*เครื่องรางของขลัง/วัตถุมงคล...รายการละ 100 บ./พร้อมส่ง บูชา 3 รายการ แถม 1 รายการ...

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Pitiphat, 4 มิถุนายน 2018.

  1. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่564 พระปิดตาพิมพ์พระภควัมบดี รุ่นปลดหนี้ พิธีเสาร์ ๕ บ้านพระไตรรัตนะพรหมเทวะรักษา
    พระภควัมบดี พระปิดตา สุดยอดทางคงกระพัน แคล้วคลาด เมตตามหานิยม

    ถ้าพูดถึงบรรดานักนิยมพระเครื่องนั้นส่วนมากเพียงแต่เรียนรู้ว่า พระภควัมบดีหรือที่เรา ๆ นิยมเรียกกันว่าพระปิดตา หรือปิดทวารทั้งเก้านั้น ท่านเป็นพระวัดไหน? คณาจารย์องค์ใดเป็นผู้สร้าง? ลักษณะสำคัญเป็นอย่างไร เนื้อหาและราคาควรจะเล่นและให้เช่าในราคาเท่าไร เรารู้จักกันดีด้วยกันทุกคน แต่ถ้าใครจะมาถามเราถึงความเป็นมาและเป็นไปถึงกำเนิดการสร้างการถือรูปคติ มาจากไหน ความเป็นมาและเป็นไปอย่างไร เราส่วนมากเก้าในสิบคนนั้น ตอบไม่ได้ และยิ่งไปกว่านั้นอีก เมื่อพบกับปัญหาที่ว่า พระปิดตา ปิดทวารทั้งเก้านั้น เขาห้ามเอาเข้าบ้านโดยเฉพาะผู้ที่ทำการค้า และหญิงที่มีครรภ์แล้วก็ยิ่งไปกันใหญ่ เกรงว่าท่านจะปิดกั้นความร่ำรวย และปิดอะไรต่อมิไรเสียหมดสิ้น คำถามเหล่านี้เข้าใจว่า ท่านนักนิยมพระเครื่องส่วนมากคงได้ยินได้ฟังตามความเชื่อถือ ตามคติโบราณผิด ๆ นี้มาด้วยกันทุกคน ครั้นจะตอบปัญหาข้อข้องใจให้กระจ่างนั้น

    ถ้าเราในฐานะนักนิยมพระเครื่องไม่ทราบถึงสาเหตุ กำเนิดการถือรูปตามนัยคติ เอามาสร้างนั้นเป็นมาอย่างไรก็อยากจะตอบให้ผู้ถามคลายความเชื่อตามคติโบราณ ดังกล่าว ผู้เขียนจึงได้ถามนักเขียนรุ่นอาวุธโสซึ่งมีความรู้แตกฉานในวิชาไสยศาสตร์ผู้หนึ่ง ได้บอกเล่าถึงความเป็นมาของพระภควัมบดี หรือ พระปิดทรวารตามตำรับโบราณมาเสนอท่านผู้อ่านดังนี้

    ในกระบวนเครื่องรางของขลังตั้งแต่โบราณกาลมาแล้วพระภควัมบดีนับว่าเป็นยอดที่สุดในบรรดาเครื่องรางของขลังทั้งหลาย แต่ที่ทุกวันนี้พระภควัมบดีแทบจะถูกลืมไปเสียก็ได้ จะมีรู้จักก็อยู่ในวงแคบ เนื่องจากการสร้างพระภควัมบดีนั้น ถ้าจะสร้างให้ถูกวิธีการแบบโบราณที่แท้จริงแล้ว เป็นการยากยิ่งนอกจากต้องหาวันที่บังคับไว้ตามตำราแล้ว เมื่อเวลาปลุกเสกจะต้องใช้เวลาหลายวัน และปลุกเสกด้วยคาถาบังคับเป็นพัน ๆ จบ ท่านโบราณาจารย์ท่านบังคับไว้ว่าต้องปลุกไปจนกว่าพระจะลุกขึ้นมานั่ง จึงจะถือว่าสำเร็จตามพิธี เมื่อทำได้ดังนี้แล้วเป็นอันเชื่อได้ว่า ย่อมเป็นของขลังที่สามารถคุ้มภยันตรายให้กับผู้ที่มีไว้แน่นอน

    ก่อนที่จะแนะนำ ให้ท่านผู้อ่านนิยมพระภควัมบดี ผู้เขียนใคร่จะแนะนำให้ท่านผู้อ่านทราบถึงประวัติความเป็นมาของพระภควัมบดีเสียก่อน เพื่อจะได้เกิดศรัทธาแก่ท่านผู้มีสักการะพระภควัมบดีให้ยิ่งขึ้นไปอีก

    “ควัมปติ มหาเถโร” ตามบาลีกล่าวว่า พระภควัมบดีท่านได้รับการยกย่องจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราว่า เป็นอัครสาวกผู้เป็นเอกทัคคะผู้หนึ่งในการทรงไว้ซึ่งความเฉลี่ยวฉลาด ในการอธิบายความแห่งธรรมที่ย่อให้พิศดารได้ยอดเยี่ยมกว่าสาวกองค์อื่นใด

    ประวัติเดิมของท่าน ตามพระบาลีว่าท่านกำเนิดมาจาก ตระกูลพราหมณ์ – ปุโรหิต กัจจายนะโคตร์ของกรุงอชเชนี นามเดิมของท่านคือ “กาญจน์” ที่ท่านได้ชื่อดังนี้เพราะท่านมีวรรณะงดงามดังทอง ได้ศึกษาเล่าเรียนไตรเพทตามตระกูลจนเจนจบ ได้เป็นพราหมณ์ปุโรหิตแทนบิดาในสมัยพระเจ้าจันทรปัตโชติ เมื่อท่านได้ฟังธรรมเทศนาในสำนักพระศาสดาของเราแล้วก็ได้บรรลุพระอรหันต์ ต่อเมื่อภายหลังท่านได้อุปสมบทด้วยอหิภิกขุอุปสัมปทา

    พระมหากัจจายนะ เป็นผู้ที่มีพรรณ์และวรรณะ งดงามตามพระบาลีกล่าวว่า สุวรรณโณจวนณณัง คือ มีผิวเหลืองดั่งทองคำ มิว่าท่านจะไป ณ สถานที่ใด เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายต่างพากันสรรเสริญว่า ท่านคือพระศาสดาเสด็จมาแล้ว เพราะเหตุที่ท่านมีรูปโฉมละม้ายเหมือนพระศาสดานั้นเอง เมื่อเป็นดังนี้ท่านก็คิดว่า การที่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายพากันสรรเสริญท่านครั้งนี้เป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง ท่านจึงกระทำอิทธิฤทธิ นิมิตกายให้เตี้ยงลงจึงดูคล้ายท้องพลุ้ย ปฐมเหตุครั้งนี้เองท่านโบราณาจารย์จึงได้ถือเอาปางกระทำอิทธิฤทธิเป็นรูประลึก เช่นพระปิดตา และพระสังกระจาย จึงก่อนกำเนิดขึ้นมา ด้วยประการฉะนี้

    อันความงามแห่งวรรณะของท่านในธรรมบทยังได้กล่าวถึงความเป็นผู้มีความงามและมีเสน่ห์นิยมของท่านว่า เมื่อครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับแรมอยู่ ณ กรุงสารวัตถีนั้นพระมหากัจจายนะได้เดินทางไปสู่เมือโสเรยยะ ในขณะที่ท่านกำลังเดินทางอยู่นั้นได้เดินสวนทางกับบุตรชายเศรษฐีแห่งเมืองนั้น บุตรชายเศรษฐีได้เห็นความงามมีเสน่ห์และผิวพรรณอันเปล่งปลั่งประดุจดังทองคำมาทาบทาของพระมหากัจจายนะ จึงรำพึงขึ้นในใจว่า “เราอยากได้ภรรยาที่มีผิวพรรณงดงามดังพระสงฆ์สาวกองค์นี้” แม้กระทั่งผิวพรรณควรจะงามเช่นนี้ “เพียงแต่บุตรเศรษฐีรำพึงเพียงเท่านี้ ด้วยอำนาจและอภินิหารของพระมหากัจจายนะ บันดาลให้บุตรเศรษฐีมีนามว่า “โสเรยยะ” มีอันเป็นไปถึงกลายร่างเป็นเพศหญิงไปในขณะนั้นเอง

    เมื่อนายโสเรยยะรู้สึกตัวว่าได้กลายเป็นเพศหญิงไปแล้ว มีความละอายใจจึงหลีกหนีไปจากหมู่สหายในขณะนั้น นี้เป็นเพราะผลบาปที่ได้มีจิตล่วงเกินต่อพระมหากัจจายนะนั่นเอง และภายหลังนายโสเรยยะเมื่อได้กลายเพศเป็นหญิง (ไม่ใช่การผ่าตัดแปลงเพศตามข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์) และได้เป็นภริยาของเศรษฐี แห่งเมืองตักศิลา
    จนกระทั่งเกิดบุตรด้วยกันสองคน

    กาลต่อมาเมื่อได้พบสหายเก่าและได้ทบทวนความหลังให้ฟังจนสหายยอมเชื่อถือและแนะนำให้นายโสเรยยะไปหาพระมหากัจจายะ ซึ่งขณะนั้นอยู่ ณ เมืองตักศิลาพอดี เมื่อได้สารภาพผิดถึงอกุสลจิตของตนแต่เมื่อครั้งเป็นเพศชายต่อท่านแล้ว

    พระมหากัจจายนะ ได้ทราบท่านได้กล่าวอภัยให้นายโสเรยยะจึงกลายเพศกลับเป็นชายดังเดิม ณ บัดนั้นเองเมื่อนายโสเรยยะเห็นอณิสงฆ์ของพระมหากัจจายนะจึงเกิดศรัทธาประสาทะขอบรรพชาในสำนักของท่านมหากัจจายนะนั่นเองนี่เป็นเพียงประวัติที่ผู้เขียนย่อมาจากพระธรรมบทเท่านั้น ถ้าจะพรรณนาให้เต็มตามพระธรรมบทแล้วเกรงว่าท่านผู้อ่านจะเข้าใจว่าผู้เขียนมาเล่านิทานชาดกให้ท่านฟังเสียมากกว่า

    จะขอกล่าวถึงอิทธิฤทธิ์ของพระภควัมบดีตามหัวเรื่องที่แนะนำไว้ แต่ต้องขอกล่าวอีกสักนิด เพราะเหตุที่พระมหากัจจายนะมีรูปงามเป็นเสน่ห์นิยม – เมตตาต่อผู้พบเห็นจนต้องเป็นเหตุให้นายโสเรยยะบุตรเศรษฐีต้องกลายเพศเป็นหญิงดังกล่าวแล้ว ชนทั้งหลายจึงขนานนามท่านว่า “ภควัมปติ” ซึ่งมีความหมายว่ามีความงามคล้ายพระผู้มีพระภาคเจ้า

    บางท่านอาจจะเข้าใจว่าพระภควัมบดีนั้นเป็นพระอรหันต์อีกองค์หนึ่งและพระมหากัจจายนะเป็นอีกองค์หนึ่งนั้น แท้จริงแล้วก็คือองค์เดียวกันนั่นเอง เพราะในพระคาถาต่าง ๆ ใช้ “ควัมปติ” ทั้งนั้นไม่มีกล่าวนามมหากัจจายนะเลย เมื่อเป็นเช่นนี้จึงเป็นปฐมเหตุให้เข้าใจสับสนไปก็ได้ ฉะนั้นจึงขอผู้อ่านได้โปรดเข้าใจตามนัยนี้ด้วย

    แนะนำประวัติโดยย่อของพระมหากัจจายนะหรือพระภควัมปติ หรือที่เรียกกันว่าทั่ว ๆ ไปว่า “พระภควัม”ต่อท่านแล้วต่อไปนี้ผู้เขียนใคร่ขอจะกล่าวถึงความเป็นมาวิธีการสร้างและอิทธิฤทธิ์ และวิธีบูชาขอบารมีจากพระภควัมนะตรัย

    ตามที่ผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้าและได้รับประสิทธิ์ประสาทมาจากอาจารย์เพื่อแนะนำให้ท่านผู้ที่สนใจในเรื่องเครื่องรางของขลังได้ทราบว่า ยังมีเครื่องรางของขลังอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งโบราณาจารย์ได้สรรเสริญคุณานุภาพของพระภควัมบดีไว้ในวรรณดีไทยเรื่องขุนช้างขุนแผนหลายตอนด้วยกัน พอจะยกมาเล่าสู่ท่านผู้อ่านฟังดังนี้

    “กล่าวถึงทัพอัสดรตรีเพ็ชรกล้า
    อันแม่ทัพคนนี้มีศักดา
    อยู่คงศาสตราวิชชาดี
    แขนขวาสักธงเป็นองค์นารายณ์
    แขนซ้ายสักชาติเป็นราชสีห์
    แขนขวาหมึกสักพยัคฆี
    ขาซ้ายสักหมีมีกำลัง
    สักอุระรูปพระโมคคลา
    ภควัมปิดตานั้นสักหลัง
    สีข้างสักอักขระนะจังงัง
    ศีรษะฝังพลอยนิลเม็ดจินดา
    ฝังเข็มเล่มทองไว้สองไหล่
    ฝังเพชรเม็ดใหญ่ไว้แสกหน้า”


    ตามตำราที่ได้กล่าวถึงการสร้างพระภควัมบดีและบังคับไว้ว่า ต้องสร้างด้วยรากรักซ้อนหรือรากหิงหายผีเท่านั้น ถ้าจะสร้างด้วยรากรักซ้อนแล้วจะต้องมีพระธาตุตามบังคับไว้ว่า ให้บรรจุในองค์พระภควัมบดีหรือ พระธาตุสาริบุตรเจ้าและพระธาตุพระสิวลีเถระเจ้า บางท่านอาจจะสงสัยว่า ทำไมจึงจะต้องเอาอรหันต์ธาตุทั้งสององค์นั้นมาบรรจุอยู่ในองค์พระภควัมบดีด้วยเราไทยแต่โบราณนั้นมักมีคติยึดถือต่าง ๆ ดังนั้นเมื่อคิดสร้างพระภควัมบดีแล้วจึงให้มีความยอดเยี่ยมสามประการมารวมอยู่เป็นหนึ่งคือ

    1.ความงาม
    2.ความมีสติ มีปัญญาหยั่งรู้
    3.ความร่ำรวยไม่ขาดลาภ

    ความงามของพระภควัมบดีท่านได้รับการยกย่องจาก Hisosiete ของยุคนั้นว่ามีความงาม มีเสน่ห์นิยมชวนให้หลงใหล จนบางคนเมื่อผ่านพบเห็นท่านเกิดอกุศลจิตไปต่าง ๆ นานาดังกล่าวแล้ว ความมีสติปัญญาของพระสารีบุตรเถระเจ้าท่านได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาของเราว่า เป็นเอกทัคคะเนด้านมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดหาผู้รู้เสมอเหมือนมิได้

    ความร่ำรวยไม่ขาดลาภของพระสิวลีเถระเจ้าพระองค์นี้ ในสมัยนี้ยังมีผู้ต้องการบารมีของท่านมาเป็นที่พึ่งมากขึ้นดังจะขอแทรกประวัติการท่านมาลงสักเล็กน้อยเพื่อบางท่านอาจจะมีรูปหรือพระธาติของท่านไว้บูชาจะได้เพิ่มศรัทธาให้ยิ่งขึ้นไปอีก

    พระสิวลีเถระเจ้าหรือเรียกอย่างเราๆว่า “พระฉิม” บ้าง “พระฉิมพลี” บ้าง พระอรหันต์เจ้าองค์นี้เมื่อยังไม่บรรพชาในสำนักพระศาสดานั้น ท่านอยู่ในราชสกุลศากยราช พระมารดาคือ พระนางสุปปวาสา ซึ่งเป็นพระราชธิดาแห่งสกุลโกลิยะวงศ์อภินิหารของพระสิวลีเถระเจ้ามีมาตั้งแต่ถือปฏิสนธิในครรภ์พระมารดานั้น มีฝูงชนนำลาภสักการมาถวายพระมารดาเสมอ ๆ ทำให้พระมารดาอุดมสมบูรณ์มากแม้จะบริจาคทานวัตถุสิ่งใดก็ตาม วัตถุแห่งทางนั้นก็มิได้สิ้นไปกลับอุดมสมบูรณ์เช่นเดิม

    เมื่อได้ปฏิสนธิอยู่ในครรภ์พระมาดาได้ครบ 7 ปี 7 เดือน 7 วัน จึงประสูติ พระคณาญาติทั้งหลายได้ขนานนามว่า “สิวลีกุมาร” และเมื่อเจริญอายุขึ้นได้ทรงผนวชอยู่ในสำนักพระสาริบุตร ท่านได้บรรลุอรหันตผลในขณะปลงผมอยู่ ท่านเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยปัจจัยสี่ประการ พระภิกุทั้งหลายที่อยู่รวมกับท่านก็พลอยบริบูรณ์ด้วยปัจจัยลาภเพราะบารมีของท่านไปด้วย แม้แต่องค์พระศาสดาก็ยังทรงยกย่องว่า ท่านเป็นเลิศด้วยลาภไม่มีสาวกองค์ใดเสมอเหมือน

    ดังนั้นเมื่อโบราณาจารย์คิดสร้างพระภควัมบดีจึงถือคติตามนัยนี้ โดยบรรจุพระธาตุของท่านไว้ในองค์พระภควัมบดีด้วยองค์หนึ่ง การสร้างพระภควัมบดีนี้ควรจะทำให้ถูกต้องตามพิธีกรรมของโบราณสืบมา จึงจะทรงความศักดิ์สิทธิ์มีคุณภาพอเนกประการ การสร้างพระภควัมบดีนั้น ประการแรกท่านจะต้องหารากรักซ้อนมาแกะเป็นรูปพระปิดตาสูงประมาณ องค์คุลีหนึ่ง แล้วคว้านใต้ฐานองค์พระให้กว้างมีขนาดพอจะบรรจุวัสดุที่กำหนดไว้คือ 1. ยอดรักซ้อน 3 ดอก 2. ยอดสวาท 3 ยอด 3. ยอดกาหลง 3 ยอดนำมาบดรวมกันให้ละเอียด 4. พระ-
    ธาตุพระสารีบุตรและสิวลี 5. กระดาษว่าวลงยันต์ตามตำราบังคับไว้

    จึงนำผงยอดไม้ทั้ง 3 ประการและธาตุที่กล่าวแล้วมาห่อด้วยกระดาษว่าวที่ลงอักขระเลขยันต์ไว้แล้ว บรรจุเข้าไปใต้ฐานองค์พระภควัมบดี แล้วอุดด้วยชันโรงใต้ดินให้แน่น เมื่อเวลาจะทำการสร้างและบรรจุควรหากฤษ์ยามที่ดีจะได้ทรงความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น และตั้งเครื่องกยาสังเวยบูชาเทพยดาและบูรพาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทสรรพวิทยาคมเสียก่อน เมื่อไดเวลาตามฤกษ์กำหนดแล้วอาราธนาพระสงฆ์ 9 รูป มาเจริญชัยมงคลคาถาในขณะบรรจุ เสร็จเรียบร้อยแล้วจึงตั้งพิธีปลุกเสกโดยแช่องค์พระภควัมบดีลงในน้ำมันหอม 9 รส ในพระอุดบสถอีก 3 วัน 3 คืน จนเกิดอุคคหะนิมิตรหรือปลุกเสกจนองค์พระภควัมบดีลุกขึ้นนั่งหมดทุกองค์แล้วนั้นแหละจึงจะสำเร็จตามพิธี รู้สึกเต็มไปด้วยความยากไม่เหมือนท่านสารพัด “อาจาน”

    ในยุคนี้ท่านทำเป็นของง่าย ๆ เสียหมด จึงมีแต่ปริมาณไร้คุณภาพ เมื่อท่านได้สร้างและบรรจุถูกต้องตามพิธีกรรมที่ผู้เขียนกล่าวมานี้แล้ว ย่อมทรงคุณานุภาพนับประการทีเดียว สิทธิการิยะ ท่านกล่าวไว้ว่า “ผู้ใดได้สร้างพระภควัมบดีที่กล่าวมาแล้วจะเป็นผู้ที่จำเริญด้วยสวัสดิมงคลที่สุดมิได้จะเป็นผู้เลิศล้ำปราศจากโรคภัยภยันตรายทั้งปวง และสมบูรณ์ด้วยลาภยศ เมื่อเข้ารณรงค์สงครามแม้ลูกปืนจะมาเป็นห่าฝนมิอาจจะระคายผิวผู้นั้นเลย ถ้ากำหราบศัตรูให้เขียนชื่อศัตรูนั้นลงบนกระดาษเอาพระภควัมบดีตั้งทับไว้และจำเริญด้วยพระคาถาพระภควัมบดี ศัตรูนั้นมิอาจคิดร้ายเราได้เลย

    ถ้าเข้าหาเจ้านายให้เอาน้ำมันหอมที่แช่ปลุกเสกพระภควัมบดีนั้นมาทาหน้าอธิษฐานจงดีแล้วไปเถิด เจ้านายเห็นหน้าแล้วเกิดเมตตายิ่งนัก เวลาค่ำให้จุดธูป
    เทียนบูชาทุกวันจะคุ้มกันภัยสารพัด อันพระภควัมบดีนี้ผู้ที่เป็นสัมมาชนจึงจะรักษาไว้ได้และจะได้พระบารมีแห่งพระภวัมบดีคุ้มครองผู้มีสักการะจะที่สุด ก่อนที่จะทำการบรรจุพระภควัมบดีท่านให้ใช้พระคาถานมัสการพระรัตนไตรและครูบาอาจารย์ เพื่อความประสิทธิในการกระทำดังนี้

    อรหัง สัพเพ เทวตา ( 3 จบ) พุทธายะ ธัมมายะ สังฆายะ สหัสสะโกฏิเทวานัง มังรักขันตุ สัพพะทา วันทิตวา สิระสาพุทธัง ชัยยะลาภัง ภวันตุเม วันทิตวา สิระสาสังธัมมัง ชัยยะสุขัง ภวันตุเม วันนิตวา สิริสาสังฆัง โสตถี สัพพะลาภัง ภวันตุเม ( 3 จบ) อนุตตะโร พระคาถานี้ให้ภาวนาตามกำลังวันที่ภาวนาพระคาถาทั้งปวง นะมะตีติ นะลิราชา ติยาอะมะ สัดคะเตโย สัพพะนิรัน ตะระลาภา สัพพะสุกขา สัมมาวะหา

    พระคาถานี้ภาวนาขณะบรรจุ

    นะสุวัณโณ นมัสวิตวา โมกาโรมะ ณิโชตะกัง พุทธกาโร สังขะเมวะจะ ธากาโรสุริยังเอวะ ยะกาโร มุกขะเมวะจะ สะทะมะฆัง มังมะทะสะ กะระณี ยะเมตตัง สัตตา เมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา จิตตั้ง จิตตั้ง ชัยยะนารี จักกะอัตติราชา มะโนโจรัง ไมตรีจิตตัง

    พระคาถานี้เศก 108 คาบ

    ทิสาวาติปาโมกขัง ฆะเฎสิฆะเฎสิ กิงการะณาฆะเฎสิ อะหังปีตัง ชานามิ หัตเถหิ อัตเถหิ มาระพันธัง มาระพันธัง มาระปาทัง มาระปาทัง ติฎฐาหิ ติฎฐาหิ ภัคคะภัคคา อิติภควา พุทโธโลเก

    พระคาถานี้ใช้สำหรับปลุกเสกพระภควัมบดี

    ธัมมะจักกัง ปะทังสุตาวา พุทฌิติวา อัตตังปะทัง สันติเก อะระหาโลเก โลกานัง หิตะการะณา ภันเตควัมปติ นามะตีสุโลเกสุปากะโต พรหมปุตโตมหาเถโรอะระโห เชฎฐะโกมุนี นัตถิเถโร สะโมอินทะคันทัพพา อะสุราเทวา สักโกพรหมาภิปูชิโต นะโมพุทธัสสะควัมปะติสะ นะโม ธัมมัสสะควัมปะติสะ นะโมสังฆัสสะควัมปะติสะ
    สุกขา สุขะวะรัง ธัมมังธัมมะจักกัง ปะวะรัง วะรัง นิฎฐิตัง สิวลีจะมหาเถโร ยักขา เทวาภิปูชิโต โสระโหปัจจะยาทิมหิ อะหังวันทามิตังสะทา สิวลีจะมหาเถโร เทวะตานะระปูชิโต โสระโหปัจจะยาทิมหิ มหาลาภภังกะโรนตุเม ลาเภนะ อุตตะโมโหติ โสระโหปัจจะยาทิมหิ มหาลาภัง สะทา โสตถีภวันตุเม ราชะปุตโตจะโยกะโร สิวะลีอิติสุคะโต ลาเภนะอุตตะโมโหติ ยังยังชนะปะทัง ยาติ นิคคะ เมราชะธานิโย สัพพัตกะปูชิโรโหติ เถรัสสาปาเทวันทามิ เถรัสสานะภาเวนะ สัพพะลาโภภวันตุเม สิวลีนันนทะ สิวะลีเถรัสสะ เอตคะตังคุณัง สัพพะธะนัง สุปติฎฐิตัง สาริกะธาตุ พุทธรูปัง อะหังวันทามิ สัพพะทานะมามิ สัตถะเถรัง มหาเตชัง มหาตัปปัง

    พระคาถาทั้ง 4 บทนี้ใช้สวดบูชาพระภควัมบดีทุกเช้าค่ำ จะจำเริญด้วยลาภยศสักการะหาที่สุดมิได้เลย ขอเดชานุภาพทั้งมวลของพระภควัมบดี จงบังเกิดมีกับผู้มีจิตศรัทธาบูชาพระภควัมบดีจงทุกทิวาราตรีกาลเทอญ

    พระภควัมบดี หรือ พระปิดทวารทั้งเก้านั้นจะเห็นได้ว่า ตามตำรับตำราโบราณช่างเต็มไปด้วยความยุ่งยากลำลากเป็นที่สุด นอกจากผู้ที่มีศรัทธาประสาทจริง ๆ เท่านั้นจึงจะสร้างได้สำเร็จ ในยุครัตนโกสินทร์นี้คณาจารย์ที่ได้สร้างพระภควัมบดีไว้นั้นพอมีอยู่บ้างแต่ก็น้อยเต็มที เช่น สมเด็จพระสังฆราช (อยู่) ญาโนทัย, พระพุฒาจารย (มา) สังฆวารา (ชุ่ม) วัดพลับ และอาจารย์เทพ สาริกบุตร เป็นต้น

    เมื่อความยุ่งยากในการสร้างพระภควัมบดีเช่นดังกล่าวแล้ว คณาจารย์ต่างก็พากันย่นย่อวิธีและวัสดุให้สั้นเข้า เช่น พระธาตุสารีบุตรและพระสิวลีหาไม่ได้เอากระดาษว่าวมาลงพระนามบรรจุแทน ตลอดจนกระทั่งเอาผงมหาราช,ปัทมัง, อิถิเจ และผงพระพุทธคุณต่าง ๆ ผสมน้ำมันผสมรักเป็นตัวประสานอัดเป็นพิมพ์พระภควัมแทนการสร้าง ตามตำรับตำรา แต่โบราณดังกล่าวแล้วแทน ตลอดจนสร้างขึ้นจากทัพสัมภาระต่าง ๆ

    คุณกันทิมา@บุญ ปิดครับ

    IMG_20181113_215302.jpg IMG_20181113_215249.jpg IMG_20181113_215425.jpg IMG_20181113_215231.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤศจิกายน 2018
  2. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่565 พระพิฆเนศ เนื้อผง หลวงพ่อลำใย วัดทุ่งลาดหญ้า กล่องเดิม
    หลวงพ่อลำใย แห่งวัดทุ่งลาดหญ้า ต.ลาดหญ้า อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ท่านเป็นพระเถระที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตา มีกิจวัตรอันประเสริฐยิ่ง ตลอดชีวิตแห่งการดำรงเพศพรหมจรรย์ นับตั้งแต่บรรพชาเป็นสามเณรจวบจนกระทั่งอุปสมบทเป็นพ ระภิกษุในพระพุทธศาสนา ยาวนานกว่า 60 ปี

    คุณงามความดีที่ท่านได้สร้างสมไว้แก่พระพุทธศาสนา และสังคมประเทศชาติ มากมาย จนมิอาจจะกล่าวได้หมดในเวลาอันสั้นนับแต่ได้รับภาระเป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งลาดหญ้า เป็นเจ้าคณะตำบล เป็นเจ้าคณะอำเภอศรีสวัสดิ์ และเป็นพระอุปัชฌาย์ นอกจากจะพัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรือง ได้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างของกรมการศาสนาแล้ว

    หลวงพ่อลำใย ขึ้นชื่อลือนามในเรื่องวัตถุมงคลของขลัง สิ่งที่ท่านสร้างขึ้นแต่ละอย่าง ล้วนเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ มีประสบการณ์ให้เป็นที่เลื่องลือทุกร่นทุกพิมพ์ จนผู้ที่มีไว้บูชาต่างเชื่อมั่นในอานุภาพสรรพคุณอย่างสนิทใจ และท่านก็เป็นพระเกจิอาจารย์ที่สร้างกุมารทอง ท่านคือเกจิกุมารทองที่ทรงไว้ ด้วยวิชามหามนต์อันเปี่ยมล้นด้วยความเข้มขลังอีกท่านหนึ่ง
    IMG_20181113_215406.jpg IMG_20181113_215356.jpg IMG_20181113_215445.jpg

     
  3. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่566 พระผงหลวงพ่อขาว หลังยันต์ 9 ยอด หลวงปู่ทิม วัดพระขาว จ.พระนครศรีอยุธยา ปี พ.ศ.2548 เนื้อผงเกสร มีโค๊ตตัว ท รัศมี ขนาด 3.1 x 3.4
    IMG_20181113_215506.jpg IMG_20181113_215455.jpg
     
  4. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่567 เหรียญ พระพุทธลีลาหลังรอยพระพุทธบาท. วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร จ.สระบุรี ปี45 ขนาดพิมพ์ใหญ่(สูงประมาณ ๓.๖ ซม.)ออกแบบสวยงาม
    คุณกันทิมา@บุญ ปิดครับ
    308.jpg 308.1.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ธันวาคม 2018
  5. กันทิมา@บุญ

    กันทิมา@บุญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2018
    โพสต์:
    569
    ค่าพลัง:
    +401
    จองค่ะ
     
  6. กันทิมา@บุญ

    กันทิมา@บุญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2018
    โพสต์:
    569
    ค่าพลัง:
    +401
    จองค่ะ
     
  7. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รับทราบการจอง 533, 564 ครับ
     
  8. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่568 พระสมเด็จชนะ สมเด็จพระมหาธีธีราจารย์ วัดชนะสงคราม กทม.
    ***บูชาแล้วมีแต่ชนะ...สมเด็จชนะ วัดชนะสงคราม
    สมเด็จชนะ วัดชนะสงคราม ด้านหลังเป็นสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท พิมพ์เล็ก สวยๆ บูชาแล้วมีแต่ชนะครับ ชื่อเป็นมงคล ด้านหลังเป็นสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ยิ่งแสดงถึงความเด็ดเดี่ยว อำนาจ ขอให้ท่านชนะตามที่ท่านต้องการครับ

    ประวัติวัดชนะสงคราม

    ไหว้พระวัดชนะฯ อุปสรรคและศัตรูร้ายพ่ายแพ้

    วัดชนะสงคราม เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง เดิมเรียกว่าวัดกลางนา

    เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอด ฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี มีพระราชประสงค์ที่จะสร้างสิ่งก่อสร้างขึ้นให้คล้ายคลึงกับกรุงศรีอยุธยามากที่สุด วัดที่ตั้งอยู่ใกล้พระบรมมหาราชวังได้ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่ ตลอดจนเปลี่ยนชื่อวัดให้เหมาะสม โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อวัดกลางนาเป็นวัดตองปุ และให้เป็นวัดพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ เช่นเดียวกับวัดตองปุที่กรุงศรีอยุธยา เพื่อเทิดเกียรติทหารชาวรามัญในกองทัพสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุ รสิงหนาท ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการต่อสู้กับพม่าในสงครามเก้าทัพ เมื่อ พ.ศ. 2328 สงครามที่ท่าดินแดงและสามสบ เมื่อ พ.ศ. 2329 และสงครามที่นครลำปางป่าซาง เมื่อ พ.ศ. 2330

    สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดตองปุแล้วถวาย เป็นพระอารามหลวงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า วัดชนะสงคราม เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ทรงมีชัยชนะต่อพม่าในการรบทั้ง 3 ครั้ง

    วัดชนะสงครามได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ทรงเริ่มดำเนินการก่อสร้างที่บรรจุพระอัฐิเจ้านายฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคลที่เฉลียงพระอุโบสถ ด้านหลังตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวงทรง พระราชอุทิศพระราชทรัพย์ให้พระ เจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ดำเนินการ แต่การก่อสร้างมาแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้า อยู่หัวซึ่งพระราชทานพระราชทรัพย์ให้ราชบัณฑิตยสภาดำเนิน การก่อสร้าง ขณะนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็น นายกราชบัณฑิตยสภาและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงดำเนินการก่อสร้างจนเสร็จสิ้น ได้มีพิธีอัญเชิญพระอัฐิจากพระราชวังบวรสถานมงคลไปประดิษฐานใน พ.ศ. 2470
    ขอบคุณข้อมูลจากwikipedia ครับ
    IMG_20181115_210205.jpg IMG_20181115_210154.jpg
     
  9. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่569 พระผง พระสังกัจจายน์ รุ่น เศรษฐีเพชร พระอาจารย์จิ วัดหนองหว้า จ.เพชรบุรี
    พระครูสมุห์สมจิต (พระอาจารย์จิ สมจิตโต) วัดหนองว้า ท่านเกิดเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2507 ที่บ้านในดอน ต.หนองขนาน อ.เมือง จ.เพชรบุรี อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.2527 ศึกษาเล่าเรียนวิปัสสนากรรมฐาน กับหลวงพ่อแผ่ว วัดโตนดหลวง เพชร บุรี และศึกษาพุทธาคมกับหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก อ.กุยบุรี จ.ประ จวบฯ ปัจจุบันเป็นรองเจ้าอาวาสวัดหนองว้าและเป็นเลขานุการเจ้าคณะตำบลหาดเจ้าสำราญ
    หลังจากปี พ.ศ. 2529 ที่ ท่าน พระอาจารย์จิ ท่านได้ศึกษาวิชาอาคมวิชาไสย์เวทย์ต่างๆ จากหลวงพ่อยิดจนหมดไส้หมดพุงแล้ว หลวงพ่อยิดท่านได้เอ่ยปากชวนอยู่จำพรรษาที่วัดหนองจอกเลย และจะให้กรรมการปลูกกุฏิให้อยู่จำพรรษาต่างหากเลยแต่พระอาจารย์จิ ท่านก็ไม่สามารถทำตามความประสงค์ของหลวงพ่อยิดได้ ท่านจึงได้ลาหลวงพ่อยิดกลับมาอยู่จำพรรษาต่อที่วัดหนองหว้าและนำวิชาต่างๆ ที่หลวงพ่อยิดถ่ายทอดมาให้หมั่นฝึกฝนอยู่เป็นเนืองนิตย์ไม่เคยขาด ไม่เคยละในวัตรปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน ปฏิบัติหมั่นเพียรอยู่ตลอดเวลา จนจิตเป็นสมาธินิ่งสงบและที่มาที่ไปของคำที่ว่า หลวงพ่อยิดท่าสนเอ่ยปากพูดขึ้นว่า "ท่านจิ ท่าสนเก่งจริงๆ ทำอำไร ปลุกเสกอะไรได้เหมือนหลวงพ่อทุกอย่าง" ท่ามกลางลูกศิษย์ลูกหาหลายท่าน มีทั้งพระสงฆ์ และฆราวาส เนื่องด้วยประมาณปี พ.ศ. 2535 ต้นๆ ปี ในขณะนั้นผู้เขียนเองก็อยู่ในเหตุการณ์ด้วย ได้มีพระรูปหนึ่งชื่อ หลวงตาเพลิน เคยบวชอยู่ที่วัดบางทะลุ ตำบลหาดเจ้าสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระผู้ที่มาริเริ่มบูรณะวัดเก่าแก่ ซึ่งเหลือโบสถ์เก่าเป็นหลักฐานอยู่ที่ดอนบ้านใหม่ ในพื้นที่เขตตำบลหาดเจ้าสำราญ รกร้างมานานจนเป็นเรื่องกล่าวขานกันว่า....
    วัดนี้สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดย พระสมเด็จพระสังฆราชเจ้าแตงโม เป็นผู้สร้าง ซึ่ง หลวงตาเพลิน เป็นลูกเกิดที่นั่น มีจิตเป็นกุศลอยากจะบูรณะวัดร้างให้เป็นวัดสมบูรณ์จึงพาญาติโยมเดินทางมาหาหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก เพื่อขอวัตถุมงคลของหลวงพ่อยิดไปแจกเป็นมงคลให้กับผู้ที่มาบริจาคทรัพย์ร่วมสร้างวัดดอนบ้านใหม่พอเอ่ยปากบอกกับ หลวงพ่อยิด ท่านจึงเอ่ยปากพูดขึ้นว่า หลวงตาเพลินจะเอาปลัดขิก ไม่ต้องมาถึงฉันนี่หรอก ไปหาท่านจิ วัดหนองหว้าซิเป็นลูกศิษย์ฉันเอง "ท่านจิท่านเก่งจริงๆ ทำอะไรปลุกเสกอะไรได้เหมือนฉันทุกอย่างเลย" ของที่ท่านจิปลุกเหมือนกับฉันปลุกเสกเลยทุกอย่างไม่ต้องมาถึงกุยบุรีหรอก อยู่เพชรบุรีใกล้กันนิดเดียว จากคำพูดนี้เอง หลวงตาเพลิน จึงได้ให้ชาวบ้านแกะปลัดขิก และนำไปให้ พระอาจารย์จิ ลงจารยันต์ปลุกเสกมาตลอดทุกปี แล้วนำปลักขิกนี้มาแจกให้กับผู้ที่มีความศรัทธา ร่วมสร้างวัดจนเป็นวัดดอนบ้านใหม่อย่างสมบูรณ์แบบทุกวันนี้ก็ด้วยบารมีพระอาจารย์จิ ปลุกเสกปลัดขิกให้จริงๆ มีผู้คนมากมายที่นำวัตถุมงคลของท่านไปใช้ได้ผลจริงๆ มีประสบการณ์มากมาย ปลัดขิกของท่านพุทธคุณครบเครื่องเหมือนกับของหลวงพ่อยิด ผู้เป็นอาจารย์จริงๆ ดีเด่นทางด้านมหาเมตตา ค้าขายดี พกติดตัวแคล้วคลาด แลอดภัย เป็นคงกระพันชาตรีอีกด้วย ปัจจุบันท่านได้สร้างวัตถุมงคลออกมาอย่างเป็นทางการให้ศิษยานุศิษย์ได้บูชากัน ซึ่งมีกระแสตอบรับดีมาก ศิษย์หลวงพ่อยิด จำนวนมากได้มาบูชาเก็บวัตถุมงคลของท่านกัน เพราะรู้ว่าวันข้างหน้าดังแน่นอน จึงได้รีบเก็บบูชาไว้ก่อนต่อไปหายากเดี๋ยวจะบูชาแพงเหมือนของหลวงพ่อยิดที่ตอนนี้หายากแล้ว
    ท่านเป็นพระอาจารย์หนุ่ม อายุ 40 กว่าๆ ปี สงบ นิ่ง สุขุม ไม่พูดมาก สำรวมในกริยาแบบพระสุปฎิปันโน ลายจารอักขระสวยงาม เข็มขลัง ไม่แพ้อาจารย์ของท่าน ***ท่านออกวัตถุมงคลมานานแล้ว แต่ด้วยท่านเป็นพระหนุ่ม คนจึงมองข้ามท่านไป ไปเพชรบุรี ก็เข้าวัดตาลกง ไปไม่ถึง วัดหนองหว้า สักที หรือไม่ ก็เลยไปวัดชายนา เลยที่เดียว ด้วยความที่เป็นพระพูดน้อย เลยทำให้บางคนมองไปต่างๆนาๆ ซึ่งความจริงแล้วท่านมีเมตตามาก ขอแค่เอ่ยปากเท่านั้นท่านไม่เคยขัด อันนี้ผมสัมพัสกับตัวเองมาแล้วคับ***
    กล่าวถึงวิชาที่มาจากสายหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวงแล้ว ลูกศิษย์ที่ยังทรงขารก็น่าจะหลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง หลวงพ่อห่วย วัดห้วยทรายใต้ ก็ศิษย์หลวงพ่อทองสุข หลวงพ่อแผ้วด้วย หลวงปู่คำ วัดหนองแก ศิษย์หลวงพ่อทองสุข หลวงปู่นาค วัดหัวหิน หลวงปู่เปี่ยม วัดเกาะหลัก หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ศิษย์หลวงพ่อทองสุข ส่วนหลานศิษย์ ก็น่าจะพระอาจารย์จิ วัดหนองหว้า เพชรบุรี ศิษย์เอกหลวงพ่อยิด จึงนับได้ว่าเป็นพระรุ่นสุดท้ายที่อายุน้อยที่สุดที่สืบทอดวิชาทางสาย พ่อทองสุขมาแบบเต็มๆ ดูได้จากวัตถุมงคลหลายๆอย่างคับ นอกจากนี้ท่านยังได้วิชาทางสาย หลวงพ่อกุน วัดพระนอน เจ้าของสุดยอดตะกรุด ที่ทุกคนใฝ่หา อันนี้ดูได้จากเหรียญเทวดามีสุขคับ
    นอกจากปลุกเสกวัตถุมงคลได้อย่างเข้มขลังแล้ว พระอาจารย์จิยังเป็นพระสมถะไม่เคยสะสมสิ่งใด แม้ปัจจุบันท่านเป็นรองเจ้าอาวาส “ขนาดมีคนนำปัจจัยไปถวายท่าน ท่านไม่เคยเก็บสะสม ท่านถวายต่อเจ้าอาวาสซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่าน ซึ่งก็ได้นำปัจจัยที่ได้รับการถวายมาสร้างวัดหมดเหมือนกัน กุฏิท่านไม่มีแบ่งแยก รวมกับพระลูกวัดไม่มีแอร์ ไม่มีที่นอน เคยซื้อพัดลมตัวใหญ่ๆ ให้ท่าน ที่นอน ท่านให้เด็กนักเรียนวัดหนองหว้า และพระลูกวัดหมด อยู่อย่างสมถะจริงๆคับ ”

    พระอาจารย์จิ สมจิตโต วัดหนองหว้า เพชรบุรี เป็นศิษย์หลวงพ่อยิดวัดหนองจอก... เคยได้ยินหลวงพ่อยิดจากประวัติหลวงปู่กาหลง ท่านก็เป็นศิษย์พี่ ศิษย์น้องกับหลวงพ่อยิด วัดหนอกจอกเช่นกัน...ในตำนานว่าเห็นท่านสนิทกันมาก.. หลวงปู่กาหลงเรียกไอ้ยิด ประมาณนั้น.. ท่านสอนกันเรื่องวิชาปลัดขลิก...ส่วนอาจารย์เม้งก็เช่นกัน...ท่านนับถือหลวงพ่อยิดมาก

    ส่วนวัตถุมงคล ที่พระอาจารย์จิ สมจิตโตที่ได้เริ่มสร้างมา ที่มีประสบการณ์มาก ได้แก่ หนุมานเกราะเพชร ปี47 ซึ่งถ้าเป็นเนื้อที่ค่อนข้างหายากเช่น หน้าทองคำ หรือเนื้อตะกรุดโทน เหรียญนี้สร้างโดยพระอาจารย์จิ สมจิตโต วัดหนองหว้า เพชรบุรี เหรียญของท่านโดยส่วนใหญ่ท่านจะจารกำกับด้วยเหล็กจารเกือบจะทุกองค์ครับ สร้างเมื่อปี 2547 มีประสบการณ์สูงมากครับ เป็นพระทางสายเพชรบุรีรุ่นใหม่ที่น่าเลื่อมใสศรัทธา เป็นศิษย์สายตรงหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก
    เหรียญหนุมานของท่าน รูปหนุมานแบบนี้
    หลวงพ่อยิดท่านเคยวาดเอาไว้เป็นกระดาษยันต์ โดยที่ท่านไม่ต้องร่างก่อนด้วยครับท่านเก่งทั้งพุทธศิลป์และเปี่ยมด้วยพุทธคุณจริงๆ จึงทำให้มีราคาค่อนข้างสูง

    IMG_20181115_210415.jpg IMG_20181115_210405.jpg
     
  10. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่570 สมเด็จหลวงพ่อนิยม วัดตะเคียนเตี้ย ชลบุรี
    ***พระครูเมตตาธิการี(นิยม"แกะ"กนฺตจาโร)วัดนาลิกวนาราม(ตะเคียนเตี้ย) ต.ตะเคียนเตี้ย อ.บางละมุง จ.ชลบุรี สมเด็จ3ชั้นเนื้อผง หลังยันต์ห้า วัดตะเคียนเตี้ย
    “พระครูเมตตาธิการี” หรือที่ชาวบ้านเรียกขานว่า “หลวงพ่อนิยม กันตจาโร”วัดนาลิกวนาราม (ตะเคียนเตี้ย) อ.บางละมุง จ.ชลบุรี เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองชลบุรี นามขจรขจายไปไกลทั่วภาคตะวันออก

    มีนามเดิมชื่อ แกะ ประกอบธรรม เกิดเมื่อวันพุธ ปีขาล เดือนหก ตรงกับปีพุทธศักราช 2481 ที่ บ้านตะเคียนเตี้ย อ.บางละมุง จ.ชลบุรี มีพี่น้องฝาแฝด 2 คน หลวงพ่อนิยมเป็นแฝดผู้น้อง แฝดผู้พี่ได้เสียชีวิตตั้งแต่มีอายุได้เพียง 15 วัน ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา

    ในช่วงวัยเยาว์ เรียนหนังสือที่โรงเรียนตะเคียนเตี้ย สำเร็จการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 จนอายุ 17 ปี เข้าพิธีบรรพชา เพื่อศึกษาเล่าเรียน จนอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อปี พ.ศ.2501

    ปรากฏว่าบวชได้เพียงพรรษาเดียว มีเหตุต้องให้ลาสิกขา เพราะจับได้ใบแดงถูกเกณฑ์ทหาร

    เข้าพิธีอุปสมบทเป็นครั้งที่สอง เมื่อปี พ.ศ.2517 ณ พัทธสีมาวัดประชุมคงคา (โรงโป๊ะ) โดยมีพระครูพิพัฒนธรรมคุณ (หลวงเตี่ยจรินทร์) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระใบฎีกาถมยา วัดประชุมคงคา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และพระใบฎีกาประยงค์ เจ้าอาวาสวัดนาลิกวนาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    ได้รับฉายาว่า กันตจาโร แปลว่า ผู้มีมารยาทน่ารัก

    หลังจากนั้นย้ายมาอยู่จำพรรษา ณ วัดนาลิกวนาราม (ตะเคียนเตี้ย) ศึกษาพระปริยัติธรรม จนสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก

    เป็นพระนักเทศน์ที่มีชื่อเสียง มีสำเนียงเสียงที่ไพเราะจับจิตจับใจผู้ฟัง และสนับสนุนด้านการศึกษาให้พระภิกษุ-สามเณรอย่างจริงจัง

    พ.ศ.2530 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนาลิกวนาราม (ตะเคียนเตี้ย) ได้รับแต่งตั้งเป็นฐานานุกรมที่พระใบฎีกา

    วันที่ 5 ธ.ค.2549 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรในราชทินนามพระครูเมตตาธิการี

    พัฒนาและสร้างความเจริญให้วัดนาลิกวนาราม ด้วยการสร้างศาลาการเปรียญต่อจาก พระใบฎีกาประยงค์ อดีตเจ้าอาวาสองค์ก่อนให้แล้วเสร็จสมบูรณ์ สร้างศาลาทรงไทย ศาลาฌาปนกิจ สร้างเมรุ ซื้อที่ดินขยายพื้นที่วัดเพิ่มอีกประมาณ 12 ไร่ เป็นต้น

    มีความสนใจและเริ่มศึกษาเรื่องวิทยาคม ตั้งแต่มีอายุได้เพียง 10 ขวบ กับตาสืบ เปลี่ยนสี อาจารย์ฆราวาสจอมขมังเวทและหมอยาเลื่องชื่อ อีกทั้ง ยังได้รับการสักยันต์และร่ำเรียนวิชาจากพระเกจิ อาจารย์แห่งภาคตะวันออกหลายท่าน อาทิ หลวงพ่อหิน วัดหนองสนม, หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว, หลวงพ่อทัด วัดช่องแสมสาร, หลวงพ่อสงฆ์ วัดหนองสนม เป็นต้น

    ครั้งหนึ่ง เดินทางไปเรียนวิชาลงตะกรุดโทนกับหลวงพ่อเขียน วัดตะพุนทอง พ.ศ.2528 ศึกษาวิทยาคมจากหลวงปู่เริ่ม ปรโม วัดจุกกะเฌอ ทั้งยังศึกษา จากอาจารย์ฆราวาสอีกหลายท่าน

    สร้างวัตถุมงคลเอาไว้หลายรุ่น ทั้งเหรียญพระ พระผง รูปหล่อ เน้นจัดสร้างแจกเสียเป็นส่วน ใหญ่ หรือหารายได้เพื่อนำมาก่อสร้างหรือบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะ

    เป็นคนอารมณ์ดี ไม่เคยดุด่าหรือว่าใครให้เจ็บช้ำน้ำใจ มีความรัก ความห่วงใย ความเมตตา

    มรณภาพด้วยอาการอันสงบ เมื่อวันที่ 19 ม.ค.2552 ขณะนั่งสมาธิทำวิปัสสนากัมมัฏฐาน

    IMG_20181115_210355.jpg IMG_20181115_210346.jpg
     
  11. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่571 พระผง สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี รุ่น ที่ระลึกพิธีเททองหล่อพระพุทธชินราช ณ มหาวิหาร ปู่โต ใหญ่ที่สุดในโลก อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา โดยคุณสรพงษ์ ชาตรี
    IMG_20181115_204453.jpg IMG_20181115_204507.jpg IMG_20181115_204349.jpg
     
  12. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่572 พระผงท่านท้าวธนบดี (ท้าวเวสสุวรรณ) จ้าวแห่งทรัพย์ ครูบากฤษณะ อินทฺวัณโณ สำนักสงฆ์เวฬุวัณ วังน้ำเขียว
    ***ครูบากฤษณะ อินทวัณโณ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม 2497 ที่บ้านโตนด อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา โดยเป็นบุตรคนที่ 9 ของครอบครัว
    เดิมชื่อ สรุเดช ตับกลาง บิดา-มารดาของท่านเป็นแพทย์แผนโบราณ เป็นหมอยากลางบ้าน สืบต่อกันมาแต่ครั้งบรรพบุรุษ ดังนั้นท่านจึงได้เรียนรู้วิชา
    หมอยา การแพทย์แผนโบราณ พืชสมุนไพร คาถาอาคม มาแต่เยาว์วัย
    ครั้งเติบโตเป็นหนุ่ม ท่านได้ถือบวชเป็นโยคีผ้าขาว ออกเดินทางไปยังภูเขาควาย
    ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว
    ซึ่งเป็นสถานที่รวบรวมสรรพวิชาต่าง ๆ ทางไสยเวทย์และคาถาอาคม ณ ภูเขาควายนี้เอง ท่านได้ศึกษา ไสยเวทย์ คาถาอาคม กับทางปู่ฤาษี
    โดยที่ท่าน ถือบวชเป็นโยคีพราหมณ์ หลังจากอยู่รับใช้ครูบาอาจารย ์ และ ศึกษาวิชาคาถาอาคม ได้รับความรู้พอประมาณแล้วท่านจึงได้

    เดินทางกลับ ประเทศไทย และ ใช้ชีวิตในเพศฆราวาส ได้ระยะเวลาหนึ่งท่านเกิด ความเบื่อหน่ายทางโลก จึงดำริที่จะละจากเพศฆราวาส
    เข้าอุปสมบทในพระพุทธศาสนา จึงนำความเข้าปรึกษาคุณสุรพันธ์ และคุณมาลี งามจิตรสุขศรี เจ้าของบริษัท รุ่งสินก่อสร้าง จำกัด ซึ่งก็ได้
    รับการสนับสนุนจากท่านทั้งสองเป็นอย่างดี
    ครูบากฤษณะ อุปสมบทเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2522 ณ พัทธสีมา วัดโคกอู่ทอง ต.โพธิ์งาม อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุร ี
    โดยมีพระครูธรรมรงโพธิเขต เจ้าอาวาสวัดโคกอู่ทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ฝั้น ชุตินทโรเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์
    กลมวิมโล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "อินทวัณโณ"
    ภายหลังที่อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ด้วยอุปนิสัยที่รักการศึกษาหาความรู้ ท่านได้สนใจศึกษาพระปริยัตธรรม ทั้งจากพระไตรปิฏก
    และจากครูบาอาจารย์ ผู้เป็นปราชญ์ทรงคุณธรรมหลายท่าน จนจิตใจมั่นคงด้วยศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ท่านจึงได้จาริกธุดงค ์
    ไปตามป่าเขาลำเนาไพร เพื่อเจริญจิตบำเพ็ญภาวนาโดยถือุดงควัตรอย่างเคร่งครัด ยอมมอบกายถวายชีวิตแด่ พระพุทธศาสนาตลอดมา
    ครูบากฤษณะได้จาริกไปตามลำพังในป่าเขาดงดิบ เทือกเขาใหญ่ตลอดแนวภาคอีสานได้ข้ามกลับไปยัง ภูเขาควาย สาธารณรัฐประชาธิปไตย
    ประชาชนลาว เพื่อศึกษาเพิ่มเติมวิชาอาคมต่างๆ ต่อจากนั้น จึงได้ผ่านไปยังประเทศเขมร และ กลับเข้าประเทศไทย ทางด้านจังหวัดจันทบุรี
    ต่อมาในปีพ.ศ. 2532 ครูบากฤษณะได้ธุดงค์มาบำเพ็ญสมณธรรมบริเวณเทือกเขาจอมทอง เหนือเขื่อนมูลบน อ.ครบุรี ชาวบ้านเมื่อทราบ
    ข่าวว่า มีพระภิกษุมาเจริญสมณธรรมในป่าเขา เกิดความศรัทธาพากันขึ้นไปทำบุญและรับการอบรมสั่งสอนจาก ท่านเป็นประจำ จนในที่สุด
    ชาวบ้านคลองยางจึงพร้อมใจกันนิมนต์ ท่านครูบากฤษณะ เป็นประธานในการก่อสร้างสำนักสงฆ์ ป่ามหาวัน ขึ้นเพื่อเป็นดินแดนแห่งร่มเงา
    ของพระพุทธศาสนาเพื่อชาวบ้านเหนือเขื่อนมูลบนจะได้มีสถานที่ประกอบศาสนกิจทางพุทธศาสนา สืบต่อไป
    สำนักสงฆ์ป่ามหาวันได้รับการประกาศยกขึ้นเป็นวัดป่ามหาวันอย่างสมบูรณ์ตามกฏระเบียบของคณะสงฆ์ไทยเมื่อปีพ.ศ. 2536
    IMG_20181115_210456.jpg IMG_20181115_210447.jpg IMG_20181115_210508.jpg
     
  13. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่573 พระปิดตา พระจารย์เสนาะ วัดปงท่าข้าม จ .แพร่
    "วัดพงท่าข้าม" เปลื่ยนชื่อเป็น "วัดปงท่าข้าม" ปี2554 เจ้าอาวาส คือ พระครูโกศลพิพัฒนคุณ(พระอาจารย์เสนาะ กตสา โร) วัดปงท่าข้าม จ.แพร่ เป็นศิษย์สายครูบาไชยลังกาวัดพระหลวง,สายครูบาศรีวิชัย,สายหลวงพ่อพูนวัดบ้านแพน(เรียนตะกรุดดอก(ไม้)ทอง, หลวงปู่ทิมวัดพระขาว เป็นต้นพระอาจารย์เป็นเกจิรุ่นใหม่แรงมากทางเหนือได้รับกิจนิมนต์ไม่ขาด งานใหญ่สำคัญพิธีพระกริ่งยศบารมีตำรวจภาค๕ งานอาจารย์เฉลิมชัย,เจ้าสัวยุกต์แปด.....แคล้วคลาด เสริมบารมี เสริมอำนาจ กันภัย
    IMG_20181116_214215.jpg IMG_20181116_214202.jpg
     
  14. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่574 พระสมเด็จ หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ รุ่นคุณพระเทพประทาน ปี2535
    IMG_20181117_192406.jpg IMG_20181117_192354.jpg
     
  15. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่575 สมเด็จเขียว หลังชินบัญชร ศ 45 "จิ๋วแต่แจ๋ว"
    ***นิตยสารศักดิ์สิทธิ์จัดสร้าง ปี พ.ศ. 2546 ปลุกเสกโดย 3 เกจิดัง เน้น คงกระพันชาตรี แคล้วคลาด
    1.หลวงพ่อประเทือง วัดหนองย่างทอย
    2.หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่
    3.หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังวิเวการาม

    IMG_20181116_214235.jpg IMG_20181116_214225.jpg 9412235-3.jpg
     
  16. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่576 พระนาคปรกหลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ (สุสานทุ่งมน) วัดเพชรบุรี จ.สุรินทร์ รุ่น"เสาร์๕" ปี ๒๕๔๐ เนื้อเกสรผสมผงเก่า
    IMG_20181116_214326.jpg IMG_20181116_214317.jpg
     
  17. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่577 พระรูปเหมือนใบโพธิ์ไต่ฮงกง ลพ.คูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา รุ่น(อยู่เย็นเป็นสุข.) ๕ ธันวามหาราช พ.ศ.๒๕๓๘ ขนาด(สูงประมาณ ๒.๕ ซม.)
    ***เทพเจ้า หลวงปู่ไต่ฮงกงโจวซือ
    ในสมัยราชวงศ์ซ้อง ได้เกิดบุคคลสำคัญขึ้นท่านหนึ่ง แซ่ลิ้ม เป็นชาวมณฑลฮกเกี้ยน และมีสติปัญญาปราดเปรื่องสามารถสอบไล่ได้ตำแหน่ง "จิ้นสือ" และเข้ารับราชการในตำแหน่งนายอำเภอ มณฑลเจียะเจียง ท่านปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต สามารถปกครองราษฎรให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข ต่อมาท่านเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตราชการ ท่านจึงได้สละลาภยศอันสูงเกียรติออกอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนานิกาย มหายาน ณ วัดแห่งหนึ่งในมณฑลฮกเกี้ยนได้รับฉายาว่า "ไต้ฮง" เมื่อได้อุปสมบทแล้วท่านก็ได้หมั่นบำเพ็ญศาสนกิจ ศึกษาพระไตรปิฎกจนแตกฉาน ปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐานจนบรรลุธรรมอันวิเศษ

    ท่านไต้ฮงพำนักอยู่ที่ วัดดังกล่าวเป็นเวลาหลายปี ด้วยจิตที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณาต้องการออกโปรดสัตว์ ท่านจึงได้ออกธุดงควัตรจากเมืองฮกเกี้ยนไปตามเมืองต่างๆ ตลอดเส้นทางที่ท่านธุดงค์ผ่านไปนั้น เมืองใดที่ประสบภัยพิบัติต่างๆ ท่านก็จะช่วยขจัดปัดเป่า บรรเทาทุกข์ให้เมืองใดที่ทำการสร้างถนนหรือสะพาน ท่านก็จะช่วยเหลือจนกระทั่งเสร็จเรียบร้อย ในบางแห่งที่มีโรคระบาด มีคนเจ็บและล้มตาย ท่านก็จะช่วยนำยารักษาโรคออกแจกจ่ายแก่ผู้เจ็บป่วย และออกบิณฑบาตไม้ มาทำโลงศพและนำศพไปบรรจุฝังตามธรรมเนียม

    พระภิกษุไต้ฮงออกธุดงค์โปรดสัตว์อยู่หลายปี จนกระทั่งผ่านมายังเมืองแต้จิ๋ว ก็มีพุทธศาสนิกชนนิมนต์ท่านไปจำพรรษาอยู่ที่วัดเก่าแก่แห่งหนึ่งบนภูเขาปัก ซัว อำเภอเตี่ยนเอี้ย ซึ่งตลอดเวลาที่ท่านได้พำนักอยู่ที่วัดแห่งนี้ท่านได้บำเพ็ญศาสนกิจอย่าง เคร่งครัด ด้วยความมีเมตตาธรรมจนเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว ทำให้บรรดาสาธุชนที่มีความศรัทธาเข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนาเป็น จำนวนมาก นอกจากนี้ ท่านยังได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดดังกล่าวจนกลายเป็นพระอารามใหญ่ เจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้

    ในบั้นปลายชีวิตของท่าน ได้ออกธุดงค์ไปอยู่จำพรรษาที่วัดเมี่ยงอัง ตำบลฮั่วเพ้ง ห่างจากอำเภอเตี่ยนเอี้ยไปประมาณ 15 กิโลเมตร ที่หมู่บ้านนี้มีแม่น้ำเหลียงเจียงไหลผ่าน แบ่งเป็นฝั่งตะวันออกและตะวันตก วัดเมี่ยงอังตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ ในสมัยนั้นแม่น้ำเหลียงเจียงเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำในแม่น้ำไหลเชี่ยวกรากมาก อีกทั้งมีความกว้างใหญ่และลึก ประชาชนจึงใช้เรือเป็นพาหนะ ยามเมื่อเกิดมรสุมจะเกิดเหตุเรือล่มบ่อยๆ ทำให้มีผู้คนเสียชีวิตอยู่เป็นประจำ ท่านไต้ฮงจึงเกิดความเวทนาสงสารประชาชน จึงดำริที่จะสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเหลียงเจียง เพื่อให้ประชาชนได้สัญจรโดยสะดวก ท่านจึงได้บิณฑบาตวัสดุก่อสร้างต่างๆ อยู่หลายปี จนในปีพ.ศ.1671 มีพ่อค้าใหญ่เดินทางมานมัสการท่าน และทราบว่าท่านจะสร้างสะพาน จึงได้นำช่างก่อสร้างและวัสดุมาร่วมสร้างสะพานด้วย

    ส่วนบริเวณที่จะสร้างสะพานนั้นท่านได้เลือกตรงหน้าศาลเจ้าหลักเมือง และดูฤกษ์ยามสำหรับการเริ่มงาน ในวันที่เริ่มสร้างสะพานสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดคือน้ำในแม่น้ำเกิดลดลงไปจน เกือบแห้งเป็นที่อัศจรรย์ บรรดาประชาชนและช่างต่างก็ก้มลงกราบท่านด้วยความศรัทธา ท่านกลับบอกว่าให้กราบฟ้าดินเถิด การครั้งนี้น้ำทะเลที่ปากแม่น้ำจะไม่ขึ้นลงเป็นเวลา 7 วัน เมื่อทราบเช่นนั้นพวกช่างจึงทำการสร้างรากฐานสะพานและสร้างถ้ำสำหรับระบาย น้ำจำนวน 19 ถ้ำ จนแล้วเสร็จโดยใช้เวลา 7 วันพอดี วันต่อมาน้ำในแม่น้ำเหลียงเจียงก็ขึ้นลงตามปกติ การก่อสร้างสะพานจึงเป็นไปด้วยความราบรื่นจนกระทั่งเสร็จ จัดว่าเป็นสะพานหินที่มีความยาวมาก และตั้งชื่อสะพานนี้ว่า "ฮั่วเพ็ง" หลังจากที่สร้างสะพานเสร็จท่านก็เริ่มอาพาธด้วยโรคชรา และมรณภาพลงด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 85 ปี ชาวเมืองจึงได้ประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลและฝังร่างของท่านไว้ ณ ภูเขาฮั่วเพ็ง และยังสร้างศาลเจ้าประดิษฐานรูปเหมือน ไต้ฮงกงโจวซือไว้สักการบูชา มีนามว่า "ศาลเจ้าป่อเต็กตึ๊ง" มาจนทุกวันนี้

    ในประเทศไทย ประมาณปีพ.ศ.2453 ชาวจีนโพ้นทะเลได้เข้ามาอาศัยร่มพระบรมโพธิสมภารแห่งองค์พระมหากษัตริย์ไทย ด้วยความเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนา จึงร่วมกันจัดตั้งองค์กรสงเคราะห์สาธารณภัย เพื่อเจริญรอยตามกุศลเจตนาของท่านไต้ฮงกงโจวซือ โดยใช้ชื่อว่า "มูลนิธิฮั่วเคี้ยวป่อเต็กเซี่ยงตึ๊ง" หรือที่เรารู้จักกันในนาม "มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง" ตั้งอยู่บนถนนพลับพลาไชย กทม.

    IMG_20181116_214307.jpg IMG_20181116_214258.jpg IMG_20181116_214247.jpg
     
  18. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่578 พระผง(สีเขียว)หลวงพ่อโต(ซำปอฮุดกง) พระพุทธไตรรัตนนายก รุ่น 685 ปี วัดพนัญเชิงวรวิหาร จ.พระนครศรีอยุธยา
    *หลวงพ่อซําปอกง วัดพนัญเชิง จังหวัดอยุธยา มีชื่อเสียงโด่งดัง และความศักดิ์มากในเรื่องการทำมาค้าขาย เจริญรุ่งเรือง
    **สำหรับพ่อค้าแม่ขาย ที่ต้องการให้กิจการก้าวหน้า ค้าขายร่ำรวย มีลูกค้าไม่ขาดสาย
    ประวัติหลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง(ซำปอกง)
    หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง พระพุทธไตรรัตนนายก จ.พระนครศรีอยุธยา ตาม”ประวัติหลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง”สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1867 หลวงพ่อโตวัดพนัญเชิง เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย พระพุทธไตรรัตนนายก เรียกกันเป็นสามัญว่า หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง (ซำปอกง)ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารวัดพนัญเชิง ริมฝั่งแม่น้ำป่าสัก ตรงข้ามกับมุมตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะเมืองอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    ามพระศาวดารกล่าวว่า พระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1867 ก่อนที่พระเจ้าอู่ทองจะสร้างกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี 26 ปี ตอนสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาได้บูรณะซ่อมแซมให้อยู่ใน สภาพดีมาโดยตลอด กล่าวกันว่าเมื่อคราวจะเสียกรุงศรีอยุธยาได้ปรากฎมีน้ำพระเนตรไหลออกมาจาก พระเนตรทั้งสองข้างเป็นที่อัศจรรย์ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ได้ทรงบูรณะองค์พระพุทธรูปใหม่ทั้งองค์และถวายพระนามว่า พระพุทธไตรรัตนายก ชาวจีน ซึ่งขนานนามหลวงพ่อโต องค์นี้ว่าซำปอกง

    งานนมัสการหลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง งานประจำปี จะมีอยู่ 4 งานใหญ่ๆ ก็เป็นงานที่เนื่องด้วยประเพณีจีน 2 งาน คือ งานสงกรานต์ 13 เมษายน เป็นงานใหญ่มีการนมัสการและเวียนเทียนประทักษิณรอบองค์พระติดต่อกันถึง 5 วัน

    งานสรงน้ำและห่มผ้าถวาย วันแรม 8 ค่ำ เดือนเมษายน มีการสรงน้ำและเปลี่ยนผ้าห่มผืนใหม่ ส่วนผืนเก่าที่ใช้มาตลอด 1 ปี จะฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ แจกจ่ายให้ผู้คนนำไปบูชา

    งานทิ้งกระจาด หรือ งานงิ้ว เดือน 9 จะมีงิ้วและมหรสพอื่นๆ เล่นประชันกันอย่างครึกโครม จะมีผู้คนนับหมื่น หลั่งไหลกันมานมัสการนับเป็นงานทิ้งกระจาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยทีเดียว

    IMG_20181118_203021.jpg IMG_20181118_203011.jpg
     
  19. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่579 พระผง พระเศรษฐีนวโกฏิ หลวงพ่อผล วัดอินทาราม อยุธยา
    ***'พระนวโกฏิเศรษฐี' 'พระเก้าหน้า' เพื่อความก้าวหน้า
    ***หลายร้อยปีก่อน เมืองล้านช้างได้เกิดทุพภิกขภัยอย่างใหญ่หลวง เป็นเวลาถึง ๗ ปีติดต่อกัน ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล เป็นเหตุให้พืชพันธุ์ธัญญาหารไม่ผลิดอกออกใบให้ผล น้ำในแม่น้ำแห้งขอด เหล่าปูปลาขาดน้ำเจียนตาย เกิดข้าวยากหมากแพง ประชาชนลำบากไปทุกหย่อมหญ้า
    แม้เจ้าผู้ครองนครก็ไม่อาจหาหนทางแก้ไขระงับทุพภิกขภัยอันเกิดแต่ธรรมชาตินี้ได้ ทว่าชะตาของเมืองยังไม่ถึงขั้นกลียุค เพราะมีพระภิกษุฝ่ายอรัญวาสี ผู้รอบรู้ในหลักธรรม และวิทยาคุณ ได้เข้ามาให้คำแนะนำว่า เห็นควรร่วมใจกันสร้างพระพุทธรูปขึ้นปางหนึ่ง อันมีลักษณะแห่งคุณธรรม และคุณสมบัติของท่านผู้เป็น อัครมหาเศรษฐีในครั้งพุทธกาล ผู้มีอุปการคุณเป็นอย่างยิ่งต่อองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า และต่อพระพุทธศาสนาอย่างเอกอุ จำนวน ๙ ท่านด้วยกัน ที่สำคัญยิ่งคือ ทั้ง ๙ ท่านนี้ล้วนแต่เป็น อริยบุคคล ทั้งสิ้น อันประกอบด้วย

    ๑.ท่านธนัญชัยเศรษฐี (บิดาของนางวิสาขามิคาระมารดา) ๒.ท่านยัสสะเศรษฐี ๓.ท่านสุมนะเศรษฐี ๔.ท่านชะฏิกะเศรษฐี ๕.ท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐี ๖.ท่านเมณฑะกะเศรษฐี ๗.ท่านสุมังคะละเศรษฐี ๘.ท่านโชติกะเศรษฐี และ ๙.นางวิสาขามิคาระ มารดา มหาอุบาสิกาเศรษฐี


    อริยมหาเศรษฐีทั้ง ๙ ท่านนี้ นอกจากจะเป็นผู้มีความมั่งคั่งในทรัพย์สินเงินทองแล้ว ยังเป็นบุคคลผู้มีใจเป็นธรรม ประพฤติธรรม บำเพ็ญธรรม และอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธเจ้ากับหมู่สงฆ์ อยู่เสมอ

    ดังนั้นการให้สร้างรูปเคารพขึ้นมา มีลักษณะคล้ายพระพุทธรูปนั้น จึงมีนัยเป็นปริศนาธรรม หมายถึง ความเป็น “พุทธะ” ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รื่นเริงอยู่ในธรรม และไม่มีการหวนกลับย้อนคืนมาสู่ความเป็นปุถุชนอีก กล่าวได้ว่ามี “ใจเป็นพระ” หมดสิ้นแล้วทั้ง ๙ ท่าน...จึงเป็นอริยบุคคลผู้ควรแก่การกราบไหว้บูชา

    ทำไมถึงว่าเป็น อริยบุคคล ผู้ควรแก่การกราบไหว้บูชา ?
    ก็เพราะว่า อริยบุคคลทั้ง ๙ ท่านนี้ ได้ทำคุณประโยชน์แก่พระพุทธศาสนามากมาย เช่น ท่าน อนาถบิณฑิกะเศรษฐี หรือ ท่านสุทัตตะ แห่งเมืองสาวัตถี ผู้มีใจมั่นคงในพระศาสนา ได้ตั้งโรงทาน ๔ มุมเมือง เลี้ยงคนอดอยากยากจน อย่างไม่กลัวทรัพย์หมด จนได้ชื่อว่า อนาถบิณฑิกะ ซึ่งหมายถึง ผู้มีก้อนข้าวเพื่อคนอนาถา แม้เมื่อจะสร้างวัดถวายองค์พระศาสดา ก็สู้อุตส่าห์ใช้เงินกหาปนะปู จนเต็มพื้นที่ของสวนเจ้าชายเชตราชกุมาร เพื่อขอซื้อต่อ นำมาใช้สร้างวัด กระทั่งสำเร็จเป็น วัดเชตวันมหาวิหาร

    ด้วยคุณสมบัติอัศจรรย์ของท่านทั้ง ๙ เหล่านี้ จึงเป็นเหตุให้ผู้รู้ ดังเช่น พระอริยบุคคลผู้เป็นปฐมดำริให้สร้าง พระนวโกฏิเศรษฐี มีคำแนะนำให้สถาปนาขึ้น เพื่อกระทำสักการบูชา หวังอานิสงส์ให้กำราบทุกข์เข็ญ ความอดอยาก แห้งแล้ง และโรคภัยนานาประการ ที่กำลังเป็นอยู่

    ซึ่งเมื่อเจ้าเมืองล้านช้างในยุคโบราณนั้น ได้เพียรสร้าง พระนวโกฏิเศรษฐี ขึ้นแล้ว กระทำการบูชาดังที่พระภิกษุรูปนั้นแนะนำ ไม่ช้าไม่นาน อาเพศภัยร้ายทุกข์เข็ญ ความอดอยากขาดแคลน และโรคระบาดทั้งหลาย ก็ค่อยๆ หมดไปอย่างน่าอัศจรรย์

    ดังนั้น พิธีกรรมการสร้างพระนวโกฏิเศรษฐี จึงถูกบันทึกขึ้นอย่างเป็นทางการ และถูกเก็บงำอยู่ในนครล้านช้างนั้นมานับร้อยปี

    กระทั่ง ท่านเจ้าประคุณ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร กรุงเทพฯ ได้ตำรามาเมื่อครั้งธุดงค์ไปดินแดนล้านช้าง และได้จัดสร้างขึ้นอย่างถูกต้อง ตามตำรับเดิมเป็นครั้งแรกจำนวน ๙ องค์ เพื่อเป็นมหามงคลแก่แผ่นดินสยาม ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

    เป็นไปได้ว่า ที่ประเทศชาติอยู่รอดปลอดภัยจากภัยมนุษย์นานาชาติ ซึ่งพยายามคุกคาม ภัยจากอมนุษย์ ภัยจากธรรมชาติที่อันตราย จนอาจทำให้คนตายได้เป็นแสนคน ฯลฯ

    ภยันตรายเหล่านี้ ล้วนเกิดกับเพื่อนบ้านของเรามาแล้วอย่างมากมาย และแสนสาหัส แต่กับบ้านเราเมืองเรา ที่ถือได้ว่า เป็นแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองนั้น..ไม่เคยปรากฏเลย

    เป็นไปได้ไหมว่า ที่ประเทศชาติอยู่รอดปลอดภัยดังกล่าวมาแล้วนั้น เป็นเพราะผู้ปกครองประเทศที่มีเชาวน์ไวไหวพริบ เป็นเพราะคนไทยมีใจสามัคคี ช่วยกันประคับประคองประเทศชาติ เป็นเพราะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ทรงอานุภาพยิ่ง อาทิ พระแก้วมรกต พระพุทธชินราช พระพุทธสิหิงค์ พระสยามเทวาธิราช ฯลฯ หรือแม้แต่ พระนวโกฏิเศรษฐี

    หลายร้อยปีก่อน พระนวโกฏิเศรษฐี เคยช่วยเหลือคนที่กำลังอดอยากขาดแคลน นับแสนนับหมื่นคน ให้อยู่รอดปลอดภัย มีกินมีใช้มาได้อย่างไร

    หลายร้อยปีต่อมา พระนวโกฏิเศรษฐี ก็กำลังจะใช้บารมีช่วยเหลือผู้คนที่กระทำสักการบูชา ให้มีอยู่มีกิน และคุ้มครองประเทศชาติ ให้พ้นจากภัยพิบัติอีกครั้ง

    IMG_20181118_203104.jpg IMG_20181118_203053.jpg
     
  20. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่580 พระผงสมเด็จพระเจ้าตากสิน ปี52 หลวงพ่อรักษ์ วัดสุทธาวาส วิปัสสนา อยุธยา
    ***สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กษัตริย์กู้ชาติแห่งธนบุรี
    ***พระนามเดิมว่า สิน ทรงพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๗๗ ที่บ้านใกล้กำแพงพระนครศรีอยุธยา พระราชบิดามีบรรดาศักดิ์เป็นขุนพัฒน์ พระราชมารดาชื่อ นกเอี้ยง ต่อมาภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นกรมพระเทพามาตย์ เจ้าพระยาจักรี สมุหนายกในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้ขอรับไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม เมื่ออายุได้ ๑๓ ปี เจ้าพระยาจักรี ได้นำเข้าถวายตัวรับราชการเป็นมหาดเล็ก ทำราชการอยู่ในบังคับบัญชาของหลวงศักดิ์นายเวร เมื่ออายุได้ ๒๑ ปี เจ้าพระยาจักรี ได้ทำการอุปสมบทให้ในสำนักพระอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส (วัดเชิงท่า)อยู่สามพรรษาแล้วลาสิกขาเข้ารับราชการตามเดิม ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ (สมเด็จพระบรมราชาที่ ๓) ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นข้าหลวงพิเศษเดินทางไปชำระคดีความตามหัวเมืองฝ่ายเหนือ มีความดีความชอบ ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตาก ต่อมาเมื่อพระยาตากถึงแก่กรรม ก็ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นพระยาตากแทน

    เมื่อพม่ายกกำลังเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะเสียแก่พม่าครั้งที่สอง
    พระยาตากได้เข้ามาช่วยราชการป้องกันกรุงศรีอยุธยาอย่างเข้มแข็ง แต่ในที่สุดเมื่อเห็นว่าการป้องกันกรุงศรีอยุธยาในครั้งนั้น ไม่อำนวยให้กระทำได้อย่างเต็มที่และอยู่นอกอำนาจหน้าที่ที่พระองค์จะแก้ไขได้ จึงได้หาทางต่อสู้ใหม่ ด้วยการตีฝ่าวงล้อมพม่าออกไป ด้วยกำลังเล็กน้อยเพียง ๕๐๐ คน ได้ต่อสู้กับกองทหารพม่าที่บ้านพรานนก ได้ชัยชนะจากนั้นได้นำกำลังไปตั้งมั่นที่เมืองจันทบุรี เพื่อรวบรวมกำลังมากู้กรุงศรีอยุธยาที่เสียแก่พม่า เมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ.๒๓๑๐

    เมื่อพระองค์ทรงรวบรวมกำลังพลได้ประมาณ ๕,๐๐๐ คน กับเรือรบ ๑๐๐ ลำ ก็ได้ยกกำลังทางเรือเข้ายึดเมืองธนบุรี ได้เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๑๑ ในวันต่อมาพระองค์ได้ตีค่ายทหารพม่าที่ค่ายโพธิสามต้น และค่ายอื่นๆ แตกทุกค่าย ทำการกู้เอกราชกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จในเวลาเพียงเจ็ดเดือน

    หลังจากขับไล่พม่าออกไปแล้วพระองค์ก็ได้ทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๑๑ เมื่อพระชนมายุได้ ๓๔ พรรษา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระศรีสรรเพชรญ์ หรือสมเด็จพระบรมราชที่ ๔ แต่คนทั่วไปนิยมขนานพระนามพระองค์ว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์ทรงเห็นว่า กรุงศรีอยุธยาที่ถูกฝ่ายพม่าเผาผลาญวอดวาย ทำลายบ้านเมืองไปหมดสิ้นเกินกว่าที่จะบูรณะปฎิสังขรณ์ให้กลับเป็นเมืองหลวงได้ จึงทรงเลือกเมืองธนบุรี ที่มีความเหมาะสมกว่าขึ้นเป็นราชธานี

    พระราชกรณียะกิจของพระองค์ในลำดับต่อมาคือการรวบรวม การรวบรวมกำลังไว้ต่อสู้กับพม่าต่อไปคือความเป็นปึกแผ่นของพระราชอาณาจักร ซึ่งในเวลานั้นได้มีผู้ตั้งตนเป็นใหญ่ห้าชุมนุมต่าง ๆ ได้แก่ ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก ชุมนุมเจ้าพระฝาง ชุมนุมเจ้าพิมาย และชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช เมื่อรวมชุมนุมของพระองค์เองที่กกรุงธนบุรีแล้วก็มีถึงห้าชุมนุม พระองค์ทรงใช้เวลาในการปราบปรามชุมนุมต่าง ๆ อยู่สามปี จึงเสร็จปราบปรามได้เสร็จสิ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๓ ทำให้พระราชอาณาจักรเป็นปึกแผ่น ส่วนหัวเมืองมาลายูได้แก่ เมืองปัตตานี เมืองไทรบุรี เมืองกลันตัน และเมืองตรังกานู ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยามาแต่เดิม และได้แยกตัวเป็นอิสระเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง

    พระองค์เห็นว่ายังไม่พร้อม และยังไม่มีความสำคัญเร่งด่วน ที่จะไปปราบปรามจึงได้ปล่อยไปก่อน ในการทำสงครามกับพม่าในระยะต่อมา พระองค์ได้เปลี่ยนหลักนิยมในการยึดพระนครเป็นที่ตั้งรับข้าศึกมาเป็นการยกกำลังไปยับยั้งข้าศึกที่ชายแดน ทำให้ประชาชนพลเมืองไม่ได้รับอันตรายเสียหายเดือดร้อนจากข้าศึก ในรัชสมัยของพระองค์ ได้มีการทำสงครามขยายพระราชอาณาเขต ของกรุงศรีอยุธยาออกไปอย่างกว้างขวางโดยได้ทำศึกสงครามกับพม่า และอาณาจักรอื่น ๆ รวม ๑๒ ครั้ง ในปีพ.ศ.๒๓๒๔ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเจ้าพระยาสุรสีห์ ยกทัพไปปราบเขมร แต่ต้องยกทัพกลับเนื่องจากทางกรุงธนบุรีเกิดจราจล โดยพระยาสรรค์ได้ก่อกบฏ ยกกำลังเข้ายึดกรุงธนบุรี แล้วจับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ให้ไปทรงผนวชที่วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง)

    เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหาษัตริย์ศึก ยกทัพกลับมาถึงกรุงธนบุรี ได้ปราบปรามกบฎได้สำเร็จ
    ราษฎรและบรรดามหาอำมาตย์ จึงได้พร้อมใจกันอัญเชิญให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ ตลอดรัชสมัยของพระองค์ได้ทรงทำศึกสงครามมาโดยตลอดเวลา ๑๕ ปี โดยมิได้หยุดหย่อน ได้ขยายพระราชอาณาเขตของกรุงธนบุรีออกไป จนเกือบเท่ากับสมัยกรุงศรีอยุธยาก่อนเสียกรุงแก่พม่า พระองค์ได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

    คุณMK2508 ปิดครับ
    IMG_20181118_203001.jpg IMG_20181118_202950.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2018

แชร์หน้านี้

Loading...