สอบถามวิธีจับภาพพระ

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย ธรรมะนำสุข, 20 ตุลาคม 2012.

  1. ธรรมะนำสุข

    ธรรมะนำสุข เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    150
    ค่าพลัง:
    +606
    ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ
     
  2. DuchessFidgette

    DuchessFidgette เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    2,607
    ค่าพลัง:
    +9,301
    บางคนอาจจะกล่าวว่าถ้าจิตติดว่างจนเป็นนิสัยจะทำให้กลายไปเป็นพรหมลูกฟัก ตอนตาย แต่อันนี้แนะนำสำหรับผู้ยังไม่คล่องเรื่องการทำสมาธิให้ถึงระดับอุปจาระ ยังไงต้องฝึกทำจิตว่างบ่อยๆไปก่อนจนเป็นนิสัย

    พอถึงขั้นได้ฌาณสี่แบบคล่อง เข้าปุ้บติดปั้บ ไม่ต้องมานั่งยาวๆ ที่ละขั้นละขั้น แล้ว ถ้าถึงขั้นดังกล่าวค่อยมาพิจารณาลดเรื่องการทำจิตว่าง แต่สำหรับผู้จะปฏิบัติให้ได้ฌาณสี่เร็วๆในระยะแรก ต้องเอาเร่องจิตว่างเป็นอารมย์ไปก่อน ยิ่งทำได้นานเท่าไร ยิ่งได้เร็ว ผีสางอะไรพวกนี้จะเริ่มเห็นบ่อยๆและจะจะมากขึ้น
     
  3. DuchessFidgette

    DuchessFidgette เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    2,607
    ค่าพลัง:
    +9,301
    ขอเล่าประสบการณ์เรื่องการฝึกกสิณสีคะ ดิฉันเองขนาดมาเริ่มจริงจั ทำแบบทั้งวั แค่สองวันเท่านั้นก็เริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงแล้ว และทำให้ยิ่งเลื่อมใสพระพุทธเจ้ามากยิ่งขึ้นไปอีก ยังทึ่งว่าตัวเองทำได้อย่างไรเร็วมากแค่สองวันนิมิตยังไม่เปลี่ยนเป็นสีตรงตามสีที่ เราเพ่งก็จริง แต่ อยู่ขั้นสาม คือ ประคองนิมิตได้นาน และพอเลือนหาย ดิฉันภวานาว่า สีแดงจงกลับมา นิมิตวงกลมสีม่วงดำก็กลับมา แถมตามไปให้ดูต่อในฝันอีก หลับตาไปก็เห็นเอง แม้ยังไม่ชัดแจ่ม และได้ประสบการณ์ วิญญาณมาให้รับรู้ขณะเพ่งกสิณคะ ก็เลยทำใหมีกำลังใจจะฝึกให้ครบเดือน เพราะเคยฟังหลวงพ่อฤษีลิงดำกล่าวในวีดีโอว่า ถ้าขยันจริงๆ แค่7 วันก็ได้แล้ว แต่ถ้าขี้เกียจก็ 7เดือน :) เรื่องการฝึกขอบอกว่า ทำได้ทุกคนยกเว้นเราจะทำหรือไม่หรือ ขยันฝึกบ่อยๆหรือไม่ เรื่องอารมย์สำคัญมาก ถ้าฝึกไปเรื่อยๆจิตจะลดเรื่อง กิเลสตัณหาไปได้เอง เหมือนคนเราที่ญาติหรือคนรักเสียชีวิตแรกๆจะร้องไห้นานๆจะชินก็หยุดร้องไปเอง จิตสามารถฝึกใหได้ ด้วยความเคยชิน อย่าคิดว่า เราทำไม่ได้ หรือมันยาก แค่ทำทำไป ไม่ต้องหวังว่าจะได้เมื่อไร มันขึ้นอยู่กับเวลาลอง ทรงจิตให้ว่างบ่อยๆทุกวันปีหนึ่งไม่ได้ฌาณก็ให้มันรู้ไป ขนาดดิฉันสองวันยังได้ขนาดนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มีนาคม 2013
  4. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    นี่แหละ ที่เน้นว่าผิด
    ติดเป็นนิสัยเมื่อไหร่ ซวยเมื่อนั้น เพราะเมื่อนั้น คุณจะทรงอรูปฌานในชีวิตประจำวันได้ แล้วผลร้ายจะส่งผลได้ทันทีเลย ตั้งแต่ยังไม่ตายเลยหละ

    ถ้าอยากให้เข้า-ออก ฌาน ได้อย่างไว กำลังที่ต้องแข็งแรงมากๆ คือ กำลังของสติ ไม่ใช่กำลังของสมาธิแบบไม่มีสติคุม
     
  5. ธรรมะนำสุข

    ธรรมะนำสุข เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    150
    ค่าพลัง:
    +606
    ขอบคุณครับผมจะตั้งใจฝึก
    :cool:
     
  6. DuchessFidgette

    DuchessFidgette เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    2,607
    ค่าพลัง:
    +9,301
    อย่างไรก็จำนำไปพิจารณาทำตามดูนะคะ แต่อย่างที่บอก จิตว่างคือ กุญแจสำคัญไปสู่ฌาณสี่แบบรวดเร็ว แต่สำหรับดิฉันจะ ฝึกกสิณเฉพาะตอนกลางวัน และอานาปานสติก่อนนอนจนหลับต่อไปเลยในฌาณ รู้สึกทำให้ตื่นเร็ว และนอนแค่สามชั่วโมงก็จะตื่นเองโดยไม่งัวเงียและรู้สึกสดชื่น
     
  7. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ท่าน DuchessFidgette เพิ่งได้เริ่มฝึกสมาธิไม่ใช่หรือครับ
    ทำไมท่านจึงคิดว่าผมไม่ได้ผ่านสภาวะพวกนี้มาก่อนท่านหละครับ?
     
  8. DuchessFidgette

    DuchessFidgette เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    2,607
    ค่าพลัง:
    +9,301
    ดิฉันทราบคะว่าท่านอินทรบุตรฝึกมานานแล้ว มิเช่นนั้นคงไม่สามารถตอบกระทู้ธรรมให้แก่เพื่อนสมาชิกได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน ส่วนดิฉันเคยปฏิบัติมาแบบหัวเต่านานแล้ว แบบ เดี๋ยวฝึกเดี๋ยวเลิก เพิ่งจะมาเริ่มจริงๆจังๆก็ไม่นานมานี้ และมาเริ่มทำแบบ เป็นกิจวัตรก็อาทิตย์นี้เอง ดิฉันเข้าใจว่าท่านอินทรบุตรประสงค์จะให้นักปฏิบัติทุกคนเดินทางสายกลางเอาแบบค่อยเป็นค่อยไป และให้นิมิตมาเองเมื่อถึงเวลา อันนี้หลายท่าน ก็ว่าเช่นนั้น

    แต่ ดิฉันเพียงต้องการจะให้เจ้าของระทู้กับอีกหลายท่านที่กล่าวว่า ปฏิบัติเท่าไรก็ยังไม่เห็นนิมิต ได้รู้เคล็ดรับ ตัวฉกาจที่ทำให้เกิดนิมิตหรือเข้าฌาณสี่เร็ว ว่าทำอย่างไร เพื่อที่พวกเขาจะได้เห็นผลลัพท์ของการปฏิบัติเร็วๆจะได้เชื่อ และมีกำลังใจเดินหน้าต่อคะแม้ว่า เคล็ดที่แนะนำจะเป็นทางไปสู่ ฌาณโลกีย์ ซึ่งถ้าสำเร็จแล้วก็พิจารณาเอาว่าจะหันมา อานาปานสติแบบค่อยเป็นค่อยไป หรือจะเดินหน้าแบบฌาณโลกีย์ต่อ ผู้อ่านก็ควรพิจารณาเอาตามกำลังปัญญาที่มีคะ

    ถ้ากล่าวผิดพลาดประการใด ขอกล่าวขอโทษต่อ พระรัตนตรัย องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เจ้าของวิชากสิณ คะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มีนาคม 2013
  9. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ขออนุโมทนาในความหวังดีของท่าน DuchessFidgette

    แต่เรื่องของการเดินจิตนั้น อยากจะให้ค่อยๆ พิจารณาให้ถี่ถ้วน
    อย่าเพิ่งเห็นแก่ความอยาก ความชอบ ความอยากสำเร็จโดยเร็วในชาติปัจจุบัน ที่มีพื้นฐานบนกิเลส

    เพราะในชาติปัจจุบันนี้แหละ ที่ผมกำลังติดวิบากบางอย่าง เรื่องการเดินจิต ที่มันคอยขวางการปฏิบัติในด้านมรรค ก็เพราะว่าเคยเริ่มฝึกด้วยแนวที่ท่าน DuchessFidgette แนะนำนี่แหละ แต่ได้เริ่มต้นมานานแล้ว ในอดีตชาติหลายๆ ชาติที่ผ่านมาแล้ว

    ถ้าเสพความว่าง แล้วไปเผลอติดมัน มันจะกลายเป็นนิสัยสะสม พอสะสมนิสัยแห่งการเสพหนาเข้า จะข้ามภพข้ามชาติ พอข้ามภพข้ามชาติไปหลายๆ ชาติ ก็เตรียมตัว โดนปิดมรรคผลนิพพานได้เลย จนกว่าจะหลุดจากวิบากที่สะสมนิสัยพวกนี้มานะครับ
     
  10. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ผมว่าท่านอินไม่ได้เสพติดความว่างมาหรอกครับ เสพติดความวุ่นมามากกว่านะครับ
     
  11. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ไปรู้เขาได้ไงว่าเขาติดเป็นนิสัย ช่างรู้ไปหมดทุกเรื่อง ไม่รู้อยู่เรื่องเดียวเรื่องของตัวเอง
     
  12. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    อย่ามั่วๆ พุทธวจน พระพุทธองค์ทรงบอกไว้ไม่ต้องกลัวความสุขแบบนี้ ให้เสพให้มาก ท่านอย่ามาสวนทางสิ อย่าดื้อๆ ต้องให้เอาพุทธวจนมาแสดงอีกหรือปล่าครับ
     
  13. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    พุทธวจน : "ดาบสทั้งสอง ฉิบหายเสียแล้ว"
     
  14. apichai53

    apichai53 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    630
    ค่าพลัง:
    +2,261
    ผมขออนุญาตร่วมแจมสักนิด..

    ผมมองว่าถ้าเรายังเอาตัวรอดไม่ได้ในทางศาสนา การชี้แนะ การสอนสั่งผู้อื่น
    จะมีโอกาสผิดพลาดได้ง่าย ทั้งๆที่เราก็มีเจตนาดี แต่วิบากกรรมไม่มีเว้น
    การทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิด หลงผิดในธรรม มีความคลุมเครือ ไม่ว่าจะน้อยหรือมาก
    ก็มีวิบากกรรมทั้งสิ้น ทำให้เราเนิ่นช้า และติดขัดอยู่เนิ่นนาน ..จะมากน้อย
    แค่ใหน อย่างไร..ขึ้นอยู่กับกรรม

    ถ้าเปลี่ยนเป็นยกคำสอนของพระพุทธองค์ มาบอกกล่าว ก็จะเป็นการปลอดภัย
    ต่อเรา และเป็นประโยชน์ต่อผู้ติดขัด หรือแม้แต่การยกเอาคำสอนของครูบา
    อาจารย์มาบอกกล่าว ชี้แนะ ก็ยังปลอดภัยกว่าการใช้ทิฏฐิ และความเข้าใจของตน

    แต่การเล่าประสบการณ์การปฏิบัติของแต่ละท่าน ซึ่งก็มีทั้งส่วนที่ปฏิบัติผิดบ้าง ถูกบ้าง
    ก็นับได้ว่าประโยชน์สำหรับท่านผู้อ่าน ได้นำไปพิจารณาแยกแยะ และย่นระยะเวลา
    ในการปฏิบัติ แต่อย่าไปฟันธงว่าต้องทำอย่างใดอย่างหนึ่ง หากเรายังไม่เป็นพระอริยะ
    โอกาสผิดพลาดยังมี เพียงแต่เล่าและให้ผู้อ่านแยกแยะและพิจารณากันเอง ผู้อ่านจะ
    เลือกปฏิบัติในช่วงใหนอย่างไร หรือจะนำข้อผิดพลาดข้อบกพร่องของเราไปเป็นแง่คิด
    ก็เป็นเรื่องของท่านผู้อ่าน เราเพียงเป็นผู้เล่าในเส้นทางการปฏิบัติของเราเท่านั้น
    และหากจะนำพระธรรม หรือคำสอนของครูบาอาจารย์ที่ท่านขยายความในพระธรรม
    (เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย..ในข้ออรรถข้อธรรมที่ ฆราวาสทั่วๆไปเข้าใจได้ยาก)
    มาเทียบเคียงด้วย ก็จะเป็นการดี

    ขอโมทนาสาธุกับผู้ปฏิบัติทุกๆท่าน ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มีนาคม 2013
  15. apichai53

    apichai53 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    630
    ค่าพลัง:
    +2,261
    วิธีจับภาพพระ(พุทธานุสติกรรมฐาน)

    1.เลือกภาพพระพุทธเจ้าที่เราชอบ อาจจะพระพุทธรูป หรือรูปพระพุทธเจ้า หากเป็นสีเหลือ สีขาว หรือสีเขียว ก็จะดีมาก เพราะจะเป็น พุทธานุสติกรรมฐานควบกับกสิณไปด้วย สีเหลือง (ปิตกสิณ) ,สีขาว (โอทากสิณ) สีเขียว (นิลกสิณ)

    2.ให้มองภาพพระด้วยตาเปล่า มองแบบสบายๆ อย่าไปเพ่งมาก เมื่อมองแล้ว ก็หันหน้าไปทางอื่น แล้วหลับตา และกำหนดจิตดูภาพพระว่า เป็นอย่างไร จำภาพพระได้หรือไม่ พอภาพเลือนจำไม่ได้ ก็ลืมตาดูใหม่ ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจำภาพพระได้ กำหนดดูภาพพระเมื่อไหร่ก็เห็นภาพเมื่อนั้น ในการระลึกถึงภาพพระ เมื่อใจนึกถึงภาพพระแล้ว ก็ให้ทำใจจดจ่อ ณ จุดนั้นจนกว่าจิตจะผ่อนคลายหรือรู้สึกสบายขึ้น อาการที่ใจผ่อนคลายหรือรู้สึกสบายนั้นเป็นอาการจิตเข้าฌาน หรือจิตทรงสมาธิอย่างต่ำ

    3. ให้จับภาพพระให้ได้ทั้งวันคืนให้ได้เกือบตลอดเวลา ยืน เดิน นั่ง นอน อยุ่ในอิริยาบถต่างๆ ก็ให้นึกถึงพระไว้ (ต้องอาศัยสติล้วนๆ+ความเพียร) หลักการนึกถึงพระจะต้องนึกด้วยอารมณ์แบบสบายๆเบาๆ อย่าเค้นภาพพระ อย่าอยาก อย่าคาดหวังมาก เอาแบบเน้นว่าให้นึกถึงท่านบ่อยๆถี่ๆเป็นหลัก ส่วนภาพพระนั้นจะเห็นหรือไม่ก็อย่าไปกังวล

    4.ในการจับภาพพระบางครั้งไม่ภาพพระก็ไม่เป็นไร ให้นึกเอา หรือ "นึกรู้" ว่ามีพระอยู่ในจิตเรา ยิ่งถ้าเราทำบ่อยๆถี่ๆ ภาพพระท่านจะมาปรากฎให้เห็นเอง ...ส่วน “นึกเห็น” คือนึกแล้วก็เห็นภาพพระปรากฏในใจ....นึกรู้-คือนึกรู้ว่ามีภาพพระอยู่ในจิต เพียงแต่ว่ามองไม่เห็นหรือว่าเห็นลางๆ ...ดังนั้นในการจับภาพพระหรือระลึกถึงพระ จะมองไม่เห็นก็ไม่เป็นไร เวลามองไม่เห็นภาพพระก็ให้แค่"นึกรู้"ก็พอแล้ว และอย่าลืม..จะต้องทำด้วยอารมณ์สบายๆไม่เครียด

    5. เมื่อดูไปนานๆ ภาพพระนั้นจะเปลี่ยนไป คือเมื่อจิตเป็นสมาธิ หรือจิตทรงฌานสูงไปตามลำดับ ภาพพระก็จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามความละเอียดของจิต ถ้าภาพพระเปลี่ยนเป็นสีขาวนวล จะอยู่ในฌานที่ 1 ถ้าภาพพระเปลี่ยนจากสีขาวนวลเป็นแก้ว ก็จะอยู่ในฌานที่ 2 และต่อมาหากภาพพระเปลี่ยนเป็นแก้วมีประกายเล็กน้อย จะเป็นฌานที่ 3 ถ้าภาพพระเปลี่ยนไปเป็นแก้วประกายพรึก หรือสีรุ้ง ระยิบระยับ จะเข้าสู่ฌานที่ 4

    6.การมองหรือระลึกถึงพระนั้น ขอให้มองพระด้วยใจที่ระลึกถึงท่านอย่างที่สุด มิใช่มองแบบเฉยๆ คือในขณะที่เราจ้องมองภาพพระอยู่นั้น ให้ตาเนื้อมองไปที่ภาพพระ แล้วให้จิตของเรา ระลึกไปถึงพระพุทธเจ้าจริงๆ และก็ให้ระลึกถึงคุณงามความดีของพระองค์ท่านด้วยความรู้สึกที่ออกมาจากใจจริงๆ และถ้าระลึกถึงพระจนน้ำตาไหลนองหน้า อย่างนี้ถูกต้อง เพราะการจับภาพพระหรือระลึกถึงพระ เราจะต้องทำให้เกิดปิติให้ได้ ต้องผ่านขั้นนี้ก่อนทุกคน พอเลยปิติไปเล็กน้อย จิตจะเข้าสมาธิมากไปจนถึงจิตทรงฌาน แต่จะต้องระวังสำหรับผู้ที่เกิดปิติมาก คือน้ำตาจะไหลออกมามากเกินไป ให้มีสติมากๆ หรือให้นึกถึงลมหายใจ น้ำตาจะค่อยๆหายไป การมองพระต้องมองให้ลึกซึ้งแบบนี้

    การทรงฌานต่ำ ๆ ในเบื้องต้นนี้จะทรงอยู่ได้นานหรือไม่ขึ้นอยู่กับความนิ่งของจิตผู้ฝึกฝน แต่ส่วนใหญ่เมื่อเริ่มฝึกใหม่ ๆ ก็เหมือนกันทุกคนคือจิตไม่นิ่ง ในเมื่อมันไม่นิ่งเราก็จะทำให้มันนิ่งด้วยการระลึกถึงภาพพระ แม้จะเป็นการนิ่งในระยะสั้น ๆ ก็ถือได้ว่าจิตเข้าฌานหรือจิตเป็นสมาธิแล้ว และถ้าทำให้จิตเข้าฌานยิ่งบ่อยก็ยิ่งดี เป็นการเพิ่มกำลังสมาธิ

    เมื่อจิตชินกับภาพพระ ต่อไปจิตจะนึกหรือระลึกถึงพระได้เอง หรือเป็นไปโดยมิต้องกำหนด คือเมื่อเวลาใดที่จิตมันว่าง หมายถึงว่างโดยตัวจิต มิใช่รอให้ขันธ์ห้า(ร่างกาย)ว่าง เมื่อจิตว่างหรือคิดถึงพระ จิตก็จะวิ่งเข้าไปหาภาพพระเหมือนมีแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน

    ให้สังเกตว่าถ้าจิตทรงฌานอย่างน้อยปฐมฌาน จิตจะมองหาภาพพระได้ง่ายและเร็วขึ้น แต่ถ้าหลุดจากฌานจะมีอาการว่าจิตส่งสายออกไปในกระแสโลกมาก จิตจะรู้สึกอึดอัด หงุดหงิด และรำคาญ ก็ให้รู้ว่าหลุดจากฌาน ก็ให้เริ่มต้นจับภาพพระขึ้นมาใหม่ มองดูภาพพระไปจนกว่าจิตจะเบาสบาย ถ้าจิตเข้าฌานแล้วให้สังเกตที่ลมหายใจ ลมหายใจจะเบา ละเอียด สบาย...

    ในยุคปัจจุบันนี้ ชีวิตที่ต้องแก่งแย่งแข่งขัน จิตจะถูกเร้าด้วยสิ่งรอบด้าน การทำสมาธิเป็นเรื่องที่ยากมากๆสำหรับคนเมือง ต้องใช้เวลาเป็นหลายปี กว่าจะได้ฌานในขั้นต้นๆ หรืออาจจะไม่ได้เลยในชีวิตนี้ แต่หากฝึกปฏิบัติโดยใช้พุทธานุสติกรรมฐาน(เป็นกรรมฐานกองหนึ่งในสี่สิบกอง ของพระพุทธเจ้า) ในการฝึกสมาธิ จะปฎิบัติได้ง่าย ให้ผลเร็ว และเกิดสมาธิได้เร็วที่สุด..ขอย้ำว่าเร็วมากๆ และมีอานิสงค์มากมาย ....

    และจากประสบการณ์ของตัวเอง และเพื่อนๆในกลุ่มที่ปฏิบัติกันมา หากปฏิบัติจริงจังและถูกต้องจะใช้เวลาประมาณเดือนเดียว(บวกลบเล็กน้อย)..

    (ขออนุญาตเล่าประสบการณ์ และวิธีปฏิบัติที่รวบรวมมาในแนวทางนี้)
     
  16. watjojoj

    watjojoj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    562
    ค่าพลัง:
    +9,793
    เข้าใจแล้วครับ ท่านพี่อภิชัย:cool:
     
  17. apichai53

    apichai53 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    630
    ค่าพลัง:
    +2,261
    โมทนากับการปฏิบัติของคุณวัฒน์โจโจด้วย ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป สาธุๆๆ
     
  18. apichai53

    apichai53 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    630
    ค่าพลัง:
    +2,261

    เมื่อมีกำลังจากสมาธิที่เราฝึกมาแล้ว ก็เอาไปต่อยอดวิปัสสนา ตามรู้ ตามดู ความเป็นจริง ของกาย และใจ ของเรา รู้ให้ทันสภาวะอารมย์ต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ราคะ โทสะ โมหะ ที่มากระทบที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย(กายสัมผัส) ใจ เพียงแค่รู้ และเห็น(เห็นด้วยใจ)การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ของสิ่งเหล่านั้น...เป็นการรู้ภายใน ในกาย ในใจ ของตน

    การปฏิบัติทั้งหมด รวมลงที่จุดนี้ เพียงแค่รุ้ ก็จะเห็นได้ว่า ตัวเราจริงๆนี้ไม่มี มีเพียงปรากฎการณ์ ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเท่านั้น...เกิด ดับ ๆๆๆๆ สืบเนื่องกันไป มีเพียงแค่นี้ แต่เราไปสำคัญหมั้นหมายเป็นตัวตนของเราขึ้นมาเอง....อุปาทานยึดติดในตัวตน แค่เพียงมีสติ ตามรู้ ตามดู แค่นั้น..ก็จะเห็นความเป็นจริงของกาย ใจ(มีเพียงแค่นี้แหละ สั้นๆ แต่ทำกันได้ยากมาก)

    ถ้าหากเราไม่มีกำลังแห่งสมาธิ การตามรุ้ตามดู กิเลส(ราคะ โทสะ โมหะ)ที่มากระทบอายตนะของเรา มาย้อมจิตเรา จิตจะใหลไปกับกิเลส ไม่สามารถตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ดูได้ ..พุทธานุสติกรรมฐาน จึงเป็นฐานกำลังแห่งสมาธิ(เป็นกรรมฐานกองหนึ่งในการฝึกสมาธิที่ได้ผลรวดเร็ว..หรือจะเป็นกรรมฐานกองอื่นก็ได้ ตามที่ท่านถนัด)..ทุกอย่างต้องพอเหมาะพอดีกันสมถะ วิปัสนา จึงจะไปได้ถูกต้อง ...

    คนเราทุกวันนี้สนใจแต่สิ่งภายนอก ชอบคิดปรุงแต่งกับสิ่งภายนอก ไม่มามองย้อนดูตน..จึงไม่เห็นความเป็นจริงแห่งตน...อวิชชา พาให้หลง ให้สงสัย ให้สนใจแต่สิ่งภายนอก สนใจในสรรพวิชาต่างๆในโลก จึงพาให้เราหลงวนเวียนอยู่ในวัฏฏะอย่างยาวนาน ไม่มีที่สิ้นสุด ตามกำลังแห่งบุญ บาป..

    เพียงแค่ตามรู้ ตามดู กาย ใจ ของตน ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่น(สัมมาสมาธิ) และเป็นกลาง...ก็จะเห็นสภาวะต่างๆ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปทั้งสิ้น ..มีเพียงแค่นี้จริงๆ..

    การจะทิ้งกาย ทิ้งใจ ..ก็จะต้องปฏิบัติวิปัสนาให้จิตมีปัญญา เพื่อให้รู้ตามความเป็นจริง ของกาย ใจ เท่านั้น...ทางสายเอก เอกานยมรรค....

    (ขออนุญาตแชร์ประสบการณ์ในการปฏิบัติ ผิดถูกอย่างไร ข้าพเจ้ากราบขออภัยทุกท่านด้วย สาธุ ครับ..)
     
  19. apichai53

    apichai53 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    630
    ค่าพลัง:
    +2,261

    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 254

    [๓๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ ว่าอย่างนั้นตลอด ๗ ปี ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑

    ..... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๗ เดือนยกไว้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง
    พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๖ เดือน ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑......

    .... ดูก่อนภิกษุทั้งหลายกึ่งเดือนยกไว้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๗ วัน ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผล อันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑...
     
  20. watjojoj

    watjojoj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    562
    ค่าพลัง:
    +9,793
    :cool::cool: โมทนากับท่านพี่อภิชัยด้วยขอรับ น้องก็เดินตามทางแห่งมหาสติเช่นกัน จิตสว่างโล่งเย็นเป็นเช่นนี้เอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...