อะไรคือตัวที่เรียกว่า..ปัญญา..นี่ใช่มั้ย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย โซ, 10 พฤษภาคม 2013.

  1. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ที่คุณพูดมานี้ ที่คุณเป็นนี้ เรียกว่า มีปัญญา แต่ ต้อง มาเรียนรู้การใช้ปัญญา ครับ
    ทุกอย่างมีคู่มือการใช้ แต่ ก็ต้อง เรียนรู้ ด้วยตนเอง อีกครั้ง เหมือน ฝึกงาน ฝึกสอน เพื่อให้ อยุ่ใน มรรคแปด ได้จริง

    คือ อยู่กับผลจริงๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 พฤษภาคม 2013
  2. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    คุณคงจะเคยได้ยิน มานะครับ เช่นว่า บางคนรู้อะไรและทำเองได้ แต่สอนคนอื่นไม่เป็น หรือ บางคนมีของดี แต่ใช้ของดีไม่เป็น หรือ บางคน มีปัญญารู้นั่นรู้นี่ แต่เวาลาเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ กลับใช้ไม่เป็น

    นี่แหล่ะครับ ปัญญา ที่ต้อง เรียนรู้ การนำไปใช้ ด้วย ตนเอง ใช้คือ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ครับ นั่นหมายถึง ไม่มีสลิง ไม่มีตัวแสดงแทน ไม่มีตัวช่วย ไม่มีคนช่วย ไม่มีบุญมาช่วย มีแต่ตัวเราเท่านั้น ที่ต้องเรียนรู้ ด้วยเลือดเนื้อและหยาดน้ำตา ครับ บางคนบอกว่า นี่คือ การกระทำตนเป็นพระโพธิสัตว์ แต่ความจริง ไม่ไช่ครับ แต่ เพื่อที่ จะเอาปัญญาที่รู้มา มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อโลก ต่อคนอื่น นั่นเอง เพื่อ ให้รู้ว่า ปัญญาที่ตนเองมีนั้น ปัญญาที่ตนเองรู้นั้น มัน คือ ปัญญาจริงหรือไม่

    บางคน มีปัญญาจริง รู้ปัญญาจริง แต่ ไม่เรียนรู้ที่จะเอามาใช้ ก็ เหมือนไม่มีปัญญา

    เลยเข้าใจตนเอง จริงๆไม่ได้
     
  3. Ndantchor

    Ndantchor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,123
    ทำไมไม่ไปอุดหนุ๊นสอนสันโดษเพื่อนเก่า จะวางแผงอยู่แล้วน่ะ ไปๆมาๆกลายเป็นแม่มดซะงั้น
     
  4. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ๓. มหาเวทัลลสูตร
    การสนทนาธรรมที่ทำให้เกิดปีติ
    ...
    เรื่องปัญญากับวิญญาณ
    [๔๙๔] ท่านพระมหาโกฏฐิกะครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงถามท่านพระสารีบุตรว่าดูกร
    ท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลมีปัญญาทรามๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอ จึง
    ตรัสว่า บุคคลมีปัญญาทราม?
    ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ท่านผู้มีอายุ บุคคลไม่รู้ชัดๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาค
    จึงตรัสว่า เป็นบุคคลมีปัญญาทราม ไม่รู้ชัดอะไร ไม่รู้ชัดว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ
    นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลไม่รู้ชัดๆ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า บุคคลมีปัญญาทราม.
    ท่านพระมหาโกฏฐิกะ ยินดี อนุโมทนาภาษิต ของท่านพระสารีบุตรว่า ถูกละ ท่านผู้มี
    อายุ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหาต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลมีปัญญาๆ
    ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอ จึงตรัสว่าบุคคลมีปัญญา?
    สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ บุคคลรู้ชัดๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เป็นบุคคล
    มีปัญญา รู้ชัดอะไร รู้ชัดว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เพราะ
    ฉะนั้น จึงตรัสว่า บุคคลมีปัญญา.

    ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า วิญญาณๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอ
    จึงตรัสว่า วิญญาณ?
    สา. ธรรมชาติที่รู้แจ้งๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่าวิญญาณ รู้แจ้งอะไร
    รู้แจ้งว่า นี้สุข นี้ทุกข์ นี้มิใช่ทุกข์ มิใช่สุข ธรรมชาติย่อมรู้แจ้งๆ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า
    วิญญาณ.

    ก. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน หรือแยกจากกันท่านผู้มีอายุ
    อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้หรือไม่?
    สา. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน ผมไม่อาจแยก
    ออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้
    เพราะปัญญารู้ชัดสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น วิญญาณ
    รู้แจ้งสิ่งใด ปัญญาก็รู้ชัดสิ่งนั้น ฉะนั้น ธรรม ๒ ประการนี้ จึงปะปนกัน ไม่แยกจากกัน ผมไม่
    อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้.
    ก. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน แต่มีกิจที่จะพึง
    ทำต่างกันบ้างหรือไม่?
    สา. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน แต่ปัญญาควร
    เจริญ วิญญาณควรกำหนดรู้ นี่เป็นกิจที่จะพึงทำต่างกันแห่งธรรม ๒ ประการนี้
    .

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=9220&Z=9419
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2013
  5. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
  6. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ใครพร้อม เขาจะ เข้าประตูมาเองครับ
    ใครพร้อม เขาก็จะลงสนามเองครับ บังคับกันไม่ได้ครับ
     
  7. โซ

    โซ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    352
    ค่าพลัง:
    +872
    ขอบคุณมากครับทุกคำชี้แนะอย่างน้อยก็ได้รับรู้ขึ้นมาอีกเยอะ สำหรับธรรมในขั้นของปัญญา
     
  8. จิตเปโม

    จิตเปโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2012
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +253
    เอาแบบที่ผมเห็นนะครับ ปัญญาคือบทสรุปในสภาวะธรรมที่เกิดอยู่ต่อหน้า อาจจะเป็นความทุกข์ไม่ว่าจะทางกายหรือทางใจที่บีบคั้นเราอยู่

    หรือสภาวะธรรมอื่นๆ ก็ได้ทีมากระทบสัมผัส แล้วจิตไปรู้เข้า แล้วเกิดจิตที่รู้ตื่นตั้งมั่นเป็นกลางต่อสภาวะธรรมนั้น

    ผมขอยกตัวอย่างจากที่เกิดกับตัวเองนะครับเอาแค่กระเบียดก็พอนะครับ

    วันหนึ่งขณะนั่งสมาธิอยู่ ผมนั่งบริกรรมพุทโธสลับกับการรู้ลมหายใจและรู้สึกถึงการปรากฏอยู่ของกาย
    พอจิตเริ่มสงบมันรู้สึกว่าร่างกายเป็นเปลือกแข็งๆห่อหุ้มอยู่ ข้างในมันกรวงๆ

    และมันก็มีเสียงเขย่ากวาดโต๊ะคอมที่อยู่ข้างๆ ตอจั้นมันดึกมากแล้วครับ
    พอมีเสียงกวาดโต๊ะดังแรงมากจังหวะนั้น จิตมันหดตัวเข้ามาหลือแต่จิตผู้รู้โดดๆ มันวิ่งเข้าไปในโพรงกาย
    มันไม่นิ่งมีอาการกวัดแกว่งอยู่ มันมีวิตกวิจารย์ว่าในโพรงกายนี้ปลอดภัยดี แต่เป็นห่างร่างกายข้างนอก
    กลัวว่าไอ้ที่มาทำเสียงดังจะทำอันตรายร่างกาย

    จิตผู้รู้นั้นก็กระจายตัวออกไปข้างนอกอีก ก็ปรากฏถึงการมีอยู่ของกายใหม่
    จึงบริกรรมนั่งภาวนาต่อพอจิตเริ่มสงบร่างกายเริ่มเป็นเปลือกแข็งๆ จิตมันก็หดตัวรวมเข้ามาอีก

    ขออธิบายลักษณะของจิตทีมันหดรวมว่ามีลักษณะเล็กๆ ประมาณความรู้สึกเท่าเม็ดถั่วเขียว การปรากฏไม่ใช่สิ่งที่ถูกเห็น แต่เราคือตัวนั้นเราอยู้ในนั้น มันจะรู้ตื่นตัว มีพลังบางอย่างแผ่ออกรอบจิตผู้รู้ พลังนั้นสัมผัสดูมันเป็นกระแสรู้มันแผ่ออกรอบๆ แต่จิตรวมตัวตั้งมันอยู่ไม่ส่งออกไปที่ได

    ครั้งที่สองมันกวัดแกว่งอยู่แล้วมันก็กระจายตัวออกไปรู้อาการภายนอกอีก

    ก็บริกรรมต่อไป แต่ก็เริ่มวิตกวิจารย์ในอการของจิตขึ้นมาบ้างว่ามันคืออะไร

    พอจิตเริ่มสงบรอบที่สามจิตมันรวมแล้ววิ่งเข้าโพรงกายอีก ครั้งนี้มันรู้ตื่นแล้วสลายตัวแล้วมีความรู้อันหนึ่งผุดเป็นถ้อยคำขึ้นมาบอกในสิ่งที่สงสัยว่า

    "จิตผู้รู้" แล้วกลับมารู้กาข้างนอกใหม่คราวนี้จิตถอนพรวดขึ้นมาเลย โล่งมากพานั่งสมาธิต่อก็ไม่เอาเลย


    คราวนี้ปัญญาในขณะที่ตามรู้ตามดูสภาวะธรรมมันก็มีแบบนี้คือผุดความรู้ขึ้นมาสอนตัวเองอย่างสดๆร้อนๆ
    บางทีโกรธเพื่อนร่วมงานอยู่ เราตามรู้ตามดูความโกรธอยู่ไม่ลดละ ความโกรธมับก็เสียบแทงอยู่ สู้กันแบบไม่ถอย บางทีมันผุดความรู้ขึ้นมาสอนตัวในขณะนั้น มันจะถีบความเคียดแค้นกระเด็นขาดสบั้นไป

    คือให้สังเกตุว่าก่อนปัญญาจะเกิดจิตจะตั้งมั่นมีสติเป็นกลางมาก แล้วสิ่งที่เกิดหลังจากที่ปัญญาแสดงตัวออกมาจิตจะมีปิติสุขสงบตั้งมั่น เบาสบายความทุกข์ที่บีบคั้นอยู่จะขาดออกจากจิตทันที
    ที่ผุดหรือพลิกตัวเป็นความรู้มาสอนเรานั้นแหละตัวปัญญา มันจะอบรมเราไปเรื่อยๆ บางทีเห็นความจริงของกาย ใจในแง่มุมต่างๆ มันยังไม่พอที่จะสรุปความรู้ ตัดเข้าอริยะมรรคเพราะอินทรีย์ยังอ่อน มันจะอบรมเราไป ความชั่วมันจะเริ่มเบาบางลง เส้นทางจะราบรื่นขึ้น ปฏิบัติง่ายขึ้น ชีวิตจิตใจจะเริ่มเปลี่ยนไปในทางที่ดี
    ทุกวันจะมความสุขมากขึ้นครับ อย่างน้อยไม่ได้เป็นพระโสดา ก็อยู่บนโลกเน่าๆได้อย่างสบายใจไม่ต้องแคร์ใคร

    อยู่กับตัวเองอยู่กับปัจจุบันสบายใจจัง

    แต่ปัญญามันแตกแขนงกว้างขวางมาก ในหลายแง่มุมคงอธิบายได้ไม่หมดเอาแค่นี้พอไหวมั๊ยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤษภาคม 2013
  9. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ตามที่่คุณ จิตเปโม เล่ามา นะครับ นี่อาจเป็น การวิปัสสนา อยู่กับสภาวะจริงที่รู้เห็น เป็นการสะสมปัญญา รู้ ว่า นี่คือ การปล่อยวาง การละ การหลุด การพ้น ในแต่ละสภาวะอารมณ์ ที่เข้ามาให้เรียนรู้ ดังที่คุณบอกว่า สภาวะที่บอกให้รู้ว่า มันหลุดพ้นจากจิต จากที่ มาบีบคั้นก็คือ มันมีผลแสดงผลกระทบต่อจิต แล้วจิตก็ จะ หาหนทาง หลุดออกจากสภาวะนั้น เพราะรู้ว่า สภาวะที่เป็นอยู่ มัน ทำให้ จิตไม่สบาย มันมีผลกระทบที่ไม่ดี ต่อความรู้สึกคือต่อจิตเอง ซึ่ง ปัญญาที่แท้จริง ไม่ไช่แค่เพียง ว่า มันหลุดพ้นจากจิตได้ แต่มันต้องรู้ความจริงว่า ทุกสภาวะนั้น มันเกิดมาได้อย่างไร แล้วมันกระทบต่อจิตได้อย่างไร แล้วจิตต้อง อยู่แบบไหน ถ้าสภาวะนั้นเกิดขึ้นแล้ว จะได้ไม่กระทบต่อจิต การที่กระทบต่อจิตแล้วนั้น ถือว่า จิตหลงเข้าไปยึดแล้ว แต่เราควรจะรู้ตั้งแต่ สภาวะนั้นเกิด ครับ ถ้าจิตรู้ตั้งแต่ สภาวะนั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร แล้วเห็นการตั้งอยู่ของสภาวะนั้น หรือทุกสภาวะ ได้ เห็นโดยตลอด จิตก็จะไม่หลง หรือ สภาวะนั้นก็จะไม่มีผลกระทบต่อจิตได้เลยครับ ที่มีผลกระทบบีบค้นได้ เพราะ จิตไม่ได้รู้ เห็น การเกิดขึ้น ของสภาวะ เหล่านั้นนั่นเองครับ

    สรุปคือ ความสงบยังไม่เพียงพอ ครับ แค่มารู้ทัน ว่า มีสภาวะนั้นเกิดมาแล้วและมีผลกระทบบีบคั้นต่อจิตแล้ว และ รอดูผลการดับไปเองเท่านั้นครับ ซึ่งไม่ต้องเข้าไปมีเจตนาเพื่อดับสภาวะแต่อย่างใดเลย แค่จิตสงบ นิ่ง เฉย ให้ได้ สภาวะต่างๆ มันก็ดับของมันอยู่แล้ว รู้แบบนี้ ยังไม่ไช่ปัญญาที่แท้จริงครับ ปัญญาที่แท้จริง ต้อง รู้เห็น ก่อนเกิด การเกิด การตั้งอยู่ การดับไป ให้ครบ ครับ ทุกสภาวะของทุกสภาวะที่เกิดดับครับ นั่นก็คือ ต้องฝึกสติและความสงบให้มากกว่านี้ครับ

    เพราะการ รู้ทันสภาวะว่ามีอยู่ และ ดับไปนั้น ถือว่า ปลายเหตุครับ ไม่ไช่ต้นเหตุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 พฤษภาคม 2013
  10. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    เป็นแค่การแสดงความคิดเห็นจากผม เท่านั้นนะครับ
    ส่วนคุณจิตเปโม จะเห็นว่า ตรงหรือไม่อย่างไร กับที่คุณ จิตเปโมเข้าใจมานั้น
    ถือว่า ไม่ได้มีเจตนา จะก้าวล่วงใดใดนะครับ ถือว่า แลกเปลี่ยน ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 พฤษภาคม 2013
  11. จิตเปโม

    จิตเปโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2012
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +253
    เอาเถอะครับยังงัยก็ปฏิบัติกันไป รู้ลงตรงปัจจุบันนี่แหละ จะปัญญาแท้ ปัญญาเทียม ปัญญานิ่ม ปัญญาจิ๋ว ก็ขอให้ทำจริงก็พอ
    พ้นไม่พ้นก็ตัวใครตัวมัน ครับ
     
  12. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    สอนวิชาตรรกศาสตร์ อยู่เหรอ น้าจร คิดเป็นฉากๆ เลย

    อะไรแบบนี้นะ คนที่เขาภาวนาเป็น เขารู้เลยว่า " คิดเอาล้วนๆ "

    มันไม่มีรสชาติของ " พละ " กับ " อินทรีย์ " เข้ามาชี้เลยว่า ภาวนาเป็น

    มีแต่การ สรุปแบบด้นเด้า เดาไป ชัดเจน
     
  13. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ครับ เป็นสัมมาทิฐิ ครับ เพราะ ตนเองต้องรู้ด้วยตนเอง ว่า ตนเองพ้นหรือไม่พ้นครับ
     
  14. จิตเปโม

    จิตเปโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2012
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +253
    ไม่เป็นไรครับผมเข้าใจดีครับ นักปฏิบัติเห็นไม่ตรงกันทุกกรณีหรอกครับ ของที่ใช้ใจรู้ มันไม่มีรูปธรรมให้ประจักษ์ มันจึงเป็นเหตุให้เกิดการโต้แย้ง ดีใจที่ได้สนทนาธรรมนะครับ
     
  15. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    คุณพูดถูกแล้วครับ ว่าของที่ใช้ใจรู้ นั้น มันไม่มีรูปธรรมให้ประจักษ์ นั่นเพราะ

    ถ้าที่รู้ มันคือสิ่งที่ถูก (สภาวะนั้นจริง) แต่ถ้าใจที่ใช้รู้ มันยังไม่สัมมาจริง ผลของการรู้ของใจก็พลอย ไม่จริงเต็มร้อย ตามไปด้วย

    หรือถ้าสิ่งที่มาให้รู้นั้น (สภาวะนั้นไม่จริง) แต่ถ้าใจที่ใช้รู้นั้น มีสัมมาทิฐิ มันก็จะยังไม่ ตัดสินหรือ ปฏิเสธ ในที่ให้รู้นั้น ในทันที แต่ มันจะหาทาง หาวิธี วิปัสสนา ด้วยเหตุผลที่เรียนรู้มาทั้งหลาย ในโลก หรือ เหตุผลความจริงของสมมุติทั้งปวง มาเพื่อ อิงหาเหตุผล ตามจริงว่า ที่ให้รู้ ที่รู้ ที่เข้าใจนั้น ใช่หรือไม่ อย่างไร ด้วยตนเองครับ
     
  16. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    กั๊กๆ ประกาศความเป็น ตรรกศาตร์ ชัดเจนเลยนะนั่น

    ใครเขามี สัมมาทิฏฐิ แล้ว ยังต้องรอเปิดก๊อก จังหวะสอง
    พาจิตเคลื่อนอีกหละคร้าบท่าน
     
  17. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ซึ่งเหตุผลเดียว หรือความจริงที่จะนำมาใช้ พิจารณาวิปัสสนา ให้ได้รู้ ถึงผล ที่จะได้รู้ว่า ผลที่จริงนั้นเป็นอย่างไร เหตุผลของเรื่องของสิ่งสมมุติทั้งหลายทั้งปวง ที่สามารถ เอามา เทียบเคียงพิจารณาได้ก็คือ ความจริงของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของ ทุกสรรพสิ่ง เท่านั้น
    นั่นคือ การเข้าใจไตรลักษณ์ ครบทั้งหมด ตั่งแต่ก่อนเกิด การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ การดับไป นั่นเอง
     
  18. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    จะเห็นว่า หัวใจสำคัญ ของการฝึกกรรมฐาน หรือ ปฏิบัติภาวนา ทั้งหมด ของ ศาสนาพุทธ ก็คือ การรู้เห็น และเข้าใจ เหตุของการเกิด นั่นเอง

    ถ้ามีทุกข์ ก็คือ ต้องค้นหา และรู้เหตุ ของการเกิดทุกข์นั้นๆ ก็คือ หาต้นตอ หาเหตุปัจจัย ของการเกิดนั้น ให้พบ ก่อน

    ในวงจรสมุปกิจบาท ก็เช่นกัน จะเห็นว่า การที่เราจะ ทำให้ รูปนาม ไม่มี ตัณหาอุปทาน ได้นั้น ก็คือ ต้อง รู้เห็น เหตุของ การเกิดขึ้นของรูปนาม ก่อนที่จะมาเกิดเป็นรูปนาม ได้นั่นเองครับ นั่นก็คือ ค้นหาความจริงของ อาสวะ อนุสัย ให้รู้ว่า อาสวะ อนุสัย ความจริงของมัน คืออะไร เกิดมาได้อย่างไร มีอาสวะ มีอนุสัย ได้อย่างไร
     
  19. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    เชย ระเบิด ระเบ้อ

    นี่คงเอา ตรรกศาตร์มาจับสิท่า เลย ควักคำว่า อาสวะ กับ อนุสัย มาใช้

    ถามจริง ไม่เคยได้ยินธรรมบทเหรอว่า อาสวะ ก็ดี อนุสัยก็ดี มันมี
    เหตุปัจจัย หรือ อาหาร หน่าคร้าบ ( ด้วยสกัดการ ผลิกมุข จึงไม่
    บอกว่า อะไรคือ เหตุปัจจัยให้เกิด อาสวะ -- เหนือ อาสวะ ยัง
    ที เหตุ ให้สาวอีก )
     
  20. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    อริยสัจ สี่ จริงๆ ก็คือ ไตรลักษณ์ นั่นแหล่ะครับ

    ทุกข์ รู้ว่ามีทุกข์ ก็คือ การตั้งอยู่ของสภาวะที่เกิดขึ้นแล้ว

    สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ ก็คือ การค้นหาเหตุปัจจัยของการเกิดทุกข์หรือการเกิดขึ้นมาได้ของสภาวะนั้นๆ

    นิโรธ คือ ผลของการดับทุกข์ ก็คือดับโดยรู้ที่เหตุปัจจับของการเกิดทุกข์นั้นได้จริงๆ ก็คือ การดับไปที่เรียกนิโรธ เพราะดับที่เหตุปัจจัยแห่งการเกิดได้ ไม่ไช่ดับที่ปลายเหตุ

    มรรค แปลว่า ผล หรือ ปัญญา ที่ได้จากการรู้แจ้งเห็นจริง ของ การเกิดขึ้นของสรรพสิ่ง นั่นเอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...