สมาธิ ภาวนา นอนหลับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย tor19792522, 19 พฤศจิกายน 2011.

  1. crossis

    crossis Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    215
    ค่าพลัง:
    +84
    คุณ ตายแน่! ผมมีคำถามครับ
    สภาวะของพระอริยะ มีเข้าๆออกๆไหมครับ
    วันนี้ ฉันเป็น โสดาบัน เดี๋ยวตอนเย็นกลับมาเป็น ปุถุชน
    แบบนี้มีไหมครับ
    แน่ทีเดียว สภาวะดังกล่าวเกิดแล้วเกิดเลย

    หลายคนเวลาปฎิบัติ ก็ตัดกิเลสได้ แต่สุดท้ายกิเลสก็เกิดขึ้นมาอีก
    เพราะว่า ไม่ได้มีสติแทงไปตลอดด้วยปัญญา
    ย้อนกลับไป การจงใจปฎิบัติ ทำไมถึงไม่ถูกต้อง
    เพราะเป็นการเข้าไปกำหนด

    คำถามคือ สรรพสิ่งเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนันตา
    ไอ้คำว่า อนันตา คือ ไม่มีตัวตนถาวร กำหนดไม่ได้
    จิต ก็กำหนดไม่ได้เช่นกัน อริยะมรรคก็เช่นกัน
    เราไปกำหนดไม่ได้
    และการกำหนด ก็เป็น สัญญา เป็นขันธ์ เป็นทุกข์
    การปฎิบัติ เพื่อที่ให้เห็นว่า กาย ใจ ไม่ใช่เรา
    นาม รูป ทั้งหลายไม่ใช่เรา ถ้าเราไปทำ สัญญาอยู่ ก็เท่ากับการปฎิบัติ ไม่คืบหน้า
    การปฎิบัติ คือ การวางจิตให้เป็นกลาง
    หรือ ง่ายๆ คือ รู้ไปตามความเป็นจริงที่ ปรากฎ

    "เย ธัมมา เหตุปปะภะวา เตสัง เหตุง ตะถาคะโต เตสัญจะ โย นิโรโธจะ เอวัง วาที มะหาสะมะโณ"....
    ธรรม ทั้งหลายเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าตรัสบอกถึงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น พร้อมทั้งความดับแห่งเหตุของธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณเจ้ามีปกติตรัสสอนอย่างนี้.....

    หน้าที่ของเราคือ ทำเหตุ ไม่ใช่ไปกำหนด
    ทำไมต้องรู้ไปอย่างเป็นกลาง
    ก็เพราะว่า
    กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่งนั้น คือการปฏิบัติอย่างไร?
    อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ
    ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนี้ คือ ทางนำไปสู่ความไกลจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย มี ๘ อย่าง ฯ
    เสยยะถีทัง
    ข้อปฏิบัติเหล่านี้คือ
    - สัมมาทิฏฐิ
    ปัญญาอันเห็นชอบ ( คือ เห็นอริยสัจ )
    - สัมมาสังกัปโป
    ความดำริชอบ ( เพื่อการหลุดพ้น จาก กิเลส และ อวิชชา )
    - สัมมาวาจา
    วาจาชอบ ( มองละเอียด คือ ส่งจิตออกนอกให้ชอบ )
    - สัมมากัมมันโต
    การงานชอบ ( มีศีล 1 2 3 นั่นแหละ คือ ทำลายกิเลส ชั้นหยาบๆ )
    - สัมมาอาชีโว
    การเลี้ยงชีวิตชอบ ( ถ้าแบบละเอียดคือ เรามีหน้าที่อะไร สนองความอยากไปตามโลก หรือ มีหน้าที่ทำลายกิเลสและอวิชชา)
    - สัมมาวายาโม

    ความเพียรชอบ (ไม่ใช่ นั่งๆไปก็เลิก ดูจิตไปก็เลิก)
    - สัมมาสะติ
    การระลึกชอบ ( ระลึกนึกถึง อนุสสติ ๑๐ ประการ มีพระนิพพานเป็นที่สุด และระลึกในมหาสติปัฏฐาน ๔ )
    - สัมมาสะมาธิ ฯ
    การตั้งจิตไว้ชอบ ( การทำสมาธิให้อารมณ์ตั้งมั่นในอนุสสติ ๑๐ ประการนั้น ) ฯ
    ( หรือกล่าวโดยย่อ มรรค ๘ ประการนี้ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา )

    ดังนั้น มรรคทั้ง 8 ปฎิบัติ พร้อมกันได้เลย พร้อมๆกับ กรรมฐานและวิปัสนา


    พิจารณาให้เห็นชัด คำว่า สัมมาสมาธิ ไม่ได้แปลว่าความสงบเลย ไม่ได้แปลว่าเพ่งด้วย
    แต่แปลว่าทำจิตตั้งมั่น
    ที่บอกว่า ตามรู้เป็นกลางคืออะไร คือรู้ตามความเป็นจริงที่ปรากฎ

    รู้ไปในอะไร ก็รู้ไปใน สติ นั่นเอง
    การปฎิบัติ สติปัฎฐานสี่ คือ กาย เวทนา(ความรู้สึก) จิต ธรรม
    คือ มีสติรู้ไป ในกาย เวทนา จิต และธรรม
    รู้อย่างเป็นกลางคืออะไร คือ ไม่ไปแทรงแซงดูสภาวะธรรมที่ปรากฎ
    สภาวะธรรมมีอะไรบ้าง

    ไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนันตา)
    ปฎิจสมุปบาท เห็นสังขาลเกิด ก็จะเห็นจิตไหลไป เห็นการกระทบอายตนะ เกิดเวทนา
    เกิดตัญหา เกิดอุปทาน เกิดภพ เกิดชาติ เกิดชรามรณะ(อนิจจัง) เกิด ทุกขัง
    สุดท้าย ก็พูดเรื่องเดิม ^ ^ ไม่รู้ตามผมทันไหม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤศจิกายน 2011
  2. ตายแน่!

    ตายแน่! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +509
    โสดาบันเข้าๆออกนี่ใช่เลยครับและก็ยอมรับว่าตามไม่ทันครับ ผมจึงอาศัยอ่านหลายๆรอบ บางเรื่องก็ยอมรับว่าไม่เข้าใจ แต่ก็อาศัยอ่านหลายๆรอบอีก (โง่อยู่ครับ) แต่ที่ผมพอรู้แล้วก็คือ ความตั้งใจผมเข้าๆออกๆ ถึงได้เป็นอย่างนี้ ใช่ไหมครับ ผมขอบคุณนะครับที่มาตอบผม และบางเรื่องเหมือนรู้ใจผมได้ เป็นบุญผมครับมีอะไรอีกจะขอถามอีกหรือแนะนำผมอีกนะครับ :'(
     
  3. crossis

    crossis Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    215
    ค่าพลัง:
    +84
    อริยะผล(ตั้งแต่ โสดาบัน ขึ้นไป) ไม่มีเข้าๆออกๆครับ
    เวลาปฎิบัติ เราก็สงบเฉพาะตอนปฎิบัติ พอออกจากสมาธิ ความสงบพวกนั้นก็หายไป
    เวลาดูจิต ก็เหมือนกัน ตัดกิเลสได้จริงแต่เพราะไม่มีกำลังญาณ กิเลสก็เลยเกิดมาอีก
    เพราะไม่ได้ ตัดเป็น สมุทเฉทปหาน
    ผม ถึงบอกไงครับ ว่า อริยะผลไม่มีเข้าๆออกๆ
    เพราะเราปฎิบัติ เข้าๆออกๆ อีกกี่แสนกัลป์ถึงจะเห็นผลละครับ

    บางคนเห็น แต่ก็ไม่รู้ว่า ปรุงแต่งขึ้นมาเองก็มี
    บางคนก็ไม่รู้ว่าเป็น สัญญาที่ติดมาก็ดี
    น้อยมากครับ ที่เป็นของจริง

    การปฎิบัติ เขาทำ 24 ชม.ครับ (พระอาจารย์ สอนผมเวลาบวช ท่านบอกว่า
    ให้ฝึก ทั้งกรรมฐาน และ วิปัสนา ดูในองค์ ญาณนี่แหละ
    วิปัสนาดู การไหลของจิตในญาณ เดิน นั่ง นอน ยืนให้ชำนาญ
    จากนั้น ตอนเปลี่ยนจังหวะ เดินไปนั่ง นั่งไปนอน นอนไปยืน ให้ชำนาญ
    ให้รู้ตัวอยู่ตลอด ทำจาก 1 ชม เป็น 3 จาก 3เป็น 12 จาก 12 เป็น 24 ชม.)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤศจิกายน 2011
  4. ตายแน่!

    ตายแน่! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +509

    อันนั้นผมรู้ครับ ว่าอริยะผลไม่มีเข้าๆออกๆ แต่ผมต้องการสื่อว่า ผมฮึดได้เป็นพักๆ พอสักพักผมก็เลิก แต่ในความจริงผมรู้ตัวครับว่าผมยัง เป็นปุถุชน วันนี้ทั้งวันผมพยายาม ทำตามที่ คุณ crossis บอกคือ พยายามมีสติและปฏิบัติตาม มรรค8 ผมเลยรู้เลยว่า อารมณ์โทสะละเอียดนี่ ผมเป็นเกือบตลอดเวลาเลย ขอบคุณครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...