หนังสือ "คำสอนเซน ภาคเซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ใจต่อใจ, 13 มีนาคม 2014.

  1. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
    ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    บทที่ 20 การเกิดขึ้นแห่งธรรม

    ธรรม อันไม่ใช่สัมมาทิฐิ ซึ่งเป็นธรรมที่เกิดจากความเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้า แล้วก่อให้เกิดเป็นอวิชชา ตัณหา อุปาทาน และกลายเป็นจิตซึ่งเป็นทิฐิความคิดเห็นต่างๆ ซึ่งไม่ตรงต่อความเป็นจริง ก็โดยตัวมันเองแล้วแห่งการที่เราเข้าไปยึด มันก็ล้วนแต่เป็นการเข้าไปจับฉวยจับกุมในเนื้อหาธรรมนั้นๆ ให้เกิดขึ้นในความรู้สึกในความเข้าใจของเรา ไปในทางความหมาย แห่งความเป็นตัวเป็นตนของธรรมนั้นๆอยู่ตลอดเวลา การที่เราตกไปสู่ห้วงลึกแห่งการถูกครอบงำอยู่ตลอดเวลา ในทิฐิความเห็นซึ่งไม่ตรงต่อเนื้อหาความเป็นธรรมชาตินั้น มันก็กลายเป็นการเกิดขึ้นแห่งธรรม (เป็นตัวตนแห่งธรรมขึ้นมา) อันอยู่บนพื้นฐานแห่งทิฐินั้นอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน

    ก็มาในบัดนี้ เมื่อเราเกิดมีความศรัทธาที่จะก้าวเดินเข้ามาสู่เส้นทางสัมมาทิฐิ ซึ่งเป็นความเห็นที่ถูกต้องตรงต่อความเป็นจริงตามธรรมชาติ ตถาคตเจ้าจึงได้ทรงตรัสชี้ทางอันเป็นหนทางที่แท้จริงถูกต้อง โดยท่านทรงชี้ให้ "พิจารณาเห็น" ถึง สภาพธรรมอันคือธรรมชาติ ที่มันดำรงเนื้อหาของมันเองตามธรรมชาติอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว เป็นการพิจารณาในเนื้อหาธรรมนั้นๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างแจ้งชัด โดยไม่มีอะไรเป็นความลังเลสงสัยให้เหลือแม้แต่นิดเดียว อันจะทำให้เราพลัดหลงไปในเส้นทางอื่นอันเป็นความหลงผิดได้อีก เมื่อเราได้พิจารณาและมีความเข้าใจอย่างตระหนักชัดแจ้ง ในความเข้าใจในธรรมอย่างชัดเจนแล้ว ก็โดยเนื้อหาแห่งความเป็นจริง การพิจารณาธรรม "จนเกิดภาพในความเป็นรูปลักษณ์แห่งธรรมนั้นๆ" จนทำให้เราเข้าใจในความเป็นไปในลักษณะหน้าตาแห่งมัน มันจึงเป็นการ "เข้าไปยึดมั่นถือมั่น" ในสภาพธรรมนั้นๆขึ้นมา มันจึงเป็นเพียงปรากฏการณ์ แห่งการเกิดขึ้นของธรรมนั้นๆที่เป็นอัตตาเป็นตัวเป็นตน เพื่อมารองรับความเข้าใจแห่งเราในการที่ได้พิจารณาไป ก็การพิจารณาธรรม ซึ่งเนื้อหามันก็เป็นการเกิดขึ้นในความเป็นตัวเป็นตนแห่งธรรมนี้ มันจึงเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพราะอำนาจแห่งการเข้าไป ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้าที่เกิดขึ้น ในการปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรม มันเป็นความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนแห่งการเข้าไปพิจารณานั้น การพิจารณาธรรมก็เป็นไปเพียงแค่ประโยชน์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในธรรมอย่างถ้วนทั่ว ในความเป็นจริงแห่งเนื้อหาของมันแต่เพียงเท่านั้น แต่ความเป็นธรรมชาติแห่งธรรมอันแท้จริง มันคือความเป็นไปในเนื้อหาของมันเอง "ตามธรรมชาติ" อยู่อย่างนั้นแต่เพียงเท่านั้น ธรรมชาติมันเป็นความนอกเหนือทุกสรรพสิ่ง ด้วยความหมายแห่งตัวมันเอง มันเป็นความหมายที่อยู่นอกเหนือความเป็นเหตุและผลทั้งปวง มันเป็นความหมายที่อยู่นอกเหนือการพิจารณาใดๆทั้งปวงเช่นกัน

    เพราะ ฉะนั้นการปรุงแต่งเพื่อพิจารณาธรรมสัมมาทิฐิ อันคือปรากฏการณ์การที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งๆ เป็นอัตตาเป็นตัวเป็นตนแห่งธรรมในสัมมาทิฐิทั้งหลายนั้น มันเป็นเพียงมายาแห่งจิตที่กระทำขึ้น การเกิดขึ้นเช่นนี้มันจึงหาใช่ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ตามความเป็นจริงตามธรรมชาติไม่ เพราะธรรมชาติมันคงเนื้อหาแห่งความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น จึงถือว่ามันไม่เคยมีการเกิดขึ้นแห่งธรรมซึ่งเป็นอัตตาตัวตนต่างๆ เหล่านี้ขึ้นมาก่อนเลย มันคงมีแต่ความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นของมันเอง ตามสภาพธรรมชาติอยู่อย่างนั้น




    [​IMG]




    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
     
  2. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
    ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    บทที่ 21 ธรรมชาติยังคงอยู่

    สรรพ สัตว์ทั้งหลาย การมาสู่ด้วยความยินดีของท่านในภพชาติ แท้ที่จริงมันเป็นการมาเพื่อที่จะต้องจากไปอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว มันเป็นการมาที่ถูกตรึงไปด้วย "เหตุและผล" เหตุและผลแห่งการที่จะต้องมาๆไปๆ ไปๆมาๆ บนเส้นทางที่ไม่มีจุดจบแห่งการถูกบังคับพาไป ในเนื้อหาแห่งการ "ต้องเกิด" ด้วยอำนาจแห่งอวิชชาแต่เพียงเท่านั้น การดำรงอยู่ด้วยความเกี่ยวพันอยู่ตลอดเวลาแห่งความมีความเป็น มันจึงถูกบรรจุซึ่งเต็มไปด้วยรสชาติความรู้สึกต่างๆ ในความเป็นไปแห่งการดำรงชีวิต ที่เรียกมันว่า "ประสบการณ์" ความทุกข์ที่ได้รับก็ล้วนแต่ไม่เคยมีใครสักคน เข็ดหลาบในรสชาติความร้อนรนแห่งมัน เพราะด้วยความทะยานอยากอย่างมากมายในใจแห่งมนุษย์เป็นที่ตั้ง ความมุ่งหวังเหล่านี้จึงกลบหน้าตาอันแท้จริงของธรรมชาติไป ความทุกข์จึงเป็นครูสอนปุถุชนผู้มืดบอดได้แต่เพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น ทุกชีวิตล้วนแต่มีความตายรออยู่เบื้องหน้า อันเป็นจุดสุดท้ายในภพนั้นๆอยู่เสมอ เมื่อกระบอกม่านตาจะต้องปิดลงเป็นครั้งสุดท้าย ในปลายทางเส้นชัยแห่งความตายนั่นเอง ความมืดมิดในดวงตาของท่าน มันทำให้ไม่รู้ความจริงเลยว่า ในความตายที่กำลังจะมาเยือน ในความหมายของชีวิตที่กำลังจะถูกพลัดพรากไป แท้ที่จริงแล้ว ในความตาย "ชีวิตที่แท้จริง" ก็ยังคงอยู่

    ในบางครั้งในบางขณะ การได้ถอนหายใจแรงๆให้กับตนเองสักเฮือกหนึ่ง เพื่อหาพื้นที่แห่งเสี้ยวเวลา ปลดปล่อยใจตนเองออกจากความรู้สึกตรงนั้น มันบ่งบอกได้ว่าชีวิตนี้ได้ตกระกำลำบากมามากแล้วเพียงไหน ความถูกอัดแน่นไปด้วยความรู้สึกที่ถูกบีบคั้น ที่มีสาเหตุมาจากมุมมองในชีวิตแห่งตน ได้มองผิดไปจากความเป็นจริงแห่งธรรมชาติ อสัจธรรมซึ่งคือธรรมอันไม่ใช่ความจริงทั้งหลาย ที่เราหลงเป็นเนื้อหาเดียวกับมันอย่างไม่ตั้งใจ "ความไม่จริง" ที่เรามองว่ามันเป็นความจริงแท้ จึงทำให้เราหลงติดกับดัก เข้าไปยื้อแย่งความจริงอันเป็นสิ่งลวงนั้นมาเป็นของเราอยู่อย่างนั้น ก็ในความที่มันหามีตัวมีตนไม่ ซึ่งมันตกอยู่ในสภาพที่จะต้องพลัดพรากจากเราไปอยู่เสมอๆ ความเหนื่อยล้าที่จับฉวยคว้าเอาสิ่งที่ไม่เคยมีตัวมีตนอย่างแท้จริง ซึ่งมันไม่มีวันที่จะอยู่กับเราไปได้ตลอดเลย ความพยายามในความล้มเหลวที่รออยู่ในผลของมันเองอยู่แล้วนั้น ก็อาจทำให้เราหมดกำลังใจในการที่จะใช้ชีวิตต่อไป ด้วยความท้อแท้ที่จะพยายามเติมเต็มชีวิตของตนให้ได้ตามที่มุ่งหวัง ก็อยากจะบอกว่า ในความเป็นจริงแล้ว ในความปรากฏแห่งอสัจนั้น สัจจะความเป็นจริงก็ยังคงอยู่ ไม่ได้หนีหายจากเราไปไหนเลย

    ในความมืด อันดำดิ่งจมลึกลงไปในห้วงแห่ง อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ความทะยานอยาก ที่เราไม่รู้และเลือกเอามาเป็นเข็มทิศนำทางชีวิตของเรา การก้าวเดินไปแต่ละก้าว จึงเป็นการก้าวเดินที่ปราศจากความมุ่งหมายในทุกทิศทาง เมื่อมืดจนมองไม่เห็น มันจึงเป็นการก้าวไปที่อาจจะทำให้เรา ก้าวไปเพื่อกลับมาสู่จุดจุดเดิม ที่เราพึ่งก้าวออกมาจากมัน เป็นจุดต้องทนอยู่ด้วยความทุกข์ใจด้วยความโง่เขลา ขาดความมีปัญญาเข้าไปแก้ไขให้กับชีวิตของตนเองอย่างแท้จริง การวนเวียนที่พาให้เรากลับมาสู่ความรู้สึกเดิมๆแบบซ้ำๆอยู่อย่างนั้น มันจึงเป็นความเบื่อหน่ายที่ต้องทนรับความรู้สึกนั้นไว้ และโยนมันออกไปจากใจเราก็ไม่ได้ ก็จงอย่าพึ่งท้อแท้ใจ เพราะความเป็นจริงตามธรรมชาติ ในความมืดมิดแห่งหัวใจ ก็ยังคงมีแสงสว่างแห่งปัญญา ที่ยังฉายแสงเจิดจ้าของมันอยู่อย่างนั้น มันรอเพียงให้เราหยิบไขว่คว้ามันมา เป็นกระบอกไฟฉายที่สามารถส่องทิศทาง ให้เราก้าวเดินไปในหนทางที่ถูกต้อง และเป็นจุดหมายปลายทางอันแท้จริง ที่มนุษย์ทุกคนต้องทำหน้าที่แห่งตน ก้าวไปยังจุดนั้นอยู่แล้ว





    [​IMG]




    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
     
  3. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
    ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    บทที่ 22 ความเพียรพยายาม

    ด้วย ความมีดำริไปในทางที่ชอบแห่งตน ที่จะหนีห่างจากสภาพความทุกข์ หนีห่างจากสภาพการปรุงแต่งทั้งหลาย อันเกิดจากอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ทั้งปวง อันเป็นเหตุให้เราเข้ามาศึกษาทำความเข้าใจในความเป็นตัวเอง แห่งสภาพความเป็นจริงตามธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้น การปรับมุมมองความเข้าใจให้ตรงกับความเป็นจริง ซึ่งเป็นทิฐิโดยชอบนั้น ด้วยการศึกษาจนเกิดความเข้าใจอย่างแจ้งชัดนั้น มันเป็นความสว่างไสวแห่งปัญญาที่มันเจิดจ้าอยู่อย่างนั้นไม่มีที่ติ มันเป็นแสงสว่างแห่งความเข้าใจถ้วนทั่ว ครบถ้วนตามกระบวนความ ในการเข้าใจปัญหาและในการแก้ไขปัญหาเป็นได้อย่างถูกต้อง และตรงต่อหนทาง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่นำพาเรา ไปสู่ความเป็นกลางที่แท้จริงของธรรมชาติ ซึ่งมันเป็นธรรมชาติที่ปราศจาก ความเคลื่อนไหวใดๆแห่งจิตในลักษณะทั้งปวง แต่การที่นำพาตนเองมาสู่ความเป็นสัมมาทิฐิอย่างเต็มตัวได้นี้ ยังถือว่าไม่ใช่เป็นความเพียรพยายาม แต่มันเป็นเพียงจุดเริ่มต้นแห่งเส้นทาง ที่จะนำไปสู่ความเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติได้แต่เพียงเท่านั้น มันจึงเป็นเพียงแต่การดำริชอบ

    แต่ด้วยการที่ไม่เข้าใจในความเป็น สัมมาทิฐิที่แท้จริง ว่าแท้จริงมันเป็นทิฐิมุมมองความเห็นที่ตรงต่อความเป็นธรรมชาติ ด้วยความเข้าใจที่ว่า ความเป็นธรรมชาตินั้นมันคือความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนอยู่แล้วอยู่อย่างนั้น แบบถ้วนทั่วเสร็จสรรพเด็ดขาด มันไม่เคยมีแม้กระทั่งขันธ์ธาตุหรือความเป็นขันธ์ทั้งห้า เกิดขึ้นได้เลยในความเป็นธรรมชาตินี้ มันเป็นธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าที่บริบูรณ์เต็มพร้อม มันเป็นความว่างเปล่าที่สมบูรณ์แบบโดยตัวมันเอง โดยเนื้อหามันเองอยู่แล้ว เมื่อยังไม่มีความเข้าใจในความหมายอันแท้จริง ก็ด้วยอวิชชายังปิดบังครอบงำให้เรามองเห็นความหมายที่แท้จริงนี้ ไปในทางความหมายอื่นซึ่งมันไม่ตรงต่อความเป็นจริง ก็ด้วยความเข้าใจแบบผิดๆนั้น จึงทำให้นักปฏิบัติทั้งหลายเร่งรีบขวนขวาย นำมาซึ่งวิธีปฏิบัติ ซึ่งมันสามารถจูงใจทำให้นักปฏิบัติทั้งหลาย คล้อยตามมันไปในวิธีดังกล่าว ก็ในเมื่อความเป็นจริง ความเป็นธรรมชาติอันคือสัมมาทิฐินั้น มันเป็นธรรมชาติโดยสภาพเนื้อหาของมันเองอยู่แล้วอยู่อย่างนั้น ความเป็นธรรมชาติโดยสภาพของมันเอง มันจึง "ไม่ใช่วิธี" แต่เมื่อนักปฏิบัติทั้งหลายหลงไปว่ามันควรมีวิธีปฏิบัติ ที่ทำให้ผลแห่งการปฏิบัติ (ซึ่งแท้ที่จริงมันคือความเป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น) มันเกิดขึ้นจากน้ำพักน้ำแรงการลงมือไป ในความเพียรพยายามของนักปฏิบัติเองนั้น การเข้าใจผิดในความหมายแห่งธรรมชาติ และการมุ่งทะยานไปข้างหน้า ที่หาเส้นชัยจุดหมายปลายทางไม่เจอ เพราะวิธีต่างๆที่นักปฏิบัติเข้าใจและน้อมนำมาเป็นทิศทางให้กับตนนั้น มันไม่ใช่การปฏิบัติที่แท้จริงตามวิถีหนทางแห่งธรรมชาติ แต่มันล้วนคือ ความหมายแห่งการปรุงแต่งของนักปฏิบัติเอง มันเป็นการปรุงแต่งขึ้นมาเป็นจิต เป็นจิตที่ปรุงแต่งไปในการปฏิบัติที่ผิดวิธีอยู่อย่างนั้น การปฏิบัติไปโดยไร้เป้าหมายทิศทาง และออกนอกเส้นทางธรรมชาตินี้ มันจึงเป็นเพียงการปรุงแต่งเป็นจิต ที่พัวพันนำพาให้ตนเองเป็นส่วนหนึ่ง แห่งการก่อปัญหาขึ้นมาใหม่ต่างหากจากความทุกข์เดิมของตน ด้วยความโง่เขลาแห่งตนเองด้วยอย่างหนึ่ง การปฏิบัติด้วย "การมีวิธี" นี้ มันจึงไม่ใช่ความหมายของความเพียรพยายามแต่อย่างใดเลย

    ก็ด้วยความ เป็นเราแห่งธรรมชาติดั้งเดิมแท้นี้ มันเป็นธรรมชาติแห่ง "ความเป็นจริง" ของมันอยู่แล้ว มันเป็น "ความเป็นจริง" ที่ไม่ต้องอาศัยเหตุและผลใดๆ มาสนับสนุนในความเป็นจริงของมันได้อีกเลย และมันเป็น "ความเป็นจริง" ที่คงสภาพมันอยู่อย่างนั้น มันเป็น "ความเป็นจริง" ที่ไม่ได้แสดงเนื้อหาของมัน เพื่อรองรับเหตุผลของใครคนใดคนไหน ว่า "ความเป็นจริงตามธรรมชาตินี้" คือการรู้แจ้ง คือการหลุดพ้น ซึ่งเป็นผลของการปฏิบัติของเขาคนนั้นเอง ความเพียรพยายามที่พยายามอธิบายให้กับตนเองว่า "ความเป็นจริงตามธรรมชาตินี้" คือภาวะแห่งการรู้แจ้งการหลุดพ้นของตน ซึ่งตนได้มองเห็นธรรมชาตินี้ได้อย่างทะลุปรุโปร่งถ้วนถี่แล้ว แต่การเข้าใจอย่างไม่มีที่สงสัยแห่งตน อันเกิดจากความเพียรพยายาม และภาพแห่งความชัดเจนหมดจดที่ตนเองเรียกว่า นี่คือการรู้แจ้งและหลุดพ้นแล้วนั้น มันจึงเป็นเพียงปรากฏการณ์แห่ง "อัตตาตัวตนในความเป็นธรรมชาติ" ที่เกิดขึ้น มันเป็นเพียงจิตที่ปรุงแต่งเกี่ยวกับ "การที่ตนมีความเข้าใจแล้ว" ในเนื้อหาธรรมชาติ ที่มันเป็นของมันเองอยู่อย่างนั้น มันเป็นเพียงการปรุงแต่งชนิดที่เรียกว่าเส้นผมบังภูเขา มันไม่ใช่ความเพียรพยายามที่แท้จริง

    แต่ความเพียรพยายามที่จะทำความ เข้าใจอย่างตระหนักชัดแจ้ง และ "สามารถ" ซึมซาบกลมกลืน กลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้ ที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน แบบเสร็จสรรพเด็ดขาดโดยตัวมันเองอยู่อย่างนั้น เมื่อธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันสามารถทำหน้าที่แห่งมัน ได้อย่างคล่องแคล่วไม่ติดขัด เมื่อเราสามารถเป็นหนึ่งเดียวกับมันได้แล้ว และสามารถดำรงชีวิตของตนเองได้อย่างมีอิสรภาพอย่างแท้จริง ไม่ตกอยู่ภายใต้ความมืดมิดใดๆอีก เป็นความสะดวกในการไปและการมา ในท่ามกลางอิริยาบถทั้งสี่ สามารถดำรงตนเองในสังคมได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และไม่เบียดเบียนใคร มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สำหรับผู้ที่อยู่รอบข้างและเขายังมีความขาดแคลน
    ก็ด้วยชีวิตที่ประกอบไป ด้วยความเมตตากรุณาแห่งคุณธรรม อันเป็นธรรมชาติในความเป็นตนเองนั้น ที่นำพาชีวิตของตนได้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข ใช้ชีวิตอยู่ภายใต้ร่มเงาแห่งบวรพระพุทธศาสนาได้สืบไป นี่คือความเพียรพยายามที่แท้จริงอย่างยิ่งยวด




    [​IMG]



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
     
  4. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
    ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    บทที่ 23 การเข้าถึง

    การ ถ่ายทอดธรรมอันคือธรรมชาตินี้ มันเป็นเพียงการสื่อด้วยความเข้าใจ ในความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงเป็นหลัก การสื่อด้วยภาษาพุทธะนี้หรือไม่ว่าจะด้วยวิธีใดๆ ก็ล้วนแต่มีความหมายไปในทางที่ทำให้เรา สามารถมีความซึมซาบกลมกลืนในความเป็นธรรมชาติ ของมันได้อยู่อย่างนั้นด้วยความแนบเนียนเป็นหนึ่งเดียว ในความเป็นเนื้อหาเดียวกันในธรรมชาตินั้น โดยไม่มีความรู้สึกถึงความแตกต่างและการแบ่งแยกออกเป็นสิ่งๆได้เลย ความเป็นหนึ่งเดียวแห่งทุกสรรพสิ่งในความเป็นธรรมชาตินั้น ก็คือความหมายแห่งการที่ "ธรรมชาติมันก็คงเป็นของมันอยู่อย่างนั้น" ซึ่งหมายความว่ามันเป็นของมันแบบนี้มานานแสนนานแล้ว และก็จะเป็นแบบนี้อยู่ตลอดไปตราบที่ไม่มีวันสิ้นสุด การอธิบายเพื่อให้เกิดความเข้าใจ และ "ความเข้าใจแล้ว" ในเนื้อหาธรรมชาตินี้ มันเป็นเพียงปรากฏการณ์ที่นำเราไปสู่ ปากประตูแห่งธรรมชาติเท่านั้น มันเป็นปากประตูที่ยังอยู่ไกลแสนไกลนอกขอบวงพุทธะ ถึงแม้ความเข้าใจดังกล่าวมันจะเป็นเหตุผลให้เรา "เข้าถึง" ความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะนั้นได้ แต่โดยสภาพเนื้อหาแห่ง "การเข้าถึง" ซึ่งเป็นเหตุผลให้เราได้อิงแอบ เพื่อให้เกิดความมั่นใจแก่ตัวเราเองว่า นี่คือธรรมชาติแห่งพุทธะ ที่เราสามารถทำความเข้าใจและได้พบเจอะเจอมันแล้ว สภาพแห่งการเข้าถึงดังกล่าวมันจึงยังเป็นเพียง "ความฝัน" ที่คุณได้นอนหลับตาลง และความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะนั้น มันก็ได้ตามมาหลอกหลอนคุณ ให้คุณฝันถึง "สภาพของมัน" อย่างเป็นตุเป็นตะ ก็ถ้าเมื่อคุณตื่นและลืมตาขึ้น ก็เพียงแค่คุณลืมตาตื่นต่อความเป็นจริง และก็เมื่อคุณได้ก้าวข้ามประตูแห่งความสงสัยนั้น เข้ามาเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติแห่งพุทธะนี้ได้แล้ว ซึ่งมันทำให้คุณไม่มีความแตกต่างอะไรเลย ในระหว่างความเป็นคุณเองกับความเป็นพุทธะนั้น มันจึงเป็นความเหมือนกันแบบถ้วนทั่วทุกอณูธรรมธาตุ แห่งอาณาจักรพุทธะซึ่งมันมีความกว้างใหญ่ ไม่มีที่สิ้นสุดไม่มีประมาณ รวมเขตแดนได้ถึงความเป็นอนันต์แห่งล้านโกฏิจักรวาล

    มันเป็นความหนึ่ง เดียวกันที่ไม่เคยมีทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคต มันเป็นความหนึ่งเดียวกัน "โดยไม่สามารถนำพาตัวเราเองออกไปจากมันได้" มันจึงไม่มีการออก ไม่มีการเข้า และไม่มีการเข้าถึง มันเป็นหนึ่งเดียวของมันอยู่อย่างนั้น




    [​IMG]



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
     
  5. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    <table class="tablebg" cellspacing="1" width="100%"><tbody><tr class="row1"><td valign="top"><table cellspacing="5" width="100%"><tbody><tr><td>หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
    ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    บทที่ 24 อิสรภาพที่แท้จริง

    ด้วย เหตุและปัจจัยที่ทำให้เรา ได้หมั่นประกอบกุศลกรรมมุ่งทำความดีให้กับตนเองและคนอื่นๆ ที่อยู่ร่วมกันในสังคมนั้น โดยตนเองได้ตั้งสัจจะวาจาได้อธิษฐานตั้งมั่นอย่างเด็ดขาดว่า จะเลิกการกระทำที่นำพาซึ่งความเบียดเบียนแก่ตนเองและผู้อื่น ในทุกรูปแบบได้อย่างเด็ดขาดนั้น ก็ด้วยเหตุและปัจจัยนี้ มันก็ทำให้เราได้มีความเป็นอิสรภาพแห่งใจในระดับหนึ่งแล้ว ในความเป็นมนุษย์ที่อยู่ในโลกแห่งความมีความเป็น ที่ต้องการให้ชีวิตของตนเองประสบแต่ความสุขสมหวังในชีวิต

    และด้วย เหตุปัจจัย ที่ทำให้เรามีความดำริเห็นชอบที่จะนำพาตนเอง เดินออกมาจากความทุกข์มาสู่ความเป็นจริงตามธรรมชาติ ซึ่งมันเป็นธรรมชาติที่อยู่นอกเหนือความสุขและความทุกข์ทั้งปวง ก็ด้วยเหตุและปัจจัยนี้ ทำให้เราได้มีความเป็นอิสรภาพนำมาสู่ชีวิตตนเองได้ ในระดับหนึ่งแล้วเช่นกัน

    และด้วยเหตุปัจจัย ที่ทำให้เราได้มีความเข้าใจตระหนักอย่างชัดแจ้งแล้ว ในเนื้อหาธรรมชาติซึ่งมีแต่ความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนอยู่อย่างนั้น ด้วยเหตุและปัจจัยนี้ ก็ทำให้เราได้มีความเป็นอิสรภาพในสัมมาทิฐินั้น ในระดับหนึ่งแล้วอีกเช่นกัน แต่มันก็ยังไม่ใช่อิสรภาพที่แท้จริง

    และการที่ธรรมชาติมันคงทำ หน้าที่ของมันอยู่อย่างนั้น ในเนื้อหาความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน แบบเสร็จสรรพเด็ดขาดโดยตัวมันเอง "อยู่อย่างนั้น" การที่ธรรมชาติมันคงความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงอยู่อย่างนั้น โดยที่ธรรมชาติแห่งความเป็นเรา ก็เป็นเนื้อหาเดียวกันไม่มีความแตกต่างใดๆเลย ในความเป็นธรรมชาตินั้น ก็ธรรมชาติมันเป็นของมันเองอยู่แล้ว ก็ธรรมชาติมันเป็น "ความเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว" มันจึงเป็นธรรมชาติของมันเองที่มิได้อาศัยเหตุและปัจจัยใดๆ และก็ด้วยความไม่ต้องมีเหตุและปัจจัยอะไรเกิดขึ้น และธรรมชาติมันก็คงทำหน้าที่ของมันตามธรรมชาติอยู่อย่างนั้น การไม่มีเหตุและปัจจัยซึ่งในความเป็นไปแห่งธรรมชาตินั้น การไม่ต้องอาศัยเหตุปัจจัยใดๆในการทำหน้าที่ของธรรมชาติมันเอง มันจึงเป็นการมีอิสรภาพอย่างแท้จริง มันเป็นอิสรภาพซึ่งมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ



    [​IMG]


    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> <tr class="row1"> <td class="profile" align="center">
    </td> </tr></tbody></table>
     
  6. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
    ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    บทที่ 25 ทางสายกลาง

    ทาง หรือแนวทาง ที่เป็นความหมายแห่งสภาพทิฐิทั้งหลาย มันก็เป็นเนื้อหาที่สามารถบ่งบอกถึง ลักษณะความหมายแห่งธรรมชนิดนั้น ที่เราได้ยึดเหนี่ยวเอามาเป็น "ความเป็นไป" ของตนเอง ตถาคตเจ้าจึงได้แบ่งทิฐิออกเป็นสองประเภท โดยท่านได้ทรงแบ่งแยกทิฐิออกตาม คุณลักษณะความเป็นธรรมธาตุแห่งทิฐินั้นๆ

    ก็โดยทั่วไปแห่งความหมายของ มิจฉาทิฐิโดยรวม ตถาคตเจ้าได้ทรงตรัสไว้ว่าเป็นทิฐิหรือความคิดเห็น ที่ไม่ตรงต่อความเป็นจริงตามธรรมชาติ เป็นทิฐิที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นจนกลายเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นต่างๆโดย ยึดเข้ามาเป็นความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ของตนเองอยู่อย่างนั้น ก็ในคืนราตรีแห่งการตรัสรู้ ตถาคตเจ้าท่านทรงได้รู้แจ้งแทงตลอดในธรรมธาตุ แห่งความเป็นธรรมชาติดั้งเดิมแท้ และด้วยความตระหนักอย่างชัดแจ้งในความจริง ของธรรมชาติแห่งสรรพสิ่งทั้งปวงนี้ ท่านจึงทรงตรัสเรียก "ความเข้าใจอย่างถูกต้อง" นี้ว่า "สัมมาทิฐิ" ซึ่งเป็นทิฐิความเห็นที่ถูกต้องตรงต่อความเป็นจริงแห่งธรรมชาติ ว่าธรรมชาตินั้นโดยสภาพแห่งมัน มันย่อมมีแต่ความว่างเปล่าไร้ความเป็นตัวเป็นตนของมันอยู่อย่างนั้น

    ก็ ด้วยความเป็นมิจฉาทิฐิทั้งหลาย มันจึงเป็นความหลงผิดที่เกิดขึ้น เป็นความคิดเห็นที่เข้าใจผิดต่อความเป็นจริงไปต่างๆนานา มันจึงเป็น "ทาง" ที่มีความหลากหลายในการก้าวพลาดไป ในเส้นทางแห่งความหลงผิดนั้น และด้วยความจริงที่ปรากฏตามธรรมชาติว่า หนทางหลากหลายในมิจฉาทิฐิเหล่านี้ ซึ่งล้วนแต่เป็น "ความมีและความเป็นตัวตน" เกิดขึ้น มันมิใช่หนทางอันจะทำให้ท่านทรงพ้นทุกข์ได้ เมื่อท่านได้ค้นพบหนทางที่สว่าง ถูกต้องตรงต่อความเป็นจริงตามธรรมชาติ ท่านจึงตรัสเรียกหนทางอันคือ อริยมรรค นี้ว่า "ทางสายกลาง" มันเป็น "ทางสายกลาง" ที่จะพาสรรพสัตว์ทั้งหลาย ดำเนินไปบนความนอกเหนือแห่งความมีความเป็นในทุกชนิดทุกรูปแบบ มันจึงเป็นทางสายกลางที่เป็นกลางโดยไม่มีความยุ่งเกี่ยว กับ "ความยุ่งเหยิงแห่งทิฐิที่มีความหลงผิดทั้งหลาย" ซึ่งมันเป็นความยุ่งเหยิงในความเกี่ยวพันแบบแนบแน่น ในความเห็นที่เป็นตัวเป็นตนอยู่อย่างนั้นแต่อย่างเดียว เพราะฉะนั้นทางสายกลาง มันจึงมีความเป็นกลาง "โดยสภาพธรรมชาติของมันเอง" เป็นสภาพที่เป็นเนื้อหาเดียวกันตลอดอยู่อย่างนั้น ในความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนอยู่อย่างนั้น มันมิใช่ความเป็นกลางเพื่อเป็น "ภาวะ" ต่างหาก จากความมีอยู่ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มันมิใช่ความเป็นกลางเพื่อเป็น "ภาวะ" ต่างหาก จากความไม่มีอยู่ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่ในความเป็นกลางอย่างแท้จริงตามธรรมชาติแห่งสัมมาทิฐิ มันเป็นกลางที่เป็นความว่างเปล่าปราศจาก "ความมีหรือความไม่มี" ความว่างเปล่าตามธรรมชาตินั้น มันมิได้หมายถึง การยืนยันว่า "ไม่มี" สิ่งใดอยู่ แต่ความว่างเปล่าตามธรรมชาตินั้น มันก็ "ทำหน้าที่" ในความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนของมัน "อยู่อย่างนั้น" มันว่างเปล่าโดยตัวมันเอง มิได้ว่างเปล่าเพราะความมีหรือความไม่มีสิ่งใด มันจึงเป็นเพียงความว่างเปล่าของมัน ตามธรรมชาติอยู่อย่างนั้นเองแต่เพียงเท่านั้น เพราะฉะนั้น "ความเป็นกลาง" ในทางสายกลาง มันจึงเป็น "ความเป็นกลาง" ตามธรรมชาติแห่งสภาพมันอยู่อย่างนั้น แต่ความหมายเดียว




    [​IMG]




    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
     
  7. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
    ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    บทที่ 26 นาข้าวแห่งพุทธโคดม

    เมื่อ ลมหนาวของต้นฤดู ได้พัดผ่านมาทางท้ายหมู่บ้าน ซึ่งบริเวณนั้นมีท้องทุ่งนาแปลงหนึ่ง เป็นนาที่อยู่ติดกับริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชลา ภายในนาข้าวแปลงนั้นมีต้นข้าวที่ท้องแก่รวงใหญ่ ขึ้นเบียดเสียดกันอยู่อย่างระลานตา และที่นั่นมีชาวนาที่ชื่อ "สมณพุทธโคดม" ท่านกำลังทรงใช้เคียวเก็บเกี่ยวข้าวในนาแปลงของตนอยู่ นาข้าวแปลงนี้อยู่ ณ บริเวณหมู่บ้านนิคม "อุรุเวลา" เป็นหมู่บ้านซึ่งมีความสงบเงียบ เป็นสถานที่ที่ร่มรื่นเป็นรมณียสถาน สะดวกด้วยโคจรคามในการเดินทางไปมา มีป่าชัฏเยือกเย็น แม่น้ำใสเย็นจืดสนิท และมีต้นโพธิ์ต้นใหญ่ยืนต้น ตั้งตระหง่านอยู่อย่างเห็นได้อย่างเด่นชัด ภายใต้ควงโพธิ์ต้นนี้ ชาวนาคนนั้นได้ใช้เป็นที่พักอาศัยแห่งตน เพื่อหลบแดดหลบฝน

    ต่อมาใน เวลาตะวันบ่ายคล้อยของวันนั้น มีพราหมณ์คนหนึ่งเดินผ่านมา และเห็นรวงข้าวในท้องนา จึงได้เอ่ยปากกล่าวชมข้าวในนาของพระองค์ท่าน ว่าพระองค์ท่านเป็นชาวนาที่เยี่ยมยอด มีความดูแลเอาใจใส่เพาะปลูกข้าวในนาได้เป็นอย่างดี พราหมณ์จึงถามต่อพระองค์ท่านว่า มีวิธีดูแลอย่างไร จึงได้ผลผลิตเป็นข้าวรวงทองสีเหลืองงามอร่าม พระพุทธองค์จึงทรงตรัสให้ฟังว่า เหตุที่ข้าวในนาของพระองค์ท่าน ทรงมีความอุดมสมบูรณ์ ข้าวมีรวงใหญ่ เมล็ดข้าวมีความสมบูรณ์ไม่เล็กลีบเรียว เพราะเมื่อ "ฤดูฝนแห่งการได้ตรัสรู้" ที่พึ่งได้ผ่านมาถึง ท่านทรงได้ใช้ศาสตร์แห่งการเป็นกสิกรชาวนา ที่ท่านทรงได้อบรมตนเองมาตลอดระยะเวลานานเป็นอสงไขย ลงมือเพาะปลูกเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ชื่อ "เมล็ดพันธุ์ข้าวแห่งพุทธะ" ลงในแปลงนาของท่าน โดยท่านทรงกล่าวว่า ในการทำนาเมื่อต้นฤดูฝนที่ผ่านมานั้น ท่านลงมือหว่านไถโดย
    "ใช้ศรัทธาของเราเป็นพืช ใช้ความเพียรของเราเป็นฝน ใช้ปัญญาของเราเป็นแอกและไถ ใช้หิริของเราเป็นงอนไถ ใช้ใจของเราเป็นเชือก ใช้สติของเราเป็นผาลและปฏัก ชาวนาอย่างเราคุ้มครองกาย คุ้มครองวาจา สำรวมในอาหารในท้อง ย่อมกระทำการถอนหญ้า คือ การกล่าวให้พลาดด้วยสัจจะ ความสงบเสงี่ยมของเรา เป็นเครื่องปลดเปลื้องกิเลส ความเพียรของเรานำธุระไป เพื่อธุระนำไปถึงแดนเกษมจากโยคะ ไม่หวนกลับมา ย่อมถึงสถานที่ที่บุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก การหว่านและไถนานั้น เราหว่านไถแล้วอย่างนี้ การหว่านและไถนานั้น ย่อมมีผลเป็นอมตะ บุคคลไถนานั่นแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง



    [​IMG]


    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
     
  8. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
    ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    บทที่ 27 พระพุทธเจ้าทั้งหลายมิได้แสดงธรรมอะไรเลย

    ธรรม ทั้งหลายที่ปรากฏมาในพระไตรปิฎก ถึงแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์นั้น สามารถแบ่งแยกแยะออกเป็นชนิดแห่งธรรมได้สองประเภท คือ ธรรมที่มีคุณลักษณะเป็นสังขตธาตุ ซึ่งคือธรรมธาตุที่มีลักษณะปรุงแต่ง เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปโดยตัวมันเอง และธรรมที่มีคุณลักษณะเป็นอสังขตธาตุ ซึ่งคือธรรมธาตุที่มีลักษณะ ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนของมันเองอยู่อย่างนั้น ก็ด้วยความที่พระพุทธองค์มาตรัสรู้และประกาศธรรมใน "กลียุค" เหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลายในยุคนี้ ล้วนเป็นผู้มืดบอดไร้ซึ่งความมีปัญญาอันแท้จริง จึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระพุทธองค์ต้องตรัสธรรมอันเป็นสังขตธาตุ คือ ธรรมว่าด้วยความมีความเป็น ความเป็นตัวเป็นตน ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ถึงแม้ธรรมเหล่านี้จะไม่ใช่ธรรมที่เป็นเหตุให้พ้นจากกองทุกข์ได้ แต่ด้วยการที่พระพุทธองค์ทรงมีความเมตตากรุณา แก่หมู่สัตว์น้อยใหญ่ ผู้ที่ยังต้องจมปลักอยู่ในเหตุปัจจัยแห่งตน และจะต้องไปเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ โดยไม่อาจมีเหตุปัจจัยที่จะหลุดพ้นในยุคที่ พระพุทธองค์กำลังประกาศศาสนาได้เลย พระพุทธองค์จึงจำเป็น ต้องตรัสธรรมอันคือสังขตธาตุไว้ในทุกลักษณะ เพื่อความเหมาะสมแก่บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายที่เข้ามารับธรรมนั้น

    พระ พุทธองค์ทรงตรัสเรื่อง การกระทำกรรมและการรับผลแห่งกรรม เพื่อให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ยังไม่มีปัญญามากพอ ที่จะเรียนรู้ศึกษาถึงธรรมซึ่งคือความเป็นจริงตามธรรมชาติได้ รับธรรมเหล่านี้ไปพิจารณาเพื่อให้เห็นคุณและโทษ แห่งการที่ตนได้ยึดมั่นถือมั่นและได้กระทำกรรมต่างๆเหล่านั้นออกไป

    พระ พุทธองค์ท่านทรงตรัสเรื่องการรักษาศีล เพื่อบรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายที่พอจะมีปัญญา แยกแยะถึงเหตุและผลได้พิจารณาถึงสภาพจิตใจของตน และให้ผู้ที่เข้าถึงพระรัตนตรัยเหล่านี้ ได้ปรับปรุงสภาพจิตใจของตนเอง ด้วยศรัทธาที่จะงดเว้นการปรุงแต่งจิตของตน ไปในทางเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ทั้งนี้เพื่อความสงบสุขแห่งใจตน และเพื่อความสงบสุขในสังคมที่ตนเองได้ดำรงชีวิตอยู่

    พระพุทธองค์ท่าน ทรงตรัสเรื่องการเจริญกรรมฐาน ก็เพื่อให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลาย ที่พอจะมีปัญญาและความเพียรที่จะพัฒนาตนเอง ให้ไปสู่หนทางหลุดพ้นได้อย่างแท้จริงในกาลข้างหน้า ท่านจึงทรงแนะนำบัณฑิตเหล่านี้ ให้รู้จักอุบายเพื่อทำจิตใจของตนให้สงบไม่ซัดส่ายไปในทิศทางอื่น ก็ด้วยความสงบซึ่งเกิดจากการทำกรรมฐานนี้ เป็นภาวะที่ปราศจากสิ่งที่เป็นอุปสรรคของใจ ซึ่งมันเป็นธรรมที่เข้ามาทำให้จิตใจขุ่นมัวไป ในภาวะสับสนต่างๆตามเหตุตามปัจจัยแห่งมัน เมื่อจิตมีความสงบชั่วคราว มันก็จะเป็นบาทฐานที่จะทำให้สามารถพิจารณาธรรมต่างๆ ได้อย่างเข้าใจแจ่มแจ้งมากขึ้นกว่าเดิม

    พระพุทธองค์ตรัสเรื่องธรรม อันคือธรรมชาติ ก็เพื่อให้เหล่าบัณฑิตที่มีปัญญามากพอแล้ว และมีเหตุปัจจัยที่จะทำให้หลุดพ้นในชาตินี้หรือชาติต่อๆไปได้ เข้ามาทำความเข้าใจธรรมที่แท้จริง ซึ่งมันเป็นเนื้อหาของมันอยู่อย่างนั้นตามธรรมชาติ มันเป็นธรรมชาติที่นอกเหนือไปจากเหตุปัจจัย ที่จะทำให้สรรพสัตว์ทั้งหลายต้องทนทุกข์ ไปเวียนว่ายตายเกิดแบบไม่รู้จบสิ้น

    ก็ ด้วยธรรมต่างๆเหล่านี้ที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสมา และถูกรวบรวมไว้ในพระไตรปิฎกถึงแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์นั้น หาใช่ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสขึ้นมาเองก็หาไม่ และเป็นความจริงที่ว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย รวมทั้งพระพุทธองค์ด้วยนั้น "ล้วนมิได้แสดงธรรมอะไรเลย" ท่านเพียงแต่ได้ตรัสสิ่งที่มันเป็นไปตามธรรมชาติ โดยเนื้อหาของมันเองแห่งธรรมชาตินั้นอยู่อย่างนั้น ธรรมบางอย่างก็มีเหตุและปัจจัยด้วยอาศัย "การที่มีสิ่งนี้จึงมีสิ่งนี้อยู่" เช่นนั้นเป็นแดนเกิดแห่งธรรมนั้นๆ ธรรมบางอย่างก็เป็นธรรมที่เป็นสภาพอยู่นอกเหนือเหตุและปัจจัย ด้วยการที่มันเป็นเนื้อหาของมันเองตามธรรมชาติอยู่อย่างนั้น โดยมิต้องอาศัยเหตุและปัจจัยใดๆเป็นแดนเกิดแห่งธรรมนั้น การตรัสธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จึงเป็นเพียงการหยิบยกธรรมซึ่งมีเหตุปัจจัย ให้ท่านได้ตรัสในขณะนั้นขึ้นมากล่าว ตามสภาพแห่งธรรมในขณะนั้น ตามความเป็นจริงตามเหตุตามปัจจัยแห่งมัน

    ก็ด้วยความเป็นพุทธวิสัย แห่งความเป็นพระพุทธเจ้า ที่จะต้องมาโปรดบรรดาสรรพสัตว์โดยรอบบารมีแห่งตน ในเส้นทางแห่งการสั่งสมบารมีของความเป็นพุทธะ ด้วยระยะเวลาที่ยาวนานนับไม่ถ้วนแห่งอสงไขย ตามธรรมธาตุแห่งคุณลักษณะในความเป็นพุทธะของแต่ละองค์นั้น การกระทำกุศลกรรมในทุกภพทุกชาตินั้น จึงเป็นไปในลักษณะเพื่อเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้การกระทำดังกล่าวนั้น เป็นผลกรรมเพื่อมาแสดงเป็นกรรม "ตามวาระ" และให้พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ตรัสถึงกรรมและธรรมนั้น และเนื้อหากรรมทั้งหมดทุกภพทุกชาติที่ผ่านมา มันจะถูกกรองด้วยระบบกรรมวิสัยโดยตัวมันเอง เพื่อให้พระพุทธเจ้าองค์นั้นๆได้ตรัสเรื่องกรรมและธรรมต่างๆนั้น ได้ครบทั้งหมดในความเป็นธรรมธาตุแห่งธรรมนั้นๆโดยถ้วนทั่ว เพราะฉะนั้นในรอบบารมีแห่งการที่จะมีพระพุทธเจ้า องค์ใดองค์หนึ่งลงมาตรัสแสดงธรรม เพื่อทำหน้าที่โปรดบรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายในรอบบารมีแห่งตน จึงเป็นการลงมาด้วยบารมีที่เป็นความเต็มพร้อมครบถ้วน แห่งเหตุและปัจจัยในทุกด้าน แห่งเนื้อหาลักษณะกรรมและลักษณะธรรมอย่างลงตัวไม่ขาดเกิน เพราะฉะนั้นเหตุและปัจจัยที่ทำไว้อย่างพร้อมเพรียง จึงเป็นเหตุและปัจจัยในทุกย่างก้าวที่พระพุทธเจ้าแต่ละองค์ ได้ทรงเสด็จดำเนินไปบนเส้นทางที่บริบูรณ์พร้อม เป็นความพร้อมอย่างลงตัวที่จะทำให้พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้หยิบยกเหตุปัจจัยในกรรมและธรรมเหล่านี้ขึ้นมาตรัส จนครบถ้วนไม่ขาดตกบกพร่อง แห่งเนื้อหาในการโปรดบรรดาสรรพสัตว์ในรอบของตน เพราะฉะนั้นธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสนั้น มันจึงเป็นเหตุปัจจัยที่พร้อมเพรียงและเรียงหน้ากันเข้ามา เพื่อเป็นเหตุให้พระพุทธองค์ได้ทรงหยิบยกขึ้นมาตรัส จนกว่าจะถึงวาระสุดท้ายที่ทรงเสด็จปรินิพพานจากโลกนี้ไป

    ธรรมมันจึง เป็นความเป็นจริงที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีหน้าที่เพียงเข้าไปหยิบธรรมเหล่านี้ ขึ้นมาตรัสสอนด้วยความรอบรู้แห่งตน เพื่อโปรดบรรดาสรรพสัตว์ตามเหตุและปัจจัยนั้นๆแต่เพียงเท่านั้น



    [​IMG]



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
     
  9. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
    ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    บทที่ 28 ไม่มีอริยสัจ

    ธรรม ที่เป็นสภาพในความเป็นมันอันแท้จริงนั้น มันก็คือความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนโดยตัวมันเอง ซึ่งหมายความถึงมันเป็นความว่างเปล่าอยู่อย่างนั้น โดยสภาพตามธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น ซึ่งเป็นไปตามความหมายที่ตถาคตเจ้าได้ทรงตรัสไว้ว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ซึ่งมีความหมายถึง ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ย่อมไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว ธรรมทั้งหลายย่อมคือธรรมชาติแห่งความว่างเปล่า โดยสภาพตัวมันเองอยู่อย่างนั้น แต่การอธิบายธรรมให้แก่ปุถุชนผู้มืดบอด เพื่อให้เกิดความเข้าใจในธรรมอันคือธรรมชาตินี้อย่างแท้จริง จึงเป็นการอธิบายเป็นไปในทางซึ่งการหักล้าง กับทิฐิเดิมของผู้ที่มืดบอดที่พวกเขาเหล่านั้นได้ยึดมั่นถือมั่นเอาไว้ ว่าทำไมธรรมซึ่งเป็นทิฐิเหล่านั้นจึงไม่ใช่ธรรมอันแท้จริง และเป็นการอธิบายเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ที่ตรงต่อสภาพธรรมอันคือธรรมชาติที่แท้จริง การอธิบายจึงเป็นไปในกระบวนการทำความกระจ่างชัดให้เกิดขึ้นว่า อะไรคือปัญหาที่คุณกำลังเผชิญหน้าอยู่ และสาเหตุแห่งปัญหานั้นเกิดขึ้นเพราะเหตุใด และอะไรคือหนทางแห่งการแก้ไขปัญหานั้น และท้ายที่สุด อะไรคือการแก้ไขปัญหาได้ตรงต่อความเป็นจริงตามธรรมชาติ การอธิบายเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างตระหนักชัดแจ้ง ในกระบวนการทั้งหมด "ของความเข้าใจ" เพื่อมุ่งไปสู่ความเข้าใจที่ถูกต้องอย่างแท้จริงนั้น มันคือความเป็นจริงอันยิ่งใหญ่ในหนทางที่จะพาพวกคุณ ไปสู่เส้นทางธรรมชาติที่แท้จริง ซึ่งมันเป็นเนื้อหาธรรมตามธรรมชาติแห่งความเป็นจริง ที่มันเป็นไปตามสภาพของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว ธรรมอันคือเนื้อหาธรรมเพื่อทำความเข้าใจ และเพื่อให้เกิดความตระหนักอย่างชัดแจ้งรู้แจ้งนี้ ตถาคตเจ้าทรงตรัสเรียกว่า "ธรรมอันคืออริยสัจ" ซึ่งเป็นธรรมที่มีเนื้อหาอยู่ 4 อย่าง คือ ธรรมอันคือ ทุกข์ ธรรมอันคือ สมุทัย เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ธรรมอันคือ นิโรธ ความดับไปแห่งธรรมทั้งหลาย อันคือสภาพธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น ซึ่งหมายถึงการแก้ไขปัญหาซึ่งคือความทุกข์ได้อย่างหมดจด ซึ่งเป็นการแก้ไขได้ด้วยความเป็นจริงที่มันเป็นไป ตามสภาพธรรมนั้นๆเองอยู่แล้วตามธรรมชาติ ธรรมอันคือ มรรค หนทางที่เป็นความพ้นทุกข์ และดำเนินไปสู่ความเป็นเนื้อหาเดียวกัน ของธรรมอันคือธรรมชาติที่แท้จริง แต่ด้วยธรรมอันคืออริยสัจนี้ เป็นธรรมชาติที่จะต้องนำมา "พิจารณา" เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริงและถูกต้อง เพื่อที่จะได้ดำเนินไปในทางนั้น ก็ด้วยการเข้าไปพิจารณาในธรรมเหล่านี้ ที่ว่าด้วยอะไรเป็นอะไรตามเหตุปัจจัยของธรรมนั้น อันเป็น "เหตุผล" ที่ทำให้เราเชื่อและเข้าใจในเนื้อหานั้น ได้ตรงต่อความเป็นธรรมชาติที่แท้จริง การพิจารณาดังกล่าวมันจึงเป็นการปรุงแต่งขึ้นมาเป็น "จิต" เป็นจิตที่เกิดขึ้นเพราะการเข้าไปพิจารณาธรรมต่างๆเหล่านั้น เป็นจิตที่เกิดขึ้นในความเป็นไปแห่งการแสดงภาพลักษณ์ แห่งความเข้าใจในธรรมอันแท้จริงของตน ขึ้นมาอย่างชัดแจ้งในมโนภาพ ดังนั้นธรรมอริยสัจมันจึงเป็น "ปรากฏการณ์" ในการเกิดขึ้นในความเป็นตัวเป็นตน เป็นอัตตาแห่งธรรมอันคืออริยสัจทุกครั้ง ที่เราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในการพิจารณาธรรมนี้

    ด้วยเหตุผลดังกล่าว ก็โดยสภาพแห่งธรรมอันคืออริยสัจ ที่เราได้พิจารณาและเกิดความเข้าใจในธรรมดังกล่าว มันจึงเป็นเพียงธรรมที่เกิดจากการปรุงแต่งไปในการพิจารณา มันจึงยังไม่ใช่สภาพธรรมอันคือธรรมชาติอันแท้จริง ซึ่งมันคงมีแต่ความว่างเปล่าเกิดขึ้นอยู่อย่างนั้น เมื่อกล่าวตามสภาพความเป็นจริง ธรรมอันคืออริยสัจที่เกิดขึ้น มันจึงหาใช่ความหมายในความเป็นตัวเป็นตนไม่ ธรรมชาติแห่งธรรมที่แท้จริงมันย่อมมีแต่ความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนของมัน ตามสภาพธรรมชาติของมันเองอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว จึงหามี "ธรรมอันคืออริยสัจ" นี้เกิดขึ้นอย่างแท้จริงไม่ จึงเสมือนว่า มันไม่เคยมีความปรุงแต่งธรรมอันคืออริยสัจนี้ เกิดขึ้นมาก่อนเลย มันคงมีแต่ธรรมชาติอันแท้จริง คงทำหน้าที่ ใน "ความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ของมันอยู่อย่างนั้น"

    นี่ ก็เป็นเหตุผลเดียวตามความเป็นจริง ที่ปรมาจารย์ตั๊กม้อ ได้ตอบคำถามต่อจักรพรรดิเหลียงบู๊ตี้ ที่ได้ถามปัญหาธรรมต่อท่าน ในคราวที่ท่านได้เดินทางมาสู่แผ่นดินจีนที่เมืองกวางโจวใหม่ๆ และท่านได้รับการนิมนต์เข้าไปยังเมืองหลวง ก็จักรพรรดิเหลียงบู๊ตี้องค์นี้ มีความศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก แต่ท่านก็ได้เอาแต่ทำบุญก่อสร้างวัดวาอาราม โดยมิได้ใส่ใจในการศึกษาพระธรรมอย่างแท้จริง ก็ในคราวนั้นจักรพรรดิเหลียงบู๊ตี้ได้ถามปรมาจารย์ตั๊กม้อว่า ธรรมอันคือ "อริยสัจ" คืออะไร ท่านปรมาจารย์ตั๊กม้อได้ตอบไปว่า "ไม่มี" คำตอบอันเป็นความจริงโดยสภาพแห่งธรรมมันเอง กลับทำให้จักรพรรดิเหลียงบู๊ตี้เกิดความขุ่นเคืองพระทัย ก็ความเป็นจริงโดยสภาพแห่งธรรมอันคือธรรมชาติอันแท้จริงนั้น มันย่อมไม่มีความเป็นตัวเป็นตนอยู่แล้ว ตามธรรมชาตินั้นมันย่อมเป็น ธรรมชาติแห่งความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนอยู่อย่างนั้น หามีธรรมใดๆหรือสิ่งใดๆจะเกิดขึ้นในความว่างเปล่าตามธรรมชาตินี้ ก็หาได้มีไม่ เพราะฉะนั้นการที่ปรมาจารย์ตั๊กม้อ ได้ตอบจักรพรรดิเหลียงบู๊ตี้ไปว่า "ธรรมอริยสัจ" นั้น "ไม่มี" จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง เป็นความถูกต้องตามธรรมชาติว่า จะหาความมีตัวตนในธรรมอริยสัจนี้ไม่ได้แม้แต่น้อยเลย ธรรมอริยสัจนี้มันจึงเป็นความว่างเปล่าตามธรรมชาติ ของมันอยู่อย่างนั้น หาเคยมีมันเกิดขึ้นไม่



    [​IMG]


    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
     
  10. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
    ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    บทที่ 29 เคลื่อนไหวดั่งสายลม

    ด้วย การที่เราสามารถทำความเข้าใจ ในความเป็นเนื้อหาแห่งธรรมชาติที่มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว ในความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ของมันอยู่อย่างนั้นได้อย่างตระหนักชัดแจ้ง โดยเป็นความเข้าใจอย่างถ้วนถี่ไม่มีความลังเลสงสัยอันใดเหลืออยู่ และสามารถซึมซาบกลมกลืนกลายเป็นเนื้อหาเดียวกัน กับความเป็นธรรมชาตินั้นได้อย่างแนบสนิท ชนิดที่เรียกได้ว่ามันเป็นหนึ่งเดียวในความเป็นธรรมชาติ
    โดยไม่อาจแยกเรา และความเป็นธรรมชาติ ให้มีความแตกต่างออกเป็นสองสิ่งได้เลย ความเป็นเนื้อหาเดียวกันในความเป็นไปตามสภาพธรรมชาตินั้น มันจึงเป็น "ธรรมชาติ" ในความเป็นเช่นนั้นเองของมันอยู่อย่างนั้น อย่างคงที่ในสภาพแห่งธรรมชาตินั้น โดยไม่มีวันที่จะแปรผันไปเป็นอย่างอื่นในความหมายอื่นได้เลย การที่เป็นเนื้อหาเดียวกันอยู่อย่างนั้นระหว่างเรากับธรรมชาตินั้น มันจึงเป็นความตั้งมั่นในความเป็นธรรมชาติอยู่อย่างนั้น เป็นความตั้งมั่นที่มีความหมายถึง มันทำให้เราได้กลมกลืน เป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติโดยไม่มีความแตกต่าง ก็ธรรมชาติแห่งการตั้งมั่นอันคือธรรมชาติแห่งความกลมกลืน เป็นเนื้อหาเดียวกันแบบไม่มีความแตกต่าง อันทำให้เรา คือ ธรรมชาติ ธรรมชาติ คือ เรา ชนิดที่เรียกว่าแยกกันไม่ออก เป็นไปในความแนบเนียนอยู่ในความกลมกลืนอยู่อย่างนั้น ก็ด้วยขันธ์ทั้งห้าที่ถูกอุปมาไปแบบนั้นว่า นี่คือ กายเรา อันเป็นไปแห่งธาตุขันธ์ที่เราได้อาศัยอยู่อย่างนี้ และยังมีลมหายใจ ที่ขยันหายใจเข้าหายใจออกอยู่แบบนี้ อันว่านี่คือเรา คือชีวิตเรา และมันยังมีความเคลื่อนไหว สามารถกะพริบตา กระดุกกระดิกไปมาได้ ในท่ามกลางอิริยาบถทั้งสี่ คือ ยืน นั่ง เดิน นอน

    เมื่อเรายังต้องมี การไปและการมา ด้วยการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันด้วยขันธ์ธาตุเหล่านี้ ก็ด้วยความเป็นธรรมชาติแห่งความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนของมันอยู่อย่างนั้น มันจึงเป็นธรรมชาติที่มีความสงบนิ่ง สงบตามธรรมชาติของมันที่อยู่ภายในความเป็นไป อันปราศจากความเคลื่อนไหวแห่งภาวะใดๆของมันอยู่อย่างนั้น เพราะฉะนั้นการเคลื่อนไหวไปมา มันก็เป็นเพียงการเคลื่อนไหวไปมาอยู่อย่างนั้น หามีผลหรือส่งผลกระทบอันจะทำให้เป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้ธรรมชาติอันคือสภาพความสงบนิ่งที่แท้จริง ซึ่งปราศจากความเคลื่อนไหวแห่งภาวะใดๆ มันจะเปลี่ยนแปลงเนื้อหาของมันตามธรรมชาตินั้นไปเป็นอย่างอื่น เพราะความเป็นธรรมชาติมันก็คือ สภาพความเป็นของมัน อยู่อย่างนั้นเองอยู่แล้ว ไม่สามารถมีใครหรือสิ่งใดๆเข้ามาทำ ให้ความเป็นธรรมชาติแห่งสภาพตัวมันเอง เปลี่ยนไปเป็นอื่นๆได้เลย

    ด้วย เหตุผลความเป็นจริงเหล่านี้ การที่เป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติแห่งพุทธะ และต้องเคลื่อนไหวไปมาในอิริยาบถต่างๆนี้ มันจึงเป็นการเคลื่อนไหวไปในความสงบอย่างแท้จริง เป็นความสงบ ซึ่งปราศจากการเคลื่อนไหวแห่งภาวะใดๆภายในธรรมชาติ มันจึงเป็นความสงบนิ่งอย่างแท้จริง มันเป็นความสงบนิ่ง แต่เคลื่อนไหวได้ เคลื่อนไหวไปดุจดั่ง "สายลม" ที่พลิ้วไหวและแผ่ซ่าน ด้วยความสงบนิ่งแผ่วเบา ในทั่วทุกหนแห่ง



    [​IMG]




    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
     
  11. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
    ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    บทที่ 30 ธรรมชาติจำลอง

    ก็ ด้วยที่มันเป็นธรรมชาติ ที่ปราศจากความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนของมันเองอยู่อย่างนั้นตามธรรมชาติ ของมันเองอยู่แล้ว มันจึงมิใช่เป็นธรรมชาติที่มีความหมายถึง ความเป็นสิ่งสิ่งหนึ่ง เมื่อพวกคุณไม่เข้าใจในความหมายของธรรมชาติ ตามความเป็นจริงโดยสภาพของมันเอง ด้วยอวิชชาความไม่รู้ของพวกคุณเอง อาจพาคุณคิดไปว่า ธรรมชาตินี้มันต้องเป็นสิ่งสิ่งหนึ่งหรือภาวะหนึ่ง ที่มันประกอบไปด้วยคุณสมบัติต่างๆ อันทำให้ธรรมชาตินี้มีแต่ความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนของมันอยู่อย่างนั้น ด้วยความเข้าใจผิดว่า ธรรมชาติมันคือสิ่งสิ่งหนึ่งภาวะหนึ่ง และด้วยความคาดคะเนเข้าใจผิดของคุณเอง พวกคุณจึงเอามืออันอยู่ไม่สุขของพวกคุณเอง เข้าไปยุ่งย่ามเข้าไปเป็นส่วนเกิน ในความเป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น ด้วยการฆาตกรรมความเป็นจริงตามธรรมชาติ ให้ตายสูญหายสูญสลายไป จากธรรมธาตุแห่งความเข้าใจในความเป็นจริง ที่อาจจะมีอยู่ในความเป็นตัวเป็นตนของพวกคุณเอง พวกคุณได้กระทำตนเป็นฆาตกร ลงมือฆ่าความเป็นจริงของพวกคุณเองด้วยความเข้าใจหลงผิด และพวกคุณก็ได้ฆาตกรรมธรรมชาติ ด้วยวิธีการลงมือผ่ามันออกเป็นส่วนๆ เพื่อศึกษาความเป็นไปในสภาพมัน ตามความเข้าใจผิดของพวกคุณ ด้วยที่พวกคุณคิดว่า มันจะต้องมีหลายๆสิ่งอันคือธรรมทั้งหลาย เข้ามาประกอบกันเพื่อเป็นเหตุปัจจัยให้ธรรมชาตินี้มันเกิดขึ้น ก็ด้วยกำลังหรือจำนวนปริมาณแห่งธรรมอันประกอบเข้ากันนี่เอง ที่มันจะต้องมีจำนวนมากพอจนเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ธรรมชาตินี้ มันเป็นธรรมชาติที่เด่นชัดเจนยิ่งขึ้นจนถึงขนาดที่พวกคุณ มีความพึงพอใจแล้วว่า การเกิดขึ้นแห่งธรรมชาติตามวิธีการที่พวกคุณเข้าใจนี้ มันคือ "ธรรมชาติที่แท้จริง" แต่ด้วยความเป็นจริงตามธรรมชาติ ธรรมชาติมันก็คือธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น มันเป็นธรรมชาติที่เป็นธรรมธาตุแห่งคุณลักษณะ ในความเป็นของมันเองมาอยู่อย่างนั้น "อยู่แล้ว" มันคือความเป็น "อยู่แล้ว" โดยไม่สามารถหาจุดเริ่มต้นและจุดจบแห่งมันได้ และมันก็มิใช่ภาวะที่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ก็เพราะธรรมชาติมันเป็นของมันอยู่แบบนั้น "ในความเป็นธรรมชาติมันเอง" มันจึงมิใช่ภาวะโดยที่ใครจะสามารถ เอาความเป็นตัวตนของตัวเองเข้าไปอยู่ปะปนกับมันได้

    เพราะในความเป็น ธรรมชาติที่แท้จริงนั้น มันเป็นธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าที่แท้จริง ไม่สามารถมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือภาวะใดภาวะหนึ่ง แทรกตัวเข้าไปอยู่รวมกับธรรมชาตินี้ได้เลย มันจึงไม่มีอะไรกับอะไรทั้งนั้น มันจึงไม่ใช่อะไรกับอะไรทั้งนั้น มันเป็นธรรมชาติของมันแบบสมบูรณ์พร้อมโดยตัวมันเองอยู่แล้ว มันจึงมิใช่เกิดจากสิ่งใดๆเข้ามารวมกัน และเป็นเหตุปัจจัยทำให้ความเป็นธรรมชาตินี้เกิดขึ้นมาได้

    เมื่อมัน เป็นธรรมชาติแบบนี้ของมันมาเองตั้งแต่ต้น ความเข้าใจผิดของพวกคุณและการปรุงแต่งไป ในการศึกษาพิจารณาเพื่อแยกแยะว่า อะไรเป็นอะไร ตามความเข้าใจผิดของคุณ มันจึงเป็นการจำลองธรรมชาติขึ้นมา มันจึงเป็นเพียงการทำให้ธรรมชาติ ซึ่งมันเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว กลายเป็นธรรมชาติที่เป็นตัวเป็นตนเป็นอัตตาขึ้นมา มันจึงหาใช่ธรรมชาติที่แท้จริงไม่ มันจึงเป็นเพียงจิตที่ปรุงแต่งไป ในความที่จะทำให้ธรรมชาติมันเกิดขึ้น เป็นภาวะตามความต้องการ ซึ่งเป็นอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ของพวกคุณเองแต่เพียงเท่านั้น



    [​IMG]



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
     
  12. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
    ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    บทที่ 31 ต้นธาตุต้นธรรม

    ก็ ด้วยธรรมธาตุซึ่งมีลักษณะปรุงแต่งนั้น โดยความหมายแห่งความเป็นสังขตธาตุหรือธรรมธาตุปรุงแต่ง มันคือปรากฏการณ์แห่งภาวะธรรมทั้งหลาย ที่มัน "เกิดขึ้น" และ "ตั้งอยู่" ในความเป็นตัวเป็นตน ก็ด้วยความเป็นจริงในการทำความเข้าใจ เพื่อศึกษาธรรมทั้งหลายเพื่อเป็นไปในความหลุดพ้นนั้น มันอาจเกิดสภาพการปรุงแต่งได้ในสามลักษณะ

    คือ ลักษณะปรุงแต่งไปด้วยสภาพความเป็นเนื้อหา แห่งการปรุงแต่งตามเหตุปัจจัยแห่งการสั่งสมอนุสัย ซึ่งเป็นการปรุงแต่งออกมาจากใจที่ยังถูกหุ้มไปด้วย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ตามนิสัยสันดานเดิมๆแห่งตนนั้น คือการปรุงแต่งไปในความเป็นทุกข์ ที่ตนยังมีอยู่อย่างเต็มหัวใจอยู่อย่างนั้น

    คือ ลักษณะปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรมต่างๆว่า อะไรเป็นอะไร อะไรคืออะไร ในกระบวนการแก้ไขปัญหาให้กับตนเอง และลักษณะการปรุงแต่งไป ในการยึดจับฉวยความหมายในธรรมเหล่านั้น ซึ่งมันเป็นภาวะธรรมที่ทำให้เราเข้าใจ ในเหตุปัจจัยแห่งกระบวนการมันในการแก้ไขปัญหานั้น จึงเป็นการปรุงแต่งไปในภาวะให้เกิดขึ้น

    คือ ลักษณะปรุงแต่งไป ในการเข้าไปตรวจสอบวินิจฉัยในภาวะธรรมต่างๆ ซึ่งเกิดจากความไม่เข้าใจ ในความหมายแห่งธรรมชาติตามความเป็นจริง ว่าแท้จริงธรรมชาติคือความว่างเปล่า แบบเสร็จสรรพอยู่แล้วโดยสภาพมันเองตามธรรมชาติของมัน เมื่อไม่เข้าใจ จึงทำให้นักปฏิบัติทั้งหลายเกิดพฤติกรรมทางจิต เข้าไปตรวจสอบภาวะจิตใจของตนว่า จิตของตนอยู่ในลักษณะไหนแล้วในขั้นตอนแห่งการปฏิบัติ และจะได้ทำการแก้ไขตนเองต่อไป แต่ในความเป็นจริงตามธรรมชาติของมัน มันคือความเป็นของมันอยู่อย่างนั้น ซึ่งมันเป็นเนื้อหาความเป็นจริงที่อยู่นอกเหนือภาวะ แห่งปรากฏการณ์ความใช่หรือไม่ใช่ ความถูกหรือความผิด การตั้งเป้าหมายในการปฏิบัติ การเข้าไปตรวจสอบจิตของตน ซึ่งคิดว่าตรงนั้นคือผลของการปฏิบัติ มันจึงล้วนเป็นการปรุงแต่งขึ้นมาด้วยเหตุและปัจจัยนี้ในลักษณะหนึ่ง แท้ที่จริงแล้วด้วยธรรมชาติอันแท้จริง ซึ่งคือธรรมชาติตามความเป็นจริงของมันนั้น มันเป็นธรรมที่เป็นความเป็นจริงถูกต้องโดยเนื้อหาของมัน มาตั้งแต่แรกเริ่ม แรกเริ่มในความเป็นต้นธาตุต้นธรรม ตามสภาพของมันมาแบบนี้อยู่แล้ว ด้วยตัวมันเองสภาพมันเองอยู่อย่างนั้น นี่คือธรรมที่เป็นความจริง และเป็นธรรมชาติที่ดำรงเนื้อหาของมันตามธรรมชาติอยู่แบบนี้เรื่อยมา จึงกล่าวได้ว่าความเป็นเราเองนี่แหละก็คือความเป็นธรรมชาตินั้น เราเองเป็นส่วนหนึ่งในความเป็นธรรมชาตินั้นมาตั้งแต่ต้น กล่าวได้ว่า ทุกสรรพสิ่งบนโลกใบนี้ ทุกสรรพสิ่งแห่งอนันตจักรวาลอันหาที่สิ้นสุดไม่ได้ ทุกๆสรรพสิ่งแม้แต่ความเป็นอณูธรรมธาตุเล็กๆ ที่ไม่สามารถมองด้วยตาเปล่าได้ ทุกสิ่งทุกอย่างมันล้วนแต่มีความหมาย แห่งความเป็นธรรมชาติอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว มันจึงเป็นความจริงที่ว่า ทุกสรรพสิ่งทั้งมวลก็คือความเป็นต้นธาตุต้นธรรม คือความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงนั่นเอง เราไม่อาจแยกตัวออกมาจากความเป็นธรรมชาตินี้ได้เลย แม้แต่เพียงขณะหนึ่ง

    ตถาคต เจ้าจึงทรงตรัสว่า ให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ยังเป็นผู้มืดบอดด้วยอนุสัยแห่งตน และสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ยังมืดบอดไม่เข้าใจในความเป็นจริง แห่งธรรมชาติที่แท้จริง และยังมีความโง่เขลาที่จะเข้าไปปฏิบัติ เพื่อให้สิ่งที่มันเป็นธรรมชาติโดยตัวมันเองอยู่แล้ว ให้เป็นภาวะธรรมเกิดขึ้น ตามความต้องการตามความไม่เข้าใจแห่งตน ให้สลัดทิ้งซึ่ง "ภาวะ" ธรรมอันคือการปรุงแต่งเหล่านี้ไปเสีย โดยตถาคตทรงตรัสชี้ถึง "ความมีอยู่" ของธรรมชาติอันแท้จริงนี้ ซึ่งมันเป็นธรรมชาติแห่งตัวมันเอง ซึ่งมันเป็นธรรมชาติแบบนี้ของมันมาตั้งแต่ต้น ซึ่งมันเป็นความดั้งเดิมแท้ของมันเองมาก่อนอยู่แล้ว อันคือต้นธาตุต้นธรรม ซึ่งเป็นธรรมที่มีเนื้อหาตามความเป็นจริงของมัน ตามธรรมชาติอยู่แล้ว และทรงตรัสให้เราทั้งหลาย จงลืมตาตื่นขึ้นต่อความเป็นจริงที่มีอยู่แล้วของธรรมชาตินี้ เพื่อที่จะได้ทำความเข้าใจตระหนักอย่างชัดแจ้ง ในความเป็นธรรมชาตินั้น ของมันที่มีอยู่ก่อนแล้วอยู่อย่างนั้น และกลมกลืนกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาตินั้นได้




    [​IMG]




    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
     
  13. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
    ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    บทที่ 32 จิตที่ปรุงแต่งไปในความว่างเปล่า

    ความ ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนนี้ มันเป็นความว่างเปล่าตามธรรมชาติของมันมาตั้งแต่แรกเริ่มเดิมที มันเป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น แต่ถ้าพวกคุณไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงของธรรมชาติเหล่านี้ และพวกคุณมีความพยายามดิ้นรนจะหลุดออกจากทิฐิเดิมของคุณ แต่พวกคุณกลับไม่เข้าใจทิฐิตามความเป็นจริงแห่งธรรมชาติ อันคือสัมมาทิฐินี้ ด้วยความไม่รู้ต่อความเป็นจริง และด้วย "ความดิ้นรน" ที่โดยเนื้อหามันเอง ก็คือ ตัณหา อุปาทาน ความอยากที่จะเป็นพุทธะขึ้นมาตามที่คุณต้องการ ด้วยความไม่รู้นั้นมันจึงพาให้คุณแสวงหาพุทธะในหนทางอื่นๆ อันเป็นหนทางที่มิใช่ทางธรรมชาติ แต่ความพยายามดิ้นรนด้วยวิธีที่พวกคุณเห็นว่ามันน่าจะใช่ และพวกคุณก็ได้ปักใจไปแล้วว่านี่คือหนทางอันคือวิธีที่แท้จริง ที่จะทำให้ความเป็นพุทธะมันเกิดขึ้นตามที่คุณคิดคาดหวัง คุณจึงได้รีบลงมือปฏิบัติ และเรียกมันอย่างสวยหรูว่า "ความเพียรพยายาม" อย่างแรงกล้า ด้วยหัวใจแห่งพุทธะอันจอมปลอมของคุณเอง และพวกคุณก็เฝ้าติดตามผลแห่งการที่คุณได้ปฏิบัติธรรมไป ว่าสิ่งที่คุณลงแรงไปนั้นมันให้ผลกลับมามากน้อยแค่ไหน ก็ด้วยการปฏิบัติธรรมที่คุณเห็นว่า "มันมีสิ่งสิ่งนี้อยู่" และสิ่งที่คุณเห็นว่ามีนั้น "ความมีนั้นมันไม่เที่ยงดับไป" และความดับไปสิ้นไปในแต่ละสิ่งแต่ละอย่างที่คุณทำได้นั้นปฏิบัติได้นั้น มันกลายเป็นความว่างเปล่าขึ้นมาตามที่คุณรู้สึกได้ หรือตามที่คุณคาดการณ์ไป ด้วยการที่พวกคุณได้ชั่งความมีความเป็นแห่งมันในใจแล้วว่า คุณได้ปฏิบัติโดยเอาความมีความเป็นแห่งมันออกไปเรื่อยๆ ตามที่คุณได้ทำความเพียรไป และด้วยผลแห่งการปฏิบัติที่พวกคุณคิดว่าใช่ และมันเป็นผลแห่งการปฏิบัติที่แท้จริงที่ทำให้ ความมีตัวมีตนของพวกคุณเบาบางลงไป โดยที่พวกคุณได้ตรึงผลแห่งการปฏิบัติของคุณ ไว้กับความว่างเปล่า ตามที่คุณได้ชั่งมันไว้อยู่ทุกขณะ และคุณก็ภูมิใจในความว่างเปล่านั้น

    แต่ ความเป็นจริงตามธรรมชาติ ความว่างเปล่าอันแท้จริง มันเกิดจากความเข้าใจในความหมายแห่งธรรมชาติ ว่าแท้ที่จริงธรรมชาติมันคือความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว ความว่างเปล่าที่พวกคุณภาคภูมิใจว่า มันคือการปฏิบัติธรรมของพวกคุณเอง แท้ที่จริงมันคือความว่างเปล่าจากการคาดคะเนของพวกคุณเองเท่านั้น มันเป็นความว่างเปล่าตามจิตนาการของพวกคุณเองแต่เพียงเท่านั้น มันมิใช่ความว่างเปล่าตามธรรมชาติ ตามสภาพที่แท้จริงของมันแต่อย่างใด มันจึงเป็นเพียง "ความว่างเปล่าตามความรู้สึก" มันเป็นเพียงความว่างเปล่าที่เป็นภาวะปรุงแต่งเกิดเป็นจิตขึ้นมา มันเป็นจิตที่ปรุงแต่งไปในความว่างเปล่า มันมิใช่ความว่างเปล่าตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นความว่างเปล่าที่แท้จริง ตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้แต่อย่างใดเลย




    [​IMG]



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
     
  14. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
    ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    บทที่ 33 ค้นหาตัวเอง

    ทุก สรรพสิ่งที่ปรากฏเป็นภาวะในสามภพ และรวมทั้งความเป็นสามภพของตัวมันเองนั้นด้วย ล้วนเกิดจากต้นตอแห่งจิต แต่แท้จริงแล้วจิตย่อมไม่มี ทุกสรรพสิ่งนั้นคือความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น ดังนั้นพระพุทธเจ้าในอดีตทั้งหลายย่อมสอนธรรมด้วย "จิตสู่จิต" ด้วยความเป็นธรรมชาติอันแท้จริงปราศจากรูปแบบและวิธีใดๆ

    "ถ้าไม่ใช่ รูปแบบตายตัวแล้ว ความเป็นพระพุทธเจ้าเหล่านั้นจะใช้จิตด้วยวิธีใดๆ" "ก็สิ่งที่ท่านถามมานั่นเอง นั่นแหละคือจิตของท่าน" "และสิ่งที่ฉันตอบท่านไปก็คือจิตของฉัน" "ถ้าฉันไม่คิดแล้วฉันจะตอบได้อย่างไร" "ถ้าท่านไม่คิดแล้วท่านจะถามได้อย่างไร" "สิ่งที่ท่านถามก็คือความคิด ก็คือจิตของท่าน" อันเป็นความจริงตามธรรมชาติแล้ว จิตย่อมไม่ใช่จิต จิตท่านย่อมหาความเป็นตัวเป็นตนที่แท้จริงของมันนั้นหามีไม่

    ตลอด ระยะเวลาที่ผ่านมาเป็นกัปเป็นกัลป์ ท่านจะทำสิ่งใดก็ตามจะอยู่ในภพไหนก็ตาม สิ่งนั้นก็คือจิตของท่าน และจิตนั้นก็ไม่แตกต่างไปเลยจากความเป็นพุทธะ ท่านกล่าวไว้ว่า ก็นอกเหนือจากจิตของท่านนี้แล้ว ท่านจะค้นพบพระพุทธเจ้าจากที่อื่นไม่มีเลย จิตของท่านนั่นเองคือความเป็นพระพุทธเจ้า เมื่อท่านรู้ว่าจิตมันย่อมไม่ใช่จิต เมื่อท่านรู้ว่าจิตแท้จริงมันคือธรรมชาติแห่งความว่างเปล่า การแสวงหาโพธินอกไปจากธรรมชาตินี้ย่อมเป็นไปไม่ได้ การไม่ปรากฏขึ้นด้วยความเป็นจิตตามความเป็นจริงแห่งท่าน มันก็คือธรรมชาติในความเป็นท่านเอง เป็นธรรมชาติแห่งความเป็นหนึ่งเดียวระหว่างท่านกับธรรมชาตินั้น ในความหมายแห่งความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวตนอยู่อย่างนั้นตามธรรมชาติอยู่แล้ว ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ความเป็นธรรมชาตินั้นมันมีอยู่แล้วเองในจิตของท่าน เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วท่านจะไม่สามารถค้นพบความเป็นพุทธะ จากที่อื่นได้เลยนอกจากจิตของท่าน (จิตที่ไม่ใช่จิตและจิตนี้คือความเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว)

    การพยายาม ค้นหาพุทธะภาวะให้แก่ตนเอง หรือการพยายามหาทางเพื่อบรรลุธรรม มันก็เหมือนพยายามจับฉวยเอาอากาศนั้น ให้มันเกิดเป็นสิ่งสิ่งหนึ่งขึ้นและยึดฉวยมันเอาเข้ามาไว้ในมือได้แล้ว แต่สภาพความเป็นจริง อากาศก็คือความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น ท่านไม่สามารถจับฉวยเอาอะไรขึ้นมาเป็นตัวเป็นตนได้เลย ก็มันเป็นอากาศที่มันว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว จะต้องดำริริเริ่มเพื่อให้มันเกิดอะไรขึ้นมาอีก ก็พระพุทธเจ้าคือความเป็นธรรมชาติของท่าน แล้วท่านจะค้นหาความเป็นพระพุทธเจ้าจากที่อื่นทำไม ก็ท่านนั่นแหละคือพุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งในอดีตและอนาคต ล้วนกล่าวถึงความเป็นธรรมชาตินี้เท่านั้น ดังนั้นธรรมชาติก็คือพุทธะ พุทธะก็คือธรรมชาตินั่นเอง นอกเหนือจากธรรมชาตินี้แล้วย่อมไม่ใช่พุทธะ และพุทธะนี้ย่อมไม่ใช่สิ่งที่อยู่นอกเหนือไปจากธรรมชาติ ถ้าท่านคิดว่าพุทธะมีอยู่ที่อื่นนอกเหนือธรรมชาตินี้แล้ว พระพุทธเจ้าที่แท้จริงอยู่ที่ไหนกัน ดังนั้นจึงไม่มีพระพุทธเจ้านอกไปจากธรรมชาติที่แท้จริงนี้ได้เลย ทำไมเมื่อพระพุทธเจ้าอยู่ตรงหน้าเรานี้แล้วทำไมไม่มองท่าน จ้องมองดูสิเมื่อกล้าเผชิญกับความเป็นจริงที่อยู่ต่อหน้าทุกขณะ ตราบใดที่ยังหลอกตัวเองด้วยการหันหลังให้กับความจริง ด้วยการสอดส่องสายตาจ้องไปที่อื่น ท่านก็จะไม่รู้จักความเป็นพุทธะ ซึ่งมันคือความเป็นท่านเองตามธรรมชาติอยู่อย่างนั้น ตราบใดที่ท่านยังหลงเพลิดเพลินไปกับการปรากฏแห่งรูป ซึ่งความเป็นจริงมันย่อมไร้ความมีชีวิต ท่านก็ยังไม่มีความเป็นอิสระ เพราะความยึดมั่นถือมั่นในปรากฏการณ์แห่งรูปที่เกิดขึ้นนั้น เมื่อท่านได้ตระหนักชัดอย่างแท้จริงว่า มันไม่เคยมีรูปเป็นตัวเป็นตนขึ้นมาอย่างแท้จริงเลย และรูปมันก็เป็นรูปที่มีความหมายถึงความเป็นธรรมชาติของท่านเอง ท่านก็เป็นอิสระแล้วเดี๋ยวนั้น ถ้าหากท่านใช้จิตซึ่งคือปรากฏการณ์แห่งภาวะใช้มันหาพุทธะ ท่านก็จะไม่เห็นพุทธะเลย แต่ถ้าท่านเข้าใจแล้วว่า จิตไม่ใช่จิต แล้วจิตนี้คือพุทธะ ท่านก็คือพุทธะนั้นแล้วโดยไม่ต้องหา

    อย่าใช้ความ เป็นท่านอันคือธรรมชาติแห่งความเป็นพระพุทธเจ้า บูชาพระพุทธเจ้าเลย เมื่อท่านเป็นผู้หนึ่งซึ่งย่อมรู้จักความเป็นตัวท่านดี ในความเป็นธรรมชาตินั้น ธรรมชาติก็ย่อมทำให้ท่านไม่หลงเข้าไปยึดบูชาสิ่งอื่นใดได้อีกเลย แม้แต่สิ่งสิ่งนั้นคือรูปปั้นของพระพุทธเจ้า อย่าใช้จิตซึ่งเป็นภาวะแห่งตนปลุกความเป็นพระพุทธเจ้าให้เกิดขึ้น ตามความต้องการของท่านเลย พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ถึงพร้อม ย่อมไม่มานั่งสวดมนต์ พระพุทธเจ้าเป็นผู้มีความเป็นปกติในจิตอันคือพุทธะนั้น ความเป็นปกตินั้นทำให้ความเป็นพระพุทธเจ้าไม่ต้องรักษาศีล เมื่อพระพุทธเจ้าเป็นผู้ฝึกตนเองดีแล้ว เป็นธรรมชาติแห่งการดำรงชีวิตอยู่ตามกรอบศีลธรรมอันดี ความมีวินัยแห่งตนเองมานานแล้วนั้น พระพุทธเจ้าจึงไม่ต้องรักษาวินัยใดๆให้เคร่งครัด และเมื่อไม่ต้องรักษาจึงไม่มีการละเมิดวินัยแต่อย่างใดอีกด้วย ความเป็นพระพุทธเจ้าคือความเป็นธรรมชาติแห่งตัวเราเองนั้น มันคือธรรมชาติที่มีความเป็นกลางปราศจากภาวะแห่งความชั่ว ไม่เคลื่อนไหวไปตามจิตลักษณะต่างๆ เพราะฉะนั้นความเป็นพระพุทธเจ้าของคุณเอง จึงไม่ต้องมุ่งที่จะกระทำความดีหรือไต่ไปตามเส้นทางแห่งความชั่ว
    การค้น หาพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นการค้นหาที่แท้จริงนั้น คือการทำความรู้จักและทำความเข้าใจ ในความเป็นธรรมชาติของตนเองแต่เพียงเท่านั้น ใครก็ตามที่สามารถเห็นตนเองได้ตามความเป็นจริงตามธรรมชาติแล้ว บุคคลผู้นั้นได้ชื่อว่า เป็นพุทธะที่แท้จริงแล้วเช่นกัน ถ้ายังไม่เห็นตนเอง ถ้ายังไม่เห็นความเป็นธรรมชาติ และมัวแต่หันไปท่องพระสูตร การบำเพ็ญทานและการรักษาศีล ด้วยจุดประสงค์ว่าสิ่งเหล่านี้ คือส่วนประกอบที่สำคัญแห่งความเป็นพุทธะ การคิดได้เพียงเท่านี้จึงเป็นสิ่งที่ไร้สาระ การกระทำในสิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นการปลุกภาวะจิตของตนให้เกิดขึ้นมา มันเป็นเพียงกุศลกรรมที่อยู่นอกขอบวงแห่งพุทธะที่แท้จริง การท่องจำพระสูตรมันมีผลเพียงแค่ทำให้เรามีความจำดีขึ้น การรักษาศีลเป็นเพียงเรื่องศิลปะในการปรุงแต่ง ให้จิตดำเนินไปบนพื้นฐานแห่งความรู้สึกที่เป็นสุขแต่เพียงเท่านั้น และมันก็จะพาให้เราไปเกิดในภพภูมิที่ดีขึ้น การบำเพ็ญทานก็มีผลให้เรามีความสุข ในการที่เราได้กระทำการบริจาคไปแบบนั้น แต่สิ่งทั้งหลายนี้ไม่ส่งผลต่อความเป็นพุทธะเลย แต่สิ่งทั้งหลายนี้ล้วนมิใช่ความเป็นพุทธะเลย ถ้าท่านไม่มีปัญญาที่จะทำความเข้าใจในคำสอนอันเป็นธรรมชาตินี้ ท่านก็ต้องเสาะแสวงหาบัณฑิตซึ่งเขาคนนั้น สามารถชี้ทางให้คุณเดินไปยังหนทางอันคือธรรมชาตินั้นได้ บัณฑิตเหล่านี้ล้วนรู้จักความหมายแห่งคำว่าชีวิตและความตายที่แท้จริง เพราะเขาเหล่านี้ล้วนมีความเข้าใจ ในความหมายแห่งธรรมชาติได้อย่างลึกซึ้ง มีความรู้แจ้งแทงตลอดในความเป็นธรรมธาตุต่างๆ ผู้ที่ไม่เห็นธรรมชาติแห่งตนย่อมเป็นครูสอนคนอื่นไม่ได้ ถึงแม้ว่าครูคนนั้นอาจเป็นครูบาอาจารย์ที่เก่ง สามารถท่องพระสูตรและจดจำเนื้อหาธรรมในพระไตรปิฎกได้ทั้งหมด แต่พวกเขาเหล่านั้นกลับไม่เข้าใจความหมาย และไม่รู้จริงเกี่ยวกับความเป็นธรรมชาติเลย พวกเขาก็มีสภาพไม่ต่างไปจากท่าน ซึ่งเขาเหล่านี้ต้องไปเวียนว่ายตายเกิดในสามภพ และยังไม่สามารถปลดเปลื้องความทุกข์ออกจากตัวเขาเองได้เลย ก็นานมาแล้วมีพระอาจารย์รูปหนึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในจีนตอนใต้นี้ ท่านสามารถท่องจดจำพระไตรปิฎกได้ทั้งหมด แต่ท่านก็ท่องจำเพื่อเป็นเหตุให้ได้ไปเวียนว่ายตายเกิดแค่เพียงเท่านั้น เพราะการท่องมิได้ทำให้เราเข้าใจ ในความหมายแห่งธรรมชาติที่แท้จริงของตนได้ เพราะพวกเขาเหล่านั้นมีความหลงงมงายโดยเชื่อกันว่า การท่องจำได้ทั้งหมดนี้เป็นเหตุให้ตนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ และการท่องจำนั้นตนเองก็เหมารวมไปว่า เป็นการท่องเพื่อเรียนรู้ธรรมะ ความจริงการท่องพระสูตรมิได้มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับการทำความเข้าใจอย่างแท้จริงในธรรมอันคือธรรมชาตินั้นเลย

    การค้น พบพระพุทธเจ้า คือ การค้นพบตนเอง เพราะธรรมชาติแห่งตนเองนี่แหละคือธรรมชาติแห่งพุทธะ การค้นหาตัวเองเจอจึงมิได้มีความเกี่ยวพันกับพิธีกรรมใดๆ ธรรมชาติโดยความเป็นจริงโดยเนื้อหามันแล้ว เป็นธรรมชาติแห่งความเป็นอิสระทั้งปวง มันเป็นอิสระนอกเหนือจากเหตุปัจจัยใดๆ รวมทั้งเหตุปัจจัยแห่งพิธีกรรมนั้นด้วย ที่พวกคุณคิดว่ามันเป็นเหตุที่ทำให้ธรรมชาตินี้เกิดขึ้น

    ถ้าท่านยัง ไม่มองตนเองและไม่รู้เลยว่า ตนเองนั่นแหละคือธรรมชาติแห่งพุทธะ และยังตั้งจิตเป็นภาวะสัดส่ายมองหาแต่สิ่งภายนอก ก็ในเมื่อสัจธรรมมีอยู่แล้วในตัวพวกท่านเอง พวกท่านไม่เคยมีความห่างออกไปจากสัจธรรมนี้ แม้แต่เพียงชั่วครู่ขณะหนึ่งได้เลย การมองหาในหนทางอื่นจึงเป็นวิธีที่ผิดและหลงทางไป ก็ในเมื่อท่านคือความเป็นธรรมชาตินั้น การค้นหาจึงไม่จำเป็น แต่การจะเข้าถึงธรรมชาตินั้นให้ได้ ก็เป็นเพียงแต่ท่านต้องใช้ปัญญา อันคือการพิจารณาเพื่อให้เข้าถึง ความหมายที่แท้จริงของความเป็นธรรมชาตินั้น มันจึงเป็นความเพียรพยายามที่จะทำให้ท่านได้เข้าใจ ในความเป็นธรรมชาติอยู่อย่างนั้นแต่อย่างเดียว โดยไม่หันเหไปในทางความหมายอื่น ก็ในเมื่อชีวิตและความตายที่รอท่านอยู่เบื้องหน้า เป็นสิ่งสำคัญที่ท่านดำรงอยู่กับความเป็นชีวิตนั้น และกำลังดำเนินไปบนเส้นทางแห่งกาลเวลา ที่จำกัดให้ท่านได้ใช้ขันธ์ธาตุแต่เพียงเท่าที่ท่านได้ทำกรรมมา ก็ในเมื่อความเป็นจริงมันเป็นเช่นนี้ ท่านก็อย่าได้ทำแต่เรื่องไร้สาระอันคือความทุกข์นั้นอีกเลย การหลอกลวงตนเองไปวันๆ มันไม่ได้ทำให้ท่านมีความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมเลย ความก้าวหน้านี้หมายถึง การที่ท่านได้ใช้ความเพียรพยายามอย่างยิ่งยวด ที่จะเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาตินั้น ด้วยความเข้าใจอย่างแท้จริง ความสำเร็จสมความมุ่งมาดปรารถนาของท่าน มันจึงเป็นเพียงความฝันหรือภาพลวงตา ที่ท่านเองพยายามสร้างมันขึ้นมา แต่ถ้าท่านไหวตัวทันและได้พบกับความเป็นจริงที่แท้จริงแล้ว ท่านก็จะพบกับหนทางที่สว่างไสว และก็ขอให้ท่านรีบเดินไปตามเส้นทางนั้นอย่ารั้งรอ ถ้าไม่สามารถเรียนรู้ความเป็นตนเองในธรรมชาตินั้น ก็ขอให้ท่านรีบแสวงหาบัณฑิต ซึ่งเขาสามารถเป็นครูสอนท่านในทางธรรมชาติได้อย่างแท้จริง ก็จะมีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่สามารถสอนตนเองได้โดยไม่อาศัยคนอื่น หากบุคคลคนนั้นเข้าใจว่าธรรมชาตินั้น คือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน แบบเสร็จสรรพเด็ดขาดอยู่แล้วโดยตัวมันเองอยู่อย่างนั้น ก็ถือได้ว่าบุคคลเช่นนี้มีบุญบารมีมาตั้งแต่เกิด เมื่อสามารถเรียนรู้สิ่งใดก็สามารถเข้าใจ เหตุและปัจจัยของสิ่งสิ่งนั้นได้อย่างทั่วถึงและลึกซึ้ง บุคคลเหล่านี้เป็นผู้มีบุญปฏิบัติง่ายบรรลุง่าย

    ส่วนคนที่ไม่เข้าใจ ธรรมอย่างถ่องแท้ และกลับคิดไปเองแต่ฝ่ายเดียวว่า ตนเองมีความเข้าใจดีแล้ว โดยปราศจากการทำความเข้าใจอย่างถูกต้องแท้จริง และปราศจากการปฏิบัติตามธรรมชาติที่ถูกต้อง คนหลงทางไปเช่นนี้ ย่อมไม่สามารถแยกแยะเหตุปัจจัยได้ตามความเป็นจริง พวกเขาเหล่านี้ย่อมไม่สามารถแยกแยะออกได้ระหว่างดำกับขาว เขาย่อมมองเห็น อสัจธรรมเป็นสัจธรรม เขาย่อมเข้าใจความเป็นพุทธะแบบผิดๆและกล่าวออกมาเช่นนั้น จึงเป็นการดูหมิ่นดูแคลนความเป็นพระพุทธเจ้าที่แท้จริง และเป็นการลบล้างความหมายอันเป็นความจริงแห่งธรรมนั้นไป

    ความเป็น จริงพวกเขาเหล่านี้เป็นมาร พวกเขามองเห็นว่าพุทธะมิใช่พุทธะ ธรรมชาติมิได้สอนอะไรพวกเขาเลย ครูของเขาคือพญามารที่เข้ามาครอบงำจิตใจให้เขา มองไม่เห็นความเป็นธรรมชาติ และพาพวกเขาไปเส้นทางอื่นซึ่งเป็นวิธีการแบบผิดๆ ที่พวกเขาเข้าใจว่าเป็นวิธีการอันเหมาะสม ที่จะทำให้ธรรมชาตินี้เกิดขึ้นได้ พวกเขาเหล่านี้รวมทั้งคนอื่นๆที่หลงงมงายปฏิบัติตามคำสอน ย่อมพากันไปเวียนว่ายตายเกิดอย่างที่ไม่มีที่สิ้นสุด พวกเขาเหล่านี้จะเรียกตนเองว่าเป็นชาวพุทธได้อย่างไรกัน เมื่อพวกเขายังหลอกตนเองและคนอื่น ให้ก้าวไปสู่ภพภูมิแห่งมารอันคือพุทธะที่ทำให้ต้องไปเกิด

    ก็ในเมื่อ พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา ก็หมายความถึงผู้ที่สามารถเข้าใจ ในความเป็นธรรมอันคือธรรมชาติได้อย่างแท้จริง หมดแล้วซึ่งความลังเลสงสัยในความหมายแห่งธรรมนั้นๆ และเมื่อสามารถดำรงอยู่กับความเป็นธรรมชาติแห่งตนเอง ได้อย่างมีความสุข ผู้นั้นก็ได้ชื่อว่าได้เห็นความเป็นพระพุทธเจ้าแห่งตนเองแล้ว ถ้าท่านยังมีความเห็นว่ายังมีความแตกต่าง ระหว่างความเป็นพุทธะกับความเป็นปุถุชน การค้นหาพุทธะด้วยเหตุปัจจัยในความเข้าใจแบบนี้ มันจะไม่สามารถทำให้ท่านได้รู้เห็นพุทธะที่แท้จริงได้เลย เพราะความเป็นปุถุชนก็มิได้มีอะไรแตกต่างจากความเป็นพุทธะ ความเป็นปุถุชนของเรานั้น แท้จริงมันก็คือความเป็นธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ เพราะความเป็นจริงทุกสรรพสิ่งย่อมมีเนื้อหาเป็นหนึ่งเดียวกันหมด

    เมื่อ ไม่เคยปรากฏความเป็นปุถุชนภาวะที่เกิดขึ้นในธรรมชาตินี้ได้เลย ก็เช่นเดียวกัน มันจึงย่อมไม่เคยปรากฏความเป็นพุทธะภาวะในธรรมชาตินี้ได้เช่นกัน ธรรมชาติแห่งพุทธะมันเป็นเพียงธรรมชาติเท่านั้น ธรรมชาติมันย่อมปราศจากภาวะใดๆ แม้กระทั่งภาวะแห่งความเป็นพุทธะ ความเป็นพุทธะที่แท้จริงซึ่งมิใช่พุทธะตามภาวะ มันย่อมอยู่ในความเป็นธรรมชาตินั้นแล้ว ไม่มีพุทธะที่นอกเหนือจากธรรมชาติ และไม่มีธรรมชาติอื่นนอกจากความเป็นพุทธะอยู่อย่างนั้น



    [​IMG]



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
     
  15. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
    ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    บทที่ 34 ธรรมชาติแห่งพุทธะ

    "ฉัน มีข้อสงสัยอยากจะถามว่า หากฉันยังไม่สามารถเห็นธรรมชาติแห่งพุทธะของฉันได้ มันจะไม่มีวิธีอื่นเลยเหรอที่จะทำให้ฉันได้บรรลุธรรม หากฉันตั้งใจที่จะประกอบกุศลผลบุญหมั่นรักษาศีล"

    "ถ้าท่านทำเช่นนั้นถึงท่านตั้งใจทำความดีมันก็บรรลุธรรมไม่ได้"

    "ทำไมถึงบรรลุธรรมไม่ได้"

    "การ ที่ท่านตั้งใจเพื่อให้เข้าถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งสิ่งนั้นถึงแม้จะเป็นสิ่งที่ดีงามสำหรับชีวิตท่าน แต่มันก็เป็นเพียงจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมาให้ท่านก่อกรรมชนิดกุศลกรรม และกรรมดีนี้ก็ส่งผลให้ท่านต้องไปเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไป แต่การบรรลุธรรมมันเป็นเพียง การที่ท่านได้เข้าใจและได้เป็นธรรมชาติในความเป็นท่าน ซึ่งคือธรรมชาติที่ปราศจากภาวะปรุงแต่งทั้งปวง แม้กระทั่งการปรุงแต่งถึงความดีงามมากมายมหาศาล ที่ท่านได้ตั้งใจและมุ่งหวังกระทำมันขึ้น มันก็เป็นเพียง "จิต" ที่ดีเท่านั้นที่ถูกปรุงแต่งขึ้น ความเป็นพระพุทธเจ้าที่แท้จริงนั้น คือความเป็นธรรมชาติที่มีความอิสระนอกเหนือจากกรรมทั้งปวง นอกเหนือจากการสร้างเหตุและปัจจัยทั้งปวง การที่กล่าวว่าตนได้หมั่นประกอบคุณงามความดี แล้วตนจะได้บรรลุธรรม จึงเป็นการดูหมิ่นพระพุทธเจ้า คนที่เป็นทาสต่อความต้องการของตนเอง ในการที่จะก้าวไปข้างหน้าด้วยความทะยานอยาก คนที่ไม่เข้าใจอะไรให้ตรงกับความเป็นจริงเช่นนี้ จะบรรลุธรรมอะไรได้"

    ความ เป็นพระพุทธเจ้า มิใช่ความมีความเป็นในเพียงด้านใดด้านหนึ่ง ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะนั้น มีความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวตน เป็นสัจธรรมอันคือพื้นฐานแห่งความเป็นไปในธรรมชาตินั้น ธรรมชาติแห่งพุทธะจึงคือธรรมชาติที่มีความเป็นอิสระ ไม่ถูกพัวพันห่อหุ้มไปด้วยอวิชชาแห่งการปฏิบัติและการรู้แจ้ง และเป็นอิสระจากเหตุและปัจจัย

    ความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะนั้นย่อมไม่ ต้องสมาทานศีล เพราะธรรมชาตินั้นคือความเป็นปกติอยู่แล้ว มันเป็นธรรมชาติที่เป็นจิตแห่งพุทธะไม่มีความแปรเปลี่ยนไป ในด้านใดด้านหนึ่งไม่ว่าจะดีหรือชั่ว ความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะจึงไม่ต้องทำชั่วอีก เพราะความเป็นพุทธะนั้นคือธรรมชาติ มันจึงเป็นธรรมชาติที่มันเป็นเนื้อหาของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว จึงไม่ต้องใช้ความระมัดระวังอะไรเพื่ออะไร และมันเป็นธรรมชาติซึ่งมิใช่จิต(ภาวะปรุงแต่ง) มันจึงไม่ต้องเข้าไประวังจิต

    เพราะ ฉะนั้นถ้ามีคนมากล่าวว่า เขาปฏิบัติธรรมด้วยการทำจิตให้ว่างอยู่เสมอจึงเป็นเรื่องผิด เพราะธรรมชาติคือธรรมชาติ ธรรมชาติจึงมิใช่การปฏิบัติ ธรรมชาติมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว มิใช่เกิดจากการปฏิบัติ แต่ถ้าการปฏิบัตินั้นเป็นการทำความเข้าใจ และเห็นในธรรมชาติแห่งพุทธะของตนเอง ผู้นั้นก็ขึ้นชื่อได้ว่าได้ปฏิบัติแบบถูกวิธี คือได้ปฏิบัติตามความเป็นไปแห่งความเป็นธรรมชาติแล้ว การบรรลุธรรมแท้จริงโดยไม่เห็นความเป็นธรรมชาติแห่งตน ย่อมเป็นไปไม่ได้ และถ้ายังทำกรรมชั่วอยู่ แล้วอ้างว่ากรรมนั้นไม่สามารถให้ผลได้ เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างเป็นความว่าง มันจึงเป็นความเข้าใจผิดต่อความที่ตนเองได้เกิดมาเป็นมนุษย์ เพราะความเป็นมนุษย์ผู้มีใจประเสริฐ สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันได้ด้วยคุณงามความดีแห่งใจ จึงเรียกตนเองว่ามนุษย์ หากท่านเป็นผู้มีปัญญาจงตั้งใจประพฤติตนเอง ให้เป็นไปตามความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะเถิด อย่าได้ก้าวล่วงไปสู่การกระทำที่ตกต่ำเยี่ยงสัตว์เดรัจฉานอีกเลย

    "แล้วถ้าทุกสิ่งล้วนมาจากจิต เมื่อจิตดับไปขันธ์ธาตุแตกสลาย ทำไมเราจึงไม่รู้และต้องไปเวียนว่ายตายเกิดอีก"

    "ก็จิตมันคือธรรมชาติแห่งพุทธะ ทำไมท่านถึงไม่ดูจิตเลย"

    "ก็ ธรรมชาติแห่งพุทธะคือจิตนี้ มันอยู่กับท่านเป็นกัปเป็นกัลป์แล้ว มันเป็นอย่างนี้ของมันมาตั้งแต่ต้น โดยที่ไม่มีการเริ่มต้นและหาจุดจบแห่งมันไม่ได้ มันไม่เคยอยู่ในสถานะที่ต้อง "อยู่" และไม่เคยตาย มันเป็นธรรมชาติแห่งการไม่ปรากฏขึ้นและไม่หายไป มันเป็นความบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ โดยที่มันไม่มีความสะอาดหรือความสกปรก มันเป็นกลางตามธรรมชาติมิใช่ภาวะแห่งความดีหรือความชั่ว มันมิใช่ทั้งอดีต อนาคต และไม่ใช่ทั้งปัจจุบัน แต่มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น มันเป็นแบบนี้มานานมากแล้ว และจะเป็นแบบนี้เรื่อยไปมิได้อยู่กับ "กาลเวลา" มันเป็นธรรมชาติของมันเองโดยมิใช่ความถูกหรือความผิด และมันเป็นธรรมชาติโดยลักษณะมันเอง มิใช่เป็นเพื่อยืนยันความถูกหรือความผิด มันเป็นความเพียรเพื่อไปสู่ความเป็นพุทธะอย่างแท้จริง โดยเป็นความเพียรเพื่อมิได้ทำให้ตนเองรู้แจ้ง มันเป็นความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนของมันอยู่อย่างนั้น โดยไม่สามารถมีใครเป็นเจ้าของมันได้ หรือไม่อาจมีใครทำลายล้างมันลงไปได้ และมันไม่สามารถมีใครเข้าไปควบคุม บังคับความเป็นธรรมชาติอันแท้จริงของพุทธะนี้ไปได้เลย ทั้งนี้เป็นเพราะเหตุที่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ถูก อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ครอบงำ จึงถูกดึงเข้าไปในกระแสธรรม แห่งการไปเวียนว่ายตายเกิดอยู่ตลอดเวลา เมื่อใดที่พวกเขาพยายามออกจากกระแส ด้วยวิธีอันไม่ฉลาดของเขาเอง ก็ยิ่งพาพวกเขาจมดิ่งไปสู่ความลึกแห่งห้วงอวิชชา ทั้งนี้เป็นเพราะพวกคนเหล่านี้ไม่รู้ความเป็นธรรมชาติแห่งตนเอง ถ้าสรรพสัตว์ทั้งหลายไม่ถูกครอบงำ ก็แสดงว่าพวกเขาเข้าใจความเป็นธรรมชาติ ที่อยู่กับพวกเขาเองมาตลอดอยู่แล้ว

    เพราะด้วยความเป็นไปของจิต อันคือธรรมชาติแห่งพุทธะนี้มันไร้ขอบเขต การแสดงตัวมันเองออกมาตามความเป็นธรรมชาติ มันจึงเป็นการปรากฏตัวตามที่มันเป็นของมันเองอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว แบบไม่รู้จักจบจักสิ้น

    ในพระสูตรกล่าวว่า รูปกายของตถาคตไม่มีที่สิ้นสุด การแสดงออกในความรู้สึกตัวทั่วพร้อมของพระพุทธองค์ ความเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ที่มีผลอันเนื่องมาจากจิต อันเป็นจิตที่เป็นธรรมชาติแห่งพุทธะ ที่สามารถแยกแยะได้ทุกสิ่งทุกอย่าง ดำเนินการเคลื่อนไหวไปแห่งความเป็นพุทธลีลา จึงเป็นการเคลื่อนไหวด้วยธรรมชาติแห่งการรู้สึกตัวทั่วพร้อม อันคือธรรมชาติแห่งการรู้สึกในความมีสัมมาสตินั่นเอง

    ในพระสูตรยังกล่าวอีกว่า "บุคคลควรรู้จักความเป็นตัวเองในธรรมชาติแห่งพุทธะ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนมีอยู่แล้วและเป็นส่วนหนึ่งแห่งมัน"

    ดัง นี้ธรรมชาติแห่งพุทธะของเราก็คือจิต จิตก็คือธรรมชาติแห่งพุทธะของเรา และธรรมชาติแห่งพุทธะนี้ ก็คือจิตของความเป็นพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ที่พระพุทธองค์ได้ถ่ายทอดจิตชนิดนี้มาสู่เรา นอกจากจิตอันคือความเป็นพุทธะนี้แล้ว ก็ไม่มีพระพุทธเจ้าที่ไหนอีกเลย

    แต่ ผู้ที่มืดบอดไปด้วยอวิชชา ย่อมไม่รู้ว่าจิตของตนเองนั้นคือความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะ จึงทำให้เขาแสวงหาพุทธะจากภายนอกจากที่อื่น และเฝ้าถามกับตนเองอยู่เสมอๆว่า พระพุทธเจ้าที่แท้จริงนั้นอยู่ที่ไหน มันจึงเป็นเพียงจิตนาการแห่งพุทธะ ที่ท่านคิดถึงมันแต่เพียงเท่านั้น ก็จิตของท่านนั่นแหละคือพุทธะ แล้วทำไมต้องไปหาจากที่อื่นอีก การที่ท่านเฝ้าแสวงหามัน ก็เป็นพุทธะภาวะที่เกิดขึ้นตามจินตนาการของท่าน มันเป็นจินตนาการที่เป็นการเกิดขึ้นแห่งรูปซึ่งล้วนแต่เป็นมายา บุคคลผู้ยึดถือเอาความเป็นพุทธะตามปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น พวกเขาย่อมทำตัวเองให้พ้นทางไปจากอริยมรรคอันสมบูรณ์

    ก็เท่าที่กล่าว มานี้ ฉันเพียงชี้ให้ท่านเห็นความเป็นจริงของสิ่งเหล่านี้ ที่มันเป็นตามธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น ฉันเกรงว่าท่านจะไม่รู้สึกตัว เพราะการที่จิตของท่านมีความบริสุทธิ์อยู่แล้ว เป็นความบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ มันจึงไม่จำเป็นต้องไปหาความบริสุทธิ์จากที่อื่นอีกเลย จงรักษาความบริสุทธิ์ด้วยการเป็นไปตามธรรมชาติของมันอยู่เสมอ มันเป็นธรรมชาติที่มีความบริสุทธิ์โดยตัวมันเองเป็นพื้นฐานอยู่เสมอ เมื่อท่านได้อยู่กับความเป็นธรรมชาติแห่งตนแล้ว อย่าได้มีความกลัวใดๆอีกเลย ความกลัวอันมีต่อสิ่งที่เป็นปรากฏการณ์ในการเกิดขึ้นแห่งรูป สิ่งเหล่านั้นย่อมเป็นมายา หาความมีตัวมีตนที่แท้จริงก็หาได้ไม่ มันย่อมไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้วโดยสภาพมันเองอยู่อย่างนั้น ขอให้ท่านจงโปรดอยู่กับความสงบตามธรรมชาติของมันเองเถิด มันสงบแล้วอย่าทำอะไรเพิ่มเติมเข้ามาอีก



    [​IMG]



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
     
  16. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
    ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    บทที่ 35 มายา

    ใน พระสูตรกล่าวไว้ว่า "ปรากฏการณ์ทั้งปวงเป็นมายาภาพ ซึ่งเป็นภพที่ไม่แน่นอน มันไม่มีรูปที่ถาวร มันเป็นสภาพที่ไม่เที่ยงแท้โดยตัวมันเอง อย่ายึดมั่นถือมั่นในปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วท่านจะเป็นหนึ่งเดียวกับความเป็นพุทธะนั้น"

    ธรรมชาติแห่งพุทธะ มันเป็นสิ่งซึ่งมีความเป็นอิสระจากรูปทั้งปวง แท้จริงรูปทั้งปวงก็หามีความเป็นจริงไม่ มันเป็นเพียงการเกิดขึ้นที่สามารถตั้งอยู่ได้ชั่วคราว เมื่อมันหมดเหตุปัจจัยแล้วโดยตัวมันเอง ก็มีสภาพแปรปรวนไม่อาจตั้งอยู่ ในสถานะเดิมแห่งความเป็นตัวเป็นตนได้ แท้ที่จริงมันมิใช่ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนเลย สภาพแปรปรวนแห่งมันนั้นแท้จริงมันเป็นมายา เปรียบเสมือนมันไม่เคยเกิดขึ้นเป็นปรากฏการณ์มาก่อนเลย ตามความเป็นจริงหาใช่ตัวตนไม่ มันคือความว่างเปล่าตามธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น

    เมื่อเป็นเช่น นี้แล้ว ทำไมเราต้องสร้างความเป็นพุทธะความเป็นโพธิสัตว์ ให้เกิดขึ้นมาตามจินตนาการของเราอีกด้วยเล่า ก็ในเมื่อความเป็นพุทธะที่แท้จริงมันก็คือเรานั่นเอง หาใช่สิ่งที่เป็นมายาเหล่านี้ไม่

    เมื่อจิตของเราคือพุทธะ พุทธะก็คือมรรค มรรคและพุทธะก็คือเซน แม้ท่านจะสามารถท่องพระสูตรได้เป็นพัน อันจะทำให้ท่านเห็นธรรมชาติตามความเข้าใจของท่านเอง มันจึงเป็นการเห็นธรรมชาติที่มีความเป็นอัตตาอยู่ เป็นธรรมชาติที่มิใช่ธรรมชาติ มันเป็นมายาแห่งธรรมชาติที่พวกคุณแสวงหาและสร้างมันขึ้นมา สิ่งเหล่านี้มิใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า ที่เป็นคำสอนอันมีความเป็นธรรมชาติเป็นพื้นฐานอยู่อย่างนั้น

    คนที่ เห็นธรรมชาติที่แท้จริงของตนได้แล้ว ย่อมพบหนทางแห่งอริยมรรค คนที่เห็นธรรมในตนเองซึ่งมีมันมาตั้งแต่ต้นก็คือพุทธะ และมันก็เป็นพุทธะที่มีความบริสุทธิ์โดยตัวมันเองอยู่แล้วอย่างแท้จริง เมื่อพุทธะมันเป็นธรรมชาติของมันเองแบบนี้มาตั้งแต่ต้น มันจึงไม่มีอะไรให้พวกคุณค้นหามันอีก ก็เพียงแค่พบมันแล้วก็กลายเป็นส่วนหนึ่งแห่งมัน ก็เพียงแต่เท่านี้ เพราะฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า ความเป็นธรรมชาตินี้มันก็คือมรรคหรือหนทางที่บริบูรณ์แล้ว ที่ไม่ต้องการอะไรมาเพิ่มเติมให้แก่มันอีก มรรคจึงเป็นหนทางที่พวกคุณจะต้องเดินไป ด้วยความเข้าใจในความเป็นธรรมชาติ ที่มันบริบูรณ์พร้อมของมันอยู่อย่างนั้น การนึกคิดและการปรุงแต่งวิธีขึ้นมา ตามความเข้าใจผิดของพวกท่านเอง มันจึงเป็นเพียงมายาแห่งมรรค

    ในความ เป็นธรรมชาติและอริยมรรค มันจึงเป็นความจริงที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงรู้แจ้ง ส่วนปุถุชนมิอาจรู้และเข้าใจมันได้ เพราะยังขาดธรรมชาติแห่งการระลึกรู้ ก็ตราบใดที่พวกเขายังยึดมั่นถือมั่นต่อปรากฏการณ์ เขาก็มิอาจรู้ได้เลยว่า จิตของพวกเขาเองนั่นแหละคือธรรมชาติแห่งพุทธะ ถ้าท่านเพียงแต่รู้ว่าทุกสิ่งมันล้วนไหลเทออกมาจากจิต ซึ่งเป็นธรรมชาติแห่งความว่างเปล่า ท่านก็อย่ายึดมั่นถือมั่น เพราะสิ่งเหล่านั้นมันย่อมมิใช่ตัวใช่ตนอยู่แล้ว มันก็ล้วนคือความว่างเปล่าตามธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น พระสูตรต่างๆเหล่านี้เป็นเพียงอักษร ที่พยายามอธิบายให้เราเข้าใจในความหมาย ของความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงแต่เพียงเท่านั้น เมื่อเกิดความเข้าใจแล้วจงอย่ายึดติดกับตัวเรา ให้ทำความเข้าใจและมุ่งไปสู่ความเป็นธรรมชาตินั้น หากเรายึดคัมภีร์หรือตัวเรามากเกินไปโดยไม่ยอมปล่อยวาง พระสูตรเหล่านี้มันจึงเป็นเพียงมายาแห่งพระสูตรแต่เพียงเท่านั้น ความเป็นจริงตามธรรมชาติมันย่อมอยู่เหนือคำพูด และมันก็ไม่ใช่ภาวะที่คุณสามารถจินตนาการถึงมันได้อีกต่อไป คำสอนมันจึงเป็นเพียงคำพูด คำพูดที่มันเป็นเพียงมายาแห่งภาพ มันจึงเป็นเพียงปรากฏการณ์แห่งความเป็นตัวตน ในความเป็นรูปร่างหน้าตาแห่งพุทธะของผู้ไม่รู้จริงแต่เพียงเท่านั้น ท่านอย่าหลงติดไปกับมายาแห่งความฝันของท่าน เพราะจะทำให้ท่านหลงติดไปสู่ความเป็นภพใหม่ๆ

    จงทำตามธรรมชาติซึ่งมัน คือความเป็นตัวคุณอยู่แล้ว และก็อย่าทำตามความคิด ซึ่งความคิดนั้นอาจจะเป็นความคิดที่ปรากฏ "ภาพแห่งความเป็นธรรมชาติ" ได้อย่างใกล้เคียง ตามความเป็นจริงของธรรมชาตินั้น แต่มันก็เป็นเพียง "ความคิดที่ได้คิดถึงความเป็นธรรมชาติ" มันหาใช่ธรรมชาติที่แท้จริงตามสภาพของมันเองอยู่แล้วไม่ ไม่เช่นนั้นแล้วท่านก็จะตกไปสู่ห้วงเหวลึก ในความเป็นมายาแห่งธรรมชาติไป

    พระ พุทธเจ้าคือบุคคลผู้ค้นพบความเป็นอิสระที่แท้จริง เป็นความอิสระที่อยู่นอกเหนือโลกธรรมและความชั่วทั้งหลาย ท่านเป็นผู้รู้แจ้งแทงตลอดในธรรมธาตุอย่างลึกซึ้ง แต่ความเป็นปุถุชนผู้มืดบอดไม่อาจหยั่งรู้เข้าไป ถึงความเป็นจริงในความเป็นธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะนั้นได้ หากท่านเป็นผู้หนึ่งซึ่งไม่รู้จักความเป็นตนเอง ก็อย่าพึ่งทำอะไรเพื่อให้เกิดความยุ่งยากซับซ้อนในวิธีปฏิบัติ เพราะแท้จริงแล้วธรรมชาติคือการไม่กระทำ การเข้าใจความเป็นพุทธะนั้น เป็นการเข้าใจในความหมายที่แท้จริงของความเป็น "ธรรมชาติ" ที่มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว มิใช่ธรรมชาติที่เกิดจากการกระทำของใคร การกระทำโดยมุ่งหวังให้ธรรมชาติเกิดขึ้น มันเป็นเพียงจิตที่ปรุงแต่งเกี่ยวกับธรรมชาติเท่านั้น มันมิใช่ธรรมชาติที่แท้จริง

    เมื่อท่านรู้จักและเข้าใจธรรมชาติ มันก็กลายเป็นการปฏิบัติตามอริยมรรคที่แท้จริงแล้ว แต่บางทีท่านอาจยังไม่เข้าใจว่า ธรรมชาตินั้นมันมีเพียงแต่ความเป็นธรรมชาติ มันเป็นธรรมชาติโดยปราศจากการเคลื่อนไหวแห่งภาวะใดๆ มันจึงเป็นธรรมชาติที่แท้จริงแบบเสร็จสรรพเด็ดขาด ในความหมายของมันอยู่อย่างนั้น แต่ถ้าท่านยังไม่เข้าใจดีพอ และท่านได้ก้าวเข้ามาในมรรคแล้ว แต่ยังไม่เป็นมรรคที่มีความบริบูรณ์ถึงพร้อม ก็ขอให้ท่านพยายามทำความเข้าใจในความหมายของธรรมชาติ ให้ถึงความเป็นจริงแห่งมันอยู่แต่เพียงเท่านั้น แล้ว ตัณหา อุปาทาน ทุกอย่างที่ยังหลงเหลืออยู่ในจิตท่าน ก็จะคลายออกไป เมื่อมิได้หันเหไปในทางอื่นเลย ด้วยการเข้าใจในความเป็นไปในธรรมชาติอยู่อย่างนั้น เมื่อเกิดการรู้แจ้งแทงตลอดในความหมายแห่งธรรมชาติ โดยที่ไม่มีส่วนอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องแล้ว ด้วยการตระหนักชัดในความเป็นธรรมชาตินั้น ความเป็นสัจธรรมแห่งความเป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น ก็จะปรากฏแสดงตัวมันเองขึ้นมาตามที่มันอยู่อย่างนั้นมาตั้งแต่แรกเริ่ม มันปรากฏตัวขึ้นเพราะการที่เรามองเห็นมัน ด้วยความเข้าใจในความเป็นมัน ที่มันอยู่กับเราแบบนี้มานานแสนนานแล้ว และเป็นการปรากฏตัวของมันเพียงครั้งเดียว และมันก็จะไม่มีวันหนีหายไปจากเราได้อีกเลย

    หากท่านกำลังค้นหาความ เป็นธรรมชาติที่แท้จริง ท่านอาจเจอสิ่งหลายๆสิ่งที่เข้ามาเป็นรูป เป็นภาวะที่เกิดขึ้น เป็นแสงสว่างในนิมิตแห่งสมาธิจากการนั่ง ท่านก็อย่าได้หลงจับฉวยเอามาเป็นส่วนหนึ่ง แห่งความหมายของการเกิดขึ้นของธรรมชาติ สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นอุปาทานที่ยังคงหลงเหลือตกค้าง มันมิได้มีความเกี่ยวข้องอะไรกับความเป็นธรรมชาตินั้น มันเป็นเพียงอุปาทานที่ยังเข้าใจอยู่ว่า ธรรมชาติมันอาจเกิดขึ้นได้จากการลงมือปฏิบัติของท่านแต่เพียงเท่านั้น ธรรมชาติอันแท้จริงมันอยู่นอกเหนือภาวะแห่งจิตใจของท่าน ที่ท่านอยากเห็นอยากพบมัน ถ้าท่านเห็นอะไรซึ่งเป็นนิมิตขึ้นมา การเห็นนิมิตนั้นก็มิได้มีความแตกต่าง กับการที่ท่านเปิดประตูออกมาในยามเช้า และเห็นแสงอาทิตย์ได้สาดส่อง เห็นนกกำลังบินผ่านไป มันก็เป็นการเห็นตามปกติ เป็นการเห็นตามธรรมชาติที่มันไม่ได้เป็นการก่อรูปก่อภาวะ ให้เกิดปรากฏการณ์จากการเห็นนั้น ธรรมชาติเป็นธรรมอันปราศจากภาวะการปรุงแต่งทั้งปวง เพราะฉะนั้นธรรมชาติที่แท้จริง จึงเป็นธรรมชาติที่ปราศจากการคิดปรุงแต่ง ว่าคุณกำลังเห็นอะไร

    การเห็นซึ่งเป็นภาวะหรือปรากฏการณ์ อาจเป็นการเห็นด้วยการที่คุณยังไม่เข้าใจ ในความเป็นธรรมชาติที่แท้จริง มันอาจเป็นการมองเห็นที่เกิดจากการวิตกกังวล ในการพยายามที่จะทำให้ถึงความเป็นธรรมชาตินั้น จิตจึงเกิดอุปาทานด้วยการไขว่คว้าเอาธรรมชาติตามความหมายอื่นๆ ซึ่งล้วนเป็นการเข้าใจผิดมาแสดงเป็นจิต ให้คุณได้มองเห็นได้มองดูมันในมโนภาพแห่งความเข้าใจของคุณ มันจึงเป็นเพียงภาพเบลอๆที่มิได้มีความหมายอันใดอย่างแท้จริง มันเป็นสิ่งที่เป็นเพียงมายาแห่งภาพ ที่มันมาหลอกหลอนคุณแต่เพียงเท่านั้น ท่านต้องมีธรรมชาติแห่งการระลึกรู้ว่า สิ่งเหล่านี้หาใช่ความเป็นตัวเป็นตนที่แท้จริงไม่ มันมิใช่ตัวตนเลย มันมีแต่ธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น ด้วยความเป็นจริงตามธรรมชาติก็ถือได้ว่า มันไม่เคยปรากฏเกิดขึ้นในความเป็นภาพที่เห็นมาก่อนเลย ก็ถ้าหากท่านเป็นผู้ที่เห็นและเข้าใจ ความเป็นตัวท่านเองได้อย่างดีแล้ว ความเป็นธรรมชาติแห่งท่านจึงไม่จำเป็นต้องอ่านจดจำพระสูตรอะไรเลย ความเป็นผู้คงแก่เรียนในลักษณะผู้ที่สามารถจดจำพระสูตรได้ มันทำให้ถูกบดบังความเป็นจริงแห่งความเป็นธรรมชาตินั้นไป ธรรมทั้งหลายที่เป็นคำอธิบาย เพื่อให้เกิดความเข้าใจตามธรรมชาติที่แท้จริงนั้น มันเป็นเพียงปรากฏการณ์หรือภาวะ เพื่อยืนยันถึงเนื้อหาตามความเป็นจริงแต่เพียงเท่านี้ แต่ธรรมอันคือคำอธิบายความจริงเหล่านี้ โดยตัวมันเองมันเป็นเพียงการปรุงแต่งที่เกิดขึ้น เกี่ยวกับความเป็นจริงตามธรรมชาติ โดยลักษณะมันเองหาใช่ความเป็นจริงตามธรรมชาติไม่ ธรรมชาติมันก็เป็นธรรมชาติ ที่แสดงเนื้อหาแบบสมบูรณ์เพียบพร้อมอยู่อย่างนั้น เป็นความไม่ขาดตกบกพร่อง และมันก็ไม่ต้องการให้ใครมาอธิบายหรือเพิ่มเติมอะไรให้กับมันได้อีก ธรรมชาติมันอยู่นอกเหนือคำอธิบาย เพื่อเข้าถึงความเป็นจริงแห่งมัน เมื่อท่านเข้าใจความเป็นธรรมชาติแห่งตนเองดีแล้ว แล้วทำไมต้องเข้าไปสนใจในคำสอนในพระสูตรนั้นอีกเล่า

    การก้าวออกจาก จุดที่ทำให้ท่านมืดบอด มาสู่ความสว่างตามธรรมชาติแห่งตน ทำให้ท่านได้พ้นจากพงหนามแห่งกรรมที่จะต้องไปเวียนว่ายตายเกิด จงอยู่กับความเป็นธรรมชาติอันแท้จริงของท่าน ด้วยความสุขตราบชั่วนิจนิรันดรเถิด และหัดเรียนรู้ยอมรับกับทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับชีวิต ด้วยการที่ท่านเป็นสิ่งเดียวกับธรรมชาตินั้นได้อย่างแท้จริง การหลอกลวงตัวเองด้วยความเข้าใจธรรมชาติไปในทางอื่นแบบผิดๆ มันจะกลายเป็นอุปสรรคเข้ามาขัดขวางมิให้ท่าน ได้เดินไปในหนทางมรรคที่แท้จริง เมื่อท่านตั้งใจเดินบนหนทางแห่งมรรคนี้ ด้วยการก้าวย่างไปด้วยความเป็นธรรมชาติ ก็จะทำให้ท่านพ้นจากการหลงก้าวเดินไป ในขวากหนามแห่งหนทางอันเป็นมายานั้น เมื่อท่านตั้งใจเดินด้วยความเข้าใจในความเป็นธรรมชาตินั้นแล้ว อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ที่ยังเหลืออยู่ ก็จะหมดไปเองจะคลายออกไปเองด้วยความเข้าใจในธรรมชาตินั้น มันเป็นความเข้าใจที่เป็นธรรมชาติแห่งตัวท่าน มันจึงเป็นธรรมชาติแห่งความเข้าใจที่ปราศจากความพยายามใดๆ

    พระ พุทธเจ้าทุกๆพระองค์ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และในอนาคต ก็ล้วนแต่ตรัสถึงธรรมอันคือธรรมชาตินี้เท่านั้น ท่านมิได้ตรัสธรรมอื่นใดเลย คนที่เห็นธรรมโดยอ้างว่าตนเองได้ปฏิบัติธรรม ด้วยความเข้าใจอันดีแล้วแห่งตน จึงเป็นเพียงคนโกหกมุสา และเป็นคนที่ไม่รู้ความเป็นพระพุทธเจ้าที่แท้จริง คนเหล่านี้ได้หลับหูหลับตาเดินหลงไปในทางที่มืดมน แล้วได้เอาแต่หลอกตัวเองด้วยการปลอบใจตนว่า นี่คือพุทธะที่แท้จริง แต่การก้าวเดินไปในหนทางปฏิบัติอันคือมายานั้น ทำให้ท่านอยู่ห่างไกลจากความเป็นจริงแห่งธรรมชาติไปทุกๆขณะ มันจึงเป็นทิฐิหรือความคิดเห็นที่ผิดเกี่ยวกับการปฏิบัติ มิจฉาทิฐิแห่งการปฏิบัตินี้เป็นการกล่าวตู่ในความเป็นพุทธะ มันก็ทำให้ท่านต้องไปเวียนว่ายตายเกิดแบบไม่รู้จักจบจักสิ้น เพราะทิฐิเห็นผิดต่อธรรมชาติของท่านนั่นเอง


    [​IMG]



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
     
  17. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    <table class="tablebg" cellspacing="1" width="100%"><tbody><tr class="row2"><td valign="top"><table cellspacing="5" width="100%"><tbody><tr><td>หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
    ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    บทที่ 36 พุทธะคือหน้าที่

    คน ที่ไม่มีศรัทธาที่จะมาในทางธรรมชาติแห่งพุทธะ เป็นคนที่ยึดอยู่ในมิจฉาทิฐิ เปรียบเหมือนคนตาบอดที่ไม่เคยพบไม่เคยเห็นแสงสว่างที่แท้จริงเลย ถึงท่านจะอธิบายเรื่องความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะให้เขาฟัง แต่เมื่อเขาเหล่านี้ขาดศรัทธาแล้ว เขาจึงเปรียบเสมือนคนตาบอด ที่จะทำอย่างไรก็ไม่สามารถเห็นแสงนั้นได้ ถึงจะอธิบายก็ไม่มีใจที่จะยอมรับฟังเรื่องธรรมชาติที่แท้จริงนี้ พวกเขาเหมือนคนมีกรรมที่มีเหตุและปัจจัย มาทำให้พวกเขาหันหลังให้กับธรรมชาติอันคือความจริงได้อย่างถาวร พวกเขาเหล่านี้จะต้องทนก้มหน้ารับกรรมที่พวกเขาได้กระทำไป อันเกิดจากทิฐิที่ผิดๆของพวกเขาทั้งหลาย บุคคลเหล่านี้ย่อมใช้ชีวิตไปด้วยความเป็นทาสแก่การกระทำของตนเอง หาความมีอิสระที่แท้จริงไม่ ความมีอิสระที่แท้จริงย่อมปรากฏแก่ ความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะนั่นเอง แต่เขาเหล่านี้ได้ทำเหตุและปัจจัยอันทำให้พวกเขา ไม่มีวันได้พบหนทางที่จะนำพาพวกเขาไปสู่สถานที่ที่มีแสงสว่างได้เลย เมื่อขาดศรัทธาเขาเหล่านี้จึงเป็นเพียงคนตาบอด ที่บอดอย่างถาวรแล้วเท่านั้น แต่บุคคลที่เห็นธรรมชาติของตนเองด้วยความมีศรัทธาเชื่อมั่น ต่อความจริงในความเป็นพุทธะ บุคคลพวกนี้ไม่จำเป็นต้องไปโกนหัวห่มผ้าเหลือง พวกเขาไม่ว่าจะอยู่ฐานะไหนประกอบอาชีพอะไร ก็ในเมื่อใจของพวกเขาเป็นพุทธะที่แท้จริงแล้ว เมื่อเขาคือพุทธะ พุทธะก็คือพวกเขา เขาอยู่ที่ไหนพุทธะก็อยู่ที่นั่น แต่คนที่ยังไม่เห็นความจริงของธรรมชาติ แล้วไปโกนหัวนุ่งห่มผ้าเหลือง พวกนี้เป็นเพียงพวกที่คลั่งไคล้หลงใหลความเป็นพุทธะ ในรูปแบบความเป็นอยู่ซึ่งเป็นเพียงเปลือกนอก ความเป็นพุทธะที่แท้จริงมิได้ต้องอาศัยอะไรกับอะไรเลย แต่ความเข้าใจอย่างแท้จริงซึ่งตรงต่อความเป็นจริงตามธรรมชาติ นั่นก็คือพุทธะแล้ว

    เป็นเพียงเพราะเราเข้าไปยึดการปรากฏขึ้นแห่งภาวะ เป็นการเข้าไปยึดติดในรูปกาย จึงเกิดภาวะเคลื่อนไหวไปในทางทวิภาวะแห่งความเป็นคู่ เช่น ร้อนเย็น หิวกระหายและอิ่ม จึงเกิดเป็นมลทินแห่งตัณหา อุปาทาน อย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่ในความเป็นจริงตามธรรมชาติแห่งพุทธะ ธรรมชาตินั้นมันบริสุทธิ์โดยตัวมันเอง มันเป็นความบริสุทธิ์โดยพื้นฐานแห่งความเป็นไปตามธรรมธาตุ มันเป็นธรรมชาติที่ไม่อาจมีใครเข้ามาทำให้มันเศร้าหมองลงไปได้เลย มันเป็นความบริสุทธิ์มาแต่เดิมของมัน มันเป็นธรรมชาติแห่งความบริสุทธิ์ที่ปราศจากการเคลื่อนไหว ไปในทิศทางใดแห่งความมีตัวมีตนทั้งสิ้น ธรรมชาติมันจึงไม่หิวไม่อิ่ม ไม่อุ่นไม่เย็น ไม่เจ็บไม่ป่วย ไม่รักไม่ชัง ไม่ดีไม่ชั่ว ไม่สุขไม่ทุกข์ จริงๆแล้วธรรมชาติมันไม่มีอะไรเลย มันเป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น เพราะมันมีแต่ความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนตามธรรมชาติ เราจึงเรียกความว่างเปล่าไม่มีอะไรเลยของมันว่า "ความบริสุทธิ์" คือความที่มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น ปราศจากสิ่งอื่นเข้ามาเจือปนปะปนกับมันได้ นี่คือความบริสุทธิ์ตามธรรมชาติแห่งพุทธะ เมื่อท่านเข้าใจความเป็นจริงเช่นนี้แล้ว ท่านปล่อยให้ทุกสิ่งเป็นไปตามหน้าที่ของมัน ซึ่งมันก็ทำหน้าที่ของมันตามความเป็นธรรมชาติอยู่อย่างนั้น ท่านก็จะพ้นจากการเกิดและการตาย ท่านก็จะเป็นอิสระเป็นนายเหนือความต้องการของตนเอง ซึ่งธรรมชาติแห่งพุทธะที่ท่านได้พบนี้ มันคือธรรมชาติแห่งความสงบสุขในทุกหนทุกแห่ง เป็นชีวิตที่มีความสุขอิสระอย่างแท้จริง จงปล่อยให้ธรรมชาติมันทำหน้าที่ของมันอยู่อย่างนั้น นั่นแหละท่านคือพุทธะแล้ว



    [​IMG]



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> <tr class="row2"> <td class="profile" align="center">
    </td> </tr></tbody></table>
     
  18. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
    ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    บทที่ 37 จิตสู่จิต

    ตราบ ใดที่ท่านยังไม่เข้าใจพุทธะที่แท้จริง หนทางที่ท่านเดินมันก็ยังคงเป็นหนทางที่ ได้สร้างกรรมให้กับตนเองอยู่ร่ำไป หนทางนี้จะพาให้ท่านต้องไปเวียนว่ายตายเกิดอยู่อย่างนั้น ถึงแม้ว่าท่านจะไม่เต็มใจก็ตามที แต่เมื่อท่านได้ประจักษ์ในความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงแล้ว ธรรมชาตินี้ก็จะพาท่านหยุดสร้างกรรม และก็ไม่ต้องไปตายไปเกิด

    ท่าน อาจารย์ของฉัน คือ ท่านมหาปรัชญาตาระ ซึ่งเป็นสังฆปรินายกองค์ที่ 27 ท่านได้ทำหน้าที่ถ่ายทอดรอยประทับจิตซึ่งเป็นการถ่ายทอดจิตสู่จิต เป็นการถ่ายความเข้าใจคือความเป็นจริงในธรรมชาติ มาสู่ความเข้าใจในสิ่งเหล่านั้นซึ่งเป็นจิตของฉันเอง ดังนั้นการที่ฉันมาสู่ประเทศจีน ก็ด้วยเหตุผลเพียงประการเดียวก็คือ การถ่ายทอดธรรมอันคือธรรมชาตินี้ ให้แก่ชนชาวจีนได้สืบทอดธรรมเหล่านี้ต่อไป

    ก็ "จิต" ที่พูดถึงนี่เองคือพุทธะ มันมิใช่จิตที่เป็นภาวะแห่งการเคลื่อนไหวไปในปรากฏการณ์ต่างๆ แต่มันเป็นจิตที่เป็นธรรมชาติอย่างแท้จริง จิตสู่จิต ก็คือความชี้ตรงถึงความเป็นธรรมชาติ สู่ความเป็นธรรมชาติของพวกท่านเอง เมื่อจิตนี้คือธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ มันจึงเป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น มิได้เกี่ยวกับการถือศีล การให้ทาน หรือการเคร่งครัดในข้อวัตรแบบฤาษี เป็นการทานข้าววันละมื้อ การเข้าฌาน การบำเพ็ญเหล่านี้เป็นความคลั่งไคล้ ซึ่งคุณเอาจิตของคุณเองเข้าไปยึดติดโดยความชอบ และคิดว่ามันคือสิ่งที่จะทำให้ความเป็นพุทธะเกิดขึ้นได้ ความคลั่งไคล้เหล่านี้เป็นสิ่งที่ปรุงแต่งความเป็นภาพพจน์แห่งพุทธะ ให้เกิดขึ้นตามจินตนาการของเขา ที่ออกนอกเส้นทางความเป็นธรรมชาติไป เมื่อท่านได้หยุดพฤติกรรมการจินตนาการถึงพุทธะเหล่านี้ทิ้งไปเสีย แล้วหันหน้าเผชิญกับความเป็นจริง ตามที่ธรรมชาติมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว จิตอันคือการรู้แจ้งแห่งธรรมชาติเหล่านี้ ก็จะเป็นเช่นเดียวกันกับจิตของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์

    พระพุทธเจ้า ทั้งในอดีตและอนาคต ล้วนแต่กล่าวถึงการถ่ายถอดเรื่องจิต พระพุทธองค์ไม่สอนธรรมชนิดอื่นเลย ท่านสอนแต่ความเป็นจริงตามธรรมชาติเท่านั้น และถ้าหากผู้ใดเข้าใจและเข้าถึงความเป็นจริงตามธรรมชาติเหล่านี้ได้ ถึงแม้เขาจะไม่มีความรู้อะไรเลย และไม่สามารถอ่านหนังสือออกได้ แต่ความเป็นจริงที่พวกเขาได้ตระหนักชัด ที่ทำให้เขาเป็นพุทธะที่แท้จริงได้คนหนึ่ง แต่ถ้าท่านไม่พบความเห็นแจ้งอันคือธรรมชาติแห่งตน ไม่เห็นธรรมชาติแห่งการตื่นออกมาจากการหลับใหลมืดมิด ท่านก็จะไม่พบพระพุทธเจ้าเลย และไม่มีวันที่จะได้รู้จักความเป็นพระพุทธเจ้าที่แท้จริงได้เลย ต่อให้ท่านต้องปฏิบัติอย่างหนักหน่วง จนทำลายตัวเองให้เป็นผุยผงย่อยยับไปเลยก็ตาม

    ความเป็นพระพุทธเจ้าคือ ธรรมชาติอันเป็นจิตดั้งเดิมของท่านนี้ มันเป็นธรรมชาติแห่งจิตที่ไม่ใช่จิต มันเป็นธรรมชาติแห่งจิตที่ไม่มีรูปลักษณ์ ไม่ประกอบไปด้วยเหตุและผล มันเป็นความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวตน โดยที่ไม่อาจจับต้องมันได้ หรือไม่อาจเอาความรู้สึกของเรา ไปจินตนาการถึงความเป็นรูปร่างลักษณะแห่งมัน มันเป็นธรรมชาติที่เป็นความว่างเปล่าของจิต ที่รู้แจ้งในความเป็นธรรมชาตินี้ มันจึงมิใช่เป็นจิตชนิดที่ปรุงแต่งขึ้นในเนื้อหาแห่งความเป็นพุทธะ มันเป็นจิตที่เป็นพุทธะของมันตามธรรมชาติอยู่แล้ว นอกจากความเป็นพระพุทธเจ้าและบัณฑิตทั้งหลาย ที่รู้แจ้งในธรรมชาติแห่งพุทธะนี้แล้ว ปุถุชนผู้มืดบอดไปด้วย ตัณหา อุปาทาน ความต้องการแห่งตน ที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นเกิดเป็นสิ่งนั้นตามที่ใจตนเองปรารถนา ก็จะไม่สามารถหยั่งรู้ถึงความจริงตรงนี้ได้เลย เพราะอำนาจแห่งอวิชชาพาหลงไปในทิศทางอื่น

    แต่สิ่งนี้ก็เป็นธรรมชาติ ที่อยู่กับเรามาตั้งแต่แรกเริ่มเดิมทีแห่งมันแห่งเรา รูปกายและธาตุทั้งสี่มันเป็นเพียง การได้อยู่อาศัยกับสิ่งเหล่านี้เพียงชั่วคราว และมันก็มิได้เกี่ยวข้องอะไรกับความเป็นธรรมชาติเลย แต่ถ้าเราปราศจากมันก็มิอาจเคลื่อนไหวไปไหนได้เลย ถ้ารูปกายนี้ไม่มีจิตมันจะเคลื่อนไหวได้อย่างไร จิตอันคือธรรมชาตินี้ชื่อว่าทำให้กายนี้เคลื่อนไหวไปได้ การเคลื่อนไหวทั้งปวงล้วนเป็นการเคลื่อนไหวแห่งจิต การเคลื่อนไหวไปจึงเป็นหน้าที่ของจิต ปราศจากการเคลื่อนไหวก็ไม่มีจิต แต่การเคลื่อนไหวไปในทางความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนนั้น มิใช่เป็นการเคลื่อนไหวแห่งจิต และธรรมชาติแห่งจิตก็มิใช่การเคลื่อนไหวไป ในทางความหมายแห่งความมีอัตตาตัวตนดังกล่าว

    เพราะฉะนั้นแล้วการ เคลื่อนไหวไป ก็คือการเคลื่อนไหวไปแบบนั้นตามธรรมชาติ จิตจึงมิใช่การเคลื่อนไหวที่เป็นตัวเป็นตน เพราะแท้จริงแล้วธรรมชาติแห่งจิตอันคือพุทธะนี้ คือความว่างเปล่าแบบเสร็จสรรพเด็ดขาดในความมีอิสรภาพเหนืออื่นใด มันมิใช่เป็นการเคลื่อนไหวไปในความเป็นทาสแห่งความอยาก ที่ปรุงแต่งเป็นจิตที่เป็นภาวะอัตตาตัวตนปรากฏขึ้น จิตนี้มันจึงเป็นจิตตามธรรมชาติแห่งตนที่แท้จริง มันเป็นจิตที่เป็นธรรมชาติแห่งพุทธะ มันจึงเป็นจิตและเป็นการเคลื่อนไหวไปแห่งรูปกายขันธ์ธาตุ ตามธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น



    [​IMG]


    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
     
  19. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
    ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    บทที่ 38 ปลดปล่อยตนเอง

    มรรค หมายถึงการปลดปล่อยตนเองให้เป็นอิสระ จากสิ่งที่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งปวง มรรคก็คือวิถีที่นำเราไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียว กับความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะนั้น มรรคก็คือการที่เราได้เป็นอิสระอย่างแท้จริง ตามธรรมชาติที่มันเป็นของเราอยู่อย่างนั้น โดยสามารถปลดปล่อยตนเองออกจากปรากฏการณ์ แห่ง อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ที่มันเป็นอัตตาตัวตนเกิดขึ้น

    ธรรมชาติแห่งพุทธะ คือธรรมชาติแห่งการระลึกรู้ได้อยู่ทุกขณะ ตามความเป็นธรรมชาติของมันว่า ธรรมชาตินี้มันคือความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น มรรคก็คือการที่ระลึกรู้ได้ตามธรรมชาติว่า ธรรมชาติมันยังคงทำหน้าที่ของมันอยู่อย่างนั้นตามปกติ เมื่อท่านเป็นปุถุชนคนหนึ่ง แต่สามารถเข้าใจและมีธรรมชาติแห่งการระลึกได้ตามธรรมชาตินั้น ก็ถือได้ว่าท่านได้เดินบนหนทางแห่งมรรคนั้นแล้ว แท้จริงแล้วปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น มันไม่ใช่ปรากฏการณ์อันเป็นตัวตนได้อย่างแท้จริง เพราะการเกิดขึ้นดังกล่าวมันไม่สามารถดำรงฐานะแห่ง "ความเป็นมัน" ได้อย่างมั่นคงถาวรได้อยู่อย่างนั้นตลอดเวลา เพราะธรรมชาติมันย่อมแปรปรวน มันจึงเป็นเพียง "มายา" แห่งปรากฏการณ์ เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญาอันเข้าใจได้ตามความเป็นจริงแห่งธรรมชาติว่า ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่ใช่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ทุกสรรพสิ่งย่อมมีความเสมอภาคเป็นเนื้อหาเดียวกัน อันคือความเป็นจริงตามธรรมชาติแห่งความว่างเปล่า ไร้ตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น ผู้นั้นได้ชื่อว่า ได้เดินไปบนเส้นทางแห่งธรรมชาติอันคือมรรคนั้นแล้ว ผู้นั้นย่อมสามารถถอนความเป็นตนเองออกจากภพทั้งสามได้

    ภพทั้งสามอัน คือ โลภ โกรธ หลง การออกจากสามภพคือการหันหลังถอยออกมา จากเส้นทางแห่งปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นตัวเป็นตนทั้งหลาย มาสู่เส้นทางมรรคซึ่งเป็นเส้นทางในความเป็นธรรมชาติแห่งตนเอง เป็นการเดินบนมรรคอันประกอบไปด้วย การมีศีลตามธรรมชาติ การมีธรรมชาติแห่งสมาธิอันคือความตั้งมั่นในธรรมชาตินั้น การมีปัญญาอันคือความเข้าใจในธรรมชาติทั้งปวง แท้ที่จริงความโลภโกรธหลงก็มิใช่สิ่งใดๆที่เราจะเข้าไปยึดมั่นถือมั่นได้ มันเป็นเพียงปรากฏการณ์ที่มิใช่ปรากฏการณ์ หากท่านเข้าใจความเป็นธรรมชาติแห่งมันได้

    ในพระสูตรกล่าวว่า "พระพุทธเจ้าได้เป็นพระพุทธเจ้า ก็เพราะอาศัยอยู่กับอสรพิษทั้งสาม และรักษาบำรุงเองด้วยธรรมอันไม่บริสุทธิ์เหล่านี้" ก็เพราะปรากฏการณ์ทั้งหลายที่แสดงฐานะแห่งมัน ปรากฏเป็นความทุกข์เกิดขึ้นอันได้แก่อสรพิษคือ ความโลภ โกรธ หลง พระพุทธเจ้าได้ใช้ธรรมอันไม่บริสุทธิ์เหล่านี้ มารักษาใจของพระพุทธองค์เอง ด้วยการพิจารณาด้วยพุทธิปัญญาของพระพุทธองค์ ถึงความเป็นจริงของสิ่งเหล่านี้ ว่าแท้จริงธรรมชาติเหล่านี้มันหามีความเป็นตัวเป็นตน ปรากฏขึ้นมาอย่างแท้จริงไม่ พระพุทธองค์จึงใช้ความเป็นจริงตามธรรมชาติแห่งอสรพิษเหล่านี้ มารักษาใจของพระองค์เองจนกลายเป็นใจแห่งพระพุทธเจ้า ที่มีความบริสุทธิ์ตามธรรมชาติที่แท้จริงอยู่อย่างนั้น

    ในพระ สูตรกล่าวอีกว่า "ไม่มียานใดเลย เป็นยานของพระพุทธเจ้า" ใครก็ตามรู้แจ้งชัดว่า อายตนะทั้งหก ไม่ใช่ของจริง ขันธ์ทั้งห้าเป็นภาพลวงตา แท้ที่จริงธรรมชาติไม่เคยมีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นปรากฏการณ์มาก่อน เพราะแท้ที่จริงแล้วธรรมชาติย่อมมีแต่ความว่างเปล่า ของมันตามธรรมชาติอยู่อย่างนั้น เมื่อผู้ใดเข้าใจความเป็นจริงดังนี้ได้แล้ว ถือว่าผู้นั้นเข้าใจภาษาของพระพุทธเจ้า และได้ยานแห่งธรรมชาตินั้นพาไปสู่ความเป็นอิสรภาพชั่วนิจนิรันดร

    จิต ที่เป็นธรรมชาติแห่งการไม่ปรุงแต่งใดๆ ถือว่าเป็นเซน ทุกๆครั้งและตลอดไปที่ท่านได้มีธรรมชาติแห่งการระลึกรู้ได้ ในทุกๆขณะท่ามกลางอิริยาบถทั้งสี่ว่า ธรรมชาตินี้มีแต่ความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น นี่ก็ถือว่าเป็นเซน การรู้ว่าธรรมชาติแห่งจิตนี้คือความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนของมันอยู่อย่างนั้น ก็ถือว่าเป็น เซน การรู้ว่าแท้จริง ไม่มีจิต ที่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นจิตต่างๆได้เลย การเห็นว่าแท้จริงแล้วไม่เคยมีจิตเกิดขึ้นเลย นี่ก็เป็นการเห็นธรรมชาติแห่งพุทธะ และนี่ก็เป็นเซน

    การสลัดทิ้งซึ่ง ปรากฏการณ์แห่งอัตตาตัวตน โดยที่ไม่มีความเสียใจใดๆ เป็นการให้ทานที่ยิ่งใหญ่ที่สุด การไปอย่างมีอิสระเหนือความเคลื่อนไหวและเหนือความนิ่ง เป็นธรรมชาติที่มีความเป็นธรรมชาติอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว ไม่แปรผันไปเป็นอย่างอื่น เป็นกรรมฐานที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ ปุถุชนยังเคลื่อนไหวไปพร้อมกับปรากฏการณ์ทั้งหลาย แต่พระอรหันต์ผู้หลุดพ้นย่อมหยุดนิ่ง เป็นการหยุดนิ่งที่สามารถเคลื่อนไหวไปได้ด้วยการไร้ปรากฏการณ์ ก็เมื่อบุคคลทั้งหลายมีความเข้าใจ ถึงความเป็นธรรมชาติของสิ่งเหล่านี้แล้ว ย่อมเห็นธรรมชาติที่สามารถปลดปล่อยตนเองออกมา จากปรากฏการณ์ทั้งปวงได้ โดยปราศจากปรากฏการณ์แห่งความพยายาม ที่จะเป็นธรรมชาติตามที่ใจตนต้องการ

    การ ใช้จิตเฝ้าดูจิต แท้ที่จริงเป็นความหลงผิด การเฝ้าดู "บางสิ่งบางอย่าง" ก็เป็นปรากฏการณ์แห่งการปรุงแต่งเป็นจิตขึ้นเพื่อเฝ้าดูสิ่งสิ่งนั้น เมื่อมันเป็นจิตที่เกิดขึ้นแล้ว มันจึงเป็นการเอาการปรุงแต่งของเราไปเฝ้าระมัดระวังสิ่งสิ่งหนึ่ง ที่มันอาจจะปรุงแต่งหรือมันปรุงแต่งขึ้นมาแล้ว มันจึงเป็นการเอาการปรุงแต่งไปเฝ้าระมัดระวังการปรุงแต่ง มันจึงเป็นการเอาอัตตาเฝ้าระมัดระวังอัตตา เมื่อแท้จริงจิตก็เป็นความมืดมนมาตั้งแต่แรกแล้ว แล้วจะเอาความมืดมนชนิดที่เรียกว่า "จิต" นี้ มาเฝ้าระมัดระวังอะไรอีก เราจึงไม่ควรใช้จิตค้นหาความเป็นจริง แต่เราควรใช้สติปัญญาค้นหาความเป็นจริงตามธรรมชาติ การปลดปล่อยตนเองจากการค้นหาเฝ้าระวัง คือความเป็นอิสรภาพอันแท้จริงแห่งตน การดำรงจิตให้มันเป็นไปตามธรรมชาติแห่งมัน คือการเดินไปบนหนทางแห่งความเป็นจริง โดยสภาพของมันตามธรรมชาติอยู่อย่างนั้น

    การไม่เป็นทุกข์กับการมาและ การไป เป็นการเข้าถึงมรรค การรู้จักธรรมชาติและการไม่สร้างความหลงขึ้นมาอีก คือ โพธิ การดำรงชีวิตบนพื้นฐานความเป็นจริงตามธรรมชาติ โดยไม่เกี่ยวข้องกับอวิชชาคือญาณปัญญา การพ้นจากความทุกข์ยาก คือ พระนิพพาน การหลุดพ้นจากจิตทั้งหลายอันคือมายา คือการเข้าถึงฝั่งแห่งวิมุตติ เมื่อยังถูกอวิชชาครอบงำ ท่านก็อยู่ฝั่งนี้ ฝั่งที่ต้องเวียนว่ายตายเกิด เมื่อท่านรู้แจ้งในธรรมชาติท่านก็มิได้อยู่ฝั่งนี้ ปุถุชนทั้งหลายผู้หลงอยู่ในความมืดบอด ก็ยังต้องอยู่ฝั่งนี้ แต่บุคคลผู้เดินไปตามมรรคที่มันเป็นความบริบูรณ์พร้อม ก็มิได้อยู่ฝั่งทางนี้หรือฝั่งทางไหน บุคคลผู้มีความสว่าง สามารถมองและรู้ด้วยใจของตนเองว่าอะไรเป็นอะไร บุคคลเหล่านี้ย่อมสามารถก้าวข้ามฝั่งทั้งสองนี้ไป ย่อมทิ้งฝั่งทั้งสองไปได้ บุคคลผู้ยังเห็นความแตกต่างระหว่างฝั่งนี้และฝั่งโน้น บุคคลเหล่านี้ชื่อว่ายังไม่เข้าใจธรรมชาติและยังไม่ใช่เซน

    ความหลง เดินไปในหนทางที่มืดมิด เป็นคุณสมบัติของปุถุชน ธรรมชาติแห่งการระลึกรู้เป็นคุณสมบัติของผู้รู้ตื่นพุทธะ ทั้งสองอย่างนี้ไม่เหมือนกัน แต่ก็ไม่มีความแตกต่างกัน เพราะความเสมอภาคแห่งทุกสรรพสิ่ง ทำให้ปุถุชนไม่มีความแตกต่างไปจากผู้รู้ตื่น ในพระสูตรกล่าวว่า "อมตธรรม เป็นสิ่งที่ปุถุชนเข้าถึงไม่ได้ และนักปราชญ์ก็ไม่ได้ปฏิบัติ แต่อมฤตธรรม ถูกปฏิบัติโดยโพธิสัตว์ และพระพุทธเจ้าแต่เพียงเท่านั้น" การเฝ้าดูจิตเฉยๆว่านี่คือชีวิตเสมือนต่างจากความตาย การเฝ้าดูความเคลื่อนไหวเสมือนต่างจากความนิ่ง นั่นเป็นการแบ่งแยก

    การ ไม่แบ่งแยกหมายถึง ทุกข์กับนิพพานไม่มีความแตกต่างกัน หากเห็นว่ามีความแตกต่างกัน นิพพานที่เห็นก็เป็นเพียงนิพพานแห่งภาวะ ที่คุณปรุงแต่งถึงความเป็นหน้าตาแห่งมันขึ้น เพราะทุกข์กับนิพพานแท้จริงมีความเสมอภาคกัน ในความเป็นธรรมชาติแห่งความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนอยู่อย่างนั้น หากเห็นว่ายังแตกต่าง การเข้าถึงที่สุดแห่งความทุกข์และการเข้าสู่นิพพาน ก็เป็นเพียงภาพแห่งความคิดของเราแต่เพียงเท่านั้น เป็นการติดกับดักในความเป็นปรากฏการณ์แห่งนิพพานที่เกิดขึ้น นิพพานชนิดนี้มันย่อมตั้งอยู่ในสภาพแห่งมันได้ไม่นาน ภาวะแห่งนิพพานนี้ มันต้องดับไปในความเป็นตัวเป็นตนแห่งนิพพานอยู่อย่างนั้น แท้จริงหามีภาวะแห่งนิพพานปรากฏเป็นตัวเป็นตนอยู่อย่างนั้นไม่ มันคงมีแต่ธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น แต่ผู้ที่รู้แจ้งย่อมรู้ชัดว่าความทุกข์ โดยสาระตามความเป็นจริง มันคือความว่างตามธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น การตระหนักอย่างชัดแจ้งและกลมกลืน เป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติแห่งความว่าง มันก็คือนิพพานโดยเนื้อหาของมันอยู่อย่างนั้น ในความเสมอภาคแห่งทุกสรรพสิ่งโดยไม่มีความแตกต่างใดๆ



    [​IMG]



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
     
  20. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    <table class="tablebg" cellspacing="1" width="100%"><tbody><tr class="row2"><td valign="top"><table cellspacing="5" width="100%"><tbody><tr><td>หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
    ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    บทที่ 39 นิพพาน

    นิพพาน หมายถึงความไม่เกิดและไม่ตาย มันเป็นธรรมชาติที่อยู่นอกเหนือ การต้องไปเกิดและการที่จำพรากจากไปด้วยความตาย และมันอยู่นอกเหนือการปรากฏการณ์แห่งภาวะนิพพานที่เกิดขึ้น เพราะการเข้าไปยึดภาวะแห่งการหลุดพ้น เมื่อจิตหยุดการเคลื่อนไหวไป ในทิศทางแห่งความหมายที่เป็นตัวเป็นตนแห่งจิต จิตนั้นก็กลายเป็นธรรมชาติแห่งจิตที่มีแต่ความว่างเปล่า นิพพานก็คือธรรมชาติแห่งจิตนี้ โมหะไม่ได้อยู่ที่ใด พระพุทธเจ้าก็เข้าสู่นิพพานที่จิตอันเป็นธรรมชาติของท่าน ความทุกข์โดยสภาพของมันไม่มีที่ตั้ง ถึงพยายามจะตั้งให้มันเป็นทุกข์อยู่อย่างนั้น โดยธรรมชาติแล้วมันก็ไม่สามารถตั้งอยู่ได้ เมื่อความทุกข์โดยธรรมชาติแล้วตั้งอยู่ไม่ได้ มันคงเป็นเพียงแต่ธรรมชาติแห่งความว่างเปล่า พระโพธิสัตว์ก็ตรัสรู้ธรรมรู้แจ้งชัดในความตั้งอยู่ไม่ได้ ณ ที่นั้น

    สถาน ที่ที่ไม่น่าอยู่มีความอึดอัดคับแคบ คือสถานที่แห่งภพทั้งสาม ในความโลภ โกรธ หลง เมื่อมีความปรุงแต่งเกิดขึ้น ก็เข้าไปอยู่ในภพทั้งสาม เมื่อรู้แจ้งและเข้าถึงธรรมอันเป็นธรรมชาติ ก็สามารถออกมาจากภพทั้งสามได้ การเริ่มหรือการอยู่กับภพทั้งสามก็ขึ้นอยู่กับจิต จิตนี้ย่อมเข้าถึงได้ทุกสรรพสิ่ง ใครก็ตามที่รู้ว่า จิตมันเป็นเพียงมายาแห่งภาวะที่เกิดขึ้นเป็นจิตต่างๆ จึงเป็นผู้รู้ว่าจิตนี้คือธรรมชาติแห่งความว่าง แต่ปุถุชนผู้ปกคลุมไปด้วยจิตของตนที่เป็นภาวะแห่งการปรุงแต่ง จึงชอบอ้างว่า "จิตมีอยู่" แต่โพธิสัตว์ทั้งหลายและพระพุทธเจ้า รู้แจ้งชัดถึงการไม่ปรุงแต่งและการปรุงแต่งเป็นจิต ซึ่งหมายถึงมิใช่การไม่มีอยู่ของจิตหรือการมีอยู่ของจิต มันมิใช่ความหมายทั้งสองนี้ในเรื่องการมีหรือไม่มี แต่มันเป็นเพียงธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น มันไม่ใช่เป็นเรื่องของจิต และมันไม่ใช่การเป็นเรื่องความมีหรือไม่มีจิต แต่มันเป็นเรื่องของธรรมชาติที่มันเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น มันจึงเป็นทางสายกลางอย่างแท้จริง มันเป็นกลางนอกเหนือความมีอยู่หรือไม่มีอยู่

    ถ้าท่านศึกษาความเป็น จริงแห่งธรรมชาติอันคือสัจจะ โดยไม่ใช้จิตมาเกี่ยวข้อง ท่านก็สามารถเข้าถึงความเป็นจริงอันคือสัจจะ และความเป็นจริงแห่งจิตได้ บุคคลผู้มืดบอดไม่มีปัญญาอันแท้จริงย่อมไม่เข้าใจสัมมาทิฐิ บุคคลผู้มีปัญญาอันแจ้งชัดย่อมเข้าใจในสัมมาทิฐิ บุคคลที่รู้ว่าธรรมชาติและจิตเป็นสิ่งเดียวกันมาตั้งแต่ต้น รู้ว่าแท้จริงจิตคือธรรมชาติที่มันว่างเปล่าอยู่อย่างนั้น ก็คือบุคคลที่ได้ปัญญาแห่งความเป็นพุทธะแล้ว คนเหล่านี้ย่อมอยู่เหนือภาวะแห่ง การมีอยู่แห่งปัญญาญาณและการไม่มีอยู่แห่งปัญญาญาณ นั่นคือความเป็นสายกลางแห่งสัมมาทิฐิ

    เมื่อได้ดำเนินไปในทางสายกลาง รูปจึงมิใช่รูป เพราะรูปมีความเสมอภาคกับธรรมชาติแห่งจิต จิตและรูปเป็นเพียงเหตุได้อาศัยซึ่งกันและกัน มันจึงมิใช่ความหมายแห่งการมีรูปและมีจิต มันจึงมิใช่เป็นการเกิดขึ้นแห่งการมีอยู่ของการที่รูปกับจิตได้อาศัยกัน ทางสายกลางจึงเป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น มิได้เกี่ยวกับอะไรและอะไรระหว่างรูปกับจิต

    ก็ด้วยความเป็นจริงตาม ธรรมชาติซึ่งเป็นสัจจะนี้ มันเป็นเพียงธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น มิได้เกี่ยวกับจะต้องมีสิ่งใดเห็นและจะต้องมีสิ่งใดถูกเห็น ธรรมชาติมิใช่การได้เห็นและต้องเห็นภาวะที่เกิดขึ้น ธรรมชาติมันย่อมแจ่มแจ้งไปโดยรอบ โดยความเป็นตัวมันเองแห่งธรรมชาติ โดยไม่ต้องใช้ความมุ่งเน้นในการดูการเห็น เพราะการดูการเห็นโดยมุ่งเน้นนี้ มันทำให้เกิดภาวะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นเพียงการได้เห็นได้ดูได้ทัศนาแห่งปุถุชนภาวะแต่เพียงเท่านั้น มันมิใช่การเห็น "ตามความเป็นจริง" แต่อย่างใด

    จิตและโลกมันอยู่ตรง ข้ามกันเสมอ การรู้เห็นด้วยความเป็น"จิต" ที่ทำให้ความหมายแห่งความเป็นโลกเกิดขึ้น เป็นการรู้เห็นเกิดจากการพบเห็นโดยใช้จิตเพ่งมองดู แต่เมื่อโลกและจิตทั้งสองมีความเสมอภาคแจ่มแจ้งเท่ากัน จึงเป็นการใช้จิตตามธรรมชาติมองดูโลกนี้ตามความเป็นจริง จึงเป็นการเห็นแบบสัมมาทิฐิ การมองไม่เห็นสิ่งใดๆ คือการเข้าใจมรรค การไม่เข้าใจสิ่งใดๆเลย คือการเข้าใจธรรมะ เพราะการเห็นที่แท้จริงมิใช่การมองเห็นหรือการมองไม่เห็น และการเข้าใจที่แท้จริงมิใช่การเข้าใจแล้วหรือยังมิได้เข้าใจ การเข้าใจโดยที่มิต้องอาศัยการเข้าใจ การเข้าใจจึงเป็นการเข้าใจตามความเป็นจริง การเห็นตามความเป็นจริงมิใช่เป็นการเห็นแต่เพียงเท่านั้น แต่มันเป็นการเห็นตามธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้นโดยมิต้องใช้วิธีดู และสัมมาทิฐิมันมิใช่เป็นการเห็นด้วยสติปัญญาแต่เพียงเท่านั้น แต่มันเป็นการเห็นตามความเป็นจริงของมันอยู่อย่างนั้น เมื่อท่านได้เป็นสิ่งเดียวกันกับธรรมชาตินั้นแล้ว จึงมิใช่เป็นเรื่องของความเข้าใจและความไม่เข้าใจ ความเข้าใจในเรื่องธรรมชาติมันมิใช่ความเข้าใจในภาวะที่เกิดขึ้น

    เมื่อ ท่านเข้าใจความเป็นจริงตามธรรมชาติ ความจริงนั้นก็อาศัยท่าน เมื่อท่านยังไม่เข้าใจในความเป็นจริง ท่านก็อาศัยความเป็นจริงนั้น เมื่อความเป็นจริงอาศัยท่านด้วยความไม่มีอะไรแตกต่าง ระหว่างท่านกับความจริงนั้น สิ่งที่ไม่จริงนั้นก็กลายเป็นจริงตามธรรมชาติ แต่เมื่อท่านต้องอาศัยความเป็นจริง สิ่งที่จริงตามธรรมชาติของมันก็กลายเป็นเท็จในสายตาท่าน ทุกสรรพสิ่งก็เป็นจริงตามเนื้อหาของมัน ที่เป็นอยู่อย่างนั้นอยู่แล้วตามธรรมชาติ
    ดังนั้นผู้รู้ทั้งหลายจึงไม่ ใช้จิตของตนค้นหาสัจธรรม เพราะจิตนั้นโดยความเป็น "จิต" ของมันเอง มันคือภาวะแห่งการเคลื่อนไหวไป โดยมิได้ทำให้เกิดความจริงขึ้นมาแต่อย่างใด และความจริงซึ่งคือธรรมชาติก็มิได้ทำอะไรให้เกิดขึ้นได้ แม้กระทั่งการเกิดขึ้นแห่งจิต ดังนั้นผู้รู้ทั้งหลายจึงใช้สัจธรรมค้นหาสัจธรรม ใครก็ตามที่รู้ว่าแท้จริงตามธรรมชาติ ย่อมไม่มีอะไรกับอะไรอาศัยซึ่งกันได้ ผู้นั้นย่อมเข้าถึงมรรค ใครก็ตามที่รู้ว่า "จิต" นี้ย่อมเป็นจิตอยู่อย่างนั้น มิได้ขึ้นอยู่กับความเป็นอะไร เขาผู้นั้นย่อมพบเส้นทางแห่งการรู้ชัดแจ้งในธรรมชาติอยู่เสมอ

    เมื่อ ท่านไม่เข้าใจ ท่านก็ผิด ผิดไปจากความเป็นจริง เมื่อท่านเข้าใจท่านก็ไม่ผิด เป็นความเข้าใจตามธรรมชาติอยู่อย่างนั้น เพราะความผิดทั้งหลายมันเป็นของว่างเปล่า เสมอกันในบรรดาแห่งความผิดเหล่านั้น เมื่อท่านไม่เข้าใจ ต่อให้ท่านใช้ความพยายามอีกสักเท่าใด ความที่มันถูกอยู่แล้วตามธรรมชาติของมัน ก็กลับกลายมาเป็นผิดตามความไม่เข้าใจของท่าน และเมื่อท่านเข้าใจมันแล้วความผิดก็มิใช่ความผิดอีกต่อไป มันก็คงมีแต่ความถูกตามความเป็นจริงตามธรรมชาติ ที่ท่านเข้าใจมันอยู่อย่างนั้น ก็เพราะด้วยความเป็นจริง "ความผิด" ย่อมไม่มีอยู่จริง
    พระสูตรกล่าวว่า "ไม่มีธรรมชาติที่เป็นตัวของมันเองได้เลย มันคงมีแต่ธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น ในความเป็นจริงแห่งความว่างเปล่า" เมื่อท่านยังหลงไปในความเป็นอวิชชา ตัณหา อุปาทาน อายตนะทั้งหกและขันธ์ทั้งห้าย่อมสร้างความทุกข์ และการเกิดการตายให้แก่ท่านได้อยู่ทุกเมื่อ แต่เมื่อท่านได้มีธรรมชาติแห่งการระลึกรู้ได้อยู่เสมอ อายตนะทั้งหกและขันธ์ทั้งห้าก็เป็นเพียงเหตุปัจจัย ที่ท่านได้อาศัยเพื่อความเป็นเสมอภาคในธรรมชาติ ที่คงอยู่กับท่านอยู่อย่างนั้น คนที่พบมรรคเดินไปบนหนทางที่ถูกต้อง ย่อมรู้ว่าธรรมชาติแห่งจิตตนนั้นคือมรรค เมื่อเขาพบกับจิตชนิดนี้เขากลับไม่พบอะไรในความเป็นจริงนั้น เมื่อเขาได้เดินไปบนหนทางแห่งความไม่มีอะไรในมรรคนั้น เขากลับพบความเป็นจริงในทุกย่างก้าวที่ได้ก้าวไป ถ้าท่านยังคิดว่ามรรคนั้นเกิดจากการใช้จิตค้นหา ท่านก็ยังดำเนินไปในทางที่ผิดอยู่ เพราะมรรคนั้นเป็นการทำความเข้าใจ ในความเป็นจริงที่มีอยู่ตามธรรมชาติอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นมรรคจึงไม่ใช่การค้นหาและต้องใช้อะไรค้นหา ถึงท่านจะหลงทางไป แต่ความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะนั้นยังคงอยู่ เมื่อท่านมีธรรมชาติแห่งการระลึกรู้ได้ ถึงความที่ธรรมชาติมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น ความหลงก็จะหายไป ความเป็นมรรคที่แท้จริงก็จะปรากฏอยู่ต่อหน้า ต่อให้ท่านใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ที่จะค้นหามรรค จนลมหายใจท่านหยุดและร่างกายแตกดับ แต่เมื่อท่านหยุดการดิ้นรนค้นหา ในมายาแห่งมรรคนั้น มรรคนั้นก็จะกลับมาเป็นมรรคตามความเป็นจริงแห่งมัน จงปลดเปลื้องความคิดทุกความคิด อันเกี่ยวกับมรรคและธรรมทุกชนิดออกเสีย แล้วหันหน้ามาเผชิญต่อความเป็นจริงแล้ว ตามที่มันเป็นอยู่ของมันตามธรรมชาติอยู่แล้ว

    การเห็นรูปแต่ธรรมชาติ แห่งจิตไม่เศร้าหมองเพราะรูปนั้น การได้ยินด้วยธรรมชาติแห่งจิตนั้น ชื่อว่าเป็นการดำรงชีวิตอยู่ด้วยจิตหลุดพ้น อันคือความเป็นไปในความเป็นธรรมชาติของจิตนั้นนั่นเอง ตา ที่มองเห็นด้วยความเป็นธรรมชาติ ขึ้นชื่อว่า เซน หู ที่ได้ยินด้วยความเป็นธรรมชาติ ขึ้นชื่อว่า เซน เช่นกัน กล่าวโดยสรุปบุคคลที่ยอมรับว่าชีวิตตนคือธรรมชาติแห่งพุทธะนั้น ชื่อว่า จิตอันหลุดพ้นเพราะความเป็นธรรมชาตินั้น เมื่อท่านมองดูรูปด้วยความเป็นธรรมชาติของจิต รูปก็ไม่ขึ้นต่อจิต และจิตก็ไม่ขึ้นต่อรูป ทั้งรูปและจิตนี้ต่างก็บริสุทธิ์ตามธรรมชาติอยู่แล้ว

    เมื่อ ปราศจากโมหะ จิตก็คือธรรมชาติแห่งพุทธะ เมื่อโมหะมี จิตก็คือจิตแห่งการยึดมั่นถือมั่น อวิชชาสร้างความหลงและให้จิตสร้างภพชาติให้เกิดขึ้น ปุถุชนจึงหลงไปเกิดในดินแดนแห่งการเกิดการตายนับไม่ถ้วน พระโพธิสัตว์ได้รู้แจ้งแทงตลอดถ้วนทั่วทุกอณูธรรมธาตุ ท่านจึงเลือกที่จะอยู่เป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติแห่งพุทธะนั้น
    ถ้า ท่านไม่ใช้จิตปรุงแต่ง จิตโดยธรรมชาติมันนั้นมันคือธรรมชาติแห่งความหยุดนิ่ง ปราศจากความเคลื่อนไหวปรุงแต่งใดๆกลายเป็นจิตต่างๆนานา จิตมันเป็นธรรมชาติแห่งความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนอยู่อย่างนั้น มันจึงชื่อได้ว่า ธรรมชาติแห่งการหยุดนิ่งภายใน เมื่อท่านหลงไปปรุงแต่งจนเกิดเป็นภาวะแห่งจิต ท่านก็จะหลงไปทำกรรมดีกรรมชั่ว ต้องไปเกิดในนรก ในสวรรค์

    กายไม่ใช่ สิ่งที่มีอยู่หรือไม่มีอยู่ แต่กายก็เป็นสิ่งหนึ่งที่มีความเสมอภาค ในความเป็นธรรมชาติอยู่อย่างนั้น อัตตาเป็นทรัพย์ของปุถุชน อนัตตาเป็นอริยทรัพย์ของบัณฑิต เมื่อท่านได้ทำความเข้าใจรู้จักความเป็นธรรมชาติ ความเป็นอนัตตาคือธรรมชาติแห่งความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้น มันก็เป็นญาณที่ดีที่ทำให้ท่านเข้าถึงความเป็นธรรมชาตินั้นๆ โดยไม่ต้องทำอะไรลงไปอีกเลย เมื่อจิตเข้าถึงนิพพานอันคือธรรมชาติที่แท้จริงแห่งจิต ท่านก็จะไม่เห็นนิพพานในลักษณะเป็นภาวะนิพพานที่มันเกิดขึ้น แต่ถ้าท่านเห็นนิพพานด้วยความเป็นจิตแห่งภาวะที่เกิดขึ้น ท่านก็กำลังหลงตัวเอง

    ความทุกข์ยากคือเมล็ดพันธุ์พืชแห่งพุทธะ ความทุกข์เป็นสัจธรรมความเป็นจริง ที่เข้ามากระตุ้นให้ปุถุชนใช้ปัญญาพิจารณา ถึงธรรมชาติแห่งทุกข์นั้น
    แต่ ท่านอาจคิดไปว่า ทุกข์ทำให้พุทธะภาวะเกิดขึ้น แต่ไม่อาจกล่าวว่าทุกข์เป็นพุทธะภาวะ แต่ความเป็นจริงตามธรรมชาติ ทุกข์และพุทธะต่างก็เป็นเพียงเหตุและปัจจัย อาศัยซึ่งกันและกันแต่เพียงเท่านั้น ทุกข์และพุทธะต่างก็มีความเสมอภาคกัน ด้วยความเป็นเนื้อหาเดียวกันในความเป็นจริงตามธรรมชาตินั้น กายและจิตของท่านเปรียบเสมือนดั่งท้องทุ่งนา ทุกข์คือเมล็ดพืช ปัญญาคือต้นกล้า พุทธะคือเมล็ดข้าว อุปมาอีกอย่างหนึ่ง จิตอันคือธรรมชาติแห่งพุทธะนั้นเปรียบเสมือนกลิ่นหอมในไม้ พุทธะเกิดจากธรรมชาติแห่งจิตที่มีความเป็นอิสระอยู่อย่างนั้น มันเป็นเหตุให้อาศัยซึ่งกันและกันในความเป็นธรรมชาตินั้น ถ้ามีกลิ่นหอมโดยปราศจากไม้ ก็เป็นกลิ่นหอมที่ประหลาด ถ้าเป็นพุทธะโดยปราศจากธรรมชาติแห่งจิต ก็เป็นพุทธะที่ประหลาดเช่นกัน



    [​IMG]



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ครูสอนเซน
    อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> <tr class="row2"> <td class="profile" align="center">
    </td> </tr></tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...