หลวงปู่พิบูลย์ถูกถ่วงน้ำไม่ตาย

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย มากับพระครับ, 26 ตุลาคม 2009.

  1. peter777

    peter777 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +10
    โอโฮ้ อยากไปจัง คับ แต่ติดงาน เมื่อไรจะมาจัดที่เชียงใหม่บ้างคับ
     
  2. มากับพระครับ

    มากับพระครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,153
    ค่าพลัง:
    +1,836
    ลองสอบถามที่กระทู้นี้ดีกว่าครับ
    http://palungjit.org/threads/ฟ้าสร้...ะงั่งครูบาแม้ว-แมงวันคำครูบาธร.215047/page-67
     
  3. มากับพระครับ

    มากับพระครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,153
    ค่าพลัง:
    +1,836
    ที่เชียงใหม่ไปหาท่านๆที่วัดก็ได้ครับ ระยะทางราวๆ เกือบ ๖๐ กม.ได้ ๓ องค์ไปถึงหลวงปู่ครูบาบุญทา วัดเจดีย์สามยอด แต่ครูบาสิทธิระยะทาง ๑๘๐ กม.ใช้เวลาวิ่ง ๓ ชม.ถึงวัด
     
  4. มากับพระครับ

    มากับพระครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,153
    ค่าพลัง:
    +1,836
    หลวงพ่อปุย วัดเกาะ จ.สุพรรณบุรี

    บทความประวัติหลวงพ่อปุย วัดเกาะ เกจิอาจารย์เก่งองค์หนึ่งของจ.สุพรรณบุรี เขียนโดยคุณศักดิ์ สุพรรณบุคลากรคุณภาพของวงการพระเครื่องเมืองสุพรรณบุรี


    [​IMG]


    </O:p

    พระครูวรนาถรังษี
    หลวงพ่อปุย ปุญญสิริ
    อดีตเจ้าคณะตำบลบางงาม เจ้าอาวาสพระอารามราษฎร์วัดเกาะ
    ถนนศรีประจันต์ - ดอนเจดีย์ ตำบลวังหว้า อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
    รวบรวม ค้นคว้าข้อมูล และเรียบเรียง โดย ศักดิ์ สุพรรณ (ศิษย์)

    หลวงพ่อปุย วัดเกาะ ตำบลบางงาม (ปัจจุบันโอนอยู่ในเขตตำบลวังหว้า) อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ท่านเป็นพระคณาจารย์เมืองสุพรรณที่มีชื่อเสียงในอดีต ความเฉียบขาดและความดุของหลวงพ่อปุยโด่งดังมากจนพวกนักเลงใหญ่และบรรดาเสือ ร้าย(โจร)ทั้งหลายของเมืองสุพรรณเกรงกลัวบารมีท่าน

    ท่านเป็นพระคณาจารย์ผู้มีเวทย์วิทยาคมแก่กล้ามีพลังจิตสูง สามารถกำราบปราบภูตผีต่างๆได้(ไล่ผีได้) ทั้งยังมีความเชี่ยวชาญในเวทย์มนต์คาถาอาคมต่างๆ วิชาต่างๆ อักขระเลขยันต์ แพทย์แผนโบราณ วิปัสสนากรรมฐาน และยังเทศน์เก่งจนเป็นที่จับใจผู้ฟัง

    ความดี ความเก่งและความเข้มขลังของท่าน เคยได้รับการกล่าวยกย่องจากองค์ประมุขสูงสุดของสงฆ์ คือ สมเด็จพระสังฆราชป๋า (ปุ่น ปุณณสิริ) วัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม เป็นการส่วนพระองค์ ทั้งยังเป็นที่โปรดปรานของพระองค์มากถึงขนาดเสด็จมาหา และเสด็จมาฉันภัตตาหารร่วมกับหลวงพ่อปุย ณ.วัดเกาะ และยังฝากถามไถ่เรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับหลวงพ่อปุย ผ่านมาทางลูกศิษย์อยู่เสมอๆ

    หลวงพ่อมีนามว่า ปุย นามสกุล รักกูล
    เกิดเมื่อวันที่ ๓๑ เดือนพฤษภาคม ปีพุทธศักราช ๒๔๓๘
    ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะแม
    ณ.บริเวณศาลเจ้าพ่อพระปู่หมื่น บ้านบางงาม ตำบลวังหว้า
    อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
    โยมบิดาชื่อ ฉลาด โยมมารดาชื่อ แรด มีอาชีพทำนา
    หลวงพ่อเป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้อง๕ คน

    ในวัยเยาว์อายุ๕ขวบ บิดามารดาได้นำไปฝากไว้กับ
    หลวงปู่เฒ่าพราย วัดเกาะ พระอาจารย์ผู้มีชื่อเสียง
    ยุครุ่นเดียวกับหลวงพ่อเนียม วัดน้อย
    ซึ่งมีศักดิ์เป็นตาของหลวงพ่อปุยท่าน
    ให้เล่าเรียนหนังสือเพื่อจะได้มีความรู้

    ท่านเป็นเด็กที่มีลักษณะเข้มแข็ง
    จะเล่นอะไรจะทำอะไรต้องเป็นหัวหน้าคน ติดจะเป็นคนจริง
    แต่ถือคติที่ว่า ไม่รังแกใครก่อน แต่ใครจะมารังแกไม่ได้

    ท่านอยู่วัดเกาะตั้งแต่วัยเด็กถึงเติบโตเป็นหนุ่ม
    ซึ่งนับเป็นระยะเวลาหลายปี
    ระหว่างที่อยู่วัดเกาะท่านได้ศึกษาอักขระไทยและขอม
    วิปัสสนากรรมฐาน แพทย์แผนโบราณและเวทมนต์คาถาอาคมต่างๆจากหลวงปู่เฒ่าพรายแล้วเวลาว่างท่านยังพายเรือไปตามแม่น้ำบ้านคอย เพื่อไปศึกษาวิชาต่างๆจากหลวงพ่อวัดใหม่โรงหีบอีก(วัดตั้งอยู่ไม่ไกลกันนัก) จึงทำให้ท่านมีความรู้ในด้านต่างๆอย่างมากมาย

    วัยหนุ่มมีรูปร่างสูงใหญ่ แข็งแรงบึกบึน ใจคอกล้าหาญเฉียบขาด มีความเป็นผู้นำ ทั้งยังมีวิชาอาคม พรรคพวกนักเลงทั้งหลายจึงยกย่องให้เป็นลูกพี่
    บิดามารดาเห็นว่าต่อไปสักวันอาจจะพลาดพลั้งเกเรไปเป็นเสือเป็นโจรได้ กอปรด้วยหลวงปู่เฒ่าพรายเองก็ได้มรณภาพแล้ว จึงให้หลวงพ่อปุยกลับมาช่วยทำงานที่บ้าน เป็นโคบาลนำกองฝูงวัวฝูงควายออกเลี้ยง

    ต่อมาปีพุทธศักราช ๒๔๕๘ หลวงพ่อปุยท่านได้เข้ารับราชการประจำการเป็นทหารอยู่ ๒ ปี โดยประจำการอยู่หน่วยเสนารักษ์(ทหารหมอ) ทำหน้าที่รักษาทหารผู้ได้รับบาดเจ็บ ด้วยเหตุที่ว่าเพราะท่านเป็นผู้มีความรู้ด้านแพทย์แผนโบราณ และยังอ่านตัวยาภาษาอังกฤษได้พอสมควร จึงทำให้ท่านได้รับเลือกให้ประจำการอยู่หน่วยนี้

    เมื่อปลดจากประจำการทหารแล้ว
    ท่านได้อุปสมบทเพื่อทดแทนคุณบิดามารดาและผู้มีพระคุณทั้งหลาย

    อุปสมบทเมื่ออายุ ๒๓ ปี เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๗ เดือนพฤษภาคม
    ปีพุทธศักราช ๒๔๖๑ ณ. พัทธสีมาวัดเกาะ อำเภอศรีประจันต์
    จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมี

    พระครูปลื้ม หรือ หลวงพ่อปลื้ม วัดพร้าว เป็นพระอุปัชฌาย์
    พระครูธรรมสารรักษา หรือ หลวงพ่อพริ้ง วัดวรจันทร์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    พระใบฎีกาอินทร์ หรือ หลวงพ่อวัดใหม่โรงหีบ วัดราษฎรบำรุง เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า “ปุญญสิริ”

    [​IMG]

    หลังจากอุปสมบท ก็ได้อยู่จำพรรษาที่วัดเกาะ
    ได้ศึกษาพระธรรมวินัย และวิปัสสนากรรมฐานควบคู่กันไปอีก

    หลวงพ่อปุยท่านเป็นผู้ใฝ่การศึกษา( คนโบราณเรียกว่าผู้คงแก่เรียน )
    จึงได้เพียรศึกษาหาวิชาความรู้จากพระอาจารย์หลายๆท่าน เช่น

    - ศึกษาอักขระไทยและขอม วิปัสสนากรรมฐาน แพทย์แผนโบราณ และวิชาอาคมต่างๆจาก หลวงปู่เฒ่าพราย วัดเกาะและหลวงพ่อวัดใหม่โรงหีบ

    [​IMG]

    - ศึกษาการแสดงพระธรรมเทศนาแบบโบราณจากหลวงตาอ่วม
    วัดเกาะ ซึ่งเรียนมาแต่ครั้นสำนักวัดโพธิ์ กรุงเทพฯ ( การแสดงพระธรรมเช่นนี้หาได้ยากใกล้จะสูญหายแล้ว)

    - ศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน และวิชาอาคมต่างๆ จากหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา

    [​IMG]

    กับหลวงพ่ออิ่มนี้ หลวงพ่อปุยท่านจำพรรษาอยู่วัดหัวเขากับหลวงพ่ออิ่มนานเป็นแรมปี และยังคงไปๆมาๆกับหลวงพ่ออิ่มอยู่ตลอดหลายๆปี

    ในระหว่างที่ท่านอยู่วัดหัวเขานี้ หลวงพ่ออิ่มได้มีข้อตกลงกับหลวงพ่อปุยท่านว่า จะสอนวิชาอาคมต่อยอดให้ หากแต่หลวงพ่อปุยต้องแสดงภูมิที่เคยร่ำเรียนมาจากอาจารย์องค์ก่อนๆให้ดูก่อน ว่ามาถึงขั้นไหนบ้างแล้ว ก็เลยสั่งให้ขุดหลุมดินมีความลึกขนาดท่วมศีรษะ เสร็จแล้วก็ลงไปนั่งในหลุม แล้วให้นั่งลอยตัวขึ้นจากปากหลุมได้สำเร็จก่อน หลวงพ่ออิ่มจึงจะยอมต่อยอดสอนวิชาอาคมให้ท่าน ผลคือ หลวงพ่อปุยสามารถทำได้ หลวงพ่ออิ่มจึงยอมสอนวิชาต่างๆต่อยอดให้หลวงพ่อปุย

    หลวงพ่อปุยเป็นศิษย์ที่หลวงพ่ออิ่มสอนวิชาต่างๆให้ถือว่าถึงกับหมดสิ้น และยังรักหลวงพ่อปุยมาก ถึงกับเอ่ยให้ศิษย์คนอื่นๆฟังและเอาเป็นแบบอย่างว่า "ท่านปุยท่านเปรียบเสมือนบัวที่พ้นน้ำแล้ว ทั้งยังเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วแม่นยำ ไม่ต้องจ้ำจี้จ้ำไช"

    ศึกษาวิชาอาคมต่างๆจากหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท
    กับหลวงปู่ศุขนี้ บรรดาลูกศิษย์ไม่สามารถยืนยันได้เต็มปากเต็มคำแบบเล่าตรงกันหมดเช่นกับหลวงพ่อองค์อื่นๆ แต่ทว่าลูกศิษย์หลวงพ่อปุยเองบางท่านได้เล่าขานกันสืบมาว่า หลวงปู่ศุขนี้หลวงพ่อปุยเองท่านได้เคยไปเรียนวิชามาบ้างพอสมควรเลยทีเดียว โดยหลวงพ่ออิ่มอาจารย์ท่านนี่แหละเป็นผู้นำพาไปฝาก รับรองความประพฤติโดยตัวหลวงพ่ออิ่มท่านเองด้วย

    แต่ผู้เขียน(ศักดิ์ สุพรรณ) ได้ฟังมาก็เห็นว่าพอมีโอกาสเป็นไปได้ เพราะหลวงพ่อปุยเองท่านเคยกล่าวไว้ มีบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรว่า พ.ศ.๒๔๖๓ เรียนวิชาอาคมและวิปัสสนากับหลวงพ่ออิ่ม และยังคงไปๆมาๆกับหลวงพ่ออิ่มเรื่อยๆ (ช่วงที่ไม่ขาดการติดต่อเลย แบบกระชั้นชิดกับหลวงพ่ออิ่มเลยก็คือ ช่วง พ.ศ. ๒๔๖๓ จนถึง พ.ศ. ๒๔๖๘ ส่วนช่วงหลังจากนั้นจนถึงหลวงพ่ออิ่มมรณภาพก็ยังคงติดต่อกับท่านอยู่ แต่ว่าไม่ได้ติดต่อแบบกระชั้นชิดเหมือนช่วงแรกนี้)
    ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าในช่วงแรกนี้หลวงปู่ศุขเองยังทรงสังขารอยู่(หลวงปู่ศุข มรณภาพ ปลายปี พ.ศ.๒๔๖๖) เรื่องที่เล่าๆกันมาจึงพอมีโอกาสเป็นไปได้สูงพอสมควร

    ศึกษาวิชาต่างๆจากหลวงพ่อปลื้ม วัดพร้าว , หลวงพ่อพริ้ง วัดวรจันทร์ แห่งโพธิ์พระยา เมือง สุพรรณบุรี ซึ่งทั้งหลวงพ่อปลื้มและหลวงพ่อพริ้งนี้ท่านเองเป็นอาจารย์อุปัชฌาย์และอาจารย์คู่สวดของหลวงพ่อปุยอีกด้วย

    - สหธรรมิกและศิษย์ร่วมสำนัก เนื่องด้วยท่านมีใจแบบนักเลง ที่กว้างขวาง จึงส่งผลให้หลวงพ่อปุยท่านเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีสหธรรมิกมากมาย และมีศิษย์ร่วมสำนักเดียวกับท่านที่มีชื่อเสียงหลายท่าน อาทิ
    - สมเด็จพระสังฆราช ปุ่น ปุณณสิริ หรือ สังฆราชป๋า วัดพระเชตุพนฯ
    - หลวงพ่อเจ้าคุณเมตตาวิหารี หรือ หลวงพ่อปัด วัดคูหาสวรรค์
    - หลวงพ่อเจ้าคุณ สด หรือ หลวงพ่อวัดปากน้ำ
    - หลวงพ่อเจ้าคุณ โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
    - หลวงพ่อเจ้าคุณ เก็บ วัดดอนเจดีย์
    - หลวงพ่อเจ้าคุณ เปลื้อง วัดสุวรรณภูมิ
    - หลวงพ่อเจ้าคุณ ผล วัดพังม่วง
    - หลวงพ่อเจ้าคุณ ไสว วัดบ้านกร่าง
    - หลวงพ่อเจ้าคุณ ถิร วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร
    - หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่
    - หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย
    - หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม
    - หลวงพ่อกอง วัดโพธาราม ( วัดบ้านคอยเหนือ )
    - หลวงพ่อแช่ม วัดราษฎรบำรุง ( วัดใหม่ )
    - หลวงพ่อเซ้ง วัดพร้าว
    - หลวงพ่อเชื้อ วัดพร้าว
    - หลวงพ่อปี วัดพิหารแดง
    - หลวงพ่อปอ วัดประชุมชน ( วัดบ้านบึง )
    - หลวงพ่อเจริญ วัดธัญญวารี ( วัดหนองนา )
    - หลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดอู่ทอง
    - หลวงตาจวน วัดไก่เตี้ย
    - หลวงพ่อโต วัดโพธิ์ศรีเจริญ
    - หลวงปู่แขก วัดหัวเขา
    - หลวงพ่อเปล่ง วัดหัวเขา
    - หลวงพ่อสม วัดดอนบุบผาราม
    ฯลฯ
    เป็นต้น

    ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเกาะ
    เมื่อตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเกาะว่างลง ชาวบ้านจึงปรึกษาพิจารณากันเรื่องหาผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเกาะ คณะชาวบ้านพิจารณากันแล้วก็ลงความเห็นกันว่า หลวงพ่อปุย มีความเหมาะสมที่สุด ทั้งยังมีความรู้ความสามารถทั้งอักขระไทยอักขระขอมและภาษาอังกฤษ เวทย์มนต์คาถาอาคม วิปัสสนากรรมฐาน และแพทย์แผนโบราณ
    หลวงพ่อปุยจึงได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเกาะเป็นลำดับรูปที่ ๑๑ ของวัด ในปีพุทธศักราช ๒๔๖๖ ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๗๐ ท่านก็เป็นเจ้าคณะตำบลบางงามรูปแรก

    หลวงพ่อท่านรักการศึกษาและมุ่งมั่นที่จะสร้างคน ท่านให้ความสำคัญเรื่องการศึกษาเป็นที่สุด ท่านมุ่งที่จะพัฒนาคนมากกว่ามุ่งที่จะพัฒนาวัตถุ

    ท่านนำเงินส่วนตัวท่านที่มีอยู่เท่าไร ก็ส่งลูกหลานชาวสบ้านเล่าเรียนหมด จนท่านเองนั้นมีเงินติดตัวก็เหมือนไม่มีเงินติดตัว เพราะว่ามีเงินติดตัวมาก็จะให้ลูกศิษย์ไปหมดทุกบาททุกสตางค์
    ส่งเสียลูกศิษย์จวบจนได้ดี เป็นเปรียญ๙ เป็นพระราชาคณะ เป็นด็อกเตอร์ เป็นศาสตราจารย์ไปมากมายหลายคนดังปรากฏอยู่ทุกวันนี้ก็หลายท่าน

    อาพาธและมรณภาพ
    เมื่อย่างเข้าสู่วัยชรา หลวงพ่อปุยท่านมีอาการเหนื่อยหอบ พูดไปหอบไป ประกอบกับมีโรคแทรกซ้อนคือ ปัสสาวะไม่ค่อยออก คณะศิษย์จึงได้นำท่านเข้ารักษา ณ.โรงพยาบาลสงฆ์ เมื่ออาการท่านหายดีแล้ว ได้นิมนต์ท่านกลับวัด ต่อแต่นั้น ๕-๖ เดือน หลวงพ่อมีอาการหน้ามืดและวิงเวียนศีรษะ จึงได้นำเข้ารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลสงฆ์อีกครั้งหนึ่ง แพทย์ตรวจพบว่าเป็นโรคความดันต่ำ พร้อมกับให้ยามาฉัน แต่อาการก็เป็นๆหายๆอยู่อย่างนั้น ต้องเข้าออกโรงพยาบาลอยู่เป็นประจำ

    ครั้งสุดท้าย เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๕ เดือนมกราคม ปีพุทธศักราช ๒๕๒๓ ตรงกับวันขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๓ ท่านป่วยมีอาการน่าวิตก คณะศิษย์จึงได้นำท่านเข้ารับการรักษายังโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช อันเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดสุพรรณบุรี แต่อาการของท่านก็ยังคงทรุดลงเรื่อยๆ แพทย์จึงให้น้ำเกลือและออกซิเจนเพื่อช่วยหายใจ

    กระทั่งวันที่ ๘ เดือนกุมภาพันธ์ ปีพุทธศักราช ๒๕๒๓ ตรงกับวันแรม ๗ ค่ำ เดือน ๓ เวลา ๑๖.๑๑น. ท่านก็ได้ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการอันสงบ ณ.โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราชจังหวัดสุพรรณบุรี รวมสิริอายุได้ ๘๕ ปี ๖๑ พรรษา
    และพระราชทานเพลิงศพในวันที่ ๗ เดือนมีนาคม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๐
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ธันวาคม 2009
  5. มากับพระครับ

    มากับพระครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,153
    ค่าพลัง:
    +1,836
    ศิษย์ร่วมสำนักที่เก่งไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันครับ หลวงพ่อปุยกับหลวงพ่อมุ่ย

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ธันวาคม 2009
  6. มากับพระครับ

    มากับพระครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,153
    ค่าพลัง:
    +1,836
    นักเลงไม่ใช่อันธพาล

    นักเลงใหญ่ ในเมืองให้นึกถึงหลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย นอกเมืองให้นึกถึงหลวงพ่อปุย วัดเกาะ "


    หลวงพ่อปุยเป็นผู้มีรูปร่างสูงใหญ่ แข็งแรงบึกบึน สูงใหญ่ตามแบบฉบับคนโบราณ มีอุปนิสัยใจคอกล้าหาญและเฉียบขาด มีความเป็นผู้นำสูง ทั้งยังมีวิชาอาคม บรรดาพรรคพวกนักเลงทั้งหลายจึงยกย่องให้เป็นลูกพี่ใหญ่ (นักเลงยุคสมัยร้อยปีก่อนร่ำเรียนวิชาอาคมกันทั้งนั้น หากผู้ใดที่มีวิชาอาคมแน่ที่สุดและมีความเป็นผู้นำจริง ย่อมถูกยกให้เป็นลูกพี่)


    ความเป็นนักเลงของท่านเลื่องลือขึ้นชื่อทั่วคุ้งน้ำ ( หลวงพ่อปุยท่านเป็นนักเลงตัวจริง ไม่ใช่อันธพาล เพราะนักเลงนั้นต่างจากอันธพาลเยอะ) หากเอ่ยถึงนักเลงใหญ่นอกเมือง แห่งลุ่มน้ำท่าคอยย่อมนึกถึงหลวงพ่อปุย และอีกหนึ่งนักเลงที่ขึ้นชื่อในยุคสมัยเมื่อร้อยปีก่อนนั้น หากเอ่ยถึงนักเลงใหญ่ในเมือง ย่อมนึกถึงหลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย ทั้งสองนี้เดิมเป็นอริกันมาก่อน แต่ภายหลังบวชอุปัชฌาย์องค์เดียวกัน เป็นศิษย์ร่วมสำนักกัน จึงเป็นพี่เป็นน้องกัน รักกันมาก สนิทกันมาก
     
  7. มากับพระครับ

    มากับพระครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,153
    ค่าพลัง:
    +1,836
    หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี

    [​IMG]



    หลวงพ่อมุ่ย พุทฺธรักฺขิโต

    พระครูสุวรรณวุฒาจารย์ หรือที่รู้จักกันดีในนาม หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่
    พระคณาจารย์ยุคกึ่งพุทธกาลที่เกียรติคุณชื่อเสียงโด่งดังที่สุดของจังหวัดสุพรรณบุรีอีกรูปหนึ่ง
    ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านทุกรุ่นได้รับความนิยมกันมาก
    เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2431 ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 13 ค่ำ เดือนอ้าย ปีฉลู
    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 ณ.บ้านดอนไร่ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
    เป็นบุตรของพ่อเหมือน แม่ชัง มีศรีไชย มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน คือ

    1. นางน้ำอ้อย จันทร์สุวรรณ
    2. นางน้ำตาล จีนสุกแสง
    3. นายช่อง มีศรีไชย
    4. นายเชื่อม มีศรีไชย (หลวงพ่อมุ่ย พุทฺรักฺขิโต)
    5. นางสาคู มีศรีไชย
    วัยเด็ก

    เนื่องด้วยครอบครัวของท่านมีอาชีพทำไร่ทำนา ในวัยเด็กของท่านจึงมีชีวิตตามประสาเด็กชนบททั่วไป
    โดยช่วยเหลือครอบครัวในการเลี้ยงควาย เป็นต้น

    วัยหนุ่ม

    เมื่อวัยหนุ่มท่านได้เข้ารับการเกณฑ์ทหาร
    ผลว่าท่านถูกเกณฑ์เป็นทหารและทางอำเภอได้ส่งตัวท่านไปยังจังหวัด
    แต่ท่านก็ต้องถูกส่งตัวกลับมาด้วยเหตุผลประการใดไม่ทราบ สรุปคือท่านไม่ได้เป็นทหารแน่นอน

    อุปสมบท

    ภายหลังจากการเกณฑ์ทหารเรียบร้อยแล้ว ท่านได้เข้ารับการอุปสมบทตามธรรมเนียมประเพณีของคนไทย
    เมื่อประมาณปี พ.ศ.2452 ณ. พัทธสีมาวัดท่าช้าง ตำบลท่าช้าง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมี
    พระครูศีลกิติ ( หลวงพ่อกฤษณ์ ) วัดท่าช้าง เป็นพระอุปัชฌาย์
    หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    พระอนุสาวนาจารย์ไม่ทราบชื่อ
    ในช่วงนี้ท่านได้เข้ารับการศึกษาเล่าเรียนวิชาต่างๆจากพระอาจารย์ต่างๆอยู่พอสมควร

    ท่านอุปสมบทได้ประมาณ10กว่าพรรษา ท่านก็ได้ลาสิกขาบท เพื่อมาช่วยบิดามารดาซึ่งชราทำไร่นา
    ในช่วงนี้ท่านได้เกิดล้มป่วยแทบเอาชีวิตไม่รอด ยากจะดูแลรักษาให้หายได้
    ท่านจึงได้ตั้งสัจจะอธิษฐานไว้ว่า หากหายจากอาการเจ็บป่วย จะฝากกายถวายชีวิตในพระพุทธศาสนาตลอดไป
    เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนักต่อมาอาการเจ็บป่วยของท่านก็ได้หายไป และช่วงนี้ท่านก็ได้เปลี่ยนชื่อจาก
    เชื่อม มาเป็น มุ่ย สรุปแล้วท่านลาสิกขาบทมาได้ไม่กี่เดือนก็อุปสมบทใหม่เป็นครั้งที่สอง

    ท่านได้อุปสมบทเป็นครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2465 เวลา 15.30 น. ณ.
    พัทธสีมาวัดตะค่า(วัดดอนบุบผารามในปัจจุบัน) ตำบลบ้านกร่าง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมี

    พระครูธรรมสารรักษา (หลวงปู่อ้น) วัดดอนบุบผาราม เป็นพระอุปัชฌาย์
    พระอาจารย์ทวน วัดบ้านกร่าง เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    พระอาจารย์กุล วัดดอนบุบผาราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    ได้รับชื่อทางพระพุทธศาสนาจากพระอุปัชฌาย์ว่า พุทฺธรักฺขิโต


    ครูบาอาจารย์

    เนื่องด้วยหลวงพ่อมุ่ยท่านเป็นผู้คงแก่เรียน หมั่นขวนขวายหาความรู้อยู่เสมอๆ
    จึงทำให้ท่านชำนาญและเชี่ยวชาญในศาสตร์หลายแขนง การเรียนรู้ในศาสตร์หลายแขนงของท่าน
    ได้พากเพียรเรียนรู้มาตั้งแต่การอุปสมบทครั้งแรก
    เมื่อกลับมาอุปสมบทอีกครั้งด้วยพื้นฐานที่รอบรู้อยู่แล้วและศึกษาเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลาจึงทำให้ท่านรอบรู
    ้และแตกฉานยิ่งขึ้น ครูบาอาจารย์ที่หลวงพ่อมุ่ยไปศึกษามานั้นมีอยู่มากมายเกิน10ท่านขึ้นไป
    แต่ก็สืบเสาะได้ยากยิ่งเนื่องจากหลวงพ่อมุ่ยท่านไม่เคยเล่าให้ลูกศิษย์ฟัง
    แต่เท่าที่สืบค้นได้ก็มีดังนี้

    1. พระครูธรรมสารรักษา หรือ หลวงปู่อ้น วัดดอนบุบผาราม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
    หลวงปู่อ้นท่านเป็นพระอาจารย์ยุคเดียวกันกับหลวงพ่อเนียม วัดน้อย ท่านมีอายุน้อยกว่าหลวงพ่อเนียม 9 ปี
    ในยุคนั้นหลวงปู่อ้นท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมากในแถบจังหวัดสุพรรณบุรี ท่านเป็นรองเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรีในยุคสมัยนั้น ท่านขึ้นชื่อมากในด้านแพทย์แผนโบราณ การรักษาโรคภัยไข้เจ็บ และพุทธาคมก็ยังเป็นเลิศ
    ท่านมีลูกศิษย์ลูกหาและพระอาจารย์ต่างๆมาศึกษาและแลกเปลี่ยนความรู้กับท่านที่วัดมากมาย
    ลูกศิษย์ของท่านที่มีชื่อเสียงโด่งดังอย่างเช่น ท่านเจ้าคุณเชียง วัดราชบูรณะ ,
    หลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน , หลวงพ่อสม วัดดอนบุบผาราม เป็นต้น
    ในการอุปสมบทครั้งที่สองของหลวงพ่อมุ่ยท่าน เมื่อปี พ.ศ.2465
    ท่านได้เดินทางมาที่วัดดอนบุบผารามเพื่อให้หลวงปู่อ้นทำการอุปสมบทให้ และหลังจากการอุปสมบทแล้ว หลวงพ่อมุ่ยก็ได้ศึกษาเล่าเรียนวิชาอาคมจากหลวงปู่อ้นต่ออีกสักพักหนึ่ง หลวงปู่อ้นจึงนับเป็นพระอาจารย์รูปแรกของท่านเท่าที่มีการบันทึกมา

    2. หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี
    หลวงพ่อมุ่ยสนใจในวิปัสสนากรรมฐานมาก
    ซึ่งในยุคนั้นพระอาจารย์วิปัสสนากรรมฐานของเมืองสุพรรณที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ก็มี หลวงพ่อโหน่ง
    วัดคลองมะดัน , หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา และหลวงพ่อปลื้ม วัดพร้าว
    หลวงพ่อมุ่ยได้เลือกศึกษาวิปัสสนากรรมฐานและคาถาอาคมต่างๆจากหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขาในช่วงที่บวชครั้งที่สอง ศึกษาจากหลวงพ่ออิ่มเป็นระยะเวลา1พรรษาเต็ม หลังจากศึกษาจากหลวงพ่ออิ่มหมดแล้ว หลวงพ่ออิ่มก็ได้พาไปศึกษาต่อกับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ซึ่งอยู่ห่างออกไปไม่ไกลกันมากนัก

    3. พระครูวิมลคุณากร หรือ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท
    ในยุคนั้น หลวงปู่ศุข ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศ
    มีลูกศิษย์ลูกหามาขอศึกษาวิชาต่างๆกับท่านมากมาย หลวงพ่อมุ่ยก็เช่นกัน
    ภายหลังจากที่ศึกษาวิชาต่างๆจากหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา จนหมดแล้ว
    หลวงพ่ออิ่มจึงแนะนำให้ไปศึกษาเพิ่มเติมอีกที่หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
    หลวงพ่ออิ่มเคยเล่าให้ลูกศิษย์ของท่านฟังว่า ตัวท่านเองแก่แล้ว จึงศึกษาเวทมนต์
    คาถาอาคมต่างๆจากหลวงปู่ศุขได้ครึ่งเล่ม ส่วนหลวงพ่อมุ่ยท่านยังหนุ่มสามารถศึกษาได้ถึงเล่มครึ่ง
    หลวงพ่อมุ่ยท่านเป็นที่รักใคร่ของหลวงปู่ศุขมาก เป็นศิษย์ชั้นแถวหน้าของหลวงปู่ศุขเลยทีเดียว
    กล่าวกันว่าท่านได้รับถ่ายทอดวิชาอาคมมาจากหลวงปู่ศุขมาก รองมาจากกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

    4. อาจารย์กูน วัดบ้านทึง อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
    อาจารย์กูน วัดบ้านทึง เป็นฆราวาสที่โด่งดังที่สุดของจังหวัดสุพรรณบุรี
    เดิมท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านทึง แต่ต่อมาท่านได้ลาสิกขาบท ท่านเชี่ยวชาญมากในด้านไสยศาสตร์
    และแพทย์แผนโบราณ สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆได้ดี เป็นที่พึ่งของชาวบ้านตลอดมา
    อาจารย์กูนเป็นผู้ที่ขึ้นชื่อเลื่องลือมากในยุคนั้น หลวงพ่อมุ่ยท่านสนใจในด้านแพทย์แผนโบราณมาก
    จึงได้เดินทางไปขอฝากตัวเป็นศิษย์ต่ออาจารย์กูนในสมัยที่อาจารย์กูนท่านยังดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านทึงอยู่ และอาจารย์กูนยังได้มอบตำราการทำยาหอมให้ท่านมาด้วย ซึ่งต่อมาท่านก็มอบต่อให้ศิษย์ท่านเอาไปทำยาหอม ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักกันดีคือ ยาหอม ตราฤาษีทรงม้า นั่นเอง

    5. หลวงพ่อปลั่ง วัดวิมลโภคาราม อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
    ท่านเชี่ยวชาญในด้านคาถาอาคมมากผู้หนึ่ง
    หลวงพ่อมุ่ยจึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อศึกษาวิชาอาคมต่างๆจากท่าน

    6. นอกจากนี้ยังมีพระอาจารย์ของท่านอีกซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานยืนยันชัดเจนว่าหลวงพ่อมุ่ยได้ศึกษาอะไรไปบ้าง อย่างเช่น หลวงพ่อกฤษณ์ วัดท่าช้าง (พระอุปัชฌาย์ในการบวชครั้งแรกของหลวงพ่อมุ่ย) ฯลฯ

    ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดดอนไร่

    หลังจากชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างวัดดอนไร่ขึ้นมาแล้วแล้ว
    ก็ได้นิมนต์หลวงพ่อปลั่ง วัดวิมลโภคารามมาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก อยู่ช่วยสร้างวัดได้1พรรษา
    หลวงพ่อปลั่งก็ได้ย้ายกลับไป

    ปี พ.ศ.2458 หลวงพ่อพลอยได้มาเป็นเจ้าอาวาสรูปที่สองอยู่ได้5พรรษาก็ลาสิกขาบท
    จึงทำให้วัดดอนไร่ว่างเว้นเจ้าอาวาสอีกครั้งหนึ่ง

    ปี พ.ศ.2466 ภายหลังจากการอุปสมบทครั้งที่สองของหลวงพ่อมุ่ย
    ชาวบ้านได้นิมนต์ท่านมาพำนักจำพรรษาที่วัดดอนไร่ ท่านก็ได้ริเริ่มพัฒนาวัดตั้งแต่นั้นมา

    ปี พ.ศ.2476 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลหนองสะเดา
    ท่านจึงมีภาระมากขึ้นด้วยว่ามีเขตการปกครองขว้างขวาง วัดใดเสื่อมโทรมก็ต้องเข้าไปดูแลพัฒนาซ่อมแซม รวมไปถึงวัดภายนอกเขตปกครองด้วย แต่ท่านก็ไม่ย่อท้อ ขยันหมั่นเพียรดูแลรักษาและพัฒนาจนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

    หลวงพ่อมุ่ยได้สร้างพระอุโบสถหลังเก่าของวัดดอนไร่ ก่อด้วยอิฐไม่ได้ฉาบปูน หลังคามุงหญ้าแฝก
    ซึ่งได้ฝังลูกนิมิตไปในปี พ.ศ.2482 กุฏิสงฆ์ หอสวดมนต์ สิ่งก่อสร้างเหล่านี้ซึ่งสร้างจากไม้เป็นหลัก
    ซึ่งไม้ดังกล่าวหลวงพ่อมุ่ยท่านจะเป็นผู้นำกองเกวียนของบรรดาชาวบ้านเข้าป่าเพื่อไปตัดไม้ดังกล่าวมาสร้างวัดเองโดยตลอด จึงเป็นภาระอันหนักยิ่งของท่านในสมัยนั้น

    ปี พ.ศ.2496 ท่านได้รับแต่งตั้งจากคณะสงฆ์เป็นพระอุปัชฌาย์ มีกุลบุตรมากมายมาให้ท่านอุปสมบทให้
    รวมทั้งลาสิกขาบทจากท่าน ซึ่งในสมัยนั้นทั้งอำเภอมีพระอุปัชฌาย์แค่เพียง2รูปเอง จึงกล่าวได้ว่าในสมัยนั้นชาวสามชุกค่อนอำเภอบวชโดยหลวงพ่อมุ่ย

    อุปนิสัย

    หลวงพ่อมุ่ยท่านเป็นพระสมถะ ปฏิบัติตนอยู่ในกรอบของพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัดเสมอต้นเสมอปลาย ทำสิ่งใดแต่พอเหมาะพอควร มีความเมตตาแก่สัตว์โลกทั่วไปทุกหมู่เหล่า
    ท่านทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่ด้วยเคยตั้งมั่น อธิษฐานชีพนี้เพื่อพระพุทธศาสนา

    และหลวงพ่อมุ่ยท่านไม่เคยโอ้อวดตน อย่างเช่นครั้งหนึ่งสมเด็จพระสังฆราช จวน วัดมกุฏกษัตริยาราม เสด็จมาเป็นประธานในการปลุกเสกพระเครื่องยุทธหัตถีที่พระวิสุทธิสารเถระ หรือหลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร เป็นแม่งานจัดสร้าง สมเด็จฯพบหลวงพ่อมุ่ย จึงตรัสถามหลวงพ่อมุ่ยว่า ทำไมจึงขลังนัก หลวงพ่อมุ่ยก็ตอบว่า หากท่านจะขลังก็คงขลังที่ความดี เพราะตั้งแต่ท่านบวชมา ท่านไม่เคยทำชั่วเลย
    สมเด็จฯได้ยินดังนั้นทรงชื่นชอบในคำตอบของหลวงพ่อมุ่ยเป็นอย่างมาก

    อาพาธและมรณภาพ

    ปี พ.ศ.2516 หลวงพ่อมุ่ยเริ่มอาพาธ
    ล่วงถึงกลางปีก่อนเข้าพรรษาอาการอาพาธด้วยโรคชรานี้ได้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น
    แพทย์ประจำตัวหลวงพ่อเห็นอาการไม่ดีขึ้นจึงได้นำหลวงพ่อเข้ารับการรักษา
    ทำให้ตลอดพรรษานี้หลวงพ่อต้องจำพรรษาอยู่ที่คลินิกของแพทย์ผู้เป็นลูกศิษย์

    ก่อนหน้าฤดูเทศกาลกฐินหลวงพ่อได้กลับมาที่วัด ทำให้ลูกศิษย์ลูกหาดีใจมาก จัดขบวนต้อนรับกันยิ่งใหญ่
    แต่หารู้ไม่ว่าการกลับมาครั้งนี้เป็นการจากลาของหลวงพ่อ ล่วงถึงเวลา 07.15 น. ของวันที่ 15 มกราคม
    พ.ศ.2517 หลวงพ่อมุ่ยก็ละสังขารลงด้วยอาการสงบ สิริอายุ 85 ปี 41 วัน

    หมายเหตุ บทความดีๆของคุณ ศักดิ์ สุพรรณ อีกเช่นกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ธันวาคม 2009
  8. มากับพระครับ

    มากับพระครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,153
    ค่าพลัง:
    +1,836
    ลำดับต่อไปจะค่อยนำเสนอลูกศิษย์ของท่านทั้ง๒
     
  9. มากับพระครับ

    มากับพระครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,153
    ค่าพลัง:
    +1,836
    เอ..ไปเที่ยวกันหมดแล้วนี่...จะได้ไปบ้าง
     
  10. Reflect

    Reflect เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    887
    ค่าพลัง:
    +1,439
    ผมเองก็จะไปกะเค้าแล้วล่ะ แต่ก็จะเข้ามาดูเรื่อยๆเพราะมือถือก็ต่อเนตได้ เข้าดูได้ 24 HR เหมือนกัน
     
  11. มากับพระครับ

    มากับพระครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,153
    ค่าพลัง:
    +1,836
    เอ หรือ เราจะไปเที่ยวเจ้าไหมดี
     
  12. มากับพระครับ

    มากับพระครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,153
    ค่าพลัง:
    +1,836
    ไปพักให้เต็มที่กลับมาต้องเตรียมงานอีก ครูบาแม้ว ครูบาธร หลวงปู่ครูบาบุญทา มาถึงเย็นวันที่ ๘ มค.และเริ่มสงเคราะห์ศิษย์ตั้งแต่เช้าวันที่ ๙ มค. ส่วนชาวนครปฐมพบกับครูบาธรได้ช่วงค่ำวันที่ ๙ ที่วัดกลางบางแก้ว
     
  13. Reflect

    Reflect เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    887
    ค่าพลัง:
    +1,439
    ผมคงอยู่แถวๆนี้ล่ะคับ... ไม่ได้ไปไหนไกลๆ อยู่ในเมืองนี่ล่ะ
    แล้วตกลงงานนี่สองวันหรอคับ 9-10 มค. 53 หรอ
     
  14. มากับพระครับ

    มากับพระครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,153
    ค่าพลัง:
    +1,836
    ใครที่อยู่นครปฐมจะสักกับครูบาธรที่นครชัยศรีวันที่ ๙ มค.ให้โพสต์นัดมาเลยครับ
     
  15. มากับพระครับ

    มากับพระครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,153
    ค่าพลัง:
    +1,836
    ว้า..ว่าจะพาน้องๆไปเที่ยวตรังปลอบใจซะหน่อย...วันนี้ตะกรุดดอกคำแผลงฤทธิ์...ดีทุกอย่างเสียอย่างเดียวกันรถไฟชนกันไม่ได้
     
  16. มากับพระครับ

    มากับพระครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,153
    ค่าพลัง:
    +1,836
    มีสองวันครับ วันที่ ๙ สะดวกกันมั๊ยครับ สำหรับคนที่อยากมาให้ครูบาแม้วเป่าน้ำ
     
  17. ratsung

    ratsung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2007
    โพสต์:
    553
    ค่าพลัง:
    +1,354
    เห็นคุณฟ้าฯว่า ๓ ขบวนเลยหรือพี่ ยังดีนะพี่ ดีกว่าสงคราม ๙ ทัพ ไม่งั้นพี่เอกของน้องๆ จะเป็นอย่างไรบ้างนะ เอาใจช่วยพี่ แต่หลายคนแอบอิจฉา ๆๆๆๆ

    พีเอกของเราไม่ยอมเป็นบุเรงนองพ่ายรักอยู่แล้วจริงม๊ะ
     
  18. มากับพระครับ

    มากับพระครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,153
    ค่าพลัง:
    +1,836
    อาลัยหลวงปู่เจือ ปิยสีโล พระผู้มีแต่ให้

    ทราบข่าวจากหลวงพ่อสัญญา หลานหลวงปู่ว่าท่านมรณภาพเมื่อประมาณ ๑๑ น.เช้านี้ที่รพ.วิชัยยุทธ์แล้วใจหาย น้ำตาไหลอยู่ข้างใน ไม่นึกว่าท่านจะด่วนจากไป เพราะปกติระยะหลัง หลวงปู่เข้ารพ.บ่อยมากแต่ไม่ค่อยเป็นอะไรหนักจนพวกเราเริ่มชิน จึงคิดว่าไปเก็บตัวพักผ่อนเหมือนเดิม แต่ครั้งนี้ท่านจากไปจริงๆ
     
  19. ratsung

    ratsung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2007
    โพสต์:
    553
    ค่าพลัง:
    +1,354
    ขอกราบอาลัยหลวงปู่เจือครับ<!-- google_ad_section_end --> ท่านฝากผลงาน และลูกศิษย์ไว้มากมาย
     
  20. มากับพระครับ

    มากับพระครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,153
    ค่าพลัง:
    +1,836
    หลวงปู่เจือถือว่าเป็นพระอาจารย์องค์แรกของผมที่ทำวัตถุมงคลออกให้บูชาเพื่อนำปัจจัยมาตั้งต้นรวบรวมเพื่อสร้างหอบูรพาจารย์ ตอนนั้นหลวงปู่ฯทำตะกรุดหนังเสือขึ้นเป็นทางการครั้งแรก ชื่อว่า พยัคฆ์จินดา ออกในช่วงตรุษจีน ๒ ปีก่อน โดยให้บูชาในกุฏิหลวงปู่ฯ ช่วงนั้นใครมากราบหลวงปู่ฯจะแนะนำให้บูชาตะกรุดหนังเสือรุ่นนี้ด้วย คนเลยแห่บูชากันล้นหลาม หลังจากนั้นในวันกองทัพไทยปีถัดมาหลวงปู่ฯได้เป็นประธานจัดสร้างพระขุนแผนที่ดีที่สุดขึ้น ชื่อว่า ขุนแผนรักชาติ (ด้านหลังมีลายเซ็นต์หลวงปู่ฯอยู่) โดยบวงสรวงและกดพิมพ์นำฤกษ์ที่หน้าพระเจดีย์ใหญ่ วัดใหญ่ชัยมงคล สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งพระนเรศวรและสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว และยังเป็นต้นกำเนิดพระขุนแผนอันโด่งดัง พิธีกรรมในวันนั้นบังเกิดความศักดิ์สิทธิ์อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน แต่วัตถุมงคลกลับไม่เป็นที่โด่งดังเท่าที่ควรเพราะไม่มีงบประมาณโฆษณาเชิงพาณิชย์ ปัจจุบันยังมีหลงเหลืออยู่ไม่น้อย
     

แชร์หน้านี้

Loading...