เงินเฟ้อที่เพิ่มความรุนแรงขึ้นแล้ว??? รู้ทันโลก (โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย k.kwan, 11 พฤศจิกายน 2010.

  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ฟื้นวิหารยิว แล้วจะให้มัสยิดอักศอไปอยู่ที่ไหน

    shaffi : เขียน (25 มีนาคม 2009)

    (มีภาพมัสยิดอัล-อักศอ ประกอบบทความใน Gallery ครับ)

    [​IMG]

    ภายใน วิหาร Dome of Rock แท่นหินที่ท่านศาสนทูตมูฮัมมัดเคยยืนสักการะพระผู้เป็นเจ้า

    เล่าเรื่องมหาวิหารเดวิด-โซโลมอน มหาวิหารแห่งเยรูซาเล็ม ยุคที่ 1 มาถึงมหาวิหารเฮรอดในยุคที่ 2 ทั้งหมดล้วนเป็นมุมมองจากฝ่ายยิว ที่ยิวอ้างมาจากหลักฐานสองแหล่ง คือ The Old Testament ยิวเรียกโตรา หรือพวกคริสต์เรียก พระคริสต์ธรรมเดิม กับ The New Testament หรือพระคริสต์ธรรมใหม่ วันนี้จะเล่าถึงความสำคัญ ของ The Temple Mount จากมุมของมุสลิมและโลกอิสลาม ทำไมผมจึงกล่าวว่า ถ้ายิวคิดจะรื้อมัสยิดอัล-อักศอ เพื่อสร้างมหาวิหารยุคที่ 3 ขึ้นมาใหม่ ต้องข้ามศพมุสลิม 1,600 ล้านคนไปก่อน มัสยิดอักศอสำคัญอย่างไร ? สำหรับโลกมุสลิม

    อัล-อักศอ ภาษาอาหรับแปลว่า “ไกลที่สุด” มัสยิดอัล-อักศอ คือมัสยิดที่อยู่ไกลที่สุดในบรรดามัสยิดที่ตั้งอยู่ห่างจาก จากรัฐอิสลามแห่งแรกในโลกที่มีศูนย์กลางที่นครมาดีนะห์ และนครเมกกะห์ ของโลกโบราณในเวลานั้น หลักฐานจากพระมหาคัมภีร์อัล-กุรอาน ปรากฎพระวัจนะของพระผู้เป็นเจ้าว่า 10 ปีหลังจาก ท่านศาสนทูตมูฮัมมัด ได้รับวิวรณ์ครั้งแรกจากพระเจ้าแต่งให้ท่านทำหน้าที่เผยแผ่สัจธรรม ค่ำคืนหนึ่งในเดือนรอมฎอนอันประเสริฐ ท่านได้เดินทางสู่นครเยรูซาเล็ม ด้วยพาหนะพิเศษที่พระเจ้าประทานให้คือ ม้าบินที่มีนามว่า อัล-บุร๊อก อัช-ชารีฟ เมื่อท่านไปถึงเนินเขาแห่งเยรูซาเล็ม ท่านได้หยุดที่นั่นชั่วระยะเวลาหนึ่งเพื่อทำการสักการะพระเจ้า หรือ Perform Salah - ศอละห์ ซึ่งก็คือรูปแบบการสักการะด้วยการทำพิธีละหมาดรูปแบบเดียวกับที่เราเห็นชาวมุสลิมปฏิบัติในปัจจุบัน คือ วิธีการสักการระที่ท่านศาสนทูต มูฮัมมัดสอนให้มุสลิมปฏิบัติตามนั่นเอง ตรงจุดที่ท่านศาสนทูตหยุดเพื่อสักการะพระเจ้า บนเนินเขาแห่งเยรูซาเล็ม เป็นก้อนหินขนาดใหญ่ จุดที่ท่านศาสนทูตถูกนำตัวขึ้นสู่ชั้นฟ้าทั้ง 7 เพื่อไปรับโองการจากพระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้าทรงประทานบัญญัติให้มนุษย์ทำการสักการะพระองค์แต่เพียงพระองค์เดียว วันละ 5 ครั้ง (คือการกำหนดให้มุสลิมทำการละหมาดวันละ 5 ครั้ง) ต่อมาก้อนหินนี้ถูกครอบไว้ด้วยอาคารที่มีผังรูปแปดเหลี่ยมและมีโดมสีทองที่เรียกว่า โดมทอง หรือ The Golden Dome อาคารที่อยู่เคียงคู่กับมัสยิดอัล-อักศอ ในภาพที่เห็น

    เมื่อท่านศาสนทูตนำบัญญัติการสักการะพระเจ้าวันละ 5 เวลา มาสอนแก่บรรดาผู้ศรัทธา ในเวลานั้นนครเม็กกะฮ์ ยังอยู่ภายใต้อำนาจของพวกนอกศาสนาเผ่ากุเรซ ซึ่งยังไม่ได้เป็นมุสลิม พวกกุเรซตั้งตนเป็นศัตรูต่อท่านศาสนทูตมูฮัมมัด ดังนั้นทุกครั้งที่ท่านศาสนทูตและชาวมุสลิมผู้ศรัทธาทำพิธีละหมาดสักการระพระผู้เป็นเจ้า ต้องผินหน้าสู่ทิศทางเดียวกัน คือหันหน้าสู่บัยตุลมักดิสหรือ นครเยรูซาเล็มนั่นเอง เยรูซาเล็มจึงไม่เพียงสำคัญต่อชาวยิวและพวกคริสเตียน แต่ยังสำคัญต่อชาวมุสลิมอีกด้วย ต่อมาความพยายามในการเชิญชวนชาวยิวมาสู่ศาสนาของพระเจ้า ของท่านศาสนทูตมูฮัมมัดไม่ประสบความสำเร็จ บรรดาพวกยิวพากันเย้ยหยันท่านศาสนทูตมูฮัมมัดว่า ท่านซึ่งเป็นถึงศาสนทูตยังต้องสักการะพระเจ้าด้วยการผินหน้ามาทางนครเยรูซาเล็ม ท่านศาสนทูตจึงวิงวอนขอต่อพระผู้เป็นเจ้า และในที่สุดพระผู้เป็นเจ้าจึงทรงประทานโองการอนุญาตให้ชาวมุสลิมหันหน้าไปที่เม็กกะ แทนการหันหน้าไปทางเยรูซาเล็ม

    ในช่วงเวลาที่ท่านศาสนทูตมูฮัมมัด ไปเยือนเยรูซาเล็มในค่ำคืนอันมหัศจรรย์นั้น น่าจะเป็นช่วงเวลาที่ มหาวิหารที่สอง หรือวิหารเฮรอดเหลือแต่ซากปรักหักพังจากผลงานการทำลายล้างของโรมันในปีคริสตศักราชที่ 67 ประมาณห้าร้อยกว่าปี ก่อนการเกิดของท่านศาสนทูตมูฮัมมัด ซึ่งนั่นก็น่าจะเป็นเวลาที่ยาวนานเพียงพอที่จะทำให้ The Temple Mount มีสภาพไร้ร่องรอยการเป็นศาสนาสถานหรือสิ่งก่อสร้าง ถ้าที่ตั้งของมหาวิหารเฮรอด เป็นที่เดียวกันกับที่ตั้งมัสยิดอัล-อักศอ ในปัจจุบันจริง สภาพที่ท่านศาสนทูตมูฮัมมัดได้เห็นเมื่อท่านไปถึงเยรูซาเล็ม คงไม่ต่างจากเนินเขาเตี้ยๆแห่งหนึ่งที่ไม่เหลืออะไรไว้ให้เห็น

    มัสยิดอักศอที่เราเห็นในปัจจุบันได้ก่อสร้างต่อเติมซ่อมแซม จนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเกือบทั้งหมด ไม่มีใครบอกได้ว่าอาคารมัสยิดอัล-อักศอเดิมมีขนาด หรือหน้าตาเป็นอย่างไร ในช่วงเวลาอันยาวนานของสงครามครูเสด เยรูซาเล็มตกเป็นพื้นที่สมรภูมิรบระหว่างทหารฝ่ายมุสลิม และฝ่ายครูเสด ทหารครูเสดเคยยึดมัสยิดอัล-อักศอจากฝ่ายมุสลิมและสังหารทหารมุสลิมอย่างโหดเหี้ยม พวกอัซินครูเสดเปลี่ยนมัสยิดอัล-อักศอ เป็นโบสถ์คริสต์ ต่อมาแม่ทัพฝ่ายอิสลามนามว่า Salahuddin Al-Ayyoubi ฝรั่งเรียก Salasen เป็นผู้นำที่แข็งแกร่งสามารถโจมตีและขับไล่พวกครูเสดออกจากดินแดนมุสลิมได้ทั้งหมด และปลดปล่อยเยรูซาเล็มให้กลับมาอยู่ในปกครองของอาณาจักรอิสลามได้อีกครั้งหนึ่ง

    ย้อนกลับไปในช่วงเวลาที่ท่านศาสนทูตมูฮัมมัดมีชีวิตอยู่ มหาอำนาจในขณะนั้นคืออาณาจักรไบแซนไทน์ คือพวกโรมันที่เปลี่ยนมาเป็นคริสเตียน โดยจักรพรรดิ์โรมันชื่อ Justinian ได้ตั้งศูนยืกลางอาณาจักรที่คอนสแตนติโนเปิล หรืออิสตันบูลในปัจจุบัน เรียกว่าโรมันตะวันออก ส่วนโรมันที่โรม ก็เป็นอาณาจักรโรมันตะวันตกที่กำลังล่มสลาย คู่แข่งของไบแซนไทน์ที่กำลังอ่อนแรงลงคืออาณาจักรเปอร์เซีย เยรูซาเล็ม และเมืองสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเยซู หลายเมืองในยุคของท่านศาสนทูต มูฮัมมัด อยู่ใต้การปกครองของพวกไบแซนไทน์ ครั้งที่ท่านศาสนทูตมูฮัมมัดยังมีชีวิตอยู่ท่านได้เจรจาปรองดองกับไบแซนไทน์ และหวังว่าพวกไบแซนไทน์จะรับอิสลาม แต่ในที่สุดหลังจากท่านศาสนทูตสิ้นชีวิตลง ในช่วงเวลาต่อมากองทัพฝ่ายอิสลามก็มีชัยชนะเหนือไบแซนไทน์ในดินแดนปาเลสไตน์ เยรูซาเล็มตกเป็นของอาณาจักรอิสลามที่ขยายอำนาจขึ้นอย่างรวดเร็ว เยรูซาเล็มถูกพิชิตโดยกาหลิบหรือคอลีฟะห์อุมัร อิบนุ คอตฏอบ กาหลิบคนที่ 2 ไม่มีพบหลักฐานแน่ชัดว่าหลังจากพิชิตเยรูซาเล็มได้แล้ว ท่านกาหลิบอุมัร ได้ก่อสร้างมัสยิดอัล-อักศอ ไว้อย่างไร แต่นักโบราณคดีคาดว่ามัสยิดอักศอ ที่พบหลักฐานน่าจะเป็นมัสยิดที่มีความจุถึง 3,000 คน โดยตำแหน่งที่ตั้งเดิมน่าจะอยู่ตรงมุมใดมุมหนึ่งบน The Temple Mount และผู้สร้างน่าจะเป็นมุอาวิยะห์ที่ 1 กษัตริย์แห่งราชวงศ์มุอาวิยะห์ และต่อมาในปี ค.ศ. 690 ได้รับการบูรณะและขยายขนาดออกไปโดยกาหลิบ อับดุลมาลิก และสร้างอาคารวิหารโดมทองขึ้นมาอีกหลังหนึ่ง บางหลักฐานก็ว่าคนที่บูรณะและสร้างวิหารโดมทองเป็นลูกชายกาหลิบอับดุลมาลิก ชื่อ อัล-วาลิด

    ในปี ค.ศ. 742 วงศ์อุมัยยะห์ ก็ถูกโค่นล้มโดยตระกูลอับบาส ซึ่งเป็นญาตกันเอง.. ตระกูลอับบาสก่อตั้งราชวงศ์อับบาซิยะห์ หรือ Abbasid ก่อนหน้าวงศ์อับบาสิดขึ้นสู่อำนาจ 4 ปี ต่อมาเกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงทำให้มัสยิดอัล-อักศอ ถูกทำลายลง กาหลิบคนที่ 2 แห่งราชวงศ์อับบาสซิด ชื่อ อบู ยะฟัร อัล-มันซูร บูรณะมัสยิดขึ้นมาใหม่ และสร้างประตูทางเข้าด้วยทองที่เรียกว่า Golden Gate การซ่อมบูรณะเสร็จสิ้นในปี ค.ศ. 771 ก็เกิดแผ่นดินไหวครั้งที่สองในปี ค.ศ. 774 คราวนี้นอกจากทำให้ส่วนที่บูรณะใหม่เสียหายแล้ว ยังทำให้มัสยิดส่วนทิศใต้เสียหายอีกด้วย มาถึงปี ค.ศ. 780 กาหลิบคนใหม่ขึ้นสู่อำนาจ มูฮัมมัด อัล-มะห์ดี สั่งให้ซ่อมบูรณะ แต่ให้ลดความยาวตัวอาคารและเพิ่มความกว้างมัสยิด มีการบันทึกไว้ว่า มัสยิดอักศอ “มี 15 โถงทางเข้า 15 ประตู” ปี ค.ศ. 1033 เกิดแผ่นดินไหวอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้ก่อเกิดความเสียหาแก่มัสยิดอย่างรุนแรง ในเวลานั้นราชวงศ์จากอียิปต์มีอำนาจในอาณาจักรอิสลาม คือราชวงศ์ฟาติมียะห์ หรือฟาตีมีย์ กาหลิบชื่อ อลี อัซ-ซาฮีร์ บูรณะขึ้นมาใหม่ เสร็จสิ้นในปี 1036 ประตูเดิม 15 ช่อง ถูกลดลงเหลือ 7 ช่อง และเปลี่ยนหลังคาเป็นรูปจั่วทำด้วยไม้ เพื่อลดความเสียหายหากเกิดแผ่นดินไหวในคราวต่อไป ปี 1099 เยรูซาเล็มถูกกองทัพครูเสดยึดได้ พวกอัศวินครูเสดเปลี่ยนชื่อมัสยิดอัล-อักศอ เป็นวิหารโซโลมอน อีกครั้งหนึ่ง และใช้เป็นที่ทำการอัศวินเทมปร้า ในปี 1119 พวกครูเสดถือวิสาสะดัดแปลงอาคารเดิมโดยก่อผนังแบ่งพื้นที่เป็นโบสถ์คริสต์ ฝ่ายกองทัพอิสลามยึดเยรูซาเล็มคืนจากพวกครูเสดได้ในปี 1187 โดยซาลาเซน หรือแม่ทัพ Salahuddin Al-Ayyoubi คราวนี้ฝ่ายมุสลิมก็ต้องทำการบูรณะเป็นการใหญ่อีกครั้งหนึ่ง เมื่อราชวงศ์ของเติร์กคืออุสมานีย์ หรืออตโตมานเข้าครองอำนาจเหนืออาณาจักรอิสลามในปี 1517 พวกเติร์ก บูรณะไม่เพียงอัล-อักศอ แต่ได้สร้างพื้นที่โดยรอบใหม่ทั้งหมดรวมทั้งส่วนตกแต่ง เช่น ลานน้ำพุที่เรียกว่า Fountain of Pasha ที่สร้างขึ้นในปี 1527 สร้างสระน้ำ Pool of Raranj

    ประวัติศาสตร์ทำให้เรารู้ว่า พลังอำนาจเดียวที่สามารถ ทำลายมัสยิดอัล-อักศอ ได้ก็คือ พลังอำนาจจากแผ่นดินไหวด้วยอนุมัติจากพระเจ้า ... ไม่ใช่โดยน้ำมือยิว

     
  2. JSR

    JSR สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +0
    ตามอ่านมานานแล้ว ขอบคุณสำหรับข้อมูลข่าวสารดีๆที่นำมาเล่าสู่กันฟังครับ.......:cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 ธันวาคม 2011
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    :cool:

    <!-- google_ad_section_end -->[ame=http://www.youtube.com/watch?v=YqN0ZOEO9oI&feature=related]Nirvana-Come as you are lyrics - YouTube[/ame]

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=80tX5MLX8QY]Nirvana- The Man Who Sold The World (lyrics) - YouTube[/ame]
     
  4. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=fEGI9NbH-mk&feature=related]Limp Bizkit - Behind Blue Eyes lyrics - YouTube[/ame]
     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=0ov6ZgoW8Qg&list=UUpwvZwUam-URkxB7g4USKpg&index=1&feature=plcp]Who do you want for a new world leader? - YouTube[/ame]
    อัปโหลดโดย RussiaToday เมื่อ 24 ธ.ค. 2011
    Well, 2012 is almost here and it's set to be the year of the presidential election, as the U.S., Russia, France and South Korea will all go to the polls. With millions yet to make their choice, the question is - what makes a good modern day leader? New York Resident Lori Harfenist gauged opinion on the streets of the Big Apple
     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=x1bsaHYC3Xo&feature=BFa&list=UUpwvZwUam-URkxB7g4USKpg&lf=plcp]Moscow rally video: Tens of thousands protest 'rigged vote' - YouTube[/ame]

    อัปโหลดโดย RussiaToday เมื่อ 24 ธ.ค. 2011
    Just two weeks after the Russian capital saw its biggest opposition rally in nearly twenty years, Russians unhappy with the results of the December 4 parliamentary elections have gathered once again.
    Full story here: ‘For fair elections’: Tens of thousands at Moscow biggest protest (VIDEO, PHOTOS) &mdash; RT
     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=Or2HhHZ9cng&list=UUpwvZwUam-URkxB7g4USKpg&index=1&feature=plcp]Broken dreams for EU poorest state rescuing richer members - YouTube[/ame]

    อัปโหลดโดย RussiaToday เมื่อ 25 ธ.ค. 2011
    It's a waiting game for debt-laden Eurozone after this month's key summit in Brussels. Ratings agencies are sounding the alarm over heavy borrowing, while the EU failed to find the agreed-upon 200 billion Euros for its IMF fund, as the UK bowed out. And there's one recent Eurozone member, which finds itself reluctant to pay for others' debts, as RT's Aleksey Yaroshevsky reports.
     
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=nzPafnWyEX0&feature=BFa&list=UUpwvZwUam-URkxB7g4USKpg&lf=plcp]50,000 Strong: Massive 'vote fraud' rally in Moscow - YouTube[/ame]

    อัปโหลดโดย RussiaToday เมื่อ 24 ธ.ค. 2011
    Tens of thousands gathered in central Moscow to protest against this month's Parliamentary election results. The mass rally was organized by opposition groups who claim the vote was rigged. 30 thousand people are reported to have turned up to demonstrate according to official data, but the opposition say the number is more than a hundred thousand. It's the second such protest - two weeks ago tens of thousands took to the streets to have their say. RT's Anissa Naouai reports from the scene of the demonstration.
     
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=ENsCAujc7s8&feature=related]Unhappy holiday: Syria faces a Christmas of blood & fear - YouTube[/ame]

    อัปโหลดโดย RussiaToday เมื่อ 24 ธ.ค. 2011
    The Christian world is getting ready for Christmas, but there's little festive spirit in Syria as its capital recovers from two suicide blasts which left over 40 people dead and more than 100 injured.
     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=ZtjGg08wY88&feature=relmfu]RT's 10 that shaped 2011: Civil war in Syria - YouTube[/ame]

    อัปโหลดโดย RussiaToday เมื่อ 24 ธ.ค. 2011
    With 2012 just around the corner, RT continues its own countdown with ten special reports on events that have shaped 2011. We are looking back at major stories through the eyes of RT correspondents who witnessed them.

    Tesa Arcila shares her experience of working in Syria, as the country fractured under the strain of political disputes, anger and violence. She says speaking with the people on the ground offers a special perspective on the turmoil, where the issues are far from black and white.
     
  11. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    มาช่วยทำมาหากิน ^^


    [​IMG]

    บันได 8 ขั้น'จีน'ดัน'หยวน'ผงาดโลก

    "พิษณุ เหรียญมหาสาร" สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ วิเคราะห์ จีนกับยุทธการนำหยวนสู่เงินสกุลหลักโลกในอีก 2 ปีข้างหน้า

    ระบบเศรษฐกิจการเงินของจีนภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์สามารถแยกได้ 2 ช่วงตามช่วงก่อนและหลังการใช้นโยบายเปิดประเทศในปี คศ.1978 กล่าวคือ

    (1) ช่วงก่อนปีคศ.1978 ที่จีนอยู่ในระบบเศรษฐกิจปิดหรือเป็นระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมที่มีการวางแผนจากส่วนกลาง รัฐบาลกลางเป็นผู้กำหนดนโยบายและบริหารดำเนินการทางการเงินโดยตรงแต่ผู้เดียว มีธนาคารกลางแห่งรัฐที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลด้านการเงินและดำเนินการกิจกรรรมการเงินร่วมกับธนาคารนโยบายและธนาคารพาณิชย์ 4 แห่ง ทำหน้าที่ด้านการออมและการปล่อยกู้ตามนโยบายธนารคารกลาง

    ขณะที่ในส่วนเกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศ หรือเงินเหรินหมินปี้(Ren Minbi หรือ RMB) หรือเงินหยวน มีการตั้งหน่วยงานกลางทำหน้าที่ผลิตเงินหยวนขึ้น ในช่วงนี้จีนกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนต่อดอลลาร์สหรัฐฯเป็นอัตราเดียว แต่ในระหว่างปี คศ.1949-1952 ปรากฎว่าอัตราแลกเปลี่ยนหยวนต่อดอลลาร์สหรัฐฯแก่วงมากที่สุด

    ในปีคศ.1949 เท่ากับ 600 หยวนต่อหนึ่งดอลลาร์ ปี คศ.1950 อัตราแลกเปลี่ยนลดฮวบเป็นดอลล่าร์ละ 42,000 หยวน ปีคศ.1951 ขยับเป็นดอลลาร์ละ 22,389 หยวน ต่อมาธนาคารกลางจีนออกเงินเหรินหมินปี้ใหม่แทนเหรินหมินปี้เก่า พร้อมกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่ดอลลาร์ละ 10,000 หยวน

    ในปีคศ.1955 ธนาคารกลางจีนปฏิรูประบบเงินตราต่างประเทศใหม่กำหนดให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนต่อหนึ่งดอลลาร์สหรัฐฯที่ 2.4618 หยวนเป็นอัตราตายตัวที่ใช้กันมาจนถึงปีคศ.1971

    (2)ช่วงหลังปีคศ.1978 เมื่อจีนใช้นโยบายเปิดประเทศพร้อมกับการนำยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเปิดมาใช้ มีการปรับระบบเศรษฐกิจเป็น “ตลาดเสรี” หรือที่จีนเรียกชื่อว่า ระบบเศรษฐกิจตลาดสังคมนิยม” และเริ่มตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1980s จีนได้ปฏิรูประบบเงินตราต่างประเทศ ภายใต้การดูแลรับผิดชอบของธนาคารกลางจีน กำหนดปรับอัตราแลกเปลี่ยนจากดอลลาร์ละ 2.35 หยวนในปีคศ.1978 เป็นดอลลาร์ละ 2.8 หยวนในปีคศ.1981 ต่อมาในระหว่างปี คศ.1988-1993 จีนได้กำหนดใช้ระบบเงินตราต่างประเทศ 2 ระบบ คือ

    1)อัตราแลกเปลี่ยนตายตัวเงินหยวนกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ

    2)อัตราแลกเปลี่ยนตายตัวสำหรับเงินต่างประเทศ(Foreign Exchnage Currency หรือ FEC)กับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ โดยจีนมีจุดประสงค์เพื่อแยกเงินตราต่างประเทศ FEC ให้เป็นเครื่องมือในการเอื้ออำนวยความสะดวกทางธุรกิจกับต่างประเทศเป็นการเฉพาะอย่างชัดเจน แต่ในทางปฏิบัติกลับกลายเป็นอุปสรรคที่สร้างความสลับซับซ้อนเกิดความสับสนยุ่งยากอีกทั้งเป็นมาตรการที่ไม่สอดคล้องกับ Article 8 ของ IMF

    ดังนั้นในปี คศ.1994 จีนจึงได้ยกเลิกระบบ 2 อัตราแลกเปลียนดังกล่าว และกำหนดให้มีอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนกับดอลลาร์สหรัฐฯเพียงระบบเดียว

    การยกเลิกสองระบบอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าว มีสาเหตุจากการที่จีนอยู่ในช่วงที่ต้องการจะสมัครเข้าเป็นสมาชิกWTO จึงต้องปรับระบบการค้าและการบริการรวมถึงระบบการเงินให้สอดคล้องกับกติกา WTO และ IMF อีกทั้งต้องยอมโอนอ่อนผ่อนตามเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ประเทศตะวันตก

    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหรัฐอเมริกากำหนดกดดันให้จีนต้องปฏิบัติตาม ซึ่งสองระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินให้เป็นระบบเดียว ก็เป็นหนึ่งเงื่อนไขที่จีนถูกกดดัน แต่เนื่องจากมาตรการเงินตราต่างประเทศมีส่วนสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจมหภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศจีนเป็นอย่างมาก ดังนั้นจีนจึงได้ใช้ความระมัดระวังในการกำหนดนโยบายและบริหารจัดการระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนอย่างรอบคอบมากที่สุด

    อย่างไรก็ตามหลังจีนเข้าเป็นสมาชิก WTO เมื่อ 11 ธันวาคม คศ.2011 ประเทศตะวันตกโดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกายังคงสร้างแรงกดดันต่อค่าเงินหยวนของจีนมากยิ่งขึ้น โดยอ้างถึงการขาดดุลการค้ากับจีนที่มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่กลางทศวรรษ 1990s และในปีคศ.2000

    สหรัฐอเมริกาขาดดุลกับจีนถึงประมาณ 84,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเพิ่มเป็นยอดขาดดุลประมาณ 162,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯในปีคศ.2004 พร้อมกล่าวหาว่าเป็นเพราะค่าเงินหยวนที่อ่อนเกินจริงถึงร้อยละ 20 จึงพากันกดดันให้จีนปรับเพิ่มค่าเงินหยวนให้ใกล้ค่าแท้จริงโดยเร็ว

    ในเดือนกรกฎาคม คศ.2005 จีนจำเป็นต้องสนองต่อแรงกดดันของประเทศตะวันตกด้วยการปรับเพิ่มค่าเงินหยวนอย่างระมัดระวัง หันมาใช้ระบบแลกเปลี่ยนเงินตราลอยตัวแบบจัดการได้(Managed Floating Rate)ด้วยการกำหนดเพิ่มค่าเงินหยวนขึ้นในอัตราต่ำมากเพียงร้อยละ 2.1

    กล่าวคือจากอัตราดอลลาร์ละ 8.27 หยวนเป็นดอลลาร์ละ 8.10 หยวน ทั้งนี้เพื่อรักษาภาพลักษณ์ความน่าเชื่อมั่นของเงินหยวนให้เป็นเงินตราที่มีเสถียรภาพอย่างมั่นคง ไม่แกว่งขึ้นลงอย่างฮวบฮาบ ซึ่งจะช่วยให้เงินหยวนได้รับความเชื่อถือนิยมและวงการการค้าและธุรกิจให้ความไว้วางใจเชื่อมั่นในระดับโลกต่อเงินหยวน เป็นการเพิ่มโอกาสให้เงินหยวนกลายเป็นเงินสกุลหลักคู่ไปกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯและเงินยูโร ได้ภายในระยะเวลาอันใกล้ได้

    จีนกับการขับเคลื่อนเร่งเงินหยวนเข้าสู่สากล

    ตั้งแต่กลางปี คศ.2005 ที่จีนได้เปลี่ยนระบบเงินตราต่างประเทศเป็นแบบกำหนดค่าเงินหยวนลอยตัวแบบจัดการได้ พร้อมกับทยอยปรับค่าเงินหยวนให้แข็งขึ้นเพื่อผ่อนปรนแรงกดดันจากประเทศตะวันตกทั้งสหรัฐอเมริกาและยุโรปแบบค่อยเป็นค่อยไป ปรากฎว่าในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา

    ตั้งแต่กรกฎาคม 2005 จนถึง ตุลาคม 2011 ค่าเงินหยวนได้ปรับค่าแข็งขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปจากดอลลาร์ละ 8.27 หยวน เมื่อ 20 กรกฎาคม 2005 เป็นดอลลาร์ละ 6.3483 หยวนเมื่อ 11 ตุลาคม 2011 หรือเงินหยวนแข็งค่าขึ้นร้อยละ 23.3

    ขณะที่ประเทศตะวันตกกล่าวหาว่าค่าเงินหยวนอ่อนกว่าความเป็นจริงถึงกว่าร้อยละ 40 ปรากฎว่าล่าสุดจีนได้ปรับค่าเงินหยวนแข็งขึ้นสูงสุดเท่าที่มีมาในช่วง 6 ปี คือร้อยละ 7 ก่อนที่รัฐสภาสหรัฐอเมริกาจะมีการผ่านร่างกฏหมายลงโทษจีนกรณีควบคุมค่าเงินหยวน เมื่อ 3 ตุลาคม 2554 ที่ผ่านมา

    ในช่วงครึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ภายใต้แรงกดดันต่อเงินหยวนจากประเทศตะวันตกอย่างต่อเนื่องนั้น ทางฝ่ายจีนก็ได้ดำเนินการออกมาตรการต่าง ๆ ควบคู่กันไป เพื่อผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ หันมานิยมและให้ความเชื่อมั่นต่อเงินหยวนอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้นตลอดมา ดัง ปรากฎมาตรการเร่งผลักดันหยวนสู่เงินหลักสากล ดังต่อไปนี้

    การผ่อนปรนการควบคุมการใช้เงินหยวนในเวทีสากล ส่งเสริมให้มีการใช้เงินหยวนในวงการธุรกิจการค้าระหว่างประเทศให้กว้างขวางมากขึ้น กล่าวคือ

    1.1) ในเดือนกันยายน 2554 ที่ผ่านมา จีนประกาศให้บริษัทต่างชาติที่จะเข้าลงทุนในจีนสามารถใช้เงินหยวนลงทุนได้

    1.2) ในเดือนสิงหาคม 2554 จีนอนุญาตให้กลุ่มผู้ส่งออกจีนทั่วประเทศ สามารถใช้เงินหยวนชำระหนี้ต่างแดนได้

    1.3)ในเดือนมิถุนายน 2553 จีนยอมผ่อนปรนแรงกดดันจากตะวันตกด้วยการปล่อยให้มีการค้าด้วยเงินหยวนกับดอลลาร์สหรัฐฯได้เสรีมากขึ้น เลิกการตรึงค่าเงินหยวนกับดอลลาร์อย่างเหนียวแน่นตายตัว ทำให้ค่าเงินหยวนในช่วงที่ที่ผ่านมาเพิ่มค่าได้สูงถึงร้อยละ 7 เทียบกับการเพิ่มค่าเงินหยวนเพียงร้อยละ 2-3 ต่อครั้ง

    ภายใต้มาตรการควบคุมการปล่อยค่าเงินหยวนอย่างระมัดระวังค่อยเป็นค่อยไป จนทำให้เกิดการกล่าวหาจากประเทศตะวันตกว่าค่าเงินหยวนเพิ่มค่าต่ำกว่าค่าแท้จริงถึงกว่าร้อยบละ 40 เป็นที่มาให้สหรัฐอเมริกานำมาตรการตอบโต้จีนมาใช้

    โดยวุฒิสภาสหรัฐอเมริกาลงมติผ่านร่างกฎหมายลงโทษจีนที่ควบคุมค่าเงินหยวน ซึ่งนายกรัฐมนตรีจีน เวิน เจียเป่า ได้แสดงท่าทีตอบโต้ทันทีด้วยการกล่าวว่า “จีนจะรักษาเสถียรภาพเงินหยวนเพื่อผู้ส่งออกจีน เพราะถ้าให้ค่าเงินหยวนแกว่งมากไปก็จะเสี่ยงต่อภาคเศรษฐกิจโดยรวมของจีนได้”

    2) จีนส่งเสิรมให้เกิดการใช้เงินหยวนในต่างแดนมากยิ่งขึ้น โดยให้มีการซื้อพันธบัตรในตลาดฮ่องกงด้วยเงินหยวนควบคู่กับการใช้เงินปอนด์สเตอริงซึ่งเป็นสกุลเงินที่นิยมกันมากในฮ่องกง ในปีคศ. 2011 จีนสามารถออกพันธบัตรขายในฮ่องกงได้คิดเป็นมูลค่าแล้ว 70,000 ล้านหยวน

    3) รัฐบาลจีนกำหนดให้กลุ่มบริษัทจีนที่ออกไปลงทุนในต่างประเทศ สามารถนำเงินหยวนไปลงทุนต่างประเทศได้

    4) จีนลงนามทำข้อตกลงสวอป เงินหยวนกับ 6 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ ฮ่องกง มาเลเซีย อินโดนีเซีย รัสเซียและอาร์เจนตินา และให้มีการใช้เงินหยวนในการซื้อขายนำเข้าส่งออกสินค้าบริการกับ 10 ประเทศ ได้แก่ เกาหลีใต้ เกาหลีเหนือ รัสเซีย พม่า ลาว มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียตนาม ฮ่องกง และอาร์เจนติน่า

    5) เดือนกรกฎาคม 2552 รัฐบาลจีนอนุญาตให้ใช้เงินหยวนในการชำระหนี้กับต่างประเทศใน นครซ่างไห่ และ 4 เมืองในมณฑลกวางตง คือ กวางโจว เซินเจิ้น จูไห่และตงก่วน และต่อมาได้ขยายรวมอีก 20 มณฑล ได้แก่ เป่ยจิง เทียนจิน มองโกเลียใน เหลัยวหนิง เจียงซู เจ้อเจียง ฝูเจี้ยน ซานตง หูเป่ย กวางซี ไห่หนาน ฉงชิ่ง ซึ่อชวน หยุนหนาน จี๋หลิน เฮยหลงเจียง ทิเบต ซินเจียงและกวางตง

    เมื่อ 6 ธันวาคม 2553 ธนาคารกลางจีนได้เปิดเผยตัวเลขบริษัทจีนที่ใช้เงินหยวนทำธุรกรรมส่งออกนำเข้ากับต่างประเทศในมณฑลต่าง ๆ ของจีน มีรวมกัน 67,359 รายการ จาก 365 บริษัท แยกเป็นบริษัทในกวางโจว เซินเจิ้น จูไห่ และตงกวน รวม 273 บริษัท เป็นบริษัทในซ่างไห่จำนวน 92 บริษัท

    6) เดือนสิงหาคม 2553 จีนทดลองให้สถาบันการเงินต่างชาติลงทุนตลาดตราสารหนี้ อินเตอร์แบงค์ในจีน ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวที่จะเปิดช่องให้ผุ้ถือสินทรัพย์เป็นสกุลเงินหยวนได้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการถือสินทรัพย์และเป็นการกระตุ้นการใช้เงินหยวนในการชำระหนี้การค้าต่างประเทศด้วย และส่งผลให้มีบริษัทและสถาบันการเงินในฮ่องกงได้ออกตราสารหนี้และผลิตภัณฑ์ทางการเงินเป็นเงินหยวนมากขึ้น

    ธนาคารโลกเองก็ได้สนับสนุนมาตรการนี้ของจีนด้วยการออกพันธบัตรเป็นเงินหยวนระยะ 2 ปีใช้ในฮ่องกงคิดเป็นมูลค่า 500 ล้านหยวน ซึ่งถือเป็นพื้นฐานเชิงสัญญลักษณ์สำหรับเงินหยวนที่จะเพิ่มบทบาทการเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนในวงการค้าและธุรกิจระดับโลกได้อย่างแน่นอนในที่สุด ธนาคารดอยซ์แบงค์ของเยอรมันนีคาดว่าในปีคศ.2011

    ตราสารหนี้สกุลหยวนในฮ่องกงจะเพิ่มเป็นมูลค่า 150,000 ล้านหยวนเทียบกับมูลค่า 17,800 ล้านหยวนในปี คศ.2010 และเงินฝากสกุลหยวนในฮ่องกงจะมีระดับ 2 ล้านล้านหยวนภายในปี คศ. 2012

    7) เดือนกรกฎาคม 2553 รัฐบาลจีนประกาศให้ตั้งศูนย์กลางการเงินที่คุนหมิง มุ่งเน้นเป็นศูนย์กลางของอาเซียนและเอเซียใต้ รวมถึงตะวันออกกลาง โดยกำหนดเป็น 3 ขั้นตอน คือ

    ระยะแรก เป็นศูนย์กลางใช้เงินหยวนชำระเงินทำการค้าต่างประเทศ

    ระยะที่สอง เป็นศูนย์กลางใช้ขยายการทำธุรกรรมการเงินต่าง ๆ กับต่างประเทศ

    ระยะที่สาม เป็นศูนย์กลางพัฒนาการใช้เงินหยวนขวางมากขึ้นและเป็นพื้นฐานสำคัญในการยกระดับเงินหยวนให้เป็นเงินสกุลหลัก(Hard currency)สามารถใช้เป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศควบคู่กับ ดอลลาร์สหรัฐฯและเงินยูโร

    8) 1 พฤศจิกายน 2551 จีนส่งเสริมให้มีการใช้เงินหยวนทำการค้าซื้อขายในรูปแบบการค้าชายแดนกับประเทศที่มีดินแดนติดต่อกับจีน โดยเฉพาะการค้าขายกับอาเซียน ให้มีการต่อยอดจากค้าชายแดนเป็นการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านด้วย พร้อมกับกำหนดให้การค้าชายแดนกับประเทศเทศอาเซียนที่มีชายแดนติดกับจีนเพิ่มขึ้น

    จากเดิมวันละ 3,000 หยวน ค่อคน เป็นไม่เกิน 8,000 หยวนต่อคน โดยไม่ต้องเสียภาษี ผลจากการส่งเสริมการค้าชายแดนด้วยเงินหยวนทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายจากอัตราแลกเปลี่ยนผ่านดอลลาร์สหรัฐฯ และได้เพิ่มความนิยมต่อผู้ค้าชายแดนมาก ปรากฏว่า การค้าชายแดนด้วยเงินหยวนระหว่างพม่ากีบจีนในปี 2553 รวม 1000 ล้านหยวนต่อปี และการค้าผ่านแดน(ประเทศเพื่อนบ้าน)ไทย-จีนมูลค่า 5008.2 ล้านหยวนในปี พศ.2553

    ด้วยมาตรการเร่งเงินหยวนสู่เงินสกุลหลักที่จีนออกมาเป็นชุด ๆ อย่างต่อเนื่องด้วยความสุขุมเยือกเย็นและรอบคอบ จะเอื้อให้เงินหยวนเป็นเงินหลักหรือเป็นเงินสากล(International currency) ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะเงินหยวนมีคุณสมบัติเป็นไปตามเงื่อนไขของการเป็น International currency ครบถ้วนทุกประการ

    กล่าวคือ (1) เงินหยวนเป็นเงินที่ใช้แลกเปลี่ยนได้เต็มที่(Full convertibility) (2)ตลาดเงินสกุลหยวนมีแนวโน้มขนาดใหญ่และมีระดับการพัฒนาที่มีศักยภาพสูงมาก ดังกรณีการพัฒนาตลาดเงินหยวนในฮ่องกงที่ประสบผลสำเร็จด้วยอัตราการเจริญเติบโตที่สูงมาก

    (3)ประเทศจีนเจ้าของเงินหยวนมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลกด้วย GDP ปี 2010 มูลค่า 5.88 ล้านล้านเหรียญสรอ. ปี พศ.2543 จีนมีมูลค่าการส่งออกใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก(1.51 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ) และมูลค่าการนำเข้าของจีนมากเป็นอันดับสองของโลก(1.31 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ)รองจากสหรัฐอเมริกา


    Babylon Search
    (4) ดัชนีชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจของจีนทั้ง 5 ตัว( 5 convergences) อยู่ในช่วงการแสดงถึงเศรษฐกิจจีนมีเสถียรภาพมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนี้สาธารณะของจีนมีเพิยงร้อยละ 18.9 ของ GDP(EUROSTAT) หรือร้อยละ 33.8 ของ GDP(IMF) เทียบกับค่าสัดส่วนหนี้สาธารณะเสถียรภาพต้องไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP

    ดังนั้น สถานภาพเศรษฐกิจจีนจึงยังมีความมั่นคงสูงมากขนาดเป็นที่พึ่งพิงของสหรัฐอเมริกาและยุโรปได้สบาย ๆ อย่างไม่ต้องกังขาและเมื่อพิจารณารวมถึงปัจจัยเสริมให้สถานภาพเศรษฐกิจระหว่างประเทศของจีนก็มีฐานะแข็งแกร่งที่สุดในโลก คือการมีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก ถึง 3.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯในเดือนกันยายน 2554

    ด้วยปัจจัยความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของจีนที่กล่าวมาข้างต้นย่อมเป็นหลักประกันให้ เงินหยวนของจีน สามารถผงาดขึ้นสู่เงินสกุลหลักหรือเงินสากล(Internatioal currecy) ได้อย่างไม่ยากในอนาคตอันใกล้คือภายในเวลาไม่เกิน 2 ปีข้างหน้านี้ และไม่ต้องรอถึงเกิน 10 ปีดังที่กูรูการเงินระหว่างประเทศปรามาสกันไว้
     
  12. JSR

    JSR สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +0
    รอดูสารคดีชุดนี้ของ Texe Marrs ครับ "Die America Die"

    <iframe width="550" height="410" src="http://www.youtube.com/embed/75uFpU1WrlM" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 ธันวาคม 2011
  13. JSR

    JSR สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +0
    เป็นตัวอย่างของสารคดีอีกชุดที่น่าดู "End of The Road" ...Total Collapse of World Economy
    (การล่มสลายของเศรษฐกิจโลก)



    <iframe width="600" height="410" src="http://www.youtube.com/embed/DHry1dK7ZLs" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 ธันวาคม 2011
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    :cool::cool:
    ...................................................

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=dHtwZ07N1ic&feature=related"]Linkin Park - Rolling In The Deep (Adele Cover - Live) - YouTube[/ame]
     
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ปีหน้าวิกฤตยูโรโซนยังแผลงฤทธิ์ น้ำมันขาลง-จีนขี่ม้าขาวกู้ศก.โลก
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>25 ธันวาคม 2554 21:28 น.</TD><TD vAlign=center align=left><SCRIPT src="http://platform.twitter.com/widgets.js" type=text/javascript></SCRIPT>


    <SCRIPT src="https://apis.google.com/js/plusone.js" type=text/javascript> {lang: 'th'}</SCRIPT><?XML:NAMESPACE PREFIX = G /><G:pLUSONE size="medium"></G:pLUSONE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    เอเจนซี - โพลล์นักเศรษฐศาสตร์ชี้ ปีหน้ายุโรปยังต้องเจอสภาพเศรษฐกิจน่าหดหู่ต่อไป ซึ่งจะมีผลกดดันการเติบโตทั่วโลก แต่ยังดีที่อย่างน้อยยังมีพวกประเทศตลาดเกิดใหม่และอเมริกาขี่ม้าขาวมาช่วยกู้เศรษฐกิจโลกได้บ้าง

    ผลสำรวจที่สำนักข่าวรอยเตอร์จัดทำขึ้นในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาบ่งชี้ว่า ในปี 2012 ประเทศพัฒนาแล้วรายใหญ่ที่สุดของโลกหลายแห่งจะเดินหน้าสู่ภาวะถดถอย ขณะที่ตลาดหุ้นทั่วโลกมีแนวโน้มฟื้นได้เพียงเศษเสี้ยวจากที่ดิ่งหนักในปีนี้ ส่วนราคาน้ำมันจะวูบลง แลพวกผู้จัดการสินทรัพย์ไม่แน่ใจว่าควรลงทุนที่ไหนดี

    นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ตั้งสมมติฐานไว้บนความหวังที่ว่า วิกฤตหนี้ภาคสาธารณะในยูโรโซนจะไม่พัฒนาเป็นวิกฤตเศรษฐกิจโลกรอบใหม่ เพราะเท่าที่เป็นอยู่ขณะนี้ก็กัดเซาะการเติบโตของชาติผู้ส่งออกสำคัญที่มียุโรปเป็นเป้าหมายแล้ว

    เจอราร์ด ลียองส์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด แบงก์ ย้ำว่า เศรษฐกิจโลกในปีหน้ายังคงเติบโตแต่แบ่งเป็นสองภาค กล่าวคือยุโรปจะฉุดรั้งเศรษฐกิจโลกให้ตกต่ำลงในช่วง 6 เดือนแรก แต่จีนจะดันเศรษฐกิจโลกให้เติบโตในช่วงครึ่งปีหลัง

    ความเสี่ยงสำคัญทางการเมืองยังจะผสมโรงให้แนวโน้มเศรษฐกิจโลกคลุมเครือยิ่งขึ้น โดยที่ในปีหน้าจะมใการเลือกตั้งและการเปลี่ยนตัวผู้นำในหลายประเทศทรงอิทธิพลที่สุด ขณะเดียวกันแนวโน้มความวุ่นวายในตะวันออกกลางก็ยังจะดำเนินต่อไป

    กระนั้น ยังพอมีความหวังอยู่บ้าง เริ่มจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ในช่วงไตรมาสส่งท้ายปีนี้มีผลงานดีกว่าคาด และผลสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ที่รอยเตอร์จัดทำขึ้น ยังแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจแดนอินทรีมีแนวโน้มขยายตัวราว 2.2% ในปี 2012 เทียบกับ 0% ที่พยากรณ์ไว้สำหรับยูโรโซน

    สำหรับสถานการณ์ของสหภาพยุโรป (อียู) นั้น ต้นเดือนนี้บรรดาผู้นำได้ดำเนินการครั้งประวัติศาสตร์ในการมุ่งสู่การรวมตัวใกล้ชิดขึ้นทางการคลัง แต่นักเศรษฐศาสตร์ต่างเชื่อว่า มาตรการดังกล่าวจะไม่สามารถบรรเทาวิกฤตหนี้ที่เรื้อรังย่างเข้าสู่ปีที่ 3 และปัญหานี้จะยังคงเป็นข่าวพาดหัวในปีต่อไป

    โพลล์ของรอยเตอร์สะท้อนความวิตกกังวลจริงๆ ของพวกนักเศรษฐศาสตร์ที่ว่า เหล่าผู้นำยุโรปพยายามน้อยเกินไปในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยมีแนวโน้มที่สเปนและอิตาลีกำลังมุ่งหน้าสู่ภาวะถดถอยที่เจ็บปวดและยาวนาน

    ขณะเดียวกัน ยูโรโซนโดยภาพรวมอาจเข้าสู่ภาวะถดถอยอ่อนๆ แล้วในขณะนี้ และจะยืดเยื้อไปจนถึงกลางปีหน้า

    ฮวน เปเรซ-แคมปาเนโร นักเศรษฐศาสตร์ของแซนแทนเดอร์ ตั้งข้อสังเกตว่า ยูโรโซนจะยังคงเป็นที่มาของความไร้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของทั่วโลกต่อไป

    ถึงแม้ว่า นักเศรษฐศาสตร์ในการสำรวจ 27 ต่อ 56 คนไม่คิดว่า สเปนและอิตาลีจะต้องรับเงินช่วยเหลือจากกองทุนฟื้นฟูของยูโรโซนในปีหน้า

    อย่างไรก็ดี ในการสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์และอดีตผู้วางนโยบายระดับนำของสถาบันวิชาการและสถาบันวิจัยที่ได้รับการนับถือ 20 คนเมื่อเดือนที่แล้ว พบว่า 14 คนในจำนวนนี้ไม่คิดว่ายูโรโซนในรูปแบบปัจจุบันจะสามารถอยู่รอดได้

    แม้แต่ญี่ปุ่น ที่นักเศรษฐศาสตร์ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตอย่างไม่ไว้หน้า กลับได้รับการคาดหมายว่าจะฟื้นตัวในปีงบประมาณหน้าที่เริ่มต้นในเดือนเมษายน โดยเติบโตในอัตรา 1.8% นอกจากนี้ ยังเชื่อกันว่า ญี่ปุ่นจะหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยได้อย่างหวุดหวิด แต่มีความหวังน้อยมากสำหรับการหลุดพ้นจากภาวะเงินฝืดในเร็วๆ นี้

    ความไม่แน่นอนขั้นรุนแรงที่รุมล้อมปี 2012 อาจสะท้อนออกมาชัดเจนที่สุดจากผลสำรวจเกี่ยวกับการโยกย้ายสินทรัพย์ของบริษัทลงทุนชั้นนำกว่า 50 แห่งในสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น

    เดือนนี้นักลงทุนเพิ่มการถือเงินสดเอาไว้ในมือในระดับสูงสุดในรอบปี เพื่อเตรียมรับมือปี 2012 ที่คาดว่าจะเต็มไปด้วยความวุ่นวาย แม้มีการโยกย้ายกลับไปลงทุนในหุ้นราคาถูกอยู่บ้างก็ตาม

    วิกฤตยูโรโซนคือปัจจัยที่ผู้จัดการสินทรัพย์กังวลที่สุด ดังนั้น จึงมีการถือครองเงินสดเพิ่ม รวมถึงย้ายไปลงทุนในตลาดหุ้นอังกฤษและเอเชียมากกว่าตลาดหุ้นยุโรป

    เช่นเดียวกัน ผลสำรวจตลาดหุ้นในไตรมาสสุดท้ายบ่งชี้ว่า ดัชนีหุ้นตลาดเกิดใหม่จะมีผลงานแซงหน้ายุโรปในปี 2012 และพยายามฟื้นตัวสู่ระดับเมื่อปลายปี 2010

    ในภาวะที่ยุโรปมุ่งหน้าสู่ภาวะถดถอย ราคาน้ำมันมีแนวโน้มลดลงนับจากบัดนี้ โดยราคาน้ำมันดิบชนิดเบรนต์ของตลาดลอนดอนจะซื้อขายเฉลี่ยที่ 105 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในปีหน้า ไม่ไกลจากสถิติสูงสุดเฉลี่ยของปีนี้ที่ 111 ดอลลาร์เท่าไรนัก

    เดวิด เวค จากบริษัทที่ปรึกษาในเวียนนา เจบีซี เอเนอร์จี้ คาดว่าชาติสมาชิกโออีซีดีจะเผชิญภาวะถดถอยอ่อนๆ ในปีหน้า และมีผลกดดันต่อดีมานด์และราคาน้ำมัน หรือไม่เช่นนั้น ราคาน้ำมันอาจถูกกดดันในด้านขาขึ้นจากสภาพแวดล้อมภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงมีปัญหา

    ไม่ว่าอนาคตของยูโรโซนจะเป็นอย่างไร ผลจากวิกฤตหนี้ได้แผ่ขยายเป็นที่รับรู้ไปทั่วโลกเป็นที่เรียบร้อย อียูนั้นเป็นตลาดส่งออกใหญ่สุดของจีน และข้อมูลด้านการผลิตแดนมังกรบ่งชี้ว่า ยอดสั่งซื้อใหม่ๆ จากต่างประเทศลดลงแล้ว

    เศรษฐกิจจีนขณะนี้โตช้าที่สุดนับจากปี 2009 เพื่อส่งเสริมการเติบโต แบงก์ชาติจึงลดสัดส่วนการกันสำรองของแบงก์พาณิชย์ลงเมื่อเดือนที่แล้วเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี

    อย่างไรก็ดี การสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ที่รอยเตอร์จัดทำขึ้นหลังการประกาศดังกล่าว พบว่าธนาคารกลางจีนจะยังคงละเว้นนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเชิงรุกเว้นแต่การเติบโตดิ่งต่ำกว่า 8%

    เช่นเดียวกัน อินเดียประสบปัญหาการเติบโตชะลอตัว และโพลล์ของรอยเตอร์บ่งชี้ว่า แบงก์ชาติจะผ่อนคลายนโยบายการเงินกลางปีหน้าแม้ภาวะเงินเฟ้อยังสูงอยู่ก็ตาม

    ที่บราซิล วันพฤหัสฯ ที่ผ่านมา (22) ธนาคารกลางลดตัวเลขประมาณการณ์เศรษฐกิจปีปัจจุบันจาก 3.5% เหลือ 3% และ 3.5% ในปีหน้า ซึ่งถือว่าน่าผิดหวังอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับอัตราเติบโตเฉลี่ยปีก่อนๆ ที่เกือบเป็นตัวเลขสองหลัก แต่ยังนับว่าดีหากเทียบกับอัตราที่เหี่ยวเฉาของประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่

    โดยรวมแล้ว สรุปได้ว่า แม้มหาอำนาจเศรษฐกิจเกิดใหม่เหล่านี้มีอัตราเติบโตตกต่ำลงเล็กน้อย แต่ยังสามารถผลักดันการเติบโตของโลกได้ในปีหน้า

    Around the World - Manager Online -
     
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    'ปูติน'อ้างรัสเซียส่วนใหญ่ยัง'หนุน'แม้ประชาชนเรือนแสนชุมนุมขับไล่
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 ธันวาคม 2554 21:38 น.

    [​IMG]

    วลาดิมีร์ ปูติน บุรุษเหล็กแห่งรัสเซีย

    เอเอฟพี - วลาดิมีร์ ปูติน บุรุษเหล็กแห่งรัสเซีย ยังคงได้รับความสนับสนุนจากประชาชนชาวรัสเซียส่วนใหญ่ โฆษกของเขาแถลงในวันอาทิตย์(25) ภายหลังที่มีผู้สนับสนุนฝ่ายค้านหลายหมื่นคนร่วมชุมนุมในมอสโกเมื่อวันเสาร์ (24) เพื่อประท้วงการเลือกตั้งที่กล่าวหากันว่ามีการโกงกันขนานใหญ่ ขณะเดียวกัน มิฮาอิล กอร์บาชอฟ ผู้นำคนสุดท้ายของสหภาพโซเวียต ก็เรียกร้องให้ปูตินลาออก

    ผู้ประท้วงจำนวนมากร่วมการชุมนุมประท้วงในกลางกรุงมอสโกวันเสาร์ โดยพวกเขาได้ตะโกนคำขวัญต่อต้านนายกรัฐมนตรีปูติน และเรียกร้องให้ประกาศการเลือกตั้งสมาชิกสภาล่างของรัฐสภาในต้นเดือนนี้เป็นโมฆะ

    ตำรวจระบุว่า ผู้ชุมนุมคราวนี้มี 29,000 คน ขณะที่ผู้จัดการประท้วงกล่าวว่ามี 120,000 คน ทางด้านพวกผู้สื่อข่าวของเอเอฟพีบอกว่า การชุมนุมคราวนี้มีผู้คนเข้าร่วมมากกว่าการชุมนุมครั้งแรกเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนอย่างชัดเจน อีกทั้งยังมีน้ำเสียงที่ต่อต้านปูตินรุนแรงกว่าด้วย

    การขึ้นเวทีปราศรัยของแกร์รี คาสปารอฟ อดีตแชมป์หมากรุกโลก และอเล็กเซย์ คูดริน อดีตรัฐมนตรีคลัง ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมดูมีความมั่นใจอีกครั้ง หลังจากมีการฝ่าฝืนข้อห้ามและจัดชุมนุมใหญ่ครั้งแรกเมื่อสืบกว่าวันที่ผ่านมา

    คลื่นการประท้วงใหญ่ครั้งแรกในรอบ 20 ปีภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ถือเป็นการแสดงความโกรธเกรี้ยวครั้งใหญ่ที่สุดของชาวรัสเซียนับจากช่วงแห่งความปั่นป่วนวุ่นวายในทศวรรษ 1990 และเป็นการท้าทายปูตินครั้งแรกในรอบ 12 ปีที่บุรุษผู้นี้ปกครองรัสเซีย
    [​IMG]
    การประท้วงเพิ่มความกดดันให้ปูตินปฏิรูประบบเลือกตั้งที่มีการควบคุมแน่นหนาของรัสเซียอย่างถอนรากถอนโคน ขณะที่เขาวางแผนหวนคืนสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีในการเลือกตั้งเดือนมีนาคมปีหน้า หลังจากกินตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมา 4 ปี ซึ่งหากได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีอีกครั้ง ปูตินจะรั้งเก้าอี้ยาวจนถึงปี 2024

    สัปดาห์ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีดมิทรี เมดเวเดฟ ประกาศปฏิรูปเพื่อเอาใจผู้ประท้วง ซึ่งรวมถึงการรื้อฟื้นระบบการเลือกตั้งผู้ว่าการระดับภูมิภาค แต่ดูเหมือนเป็นข้อเสนอที่ห่างไกลจากข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมที่ต้องการให้มีการจัดเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาใหม่

    อเล็กเซย์ นาวัลนี หนึ่งในผู้นำการประท้วง ประกาศกร้าวว่า การประท้วงครั้งหน้าจะมีผู้เข้าร่วมถึง 1 ล้านคน ซึ่งแม้ยังไม่ชัดเจนว่าจะเป็นเมื่อใด แต่กลุ่มแกนนำสำคัญระบุว่า น่าจะเป็นวันที่ 14 มกราคม

    ขณะเดียวกัน มิคาอิล กอร์บาชอฟ วัย 80 ปี ที่วิจารณ์การเลือกตั้งอย่างรุนแรงและเชื่อว่าเข้าร่วมชุมนุมด้วย ได้ให้สัมภาษณ์สถานีวิทยุมอสโก เอ็กโค แนะให้ปูตินลาออกทันที เพราะการดำรงตำแหน่งมาถึง 3 สมัยคือ ประธานาธิบดี 2 สมัย และนายกรัฐมนตรีอีก 1 สมัย น่าจะเป็นการเพียงพอแล้ว

    “เขาควรทำแบบที่ผมเคยทำ เพื่อรักษาคุณงามความดีที่เคยกระทำไว้” กอร์บาชอฟ ที่ครั้งหนึ่งเคยชื่นชอบปูติน อ้างอิงถึงการที่ตัวเขาลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 1991 เมื่อโซเวียตล่มสลาย

    มีรายงานว่านอกจากในมอสโกแล้ว ยังมีการชุมนุมในเมืองอื่นๆ ของรัสเซีย เช่น ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กที่มีข่าวว่ามีผู้ชุม 4,000 คน และ 2,000 คนในโนโวไซบิริสก์ ท้าทายสภาพอากาศเย็นเยือกติดลบ 15 องศาที่วัดได้ในไซบีเรีย

    ทางด้าน ดมิตริ เปสคอฟ โฆษกของปูติน บอกกับเอเอฟพีวานนี้ว่า ในฐานะนักการเมืองและผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ปูตินยังคงได้รับการสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่ และเราควรที่จะปฏิบัติต่อความคิดเห็นของคนส่วนข้างมากด้วยความเคารพ

    เปสคอฟยอมรับว่าได้เกิดการประท้วงขึ้นมาแล้ว และกล่าวว่าจุดยืนของผู้ประท้วงเหล่านี้ได้รับการปฏิบัติด้วยความเคารพ โดยถือว่าพวกเขาก็เป็นส่วนที่สำคัญมากของสังคม “แต่พวกเขาคือคนส่วนข้างน้อย” โฆษกของปูตินกล่าวย้ำ
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    Around the World - Manager Online - '
     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    In Pics: มองโลกปี 2011 ในมุมสูงจากภาพถ่ายผ่านดาวเทียม

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 ธันวาคม 2554 18:16 น.

    บีบีซี/ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ปี 2011 ที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์ขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะภัยจากธรรมชาติ เช่น คลื่นยักษ์สึนามิ และภูเขาไฟระเบิด หรือภัยจากน้ำมือมนุษย์ เช่น การปราบปรามผู้ประท้วงในโลกอาหรับ และปฏิบัติการล่าแกนนำกลุ่มก่อการร้าย ทั้งนี้ เว็บไซต์ข่าวบีบีซีได้ประมวลภาพเหตุการณ์ต่างๆ จากมุมมองของภาพถ่ายผ่านดาวเทียมไว้ ดังนี้

    [​IMG]

    จัตุรัสตอห์รีร์ ณ กรุงไคโร กลายเป็นศูนย์กลางการปฏิวัติประชาชนของชาวอียิปต์ ภาพนี้บันทึกเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ขณะผู้ประท้วงกำลังชุมนุมเฉลิมฉลอง หลังสามารถโค่นล้มอำนาจของอดีตประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค ผู้ปกครองอียิปต์มายาวนานเกือบ 30 ปี

    [​IMG]
    เมืองนาโตริ จังหวัดมิยางิ ถูกทำลายราบเป็นหน้ากลอง จากคลื่นยักษ์สึนามิซัดถล่มพื้นที่ตลอดแนวชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 11 มีนาคม หลังแผ่นดินไหวขนาด 9.0 ก่อเป็นคลื่นยักษ์สึนามิความสูงหลายสิบเมตร ภาพนี้บันทึกเมื่อวันที่ 12 มีนาคม
    [​IMG]
    ตู้คอนเทนเนอร์ล้มระเนระนาดทั่วบริเวณท่าเรือเซนได อีกหนึ่งพื้นที่ภัยพิบัติสึนามิของญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 11 มีนาคม มีการประเมินในภายหลังว่า คลื่นสึนามิถาโถมลึกเข้าแผ่นดินไกลถึง 20 กิโลเมตร
    [​IMG]
    ภาพโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ ของญี่ปุ่น บันทึกเมื่อเวลา 11.04 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) 3 นาที หลังการระเบิดของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 3 ทั้งนี้ เหตุการณ์ต่อเนื่องหลังจากนาทีนี้ส่งผลให้ระบบหล่อเย็นล้มเหลว ลุกลามกลายเป็นอุบัติภัยนิวเคลียร์ครั้งเลวร้ายที่สุดในโลก ตั้งแต่เหตุการณ์ที่โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล

    [​IMG]
    ภูเขาไฟปูเยอวย-กอร์ดอน เกาเญ ของชิลี ปะทุปลดปล่อยเถ้าถ่านลอยสู่บรรยากาศไกลออกไปหลายพันกิโลเมตร ภาพนี้บันทึกเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน

    [​IMG]
    ภาพถ่ายจากสถานีอวกาศนานาชาติบันทึกนาทีที่กระสวยอวกาศ “แอตแลนติส” กลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก ปิดฉากยุคกระสวยอวกาศ ทั้งนี้ กระสวยแอตแลนติสที่เหลือจากการร่อนลงสู่โลกจะได้รับการจัดตั้งไว้ในพิพิธภัณฑ์ และคาดว่าจะสามารถดึงดูดผู้คนจากทั่วสหรัฐฯ

    [​IMG]
    ภูเขาไฟใต้ทะเลปะทุนอกชายฝั่งเกาะเอล เอียร์โร หนึ่งในหมู่เกาะคะเนรีที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของแอฟริกา ปลดปล่อยเถ้าถ่านสีเขียวเข้มออกสู่ผืนน้ำ เถ้าถ่านสีเขียวเหล่านี้ประกอบไปด้วยแก๊ซภูเขาไฟ และเศษซากของหินลาวาและหินใต้ท้องทะเล
    [​IMG]
    ซากเฮลิคอปเตอร์สเตลท์ของชุดปฏิบัติการเด็ดหัวอุซามะห์ บิน ลาดิน ผู้ก่อตั้งอัลกออิดะห์ ตกอยู่ภายในเขตบ้านพักของบิน ลาดิน ที่เมืองอับบอตตาบัด ปากีสถาน เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ซากเฮลิคอปเตอร์ลำนี้สามารถมองเห็นได้จากทางอากาศด้วยดาวเทียมของ “จีโออาย” บริษัทบริการภาพถ่ายผ่านดาวเทียม

    Around the World - Manager Online - <b><font color=blue>In Pics:</font></b>
     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    “คิม จอง นัม” เลือกลั้ลลาที่มาเก๊า ปล่อย “น้องเล็ก” นั่งแท่นผู้นำโสมแดง

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 ธันวาคม 2554 10:49 น.
    [​IMG]
    คิม จอง นัม (ซ้าย) บุตรชายคนโตของผู้นำ คิม จอง อิล ยังคงเลือกใช้ชีวิตโลว์โพรไฟล์อยู่ในมาเก๊า ปล่อยให้น้องชายต่างมารดาอย่าง คิม จอง อึน สืบทอดอำนาจจากผู้เป็นพ่อ

    เอเอฟพี - หลังจากผู้นำ คิม จอง อิล สิ้นชีวิตลงอย่างกะทันหันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สถานที่อยู่ของ คิม จอง นัม บุตรชายคนโต จึงกลายเป็นสิ่งที่หลายฝ่ายกำลังจับตามองอย่างใกล้ชิด

    ว่ากันว่า บุตรชายคนโตของผู้นำคิมใช้ชีวิตหรูหราฟุ่มเฟือยอย่างเงียบๆ บนเกาะมาเก๊า หลังถูกจับได้ว่าปลอมหนังสือเดินทางไปเที่ยวโตเกียวดิสนีย์แลนด์ เมื่อปี 2001

    ลูกที่ถูกลืมของพ่อและทายาทผู้นำที่คณะปกครองเกาหลีเหนือไม่ใส่ใจรายนี้ ได้แต่มองดูอยู่ห่างๆ ขณะที่น้องชายต่างมารดาอย่าง คิม จอง อึน ถูกวางตัวให้เป็นผู้สืบทอดอำนาจตั้งแต่ปี 2009

    ความเคลื่อนไหวของ จอง นัม นับตั้งแต่เกาหลีเหนือแถลงข่าวการถึงแก่อสัญกรรมของผู้นำคิม อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงแผนการอันแยบยลของกรุงเปียงยางขณะที่คอมมิวนิสต์โสมแดงมาถึงจุดเปลี่ยนผ่านอำนาจ ทว่าผู้สังเกตการณ์ในมาเก๊าระบุว่า จอง นัม ยังคงใช้ชีวิตอยู่นอกจอเรดาร์เหมือนเดิม

    “เขาเดินทางไปที่นั่นที่นี่ตลอดเวลา จึงยากที่จะหาตัวพบ” ริคาร์โด ปินโต เจ้าของนิตยสาร มาเก๊า โคลสเซอร์ ซึ่งติดตามความเคลื่อนไหวของ จอง นัม ในอดีตดินแดนอาณานิคมของโปรตุเกส เผย

    “บางครั้งเขาก็อยู่บ้าน แต่บางทีก็ย้ายไปนอนตามโรงแรมต่างๆ จึงบอกไม่ได้ว่าเขาอยู่ที่ไหน”

    จอง นัม ปรากฏตัวผ่านสื่อครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ โตเกียว ชิมบุน ณ สถานที่แห่งหนึ่งทางตอนใต้ของจีน

    เขาบอกว่า อันที่จริงแล้ว คิม จอง อิล ซึ่งรับตำแหน่งผู้นำประเทศต่อจากอดีตประธานาธิบดี คิม อิล ซุง ในปี 1994 ไม่ได้สนับสนุนการสืบอำนาจตามสายตระกูลสู่รุ่นที่ 3 แต่ที่แต่งตั้ง จอง อึน ซึ่งอยู่ในวัย 20 ปลายๆ และไม่มีประสบการณ์ทางการเมืองเลยนั้น ก็เพราะต้องการให้บ้านเมืองมีเสถียรภาพ

    “การสืบอำนาจตามสายเลือดไม่เคยเกิดขึ้น แม้กระทั่งในยุคผู้นำ เหมา เจ๋อตง ของจีน” จอง นัม ในชุดเสื้อเชิ้ตสีชมพูสวมทับด้วยแจ็กเก็ต พร้อมแว่นตาสีน้ำตาล ให้สัมภาษณ์

    “(การสืบอำนาจตามสายเลือด)ไม่เหมาะกับระบอบสังคมนิยม และพ่อผมก็ไม่เห็นด้วย... ผมเข้าใจว่าที่พ่อต้องทำอย่างนี้ก็เพื่อสร้างความมั่นคงแก่แม่แบบของประเทศ” จอง นัม กล่าว พร้อมเตือนว่า หากเกาหลีเหนือขาดเสถียรภาพจะส่งผลกระทบถึงประเทศที่อยู่ใกล้เคียงทั้งหมด

    [​IMG]

    ภาพถ่าย คิม จอง นัม เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ปี 2010


    แม้ผู้สังเกตการณ์ส่วนใหญ่จะเชื่อว่า จอง นัม พำนักอยู่ในมาเก๊าเป็นหลักหลังถูกขับออกจากญี่ปุ่นเมื่อหลายปีก่อน แต่มีรายงานว่า เขามีบ้านในกรุงปักกิ่ง และเคยเดินทางเยือนประเทศอื่นๆ อยู่บ่อยครั้ง เช่น ออสเตรีย, ฝรั่งเศส รวมถึงไทย

    นักวิเคราะห์มองว่า การถ่ายโอนอำนาจสู่ผู้ปกครองรุ่นใหม่อาจเป็นประตูสู่การปฏิรูป และฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีเหนือกับโลกภายนอก เนื่องจาก จอง อึน เป็นผู้นำคนแรกของเกาหลีเหนือที่ได้รับการศึกษาจากตะวันตก

    จอง นัม เองก็เคยไปศึกษาที่โรงเรียนประจำในสวิตเซอร์แลนด์เช่นกัน แต่เนื่องจากเขาใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับเหล้าและการพนันขันต่อ ทำให้ภาพลักษณ์ดูย่ำแย่ในสายตาของคณะปกครองที่เปียงยาง นักวิเคราะห์เผย

    “เขาออกไปอยู่ต่างประเทศนานเกินไป และไม่มีฐานอำนาจทางการเมืองในเกาหลีเหนือเลย” โจเซฟ เช็ง นักวิเคราะห์การเมืองจาก ซิตี ยูนิเวอร์ซิตี ออฟ ฮ่องกง ระบุ

    จอง นัม ซึ่งเคยถูกคาดหมายว่าจะเป็นทายาททางการเมืองของผู้นำคิมในช่วงปลายทศวรรษที่ 1990 เคยมีตำแหน่งเป็นถึงนายพลและหัวหน้าหน่วยป้องกันข่าวกรองเกาหลีเหนือ ซึ่งจากประสบการณ์ดังกล่าวน่าจะทำให้เขาเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า จอง อึน ทว่าเขาเองกลับไม่ใยดีตำแหน่งสูงสุดในรัฐบาล

    “ถ้าผมเป็นคนสืบทอดตำแหน่ง คุณจะได้เห็นผมใส่เสื้อยืดเดินทอดหุ่ยอยู่ในมาเก๊านี่หรือ? ผมก็แค่ลูกชายคนหนึ่งของ คิม จอง อิล เท่านั้น” เขากล่าวกับผู้สื่อข่าวโทรทัศน์ญี่ปุ่น เมื่อปี 2009

    ในการให้สัมภาษณ์ล่าสุดต่อ โตเกียว ชิมบุน จอง นัม เผยว่ารู้สึก “ปวดใจ” เมื่อได้ทราบความอดอยากยากแค้นของพลเมืองเกาหลีเหนือ และเรียกร้องให้ผู้นำในกรุงเปียงยาง “ใส่ใจกับการปฏิรูปและเปิดประเทศ”

    “สิ่งที่เกาหลีเหนือต้องการมากที่สุดก็คือ การฟื้นฟูสัมพันธ์กับสหรัฐฯ และสันติภาพบนคาบสมุทรเกาหลี” เขากล่าว

    Around the World - Manager Online -
     
  19. Numtrn

    Numtrn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    1,408
    ค่าพลัง:
    +1,571
    ญี่ปุ่น เริ่ม กักตุน เงินหยวนของจีน แทนดอลล่าUSA


    งานนี้ ของจริง อย่างที่จขกท บอกไว้


    น่ากลัวจริงๆ
     
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ถ้ายูโรแตก

    โดย : วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ
    สองสัปดาห์ก่อน ดิฉันเขียนถึงปัญหาของยุโรปว่ายังไม่จบง่ายๆ เพราะมีความซับซ้อนและการแก้ไขทำได้ค่อนข้างยาก
    <!--<script type="text/javascript"> google_ad_channel = '3694366847'; //slot number google_ad_type = 'text'; //media image, text, html, flash google_max_num_ads = '3'; //amount Ads //google_image_size = '338X280'; //google_skip = '3'; var ads_ID = 'Google-adsense-indetail'; // set ID for main Element div var displayBorderTop = false; // default = false; //var displayLandScape = true; // false=Default, true=landscape *** if set Landscape not arrow ad type image var position_ad_detail ='in'; // ''=Default, in=Intext, under=TextUnderDetail </script> <script type="text/javascript" src="http://www.bangkokbiznews.com/home/main/js/adsense/AdsenseJS.js"></script> <script type="text/javascript" src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js"></script>--><SCRIPT language=JavaScript src="http://ads.nationchannel.com/adserverkt/adx.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT language=JavaScript type=text/javascript> if (!document.phpAds_used) document.phpAds_used = ','; phpAds_random = new String (Math.random()); phpAds_random = phpAds_random.substring(2,11); document.write ("<" + "script language='JavaScript' type='text/javascript' src='"); document.write ("http://ads.nationchannel.com/adserverkt/adjs.php?n=" + phpAds_random); document.write ("&what=zone:119"); document.write ("&exclude=" + document.phpAds_used); if (document.referrer) document.write ("&referer=" + escape(document.referrer)); document.write ("'><" + "/script>"); </SCRIPT><SCRIPT language=JavaScript src="http://ads.nationchannel.com/adserverkt/adjs.php?n=594310667&what=zone:119&exclude=,&referer=http%3A//www.bangkokbiznews.com/home/" type=text/javascript></SCRIPT><NOSCRIPT>[​IMG]</NOSCRIPT><!-- <iframe src="http://www.bangkokbiznews.com/home/banner/all-ad-300-indetail.php" frameborder="0" scrolling="no" width="300" height="250"></iframe> -->เนื่องจากกฎเกณฑ์และข้อกำหนดครอบคลุมถึงทุกประเทศ แต่การปกครองของแต่ละประเทศจะแตกต่างกัน จึงมีความยากในการบังคับใช้และการลงโทษ และนักวิเคราะห์จำนวนมากเริ่มเชื่อแล้วว่าประเทศในกลุ่มยูโรอาจจะไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้

    ในวันนี้จะขอรวบรวมความเห็นและการคาดการณ์ของผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ว่า ถ้ายูโรแตกแล้วจะเกิดอะไรขึ้น เพื่อให้ท่านผู้อ่านเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์ หากเกิดขึ้นจริงค่ะ

    ตามที่ได้เขียนไปแล้วว่า สนธิสัญญาของยูโร ไม่ได้เขียนให้สามารถขับไล่ประเทศใดประเทศหนึ่งออกจากกลุ่มได้ ดังนั้น การออกจากยูโรจึงต้องเป็นเรื่องของความสมัครใจ ซึ่งน่าจะออกมาในลักษณะสองรูปแบบ คือการที่ประเทศแข็งแรงออกจากยูโร ไปสร้างกลุ่มเศรษฐกิจและสกุลเงินใหม่ กับการที่ประเทศอ่อนแอออกจากยูโรไปหาสกุลเงินของตนเอง
    ในกรณีแรก หากประเทศที่แข็งแรงกว่าทนเป็นผู้แบกรับภาระประเทศกลุ่มชายขอบที่มีปัญหาไม่ไหว ก็อาจจะมีทางเลือกที่จะย้ายตัวเองออกจากกลุ่ม ไปสร้างเศรษฐกิจและสกุลเงินใหม่ และปล่อยให้ประเทศที่อ่อนแอยังอยู่ในกลุ่มและใช้เงินสกุลยูโรต่อไป

    ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อเหลือแต่ประเทศที่อ่อนแอในกลุ่ม ค่าเงินยูโรก็จะอ่อนลง สะท้อนสถานการณ์ทางการเงินของประเทศเหล่านี้ โดยคาดว่า ค่าเงินอาจจะลดลงประมาณ 20-30% ซึ่งจะทำให้ประเทศเหล่านี้ เริ่มมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่ม สามารถขายสินค้าและบริการให้กับประเทศอื่นๆ ในโลกได้ มีเงินทุนไหลเข้า และค่อยๆ ฟื้นตัว ดังเช่นที่เกิดขึ้นกับไทยในปี 2540

    อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์คาดว่า ราคาสินทรัพย์ในประเทศกลุ่มที่อ่อนแอ เช่น กรีซ อาจจะลดลงไปถึง 50-60% เลยทีเดียว

    สำหรับประเทศแข็งแรงที่ออกไปสร้างสกุลเงินใหม่ (ซึ่งน่าจะมีเยอรมนีเป็นประเทศหลัก) น่าจะมีค่าเงินที่แข็ง ซึ่งอาจจะทำให้การส่งออกสินค้าและบริการไปยังประเทศกลุ่มยูโร (อ่อนแอ) มีสัดส่วนที่ลดน้อยลงอย่างมาก เพราะประเทศกลุ่มยูโร (อ่อนแอ) จะมีอำนาจซื้อที่ลดลง เนื่องจากเงินยูโรอ่อนค่าลง

    ในกรณีที่สอง คือประเทศที่อ่อนแอ ถูกบีบออกจากยูโร โดยแต่ละประเทศอาจจะกลับไปรื้อฟื้นสกุลเงินของตัวเอง เช่น กรีซอาจจะกลับไปใช้เงิน “ดรักมา” (Drachma) ที่รัฐจะกำหนดค่าขึ้นใหม่ เพื่อใช้เป็นค่าในการแปลงหนี้และสินทรัพย์ต่างๆ ที่อยู่ในสกุลเงินยูโรเดิม ซึ่งไม่ว่าจะกำหนดไว้เท่าใด ในที่สุด ก็ย่อมต้องอ่อนค่าอย่างมาก และจะทำให้เงินเฟ้อในประเทศสูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าและบริการที่ต้องนำเข้า
    ส่วน เงิน "ยูโร" ก็จะแข็งค่าขึ้น เพราะประเทศที่คงเหลืออยู่ ล้วนเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่ง

    อย่างไรก็ดี เพื่อป้องกันเงินทุนไหลออกจำนวนมาก ประเทศอ่อนแอเหล่านี้จำเป็นจะต้องประกาศควบคุมการส่งเงินออกนอกประเทศ และอาจจะต้องห้ามถอนหรือเคลื่อนย้ายเงินออกจากสถาบันการเงิน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการขาดสภาพคล่องอย่างฉับพลัน

    สถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ให้กับประเทศเหล่านี้ หากปล่อยกู้ภายใต้กฎหมายของประเทศลูกหนี้นั้นๆ เช่น กฎหมายกรีซ ก็จะต้องยอมรับอัตราแลกเปลี่ยนที่ถูกกำหนดขึ้นใหม่ แต่หากให้กู้ภายใต้กฎหมายอื่น เช่น กฎหมายอังกฤษ ลูกหนี้ยังคงมีภาระต้องคืนหนี้ตามที่กำหนด ซึ่งอาจจะทำให้ธุรกิจต่างๆ ของประเทศลูกหนี้ล้มละลายจากการที่หนี้ท่วมตัว

    สถาบันการเงินที่ให้กู้และหรือลงทุนในประเทศยุโรปชายขอบทั้งหมด ก็จะพลอยสั่นคลอนไปด้วย โดยอิตาลี เป็นลูกหนี้รายใหญ่ที่สุด มีมูลหนี้ถึงประมาณ 900,000 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่สเปนมีมูลหนี้ประมาณ 700,000 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับกรีซ ซึ่งมีมูลหนี้รวมเพียง 150,000 ล้านดอลลาร์ ทุกคนจึงพยายามประคับประคองให้ประเทศลูกหนี้อยู่ได้ มิฉะนั้น หากต้องตัดลดหนี้ไปเป็นสัดส่วนมากๆ สถาบันการเงินเจ้าหนี้ก็อาจจะล้ม และจะเดือดร้อนถึงรัฐบาลของประเทศที่แข็งแรงเหล่านั้น

    ประเทศอ่อนแอที่ออกมาจากกลุ่มยูโร อาจจะได้เปรียบในเรื่องการส่งออกในระยะสั้น เนื่องจากค่าเงินอ่อน แต่ในระยะต่อมา เมื่อเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น เมื่อตลาดอัตราแลกเปลี่ยนและการเคลื่อนย้ายเงินทุนออกนอกประเทศไม่ถูกควบคุม เมื่อคนตกงาน ธุรกิจล้มละลาย การบริโภคในประเทศก็หดหาย ฐานะของรัฐบาลก็ไม่ดีขึ้น เพราะยังคงไม่สามารถเก็บรายได้ในรูปแบบของภาษีได้ หากสถานการณ์เลวร้าย อาจมีการจลาจล ประท้วง ฯลฯ

    อย่างไรก็ดี มาตรการต่างๆ ที่ผู้นำประเทศกลุ่มยูโรออกมาในตอนนี้ ถูกมองว่า เป็นเพียงการช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น ปัญหาจริงๆ ยังไม่ได้รับการแก้ไข และก็ไม่มีคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วย ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลของประเทศอ่อนแอเหล่านั้นที่ต้องชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจว่า ประเทศของตนไม่อยู่ในสถานะที่จะให้ประชาชนได้รับรัฐสวัสดิการเหมือนเดิมอีกต่อไป ประชาชนที่ต้องทำงานมากขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพขึ้น ลดค่าจ้างลงไป คนรุ่นลูกรุ่นหลานที่ต้องแบกรับภาระหนี้สาธารณะไปอีก 20-30 ปี ธุรกิจที่จะต้องเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อให้แข่งขันได้ และเจ้าหนี้ของประเทศเหล่านั้นที่ต้องยอมลดยอดหนี้ลง เพื่อให้ลูกหนี้อยู่ได้ และทยอยผ่อนหนี้ต่อไปอีก 20-30 ปี

    นักเศรษฐศาสตร์บางค่ายมองว่า จะแก้ปัญหาได้ รัฐของประเทศอ่อนแอเหล่านี้จะต้องอัดฉีดเงินเข้าไปกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยต้องอาศัยความเชื่อมั่นของประเทศอื่นในกลุ่มที่จะให้กู้ผ่านกลไกกองทุนรักษาเสถียรภาพ หรือผ่านไอเอ็มเอฟ เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัว คือต้องก่อหนี้เพิ่มอีกเพื่อแก้ไขปัญหา การรัดเข็มขัดในตอนนี้รังแต่จะทำให้ปัญหาเรื้อรัง

    ปัญหาของประเทศไทยเมื่อปี 2540 แก้ได้ง่ายกว่าปัญหาของกรีซ เพราะในตอนนั้น เราปรับค่าเงินจากการค่อนข้างผูกติดกับดอลลาร์เป็นการลอยตัว ที่สำคัญ ภาครัฐของเราไม่ได้อ่อนแอ หนี้สาธารณะของเราก็ต่ำมาก เมื่อภาคเอกชนอ่อนแอ แต่ภาครัฐเข้มแข็ง ก็จะมีเงินที่สามารถอัดฉีดเข้าไปกระตุ้นเศรษฐกิจ มีกำลังเข้าไปเสริมสภาพคล่อง และเพิ่มทุนให้กับสถาบันการเงินเพื่อรักษาเสถียรภาพ

    แต่สำหรับกรีซ และอีกหลายประเทศในยุโรป รัฐบาลอ่อนแอ ไม่มีกำลังเงิน ภาคเอกชนก็ไม่สามารถแข่งขันได้ดีนัก ประกอบกับขาดอาวุธที่จะปรับลดค่าเงินเพื่อให้สินค้าและบริการสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก จึงมองแทบไม่เห็นทางออกของปัญหา

    แม้ไทยเราจะไม่ได้ค้าขายกับประเทศยุโรปชายขอบมากนัก แต่การที่เศรษฐกิจของยุโรปส่วนใหญ่มีปัญหาและคาดว่าจะเกิดการถดถอยในปี 2555 จะทำให้เศรษฐกิจของโลกเติบโตน้อยลงด้วย การส่งออกของเอเชียก็คงจะเติบโตลดลง จึงส่งผลต่อไทยเราโดยปริยาย เพราะฉะนั้น ต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และประเมินว่าจะส่งผลต่อธุรกิจของท่านอย่างไร เพื่อเตรียมพร้อมค่ะ

     

แชร์หน้านี้

Loading...