สิ่งที่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายควรทำไว้ในใจให้มั่นคง

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย ธัมมะสามี, 4 พฤษภาคม 2013.

  1. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ..... ต่อจากนั้นไป องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรด เป็นอันว่าเทศน์ก่อนเวลา เทศน์คนฟังแค่ ๓ คนเมื่อเทศน์จบก็ปรากฎว่าบิดามารดาทั้งสองท่านได้พระโสดาปัตติผล



    ..... สำหรับองค์สมเด็จพระทศพลบรมศาสดาอาศัยมีธรรมปีติมากเกินไป จึงไม่ได้อริยมรรคอริยผล ได้แต่การเข้าถึงไตรสรณคมน์



    ..... การเทศน์คราวนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเทศน์ถึงบุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการ เทศน์ว่า

    ... ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน

    ... สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล

    ... ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา

    ... และกล่าวอานิสงส์ของสังฆทานว่า

    ... " บุคคลใดได้ถวายสังฆทานแล้วครั้งหนึ่งในชีวิต ตายไปแล้วกี่ชาติ ๆ กว่าจะเข้าพระนิพพาน คนนั้นก็พ้นจากความยากจนเข็ญใจ จะมี(จน)ขึ้นมาบ้าง ก็อาศัยกรรมที่เป็นอกุศลอาศัยมากลั่นแกล้งไม่ช้าก็สลายตัวไป " องค์สมเด็จพระจอมไตรก็ทรงผูกพันเรื่องสังฆทาน เพราะมันไม่จน




    ..... เมื่อฟังเทศน์จบ ก็ลาองค์สมเด็จพระทศพลบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ากลับบ้าน บิดามารดาก็ดีใจว่าได้เป็นพระอริยะเจ้า องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ดีใจว่า สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า คือ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า อุทุมพร ชมว่าเป็นคนดีมีความกตัญญูรู้คุณ ต่างคนต่างดีใจ และก็มาผูกพันว่า เมื่อไรหนอเราจึงจะมีโอกาสได้ถวายสังฆทาน




    ..... นับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ทุกคืนก็ไปฟังเทศน์พระพุทธเจ้า กลางวันก็ทำงานเป็นพิเศษ จนกระทั่งตั้งใจที่จะถวายทานแด่องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์สัมมาสัมพุทธเจ้ากับพระสงฆ์ ๘๐,๐๐๐ รูปเป็นเหตุ

    ... แต่ว่าต้นทุนมันน้อย แต่พระพุทธเจ้าบอกว่า " การถวายสังฆทาน ของเล็กน้อยก็ทำได้ " จึงได้รวบรวมกำลังทรัพย์สินที่พึงหาได้ในกรณีพิเศษมาเพื่อถวายสังฆทาน ก็ได้ข้าวไปหนึ่งหม้อน้อยๆ แกงหนึ่งหม้อ ขนมอีกหนึ่งหม้อ น้ำอีกหน่อยหนึ่ง ไปประกาศถวายสังฆทานแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข




    ..... เวลานั้น ทิพย์อาสน์เคยอ่อนแต่ก่อนมาของท้าวโกสีย์สักกะเทวราชก็เกิดแข็งกระด้าง คิดว่าคนนี้ต่อไปจะได้บรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า เราจะต้องไปช่วย



    .....ฉะนั้น ในการถวายทานคราวนั้น ความจริงอาหารอื่นของพระก็มีอยู่ แต่ว่าองค์สมเด็จพระบรมครูทรงพระนามว่าอุทุมพร ตรัสกับพระว่า " จงอย่าฉันอาหารที่บิณฑบาตมาในตอนเช้าแล้วให้เหลืออยู่ องค์สมเด็จพระบรมครูให้ฉันอาหารหม้อเดียวของกระทาชายนายนั้น " ด้วยอำนาจของพระอินทร์บันดาล พระ ๘๐,๐๐๐ รูป กับพระพุทธเจ้าอีกองค์หนึ่งฉันอาหารไม่หมด



    ..... เมื่อพระพุทธเจ้าฉันภัตตาหารเสร็จ พระสงฆ์ฉันเสร็จ ก่อนที่จะโมทนากระทาชายนายนั้น จึงเข้าไปหาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขอปรารถนาพระโพธิญาณ คือ อยากจะเป็นพระพุทธเจ้าบ้าง พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าอุทุมพรจึงได้ทรงพยากรณ์ว่า

    ... " นับตั้งแต่กัปหน้าต่อไป กัปนี้ไม่นับ อีก ๔ อสงไขยกับแสนกัป เธอจะได้เป็นพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า พระสมณะโคดมบรมครู "



    ..... และหลังจากนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงแสดงพระธรรมเทศนา เมื่อเทศน์จบก็ปรากฎว่า บิดามารดาทั้งสองบรรลุอรหัตผล ลูกชายเป็นพระโพธิสัตว์ ได้เข้าถึงไตรสรณาคมณ์



    ..... เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว บิดามารดาทั้งสองก็ขอบวชในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุมัติ ตรัสว่า " เอหิ ภิกขุ เจ้าจงเป็นภิกษุมาเถิด " สองท่านก็เป็นพระในทันที แล้วสมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าก็กลับบ้าน



    ..... นับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ภาระมันก็น้อย ก็เลยไปหาพระพุทธเจ้าทั้งกลางวันและกลางคืน แบ่งเวลาตอนเช้าไปตัดฟืน ตอนเที่ยงก็เลิก ตอนบ่ายไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ตอนเย็นก็กลับ ตอนกลางคืนไปเฝ้าพระพุทธเจ้าฟังเทศน์แล้วก็กลับ มีจิตปรารถนาอย่างเดียวคือ พระโพธิญาณ



    ..... นี่แหละ บรรดาท่านพระพุทธบริษัททุกท่าน เรื่องนี้เห็นจะหาตำราอ่านได้ยาก เมื่อองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

    ... " ก่อนที่องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์จะปรารถนาพระโพธิญาณนั้น ก็เริ่มต้นมาจากการถวายสังฆทานเป็นเหตุ ฉะนั้น จึงเป็นปัจจัยให้องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ "



    ..... และองค์สมเด็จพระพิชิตมารจึงได้ตรัสว่า

    ... " คนที่ถวายสังฆทานแล้ว ถ้าจะปรารถนาพุทธภูมิ ก็จะได้เป็นพระพุทธเจ้า ปรารถนาเป็นพระสาวก ก็ได้เป็นพระพุทธสาวก ปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าก็ย่อมได้ ถ้าปรารถนาจะเป็นอรหันต์ในศาสนาขององค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา องค์ใดองค์หนึ่งก็ย่อมได้เช่นเดียวกัน และยิ่งไปกว่านั้น สังฆทานยังเป็นปัจจัยให้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชและมหาเศรษฐี "



    ..... เอาละ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายโดยถ้วนหน้า เป็นอันว่าประวัติความเป็นมาขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วที่หาได้ยาก ในการเริ่มต้นในปรารถนาพระโพธิญาณ เล่ามาก็พอสมควรแก่เวลา



    ..... ในที่สุดนี้ อาตมภาพในฐานะพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาขอตั้งสัตยาธิษฐาน อ้างคุณพระศรีรัตนตรัย มีพระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ และสังฆะรัตนะทั้ง 3 ประการ ขอจงบันดาลให้ท่านพุทธบริษัททั้งหลายโดยถ้วนหน้า

    ... ถ้าจะปรารถนาเป็นพระโพธิญาณ ก็ขอให้ได้บรรลุพระโพธิญาณสมความปรารถนา

    ... ถ้าจะปรารถนาเป็นอัครสาวก พระมหาสาวก พระสาวก ปกติธรรมดาก็สำเร็จผล


    ... และขอบรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทุกท่าน จงประสบแต่ความสุขสวัสดิ์พิพัฒน์มงคล สมบูรณ์พูนผล และจงเจริญไปด้วยจตุรพิธพรชัยทั้ง ๔ ประการ มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ หากทุกท่านมีความประสงค์สิ่งใด ก็ขอให้ได้สิ่งนั้นสมความปรารถนาจงทุกประการ ฯ.



    ..... การสร้างบารมีเพื่อพุทธภูมิขององค์พระพุทธอังคีรสพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันที่เล่ามานี้ เป็นการสร้างพระบารมีตอนกลาง คือ ตอนเปล่งวจีปณิธานออกโอษฐ์ปรารถนาพระพุทธภูมิ พระองค์สร้างพระบารมีตอนเปล่งวจีปณิธานนี้ เป็นเวลาระยะกาลนานถึง ๙ อสงไขย
     
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,884
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    ฟังแล้วไม่อิ่ม ไม่เบื่อ มีแต่ความปิติ สาธุธรรมค่ะ
     
  3. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    พระบารมีตอนเป็นพระนิยตะบรมโพธิสัตว์
    ระยะกาล ๔ อสงไขย กำไรแสนกัป



    ..... บัดนี้ จักพรรณนาถึงการสร้างพระบารมี เพื่อพระอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณขององค์สมเด็จพระสมณะโคดมบรมครูเจ้าตอนปลาย คือตอนที่ทรงได้รับพระพุทธพยากรณ์จากสำนักสมเด็จพระชินวรสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย



    ..... เมื่อพระองค์ได้ทรงเริ่มสร้างพระบารมีตอนต้นเป็นมโนปณิธานตั้งความปรารถนา ซึ่งพระพุทธภูมิแต่ในพระหฤทัยเป็นเวลานาน ๗ อสงไขย และต่อมาได้ทรงสร้างพระบารมีตอนกลางเป็นวจีปณิธานตั้งความปรารถนาซึ่งพระพุทธภูมิด้วยการออกโอษฐ์เปล่งพระวาจาเป็นเวลานาน ๙ อสงไขย ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น

    ... ตอนนี้ก็ถึงการสร้างพระบารมีตอนปลาย ซึ่งเป็นตอนที่สำคัญเพราะความมุ่งมั่นในพระโพธิญาณของพระองค์ใกล้จะสำเร็จลงแล้ว โดยได้รับพระพุทธพยากรณ์จากสำนักแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายว่าจักได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในกาลอนาคตแน่นอน ซึ่งนั่นก็หมายความว่า พระองค์ใดทรงเป็นนิยตะโพธิสัตว์ คือเป็นพระโพธิสัตว์ผู้เที่ยงแท้แน่นอนต่อการได้บรรลุพระอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ แม้ว่าพระองค์ใกล้จะได้สำเร็จซึ่งพระโพธิญาณ เพราะได้ผ่านการสร้างพระบารมีในกาลเป็นอนิยตะโพธิสัตว์มานานถึง ๑๖ อสงไขยก็ดี ถึงกระนั้นพระองค์ก็ยังต้องทรงสร้างพระบารมีในตอนปลายนี้อีก เป็นระยะกาลนานถึง ๔ อสงไขยกับเศษอีกหนึ่งแสนกัป



    ..... สมเด็จพระสมณะโคดมบรมครูเจ้าของเราทั้งหลาย ได้ทรงพระอุตสาหะสร้างพระบารมี ๓๐ ทัศ ในตอนปลายนี้ เป็นกาลเวลานานถึง ๔ อสงไขย กับอีกหนึ่งแสนกัปนั้น พึงทราบตามลำดับของพระชาติที่พระองค์ทรงมีโอกาสพบสมเด็จพระพุทธเจ้าและได้รับพระพุทธพยากรณ์จากสำนักสมเด็จพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่พระองค์พบในพระชาตินั้นๆ ดังต่อไปนี้



    ๑. สมเด็จพระพุทธทีปังกรวิริยาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ..... ในที่สุด ๔ อสงไขยกับหนึ่งแสนกัปนับถอยหลังจากกภัทรกัปนี้ไป ปรากฏว่ามี สารมัณฑกัปหนึ่งบังเกิดขึ้น ก็สารมัณฑกัปนี้ เป็นกัปที่มีสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาตรัสในโลก ๔ พระองค์ คือ
    ... ๑. สมเด็จพระพุทธตัณหังกรวิริยาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ... ๒. สมเด็จพระโลกนาถเมธังกรวิริยาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ... ๓. สมเด็จพระศรีสรรเพชญสรณังกรวิริยาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ... ๔. สมเด็จพระพุทธมหามุนีทีปังกรวิริยาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้า



    ..... ก็ในกาลที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๓ พระองค์แรก คือ สมเด็จพระตัณหังกรพุทธเจ้า สมเด็จพระเมธังกรพุทธเจ้า และสมเด็จพระสรณังกรพุทธเจ้า เสด็จมาตรัสในโลกและประกาศพระศาสนาอยู่นั้น พระโพธิสัตว์เจ้าของเราก็ได้เกิดในโลกนี้ และสร้างพระบารมีในสำนักของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นทุกๆ พระองค์ แต่เพราะยังไม่ถึงกาลจึงยังไม่ได้รับพระพุทธพยากรณ์จากพระโอษฐ์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งสามพระองค์นั้นเลย ครั้นเมื่อถึงกาลแห่งพระศาสนาของสมเด็จพระสรรเพชญทีปังกรพุทธเจ้าจึงเป็นกาลสมควรได้รับพระพุทธพยาการณ์ ดังเราจะพรรณาต่อไปนี้


    ..... อุบาสกชาวรัมมะนครเหล่านั้น ถวายมหาทานแด่สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานแล้ว ก็บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าพระพุทธทีปังกรวิริยาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเสวยเสร็จชักพระหัตถ์ออกจากบาตรแล้ว ด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้นอีก ถวายบังคมแล้วอยากจะฟังอนุโมทนาทาน จึงเข้าไปนั่งใกล้ๆ



    ..... ลำดับนั้น พระศาสดาได้ทรงทำอนุโมทนาทานไพเราะอย่างยิ่ง จับใจของอุบาสกเหล่านั้นว่า

    ... " ธรรมดา(สังฆทานที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน)ทาน ท่านกล่าวว่าเป็นต้นเหตุสำคัญของสุขเป็นต้น (และ)ยังกล่าวว่าเป็นที่ตั้งแห่งบันไดทั้งหลายที่ไปสู่(สวรรค์และ)พระนิพพาน

    ... ทานเป็นเครื่องป้องกันของมนุษย์ ทานเป็นเผ่าพันธุ์เป็นเครื่องนำหน้า ทานเป็นคติสำคัญของสัตว์ที่ถึงความทุกข์

    ... ทาน ท่านแสดงว่าเป็นนาวา(เรือ) เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องช่วยข้ามทุกข์ และทานท่านสรรเสริญว่าเป็นนคร เพราะป้องกันภัย

    ... ทาน ท่านกล่าวว่าเป็นอสรพิษ เพราะอรรถว่าเข้าใกล้ได้ยาก ทานเป็นดังดอกปทุม เพราะมลทินคือโลภะเป็นต้นฉาบไม่ได้

    ... ที่พึ่งพาอาศัยของบุรุษ เสมอด้วยทานไม่มีในโลก เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงบำเพ็ญทานด้วยการทำตามอัธยาศัย

    ... นรชนคนไรเล่า ผู้มีปัญญาในโลกนี้ ผู้ยินดีในประโยชน์เกื้อกูล จะไม่พึงให้ทานทั้งหลาย ที่เป็นเหตุแห่งโลกสวรรค์

    ... นรชนคนไรเล่า ได้ยินว่าทานเป็นแดนเกิดสมบัติในเทวดาทั้งหลาย(และแม้ในมนุษย์โลก) จะไม่พึงให้ทานอันให้ถึงซึ่งความสุข ทานเป็นเครื่องยังจิตให้ร่าเริง

    ... นรชนบำเพ็ญทานแล้ว ก็เป็นผู้อันเทพอัปสรห้อมล้อม อภิรมย์ในนันทะวัน แหล่งสำเริงสำราญของเทวดาตลอดกาลนาน

    ... ผู้ให้ย่อมได้ปีติอันโอฬาร ย่อม(ได้)ประสบความเคารพในโลกนี้ ผู้ให้ย่อม(ได้)ประสบเกียรติเป็นอันมาก ผู้ให้ย่อมเป็นผู้อันมหาชนไว้วางใจ

    ... นรชนนั้นให้ทานแล้ว ย่อมถึงความมั่งคั่งแห่งโภคะและมีอายุยืน ย่อมได้ความมีเสียงไพเราะและรูปสวยอยู่ในวิมานทั้งหลายที่นกยูงอันน่าชื่นชมนานาชนิดร้องระงม เล่นกับเทวดาทั้งหลายในสวรรค์

    ... (สังฆ)ทานเป็นทรัพย์ไม่ทั่วไปแก่ภัยทั้งหลาย คือ โจรภัย อริภัย ราชภัย อุทกภัยและอัคคีภัย ทานนั้นย่อม(เป็นผล)ให้(ได้สำเร็จแก่)สาวกญาณภูมิ ปัจเจกพุทธภูมิ ตลอดถึงพุทธภูมิ "

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กันยายน 2013
  4. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ..... ครั้นทรงทำอนุโมทนาทาน ประกาศอานิสงส์แห่งทาน โดยนัยดังกล่าวมาอย่างนี้เป็นต้นแล้ว ก็ตรัสศีลกถาในลำดับต่อจากทานนั้น

    ... " ธรรมดาศีลนั้น เป็นมูลแห่งสมบัติในโลกนี้และโลกหน้า

    ... ศีลเป็นต้นเหตุสำคัญของสุขทั้งหลาย

    ... ผู้มีศีลย่อมไปไตรทิพย์สวรรค์

    ... ศีลเป็นเครื่องป้องกัน เป็นเครื่องเร้น เป็นเครื่องนำหน้าของผู้เข้าถึง(คือยังท่องเที่ยวอยู่ใน)สังสารวัฏ

    ... ก็ที่พึ่งพาอาศัยของชนทั้งหลายในโลกนี้หรือในโลกหน้าอย่างอื่น ที่เสมอด้วยศีลจะมีแต่ไหน

    ... ศีลเป็นที่ตั้งสำคัญของคุณทั้งหลาย เหมือนแผ่นดินเป็นที่ตั้งแห่งสิ่งที่อยู่กับที่และสิ่งที่เคลื่อนที่ได้ ฉะนั้น

    ... เขาว่า ศีลเท่านั้นเป็นกรรมดี ศีลยอดเยี่ยมในโลก ผู้ประพฤติชอบในธรรมจริยาของพระอริยะ ท่านเรียกว่า ผู้มีศีล

    ... เครื่องประดับเสมอด้วยเครื่องประดับคือศีลไม่มี

    ... กลิ่นเสมอด้วยกลิ่นคือศีลไม่มี

    ... เครื่องชำระมลทินคือกิเลสเสมอด้วยศีลไม่มี

    ... เครื่องระงับความเร่าร้อนเสมอด้วยศีลไม่มี

    ... เครื่องให้เกิดเกียรติเสมอด้วยศีลไม่มี

    ... บันไดขึ้นสู่สวรรค์เสมอด้วยศีลไม่มี

    ... ประตูในการเข้าไปยังนครคือ เมืองแก้วพระนิพพานเสมอด้วยศีลไม่มี

    ... (เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า) พระราชาทั้งหลาย ทรงประดับด้วยแก้วมุกดาและแก้วมณี ยังงามไม่เหมือนนักพรตทั้งหลาย ผู้ประดับด้วยเครื่องประดับคือศีล ย่อมงามสง่า

    ... กลิ่นที่หอมไปทั้งตามลมทั้งทวนลม ที่เสมอด้วยกลิ่นคือศีล จักมีแต่ไหนเล่า

    ... กลิ่นดอกไม้ไม่หอมทวนลม หรือกลิ่นจันทน์ กฤษณา มะลิ ก็ไม่หอมทวนลม ส่วนกลิ่นของสัตบุรุษ ย่อมหอมทวนลม สัตบุรุษย่อมหอมไปทุกทิศ

    ... กลิ่นคือศีล เป็นยอดของคันธชาติเหล่านี้ คือ จันทน์ กฤษณา อุบล มะลิ

    ... มหานที คือ คงคา ยมุนา สรภู สรัสวดี นินนคา อจิรวดี มหี ไม่สามารถชำระมลทินของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ แต่น้ำคือศีล ชำระมลทินของสัตว์ทั้งหลายได้

    ... อริยะศีลนี้ ที่รักษาดีแล้ว เยือกเย็นอย่างยิ่ง ระงับความเร่าร้อนได้ ส่วนจันทน์เหลือง สร้อยคอ แก้วมณีและช่อรัศมีจันทร์ ระงับความเร่าร้อนไม่ได้

    ... ศีลของผู้มีศีล ย่อมกำจัดภัยมีการติเตียนตนเองเป็นต้น ได้ทุกเมื่อ และให้เกิดเกียรติและความร่าเริงทุกเมื่อ

    ... สิ่งอื่นซึ่งเป็นบันไดขึ้นสวรรค์ที่เสมอด้วยศีลจะมีแต่ไหน ก็หรือว่าศีลเป็นประตูเข้าไปยัง(อมตะ)นครคือ พระนิพพาน

    ... ท่านทั้งหลาย จงรู้อานิสงส์อันยอดเยี่ยมของศีล ซึ่งเป็นมูลแห่งคุณทั้งหลาย กำจัดกำลังแห่งโทษทั้งหลาย ดังกล่าวมาฉะนี้ "



    ..... พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงอานิสงส์แห่งศีลอย่างนี้แล้ว เพื่อทรงแสดงว่า อาศัยศีลนี้ย่อมได้สวรรค์นี้ จึงตรัสสัคคะกถาในลำดับต่อจากศีลนั้น

    ... ธรรมดาสวรรค์นี้น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ มีแต่สุขโดยส่วนเดียว เทวดาทั้งหลายย่อมได้การเล่นในสวรรค์นั้นเป็นนิตย์ ได้สมบัติทั้งหลายเป็นนิตย์

    ... เหล่าเทวดาชั้นจาตุมหาราชย่อมได้สุขทิพย์ สมบัติทิพย์ตลอดเก้าล้านปี

    ... เทวดาชั้นดาวดึงส์ได้สามโกฏิหกล้านปี "
    ตรัสกถาประกอบด้วยคุณแห่งสวรรค์ดังกล่าวมานี้เป็นต้น



    ..... ครั้นทรงประเล้าประโลมด้วยสัคคะกถาอย่างนี้แล้ว ก็ทรงประกาศโทษต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่งกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในเนกขัมมะว่า

    ... "สวรรค์แม้นี้ก็ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่ควรทำความยินดีด้วยอำนาจความพอใจในสวรรค์นั้นก็ดี ในพรหมโลกก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงตั้งใจไปพระนิพพานที่เดียวเถิด "
    แล้วตรัสธรรมกถาที่จบลงด้วยอมตธรรม




    ..... ครั้นทรงแสดงธรรมแก่มหาชนนั้นอย่างนี้แล้ว ให้บางพวกตั้งอยู่ในสรณะ บางพวกในศีล ๕ บางท่านได้ดวงตาเห็นธรรมคือพระโสดาปัตติผล บางท่านได้สำเร็จสกิทาคามิผล บางท่านได้สำเร็จอนาคามิผล บางท่านได้สำเร็จพระอรหันต์พร้อมด้วยวิชชา ๓ บางท่านได้สำเร็จพระอรหันต์พร้อมด้วยอภิญญา ๖ บางท่านได้สำเร็จพระอรหันต์พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาญาณ๔ พระประทีปแก้วทีปังกรลุกจากอาสนะแล้ว เสด็จออกจากรัมมะนคร เข้าไปยังสุทัสสนะมหาวิหารนั่นแล



    ..... สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

    ... " ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ชนเหล่านั้น จักไม่ไปอบายภูมิ ละกายมนุษย์ไปแล้ว จักยังกายเทพให้บริบูรณ์

    ... ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ชนเหล่านั้น จักไม่ไปอบายภูมิ ละกายมนุษย์ไปแล้ว จักยังกายเทพให้บริบูรณ์

    ... ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ ชนเหล่านั้น จักไม่ไปอบายภูมิ ละกายมนุษย์ไปแล้ว จักยังกายเทพให้บริบูรณ์ "
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กันยายน 2013
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,884
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    ขออนุญาติกอปไปเฟสบุคได้ไหมคะ ขอบพระคุณล่วงหน้าเจ้าค่ะ
     
  6. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ..... สิ่งใดที่เห็นว่าดีมีประโยชน์ ควรเผยแพร่ก็ก็อปไปเลยครับ เป็นพระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระชินวรสัมมาสัมพุทธเจ้า ผมแค่ไปค้นมาจากพระไตรปิฎกมาอีกทีเท่านั้นครับ
     
  7. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ..... ได้ยินว่า พระบรมโลกนาถทีปังกรพุทธเจ้าทรงบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าแล้วทรงยับยั้งอยู่ ๗ สัปดาห์ ณ โคนโพธิพฤกษ์

    ... ในสัปดาห์ที่ ๘ ก็ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ สุนันทาราม ตามปฏิญญาที่ทรงรับอาราธนาแสดงธรรมของท้าวสหัมบดีมหาพรหม ทรงยังเทวดาและมนุษย์ร้อยโกฏิให้ดื่มอมฤตธรรม นี้เป็นอภิสมัยคือการตรัสรู้ธรรมครั้งแรก




    ..... ต่อมา สมเด็จพระชินสีห์พระองค์ทรงทราบว่า พระโอรสผู้มีลำพระองค์กลมเสมอกัน พระนามว่าอุสภักขันธะ มีญาณแก่กล้าจึงทรงทำพระโอรสนั้นให้เป็นหัวหน้า ทรงแสดงธรรมเช่นเดียวกับราหุโลวาทสูตร ทรงยังเทวดาและมนุษย์ถึงเก้าสิบโกฏิ ให้ดื่มอมฤตธรรม นี้เป็นอภิสมัย คือการตรัสรู้ธรรมครั้งที่ ๒




    ..... ต่อมา พระสรรเพชญทีปังกรทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ณ โคนต้นซึกใหญ่ ใกล้ประตูพระนครอมรวดี ทรงทำการเปลื้องมหาชนจากเครื่องผูกพัน อันหมู่เทพห้อมล้อมแล้ว ประทับนั่งเหนือพื้นแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ซึ่งเย็นอย่างยิ่ง ใกล้โคนต้นปาริฉัตตกะ ในภพดาวดึงส์ อันเป็นภพแผ่ซ่านแห่งความโชติช่วงเหลือเกิน ดังดวงอาทิตย์ ทรงทำพระนางสุเมธาเทวีพระชนนีของพระองค์ ผู้ให้เกิดปีติแก่หมู่เทพทั้งปวงเป็นหัวหน้า เป็นวิสุทธิเทพที่ทรงรู้โลกทั้งปวง เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ ทรงทำดวงประทีป ทรงจำแนกธรรม ทรงแสดงพระอภิธรรมปิฎก ๗ ปกรณ์ อันทำความบริสุทธิ์แห่งความรู้ อันสุขุมลุ่มลึกอย่างยิ่ง กระทำประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวง ยังเทวดาเก้าหมื่นโกฏิให้ดื่มอมฤตธรรม นี้เป็นอภิสมัย คือการตรัสรู้ธรรมครั้งที่สาม ๓



    ..... การประชุมสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกรมี ๓ ครั้ง ใน ๓ ครั้งนั้น

    ... ครั้งแรกประชุมเทวดาและมนุษย์แสนโกฏิ ณ วัดสุนันทารามมหาวิหาร




    ..... สมัยต่อๆ มา พระทศพลอันภิกษุสี่แสนรูปแวดล้อม ทรงทำการอนุเคราะห์มหาชน ตามลำดับ ตามนิคมและนคร เสด็จจาริกมาโดยลำดับ ก็ลุถึงภูเขาลูกที่น่ารื่นรมย์อย่างยิ่งชื่อนารทกูฏ มียอดสูงจรดเมฆ มียอดอบอวลด้วยไม้ต้นไม้ดอกส่งกลิ่นหอมนานาชนิด มียอดที่ฝูงมฤคนานาพันธุ์ท่องเที่ยวกันอันอมนุษย์หวงแหน น่ากลัวอย่างยิ่ง เลื่องลือไปในโลกทั้งปวง ที่มหาชนเซ่นสักการะในประเทศแห่งหนึ่ง เขาว่าภูเขาลูกนั้น ยักษ์มีชื่อ นารทะ หวงแหน ณ ที่นั้น มหาชนนำมนุษย์มาทำพลีสังเวยแก่ยักษ์ตนนั้นทุกๆ ปี




    ..... ได้ยินว่า ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกรทรงเห็นอุปนิสัยสมบัติของมหาชน แต่นั้นก็ทรงส่งภิกษุไปสี่ทิศ ไม่มีเพื่อน ไม่มีสหาย มีพระหฤทัยอันมหากรุณามีกำลังเข้ากำกับแล้ว เสด็จขึ้นภูเขานารทะลูกนั้น เพื่อทรงแนะนำยักษ์ตนนั้น



    ..... ลำดับนั้น ยักษ์ที่มีมนุษย์เป็นภักษา ไม่เล็งประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน ขยันแต่ฆ่าผู้อื่นตนนั้น ทนการลบหลู่ไม่ได้ มีใจอันความโกรธครอบงำแล้ว ประสงค์จะให้พระทศพลกลัวแล้วหนีไปเสีย จึงเขย่าภูเขาลูกนั้น เล่ากันว่า ภูเขาลูกนั้นถูกยักษ์ตนนั้นเขย่า ก็มีอาการเหมือนจะหล่นทับบนกระหม่อมยักษ์ตนนั้นนั่นแหละ เพราะอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่นั้น ยักษ์ตนนั้นก็กลัว คิดว่า

    ... " เอาเถิด เราจะใช้ไฟเผาสมณะนั้น "

    ... แล้วก็บันดาลกองไฟที่ดูน่ากลัวยิ่งกองใหญ่ ไฟกองนั้นกลับทวนลมก่อทุกข์แก่ตนเอง แต่ไม่สามารถจะไหม้แม้เพียงชายจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้าได้

    ... ฝ่ายยักษ์ตรวจดูว่า ไฟไหม้สมณะหรือไม่ไหม้ ก็เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทศพล เหมือนประทับนั่งเหนือกลีบบัว ที่อยู่บนผิวน้ำเย็นดุจดวงจันทร์ ส่องแสงนวลในฤดูสารททำความยินดีแก่ชนทั้งปวง จึงคิดได้ว่า

    ... " โอ! พระสมณะ ท่านนี้มีอานุภาพมาก เราทำความพินาศใดๆ แก่พระสมณะท่านนี้ ความพินาศนั้นๆ กลับตกลงเหนือเราผู้เดียว แต่ปล่อยพระสมณะท่านนี้ไปเสีย เราก็ไม่มีที่พึ่งที่ชักนำอย่างอื่น คนทั้งหลายที่พลั้งพลาดบนแผ่นดิน ยังต้องยันแผ่นดินเท่านั้นจึงลุกขึ้นได้ เอาเถิด จำเราจักถึงพระสมณะท่านนี้แหละเป็นสรณะ "




    ..... ดังนั้น ยักษ์ตนนั้นครั้นคิดอย่างนี้แล้ว จึงหมอบศีรษะลงแทบเบื้องยุคลบาทที่ฝ่าพระบาทประดับด้วยจักรของพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลว่า

    ... " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สำนึกผิดในความล่วงเกิน ขอลุกะโทษพระเจ้าข้า แล้วได้ถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นสรณะ "
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กันยายน 2013
  8. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ...... ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสอนุปุพพิกถาโปรดนารทะยักษ์ตนนั้น จบเทศนานารทะยักษ์ตนนั้นก็ได้ดวงตาเห็นธรรมตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลพร้อมด้วยยักษ์บริวารหนึ่งหมื่นตน



    .....ได้ยินว่า ในวันนั้น มนุษย์สิ้นทั้งชมพูทวีปทำบุรุษแต่ละหมู่บ้านๆ ละคนมาเพื่อพลีสังเวยยักษ์ตนนั้น และนำสิ่งอื่นๆ มีงา ข้าวสาร ถั่วพู ถั่วเขียวและถั่วเหลืองเป็นต้นเป็นอันมาก และมีเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น



    ..... ขณะนั้น นารทะยักษ์ตนนั้นก็ให้ของทั้งหมดที่นำมาวันนั้นคืนแก่ชนเหล่านั้น แล้วมอบมนุษย์ที่เขานำมาเพื่อพลีสังเวยเหล่านั้นถวายพระทศพล



    ..... ครั้งนั้น พระศาสดาทรงให้มนุษย์เหล่านั้นบวชด้วยเอหิภิกษุอุปสัมปทา ภายใน ๗ วันเท่านั้น ก็ทรงให้เขาตั้งอยู่ในพระอรหัตผลทั้งหมด ประทับท่ามกลางภิกษุร้อยโกฎิ ทรงยกโอวาทปาติโมกข์ขึ้นแสดงในที่ประชุมอันประกอบด้วยองค์ ๔ ณ วันเพ็ญมาฆบูรณมี องค์ ๔ เหล่านี้คือ ทุกรูปเป็นเอหิภิกขุ๑. ทุกรูปได้อภิญญาหก๑. ทุกรูปมาประชุมกันเองโดยมิได้นัดหมาย๑. และเป็นวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ๑. นี้แลชื่อว่ามีองค์ ๔ นี้เป็นสันนิบาต การประชุมพระสาวกครั้งที่ ๒



    ..... ก็ครั้งใด สมเด็จพระทีปังกรผู้นำโลกเสด็จจำพรรษา ณ ภูเขาชื่อสุทัสสนะ ได้ยินว่าครั้งนั้น มนุษย์ชาวชมพูทวีปจัดงานมหรสพกัน ณ ยอดเขาทุกๆ ปี



    ..... เล่ากันว่า มนุษย์ที่ประชุมในงานมหรสพนั้น พบพระทศพลแล้วก็ฟังธรรมกถา เลื่อมใสในธรรมกถานั้น ก็พากันบวช ในวันมหาปวารณาพระศาสดาตรัสวิปัสสนากถาที่อนุกูลแก่อัธยาศัยของภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้นฟังวิปัสสนากถานั้นแล้ว พิจารณาสังขารแล้วบรรลุพระอรหัตผล โดยลำดับวิปัสสนาและโดยลำดับมรรคทุกรูป ครั้งนั้น พระบรมศาสดาทรงปวารณาพร้อมด้วยภิกษุเก้าหมื่นโกฏินี้เป็นการประชุมพระสาวกครั้งที่



    ..... ได้ยินว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกรทรงแสดงธรรม ธรรมาภิสมัย การตรัสรู้ธรรมก็ได้มีแก่สัตว์หนึ่งหมื่นและสองหมื่น แต่ที่สุดแห่งการตรัสรู้ มิได้มีโดยจำนวนหนึ่งคน สองคน สามคนและสี่คนเป็นต้น เพราะฉะนั้น ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกร จึงแผ่ไปกว้างขวางมีคนรู้กันมาก



    ..... สมัยนั้น ภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะ๕*(ผู้ยังต้องศึกษาอยู่) ทำกาลกิริยา (มรณภาพ) ภิกษุเหล่านั้นย่อมถูกครหา ภิกษุทั้งหมดจึงเร่งความเพียรให้เป็นพระขีณาสพก่อนปรินิพพานด้วยกันสิ้น เพราะฉะนั้นแล ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น จึงบานสะพรั่งเต็มที่ สำเร็จด้วยดี งดงามเหลือเกิน ด้วยพระภิกษุอรหันตขีณาสพทั้งหลาย
    ... ***สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า " ดูก่อนภิกษุ ภิกษุยังศึกษาอยู่ ภิกษุยังศึกษาอยู่ ดังนี้แล เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าเสกขะ ภิกษุศึกษาอะไรเล่า ภิกษุศึกษาอธิศีลบ้าง ศึกษาอธิจิตบ้าง ศึกษาอธิปัญญาบ้าง ดังนี้แล ภิกษุ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าเสขะ "




    ..... ในที่สุด สี่อสงไขยกับเศษอีกแสนกัปนับจากกัปนี้ มีพระนครหนึ่งชื่อว่าอมรวดีนคร เป็นนครสวยงามน่ารื่นรมย์ใจ ไม่ว่างจากเสียง ๑๐ ประการคือ เสียงประกาศให้มานำเอาข้าวน้ำไป เสียงช้าง เสียงม้า เสียงกลอง เสียงสังข์ เสียงรถ เสียงเชิญให้มาเคี้ยวมาดื่ม มาบริโภคข้าวและน้ำ เป็นนครสมบูรณ์ด้วยองค์คุณทั้งปวง ประกอบด้วยการงานทุกอย่าง สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ คับคั่งไปด้วยหมู่ชนต่างๆ เป็นนครสมบูรณ์เหมือนเทพนคร เป็นที่อยู่ของผู้มีบุญ



    .....ในสมัยนั้น เราตถาคต(สมเด็จพระสมณะโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า)เกิดเป็นพราหมณ์นามว่า สุเมธ อยู่ในนครอมรวดี สั่งสมโภคทรัพย์ไว้หลายร้อยโกฏิ มีทรัพย์สมบัติมากมาย เป็นผู้เล่าเรียน ทรงมนต์รู้จบไตรเพท ถึงความสำเร็จในตำราทำนายลักษณะ และคัมภีร์อิติหาสะ นั่งอยู่ในที่ลับคิดอย่างนี้ในครั้งนั้นว่า



    ..... " การเกิดในภพใหม่และความที่สรีระแตกเป็นทุกข์ (การเกิดและการตายเป็นทุกข์) เราจักแสวงหาพระนิพพานอันไม่แก่ไม่ตาย ปลอดภัย เป็นที่ดับชาติธรรม ชราธรรม และพยาธิธรรม

    ... เอาละ เราพึงเป็นผู้ไม่มีความห่วงใย ไม่ต้องการ ละทิ้งกายอันเปื่อยเน่าเต็มด้วยซากศพนี้ไปเสียเถิด

    ... ทางที่ใครๆ ไม่อาจจะไปได้เพราะไม่มีเหตุ จักมีแน่นอนเราจักแสวงหาทางนั้นเพื่อหลุดพ้นไปจากภพ

    ... เมื่อมีความเจริญ ก็ต้องมีความเสื่อม เปรียบเหมือนเมื่อมีทุกข์ก็ย่อมมีสุข ฉะนั้นไฟ ๓ กอง(คือ ราคัคคิ ไฟคือราคะ โทสัคคิ ไฟคือความโกรธ โมหัคคิ ไฟคือความหลง) มีอยู่ พระนิพพาน ความดับไฟ ๓ กองนั้นก็ต้องมีเช่นกัน

    ... เปรียบเหมือนเมื่อมีความร้อน ความเย็นก็ย่อมมี ฉะนั้น ความเกิดมีอยู่ ความไม่เกิดก็ต้องมีเช่นกัน เปรียบเหมือนเมื่อความชั่วมีอยู่ ความดีก็ย่อมมี ฉะนั้น

    ... สระน้ำอมฤตอันเป็นสถานที่ชำระกิเลสมลทินมีอยู่ แต่บุคคลผู้ต้องการจะชำระไม่เสาะแสวงหาสระน้ำอมฤต จะโทษสระน้ำอมฤตไม่ได้

    ... เปรียบเหมือนบุรุษมีตัวเปื้อนคูถ เห็นสระมีน้ำเต็มแล้ว ไม่ไปหาสระเอง จะโทษสระนั้นไม่ได้ ฉะนั้น

    ... บุคคลผู้ถูกกิเลสห้อมล้อมแล้ว เมื่อทางอันเกษมมีอยู่ แต่ไม่แสวงหาทางนั้น จะไปโทษทางอันเกษมนั้นไม่ได้ เปรียบเหมือนบุรุษถูกข้าศึกล้อมไว้ เมื่อทางสำหรับจะหนีไปมีอยู่ แต่เขาไม่หนีไป จะโทษทางนั้นไม่ได้ ฉะนั้น

    ... บุคคลผู้มีทุกข์ถูกพยาธิคือกิเลสเบียดเบียน ไม่แสวงหาอาจารย์ จะโทษอาจารย์นั้นไม่ได้ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ป่วยไข้ เมื่อหมอมีอยู่แต่ไม่ให้รักษาความป่วยไข้นั้น จะโทษหมอนั้นไม่ได้ ฉะนั้น

    ... เอาละ เราพึงเป็นผู้ไม่มีความห่วงใย ไม่ต้องการ ละทิ้งกายอันเปื่อยเน่าสั่งสมด้วยซากศพต่างๆ นี้ไปเสีย เปรียบเหมือนบุรุษพึงเปลื้องซากศพอันน่าเกลียดพันอยู่ที่คอออกเสีย แล้วพึงไปอยู่เป็นสุขเสรีตามลำพังตน ฉะนั้น

    ... เราจักละทิ้งกายอันเต็มด้วยซากศพต่างๆ นี้ไปเสีย ดังถ่ายอุจจาระในส้วมแล้วไป เปรียบเหมือนบุรุษและสตรีถ่ายอุจจาระลงในส้วมเสร็จแล้วออกไป โดยไม่ห่วงใย ไม่ต้องการ ฉะนั้น

    ... เราจักละทิ้งกายอันมีช่อง ๙ แห่ง มีน้ำหนองเป็นนิตย์นี้ไปเสีย ดังเจ้าของเรือ ทิ้งเรือที่คร่ำคร่า เปรียบเหมือนเจ้าของเรือที่เก่าคร่ำคร่า ชำรุดมีน้ำใหลเข้าอยู่เป็นิตย์ ไปโดยไม่ห่วงใย ไม่ต้องการ ฉะนั้นเถิด

    ... เราจักละกายนี้ซึ่งเปรียบเสมอด้วยมหาโจรไปเสีย เพราะกลัวจะชิงตัดกุศล เปรียบเหมือนบุรุษถือห่อสิ่งของไปกับพวกโจร ทิ้งโจรไปเสียเพราะเห็นภัย คือ โจรจะชิงสิ่งของ ฉะนั้น "

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2013
  9. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ...... ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสอนุปุพพิกถาโปรดยักษ์ตนนั้น จบเทศนายักษ์ตนนั้นก็ได้ดวงตาเห็นธรรมตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลพร้อมด้วยยักษ์หนึ่งหมื่น



    .....ได้ยินว่า ในวันนั้น มนุษย์สิ้นทั้งชมพูทวีปทำบุรุษแต่ละหมู่บ้านๆ ละคนมาเพื่อพลีสังเวยยักษ์ตนนั้น และนำสิ่งอื่นๆ มีงา ข้าวสาร ถั่วพู ถั่วเขียวและถั่วเหลืองเป็นต้นเป็นอันมาก และมีเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น



    ..... ขณะนั้น ยักษ์ตนนั้นก็ให้ของทั้งหมดที่นำมาวันนั้นคืนแก่ชนเหล่านั้น แล้วมอบมนุษย์ที่เขานำมาเพื่อพลีสังเวยเหล่านั้นถวายพระทศพล



    ..... ครั้งนั้น พระศาสดาทรงให้มนุษย์เหล่านั้นบวชด้วยเอหิภิกษุอุปสัมปทา ภายใน ๗ วันเท่านั้น ก็ทรงให้เขาตั้งอยู่ในพระอรหัตผลทั้งหมด ประทับท่ามกลางภิกษุร้อยโกฎิ ทรงยกโอวาทปาติโมกข์ขึ้นแสดงในที่ประชุมอันประกอบด้วยองค์ ๔ ณ วันเพ็ญมาฆบูรณมี องค์ ๔ เหล่านี้คือ ทุกรูปเป็นเอหิภิกขุ๑. ทุกรูปได้อภิญญาหก๑. ทุกรูปมาประชุมกันเองโดยมิได้นัดหมาย๑. และเป็นวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ๑. นี้แลชื่อว่ามีองค์ ๔ นี้เป็นสันนิบาต การประชุมพระสาวกครั้งที่ ๒



    ..... ก็ครั้งใด สมเด็จพระทีปังกรผู้นำโลกเสด็จจำพรรษา ณ ภูเขาชื่อสุทัสสนะ ได้ยินว่าครั้งนั้น มนุษย์ชาวชมพูทวีปจัดงานมหรสพกัน ณ ยอดเขาทุกๆ ปี



    ..... เล่ากันว่า มนุษย์ที่ประชุมในงานมหรสพนั้น พบพระทศพลแล้วก็ฟังธรรมกถา เลื่อมใสในธรรมกถานั้น ก็พากันบวช ในวันมหาปวารณาพระศาสดาตรัสวิปัสสนากถาที่อนุกูลแก่อัธยาศัยของภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้นฟังวิปัสสนากถานั้นแล้ว พิจารณาสังขารแล้วบรรลุพระอรหัตผล โดยลำดับวิปัสสนาและโดยลำดับมรรคทุกรูป ครั้งนั้น พระบรมศาสดาทรงปวารณาพร้อมด้วยภิกษุเก้าหมื่นโกฏินี้เป็นการประชุมพระสาวกครั้งที่



    ..... ได้ยินว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกรทรงแสดงธรรม ธรรมาภิสมัย การตรัสรู้ธรรมก็ได้มีแก่สัตว์หนึ่งหมื่นและสองหมื่น แต่ที่สุดแห่งการตรัสรู้ มิได้มีโดยจำนวนหนึ่งคน สองคน สามคนและสี่คนเป็นต้น เพราะฉะนั้น ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกร จึงแผ่ไปกว้างขวางมีคนรู้กันมาก



    ..... สมัยนั้น ภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะ๕*(ผู้ยังต้องศึกษาอยู่) ทำกาลกิริยา (มรณภาพ) ภิกษุเหล่านั้นย่อมถูกครหา ภิกษุทั้งหมดจึงเร่งความเพียรให้เป็นพระขีณาสพก่อนปรินิพพานด้วยกันสิ้น เพราะฉะนั้นแล ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น จึงบานสะพรั่งเต็มที่ สำเร็จด้วยดี งดงามเหลือเกิน ด้วยพระภิกษุอรหันตขีณาสพทั้งหลาย
    ... ***สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า " ดูก่อนภิกษุ ภิกษุยังศึกษาอยู่ ภิกษุยังศึกษาอยู่ ดังนี้แล เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าเสกขะ ภิกษุศึกษาอะไรเล่า ภิกษุศึกษาอธิศีลบ้าง ศึกษาอธิจิตบ้าง ศึกษาอธิปัญญาบ้าง ดังนี้แล ภิกษุ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าเสขะ "




    ..... ในที่สุด สี่อสงไขยกับเศษอีกแสนกัปนับจากกัปนี้ มีพระนครหนึ่งชื่อว่าอมรวดีนคร เป็นนครสวยงามน่ารื่นรมย์ใจ ไม่ว่างจากเสียง ๑๐ ประการคือ เสียงประกาศให้มานำเอาข้าวน้ำไป เสียงช้าง เสียงม้า เสียงกลอง เสียงสังข์ เสียงรถ เสียงเชิญให้มาเคี้ยวมาดื่ม มาบริโภคข้าวและน้ำ เป็นนครสมบูรณ์ด้วยองค์คุณทั้งปวง ประกอบด้วยการงานทุกอย่าง สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ คับคั่งไปด้วยหมู่ชนต่างๆ เป็นนครสมบูรณ์เหมือนเทพนคร เป็นที่อยู่ของผู้มีบุญ



    ..... เรา(ตถาคตเกิด)เป็นพราหมณ์นามว่า สุเมธ อยู่ในนครอมรวดี สั่งสมโภคทรัพย์ไว้หลายร้อยโกฏิ มีทรัพย์สมบัติมากมาย เป็นผู้เล่าเรียน ทรงมนต์รู้จบไตรเพท ถึงความสำเร็จในตำราทำนายลักษณะ และคัมภีร์อิติหาสะ นั่งอยู่ในที่ลับคิดอย่างนี้ในครั้งนั้นว่า



    ..... " การเกิดในภพใหม่และความที่สรีระแตกเป็นทุกข์ (การเกิดและการตายเป็นทุกข์) เราจักแสวงหาพระนิพพานอันไม่แก่ไม่ตาย ปลอดภัย เป็นที่ดับชาติธรรม ชราธรรม และพยาธิธรรม

    ... เอาละ เราพึงเป็นผู้ไม่มีความห่วงใย ไม่ต้องการ ละทิ้งกายอันเปื่อยเน่าเต็มด้วยซากศพนี้ไปเสียเถิด

    ... ทางที่ใครๆ ไม่อาจจะไปได้เพราะไม่มีเหตุ จักมีแน่นอนเราจักแสวงหาทางนั้นเพื่อหลุดพ้นไปจากภพ

    ... เมื่อมีความเจริญ ก็ต้องมีความเสื่อม เปรียบเหมือนเมื่อมีทุกข์ก็ย่อมมีสุข ฉะนั้นไฟ ๓ กอง(คือ ราคัคคิ ไฟคือราคะ โทสัคคิ ไฟคือความโกรธ โมหัคคิ ไฟคือความหลง) มีอยู่ พระนิพพาน ความดับไฟ ๓ กองนั้นก็ต้องมีเช่นกัน

    ... เปรียบเหมือนเมื่อมีความร้อน ความเย็นก็ย่อมมี ฉะนั้น ความเกิดมีอยู่ ความไม่เกิดก็ต้องมีเช่นกัน เปรียบเหมือนเมื่อความชั่วมีอยู่ ความดีก็ย่อมมี ฉะนั้น

    ... สระน้ำอมฤตอันเป็นสถานที่ชำระกิเลสมลทินมีอยู่ แต่บุคคลผู้ต้องการจะชำระไม่เสาะแสวงหาสระน้ำอมฤต จะโทษสระน้ำอมฤตไม่ได้

    ... เปรียบเหมือนบุรุษมีตัวเปื้อนคูถ เห็นสระมีน้ำเต็มแล้ว ไม่ไปหาสระเอง จะโทษสระนั้นไม่ได้ ฉะนั้น

    ... บุคคลผู้ถูกกิเลสห้อมล้อมแล้ว เมื่อทางอันเกษมมีอยู่ แต่ไม่แสวงหาทางนั้น จะไปโทษทางอันเกษมนั้นไม่ได้ เปรียบเหมือนบุรุษถูกข้าศึกล้อมไว้ เมื่อทางสำหรับจะหนีไปมีอยู่ แต่เขาไม่หนีไป จะโทษทางนั้นไม่ได้ ฉะนั้น

    ... บุคคลผู้มีทุกข์ถูกพยาธิคือกิเลสเบียดเบียน ไม่แสวงหาอาจารย์ จะโทษอาจารย์นั้นไม่ได้ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ป่วยไข้ เมื่อหมอมีอยู่แต่ไม่ให้รักษาความป่วยไข้นั้น จะโทษหมอนั้นไม่ได้ ฉะนั้น

    ... เอาละ เราพึงเป็นผู้ไม่มีความห่วงใย ไม่ต้องการ ละทิ้งกายอันเปื่อยเน่าสั่งสมด้วยซากศพต่างๆ นี้ไปเสีย เปรียบเหมือนบุรุษพึงเปลื้องซากศพอันน่าเกลียดพันอยู่ที่คอออกเสีย แล้วพึงไปอยู่เป็นสุขเสรีตามลำพังตน ฉะนั้น

    ... เราจักละทิ้งกายอันเต็มด้วยซากศพต่างๆ นี้ไปเสีย ดังถ่ายอุจจาระในส้วมแล้วไป เปรียบเหมือนบุรุษและสตรีถ่ายอุจจาระลงในส้วมเสร็จแล้วออกไป โดยไม่ห่วงใย ไม่ต้องการ ฉะนั้น

    ... เราจักละทิ้งกายอันมีช่อง ๙ แห่ง มีน้ำหนองเป็นนิตย์นี้ไปเสีย ดังเจ้าของเรือ ทิ้งเรือที่คร่ำคร่า เปรียบเหมือนเจ้าของเรือที่เก่าคร่ำคร่า ชำรุดมีน้ำใหลเข้าอยู่เป็นิตย์ ไปโดยไม่ห่วงใย ไม่ต้องการ ฉะนั้นเถิด

    ... เราจักละกายนี้ซึ่งเปรียบเสมอด้วยมหาโจรไปเสีย เพราะกลัวจะชิงตัดกุศล เปรียบเหมือนบุรุษถือห่อสิ่งของไปกับพวกโจร ทิ้งโจรไปเสียเพราะเห็นภัย คือ โจรจะชิงสิ่งของ ฉะนั้น "

     
  10. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ..... ครั้นเราคิดอย่างนี้แล้ว ได้สละทรัพย์หลายร้อยโกฏิเป็นทานแก่คนไม่มีที่พึ่งและคนตกทุกข์ได้ยากอนาถาแล้วเข้าไปยังภูเขาหิมวันต์



    ..... ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ มีเขาลูกหนึ่งชื่อธรรมมิกะบรรพต เราสร้างอาศรมอย่างดี สร้างบรรณศาลาอยู่ที่เขาธรรมมิกะบรรพต ณ ที่นั้น เราสร้างที่จงกรมอันเว้นโทษ ๕ ประการ ประกอบด้วยคุณ ๘ ประการ เป็นที่นำมาซึ่งอภิญญาและพละไว้ ทิ้งผ้าสาฎกประกอบด้วยโทษ ๙ ประการเสีย นุ่งผ้าเปลือกไม้กรองอันประกอบด้วยคุณ๑๒ ประการ เราละบรรณศาลาอันเกลื่อนกล่นไปด้วยโทษ ๘ ประการเสีย มาอาศัยโคนไม้อันประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ เราละทิ้งข้าวเปลือกที่ปลูกไว้หว่านไว้เสียโดยไม่เหลือ เก็บเอาผลไม้ที่หล่นเองซึ่งประกอบด้วยคุณหลายอย่างมาบริโภค ณ ที่นั้น เราบำเพ็ญความเพียรอยู่ในที่นั่งและที่จงกรมภายใน ๗ วัน ก็ได้บรรลุอภิญญา๕ สมาบัติ ๘

    ... เมื่อเราถึงความสำเร็จมีความเย็นใจในศาสนาอย่างนี้แล้ว พระพิชิตมารผู้เป็นนายกของโลกพระนามว่า ทีปังกร เสด็จอุบัติขึ้นในโลก เมื่อพระพิชิตมารเสด็จอุบัติบังเกิด ตรัสรู้ และในการแสดงพระธรรมจักร เราผู้เปี่ยมด้วยความยินดีในฌาน ไม่ได้เห็นนิมิต ๔ ประการนี้เลย




    ..... ในกาลครั้งหนึ่ง ชนทั้งหลายทูลนิมนต์พระตถาคตเจ้า ณ ที่ประทับในปัจจันตะประเทศ ช่วยกันแผ้วถางทางสำหรับพระตถาคตเสด็จดำเนินมา

    ... สมัยนั้น เราออกจากอาศรมของตนแล้ว สลัดผ้าคากรองเหาะไปในอัมพรได้เห็นหมู่ชนผู้มีจิตโสมนัส ยินดี ร่าเริงเบิกบานใจ จึงลงจากอากาศมาถามมนุษย์ทั้งหลายในขณะนั้นว่า

    ... " มหาชนผู้มีจิตโสมนัสยินดี ร่าเริงเบิกบานใจ ช่วยกันแผ้วถางทางสำหรับเดินเพื่อใคร กันหนอ "


    ... มหาชนเหล่านั้นได้ฟังถาม จึงแจ้งความแก่สุเมธฤาษีผู้มีฤทธิ์ว่า

    ... " ข้าแต่ท่านฤาษี สมเด็จพระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้โลกนายกเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว กาลบัดนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลายมีใจเลื่อมใสในพระองค์เป็นยิ่งนัก จึงชวนกันแผ้วถางเพื่อให้เป็นทางที่เสด็จพระพุทธดำเนิน ณ สถลมารควิถีเพื่อที่จะได้เสด็จมาแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพวกเราชาวเมืองนี้ "





    ..... ขณะนั้นปีติเกิดขึ้นแก่เรา เพราะได้ฟังคำว่า “ พุทโธ ” เราจึงกล่าวประกาศความโสมนัสว่า พุทโธ พุทโธ พุทโธ

    ... สุเมธฤาษี แต่พอได้สดับฟังคำว่า “ พุทโธ ” ก็มีใจโสมนัสยินดียิ่งนัก ก็พลันเกิดปิติเป็นล้นพ้นสุดประมาณ จึงมาจินตนาการว่า

    ... " กาลนี้ควรที่เราจะหว่านพืชเพื่อหวังผล ขณะนี้เป็นมงคลขณะบังเกิดมี หาควรที่เราจะมาทำละเมินเสียไม่ "

    ... ครั้นได้คำนึงจินตนาด้วยอำนาจศรัทธากอปรด้วยญาณโสมนัสฉะนี้แล้ว จึงกล่าวกะชนเหล่านั้นว่า

    ... " แม้ท่านทั้งหลาย แผ้วถางทางถวายพระพุทธเจ้าละก็จงของให้โอกาสแก่เราสักแห่งหนึ่งเถิด เราบังเกิดศรัทธาปรารถนาใคร่จะทำทางถวายพระพุทธเจ้าบ้าง "




    ..... คราวนั้น ชนทั้งหลายเห็นว่าฤาษีเป็นผู้มีฤทธิ์เพราะเหาะมากลางอากาศได้ เช่นนั้น ก็เลยชี้มือไปตรงบริเวณซึ่งถากถางทางยากลำบาก เพราะมีเปือกตมโคลนเลน เป็นบริเวณที่ต้องหามูลดินมาถมเกลี่ยให้เสมอ เป็นส่วนที่ทำยาก แล้วบอกแก่ฤาษีว่า

    ... " ถ้าท่านปรารถนาจะทำทาง ถวายองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็จงทำบริเวณที่ตรงนั้นให้สำเร็จด้วยดีเถิด ท่านฤาษี "




    ..... สุเมธดาบสบรมโพธิสัตว์ ครั้นเขายกอนุญาตให้ทำที่ตรงนั้นให้สะอาดเรียบร้อย ก็มิรอช้า อุสาหะตั้งหน้าประกอบการ มีจิตรำพึงถึงคำว่า " พุทโธ " นั้นเป็นเนืองนิจ เปลื้องหนังเสือที่รองนั่งออกผูกทำเป็นถุงกะทอห่อหิ้วซึ่งมูลดิน เอามาถมในที่ลาดลุ่มลึกเป็นเลนเหลวอยู่นั้น ยังมิทันที่จะทำได้สำเร็จตลอด เหลืออยู่ยาวประมาณชั่วตัวคน ก็ได้เวลาที่สมเด็จพระทศพลทีปังกรเสด็จพาพระสงฆ์สาวกมากมายมาใกล้จะถึง



    ..... การต้อนรับย่อมเป็นไป คนเป็นอันมากประโคมกลองเภรี มนุษย์และเทวดาต่างก็มีใจเบิกบานเปล่งเสียงสาธุการ เทวดาก็เห็นมนุษย์ มนุษย์ก็เห็นเทวดา มนุษย์และเทวดาทั้งสองพวกนั้น พากันประนมอัญชลีเดินตามพระตถาคต พวกเทวดาเอาดนตรีทิพย์มาประโคม พวกมนุษย์เอาดนตรีมนุษย์มาประโคม เดินตามพระตถาคตมาทั้งสองพวกทวยเทพผู้อยู่ในอากาศต่างก็โปรยปรายดอกมณฑารพดอกปทุม ดอกปาริชาตทิพย์ ลงยังทิศน้อยทิศใหญ่และโปรยลงซึ่งกระแจะจันทน์ และของหอมอย่างดีล้วนแต่เป็นของทิพย์ลงยังทิศน้อยทิศใหญ่ พวกมนุษย์ผู้ที่อยู่บนพื้นดิน ก็โปรยดอกจำปา ดอกช้างน้าว ดอกประดู่ ดอกกากะทิง ดอกบุนนาค ดอกการเกตลงยังทิศน้อยทิศใหญ่



    ..... กาลครั้งนั้น สุเมธดาบสก็มีจิตเบิกบานอธิษฐานอุทิศชีวิตถวายแด่พระพุทธองค์ จึงลาดปูผ้าเปลือกไม้กับหนังเสือรองนั่งบนเปือกตมนั้นแล้ว ก็ทอดกายนอนคว่ำหน้าลงต่อถนนที่ขาดลาดลุ่มเป็นเลนเหลว ที่ตนทำยังไม่ทันเสร็จนั้น พลันตั้งใจคำนึงนึกว่า

    ... " ขออาราธนาพระพุทธเจ้า จงทรงพระมหากรุณาพาพระขีณาสพสงฆ์ทั้งหลายเสด็จทรงย่างพระบาทดำเนินไปบนกายแห่งข้าพระบาทนี้เถิด จักได้เกิดเป็นหิตานุหิตประโยชน์เกื้อกูลแก่ข้าพระบาท พระองค์อย่าได้ย่างพระบาทหลักลงเลียบลุยเลนเหลวนี้เลย "

    ... แล้วก็หมอบคว่ำหน้านิ่งเฉย เพื่อรอให้สมเด็จพระทีปังกรพุทธเจ้าพาพระอริยสงฆ์ทรงเหยียบกายของตน ซึ่งทอดเป็นสะพานอยู่อย่างนั้น



    ..... เพราะเหตุที่ท่านสุเมธมหาฤาษีโพธิสัตว์ ผู้เคยสร้างพระบารมีมาเพื่อพระอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้ามานานนักหนา (ด้วยความที่จิตมีสภาพจำความปรารถนาในกาลครั้งเก่าได้) จึงในขณะนี้ท่านมหาฤาษีก็คิดว่า

    ... " จะมีประโยชน์อะไร หากเราจะได้บรรลุพระอรหัตตผลในที่นี้ จะมีประโยชน์ใหญ่หลวงอย่างไร ด้วยการได้ข้ามโอฆะสงสารแต่เพียงผู้เดียว เมื่อใดเราได้บรรลุพระอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณตรัสเป็นพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว เมื่อนั้นเราจักยังสัตว์ทั้งหลายทั้งมนุษย์เทวดาและพรหมทั้งหลายให้ข้ามได้ด้วย จักให้ขึ้นสู่ธรรมนาวา ขนส่งเวไนยสัตว์ทั้งหลายให้ลุล่วงข้ามถึงฝั่งแห่งพระนิพพานให้จงได้ "




    ..... สมเด็จพระพุทธทีปังกรสัพพัญญูผู้ทรงรู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชาประทับยืนอยู่เหนือศีรษะเรา ตรัสพระพุทธพยากรณ์เราว่า

    ... " ท่านทั้งหลายจงดูสุเมธดาบสผู้มีตบะอันรุ่งเรืองนี้ ในที่สุดสี่อสงไขยกับเศษอีกแสนกัปนับจากกัปนี้ จักได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าในโลก พระตถาคตชินเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระเกียรติยศมากจักเสด็จออกจากพระนครกบิลพัสดุ์อันน่ารื่นรมย์ จักทรงบำเพ็ญความเพียรทำทุกกรกิริยาอยู่ ๖ ปี แล้วเสด็จไปประทับนั่งที่ควงไม้อชปาลนิโครธทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้ว เสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา พระองค์เสวยข้าวมธุปายาสที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จดำเนินตามทางราบเรียบที่เขาตกแต่งไว้ไปที่ควงไม้พระศรีมหาโพธิพฤกษ์แต่นั้นทรงทำประทักษิณโพธิมณฑลอันยอดเยี่ยมแล้ว จักตรัสรู้ที่ควงไม้อัสสัตถะพฤกษ์ พระมารดาบังเกิดเกล้าของพระตถาคตพระองค์นี้ จักมีพระนามว่าพระนางสิริมหามายา พระบิดามีพระนามว่าพระเจ้าสุทโธทนะ พระตถาคตนี้จักมีพระนามว่า พระสมณะโคดมปัญญาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้า พระตถาคตพระองค์นั้น จักมีพระอัครสาวกผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะมีจิตสงบระงับมั่นคงนามว่า พระอุปติสสะมหาเถระ(พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ผู้มีปัญญามาก) และ พระโกลิตะมหาเถระ(พระมหาโมคคัลลานะมหาเถระ ผู้มีฤทธิ์มาก) พระภิกษุอุปัฏฐากมีนามว่า พระอานนท์มหาเถระ จักบำรุงพระพิชิตมารนี้ จักมีอัครสาวิกาผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะมีจิตสงบระงับมั่นคงนามว่า พระแม่เจ้าเขมามหาเถรี ผู้มีปัญญามาก และ พระแม่เจ้าอุบลวรรณามหาเถรี ผู้มีฤทธิ์มาก ไม้พระศรีมหาโพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ประชาชนเรียกว่า อัสสัตถะพฤกษ์(ต้นใบหางม้า) จิตตะคฤหบดี และ หัตถกะคฤหบดีชาวเมืองอาฬวี จักเป็นอุปัฏฐากผู้เลิศ นันทะมารดาและอุตตราอุบาสิกา จักเป็นอุปัฏฐายิกาผู้เลิศ พระสมณะโคดมผู้มียศพระองค์นั้น จักมีพระชนมายุ ๘๐ ปี "
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กันยายน 2013
  11. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ..... เมื่อองค์พระบรมศาสดาทีปังกรพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์ฉะนี้ ก็ทรงสงเคราะห์ยกพระบาทเบื้องขวาขึ้นจรดกายสุเมธดาบสนั้นก่อน แล้วก็เสด็จบทจรพาพระขีณาสพสงฆ์เหยียบกายสะพานนั้นไป



    ..... มนุษย์และเทวดาทั้งหลายได้ฟังพระพุทธดำรัสนี้แล้ว ต่างก็เบิกบานใจกล่าวว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร หมู่สัตว์ในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดาต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง ประนมอัญชลีถวายนมัสการว่า

    ... " ถ้าเราทั้งหลายจักไม่ยินดีพระศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้ เราทั้งหลายจักมีหน้าพร้อมต่อหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคต ถ้าเราทั้งปวงละพระพิชิตมารพระองค์นี้ เราทั้งปวงก็จักมีหน้าพร้อมต่อหน่อพุทธางกูรนี้ใน อนาคตเปรียบเหมือนมนุษย์ผู้จะข้ามแม่น้ำไม่ยินดีท่าน้ำเฉพาะหน้า ไปยึดเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น "




    ..... ครั้งนั้น เมื่อพระพุทธทีปังกรผู้เป็นนายกของโลก พร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกล่วงคลองจักษุเราไป เราลุกขึ้นจากที่นอนแล้ว นั่งเข้าสมาธิอยู่ เราสำราญใจด้วยความสุข เบิกบานใจด้วยปราโมทย์และอิ่มใจด้วยปีติ นั่งเข้าสมาธิอยู่ในกาลนั้น

    ... ครั้งนั้น เรานั่งขัดสมาธิแล้ว คิดอย่างนี้ว่า

    ... " เราเป็นผู้มีความชำนาญในฌาน ถึงที่สุดแห่งอภิญญาในหมื่นโลกธาตุ ฤาษีผู้เสมอเหมือนเราไม่มี ในธรรมคือฤทธิ์ไม่มีใครเสมอเรา เราได้สุขเหล่านี้ "



    ..... กาลเมื่อสุเมธฤาษีนั่งบัลลังก์สมาธิอยู่นั้น บรรดาเทพเจ้าทุกราศีสถานในโลกจักรวาล ต่างก็มาประสานศัพท์นฤนาทก้องแซ่ซ้องสาธุการถวายพรว่า

    ... " ท่านจักได้ตรัสเป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเที่ยงแท้ มิได้แปรปรวนวิปริต ขอองค์ท่านจงเป็นผู้มีความเพียรอันยิ่งใหญ่ บำเพ็ญบารมีสามสิบทัศให้บริบูรณ์ เพื่อได้ตรัสแก่พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในกาลข้างหน้าเถิด "




    ..... สุเมธดาบสบรมโพธิสัตว์ผู้ยิ่งใหญ่ เมื่อได้สดับพระพุทธพยากรณ์ทำนายและเทพเจ้าทั้งหลายถวายพรดังนั้น ก็ยิ่งมีกมลมั่นคำนึงพินิจในพระพุทธพยากรณ์นี้ว่า

    ... " พระพุทธชินเจ้ามีพระวาจาไม่เป็นสอง มีพระวาจาไม่เปล่าประโยชน์ พระพุทธเจ้าไม่ตรัสคำไม่จริง เราจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่ พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ย่อมเที่ยงแท้แน่นอน เปรียบเหมือนก้อนดินที่โยนขึ้นไปในอากาศ ย่อมตกลงมาที่พื้นดินแน่นอน ฉะนั้น

    ... พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ย่อมเที่ยงแท้แน่นอนเปรียบเหมือนสัตว์ทั้งปวงต้องตายเป็นแน่ ฉะนั้น

    ... พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ย่อมเที่ยงแท้แน่นอน เปรียบเหมือนเมื่อราตรีสิ้นไปพระอาทิตย์ขึ้นแน่ ฉะนั้น

    ... พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ย่อมเที่ยงแท้แน่นอน เปรียบเหมือนราชสีห์เมื่อลุกจากที่นอน ต้องบันลือสีหนาท(คำราม)แน่ ฉะนั้น

    ... พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดย่อมเที่ยงแท้แน่นอน เปรียบเหมือนสัตว์ทั้งหลายผู้ไปถึงที่หมายแล้ว ย่อมปลงภาระอันหนักลง ฉะนั้น

    ... ท่านสุเมธดาบสอาศัยพระพุทธญาณสมเด็จพระมหามุนีทีปังกรสัพพัญญูพุทธเจ้าเข้าดลจิต และด้วยพระพุทธบารมีของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระธรรม พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย เทวดาและพรหมทั้งหลาย อตีตังสญาณของท่านสุเมธดาบสนั้นแจ่มใสเป็นกรณีพิเศษ จึงได้คิดว่า เอาละเราจักใช้อตีตังสญาณค้นหาพุทธการกธรรมอันพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตเคยได้บำเพ็ญมาทุกๆ พระองค์ ว่าแต่ละพระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีอย่างไรกันบ้างหนอจึงตรัสเป็นสมเด็จพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า รื้อสัตว์ขนสัตว์ทั้งหลายจากแดนกันดารคือโอฆะสงสาร เข้าสู่แดนอมตะมหานครคือเมืองแก้วพระนิพพานได้




    ..... ในกาลนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ ได้เห็นทานบารมีเป็นข้อที่ ๑ ซึ่งเป็นทางใหญ่อันที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายแต่ปางก่อนประพฤติมา จึงเตือนตนเองว่าสมเด็จพระบรมโพธิสัตว์เจ้าทั้งปวง ย่อมยินดีในการบำเพ็ญทานเป็นเนืองนิตย์ ไม่ว่าพระองค์ท่านจะเกิดในชาติไหน และเสวยพระชาติเป็นอะไร ทุกๆ พระชาติที่เกิดย่อมมีน้ำพระทัยใคร่บริจาคทาน เมื่อได้ประสบพบพานยาจกซึ่งเป็นคนหินชาติมีฐานะต่ำทรามก็ดี หรือยาจกผู้มีฐานะมัชฌิมปานกลางก็ดี หรือยาจกผู้ขอซึ่งมีฐานะสูงสุดเป็นอุกฤษฏ์ก็ดี เมื่อขอแล้วพระโพธิสัตว์เจ้าจะได้คิดหน้าพะวงหลังก็หามิได้ ย่อมรีบเร่งจำแนกทรัพย์ธนสารให้เป็นทาน ตามความต้องการของผู้ขอด้วยความยินดีเต็มใจอย่างยิ่ง สิ่งไรที่ตนมีแล้วเป็นต้องให้ทั้งสิ้น ถวิลหวังแต่การที่จะบริจาคทานเป็นเบื้องหน้า

    ... อย่าว่าแต่ทรัพย์สมบัติ อันเป็นสิ่งของภายนอกเลย แม้แต่อวัยวะเลือดเนื้อและชีวิต หากใครคิดปรารถนาอยากจะได้และมาเอ่ยปากขอแก่พระโพธิสัตว์ พระองค์ก็อาจจะบริจาคให้ได้ด้วยว่า พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย ย่อมมีน้ำพระทัยประดุจดังตุ่มใหญ่ เต็มเปี่ยมด้วยน้ำ ที่ถูกบุคคลมาจับเทคว่ำ ทำให้ปากตุ่มคว่ำลงกับพื้น ก้นตุ่มปรากฎอยู่ในเบื้องบน อย่างนี้แล้วน้ำภายในตุ่มน้ำก็จักเหลืออยู่แม้แต่สักหยดหนึ่งไปได้อย่างไรกัน น้ำพระทัยของพระองค์ท่านก็เป็นเช่นนั้น คือ เหมือนกับตุ่มน้ำใหญ่ที่คว่ำลง ยินดีในการบริจาคทานโดยต้องการให้หมดไม่มีเหลือในเมื่อมียาจกผู้มาขอ ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สมบัติภายนอก หรือวัตถุภายในคือเลือดเนื้อร่างกายและชีวิตก็ตามที




    ..... ในกาลนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ ก็ได้เห็นศีลบารมีเป็นข้อที่ ๒ ที่พระพุทธเจ้าแต่ปางก่อนทรงเสพอาศัย จึงเตือนตนเองว่า สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์เจ้าทั้งปวง ย่อมรักษาศีล สมาทานศีลผูกใจมั่นคงในศีลเป็นอาจิณวัตร สู้อุตสาหะปฏิบัติตนให้ตั้งมั่นอยู่ในศีล ยังศีลให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ ตลอดระยะเวลาทุกๆ ชาติที่เกิด ไม่ว่าจะเกิดในชาติไหน และเสวยพระชาติเป็นอะไรก็ตาม พระองค์ท่านย่อมสมาทานมั่นคง ไม่ให้ศีลของตนย่อหย่อนบกพร่องได้ ในบางครั้ง แม้จะต้องเสียสละชีวิตเพื่อรักษาศีลแห่งตนไว้ก็จำยอม เพียบพร้อมไปด้วยน้ำใจรักในศีลหาผู้เสมอเหมือนมิได้

    ... ในกรณีที่พระบรมโพธิสัตว์เจ้า มีน้ำใจรักในศีลนี้ พึงเห็นอุปมาว่า ธรรมดาหมู่จามรีซึ่งมีน้ำใจรักขน จนสู้สละชีวิตเพื่อรักษาไว้ซึ่งโลมชาติแห่งตนฉันใด พระบรมโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น พระองค์ท่านสู้อุตสาหะพยายามรักษาศีล สมาทานศีล มีใจรักในศีล โดยอาการเปรียบปานดุจจามรีรักในขนหางแห่งตน ฉะนั้น




    ..... ในกาลนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ก็ได้เห็นเนกขัมมะบารมีเป็นข้อที่ ๓ ที่พระพุทธเจ้าแต่ปางก่อนทรงเสพอาศัย จึงเตือนตนเองว่า สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์เจ้าทั้งปวง ย่อมมีน้ำใจยินดีในการบรรพชา คือหมั่นออกจากฆราวาสวิสัยการอยู่ครองเรือนไปบวชบำเพ็ญพรตพรหมจรรย์อยู่เสมอ บางครั้งเมื่อโลกเรานี้ว่างจากพระพุทธศาสนา เพราะไม่มีสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาอุบัติ พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายได้มาเกิดเป็นมนุษย์แล้วย่อมจะออกบวชเป็นโยคี ฤาษีดาบสบำเพ็ญพรตเพื่ออบรมบ่มพระบารมี แต่เมื่อถึงคราวที่พระบวรพุทธศาสนาปรากฎในโลก พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายย่อมมีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยแล้วออกบรรพชา อุปสมบทเป็นสมณะพระภิกษุในพระธรรมวินัยแห่งองค์สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นๆ หมั่นออกบวชเพื่อสั่งสมเนกขัมมะบารมีให้ภิญโญภาพยิ่งขึ้นไปทุกชาติที่เกิด ด้วยมีน้ำจิตยินดีในภาวะที่จะออกจากทุกข์ในวัฏฏะสงสาร พระองค์ท่านจึงตั้งใจสมาทานถือมั่นในเนกขัมมะการออกบวชอยู่เนืองๆ มา

    ... ในกิริยาที่พระบรมโพธิสัตว์เจ้า มีจิตปรารถนาที่จะออกจากทุกข์ภัยในวัฏสงสารนั้น เปรียบปานดังความปรารถนาของนักโทษที่อยู่ในเรือนจำ อันธรรมดาบุรุษนักโทษที่ประพฤติทุจริตมีความผิดต้องติดคุกตะรางทนทุกข์ทรมาน ได้รับความรำคาญขุ่นข้องหมองใจหนักหนา ย่อมปรารถนาแต่จะออกไปให้พ้นจากร้านเรือนจำที่ตนต้องระกำทุกข์อยู่เสมอทุกวัน ฉันใด พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ย่อมมีมนัสมั่นหมายที่จะออกไปจากคุกตะรางคือการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในไตรภพวัฏฏะสงสาร จึงหาทางออกด้วยการบำเพ็ญพรตกล่าวคือเนกขัมมะอยู่เนืองนิตย์ ไม่ยอมที่จะติดเป็นนักโทษแห่งวัฏฏะสงสารอยู่ตลอดกาล เปรียบปานด้วยนักโทษ ไม่ปรารถนาจะติดอยู่ในคุกตลอดชีวิตเรื่อยไป ฉะนั้น

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กันยายน 2013
  12. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ..... ในกาลนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ ได้เห็นปัญญาบารมีเป็นข้อที่ ๔ ที่พระพุทธเจ้าแต่ปางก่อน ทรงเสพอาศัย จึงเตือนตนเองว่าสมเด็จพระบรมโพธิสัตว์เจ้าทั้งปวง ย่อมเพิ่มพูนปัญญา หมายความว่า ย่อมแสวงหาวิชาความรู้ อันเป็นบ่อเกิดแห่งปัญญาอยู่เป็นเนืองนิจ หมั่นอบรมจิตให้ประกอบด้วยปัญญาอยู่เสมอ ทั้งนี้ก็เพราะปัญญาเป็นธรรมสูงสุดอันผู้ปรารถนาพระพุทธภูมิพึงขวนขวาย ฉะนั้น พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย จึงขวนขวายอุตส่าห์พยายามอบรมสั่งสม ปัญญาบารมีทุกชาติที่เกิด ไม่ว่าจะเกิดในชาติไหน และเสวยพระชาติเป็นอะไร ก็ต้องตั้งใจสมาทานปัญญาบารมีเป็นสำคัญ หมั่นเสพสมาคมกับท่านผู้รู้ ผู้เป็นนักปราชญ์ ย่อมไม่เลือกเลยซึ่งชนผู้มีความรู้ ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นใครก็ตาม ขอแต่ให้ประกอบไปด้วยความรู้ก็แล้วกัน พระองค์ท่านย่อมยินดีใคร่จะคบหาสมาคมไม่เลือกหน้า พร้อมทั้งเอาใจใส่ไต่ถามซึ่งอรรถธรรมและเหตุการณ์ทั้งปวงเป็นเนืองนิจ ด้วยมีน้ำจิตไม่รู้จักอิ่มในวิทยาการทั้งปวง

    ... ในกรณีที่พระโพธิสัตว์เจ้า แสวงหาความรู้อันเป็นการสั่งสมปัญญานี้ พึงทราบโดยอุปมาว่า ธรรมดาพระภิกษุสงฆ์องค์สาวกของสมเด็จพระจอมมุนีพุทธเจ้า ผู้ประพฤติตามอริยวงศ์ประเพณีนั้น ครั้นเมื่อโคจรเที่ยวไปบิณฑบาต จะได้เลือกตระกูลที่สูงต่ำปานกลางใดๆ ก็หามิได้ ย่อมเที่ยวบิณฑบาตเรื่อยไป สุดแท้แต่ว่าใครจะเอาอาหารมาใส่ลงในบาตรก็ยินดีรับเอาไม่เลือกหน้าว่าไพร่ ผู้ดี ยาจก เศรษฐี เพราะมีความประสงค์เพียงจะได้อาหารพอเป็นยาปนมัตถ์เครื่องเลี้ยงชีพตนให้คงอยู่ เพื่อบำเพ็ญสมณะกิจแห่งตนอย่างเดียวเป็นประการสำคัญ จะได้เลือกผู้ให้อาหารอันเป็นบิณฑบาตทานแก่ตนเป็นไม่มีเลย อุปมาข้อนี้ฉันใด พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น เมื่อมีจิตมุ่งหมายพระโพธิญาณ ก็ดั้นด้นค้นคว้าแสวงหาปัญญาความรู้ ไม่เลือกท่านผู้เป็นครู ผู้ให้วิชาว่าจะเป็นอย่างไร ขอให้มีความรู้ที่จะให้วิทยาการแก่ตนก็แล้วกัน พระองค์ท่านย่อมพอใจหมั่นคบหาสมาคม ไต่ถามนำเอาความรู้มาสั่งสมไว้ในจิตสันดานของตนเป็นเนืองนิจ เพื่อให้เกิดเป็นปัญญาบารมียิ่งๆ ขึ้นไป




    ..... ในกาลนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ก็ได้เห็นวิริยะบารมีเป็นข้อที่ ๕ ที่พระพุทธเจ้าแต่ปางก่อนทรงเสพอาศัย จึงเตือนตนเองว่า สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์เจ้าทั้งปวง ย่อมเพิ่มพูนวิริยะความเพียรเป็นยิ่งยวด คือมีน้ำใจกล้าหาญ ในการที่จะประกอบกุศลกรรมทำความดีอย่างไม่ลดละ เพราะพระโพธิญาณอันเป็นสิ่งประเสริฐสุดยอดนั้น มิใช่เป็นสิ่งที่จะพึงได้โดยง่าย แท้จริงต้องอาศัยความเพียรอันยิ่งใหญ่จึงจะให้สำเร็จได้ ด้วยเหตุนี้พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย จึงสู้อุตสาหะพยายามเพิ่มพูนวิริยะธรรมทุกๆ ชาติที่เกิด ไม่ว่าจะเกิดในชาติไหนและเสวยพระชาติเป็นอะไร ก็ตั้งใจสมาทานถือมั่นในวิริยะธรรมเป็นสำคัญ ประกอบความเพียรเป็นสามารถองอาจไม่ท้อถอยในการก่อสร้างกองการกุศล จนในบางครั้งแม้จักต้องถึงแก่ชีพิตักษัย ก็ไม่คลายความเพียรไม่ย่นย่อครั้นคร้ามขามขยาดต่ออุปสรรคอันตรายทั้งหลาย ที่บังเกิดมี

    ... ในกรณีที่พระโพธิสัตว์เจ้า มีน้ำใจประกอบไปด้วยความเพียรอันยิ่งใหญ่ เพื่อได้ตรัสเป็นเอกองค์สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถนี้ พึงทราบอุปมาว่า ธรรมดาพญาไกรสรสีหราชมฤคินทร์ซึ่งเรืองฤทธิ์ คราวเมื่อมีจิตปรารถนาจะขึ้นนั่งแท่น ย่อมจะแล่นเลี้ยวไม่ลดละ อุตสาหะพยายามอย่างยิ่งยวด แม้จะพลาดพลั้งอยู่ครั้งแล้วครั้งเล่าก็ไม่ถอย เพียรพยายามอยู่นักหนาจนกว่าจะขึ้นนั่งแท่นได้สำเร็จ อุปมาข้อนี้ฉันใด พระบรมภูมิอันประเสริฐสุดประมาณ ย่อมมีน้ำใจอาหาญประกอบไปด้วยอุตสาหะพยายามอันเป็นวิริยะบารมี ไม่ท้อถอยไม่ยั้งหยุดจนกว่าจะถึงจุดมุ่งหมาย กล่าวคือพระโพธิญาณ




    ..... ในกาลนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ก็ได้เห็นขันติบารมีเป็นข้อที่ ๖ ที่พระพุทธเจ้าแต่ปางก่อนทรงเสพอาศัย จึงเตือนตนเองว่า สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์เจ้าทั้งปวง ย่อมพยายามเพิ่มพูนขันติ คือความอดทนเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ ก็เพราะว่า พระโพธิญาณจักสำเร็จสมความมุ่งหมายได้นั้น ต้องอาศัยความอดทนอันยิ่งใหญ่เป็นประการสำคัญ ถ้ามีน้ำใจไม่มั่นคง ไม่มีขันติความอดทน ยอมตนเป็นประดุจดังทาสแห่งบรรดาสรรพกิเลสอยู่เสมอไปแล้ว ก็ย่อมจักแคล้วคลาดจากพระโพธิญาณ การใหญ่คือพระพุทธภูมิก็ไม่มีวันที่จะสำเร็จลงได้ ด้วยเหตุนี้พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย จึงพยายามสั่งสมซึ่งพระขันติธรรมอยู่เสมอทุกชาติที่เกิด ไม่ว่าจะเกิดในชาติและเสวยพระชาติเป็นอะไรก็ตาม พระองค์ท่านย่อมสมาทานมั่นในขันติธรรม อุตส่าห์ระงับใจไม่ให้เกิดความปฏิฆะ ความขุ่นข้องหมองกมลได้ ในบางครั้งสู้อดทนจนถึงแก่ชีพิตักษัยก็มี

    ... ในกรณีพระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายมีน้ำใจประกอบไปด้วยขันติธรรมความอดทนนี้ มีอุปมาที่ท่านกล่าวไว้ว่า ธรรมดาพื้นพสุธาคือแผ่นดิน ย่อมอดทนทรงไว้ซึ่งสัมภาระน้อยใหญ่คนทั้งหลายในโลกนี้ พากันทิ้งถมระดมสาดวัตถุสิ่งของที่สะอาดก็มี และของที่โสโครกไม่สะอาดก็มี เป็นสัมภาระสิ่งของมากมายนักหนา ลงบนแผ่นพสุธาไม่ว่างเว้นตลอดทุกวันเวลา แต่ว่าพื้นพสุธาก็ดีใจหาย จะได้สำแดงอาการรำคาญเคืองหรือยินดีชอบใจในพัสดุสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่บุคคลทิ้งลงทับถมเอาตามขอบใจเป็นไม่มีเลย เฉยอยู่อย่างนั้นชั่วกัปชั่วกัลป์ อุปมาข้อนี้ฉันใด พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น เมื่อมีจิตมุ่งหมายเอาพระโพธิญาณอันประเสริฐเลิศล้ำ ท่านย่อมพยายามสั่งสมขันติธรรมบำเพ็ญตนไม่ให้มีอาการโกรธพิโรธจิต คิดมุ่งร้ายหมายประหารด้วยความเดือดดาลในน้ำใจ ไม่ให้เกิดมีอาการหวั่นไหว ในเหตุการณ์ทั้งปวงจนกว่าจะลุล่วงถึงพระสัมมาสัมโพธิญาณ




    ..... ในกาลนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ ก็ได้เห็นสัจจะบารมีเป็นข้อที่ ๗ ที่พระพุทธเจ้าแต่ปางก่อนทรงเสพอาศัย จึงเตือนตนเองว่า สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย ย่อมพยายามเพิ่มพูนสัจธรรมเป็นยิ่งนัก คือมีน้ำใจประกอบไปด้วยสัจจะไม่ละความสัตย์ซื่อตรง หากพระองค์ท่านได้ตั้งสัจจะลงไปในการใดแล้วก็เที่ยงตรงการนั้นไม่แปรผัน ยักย้าย ด้วยว่า พระพุทธภูมิอันยิ่งใหญ่จักสำเร็จลงได้ ต้องอาศัยสัจจะ กล่าวคือความตรงความจริงเป็นประการสำคัญ ดังนั้น พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายจึงพยายามสั่งสมสัจจะบารมีอยู่เสมอทุกชาติที่เกิด ไม่ว่าจะเกิดในชาติใด และเสวยพระชาติเป็นอะไรก็ตามที ย่อมพยายามที่จะรักษาความสัตย์ เช่น จะรักษาวาจาคำพูดแห่งตนไม่ให้ล่วงละเมิดเกิดเป็นเท็จขึ้นมาได้ อันเป็นกิริยาที่โกหกทั้งตนเองและผู้อื่น มีความเที่ยงธรรมประจำใจนักหนา เสมอด้วยตราชูคันชั่งอันเที่ยงตรง บางครั้งถึงกับยอมให้ถึงแก่ชีพิตักษัย เพื่อรักษาสัจจะเอาไว้ก็มี

    ...ในกรณีที่พระบรมโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายมีน้ำใจประกอบไปด้วยสัจจะความเที่ยง ตรงนี้ มีอุปมาที่ท่านกล่าวไว้ว่า ธรรมดาโอสธิดาราคือดาวประกายพรึกนั้น เมื่อเคยขึ้นประจำอยู่ทิศไหน ก็ย่อมโคจรขึ้นประจำอยู่ทิศนั้นวิถีนั้น จะได้แปรเปลี่ยนเยื้องยักไปปรากฎขึ้นในทิศอื่นก็หามิได้ ย่อมทรงไว้ซึ่งความเที่ยงตรงนัก ไม่ว่ากาลไหนฤดูไหน อุปมาข้อนี้ฉันใด พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น เมื่อมีจิตมุ่งหมายเอาพระโพธิญาณอันประเสริฐเลิศล้ำ ย่อมพยายามสั่งสมสัจจะบำเพ็ญตนตั้งอยู่ในความสัตย์ ไม่ตระบัดบิดเบือนแปรผัน ตั้งมั่นอยู่ในความเที่ยงตรงเป็นล้นพ้น จนกว่าจะได้สำเร็จผลพระโพธิญาณ




    ..... ในกาลนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ก็ได้เห็นอธิษฐานบารมีเป็นข้อที่ ๘ ที่พระพุทธเจ้าแต่ปางก่อนทรงเสพอาศัย จึงเตือนตนเองว่า สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์เจ้าทั้งปวง ย่อมมีใจมั่นประกอบไปด้วยอธิษฐานบารมี มีความมั่นคงเด็ดขาดยิ่งนัก ด้วยว่าพระพุทธภูมิจักสำเร็จได้ ต้องอาศัยอธิษฐานธรรมเป็นสำคัญเหตุนั้น พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งปวงจึงพยายามสร้างสมอบรมพระอธิษฐานบารมีให้มากมูลเพิ่ม พูนและเสวยพระชาติเป็นอะไรก็ตาม ก็ย่อมพยายามสร้างความมั่นคงตั้งมั่นแห่งดวงจิตเพื่อให้ศักดิ์สิทธิ์ สัมฤทธิ์ผลตามความมุ่งหมาย ถ้ายังขาดอยู่ไม่บริบูรณ์ ก็เพียรเพิ่มพูนให้ภิญโญภาพยิ่งๆ ขึ้นไป ให้สำเร็จตามความประสงค์ให้จงได้ ถ้าลงได้อธิษฐานในสิ่งใดแล้ว ก็มีใจแน่วแน่ตั้งมั่นในสิ่งนั้น มิได้หวั่นไหวโยกคลอนเลยแม้แต่น้อยถึงใครจะคอยขู่คำรามเข่นฆ่าให้อาสัญสิ้น ชีวิต ก็ไม่ละอธิษฐาน จิตสมาทานในกาลไหนๆ

    ... ในกรณีที่พระบรมโพธิสัตว์ทั้งหลายมีน้ำใจประกอบไปด้วยอธิษฐานธรรมนี้ มีอุปมาไว้ว่า ธรรมดาไศลที่ใหญ่หลวงคือ ภูเขาแท่งทึบใหญ่มหึมา อันตั้งมั่นประดิษฐานอยู่เป็นอันดี แม้จะมีพายุใหญ่สักปานใด ยกไว้แต่ลมประลัยโลกพัดผ่านมาแต่สี่ทิศ ก็มิอาจที่จะให้ภูเขาใหญ่นั้นสะเทือนเคลื่อนคลอนหวั่นไหวได้แม้แต่สักนิดหนึ่งเลย อุปมาข้อนี้ฉันใด พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น เมื่อมีจิตมุ่งหมายซึ่งพระโพธิญาณประเสริฐเลิศล้ำ ย่อมพยายามเสริมสร้างอธิษฐานบารมีอยู่เนืองนิจ ไม่มีจิตหวั่นไหวในทุกสถานในกาลทุกเมื่อเพื่อให้สำเร็จเป็นอธิษฐานบารมี ยิ่งๆ ขึ้นไป จนกว่าจะได้บรรลุพระสัมโพธิญาณ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 กันยายน 2013
  13. pco-

    pco- เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    2,162
    ค่าพลัง:
    +12,252
    เอาโอเลี้ยงมาส่งแก้คอแห้ง ไปต่อครับ
     
  14. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ..... ในกาลนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ก็ได้เห็นเมตตาบารมีเป็นข้อที่ ๙ ที่พระพุทธเจ้าแต่ปางก่อนทรงเสพอาศัย จึงเตือนตนเองว่า สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์เจ้าทั้งปวง ย่อมมีใจประกอบไปด้วยเมตตา มีน้ำใจใคร่จะให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายได้ประสบความสุขสำราญโดยถ้วนหน้า ด้วยว่าพระพุทธภูมิจักสำเร็จลงได้ต้องอาศัยเมตตาธรรมเป็นสำคัญ เหตุดังนั้นพระบรมโพธิสัตว์เจ้าทั้งปวงย่อมพยายามสั่งสมเมตตาธรรมอันล้ำเลิศ ให้มากมูลเพิ่มพูนแก่กล้าทุกชาติที่เกิด ไม่ว่าจะเกิดในชาติไหนและเสวยพระชาติเป็นอะไรก็ตาม ก็ย่อมอุตส่าห์พยายามอบรมเมตตาธรรม ตั้งความปรารถนาดีไม่ให้มีราคีเคืองขุ่นรุ่มร้อนในดวงจิต เพื่อให้สัมฤทธิ์ผลเป็นความสุขแก่ปวงชนปวงสัตว์ทุกถ้วนหน้า ถ้ายังขาดอยู่ไม่เต็มบริบูรณ์ ก็เพียรเพิ่มพูนเสริมสร้างครั้งแล้วครั้งเล่า บางคราวถึงกับเอาชีวิตเข้าแลกเพื่อให้ชนอื่นสัตว์อื่นได้รับความสุขก็มี

    ... พระบรมโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย มีน้ำใจประกอบไปด้วยเมตตาธรรมนี้ มีอุปมากล่าวไว้ว่า ตามธรรมดาอุทกวารีที่สะอาดเย็นใสในธารแม่น้ำใหญ่ ย่อมแผ่ความเย็นฉ่ำชุ่มชื่นใจให้แก่สัตว์ทั้งหลายทุกถ้วนหน้าไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตามที จะเป็น หมี หมา ไก่ป่า กระทิงเถื่อนเป็นอาทิ ซึ่งเป็นสัตว์เดียรัจฉานก็ดี หรือจะเป็นมนุษย์ทั้งหลาย ตั้งอยู่ในเพศพรรณวรรณะใด จะเป็นขี้ข้า ตาบอด หูหนวก กระยาจก วณิพกก็ดี หรือจะเป็นคนมีทรัพย์ มียศ เป็นเศรษฐีอำมาตย์ราชเสนาตลอดจนกระทั่งเป็นองค์พระมหากษัตริย์ประเสริฐก็ดี เมื่อมีความปรารถนา บ่ายหน้าลงมาวักดื่มกินน้ำในธารานั้นแล้ว อุทกวารีย่อมให้รสแผ่ความเย็นชื่นเข้าไปในทรวงอกทุกถ้วนหน้า จะได้เลือกว่าผู้นั้นดี ผู้นี้ชั่ว หรือว่าประการใดๆ ก็มิได้มีเลย อุปมาข้อนี้ฉันใด พระบรมโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น เมื่อมีจิตมุ่งหมายซึ่งพระโพธิญาณอันประเสริฐเลิศล้ำ ย่อมพยายามเสริมสร้างเมตตาธรรมให้มากในดวงจิต เพื่อให้ผลิตผลแผ่กว้างออกไปไม่สิ้นสุด ไม่มีจิตประทุษร้าย แม้แต่ในศัตรูคู่อาฆาตก็ปรารถนาให้ได้รับความสุขให้หายมลทินสิ้นทุกข์หมดภัย หมดเวร แผ่ความเย็นใจไปทั่วทุกทิศ มีน้ำจิตเป็นมิตรไมตรีไม่มีจำกัด หมู่มนุษย์หรือเหล่าสัตว์ที่คบหาสมาคมด้วย ย่อมได้รับความเย็นใจไม่เดือดร้อนในทุกกรณี เพื่อให้สำเร็จผลเป็นเมตตาบารมียิ่งๆ ขึ้นไป จนกว่าจะได้บรรลุพระอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ




    ..... ในกาลนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ก็ได้เห็นอุเบกขาบารมีเป็นข้อที่ ๑๐ ที่พระพุทธเจ้าแต่ปางก่อนทรงเสพอาศัย จึงเตือนตนเองว่า สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ทั้งหลาย ย่อมมีน้ำใจประกอบไปด้วยอุเบกขา อุตส่าห์ยังจิตให้ตั้งมั่นในอุเบกขาธรรม ซึ่งเป็นธรรมพิเศษที่ท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ได้เคยซ่องเสพสืบกันมา คือ มีจิตอุเบกขาวางเฉยเป็นกลางในธรรมทั้งหลาย ด้วยว่าพระพุทธภูมิอันวิเศษนี้จะสำเร็จลงได้ ต้องอาศัยอุเบกขาธรรมเป็นประการสำคัญ ฉะนั้นพระบรมโพธิสัตว์เจ้าทั้งปวงจึงพยายามบำเพ็ญอุเบกขาธรรมอันล้ำเลิศให้ มากมูลเพิ่มพูนแก่กล้าขึ้นทุกชาติที่เกิด ไม่ว่าจะเกิดในชาติไหน และเสวยพระชาติเป็นอะไรก็ตาม ก็ยอมอุตส่าห์พยายามบำเพ็ญอุเบกขาธรรม กล่าวคือความวางเฉย(ในเมื่อคราวสุขหรือมีความทุกข์เกิดแก่ตน หรือเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย) ในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ ถ้ายังขาดบกพร่องอยู่ ยังไม่เต็มบริบูรณ์ก็เพียรเพิ่มพูนเสริมสร้างอยู่ครั้งแล้วครั้งเล่า บางครั้งถึงกับต้องเอาชีวิตของตนเข้าออกแลก ด้วยหวังจักทำให้ปราศจากความจำแนก กล่าวคือความยินดียินร้าย มุ่งหมายเพื่อให้มั่นในอุเบกขาธรรมเป็นสำคัญ

    ... พระบรมโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย มีน้ำใจประกอบด้วยอุเบกขาธรรมนี้ มีอุปมาที่กล่าวไว้ว่า ธรรมดาว่า พื้นปฐพีอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้ เมื่อมีผู้ถ่ายมูตรคูถของสกปรกโสมมอย่างใดอย่างหนึ่งลงก็ดี หรือแม้จะมีผู้เอาเครื่องสักการะบูชา บุปผา ธูปเทียน เครื่องหอม ของสะอาดทิ้งใส่ลงก็ดี พื้นปฐพีมหาพสุธาดล อันบุคคลและสัตว์ทั้งหลายเหยียบย่ำอยู่ทุกวันนี้จะได้มีความโกรธอาฆาตหรือความรักใคร่ชอบใจแม้แต่สักนิดก็หามิได้ ปราศจากความยินดียินร้ายโดยประการทั้งปวง เป็นปฐพีที่นิ่งเฉย ไม่ไหวหวั่นอยู่อย่างนั้น ตลอดเวลาชั่วกัปชั่วกัลป์ อุปมาข้อนี้ฉันใด พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น คือเมื่อมีจิตมุ่งหมายพระโพธิญาณ ย่อมมีน้ำใจอาจหาญ พยายามเสริมสร้างพระอุเบกขาธรรมให้เกิดขึ้นประจำจิตให้ภิญโญภาพยิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อให้สำเร็จผลเป็นอุเบกขาบารมีจนกว่าจะบรรลุถึงที่หมายอันยิ่งใหญ่ กล่าวคือพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ

    ... ธรรมอันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณให้แก่กล้า มีอยู่เพียงเท่านี้ ธรรมนอกจากนี้ ธรรมยิ่งกว่านี้ไม่มี ท่านจงสมาทานตั้งมั่นอยู่ในธรรมคือ พระบารมี ๑๐ ประการ นี้เถิด ”




    ..... เมื่อเราพิจารณาเห็นธรรมเหล่านี้ พร้อมทั้งภาวะ กิจของตนและลักษณะ พื้นพสุธาก็หวั่นไหวด้วยเดชแห่งธรรม ปฐพีย่อมหวั่นไหวส่งเสียงร้อง เหมือนหีบอ้อยบีบอ้อย ฉะนั้น



    ..... บริษัทประมาณเท่าใด มีอยู่ในบริเวณรอบๆ พระพุทธเจ้าบริษัทในบริเวณนั้นหวั่นไหวนอนซบอยู่ที่ภาคพื้นมหาชนหวาดเสียว สะดุ้งกลัว ประหลาดใจ มีใจหวาดหวั่นประชุมกันแล้ว พากันเข้าเฝ้าพระพุทธทีปังกร กราบทูลถามว่า

    ... " ความดีงามหรือความชั่วร้ายอะไรจักมีแก่โลก โลกทั้งปวงจักมีอันตรายหรือ ขอพระองค์ผู้มีพระจักษุ โปรดบรรเทาอันตรายนั้นเถิด พระพุทธเจ้าข้า
    "



    ..... ในกาลนั้นพระพุทธทีปังกรมหามุนี ทรงชี้แจงให้มหาชนนั้นเข้าใจว่า

    ... " ในการที่แผ่นดินหวั่นไหวนี้ ท่านทั้งหลายจงเบาใจ อย่ากลัวเลย วันนี้ เราพยากรณ์ผู้ใดว่าจักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ผู้นั้นพิจารณาเห็นธรรมคือพระบารมี ๑๐ ประการ ที่พระพิชิตมารทรงเสพมาก่อน เมื่อสุเมธดาบสผู้นั้นพิจารณาธรรมอันเกื้อกูลแก่พระพุทธภูมิโดยไม่เหลือ เพราะเหตุนั้นปฐพีจึงหวั่นไหว "




    ..... ขณะนั้น มหาชนได้ฟังพระพุทธดำรัสแล้วเย็นใจ ทุกคนพากันมาหาเราแล้ว ก็กราบไหว้อีก ในกาลนั้น เรายึดพระพุทธคุณ ทำใจให้มั่นคง ถวายนมัสการพระพุทธทีปังกรแล้ว ลุกจากอาสนะ ขณะเมื่อเราลุกขึ้นจากอาสนะ ทวยเทพและหมู่มนุษย์ ก็พากันเอาดอกไม้ทิพย์และดอกไม้มนุษย์โปรยปรายลง อนึ่ง ทวยเทพและหมู่มนุษย์นั้น ต่างก็อวยชัยให้พรสวัสดีว่า

    ... " ท่านปรารถนาพระพุทธภูมิอันใหญ่หลวง ขอให้ท่านได้พระพุทธภูมินั้นตามปรารถนาเถิด เสนียดจัญไรทั้งปวงจงอย่ามี ความโศกและโรคจงอย่ามี อันตรายจงอย่ามีแก่ท่าน

    ... ขอให้ท่านได้บรรลุพระโพธิญาณอันอุดมโดยเร็วพลัน

    ... ข้าแต่ท่านผู้มีเพียรใหญ่ ท่านย่อมบานด้วยพุทธญาณ เปรียบเหมือนไม้ดอกย่อมมีดอกบานในฤดูที่มาถึง ฉะนั้น

    ... ข้าแต่ท่านผู้มีเพียรใหญ่ ขอให้ท่านจงบำเพ็ญพระบารมี ๓๐ ทัศ ดังพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่อดีตได้ทรงบำเพ็ญ ฉะนั้นเถิด

    ... ข้าแต่ท่านผู้มีเพียรใหญ่ ขอให้ท่านจงได้ตรัสรู้ที่ควงไม้พระศรีมหาโพธิพฤกษ์ เหมือนหนึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายแต่อดีตตรัสรู้ที่โพธิมณฑลเถิด

    ... ข้าแต่ท่านผู้มีเพียรใหญ่ ขอให้ท่านจงประกาศธรรมจักร อย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีตทรงประกาศ ฉะนั้นเถิด

    ... ขอให้ท่านมีใจเต็มเปี่ยม รุ่งเรืองในหมื่นจักวาล เช่นพระจันทร์เต็มดวง ส่องแสงสว่างในวันเพ็ญ ฉะนั้นเถิด ......

    ... ขอให้ท่านพ้นจากโลก รุ่งเรืองด้วยสิริดังพระอาทิตย์พ้นจากราหูแผดแสงสว่างจ้า ฉะนั้นเถิด โลกพร้อมด้วยเทวโลก จักมาประชุมกันในสำนักของท่าน เปรียบเหมือนแม่น้ำทุกสายย่อมไหลมารวมลงยังมหาสมุทร ฉะนั้น "




    ..... ในกาลนั้น สุเมธดาบสนั้น อันทวยเทพและหมู่มนุษย์เหล่านั้นชมเชย สรรเสริญแล้ว สมาทานธรรมคือพระบารมี ๑๐ ประการ เมื่อจะบำเพ็ญธรรมเหล่านั้นให้บริบูรณ์ จึงเข้าป่าใหญ่ ฉะนี้แล



    ..... พระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกรพระองค์นั้นทรงมีพระนครชื่อว่า รัมมะวดี มีพระชนกเป็นกษัตริย์พระนามว่า พระเจ้าสุเทวะ พระชนนีเป็นพระเทวีพระนามว่า พระนางสุเมธา มีพระอัครสาวกคู่ชื่อ พระสุมงคลมหาเถระ และ พระติสสะมหาเถระ มีพระพุทธอุปัฏฐากชื่อ พระสาคตะมหาเถระ มีพระอัครสาวิกาคู่ชื่อ พระแม่เจ้านันทามหาเถรี และ พระแม่เจ้าสุนันทามหาเถรี ต้นไม้พระศรีมหาโพธิพฤกษ์เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น คือ ต้นเลียบ พระวรกายสูง ๘๐ ศอก พระชนมายุยืนหนึ่งแสนปี




    ..... พระพิชิตมารทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่หนึ่งหมื่นปี ทรงมีปราสาทอันอุดม ๓ หลัง ชื่อว่า หังสาปราสาท โกญจาปราสาท และมยุราปราสาท มีสนมนารีสามแสนคอยบำเรอแต่ละนางล้วนประดับประดาสวยงาม มีพระมเหสีพระนามว่า พระนางปทุมา พระโอรสพระนามว่า อุสะภักขันธะกุมาร



    ..... พระชินเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะแล้ว ออกผนวชด้วยคชยานคือพระยาช้างต้น ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๑๐ เดือนเต็ม ครั้นถึงเพ็ญเดือน ๖ ก็ได้ตรัสรู้พระอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ พระมหามุนีทีปังกรมหาวีระเจ้าอันท้าวสหัมบดีมหาพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ สุนันทาราม



    ..... พระทีปังกรมหามุนีสูง ๘๐ ศอก สง่างามเหมือนต้นไม้ประจำทวีป เหมือนต้นพระยาสาละออกดอกบานเต็มต้น พระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่พระองค์นั้น มีพระชนมายุหนึ่งแสนปี พระองค์ทรงมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะสงสารแล้ว ก็เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานทั้งพระสาวก เหมือนกองไฟลุกโพลงแล้วก็ดับไป พระวรฤทธิ์ด้วย พระยศด้วย จักรรัตนะที่พระยุคลบาทด้วย ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งหลายว่างเปล่าหนอ



    ..... พระทีปังกรชินศาสดา เสด็จดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ณ วัดสุนันทารามมหาวิหาร พระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระชินเจ้าทีปังกรพระองค์นั้น ที่วัดสุนันทารามมหาวิหาร สูงถึง ๓๖ โยชน์

    ... พระเจดีย์บรรจุบาตร จีวร บริขารและเครื่องบริโภคของพระศาสดา ประดิษฐานอยู่ที่โคนพระศรีมหาโพธิพฤกษ์ ในกาลนั้นสูง ๓ โยชน์ ฉะนี้แล





    ..... ได้ยินว่า ในกัปใดที่พระทีปังกรทศพลเสด็จอุบัติ ในกัปนั้นได้มีแม้พระพุทธเจ้าพระองค์อื่นๆ อีก ๓ พระองค์คือ สมเด็จพระตัณหังกรวิริยาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้า สมเด็จพระเมธังกรวิริยาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้า สมเด็จพระสรณังกรวิริยาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้า การพยากรณ์พระโพธิสัตว์ในสำนักของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นไม่มี เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าเหล่านั้น จึงไม่แสดงไว้ในที่นี้



    ..... แต่เพื่อแสดงพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ที่เสด็จอุบัติแล้ว ตั้งแต่ต้นกัปนั้น ท่านจึงกล่าวคำนี้ไว้ว่า

    ... " พระสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นยอดของสัตว์สองเท้า คือ พระตัณหังกรวิริยาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเมธังกรวิริยาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสรณังกรวิริยาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้า พระทีปังกรวิริยาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้า พระโกณฑัญญะวิริยาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ... พระมุนี คือ พระมงคลวิริยาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสุมนะวิริยาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเรวตะวิริยาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้า พระโสภิตะปัญญาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอโนมทัสสีวิริยาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้า พระมหาปทุมะสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนารทะสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปทุมุตตระวิริยาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ... พระผู้มียศใหญ่ ผู้นำโลก คือ พระสุเมธะสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสุชาตะสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปิยะทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอัตถะทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธัมมะทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสิทธัตถะสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ... พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้นำ คือ พระติสสะสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปุสสะสัมมาสัมพุทธเจ้า พระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสิขีสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเวสสะภูสัมมาสัมพุทธเจ้า พระกกุสันธะสัทธาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้า พระโกนาคมนะสัทธาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้า พระกัสสปะสัทธาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ... พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นได้มีมาแล้ว ทรงปราศจากราคะ มีพระหฤทัยมั่นคง เสด็จอุบัติแล้ว ก็ทรง บรรเทาความมืดอย่างใหญ่หลวงดังดวงอาทิตย์ยามเที่ยงวันที่ไร้เมฆบดบัง ฉะนั้น พระองค์กับทั้งพระสาวกทั้งหลาย ก็เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว ดังกองไฟลุกโพลงแล้วก็ดับไปเพราะหมดเชื้อ ฉะนั้น สังขาร(คือร่างกาย) ทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้ ฯ."
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กันยายน 2013
  15. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    สมเด็จพระโกณฑัญญะวิริยาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ..... ดังได้สดับมา เมื่อพระผู้มีพระเจ้าทีปังกรเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว ศาสนาของพระองค์ดำรงอยู่แสนปี เพราะอันตรธานแห่งพระสาวกทั้งหลายของพระพุทธะและอนุพุทธะแม้ศาสนาของพระองค์ก็อันตรธาน




    ..... ต่อมาภายหลังศาสนาของพระองค์ ล่วงไปหนึ่งอสงไขยกัป พระศาสดาพระนามว่าโกณฑัญญะก็อุบัติในสารกัปหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงบำเพ็ญบารมีมา ๑๖ อสงไขยกำไรแสนกัป อบรมบ่มพระญาณแก่กล้ามีพระบารมีเต็มเปี่ยมบริบูรณ์ จุติจากอัตภาพนั้นแล้วบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต ดำรงอยู่ในดุสิตนั้น จนตลอดพระชนมายุ พระโพธิสัตว์เจ้าอันท้าวสักกะเทวราช เทวดาและพรหมทั้งหลายอาราธนาแล้ว ประทานปฏิญาณแก่เทวดาทั้งหลาย จุติจากดุสิต ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางสุชาดาเทวี ในราชสกุลของพระเจ้าสุนันทะ กรุงรัมมะวดี



    ..... ในขณะที่พระองค์ทรงถือปฏิสนธิ ก็บังเกิดพระปาฏิหาริย์ ๓๒ ประการ พระองค์มีเหล่าเทวดาถวายอารักขา ถ้วนทศมาสก็ประสูติจากพระครรภ์พระมารดา ทรงเป็นยอดของสรรพสัตว์ บ่ายพระพักตร์ทางทิศอุดร เสด็จย่างพระบาทได้ ๗ ก้าว ทรงแลดูทุกทิศ ทรงเปล่งอาสภิวาจาว่า



    ..... " เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดแห่งโลก เราเป็นผู้ประเสริฐที่สุดแห่งโลก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ตั้งแต่บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีก "



    ..... ต่อนั้น ในวันขนานพระนามของพระโพธิสัตว์นั้น พระประยูรญาติทั้งหลายก็ขนานพระนามว่า โกณฑัญญะ ความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงมีพระโคตรเป็นโกณฑัญญะโคตร เขาว่า พระองค์มีปราสาท ๓ หลังน่ารื่นรมย์อย่างยิ่งชื่อว่า
    รามะปราสาท สุรามะปราสาท สุภะปราสาท




    ..... ทั้ง ๓ หลังนั้นมีสตรีฝ่ายนาฏกะ ผู้ชำนาญการฟ้อนรำ การขับร้องและการบรรเลง ประจำอยู่ถึงสามแสนนาง พระองค์มีพระมเหสีพระนามว่า รุจิเทวี มีพระโอรสพระนามว่า วิชิตเสนะ ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่หมื่นปี



    ..... พระโพธิสัตว์นั้นทรงเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตายและนักบวช เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยรถทรงเทียมม้า ทรงผนวชแล้ว ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๑๐ เดือน



    ..... โกณฑัญญะกุมารกำลังผนวชอยู่ คนสิบโกฏิก็บวชตามเสด็จโกณฑัญญะกุมารนั้น อันคนเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ก็ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๑๐ เดือน ณ ดิถีเพ็ญเดือนวิสาขะ เสวยข้าวมธุปายาสรสอร่อยอย่างยิ่ง ซึ่งธิดาเศรษฐีชื่อว่ายโสธรา ผู้มีเต้าถันอวบอิ่มเท่ากัน ณ บ้าน สุนันทะคามถวายแล้ว ทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ ป่าต้นสาละ ที่ประดับด้วยผลใบอ่อนและหน่อ




    ..... เวลาเย็นทรงละหมู่บริวารแล้วทรงรับหญ้า ๘ กำที่สุนันทะอาชีวกถวายมาแล้ว ทรงทำประทักษิณต้นสาละกัลยาณี (ต้นขานาง) ๓ ครั้ง ทรงสำรวจดูทิศบูรพา ทรงทำต้นไม้ที่ตรัสรู้ไว้เบื้องพระปฤษฎางค์(เบื้องหลัง) ทรงปูลาดหญ้ากว้าง ๕๘ ศอก ทรงนั่งขัดสมาธิ อธิษฐานความเพียรมีองค์ ๔




    ..... ในราตรีปฐมยามทรงชำระปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ในมัชฌิมยามทรงชำระทิพยจักษุ ในปัจฉิมยามทรงพิจารณาปัจจยาการ ทรงออกจากจตุตถฌานที่มีอานาปานสติเป็นอารมณ์ ทรงหยั่งสำรวจในปัญจขันธ์ ก็ทรงเห็นลักษณะทั้งหลายด้วยปัญญาอันสม่ำเสมอ โดยอุทยัพพยญาณ ทรงเจริญวิปัสสนาจนถึงโคตรภูญาณ ทรงแทงตลอดมรรคญาณ ๔ ผลญาณ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ ญาณกำหนดกำเนิด ๔ ญาณกำหนดคติ ๕ อสาธารณญาณ ๖ และพระพุทธคุณทั้งสิ้น ทรงมีความดำริบริบูรณ์แล้ว ประทับนั่ง ณ โคนไม้ที่ตรัสรู้ ทรงเปล่งอุทานอย่างนี้ว่า



    ..... " เมื่อเรายังไม่พบญาณ ได้แล่นท่องเที่ยวไปในสงสารเป็นอเนกชาติ เราแสวงหาอยู่ซึ่งนายช่างปลูกเรือน คือตัณหาผู้สร้างภพ การเกิดทุกคราวเป็นทุกข์ร่ำไป

    ... นี่แน่ะ(ตัณหา)นายช่างปลูกเรือน เรารู้จักเจ้าเสียแล้ว เจ้าจะสร้างเรือนให้เราไม่ได้อีกต่อไป โครงเรือนทั้งหมดของเจ้าเราหักหมดเสียแล้ว ยอดเรือนเราก็รื้อออกเสียแล้ว จิตของเราถึงธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหาแล้ว (คือถึงพระนิพพาน)

    ... คติแห่งไฟที่ลุกโพลง ที่ภาชนะสัมฤทธิ์ที่นายช่างตีด้วยพะเนินเหล็กกำจัดแล้วก็สงบเย็นลงโดยลำดับ ไม่มีใครรู้คติความไปของมันได้ ฉันใด

    ... คติของพระขีณาสพผู้หลุดพ้นโดยชอบ ข้ามเครื่องผูกคือกามโอฆะ บรรลุสุขอันไม่หวั่นไหว ก็ไม่มีใครจะรู้คติของท่านได้ ฉันนั้น ฯ."
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กันยายน 2013
  16. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ..... ทรงยับยั้งอยู่ด้วยสุขในผลสมาบัติ ณ โคนโพธิพฤกษ์ ๗ สัปดาห์ ในสัปดาห์ที่ ๘ ทรงอาศัยการอาราธนาของท้าวสหัมบดีมหาพรหม ทรงใคร่ครวญว่า เราจะแสดงธรรมครั้งแรกแก่ใครเล่าหนอ ก็ได้ทรงเห็นภิกษุ ๑๐ โกฏิซึ่งบวชกับพระองค์ว่า

    ... กุลบุตรพวกนี้สะสมกุศลมูลไว้ จึงบวชตามเราซึ่งกำลังบวช บำเพ็ญเพียรกับเรา บำรุงเรา เอาเถิด เราจะพึงแสดงธรรมแก่กุลบุตรพวกนี้ก่อนใครหมด




    ..... ครั้นทรงใคร่ครวญอย่างนี้แล้ว ก็ทรงตรวจดูว่า ภิกษุเหล่านั้น บัดนี้อยู่ที่ไหนก็ทรงเห็นว่าอยู่กันที่เทวะวัน กรุงอรุนธะวดีระยะทาง ๑๘ โยชน์แต่ที่นี้ จึงทรงอันตรธานจากโคนพระศรีมหาโพธิพฤกษ์ไปปรากฏที่เทวะวัน เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้หรือคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น



    ..... สมัยนั้น ภิกษุสิบโกฏิเหล่านั้นอาศัยกรุงอรุนธะวดี อยู่ที่เทวะวัน ก็แลเห็นพระทศพลทรงพุทธดำเนินมาแต่ไกล พากันมีใจผ่องใสรับเสด็จ รับบาตร จีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปูลาดพุทธอาสน์ ทำความเคารพ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่งแวดล้อม ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง



    ..... ณ ที่นั้น พระโกณฑัญญะทศพลอันหมู่มุนีแวดล้อมแล้ว ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์อันรุ่งโรจน์ ประดุจท้าวสหัสนัยน์อันหมู่เทพชั้นไตรทศแวดล้อม ประดุจดวงรัชนีกรในฤดูสารทที่โคจร ณ พื้นนภากาศอันไร้มลทิน ประดุจดวงจันทร์เพ็ญ อันหมู่ดาวแวดล้อม



    ..... ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสพระธัมมะจักกัปปะวัตตนะสูตร มีปริวัฏ ๓ มีอาการ ๑๒ อันยอดเยี่ยม ซึ่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงซ่องเสพแล้ว แก่ภิกษุเหล่านั้น ทรงยังเทวดาและมนุษย์แสนโกฏิ มีภิกษุสิบโกฏิเป็นประธานให้ดื่มอมฤตธรรม




    ..... เมื่อพระโกณฑัญญะพุทธเจ้า ผู้นำโลกทรงประกาศพระธรรมจักร อภิสมัยการตรัสรู้ธรรมครั้งแรกก็ได้มีแก่หมู่มนุษย์และเทวดาแสนโกฏิ



    ..... ต่อจากนั้น ในมหามงคลสมาคม เทวดาในหมื่นจักรวาล เนรมิตอัตภาพอันละเอียด ประชุมกันในจักรวาลนี้นี่แล

    ... เล่ากันว่า ในมหามงคลสมาคมนั้น เทพบุตรองค์หนึ่งทูลถามมงคลปัญหากะพระโกณฑัญญะทศพล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสมงคลทั้งหลายโปรดเทพบุตรองค์นั้น ในมหามงคลสมาคมนั้น เทวดาเก้าหมื่นโกฏิบรรลุพระอรหัตตผล จำนวนพระอริยบุคคลมีพระโสดาบันเป็นต้นกำหนดไม่ได้เลย ด้วยเหตุนั้น อภิสมัยการตรัสรู้ธรรมครั้งที่ ๒ ก็ได้มีแก่เทวดาเก้าหมื่นโกฏิ




    ..... ครั้งใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ย่ำยีมานะของเดียรถีย์ ทรงแสดงธรรม ณ ภาคพื้นนภากาศ ครั้งนั้น มนุษย์และเทวดาแปดหมื่นโกฏิ บรรลุพระอรหัตตผล ผู้ที่ตั้งอยู่ในผล ๓ เกินที่จะนับได้ อภิสมัยการตรัสรู้ธรรม ครั้งที่ ๓ จึงได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ
     
  17. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ..... ได้ยินว่า สมเด็จพระโกณฑัญญะบรมศาสดาตรัสรู้พระอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว พรรษาแรกทรงจำพรรษาที่กรุงจันทะวดี ประทับอยู่ ณ พระวิหารจันทาราม

    ... ในที่นั้น ภัททะมาณพ บุตรของพราหมณ์มหาศาลชื่อสุจินธระ และสุภัททะมาณพ บุตรของยโสธรพราหมณ์ ฟังพระธรรมเทศนาเฉพาะพระพักตร์ของสมเด็จพระโกณฑัญญะพุทธเจ้า มีใจเลื่อมใส ก็บวชในสำนักของพระองค์ พร้อมกับมาณพหมื่นหนึ่งแล้วบรรลุพระอรหัตตผล



    ..... ครั้งนั้น สมเด็จพระโกณฑัญญะบรมศาสดา อันภิกษุแสนโกฏิมีพระสุภัททะมหาเถระ เป็นประธานแวดล้อมแล้ว ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ณ เพ็ญเดือนเชษฐะ (เดือน ๗) นั้นเป็นการประชุมครั้งที่ ๑




    ..... ต่อจากนั้น เมื่อพระโอรสของสมเด็จพระโกณฑัญญะพุทธเจ้า พระนามว่า วิชิตเสนะ ทรงบรรลุพระอรหัต พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ณ ท่ามกลางภิกษุพันโกฏิมีพระวิชิตเสนะมหาเถระนั้นเป็นประธาน นั้นเป็นการประชุมครั้งที่ ๒



    ..... สมัยต่อมา พระทศพลเสด็จจาริก ณ ชนบท ทรงยังพระเจ้าอุเทนซึ่งมีชนเก้าสิบโกฏิเป็นบริวารให้ทรงผนวชพร้อมด้วยบริษัท เมื่อพระเจ้าอุเทนนั้นทรงบรรลุพระอรหัตผลแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าอันพระอรหันต์เก้าสิบโกฏิมีพระเจ้าอุเทนนั้นเป็นประธานแวดล้อมแล้ว ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง นั้นเป็นการประชุมครั้งที่ ๓




    ..... ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ พระนามว่าวิชิตาวี ประทับอยู่ ณ กรุงจันทะวดี พระองค์อันคนชั้นดีเป็นอันมากแวดล้อมแล้ว ทรงปกครองแผ่นดิน อันเป็นที่อยู่แห่งน้ำและขุมทรัพย์ ทรงไว้ซึ่งรัตนะหาประมาณมิได้โดยธรรม ไม่ใช้อาชญา ไม่ใช้ศัสตรา




    ..... ครั้งนั้น สมเด็จพระโกณฑัญญะพุทธเจ้าอันพระขีณาสพแสนโกฏิแวดล้อมแล้ว เสด็จจาริก ณ ชนบท เสด็จถึงกรุงจันทะวดีโดยลำดับ



    ..... เล่ากันว่า พระเจ้าวิชิตาวีทรงสดับข่าวว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จถึงนครของเราแล้ว จึงออกไปรับเสด็จ จัดแจงสถานที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้า นิมนต์เพื่อเสวยภัตตาหาร ณ วันรุ่งขึ้นพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์



    ..... วันรุ่งขึ้นก็ทรงให้เขาจัดภัตตาหารเป็นอย่างดีแล้ว ได้ถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์นับได้แสนโกฏิ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน พระโพธิสัตว์ทรงให้พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยแล้ว จบอนุโมทนา ทรงทูลขอว่า

    ... " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์เพื่อจะทรงทำการสงเคราะห์มหาชน ขอโปรดประทับอยู่ในนครนี้นี่แหละตลอดไตรมาส พระพุทธเจ้าข้า"

    ... ได้ทรงถวายอสทิสทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานเป็นนิตย์ ตลอดไตรมาส




    ..... พระโกณฑัญญะพุทธเจ้าผู้นำโลกแม้พระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์เราว่า

    ... " พระบรมขัตติยาธิบดีวิชิตาวีจักรพรรดิพระองค์นี้ คือหน่อพระชินสีห์พระโพธิสัตว์ สืบไปเมื่อหน้าในอนาคตกาล พระองค์จะได้ตรัสเป็นพระสรรเพชญสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า สมเด็จพระสมณะโคดมบรมครูเจ้าเป็นแม่นมั่น "



    ..... เราได้ฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยังจิตให้เลื่อมใสยิ่งๆ ขึ้นไป เมื่อจะให้สำเร็จประโยชน์นั้นนั่นแล จึงถวายมหาราชสมบัติแด่พระชินเจ้า

    ... ครั้นถวายมหาราชสมบัติแล้ว ก็บวชในสำนักของพระองค์ เราเล่าเรียนพระสูตร พระวินัย นวังคสัตถุศาสน์ ทุกอย่าง ยังศาสนาของพระชินเจ้าให้งดงาม

    ... เราอยู่อย่างไม่ประมาท เจริญพระสมถะกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ในพระศาสนานั้น ในอิริยาบถนั่งนอนและเดิน ก็ถึงฝั่งแห่งอภิญญาเข้าถึงพรหมโลก




    ..... พระโกณฑัญญะพุทธเจ้าพระองค์นี้มีพระนครชื่อว่า รัมมะวดี พระชนกทรงพระนามว่า พระเจ้าสุนันทะ พระชนนีพระนามว่า พระนางสุชาดาเทวี คู่พระอัครสาวกคือ พระภัททะมหาเถระ และ พระสุภัททะมหาเถระ พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระอนุรุทธะมหาเถระ คู่พระอัครสาวิกาคือ พระแม่เจ้าติสสามหาเถรี และ พระแม่เจ้าอุปติสสามหาเถรี ต้นไม้พระศรีมหาโพธิพฤกษ์ที่ตรัสรู้คือ ต้นสาละกัลยาณี (ต้นขานาง) พระสรีระสูง ๘๘ ศอก พระชนมายุยืนหนึ่งแสนปี พระองค์มีพระมเหสีพระนามว่า พระนางรุจิเทวี มีพระโอรสพระนามว่า วิชิตเสนะ มีอุปัฏฐากพระนามว่า เจ้าจันทะ




    ..... พระมหามุนีโกณฑัญญะพระองค์นั้น สูง ๘๘ ศอก สง่างามเหมือนดวงจันทร์ เหมือนดวงอาทิตย์เที่ยงวัน ฉะนั้น

    ...ในยุคนั้น ทรงมีพระชนมายุแสนปี พระองค์มีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น ก็ยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะสงสาร แผ่นเมทนีงดงามด้วยพระขีณาสพทั้งหลาย ผู้ไร้มลทิน ก็เหมือนท้องนภากาศ งดงามด้วยเหล่าดวงดาวทั้งหลาย พระโกณฑัญญะพุทธเจ้าพระองค์นั้นก็ทรงงดงามอย่างนั้น

    ... พระขีณาสพแม้เหล่านั้น หาประมาณมิได้ เป็นผู้ไม่หวั่นไหวในโลกธรรม พระผู้มียศใหญ่เหล่านั้น แสดงตัวเหมือนสายฟ้าแลบแล้วต่างก็ดับขันธปรินิพพาน

    ... พระวรฤทธิ์ของพระชินเจ้า ที่ไม่มีผู้เทียบได้นั้นและพระสมาธิที่พระญาณอบรมแล้ว ทั้งนั้นก็อันตรธานไปหมดสิ้น สังขารทุกอย่างก็ว่างเปล่าโดยแน่แท้




    ..... สมเด็จพระโกณฑัญญะบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารจันทารามมหาวิหาร ที่น่ารื่นรมย์

    ... พระบรมสารีริกธาตุของพระศาสดาพระองค์นั้นไม่กระจัดกระจาย คงดำรงอยู่เป็นแท่งเดียว เหมือนรูปปฏิมาทอง

    ... พระเจดีย์สำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระโกณฑัญญะวิริยาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ประดิษฐานที่วัดจันทารามมหาวิหาร สูงถึง ๗ โยชน์ มนุษย์ชาวชมพูทวีปทั้งสิ้นช่วยกันเอาหินอ่อนสีเหลืองก่อแทนดิน ใช้น้ำมันและเนยแทนน้ำสร้างจนแล้วเสร็จฉะนี้แล ฯ.
     
  18. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    สมเด็จพระมงคลวิริยาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ..... เมื่อสมเด็จพระโกณฑัญญะบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จล่วงลับดับขันธปรินิพพานแล้ว พระศาสนาของพระองค์ดำรงอยู่หนึ่งแสนปี เพราะพระไตรปิฎกและพระสาวกอันตรธาน พระศาสนาของพระองค์ก็ถึงกาลอันตรธานไปจากโลกนี้




    ..... ต่อจากสมัยของสมเด็จพระโกณฑัญญะวิริยาธิกะสัพพัญญูพุทธเจ้า ล่วงไปหนึ่งอสงไขยกัป ในสารมัณฑกัปก็บังเกิดมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติ ๔ พระองค์ คือ

    ... สมเด็จพระมงคลวิริยาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ... สมเด็จพระสุมนะสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ... สมเด็จพระเรวตะสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ... สมเด็จพระโสภิตะปัญญาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้า




    ..... ใน ๔ พระองค์นั้น สมเด็จพระมงคลสัพพัญญูพุทธเจ้าผู้นำโลก ทรงเป็นพระวิริยาธิกะโพธิสัตว์บำเพ็ญพระบารมีสิบหกอสงไขยกำไรแสนกัป เมื่อพระองค์บำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศจนเต็มเปี่ยมบริบูรณ์แล้ว ก็บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต ทรงดำรงตลอดอายุในสวรรค์ชั้นนั้น เมื่อบุพนิมิต ๕ ประการเกิดขึ้นแล้ว ก็เกิดพุทธโกลาหลขึ้น



    ..... ครั้งนั้น เทวดาในหมื่นจักรวาลก็ประชุมกันในจักรวาลนั้น จึงพากันอ้อนวอนว่า

    ... " กาโลยัง เต มหาวีระ อุปปัชชะ มาตุ กุจฉิยัง สะเทวะกัง ตาระยันโต พุชฌัสสุ อะมะตัง ปะทัง "

    ... " ข้าแต่ท่านมหาวีระ นี้เป็นกาลอันควรสำหรับพระองค์ โปรดเสด็จอุบัติในครรภ์ของพระมารดาเถิด พระองค์จะทรงยังโลกพร้อมทั้งเทวโลกให้ข้ามโอฆะสงสาร สมดังปณิธานที่ท่านปรารถนามานานนักหนา "




    ..... ทรงถูกเทวดาทั้งหลายอ้อนวอนอย่างนี้แล้ว ทรงพิจารณาวิโลกนะ ๕ ประการ ก็จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางอุตตราเทวี ราชสกุลของพระเจ้าอุตตระผู้ยอดเยี่ยม ในอุตตระนคร ซึ่งเป็นนครสูงสุดเหนือนครทุกนคร ครั้งนั้นได้ปรากฏปาฏิหาริย์เป็นอันมาก



    ..... นับตั้งแต่พระมงคลมหาสัตว์ผู้เป็นมงคลของโลกทั้งปวง ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางอุตตระมหาเทวีพระองค์นั้น พระรัศมีแห่งพระสรีระก็แผ่ไปตลอดเนื้อที่ประมาณ ๘๐ ศอก ทั้งกลางคืนกลางวัน แสงจันทร์และแสงอาทิตย์สู้ไม่ได้ พระรัศมีนั้นกำจัดความมืดได้โดยที่พระรัศมีแห่งพระสรีระของพระองค์เกิดขึ้น ไม่ต้องใช้แสงสว่างอย่างอื่น มีพระพี่เลี้ยงพระนม ๖๘ นางคอยปรนนิบัติอยู่เสมอ




    ..... เล่ากันว่า พระนางอุตตราเทวีนั้นมีเทวดาถวายอารักขา ครบทศมาสก็ประสูติพระมงคลมหาบุรุษ ณ มงคลราชอุทยาน ชื่อว่าอุตตระมธุระอุทยาน อันมีไม้ดอกหอมอบอวล ไม้ต้นติดผลมีกิ่งและค่าคบ ประดับด้วยดอกบัวต้นและบัวสาย มีเนื้อกวาง ราชสีห์ เสือ ช้าง โคลาน ควาย เนื้อฟานและฝูงเนื้อนานาชนิดเที่ยวกันไป น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง



    ..... พระมหาสัตว์พระองค์นั้นพอประสูติเท่านั้น ก็ทรงแลดูทุกทิศ หันพระพักตร์สู่ทิศอุดร ทรงย่างพระบาท ๗ ก้าว ทรงเปล่งอาสภิวาจา




    ..... ขณะนั้น เทวดาสิ้นทั้งหมื่นโลกธาตุก็ปรากฏกาย ประดับองค์ด้วยทิพยมาลัยเป็นต้น ยืนอยู่ในที่นั้นๆ แซ่ซ้องถวายสดุดีชัยมงคล ปาฏิหาริย์ทั้งหลายมีนัยที่กล่าวแล้วทั้งนั้น




    ..... ในวันขนานพระนามพระมหาบุรุษนั้น โหรทำนายลักษณะขนานพระนามว่า มงคลกุมาร เพราะประสูติด้วยมงคลสมบัติทุกอย่าง



    ..... ได้ยินว่า พระมหาบุรุษนั้นมีปราสาท ๓ หลัง คือ ยสวาปราสาท รุจิมาปราสาท สิริมาปราสาท สตรีเหล่านาฏกะ (ฟ้อน, ขับ, บรรเลง) จำนวนสามหมื่น มีพระนางยสวดีเป็นประธาน ณ ปราสาทนั้น ทรงมีพระโอรสพระนามว่า สีลวา
     
  19. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ..... พระมหาสัตว์เสวยสุขเสมือนทิพยสุขเก้าพันปี ทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูต คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตายและสมณะแล้ว ทรงม้าตัวงามนามว่าปัณฑระที่ตกแต่งแล้ว เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ทรงผนวช มนุษย์สามโกฏิก็พากันบวชตามเสด็จพระมหาสัตว์ที่ทรงผนวชพระองค์นั้น พระมหาบุรุษอันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้วทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่ ๘ เดือน

    ... แต่นั้นก็เสวยข้าวมธุปายาส มีโอชะทิพย์ที่เทวดาใส่ไว้อันนางอุตตราธิดาของอุตตรเศรษฐี ในหมู่บ้านอุตตรคามถวายแล้ว ทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ สาละวัน ซึ่งประดับด้วยไม้ดอกหอมกรุ่นมีแสงสีเขียวน่ารื่นรมย์ ทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่อุตตระอาชีวกถวาย เสด็จเข้าไปยังต้นไม้พระศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อ ต้นนาคะ (กากะทิง) มีร่มเงาเย็นคล้ายอัญชันคีรีสีครามแก่ ประหนึ่งมียอด มีตาข่ายทองคลุม เว้นจากการชุมนุมของฝูงมฤคนานาพันธุ์ ประดับด้วยกิ่งหนาทึบ ที่ต้องลมอ่อนๆ แกว่งไกวคล้ายฟ้อนรำ ถึงต้นนาคะโพธิพฤกษ์ที่น่าชื่นชม ก็ทรงทำประทักษิณต้นนาคะโพธิ์ ประทับยืนข้างทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ทรงลาดสันถัตหญ้า ๕๘ ศอก ประทับนั่งขัดสมาธิเหนือสันถัตหญ้านั้น




    ..... ทรงอธิษฐานความเพียรอันประกอบด้วยองค์ ๔ ทรงทำการพิจารณาปัจจยาการ หยั่งลงโดยอำนาจอนิจจะลักษณะเป็นต้นในขันธ์ทั้งหลาย ก็ทรงบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณโดยลำดับ



    ..... ส่วนรัศมีแห่งพระสรีระสมเด็จพระมหามุนีมงคลสัพพัญญูพุทธเจ้ามีเกินยิ่งกว่าพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นๆ รัศมีแห่งพระสรีระของพระองค์ ไม่เหมือนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์อื่นๆ ซึ่งมีรัศมีพระสรีระ ประมาณ ๘๐ ศอกบ้าง วาหนึ่งบ้างโดยรอบ ส่วนรัศมีแห่งพระสรีระของพระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นั้น แผ่ไปตลอดหมื่นโลกธาตุเป็นนิจนิรันดร์ ต้นไม้ ภูเขา เรือน กำแพง หม้อน้ำ บานประตูเป็นต้น ได้เป็นเหมือนหุ้มไว้ด้วยแผ่นทอง




    ..... พระองค์มีพระชนมายุถึงเก้าหมื่นปี รัศมีของดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดวงดาวเป็นต้นไม่มีตลอดเวลาถึงเท่านั้น การกำหนดเวลากลางคืนกลางวันไม่ปรากฏ สัตว์ทั้งหลายทำการงานกันทุกอย่างด้วยแสงสว่างของพระพุทธเจ้าเท่านั้น เหมือนทำงานด้วยแสงสว่างของดวงอาทิตย์เวลากลางวัน โลกกำหนดเวลาตอนกลางคืนกลางวัน โดยดอกไม้บานยามเย็นและนกร้องยามเช้า

    ... ถามว่า อานุภาพนี้ของพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นๆ ไม่มีหรือ

    ... ตอบว่า ไม่มี หามิได้



    ..... ความจริง พระพุทธเจ้าแม้เหล่านั้น เมื่อทรงประสงค์ ก็ทรงแผ่พระรัศมีไปได้ตลอดหมื่นโลกธาตุหรือยิ่งกว่านั้น แต่รัศมีแห่งพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้ามงคล แผ่ไปตลอดหมื่นโลกธาตุเป็นนิจนิรันดร์ เหมือนรัศมีวาหนึ่งของพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นๆ ก็ด้วยอำนาจความปรารถนาแต่เบื้องต้น



    ..... ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ พระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงมีพระโอรสและพระชายา ในอัตภาพเช่นเดียวกับอัตภาพเป็นพระเวสสันดร ประทับอยู่ ณ ภูเขาเช่นเดียวกับเขาวงกต ครั้งนั้น ยักษ์ผู้มีศักดิ์ใหญ่ตนหนึ่งกินมนุษย์เป็นอาหาร ชอบเบียดเบียนคนทุกคน ชื่อ ขรทาฐิกะ ได้ข่าวว่า พระมหาบุรุษชอบให้ทาน จึงแปลงกายเป็นพราหมณ์เข้าไปหา ทูลขอทารกสองพระองค์กะพระมหาสัตว์




    ..... พระมหาสัตว์ทรงดีพระทัยว่า เราจะให้ลูกน้อยสองคนแก่พราหมณ์ดังนี้ ได้ทรงประทานพระราชบุตรทั้งสองพระองค์แล้ว ทำให้แผ่นดินหวั่นไหวจนถึงน้ำ ขณะนั้น ทั้งที่พระมหาสัตว์ทรงเห็นอยู่ ยักษ์ละเพศเป็นพราหมณ์นั้นเสีย มีดวงตากลมเหลือกเหลืองดังเปลวไฟ มีเขี้ยวโง้งไม่เสมอกัน น่าเกลียดน่ากลัว มีจมูกบี้แบน มีผมแดงหยาบยาว มีเรือนร่างเสมือนต้นตาลไหม้ไฟใหม่ๆ จับทารกสองพระองค์ เหมือนกำเหง้าบัวเคี้ยวกิน



    ..... พระมหาบุรุษมองดูยักษ์ พอยักษ์อ้าปากก็เห็นปากยักษ์นั้น มีสายเลือดไหลออกเหมือนเปลวไฟ ก็ไม่เกิดโทมนัสแม้เท่าปลายผม เมื่อคิดว่าเราให้ทานดีแล้ว ก็เกิดปีติโสมนัสมากในสรีระ พระมหาสัตว์นั้นทรงทำความปรารถนาว่า

    ... " ด้วยผลแห่งทานของเรานี้ ในอนาคตกาล ขอรัศมีทั้งหลายจงแล่นออกโดยทำนองนี้ "

    ... เมื่อพระองค์อาศัยความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว รัศมีทั้งหลายจึงเปล่งออกจากสรีระ แผ่ไปตลอดสถานที่มีประมาณเท่านั้น

     
  20. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ..... บุพจริยาอย่างอื่นของพระองค์ยังมีอีก เมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ สมเด็จพระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นี้เห็นเจดีย์ของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง คิดว่า

    ... " ควรที่จะสละชีวิตของเราเพื่อพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ "

    ... จึงให้เขาพันทั่วทั้งสรีระโดยทำนองพันด้ามประทีป ให้บรรจุถาดทองมีค่านับแสนซึ่งมีช่อดอกไม้ตูมขนาดศอกหนึ่ง เต็มด้วยของหอมและเนยใส จุดไส้เทียนพันไส้ไว้ในถาดทองนั้น ใช้ศีรษะเทินถาดทองนั้นแล้วให้จุดไฟทั่วทั้งตัว ทำประทักษิณพระเจดีย์ของพระชินเจ้าให้เวลาล่วงไปตลอดทั้งคืน




    ..... เมื่อพระโพธิสัตว์พยายามอยู่จนอรุณขึ้นอย่างนี้ ไออุ่นก็ไม่จับแม้เพียงขุมขน ได้เป็นเหมือนเวลาเข้าไปสู่ห้องดอกปทุม ด้วยผลแห่งกรรมแม้นี้ แสงสว่างแห่งพระสรีระของพระองค์จึงแผ่ไปตลอดหมื่นโลกธาตุ




    ..... ก็เมื่อสมเด็จพระมงคลสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบรรลุพระอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ทรงยับยั้ง ณ โคนต้นไม้พระศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ ๗ สัปดาห์ ทรงรับคำอาราธนาขอให้ทรงแสดงธรรมของท้าวสหัมบดีมหาพรหม ทรงใคร่ครวญว่าเราจะแสดงธรรมนี้แก่ใครหนอ ก็ทรงเห็นว่า ภิกษุสามโกฏิที่บวชกับพระองค์ ถึงพร้อมด้วยอุปนิสสัย



    ..... ครั้งนั้น ทรงดำริว่ากุลบุตรเหล่านี้บวชตามเราซึ่งกำลังบวชอยู่ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย พวกเขาถูกเราซึ่งต้องการวิเวกสละไว้ เมื่อวันเพ็ญเดือนวิสาขะ เข้าไปอาศัยสิริวัฒนะนคร อยู่ยังชัฏสิริวัน เอาเถิดเราจักไปแสดงธรรมแก่พวกเขาในที่นั้น แล้วทรงถือบาตรจีวรของพระองค์ เหาะสู่อากาศ เหมือนพระยาหงส์ ปรากฏพระองค์ ณ ชัฏสิริวัน



    ..... ภิกษุเหล่านั้นถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แสดงอันเตวาสิกวัตรแล้ว นั่งแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า



    ..... พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระธัมมะจักกัปปะวัตตนะสูตร ซึ่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงปฏิบัติมาแล้ว แก่ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุสามโกฏิก็บรรลุพระอรหัตตผลพร้อมปฏิสัมภิทาญาณ ธรรมาภิสมัยการตรัสรู้ธรรม ได้มีแก่เทวดาและมนุษย์แสนโกฏิ นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๑



    ..... สมัยใด พระมงคลพุทธเจ้าทรงอาศัยนครชื่อ จิตตะ ประทับอยู่ ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ข่มมานะของพวกเดียรถีย์ ณ โคนต้นจำปา เหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทรงทำยมกปาฏิหาริย์ที่โคนต้นมะม่วง แล้วประทับนั่งเหนือพื้นพระแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ใต้โคนต้นปาริฉัตตกะ ณ ภพดาวดึงส์ ซึ่งเป็นภพประเสริฐสำเร็จด้วยทองและเงินใหม่งดงาม เป็นแดนสำเริงสำราญของเหล่าเทวดา ตรัสพระอภิธรรม สมัยนั้น ธรรมาภิสมัยการตรัสรู้ธรรมได้มีแก่เทวดาแสนโกฏิ นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒




    ..... สมัยใด พระเจ้าจักรพรรดิพระนามสุนันทะ ทรงบำเพ็ญจักรวรรดิวัตร ณ สุรภีนคร ทรงได้จักรรัตนะ

    ... เล่ากันว่า เมื่อสมเด็จพระมงคลทศพลเสด็จอุบัติขึ้นในโลก จักรรัตนะนั้นก็เขยื้อนจากฐาน พระเจ้าสุนันทะทรงเห็นแล้ว ก็หมดความบันเทิงพระหฤทัย จึงทรงสอบถามพวกพราหมณ์ว่า จักรรัตนะนี้บังเกิดเพราะกุศลของเรา เหตุไฉนจึงเขยื้อนจากฐาน

    ... สมัยนั้น พราหมณ์เหล่านั้นจึงพยากรณ์ ถึงเหตุที่จักรรัตนะนั้นเขยื้อนแด่พระราชาว่า จักรรัตนะจะเขยื้อนจากฐาน เพราะพระเจ้าจักรพรรดิหมดพระชนมายุ เพราะพระเจ้าจักรพรรดิทรงผนวช หรือเพราะพระพุทธเจ้าปรากฏ

    ... แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระชนมายุของพระองค์ยังไม่สิ้นดอกพระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรงมีพระชนมายุยืนยาว แต่สมเด็จพระมงคลสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติแล้วในโลก ด้วยเหตุนั้น จักรรัตนะของพระองค์จึงเขยื้อน




    ..... พระเจ้าสุนันทจักรพรรดิราชพร้อมทั้งบริษัท จึงทรงไหว้จักรรัตนะนั้นด้วยเศียรเกล้า ทรงวอนขอว่า ตราบใดเราจักสักการะสมเด็จพระมงคลทศพล ด้วยอานุภาพของท่าน ขอท่านอย่าเพิ่งอันตรธานไป ตราบนั้นด้วยเถิด ลำดับนั้น จักรรัตนะนั้นก็ได้ตั้งอยู่ที่ฐานตามเดิม

    ... แต่นั้น พระเจ้าสุนันทจักรพรรดิผู้มีความบันเทิงพระหฤทัยพรั่งพร้อม อันบริษัทมีปริมณฑล ๓๖ โยชน์แวดล้อมแล้ว ก็เสด็จเข้าเฝ้าสมเด็จพระมงคลทศพลผู้เป็นมงคลของโลกทั้งปวง ทรงอังคาสพระศาสดาพร้อมทั้งพระสงฆ์สาวกให้อิ่มหนำสำราญด้วยมหาทาน ถวายผ้าแคว้นกาสีแด่พระอรหันต์แสนโกฏิรูป ถวายบริขารทุกอย่างแด่พระตถาคต ทรงทำการบูชาแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งทำความประหลาดใจสิ้นทั้งโลก แล้วเข้าเฝ้าสมเด็จพระมงคลสัพพัญญูพุทธเจ้าผู้เป็นนาถะของโลกทั้งปวง ทรงทำอัญชลีดั่งช่อดอกบัวอันไร้มลทิน อันรุ่งเรืองด้วยทศนขสโมธานไว้เหนือเศียรเกล้า ทรงถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง แม้พระราชโอรสของพระองค์ พระนามว่าอนุราชกุมาร ก็ประทับนั่งอย่างนั้นเหมือนกัน




    ..... ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุปุพพิกถาโปรดชนเหล่านั้น ซึ่งมีพระเจ้าสุนันทะจักรพรรดิเป็นประธาน พระเจ้าสุนันทจักรพรรดิพร้อมทั้งบริษัท บรรลุพระอรหัตตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔

    ... ลำดับนั้น พระศาสดาทรงสำรวจบุพจริยาของชนเหล่านั้น ทรงเห็นอุปนิสสัยแห่งบาตรจีวรที่สำเร็จด้วยฤทธิ์ ก็ทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวาซึ่งประดับด้วยข่ายจักร ตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ในทันทีภิกษุทุกรูปก็มีผมขนาดสองนิ้ว ทรงบาตรจีวรสำเร็จด้วยฤทธิ์ ถึงพร้อมด้วยอาการอันสมควรแก่สมณะ ประหนึ่งพระเถระ ๖๐ พรรษา แวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๓

     

แชร์หน้านี้

Loading...