาร์ ส่วนจีดีพีต่อคนต่อปีอยู่ที่ 37,448 ดอลลาร์ มูลค่าจีดีพีอยู่ที่ 5.14 แสนล้านดอลลาร์ และมีอัตราว่างงาน 7.2%

    อันดับ 7 สหรัฐอเมริกา ขณะนี้มีสัดส่วนหนี้ 85.5% ของจีดีพี จากเมื่อปี 2544 ที่อยู่ที่ 45.6% เนื่องจากทางการวอชิงตันใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตลอดทศวรรษที่ผ่านมา ในปี 2544 พญาอินทรีมีค่าใช้จ่าย 33.1% ของจีดีพี กระทั่งถึงปี 2553 รายจ่ายเพิ่มเป็น 39.1% ของจีดีพี

    ส่วนหนี้ของรัฐบาลสหรัฐ นับถึงปี 2554 อยู่ที่ 12.8 ล้านล้านดอลลาร์ เพิ่มจาก 6.4 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2548 ส่วนจีดีพีต่อคนต่อปีอยู่ที่ 47,184 ดอลลาร์ มูลค่าจีดีพีอยู่ที่ 15.13 ล้านล้านดอลลาร์ และอัตราว่างงานอยู่ที่ 8.3%

    อันดับ 8 “ฝรั่งเศส” เขตเศรษฐกิจอันดับ 3 ของอียูที่มีสัดส่วนหนี้คิดเป็นร้อยละของจีดีพีอยู่ที่ 85.4% มีหนี้ภาครัฐอยู่ที่ 2.26 ล้านล้านดอลลาร์ ขณะที่มูลค่าจีดีพีอยู่ที่ 2.76 ล้านล้านดอลลาร์ สูสีกับอังกฤษ ส่วนจีดีพีต่อคนต่อปีอยู่ที่ 33,820 ดอลลาร์ และมีอัตราว่างงาน 9.9%

    อันดับ 9 “เยอรมนี” เขตเศรษฐกิจใหญ่สุดและแข็งแกร่งที่สุดในอียู เมืองเบียร์ มีบทบาทสำคัญในการสร้างเสถียรภาพให้แก่ยูโรโซนทั้งหมด รวมถึงลงขันเงินช่วยเหลือแก่กรีซในปี 2553 แต่แม้จะมีเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง เมืองเบียร์มีสัดส่วนหนี้ 81.8% ของจีดีพี สูงเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศพัฒนาแล้วด้วยกัน

    เยอรมนี มีหนี้ภาครัฐ 2.79 ล้านล้านดอลลาร์ มีจีดีพีต่อคนต่อปี 37,591 ดอลลาร์ มีมูลค่าจีดีพี 3.56 ล้านล้านดอลลาร์ และมีอัตราว่างงาน 5.5% ถือเป็นระดับต่ำสุดในยุโรป

    อันดับสุดท้ายของทำเนียบหนี้โลก ได้แก่ “อังกฤษ” ซึ่งมีสัดส่วนหนี้ 80.9% ของจีดีพี แม้จะค่อนข้างสูง แต่เศรษฐกิจเมืองผู้ดียังคงแข็งแกร่ง ประกอบกับอังกฤษไม่ได้อยู่ในยูโรโซนที่ใช้เงินสกุลเดียวกัน ทำให้รัฐบาลและแบงก์ชาติมีอิสระที่จะดำเนินการใดๆ มากกว่า

    สำหรับหนี้ของรัฐบาลอังกฤษอยู่ที่ 1.99 ล้านล้านดอลลาร์ จีดีพีต่อคนต่อปีอยู่ที่ 35,860 ดอลลาร์ มีมูลค่าจีดีพี 2.46 ล้านล้านดอลลาร์ และมีอัตราว่างงาน 8.4%
    http://www.bangkokbiznews.com/home/...436674/ท็อป-10-ประเทศอ่วมหนี้มากสุดในโลก.html
     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    นที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555 05:59
    3สมมุติฐานหาก"กรีซ"ชวดเงินช่วยเหลือรอบใหม่
    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    [​IMG]

    20กพ.โลกต่างจับตาว่ารมว.คลังยูโรโซนจะอนุมัติเงินช่วยเหลือรอบ 2 มูลค่า 1.3 แสนล้านยูโรให้แก่กรีซ หรือจะเลื่อนการพิจารณาออกไปอีก

    แม้รัฐสภากรีซ จะยอมผ่านมาตรการรัดเข็มขัดเพิ่มเติมอีก 4.4 พันล้านดอลลาร์ ตามข้อเรียกร้องของเจ้าหนี้ อย่างสหภาพยุโรป (อียู)และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) จนก่อให้เกิดการชุมนุมประท้วงจากประชาชน ที่ไม่พอใจกับผลกระทบที่จะตามมา ทว่าสิ่งเหล่านี้ ยังไม่เพียงพอจะชนะใจเหล่าผู้นำชาติยูโรโซน ที่รู้สึกว่า ปัญหาที่แท้จริงยังไม่ได้รับการแก้ไข และอาจทำให้เงินช่วยเหลือก้อนใหม่กลายเป็นเงินที่หว่านทิ้งไปโดยไม่เกิดประโยชน์

    หากขุนคลังยูโรโซน ยอมไฟเขียวเงินอุ้มรอบใหม่ ก็จะช่วยให้เอเธนส์ รอดพ้นจากการผิดนัดชำระหนี้พันธบัตรที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 20 มีนาคมนี้ได้ แต่ก็มีความเป็นไปได้เช่นกัน ที่กรีซจะอดได้รับเงินช่วยเหลือ โดย “ไทม์” นำเสนอแนวทางที่อาจเป็นไปได้ 3 แบบ ในกรณีที่กรีซแห้วเงินอุ้มรอบใหม่ ได้แก่ เหตุการณ์ระดับไม่เลวร้ายมาก ระดับเลวร้าย และระดับหายนะ

    ความเป็นไปได้แรก ผลลัพธ์ไม่เลวร้ายมากนัก แน่นอนว่า ชาวกรีกย่อมได้รับผลกระทบหนักหนาสาหัส การผิดนัดชำระหนี้จะทำลายภาคการเงินของเอเธนส์ หมดโอกาสได้เงินทุนใหม่ๆ และถูกบีบให้ตัดลดงบประมาณลงแบบสุดๆ แต่สิ่งเหล่านี้ ก็อาจเกิดขึ้นแม้กรีซได้รับเงินช่วยก้อนใหม่

    เพราะหลายฝ่ายมองว่า กรีซจำเป็นต้องกระตุกเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ แทนที่จะพึ่งพาเงินช่วยเหลือรอบใหม่ ซึ่งอาจไม่ได้ช่วยให้หนี้ของกรีซลดลงสู่ระดับที่จัดการได้ หากแต่เท่ากับเพิ่มยอดหนี้ ที่อาจไม่สามารถจ่ายคืนได้ และพาให้ประชาชนเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำยาวนาน จากภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่กว่าเมื่อครั้งขอรับความช่วยเหลือรอบแรก อีกทั้ง จีดีพีที่หดตัวมากขึ้น สัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีที่เพิ่มขึ้น และความชุลมุนวุ่นวายทางสังคมที่ขยายวงกว้าง

    เพียงแต่ผลกระทบต่อสมาชิกอื่นๆ ในยูโรโซนจะเป็นไปอย่างจำกัด ความวิตกว่า การผิดนัดชำระหนี้ของกรีซ อาจส่งผลสะเทือนต่อระบบการเงินโลก อาจเป็นความกังวลที่มากเกินไป เพราะแม้จะอนุมัติเงินช่วยเหลือรอบใหม่ ก็ย่อมต้องปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะของกรีซ 265 ล้านดอลลาร์ ขณะที่เจ้าหนี้ จะต้องยอมลดมูลหนี้พันธบัตรลง 50% ซึ่งเท่ากับแบงก์ในยุโรปขนาดใหญ่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการขาดทุนได้ ไม่ว่ากรีซจะได้เงินช่วยเหลือหรือไม่ หนทางที่ดีกว่า อาจเป็นการปล่อยให้กรีซผิดนัดชำระหนี้ และบีบให้เกิดการปรับโครงสร้างหนี้อย่างจริงๆ จังๆ

    สำหรับความเป็นไปได้ต่อมา การผิดนัดชำระหนี้ บีบให้กรีซเดินออกจากยูโรโซน เมื่อกรีซผิดนัดชำระหนี้ ย่อมทำให้ไม่สามารถเข้าถึงเงินทุนใหม่ๆ ในขณะที่ทางการเอเธนส์ ต้องการเงินจากภายนอกเพื่อนำมาใช้บริหารประเทศ ไม่เช่นนั้น จะไม่สามารถจ่ายเงินเดือน หรือให้บริการประชาชน

    นอกจากนี้ การผิดนัดชำระหนี้ ยังจะกระทบต่อภาคธนาคารของประเทศ ซึ่งถือครองพันธบัตรรัฐบาลจำนวนมาก แต่ไม่มีเงินเพื่อเพิ่มทุน และที่แย่ยิ่งกว่า คือ ประชาชนที่คาดการณ์ว่า จะพลาดเงินช่วยเหลือ พากันถอนเงินออกจากบัญชีและส่งเงินออกไปนอกประเทศ คนเหล่านี้ อาจมองเห็นความเป็นไปได้ที่กรีซ จะเดินออกจากยูโรโซน และต้องกลับไปใช้เงินสกุลดราชมา ซึ่งอาจทำให้เงินยูโรลดค่าลงมาก ทำให้ผู้คนไม่เก็บเงินยูโรไว้ การล่มสลายของภาคการเงิน จะบีบให้กรีซต้องถอนตัวจากยูโรโซน เพื่อจะพิมพ์เงินเข้าไปถมช่องว่างดังกล่าว เพราะหากอยู่ในยูโรโซน จะไม่สามารถทำเช่นนั้นได้

    และเป็นไปได้ที่ ผู้นำจะประเมินผลกระทบจากการผิดนัดชำระหนี้ผิดพลาด ซึ่งนำไปสู่ความเป็นไปได้สุดท้าย ที่ถือเป็นเหตุการณ์ระดับหายนะ เนื่องจากชาติอื่นๆ ในยูโรโซน ที่อาจพลอยได้รับผลกระทบจากการผิดนัดชำระหนี้ของกรีซ ยกตัวอย่าง โปรตุเกส นักลงทุนอาจกังวลกับสถานการณ์ของแดนฝอยทอง ที่เดินตามรอยกรีซ ในการขอรับเงินอุ้มรอบใหม่ และไม่มีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจของประเทศนี้ ทำให้ต้นทุนการกู้ยืมเพิ่มขึ้นมาก รวมถึงประชาชนอาจพากันถอนเงินออกจากธนาคารและส่งเงินออกนอกประเทศ

    สถานการณ์นี้ อาจทำให้ยูโรโซนต้องเข้ามาอุ้มแดนฝอยทองอีกราย และจะจุดคำถามกับสิ่งที่อาจเกิดกับสเปน หรืออิตาลีที่มีปัญหาหนี้เช่นกัน ยูโรโซนจะ “เอาอยู่” หรือไม่ หากต้องเข้าไปอุ้มประเทศเหล่านี้ทั้งหมด

    http://www.bangkokbiznews.com/home/...3สมมุติฐานหากกรีซชวดเงินช่วยเหลือรอบใหม่.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2012
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555 12:24
    นักวิชาการแนะร่วมมือหน่วยข่าวกรองประเทศมุสลิม
    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    "ดร.ศราวุฒิ"แนะเน้นความร่วมมือหน่วยข่าวกรองกับประเทศมุสลิม ย้ำช่วงเกิดระเบิดให้ความสำคัญกับอิสราเอลและสหรัฐฝ่ายเดียว

    ดร.ศราวุฒิ อารีย์ รองผอ.ศูนย์มุสลิมศึกษา จุฬาฯ กล่าวว่า ไทยอยู่ในสภาวการณ์เกิดเหตุวางระเบิดในช่สวงนี้ ต้องให้ความระมัดระวัง ไม่ตั้งอยู่บความประมาท ต้องเข้มงวดความปลอดภัย ดูแลนักท่องเที่ยว เราใกล้ชิดกับหน่วยข่าวกรองอิสราเอล สหรัฐ แต่ต้องให้ความร่วมมือหน่วยข่าวกรองประเทศเพื่อนบ้าน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และตะวันออกกลาง ที่มีการข่าวเป็นประโยชน์กับบ้านเราจริง

    "หลังจับผู้ต้องหาชาวอิหร่านได้ เราให้ความร่วมมือกับอิหร่านน้อยมาก และ ไม่ใช่ไปให้ความร่วมมือกับอิสราเอล สหรัฐฯฝ่ายเดียว"ดร.ศราวุฒิ กล่าว

    http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics/20120221/437398/%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A1.html
     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555 08:36
    ขุนคลังยูโรโซนไฟเขียวเงินช่วยกรีซงวด 2
    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    [​IMG]

    ขุนคลังยูโรโซนไฟเขียวเงินช่วยกรีซงวด 2จำนวน 1.3 แสนล้านยูโรแต่นักเศรษฐศาสตร์ไม่มั่นใจเงินก้อนนี้ช่วยแก้ปัญหาศก.กรีซได้

    รัฐมนตรีคลังกลุ่มยูโรโซน ที่ใช้เงินสกุลยูโร อนุมัติเงินกู้ช่วยเหลือ กรีซ รอบที่ 2 แล้วจำนวน 130,000 ล้านยูโร ซึ่งกรีซ สามารถนำไปชำระหนี้ได้ทันที แต่นักการทูตและนักเศรษฐศาสตร์ เชื่อว่า การช่วยเหลือครั้งนี้ อาจไม่สามารถฟื้นเศรษฐกิจของประเทศกรีซ ที่เริ่มแตกเป็นเสี่ยงๆ

    ทั้งนี้ รายงานข่าวระบุว่า ที่ประชุมรัฐมนตรีคลังประเทศกลุ่มยูโรโซน ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ได้อนุมัติเงินช่วยเหลือ ให้แก่กรีซ ครั้งที่ 2 แล้ว จำนวน 130,000 ล้านยูโร เพื่อช่วยเหลือรัฐบาลกรีซ และให้กรีซนำไปชำระหนี้หนี้ให้ทันเดือนมีนาคมได้ทันที เพื่อหลีกเลี่ยงการล้มละลาย

    รัฐมนตรีของสหภาพยุโรป ธนาคารกลางยุโรป และผู้เชี่ยวชาญด้านกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) กล่าวว่า กรีซจะต้องเร่งอย่างพิเศษในการตัดหนี้ให้แก่กลุ่มเป้าหมายอย่างเป็นทางการของ 120%ของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ( จีดีพี) ในปี 2563 ถ้าไม่ปฏิบัติตามแนวทางในการปฏิรูปทางเศรษฐกิจที่มีโครงสร้างและการออมหนี้ที่อาจถูกเรียกเก็บดอกเบี้ยเพิ่ม 160 % ตามวันที่กู้ แม้ว่าหลายประเทศสมาชิกยูโรโซน จะไม่มั่นใจว่ารัฐบาลกรีซ จะทำได้ตามสัญญาหรือไม่

    ขณะที่ บรรดานักการทูตและนักเศรษฐศาสตร์ไม่เชื่อว่า เงินกู้เหล่านี้ จะช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจกรีซได้ เพราะต้องใช้เวลาเป็นสิบปีกว่าจะพ้นวิกฤติ แต่ก็หวังว่า การให้กู้จะช่วยปรับโครงสร้างหนี้และการเงินให้กรีซได้บ้าง

    http://www.bangkokbiznews.com/home/...7/ขุนคลังยูโรโซนไฟเขียวเงินช่วยกรีซงวด-2.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กุมภาพันธ์ 2012
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555 15:48
    โพลล์ชี้ชาวกรีซส่วนใหญ่หนุนเป็นสมาชิกยูโรโซน
    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    [​IMG]

    โพลล์ชี้ชาวกรีซส่วนใหญ่หนุนเป็นสมาชิกยูโรโซนต่อไปขณะการประชุมเปิดฉากวันนี้

    ชาวกรีซหลายพันคน รวมตัวกันบนถนนหลายสายในกรุงเอเธนส์อีกครั้ง เพื่อประท้วงมาตรการรัดเข็มขัด ก่อนที่จะมีการประชุมที่กรุงบรัสเซลส์ ซึ่งจะมีการตัดสินใจเรื่องการอนุมัติเงินช่วยเหลือแก่กรีซ และจะช่วยให้กรีซ สามารถเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ในเดือนมีนาคม รวมทั้งสถานภาพสมาชิกยูโรโซนของประเทศในอนาคต

    ทั้งนี้ ผู้ประท้วงหลายราย ได้ชูป้ายข้อความ "ต่อต้านอียูและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)" ที่หน้าตึกรัฐสภา เพื่อประณามเงื่อนไขอันสุดหินในการให้เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศงวดที่ 2 เพื่อช่วยให้กรีซ รอดพ้นจากการผิดนัดชำระหนี้ ก่อนที่กลุ่มประเทศยูโรโซนจะประชุมซึ่งอาจจะมีการอนุมัติเรื่องดังกล่าวในวันนี้

    ขณะเดียวกัน ผลการสำรวจความคิดเห็นที่เปิดเผยในหนังสือพิมพ์ต่างๆในกรีซ ระบุว่า ชาวกรีซส่วนใหญ่ยังคงสนับสนุนการเป็นสมาชิกยูโรโซน โดยนักวิเคราะห์ระบุว่า ชาวกรีซตระหนักดีว่า หากแยกตัวออกจากยูโรโซนกรีซอาจจะต้องเผชิญกับการผิดนัดชำระหนี้จำนวนมาก

    ทั้งนี้ 7 ใน 10 ของผู้ที่ตอบแบบสอบถามของหนังสือพิมพ์ซันเดย์ส เรียลนิวส์ ระบุว่า ยังต้องการให้กรีซเป็นสมาชิกยูโรโซนต่อไป แต่อมีจำนวนผู้ที่ตอบแบบสอบถามน้อยกว่าครึ่งหนึ่งที่เชื่อว่า กรีซจะยังคงเป็นสมาชิกยูโรโซนในปี 2558

    นอกจากนี้ ประมาณ 95% ของชาวกรีซ ที่ตอบแบบสอบถาม มีมุมมองที่เป็นลบเกี่ยวกับอนาคตของประเทศ โดยวิจารณ์ว่า มาตรการรัดเข็มขัดระยะเวลา 2 ปี และการปฏิรูปเป็นการแก้ปัญหาวิกฤติหนี้สินที่ไม่ถูกจุด

    นายสแตธิส อาเนสทิส ประธานสหภาพแรงงานจีเอสอีอี ซึ่งเป็นสหภาพแรงงานภาคเอกชน กล่าวต่อผู้ชุมนุมประท้วงในใจกลางกรุงเอเธนส์ที่จัดขึ้นพร้อมกับเอดีอีดีวาย ซึ่งเป็นสหภาพแรงงานของภาครัฐบาลว่านโยบายหลายๆด้านที่เลือกใช้ จะนำพาสังคมกรีซและประเทศไปสู่ภาวะถดถอยที่ย่ำแย่ลงกว่าเดิม รวมทั้งจมดิ่งลงสู่วัฏจักรแห่งความย่ำแย่ ชาวกรีกทั้งประเทศ ควรลุกขึ้นมาต่อสู้กับสิ่งเหล่านั้น จนกว่าจะล้มมันได้

    http://www.bangkokbiznews.com/home/...์ชี้ชาวกรีซส่วนใหญ่หนุนเป็นสมาชิกยูโรโซน.html
     

แชร์หน้านี้

Loading...