เกิดอาการหูดับและไม่รับรู้การมีร่างกายและลมหายใจขณะนั่งสมาธิเป็นเพราะอะไร

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย jjustdream, 20 มิถุนายน 2012.

  1. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
     
  2. จิตวิญญาณ

    จิตวิญญาณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +679
    หลังจากที่ “ ความรู้สึกมันบอกตัวเองทันทีเลยว่า ต้องเป็น“ตัวพูดมาก”ตัวนี้แน่เลยที่มันก่อภพก่อชาติให้กับเราไม่สิ้นสุด” พอมาลองคิดทบทวนเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้น เมื่อเช้านี้ก็ได้รู้จักและเข้าใจเจ้า”ตัวพูดมาก”ที่ว่านี้อย่างแจ่มแจ้งแล้วค่ะ

    แท้จริงแล้วมัน"ตัวพูดมาก"ไม่ใช่ใครที่ไหน

    (1) แล้วมีอยู่วันหนึ่งขับรถออกไปข้างนอก ช่วงเวลาที่กำลังขับๆอยู่ อยู่ๆก็รู้สึกหงุดหงิด และช่วงเสี้ยววินาทีที่รู้ว่ามีอาการอย่างนั้นเกิดขึ้น มันมีความคิดหนึ่งผุดออกมาจากใจเองทันทีทันใดเลยว่า นี่มันไม่ใช่นิสัยเรา เราไม่ใช่คนนิสัยอย่างนี้ ไปเอานิสัยนี้มาจากไหน

    (2) หลังจากนั้นไม่กี่วันก็เกิดอีก อยู่ๆก็ค่อยๆเกิดอารมณ์ทุกข์ขึ้นมา จนกระทั่งเห็นว่าหายใจเข้าก็ทุกข์ หายใจออกก็ทุกข์ ทุกข์อยู่นั่นแหล่ะ สำรวจดูใจตัวเองก็สงบดีแต่ทำไมมันทุกข์ พอรู้ว่าทุกข์ ก็เลยพยายามหาสาเหตุว่าทุกข์เพราะอะไร แต่หาเท่าไหร่ก็หาไม่เจอ

    (3) พออีกไม่กี่วันมาอีกค่ะ ครั้งนี้มาอารมณ์ใหม่ อารมณ์ด่า มองเห็นอะไรในใจก็อยากด่า เห็นอะไรขวางหูขวางตาอยากจะด่าไปหมด ขับรถผ่านอะไรก็อยากด่า

    อารมณ์ของ 1 2 3 ก็เป็นตัวมันทั้งนั้น

    (4) พอครั้งหลังสุด ตื่นเช้ามาสังเกตุใจก็สงบนิ่งปกติ ทำโน้นทำนี่เสร็จเรียบร้อยเดินออกไปหน้าบ้าน หูไปกระทบกับเสียงสุนัขที่เลี้ยงไว้ เขากำลังเลียทำความสะอาดตัวเขาเองอยู่ เกิดความไม่พอใจหันไปมองเขาแบบตาขวางเลย อารมณ์รุ่มร้อนหงุดหงิดโมโหขึ้นมาทันทีทันใด .. นี่ก็เป็นมันอีก

    และก็มีอยู่เช้าวันหนึ่ง อยู่ๆก็เกิดอาการเริ่มปวดไหล่ ปวดมากขึ้นจนแทบจะทนไม่ได้ สภาวะนี้แรกๆจะยังแยกไม่ออก คิดแต่ว่ามีอะไรมากระทำให้ปวด เพราะตอนที่เดินไปส่องกระจกดูแววตาตัวเอง เห็นแววตาขวางๆยังไงไม่รู้ ก็รับรู้อาการปวดและก็สังเกตุดูไปด้วย ทีนี้ความปวดมันเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้นมากขึ้น .. นี่ก็เป็นมันที่เจ็บ

    --ไม่เหมือนเมื่อก่อน ปรามาสจนกลัว .. นี่ก็เป็นมันที่ปรามาส

    สรุปแล้ว เป็นมัน”ตัวพูดมาก”หมดเลย แล้วเราเป็นใครอยู่ที่ไหนละคะทีนี้ ตรงนี้ดิฉันคงต้องใช้เวลาค่อยๆศึกษาและทำความเข้าใจไปเรื่อยๆ

    +++ หลังจากทำความรู้สึกตัวแล้ว ให้สังเกตุ อาการกระพริบกระเพื่อมน้อย ๆ ในเวลาที่มันพูดทุกครั้ง แล้วดูตรง ๆ ไปที่อาการกระพริบนั้น ๆ หากดูได้ถูกส่วนแล้ว มันจะถูกพลังสติดันให้มันออกไปพูดนอกตัวเรา

    สภาวะนี้ เมื่อใดพลังสติสามารถดันให้มันออกไปจากตัวเราได้ เราก็จะได้ยินเสียงมันพูดอยู่นอกตัวเรา ซึ่งปรากฏการนี้ก็จะคล้ายกับคนที่เขาได้ยินเสียงพูดและคิดว่าตัวเองได้อภิญญามีหูทิพย์ใช่ไหมคะ ซึ่งแท้จริงแล้วมันก็เป็นเสียง”ตัวพูดมาก”นี่เองที่พูด
     
  3. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    ผมเพิ่งกลับมาจาก ตจว เลยตอบช้าไปหน่อย

    “ตัวพูดมาก”ตัวนี้แน่เลยที่มันก่อภพก่อชาติให้กับเราไม่สิ้นสุด

    +++ ถูกแล้วครับ "ตัวพูดมาก" หรือ "วจีจิตตะสังขาร" เป็นตัวหลักของจิตตัวหนึ่ง ที่ครูบาอาจารย์ผู้รู้ทั้งหลาย จับมันมามัดเอาไว้ในรูปของ "คำบริกรรมต่าง ๆ" เช่น พุทโธ สัมมาอะระหัง นะมะพะทะ และอื่น ๆ เพื่อที่จะตรึงมันเอาไว้ในที่ ๆ เดียว ให้มันท่องบริกรรมอยู่อย่างเดียว แล้วจึงให้ผู้ฝึก ฝึกอนุสติอื่น ๆ ประกอบ จนกว่าอนุสติต่าง ๆ นั้นจะมีอำนาจเหนือมัน จนวางมันได้แล้วเข้าสู่สมาธิในชั้นที่ลึกกว่าต่อไป

    +++ ส่วนของคุณนั้นฝึกอยู่กับ ความรู้สึกทั้งตัว ซึ่งเป็นมหาสติอยู่แล้ว ดังนั้นจึงมีขีดความสามารถที่จะ ดู มันได้อย่างตรง ๆ นั่นเอง

    =================================================================

    แท้จริงแล้วมัน"ตัวพูดมาก"ไม่ใช่ใครที่ไหน

    (1) แล้วมีอยู่วันหนึ่งขับรถออกไปข้างนอก ช่วงเวลาที่กำลังขับๆอยู่ อยู่ๆก็รู้สึกหงุดหงิด และช่วงเสี้ยววินาทีที่รู้ว่ามีอาการอย่างนั้นเกิดขึ้น มันมีความคิดหนึ่งผุดออกมาจากใจเองทันทีทันใดเลยว่า นี่มันไม่ใช่นิสัยเรา เราไม่ใช่คนนิสัยอย่างนี้ ไปเอานิสัยนี้มาจากไหน

    (2) หลังจากนั้นไม่กี่วันก็เกิดอีก อยู่ๆก็ค่อยๆเกิดอารมณ์ทุกข์ขึ้นมา จนกระทั่งเห็นว่าหายใจเข้าก็ทุกข์ หายใจออกก็ทุกข์ ทุกข์อยู่นั่นแหล่ะ สำรวจดูใจตัวเองก็สงบดีแต่ทำไมมันทุกข์ พอรู้ว่าทุกข์ ก็เลยพยายามหาสาเหตุว่าทุกข์เพราะอะไร แต่หาเท่าไหร่ก็หาไม่เจอ

    (3) พออีกไม่กี่วันมาอีกค่ะ ครั้งนี้มาอารมณ์ใหม่ อารมณ์ด่า มองเห็นอะไรในใจก็อยากด่า เห็นอะไรขวางหูขวางตาอยากจะด่าไปหมด ขับรถผ่านอะไรก็อยากด่า

    อารมณ์ของ 1 2 3 ก็เป็นตัวมันทั้งนั้น

    (4) พอครั้งหลังสุด ตื่นเช้ามาสังเกตุใจก็สงบนิ่งปกติ ทำโน้นทำนี่เสร็จเรียบร้อยเดินออกไปหน้าบ้าน หูไปกระทบกับเสียงสุนัขที่เลี้ยงไว้ เขากำลังเลียทำความสะอาดตัวเขาเองอยู่ เกิดความไม่พอใจหันไปมองเขาแบบตาขวางเลย อารมณ์รุ่มร้อนหงุดหงิดโมโหขึ้นมาทันทีทันใด .. นี่ก็เป็นมันอีก

    และก็มีอยู่เช้าวันหนึ่ง อยู่ๆก็เกิดอาการเริ่มปวดไหล่ ปวดมากขึ้นจนแทบจะทนไม่ได้ สภาวะนี้แรกๆจะยังแยกไม่ออก คิดแต่ว่ามีอะไรมากระทำให้ปวด เพราะตอนที่เดินไปส่องกระจกดูแววตาตัวเอง เห็นแววตาขวางๆยังไงไม่รู้ ก็รับรู้อาการปวดและก็สังเกตุดูไปด้วย ทีนี้ความปวดมันเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้นมากขึ้น .. นี่ก็เป็นมันที่เจ็บ

    +++ จิตนั้นสามารถปรากฏออกมาได้หลากหลายอาการอย่างยิ่ง ในข้อ 1-2, 4 จริง ๆ แล้วนั่นเป็นการต่อสู้ของ สติ ที่ต่อต้านความหงุดหงิด เพราะ สติ คือทางเดินออกจากทุกข์ ซึ่งในขณะนั้นความหงุดหงิดคือ ทุกข์ การต่อสู้ของ สติใน 1-2, 4 นั้นไม่ผ่านตัวกลาง หรือ หนังหน้าไฟ ซึ่งเป็น "ตัวพูดมาก" แต่ในข้อ 3 นั่น ใช่ เพราะอารมณ์ ด่า เป็นตัวขับดัน แล้ว ด่าโดย "ตัวพูดมาก"

    --ไม่เหมือนเมื่อก่อน ปรามาสจนกลัว .. นี่ก็เป็นมันที่ปรามาส

    +++ ใช่ เป็นมันนั่นเอง
    +++ "ตัวพูดมาก" นี้อยู่ในฐานะของ หนังหน้าไฟ อารมณ์ดีมันก็พูดดี อารมณ์เสียมันก็พูดเสีย เพราะมันเป็นเพียงแค่ "ตัวกลาง" ในการแปล หรือ เป็นแค่ "ล่าม หรือ หุ่นเชิด" เท่านั้น

    สรุปแล้ว เป็นมัน”ตัวพูดมาก”หมดเลย แล้วเราเป็นใครอยู่ที่ไหนละคะทีนี้ ตรงนี้ดิฉันคงต้องใช้เวลาค่อยๆศึกษาและทำความเข้าใจไปเรื่อยๆ

    +++ หลังจากทำความรู้สึกตัวแล้ว ให้สังเกตุ อาการกระพริบกระเพื่อมน้อย ๆ ในเวลาที่มันพูดทุกครั้ง แล้วดูตรง ๆ ไปที่อาการกระพริบนั้น ๆ หากดูได้ถูกส่วนแล้ว มันจะถูกพลังสติดันให้มันออกไปพูดนอกตัวเรา

    สภาวะนี้ เมื่อใดพลังสติสามารถดันให้มันออกไปจากตัวเราได้ เราก็จะได้ยินเสียงมันพูดอยู่นอกตัวเรา ซึ่งปรากฏการนี้ก็จะคล้ายกับคนที่เขาได้ยินเสียงพูดและคิดว่าตัวเองได้อภิญญามีหูทิพย์ใช่ไหมคะ ซึ่งแท้จริงแล้วมันก็เป็นเสียง”ตัวพูดมาก”นี่เองที่พูด

    +++ ใช่ครับ แต่ต่างกรณีกัน หากสติของคุณสามารถดันให้มันออกไปจากตัวได้เมื่อไร คุณก็จะมีขีดความสามารถแยกแยะได้อย่างชัดเจนเองว่า ในยามใดก็ตามที่ "ตัวพูดมาก" ของคุณ ไม่ได้ทำงาน เสียงที่ปรากฏ ย่อมเป็น "ตัวพูดมาก" ของผู้อื่นส่งเข้ามา เช่นเดียวกันกับ "จิตสื่อสาร" ทุกประการ และคุณก็จะมีขีดความสามารถในการ ใช้ "ตัวพูดมาก" ของคุณ สื่อสารกลับไปได้อีกด้วย

    +++ ดังนั้น ยามใดที่คุณจัดการกับ "ตัวพูดมาก" ได้ ยามนั้น อภิญญาหูทิพย์ (จิตสื่อสารทางเสียง) อภิญญาตาทิพย์ (จิตสื่อสารทางภาพ) และ อภิญญาใจทิพย์ (จิตสื่อสารทางความเข้าใจแบบขณะจิต-เจโต) ย่อมปรากฏเป็นจริงได้ โดยที่ไม่มี ความหลง ใด ๆ เข้ามายุ่งเกี่ยวด้วยเลย

    +++ ฝึกให้ผ่านเจ้าตัวนี้ ให้ได้นะครับ
     
  4. jjustdream

    jjustdream เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +201
    ได้อ่านข้อความของคุณธรรมชาติแล้วสะดุดที่คำว่า "เจโต" อยากทราบความหมายของคำๆนี้ค่ะว่าเป็นอะไร มีอาการอย่างไรค่ะ
     
  5. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    จำเป็นที่ต้องโพสท์ 2 ครั้ง เพราะ ข้อความบางตอนไม่ยอมแสดงผล ทั้ง ๆ ที่ทำ save ใหม่แล้ว นะครับ

    เจโต ที่ผมเขียนสั้น ๆ นั้นมาจากคำว่า เจโตปริยญาณ (เจ-โต-ปะ-ริ-ยะ-ยาน) หมายถึง ขีดความสามารถทางจิต ที่รู้จิตเป็นวาระได้
    หากเป็นสมาธิแบบฤาษี เรียกว่า อ่านวาระจิตผู้อื่นได้ หรือเรียกว่า รู้ใจผู้อื่นได้ (เกิดจากสมาธิละเอียดลงไปในระดับวาระจิต)

    หากเป็นสมาธิพุทธ ที่ตั้งอยู่บนมหาสติปัฏฐาน จะรู้ทั้งวาระจิตตน และ วาระจิตอื่นในขณะเดียวกัน (เกิดจากสติละเอียด จนเห็นการทำงานของจิตแบบทีละวาระ และทุกอย่างที่เข้ามาสัมผัสในความละเอียดขนาดนั้นจะถูกรู้ทั้งหมด) และ สามารถใช้ความละเอียดในระดับนั้น สื่อสารแบบจิตรวมหมู่ได้ (ตัวอย่างคือ เหล่าพระอรหันต์ต่างอาสากันปราบ นันโทปนันทนาคราช ท่านใช้วาระจิตสื่อสารกันแบบรวมหมู่)

    ถือว่าเล่าสู่กันฟังนะครับ

    ในช่วงที่ผมยังอยู่ในวัยรุ่น หลังจากเรื่องราวในกระทู้นี้

    [URL="http://palungjit.org/posts/7194693
    [/URL]
    ผมได้รับการติดต่อสื่อสารหลาย ๆ ครั้ง ทุกครั้งจะเป็นการถอดจิตแบบไปทั้งตัวล้วน ๆ ทั้งสิ้น ไม่มีรายการแบบละเมอเห็น (ภวังค์จรณะ หรือ day dream) ใด ๆ ทั้งสิ้น

    ครั้งหนึ่ง ผมถอดจิตลอยอยู่สูงมองลงมายังท้องทุ่งเบื้องล่าง (ในขณะนั้น พื้นที่ในบริเวณนั้นยังเป็นทุ่งอยู่ แต่ในขณะนี้เป็นตึกไปหมดแล้ว) มองเห็นพญานาคท่านหนึ่งกำลังเคลื่อนตัวอยู่เบื้องล่าง ในทิศทางที่ท่านเลื้อยนั้น ปรากฏเป็นลมพายุพัดท้องทุ่งราบเป็นระนาบไปทั้งทุ่งตามทิศทางที่ท่านไป ตอนนั้นจิตมันอยากทราบว่าพญานาคตนนี้ตัวใหญ่ขนาดไหน พออยากรู้ก็ปรากฏว่าเป็นตัวเองมาลอยอยู่ข้าง ๆ พญานาคท่านนั้น ทั้ง ๆ ที่ตัวเองยังลอยอยู่ข้างบน (เหมือนเหตุการณ์ตอนอยากรู้ว่าป่ามันเป็นอย่างไรในตอนป่าหิมพานต์ นั่นแหละ) (จิตแยกออกเป็น 2 ร่างในชั่วขณะ อาจเรียกว่า อวตาลชั่วคราวก็น่าจะได้) ขนาดของพญานาคท่านนั้น ใหญ่ขนาด 2 เท่าของขบวนรถไฟ และกว้าง 2 เท่าของขบวนรถไฟ เปรียบได้ว่า เอารถไฟ 4 ขบวน (ขนาดเท่ารถไฟต่างจังหวัด ไม่ใช่เท่ารถไฟฟ้าใน กทม) มาวางซ้อนกัน 2 ชั้นแล้วเอามาวางแนบชิดกัน ก็จะได้ขนาดประมาณของพญานาคท่านนั้น

    จากนั้นผมก็เปลี่ยนจากลอยอยู่ข้างบน มาเป็นนั่งขัดสมาธิอยู่ที่ชานหน้าบ้าน แล้วพญานาคท่านนั้นก็เปลี่ยนมาเป็น ขนด 7 ชั้นแผ่พังพาน 7 เศียร ที่ตรงกลางปรากฏเป็นเทพผู้ชาย นั่งเทพ (คล้ายนั่งขัดสมาธิ แต่ห้อยขาลงมาข้างหนึ่ง) ความสูงของการนั่งอยู่ในระดับเดียวกับกับผม ท่านย่อร่างนาคลงมาเป็นขนาดที่พอดี ๆ และให้ผมเห็นท่านได้ชัดเจน ร่างนาคทั้งหมดรวมทั้งเศียรทั้ง 7 มีชีวิตชีวา มีการเคลื่อนไหวน้อย ๆ กระดุกกระดิกอยู่ตลอดเวลา ทุกเกล็ดจะเป็นประกายรุ้ง 7 สีชัดเจน หากมองทั้งร่างก็จะเป็นประกายรุ้ง 7 สีด้วยเช่นกัน มือขวาถือพระขรรค์ ส่วนมือซ้ายชี้ไปยังที่ ๆ ท่านปรารถนาจะอยู่

    การสื่อสารทางจิตกับพญานาคท่านนี้เป็นแบบ ครั้งละวาระ แต่ละครั้งเป็นแบบ 1ความเข้าใจ (ความเข้าใจของจิต ต่อ ความเข้าใจของจิต ในแต่ละครั้ง แบบ ครั้งต่อครั้ง) ไม่มีคำพูดเป็นเสียง ไม่มีการแสดงภาพใด ๆ ให้ปรากฏ เป็นความเข้าใจในขณะจิตเดียวล้วน ๆ ในขณะจิตแรกเป็นของท่าน ที่แสดงตนว่า ท่านเป็นพญานาค ในขณะจิตที่สองเป็นของผม คือผมดูลักษณะของพญานาค ตามย่อหน้าข้างบน ในขณะจิตที่สามเป็นของพญานาค ระบุสถานที่ ๆ ท่านต้องการอยู่ ในขณะจิตที่สี่เป็นของผม ระบุการรับทราบ ในขณะจิตที่ห้าเป็นของท่านพญานาค ระบุการอยู่ของท่านว่าต้องการอยู่ปฏิบัติธรรมด้วย ในขณะจิตที่หกเป็นของผม แสดงความยินดีที่ท่านมาปฏิบัติธรรมด้วย

    จริง ๆ แล้วคำว่า เจโตปริยญาณ นั้นท่านให้ความหมายเพียงแค่ รู้จิตผู้อื่น เท่านั้น แต่ถ้าหากผู้ที่ใด้ เจโตปริยญาณ ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ก็สามารถนำเอา เจโตปริยญาณ นี้มาใช้ในการสื่อสารกันได้ และจะเป็นการสื่อสารที่รวดเร็วกว่า การใช้ ภาพและเสียง เพราะไม่ว่าอย่างไรก็ตาม การใช้ทั้งภาพและเสียง ก็เป็นเพียงอุปกรณ์เพื่อสร้างให้เกิดความเข้าใจเท่านั้น และเป็นการ เยิ่นเย้อยาวนาน และเสียเวลามากกว่า การใช้ เจโตปริยญาณ อย่างตรง ๆ นะครับ

    ดังนั้น เจโตปริยญาณ ตามการใช้ประโยชน์ของผม น่าจะแตกต่างจากความหมายโดยทั่วไปอยู่บ้าง ทั้งหมดอยู่ที่ว่า มีแล้วจะนำมาใช้ประโยขน์ได้อย่างไรมากกว่า นะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กันยายน 2015
  6. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    เนื่องจาก server ไม่ยอมแสดงผล ทั้ง ๆ ที่ทำ save ใหม่แล้ว จึงจำเป็นต้องโพสท์ 2 ครั้งเพื่อให้ติดต่อกัน นะครับ

    ผมได้รับการติดต่อสื่อสารหลาย ๆ ครั้ง ทุกครั้งจะเป็นการถอดจิตแบบไปทั้งตัวล้วน ๆ ทั้งสิ้น ไม่มีรายการแบบละเมอเห็น (ภวังค์จรณะ หรือ day dream) ใด ๆ ทั้งสิ้น

    ครั้งหนึ่ง ผมถอดจิตลอยอยู่สูงมองลงมายังท้องทุ่งเบื้องล่าง (ในขณะนั้น พื้นที่ในบริเวณนั้นยังเป็นทุ่งอยู่ แต่ในขณะนี้เป็นตึกไปหมดแล้ว) มองเห็นพญานาคท่านหนึ่งกำลังเคลื่อนตัวอยู่เบื้องล่าง ในทิศทางที่ท่านเลื้อยนั้น ปรากฏเป็นลมพายุพัดท้องทุ่งราบเป็นระนาบไปทั้งทุ่งตามทิศทางที่ท่านไป ตอนนั้นจิตมันอยากทราบว่าพญานาคตนนี้ตัวใหญ่ขนาดไหน พออยากรู้ก็ปรากฏว่าเป็นตัวเองมาลอยอยู่ข้าง ๆ พญานาคท่านนั้น ทั้ง ๆ ที่ตัวเองยังลอยอยู่ข้างบน (เหมือนเหตุการณ์ตอนอยากรู้ว่าป่ามันเป็นอย่างไรในตอนป่าหิมพานต์ นั่นแหละ) (จิตแยกออกเป็น 2 ร่างในชั่วขณะ อาจเรียกว่า อวตาลชั่วคราวก็น่าจะได้) ขนาดของพญานาคท่านนั้น ใหญ่ขนาด 2 เท่าของขบวนรถไฟ และกว้าง 2 เท่าของขบวนรถไฟ เปรียบได้ว่า เอารถไฟ 4 ขบวน (ขนาดเท่ารถไฟต่างจังหวัด ไม่ใช่เท่ารถไฟฟ้าใน กทม) มาวางซ้อนกัน 2 ชั้นแล้วเอามาวางแนบชิดกัน ก็จะได้ขนาดประมาณของพญานาคท่านนั้น

    จากนั้นผมก็เปลี่ยนจากลอยอยู่ข้างบน มาเป็นนั่งขัดสมาธิอยู่ที่ชานหน้าบ้าน แล้วพญานาคท่านนั้นก็เปลี่ยนมาเป็น ขนด 7 ชั้นแผ่พังพาน 7 เศียร ที่ตรงกลางปรากฏเป็นเทพผู้ชาย นั่งเทพ (คล้ายนั่งขัดสมาธิ แต่ห้อยขาลงมาข้างหนึ่ง) ความสูงของการนั่งอยู่ในระดับเดียวกับกับผม ท่านย่อร่างนาคลงมาเป็นขนาดที่พอดี ๆ และให้ผมเห็นท่านได้ชัดเจน ร่างนาคทั้งหมดรวมทั้งเศียรทั้ง 7 มีชีวิตชีวา มีการเคลื่อนไหวน้อย ๆ กระดุกกระดิกอยู่ตลอดเวลา ทุกเกล็ดจะเป็นประกายรุ้ง 7 สีชัดเจน หากมองทั้งร่างก็จะเป็นประกายรุ้ง 7 สีด้วยเช่นกัน มือขวาถือพระขรรค์ ส่วนมือซ้ายชี้ไปยังที่ ๆ ท่านปรารถนาจะอยู่

    การสื่อสารทางจิตกับพญานาคท่านนี้เป็นแบบ ครั้งละวาระ แต่ละครั้งเป็นแบบ 1ความเข้าใจ (ความเข้าใจของจิต ต่อ ความเข้าใจของจิต ในแต่ละครั้ง แบบ ครั้งต่อครั้ง) ไม่มีคำพูดเป็นเสียง ไม่มีการแสดงภาพใด ๆ ให้ปรากฏ เป็นความเข้าใจในขณะจิตเดียวล้วน ๆ ในขณะจิตแรกเป็นของท่าน ที่แสดงตนว่า ท่านเป็นพญานาค ในขณะจิตที่สองเป็นของผม คือผมดูลักษณะของพญานาค ตามย่อหน้าข้างบน ในขณะจิตที่สามเป็นของพญานาค ระบุสถานที่ ๆ ท่านต้องการอยู่ ในขณะจิตที่สี่เป็นของผม ระบุการรับทราบ ในขณะจิตที่ห้าเป็นของท่านพญานาค ระบุการอยู่ของท่านว่าต้องการอยู่ปฏิบัติธรรมด้วย ในขณะจิตที่หกเป็นของผม แสดงความยินดีที่ท่านมาปฏิบัติธรรมด้วย

    จริง ๆ แล้วคำว่า เจโตปริยญาณ นั้นท่านให้ความหมายเพียงแค่ รู้จิตผู้อื่น เท่านั้น แต่ถ้าหากผู้ที่ใด้ เจโตปริยญาณ ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ก็สามารถนำเอา เจโตปริยญาณ นี้มาใช้ในการสื่อสารกันได้ และจะเป็นการสื่อสารที่รวดเร็วกว่า การใช้ ภาพและเสียง เพราะไม่ว่าอย่างไรก็ตาม การใช้ทั้งภาพและเสียง ก็เป็นเพียงอุปกรณ์เพื่อสร้างให้เกิดความเข้าใจเท่านั้น และเป็นการ เยิ่นเย้อยาวนาน และเสียเวลามากกว่า การใช้ เจโตปริยญาณ อย่างตรง ๆ นะครับ

    ดังนั้น เจโตปริยญาณ ตามการใช้ประโยชน์ของผม น่าจะแตกต่างจากความหมายโดยทั่วไปอยู่บ้าง ทั้งหมดอยู่ที่ว่า มีแล้วจะนำมาใช้ประโยขน์ได้อย่างไรมากกว่า นะครับ
     
  7. jjustdream

    jjustdream เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +201
    หมายความว่าเป็นการเห็นภาพ การสื่อสารกับจิตอื่นโดยจิต เพียงแต่แบ่งเป็นแต่ละวาระจิตเป็นช่วงๆในการสื่อสาร โดยการสื่อสารแบบนี้จะไม่ใช้เสียงหรือไม่ได้ยินเสียง แต่จะเข้าใจในภาพที่จิตนั้นต้องการจะสื่อสาร ดิฉันเข้าใจถูกต้องใช่ไหมคะ
     
  8. watjojoj

    watjojoj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    562
    ค่าพลัง:
    +9,793
    เจ้าตัวนี้ผมเองก็เป็น และที่บอกว่าฝึกให้ผ่านนนั้นคือ ฝึกการเจริญสติใช่ไหมครับ
     
  9. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    การอธิบายคำตอบตรงนี้ ให้ออกมาเป็นภาษาพูดอาจจะยากสักหน่อย เพราะผู้ที่จะพอเข้าใจได้ ต้องมีขีดความสามารถในการอ่านจิตตนเองออก ในขณะที่ สติ ครองฐานของ จิตตานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน เรียบร้อยแล้ว แต่ผมจะพยายามอย่างเต็มที่เพื่ออธิบายความเข้าใจในการทำงานของจิตในระดับนี้ นะครับ

    คำถามของคุณ jjustdream

    หมายความว่าเป็นการเห็นภาพ การสื่อสารกับจิตอื่นโดยจิต เพียงแต่แบ่งเป็นแต่ละวาระจิตเป็นช่วงๆในการสื่อสาร โดยการสื่อสารแบบนี้จะไม่ใช้เสียงหรือไม่ได้ยินเสียง แต่จะเข้าใจในภาพที่จิตนั้นต้องการจะสื่อสาร ดิฉันเข้าใจถูกต้องใช่ไหมคะ

    +++ ความละเอียดของจิตในการสื่อสารอาจแบ่งเป็นระดับได้ดังนี้ เสียงในใจ "ตัวพูดมาก" (จิตสื่อสารทางเสียง) อยู่หยาบกว่า มโนภาพ (จิตสื่อสารทางภาพ) ทั้ง 2 กรณีนี้ เป็นจิตที่เกิดเป็นความคิดเรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าจะเป็น คิดด้วยเสียง หรือ คิดด้วยภาพ ก็ตาม ถือว่าความคิดนั้น ๆ เป็นตัวเรียบร้อยแล้ว

    +++ เรื่องของวาระจิตนั้น เป็นเรื่องของ จิตที่ยังไม่เป็นตัว อยู่ในขณะแรกเกิด ยังเป็น concept อยู่ ยังเป็นเพียง เจตนา ที่ยังไม่ผ่านการอธิบายด้วยภาพและเสียงใด ๆ ทั้งสิ้น ดังนั้น จะไม่มีทั้งภาพและเสียงอยู่ในนั้นเลย

    +++ หากผมจะอธิบายว่า เป็นการสื่อสารด้วยการนึก และการนึกนั้น ๆ ยังไม่แปรสภาพเป็นความคิด ไม่ทราบว่าจะพอเข้าใจได้หรือไม่ เพราะการนึกทุกครั้ง จะมี เจตนา ประกอบอยู่ด้วยเสมอ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า เป็นการสื่อสารแบบ จิตหนึ่งส่งเจตนา แล้วอีกจิตหนึ่ง เข้าใจ ซึ่งตรงนี้ ละเอียดกว่า ภาพและเสียงไปแล้ว ดังนั้น ตรงนี้ภาพและเสียงไม่สามารถเจือปนอยู่ได้ เป็นแบบ แวปหนึ่งส่งออกเจตนา วูปหนึ่งรับมาเป็นความเข้าใจ ภาษาตรงนี้น่าจะง่ายกว่าในการทำความเข้าใจนะครับ

    +++ ดังนั้นคำตอบคือ ไม่มีการเห็นภาพ ไม่มีการแบ่งจิตเป็นตอน ๆ แต่อย่างใด คุณลองทดสอบโดยการอ่าน เจตนา ของผู้อื่น หรือ ทดลองอ่านจากสัตว์เลี้ยงของคุณก็ได้ พอคุณดู ๆ ไปแล้วจู่ ๆ เกิดความเข้าใจในเจตนานั้น ๆ ขึ้นมาวูปหนึ่ง ความเข้าใจใน 1 วูป นั้นนั่นแหละ คือ 1 วาระจิต หวังว่า คงพอเป็นแนวทางให้เกิดความเข้าใจได้บ้างไม่มากก็น้อย นะครับ

    ====================================================================

    ของคุณ watjojoj

    เจ้าตัวนี้ผมเองก็เป็น และที่บอกว่าฝึกให้ผ่านนั้นคือ ฝึกการเจริญสติใช่ไหมครับ

    +++ การฝึกให้ผ่านเจ้า "ตัวพูดมาก" แบบตรง ๆ นั้นควรฝึกดังนี้ คือ

    +++ "หลังจากทำความรู้สึกตัวแล้ว ให้สังเกตุ อาการกระพริบกระเพื่อมน้อย ๆ ในเวลาที่มันพูดทุกครั้ง แล้วดูตรง ๆ ไปที่อาการกระพริบนั้น ๆ หากดูได้ถูกส่วนแล้ว มันจะถูกพลังสติดันให้มันออกไปพูดนอกตัวเรา"

    +++ ดังนั้นต้องสังเกตุดี ๆ นะครับว่า หลังจากทำความรู้สึกตัวแล้ว นั่นหมายถึง "สติครองฐานได้แล้ว" หากตรงนี้สามารถผ่านได้แล้ว จึงสังเกตุ อาการกระพริบกระเพื่อม นั่นหมายถึง "เห็นอาการกระพริบกระเพื่อมทางจิตได้แล้ว" จึงค่อย "ดูตรง ๆ ไปที่อาการกระพริบนั้น ๆ" นะครับ
     
  10. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    เท่าที่ประสบการณ์หางอึ่งผมพอเคยเจอแว้บๆ
    มันจะเหมือนกับว่า รู้ และ เข้าใจในสิ่งที่ต้องการสื่อสาร ในจิตเดียว แว้บเดียวนั้นเลย โดยอาจจะไม่มีคำพูด ภาษา หรือ ภาพ ใดๆ แต่มันเข้าใจในทันทีเลยว่าใจความที่จะรับรู้ คืออะไร
     
  11. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    ถูกแล้วครับ อาการนั้นแหละ ใน 1 ขณะจิตเท่านั้น ทุกอย่างสมบูรณ์อยู่ในตัวมันเองทั้งสิ้น เป็นความเข้าใจที่สมบูรณ์พร้อมในตัวมันเอง และ เป็นธรรมชาติทางจิตที่มีอยู่แล้วในจิตทุกดวงเท่าเทียมกัน เพียงแต่ฝึกสติให้ลงไปอยู่ในความละเอียดของจิตตรงนี้ แล้วเรียนรู้การทำงานของมัน ตามธรรมชาติของมัน เท่านั้นเองนะครับ(good)
     
  12. จิตวิญญาณ

    จิตวิญญาณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +679
    +++ ถูกแล้วครับ "ตัวพูดมาก" หรือ "วจีจิตตะสังขาร" เป็นตัวหลักของจิตตัวหนึ่ง ที่ครูบาอาจารย์ผู้รู้ทั้งหลาย จับมันมามัดเอาไว้ในรูปของ "คำบริกรรมต่าง ๆ" เช่น พุทโธ สัมมาอะระหัง นะมะพะทะ และอื่น ๆ เพื่อที่จะตรึงมันเอาไว้ในที่ ๆ เดียว ให้มันท่องบริกรรมอยู่อย่างเดียว แล้วจึงให้ผู้ฝึก ฝึกอนุสติอื่น ๆ ประกอบ จนกว่าอนุสติต่าง ๆ นั้นจะมีอำนาจเหนือมัน จนวางมันได้แล้วเข้าสู่สมาธิในชั้นที่ลึกกว่าต่อไป

    กราบขอบพระคุณคุณธรรม-ชาติมากค่ะ ที่ให้ความกระจ่างแก่ดิฉัน สำหรับความรู้สึกกับ”ตัวพูดมาก”ที่ผ่านมา ดิฉันเพียงแค่รู้สึกสบสนกับมัน แต่ไม่นึกไม่ฝันและไม่เคยคิดระแคะระคายใจมาก่อนเลยว่า สิ่งที่ตัวเอง”รู้”จักมาเป็นเวลานานนี้ จะกลายมาเป็นสิ่งที่ตัวเอง”ไม่รู้”ว่า หากเราเผลอหลงทางไปกับมันเพราะคิดว่ามันเป็นเรา มันก็จะนำพาเรากลับมาตกอยู่ในวังวนของการเวียนว่ายตายเกิดครั้งแล้วครั้งเล่าไม่จบไม่สิ้น

    +++ หลังจากทำความรู้สึกตัวแล้ว ให้สังเกตุ อาการกระพริบกระเพื่อมน้อย ๆ ในเวลาที่มันพูดทุกครั้ง แล้วดูตรง ๆ ไปที่อาการกระพริบนั้น ๆ หากดูได้ถูกส่วนแล้ว มันจะถูกพลังสติดันให้มันออกไปพูดนอกตัวเรา

    ตรงนี้คงต้องฝึกน่ะค่ะ เพราะดูแล้วขีดความสามารถคงยังไม่ถึง ( ถ้าเป็นทางโลกก็แบบว่าต้องใช้ไหวพริบน่ะค่ะ)แต่ก็พอจะเข้าใจวิธีดูตรงๆบ้างแล้ว เพราะเมื่อครั้งที่ดิฉันโพสท์ข้อความที่ 51 หลังจากนั้นก็สังเกตรู้ว่า”ตัวพูดมาก”นี่มันพูดมันตอบคำถามใครไม่หยุด จนเกิดอาการกระพริบกระเพื่อม พอดูที่อาการกระเพื่อมแล้วก็เกิดอาการวาบเหมือนตกใจ(หัวใจเต้นแรง)เข้ามาแทนที่น่ะค่ะ ตอนนั้นสติยังไม่ทันมันเพราะมัวแต่คิดตำหนิน่ะค่ะว่าทำไมมันเล่าอะไรให้ใครฟังมากขนาดนี้ คือความรู้สึกตอนนั้นเป็นอะไรที่เงียบๆ แต่ตัวพูดมากมันพูดมันคุยไม่หยุด ซึ่งเป็นอะไรที่สวนทางกันน่ะค่ะ

    ส่วน”จิตมาร” … อันนี้แค่เล่าสู่กันฟังเพิ่มเติมนะคะ...เคยมีสภาวะหนึ่งเกิดขึ้นก่อนที่สติจะหยุดเขาไว้ได้ ช่วงนั้นการปรามาสของเขาเริ่มทวีความรุนแรงขึ้น ไม่ปรามาสพระพุทธรูปแล้วนะคะ แต่เปลี่ยนมาปรามาสหลวงปู่ที่เป็นพระอรหันต์แทน ทุกครั้งที่เข้ามาเว็บนี้แล้วมองดูภาพหลวงปู่องค์ใด เขาจะด่าปุ๊บทันทีแบบตั้งสติไม่ทันเลยน่ะค่ะ จนรู้สึกเครียด ขอขมาพระรัตนตรัยก็ทุเลาลงได้ชั่วครู่ก็เป็นอีก พอเครียดมากๆขึ้น เครียดจนรู้ว่าไม่ไหวแล้ว และในขณะที่รู้ว่าไม่ไหวแล้ว สังเกตมีสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น เป็นความรู้สึกสำนึกที่ผุดออกมาจากส่วนลึกในใจจริงๆน่ะค่ะว่า “ฉันยังปฏิบัติไปไม่ถึงไหนเลย” หลังจากนั้นก็เกิดอาการวูบ แล้วพลังที่อัดแน่นอยู่เต็มที่มันก็เริ่มคลายตัวลงน่ะค่ะ แต่ไม่ใช่คลายหมดนะคะ อธิบายไม่ค่อยถูกเหมือนกัน แต่สังเกตุรู้ว่าการปรามาสเบาลงน่ะค่ะ ตรงนี้เลยทำให้ตัวเองตั้งข้อสังเกตว่า มันต้องมีสิ่งหนึ่งที่ซ่อนอยู่ลึกเข้าไปจากดวงจิตดวงนี้ ตอนนี้ก็หายสับสนกับเจ้าตัวพูดมากหรือจิตมารแล้วค่ะ เพราะคุณให้ความกระจ่างหมดแล้ว กราบขอบพระคุณอีกครั้งนะคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มกราคม 2013
  13. watjojoj

    watjojoj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    562
    ค่าพลัง:
    +9,793
    ผมเองก็มีสภาวะไม่ต่างกันเลยครับ เมื่อก่อนนั้นคำด่ามาเป็นชุดๆ เดี๋ยวนี้จะมีผุดขึ้นมาหน่อย แต่เมื่อสติไปจับได้มันก็จะหายไป แต่มันจะคอยโผล่มาเรื่อยๆ ยังไม่สามารถฝึกไปถึงขั้นผลักออกไปได้ครับ ซึ่งจุดนี้จะพยายามต่อไปครับ
     
  14. jjustdream

    jjustdream เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +201
    ขอบคุณค่ะคุณธรรมชาติ พอเข้าใจแล้วค่ะจากที่ยกตัวอย่างขึ้นมาประกอบคำอธิบายทำให้เข้าใจง่ายขึ้น แล้วจะลองตามคำแนะนำนะคะ ขอบคุณมากค่ะ
     
  15. จิตวิญญาณ

    จิตวิญญาณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +679
    คุณ ธรรม-ชาติ
    +++ ดังนั้นคำตอบคือ ไม่มีการเห็นภาพ ไม่มีการแบ่งจิตเป็นตอน ๆ แต่อย่างใด คุณลองทดสอบโดยการอ่าน เจตนา ของผู้อื่น หรือ ทดลองอ่านจากสัตว์เลี้ยงของคุณก็ได้ พอคุณดู ๆ ไปแล้วจู่ ๆ เกิดความเข้าใจในเจตนานั้น ๆ ขึ้นมาวูปหนึ่ง ความเข้าใจใน 1 วูป นั้นนั่นแหละ คือ 1 วาระจิต หวังว่า คงพอเป็นแนวทางให้เกิดความเข้าใจได้บ้างไม่มากก็น้อย นะครับ

    ขออนุญาติค่ะ..ตรงนี้จะลองช่วยอธิบายเพิ่มเติมนะคะ เผื่ออาจจะทำให้คุณที่ยังสังสัยได้เข้าใจมากขึ้น เพราะอาการนี้เพิ่งผ่านกับตัวเองมาไม่กี่วันนี้น่ะค่ะ แต่ก่อนก็ไม่เคยสังเกต

    คือช่วงเวลานั้น สายตาดิฉันแอบมองไปเห็นอะไรไม่รู้ติดอยู่ใกล้จมูกลูกสาว(สุนัขที่เลี้ยงไว้น่ะค่ะ) ก็เลยจะหยิบออก หยิบครั้งแรกไม่ออกเพราะมันเป็นเกล็ดจากแผลที่เขาเกาน่ะค่ะ พอหยิบครั้งแรกไม่ออกก็กำลังจะหยิบครั้งที่สอง แต่เขาไม่ยอมเขาหันหน้าหนี ดิฉันก็เลยจับหน้าเขาหันกลับมาแล้วพูดดุๆกับเขาว่า เงยหน้าขึ้นเดี๋ยวแม่หยิบออกให้ ตอนนั้นสายตาดิฉันมองไปที่ดวงตาเขาน่ะค่ะ สังเกตุเห็นแววตาเขาออกสีเหลืองๆ เพียงเสี้ยววินาทีนั้นก็เกิดอาการวูบแล้วหัวใจเต้นแรงเหมือนตกใจน่ะค่ะ รู้สึกกลัว ในใจคิดว่าทำไมแววตาเขาเหมือนเสือ พอเดินห่างเขาออกมาแล้วอาการนี้ก็หายไป ก็เลยมานั่งคิดทบทวนดู จึงได้รู้ว่า ที่รู้สึกกลัวน่ะเป็นเขากลัวเรา ไม่ใช่เรากลัวเขา พอรู้แล้วก็รู้สึกสำนึกผิด เดินไปขอโทษเขา มองดูแววตาเขาอีกทีก็เห็นเปลี่ยนสีเป็นปกติแล้วน่ะค่ะ ก็เลยได้ความรู้ใหม่เพิ่มเติม สัตว์เลี้ยงก็เหมือนเรา แต่ละสีของแววตาเขาที่เปลี่ยน ก็บ่งบอกถึงแต่ละอารมณ์ข้างในของเขาเหมือนกัน ตรงนี้ทุกคนก็สามารถทำได้ค่ะ

    คุณ watjojoj
    ผมเองก็มีสภาวะไม่ต่างกันเลยครับ เมื่อก่อนนั้นคำด่ามาเป็นชุดๆ เดี๋ยวนี้จะมีผุดขึ้นมาหน่อย แต่เมื่อสติไปจับได้มันก็จะหายไป แต่มันจะคอยโผล่มาเรื่อยๆ ยังไม่สามารถฝึกไปถึงขั้นผลักออกไปได้ครับ ซึ่งจุดนี้จะพยายามต่อไปครับ

    ..ตรงนี้ลองทำความรู้สึกทั้งตัวแล้วจับอารมณ์ของตัวเองดูนะคะ ถ้าอารมณ์ละเอียดมากๆจะรู้เลยว่าขณะนั้นเขาอยู่หรือไม่อยู่ ต่อให้รู้ว่าเขาอยู่ เขาก็ไม่สามารถปรามาสได้ค่ะ ตรงนี้เป็นประสบการณ์ที่ดิฉันปฏิบัติอยู่น่ะค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มกราคม 2013
  16. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    ช่วงนี้กำลังเขียนเรื่อง จิตมาร และอาจมีหลายภาคต่อเนื่องกัน และผมต้องใช้สติที่ละเอียดลงไปดูอาการมันเป็นช่วง ๆ ก่อนที่จะนำมันขึ้นมาอธิบายให้เป็นภาษาที่เข้าใจได้ง่าย ดังนั้นจะต้องใช้เวลา รวมทั้งการใช้สติลงไปในสมาธิระดับลึกอยู่พอสมควร จึงอาจจะไม่ได้เข้ามาในเวปซัก 2-3 วัน นะครับ
     
  17. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    "จิตมาร" ภาคที่ 1

    ทำความรู้จักกับ "จิตมาร"

    มารตัวนี้เป็นมารภายใน ที่มีอยู่ในจิตทุกดวงเหมือน ๆ กัน อาการหลัก ๆ ที่สามารถสังเกตุได้ชัดเจนของ "จิตมาร" นี้คือ "การปรามาส" ไม่มีการละเว้นแม้กระทั่งครูบาอาจารย์ที่อัฏฐิ "เป็นพระธาตุ" รวมถึงพระพุทธรูปต่าง ๆ ด้วย "จิตมาร" ตัวนี้จะปรากฏให้เห็นเด่นชัดในยามที่อยู่ต่อหน้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือ สิ่งที่ควรเคารพบูชาทั้งที่เป็น ปูชนียวัตถุ หรือ ปูชนียบุคคล ก็ตาม มันจะทำการปรามาสแบบไม่เลือกหน้า แต่ตรงนี้เป็นอาการที่หยาบ ๆ เท่านั้น

    การสังเกตุ "จิตมาร" ในระดับกลาง ๆ สามารถสังเกตุได้จาก ในขณะที่อ่านหนังสือธรรมะต่าง ๆ "จิตมาร" ตัวนี้มันจะอ่านถ้อยคำบางคำให้ออกมาเป็นเรื่องตรงกันข้าม และมีการลบหลู่ประกอบไปด้วยเสมอ เช่น "การปฏิบัติธรรมเป็นการทำความดี" แต่การอ่านของ "จิตมาร" จะแปลงคำพูดในการอ่านเพียงบางคำเท่านั้น แล้วจะกลายออกมาเป็น "การปฏิบัติกรรมเป็นการทำดี" ตรงนี้ต้องใช้ความละเอียดของ สติ ให้มากกว่าปกติจึงจะจับมันออกได้ ตัวอย่างอีกอันหนึ่งคือ "หลวงพ่อท่านไปวัด" จิตมาร จะอ่านออกมาเป็น "หลวงพ่อมันไปวัด" จิตมาร ตัวนี้ จะไม่เปลี่ยนแปลงอะไรมาก มันแค่เปลี่ยนถ้อยคำเพียงคำเดียวแค่นั้น ก็สามารถเปลี่ยนความหมายของทั้งประโยคออกมาเป็นอื่นได้ ดังนั้น หากผู้ใดก็ตามที่สามารถรู้จัก "ตัวพูดมาก" ได้ เวลาอ่านหนังสือธรรมะต่าง ๆ ก็ให้ใช้เจ้า "ตัวพูดมาก" นี้เป็นผู้อ่าน ส่วนเราก็คอยฟังการอ่านออกมาจาก "ตัวพูดมาก" นี้อีกที ก็จะสังเกตุเงื่อนงำของ "จิตมาร" ได้

    ในระดับละเอียด "จิตมาร" จะเป็นผู้แปลการฟัง ให้ออกมาเป็นการฟังแบบผิด ๆ และในเวลาที่จะดูอะไรก็ตาม มันจะมีลักษณะคล้าย ๆ ภาพลวงตาขึ้นมาเคลือบ ๆ สภาวะความเป็นจริงแบบเบา ๆ บาง ๆ นิด ๆ ทำให้การรับรู้เบี่ยงเบนออกไปได้ทีละนิด หรืออาจเปลี่ยนระดับความเข้าใจไปในทางตรงกันข้ามได้เลยก็มี ซึ่งภาษาของนักปฏิบัติจะเรียกอาการนี้ว่า "ปรุง" จนกลายเป็นตรงกันข้ามกับความเป็นจริง หรือเรียกได้ว่ามันคือ "จิตปรุงแต่ง" หรือ "จิตส่งออก" นั่นเอง

    ในระดับ สมถะสมาธิ จิตจะเสพอารมณ์ที่ละเอียดกว่าปกติ ดังนั้น อารมณ์ในสมถะสมาธิจะทำให้การทำงานของ "จิตมาร" นี้สงบตัวลงชั่วคราว แต่ในยามที่ถอนออกมาสู่จิตปกติ "จิตมาร" มันก็จะตื่นขึ้นมาทำงานต่อของมันตามเดิม

    ส่วน วิปัสสนาสมาธิ นั้น สภาวะของ สติ ที่ละเอียดจะสามารถนำพาให้เห็นระบบการทำงานของจิตละเอียด ในระดับวาระจิตได้ เมื่อเฝ้าดูเฝ้าสังเกตุอย่างต่อเนื่อง ก็จะเห็น การเกิดดับ ของจิตในแต่ละวาระ ซึ่งสามารถตรวจจับโดย สติ ได้ว่า ทุกวาระจะมีการกระพริบหรือกระเพื่อมนิด ๆ ประกอบอยู่ด้วยทุกครั้ง ซึ่งในแต่ละวาระของการทำงานใน 1 ขณะจิต จะให้ความหมายและความเข้าใจที่แตกต่างกันไป ดังนั้น สติ ที่ละเอียดในระดับ เจโตปริยญาณ นี้จะสามารถแยกแยะระหว่าง "จิตมาร" กับ "จิตพระ" ออกจากกันได้ เรื่องของ เจโตปริยญาณ นั้นขอให้กลับไปอ่านในรายละเอียดในโพสท์เก่าของผม ที่อยู่ก่อนหน้านี้

    ส่วนตัวอย่างของ "จิตมาร" ที่อยู่ในกระทู้ของเวปพลังจิตอยู่ที่นี่

    http://palungjit.org/threads/ใครมี-มโนกรรม-แบบผมบ้าง.290348/
    http://palungjit.org/threads/ใครมีวิธีแก้กรรมด่าพระด่าเจ้าบ้าง.164257/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กันยายน 2015
  18. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    "จิตมาร" ภาคที่ 2

    การเกิดของจิต โดยใช้ภาษาตามอาการของจิต

    การเกิดของจิตเริ่มจาก

    1. ความไม่รู้การเกิดขึ้นแห่ง ปรากฏการณ์ ของ อารมณ์ (ธรรมารมณ์ ในมหาสติปัฏฐาน 4)(แดนเกิดของ ตัวดู)(อวิชชา)
    2. ธรรมารมณ์ จึงเริ่มเกิดการรวมตัว (การเริ่มต้นของสังขาร)(พลังจิตเริ่มก่อตัว)
    3. การรวมตัว กลายมาเป็น ตัวดู (การอุบัติของ วิญญาณขันธ์ที่ 5 อายตนะตัวที่ 6)(อัตตาจิต)(ตัวกู)(ผู้รู้)

    หมายเหตุ 1 ตัวดู เมื่อเกิดการจางคลาย มันจะกลายเป็น ธรรมารมณ์ ขนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องการรวมตัวและการกระจายพลังงาน อันมีผลกระทบต่อความรู้สึกที่เรียกว่าเวทนา ตรงนี้คุณ จิตวิญญาณ เคยมีประสพการณ์มาแล้ว

    4. ตัวดู ดูได้ทั้ง นามและรูป (เช่น ดูวัตถุ ดูจิต ดูความรู้สึก เป็นต้น)(จิตกระพริบทุกครั้งที่ตัวดูทำงาน เรียกว่า กิริยาจิต ภายใน)
    5. นามรูป สามารถจำแนกการรับรู้ออกมาได้ 6 ช่องทาง (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
    6. การรับรู้ทั้ง 6 ช่องทาง จะเกิดการกระทบ (อาการ วูป หรือ แว็ป ที่รับมาจาก ภายนอก)
    7. การกระทบ วูปแว็ป จากภายนอก ก่อให้เกิดความรู้สึก (รู้ เข้าใจ เกลียด กลัว สุข ทุกข์ สื่อสาร เจโตปริยะญาณ)

    หมายเหตุ 2 ยามใดที่ การกระทบวูปแว็ปจากภายนอก หากไม่ละเอียดเพียงพอ หรือ ถูกตัวดูตรึงเอาไว้ ก็จะปรากฏเป็น ภาพหรือเสียง ซึ่งเป็นการสื่อสารด้วยการเห็นและได้ยิน ซึ่งหยาบกว่าการสื่อสารด้วยความเข้าใจ

    8. ความรู้สึก ก่อให้เกิด ความชอบไม่ชอบ (ตัณหา)
    9. ความชอบไม่ชอบ ก่อให้เกิด อาการติดใจ รวมถึงความตั้งใจ เรียกว่า อุปาทาน (นิสัยเริ่มต้นที่นี่)(การกำหนดภูมิ เริ่มต้นที่นี่)
    10. ติดใจที่ไหน ย่อมระลึก รวมทั้ง อฐิษฐาน ถึงที่นั่น เรียกว่า ภพ (เริ่มต้นที่นี่)(ความจำ คำอฐิษฐาน ระลึกชาติ วาสนาบารมี)
    11. ระลึกถึงที่ไหน ตัวดูย่อมไปที่นั่น ไปจุติที่นั่น (ชาติ ต่อไป)

    หลังจาก เกิด แล้วย่อมมี แก่ เจ็บ ตาย ทุกข์ สุข ต่าง ๆ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องของปัจจุบันขณะ ซึ่งต้องใช้ กายานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน เพื่อการเรียนรู้สภาพหลังการเกิด ส่วนการเรียนรู้ สภาพก่อนการเกิด ดังที่กล่าวมาแล้วข้างบนนั้น จากข้อ 8-11 มักจะอยู่ในขั้นตอนของการฝึก เวทนานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน ส่วน 4-7 มักจะอยู่ในขั้นตอนของการฝึก จิตตานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน และจากข้อ 1-3 จะอยู่ในการฝึกของ ธรรมานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน

    หมายเหตุ 3 ตาทิพย์ หูทิพย์ ที่เห็นอดีตอนาคต ล้วนเกิดจาก วาสนาบารมีเก่าที่จะต้องไปรับ รวมทั้งคำอฐิษฐานเก่า หรือ กรรมเก่าที่จะต้องไปชดใช้ ทั้งสิ้น ทั้งของตนเองและผู้อื่น ดังนั้นจะงดไว้เพราะมันยืดเยื้อเกินไป และเป็นเรื่องของวงจรอันเป็นสัมพันธภาพของ จิตรวมหมู่ (อิทับปัจจัยยตา ในระดับกลุ่มจิต) นะครับ
     
  19. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    "จิตมาร" ภาคที่ 3

    จิตนั้นเป็น "อนิจจัง" มโนกรรมก่อกำเหนิด "นิสัย"

    ทั้งหมดเป็นเรื่องของ "ตัวดู" และการรับรู้อันเกิดมาจากภายนอก (ข้อ 6-7 ของภาคที่แล้ว) ซึ่งอยู่เหนือการควบคุมของตัวดู เพราะการรับรู้จากภายนอกทั้งหมด "ไม่ใช่ตัวของตัวดูเอง" ดังนั้นการรับรู้ทั้งหมดจึงอยู่ในสภาพหลายหลาก เพียงแต่ตัวดู "เลือกที่จะดู" ได้เท่านั้น อาการ "เลือกที่จะดู" ของตัวดูนั้นเป็น "กิริยาจิต" ที่สังเกตุได้จากการกระพริบนิด ๆ ของมัน (ข้อ 4 ของภาคที่แล้ว) ก่อนที่มันจะส่งออกไป ต่อติด กับสภาพหลากหลาย แล้วจึงกลายมาเป็นการรับรู้นั้น ๆ

    จากตรงนี้ ก็คงจะทราบกันแล้วว่า การ "เลือกที่จะดู" และ "คัดเลือกสภาพหลากหลาย" ของ "ตัวดู" นั้นอยู่ในระดับความละเอียดกว่าวาระจิต และ สภาพหลากหลายนั้นเป็น "อนิจจัง" การที่จะรู้และ "เห็น" สภาวะนี้ได้ "สติ" ต้องละเอียดกว่า การรู้วาระจิต (เจโตปริยะญาณ) ซึ่งยังอยู่ใน ข้อ 7 ส่วนตรงนี้อยู่ในข้อที่ 4 เป็น "กิริยาจิต" ซึ่งละเอียดกว่ามาก แต่ยังจัดได้ว่าอยู่ในหมวดเดียวกัน

    การที่ตัวดูเลือกที่จะต่อติดกับสภาพต่าง ๆ แล้วกลายมาเป็นการรับรู้นั้น ใช้เพียงแค่ "กิริยาจิต" เดียว ที่เข้าไปต่อติดกับ "วาระจิต" ที่ "ผุดขึ้นมา" และสามารถเก็บเป็น "ความจำ" ได้และ "ความจำ" ที่คล้าย ๆ กันหรือเป็นประเภทเดียวกันนั้น ก่อให้เกิดความคุ้นเคยเรียกว่า "อุปนิสัย" และ "อุปนิสัย" นี้มักจะเรียก "ความจำที่ซ้ำซ้อนอยู่ในหมวดเดียวกัน" นั้นออกมาเป็นชุด ๆ และร้อยเรียงกันออกมาเป็น "ความคิด" โดยที่ต้นกำเหนิดทั้งหมดมาจาก "อนิจจัง" ที่เป็นเพียงขณะจิตเดียว นิสัยตรงนี้เป็นความเคยชิน ยังเป็นแค่ "อุปนิสัย"

    ความจำที่ผุดขึ้นในแต่ละขณะจิต จะมีความรู้สึก เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยเสมอ โดย ความจำ นับเป็นฝ่าย รูป ส่วนความรู้สึก นับเป็นฝ่าย นาม และความรู้สึกนี้จะมี ความชอบไม่ชอบหรือเฉย ๆ ปรากฏอยู่ด้วย และทั้งหมดอยู่ในขณะจิตเดียว และตรงนี้เป็นบ่อเกิดของอาการ "ติดใจ" และเริ่มปรากฏเป็น "นิสัย" ซึ่งอยู่ในข้อที่ 9 ของภาคที่แล้ว

    "นิสัย" เกิดจากการ "ติดใจ" ส่วนการติดใจมาจากความ "ชอบ ไม่ชอบ" หากจิตที่ไม่มี "สติ" ควบคุม การเบียดเบียนซึ่งกันและกัน รวมทั้ง วงจรกรรมทั้งหลาย ย่อมเริ่มต้นมาจากความ "ชอบ ไม่ชอบ" ตรงนี้ ดังนั้นศีลข้อ "กาเมสุมิจฉาจาร" นั้นจึงครอบคลุมไปถึง การไม่เบียดเบียนรวมทั้งการเพ่งโทษกันใน กามคุณ 5 ซึ่งเป็น "กามาวจร ภพและภูมิ" ทั้งหมด หากผู้ใดค้นคว้าเรื่องของทางพระพุทธศาสนา ก็จะพบได้ว่า หลายครั้งการบัญญัติพระวินัยมีการเกี่ยวข้องกับ ภพภูมิในกามาวจร ด้วยเช่นกัน ให้อ่านประกอบจาก ความสัมพันธ์ในข้อ 8-11 ในภาคที่ 2 ประกอบไปด้วย (หลวงปู่ดูลย์ท่านใช้คำพูดเพียงประโยคเดียวเท่านั้น ก็สามารถครอบคลุมและระงับการก่อกรรมทำเวรกันใน กามาวจร ภพและภูมิ ได้ ประโยคนั้นคือ "จิตส่งออก เป็นสมุทัย")
     
  20. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    "จิตมาร" ภาคที่ 4

    ความจริงของ "จิตมาร" กับการ ปรามาส

    ปูชา จะ ปูชะนียา นัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง การบูชาสิ่งที่ควรบูชา เป็นมงคล

    ยามใดก็ตามที่ ตัวดู เลือกที่จะดูสิ่งที่ควรบูชานั้น แรก ๆ "อุปนิสัย" จะยังไม่ทำงาน (ตรงนี้เรียกว่า สังเกตุ) แต่พอดู ๆ ไปแล้วเจออะไรสักอย่างที่คุ้น ๆ แม้ว่าจะเป็นเพียงแค่จุด ๆ เดียวก็ตาม ตัว "อุปนิสัย" ก็จะเริ่มเรียก "ความจำ" และ "ความคิด" ออกมาทำงานในขณะที่ยังดูสิ่งที่ควรบูชานั้นอยู่ ดังนั้น จึงเกิดการสลับกันระหว่างการดู 2 ประเภทในเวลานั้น นั่นคือ ดูความจริง กับ ดูความจำ ผลลัพธ์ที่ออกมาเรียกว่า "ความลังเล" และความลังเลทำให้เกิดการแปรปรวนและการขัดกันในระดับ วาระจิต ซึ่งทำให้เกิดการขัดกันของอารมณ์ที่เรียกว่า "ความประหม่า" อยู่ในตัว หากอารมณ์หยาบลงไปกว่านี้เรียกเป็น "ความอึดอัด"

    เวลาดูพระพุทธรูปด้วยความเคารพ จะมี สติ เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยเสมอ ดังนั้น ผู้ที่ไม่รู้จักความเร็วและความละเอียดในระดับ วาระจิต จึงมักจะมีอาการ "ระวังทางจิต" ประกอบอยู่ด้วย อาการระวังทางจิตนี้คือ อาการที่ตัวดูทำการ ตรึงวาระจิต ให้หยาบลงมา จนอยู่ในระดับที่เป็น เสียง จนกลายมาเป็นการทำงานของ "ตัวพูดมาก" นั่นเอง (ให้ดูในภาคที่ 2 หมายเหตุที่ 2 ระหว่างข้อ 7-8 ประกอบไปด้วย)

    ในขณะที่ ตัวดู ดูพระพุทธรูปหรือสิ่งที่ควรบูชาอยู่นั้น ตัวดู กลับอยู่ภายใต้อิทธิพลของ "ความประหม่า" ทั้ง ๆ ที่มีอาการ "ระวังทางจิต" ประกอบอยู่ด้วย ดังนั้น "ตัวพูดมาก" จึงเริ่มกลายมาเป็น "ตัวพูดมั่ว" เพราะมันต้องแปลทั้ง ความประหม่า และ พระพุทธรูป ออกมาในเวลาเดียวกันกับที่ "การระวังทางจิต" กำลังทำงานอยู่ ดังนั้น "เสียงของการพูดมั่ว" จึงคมชัดใสแจ๋ว

    ตัวดู ดูพระพุทธรูปหรือสิ่งที่ควรบูชา
    ตัวดู เสพปรากฏการณ์ทางอารมณ์ (ธรรมารมณ์) ของ "ความประหม่า"
    ตัวดูทำการ ตรึงวาระจิต ให้กลายมาเป็น "ตัวพูดมาก"
    ตัวพูดมาก เอา ความประหม่า มาแปลใส่ใน พระพุทธรูป กลายเป็น "การปรามาส"

    ความเคารพประกอบไปด้วย สติ จึงทำให้เกิดความระวังทางจิต
    ความระวังทางจิต ทำให้ได้ยิน "เสียงของการปรามาส" คมชัดใสแจ๋ว

    เจตนาเต็มไปด้วย ความเคารพที่บริสุทธิ์ ยังเป็นมงคลอยู่
    ส่วน "การปรามาส" เกิดจากเหตุปัจจัยดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ไร้เจตนา
     

แชร์หน้านี้

Loading...