เงินเฟ้อที่เพิ่มความรุนแรงขึ้นแล้ว??? รู้ทันโลก (โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย k.kwan, 11 พฤศจิกายน 2010.

  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    BBC เจาะข่าวแผนป้องกันน้ำท่วม “กรุงเทพฯ” คุกคามที่อยู่ชาวบ้านริมคลอง
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>27 มกราคม 2555 11:15 น.</TD><TD vAlign=center align=left><SCRIPT src="http://platform.twitter.com/widgets.js" type=text/javascript></SCRIPT>


    <SCRIPT src="https://apis.google.com/js/plusone.js" type=text/javascript> {lang: 'th'}</SCRIPT><?XML:NAMESPACE PREFIX = G /><G:pLUSONE size="medium"></G:pLUSONE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    ชุมชนริมคลองบางบัว เขตจตุจักร ตอนเหนือของกรุงเทพฯ ซึ่งถูกน้ำท่วมหนัก เมื่อปลายปี 2011
    บีบีซี/ASTVผู้จัดการออนไลน์ - วิกฤตอุทกภัยครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบหลายสิบปีของไทยผ่านมาเกือบ 3 เดือน หลายสิบล้านชีวิตใต้ชายคากรุงเทพฯ กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ทว่า เมื่อเสร็จสิ้นการฟื้นฟู ประเด็นสำคัญในเวลานี้ที่ต้องการคำตอบ คือ กรุงเทพฯ มีมาตรการป้องกันน้ำท่วมในอนาคตอย่างไร

    รัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้คำมั่นว่าจะทุ่มงบประมาณหลายแสนล้านบาท หลายฝ่ายกุลีกุจอวาดแผนการสร้างกำแพงยักษ์ อุโมงค์ใหญ่ รวมถึงการสร้างทางระบาย เบี่ยงน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่านเมืองหลวงไทย

    **นักลงทุนต่างชาติกังวล**

    เหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านมาไม่ใช่อุทกภัยครั้งแรกของประเทศไทย ซึ่งน้ำท่วมส่วนใหญ่ในอดีตมักเกิดในต่างจังหวัด ทว่า ครั้งนี้เกิดขึ้นในเขตการค้าที่มีความสำคัญ ทางตอนเหนือของกรุงเทพฯ

    ความเสียหายจากวิกฤตอุทกภัยยังส่งผลกระเทือนถึงบริษัทต่างๆ ทั่วโลก มูลค่าหลายร้อยล้านดอลลาร์ ไม่นานหลังจากนั้น มีคำถามปรากฏขึ้นมาว่า ไทยยังเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจที่ “น่าลงทุน” อยู่หรือไม่ และในระยะยาว การตั้งโรงงานในประเทศไทยจะปลอดภัยเพียงใด

    “นักลงทุนต่างชาติล้วนได้รับผลกระทบ เพราะฉะนั้น พวกเขาจะไม่ปล่อยให้รัฐบาลทำเป็นลืมเรื่องที่ผ่านมา” ดร.ลัษมณ อรรถาพิช เศรษฐกรจากธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ประจำประเทศไทย แสดงทัศนะ

    “นักลงทุนจะกดดันให้รัฐบาลหามาตรการรับรองว่า กำลังจัดการน้ำและอุทกภัยอย่างที่ควรเป็น”

    อย่างไรก็ตาม ความคิดใหม่ว่า “ต้องทำอะไรสักอย่าง” เพื่อป้องกันน้ำท่วม กลับไม่ใช่ข่าวดีของคนไทยทุกคน สำหรับชาวชุมชนที่อาศัยอยู่ริมคลองต่างๆ ในกรุงเทพ มาตรการป้องกันน้ำท่วมกำลังเป็นภัยต่อที่อยู่อาศัยของพวกเขา ขณะที่ไทยได้เรียนรู้จากวิกฤตที่ผ่านมาว่า จำเป็นต้องให้มวลน้ำไหลผ่านเมือง และลงสู่ทะเลให้เร็วที่สุด
    [​IMG]
    คุณป้าจวง พึ่งสติ ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวจากบีบีซี ว่า จะไม่ยอมย้ายออกจากริมคลอง “ป้าจะสู้สุดชีวิต”

    **เสียงสะท้อนจากชาวริมน้ำ**

    ถ้าจะให้น้ำไหลลงทะเลเร็วที่สุด หมายความว่า ขยะและสิ่งกีดขวางต้องถูกกำจัดออกจากลำคลอง นับเป็นโชคร้ายสำหรับคุณป้าจวง พึ่งสติ วัย 64 ปี เพราะสิ่งที่ต้องถูกกำจัดออกก็คือ บ้านที่คุณป้าอาศัยมาหลายสิบปี

    เสาไม้ที่ต่อยื่นลงไปในคลองบางบัวหลายเมตร บ้านของป้าจวงสร้างขึ้นโดยผิดกฎหมายบนที่ดินและในลำคลอง ไม่น่าแปลกใจที่บ้านหลังนี้จะถูกน้ำท่วมหนักเมื่อปลายปี 2011 ทว่า ผ่านมา 3 เดือน คุณป้าจวงก็ย้ายกลับเข้ามาตามเดิม แม้สภาพแวดล้อมโดยรอบยังเต็มไปด้วยซากข้าวของและเครื่องใช้ที่เสียหาย

    ทั้งนี้ แผนการที่กรุงเทพฯ สั่งให้ชาวชุมชนย้ายออกจากริมคลองบางบัวถูกยกขึ้นมาพูดถึง แต่ไม่ใช่ครั้งแรก

    เมื่อ 9 ปีที่แล้ว โครงการของรัฐบาลเคยเกลี่ยกล่อมให้ชาวชุมชนริมคลองทั่วกรุงเทพฯ กว่า 6,000 ครัวเรือน ย้ายบ้านและให้เจ้าหน้าที่เข้าพัฒนาลำน้ำ

    มีบางคนยอมปฏิบัติตามคำสั่งของทางการและได้ที่อยู่ที่ถูกกฎหมาย แต่อีกจำนวนมาก เช่น คุณป้าจวง พึ่งสติ และเพื่อนบ้าน ที่ยืนยันจะอยู่ที่เดิม

    “น้ำท่วมมันไม่เกี่ยวกับเราเลย เราอยู่ในคลอง เราไม่ได้ทำน้ำท่วม” คุณป้าจวง ตอบข้อซักถาม “พวกเขาบอกว่าถ้าเราไม่ไป เขาจะเข้ามาพังบ้านเรา แต่เราอยู่ที่นี่มา 32 ปีแล้วนะ”

    ห่างจากริมคลองบางบัวเข้ามาประมาณ 100 เมตร บ้านไม้ของนางสมร พึ่งจู แม่ค้าของชำวัย 48 ปี ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เป็นปัญหาขวางการไหลของน้ำ และเป็นบ้านที่นางสมรอาศัยอยู่กับญาติๆ จำนวน 16 คน

    แต่ทางการก็ต้องการให้เธอรื้อบ้าน เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าพัฒนาที่ดินให้ถูกกฎหมาย นั่นหมายความว่าที่ดินส่วนของครอบครัวนางสมรจะเล็กลง เพื่อให้คนอื่นๆ เข้ามาอาศัย

    “เราไม่ได้บุกรุกที่ ตรงนี้เคยเป็นป่ารกมาก่อน เราเข้ามาพัฒนาจนกลายเป็นชุมชน” นางสมร พึ่งจู กล่าว

    ณ เวลานี้ ทางกรุงเทพฯ ระบุว่า ต้องการพัฒนาลำคลองโดยอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทว่า กลับมีใบปลิวข่มขู่แพร่ในชุมชนบางบัว และชาวบ้านก็รู้สึกว่า กำลังถูกกดดันหนักขึ้นทุกขณะ

    การกำจัดสิ่งกีดขวางในลำคลองเป็นเพียงส่วนหนึ่งในแผนป้องกันน้ำท่วมระยะยาว ขณะที่ฤดูฝนใกล้เข้ามาทุกวันๆ อ่างเก็บน้ำต่างๆ เหลือพื้นที่สำหรับรองรับน้ำใหม่อีกไม่มาก รัฐมนตรีของรัฐบาลเพื่อไทยก็กำลังถูกกดดันให้แสดงผลงานจากงบประมาณมหาศาล

    ท่ามกลางความเร่งรีบของทางการ ชาวชุมชนบางบัวกังวลว่า พวกเขาอาจถูกจับกุมที่ไม่ยอมย้ายออกตามคำสั่ง

    “ถ้าพวกเขามาไล่เราจริงๆ ป้าจะสู้สุดชีวิต” คุณป้าจวง พึ่งสติ กล่าวทิ้งท้าย “คนเราพูดกันได้ จะฆ่ากันให้ตายเชียวหรือ”

    Around the World - Manager Online - BBC
     
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    โพลล์เผย ปชช.ส่วนใหญ่ค้านขายหุ้น ปตท. เชื่อมีวาระซ่อนเร้น
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>27 มกราคม 2555 09:48 น.</TD><TD vAlign=center align=left><SCRIPT src="http://platform.twitter.com/widgets.js" type=text/javascript></SCRIPT>


    <SCRIPT src="https://apis.google.com/js/plusone.js" type=text/javascript> {lang: 'th'}</SCRIPT><?XML:NAMESPACE PREFIX = G /><G:pLUSONE size="medium"></G:pLUSONE>
    <TD></TD></TR></TBODY></TABLE>
    กรุงเทพโพลล์ สำรวจพบประชาชน 77 % ไม่เห็นด้วยกับการขายหุ้น ปตท. 51 % เชื่อว่ามีวาระซ่อนเร้น กลัวต้องรับภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเพิ่มขึ้น

    ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ(กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลจำนวน 1,160 คน เรื่อง “เสียงสะท้อนจากประชาชนเรื่องการขายหุ้น ปตท. ” พบว่า ประชาชนถึงร้อยละ 77.0 ไม่เห็นด้วย กับแนวคิดเรื่องการขายหุ้นบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ให้กับกองทุนวายุภักษ์ ซึ่งจะส่งผลให้บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) พ้นจากสถานะการเป็นรัฐวิสาหกิจ ในขณะที่ร้อยละ 23.0 ระบุว่าเห็นด้วย

    เมื่อถามต่อว่าแนวคิดการขายหุ้น ปตท. ดังกล่าวมีวาระซ่อนเร้นทางการเมืองหรือไม่ประชาชนร้อยละ 51.7 เชื่อว่ามีวาระซ่อนเร้นทางการเมือง และร้อยละ 8.8 ไม่เชื่อว่าจะมีว่าระซ่อนเร้นทางการเมือง ในขณะที่ร้อยละ 39.5 ระบุว่าไม่แน่ใจ

    ส่วนเรื่องที่ประชาชนเป็นห่วงและวิตกกังวลมากที่สุดหากมีการขายหุ้น ปตท. ให้กับกองทุนวายุภักษ์จริงคือ กลัวว่าประชาชนจะต้องรับภาระเรื่องค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเพิ่มขึ้นในอนาคต ร้อยละ 44.1 รองลงมาคือ จะทำให้กลุ่มทุน กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ เข้ามาแสวงหาผลกำไรโดยยึดผลกำไรสูงสุดของผู้ถือหุ้นเป็นที่ตั้งร้อยละ 19.6 และกลัวว่าอาจมีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนเข้ามาเกี่ยวข้อง ร้อยละ 11.6

    ทั้งนี้เมื่อให้ประชาชนเปรียบเทียบผลดีและผลเสียถึงผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนจากการแปรรูป ปตท. พบว่าร้อยละ 66.8 เชื่อว่าจะเป็นผลเสียต่อประชาชนโดยรวม (โดยราคาพลังงานประเภท น้ำมัน ก๊าช อาจจะสูงขึ้น) มีเพียงร้อยละ 9.2 ที่เชื่อว่าจะเป็นผลดีต่อประชาชน (โดยราคาพลังงานประเภท น้ำมัน ก๊าซ อาจจะถูกลง) และร้อยละ 24.0 เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบ (โดยราคาพลังงานขึ้นอยู่กับตลาดโลกอยู่แล้ว)

    ทั้งนี้เมื่อถามถึงสถานะ ของบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ควรเป็นแบบใด ร้อยละ 62.6 ระบุว่าควรเป็นรัฐวิสาหกิจที่รัฐสามารถกำกับดูแลได้เหมือนในปัจจุบัน รองลงมาร้อยละ 28.0 ระบุว่าให้ยึดคืนกลับไปเป็นของรัฐแต่เพียงผู้เดียว และร้อยละ 9.4 ระบุว่า ควรเป็นของเอกชนเต็มตัว

    Politics - Manager Online -
     
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    "อังคณา" เผยเยียวยา 7.75 ล้าน กำลังทำ 3 จังหวัดชายแดนใต้วุ่น
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>27 มกราคม 2555 01:24 น.</TD><TD vAlign=center align=left><SCRIPT src="http://platform.twitter.com/widgets.js" type=text/javascript></SCRIPT>


    <SCRIPT src="https://apis.google.com/js/plusone.js" type=text/javascript> {lang: 'th'}</SCRIPT><?XML:NAMESPACE PREFIX = G /><G:pLUSONE size="medium"></G:pLUSONE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    "อังคณา" เผยรัฐเล็งเยียวยาให้ผู้เสียหาย "ตากใบ - กรือเซะ" กำลังปลุกความรู้สึกไม่เป็นธรรมต่อคนในพื้นที่ เนื่องจากต่างก็มองว่าตัวเองได้รับความเสียหายจากความไร้ประสิทธิภาพของรัฐด้วยเช่นกัน ชี้ไม่มีหลักเกณฑ์การจ่ายชัดเจนแต่กลับมีตัวเลขมหาศาลออกมาก่อน ทำให้เกิดความแตกแยก ไม่ได้ช่วยปรองดอง
    วันที่ 26 ม.ค. เมื่อเวลา 20.30 น. นางอังคณา นีละไพจิตร ประธานมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ และหนึ่งในคณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และนายอนุศาสตร์ สุวรรณมงคล ส.ว.สรรหา ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการติดตามและประเมินการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ วุฒิสภา ได้ร่วมรายการ "คนเคาะข่าว" พูดคุยในประเด็นเงินเยียวยา 7.75 ล้านบาท

    นางอังคณา กล่าวว่า มติคณะรัฐมนตรีเยียวยาผู้เสียหายทางการเมือง เมื่อมีตัวเลขออกมาสูงถึง 7.75 ล้านบาท ส่วนตัวไม่แน่ใจเหมือนกันว่าจะนำไปสู่ความปรองดองหรือเปล่า ผู้ได้รับผลกระทบมีหลายแบบ ทั้งจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐโดยตรง เสียหายจากการควบคุมของรัฐ และเสียหายจากผู้ก่อความไม่สงบ แต่รัฐบาลก็ไม่มีหลักเกณฑ์หรือมาตรฐานออกมาชัดเจน ว่าจะเยียวยาแต่ละกลุ่มอย่างไร แล้วคนทั่วประเทศจะได้รับการเยียวยานี้ทั่วถึงหรือไม่ มีแต่ตัวเลขออกมาก่อน

    นางอังคณา กล่าวอีกว่า เหตุการณ์สำคัญๆอย่าง ตากใบ กรือเซะ ไอร์ปาแย รัฐรู้สึกว่าต้องรับผิดชอบ แล้วกรณีคนถูกอุ้มหาย อุ้มฆ่า ซึ่งเหตุเหล่านี้ถูกนำไปเป็นเงื่อนไขในการก่อความไม่สงบ รวมถึงกรณีประชาชนทั่วไปที่ต้องเสียชีวิตจากการที่รัฐไร้ประสิทธิภาพในการคุ้มครองพวกเขา คนเหล่านี้รัฐบาลจะเยียวยาอย่างไร

    พอมีตัวเลข 7.75 ล้านบาทออกมา ทำให้ทุกคนนึกแต่ว่าต้องเท่าเทียมกัน ทุกคนไม่ยอมกันเลย ไม่สนใจเรื่องอื่น ในคณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีทั้งหมด 8 คณะ อนุกรรมการ ซึ่งอนุกรรมการที่มีหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์ คณะนี้สำคัญมาก ฝากไปถึงพันตำรวจเอกทวี สอดส่อง (เลขาฯ ศอ.บต.) ว่าคณะกรรมการนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจ ต้องอธิบายให้ประชาชนในทุกจังหวัดเข้าใจ

    นางอังคณา กล่าวต่อว่า วันนี้รัฐบาลให้ใจกับการแก้ปัญหาภาคใต้มากแค่ไหน คณะกรรมาธิการวิสามัญฯของวุฒิสภา เคยเชิญนายกฯมาเพื่อสอบถามถึงปัญหานายกฯก็ไม่มา แม้บางคนบอกว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์ไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่เราไม่ได้อยากถามท่านในฐานะเป็นน.ส.ยิ่งลักษณ์ แต่อยากถามในฐานะเป็นนายกรัฐมนตรี แต่น่าเสียดายท่านไม่มา

    นางอังคณา ยังกล่าวว่า ขณะนี้ผู้เสียหาย มีคนมาบอกเป็นญาติเต็มไปหมด มีการเรียกผู้เสียหายไปประชุม โดยผู้นำศาสนาบ้าง นักการเมืองท้องถิ่นบ้าง หรือผู้นำชุมชน โดยบอกว่าจะช่วยทำเรื่องติดต่อขอเงินให้ และเรียกค่าใช้จ่ายจากผู้เสียหาย ซึ่งแต่เดิมเงินเยียวยาแค่ 1 แสนบาท ก็มีเรียกเก็บค่าเดินเรื่องอยู่แล้ว แต่ถ้าได้เงินเยียวยามากกว่านี้คงยุ่งขึ้นอีก

    อีกปัญหาสำคัญคือ หลายกรณีที่เกิดขึ้นมันคืออาชญากรรมปกติ แต่สิทธิประโยชน์ไม่ว่าจะได้แค่ 1 แสนบาท ก็มีการร้องขอให้พิจารณาว่าเป็นเหตุความไม่สงบ เพื่อขอความเยียวยา แล้วถ้าตัวเลขมากขึ้น การกระทำแบบนี้คงมากขึ้นอีก แล้วก็เอาเงินไปแบ่งกัน ตัวเลขความสูญเสียจะมากขึ้น ข้อมูลจาก ศชต. (ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้) บอกว่าตัวเลขผู้เสียชีวิตจากเหตุความไม่สงบมี 10 กว่าเปอร์เซ็นต์ แต่วันนี้มันเพิ่มขึ้น เพราะทุกฝ่ายต้องการเข้าถึงการเยียวยาหมด และเมื่อมีการขอร้องกันให้พิจารณาเป็นเหตุไม่ความสงบหมด คดีก็ไม่ก้าวหน้า ไม่มีการหาคนผิด มันน่าแปลกใจว่าพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ ยาเสพติดเยอะมาก เรื่องอาชญากรรมปกติมันต้องมีเหมือนพื้นที่อื่นๆ แต่ดันไม่เห็น

    ด้าน นายอนุศาสตร์ กล่าวว่า ตัวเลข 7.75 ล้านบาท มาโดยตั้งตัวไม่ติด ทุกคนสับสนกันหมด ทำให้คนในพื้นที่รู้สึกถึงเรื่องความไม่เป็นธรรมขึ้นมา เพราะขณะที่ภาคใต้ยังพิจารณาการเยียวยากันอยู่ แต่การเยียวยาเหตุการณ์ในกรุงเทพฯออกมาแล้ว โดยไม่มีหลักเกณฑ์ ที่มาที่ไปของตัวเลขไม่มี

    รัฐบาลชุดที่แล้วพยายามปรับเงินเยียวยาในส่วนของประชาชนจาก 1 แสนบาท ให้เป็น 5 แสนบาท เท่ากับเจ้าหน้าที่ ซึ่งพอถึงรัฐบาลชุดนี้ เลขาฯศอ.บต. (ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้) ก็กำลังจะปรับ แต่แล้วก็มาสะดุดกับตัวเลข 7.75 ล้านบาท ตรงนี้รัฐบาลต้องอธิบายให้ละเอียดว่ากรุงเทพฯ กับภาคใต้ เยียวยาต่างกันอย่างไร

    อีกทั้งเหตุการณ์รายวันที่เกิดขึ้น ไม่ว่าทหาร ตำรวจ ครู เสียชีวิต คนเหล่านี้จะได้รับการเยียวยาอย่างไร จะเปรียบเทียบกับคนที่ได้ 7.75 ล้านบาทอย่างไร ถือว่าเงินตรงนี้สร้างปัญหามาก ไม่ได้สร้างความปรองดอง แต่สร้างความแตกแยก เป็นการสร้างเงื่อนไขขึ้นมาใหม่ และอาจจะก่อให้เกิดความไม่สงบ เกิดปัญหาความมั่นคงในอนาคต

    นายอนุศาสตร์ กล่าวต่อว่า มีเหตุการณ์เกิดขึ้นก่อน กรือเซะ ตากใบ แต่รัฐไม่เยียวยาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน มีการพูดคุยกันมากว่าเขาไม่ได้รับความเป็นธรรม มติคณะรัฐมนตรีทำผิดพลาด ไม่มีหลักเกณฑ์ เหมือนทำตามความพอใจ โดยไม่ได้คิดถึงผลข้างเคียง เข้าใจว่ารัฐบาลต้องการสร้างความปรองดอง แต่ตัวเลขที่ออกมามันอธิบายไม่ได้

    Politics - Manager Online -
     
  4. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    นายกฯออสซี่หนีรอดทุลักทุเล หลังถูกผู้ชุมนุมปิดล้อมคาร้านอาหาร
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>26 มกราคม 2555 23:26 น.</TD><TD vAlign=center align=left><SCRIPT src="http://platform.twitter.com/widgets.js" type=text/javascript></SCRIPT>


    <SCRIPT src="https://apis.google.com/js/plusone.js" type=text/javascript> {lang: 'th'}</SCRIPT><?XML:NAMESPACE PREFIX = G /><G:pLUSONE size="medium"></G:pLUSONE>
    <TD></TD></TR></TBODY></TABLE>
    เอเอฟพี/บีบีซี - หน่วยรักษาความปลอดภัยออสเตรเลียต้องเข้าช่วยเหลือนายกรัฐมนตรีจูเลีย กิลลาร์ด ออกจากร้านอาหารแห่งหนึ่งในเมืองแคนเบอร์ราเมื่อวันพฤหัสบดี(26) หลังจากถูกปิดล้อมด้วยกลุ่มผู้ประท้วงเรียกร้องสิทธิของชาวอะบอริจินที่อยู่ในอารมณ์เดือดดาล

    [​IMG]

    นางกิลลาร์ดและผู้นำฝ่ายค้าน โทนี แอบบอตต์ ติดอยู่ในร้านอาหารลอบบี ขณะที่ผู้ชุมนุมหลายสิบคนรวมตัวกันประท้วงต่อต้านวันชาติออสเตรเลีย ที่ระลึกถึงการเข้ามาตั้งรกรากของคนอังกฤษในออสเตรเลียเมื่อปี 1788 แต่คนพื้นเมืองเรียกวันดังกล่าวว่าเป็นวันบุกรุกหรือวันรุกรานแห่งชาติ

    เจ้าหน้าที่หน่วยงานด้านความมั่นคงและตำรวจปราบจลาจลพร้อมโล่พลาสติกต้องเข้าอารักขานำผู้นำทั้งสองคนฝ่าฝูงชนออกมาจากร้านอาหารอย่างทุลักทุเล ขณะที่จากภาพข่าวเห็นได้ว่ากิลลาร์ด มีอาการตื่นตกใจถึงกับก้าวสะดุด รองเท้าหลุดและเกือบหกล้มระหว่างที่วิ่งออกมาด้วย
    [​IMG]

    การชุมนุมปะทุขึ้นขณะที่ผู้นำทั้งสองคนกำลังเข้าร่วมพิธีมอบเหรียญเกียรติยศแก่เจ้าหน้าที่หน่วยฉุกเฉิน และต่อมานายกรัฐมนตรีหญิงได้ให้สัมภาษณ์บอกว่าเหตุการณ์นี้เป็นเรื่องเล็กน้อยและชื่นชมตำรวจว่าทำงานได้อย่างยอดเยี่ยม "สิ่งเดียวที่ทำให้ฉันโกรธคือมันรบกวนกิจกรรมที่สุดวิเศษนี้"

    รายงานข่าวระบุว่าระหว่างการประท้วงนั้นผู้ชุมนุมหลายคนได้ทุบตีกำแพงกระจกของอาคารร้านอาหารและตะโกนว่า "น่าอดสู" และ "พวกเหยียดผิว"ด้วย

    ทั้งนี้ผู้ประท้วงเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของพวกที่มาร่วมพิธี "วันรุกรานแห่งชาติ" ณ สำนักตัวแทนอะบอริจิน ค่ายถาวรของนักเคลื่อนไหวชนพื้นเมืองที่กำลังเฉลิมฉลองครบรอบ 40 ปีในปีนี้
    [​IMG]

    ไมเคิล อันเดอร์สัน ผู้ก่อตั้งสำนักตัวแทนที่สร้างจากกระโจมผ้าใบนี้ เผยว่ากลุ่มผู้ชุมนุมมีอารมณ์เดือดดาลต่อคำพูดก่อนหน้านี้ในวันเดียวกันของนายแอบบอตต์ ที่บอกว่าการประท้วงของชาวอะบอริจินไม่มีความสำคัญอีกต่อไปแล้ว

    เชื่อกันว่าครั้งที่อังกฤษเข้ามาตั้งรกรากในออสเตรเลียเมื่อหลายร้อยปีก่อน เวลานั้นมีประชากรอะบอริจินอยู่เกือบ 1 ล้านคน แต่เวลานี้พบว่าประชากรของอะบอริจินเหลืออยู่เพียง 470,000 คน จากจำนวนประชากรทั้งหมดของออสเตรเลีย 22 ล้านคน

    Around the World - Manager Online -
     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ครก.112 ส่อวงแตก “เสกสรรค์” ออกตัวไม่รู้จักนิติราษฎร์ ไม่ร่วมรณรงค์
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>27 มกราคม 2555 09:57 น.</TD><TD vAlign=center align=left><SCRIPT src="http://platform.twitter.com/widgets.js" type=text/javascript></SCRIPT>


    <SCRIPT src="https://apis.google.com/js/plusone.js" type=text/javascript> {lang: 'th'}</SCRIPT><?XML:NAMESPACE PREFIX = G /><G:pLUSONE size="medium"></G:pLUSONE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ASTVผู้จัดการ – “เสกสรรค์ ประเสริฐกุล” ร่อนคำชี้แจงผ่านคอลัมนิสต์ กท.ธุรกิจ ยันไม่ได้เป็น “ครก.112” ไม่ร่วมรณรงค์และไม่รู้จักนิติราษฎร์ เพียงลงชื่อเพราะมีผู้ใหญ่ขอร้องและเห็นด้วยในเชิงวิชาการเท่านั้น ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับสังคมตัดสิน ยืนยันไม่ยุ่งเกี่ยวกับข้อเสนออื่นๆ ของนิติราษฎร์ “ประชา บูรพาวิถี” เผยองค์กรแดงอยู่เบื้องหลัง “ครก.112” เพียบ

    วันนี้ (27) คอลัมน์แกะรอยการเมือง โดยประชา บูรพาวิถี ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจและเว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจได้เผยแพร่คำชี้แจงของ นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล อดีตผู้นำนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และศิลปินแห่งชาติ ปี 2552 สาขาวรรณศิลป์ ต่อกรณีการร่วมลงชื่อเป็นหนึ่งในคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 หรือ ครก.112 หลังจากเมื่อวันที่ 15 ม.ค.ที่ผ่านมา ทางกลุ่มดังกล่าวมีการจัดกิจกรรม “แก้ไขมาตรา 112” ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อรณรงค์ข้อเสนอแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งจัดทำตามข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์

    สำหรับนายเสกสรรค์ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มนักวิชาการที่ถูกอ้างอิงว่าหนึ่งใน 118 รายชื่อแรกที่ร่วมลงนามเป็นคณะกรรมการรณรงค์ดังกล่าว ได้กล่าวชี้แจงถึงเรื่องดังกล่าวผ่านคอลัมน์ของ ประชา บูรพาวิถี คอลัมนิสต์ที่สนิทสนมมานานกับนายเสกสรรค์ โดยใช้หัวข้อว่า “เสกสรรค์ ประเสริฐกุล กับคำชี้แจงเรื่อง ม.112

    ประชา บูรพาวิถี กล่าวเกริ่นนำว่า ผู้เข้าร่วมลงชื่อกลุ่มนั้น ก็ไม่ใช่ "ครก.112" อย่างที่มีการกล่าวอ้าง หากแต่เป็นผู้เห็นด้วยกับการแก้ไขกฎหมายมาตรา 112 เท่านั้น ส่วน กลุ่มนักเคลื่อนไหวทางการเมืองผู้ที่อยู่เบื้องหลัง “ครก.112” ตัวจริงก็คือ เครือข่ายนักวิชาการ และ กลุ่มกิจกรรมต่างๆ ที่เคยสนับสนุนการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง หรือเป็น "แนวร่วม" ของ นปช. ได้แก่ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน, กลุ่มสันติประชาธรรม, คณะนักเขียนแสงสำนึก, กวีราษฎร์, อาร์ติเคิล 112, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.), กลุ่มมหิดลเสรีเพื่อประชาธิปไตย, กลุ่มประชาคมจุฬาฯ เพื่อประชาชน, กลุ่มประชาคมศิลปากรเพื่อประชาชน, กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย, กลุ่มเสรีเกษตรศาสตร์, แนวร่วมนักเรียนนิสิตนักศึกษาเสรีชนล้านนา กลุ่มแดงสยาม, กรรมกรแดงเพื่อประชาธิปไตย, เพื่อนนักโทษการเมืองไทย และ กลุ่ม SOUND OF SILENCE ซึ่งคณะนิติราษฎร์ก็เป็นหนึ่งกลุ่มในหลายๆ กลุ่มที่ก่อรูปเป็น ครก.112

    ขณะที่คำชี้แจงของนายเสกสรรค์ระบุว่า การลงนามดังกล่าวของตนเป็นเพียง “ความเห็นทางวิชาการ” เท่านั้นมิใช่ “การเคลื่อนไหวทางการเมือง” และเปิดเผยด้วยว่า มีผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือขอร้องให้ตนให้ลงนาม ซึ่งตนได้พิจารณาแล้วว่าข้อเสนอดังกล่าวอยู่ในกรอบของการปฏิรูปกฎหมาย มีเนื้อหากลางๆ ที่ยังคงมีจุดหมายในการพิทักษ์รักษาสถาบันสำคัญของชาติ อย่างไรก็ตามปฏิเสธว่าไม่ได้มีส่วนเป็นแกนนำในการรณรงค์แก้ไข ม.112 และเห็นว่าเรื่องดังกล่าวขึ้นอยู่กับมติของสังคม

    “ผมไม่ได้มีความคิดจะร่วมผลักดันเคลื่อนไหวทางการเมืองในเรื่องนี้ เพราะรู้สึกเหนื่อยหน่ายกับความขัดแย้งและอยากจะใช้วัยชราของตนอย่างสงบสันโดษมากกว่า” แถลงการณ์ของนายเสกสรรค์ระบุ

    นอกจากนี้ อดีตผู้นำนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ ยังกล่าวด้วยว่า แม้ข้อเสนอแก้ไข ม.112 จะมาจากคณะนิติราษฎร์ แต่ตนขอยืนยันว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรกับคนกลุ่มดั้งกล่าว และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อเสนออื่นๆ ของคณะนิติราษฎร์ซึ่งมีการประกาศออกมาภายหลังอย่างเช่น การอภิปรายลบล้างผลพวงรัฐประหาร-นิรโทษกรรม-ปรองดอง เพื่อนำเสนอแนวทางการลบล้างผลพวงที่มาจากการรัฐประหารทั้งหมด รวมไปถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 ม.ค. แต่อย่างใด

    อนึ่ง นอกจากนายเสกสรรค์ที่ถูกอ้างชื่อว่าเป็นหนึ่งใน คณะกรรมการรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 หรือ ครก.112 แล้วนายวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล บุตรชายนายเสกสรรค์ก็ยังถูกอ้างอิงชื่อด้วย ส่วนแถลงการณ์ชี้แจงดังกล่าวมีรายละเอียดดังนี้

    **************

    เรียนมิตรสหายและผู้ห่วงใยบ้านเมืองที่รักทุกท่าน

    ตามที่มีข่าวปรากฏว่าผมได้ร่วมลงนามสนับสนุน การแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งนำไปสู่เสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในบางวงการนั้น ผมเกรงว่าสภาพดังกล่าวอาจจะก่อให้เกิดการเข้าใจผิดกันโดยง่าย จึงขอเรียนชี้แจงจุดยืนของตัวเองให้กระจ่างชัดดังต่อไปนี้

    ประการแรก ผมได้อนุญาตให้มีการใช้ชื่อผมในฐานะผู้สนับสนุนข้อเสนอดังกล่าวจริง เนื่องจากถูกขอร้องโดยผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ และผมเองก็ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นข้อเสนอที่อยู่ในกรอบของการปฏิรูปกฎหมาย มีเนื้อหากลางๆ ออกไปในแนวมนุษยธรรม และที่สำคัญคือยังคงไว้ซึ่งจุดหมายในการพิทักษ์รักษาสถาบันสำคัญของชาติ

    ประการต่อมา ผมไม่ใช่แกนนำในการรณรงค์แก้ไข ม.112 และมองการร่วมลงนามของตนว่าเป็นเพียงการแสดงความคิดสาธารณะ เพื่อให้สังคมร่วมพิจารณา ส่วนสังคมจะมีมติอย่างไรก็แล้วแต่ความเห็นชอบของคนส่วนใหญ่ ผมไม่ได้มีความคิดจะร่วมผลักดันเคลื่อนไหวทางการเมืองในเรื่องนี้ เพราะรู้สึกเหนื่อยหน่ายกับความขัดแย้งและอยากจะใช้วัยชราของตนอย่างสงบสันโดษมากกว่า

    ประการสุดท้าย แม้ว่าข้อเสนอแก้ไข ม.112 จะมีที่มาจากความเห็นของคณะนิติราษฎร์ แต่ผมต้องขอยืนยันว่าผมไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับนักวิชาการกลุ่มนี้ และยิ่งไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับข้อเสนอในประเด็นอื่นๆ ที่กลุ่มดังกล่าวได้ประกาศออกมาอย่างต่อเนื่อง ผมรับรู้เรื่องปฏิรูป ม.112 จากนักวิชาการอาวุโสกลุ่มหนึ่งซึ่งไม่ใช่คณะนิติราษฎร์ และได้รับการติดต่อเพียงเรื่องเดียวเท่านั้น

    จึงขออนุญาตเรียนมาให้ผู้ที่สนใจและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ทราบ โดยหวังว่าท่านทั้งหลายจะตั้งมั่นอยู่ในการเจริญสติและมีความเมตตาต่อกัน


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=middle>คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ปฏิเสธไม่ร่วมรณรงค์กับ ครก.112 และไม่รู้จักคณะนิติราษฎร์ รวมถึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับข้อเสนออื่นๆ ของคณะนิติราษฎร์</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>รายชื่อ ครก.112 ที่มีการแอบอ้างและเผยแพร่กันก่อนหน้านี้</TD></TR></TBODY></TABLE>
    Politics - Manager Online -
     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    “เพนตากอน” สั่งลดจำนวนทหาร 100,000 นาย-ลงทุนเสริมอิทธิพลในเอเชีย
    <TABLE style="WORD-SPACING: 0px; TEXT-TRANSFORM: none; TEXT-INDENT: 0px; FONT-FAMILY: 'Times New Roman'; LETTER-SPACING: normal; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); widows: 2; orphans: 2; webkit-text-size-adjust: auto; webkit-text-stroke-width: 0px" cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=left><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>27 มกราคม 2555 14:03 น.</TD><TD vAlign=center align=left>



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    ลีออน พาเนตตา รัฐมนตรีกลาโหม และพลเอก มาร์ติน เดมป์ซีย์ ประธานคณะเสนาธิการทหารร่วมของสหรัฐฯ แถลงวาระการของบประมาณประจำปี 2013 ณ กระทรวงกลาโหม วานนี้ (26)

    เอเอฟพี - กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เสนอให้ปลดประจำการทหารประมาณ 100,000 นาย วานนี้ (26) แต่ประกาศมั่นที่จะลงทุนครั้งใหม่ เพื่อเสริมอำนาจในเอเชียและตะวันออกกลาง ขณะที่รัฐบาลอเมริกันที่แบกหนี้สินมหาศาล กำลังหาทางออกจากทศวรรษแห่งสงคราม

    จากแรงกดดันให้ปรับสมดุลบัญชีงบประมาณ รัฐบาลของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ได้กำหนดให้ลดจำนวนทหารในกองทัพลง 13 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงการถอนกำลังของกองพลน้อย 2 กองพล ออกจากยุโรป อีกทั้งปลดประจำการเรือและเครื่องบินรุ่นเก่า

    อย่างไรก็ตาม รัฐบาลโอบามาเรียกร้องให้มีการลงทุนในโครงการใหม่ๆ เช่น ฐานทัพลอยน้ำสำหรับปฏิบัติการพิเศษและอากาศยานรบไร้นักบิน (โดรน) และยังมอบหมายภารกิจให้ชุดปฏิบัติการรบประจำกองพลน้อย (บีซีที) ฝึกภาษาที่ใช้ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก

    วานนี้ ลีออน พาเนตตา รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ได้เปิดเผยคำร้องของบประมาณรายจ่ายของเพนตากอน ประจำปี 2013 โดยให้คำมั่นว่า สหรัฐฯ จะรักษาอิทธิพลในตะวันออกกลางและเอเชียต่อไป ซึ่งจะมีการพัฒนาศักยภาพของเรือดำน้ำ และสร้างเครื่องบินทิ้งระเบิดยุคใหม่

    รัฐมนตรีพาเนตตายังเรียกร้องให้ส่งเรือรบชายฝั่ง (littoral combat ship) ประจำการในสิงคโปร์ และเรือตรวจการณ์ประจำการในบาห์เรน

    อย่างไรก็ตาม งบประมาณของกระทรวงกลาโหมยังเจรจากันไม่ลงตัว ขณะที่นักการเมืองพรรคเดโมแครตต้องการให้ตัดงบประมาณกลาโหมลงอีก รีพับลิกันกลับต้องการให้คงงบการทหารไว้ แต่ตัดงบประมาณด้านประกันสังคมแทน

    ทั้งนี้ ลีออน พาเนตตา ได้เสนอของบประมาณ 613,000 ล้านดอลลาร์ สำหรับปีงบประมาณ 2013 ซึ่งจะเริ่มในเดือนตุลาคม ลดลง 9 เปอร์เซ็นต์ จากงบประมาณที่ขอสำหรับปี 2012

    นอกจากนี้ มีการเสนอให้ลดจำนวนทหารในกองทัพบกจาก 570,000 นาย เมื่อปี 2010 เป็น 490,000 นาย ภายในปี 2017 และในช่วงเดียวกัน จะลดจำนวนนาวิกโยธินจาก 202,000 นาย เหลือ 182,000 นาย รวมเป็น 100,000 นาย

    เพนตากอนยังวางแผนถอนกำลังกองพลน้อย 2 จาก 4 กองพล ซึ่งประจำการอยู่ในยุโรปมากกว่า 7,000 นาย และยังจะเลื่อนโครงการซื้อเครื่องบินขับไล่ เอฟ-35 เข้ากองทัพเพิ่มจนกว่าจะผ่านพ้นปี 2017

    กระนั้นก็ดี แม้มีการตัดลดงบประมาณขนานใหญ่ แต่กองทัพสหรัฐฯ ยังได้ชื่อว่ามีเงินสนับสนุนมากที่สุดในโลก จีน เจ้าของกองทัพอันดับ 2 รองจากอเมริกัน ระบุว่า เมื่อปี 2011 ได้ทุ่มงบประมาณด้านการทหาร 91,100 ล้านดอลลาร์ ซึ่งน้อยกว่าของสหรัฐฯ หลายเท่าตัว แต่นักวิเคราะห์จากตะวันตกเชื่อว่า ตัวเลขจริงต้องสูงกว่าที่จีนเปิดเผยแน่นอน

    อีกเป้าหมายหนึ่ง เพนตากอนจะทุ่มงบประมาณในสงครามไซเบอร์และการพัฒนาโดรน ซึ่งเป็นสองวาระสำคัญท่ามกลางความขัดแย้งกับอิหร่านและปากีสถาน


    http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9550000012323
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2012
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    หวั่นทุนนิยมตะวันตกใกล้สูญพันธุ์ เวที'ดาวอส'รับตลาดเกิดใหม่มาแรง
    <TABLE style="WORD-SPACING: 0px; TEXT-TRANSFORM: none; TEXT-INDENT: 0px; FONT-FAMILY: 'Times New Roman'; LETTER-SPACING: normal; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); widows: 2; orphans: 2; webkit-text-size-adjust: auto; webkit-text-stroke-width: 0px" cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>27 มกราคม 2555 02:04 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    นายกรัฐมนตรีเยอรมนี อังเกลา แมร์เคิล ระหว่างเข้าร่วมประชุมประจำปีเวิลด์ อิโคโนมิก ฟอรัม (WEF) ที่เมืองดาวอส สวิตเซอร์แลนด์
    เอเอฟพี - ผู้นำธุรกิจโลกกำลังเผชิญกับความกลัวในใจว่า ระบอบทุนนิยมตะวันตกล้มเหลวโดยสิ้นเชิงและใกล้ถูกแทนที่ด้วยรูปแบบของมหาอำนาจเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่

    ช่วงเวลากว่า 4 ทศวรรษที่ผ่านมา ที่ประชุมประจำปีเวิลด์ อิโคโนมิก ฟอรัม (WEF) ที่เมืองดาวอส สวิตเซอร์แลนด์ กลายเป็นสัญลักษณ์ชัยชนะของระบบตลาดเสรี แต่มาปีนี้ บรรดาตัวแทนของทุนนิยมเสรียอมรับว่า ระบอบทุนนิยมสไตล์จีนกำลังมาแรงแซงทุกโค้ง

    แม้แต่ผู้นำทางการเมือง อาทิ นายกรัฐมนตรีเยอรมนี อังเกลา แมร์เคิล ยังออกปากว่า ถึงเวลาแล้วที่ผู้วางนโยบายในยุโรปจะต้องทบทวน

    ช่วงเวลา 5 วันในการหารือของตัวแทนทั้งจากภาครัฐและเอกชนปีนี้ เริ่มต้นขึ้นด้วยคำเตือนจากคณะผู้เชี่ยวชาญว่า ทุนนิยมเสรีที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกของศตวรรษที่ 20 จำเป็นต้องได้รับการปฏิรูปหรือจบสิ้นอายุขัย

    เดวิด รูเบนสไตน์ กรรมการผู้จัดการกองทุนการลงทุนคาร์ไลล์ ระบุว่า ตะวันตกมีเวลา 3-4 ปีในการปรับปรุงโมเดลเศรษฐกิจ และถ้าไม่เร่งลงมือ อาจเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในการแข่งขัน

    มหาเศรษฐีวัย 62 ปีผู้นี้ สามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากระบอบทุนนิยมได้เป็นกอบเป็นกำ เดือนนี้คาร์ไลล์จ่ายโบนัสประจำปีให้รูเบนสไตน์เป็นเงินถึง 134 ล้านดอลลาร์

    กระนั้น เขาเตือนว่า ตะวันตกจำเป็นต้องจัดการให้ภาวะขาดดุลอยู่ในความควบคุมและฟื้นการเติบโต

    “หากไม่รีบลงมือ อีก 3 หรือ 4 ปีนับจากนี้เมื่อเรามาที่นี่ เกมที่ระบอบทุนนิยมแบบที่พวกเรามากมายคุ้นเคยและคิดว่าเป็นระบอบทุนนิยมที่ดีที่สุด ก็จะจบลง”

    ชารัน เบอร์โรว์ เลขาธิการสมาพันธ์สหภาพแรงงานสากล เรียกร้องให้ภาครัฐและเอกชนทำงานร่วมกับแรงงานเพื่อพัฒนาโมเดลเศรษฐกิจใหม่

    ทว่าศาสตราจารย์รากูรัม ราชัน จากมหาวิทยาลัยชิคาโก ซึ่งร่วมอภิปรายอยู่บนเวทีเดียวกัน เตือนว่า ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของตะวันตกในศตวรรษที่ 20 ไม่สามารถรองรับคำมั่นในการทำให้แรงงานทั่วโลกมั่งคั่งได้

    “ในทศวรรษ 1960 ที่เศรษกิจเติบโตสูงมาก ภาครัฐสัญญาไม่หยุดไม่หย่อน เรามีรัฐสวัสดิการในทั่วโลกอุตสาหกรรม แต่แล้วการเติบโตก็เริ่มตกต่ำในทศวรรษ 1970 และทศวรรษต่อมา

    “บางประเทศ เช่น สหราชอาณาจักรและสหรัฐฯ พยายามฟื้นฟูการเติบโต โดยหันไปเน้นการผ่อนคลายกฎระเบียบและก็สามารถจัดการได้ชั่วคราว แต่ในปัจจุบันการเติบโตโดยทั่วไปช้ามากในโลกอุตสาหกรรมเมื่อเปรียบเทียบกับสัญญาที่ให้ไว้”

    การประชุมที่ดาวอสปีนี้ ผู้นำรัฐบาลหลายสิบคนจะร่วมหารือกับผู้นำการค้าและอุตสาหกรรม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันทุกอย่างตั้งแต่วิกฤตยูโรโซนจนถึงโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน ตลอดจนถึงแนวโน้มด้านวิทยาศาสตร์และศิลปะ

    แมร์เคิล ผู้นำเมืองเบียร์ ขึ้นกล่าวบนเวทีนี้ในวันพุธ(25)ว่า ยุโรปเป็นภูมิภาคที่จำเป็นต้องหารือถึงวิธีการใหม่ๆ และเตือนว่า ลัทธิกีดกันการค้ากำลังปรากฏขึ้นในขณะที่ความพยายามเพื่อบรรลุข้อตกลงการค้าที่ครอบคลุมสำหรับทั่วโลกใกล้ถึงทางตัน

    แมร์เคิลสำทับว่า ความอ่อนแอเชิงโครงสร้างภายในยูโรโซนได้สร้างปัญหาลุกลามออกไป

    “เราต้องจัดการกับความอ่อนแอเหล่านั้น ตอนนี้เราจำเป็นจริงๆ ที่จะต้องทำบางอย่างกับเรื่องนี้ และขณะนี้ความเชื่อมั่นของภูมิภาคอื่นๆ ของโลก (ต่อยุโรป) เสื่อมถอยลงอย่างมาก เพราะพวกเขาไม่แน่ใจว่าเรากำลังจะทำอะไรกับความอ่อนแอเหล่านั้น

    “จะไม่มีใครศรัทธาในยุโรป ถ้าอัตราว่างงานยังพุ่งสูง”

    ทั้งนี้ ผู้นำกลุ่มจี 20 คนอื่นๆ ที่มีกำหนดขึ้นเวทีในวันต่อๆ ไปคือ นายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน ของอังกฤษ และสตีเฟน ฮาร์เปอร์ ผู้นำแคนาดา

    นอกจากนี้ ยังมีผู้นำหน้าใหม่ๆ จากประเทศ อาทิ ตูนีเซียและไทย ที่กำลังพยายามฟื้นตัวจากวิกฤต ตลอดจนถึงประมุขรัฐในแอฟริกา เช่น จาค็อบ ซูมา แห่งแอฟริกาใต้

    ทิโมธี ไกธ์เนอร์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ มีกำหนดปราศรัยเกี่ยวกับความท้าทายสำหรับเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขณะที่มหาอำนาจตลาดเกิดใหม่ อาทิ อินเดีย และประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะร่วมอภิปรายในหัวข้อ “จริงหรือไม่ นี่คือศตวรรษของเอเชีย?”

    http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9550000012119
     
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    จีนป้องอิหร่านโดนอียูคว่ำบาตร ชี้ตะวันตกทำอะไรไม่สร้างสรรค์
    <TABLE style="WORD-SPACING: 0px; TEXT-TRANSFORM: none; TEXT-INDENT: 0px; FONT-FAMILY: 'Times New Roman'; LETTER-SPACING: normal; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); widows: 2; orphans: 2; webkit-text-size-adjust: auto; webkit-text-stroke-width: 0px" cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=left><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>26 มกราคม 2555 17:42 น.</TD><TD vAlign=center align=left>



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]


    เอเยนซี - ท่านทูตอิหร่านประจำกรุงปักกิ่งประกาศด้วยหน้าตาแช่มชื่น (25 ม.ค.) ว่ายอดการค้าระหว่างจีนและอิหร่านเพิ่มสูงขึ้นในปี 2554 ที่ผ่านมาถึง 55 เปอร์เซ็นต์ มูลค่ารวมอยู่ที่ 45,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ถัดจากนั้น 1 วัน (26 ม.ค.) กระทรวงต่างประเทศจีนก็ออกแถลงการณ์ประณามการคว่ำบาตรอิหร่านกรณีอาวุธนิวเคลียร์ว่า ตะวันตกทำอะไรเหมือนคนตาบอด การคว่ำบาตรนี้ช่างไม่สร้างสรรค์เอาเสียเลย

    สำนักข่าว IRNA ระบุว่า เมห์ดี ซาฟารี เอกอัครราชทูตอิหร่านประจำกรุงปักกิ่งเผยว่า ตัวเลขการค้าประจำปีมียอดการพาณิชย์เพิ่มขึ้นระหว่างจีนและอิหร่านอีก 16,000 ล้านเหรียญฯ เฉพาะปีที่ผ่านมา

    จีนเป็นคู่ค้าของอิหร่าน ในปีที่ผ่านมามีการขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับจีนมากขึ้น เนื่องจากบริษัทตะวันตกต้องร่วมกันลงโทษอิหร่านจึงจำต้องพากันถอนทุนในอิหร่านออกไปเป็นจำนวนมาก จีนจึงได้โอกาสเข้าแทนที่ทันที

    มหาอำนาจเศรษฐกิจเอเชียอย่างจีนได้เข้าไปมีบทบาทเข้มแข็งในการลงทุนและการค้า ด้านน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ หลังจากอิหร่านได้ทำสัญญากับบรรษัทจีนมูลค่าถึง 40,000 ล้านเหรียญฯ ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ แทนที่บริษัทตะวันตก

    ก่อนหน้านี้ จีนปกป้องตัวเองว่า คบกับอิหร่านเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจและการค้าเท่านั้น หลังจากสหภาพยุโรปลงโทษอิหร่านมิให้สามารถส่งออกน้ำมันได้

    ในที่สุด (26 ม.ค.) จีนได้ออกมาตอบโต้ว่า การที่สหภาพยุโรปลงโทษอิหร่านเนื่องจากสงสัยว่าอิหร่านมีการขับเคลื่อนพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์นั้น ถือว่า “ไม่สร้างสรรค์”

    ซินหวาอ้างแถลงฯ ของกระทรวงต่างประเทศจีนระบุว่า “การที่สหภาพยุโรปกดดันและออกมาตรการลงโทษอิหร่านแบบตาบอดเช่นนี้ ถือว่าเป็นวิธีการที่ไม่พัฒนาหรือช่วยให้อะไรดีขึ้น”

    กระทรวงต่างประเทศฯ ชี้ต่อว่า “จีนหวังว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับปัญหานี้จะสามารถหาวิธีการที่สร้างสรรค์ สันติ และมั่นคงในการแก้ไขอย่างถูกทำนองคลองธรรม”

    อิหร่านเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันให้จีนใหญ่เป็นอันดับ 3 คิดเป็นน้ำมันถึง 11 เปอร์เซ็นต์ที่จีนนำเข้า

    China - Manager Online -
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2012
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 27 มกราคม 2555 07:18
    เวทีดาวอสย้ำ "ทุนนิยม" ตัวการสร้างความเหลื่อมล้ำ


    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    [​IMG]
    นักลงทุนจากหลากหลายประเทศเห็นพ้องว่า "ทุนนิยม" เป็นหนึ่งในตัวการสำคัญที่ทำให้ความไม่เท่าเทียมขยายวงมากขึ้น

    ข้อมูลจาก "บลูมเบิร์ก โกลบอล โพล" ที่สำรวจความเห็นของบรรดานักธุรกิจและนักการเงินชั้นนำที่ร่วมประชุมในเวทีดาวอส1,209 คน ระหว่าง 23-24 มกราคม พบว่า ความไม่เท่าเทียมเรื่องรายได้สร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ และรัฐบาลจำเป็นต้องลงมือจัดการเรื่องนี้ ไม่อย่างนั้นก็จะกลายเป็นชนวนที่ก่อให้เกิดการชุมนุมคล้าย "ยึดวอลล์สตรีต" เกิดขึ้นทั่วโลก
    ผลสำรวจยังสะท้อนถึงบทบาทของอุตสาหกรรมการเงินที่มีในสังคม โดยผู้บริหาร 7 ใน 10 คน มองว่า ธนาคารมีอิทธิพลต่อรัฐบาลมากเกินไป
    นายไมเคิล เดิร์กส หัวหน้านักยุทธศาสตร์ของเอฟเอ็กซ์โปร ไฟแนนเชียล เซอร์วิสเซส ระบุว่า ทุนนิยมกำลังเผชิญวิกฤต เนื่องจากรายได้และความร่ำรวยที่ไม่เท่าเทียมกลายเป็นปัญหาใหญ่และขยายวงมากขึ้นในเขตเศรษฐกิจตะวันตก ทั้งยังทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมของคนแต่ละวัย จึงจำเป็นที่รัฐบาลต้องเข้ามาแทรกแซงขนานใหญ่ เพราะเศรษฐกิจไม่สามารถอยู่รอดได้ หากไม่มีการลงทุนเพื่อคนเจนเนอเรชั่นใหม่ๆ
    ทั้งนี้ มากกว่า 70% ของคนที่ตอบแบบสอบถามเชื่อว่า ระบบมีปัญหา ราว 32% มองว่า จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบต่างๆ ส่วน 39% มองว่า ความสับสนวุ่นวายจะคลี่คลายลงได้เอง
    ราว 70% มองว่า ปัญหาเศรฐกิจในยุโรปจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความไร้เสถียรภาพทางสังคมในปี 2555 ไม่ว่าจะเป็นการก่อจลาจล หรือการก่อความไม่สงบ ขณะที่นักลงทุนอเมริกัน 459 คน ชื่นชมทุนนิยมมากกว่านักลงทุนจากที่อื่นๆ และราว 1 ใน 5 ยอมรับว่าต้องมีการยกเครื่องระบบ
    แต่นักลงทุนอเมริกันยังต้องระวังมาตรการของรัฐบาลที่จะรับมือกับความไม่เท่าเทียมเรื่องรายได้ โดยผู้ตอบแบบสอบถามครึ่งหนึ่งมองว่า การเข้ามาแทรกแซงของภาครัฐอาจเป็นเรื่องไม่เหมาะสม ขณะที่มากกว่า 3 ใน 4 ของนักลงทุนยุโรป และกว่า 4 ใน 5 ของนักลงทุนเอเชีย มองเห็นบทบาทของรัฐในการจัดการเรื่องนี้
    นายเดวิด รูเบนสไตน์ ผู้ร่วมก่อตั้งคาร์ไลล์ กรุ๊ป กล่าวในวงเสวนาหัวข้อการค้าเสรีในอนาคต ว่า โมเดลทุนนิยมสไตล์จีนอาจจะแพร่หลาย หากสหรัฐและชาติยุโรปตะวันตกไม่สามารถแก้ปัญหาหนี้ได้
    ทั้งนี้ ใกล้กับบริเวณการประชุมมีป้ายต่อต้านอุตสาหกรรมการเงินและคนรวยที่มีเพียง 1% ในสังคม โดยมีเนื้อความว่า "ยึดดับเบิลยูอีเอฟ" (OccupyWEF) ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากกลุ่มยึดวอลล์สตรีต ซึ่งสอดคล้องกับความกังวลของผู้ตอบแบบสอบถามครั้งนี้
    โดยกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถาม ระบุว่า ความเหลื่อมล้ำเรื่องรายได้กระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่วน 2 ใน 3 คิดว่า เป็นเรื่องเหมาะควรที่รัฐบาลจะหานโยบายเพื่อรับมือกับเรื่องนี้ และ 48% มองว่าสามารถดำเนินการเรื่องนี้เมื่อไรก็ได้ ขณะที่น้อยกว่า 1 ใน 5 เห็นว่านี่เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องจัดการ
    ด้านนายสตีฟ มอร์ตัน ผู้อำนวยการนาติซิส ซิเคียวริตี้ส์ ในนิวยอร์ก ระบุว่า ฐานะที่ไม่เท่าเทียมเป็นปัญหาใหญ่และขยายวงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งไม่ปลอดภัยนัก เพราะคนระดับล่างของปิระมิดไม่มีเงินมากพอที่จะซื้อสิ่งต่างๆ และช่วยประคับประคองเศรษฐกิจให้ไปต่อได้
    น่าสนใจว่า อุตสาหกรรมการเงินถูกวิพากษ์วิจารณ์ไม่น้อย เพราะอิทธิพลที่มากเกินไป โดยราว 2 ใน 3 มองเห็นว่าการกระทำของนายแบงก์ถูกขับเคลื่อนด้วยความละโมบและเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจ และมากกว่า 4 ใน 5 ส่งเสียงเรื่องได้โบนัสก้อนโต ขณะที่บริษัทไม่ได้ทำผลงานดีขนาดนั้น มีเพียง 14% ที่ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดที่แบงก์จะต้องปรับกฎระเบียบใหม่ แทนที่จะใช้กรอบความคิดใหญ่เกินกว่าจะปล่อยให้ล้ม
    นายแอนสัน โรสวอลล์ จากบริษัทบริการการเงินในออสเตรเลีย "บีบีวาย" กล่าวว่า วัฒนธรรมของแบงก์เกี่ยวข้องกับความเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในมุมที่คนในสังคมส่วนใหญ่มองว่า แบงก์ดำเนินการตามเป้าเรื่องรายได้ และไม่เคารพต่อผลกระทบเชิงลบที่อาจเกิดขึ้นต่อชุมชน อย่างความจริงที่แบงก์รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล ในขณะที่ผู้คนตกงานและสูญเสียบ้านโดยไม่ได้รับการเหลียวแล ซึ่งนี่อาจทำลายชื่อเสียงของสถาบันการเงินหลักไปตลอดกาล
    ทว่านักลงทุนจากสหรัฐไม่ค่อยเห็นความสำคัญของการยกเครื่องกฎระเบียบแบงก์ มีเพียง 1 ใน 3 ที่เชื่อว่าแบงก์จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกฎระเบียบ ผิดกับนักลงทุนจากยุโรปและเอเชียที่มองความสำคัญของเรื่องนี้

    http://www.bangkokbiznews.com/home/...วอสย้ำ-ทุนนิยม-ตัวการสร้างความเหลื่อมล้ำ.html
     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 27 มกราคม 2555 11:47
    อิหร่านกร้าวไม่คิดพึ่งเงินขายน้ำมันให้ยุโรป


    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    [​IMG]

    อิหร่านประกาศไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเงินจากการขายน้ำมันให้แก่อียูและการคว่ำบาตรของอียูเป็นความพยายามที่สูญเปล่า

    นายมาห์หมุด อาห์มาดิเนจัด ประธานาธิบดีอิหร่าน กล่าวว่า อิหร่านไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการขายน้ำมันให้แก่สหภาพยุโรป (อียู) หลังจากอียู ประกาศเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า จะเพิ่มการคว่ำบาตรการส่งออกน้ำมันและธนาคารกลางของอิหร่าน ซึ่งเป็นการการเคลื่อนไหวที่มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มแรงกดดันต่อโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน ที่ยังคงเป็นประเด็นที่ถกเถียงอยู่
    นายอาห์มดิเนจัด กล่าวระหว่างพบปะประชาชนในเมืองเคอร์แมน ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอิหร่านว่า การคว่ำบาตรไม่สามารถหยุดยั้งการเดินหน้าของอิหร่านได้ และกล่าวเพิ่มว่าเราไม่จำเป็นต้องพึ่งการขายน้ำมันให้อียู
    ด้านนายนาสซาร์ ซูดานี นิติบัญญัติของอิหร่านกล่าวเมื่อวันพุธว่า รัฐบาลอิหร่าน กำลังพิจารณาแผนการณ์ ลดการส่งออกน้ำมันไปยังประเทศสมาชิกอียู
    "ตัวแทนรัฐสภาของมาจิลิส อยู่ระหว่างดำเนินการ อนุมัติแผนดังกล่าว หลังจากสหภาพยุโรป ออกมาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน ซึ่งทำให้ประเทศอียูทุกประเทศไม่สามารถซื้อน้ำมันจากอิหร่านได้แม้เพียงหยดเดียว"นายซูดานี ซึ่งเป็นสมาชิกของกรรมาธิการพลังงานมาจิลิส กล่าว
    ขณะที่ สำนักข่าวไออาร์เอ็นเอ ของอิหร่าน รายงานว่า นายอาห์มาดิเนจัด ไม่สนใจการคว่ำบาตรของรัฐบาลประเทศอียู และมองว่าเป็นความพยายามที่สูญเปล่าและเพื่อลดความสำคัญของการคว่ำบาตรของอียู นายอาห์มาดิเนจัด ระบุว่า ยอดการค้าต่างประเทศทั้งหมดของอิหร่านอยู่ที่ 2 แสนล้านดอลลาร์ และในจำนวนนี้มาจากอียูเพียง 2.4 หมื่นล้านดอลลาร์เท่านั้น
    http://www.bangkokbiznews.com/home/...ร่านกร้าวไม่คิดพึ่งเงินขายน้ำมันให้ยุโรป.html
     
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 27 มกราคม 2555 11:24
    "โอบามา"ยอมรับทำผิดพลาด-ปกป้องนโยบายศก.


    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    [​IMG]
    ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ยอมรับว่าทำผิดพลาดทุกชั่วโมง ทุกวัน พร้อมกล่าวปกป้องนโยบายเศรษฐกิจ

    ประธานาธิบดีบารัก โอบามาของสหรัฐ ยอมรับว่า ทำผิดพลาดบ่อยครั้ง และตั้งคำถามกับตัวเองตลอดเวลา แต่มันก็เป็นประสบการณ์ที่ทำให้เขาเป็นผู้นำที่ดีขึ้น เขายังปกป้องนโยบายเศรษฐกิจของเขาอย่างแข็งขัน ในระหว่างการให้สัมภาษณ์ เอบีซี นิวส์ ที่ลาส เวกัส โดยแย้งว่า อเมริกาจะยิ่งตกอยู่ในสถานการณ์ที่เลวร้ายกว่านี้ ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขตามขั้นตอนที่เขานำมาใช้รับมือกับภาวะถดถอยที่ลึกที่สุดในรอบหลายทศวรรษ
    ประธานาธิบดีโอบามา กล่าวพร้อมกับหัวเราะว่า เขาตั้งถามตัวเองอยู่เสมอ เขาทำผิดพลาดทุกชั่วโมง ทุกวัน ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงาน และเขาไม่สงสัยเลยว่า เขาเป็นประธานาธิบดีที่ดีขึ้นกว่าเมื่อวันที่เขาเพิ่งจะเข้ารับตำแหน่ง เพราะเขาได้รับประสบการณ์มากขึ้นนั่นเอง และเขาก็พบด้วยว่า เศรษฐกิจของประเทศอ่อนแอกว่าที่คิดไว้มาก
    ทั้งนี้ บรรดาสมาชิกพรรครีพับลีกัน ที่รวมทั้งพวกที่ต้องการจะเข้าไปนั่งในทำเนียบขาวแทนประธานาธิบดีโอบาม่า ในศึกเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายนนี้ ได้โจมตีนโยบายเศรษฐกิจของประธานาธิบดีโอบาม่าและความสามารถของเขาอย่างต่อเนื่อง และมักจะกล่าวหาว่าเขามีพฤติกรรมที่หยิ่งยโสอีกด้วย
    ประธานาธิบดีสหรัฐหลายคน มักเผชิญกับระเบิดทางการเมือง เมื่อถูกถามเกี่ยวกับเรื่องต่างๆโดยเฉพาะการเข้าใจถึงปัญหาหลังจากเหตุการณ์ได้เกิดขึ้นแล้ว ถ้าพวกเขายอมรับข้อผิดพลาดก็เสี่ยงที่ถูกมองว่าเป็นคนไม่เด็ดขาด แต่ถ้าบอกไม่ได้เคยทำอะไรผิดพลาด ก็อาจเผชิฐการถูกโดดเดี่ยว หรือถูกมองว่าดื้อรั้น
    ตัวอย่างที่เป็นที่กล่าวขวัญที่สุด เกิดขึ้นเมื่อครั้งที่อดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับความผิดพลาดในขณะที่อยู่ในตำแหน่ง แต่เขากลับบอกว่า นึกไม่ออกเพราะส่วนใหญ่ทำถูกต้องตลอด ทำให้สื่อมวลชนนำไปเขียนในเชิงประชดประชันและวิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง
    http://www.bangkokbiznews.com/home/...77/โอบามายอมรับทำผิดพลาด-ปกป้องนโยบายศก..html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2012
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 26 มกราคม 2555 15:19
    แจ็คเก็ตหลานผู้นำโสมขาวก่อความขัดแย้งชนชั้น


    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    [​IMG]
    แจ็คเก็ตหลานสาวประธานาธิบดีเกาหลีใต้ จุดชนวนความขัดแย้งเรื่องชนชั้น

    เสื้อแจ็คเก็ตกันหนาวสีขาว ที่หลานสาวของประธานาธิบดีลี เมียง-บัก ของเกาหลีใต้ สวมใส่ กลายเป็นรายการสินค้าที่ถูกค้นหาทางอินเตอร์เน็ตมากที่สุดตามเว็บไซท์ต่างๆ ระหว่างวันหยุดช่วงเทศกาลตรุษจีนที่ผ่านมา
    ทั้งนี้ ภาพถ่ายของประธานาธิบดีลีและหลานสาว 2 คน ขณะไปซื้อของที่ตลาดนัดแห่งหนึ่งในกรุงโซล เผยให้เห็นหลานสาวคนที่โตว่า สวมเสื้อแจ็คเก็ตสีขาวยี่ห้อง " มงแคลร์ " แบรนด์หรูของฝรั่งเศส ซึ่งมารดาของเธอเป็นบุตรสาวของประธานาธิบดีลี ส่วนบิดาของเธอคือ ชอย อุย-เคียน อาจารย์แพทย์ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล
    เว็บไซท์แห่งหนึ่ง รายงานว่า เสื้อแจ็คเก็ตแบบเดียวกันนี้ ถ้าเป็นของผู้ใหญ่จะมีราคาอยู่ที่3 ล้านวอน หรือราว 83,000 บาท ต่อมาภาพและข้อความนี้ ได้แพร่สะพัดไปทั่วอินเตอร์เน็ตอย่างรวดเร็วราวสายฟ้าแลบ พร้อมกับข้อความแสดงความเห็นตามมา เช่น โฉมหน้าอันแท้จริงของชนชั้นปกครองที่เป็นตัวแทนของคนแค่ 1 % ต่อมามีชาวเน็ตเข้ามาวิพากษ์วิจารณ์ตอบโต้ว่า ที่จริงเสื้อแบบนี้มีราคาแค่ 210,000 วอน หรือราว 5,800 บาท ตามเว็บไซท์ขายเสื้อผ้าของต่างประเทศ
    มีบล็อกเกอร์บางคน นำภาพของหลานสาวของอดีตประธานาธิบดีโรห์ มู-วอน สวมรองเท้าแตะเรียบ ๆ ที่ใส่ในช่วงฤดูร้อน มาเปรียบเทียบกับหลานสาวของประธานาธิบดีลี เพื่อให้เห็นการใช้ชีวิตที่แตกต่าง และมีคนนำภาพสมัยที่หลายสาวของอดีตประธานาธิบดีโรห์ สวมเสื้อผ้าของเบอร์เบอร์รี่ พร้อมกับบอกว่า แบรนด์หรูของอังกฤษแพงกว่ามงแคลร์เสียอีก
    บรรดานักการเมืองก็หันมาร่วมวงด้วย เช่น คิม ยู-ชุง โฆษกหญิงของพรรคฝ่ายค้าน เดโมเครติก ยูนิตี้ ให้ความเห็นว่า ราคาของแจ็คเก็ตหรู ที่หลานสาวประธานาธิบดีสวมใส่ คือชนวนเหตุแห่งความขัดแย้งที่เริ่มมาตั้งแต่เริ่มเทศกาลตรุษจีน ที่เปรียบเสมือนแผลเป็นที่ยากจะลบเลือนของชนชั้นแรงงานชาวเกาหลี ที่จะคอยกระตุ้นเตือนว่า แค่การไปซื้อขนมขบเคี้ยวหรือทักทายพูดคุยกับพ่อค้าแม่ค้า ที่เป็นชนชั้นต่ำกว่า ไม่ได้ช่วยเปลี่ยนโฉมหน้าอันแท้จริงที่ว่า เขาคือตัวแทนของคนมั่งคั่งที่มีอยู่แค่ 1 %ของประเทศได้
    http://www.bangkokbiznews.com/home/...คเก็ตหลานผู้นำโสมขาวก่อความขัดแย้งชนชั้น.html
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 26 มกราคม 2555 11:21
    โสมแดงเล็งลงโทษคนไม่ร้องไห้พิธีศพ'คิม จอง อิล'

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

    [​IMG]

    แหล่งข่าวในเกาหลีเหนือระบุว่า ทางการของเกาหลีเหนือเตรียมลงโทษประชากรที่ไม่ร้องไห้ในพิธีศพท่านผู้นำ คิม จอง อิล

    สำนักข่าวต่างประเทศเปิดเผยอ้างแหล่งข่าวในเกาหลีเหนือระบุว่า ทางการของเกาหลีเหนือเตรียมลงโทษประชากรที่ไม่ร้องไห้ในพิธีศพท่านผู้นำ คิม จอง อิล
    ทางการระบุว่า จะลงโทษคนที่ไม่ร้องไห้ ร้องไห้ไม่จริงจัง รวมทั้งคนที่ไม่เข้าร่วมชุมนุมแสดงไว้อาลัย อย่างน้อยเวลา 6 เดือน นอกจากนี้ ทางการเกาหลีเหนือยังจะมีการลงโทษขั้นรุนแรงต่อคนที่พยายามจะหนีออกนอกประเทศ หรือใช้โทรศัพท์ด้วย
    ทั้งนี้ แหล่งข่าวยังระบุว่า ในเวลา 07.00-19.00 น.ของทุกวัน ทางการจะมีการออกประกาศโฆษณาชวนเชื่อถึงความยิ่งใหญ่ของนายคิม จอง อิน เพื่อให้ประชาชนจงรักภักดีต่อผู้นำคนใหม่ไปตามท้องถนน และแหล่งที่มีผู้คนพลุกพล่าน เช่น ตลาด โรงงาน โรงเรียน เป็นต้น
    http://www.bangkokbiznews.com/home/...ดงเล็งลงโทษคนไม่ร้องไห้พิธีศพคิม-จอง-อิล.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2012
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 27 มกราคม 2555 13:57
    แฉคนงานผลิตไอพอด-ไอแพดจีนยืน24ชม.-เสี่ยงสารพิษ


    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    [​IMG]

    แฉภาพการทำงานในโรงงานผลิตไอพอด/ไอแพดคนงาน ยืนนาน 24 ชั่วโมง-เผชิญกับสารพิษรวมทั้งระเบิด

    เว็บไซท์แท็บลอยด์ เดลี่เมล ของอังกฤษ รายงานสภาพการทำงานภายในโรงงานจีน ที่เป็นศูนย์กลางการผลิตไอแพดและไอโฟน ให้กับแอ๊ปเปิล โดยพบว่า คนงานต้องทำงานล่วงเวลาตลอดทั้งสัปดาห์ โดยไม่มีวันหยุดแม้แต่วันเดียว ต้องพักอาศัยอยู่ด้วยกันภายในหอพักที่แออัด ต้องยืนนานจนขาบวม และเดินด้วยความลำบากหลังจากผ่านไป 24 ชั่วโมง
    บริษัทในจีน ที่เป็นซัพพลายเออร์ของแอ๊ปเปิล ถูกกล่าวหามานานแล้วว่า ทำลายขยะอันตรายอย่างผิดวิธีและมีประวัติที่ไม่เหมาะสมหลายอย่าง โดยเมื่อ 2 ปีก่อน มีคนงานเกือบ 140 คน ได้รับบาดเจ็บจากการใช้สารเคมีที่เป็นพิษทำความสะอาดจอไอโฟน และเกิดระเบิดอีก 2 ครั้ง เมื่อปีที่แล้ว ทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน บาดเจ็บมากกว่า 75 คน
    ด้านหนังสือพิมพ์นิวยอร์ค ไทม์ส รายงานว่า แอ๊ปเปิล ยักษ์ใหญ่แห่งนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค ซิลิคอน แวลลีย์ ซึ่งมีสำนักงานอยู่แคลิฟอร์เนีย ได้รับการเตือนเกี่ยวกับสภาพการทำงานที่เป็นอันตรายภายในโรงงานที่เฉิงตู ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ก่อนจะเกิดระเบิดที่โรงงานเหล่านี้
    นายนิโคลัส แอชฟอร์ด ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยในการทำงาน จากสถาบันเท็คโนโลยีแมทซาจูเสตส์ และอดีตที่ปรึกษากระทรวงแรงงาน ให้ความเห็นว่า ถ้าแอ๊ปเปิลได้รับการเตือนแล้ว แต่ไม่ได้ดำเนินการใด ๆ ก็เป็นเรื่องที่น่าตำหนิ
    ที่โรงงานในเฉิงตู ได้ขึ้นป้ายเตือนคนงานที่มีจำนวน 120,000 คนว่า " ยอมทำงานหนักในวันนี้ หรือจะหางานใหม่ในวันรุ่งขึ้น " ส่วนคนงานที่ไปสายจะต้องเขียนจดหมายสารภาพผิดด้วย
    รายงานเรื่องนี้ตามรุมเร้าแอ๊ปเปิล หลังจากประกาศผลกำไรในไตรมาสล่าสุดที่ 13,000 ล้านดอลลาร์ จากรายได้สุทธิ 46,000 ล้านดอลล่าร์ แต่แอ๊ปเปิลก็ยังต้องการให้โรงงานในต่างประเทศผลิตสินค้าเพิ่มมากขึ้น
    กลุ่มทนายด้านการจ้างงาน เปิดเผยว่า ผู้บริหารของแอ๊ปเปิล อ้างว่า ได้มีการปรับปรุงสภาพการทำงานตามโรงงานต่าง ๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และยังกำหนดข้อบังคับด้านแรงงานและความปลอดภัยไปยังซัพพลายเออร์ แต่ปัญหาก็ยังคงมีอยู่ ซัพพลายเออร์มากกว่าครึ่งที่ถูกตรวจสอบโดยแอ๊ปเปิล ต่างละเมิดข้อบังคับอย่างน้อย 1 ข้อ เป็นประจำทุกปี นับจากปี2550 เป็นต้นมา และพบว่า บางกรณียังมีการละเมิดกฎหมายอีกด้วย
    นิวยอร์ค ไทม์ส รายงานด้วยว่า คนงานของฟ็อกซ์คอนน์ เทคโนโลยี ฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดจากหอพัก หลังจากทำต้นแบบไอโฟนหาย เมื่อปี 2552 และแรงงานอีก 18 คน พยายามฆ่าตัวตายเมื่อปี 2 ปีก่อน ทำให้ฟ็อกซ์คอนน์ ต้องนำตาข่ายไปขึงไว้เพื่อป้องกันไม่ให้คนงานฆ่าตัวตาย ด้วยการกระโดดลงมาจากหอพักอีก พร้อมกับเริ่มปรับปรุงด้านสุขภาพจิตของคนงาน
    นายหลี่ หมิงฉี ซึ่งทำงานให้กับฟ็อกซ์คอนน์ จนถึงฤดูใบไม้ผลิปีที่แล้ว ทั้งยังช่วยจัดการโรงงานในเฉิงตูที่ระเบิดไป เตรียมยื่นฟ้องฟ็อกซ์คอนน์ โดยระบุว่า ไม่เคยสนใจอะไรมากไปกว่าการเพิ่มคุณภาพให้กับผลผลิต และลดต้นทุนการผลิต เรื่องสวัสดิการของคนงานไม่ได้อยู่ในความสนใจของพวกเขา
    เหตุระเบิดที่โรงงานในเฉิงตู เป็นผลมาจากฝุ่นอลูมิเนียมที่ก่อตัวมานาน 3 สัปดาห์ หลังจากการผลิตไอแพด และอีก 7 เดือนต่อมาได้เกิดระเบิดที่เซี่ยงไฮ้ โชคดี ไม่มีคนเสียชีวิต อดีตผู้บริหารของแอ๊ปเปิลคนหนึ่ง อ้างว่า บริษัททราบดีว่ามีการล่วงละเมิดแรงงานในโรงงานบางแห่งมานานถึง 4 ปีแล้ว แต่ก็ยังเดินหน้าต่อไปด้วยเหตุผลที่ว่า " ระบบทำงานให้เรา "
    ซัพพลายเออร์ของแอ๊ปเปิล แทบจะไม่ถูกตั้งข้อจำกัดในการผลิตสินค้า ผู้บริหารของแอ๊ปเปิล เพียงแต่สอบถามรายละเอียดเรื่องค่าใช้จ่าย จำนวนแรงงานและอัตราเงินเดือน มีรายงานว่า คนงานที่โรงงานวินเท็ค ซัพพลายเออร์อีกแห่งหนึ่งของแอ๊ปเปิล ผละงานประท้วงหลังจากมีข่าวลือว่า พวกเขาได้รับสารพิษที่ระเหยได้รวดเร็วกว่าแอลกอฮอล์ถึง 3 เท่า ตอนขัดถูหน้าจอ
    สตีฟ จ็อบส์ ผู้ร่วมก่อตั้งแอ๊ปเปิล ที่เสียชีวิตไปเมื่อเดือนตุลาคม เคยพูดเมื่อ 2 ปีก่อนว่า แอ๊ปเปิลเป็นผู้นำโลกในเรื่องของความเข้าใจสภาพการทำงานของห่วงโซ่อุปทาน โรงงานจำนวนมากที่ผลิตสินค้าให้แอ๊ปเปิล มีร้านอาหาร โรงภาพยนตร์ โรงพยาบาล และสระว่ายน้ำ ซึ่งในขณะที่คนงานบอกว่าพึงพอใจโรงงานของพวกเขา แต่สภาพการทำงานกลับไร้ความปรานี
    ฟ็อกซ์คอนน์ เปิดเผยกับนิวยอร์ค ไทม์สว่า มีคนงานแค่ 1 ใน 20 ในสายการผลิตที่ต้องยืนทำงาน และบริษัทก็มีประวัติที่ดีมากในด้านความปลอดภัย แต่หนังสือพิมพ์เดอะเมล ฉบับเมื่อวันอาทิตย์ ที่เคยเข้าไปดูสภาพโรงงานฟ็อกซ์คอนน์ ที่ผลิตไอพอด ที่เมืองเสิ้นเจิ้นของจีนเมื่อปี 2549 รายงานว่า เรื่องชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน การอาศัยอยู่อย่างแออัด และการลงโทษต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้บริหารแอ๊ปเปิลช็อคได้
    อดีตผู้บริหารของแอ๊ปเปิลคนหนึ่ง เปิดเผยต่อนิวยอร์ค ไทม์สว่า "เราใช้พยายามอย่างหนักเพื่อให้สิ่งที่ดีกว่า แต่คนส่วนใหญ่คงจะขุ่นเคืองถ้าได้เห็นว่า ไอโฟนที่พวกเขาใช้มีที่มาอย่างไร"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2012
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 25 มกราคม 2555 11:23
    ยุติการทำกำไรของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนบนความเจ็บป่วยของประชาชน บทเรียนจากเบลเยียม

    โดย : นายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ นักศึกษาปริญญาโทสาธารณสุขศาสตร์ สถาบันเวชศาสตร์เขตร้อน เมืองแอนเวิร์ป ประเทศเบลเยียม

    สุขภาพและความเจ็บป่วย ต้องไม่ใช่สินค้าเพื่อแสวงหากำไร หลักการนี้เป็นหลักสากล แต่กำลังเลอะเลือนเพราะระบบทุนนิยมสามานย์

    ทิศทางของการพัฒนาสำหรับประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยระบบทุนรวมทั้งประเทศไทยคือ การกระจายอำนาจ การลดขนาดของภาครัฐ การส่งเสริมภาคเอกชน ซึ่งเป็นหลักการใหญ่ในเรื่องความสัมพันธ์เชิงอำนาจในสังคม
    แต่สำหรับสุขภาพและความเจ็บป่วย การกระจายอำนาจและการส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชนต้องมีลักษณะพิเศษ เพราะสุขภาพและความเจ็บป่วยเป็นเรื่องมนุษยธรรม ไม่ใช่สินค้า ไม่ใช่การค้ากำไรจนเสมือนการทำนาบนหลังคนหรือการทำเงินบนความป่วยไข้ของเพื่อนมนุษย์

    บทเรียนจากประเทศเบลเยียมนั้นสะท้อนการจัดการที่น่าสนใจ บนความสมดุลระหว่างการค้าเสรีแบบทุนนิยมและการดูแลสิทธิพื้นฐานในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ

    ในปัจจุบันนี้ประเทศทุนนิยมเต็มรูปแบบเช่นประเทศเบลเยียมนั้น ดูแลสุขภาพของประชาชนด้วยสองระบบสำคัญคือ ระบบคลินิกแพทย์เอกชน และระบบโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร

    ระบบคลินิกแพทย์เอกชนก็เหมือนกับคลินิกแพทย์ในประเทศไทยที่แพทย์มักจะมาเปิดคลินิกในช่วงเย็น แต่ที่นี่เขาเป็นแพทย์คลินิกเต็มเวลา ประชาชนที่เจ็บป่วยสามารถโทรศัพท์มานัดและมาหาตามเวลานัดได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็จะเลือกไปหาคลินิกใกล้บ้าน ไปหาหมอคนเดิมที่รู้จักผู้ป่วยและครอบครัวเป็นอย่างดี จนกลายเป็นระบบแพทย์ประจำครอบครัวขึ้นมา เป็นระบบบริการด่านหน้าหรือระบบบริการปฐมภูมิ

    ประชาชนทุกคนที่นี่จะมีหลักประกันสุขภาพอย่างน้อยหนึ่งประเภท ส่วนใหญ่อยู่ในระบบประกันสังคม เพราะเกือบทุกคนมีรายได้เป็นเงินเดือน เมื่อไปรับการรักษาที่คลินิกก็จะจ่ายเงินค่าตรวจค่าปรึกษาให้กับแพทย์ในอัตราตามอัตรามาตรฐานของเมืองนั้นๆ ผู้ป่วยจะไม่ได้ยาแต่ได้ใบสั่งยามาจากแพทย์แล้วต้องนำใบสั่งยาไปซื้อยาที่ร้านเภสัช ผู้ป่วยจะนำใบเสร็จทั้ง 2 ใบไปขอรับเงินคืนจากหน่วยงานประกันสุขภาพในภายหลัง

    หากเจ็บป่วยมากกว่าที่ความสามารถของแพทย์ที่คลินิกจะรักษาได้ ก็จะส่งต่อไปที่โรงพยาบาล หรือผู้ป่วยอาจเลือกไปโรงพยาบาลเองโดยไม่ผ่านระบบส่งต่อก็ได้ ระบบโรงพยาบาลที่นี่ก็ไม่ได้แตกต่างจากประเทศไทย แต่ที่น่าสนใจคือ ในปัจจุบันนี้ ประเทศทุนนิยมเต็มขั้นหลายประเทศในยุโรปรวมทั้งเบลเยียม เขาไม่มีทั้งโรงพยาบาลของรัฐและโรงพยาบาลเอกชนที่แสวงหากำไร เขามีแต่โรงพยาบาลเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรเท่านั้น

    แต่เดิมนั้นระบบสุขภาพของเบลเยียมมีทั้งโรงพยาบาลของรัฐและโรงพยาบาลเอกชนแบบแสวงหากำไร เมื่อระบบทุนนิยมพัฒนามากขึ้น หน่วยงานบริการของราชการเกือบทั้งหมด ได้รับการแปรรูปเป็นองค์กรเอกชนในกำกับของรัฐ ซึ่งบริหารแบบเป็นอิสระ หรือถ่ายโอนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือชุมชน รวมทั้งโรงพยาบาลของรัฐที่มีประสิทธิภาพต่ำในสายตาของระบบทุนนิยมก็ได้แปรรูปไปเป็นโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร นั่นคือโรงพยาบาลยังทำหน้าที่เหมือนเดิม ยังต้องการการบริหารที่มีประสิทธิภาพและมีกำไร ต้องจัดบริการให้ดีเพื่อประชาชนจะได้มาใช้บริการ เพราะการที่มีผู้ป่วยเลือกมาใช้บริการหมายถึงกำไรและความอยู่รอดขององค์กร แต่กำไรนั้นไม่ได้เพื่อเข้ากระเป๋าใคร แต่นำมาบริหารจัดการสร้างคุณภาพในการดูแลผู้ป่วยและดูแลคนทำงานขององค์กร

    ส่วนโรงพยาบาลเอกชนที่มีนักธุรกิจด้านสุขภาพเป็นเจ้าของก็ทยอยปิดตัวลงไปจนปัจจุบันนี้ ไม่มีโรงพยาบาลเอกชนแบบที่เข้าตลาดหุ้นหรือมีกลุ่มนักธุรกิจเป็นเจ้าของเพื่อการทำกำไรแม้แต่แห่งเดียว เขาได้ปิดกิจการหรือแปรรูปเป็นโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไรทั้งหมด

    สำหรับเบลเยียมเขาวางระบบให้โรงพยาบาลทุกแห่งนั้นต้องเป็นโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร นั่นหมายความว่าองค์กรคือโรงพยาบาลเอกชนนั้นมีกำไรได้ แต่กำไรนั้นหมุนเวียนในการระบบ เพื่อพัฒนาบริการเป็นหลัก รวมทั้งการดูแลสวัสดิการเงินเดือนโบนัสเจ้าหน้าที่ในอัตราที่รัฐกำกับเพดานไว้ ไม่มีการนำไปจัดสรรเป็นเงินปันผลผู้ถือหุ้นหรือนำเข้ากระเป๋าส่วนตัว ในปัจจุบันระบบการแพทย์ในเบลเยียมทั้งหมดแทบจะเรียกได้ว่า เป็นระบบเอกชนที่มีจุดมุ่งหมายสาธารณะ (private system for public purpose) ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับโรงพยาบาลเอกชนในประเทศอเมริการวมทั้งในประเทศไทยที่นิยมตามก้นอเมริกา ที่ยังมุ่งแสวงหากำไรบนความเจ็บป่วยของผู้คน

    วิธีการที่รัฐบาลทำให้ไม่มีโรงพยาบาลเอกชนเพื่อทำกำไรแบบที่มีมากมายในประเทศสหรัฐอเมริกาหรือประเทศไทย เขาก็ใช้วิถีทางในระบบทุนนิยม คือไม่ได้ใช้อำนาจแบบประเทศเผด็จการ ที่นี่เขาจะไม่ใช้การจำกัดสิทธิด้วยกฎระเบียบ เพราะขัดต่อหลักเสรีภาพและการค้าเสรี ซึ่งเป็นหลักการใหญ่ของประเทศตะวันตก แต่เขาก็มีวิธีที่ยึดหลักการแต่ใช้การบริหารจัดการวางระบบได้ กล่าวคือ องค์กรประกันสังคมของรัฐ (social security organization) ซึ่งเป็นองค์กรถือเงินที่หักจากผู้ประกันตนและนายจ้าง โดยองค์กรนี้เป็นเสมือนองค์กรซื้อบริการ เขาจะซื้อบริการจากใครหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นกับนโยบายและการตัดสินใจจากคณะกรรมการประกันสังคมและรัฐบาล

    องค์กรประกันสังคมนี่เองที่ประกาศนโยบายที่จะซื้อบริการจากโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไรเท่านั้น ใครไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนแบบหวังผลกำไรก็ไม่ว่ากันแต่ต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลเองเต็มจำนวน นักลงทุนคนใดจะมาเปิดโรงพยาบาลเอกชนแบบแสวงหากำไรซึ่งเป็นสิทธิที่ทำได้ตามระบอบทุนนิยม แต่มั่นใจได้เลยว่า ขาดทุนและต้องปิดตัวเองลงอย่างแน่นอน เพราะเกือบทุกคนในประเทศอยู่ในระบบประกันสังคม แม้ว่าผู้ประกันตนย่อมมีเสรีภาพในการเลือกไปใช้บริการที่ใดก็ได้ แต่เมื่อต้องจ่ายเงินเองส่งผลให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีใครเลือกไปใช้บริการในที่ตนต้องเสียเงินเพื่ออีก ในที่สุดทุกโรงพยาบาลเอกชนแบบหวังผลกำไรก็ทยอยปิดตัว ขายกิจการให้กับโรงพยาบาลของมูลนิธิหรือของชุมชนไปในที่สุด

    ด้วยระบบประกันสังคมตั้งกติกาในการบริหารเงินประกันสังคมที่มาจากผู้ประกันตน,นายจ้างและภาษีประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการจะจ่ายค่ารักษาแทนผู้ประกันตนให้กับโรงพยาบาลที่ไม่แสวงหากำไรและในระดับคลินิกเอกชนเท่านั้น กลไกการกำกับด้วยมาตรการทางการเงินนี้ เป็นกลไกหลักกลไกเดียวที่มีประสิทธิภาพการจัดการสูงสุดในโลกทุนนิยม

    วิธีคิดของทุนนิยมในยุโรปนั้น ไม่เหมือนวิธีคิดทุนนิยมในอเมริกา ในอเมริกาทุกอย่างขายได้ ทำกำไรได้ แม้แต่สุขภาพและชีวิตมนุษย์ก็ทำกำไรได้ แต่ที่ยุโรปแนวคิดเรื่องสุขภาพและการศึกษานั้น เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานสำหรับคนทุกคนที่ต้องสามารถเข้าถึงได้ โดยต้องไม่มีอุปสรรคโดยเฉพาะด้านการเงิน คนรวยหรือคนจนต้องสามารถเข้าถึงบริการด้านการรักษาพยาบาลและการศึกษาที่มีคุณภาพโดยเท่าเทียมกัน เพราะนี้คือการธำรงซึ่งศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์และความเท่าเทียมในฐานะความเป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญ

    โรงพยาบาลเอกชนแบบแสวงหากำไรเข้ากระเป๋านักลงทุนนั้น เป็นหายนะของระบบสุขภาพที่ดีเพื่อพลโลก เราสามารถมีระบบสุขภาพที่ดีและต้นทุนต่ำได้ (good health at low cost) เมื่อออกแบบระบบให้สุขภาพเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแสวงหากำไรเข้ากระเป๋าผู้ถือหุ้น อยากรวยก็ให้ไปลงทุนในธุรกิจอื่น

    ธุรกิจโรงพยาบาลในปัจจุบันคือธุรกิจที่อาศัยช่องว่างของการบริการภาครัฐที่ยังไม่สมบูรณ์ ทำกำไรเพื่อประโยชน์ส่วนตน ยิ่งเข้าตลาดหุ้นก็ยิ่งแพงอย่างไร้มนุษยธรรม ในอุดมคตินั้นโรงพยาบาลเอกชนสามารถเติมเต็มช่องว่างเพื่อสร้างสุขภาพที่ดีกว่าของประชาชนได้อย่างมาก แต่ต้องเปลี่ยนตัวเองเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร

    หากระบบโรงพยาบาลเอกชนเป็นไปเพื่อการไม่แสวงหากำไร เราจะสามารถล้างไตผู้ป่วยเพิ่มได้อีกหลายเท่าตัว จะไม่มีวิธีคิดที่ว่าไม่รับล้างไตในอัตราที่ สปสช.จ่ายเพราะทำให้เสียราคา กำไรเข้ากระเป๋าผู้ถือหุ้นบนความตายของผู้ป่วยจะไม่มี เพราะราคาที่กำหนดนั้นเพียงพอต่อการดำเนินการมีกำไรแต่ไม่มากจนเกินไป

    เราจะไม่ต้องซื้อเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์คนเฉพาะในกรุงเทพมีเครื่องมากกว่าเกาะอังกฤษทั้งประเทศ เพราะเราจะสามารถใช้ร่วมกันได้ ลดการเสียดุลการค้า เพิ่มประสิทธิภาพในระบบสุขภาพอีกมากมาย

    เราจะไม่ต้องมีปัญหาสมองไหลของอาจารย์แพทย์ที่เก่งจากจุฬาฯ รามาฯ ศิริราช ไปยังโรงพยาบาลเอกชนที่จ่ายค่าตัวซื้อแพทย์คนละหลายล้านเหมือนซื้อตัวนักฟุตบอลไปรักษาแต่คนรวย

    เราจะไม่มีปัญหารถชนคนหน้าโรงพยาบาล แต่ไม่สามารถพาผู้ป่วยที่สาหัสเข้าไปรักษาได้ ต้องพาไปโรงพยาบาลของรัฐที่ไกลกว่าทั้งที่สาหัส เพียงเพราะเป็นผู้ป่วยที่ไม่ทำกำไร

    และที่สำคัญ เราจะไม่มีปัญหาสองมาตรฐานทางการแพทย์ในการรักษาชีวิตและความเจ็บป่วยของผู้คน เพราะเมื่อไม่แสวงหากำไร การตัดสินใจก็จะบนพื้นฐานความรู้ทางวิชาการและประโยชน์ของผู้ป่วยตามบริบทแต่ละคน ซึ่งก็คือการเดินไปสู่การมีมาตรฐานเดียวกันนั่นเองที่มีแนวทางวิชาการเป็นแกนกลาง ไม่ใช่ล้มหัวโนก็ส่งเอ็กซเรย์สมองเพราะหวังกำไรจากความกลัวของผู้ป่วยโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางวิชาการ

    วันนี้สังคมไทยกำลังอยู่ในช่วงวิกฤตของการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หลังจากที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บอร์ด สปสช. ได้ถูกยึดโดยความร่วมมือของฝ่ายแพทย์พาณิชย์ กลุ่มบริษัทยาต่างชาติและกลุ่มผลประโยชน์เดิมที่สูญเสียอำนาจไป ภายใต้การรู้เห็นเป็นใจของรัฐบาล ซึ่งอาจถอยหลังลงคลองไปอยู่ภายใต้วิธีคิดแบบจำกัดสิทธิ สร้างมาตรฐานบริการชั้นสองเพราะถือว่าบริการฟรี ปรับทิศทางการพัฒนาจากการสร้างหรือทำให้ทิศทางการบริหารจัดการไปสู่การซ่อมมากกว่าสร้างสุขภาพ ซึ่งใช้งบมหาศาลและเป็นประโยชน์กับธุรกิจโรงพยาบาลมากกว่าประชาชน

    ปัญญาชนเสื้อแดงเสื้อเหลืองควรออกมาร่วมผลักดันการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสำหรับคนทุกคน ให้เป็นระบบที่เป็นหนึ่งเดียวกันของทั้ง 3 กองทุนคือ กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กองทุนประกันสังคม และกองทุนสวัสดิการข้าราชการและครอบครัว ให้มีการบริหารจัดการร่วมไปสู่มาตรฐานเดียวกัน และจำกัดบทบาทของธุรกิจโรงพยาบาลลงไปให้น้อยที่สุด จนในที่สุดเปลี่ยนเป็นโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร เฉกเช่นที่ประเทศทุนนิยมต้นตำรับอย่างในยุโรปได้ทำ เพราะสุขภาพและความเจ็บป่วย ต้องไม่ใช่สินค้าเพื่อการทำกำไรเข้ากระเป๋าใคร

    รัฐบาลจะฉลาดพอไหมที่จะกำหนดทิศทางเดินเพื่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบสุขภาพที่ทั่วโลกยอมรับ เฉกเช่นที่พรรคไทยรักไทยเคยสร้างประวัติศาสตร์ในนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค แต่น่าเศร้าใจที่วันนี้ 10 ปีหลังนโยบายหลักประกันสุขภาพที่ได้สร้างคุณูปการแก่สังคมไทยกลับกำลังจะถูกทำลายด้วยความไร้เดียงสาและไร้ทิศทางของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย
    http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/reader-opinion/20120125/431959/%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99-%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2012
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 27 มกราคม 2555 07:18
    เวทีดาวอสย้ำ "ทุนนิยม" ตัวการสร้างความเหลื่อมล้ำ

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    <!-- Begin Media Content --><!-- Media Picture content --><!-- Begin More Pics-->
    [​IMG]

    นักลงทุนจากหลากหลายประเทศเห็นพ้องว่า "ทุนนิยม" เป็นหนึ่งในตัวการสำคัญที่ทำให้ความไม่เท่าเทียมขยายวงมากขึ้น

    ข้อมูลจาก "บลูมเบิร์ก โกลบอล โพล" ที่สำรวจความเห็นของบรรดานักธุรกิจและนักการเงินชั้นนำที่ร่วมประชุมในเวทีดาวอส 1,209 คน ระหว่าง 23-24 มกราคม พบว่า ความไม่เท่าเทียมเรื่องรายได้สร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ และรัฐบาลจำเป็นต้องลงมือจัดการเรื่องนี้ ไม่อย่างนั้นก็จะกลายเป็นชนวนที่ก่อให้เกิดการชุมนุมคล้าย "ยึดวอลล์สตรีต" เกิดขึ้นทั่วโลก
    ผลสำรวจยังสะท้อนถึงบทบาทของอุตสาหกรรมการเงินที่มีในสังคม โดยผู้บริหาร 7 ใน 10 คน มองว่า ธนาคารมีอิทธิพลต่อรัฐบาลมากเกินไป
    นายไมเคิล เดิร์กส หัวหน้านักยุทธศาสตร์ของเอฟเอ็กซ์โปร ไฟแนนเชียล เซอร์วิสเซส ระบุว่า ทุนนิยมกำลังเผชิญวิกฤต เนื่องจากรายได้และความร่ำรวยที่ไม่เท่าเทียมกลายเป็นปัญหาใหญ่และขยายวงมากขึ้นในเขตเศรษฐกิจตะวันตก ทั้งยังทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมของคนแต่ละวัย จึงจำเป็นที่รัฐบาลต้องเข้ามาแทรกแซงขนานใหญ่ เพราะเศรษฐกิจไม่สามารถอยู่รอดได้ หากไม่มีการลงทุนเพื่อคนเจนเนอเรชั่นใหม่ๆ
    ทั้งนี้ มากกว่า 70% ของคนที่ตอบแบบสอบถามเชื่อว่า ระบบมีปัญหา ราว 32% มองว่า จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบต่างๆ ส่วน 39% มองว่า ความสับสนวุ่นวายจะคลี่คลายลงได้เอง
    ราว 70% มองว่า ปัญหาเศรฐกิจในยุโรปจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความไร้เสถียรภาพทางสังคมในปี 2555 ไม่ว่าจะเป็นการก่อจลาจล หรือการก่อความไม่สงบ ขณะที่นักลงทุนอเมริกัน 459 คน ชื่นชมทุนนิยมมากกว่านักลงทุนจากที่อื่นๆ และราว 1 ใน 5 ยอมรับว่าต้องมีการยกเครื่องระบบ
    แต่นักลงทุนอเมริกันยังต้องระวังมาตรการของรัฐบาลที่จะรับมือกับความไม่เท่าเทียมเรื่องรายได้ โดยผู้ตอบแบบสอบถามครึ่งหนึ่งมองว่า การเข้ามาแทรกแซงของภาครัฐอาจเป็นเรื่องไม่เหมาะสม ขณะที่มากกว่า 3 ใน 4 ของนักลงทุนยุโรป และกว่า 4 ใน 5 ของนักลงทุนเอเชีย มองเห็นบทบาทของรัฐในการจัดการเรื่องนี้
    นายเดวิด รูเบนสไตน์ ผู้ร่วมก่อตั้งคาร์ไลล์ กรุ๊ป กล่าวในวงเสวนาหัวข้อการค้าเสรีในอนาคต ว่า โมเดลทุนนิยมสไตล์จีนอาจจะแพร่หลาย หากสหรัฐและชาติยุโรปตะวันตกไม่สามารถแก้ปัญหาหนี้ได้
    ทั้งนี้ ใกล้กับบริเวณการประชุมมีป้ายต่อต้านอุตสาหกรรมการเงินและคนรวยที่มีเพียง 1% ในสังคม โดยมีเนื้อความว่า "ยึดดับเบิลยูอีเอฟ" (OccupyWEF) ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากกลุ่มยึดวอลล์สตรีต ซึ่งสอดคล้องกับความกังวลของผู้ตอบแบบสอบถามครั้งนี้
    โดยกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถาม ระบุว่า ความเหลื่อมล้ำเรื่องรายได้กระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่วน 2 ใน 3 คิดว่า เป็นเรื่องเหมาะควรที่รัฐบาลจะหานโยบายเพื่อรับมือกับเรื่องนี้ และ 48% มองว่าสามารถดำเนินการเรื่องนี้เมื่อไรก็ได้ ขณะที่น้อยกว่า 1 ใน 5 เห็นว่านี่เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องจัดการ
    ด้านนายสตีฟ มอร์ตัน ผู้อำนวยการนาติซิส ซิเคียวริตี้ส์ ในนิวยอร์ก ระบุว่า ฐานะที่ไม่เท่าเทียมเป็นปัญหาใหญ่และขยายวงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งไม่ปลอดภัยนัก เพราะคนระดับล่างของปิระมิดไม่มีเงินมากพอที่จะซื้อสิ่งต่างๆ และช่วยประคับประคองเศรษฐกิจให้ไปต่อได้
    น่าสนใจว่า อุตสาหกรรมการเงินถูกวิพากษ์วิจารณ์ไม่น้อย เพราะอิทธิพลที่มากเกินไป โดยราว 2 ใน 3 มองเห็นว่าการกระทำของนายแบงก์ถูกขับเคลื่อนด้วยความละโมบและเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจ และมากกว่า 4 ใน 5 ส่งเสียงเรื่องได้โบนัสก้อนโต ขณะที่บริษัทไม่ได้ทำผลงานดีขนาดนั้น มีเพียง 14% ที่ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดที่แบงก์จะต้องปรับกฎระเบียบใหม่ แทนที่จะใช้กรอบความคิดใหญ่เกินกว่าจะปล่อยให้ล้ม
    นายแอนสัน โรสวอลล์ จากบริษัทบริการการเงินในออสเตรเลีย "บีบีวาย" กล่าวว่า วัฒนธรรมของแบงก์เกี่ยวข้องกับความเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในมุมที่คนในสังคมส่วนใหญ่มองว่า แบงก์ดำเนินการตามเป้าเรื่องรายได้ และไม่เคารพต่อผลกระทบเชิงลบที่อาจเกิดขึ้นต่อชุมชน อย่างความจริงที่แบงก์รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล ในขณะที่ผู้คนตกงานและสูญเสียบ้านโดยไม่ได้รับการเหลียวแล ซึ่งนี่อาจทำลายชื่อเสียงของสถาบันการเงินหลักไปตลอดกาล
    ทว่านักลงทุนจากสหรัฐไม่ค่อยเห็นความสำคัญของการยกเครื่องกฎระเบียบแบงก์ มีเพียง 1 ใน 3 ที่เชื่อว่าแบงก์จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกฎระเบียบ ผิดกับนักลงทุนจากยุโรปและเอเชียที่มองความสำคัญของเรื่องนี้

     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    มูลนิธิร็อคกี้ฯ ทุ่ม 16 ล้าน ผุดศูนย์ถ่ายทอด “ระบบประกันสุขภาพนานาชาติ”

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD class=body vAlign=middle align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=middle align=left>27 มกราคม 2555 18:29 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    “ร็อคกี้เฟลเลอร์” หนุนระบบประกันสุขภาพของไทย ทุ่ม 16 ล้าน เปิดศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านหลักประกันสุขภาพ กระตุ้นกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

    วันนี้ (27 ม.ค.) ที่โรงแรมเซนทาราแกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์ กทม.มีการประชุมวิชาการ เจ้าฟ้ามหิดลฯ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจากประเทศต่างๆ 40 ประเทศ ดร.สุวิทย์ วิบูลณ์ผลประเสริฐ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการควบคุมโรค นักวิชาการสาธารณสุข กล่าวว่า หลักประกันสุขภาพประเทศไทย มีมากว่า 10 ปี เป้าหมายสำคัญ คือ ต้องการให้ทุกคนได้สิทธิ์ในการรับการประกันสุขภาพถ้วนหน้า และประเทศไทยถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก ในหลายประเทศที่กำลังพัฒนาสนใจมาเรียนรู้กระบวนการทำงานของไทย ทางมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ เล็งเห็นความสำคัญการศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านหลักประกันสุขภาพให้ทั่วโลก เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ร่วมกัน

    ด้าน เฮเธอร์ เกรดี้ รองประธานมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ฝ่ายยุทธศาสตร์โครงการ เปิดเผยว่า ทางมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ทำงานทั่วโลก ประเทศไทยเป็นตัวอย่างที่ดีของประเทศกำลังพัฒนาที่ประสบความสำเร็จในการสร้างหลักประกันสุขภาพให้กับคนในประเทศ ปัจจุบันประเทศต่างๆ จำนวนมากได้กำหนดให้เรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นวาระแห่งชาติ ทางมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ จึงสนับสนุนงบประมาณให้ประเทศไทยได้ดำเนินการเพื่อสร้างความร่วมมือกลุ่มระเทศต่างๆ ในการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้กับประชาชนของตน

    ขณะที่ นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช.กล่าวว่า การทำงานของ สปสช.ได้ดำเนินการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพมาอย่างต่อเนื่อง ความสำเร็จที่ผ่านมาเกิดจากการบริหารงบประมาณในรูปแบบปลายเปิด กำหนดสิทธิ์ให้ประชาชนได้รับประโยชน์ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ประสบการณ์การพัฒนาดังกล่าว ทำให้ สปสช.พร้อมป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญสำหรับหน่วยงานต่างๆ ที่ต้องการการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

    นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผู้อำนวยการ สวรส.กล่าวว่า โครงการพัฒนาศักยภาพเพื่อบรรลุเป้าหมายการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ถูกพัฒนาขึ้นโดยอาศัยจุดแข็งขององค์กรต่างๆ ในระบบสุขภาพไทย โดยแต่ละอค์กรจะมีส่วนในการถ่ายทอดบทเรียน ประสบการณ์ ในแต่ละด้านให้กับบุคลากรประเทศต่างๆ ที่สนใจ โดยฐานข้อมูลอยู่ที่ สปสช.สำหรับ สวรส.มีหน้าที่จัดศูนย์พัฒนาศักยภาพ โดยได้รับการสนับสนุนจาก มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ มีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี

    ตั้งแต่ 1 ธ.ค.55 ถึงวันที่ 30 พ.ย.57 โดยมเป้าหมายเพื่อสร้างกระบวนการที่จะส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ด้านวิชาการที่มีประสิทธิภาพ

    Quality of Life - Manager Online -
     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 29 มกราคม 2555 14:11
    ฉันจนเพราะเธอ

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    <!-- Begin Media Content --><!-- Media Picture content --><!-- Begin More Pics-->
    [​IMG]

    สองสาวชาวยูเครนลงทุนเปลือยช่วงบนประท้วงการประชุมที่ดาวอส เพื่อเรียกร้องให้ผู้นำโลกหันมาใส่ใจปัญหาความยากจน

     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 29 มกราคม 2555 08:24
    ฝันที่ไม่เป็นจริงกับช่องว่างชนชั้นในอเมริกา

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    <!-- Begin Media Content --><!-- Media Picture content --><!-- Begin More Pics-->
    [​IMG]

    วิสัยทัศน์แบบประชานิยมของโอบามาที่พูดถึงสังคมเสมอภาคมีขึ้นในช่วงที่ความฝันของคนอเมริกันกำลังกลายเป็นจริงยากขึ้นเพราะเหลื่อมล้ำกันมากขึ้น
    <!--<script type="text/javascript"> google_ad_channel = '3694366847'; //slot number google_ad_type = 'text'; //media image, text, html, flash google_max_num_ads = '3'; //amount Ads //google_image_size = '338X280'; //google_skip = '3'; var ads_ID = 'Google-adsense-indetail'; // set ID for main Element div var displayBorderTop = false; // default = false; //var displayLandScape = true; // false=Default, true=landscape *** if set Landscape not arrow ad type image var position_ad_detail ='in'; // ''=Default, in=Intext, under=TextUnderDetail </script> <script type="text/javascript" src="http://www.bangkokbiznews.com/home/main/js/adsense/AdsenseJS.js"></script> <script type="text/javascript" src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js"></script>-->[​IMG]
    <NOSCRIPT></NOSCRIPT><!-- <iframe src="http://www.bangkokbiznews.com/home/banner/all-ad-300-indetail.php" frameborder="0" scrolling="no" width="300" height="250"></iframe> -->นายโอบามา ใช้โอกาสของการแถลงนโยบายประจำปี เรียกร้องให้ขึ้นภาษีคนรวย ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่าเป้าหมายของเขาคือนายมิตต์ รอมนีย์ มหาเศรษฐีผู้ก่อตั้งบริษัทเงินทุนเพื่อการลงทุน และกำลังเป็นตัวเก็งผู้แทนพรรครีพับลิกันเพื่อชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดี
    แต่นักวิเคราะห์มองว่าการโต้กันไปมาด้านเศรษฐกิจ ระหว่างพรรคเดโมแครตของโอมาบากับพรรครีพับลิกัน ไม่สามารถปกปิดช่องว่างด้านฐานะที่ถ่างกว้างขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
    "ความฝันของอเมริกากำลังเจอปัญหา เพราะการไปถึงความฝันนั้นเป็นเรื่องยากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับคนอเมริกัน อีกทั้งคนจำนวนมากยังมองว่าเกมนี้มีการโกงหรือวางตัวคนไว้แล้ว โดยคนระดับสูงๆ ได้วางแนวทางที่จะเอื้อประโยชน์แก่ตัวเองเท่านั้น" เดวิด แมดแลนด์ ผู้อำนวยการโครงการคนงานอเมริกันแห่งกลุ่มคลังสมองอเมริกันโพรเกรสส์ ระบุ
    กลุ่มคลังสมองสถาบันบรูกกิงส์ และพิวแชริเทเบิลทรัสต์ ทำการวิจัยที่ครอบคลุมที่สุดชิ้นหนึ่ง เกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ในสหรัฐ ด้วยการอาศัยข้อมูลของทางการระหว่างปี 2522-2547 พบว่ารายได้หลังเสียภาษีของคนอเมริกันที่มีฐานะยากจนมากที่สุดจำนวน 1 ใน 5 เพิ่มขึ้น 9% ขณะที่รายได้ของคนรวยที่สุดจำนวน 1 ใน 5 เพิ่มขึ้น 69% ส่วนผู้มีฐานะมหาเศรษฐีมีรายได้เพิ่มขึ้น 176%
    รายงานชิ้นเดียวกัน ระบุว่าค่าตอบแทนของหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) เมื่อเทียบกับรายได้ของพนักงานนั้น สูงขึ้นไปอีกในช่วงปี 2521-2548 โดยค่าตอบแทนของซีอีโอทะยานจาก 35 เท่าเป็นเกือบ 262 เท่าของรายได้คนงานโดยเฉลี่ย
    ความไม่เท่าเทียมเช่นนี้ถูกหยิบยกขึ้นมาชูให้เป็นประเด็นโดยกลุ่ม "ยึดครองวอลล์สตรีท" ซึ่งชุมนุมที่นิวยอร์ก จนกระทั่งหลายชาติได้แรงบันดาลใจและทำตามบ้าง
    อีริน เคอร์เรียร์ ผู้จัดการแห่งโครงการอีโคโนมิกโมบิลิตีของพิว กล่าวว่ากระแสการขึ้นมาของกลุ่มยึดครองวอลล์สตรีท สอดคล้องกับการที่ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายมองเห็นจุดสำคัญนี้ในช่วงปีที่ผ่านมา จนกระทั่งเรื่องนี้ได้รับการชูเป็นประเด็นหลักในการกล่าวนโยบายประจำปีของโอบามา ซึ่งเรียกร้องให้สร้างความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ
    "คนอเมริกันเห็นชัดเจนว่ารัฐบาลสามารถเข้ามามีบทบาทในเรื่องนี้ได้" เคอร์เรียร์ระบุ
    ต่อคำถามที่ว่า ความฝันของอเมริกายังอยู่ดีเหมือนเดิมหรือไม่ เคอร์เรียร์ตอบว่าใช่และไม่ใช่ พร้อมอธิบายว่ารายได้ของคนระดับล่าง สูงกว่ารายได้ของรุ่นพ่อแม่ของกลุ่มนี้ แต่ฐานะทางเศรษฐกิจของคนกลุ่มนี้ก็ไม่ได้ขยับขึ้นตามไปด้วย
    "สิ่งดังกล่าวสวนทางกับแนวคิดพื้นฐานเรื่องความยุติธรรมและโอกาสที่เท่าเทียมกัน" เคอร์เรียร์ระบุ พร้อมชี้ถึงเวลา 4 ปีในการเรียนระดับมหาวิทยาลัย การเก็บเงิน และการมีบ้านอยู่ในย่านดีๆ ว่าเป็นกุญแจสำคัญ 3 อย่างในการเลื่อนชั้นทางสังคมและฐานะของคนอเมริกัน
    ในช่วงที่ความพยายามสร้างงาน ถือเป็นประเด็นหลักในการหาเสียงเลือกตั้งผู้นำสหรัฐนั้น ระดับภาษีที่คนอเมริกันต้องจ่าย ก็ผงาดขึ้นมาเป็นวาระหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน หลังจากนายรอมนีย์เปิดเผยว่าเมื่อปี 2553 เขาจ่ายภาษีเพียง 13.9% ซึ่งน้อยกว่าคนอเมริกันส่วนใหญ่ที่จ่ายภาษีกว่า 30%
    ขณะที่โอบามา ระบุในการแถลงนโยบายประจำปีว่าเศรษฐีควรเสียภาษีอย่างน้อย 30%
    อย่างไรก็ตาม เดวิด เคย์ จอห์นสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีและผู้เขียนหนังสือเรื่อง "Free Lunch: How the wealthiest Americans enrich themselves at government expense and stick you with the bill" ระบุว่านักการเมืองเป็นกลุ่มที่ควรถูกตำหนิฐานที่ปล่อยให้เกิดความไม่ยุติธรรมเช่นนี้
    การวิจัยของจอห์นสัน พบว่าเมื่อปี 2504 สมัยที่จอห์น เอฟ เคนเนดี เป็นประธานาธิบดีนั้น คนอเมริกันที่รวยสุด 390 คน จ่ายภาษีเฉลี่ย 42% แต่ภายในปี 2551 อัตราภาษีสำหรับคนรวยลดลงเหลือ 18% ขณะที่ในช่วงเดียวกันนั้น คนอเมริกันระดับล่างจำนวน 90% ต้องเสียภาษีน้อยลงเพียงเล็กน้อย จาก 9.6% เหลือ 7.2%
    "อัตราภาษีสำหรับคนกลุ่มหนึ่งลดลง 24% ขณะที่อัตราภาษีสำหรับคนอีกกลุ่มหนึ่งลดลงแค่ 2.4% อเมริกามีระบบภาษี 2 ชุดซึ่งแบ่งแยกและไม่เท่าเทียม" จอห์นสันระบุ พร้อมชี้ว่าคนทำงานและธุรกิจส่วนใหญ่ถูกเก็บภาษีอย่างละเอียดและมีประสิทธิภาพมาก ขณะที่ผู้จัดการกองทุนเพื่อการลงทุนถูกเก็บภาษีต่้ำมาก
    "แต่เรื่องเหล่านี้้ก็เป็นเรื่องถูกกฎหมายทั้งสิ้น" จอห์นสันเสริม
    อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีโอบามา ปฏิเสธข้อกล่าวอ้างของพรรครีพับลิกัน ที่ว่าเขาทำสงครามชนชั้น ด้วยการเรียกร้องให้ขึ้นภาษีคนรวยที่มีรายได้ปีละ 1 ล้านดอลลาร์ เป็นอย่างน้อย 30% พร้อมชี้ให้เห็นช่องโหว่ซึ่งเปิดทางให้คนรวยอย่างนายรอมนีย์ เสียภาษีในระดับต่ำ เพราะมีรายได้มาจากการลงทุน
    "ผมได้ยินคนพูดว่านี่เป็นสงครามชนชั้น ซึ่งไม่ใช่เลย" โอบามากล่าวพร้อมชี้ถึงนายวอร์เรน บัฟเฟตต์ มหาเศรษฐีนักลงทุนที่ประกาศว่าตัวเองน่าจะเสียภาษีสูงกว่าอัตราที่พนักงานของเขาต้องเสียในแต่ละปี และเตือนว่าคนอเมริกันต้องตัดสินใจว่าจะสร้างเศรษฐกิจที่มีความเท่าเทียม นำเงินไปอุดหนุนการศึกษาและการทหาร หรือปล่อยให้คนรวยไม่ต้องเสียภาษีในอัตราสูง
    "เราไม่สามารถทำทั้งสองอย่างในคราวเดียวกัน ท่านต้องเป็นคนเลือก เราไม่ได้ชิงชังความสำเร็จในอเมริกา แต่เราโหยหาสิ่งนั้น" โอบามากล่าว
    ทั้งนี้ ความพยายามครั้งก่อนๆ ของโอบามาที่จะขึ้นภาษีคนรวย หรือยกเลิกการลดภาษีสำหรับผู้รายได้สูงซึ่งผ่านสภาไปในสมัยของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุชนั้น ล้มเหลว ดังนั้นยุทธศาสตร์ครั้งนี้ของเขาจึงดูเป็นเหมือนการเดินหมากทางการเมืองเพื่อให้พรรครีพับลิกันดูเป็น "ตัวช่วย" คนรวย ในช่วงที่ความไม่เท่าเทียมกันทางรายได้มีอยู่มาก
    ขณะที่สมาชิกพรรครีพับลิกัน ก็มีปฏิกิริยาไม่พอใจอย่างมากกับการแถลงนโยบายประจำปีของโอบามา โดยวุฒิสมาชิกจอห์น แมคเคน ระบุว่า คำแถลงของโอบามา เป็นการหาเสียงอย่างยอดเยี่ยม เพราะจุดชนวนประเด็นสงครามชนชั้น
    ด้านนายจอห์น โบห์เนอร์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า สุนทรพจน์ของโอบามาเป็นแค่การหาเสียง และโอบามาไม่ต้องการรับผิดชอบสำหรับนโยบายต่างๆ ที่ล้มเหลว

     
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 28 มกราคม 2555 14:47
    ต้านสหรัฐ

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    [​IMG]

    ผู้ประท้วงชาวฟิลิปินส์เผาป้ายกระดาษหน้าลุงแซมและผู้นำประเทศตัวเองประท้วงกรณีสหรัฐจะเพิ่มอิทธิพลทางทหารในแดนตากาล็อก
    <!--<script type="text/javascript"> google_ad_channel = '3694366847'; //slot number google_ad_type = 'text'; //media image, text, html, flash google_max_num_ads = '3'; //amount Ads //google_image_size = '338X280'; //google_skip = '3'; var ads_ID = 'Google-adsense-indetail'; // set ID for main Element div var displayBorderTop = false; // default = false; //var displayLandScape = true; // false=Default, true=landscape *** if set Landscape not arrow ad type image var position_ad_detail ='in'; // ''=Default, in=Intext, under=TextUnderDetail </script> <script type="text/javascript" src="http://www.bangkokbiznews.com/home/main/js/adsense/AdsenseJS.js"></script> <script type="text/javascript" src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js"></script>-->[​IMG]
    <NOSCRIPT></NOSCRIPT><!-- <iframe src="http://www.bangkokbiznews.com/home/banner/all-ad-300-indetail.php" frameborder="0" scrolling="no" width="300" height="250"></iframe> --><!-- Tags Keyword -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...