อภิญญา กับ วิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย สมถะ, 12 พฤษภาคม 2016.

  1. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ปฐมเหตุ สู่การเดินตามรอยธรรมกาย

    โดยพระครูภาวนามงคล


    คำว่า “ธรรมกาย” นั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ตั้งแต่ข้าพเจ้าจำความได้ ก็ได้ยินคำ ๆ นี้มาโดยตลอด หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นมรดกตกทอดและภารกิจหน้าที่แห่งการค้นหา มานับตั้งแต่ “พ่อ” หรือ “หลวงพ่อใส” ของข้าพเจ้าเลยก็ว่าได้ ที่เป็นเช่นนี้นั้น คงเริ่มจากความทุกข์ “ความทุกข์” เป็นชนวนชิ้นสำคัญ ที่ทำให้พ่อ หรือหลวงพ่อใส พ่อแท้ ๆ ของข้าพเจ้าได้ค้นหาทางออก ในชีวิต


    มัจจุราชได้พรากชีวิตโยมแม่ ไปตั้งแต่ข้าพเจ้ายังเป็นเด็กตัวเล็ก ๆ เมื่อคู่ชีวิตที่ร่วมสุขร่วมทุกข์กันมา จนกระทั่งมีบุตรถึง ๓ คน (ข้าพเจ้าเป็นคนสุดท้อง) ได้พรากจากไปอย่างไม่คาดหมาย เป็นเหตุนำความทุกข์เศร้าโศกเสียใจมาสู่พ่อของข้าพเจ้าเป็นอย่างมาก จึงได้หาที่พึ่งทางใจ ญาติ ๆ ทั้งหลายก็เห็นดีด้วยที่ท่านจะบวช หลังจากที่บวชแล้ว ท่านก็มุ่งมั่นในการตามหาครูบาอาจารย์ ที่สามารถชี้แนะแนวทางปฏิบัติในการปลดเปลื้องความทุกข์ออกจากใจของท่านให้ได้ จึงได้เดินธุดงค์ไปในที่ต่าง ๆ ที่ไหนเล่าถือกันว่ามีอาจารย์ดี ท่านก็บุกป่าฝ่าดงไปหา


    ข้าพเจ้าเองตอนนั้น อายุได้ประมาณ ๔-๕ ขวบ ก็ได้รอนแรมตามท่านไปด้วย การที่ท่านได้รอนแรมธุดงค์เช่นนั้น ทำให้มีโอกาสได้คุยสนทนาธรรมกับ พระธุดงค์ และได้รู้เรื่องธรรมกายและวิธีปฏิบัติของหลวงพ่อวัดปากน้ำจึงเป็นเหตุจูงใจให้ท่านคิดหาทางมาสู่วัดปากน้ำให้ได้ อาจกล่าวได้ว่านับตั้งแต่ครั้งนั้น ท่านก็เดินตามรอยตามหาธรรมกายมาโดยตลอด แต่กว่าจะไปถึงหลวงพ่อวัดปากน้ำได้นั้น ก็เสียเวลาวกวนไปหลายที่ ใช้เวลาเป็นแรมปี จนกระทั่งได้เจอหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน ซึ่งเป็นพระนักปฏิบัติ ที่ชาวอำเภอสองพี่น้องเคารพนับถือกันมากสามารถล่วงรู้ดินฟ้า อากาศได้ ใครเป็นทุกข์อะไร ก็จะมาขอให้หลวงพ่อโหน่งท่านเป็นที่พึ่ง หลวงพ่อโหน่งก็ได้เล่าเรื่องธรรมกายของวัดปากน้ำให้หลวงพ่อใสฟัง และบอกรายละเอียดของการเดินทางมาที่วัดปากน้ำ ข้าพเจ้าเองได้อาศัยอยู่กับหลวงพ่อใสที่วัดมาตลอดตั้งแต่เด็ก เมื่ออยู่วัดพระท่านคุยอะไร ข้าพเจ้าก็ได้ฟังเรื่องนั้น เรื่องทาน ศีล ภาวนา ได้รู้หมด และก็จะมีพระธุดงค์ ท่านเดินทางแวะเวียน ผ่านมาพักค้างที่วัดของหลวงพ่อใสอยู่เป็นประจำท่านรู้เห็นอะไร ก็จะนำมาสนทนาธรรม เล่าสู่กันฟัง และพระท่านก็จะทราบถึงเรื่องธรรมกายเป็นอย่างดี จะมีการพูดคุยซักถามเกี่ยวกับเรื่องของธรรมกายกันอยู่บ่อย ๆ ข้าพเจ้าอยู่กับพระอยู่ใกล้พระ พระท่านพูดเรื่องอะไร ก็ซึมซับเอาเรื่องราวเหล่านั้นมาไว้ในใจด้วย แม้รู้ไม่มากแต่ก็ได้ศึกษาเรื่อยมา ตราบกระทั่งได้ติดสอยห้อยตามหลวงพ่อใสมาที่วัดปากน้ำ จึงมีโอกาสได้ปฏิบัติด้วย เพราะตอนอยู่กับหลวงพ่อใสที่วัดปากน้ำนั้น ก็จะมีทั้งพระและญาติโยม มาเรียนกัมมัฏฐานกับหลวงพ่อวัดปากน้ำกันเป็นจำนวนมาก เมื่อพระและญาติโยมมาขึ้นกัมมัฏฐาน ในวันพฤหัส เขาขึ้นข้าพเจ้าก็ขึ้นด้วย เขานั่งเราก็นั่ง เขาถวายทานเราก็ถวายทาน เขารับศีล เราก็รับศีล ทำกับเขาเรื่อยมา จนกล่าวได้ว่า เรื่องธรรมกายนี้ ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติ ได้นั่งมาตั้งแต่เด็กแล้ว เห็นดวงตะวันขึ้น และดวงตะวันตกฉันใด เราเกิดมาก็ได้ยินแต่เรื่องธรรมกายฉันนั้น


    หลวงพ่อใสท่านได้พาข้าพเจ้าไปบวชเป็นสามเณรที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ เอาไปฝากไว้กับพระพิมลธรรม (ช้อย) ให้อยู่คณะ ๑๕ ยุคนั้นนับได้ว่าวัดมหาธาตุเป็นสำนักเรียนอันดับหนึ่ง ที่มีครูบาอาจารย์สอน และสถานที่ก็มั่นคงถาวร มีเครื่องสาธารณูปโภคครบครัน ข้าพเจ้ายังได้ปฏิบัติธรรมกายที่วัดมหาธาตุต่ออีก เพราะพระพิมลธรรม (ช้อย)ท่านเห็นว่า วัดมหาธาตุ ฯ มีคันถธุระคือ การเรียนทางด้านปริยัติแล้วน่าจะมีการปฏิบัติด้วย ท่านจึงได้นิมนต์หลวงพ่อวัดปากน้ำไปสอนการปฏิบัติกัมมัฏฐาน เหตุที่ท่านนิมนต์หลวงพ่อสดก็เพราะว่า สมัยนั้นจะหาพระที่ไหนที่สอนกัมมัฏฐานอย่างเป็นหลักฐานมั่นคงนั้นหายากมีแต่วัดปากน้ำเท่านั้นที่มีผู้มาปฏิบัติกันเป็นพันเป็นหมื่น และเป็นการพิสูจน์แนวทางการปฏิบัติของหลวงพ่อสดไปในตัวด้วย



    ข้าพเจ้าจึงได้ศึกษาเรื่องธรรมกายมาตั้งแต่เด็ก นับตั้งแต่เรียนรู้จากการได้ยินได้ฟัง ทั้งการปฏิบัติและการศึกษาค้นคว้าทางตำรับตำราต่าง ๆ ตั้งแต่ตอนเรียนนักธรรม ก็มีเรื่องของธรรมกายปรากฏในหนังสือ ปฐมสมโพธิ และทั้งในหนังสือต่าง ๆก็ได้รวบรวมมาเป็น หลักฐานไว้ดู พยายามศึกษาค้นคว้า เรื่อยมา บางครั้งแม้จะไปนั่งภาวนาในป่าก็มีความคำนึงถึงเรื่องของการค้นหาหลักฐานในเรื่องธรรมกายนี้อยู่ ในใจ จนกระทั่งหลักฐานบางเล่มก็อัศจรรย์ที่ได้ปรากฏภาพขึ้นมาในสมาธิและเมื่อกลับออกมาจากวิปัสสนาในป่าแล้วก็ได้ให้ศิษย์ไปค้นคว้าหามาตามที่เห็นในสมาธิ ซึ่งได้หลักฐานที่ตรงกับที่เห็นภายในจิตที่เป็นแก้วใส ทุกประการ


    เพราะมองเห็นว่าในอนาคตสิ่งที่ได้รวบรวมมานี้น่าจะเป็นประโยชน์ เนื่องด้วยการจะพูด จะกล่าวอะไรนั้น จำเป็นต้องมีหลักฐานไว้ยืนยันความถูกต้อง ถึงแม้ข้อมูลในหนังสือเล่มนี้ จะรวบรวมมาได้ไม่มากนักเพราะมีหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องธรรมกายมากมายเหลือเกิน แต่ก็คิดว่าคงสามารถที่จะเป็นหลักฐาน ยืนยันเพื่อนำไปสู่การค้นคว้าหาความจริงในเรื่องของธรรมกาย และพอที่ จะเป็นหลักฐาน ให้คน ยุคหลังได้นำไปใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้น ในการตามรอยค้นคว้าต่อไปได้ เพราะวิชชาธรรมกายนี้ เป็นสิ่งที่ผู้สนใจได้ปฏิบัติเห็นมาและค้นคว้าหาหลักฐานกันมานานแต่หลักฐานต่าง ๆ ก็กระจัดกระจาย อยู่ทั่วไป ถ้ารวมมาไว้เป็นที่เดียว กันเล่มเดียวกัน มีทั้งหลักฐานตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษของเราท่านบันทึกเอาไว้ ทั้งสลักไว้ในแผ่นหินว่าด้วยเรื่องธรรมกายหลายแห่งหลายประเทศจนปรากฏให้เห็นมาถึงทุกวันนี้



    แม้แต่ ในด้านการปฏิบัตินั้น หลวงพ่อใสซึ่งเป็นพ่อแท้ ๆ ของข้าพเจ้า เมื่อท่านปฏิบัติตามหลักวิธีการเพื่อการเข้าถึงพระธรรมกายที่ หลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ท่านได้ค้นพบ ก็สามารถปลดเปลื้องความทุกข์ ออกจากใจได้สำเร็จ หลังจากที่เสาะแสวงหาครูบาอาจารย์มาทั่วประเทศ หลวงพ่อใสยอมรับหลวงพ่อวัดปากน้ำ เพราะเป็นพระอาจารย์ ที่อบรมธรรมปฏิบัติให้ จนท่านได้ดวงตาเห็นธรรม ตัดขาดความลังเลสงสัยทั้งปวง และยึดถือเป็นที่พึ่งที่ระลึกแห่งสุดท้าย หลวงพ่อวัดปากน้ำส่งไปเผยแพร่ที่ไหน ท่านไปหมด ในบั้นปลายหลวง พ่อใสท่านปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสวัดไผ่หูช้าง จวบจนสิ้นอายุขัย ข้าพเจ้าเองก็มีโอกาสได้ศึกษา ได้รู้เห็นเรื่องของธรรมกาย เพราะเดินตามรอยเท้าหลวงพ่อใสท่านมาโดยตลอด และอาศัยวิชชาธรรมกายนี้แหละ เป็น ที่พึ่งแก่ตนเอง และอบรมสั่งสอนสาธุชนเรื่อยมา ด้วยเห็นว่า ความรู้ในเรื่องของธรรมกาย ทั้งหลักฐานทางปริยัติ และหลัก วิธีทางการปฏิบัติ เพื่อพิสูจน์ให้แจ่มแจ้งยิ่งขึ้นนี้ จะเป็นประโยชน์มหาศาลจึงอยากให้ผู้อื่นได้ยินได้ฟังได้รู้ได้เห็นบ้าง เหมือนกับเราทานข้าวอิ่มแล้วแต่ คนอื่นยังหิวอยู่ คนอื่นเป็นโรคก็อยากให้หายโรค และมั่นใจว่าวิชชาธรรมกายนี้ ถ้าท่านใดได้ศึกษา และปฏิบัติอย่างจริงจังแล้ว ย่อมสามารถแก้หิวและแก้โรคได้


    หลักฐานข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รวบรวมไว้ในหนังสือเล่มนี้ คงสามารถยืนยัน ในสิ่งที่หลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ท่านได้ค้นพบว่ามีปรากฏหลักฐานอยู่จริงในพระไตรปิฎก และท่านได้เคยบอกกับข้าพเจ้าไว้ว่าต่อไปจะต้อง ได้เป็นอาจารย์สอน ขอให้สอนอย่างถูกต้อง ไม่ให้ผิดเพี้ยน วิชชาธรรมกายนั้นต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง ให้รวมเป็นจุดเดียวกันจึงจะสำเร็จ และขออุทิศบุญกุศลที่พึงบังเกิดขึ้นจากหนังสือเล่มนี้ บูชาแด่หลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระมงคลเทพมุนี (สม จนฺทสโร) และขอสนองงานของพระพุทธศาสนาตลอดไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่


    ******************************************************


    ประวัติ

    พระครูภาวนามงคล
    (วิวัฒน์ กตวฑฺโน)




    อาตมาเป็นศิษย์เก่าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ บรรพชาเป็นสามเณร ปีพุทธศักราช ๒๔๘๘ ที่วัดมหาธาตุฯ โดยมีพระพิมลธรรม (ช้อย ฐานฑตฺตมหาเถร) เป็นพระอุปัชฌาย์ บวชในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ ๒ และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูภาวนามงคล (ด้านวิปัสสนาธุระ) ปีพุทธศักราช ๒๕๓๕ ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาส วัดป่าเจริญธรรมกาย ต.บัวแดง อ.ปทุมรัตน์ จ.ร้อยเอ็ด เป็นพระธรรมทูตฝ่ายบริหาร ปะจำศูนย์งานพระธรรมทูตจังหวัดร้อยเอ็ด ปีนี้อายุ ๗๒ ปี (พ.ศ.๒๕๔๖)


    ISBN 9749089049
    LC Call # BQ4180 พ46 2546
    Author พระครูภาวนามงคล (วิวัฒน์ กตวฑฺฒโน)
    Title ตามรอยธรรมกาย / พระครูภาวนามงคล (วิวัฒน์ กตวฑฺฒโน)
    Edition พิมพ์ครั้งที่ 1
    Imprint กรุงเทพฯ : เอส.พี.ค.เปเปอร์ แอนด์ ฟอร์ม, 2546
    Description 449, ผ292 หน้า : ภาพประกอบ
    Note บรรณานุกรม: หน้า 437-449
    Gift-T-46
    Subject ธรรมกาย (สมาธิ)
    คณะสงฆ์สายธรรมกาย
    วิปัสสนา
    พุทธศาสนา--รวมเรื่อง

    บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ปราชญ์ขยะ

    ..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/215052
     
  2. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    "ธรรมกาย" พระนิพนธ์ของสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗

    คำว่า "ธรรมกาย" ถูกเย้ยหยัน


    พระนิพนธ์ของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น ปุณณสิริ)
    สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม




    อันคำว่าธรรมกายนั้น เป็นคำที่แปลกหูคนเอามากๆ เพราะเป็นชื่อที่ไม่มีใครสนใจ ผู้ไม่ทันคิดก็เหมาเอาว่าหลวงพ่อวัดปากน้ำอุตริบัญญัติขึ้นใช้เฉพาะวิธีการของท่าน คำว่าธรรมกาย เป็นที่เย้ยหยันของผู้ไม่ปรารถนาดีต่อใคร บางคนก็ว่าอวดอุตริมนุสธรรม พูดเหยียดหยามว่าใครอยากเป็นอสุรกายจงไปเรียนธรรมกายที่วัดปากน้ำ ข่าวนี้ก็ทราบถึงหลวงพ่อวัดปากน้ำเหมือนกัน ท่านยิ้มรับถ้อยคำเช่นนั้น ไม่มีปฏิกิริยาใดๆ แสดงให้เห็น หลวงพ่อพูดว่า “น่าสงสาร พูดไปอย่างไร้ภูมิ ไม่มีที่มา เขาจะบัญญัติขึ้นได้อย่างไร เป็นถ้อยคำของคนเซอะ” ท่านว่าอย่างนั้น


    เมื่อมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์คำว่า “ธรรมกาย” เช่นนั้น และพูดไปในแนวที่ทำลายท่าน นิสัยที่ไม่ยอมแพ้ใครอันมีมาแต่กำเนิด หลวงพ่อวัดปากน้ำใช้คำว่าธรรมกายเป็นสัญลักษณ์ของสำนักกัมมัฏฐานวัดปากน้ำทีเดียว เอาคำว่าธรรมกายขึ้นเชิดชู ศิษยานุศิษย์รับเอาไปเผยแพร่ทั่วทิศ และอิทธิพลของคำว่า “ธรรมกาย” นั้นไปแสดงความอัศจรรย์ถึงทวีปยุโรป ถึงกับศาสตราจารย์วิลเลียมต้องเหาะมาศึกษาและอุปสมบท ณ วัดปากน้ำ เป็นชาวยุโรปคนแรกที่มาอุปสมบทเป็นพระภิกษุในประเทศไทย นายวิลเลียมนี้เป็นชาวอังกฤษ


    --->> คำว่าธรรมกายเป็นคำที่ระคายหูของคนบางพวก จึงยกเอาคำนั้นมาเสียดสี เพื่อให้รัศมีวัดปากน้ำเสื่อมคุณภาพ หลวงพ่อวัดปากน้ำพูดว่า “เรื่องตื้นๆ ไม่น่าตกใจอะไร ธรรมกายเป็นของจริง ของจริงนี้จะส่งเสริมให้วัดปากน้ำเด่นขึ้น ไม่น้อยหน้าใคร พวกแกคอยดูไปเถิด” ดูเหมือนว่าไม่มีใครช่วยแก้แทนท่าน


    --->> แต่คำว่า “ธรรมกาย” นั้น ย่อมซาบซึ้งกันแจ่มแจ้ง เมื่อหลวงพ่อวัดปากน้ำได้มรณภาพแล้ว กล่าวคือเมื่อทำบุญ ๕๐ วัน งานศพของพระคุณท่าน คณะเจ้าภาพได้อาราธนาเจ้าคุณพระธรรมทัศนาธร วัดชนะสงคราม มาแสดงธรรม เจ้าคุณพระธรรมทัศนาธรได้ชี้แจงว่า คำว่าธรรมกายนั้นมีมาในพระสุตตันตปิฎก ท่านอ้างบาลีว่า “ตถาคตสฺส วาเสฏฺฐ เอตํ ธมฺมกาโยติ วจนํ” ซึ่งพอแปลความได้ว่า “ธรรมกาย นี้ เป็นชื่อของตถาคต ดูกร วาเสฏฐ” ทำให้ผู้ฟังเทศน์เวลานั้นหลายร้อยคนชื่นอกชื่นใจเป็นอย่างยิ่ง ทุกคนกราบสาธุการแด่เจ้าคุณพระธรรมทัศนาธร และประหลาดใจว่าทำไมเจ้าคุณพระธรรมทัศนาธร จึงทราบประวัติและการปฏิบัติธรรมของหลวงพ่อวัดปากน้ำได้ถูกต้อง

    ผู้เขียนเรื่องนี้ก็แปลกใจมาก เมื่อแสดงธรรมจบ ลงจากธรรมาสน์แล้ว จึงถามผู้แสดงธรรมว่า คุ้นเคยกับหลวงพ่อวัดปากน้ำหรือ จึงแสดงธรรมได้ถูกต้องตามความเป็นจริง

    พระธรรมทัศนาธรตอบว่า “อ้าว ไม่รู้หรือ ผมติดต่อกับท่านมานานแล้ว หลวงพ่อวัดปากน้ำข้ามฟากไปฝั่งพระนคร แทบทุกคราวไปหาผมที่วัดชนะสงคราม และผมก็หมั่นข้ามมาสนทนากับเจ้าคุณวัดปากน้ำ การที่หมั่นมานั้น เพราะได้ยินเกียรติคุณว่ามีพระเณรมาก แม้ตั้ง ๔-๕ ร้อยรูป ก็ไม่ต้องบิณฑบาตฉัน วัดรับเลี้ยงหมด อยากจะทราบว่าท่านมีวิธีการอย่างไร จึงสามารถถึงเพียงนี้ และก็เลยถูกอัธยาศัยกับท่านตลอดมา” เมื่อทราบความจริงเช่นนั้น ทุกคนก็หายข้องใจ


    --->> ถูกโจมตี

    พระนิพนธ์ของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น ปุณณสิริ)
    สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม


    คำว่า “ธรรมกาย” นั้น ยังไม่ได้ยินใครนำมาพูดเลยในประเทศไทย ที่เขียนอย่างนี้ หมายความว่ายังไม่มีใครนำออกแสดงเป็นหลักปฏิบัติทางพระกรรมฐาน มีองค์เดียวเท่านั้นที่นำคำว่าธรรมกาย มาใช้สอนพุทธบริษัท ท่านผู้นั้นคือ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

    คำว่า “ธรรมกาย ” นั้น พระคุณท่านไม่ได้บัญญัติขึ้นเอง แต่หากท่านปฏิบัติธรรมได้มาแล้ว ซึ่งตรงกับคำที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกด้วย เมื่อท่านค้นคว้าได้มา บังเอิญไปตรงกับพระไตรปิฎกเข้า จึงเป็นเรื่องที่ท่านภูมิใจและมั่นใจว่า ของจริงมีจริง และมีอยู่ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่ของจริงนั้น บุคคลจะพึงเห็นได้ด้วยการปฏิบัติธรรมอย่างแท้จริงเท่านั้น มิใช่จะเกิดขึ้นเพราะความคิดนึกและความปรารถนา


    เมื่อคำว่า “ธรรมกาย” แพร่หลายออกไป ถึงกับเข้าหูท่านผู้เป็นนักปราชญ์มหาบัณฑิต ทำความฉงนสนเท่ห์ให้เกิดขึ้นในวงการคณะสงฆ์ บางท่านก็ปลงใจเอาว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำมีความรู้และการปฏิบัติธรรมเกินธงเสียแล้ว ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะเป็นภัยแก่ศาสนา แต่ยังไม่มีใครกล้าจะยกความผิดขึ้นมาพิจารณา เพราะเวลานั้น คนทุกชั้นถวายความเคารพนับถือว่าเป็นคณาจารย์ที่มีศิษยานุศิษย์มาก ทั้งสามารถปกครองพระภิกษุสามเณรเป็นจำนวนหลายร้อยรูป มิใช่เพียงแต่ปกครองเปล่า ได้จัดการเลี้ยงอาหารเช้าและเพลถวายแก่พระภิกษุสามเณรตลอดปี และตลอดอายุของท่าน นับแต่เริ่มจัดการเลี้ยงพระภิกษุสามเณรมา

    เมื่อธรรมกาย เกิดขึ้น วัดปากน้ำได้รับคำวิพากวิจารณ์กันมาก บางพวกก็ปลื้มใจ บางพวกก็หนักใจ บางพวกก็ตั้งขอกล่าวหาลงโทษวัดปากน้ำอย่างหนัก ถึงกับพูดว่าอุตริมนุสธรรมก็มี ข่าวนี้มิใช่ท่านจะไม่รู้ ท่านได้ยินเสมอๆ แต่เสียงนั้นก็ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนใจแก่ท่านแม้แต่เล็กน้อย ท่านกลับภูมิใจเสียอีกที่ได้ยินได้ฟังคำเช่นนั้น

    ผู้เขียนได้เคยปรารภเรื่องนี้กับเจ้าคุณวัดปากน้ำ แสดงความหนักใจให้ท่านเห็น ท่านกลับพูดว่า "คนเช่นเราไม่ใช่ไร้ปัญญา ชั่วก็รู้ ดีก็เห็น เราจะฆ่าตัวเราเองเพราะความปรารถนาลาลกทำไม ที่เขาพูดหาว่าเราอย่างนั้น บางคนคงจะไม่รู้จักคำว่า “ธรรมกาย” มีอยู่ที่ไหน หมายเอาใคร เขาอาศัยความไม่รู้มาว่าเราผู้ตั้งใจปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เมื่อผู้ไม่รู้มาติเตียนเรา ความไม่รู้ของเขาจะลบล้างสัจธรรมของพระพุทธศาสนาได้อย่างไร ถ้าจะกลบก็กลบได้เพียงชั่วคราว ไม่ช้าดวงแก้วของพระพุทธศาสนาก็จะเปล่งรัศมีให้ผู้มีปัญญาเห็นด้วยสายตาของตนเอง การที่เขานำไปพูดเช่นนั้น เป็นผลแห่งการปฏิบัติที่เราได้กระทำกันอยู่ แสดงให้เห็นว่าคณะวัดปากน้ำไม่ได้กินแล้วนอน เป็นสำนักที่เคร่งครัดในการปฏิบัติธรรม การที่เขานำไปพูดเช่นนั้น เท่ากับเอาสำนักเราไปเผยแพร่ ดีเสียกว่าการโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ เพราะการที่เขานำไปพูดเช่นนั้นเป็นการกระทำของผู้พูดเอง เราไม่ได้จ้างไม่ได้วานใคร เมื่อพูดทางไม่ดีได้ก็ต้องมีคนพูดทางดีได้เหมือนกัน ธรรมจะต้องชนะอธรรมเสมอ เราไม่ต้องเดือดร้อนใจ เพราะธรรมกายของพระพุทธศาสนาเป็นของแท้ ไม่ใช่ของเก๊หรือของเทียม ธรรมกายจะปรากฏเป็นความจริงแก่ผู้เข้าถึงธรรม เรื่องอย่างนี้เราไม่หวั่น เราเชื่อในคุณพระพุทธศาสนา"


    --->> ที่ประชุมลับ

    พระนิพนธ์ของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น ปุณณสิริ)
    สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม



    เมื่อคราวอุบาสิกาท้วม หุตานุกรม หัวหน้าอุบาสิกาสมัยเจ้าคุณพระมงคลเทพมุนียังมีชีวิตอยู่ ได้ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ผู้เขียนได้พบพระเถระรูปหนึ่งมาในการบำเพ็ญกุศลนี้ด้วย ท่านรูปนี้คุ้นเคยและชอบพอกับผู้เขียนมาก ผู้เขียนชอบเรียกนามเดิมของท่าน พระเถระรูปนี้กลับพูดว่า “กระผมพอใจที่ใต้เท้าเรียกอย่างนั้น ผมรู้สึกว่าใต้เท้าให้ความสนิทสนมแก่กระผมผู้น้อยอย่างใจจริง ใต้เท้าเรียกนามเดิมของกระผม กลับภูมิใจว่าใต้เท้าเอ็นดูในกระผมมาก ไม่คำนึงถึงว่าเป็นคำดูหมิ่นดูแคลน” เรายังนึกชอบใจในอัธยาศัยอันงามของท่านผู้นี้

    เพราะไม่เคยคิดและไม่เคยเห็น ทั้งไม่เคยทราบมาก่อนว่าพระเถระรูปนี้เคยมาติดต่อกับวัดปากน้ำ จึงได้ถามเพื่อทราบความจริงว่า เจ้าคุณเคยรู้จักกับหลวงพ่อวัดปากน้ำและเคยมาเสมอหรือ ได้รับคำตอบอย่างนิ่มนวลว่า เมื่อเจ้าคุณพระมงคลเทพมุนียังมีชีวิตอยู่และก่อนมรณภาพหลายปี เคยมาติดต่อกับท่าน เหตุที่มานั้นพระเถระรูปนี้เล่าว่าการปฏิบัติธรรมของหลวงพ่อวัดปากน้ำแพร่หลายไปในหมู่คนทุกชั้น มีทั้งติทั้งชม เป็นแนวทางสอนที่แตกหัก ทั้งน่าเคารพและน่ากลัว ท่านผู้รู้วิจารณ์ในแง่ต่างๆ บางท่านก็สนเท่ห์ว่า ธรรมกายของหลวงพ่อวัดปากน้ำมีผู้ปฏิบัติถึงกันมาก จะเป็นแผนการลวงประชาชนของผู้มีความปรารถนาอันลามก ถึงมีการประชุมลับกันในพระเถระผู้ใหญ่และผู้เชี่ยวชาญในพระกรรมฐาน ส่วนมากลงความเห็นหนักไปในการละเมิดพระวินัย เข้าขั้นอุตริมนุสธรรม ยกโทษสูงถึงเพียงนั้น ท่วงทีก็หาทางจะคว่ำบาตรเจ้าคุณพระมงคลเทพมุนี


    --->> พระเถระรูปนี้ คือองค์ที่ผู้เขียนกล่าวถึงได้รับเกียรติเข้าประชุมอยู่ด้วย ท่านผู้นี้พูดว่าอันอุตริมนุสธรรมนี้เป็นเป็นคำที่แปลว่าเป็นธรรมของมนุษย์อันยอดยิ่ง คือเป็นธรรมชั้นสูงสุดของมนุษย์ทางพระพุทธศาสนา เมื่อใครผู้ใดเข้าถึงแล้วย่อมข้ามโอฆะทั้งมวลถึงฝั่งพระนิพพานอันไม่มีภพชาติสืบต่อไป

    แต่ผู้จะเข้าถึงอุตริมนุสธรรมต้องเป็นคนมีบารมีธรรมสูง มีความเพียรมาก งามทั้งปริยัติ ปฏิบัติ งามทั้งสีลาจารวัตร ต้องมีสัจธรรมประจำสันดาน ไม่ใช่วิสัยของคนพอดีพอร้าย ต้องเป็นคนใจกล้า เสียสละ มีเมตตาธรรมสูง
    เจ้าคุณพระมงคลเทพมุนี วัดปากน้ำ เป็นคณาจารย์กล้าพูดกล้าสอน ไม่มีความครั่นคร้ามต่อใครผู้ใด เมื่อเห็นดีอย่างไร ก็ปฏิบัติตามความเห็น น่าจะมีความบริสุทธิ์ใจตามความรู้ความเห็น แม้พระพุทธเจ้า เมื่อจะทรงประกาศสัจธรรมก็ตรัสแก่เบญจวัคคีย์ว่า เมื่อญาณทัศนะยังไม่บริสุทธิ์ตราบใด เราก็ไม่อาจจะปฏิญาณความเป็นพระสัมพุทธะแก่สมณพราหมณ์ ประชาชน แก่เทวดาและมนุษย์โลก กับทั้งเทวดาโลก มารโลก พรหมโลกได้ ที่พระองค์ทรงกล้าปฏิญาณได้ ก็เพราะได้ญาณทัศนะ รู้ความจริงแล้ว นี่เป็นข้อความที่จำต้องคำนึงถึงเป็นบทมาติกาก่อน

    เจ้าคุณวัดปากน้ำ ตามเสียงพูดกันว่า มีเมตตาธรรมสูง มีสังคหธรรมยอดเยี่ยม กล้าพูดว่าได้ธรรมกาย กล้าเอาธรรมกาย มาสอน ให้การศึกษาทั้งทางปริยัติ ทั้งทางปฏิบัติแก่พระภิกษุสามเณรในวัดปากน้ำไม่น้อยกว่า ๓๐๐ รูป สอบนักธรรมและบาลีในสนามหลวงได้จำนวนตั้ง ๑๐๐ ลองคิดตรึกตรองดูบ้างว่า ในประเทศไทยวัดไหนทำประโยชน์ศาสนาถึงขนาดนี้
    อันการปฏิบัติธรรมเข้าถึงหลุดพ้นนั้น ท่านก็วางไว้ถึง ๓ ขั้น คือ

    ๑.ตทังควิมุตติ (หลุดพ้นชั่วคราว ด้วยการดับกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับ)
    ๒.วินัมภนวิมุตติ (หลุดพ้นด้วยการข่มไว้ คือ การดับกิเลสของผู้บำเพ็ญฌาณ)
    ๓.สมุจเฉทวิมุตติ (หลุดพ้นด้วยการตัดขาด คือ ดับกิเลสอย่างสิ้นเชิงด้วยโลกุตรมรรค)



    เจ้าคุณวัดปากน้ำจะเข้าขั้นไหนเราก็ยังไม่ทราบ แต่ก็ควรคิดไว้ก่อนว่า สำนักวัดปากน้ำสอนมานาน พูดมานานแล้ว ธรรมวัดปากน้ำก็ยังไม่เสื่อม มีแต่เพิ่มผู้ปฏิบัติยิ่งขึ้น ท่านยังตั้งเจตนาว่าจะรับพระภิกษุสามเณรให้เข้าศึกษากันถึง ๕๐๐ องค์ เฉพาะวัดปากน้ำ ลักษณะนี้น่าจะมีอะไรดีอยู่มาก ถ้าเป็นเจตนาลวงโลกคงอยู่ไม่ได้ถึงเพียงนี้ เท่าที่เคยพบมาพระอาจารย์ลามกอยู่ได้เพียง ๕-๖ ปี ก็สาบสูญไป แต่วัดปากน้ำสู้หน้าโลกอยู่ได้โดยไม่ตกต่ำก็น่าจะมีอะไรดีเป็นหลักประกันอยู่มาก


    พวกเราที่มาพิจารณาโทษของวัดปากน้ำทั้งหมดนี้ ความจริงก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทางพระกรรมฐานมากนัก รู้พอรักษาตัวได้ ความรู้ทางธรรมปฏิบัติก็มีความลุ่มลึกสุขุมแตกต่างกัน แม้ขั้นพระอรหันต์ก็ยังต่างกันโดยคุณสมบัติ อุตริมนุสธรรมนั้น ผู้ปฏิบัติพึงได้พึงถึง ต้องสามารถดำเนินปฏิปทาทางจิต มีวิริยะอุตสาหะอย่างอุกฤษฎ์ พวกเ รายังปฏิบัติไม่เข้าขั้นเช่นนี้ จะไปลงโทษผู้เชี่ยวชาญในพระกรรมฐานได้อย่างไร เอาความรู้อะไรไปลงโทษเขา
    ที่ประชุมยอมรับความเห็นนั้น และให้พระเถระรูปนี้มาสอบสวนเป็นความลับ และท่านมาในฐานะเป็นผู้สนใจในการปฏิบัติธรรม ในที่สุดเรื่องร้ายก็ไม่เกิดขึ้น และไม่ถูกสงสัยในแง่อุตริมนุสธรรมอีกต่อไป การเป็นดังนี้เท่ากับว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำรอดตัวได้ด้วย “อานุภาพธรรมกาย”

    บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ปราชญ์ขยะ

    ..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/215057
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    แจ้งข่าว...งานสอนสมาธิ ณ วัดโมลีโลกยาราม ราชวรวิหาร

    สำหรับในเดือนสิงหาคม 2559 นี้

    เปิดทำการฝึกอบรม 2 รอบ ดังนี้
    - รอบแรก วันอาทิตย์ที่ 14 ส.ค. 2559
    - รอบสอง วันอาทิตย์ที่ 28 ส.ค. 2559

    เริ่มเวลา 13.00 - 16.00 น.ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
    ท่านผู้สนใจโปรดติดต่อสำรองที่นั่ง
    ->>ได้ที่เบอร์
    089-9691590 คุณสุชาติ
    ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : http://group.wunjun.com/khunsamatha/topic/619713-8819
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    วิชาธรรมกาย ทำให้ท่านแจ้งใจเรื่องเหล่านี้ด้วยการปฏิบัติเพือเข้าถึงได้ เรื่องว่า การปฏิบัติตามปฏิปทาสายกลางนั่นเอง ศึกษาวิธีการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงอายตนะนิพพานได้เพิ่มเติมที่กระทู้เหล่านี้

    ลำดับการปฏิบัติตามแนวปฏิปทาสายกลางของการภาวนาวิชชาธรรมกาย
    ลำดับการปฏิบัติตามแนวปฏิปทาสายกลางของการภาวนาวิชชาธรรมกาย - ถาม-ตอบวิชชาธรรมกายทั่วไป -
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    อานิสงค์ของวิชาธรรมกาย

    แหล่งที่มา # วิชาธรรมกาย ฉบับครึ่งหลักสูตร


    อานิสงส์ทันตาเห็นของการเห็นกายธรรม

    1.ทำให้เรียนหนังสือดีขึ้น ความทรงจำดีขึ้น

    2. ทำให้พ้นจากอุบัติเหตุทั้งปวง

    3. ทำให้พ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ

    4. ทำให้มีปัญญาคมกล้า

    5. ทำให้ห่างจากอบายมุขและสิ่งเสพติดทั้งปวง



    อานิสงส์ของการเห็นธรรม

    การเห็นธรรมนั้น แบ่งเป็น ๒ อย่างคือ การเห็นดวงปฐมมรรคเพียงอย่างเดียวและการเห็นธรรมกาย

    ประโยชน์จากการเห็นดวงปฐมมรรคนั้นอย่างหนึ่ง และประโยชน์ของการเห็นธรรมกายนั้นอีกอย่างหนึ่ง

    เราสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้มากน้อยเพียงไร ย่อมขึ้นอยู่กับการเห็นของเราว่า เราเห็นเนือง ๆ หรือเห็นกันชั่วครู่ ความต่างกันอยู่ตรงนี้

    ถ้าเราเห็นอย่างชัดเจน และเห็นได้เนือง ๆ ย่อมเกิดอานิสงส์มาก เกิดประโยชน์มาก ในทางกลับกัน หากเราเห็นเลือนรางและเห็นได้ไม่นาน ย่อมได้ประโยชน์น้อย เกิดอานิสงส์น้อยลงไป

    ก. อานิสงส์และประโยชน์ของการเห็นดวงปฐมมรรค อย่างน้อย อานิสงส์และประโยชน์จากการเห็นดวงปฐมมรรค มี 18 ประการคือ

    1. มีใจเป็นหิริโอตตัปปะ โดยที่ไม่ทราบว่าหิริโอตตัปปะ คืออะไร

    2. เปลี่ยนสภาพใจจากแข็งกระด้างเป็นอ่อนโยน จากใจบาปเป็นใจเมตตากรุณา

    3. หลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุข ฝันเห็นแต่สิ่งมิ่งมงคล

    4. ปราศจากโรคภัย แคล้วคลาดจากอุบัติเหตุ

    5. พ้นจากไฟพิษ และคมศาสตรา

    6. เทวดาย่อมคุ้มครอง

    7. เป็นที่รักของมนุษย์และอมนุษย์

    8. ตายแล้วไปสู่สวรรค์ (ไม่หลงตาย)

    9. สุขภาพจิตดี

    10. ใบหน้าผ่องใส

    11. ไม่แก่เกินวัย

    12. ความจำดี

    13. ตัดสินใจถูกต้อง ความคิดมีเหตุผล

    14. ไม่ฟุ้งซ่าน มีสติ

    15. ปกครองตัวเองได้ ไม่หมดอาลัยในชีวิต

    16. ทำกุศลขึ้น บุญไม่เสื่อม

    17. บริหารงานไม่เหนื่อย แม้เหนื่อยก็สดชื่นคืนสภาพเดิมอย่างเร็ว

    18. เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และความคิดทันสมัย


    ข. อานิสงส์และประโยชน์ของการเห็นธรรมกาย อย่างน้อย อานิสงส์และประโยชน์ของการเห็นธรรมกาย มี 19 ประการคือ

    1. ปราศจากทุกข์ ภัย โรค

    2. เป็นผู้ช่วยตัวเอง ทำตนให้หมดเวร หนีเวร

    3. เป็นผู้ไม่ก่อหนี้ ไม่สร้างเวรให้แก่ตน

    4. ชื่อว่าบำเพ็ญตบะ เผาผลาญกิเลสให้หมดไปจากใจตน

    5. เป็นการยกสภาพใจ สู่ความเป็นอารยะ

    6. เป็นผู้มีใจเป็นพระ เป็นผู้เข้าถึงพระรัตนตรัย

    7. รู้ทางเดินของพระอริยเจ้า ตามหลักมรรค 8 ชื่อว่าเจริญรอยตามยุคลบาท

    8. เป็นผู้ตื่นแล้ว เบิกบานแล้ว

    9. เป็นผู้ใกล้ตถาคต

    10. เป็นผู้มีมิ่งมงคล แม้เห็นสมณะก็เป็นมงคลอยู่แล้ว แต่เห็นธรรมกายเป็นมงคลร้อยเท่าพันทวี

    11. เป็นการทำตนให้หมดชาติ หมดภพ พ้นจากเวียนว่ายตายเกิดเข้าไปทุกที

    12. เป็นผู้เข้าถึงโมกขธรรม

    13. เป็นหน่อเนื้อพุทธางกูร ดำเนินชีวิตเยี่ยงโพธิสัตว์

    14. เป็นสุคโต คือมาดีไปดีทุกชาติ ไม่ไปอบายภูมิเลย

    15. เป็นผู้เห็นแดนเกษม แจ้งนิพพาน ได้มรรค ได้ผล ได้นิพพาน

    16. เป็นผู้สืบศาสนา เป็นทนายแทนพระศาสนา

    17. เป็นที่พึ่งของศาสนา ไม่เป็นหนี้ศาสนา

    18. เป็นเนื้อนาบุญเขต เป็นเนื้อนาบุญของโลก เป็นทักขิไณยบุคคล

    19. ได้เห็นวิชชาที่พระพุทธเจ้าทรงเห็น และได้บรรลุธรรมอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงบรรลุ เช่นได้เห็นวิชชา 3 คือ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ



    การเห็นธรรมกาย

    มีคุณอย่างเดียว

    โทษไม่มีเลย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กรกฎาคม 2016
  6. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ประวัติโดยสังเขป ของ พระครูวินัยธร (ชั้ว โอภาโส)

    ประวัติสังเขป

    ของ

    พระครูวินัยธร (ชั้ว โอภาโส)

    วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร​


    พระครูวินัยธร (ชั้ว โอภาโส) หรือที่ศิษยานุศิษย์เรียกท่านว่า “พระครูชั้ว”
    เป็นพระเถระที่นับได้ว่า เป็นศิษย์ผู้ใกล้ชิดอย่างยิ่งของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ
    เเละได้รับการยกย่องเป็นอย่างสูง ในการเป็นพระเถระผู้งามพร้อมด้วยศีลาจารวัตร
    เเละทรงไว้ซึ่งพระวินัยอย่างเคร่งครัด

    ท่านมีนามเดิมว่า ชั้ว จุฬจัมบก มีถิ่นกำเนิดที่ จ.สุพรรณบุรี บ้านดียวกับหลวงพ่อวัดปากน้ำ
    และยังเป็นญาติ (ลูกพี่ลูกน้อง) กับพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำอีกด้วย

    ท่านได้รับการบรรพชาอุปสมบท ที่วัดสองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี
    ต่อมาก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลแห่งหนึ่งในเขตอำเภอสองพี่น้อง

    ครั้นหลวงพ่อสด จนฺทสโร ได้มาดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
    พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้เดินทางไปยังอำเภอสองพี่น้อง และได้มีโอกาสพบกับท่านพระครูชั้ว

    ในครั้งนั้น พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ ได้กล่าวกับพระครูชั้ว ว่า
    “เวลานี้ ผมได้พบของจริงแล้ว”
    นั่นคือ หลวงพ่อได้บรรลุถึง “ธรรมกาย” เข้าถึงของจริงในพระพุทธศาสนาแล้วนั่นเอง


    พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้ชักชวนพระครูชั้ว ให้ย้ายมาอยู่วัดปากน้ำกับท่าน
    ซึ่งพระครูชั้วก็ยินดี และได้ย้ายมาอยู่ที่วัดปากน้ำตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

    เมื่อเข้ามาอยู่ในวัดปากน้ำแล้ว พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้เมตตาให้อยู่ร่วมกุฏิเดียวกับท่าน
    โดยพระครูชั้วได้มีโอกาสฝึกเจริญภาวนากับหลวงพ่อทุกวัน
    เมื่อหลวงพ่อได้เจริญภาวนาวิชชาธรรมกายชั้นสูง ได้พบได้เห็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
    ก็จะนำมาเล่าให้พระครูชั้วฟังเสมอ ซึ่งท่านก็สามารถจดจำได้อย่างละเอียด

    รวมทั้งคำพูดที่หลวงพ่อสอนแก่พระภิกษุ สามเณร และแม่ชี
    ใน “โรงงานทำวิชชา” ขณะกำลังเจริญวิชชาธรรมกายชั้นสูง
    เช่น เรื่องต้นธาตุต้นธรรม ทั้ง ๓ ภาค คือ ภาคขาว ภาคกลาง ภาคดำ
    และการปกครองธาตุธรรมของสัตว์โลกในที่สุดละเอียด
    ท่านก็สามารถจดจำได้ จึงนับว่า ท่านเป็นผู้มีความทรงจำเป็นเลิศหาผู้เสมอได้ยากผู้หนึ่ง

    ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒
    หลวงพ่อวัดปากน้ำ เเละคณะศิษยานุศิษย์ผู้เจริญวิชชาธรรมกายชั้นสูง อาทิเช่น
    พระครูวินัยธร (ชั้ว โอภาโส)
    หลวงพ่อเล็ก (ธีระ ธมฺมธโร)
    พระภาวนาโกศลเถร (วีระ คณุตฺตโม)
    อุบาสิกาปุก มุ้ยประเสริฐ
    อุบาสิกาถนอม อาสไวย์
    อุบาสิกาญาณี ศิริโวหาร
    คุณตรีธา เนียมขำ เป็นต้น

    ได้เจริญวิชชาธรรมกายชั้นสูง ที่ห้องภาวนา ที่เรียกกันว่า "โรงงาน" ให้เร็วเเละเเรงขึ้น
    ด้วยอำนาจแห่ง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ
    ประเทศชาติ..ก็ผ่านพ้นมหาภัยสงครามนั้นมาได้ด้วยดี

    นอกจากนี้ท่านยังได้ชื่อว่า เป็นผู้เคร่งครัดทางด้านพระวินัยเป็นอย่างยิ่ง
    จนได้รับการแต่งตั้งจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ ให้เป็น “พระครูวินัยธร”


    ท่านถึงเเก่มรณภาพ ในปีพ.ศ.๒๕๑๑ เมื่ออายุได้ ๘๓ ปี


    * ข้อมูลจาก หนังสือชีวประวัติ ผลงาน รวมพระธรรมเทศนา ๖๓ กัณฑ์ หลวงพ่อวัดปากน้ำ
    เนื่องในโอกาสฉลองชนมายุ ๑๐๐ ปี
    จัดพิมพ์โดย มูลนิธิพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย วัดสระเกศ กรุงเทพ
    พิมพ์ครั้งที่๒ พ.ศ.๒๕๒๘ จำนวน ๑,๕๐๐ เล่ม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    กายทิพย์…ขึ้นขบวนแห่สู่สวรรค์ชั้นดุสิต

    มูลเหตุที่ นำให้ข้าพเจ้า (ภัลลิกา ศิลปบรรเลง) ได้บรรลุธรรมะถึงขั้นธรรมกายนั้นคือ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2479 บิดาของข้าพเจ้าหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้ป่วยเป็นโรคบิดและลำไส้พิการ ซ้ำยังมีโรคอื่นผสมเข้าอีก เช่นโรคหัวใจรั่ว ซึ่งท่านเป็นอยู่ก่อน แต่ได้รักษาจนทุเลาแล้วกลับกำเริบขึ้นอีก จึงทำให้มีอาการมากาอย่างน่าวิตก บุตรภรรยาของท่านทุกคนมิได้นิ่งนอนใจ ได้ให้การรักษาพยาบาลกันอย่างเต็มที่ แพทย์ที่ทำการรักษาก็ล้วนแต่เป็นแพทย์ชั้นหนึ่งที่สำเร็จมาจากต่างประเทศ ทั้งนั้น แต่อาการก็ไม่ดีขึ้น คงทรงกับทรุดอยู่เช่นเดิม

    ข้าพเจ้ากับพี่สาวคนโต (ชิ้น ศิลปบรรเลง) เชื่อมั่นในอำนาจของคุณพระรัตนตรัย ได้อัญเชิญพระพุทธรูปประจำดวงชะตาของคุณพ่อกับรูปของเจ้าพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ ประดิษฐานไว้ใกล้เตียงนอนเหนือศีรษะของท่านในขณะที่ท่านมีอาการไม่สู้ดี พยาบาลทุกคนก็ช่วยกันภาวนา สัมมา อะระหัง เรื่อยไป รู้สึกว่าอาการค่อยทุเลาขึ้น จนเป็นที่สังเกตได้ด้วยพุทธานุภาพปรากฏเช่นนี้ พี่สาวข้าพเจ้าจึงไปกราบเรียนเจ้าพระคุณหลวงพ่อ ขอบารมีให้ท่านช่วยถอนอาการโรค และขอธรรมกายมาช่วยถอนอาการที่บ้านด้วย เพราะอาการหนักมาก

    แม้เจ้าคุณหลวงพ่อจะทราบโดยทิพย์ญาณของท่านแล้วว่าอาการป่วยของคุณพ่อ ข้าพเจ้าไม่มีหวังหาย ท่านก็ยังกรุณาให้แม่ชีธรรมกายไปช่วยถอนอาการป่วยให้ที่บ้านผลัดละ 2 คน แล้วหลวงพ่อวัดปากน้ำให้สติแก่พี่สาวข้าพเจ้าว่า “ไปบอกคุณหลวงให้หมั่นภาวนาไว้ เมื่อไม่หายก็จะได้ไปที่ดี” คุณพ่อข้าพเจ้าท่านก็ได้ภาวนาตามคำสั่งของหลวงพ่อวัดปากน้ำก่อนหน้าที่คุณ พ่อจะสิ้นชีวิตประมาณ 4-5 วัน

    ในขณะที่แม่ชีเขานั่งเข้าที่ถอนโรค ข้าพเจ้าก็นั่งกับเขาบ้าง และมุมานะนั่งอย่างชนิดเอาเป็นเอาตายทีเดียว เพราะเห็นว่าเป็นวิธีเดียวที่จะช่วยให้คุณพ่อหายป่วยได้พร้อมกับตั้งสัตย์ อธิษฐานในใจว่า “ด้วยเดชะอำนาจคุณพระพุทธเจ้า และหลวงพ่อวัดปากน้ำจงโปรดบันดาลให้ข้าพเจ้าได้สำเร็จวิชชาธรรมกายของหลวง พ่อ หากข้าพเจ้าได้สำเร็จวิชชาธรรมกาย และช่วยถอนอาการโรคของคุณพ่อจนท่านหายเป็นปกติดีแล้ว ข้าพเจ้าจะลาออกจากงานไปบวชชีอยู่ที่วัดปากน้ำ ถึงแม้ว่าข้าพเจ้าจำเป็นจะต้องเสียเลือดเนื้อและชีวิต เพื่อช่วยให้คุณพ่อคงชีวิตอยู่ ข้าพเจ้าก็ยินดีและทุกอย่างเพื่อเป็นการสนองพระเดชพระคุณท่าน” ด้วยอำนาจสัตยาธิษฐานนี้เอง พระท่านก็โปรดข้าพเจ้า

    วันหนึ่งเมื่อข้าพเจ้าเข้ารับเวรพยาบาลคุณพ่อ ก็นั่งเข้าที่ภาวนา “สัมมา อะระหัง” เช่นเคย ในครั้งนี้ตั้งใจแน่วแน่ว่า ถ้าไม่สำเร็จจะไม่ยอมลุกขึ้นจากที่ จะนั่งคร่ำเคร่งอยู่เช่นนี้ทั้งกลางวันกลางคืน โดยไม่ยอมกินยอมนอน หรือเปลี่ยนอิริยาบถอีกเลย

    ในที่สุดข้าพเจ้าก็แลเห็นเป็นแสงสว่างจ้าเหมือนแสงของดวงอาทิตย์ปรากฏขึ้น อย่างแจ่มชัดตรงหน้า แล้วมองเห็นร่างของคุณพ่อข้าพเจ้าถูกตัดออกจากกันเป็นท่อน ๆ ข้าพเจ้าจึงเล่าให้แม่ชีธรรมกายฟัง แม่ชีนั้นคือคุณรัมภา โพธิ์คำฉาย กับ คุณชั้น จอมทอง ต่างพากันบอกข้าพเจ้าว่า “คุณเห็นธรรมะคือได้วิชชาธรรมกายของหลวงแล้ว” แม่ชีทั้งสองแนะนำให้ข้าพเจ้าพยายามทำความเพียรให้มากยิ่งขึ้นแล้วสอนวิธี ถอนโรคให้ จนข้าพเจ้าเชื่อมร่างกายของคุณพ่อที่ขาดออกจากกันนั้นติดได้ สังเกตว่าคุณพ่อค่อยทุเลาขึ้น ต่อมาคุณทุ่ม (แม่ชีธรรมกายที่หลวงพ่อส่งมาผลัดเปลี่ยนเวรช่วยถอนอาการโรครุ่นที่ 2) ได้กรุณาต่อวิชชาให้ข้าพเจ้า จนได้ไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขอพระราชทานรัตนะ 7 (รัตนะ 7 นี้เป็นของคู่ของธรรมกาย ผู้ซึ่งสำเร็จวิชชาธรรมกายของหลวงพ่อแล้วทราบดีทุกคน) ข้าพเจ้าได้ใช้วิชชาธรรมกายถอนอาการโรคของคุณพ่ออยู่ประมาณ 2-3 วัน ก็ได้เห็นกายทิพย์ใสเป็นแก้วขาวบริสุทธิ์สวยงามมาก ออกมาจากอกของคุณพ่อ

    ข้าพเจ้า บอกคุณชั้นและคุณทุ่มซึ่งนั่งถอนโรคอยู่ด้วยกันให้ดูแล้วช่วยกันสะกดด้วย อำนาจของธรรมกายนี้ จนกายทิพย์ของคุณพ่อกลับเข้าไปในร่างอีกดังเดิม เป็นอยู่เช่นนี้หลายครั้งหลายครา ข้าพเจ้าจึงแน่ใจว่าอาการป่วยของคุณพ่อไม่มีทางรอด หลวงพ่อท่านจึงได้สั่งกำชับมากับพี่สาว ให้บอกคุณพ่อมั่นอยู่ในการภาวนา และเมื่อวันที่ท่านเจ้าคุณหลวงพ่อได้มาฉันอาหารที่บ้าน

    ก่อนหน้าคุณพ่อจะสิ้นนั้น ท่านยังได้กรุณาบอกแก่คุณพ่ออีกว่า“คุณหลวง! ทำใจให้ดีนะ หมั่นภาวนาไว้ให้มั่น เราสู้เขาไม่ได้ เราก็ไปทางดี”
    โอวาท ของเจ้าพระคุณหลวงพ่อครั้งนี้ทำให้คุณพ่อข้าพเจ้าได้สติและภาวนาอยู่จน กระทั่งท่านสิ้นไป ด้วยอำนาจของการภาวนานี้แหละเมื่อก่อนหน้าที่คุณพ่อจะสิ้นใจ

    ข้าพเจ้าได้เห็นมีขบวนแห่ประกอบด้วยเครื่องสูง มีฉัตร อภิรุม ชุมสายบังแทรก บังสูรย์ ฯลฯ มาลอยอยู่เหนือร่างของท่านเมื่อกายทิพย์ออกจากร่าง ขบวนแห่นั้นก็เข้าห้อมล้อม นำกายทิพย์ของคุณพ่อขึ้นรถที่มาในขบวนนั้น แล้วก็เคลื่อนขบวนลอยสูงขึ้นสูงขึ้นทุกทีจนลับหายไปในอากาศ

    ข้าพเจ้าถามคุณทุ่มว่าที่ข้าพเจ้าเห็นนี้เป็นความจริงหรือไม่ก็ได้รับการ ยืนยันว่า “เป็นความจริง” ข้าพเจ้า จึงไม่เสียใจในมรณกรรมของคุณพ่อครั้งนี้ เพราะได้เห็นและรู้ว่า ท่านไปสู่ที่สุขจริง ๆ บางท่านอาจไม่เชื่อว่า เพียงแต่การภาวนาเมื่อก่อนจะตายเท่านั้นจะมีกุศลสูงส่ง ซึ่งเป็นการเหลือวิสัย

    ข้าพเจ้าขอชี้แจงว่า คนเราเมื่อเวลาจะตายนั้นมีหนทาง 2 แพร่ง ถ้านึกถึงกรรมชั่วก็ต้องไปสู่ทุคติ ถ้านึกถึงกรรมดีก็ไปสู่สุคติ คุณพ่อข้าพเจ้าได้บำเพ็ญความเพียรในวิชชาของหลวงพ่อมากว่า 20 ปีแล้ว ทั้งท่านยังมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างแน่วแน่ ท่านได้ประกอบกุศลกิจมิได้ขาด มีทำบุญให้ท่าน ฯลฯ และให้วิทยาทานแก่คนทั่วไปทุกวันด้วยการสอนวิชาดนตรีปี่พาทย์ทุกชนิด ให้เปล่า ๆ โดยมิได้คิดมูลค่าสิ่งใด

    นับเป็นเวลาหลายสิบปี ท่านได้ประกอบกองการกุศล บำเพ็ญวิทยาทานเช่นนี้เรื่อยมาจนมีลูกศิษย์ลูกหามากมายเกือบครึ่งประเทศ คนเหล่านั้นต่างก็นำเอาวิชาความรู้ที่ได้รับจากท่านนั้นไปประกอบอาชีพ เลี้ยงตนเองและครอบครัวอยู่ตลอดมาจนถึงทุกวันนี้ ผลของการที่ท่านได้ประกอบกองการกุศลไว้มากมายนี้เอง กับทั้งท่านเชื่อมั่นในวิชชาของหลวงพ่ออย่างจริงจังท่านภาวนาอยู่เรื่อยมิ ได้ขาด ฉะนั้นเมื่อท่านดับจิต กรรมจึงส่งให้ไปสู่สุคติ

    ข้าพเจ้าได้ทราบในภายหลัง เมื่อข้าพเจ้าได้เรียนวิชชาพูดกับวิญญาณต่าง ๆ ได้แล้วว่า คุณพ่อของข้าพเจ้าท่านได้เห็นธรรมะของพระพุทธเจ้าเมื่อจวนจะสิ้นใจ จากการภาวนาวิชชาของหลวงพ่อวัดปากน้ำกุศลนี้จึงส่งให้ท่านได้ไปเสวยสุขและ บำเพ็ญธรรมอยู่บนสวรรค์ชั้น 4 คือชั้นดุสิต ซึ่งสวรรค์ชั้นนี้เป็นที่สถิตย์สำหรับเทพเจ้าผู้มุ่งบำเพ็ญธรรมเท่านั้น

    ภัลลิกา ศิลปบรรเลง

    ---------------------------------------------
    ..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/85751
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1263255384.gif
      1263255384.gif
      ขนาดไฟล์:
      51.2 KB
      เปิดดู:
      938
    • asddf.jpg
      asddf.jpg
      ขนาดไฟล์:
      7.3 KB
      เปิดดู:
      110
    • Y4468099-0.jpg
      Y4468099-0.jpg
      ขนาดไฟล์:
      53.2 KB
      เปิดดู:
      115
  8. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    วิดีโอหลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญบวชพระฝรั่งhttps://www.youtube.com/watch?v=J2hhfJjcQFw

    การปฏิบัติของคณะกัมมัฏฐานวัดปากน้ำ ย่อมเป็นไปตามระเบียบที่หลวงพ่อได้วางไว้ ทุกคราวท่านพูดให้เกิดกำลังในการใช้ความเพียร ธรรมกายของวัดปากน้ำแพร่ปรากฏไปแทบทุกจังหวัด ยิ่งกว่านั้นยังไปแสดงธรรมานุภาพยังภาคพื้นยุโรปด้วย เกียรติศักดิ์ของธรรมกายแพร่หลายเช่นนั้น ย่อมแสดงความศักดิ์สิทธิ์อันเป็นสัจจธรรมแก่ผู้ปฏิบัติ ทั้งนี้เนื่องด้วยโดยมากผู้จะเดินทางไปเมืองนอกได้มาขอพรต่อหลวงพ่อก็มี โดยได้รับคำบอกเล่าจากผู้ใหญ่ก็มี ชาวยุโรปเกิดความสนใจในเรื่องธรรมวินัยในพระพุทธศาสนา นี้แสดงว่าธรรมกายของวัดปากน้ำได้ข้ามน้ำข้ามทะเลไปนอกประเทศแล้ว

    พ.ศ.๒๔๙๗ ศาสตราจารย์ วิลเลียม อาจารย์มหาวิทยาลัยในกรุงลอนดอนได้ล่องฟ้าข้ามทะเลจากยุโรปมาสู่ประเทศไทย เพื่อศึกษาธรรมปฏิบัติ ณ วัดปากน้ำเป็นครั้งแรกในประเทศไทย หลวงพ่อได้จัดการอุปสมบทให้ตามที่มุ่งหมาย ก่อนจะให้การอุปสมบทนั้น ได้อบรมจนเข้าใจพิธีและเรียนธรรมปฏิบัติฝึกหัดพระกัมมัฏฐานจนได้แนวมั่นคง เป็นที่พอใจแล้ว จึงได้จัดการให้อุปสมบท

    การที่ชาวอังกฤษมาบวช ณ สำนักวัดปากน้ำนั้น ได้รับอุปการะจากหลวงพ่อเป็นอย่างดี ท่านได้จัดการซ่อมตึกขาวซึ่งได้ใช้เป็นห้องสมุดให้เรียบร้อย มีห้องน้ำห้องส้วมทันสมัย ตีรั้วล้อมตึกมิให้ใครมาปะปน พระวิลเลี่ยมนี้มีฉายาว่า กปิลวฑฺโฒ เมื่อได้อุปสมบทแล้วทำการปฏิบัติพระกัมมัฏฐานต่อไป ได้ยินว่าได้ธรรมกายเบื้องต้น ต่อมาได้ไปประเทศอังกฤษอีก มีผู้เลื่อมใสในพระกปิลวฑฺโฒมาก ต่อมาได้นำผู้ศรัทธามาบวชอีก ๓ คน ล้วนแต่มีวิทยฐานะได้ปริญญาทั้งนั้น หลวงพ่อสด ได้ให้อุปการะเป็นอย่างดี เรื่องอาหารบริโภคไม่ฝืดเคือง ได้ทำงบประมาณไว้โดยเฉพาะ ตลอดถึงช่วยค่าพาหนะเวลากลับยุโรปตามสมควร

    ดร.วิลเลียม เปอร์เฟอร์ท แห่งมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด มาบวชเพื่อศึกษาวิชาธรรมกาย

    ในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ดร.วิลเลียม เปอร์เฟอร์ท แห่งมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ดและอาจารย์มหาวิทยาลัยอีก ๒ คน มาบวชที่วัดปากน้ำเพื่อศึกษาวิชาธรรมกายทั้ง ๓ ท่าน หลวงพ่อให้ฉายาว่า กปิลวัฑโฒ ปัญญาวัฑโฒ และ สัทธาวัฑโฒ

    เมื่อภิกษุทั้ง ๓ กลับประเทศอังกฤษ ยังได้เผยแพร่วิชาธรรมกาย ดังนั้นการเผยแพร่วิชาธรรมกายในต่างแดน มีมาแต่ครั้งนั้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 สิงหาคม 2016
  9. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    คติธรรมของหลวงพ่อเป็นคติปฏิบัติคือได้ปฏิบัติแล้ว ได้ทดลองแล้ว คือได้นำปริยัติมาปฏิบัติแล้ว เกิดผลในทางปฏิบัติแล้ว


    คติที่ ๓ ดอกไม้หอม ไม่ต้องเอาน้ำหอมมาพรม ฯ


    ดอกไม้หอม ไม่ต้องเอาน้ำหอมมาพรม ก็หอมเอง ใครห้ามไม่ได้ ซากศพ ไม่ต้องเอาของเหม็นมาละเลงใส่ ก็แสดงกลิ่นศพให้ปรากฏ ปิดกันไม่ได้


    นี่คือ คติของหลวงพ่ออีกบทหนึ่ง ความหมายก็ชัดอยู่แล้ว ไม่ต้องอธิบายเลย โบราณท่านว่าไว้ ความดี ความชั่ว ความมี ความจน ๔ อย่างนี้ปิดกันไม่ได้


    นั่นคือ ความดี มันก็ดีอยู่ในตัว ถึงใครจะว่าไม่ดี ก็จะว่าได้ไม่นาน กรรมชั่ว มันก็ชั่วของมันในตัว ถึงใครจะว่าดี มันก็ดีไม่นาน เพราะมันชั่ว ทองอยู่ที่ไหนก็เป็นทอง จะเป็นตะกั่วไปไม่ได้ หนามแหลมไม่ต้องเสี้ยม ชาดมันแดงของมันอยู่ในตัว ไม่ต้องเอาสีแดงไปแต้ม


    เกิดการวิจารณ์กันกว้างไกล ต่อคำว่า "ธรรมกาย" ในตอนแรกๆ แบบต่างคนต่างว่า เสียงวิจารณ์ทราบไปถึงหลวงพ่อ หลวงพ่อท่านก็ว่า "ดอกไม้หอม ไม่ต้องเอาน้ำหอมมาพรม ก็หอมเอง ใครห้ามไม่ได้ ซากศพ ไม่ต้องเอาของเหม็นมาละเลงใส่ ก็แสดงกลิ่นศพให้ปรากฏ ปิดกันไม่ได้"


    ครั้นมาพบคำว่า "ธรรมกาย" ใน สุตตันตปิฎก ตถาคตสฺส วาเสฏฺฐ เหตุ อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปิ ( สามเณรวาเสฏฐ์ ธรรมกายคือตถาคต) คำวิจารณ์ก็หายไป


    เป็นข้อเตือนใจในการทำงานว่า หากการงานใด เป็นความดี เป็นความบริสุทธิ์ เป็นความถูกต้อง อย่าไปกลัวคำวิจารณ์


    ชีวิตคู่กับงาน ทุกคนเกิดมาต้องทำงาน หากงานที่เราทำเป็นความดี เป็นความถูกต้อง เป็นความบริสุทธิ์ จงทำเถิด หากหวั่นต่อคำวิจารณ์ เราก็ไม่ต้องทำอะไร เพราะกลัวไปหมด คำวิจารณ์เราก็ต้องพิจารณาด้วย เพราะความดีไม่มีในหมู่โจร คนไม่มีความรู้วิจารณ์ผู้รู้ คนความรู้ด้อยวิจารณ์ผู้มีความรู้สูง ทุศีลวิจารณ์ผู้ทรงศีล อาบอบนวดไปวิจารณ์ฤาษี เอาลุงดีกลางทุ่งไปวิจารณ์วิทยานิพนธ์ หากเข้าตำราที่ว่านี้ ท่านว่าอย่าฟัง


    ********************************************************
    จากหนังสือ คติธรรม คตินิยม การดำเนินชีวิต ของหลวงพ่อวัดปากน้ำ

    ..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/215293
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    แจ้งข่าว...งานสอนสมาธิ ณ วัดโมลีโลกยาราม ราชวรวิหาร

    สำหรับในเดือนสิงหาคม 2559 นี้

    เปิดทำการฝึกอบรม 2 รอบ ดังนี้
    - รอบแรก วันอาทิตย์ที่ 14 ส.ค. 2559
    - รอบสอง วันอาทิตย์ที่ 28 ส.ค. 2559

    เริ่มเวลา 13.00 - 16.00 น.ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
    ท่านผู้สนใจโปรดติดต่อสำรองที่นั่ง
    ->>ได้ที่เบอร์
    089-9691590 คุณสุชาติ
    ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :http://group.wunjun.com/khunsamatha/topic/619713-8819
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 สิงหาคม 2016
  11. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    --> พึงเป็นผู้มีใจไม่ขุ่นมัว

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

    [๙๖] จิต มนะ มานัส หทัย ธรรมชาติขาวผ่อง อายตนะคือใจ อินทรีย์คือใจ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ ชื่อว่า ใจ ในอุเทศว่า "มนสานาวิโล สิยา".จิตเป็นธรรมชาติขุ่นมัว ยุ่งไป เป็นไป สืบต่อ หวั่นไหว หนุนไป ไม่สงบ เพราะกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ราคะ โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะมายา สาเฐยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ
    จิต เป็นธรรมชาติขุ่นมัวยุ่งไป เป็นไป สืบต่อไป หวั่นไหว หนุนไป ไม่สงบ เพราะกิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวงความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง.

    คำว่า พึงเป็นผู้มีใจไม่ขุ่นมัว ความว่า พึงเป็นผู้ไม่ขุ่นมัว คือ ไม่ยุ่งไป ไม่เป็นไป ไม่สืบต่อไป ไม่หวั่นไหว ไม่หนุนไป สงบแล้วด้วยจิต คือ พึงละ สละ บรรเทา กระทำให้มีในที่สุด ให้ถึงความไม่มีซึ่งกิเลสทั้งหลายอันทำความขุ่นมัว พึงเป็นผู้งด เว้น เว้นขาด ออกไปสลัด สงบ ระงับ หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับกิเลสทั้งหลายอันทำความขุ่นมัว พึงเป็นผู้มีใจปราศจากเขตแดนอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเป็นผู้มีใจไม่ขุ่นมัวอยู่.

    .....................................................................................................

    -> ความเห็น ถ้าจิตยังขุ่นมัวอยู่ก็ยังสืบต่อ(สันตติ)อยู่ สืบต่อในที่นี่ก็สืบต่อทุกข์และสมุทัยนั่นเอง...
    จิตเมื่อมีสภาพขุ่นมัวก็ต้องมีการสืบต่ออยู่นั่นเอง สืบต่ออย่างเดียวไม่พอ จิตที่ขุ่นมัวยังมีสภาพ ยุ่งไป เป็นไป สืบต่อ หวั่นไหว หนุนไป ไม่สงบ เพราะกิเลสทั้งปวงและอกุสลาภิสังขารทั้งปวง
    ดังนั้น พึงเป็นผู้มีใจไม่ขุ่นมัว นั่นคือทำใจให้สว่างใสเถิด
    เพราะใจที่สว่างใสไม่เป็นที่ตั้งของกิเลสและอกุสลาภิสังขารทั้งปวงนั่นเอง
    การฝึกสมาธิวิชชาธรรมกาย ถูกตรงต่อพุทโธวาทของพระบรมศาสดา ตั้งแต่เบื้องต้น คือ ทำใจให้สว่างใส ไม่เป็นผู้ทำใจให้ขุ่นมัว ไปจนถึงมรรคผลนิพพาน ด้วย การเห็นด้วยญาณทัสสนะใน กาย-เวทนา-จิต-ธรรม-ขันธ์-อายตนะ-ธาตุ-อินทรีย์-ปฏิจสมุปบาท-อริยสัจ-นิพพาน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 สิงหาคม 2016

แชร์หน้านี้

Loading...