หนังสือ "คำสอนเซน ภาคเซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ใจต่อใจ, 13 มีนาคม 2014.

  1. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    <table class="tablebg" cellspacing="1" width="100%"><tbody><tr class="row1"><td valign="top"><table cellspacing="5" width="100%"><tbody><tr><td>หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
    ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    บทที่ 40 ความเป็นพุทธะ

    ถ้า อสรพิษทั้งสามอยู่ในจิตท่าน ท่านก็อยู่ในดินแดนแห่งความสกปรก เมื่อธรรมชาติแห่งจิตมันคือความว่างเปล่า ปราศจากอสรพิษทั้งสามแล้ว ท่านก็อยู่ในดินแดนแห่งธรรมชาติ ที่มีความสะอาดบริสุทธิ์อยู่อย่างนั้น พระสูตรได้กล่าวว่า "ถ้าท่านอยู่ในดินแดนแห่งความสกปรก พุทธะภาวะก็ไม่ปรากฏ เพราะความเศร้าหมองและความสกปรกทั้งหลาย หมายถึงความหลงและกิเลส อันเป็นอสรพิษร้าย พุทธะหมายถึงธรรมชาติแห่งความสว่าง สะอาด สงบ"

    ไม่ มีภาษาคำพูดใดๆ ที่ไม่ใช่ธรรมะเลย ถ้าพูดได้ทั้งวันโดยไม่ได้พูดถึงสิ่งใดเลย อันหมายถึงมิได้พูดเพื่อให้เกิดเป็นภาวะของสิ่งนั้น นี่คือ มรรคอันเป็นธรรมชาติ การนั่งเงียบทั้งวันแต่ยังมีการพูดถึงบางสิ่ง ที่มันกลายเป็นภาวะที่เกิดขึ้น ย่อมไม่เป็นมรรค และมันเป็นหนทางออกนอกเส้นทางธรรมชาติ ดังนั้นวาจาของตถาคตเจ้านั่นคือสุรเสียงอันคือธรรมชาติแห่งพุทธะ ที่มิได้อาศัยความเงียบแต่อย่างใด ดังนั้นบัณฑิตผู้เข้าใจวาจาและความเงียบ คือบุคคลที่อยู่ในความเป็นธรรมชาตินั้น อย่างมิได้แปรผันไปเป็นอย่างอื่น มันเป็นธรรมชาติแห่งสมาธิอยู่อย่างนั้น ถ้ารู้หรือพูดออกมา คำพูดด้วยวาจานั้นคือความเป็นอิสระ ถ้าไม่รู้แล้วเงียบ ความเงียบก็คือความกังวล อันคือภาวะแห่งจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมาแบบเงียบๆเช่นกัน ถ้าไม่ยึดติดกับปรากฏการณ์ภายนอกเลย นั่นก็คือความเป็นอิสระ ถ้าความเงียบได้ติดอยู่กับปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ความเงียบมันก็คือภาวะแห่งความกังวลอันมิใช่ธรรมชาติแห่งพุทธะภาษาโดย เนื้อหาตามธรรมชาติมันคือความเป็นอิสระ และโดยความเป็นธรรมชาตินั้นแห่งการพูดด้วยวาจาต่างๆ มันไม่มีอะไรต้องทำด้วยการยึดมั่นถือมั่น และการยึดมั่นถือมั่นก็ไม่มีอะไรต้องทำด้วยภาษา ความจริงตามธรรมชาติไม่มีสูงไม่มีต่ำ ถ้าท่านพูดออกมา ด้วยความมีค่าแห่งความสูงส่งและความด้อยค่าแห่งความต่ำต้อย มันก็มิใช่ธรรมชาติที่แท้จริง

    ไม่มีจิตก็ไม่มีพุทธะ ปราศจากพุทธะก็ไม่มีจิต ใครก็ตามที่พูดถึงการปลดเปลื้องแห่งจิต เขาผู้นั้นก็ย่อมอยู่ห่างจากจิตอันแท้จริง เพราะจิตอันคือธรรมชาติแห่งความเป็นจริงอยู่อย่างนั้น มันเป็นจิตที่เป็นธรรมชาติอยู่แล้วไม่มีอะไรให้ปลดเปลื้อง เพราะฉะนั้นจงอย่ายึดมั่นในปรากฏการณ์แห่งจิต และจะต้องเข้าไปปลดเปลื้องจิตอันคือปรากฏการณ์นั้นๆ ในพระสูตรกล่าวว่า "เมื่อท่านได้เห็นปรากฏการณ์แห่งจิต ท่านก็เห็นพุทธะ" ซึ่งหมายความถึง เมื่อท่านเข้าใจได้ตามความเป็นจริงแล้วว่า แท้จริงมันเป็นเพียงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น และไม่สามารถยึดมันให้เป็นตัวเป็นตน ตามความปรารถนาของท่านได้ตลอดไป มันเป็นเพียงความว่างเปล่าตามธรรมชาติอยู่แล้ว หาเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ เมื่อปรากฏการณ์ย่อมมิใช่ปรากฏการณ์ด้วยความเป็นจริงตามธรรมชาติ ท่านก็ได้เห็นธรรมชาติแห่งพุทธะแล้ว

    "ปราศจากจิตก็ไม่มีพุทธะ" หมายความว่า พุทธะมาจากจิต จิตอันคือธรรมชาตินั้นให้กำเนิดพุทธะ ถึงแม้พุทธะมาจากจิต แต่จิตก็ไม่ได้มาจากพุทธะ อุปมาเหมือนปลามาจากน้ำอยู่อาศัยในน้ำ แต่น้ำมิได้เกิดจากปลา ใครต้องการเห็นปลาก็ต้องมาดูที่น้ำซึ่งปลาได้อาศัยอยู่ ฉันใดก็ฉันนั้น ใครต้องการพบเจอพุทธะ ก็ต้องมาดูมาทำความเข้าใจในความเป็นธรรมชาติแห่งจิตเสียก่อน เขาจึงจะเป็นพุทธะได้ เมื่อท่านเห็นปลาแล้ว ท่านก็ได้มองดูปลาว่าคือปลา โดยไม่สนใจกับน้ำที่ปลาได้อาศัยอยู่ เมื่อท่านพบพุทธะแล้ว พุทธะนั้นก็จะทำให้ท่านเข้าใจว่า พุทธะก็คือพุทธะ โดยไม่ได้เกี่ยวข้องกับจิตอีกต่อไป

    ปุถุชนกับความเป็นพุทธะ เปรียบเสมือนน้ำกับความเย็น การที่ชีวิตมีแต่ความทุกข์โศกเป็นปุถุชนภาวะ การที่เห็นธรรมชาติแห่งจิตตนเรียกว่าพุทธะ ความเป็นธรรมชาติที่อาศัยเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน น้ำแข็งก็ย่อมมาจากน้ำธรรมดา ธรรมชาติของน้ำแข็งก็คือความเป็นน้ำนั่นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ ความเป็นปุถุชนภาวะก็คือความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะนั่นเอง ภาวะทั้งสองแห่งความเป็นปุถุชนกับความเป็นพุทธะ มันอยู่ในความเป็นธรรมชาติเดียวกัน มันเป็นเพียงความแตกต่างแต่ชื่อ แต่ความเป็นเนื้อหานั้น มันเท่าเทียมกันในความเป็นธรรมชาติอยู่อย่างนั้น

    เมื่อ งูกลายเป็นมังกรมันก็ไม่ได้เปลี่ยนเกล็ด เมื่อปุถุชนเปลี่ยนมาเป็นบัณฑิต เขาก็ยังเป็นเขาคนเดิมมิได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงไป เพียงแต่ใจเขาได้ปรับเปลี่ยนไปเป็นพุทธะแต่เพียงเท่านั้น กิเลสปลดปล่อยพุทธะและพุทธะก็ปลดปล่อยกิเลส ความทุกข์ยากลำบากแสนสาหัสนั้น ทำให้เกิดความสำนึกในความเป็นธรรมชาติแห่งมนุษย์ และความรู้สึกสำนึกในความเป็นธรรมชาตินั้น มันก็ช่วยให้เราเป็นอิสระอยู่นอกเหนือความทุกข์ยากนั้น ถ้าไม่มีความทุกข์ถ้าไม่รู้จักความทุกข์ยาก ก็ไม่มีเหตุปัจจัยสำนึกในความเป็นเราขึ้นมา และถ้าไม่มีความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะอันเกิดจากการสำนึก ก็ไม่มีอะไรที่จะลบล้างความทุกข์ได้เช่นกัน พุทธะแท้จริงมันก็คือความเป็นพุทธะตามธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้นมิได้ เกี่ยวข้องกับสิ่งอื่นใดเลย เพียงแต่ความทุกข์เป็นเหตุและปัจจัยเดียว ที่ทำให้เราก้าวเดินมาสู่ความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะนี้

    เมื่อเรายัง ถูก อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ครอบงำ ท่านก็ยังอยู่ฝั่งทางนี้ เมื่อท่านมีธรรมชาติแห่งการระลึกได้อยู่ทุกขณะว่า แท้จริงนี้คือความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะอยู่อย่างนั้น ท่านก็อยู่ฝั่งทางโน้น และเมื่อใดจิตของท่านได้เป็นจิตอันคือธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น ตั้งแต่แรกเริ่มเดิมที โดยเป็นธรรมชาติแห่งความมีอิสระ ไม่ยึดติดไม่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ภายนอก ท่านก็อยู่เหนืออำนาจแห่งความหลง ใน อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ท่านอยู่เหนือความรู้แจ้งอันทำให้ท่านเป็นอิสระ โดยที่ท่านเป็นอิสระต่อการจะต้องอยู่ฝั่งทางนี้หรือฝั่งทางโน้น พระตถาคตเจ้าก็มิได้อยู่ฝั่งทางนี้หรือฝั่งทางโน้น



    [​IMG]



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> <tr class="row1"> <td class="profile" align="center">
    </td> </tr></tbody></table>
     
  2. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    <table class="tablebg" cellspacing="1" width="100%"><tbody><tr class="row2"><td valign="top"><table cellspacing="5" width="100%"><tbody><tr><td>หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
    ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    บทที่ 41 กรรม

    อวิชชา ตัณหา อุปาทาน แห่งตนย่อมพาสร้างกรรม แต่กรรมมิได้เป็นผู้สร้างคน เพราะคนคือธรรมชาติที่เป็นมาอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว เพราะเขาพากันก่อกรรมต่างๆ และต้องรับผลแห่งกรรมนั้นไปบนหนทางที่ไม่มีวันสิ้นสุด ความเป็นคนไม่เคยพ้นเส้นทางกรรม มีแต่คนที่รู้จักตนเองในความเป็นธรรมชาติแห่งตนที่ได้เกิดมา คนเหล่านี้ได้เดินไปบนมรรคแห่งความเป็นธรรมชาติแล้ว ย่อมไม่สร้างกรรมในชีวิตนี้และไม่ต้องรับผลกรรม บุคคลผู้เดินอยู่บนมรรคอันบริบูรณ์ถึงพร้อมนี้ อาจสร้างกรรมด้วยการกระทำแสดงออก แต่บุคคลเหล่านี้ก็มิได้สร้างความเป็นตัวเอง ในความเป็นตัวตนในการกระทำนั้น ปุถุชนผู้ชอบทำกรรมและยืนยันอย่างผิดๆต่อความเป็นจริงว่า "กรรมที่ทำย่อมไม่มีผลตอบสนอง" ก็ในเมื่อพวกเขาคิดเช่นนี้ หากกรรมเหล่านั้นให้ผลตอบสนอง พวกเขาจะทนทุกข์ได้หรือไม่ เขาไม่สามารถรู้ได้เลยว่าจิตปัจจุบันของเขาเองได้สั่งสมกรรมอะไรมา สภาพจิตที่เกิดขึ้นด้วยการยึดมั่นถือมั่น ด้วยเหตุและปัจจัยในกาลข้างหน้า ก็ย่อม "เก็บเกี่ยวผล" มีความเกี่ยวข้องกับผลกรรมนั้นอีกต่อไป และพวกเขาก็ต้องเผชิญหน้ากับกรรมเหล่านี้ เพราะพวกเขายังไม่มีความเป็นอิสระอย่างแท้จริงตามธรรมชาติ พวกเขาจะหลบหลีกผลกรรมนั้นได้อย่างไร แต่ถ้าความเป็นจริง พวกเขาได้รู้จักความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะของตน และเป็นอิสระอยู่นอกเหนือกรรม จิตอันเป็นปัจจุบันของพวกเขา ก็เป็นจิตที่เป็นธรรมชาติแห่งพุทธะ แล้วสภาวะจิตของพวกเขาในวันข้างหน้า ก็คงเป็นจิตที่เป็นธรรมชาติเช่นนี้อยู่เหมือนเดิม จึงเป็นจิตที่ไม่สามารถสั่งสมกรรมได้อีกต่อไป

    ในพระสูตรกล่าวว่า แม้ชาวพุทธจะมีความเลื่อมใสในความเป็นพระพุทธเจ้า แต่ชาวพุทธเหล่านี้ก็มองความเป็นพระพุทธเจ้าไปแบบผิดๆ พวกเขาเข้าใจว่ามีเพียงความเป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น ที่ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และยังคิดเลยเถิดไปไกลอีกว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้บันดาลให้เกิดโชคลาภ พวกนี้ไม่อาจเข้าใจในความหมาย แห่งความเป็นพระพุทธเจ้าที่แท้จริงได้ พวกนี้เป็นมิจฉาทิฐิไม่อาจเชื่อถือได้ คนที่เข้าใจคำสอนแท้จริงของบัณฑิต ก็สามารถกลายเป็นบัณฑิตได้ คนที่เข้าใจคำสอนของปุถุชนและถูกครอบงำให้ปฏิบัติตาม เขาก็เป็นปุถุชน บุคคลผู้มีความเป็นบัณฑิตย่อมมองหาคนที่รู้ถึงความเป็นจริง และสามารถสั่งสอนเขาได้

    ในพระสูตรกล่าวว่า "อย่าสอนธรรมอันแท้จริงให้แก่คนที่ไม่เข้าใจ" และยังมีข้อความอีกว่า "ใจซึ่งคือความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะนั้น คือ คำสอน" คนที่ไม่เข้าใจธรรมชาติเขาย่อมมีความยึดมั่นถือมั่นในทิฐิของเขา และเมื่อพวกเขาปฏิเสธความจริงอันคือธรรมชาตินี้ การปฏิเสธจะทำให้พวกเขาหันหลังให้กับความจริง ด้วยทิฐิที่พวกเขาพยายามก้าวเดินไปในหนทางอื่นอันหลงทาง ไม่อาจหวนกลับมาสู่ความจริงได้ เมื่อเขายังไม่เข้าใจเราก็ยังไม่ควรสอนเขา การสอนโดยขาดความศรัทธาความเชื่อในความเป็นจริงตามธรรมชาติ ย่อมก่อให้เกิดผลเสียตามมาอย่างมากมาย คนพาลผู้ขาดปัญญาเหล่านี้ ย่อมชอบหาความรู้ไกลความเป็นจริงแห่งตัวเองออกไป และเป็นการหาความรู้ที่ไม่ก่อประโยชน์อันใด เช่น ใฝ่หาเอากับพระพุทธรูป ธูปเทียนและแสงสีเป็นต้น พวกเขายอมให้จิตของเขาถูกกดขี่ไปด้วยอำนาจอวิชชา แห่งการสวดมนต์อย่างหลงใหล และยอมเสียความเป็นธรรมชาติแห่งจิตของตนเอง ไปกับสิ่งเหลวไหลไร้สาระ

    พระสูตรกล่าวว่า "เมื่อท่านเห็นปรากฏการณ์ทั้งปวงไม่เป็นปรากฏการณ์ ท่านย่อมเห็นตถาคตเจ้า" ประตูที่นำไปสู่สัจจะความเป็นจริงนั้นเป็นหมื่นเป็นแสน ทุกๆประตูเหล่านี้ก็สงบออกมาจากจิต เมื่อปรากฏการณ์แห่งจิตก็มิใช่จิตที่แท้จริง มันเป็นเพียงปรากฏการณ์ที่มิได้เกิดขึ้นเป็นตัวตนที่แท้จริงแต่อย่างใด มันย่อมเลือนหายไปเหมือนมิได้ปรากฏขึ้นมาก่อนเลย มันจึงเป็นปรากฏการณ์ที่มิใช่ปรากฏการณ์ เมื่อปุถุชนมีชีวิตอยู่ เขาย่อมกังวลถึงความตาย และเมื่อพวกเขามีชีวิตที่สมบูรณ์พูนสุข พวกเขาก็กังวลถึงความหิว ที่เป็นเช่นนี้เพราะพวกเขาใช้ชีวิต ด้วยความอยากแห่งอวิชชา ตัณหา อุปาทาน อยู่ตลอดเวลา ผู้รู้แจ้งย่อมมีชีวิตอยู่เพื่อรอสัจธรรมแห่งชีวิตคือความตาย ผู้รู้แจ้งเมื่อชีวิตเขามีความสุข พวกเขาก็มีความสุขที่แท้จริงแห่งสัจธรรมตามธรรมชาติ เขาย่อมไม่มีความกังวลใดๆ เมื่อหิวเขาก็ย่อมกิน เมื่อง่วงเขาก็ย่อมนอน

    ชีวิต ของปุถุชนคือชีวิตที่แปรผันไปตามเหตุและปัจจัยอยู่เสมอ แต่ชีวิตของบัณฑิตผู้ที่เดินบนมรรค ย่อมไม่กังวลถึงอดีต และไม่คิดถึงอนาคต และไม่ยึดติดอยู่กับความเป็นปัจจุบัน จิตอันคือธรรมชาติของบัณฑิตเหล่านี้ย่อมเป็นอิสระอย่างแท้จริง ย่อมอยู่นอกเหนือการไปการมาแห่งทุกห้วงของกาลเวลา ถ้าท่านเป็นผู้มืดบอดหลงอยู่ในวังวนแห่งชีวิตตนเอง ก็ขอให้ท่านรีบตื่นออกมาจากความหลับใหล แล้วหันหน้ามาเผชิญต่อความเป็นจริง อย่าหมกมุ่นอยู่กับชีวิตอันขาดสติของตนอีกต่อไป



    [​IMG]




    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> <tr class="row2"> <td class="profile" align="center">
    </td> </tr></tbody></table>
     
  3. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
    ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    บทที่ 42 ปฏิบัติตามธรรมชาติ

    "ผู้ที่มีความตั้งใจที่จะเข้าถึงความหลุดพ้น จากกรรมวิบากความทุกข์ทั้งปวง เขาจะต้องปฏิบัติอย่างไร"

    วิธี ปฏิบัติที่ดีที่สุด คือการปฏิบัติไปตามความเป็นจริงตามธรรมชาติแห่งจิต เพราะแท้จริงแล้วจิตเป็นรากเหง้าแห่งความเป็นธรรมชาติ ของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว มันเป็นความเจริญเติบโตของสิ่งทั้งปวง ที่ล้วนออกมาจากความเป็นจิตที่แท้จริง ดังนั้นถ้าท่านเข้าใจในความเป็นจิต ทุกๆสิ่งก็ถูกรวมไว้ในจิตนี้หมดแล้วเช่นกัน จิตอันคือความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะนี้ มันเสมือนเป็นรากของต้นไม้ เพราะผลดอกกิ่งก้านสาขาและใบ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของความเป็นต้นไม้ทั้งหมด ล้วนอาศัยรากของมัน รากเป็นส่วนที่หาอาหารมาหล่อเลี้ยงลำต้น เพื่อให้ดอกใบเจริญเติบโตงอกงาม ถ้าบำรุงที่รากของมัน ต้นไม้ก็มีความเจริญเติบโตด้วยความอุดมสมบูรณ์ ถ้าท่านตัดราก ต้นไม้ก็ตาย

    คน ที่เข้าใจจิตของตนว่า ทุกสรรพสิ่งย่อมออกมาจากจิตของตน และทุกๆสรรพสิ่งกับจิตนี้ ย่อมมีความเสมอภาคมีเนื้อหาเป็นอันเดียวกัน ในความเป็นธรรมชาติของมันมาตั้งแต่แรกเริ่ม คือความว่างเปล่าไร้ความเป็นตัวเป็นตนอยู่อย่างนั้น เมื่อเข้าใจว่าจิตเป็นธรรมชาติแบบนี้แล้ว คนคนนั้นก็สามารถบรรลุธรรม โดยใช้ความเพียรพยายามในการทำความเข้าใจในธรรมชาติ และกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับมันด้วยเหตุแห่งความเข้าใจนั้น โดยใช้เวลาเพียงไม่นาน ส่วนคนที่ไม่ปฏิบัติธรรมโดยไม่เข้าใจจิตใจของตนเอง ปฏิบัติธรรมไปก็ไร้ประโยชน์ ความดีหรือความเลวล้วนออกมาจากจิตของท่านเอง การค้นหาสิ่งภายนอกนอกจากจิตอันคือธรรมชาตินี้ ย่อมเป็นไปไม่ได้

    "การเข้าใจความเป็นจิตของตนอย่างไร จึงจะถือว่าเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง"

    เมื่อ พระพุทธองค์ทรงค้นพบสัจธรรมความเป็นจริงอันยิ่งใหญ่ พระพุทธองค์ทรงรู้แจ้งชัดว่า ธาตุทั้งสี่ขันธ์ทั้งห้า แท้ที่จริงมันหามีตัวตนแห่งขันธ์ธาตุทั้งหลายไม่ โดยธรรมชาติมันย่อมเป็นความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวตนอยู่อย่างนั้น และรู้แจ้งชัดว่าจิตนี้โดยธรรมชาติ มันคือความบริสุทธิ์โดยตัวมันเองอยู่อย่างนั้น แต่ถ้าหากปรุงแต่งเป็นปรากฏการณ์แห่งจิตต่างๆที่เกิดขึ้น จิตเหล่านี้ก็เป็นความไม่บริสุทธิ์โดยเนื้อหามันเองอีกเช่นกัน จิตที่บริสุทธิ์พอใจในการกระทำความดี โดยทำไปแบบนั้นตามธรรมชาติของจิต แต่จิตที่ไม่บริสุทธิ์ก็ถูกปรุงแต่งขึ้น ตามอำนาจแห่งอวิชชา ตัณหา อุปาทาน แห่งการทำความดีและการทำชั่ว บุคคลที่มิได้รับผลกระทบใดๆจากอำนาจแห่งจิตชั่ว คือผู้ที่เป็นอิสระแล้วในความเป็นธรรมชาติแห่งเขาเหล่านั้น บุคคลเหล่านี้ย่อมอยู่ในความทุกข์และในสุขอันยั่งยืน โดยปราศจากความแปรผันด้วยความหมดเหตุปัจจัยในการปรุงแต่ง เป็นความสุขในความเป็นธรรมชาติแห่งการหลุดพ้นนั้น ส่วนปุถุชนผู้มืดบอดย่อมถูกบีบคั้นด้วยจิตสกปรก และยุ่งเหยิงซับซ้อนด้วยกรรมต่างๆนานาแห่งตน เพราะจิตสกปรกแปดเปื้อนมลทิน ไปด้วยการปรุงแต่งในลักษณะหลากหลาย ย่อมปิดบังธรรมชาติที่แท้จริงแห่งความเป็นเขาเหล่านั้น ด้วยอำนาจแห่งการปรุงแต่งจึงพาเขาต้องไปเวียนว่ายตายเกิด ในภพทั้งสามอยู่อย่างนั้น

    ในพระสูตรได้กล่าวว่า "ในความเป็นปุถุชน ก็มีความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะที่ไม่อาจทำลายมันลงไปได้ เหมือนกับดวงอาทิตย์ที่แสงของมันได้สาดส่องไปทั่ว แต่เมื่อใดมันถูกปกคลุมด้วยเมฆหมอกอันหนาทึบ ด้วยเงาของขันธ์ทั้งห้า มันก็เหมือนแสงที่อ่อนแสงด้วยการถูกบดบังนั้น"

    และในพระสูตรยังกล่าว อีกว่า "ปุถุชนย่อมมีธรรมชาติแห่งพุทธะ แต่มันถูกปกคลุมไปด้วยอำนาจมืดแห่งอวิชชา ความเป็นพุทธะก็คือธรรมชาติแห่งความเป็นจริง ที่มันว่างเปล่าโดยความเป็นมันเองอยู่อย่างนั้น การรู้ชัดแจ้งในความเป็นธรรมชาตินี้ คือความหลุดพ้น" การประจักษ์แจ้งในความเป็นธรรมชาติแห่งจิตตน จึงเป็นรากฐานอันคือรากของต้นไม้ที่หาอาหารเลี้ยงบำรุงลำต้น จึงก่อให้เกิดต้นไม้แห่งธรรมและผลิตผลออกมาเป็นนิพพาน การเข้าใจจิตของตน ด้วยความหมายแห่งความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะนี้ จึงเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง อันคือ สัมมาทิฐินั่นเอง

    "ก็ในเมื่อธรรมชาติแห่งพุทธะ มีธรรมชาติแห่งการระลึกรู้ได้อยู่ทุกขณะ(สัมมาสติ)เป็นรากเหง้า แล้วอะไรเล่าเป็นรากเหง้าแห่งอวิชชา"

    จิต อันมิใช่ธรรมชาติแต่เป็นจิตที่หลงผิดไปในอวิชชา ย่อมประสบแต่ความทุกข์ ซึ่งเป็นความทะยานอยากไปในความชั่วร้ายอันไม่รู้จักจบจักสิ้น อวิชชาได้หยั่งรากลึกตัวมันเองลงไปในกิเลสทั้งหลาย คือ โลภะ โทสะ โมหะ ก็ในเมื่อจิตซึ่งมีอวิชชาเป็นรากเหง้า มันก็ถูกห่อหุ้มไปด้วยกิเลสต่างๆ มันย่อมเอาความชั่วนานัปการรวมเข้าไว้ด้วยกัน กิเลสทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นจากอายตนะทั้งหกของเรานี่เอง กิเลสคือพวกโจรทั้งหลายมันผ่านเข้าออกตามทวารของรูปกาย คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และด้วยความทะยานอยากไปในตัณหา อุปาทาน อันไม่มีประมาณด้วยอำนาจแห่งมัน โจรเหล่านี้มันก็ทำให้เราหมกมุ่นอยู่ในความชั่วร้าย และมันสามารถปกปิดความเป็นธรรมชาติแห่งจิต อันคือจิตที่แท้จริงของเราได้ มันจึงทำให้เราต้องเร่ร่อนไปในภพทั้งหลาย และประสบแต่ทุกข์ภัยต่างๆอันหาประมาณมิได้เช่นกัน



    [​IMG]



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
     
  4. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    <table class="tablebg" cellspacing="1" width="100%"><tbody><tr class="row2"><td valign="top"><table cellspacing="5" width="100%"><tbody><tr><td>จบบริบูรณ์






    [​IMG]






    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> <tr class="row2"> <td class="profile" align="center">
    </td> </tr></tbody></table>
     
  5. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    หนังสือ "คำสอนเซน ภาคเซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
    มีวางขายจำหน่ายตามร้านหนังสือทั่วไป
    ในราคาเล่มละ 239 บาท ความหนา 340 หน้า
    ขอขอบคุณที่ติดตามอ่านโพสต์




    [​IMG]





    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
     

แชร์หน้านี้

Loading...