สมาธิหมุน (อธิบายสำหรับคนที่นั่งสมาธิเเล้วเกิดอาการต่างๆ)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย สันโดษ, 15 มิถุนายน 2009.

  1. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
     
  2. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
  3. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
  4. wuttichai0329

    wuttichai0329 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,015
    ค่าพลัง:
    +741
    ขอบคุณมากครับ เข้าใจแล้วครับ
     
  5. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
  6. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
  7. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
  8. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
     
  9. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
  10. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
  11. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
     
  12. wuttichai0329

    wuttichai0329 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,015
    ค่าพลัง:
    +741
    แล้วเมื่อไหร่จะรู้ว่าจะสามารถใช้พลังปราณได้ หละครับ พี่สันโดษ
     
  13. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    เมื่อไม่อยากรู้ เเละไม่มีความอยาก ค่ะ สิ่งที่พี่ได้เรียนรู้ เกิดจากจิต ดลใจและพาไปเจอเองทั้งสิ้นค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มิถุนายน 2009
  14. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
  15. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    [​IMG]

    การระบายของเสียออกจากร่างกาย
    โดย พระอาจารย์รัตน์ รตนญาโณ


    หลักการ

    ของเสียที่สะสมอยู่ในร่างกายมนุษย์ จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ได้แก่

    1. ของเสียที่เกิดจากมลภาวะของบรรยากาศโลก และเข้าสู่ร่างกาย พร้อมกับลมหายใจเข้า

    2. สารเคมีจากยา หรือ อาหารกระป๋อง

    3. สารกันบูดจากอาหารสำเร็จรูป

    4. ยาฆ่าแมลง หรือสารเร่ง ที่ปนเปื้อนมากับพืช ผัก ผลไม้ และ เนื้อสัตว์

    5. อาการอักเสบของร่างกายที่เกิดจากการคุกคามของโรค

    ของเสียเหล่านี้ คือ สาเหตุที่ทำให้ แต่ละบุคคลต้องเจ็บป่วยหรือมีอาการป่วย เจ็บ หรือหายใจช้า และรักษาไม่ค่อยจะได้ผล ดังนั้น หลักเบื้องต้น ของการใช้พลังจิตช่วยรักษาตนเอง จึงต้องมีวิธีการที่จะระบายของเสียเหล่านี้ให้ออกไปจากร่างกายได้มากที่สุดก่อน เพื่อลดอาการอักเสบหรือความเจ็บปวด แล้วจึงค่อยเริ่มขั้นตอนของการใช้จิตฉายแสง และแต่งเซลล์ใหม่ สำหรับบางโรคที่มีอาการเจ็บปวดน้อยเพียงแค่รู้วิธีระบายของเสียออกไปได้ ผู้ป่วยแทบจะหายจากโรคได้ทันที

    วิธีการระบายของเสียออกจากร่างกายมีด้วยกัน 2 วิธีคือ สมาธิหมุน และการนวดด้วยพลังพีระมิด


    สมาธิหมุน


    หลักการ

    “สมาธิหมุน” หรือ “การหมุนธรรมจักร” เป็นอุบายหลักของการศึกษาวิปัสสนาเพื่อการพัฒนาจิต เป็นวิธีฝึกปฏิบัติที่สามารถทำให้กิเลสโลภ โกรธ หลง ลดเบาบางได้เร็วที่สุด ซึ่งผู้ฝึก ผู้ป่วยจะได้เห็นความจริง 3 อย่าง คือ

    1. การกระทบของผัสสะย่อมจะเกิดขึ้นทั้ง 2 ส่วนคือ ส่วนนอกหรือส่วนสุดโต่งภายนอก หมายถึง อายตนะภายนอกได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และส่วนในหรือส่วนสุดโต่งภายใน หมายถึง อายตนะภายใน คือธาตุรู้ในใจ หรือหัวใจ

    2. การเคลื่อนที่หมุนวนของความรู้สึก (จิต) เกิดขึ้นอยู่แล้วตามธรรมชาติ เพียงแต่มนุษย์ปุถุชนไม่เคยสังเกตเห็นการหมุนวนหรือการเคลื่อนที่ของความรู้สึก (จิต) นั้น เนื่องจากการหมุนวนเกิดขึ้นเร็วมาก

    3. ความรู้สึก (จิต) ของมนุษย์ทั่วๆ ไป เต็มไปด้วยความโลภ ความโกรธ ความหลง จึงทำให้ความรู้สึก (จิต) ยึดติดอยู่กับการกระทบข้างหนึ่งข้างใดเสมอ เช่น บางคนติดอยู่ที่ตา-เห็นรูป หรือหู-ได้ยินเสียง หรือจมูก-รับกลิ่น หรือลิ้น-รับรส หรือกาย-รับสัมผัส ซึ่งจัดเป็นสุดโต่งดภายนอก และบางคนติดอยู่กับการปรุงแต่งที่ใจ (หัวใจ) ซึ่งเป็นสุดโต่งภายใน จึงทำให้ไม่เห็นการ “หมุนวน” หรือ “การเคลื่อนที่” ของความรู้สึก (จิต)

    พระอาจารย์รัตน์ รตนญาโณ จึงนำประโยชน์จากธรรมชาติของจิตที่มีการเคลื่อนที่ไป-มา ระหว่าง นอก-ใน-นอก-ใน ประยุกต์มาใช้เพื่อการพัฒนากาย ดัดแปลงให้เป็นการหมุนระหว่าง 2 ส่วน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อระบายของเสียให้ออกไปจากร่างกาย และยังเป็นการถอนอนุสัย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

    ฉะนั้นหลักการพื้นฐานที่สำคัญของการ “สมาธิหมุน” หรือ “การหมุนระหว่าง 2 ส่วน” คือการค้นหาส่วน 2 ส่วน ให้ได้ก่อน ซึ่งเรียกว่า ส่วนสุดโต่งภายนอก และส่วนสุดโต่งภายใน เช่นความเจ็บปวดในส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมทั้ง อารมณ์ โลภ โกรธ หลง ความไม่สบายใจ ความอยากเสพยา ฯลฯ ซึ่งแต่ละบุคคลมีแตกต่างกัน จัดว่าเป็นส่วนสุดโต่งภายนอก หรือส่วนที่ 1 สำหรับส่วนสุดโต่งภายใน หรือส่วนที่ 2 ของทุกคนจะเหมือนกันคือ ตัวรู้ในใจ (หัวใจ)

    อุบายของ “สมาธิหมุน” หรือ “การหมุนระหว่าง 2 ส่วน” อาจจะมีการประยุกต์ หรือเพิ่มเติมเทคนิคใหม่ในการหมุนให้คล้อยตามการเปลี่ยนแปลงของพลังงานภายในโลก และชั้นบรรยากาศโลก แต่จะตั้งอยู่บนพื้นฐานของการหมุนระหว่าง 2 ส่วนเสมอ


    วิธีปฏิบัติ

    1. ให้ผู้ฝึก ผู้ป่วย นั่งในท่าที่สบายที่สุด หลับตาเบาๆ ถ้ามีความเจ็บปวดทรมานร่างกายไม่มากนักให้คลายอารมณ์สู่ความว่างสักระยะหนึ่ง ถ้าผู้ฝึก ผู้ป่วย มีความเจ็บปวดมากให้เริ่มขั้นตอนของการฝึกได้เลย โดยให้แบ่งความรู้สึกออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 คือส่วนที่กำลังมีความเจ็บปวด หรือเป็นส่วนที่มีความบกพร่อง, ส่วนที่ 2 คือตัวรู้ในใจ (หัวใจ)

    2. กำหนดให้ความรู้สึก (จิต) เคลื่อนที่จากส่วนที่ 1 ที่กำลังมีความเจ็บปวด ไปหาส่วนที่ 2 คือตัวรู้ในใจ (หัวใจ) ที่รับรู้ว่าอาการเจ็บปวดเป็นอย่างไร และวนกลับไปยังส่วนที่ 1 และวนกลับมายังส่วนที่ 2 เป็นการหมุนวนระหว่างส่วนที่เจ็บกับตัวรู้ในใจเป็นรอบๆๆ ดังนั้นตลอดระยะเวลาของการรักษา หรือทำ “สมาธิหมุน” จะใช้เวลา 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง ความรู้สึก (จิต) ของผู้ฝึก จะเคลื่อนที่หมุนวนไปมาระหว่างส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 ซึ่งจะมีอิทธิพลทำให้ร่างกายเกิดการหมุนคล้อยตามความรู้สึก (จิต) ที่เคลื่อนที่ไป-มา ระหว่าง 2 ส่วน ให้ผู้ฝึกสร้างความรู้สึกคล้อยตามไม่ต้าน ปล่อยให้ร่างกายโยกหมุนจะช่วยทำให้การหมุน สะดวกคล่องขึ้น

    3. ถ้าผู้ฝึก ผู้ป่วย มีส่วนที่ 1 คือส่วนที่มีความเจ็บปวดหลายๆ ส่วน เช่น มีทั้งอาการเจ็บเข่า เจ็บขา เจ็บคอ ปวดที่ตัด เพราะเป็นมะเร็ง ฯลฯ ให้ผู้ฝึกเลือกอาการที่ใดที่หนึ่ง เป็นตัวอย่างของการฝึก ถ้าผู้ป่วยมีอาการอักเสบและมีความเจ็บปวดมาด จำเป็นต้องทำสมาธิหมุนให้นานๆ เพื่อจะได้ระบายของเสียที่คั่งอยู่ในจุดบกพร่องเหล่านั้นออกมาให้ได้มากที่สุด จนความรู้สึกเจ็บปวดคลายลง ในขณะที่กำลังทำสมาธิอยู่นั้น ผู้ฝึก ผู้ป่วย อาจจะมีอาการไอ จา หรือขับน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ ออกมาได้ ให้บ้วนทิ้งลงในถุงพลาสติก

    4. ในระหว่างการทำ “สมาธิหมุน” ผู้ฝึกจะมีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลาว่าตนเองกำลังทำอะไรอยู่ ไม่ลืมตา ถ้าความรู้สึกหมุน (จิต) กับการโยกหมุนของกาย หมุนสัมพันธ์กันดีแล้ว อาการหมุนนั้นอาจจะเร็วและแรงขึ้น ไม่ต้องตกใจกลัว ยิ่งการหมุนคล่องและเร็วขึ้น ของเสีย ความเจ็บปวด จะระบายออกได้มาก และในขณะนั้นผู้ฝึกอาจจะรู้สึกเจ็บปวดที่ส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ อย่าส่งความรู้สึก (จิต) ไปหาความเจ็บปวดเหล่านั้น


    คุณประโยชน์

    ประโยชน์จากการทำสมาธิหมุนมีดังนี้

    1. ความเจ็บ ความปวด การอักเสบ จะลดลงไปเรื่อยๆ ตามจำนวนครั้งที่ได้ฝึกปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

    2. ของเสียรวมทั้งเชื้อโรค จะถูกสมาธิหมุน หมุนเหวี่ยงพันออกไปจากตัวผู้ฝึก

    3. อารมณ์โลภ โกรธ หลง ตลอดจนการยึดติดในอุปทานขันธ์จะคลายลง อุปนิสัยจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น เพราะสมาธิหมุนมีอานิสงส์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

    [​IMG]

    สรุป

    ความรู้สึก (จิต) ของมนุษย์ปุถุชนไม่เคยหยุดนิ่ง ถูกครอบครองด้วยความคิด (อนาคต) และความคิด (อดีต) ตลอดเวลา “สมาธิหมุน” เป็นวิธีการจัดความนึก ความคิด ให้เป็นระบบและเกิดประโยชน์กับเจ้าของโดยการกำหนดให้ความรู้สึก (จิต) เคลื่อนที่หมุนวนไป-มายังเป้าหมายที่ต้องการเพียง 2 ส่วนหรือ 2 จุด โดยส่วน 2 ส่วนนั้นจะมีศูนย์กลางของแรงดึงดูดมาก-น้อย แตกต่างกัน จึงทำให้เกิดการเคลื่อนที่จากส่วนที่มีแรงดึงดูดน้อยกว่า หมุนเหวี่ยงเข้าหาศูนย์กลางของแรงดึงดูดที่มากกว่า


    การนวดด้วยพลังพีระมิด


    หลักการ

    เป็นการนำคุณประโยชน์ที่เกิดจาการจัดสร้างสนามพลังพีระมิดมาใช้ เนื่องจากการทำสมาธิบำบัดวิธีนี้ แทบจะไม่ได้ใช้พลังจิตของผู้ฝึก ผู้ป่วยเลย พลังพีระมิด 11 ก้อนจะทำหน้าที่ช่วยดัน ระบายของเสียและเชื้อโรคออกมาเอง รวมทั้งของเสีย เช่น มลพิษจากอากาศ สารเคมีตกค้างซึ่งบางส่วนจะยังคงฝังลึกอยู่ตามเส้นเอ็น ข้อ กระดูก

    การนวดด้วยพลังพีระมิด อาจจะเรียกว่าเป็นการทำกายบริหารหรือทำกายภาพบำบัดนั่นเองแต่มีความพิเศษเฉพาะพีระมิดของพระอาจารย์รัตน์ รตนญาโณ เท่านั้น ที่มีอานุภาพในการช่วยลดความเจ็บ ความปวด รวมทั้งให้พลังงานของการบำบัดรักษาตลอดเวลา สามารถช่วยรักษาโรคอัมพฤษฃกษ์ อัมพาต เอ็นทับเส้นประสาท หมอนรองกระดูกเคลื่อน หรืออักเสบ หัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง-ต่ำ ฯลฯ


    วิธีปฏิบัติ

    เพื่อให้พลังพีระมิดช่วยทำการรักษาได้ลึก จึงเหมาะที่จะให้ผู้ฝึก ผู้ป่วยรับพลังพีระมิดในท่ายืน โดยให้ยืนเท้าแยกออกจากันเล็กน้อย เหมือนการทำท่ากายบริหาร และทำความรู้สึกให้ว่าง หยุดนึกหยุดคิด ถ้าทำความรู้สึกให้ว่างไม่ได้ ให้ดึงความรู้สึกอยู่ภายในห้องฝึก ไม่ส่งความรู้สึกฟุ้งซ่านออกไปยังที่อื่นๆ ซึ่งจะทำให้รับพลังพีระมิดได้ยาก ผู้ฝึกจะต้องยืนหันหน้าไปยังทิศต่างๆ มีด้วยกันทั้งหมด 6 ทิศ ตามลำดับดังนี้

    ทิศลำดับที่ 1 ให้ผู้ฝึก ผู้ป่วย ยืนหันหน้าไปทางทิศตะวันตก เพื่อรับพลังพีระมิดเข้าสู่ร่างกาย ผู้ฝึกจะรู้สึกว่ามีพลังไหลมาปะทะร่างกาย ให้ทำตัวอ่อนๆ ไม่สร้างความรู้สึกต้านคือความไม่เชื่อ ร่างกายจะถูกดึงไป-มา หน้า-หลัง ปล่อยตัวโยกไปตามแรงดึง แรงผลัก อยู่ที่ทิศนี้ประมาณ 5-10 นาที สำหรับผู้ป่วยที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต สามารถนั่งฝึกบนเก้าอี้ หรือถ้านอนฝึกให้หันศีรษะไปยังทิศนั้น

    ทิศลำดับที่ 2 ทิศใต้ จะเป็นทิศที่เริ่มการบำบัดรักษา พลังพีระมิดจะไหลเข้าสู่ส่วนบกพร่องของร่างกาย หรือส่วนที่กำลังมีอาการอักเสบ หรือเส้นเอ็น ข้อ กระดูก ที่มีปัญหา คือรู้สึก เจ็บปวดตึงแน่น ทำให้เคลื่อนไหวร่างกายได้ยากลำบาก เพราะในส่วนนั้นๆ อัดแน่นเต็มไปด้วยของเสีย หรือ สารพิษหลายๆ ชนิด โดยเฉพาะที่เส้นเอ็นบริเวณท้ายทอยต้นคอ จะเป็นส่วนที่สะสมของเสียที่ไหลเข้าสู่ร่างกายในเวลาหลังเที่ยงคืนพร้อมๆ กับการกดต่ำลงมาของชั้นบรรยากาศสูงๆ (อ่าน “กฎแห่งกรรม”) มนุษย์ทุกคนมีพลังกระแสลมปราณไหลเวียนอยู่ทั่วร่างกาย พลังกระแสลมปราณจะทำหน้าที่พยายามดัน ความเจ็บปวดให้ออกไปจากร่างกาย และเราทุกคนมีพลังจิต คือความรู้สึกที่อยากหายเจ็บหายปวด จึงพยายามออกท่าทาง บิดตัว เอี้ยวตัว หรือคู้ เหยียด หรือสลัดมือ แขนขา ซึ่งการออกท่าทางเช่นนี้ จะเป็นการช่วยให้พลังพีระมิด พลังกระแสลมปราณ สามารถเข้าไปช่วยบำบัดรักษาได้ง่าย และคล่องขึ้น ผู้ฝึก ผู้ป่วยอาจจะรู้สึกว่ามีอาการเจ็บปวด หรือหนักตามเอ็น ข้อ กระดูก เพิ่มมากขึ้น ถ้ามีเสมหะ น้ำลาย ให้บ้วนทิ้งไม่กลืนลงไปในลำคอ ทิศใต้นี้เน้นประโยชน์ในการดึงเส้นเอ็น และในระหว่างฝึกบางท่านอาจจะมีการหมุนเหวี่ยงของร่างกายเป็นมุมแคบๆ ผู้ฝึก ผู้ป่วยจะยืนหรือนั่งหันหน้า หรือนอนให้ศีรษะหันไปทางทิศใต้ยิ่งนาน ยิ่งดี และไม่ควรน้อยกว่า 10 นาที

    ทิศลำดับที่ 3 ทิศเหนือ เป็นทิศตรงกันข้ามกับทิศใต้ จึงมีประโยชน์เพื่อการคลายเส้นเอ็น พลังพีระมิดจะไหลเข้าสู่ร่างกายหรือเกิดการเหวี่ยงหมุนเป็นแคบๆ เพื่อระบายและขับสารตกค้างให้ออกไปจากร่างกาย อาการเมื่อย ตึง เจ็บปวด จะผ่อนคลายลงไปเรื่อยๆ ตามจำนวนครั้งที่ได้ทำสมาธิ ในขณะฝึกปฏิบัติ ผู้ฝึก ผู้ป่วยจะมีการออกท่าทาง สลัดมือ แขน ขา หรือบีบนวดร่างกาย ฯลฯ เหมือนกับทิศใต้ ควรจะทำสมาธิที่ทิศนี้อย่างน้อย 10 นาที

    ทิศลำดับที่ 4 ทิศตะวันเฉียงใต้ ที่ทิศนี้พลังพีระมิดจะไหลหมุนเหวี่ยงเจ้าสู่ร่างกาย โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นความบกพร่อง หรือรู้สึกว่าหนัก เมื่อย เจ็บปวด ผู้ฝึก ผู้ป่วย สร้างความรู้สึกคล้อยตามแรงหมุนเหวี่ยงของพลังพีระมิดที่เกิดขึ้นจากเทคนิคของการจัดวางก้อนพีระมิดให้เป็นสนามพลังงาน จึงทำให้ทิศตะวันตกเฉียงใต้ และทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นทิศที่เกิดการหมุนเหวี่ยงที่เป็นมุมกว้าง 360 องศา ทั้งสองทิศให้คุณประโยชน์ที่ต่างกันเล็กน้อย คือทิศตะวันตกเฉียงใต้ จะเป็นทิศที่พลังพีระมิดไหลหมุนอัดเข้าสู่ร่างกาย เพื่อทำการรักษาในส่วนที่มีปัญหา หรือเจ็บปวด เมื่อเป็นการบำบัดรักษา ผู้ฝึก ผู้ป่วยอาจจะความเจ็บปวดเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม และให้ผู้ฝึกสร้างความรู้สึกคล้อยตามการหมุนเหวี่ยงของพลังพีระมิด ซึ่งจะทำให้ร่างกายของผู้ฝึกโยกหมุนตามไปด้วย การอักเสบ ความเจ็บปวด รวมทั้งสารพิษตกค้างจะขับออกมาเป็นน้ำตา เหงื่อ เสมหะ น้ำลาย ฯลฯ ให้บ้วนทิ้งลงในถุงพลาสติก ผู้ฝึกควรจะทำสมาธิที่ทิศนี้อย่างน้อย 10 นาที

    ทิศลำดับที่ 5 ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ทิศนี้พลังพีระมิดจะหมุนเหวี่ยงเข้าสู่ร่างการเป็นมุมกว้าง 360 องศาเช่นกัน เพื่อหมุนคลายความเจ็บปวดและสารพิษตกค้างออกไปจากร่างกาย ผู้ฝึกจะมีอาการโยกหมุนเหมือนกับทิศตะวันตกเฉียงใต้ ปล่อยให้ร่างกายได้หมุนไปตามแรงเหวี่ยง จนกระทั่งความเจ็บปวด ความตึงแน่น ค่อยคลายลงๆ ผู้ฝึกควรจะทำสมาธิที่ทิศนี้อย่างน้อย 10 นาที

    ทิศลำดับที่ 6 ทิศตะวันออก เป็นทิศลำดับสุดท้ายของการนวดด้วยพลังพีระมิด ให้ผู้ฝึก ผู้ป่วยนั่งลง และเหยียดขาหันหน้าไปทางทิศตะวันออก จะเกิดแรงดึงไป-มา หน้า-หลัง เป็นทิศที่ใช้สำหรับผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ รวมทั้งดันพลังพีระมิดที่นำมาใช้ในการบำบัดรักษาและพลังงานทุกชนิดที่ตกค้างให้ไหลออกไปจากร่างกาย เมื่อรู้สึกโล่งโปร่ง เบาสบายดีแล้ว ผู้ฝึก ผู้ป่วยอาจจะพักจิตหรือความรู้สึกไว้ในโพรงจมูกอยู่นิ่งๆ เฉยๆ ไม่ต้องทำสิ่งใดเพราะได้หมดภาระกิจในการบำบัดร่างกายไปแล้วอีก 1 ครั้ง ผู้ฝึกจะทำสมาธิอยู่ที่ทิศตะวันออกนี้ได้นานเท่าที่ต้องกาน หรือเวลาเอื้ออำนวย
     
  16. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
  17. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    ไทเก๊ก : วิถีธรรมแห่งสุขภาวะ<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message --><!-- google_ad_section_start -->[​IMG]


    <SCRIPT src="http://s.wordpress.com/wp-content/plugins/adverts/adsense.js?1" type=text/javascript></SCRIPT>” ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ” ความเป็นจริงข้อนี้พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้เพื่อเตือนสติมนุษย์ให้รู้จักพิจารณาการดำเนินชีวิตของตน ในทางที่จะไม่สร้างเหตุปัจจัยอันจะนำพาตนไปสู่สภาวะแห่งทุกข์ทั้งร่างกายและจิตใจ การครองตนที่ดีย่อมให้ผลแก่มนุษย์ในทางที่จะหลุดพ้นจากสภาวะแห่งทุกข์เหล่านั้น

    การครองตนที่ดีในความหมายนี้กินความกว้างมากไปกว่าการทานอาหารอย่างถูก สุขลักษณะ การได้นอนหลับพักผ่อน การออกกำลังกาย การมีเสื้อผ้าเครื่องนุ่มห่ม และที่อยู่อาศัยอย่างเหมาะสม ฯลฯ ที่เป็นเรื่องทางกายภาพที่เห็นได้ทางข้อเท็จจริง แต่รวมความไปถึงสภาวะทาง อุดมคติที่มนุษย์พึงแสวงหา เรื่องของคุณงามความดี และการมีจริยธรรมแก่กันของชุมชน

    การครองตนที่ดีคือการดำเนินชีวิตให้บรรลุถึงสภาวะที่ดีในทุกองค์ประกอบของความเป็นมนุษย์ อันประกอบด้วย ร่างกาย จิตใจ และวิญญาณ สภาวะที่ดีของร่างกายคือสภาวะของ “ชีวิต” สภาวะที่ไม่ดีของร่างกายคือ สภาวะของความเสื่อมของชีวิต การกระทำที่ก่อให้เกิดความสุขทาง ร่างกาย เช่น การรับประทานอาหาร การได้เห็นภาพอันจรุงใจ การได้ยินเสียงอันไพเราะอ่อนหวาน การได้กลิ่นที่หอมหวน การได้สัมผัสที่ที่อ่อนนุ่มน่าพิศมัย การกระทำที่ก่อให้เกิดความสุขต่าง ๆ เหล่านี้ หากนำมาซึ่งการทำลาย หรือสภาวะความเสื่อมถอยของชีวิต ความสุขเหล่านี้ก็ไม่ใช่สภาวะที่ดีของร่างกาย

    สภาวะที่ดีของจิตใจคือ สภาวะของความสงบ และปัญญา สภาวะที่ไม่ดีของจิตใจได้แก่ความสับสน ฟุ้งซ่าน หงุดหงิด กระวนกระวายใจ ฯลฯ สภาวะเหล่านี้ทำให้จิตใจสั่นไหว แตกซ่าน ไม่มีพลัง เมื่อจิตใจสามารถกลับมาสู่สภาวะที่สงบได้ จิตใจก็จะคืนสภาพกลับมาทำหน้าที่ของตนตามปรกติได้ การแตกซ่านของจิตใจอาจจะทำให้เกิดรสแห่งความสุขได้ แต่ความสุขนั้นไม่สามารถเป็นสภาวะที่ดีของจิตใจได้ ในทำนองเดียวกัน ในสภาวะที่มืดมนสับสนหาทางออกไม่ได้ จิตใจ ก็จะรู้สึกถูกบีบรัด อึดอัด ขัดข้อง เป็นสภาวะที่ไม่ดีของจิตใจ แต่เมื่อเกิดปัญญา มองทางแก้ของปัญหาออก จิตใจก็จะรู้สึกถึงความโล่ง โปร่ง สว่าง ซึ่งเป็นสภาวะที่ดีของจิตใจ

    สภาวะที่ดีของวิญญาณ คือการได้บรรลุถึงสภาวะทางอุดมคติที่ตนตั้งไว้ เช่น การบรรลุนิพพาน การเป็นหนึ่งเดียวกับอาตมัน การบรรลุสภาวะแห่งเต๋า เป็นต้น ในบางกลุ่มความคิดที่ถือว่าสภาวะที่ดีทางอุดมคติคือการได้บรรลุความสุขสุดยอดของเนื้อหนังมังสา การบรรลุถึงสิ่งนี้ ถ้าหากไม่สามารถก่อให้เกิดสภาวะที่ดีของร่างกายและจิตใจ ตามที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ ก็ไม่สามารถเรียกได้ว่าการครองตนที่ดีได้

    ถ้าหากเราให้คำนิยามของสุขภาวะด้วยความเข้าใจที่ว่าสุขภาวะคือ สภาวะที่ดีอันเกิดขึ้นแก่ร่างกาย จิตใจ และวิญญาณ สุขภาวะในความหมายนี้ก็สามารถแทนได้ด้วย “การครองตนที่ดี” ตามที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น ดังนั้นเมื่อเรากล่าวถึงสุขภาวะเราจึงหมายถึงสภาวะที่เกิดขึ้นจากการครองตนที่ดี
    ในวิถีทางแห่งการครองตนที่ดี “ไทเก๊ก” เป็นวิถีทางหนึ่งที่เป็นภูมิปัญญาในโลกฝั่ง ตะวันออก ที่มีวิธีปฏิบัติที่นำไปสู่สภาวะที่ดีของร่างกาย จิตใจ และวิญญาณ ลักษณะเด่นของวิธีปฏิบัติแบบไทเก๊ก คือการเกิดขึ้นของสภาวะทั้งสามเป็นการเกิดขึ้นร่วมกัน การเกิดสภาวะที่ดีของส่วนใดส่วนหนึ่งจำเป็นต้องมีองค์ประกอบอีกสองส่วนเกิดแนบเนื่องอยู่ด้วยกันเสมอ

    ไทเก๊ก เป็นวิธีปฏิบัติที่เกิดขึ้นมาจากลัทธิเต๋า มีปรมาจารย์ ชื่อ จางชานฟง ซึ่งมีอายุอยู่ช่วงปี ค.ศ. 1278-1365 เป็นผู้ให้กำเนิด ไทเก๊กเป็นท่าของการเคลื่อนไหวร่างกายที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ปฏิบัติธรรมได้พัฒนาภาวะจิตของตน จากการเรียนรู้ภาวะของความเป็นหนึ่งเดียวของสรรพสิ่งตามที่ปรากฎตัวออกมาในท่าการเคลื่อนไหวแบบไทเก๊ก

    ไทเก๊กได้รวมเอาภูมิปัญญาของจีนโบราณในเรื่องของ “ชี่” เข้ามาไว้ในการเคลื่อนไหว ซึ่ง “ชี่” หมายถึงพลังชีวิตที่มีอยู่ในมนุษย์ และรวมถึงพลังที่มีอยู่ในสรรพสิ่ง จากการสังเกตของบรรพบุรุษของชาวจีน พบเห็นว่าพลังชนิดนี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย และการหายใจ
    ชี่ มีจุดกำเนิดอยู่ที่ “ตันเถียน” มีตำแหน่งอยู่ที่กึ่งกลางลำตัว ต่ำกว่าแนวสะดือลงมาสองนิ้ว เมื่อร่างกายเคลื่อนไหว ชี่ที่จุดต้นเถียนจะถูกชักนำออกมาให้โคจรไปยังส่วนของอวัยวะที่ เคลื่อนไหว ชี่ทำหน้าที่ให้เกิดความมีชีวิตชีวา ช่วยรักษาเยียวยาอวัยวะหรือเนื้อเยื่อที่เสียหาย และช่วยป้องกันไม่ให้ได้รับอันตราย อีกทั้ง ชี่ยังสามารถถูกดึงขึ้นมา และกดคืนกลับไปด้วยลมหายใจเข้า และลมหายใจออก
    นอกจากการพัฒนาความรู้ในเรื่อง ชี่ จนสามารถค้นหาเส้นทางเดินของชี่และจุดชีพจรต่างๆ จนสามารถพัฒนาความรู้เหล่านี้เป็นศาสตร์แขนงต่างๆ เช่น การแพทย์ ศิลปป้องกันตัว การทำสมาธิ ฯลฯ

    การค้นพบที่สำคัญในเรื่องนี้คือความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อนไหวของชี่ และการรับรู้ ของจิต
    ชี่ ปรากฏตัวอยู่ในร่างกายอยู่ตลอดเวลา โดยโคจรไปตามเส้นชีพจรต่าง ๆ จากอวัยวะหนึ่งสู่อวัยวะหนึ่ง แต่โดยปรกติธรรมดา มนุษย์เราไม่ได้รับรู้ประสบการณ์ของชี่นี้ แต่จากการเฝ้าสังเกต จึงพบว่า นอกจากการโคจรไปตามเส้นชีพจรต่างๆ ตามปรกติแล้ว ชี่ยังโคจรไปตามการรับรู้ของจิตด้วย กล่าวคือ เมื่ออยู่ในภาวะที่จิตใจสงบ ร่างกายผ่อนคลาย จิตกำหนดรู้การเคลื่อนไหวของฝ่ามือ ที่ยกขึ้นและลดระดับลง ชี่ก็จะเคลื่อนไหวออกมาจากร่างกายไปยังจุดที่ถูกกำหนดรู้ของฝ่ามือนั้น เช่น ที่สันมือ ฝ่ามือ หลังมือ ปลายนิ้ว ฯลฯ เมื่อจิตเลื่อนจุดของการกำหนดรู้ไปในแต่ละขณะของการเคลื่อนไหว ชี่ก็โคจรไปตามการกำหนดรู้นั้นๆ

    การเนื่องกันไประหว่าง ชี่กับการรับรู้ของจิตนี้ เกิดขึ้นกับเฉพาะกลุ่มคนที่มีประสบการณ์ในชี่ และพยายามพัฒนาการรับรู้ให้มากขึ้น ในกลุ่มปฏิบัติธรรมตามแนวทางอื่น อย่างเช่นการ เจริญสติภาวนาแบบพุทธ การก้าวเดินจงกรม หรือการเคลื่อนไหวกายในอริยาบทอื่น ๆ จิตของ ผู้ปฏิบัติได้รับรู้การเคลื่อนไหวของกายในส่วนนั้นๆ ได้พบกับภาวะของ การรู้ การตื่น การเบิกบาน ภาวะของความสงบเย็นเกิดขึ้นในจิต แต่ในภาวะนั้น จิตไม่ได้มีประสบการณ์ในชี่ และการโคจรของชี่มา ณ จุดของการกำหนดรู้ก็ไม่ได้เกิดขึ้น เมื่อจิตไม่ได้กำหนดรู้ชี่ การเนื่องกันระหว่างชี่กับจิตก็ไม่ได้เกิดขึ้น

    ท่ารำของไทเก๊ก ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อให้การเคลื่อนไหวร่างกายในแต่ละส่วนชักนำชี่ให้เคลื่อนไหวไปตาม เส้นชีพจรสำคัญต่างๆ ของร่างกาย เช่น การบิดเอวทำให้ชี่โคจรรอบเอวไปตามเส้นชีพจรรอบเอว ทะลุทะลวงเส้นชีพจรนั้นให้เปิดออก หรือการดันฝ่ามือขึ้น จากระดับท้องน้อย ขึ้นไปเหนือหน้าผาก เป็นการชักนำชี่ให้โคจรจากท้องน้อยขึ้นสู่กระหม่อม ซึ่งเป็นเส้นชีพจรสำคัญอยู่กลางลำตัว ท่ารำของไทเก๊กเป็นท่ารำที่ต่อเนื่อง ชี่ที่เกิดขึ้นในท่ารำแต่ละท่าจะโคจรต่อเนื่อง กันไปอย่างไม่หยุดยั้ง และทำหน้าที่ในการทะลุทะลวง เปิดเส้นชีพจรและจุดชีพจรต่าง ๆ ของ ร่างกาย และยุติลงในท่ารำสุดท้ายเก็บชี่ลงสู่ต้นเถียน

    เหตุผลที่ไทเก๊กให้ความสำคัญกับชี่ก็เพราะชี่แสดงภาวะของความเป็น หยิน-หยาง ได้อย่างสมบูรณ์ ผู้ปฏิบัติไทเก๊กจะสามารถพัฒนาภาวะจิตของตนให้เข้าสู่ภาวะความเป็นจริงของหยิน และภาวะความเป็นจริงของหยาง จนสามารถรวมภาวะทั้งสองเข้าด้วยกัน กลับคืนสู่ความเป็นเต๋า

    ตามคำอธิบายของลัทธิเต๋าในภาวะเริ่มต้นของการกำเนิดของสรรพสิ่ง เต๋าแสดงตนออกมาเป็นหยางแสดงตนออกมาเป็นหยิน การมีอยู่ของหยางและหยินนำไปสู่การกำเนิดสิ่งต่างๆ ตามมา หยาง หมายถึง สว่าง เคลื่อนไหว ขาว ลุก ขวา ฟ้า ผู้ชาย ฯลฯ หยิน หมายถึง มืด สงบนิ่ง ดำ รับ ซ้าย ดิน ผู้หญิง ฯลฯ

    ในการรำไทเก๊ก ภาวะของหยางและหยิน ปรากฎอยู่ตลอดเวลา ทั้งในระดับธรรมดาที่รับรู้ได้ง่าย ๆ เช่น ขวา-ซ้าย บน-ล่าง ลุก-รับ หรือระดับที่ซับซ้อนมากขึ้น คือหยินในหยาง หยาง ในหยิน หรือลุกในการรับ รับในการลุก หรือทั้งสี่ลักษณะดำรงอยู่ในขณะเดียวกัน คือ หยินในหยางและหยางในหยินซึ่งคือภาวะของการรับรู้ที่ทุกภาวะของการเคลื่อนไหวของท่ารำถูกรับรู้ได้ในขณะเดียวกัน หรือการรับรู้ในระดับที่เป็นนามธรรมถึงสภาวะของความเต็ม และความว่าง และความแปรเปลี่ยนไปสู่กันและกันระหว่างสภาวะทั้งสองคือ เมื่อเต็มสุดคือว่าง เมื่อว่างสุดคือเต็ม

    สภาวะดังกล่าวข้างต้นทั้งหมดถูกอธิบายได้โดยชี่ การเข้าถึงภาวะของการแปรเปลี่ยนระหว่างกันของหยางและหยิน และการรวมเข้าด้วยกันของหยางและหยิน ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยกระบวนการทางการคิดและการเข้าใจ จำเป็นที่จิตจะต้องรับรู้สภาวะนั้นๆ โดยตรง สภาวะเหล่านี้ ปรากฏขึ้นได้เมื่อจิตมีประสบการณ์ในชี่

    อุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของไทเก๊ก ในการที่จิตจะเรียนรู้ประสบการณ์ในชี่ คือลมหายใจ ด้วยความสามารถของจิต จิตจะเปลี่ยนลมหายใจที่เคยผูกพันอยู่กับอากาศ ทั้งสูดเข้า และออก เป็นลมหายใจที่สัมพันธ์อยู่กับชี่ จนทำให้รับรู้ได้ว่าลมหายใจ เข้า-ออก นั้นยาวขึ้นลึกขึ้น หายใจได้ลึกลงถึงท้องน้อย ลงถึงฝ่าเท้า ลงถึงนิ้วหัวแม่เท้า ลมหายใจขึ้นได้ถึงกระหม่อม ลมหายใจแห่งชี่สามารถสอดแทรกเข้าไปในอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย เช่น ในกระดูก ในเส้นเอ็น ในไขกระดูก ในตับ ไต ฯลฯ ลมหายใจแห่งชี่สามารถไปได้ทุกส่วนที่จิตรับรู้ถึง

    การปฏิบัติไทเก๊ก จึงเป็นการปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่งในการพัฒนาจิตให้เข้าสู่สภาวะสูงสุดทางอุดมคติ ขณะเดียวกันวิถีปฏิบัติไทเก๊กก็ส่งผลโดยตรงกับสุขภาพอันดีของร่างกายโดยการ เสริมสร้างและรักษาสภาวะแห่งชีวิตให้ดำรงอยู่ จึงเป็นสิ่งที่ไม่เกินเลยไปนักที่จะกล่าวว่า ไทเก๊กเป็นวิถีธรรมแห่งสุขภาวะ
    เนื้อหาที่จะนำเสนอในส่วนท้ายของบทความนี้ จะเป็นคำอธิบายเพิ่มเติมในคำอธิบาย บางส่วนพร้อมกับวิธีการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดประสบการณ์ในเรื่องนี้ และในตอนท้ายสุดเป็นการนำเสนอ ชุดท่ารำ 1 ชุด ที่สามารถนำไปปฏิบัติเองได้ เป็นชุดท่ารำที่ง่าย ๆ แต่สามารถพัฒนาให้ลึกซึ้งได้อย่างไม่มีข้อจำกัด จนบรรลุถึงภาวะอุดมคติของไทเก๊ก

    การค้นหาจุดมุ่งหมายของชีวิต หรือการแสวงหาสิ่งที่ดีให้กับชีวิต มนุษย์ค้นหากันมาเป็นพันๆ ปี คำตอบหนึ่งที่อาจจะนำมาเสนอได้ ณ ที่นี้โดยเฉพาะเมื่อมองจากมุมมองของสุขภาวะ หรือการนำมาซึ่งภาวะที่ดีของจิตและกาย ภาวะที่ดีของกายคือ “ชีวิต” การเสื่อมของชีวิตของร่างกายเป็นภาวะที่ไม่ดี ภาวะที่ดีของจิตคือ ปัญญาและความสงบ การรวมเข้าด้วยกันของ ปัญญา ความสงบ และชีวิตปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนในวิถีแห่งไทเก๊ก

    ไทเก๊กดูแลร่างกายในสองส่วนสำคัญ คือการเคลื่อนไหวของร่างกาย และพลังชีวิต และ ไทเก๊กดูแลจิต โดยการเข้าถึงความเป็นหนึ่งเดียวของ หยิน – หยาง หรือเต๋า

    ไทเก๊กดูแลการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยการเปลี่ยนการตอบสนองสิ่งเร้าตาม สัญชาตญาณ โดยการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ไม่ว่าจะเป็นการถูกกระทำจากแรงภายนอก หรือการใช้แรงออกไป ร่างกายจะทำให้เกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อเพื่อตอบโต้ ตั้งรับ หรือใช้แรงดังกล่าว ซึ่งนำไปสู่การปะทะบาดเจ็บ การถูกถอนราก (ล้มลง) ได้ง่าย

    ผู้ปฏิบัติไทเก๊กจะเรียนรู้ หลัก เต็ม – ว่าง คือปล่อยให้ส่วนบนว่างเปล่า ฐานรากเต็มแน่น ซึ่งจะทำให้การตอบรับเป็นการอ่อนตาม หยุ่น ครอบคลุม ดึงจมลงสู่ฐาน ไทเก๊กได้เปลี่ยนการ ตอบรับตามสัญชาตญาณมาสู่การตอบรับด้วยสติ – ปัญญา

    การล็อคกันของกล้ามเนื้อ กระดูก เส้นเอ็น เพื่อให้เกิดความแข็งแกร่งและพลัง ทำให้ ร่างกาย “เต็ม” แต่ฐาน “ว่างเปล่า” ไม่สามารถยึดเกาะกับพื้นได้อย่างมั่นคง เหมือนท่อนไม้ที่ถูกวางไว้บนพื้นดิน ซึ่งถูกทำให้กลิ้งและเคลื่อนไปได้ง่าย อีกทั้งการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อจะทำให้เกิดการชะงักงันของชี่
    ผู้ปฏิบัติไทเก๊ก ถือหลักปฏิบัติในการเคลื่อนไหวร่างกายหลายข้อ เช่น รักษาแนวดิ่งของกระดูกสันหลังจากกระหม่อมถึงก้นกบ เหมือนผูกเชือกห้อยไว้กับเพดาน ลดไหล่ลดศอก ใช้การบิดของเอวแทนการบิดไหล่ เคลื่อนตัวอย่าให้หัวเข่าล้ำเกินปลายเท้า อาศัยแรงส่งจากฝ่าเท้าแทนการยืดและหดตัวของกล้ามเนื้อขา หลักปฏิบัติเหล่านี้ทำให้การเคลื่อนไหวของร่างกายว่างเปล่า ไม่มีส่วนที่ต้องใช้พลัง แต่พลังกลับโคจรไปทั่วร่างกาย โดยพลังเริ่มจากฐาน หรือฝ่าเท้าที่ฝังรากอยู่กับพื้นดิน เมื่อพลังโคจรไปทั่วร่างกายจะถูกชักนำมาเก็บไว้ ณ ตันเถียน ซึ่งมีตำแหน่งอยู่กึ่งกลางลำตัวมีระดับอยู่ต่ำกว่าสะดือลงมาสองนิ้ว การเคลื่อนไหวของไทเก๊กจึงเป็นการสะสมพลังชีวิตเข้ามาใว้ใน ร่างกายอยู่อย่างสม่ำเสมอ

    ผู้ปฏิบัติไทเก๊กจึงเคลื่อนไหวร่างกายอย่างเบาสบายแต่มั่นคง ผู้สูงอายุที่ปฏิบัติไทเก๊กมา ระยะหนึ่งจะรู้สึกว่าเท้าของตนยืนได้อย่างมั่นคงยืดหยุ่นไม่ลื่นล้มง่าย แม้แต่จะยืนอยู่ด้วยเท้า ข้างเดียว ยกเท้าอีกข้างหนึ่งเตะกวาดไปมาก็กระทำได้ไม่ยาก

    การฝึกปฏิบัติตนเองจนร่างกายรู้จักการเคลื่อนไหวในสภาวะเต็ม-ว่าง ได้ เป็นสิ่งสำคัญของการเคลื่อนไหวแบบไทเก๊กการดูแลร่างกายอีกส่วนหนึ่งของไทเก๊กคือ การดูแลพลังชีวิตซึ่งประกอบด้วย เรื่องที่สำคัญอยู่สองเรื่องคือ การหายใจ และ “ชี่” ซึ่งทั้งสองเรื่องเป็นการฝึกให้ร่างกายมีการรับรู้ และใช้ประโยชน์จากพลังชีวิตได้อย่างเต็มที่

    ในเรื่องของการหายใจสิ่งที่สำคัญคือ การเปลี่ยนประสบการณ์ของการหายใจ ซึ่งมักจะหมายถึง การสูดอากาศเข้ามาตามจมูกไปยังปอด และการขับอากาศที่อยู่ในปอดออกมาทางจมูก เรามีประสบการณ์กับการหายใจได้จากประสาทสัมผัสของเรา ที่อากาศที่ถูกสูดเข้าสัมผัสผิวสัมผัสของเราที่ปลายจมูก โพรงจมูก ลำคอ และการขยายตัวออกของทรวงอก และท้องน้อย และการ หดตัวของกล้ามเนื้อเพื่อขับอากาศที่อยู่ภายในมาสัมผัสช่องคอ โพรงจมูก และปลายจมูก ซึ่งคน แต่ละคนจะรับรู้สิ่งเหล่านี้ละเอียดมากน้อยต่างกันไป แต่โดยรวม ๆ แล้วนี่คือประสบการณ์ของเราที่มีต่อการหายใจ

    ผู้ปฏิบัติไทเก๊กจะต้องเปลี่ยนประสบการณ์ของการหายใจนี้ไปในอีกลักษณะหนึ่ง ไปสู่การสัมผัสถึงไออุ่นที่เคลื่อนตัวอยู่ภายในกายของเขาในขณะที่หายใจ กล่าวโดยง่ายก็คือเปลี่ยน ประสบการณ์ในผัสสะที่มีต่อการเคลื่อนตัวของอากาศ มาเป็นการเคลื่อนตัวของไออุ่นที่ “เนื่อง” อยู่กับลมหายใจ
    เนื่องจากประสบการณ์นี้ เป็นประสบการณ์ของประสาทสัมผัส จึงไม่ใช่เรื่องที่เป็นนามธรรมที่สัมผัสไม่ได้ แต่เป็นเรื่องที่จะต้องเรียนรู้เพื่อที่จะสัมผัส เหมือนกับเมื่อเราดูภาพที่ทำขึ้นให้เป็นภาพสามมิติ แต่เมื่อดูตามปกติสายตาก็ไม่สามารถเห็นเป็นภาพสามมิติได้ แต่เมื่อเราปรับระยะของจุดตัดของสายตาซ้ายและขวาได้ ก็จะทำให้เห็นภาพสามมิตินั้นขึ้นมาได้ หลายคนคงมีประสบการณ์ในเรื่องนี้ ที่ยกเรื่องนี้ขึ้นมากล่าวก็เป็นการยกในเชิงเปรียบเทียบในส่วนที่คล้ายคลึงกันที่ว่าเมื่อเรียนรู้วิธีการรับรู้ก็สามารถรับสัมผัสได้

    การฝึกปฏิบัติที่จะรับรู้ “ไออุ่น” อันเนื่องจากการหายใจ มีวิธีฝึกปฏิบัติหลายวิธีด้วยกัน ซึ่งผู้มีทักษะในเรื่องนี้จะแนะนำขึ้นในส่วนที่นำเสนอ ในที่นี้ก็เป็นเพียงแนวทางหนึ่งเท่านั้น แนวทางนี้ให้ความสำคัญกับ “ความละเอียดของลมหายใจ”

    คนที่สนใจพิจารณาลมหายใจของตนเอง จะมีความเห็นคล้ายกันว่าลมหายใจของเรามีความหยาบและความละเอียดในแต่ละครั้งแตกต่างกันไป “ความละเอียด” หรือ “ความหยาบ” ของ ลมหายใจในที่นี้ อาจจะถูกแทนด้วยแรงปะทะ หรือแรงเสียดสีของอากาศที่ถูกสูดเข้าและออกที่กระทำต่อผิวสัมผัสของเรา ซึ่งในที่นี้ขอกำหนดไว้ที่ปลายจมูก ลมหายใจที่กระทบปลายจมูกแรง ถือว่าเป็นลมหายใจที่หยาบ ส่วนลมหายใจที่กระทบปลายจมูกเบาถือว่าเป็นลมหายใจที่ละเอียด ลมหายใจที่ละเอียดเนียนบางครั้งถึงระดับที่ไม่สามารถรับรู้สึกถึงแรงสัมผัสของลมที่ปลายจมูกได้ ลมหายใจที่ละเอียดมีฐานมาจากภาวะจิตใจที่สงบ และเป็นไปเองโดยธรรมชาติ

    ผู้ฝึกปฏิบัติเตรียมตัวอยู่ในท่านั่ง ซึ่งอาจจะเป็นการนั่งขัดสมาธิ หรือนั่งเก้าอี้ก็ได้ ผู้ที่นั่งเก้าอี้ ควรเลือกเก้าอี้ที่ไม่มีเท้าแขน และระดับความสูงของเก้าอี้เหมาะสมกับตัว กล่าวคือเมื่อนั่งแล้วฝ่าเท้าทั้งสองสามารถสัมผัสพื้นได้แนบสนิท วางเท้าห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ให้ฝ่าเท้าทั้งสองขนานกันไม่แบะปลายเท้าออก ส่วนของขาจากข้อเท้าถึงหัวเข่าควรวางได้ตั้งฉากกับพื้น ขาช่วงบนเมื่อนั่งอยู่บนเก้าอี้แล้วควรขนานกับพื้น หากเก้าอี้สูงเกินไปขาจะชันขึ้น หากเก้าอี้ต่ำเกินไปขาจะลาดลง ควรหาเก้าอี้ที่มีความสูงเหมาะสมกับตน

    เมื่อนั่งในท่าที่ดีแล้ว รักษาระดับของลำตัวให้ตั้งตรงไม่เอนเอียงในทางใดทางหนึ่ง สังเกตน้ำหนักของตนเองที่กดลงบนฐาน คือส่วนของผิวกายที่สัมผัสกับพื้นทั้งพื้นเก้าอี้ พื้นที่วางเท้า หรือพื้นที่นั่ง ขณะที่รับรู้แรงกดของตัวเรานั้น ขณะนั้นหายใจเข้า หายใจออก ต่อเนื่องไประยะหนึ่ง จนรู้สึกว่าตนเองผ่อนคลายดีแล้วทั้งร่างกายและจิตใจยกมือทั้งสองมาวางไว้บนตักบริเวณหน้าท้องน้อย ให้ปลายนิ้วของมือทั้งสองชี้เข้าหากัน ทิ้งระยะให้นิ้วกลางของฝ่ามือทั้งสองห่างกันเล็กน้อย

    เมื่ออยู่ในท่าที่ดีแล้ว ผ่อนคลาย ไม่เกร็ง หายใจเข้า พร้อมยกฝ่ามือทั้งสองขึ้น เมื่อมือขึ้นถึงระดับอกกลั้นหายใจ พลิกฝ่ามือทั้งสองให้คว่ำลงพร้อมกับกดฝ่ามือลงสู่เบื้องล่าง ระบายลมหายใจออก เมื่อฝ่ามือถึงระดับท้องน้อย กลั้นหายใจ พลิกฝ่ามือหงายขึ้น กลับมาอยู่ในท่าเดิมเป็นการฝึกการหายใจ 1 รอบ

    การยกฝ่ามือขึ้น – ลง กระทำอย่างผ่อนคลายต่อเนื่อง ไม่รีบร้อน ที่สำคัญคือในขณะที่ยกมือขึ้นอย่ายกไหล่ขึ้นมาด้วย พยายามลดไหล่ ลดศอก ผู้ที่เริ่มต้นฝึกอาจจะหายใจได้สั้นๆ ไม่สามารถหายใจเข้ายาว ออกยาวเพียง 1 ครั้งได้ สามารถปรับลมหายใจ เข้า – ออก เป็น 2 – 3 ครั้งได้ ไม่จำเป็นต้องบังคับตนเองให้เครียด หรือเร่งมือให้เร็วจนเกินไป ปล่อยให้การเคลื่อนไหวของมือเป็นไปอย่างเชื่องช้าและแนบเนื่อง เมื่อจิตมีสติจับอยู่ที่การเคลื่อนไหวของมืออย่างแนบเนียน ลมหายใจจะยาวขึ้นตามไปเอง

    ฝึกการหายใจในท่านี้สักระยะหนึ่ง จนลมหายใจกับการเคลื่อนไหวของมือไปด้วยกัน จากนั้นนั่งอยู่ในท่าเดิม มือทั้งสองหันปลายนิ้วเข้าหากัน จิตที่เคยสนใจการเคลื่อนไหวของมือ เลื่อนจุดสนใจจากมือเข้ามาในตัวผ่านท้องน้อยจนถึงต้นเถียน ขณะนั้นหายใจเข้า หายใจออก

    อาศัยลมหายใจที่เนียนละเอียดและยาว และตั้งการรับรู้ไว้ที่จุดต้นเถียน จากนั้นหายใจ เข้า – ออก ต่อเนื่องระยะหนึ่ง จนรู้สึกถึงไออุ่นที่เกิดขึ้น ณ จุดต้นเถียนนั้น รับรู้ไออุ่นนั้นด้วยจิตใจที่ผ่องใสเบิกบาน ขยับฝ่ามือทั้งสองเลื่อนขึ้นพร้อมกับหายใจเข้า จิตยังคงรับรู้ถึงไออุ่น ณ จุด ต้นเถียนนั้น ซึ่งกำลังเลื่อนระดับสูงขึ้นๆ ตามระดับของฝ่ามือ เมื่อฝ่ามือถึงระดับอก กลั้นลมหายใจพลิกฝ่ามือแล้วกดฝ่ามือลงพร้อมกับคลายลมหายใจออก จิตรับรู้ถึงไออุ่นที่เคลื่อนคืนกลับมา ณ จุดต้นเถียน ตามระดับของฝ่ามือที่ลดลง กลั้นลมหายใจ พลิกฝ่ามือหงายขึ้น

    หากพร้อมที่จะฝึกลมหายใจรอบใหม่ (ลมหายใจไม่ติดขัดไม่เครียด) ก็ยกมือขึ้นหายใจเข้า และเปิดจิตให้รับรู้การเคลื่อนตัวของไออุ่นตามขั้นตอนที่กล่าวไว้ข้างต้น

    การเคลื่อนไหวในท่านี้ อาศัยมือเป็นอุปกรณ์สำคัญในการเจริญสติให้อยู่กับการ เคลื่อนไหวของร่างกาย อาศัยจังหวะการเคลื่อนไหวของมือชักนำการเคลื่อนไหวของลมหายใจ ขณะที่ยกมือขึ้น ทรวงอกเปิดขึ้นพร้อมหายใจเข้า ลดมือลงทรวงอกปิดลงพร้อมหายใจออกจนจิต รับรู้การเคลื่อนไหวของมือและลมหายใจในจังหวะเดียวกัน และฝ่ามือก็เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการชักนำ การเคลื่อนไหวของไออุ่นในร่างกาย เมื่อสติมารับรู้การเคลื่อนไหวของไออุ่นในจังหวะเดียวกันกับลมหายใจเข้า-ออกโดยไม่ต้องอาศัยการชักนำของฝ่ามือ ลมหายใจเข้าเป็นการดึงพลังขึ้นสู่เบื้องบน ลมหายใจออกเป็นการจมพลังกลับไปสู่ต้นเถียน ลมหายใจในสภาวะนี้ เรียกว่า “ลมหายใจแห่งชีวิต” หรือ “ปราณ”

    การฝึกปฏิบัติในเรื่องนี้เป็นการเปลี่ยนลมหายใจที่เป็นเรื่องของอากาศที่อยู่ในปอด ไปสู่ ลมหายใจที่เป็นพลังชีวิต ที่เคลื่อนตัวไปยังจุดชีพจรสำคัญต่าง ๆ ของร่างกาย

    ในหมวดของร่างกายอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้ปฏิบัติไทเก๊กให้ความสนใจคือ “ชี่” หรือพลังชีวิต การพูดถึง “ชี่” ของไทเก๊ก ต้องเข้าใจไว้ก่อนว่าไทเก๊กจัดอยู่ในกลุ่มประเภท “มวยอ่อน” ซึ่งเป็นมวยที่ไม่ให้ความสนใจ กับการปะทะหักโค่นกันทางร่างกายซึ่งเป็นเรื่องของความแข็งแกร่งของ กล้ามเนื้อกระดูกและเส้นเอ็น แต่อาศัยการอ่อนตาม แนบเนื่อง กลมกลืน จนเป็นหนึ่งเดียว ไม่เกิดช่องว่างของการปะทะขึ้น
    การเป็นหนึ่งเดียวกันตามทัศนะของไทเก๊ก ไม่ใช่การเป็นในสิ่งเดียวกับที่เขาเป็น แต่เป็นในสิ่งที่เกิดความสมดุลย์แก่เขา คือเมื่อเขาเต็มมาเราว่างไป เมื่อเขาว่างมาเราเต็มไป แต่ความ “เต็ม” ของไทเก๊กก็ยังคงลักษณะของตนคือการเต็มจากภายใน ไม่ใช่ความเต็มจากภายนอกซึ่งเป็นความเต็มของร่างกายที่แข็งกระด้าง แต่เป็นความเต็มของพลังที่อยู่ภายในตน ดังนั้นไทเก๊กนอกจากถูกเรียกว่า จะเป็นมวยอ่อนแล้ว ยังเป็นที่รู้จักกันในนามของมวยที่เน้นพลังภายใน

    ในการฝึกปฏิบัติไทเก๊ก ผู้ฝึกจำเป็นจะต้องเรียนรู้ถึงลักษณะของแรงที่แตกต่างกันสองแบบ คือ แรงที่เกิดจากการยืดและหดตัวของกล้ามเนื้อ กับแรงที่ขับดันมาจากฐาน เช่น ฝ่าเท้า เอว และ ต้นเถียน กลุ่มพลังที่พุ่งออกจากฐานไปยังจุดใช้งาน เช่น ฝ่ามือ สันมือ ข้อมือ ฯลฯ นี้เรียกว่า ชี่

    การเรียนรู้ความแตกต่างของแรงทั้งสองแบบผู้เริ่มฝึกใหม่ ๆ บางครั้งก็ยากที่จะเรียนรู้ แต่อย่างที่ว่าไว้ข้างต้น ว่าเป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้ทั้งนี้เพราะเมื่อรู้ได้จึงจะใช้งานได้

    การฝึกจึงต้องเลือกท่าที่ง่ายและไม่ซับซ้อน ท่าที่ดีท่าหนึ่งคือ ท่ายืน ในท่านี้มีข้อบังคับอยู่เล็กน้อยคือ ในการยืนต้องให้ฝ่าเท้าทั้งสองข้างอยู่ห่างกันหนึ่งช่วงไหล่ ให้ฝ่าเท้าทั้งสองวางขนานกัน โดยการขยับปลายเท้าทั้งสองข้างเข้าหากันหรือแยกส้นเท้าออก การยืนบนฝ่าเท้าที่ขนานกันนั้น อาจจะขัดๆ บ้างเล็กน้อยเพราะปกติเราคุ้นเคยกับการยืนแยกปลายเท้าออกจากกันหรือแบะปลายเท้าออกแต่การยืนให้ฝ่าเท้าขนานกันเป็นเลข 11 เป็นการยืนที่ดีสำหรับการฝึก เมื่อปรับเท้าได้แล้วผ่อนเขาลง เหมือนยืนในท่าพัก ตั้งตัวตรงลดศอกลดไหล่ลง

    เมื่อยืนในท่านี้ สังเกตน้ำหนักของตัวเราที่กดลงบนฝ่าเท้าทั้งสอง สังเกตที่ต้นขาทั้งสองข้างว่ามีการเกร็งอยู่หรือไม่ ถ้ามีการเกร็งของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อตรงส่วนนั้นจะ “ซับ” น้ำหนักของตัวเราที่เกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลกไว้ และไม่ปล่อยแรงกดของน้ำหนักของตัวเราลงไปยังฝ่าเท้า สิ่งนี้เป็นประสบการณ์ที่แปลก กล่าวคือแม้น้ำหนักของตัวเราจะคงเดิม เช่นน้ำหนัก 60 กิโลกรัม ความรู้สึกของแรงกดที่ฝ่าเท้าในขณะที่เกร็งต้นขา กับผ่อนคลายต้นขา จะรู้สึกถึงแรงกดที่ฝ่าเท้าแตกต่างกัน
    การคลายการเกร็งของกล้ามเนื้อต้นขาในขณะยืนท่านี้ แต่ละคนอาจจะกระทำแตกต่างกัน บางคนก็ใช้จิตของตนสั่งให้ร่างกายผ่อนคลาย กล้ามเนื้อส่วนที่เกร็งอยู่ก็คลายลง หรืออาจจะทำด้วยการขยับตัวโดยขยับไปทางซ้ายทีทางขวาที หรือแกว่งตัวไปทั้งตัว เมื่อร่างกายถูกขยับส่วนที่เกร็งก็จะคลายลง เมื่อกล้ามเนื้อแต่ละส่วนผ่อนคลายลง ทั้งน่อง ต้นขา หลัง ไหล่ ผู้ฝึกเรียนรู้ถึงประสบการณ์ของแรงกดของน้ำหนักตน กระทำบนฝ่าเท้าทั้งสองข้าง

    เมื่อรับรู้ประสบการณ์ข้างต้นอย่างชัดเจนดีแล้ว ถ่ายน้ำหนักของตนเองจากเท้าข้างหนึ่งไปยังเท้าอีกข้างหนึ่ง ในขณะที่ถ่ายน้ำหนักไปนี้พยายามรักษาการทรงตัวของตนเองให้แนวลำตัวตั้งตรง อยู่เสมอ ตั้งแต่ก้นกบถึงกระหม่อมอย่าเอนตัวไปทางซ้าย ทางขวา คว่ำหน้าลง หรือหงายไปทางข้างหลัง ปล่อยให้ลำตัวส่วนบนตั้งตรงอยู่บนสะโพก สังเกตดูจะเห็นว่าตัวเราทั้งตัวจะยืนอยู่บนขาข้างเดียว แนวกลางตัวของเราจากกระหม่อมถึงก้นกบจะทิ้งดิ่งลงมาชิดอยู่กับด้านในของฝ่าเท้าข้างนั้น รับรู้แรงกดของฝ่าเท้าข้างนั้น จากนั้นถ่ายน้ำหนักของตัวเรามายืนอยู่บนเท้าอีกข้างหนึ่งในลักษณะเดียวกับที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

    ทำอย่างนี้สัก 2-3 ครั้ง เมื่อคุ้นกับการถ่ายน้ำหนักดีแล้ว ลองถ่ายน้ำหนักอีกครั้งหนึ่งพร้อมกับสังเกตว่า แรงที่ดันตัวเราที่เดิมยืนอยู่บนเท้าข้างหนึ่งให้มาอยู่บนเท้าอีกข้างหนึ่งเป็นแรงดันที่มาจากส่วนใด เป็นแรงที่มาจากแรงถีบของฝ่าเท้า หรือ แรงจากการดีดตัวของกล้ามเนื้อต้นขา ลองทำอีกสักครั้งสองครั้ง ในขณะที่ลองสังเกตอยู่นี้อย่าพยายามก้มหน้าลงไปมอง สายตาของเรามองไปให้ไกลสุดสายตาปล่อยให้ความรู้สึกภายในตัวของเรา รับรู้ถึงความแตกต่างระหว่างแรงทั้งสอง ระหว่างแรงของฝ่าเท้า กับแรงของการดีดตัวของกล้ามเนื้อ

    เมื่อร่างกายผ่อนคลาย แรงของฝ่าเท้าจะถูกส่งไปยังจุดที่ใช้งาน ตัวอย่างจากท่าข้างต้นจุดใช้งานคือการเคลื่อนแนวกลางตัวของเราที่ลงน้ำหนักอยู่บนเท้าข้างหนึ่งไปยังเท้าอีกข้างหนึ่ง ดังนั้น ในท่านี้ แรงส่งของเท้าจะกระทำไปยังแนวกลางตัวของเรา เพื่อให้สังเกตง่ายขึ้นหากมีคนอื่นอยู่ในขณะที่เราฝึกท่านี้ ขอความช่วยเหลือจากเขามายืนในท่าเดียวกันกับเราหันหน้าเข้าหากัน ห่างกันประมาณ 1 ช่วงศอก ให้เขายกฝ่ามือข้างหนึ่งวางไว้ตรงสะโพกของเรา เมื่อเราถ่ายน้ำหนักจากขาข้างหนึ่งไปยังขาอีกข้างหนึ่งให้เขาออกแรงกดที่ฝ่ามือออกแรงต้านเอาไว้

    เมื่อเกิดแรงต้าน สังเกตตัวเราเองอีกครั้งว่าแรงส่งของเราที่ออกไป มาจากฝ่าเท้าหรือจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ หากมีการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อส่วนนั้นลงแล้วลองเคลื่อนตัวใหม่ เมื่อฝึกได้ดีแล้วให้เขามาทดลองออกแรงต้านอีกครั้ง กระทำบ่อยๆ จนกระทั่งใช้แรงฝ่าเท้าเป็น
    เมื่อใช้แรงฝ่าเท้าเป็นสังเกตดูว่าขณะที่มีแรงต้านอย่างเช่น แรงกดของอีกฝ่ายที่สะโพกของเรา เมื่อเราส่งแรงจากฝ่าเท้าออกไป เกิดแรงเกร็งที่หน้าท้อง ไหล่ อก ต้นขา ของขาอีกข้างหนึ่งหรือไม่ หากมีต้องคลายแรงเหล่านั้นลง แล้วขมวดแรงเหล่านั้นมา ณ จุดที่ถูกต้าน หากกระทำอย่างนี้ได้แล้ว เราจะรู้สึกได้ว่าตัวเราทั้งตัวเบา แรงกดของฝ่ามือเขาจะถูกส่งลงไปที่ฝ่าเท้าของเรา (เรียกว่า การจมแรง) แรงส่งของฝ่าเท้าของเราจะกระทำโดยตรงที่หลังมือของเขา และเคลื่อนฝ่ามือของเขาไป เรียกว่าการสลายแรง แรงที่ส่งออกไป ไม่มาก ไม่น้อย ไม่ปะทะ เป็นแต่การเคลื่อนออกไป หากผู้ที่ออกแรงกดบนตัวของเรา ฝึกการคงสภาพร่างกายของตนเองไว้ได้ในลักษณะที่ “หากกายยังคงตั้งมั่นอยู่ฝ่ามือก็ไม่เคลื่อน” แรงส่งจากฝ่าเท้าของเราจะเคลื่อนจากหลังมือของเขาไปสู่ขอบสุดของร่างกายเขาตามทิศทางแรงที่เราส่งออกไป สิ่งนี้เรียกว่า “ชกวัวข้ามเขา” แรงส่งของฝ่าเท้าของเราจะเคลื่อนเขาออกจากฐานของเขา

    แรงที่เกิดจากฐานจะดำเนินควบคู่ไปกับ “ความรู้สึกภายในตัวของเรา” ซึ่งจะเป็นอยู่รับรู้และนำแรงนั้นๆ ไปใช้ หากเราสังเกตได้อย่างละเอียดจะเห็นว่า ขณะที่เราใช้แรงนั้นๆ ลมหายใจที่ละเอียดเนียนจะเกิดควบคู่ไปด้วย ภาวะของแรงในลักษณะนี้ ไทเก๊กเรียกว่า “ชี่”

    การมีประสบการณ์ใน ชี่ ทำให้สามารถรับรู้ความแตกต่างของสภาวะของเเรง 2 แบบ ได้อย่างชัดเจน สภาวะหนึ่งคือแรงภายนอก หรือ แรงของกล้ามเนื้อ กับอีกสภาวะหนึ่งคือแรงภายในหรือแรงของชี่ สภาวะแรงของภายนอกจะเป็นแรงที่เก็บแน่นเต็มอยู่ในส่วนนั้นๆ ส่วนแรงภายใน จะเป็นแรงที่เบาสบายและโคจรไปทั่ว ณ จุดใช้แรง เมื่อเราเคลื่อนไหวโดยการเกร็งของกล้ามเนื้อ จะรู้สึกถึงความเต็มแน่นของอวัยวะในส่วนนั้นๆ แต่เมื่อเราผ่อนคลายและเคลื่อนไหว โดยสัมผัสถึงพลังที่ฐานอย่างมั่นคง จะสัมผัสถึงความโล่งเบาสบายของร่างกาย แม้ในขณะของการกำนิ้วมือ เมื่อเราผ่อนคลายตนเองจนไม่รู้สึกถึงการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ที่นิ้วมือ ฝ่ามือ และแขน แต่ให้รู้สึกถึงแรงที่เกิดขึ้นกับปลายนิ้วที่กำลังขมวดนิ้วมือเข้ามาสู่ใจกลางมือ จากนิ้วก้อย นิ้วนาง นิ้วกลาง นิ้วชี้ นิ้วหัวแม่มือ ขณะที่กำนิ้วแต่ละนิ้วเข้ามานั้นระบายลมหายใจออก และเมื่อคลายนิ้วออกจากนิ้ว หัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย พร้อมกับหายใจเข้า จะรู้สึกถึงพลังอุ่นๆ ที่เคลื่อนจากลำตัวไปตามวงแขนสู่ฝ่ามือ และพลังนั้นย้อนคืนกลับมาจากฝ่ามือลำแขนสู่ลำตัว

    การฝึกปฏิบัติจนมีประสบการณ์ใน ชี่ อยู่ตลอดเวลาในท่ารำหรือการใช้ท่าทางในชีวิต ประจำวัน จะทำให้เราสามารถเปลี่ยนการตอบสนองตามสัตชาติญาณต่อแรงกระทำจากภายนอก ด้วยการเกร็งกล้ามเนื้อ มาสู่การตอบสนองแรงจากภายนอกด้วยการจมแรง สลายแรง หรือคืนแรงกลับไปตามความจำเป็น ซึ่งเป็นการตอบสนองด้วยสติรับรู้และปัญญา

    จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดในไทเก๊กนับตั้งแต่การเคลื่อนไหวร่างกาย การหายใจ และชี่ สิ่งนั้นคือ จิต หรือสติที่ทำหน้าที่รู้

    ความบริสุทธิ์ของการรับรู้ที่เกิดขึ้นในไทเก๊กมีลักษณะที่สำคัญ 3 ประการคือ ประการแรกความรับรู้ในผัสสะเกิดขึ้น ณ จุดที่ผัสสะเกิดเมื่อเราขยับแขน ขา ร่างกาย การเรียนรู้กิจกรรมเคลื่อนไหว การรับรู้ถึงแรงที่กระทบมาจากภายนอก การรับรู้ถึงไออุ่นของชี่ ที่มาจากภายในโคจรไปยังจุดของการใช้แรง จะเป็นการรับรู้สึก ณ จุดที่ถูกสัมผัสนั้นๆ ทั้งภายในและภายนอกร่างกายแม้การหวนระลึกถึงผัสสะนั้นในภายหลัง ความรู้สึกในผัสสะนั้นก็ปรากฏขึ้นอีกครั้ง ณ จุดที่เคยรับสัมผัสนั้น เช่น ฝ่ามือ แขน ขา อวัยวะภายใน มากกว่าการเกิดขึ้นในห้วงคำนึงของจิตเพียงอย่างเดียว

    ประการที่สอง การรับรู้ในไทเก๊ก แยกตัวเองอย่างชัดเจนจากการคิด ในกระบวนการคิด เป็นการเชื่อมโยงความเข้าใจ จากอันหนึ่งไปยังอีกอันหนึ่ง เพื่อทำให้เกิดเป็นความเข้าใจอันใหม่ขึ้นมา กระบวนการคิด จึงเป็นเรื่องของโครงข่ายความสัมพันธ์ เหมือนเป็นตาข่ายที่ครอบคลุมความเป็นรูปธรรมของสิ่งที่ถูกคิด กระบวนการคิดจึงไม่สามารถเก็บสิ่งที่เป็นรูปธรรมทั้งหมดของสิ่งที่ถูกคิดไว้ได้ ในขณะที่การรำไทเก๊กสิ่งที่สำคัญคือ การให้จิตได้เรียนรู้ประสบการณ์ที่เป็นอยู่ขณะนั้นไว้ ทั้งหมด การฝึกปฏิบัติไทเก๊กอยู่เป็นประจำจะทำให้จิตของผู้รำได้ฝึกที่จะเปิดรับสิ่งที่เป็นอยู่ขณะนั้นได้กว้างขึ้นๆ และละเอียดขึ้นเป็นลำดับ

    อีกประการหนึ่งในเรื่องของการคิด คือการคิดเป็นเรื่องของภาษา เป็นคำที่สะท้อนไปมาในจิตของเรา เช่น เมื่อนึกถึงการกิน มีสิ่งที่เกิดขึ้นในจิตของเราที่แตกต่างกันอย่างน้อยสองอย่างคือ เกิดเสียงของภาษาขึ้นในจิตของเรา ประกอบด้วยคำสองคำคือ การ-กิน กับประสบการณ์อีกอย่างหนึ่งคือการระลึกถึงการกินที่เกิดขึ้นกับเราเมื่อช่วงเวลาที่ผ่านมา ในประสบการณ์นั้นมันมีรายละเอียดที่นับไม่ถ้วนของสิ่งที่เกิดขึ้น และประกอบขึ้นเป็นรูปลักษณ์ของประสบการณ์ ซึ่งต่างจากการสะท้อนของคำว่า การ-กิน ที่เกิดขึ้นในสมองหรือจิตของเรา

    เมื่อเรายกเท้าก้าวเดินจิตของเราบอกตัวเราเองว่า ยก-ก้าว… ภาษาที่เกิดขึ้นในจิตมันมี อิทธิพลที่ปิดกั้นประสบการณ์ในการยกเท้าและก้าวเดินออกไป ผู้ปฏิบัติไทเก๊กจึงไม่ใส่ใจที่จะให้มีภาษาสะท้อนก้องอยู่ในจิตของตน และเปิดประสบการณ์ของจิตที่จะรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นในการเคลื่อนไหวของตนอย่างสมบูรณ์

    ประการที่สาม ภาวะจิตในการรำไทเก๊กจะเปิดรับต่อสิ่งที่รับรู้สึกได้อย่างสมบูรณ์ การขมวดจิตหรือการเพ่งไปสู่ส่วนใดส่วนหนึ่ง จะทำให้ภาวะของการรับรู้ทั้งหมดชะงักลง เมื่อเราเพ่งจุดไปที่มือขวา เราไม่สามารถรับรู้สึกสิ่งที่สามารถรับรู้สึกได้ที่เท้าซ้าย เท้าขวา แผ่นหลัง ฯลฯ การเพ่งจิตไปยังส่วนใดส่วนหนึ่ง อาจก่อประโยชน์ในหลายๆ เรื่องรวมทั้งการโคจรของชี่ แต่ก็มีผลเสียวต่อความฉับไวในการรับรู้ภาวะสมดุลของร่างกาย

    ผู้ที่เริ่มรำไทเก๊กใหม่ๆ จะมีปัญหาที่มือเท้า แขน ขา ไม่ไปด้วยกัน ทั้งนี้ เพราะในท่ารำของไทเก๊ก มือ เท้า แขน ขา เอว และส่วนต่างๆ ของร่างกายมีการเคลื่อนไหวที่เป็นของตัวเอง มีภาวะของการแสดงออกของการเป็น หยิน-หยาง แตกต่างกันไป แต่ทั้งหมดถูกประสานกันเป็นหนึ่งเดียวในท่ารำแต่ละท่า และแนบเนื่องจากต้นจนจบ ในขณะที่ผู้ฝึกปฏิบัติใหม่ๆ จะคุ้นเคยกับการรับรู้เป็นจุดๆ มือซ้ายบ้าง มือขวาบ้างสลับกันไปไม่สามารถ “เห็น” ตัวเราทั้งตัว ในขณะรำ สำหรับผู้เริ่มรำใหม่ๆ ครูผู้สอนจะแนะนำให้ใช้สายตามองไปขนานกับพื้นดินมองไปให้สุดขอบโลก อย่าก้มมองดูตัวเอง อย่ามองตัวเองในกระจก แต่จงรับรู้ตัวเองจากการรู้สึกด้านใน ให้ “ตาทำหน้าที่รับรู้ต่อสิ่งภายนอก จิตทำหน้าที่รับรู้ต่อสิ่งภายใน” เมื่อจิตถูกมอบหมายให้ทำหน้าที่รับรู้ จิตก็จะกระตุ้นให้ประสาทรับสัมผัสต่างๆ ทำหน้าที่ของมัน เมื่อเราไม่จำกัดการทำงานของเขา เขาก็จะทำหน้าที่ของเขาได้มากยิ่งขึ้น และในหลายๆ ครั้งสิ่งที่เขาทำได้กลับเป็นความอัศจรรย์ ที่คาดคิดไม่ถึง

    จิตของไทเก๊กเจริญขึ้นบนฐานของสติ เพื่อเรียนรู้และสร้างคุณภาพให้กับชีวิตตามคติที่ว่า “เมื่อจิตเกิด ปราณเกิน ชีวิตเกิด” การรักษาสภาวะของชีวิตหรือการปรับให้กลับคืนมาสู่การมีชีวิต เป็นสิ่งที่พึงแสวงหา โดยเฉพาะเป็นชีวิตที่มีขึ้นมาจากภายในตนเอง ไม่ต้องพึ่งพาสิ่งอื่นให้เกิดผลร้ายหรือผลข้างเคียง อีกทั้งได้พัฒนาจิตใจของตนเองให้พ้นจากการตอบสนองความต้องการหรือแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ ตามสัญชาตญาณ และมีการช่วยเหลือคนอื่นได้ในยามจำเป็น วิถีทางของไทเก๊กจึงเป็นวิธีทางแห่งสันติสุขของทุกคน

    ท่ารำไทเก๊กต่อเนื่องสำหรับผู้เริ่มต้น

    ในการที่จะฝึกรำไทเก๊กให้มีความต่อเนื่อง โดยที่ผู้ฝึกอาจเริ่มฝึกท่ารำในการรำไทเก๊กท่าต่างๆ มาบ้างแล้วทั้งในท่ารำเก๊กแรก 14 ท่า หรือยังไม่ได้ฝึกรำเลยก็ตาม มีท่ารำท่าหนึ่งที่ผู้ฝึกสามารถจดจำเพื่อรำต่อเนื่องไปได้ตลอดในระยะเวลาที่ตนเองต้องการ ท่านี้ก็คือ ท่าคว้าจับหางนกกระจอกŽ จากท่ารำในเก๊กที่ 1 เดิมท่านี้เป็นการรำด้วยมือขวา เมื่อนำมารำต่อเนื่องเป็นชุดก็ให้รำมือขวาสลับกับมือซ้าย ซึ่งเมื่อรำมือขวาสลับกับมือซ้ายทำให้สามารถเคลื่อนตัวไปได้ 4 ทิศ คือ ไปทางทิศตะวันออก กลับมาทางทิศตะวันตก ไปทางทิศเหนือ แล้วลงมาทิศใต้ แล้วกลับไปทางตะวันตก …..แล้วลงมาใต้ แล้วก็ไปเหนือ ก็จะเวียนอยู่เช่นนี้ ซึ่งทำให้ท่าที่ปกติรำครั้งเดียว สามารถนำมาทำเป็นท่ารำที่ต่อเนื่องได้
    สำหรับการรำให้ต่อเนื่องนั้นจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้รำใหม่ๆ ที่ยังรู้จักท่าไม่มาก เนื่องจากความต่อเนื่องนั้นสำคัญสำหรับไทเก๊กอยู่แล้ว เพราะจะทำให้ผู้รำสามารถสังเกตและพัฒนาตัวเองได้บนการเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ

    การรำท่านี้มีความสำคัญอย่างน้อยอยู่ 2 ส่วน คือ

    1.เป็นการฝึกพื้นฐานของท่าเท้าของไทเก๊ก ซึ่งมีอยู่ 2 ท่า คือท่านั่งเท้าหลังกับท่าขาคันธนู โดยการรำต่อเนื่องท่านี้จะเป็นการสลับระหว่างนั่งเท้าหลัง/ขาคันธนู นั่งเท้าหลัง/ขาคันธนูเรื่อยไป ฉะนั้นผู้รำก็จะได้ถ่ายน้ำหนักไปเท้าหน้า ถ่ายน้ำหนักคืนมาเท้าหลัง จนกระทั่งฝึกท่าเท้าจนคล่อง ส่วนความสำคัญข้อที่ 2. เนื่องจากท่านี้เป็นท่ารำที่จะได้ฝึกท่าใช้แรงหลักๆ ของไทเก๊กอยู่ 4-5 ชนิด คือ แรงผลัก แรงเหวี่ยง แรงเบียด (ด้วยไหล่) แรงฉุด และแรงกด ฉะนั้นการฝึกในท่านี้จึงเป็นการได้ฝึกผู้รำให้คุ้นเคยกับการใช้แรงในแบบต่างๆ ด้วย ฉะนั้นผู้ที่เริ่มต้นใหม่ๆ เมื่อรำท่านี้ต่อเนื่องไป ในขณะเดียวกันก็เรียนรู้ท่ารำไปเรื่อยๆ การพัฒนาตัวเองก็จะดีขึ้น

    แม้กระทั่งผู้ที่รำจบเก๊ก 1 หรือเก๊ก 2 มาแล้ว เมื่อมารำท่านี้ก็จะเป็นการฝึกเสริมที่ดี เพราะท่านี้จะให้ความสำคัญมากๆ กับท่านั่งเท้าหลังและท่าขาคันธนู ถ้าผู้รำฝึกรำท่านี้ต่อเนื่องเป็นชุด การฝึกจะทำให้ผู้รำฝึกมานั่งเท้าหลังบ่อยครั้ง ฉะนั้นเมื่อรู้สึกว่ารำไม่ดี ผู้รำก็ยังคงสามารถปรับท่าได้ในขณะที่รำอยู่ ไม่ต้องหยุดเพื่อที่จะปรับท่า ดังนั้นเราก็จะต้องสังเกตตัวเองว่าเราทำท่านั่งเท้าหลัง หรือขาคันธนูได้ดีหรือยัง

    ท่าเตรียม

    เริ่มท่า ยืนอยู่ในท่าเท้าชิดกัน หันหน้าไปทางทิศเหนือ พอเริ่มก็ยกเท้าซ้ายออกมาวางด้านข้างๆ เท้าขวา ห่างกันประมาณ 1 ช่วงไหล่ พยายามปรับปลายเท้าให้เข้าหากัน ฉะนั้นเท้าซ้ายขวาจะวางขนานกันเหมือนกับเลข11 ยืนตัวผ่อนคลาย ขาไม่ยืดตึงไม่หย่อน อยู่ในระดับที่สบายและผ่อนคลายทั้งตัว ตัวตั้งตรง แขนทั้งสองทิ้งดิ่งอยู่ข้างลำตัว ฝ่ามือหันเข้าหาตัว

    เริ่มรำ

    เริ่มต้นด้วยการสังเกตน้ำหนักของฝ่าเท้าที่กดลงพื้น แรงกดของเท้าทั้งสองจะลงสู่พื้นเท่ากัน 50-50 ผ่อนคลายลำตัว ยกแขนทั้งสองไปทางเบื้องหน้า จนลำแขนสูงระดับไหล่ คว่ำฝ่ามือลง ขณะที่คว่ำฝ่ามือนั้นให้ย่อตัวลงเล็กน้อย ขณะที่ย่อตัวลง วาด มือขวา ออกไปทางด้านขวา เป็นวงกลมจากบนลงล่าง บิดเอวมาทางด้านขวาเล็กน้อย ฝ่ามือขวาอยู่เหนือระดับท้องน้อย หงายฝ่ามือขึ้น วางมืออยู่ห่างจากท้องน้อยประมาณ 1 ฝ่ามือ มือซ้าย ที่คว่ำอยู่ ณ ระดับไหล่ ดึงเข้าหาตัวเล็กน้อยให้ปลายนิ้วชี้ไปทางด้านขวา ฝ่ามืออยู่ห่างจากอกประมาณ 1 ช่วงศอก

    ส่วนท่าเท้า เท้าขวา ซึ่งเดิมรับน้ำหนักกดพื้นอยู่ 50% เริ่มถ่ายน้ำหนัก 50% นั้นไปยังเท้าซ้ายทีละน้อยๆ ขณะที่ย่อตัวลงและบิดเอวมาทางขวา ขณะนั้นให้ยกส้นเท้าขวาขึ้น และลากปลายเท้ามาอยู่ข้างส้นเท้าซ้าย เท้าซ้ายจะรับน้ำหนักอยู่ 100% ให้วางปลายเท้าขวาห่างจากส้นเท้าซ้ายประมาณ 1 ฝ่ามือ ปลายเท้าขวา แตะพื้นไว้เฉยๆ ไม่ลงน้ำหนักเลย ท่านี้เรียกว่า ท่าอุ้มบอล ดังที่แสดงในรูป มือซ้าย-ขวา หันฝ่ามือเข้าหากันคล้ายอุ้มลูกบอลลูกใหญ่ ลำตัวหันไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อยืนเต็มท่า หยุดสักเล็กน้อย รับรู้ความสมดุลที่เกิดขึ้น

    ชุด 1 ท่ารำมือขวา

    ท่าผลัก

    ท่าต่อไป เตะเท้าขวาไปทางทิศตะวันออก ความยาว 1 ช่วงก้าว เมื่อวางเท้า ให้ส้นเท้าแตะพื้นก่อน ตำแหน่งของส้นเท้าที่แตะพื้นจะเยื้องออกมาทางขวาเล็กน้อย ให้แนวที่วางส้นเท้า อยู่ด้านหลังของส้นเท้าซ้าย (อย่าให้เกินเข้ามาในฝ่าเท้าซ้าย) เมื่อส้นเท้าแตะพื้น ค่อยๆ ถ่ายน้ำหนักตัวที่นั่งอยู่เท้าซ้าย 100% มาบนเท้าขวา จนกระทั่งฝ่าเท้าขวาเหยียบพื้นเต็มฝ่าเท้า รับน้ำหนักกด 60% น้ำหนักตัวอีก 40% ยังเหลืออยู่บนเท้าซ้าย สังเกตหัวเข่าขวาอย่าให้ล้ำเกินปลายนิ้วเท้าจะทำให้ปวดเข่าได้ การวางน้ำหนักตัวในท่านี้ เรียกว่า ท่าขาคันธนู

    ในส่วนของท่ามือนั้น ในขณะที่เคลื่อนตัวจากเท้าซ้ายมายังเท้าขวา ขณะนั้น บิดเอวตามมาด้วย ลำตัวส่วนบนจะเริ่มหันหน้ามาทางทิศตะวันออก ขณะที่บิดเอวนั้น มือขวา จะถูกปาดขึ้นมาด้วย จากที่วางหงายอยู่ที่ท้องน้อย จะถูกวาดเป็นเส้นโค้งมาอยู่ในระดับอก ไม่เกินไหล่ หันฝ่ามือเข้าหาตัว ปลายนิ้วชี้ไปทางทิศเหนือ ส่วน มือซ้าย ที่คว่ำอยู่ระดับไหล่จะถูกผลักออกไปด้านหน้าสู่ทิศตะวันออก (ด้วยแรงบิดของเอว) โดยหันฝ่ามือออกด้านนอก ปลายนิ้วชี้ขึ้นฟ้า สังเกตดูว่าปลายนิ้วของมือซ้าย จะสูงไม่เกินระดับนิ้วชี้ของมือขวา ดังที่แสดงในรูป ท่านี้เรียกว่า ท่าผลัก
    เมื่อรำอยู่ในที่นี้เต็มท่า หยุดเล็กน้อย ใช้ตาข้างใน (จิต) ของเรา สำรวจตัวเราเอง สังเกตดูว่า ร่างกายส่วนบนของเรา นับจากกระดูกเชิงกรานถึงกระหม่อม ให้อยู่ในท่าผ่อนคลาย เบาสบาย กระดูกสันหลังตั้งตรง ลดศอก ลดไหล่ลง ส่วนไหนที่เกร็งแสดงว่ายังรับน้ำหนักอยู่ ตัวยังเอนอยู่ ไหล่ยังยกอยู่ ศอกยังกางออกอยู่ ขยับท่าจนผ่อนคลาย น้ำหนักตัวอยู่บนสะโพก น้ำหนักสะโพกทิ้งลงฝ่าเท้า รับรู้ความสมดุลของร่างกายที่เกิดขึ้น

    ท่าเหวี่ยง

    เริ่มทำโดยการบิดเอวมาทางขวาเล็กน้อย ลำตัวด้านบนจะเคลื่อนไปด้วย ฝ่ามือขวาและซ้ายจะเคลื่อนตัวออกไปเล็กน้อย บิดเอวคืนมาทางซ้าย ฝ่ามือขวา-ซ้ายจะเคลื่อนกลับมา ขณะที่เคลื่อนกลับมานั้น พลิกฝ่ามือทั้งสอง โดยที่ ฝ่ามือขวา หนุนคว่ำเข้ามาด้านใน หันฝ่ามือลงพื้น ฝ่ามือซ้าย พลิกหงายขึ้น (ใช้ข้อมือเป็นจุดหมุน) หันฝ่ามือขึ้นฟ้า ฝ่ามือซ้าย-ขวา คล้ายประกบกัน แต่อยู่เยื้องกัน บิดเอามาทางซ้าย ถ่ายน้ำหนักของเท้าขวาซึ่งมีอยู่ 60% มายังเท้าซ้าย จนเท้าขวาเหลือเพียง 10% น้ำหนักตัว 90% มานั่งอยู่บนเท้าซ้าย ลำตัวหันมาทางทิศเหนือ ดังรูป การทรงตัวบนเท้าลักษณะนี้เรียกว่า ท่านั่งเท้าหลัง มือซ้ายและมือขวาที่เคลื่อนออกมาด้านซ้ายเกิดจากการบิดของเอว เมื่อมานั่งอยู่บนเท้าหลังเต็มท่า เรียกว่า ท่าเหวี่ยง เช่นเดิม เมื่อเต็มท่า หยุดท่ารำเล็กน้อย ใช้จิตรับรู้ความสมดุลของร่างกาย ผ่อนคลายส่วนที่เกร็ง ทิ้งน้ำหนักลงสู่ฝ่าเท้า

    ท่าเบียดด้วยไหล่

    เริ่มท่าด้วยการบิดเอวมาทางซ้ายเล็กน้อย แล้วบิดคืนกลับมาทางขวา (ช้าๆ โดยแนบเนื่องกันไป) มือทั้งสองเคลื่อนมาทางซ้าย ขณะที่จะเคลื่อนกลับมาด้านขวาตามการบิดของเอว มือซ้าย ที่หงายอยู่ หนุนฝ่ามือขึ้นมา 90 องศาในรูปของทรงกลม ฝ่ามือผลักออกปลายนิ้วชี้ขึ้นฟ้า ส่วน มือขวา ที่คว่ำอยู่หมุนข้อมือขึ้นมา 90 องศา ฝ่ามือตั้งฉากกับพื้น หันฝ่ามือเข้าหาตัว ปลายนิ้วชี้ออกไปทางด้านซ้ายลำแขน วางขนานกับพื้นอยู่ระดับลิ้นปี่ ห่างจากตัวประมาณ 1 คืบ มือซ้าย ที่ตั้งขึ้น วางสันมือกดบนเส้นข้อมือขวา ฝ่ามือซ้ายกดแนบไปบนแขนขวา

    ขณะที่มือซ้ายกดอยู่บนแขนขวา ขณะนั้นค่อยๆ ถ่ายน้ำหนัก 90% ที่อยู่บนเท้าซ้ายมายังเท้าขวาทีละน้อยๆ และบิดเอวต่อเนื่องมาทางด้านขวา เมื่อน้ำหนักตัวมาอยู่บนเท้าขวา 60% ลำตัวของเราจะหันมาทางทิศตะวันออกพอดี โดยมีลำแขนขวาจากศอกถึงปลายนิ้ว วางในแนวขนานกับพื้น ความสูงอยู่ระดับลิ้นปี่ ในแนวตั้งฉากกับทิศตะวันออก ส่วนมือซ้าย กดอยู่บนแขนขวา ปลายนิ้วชี้ขึ้นฟ้า สันมืออยู่บนเส้นข้อมือของข้อมือขวา ท่านี้เรียกว่า ท่าเบียดด้วยไหล่
    เมื่อรำเต็มท่า หยุดสำรวจตนเองสักนิดหนึ่ง ผ่อนคลายไหล่ ศอกซ้ายทิ้งลงไม่กางออก ลำตัวส่วนบนตั้งตรง ปล่อยน้ำหนักลง สู่ฝ่าเท้า รับรู้ความสมดุลของร่างกาย

    ท่าฉุด

    เริ่มท่าโดยการบิดเอวมาทางขวาเล็กน้อย มือซ้ายดันข้อมือขวาออกไปด้านหน้า หมุนข้อมือขวาให้ฝ่ามือคว่ำลงสู่พื้น คว่ำฝ่ามือซ้ายลง เคลื่อนปาดไปบนหลังมือขวา เมื่อมือทั้งสองแยกออกจากกัน ความห่างประมาณ 1 ช่วงไหล่ กดข้อมือทั้งสองลงให้ฝ่ามือตั้งขึ้น ดึงข้อมือทั้งสองเข้าหาตัว ลดระดับความสูงจากไหล่ลงสู่สะโพก วางข้อมือทั้งสองไว้ข้างตัว ข้างกระดูกเชิงกราน ฝ่ามือตั้งขึ้น ปลายนิ้วชี้ขึ้นฟ้า ขณะที่แยกมือทั้งสองออกจากกัน บิดเอวมาทางซ้าย และถ่ายน้ำหนักจากเท้าขวามายังเท้าซ้ายทีละน้อย มาเป็นท่านั่งเท้าหลัง ขณะนั้นบิดเอวคืนมาทางขวา ฉุดฝ่ามือทั้งสองเข้ามาหาตัว มาวางอยู่ระดับกระดูกเชิงกราน เมื่อข้อมือลงมาถึงกระดูกเชิงกราน นั่งเท้าหลังเต็มท่าพอดี ลำตัวหันหน้าไปยังทิศตะวันออก ท่านี้เรียกว่า ท่าฉุด (ดังรูป) เช่นเดิม เมื่อรำเต็มท่า หยุดสำรวจตัวเองสักเล็กน้อย รับรู้ความสมดุลของร่างกาย

    ท่ากด

    เริ่มท่าจากการถ่ายน้ำหนักตัว 90%บนเท้าซ้ายในท่านั่งเท้าหลัง ไปยังเท้าขวาทีละน้อย พร้อมกับกดฝ่ามือทั้งสองข้างไปด้านหน้า เคลื่อนระดับข้อมือจากกระดูกเชิงกรานไปยังระดับอก ปลายนิ้วชี้ขึ้นฟ้า ฝ่ามือกดไปยังเบื้องหน้า ลักษณะการเคลื่อนของข้อมือจากกระดูกเชิงกรานไปยังระดับอกให้เคลื่อนในรูปของเส้นโค้ง เหมือนเคลื่อนไปตามขอบหน้าปัดนาฬิกา จากเลข 3 ไปยังเลข 12 เมื่อฝ่ามือมาหยุดในระดับไหล่ ลำตัวเคลื่อนมาอยู่บนขาคันธนูพอดี ท่านี้เรียกว่า ท่ากด (ดังรูป)
    เมื่อเต็มท่าสังเกตตัวเองว่า ฝ่ามือทั้งสองห่างกันเท่ากับ 1 ช่วงไหล่ แขนที่ผลักออกไป ไม่สุดจนตึง ทิ้งศอกทั้งสองลงสู่เบื้องล่าง ไม่กางศอกออก ผ่อนคลายไหล่ลดไหล่ลง ลำตัวตั้งอยู่บนสะโพก น้ำหนักกดลงบนฝ่าเท้า หันตัวไปทางทิศตะวันออก แนวของหัวไหล่ตั้งฉากกับทิศตะวันออก รับรู้ถึงความสมดุลของท่ารำ

    เมื่อรำจบถึงท่านี้ เรียกว่ารำจบ 1 ชุด เป็นการรำด้วยมือขวา เมื่อต้องการรำต่อเนื่อง ผู้รำเปลี่ยนท่ารำชุดนี้มารำด้วยมือซ้าย ซึ่งจะมีอยู่ 5 ท่าเช่นกัน คือ ท่าผลัก ท่าเหวี่ยง ท่าเบียดด้วยไหล่ ท่าฉุด และท่ากด วิธีการเปลี่ยนมารำด้วยมือซ้าย อาศัยท่าเชื่อมต่อ 1 ท่า คือ ท่าอุ้มบอล โดยมีวิธีการเปลี่ยนดังนี้
    การต่อท่าไปรำมือซ้าย

    เมื่ออยู่ที่ท่ากด ตัวผู้รำอยู่บนขาคันธนู น้ำหนักตั้งอยู่ เท้าขวา 60% หันหน้าไปทาง ทิศตะวันออก
    เริ่มเปลี่ยนโดยการบิดตัวมาทางซ้าย ใช้ส้นเท้าขวาเป็นจุดหมุน บิดปลายเท้าขวา มา 90 องศา ให้ปลายเท้าชี้ไปทางทิศเหนือ มือทั้งสองเคลื่อนมาตามการหมุนของเอว เมื่อลำตัวหันมาทางทิศเหนือ บิดเอวมาทางซ้ายต่ออีกเล็กน้อย ขณะนั้น วาด มือซ้าย ออกเป็นเส้นโค้ง จากบน (ระดับอก) ลงล่าง (สู่ระดับท้องน้อย) ฝ่ามือหงายขึ้น วางห่างจากท้องน้อย 1 ฝ่ามือ มือขวา คว่ำลงอยู่ระดับอก ดึงฝ่ามือขวาเข้าหาตัว ปลายนิ้วชี้ไปทางซ้าย ฝ่ามือห่างจากตัว 1 ช่วงศอก มือซ้าย-ขวา หันหน้าประกบกัน เหมือนอุ้มบอลลูกใหญ่ไว้

    ส่วนเท้า ขณะที่วาดมือซ้ายจากบนลงล่าง และกำลังดึงมือซ้ายเข้าหาท้องน้อย ขณะนั้นลากเท้าซ้ายตามมาด้วย โดยยกส้นเท้าขึ้น แล้วลากปลายเท้าซ้ายมาวางอยู่ข้างส้นเท้าขวา ห่างกันประมาณ 1 ฝ่ามือ ลำตัวหันไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เป็น ท่าอุ้มบอล

    ชุด 2 ท่ารำมือซ้าย

    ท่าผลัก

    เริ่มจากการเตะเท้าซ้ายออกไปทางทิศตะวันตก บิดเอวมาทางซ้าย ปาด มือซ้าย จากล่าง (ท้องน้อย) ขึ้นบน (ระดับอก) หันฝ่ามือซ้ายเข้าหาตัว วางขนานพื้น ปลายนิ้วชี้ไปทางทิศเหนือ มือขวา ผลักไปทางด้านหน้า ตั้งฝ่ามือ ปลายนิ้วชี้ขึ้นฟ้า น้ำหนักตัวอยู่บนขาคันธนู (ลักษณะการเคลื่อนตัวดูท่าผลักมือขวา)

    ท่าเหวี่ยง

    เริ่มจากบิดเอวไปทางซ้ายเล็กน้อย แล้วบิดคืนมาทางขวา พลิกฝ่ามือทั้งสอง ถ่ายน้ำหนักมานั่งเท้าหลัง น้ำหนัก 90% อยู่บนเท้าขวา
    ท่าเบียดด้วยไหล่

    บิดเอวมาทางขวาเล็กน้อยแล้วบิดคืนมาทางซ้าย บิดแขนซ้ายขึ้น 90 องศา หมุนฝ่ามือขวาในรูปทรงกลม กดสันมือขวาบนเส้นข้อมือซ้าย บิดเอวไปทางซ้าย ถ่ายน้ำหนักไปเท้าซ้าย เบียดด้วยไหล่ ถ่ายน้ำหนักตัวไปอยู่บนขาคันธนู

    ท่าฉุด

    บิดเอวไปทางซ้าย บิดคืนมาทางขวา ปาดฝ่ามือขวาไปบนหลังมือซ้าย แล้วแยกมือทั้งสองออก ถ่ายน้ำหนักตัวไปอยู่บนขาคันธนู

    ท่ากด

    ถ่ายน้ำหนัก จากเท้าขวาไปยังเท้าซ้าย เป็นขาคันธนู กดฝ่ามือทั้งสองไปด้านหน้าเป็นแนวโค้ง จาก 3 นาฬิกา ไปยัง 12 นาฬิกา
    เมื่อรำถึงท่านี้จะเป็นการรำจบชุดที่ 2 ท่ารำซ้ายมือ เมื่อเราต้องการรำต่อเนื่องไปอีก ก็เปลี่ยนมารำมือขวา และที่สำคัญต้องมีช่วงต่อท่า ซึ่งก็ใช้ท่าอุ้มบอลเหมือนเดิม แต่การต่อท่ารอบใหม่นี้ (ขึ้นมือขวาใหม่) จะง่ายกว่าการต่อท่าไปรำมือซ้าย

    การต่อท่าไปรำมือขวา

    เมื่ออยู่ในท่ากด ตัวเราอยู่บนขาคันธนู น้ำหนักตัวบน เท้าซ้าย 60% หันหน้าไปทาง ทิศตะวันตก
    เริ่มเปลี่ยนโดยการบิดตัวมาทางขวา เท้าซ้ายยืนมั่นคง วาดมือขวาเป็นแนวโค้งออกไปทางขวา จากบน (ระดับอก) ลงล่าง (ท้องน้อย) ยกส้นเท้าขวา ลากปลายเท้ามาวางข้างๆ ส้นเท้าซ้าย ห่างหนึ่งฝ่ามือ อยู่ในท่าอุ้มบอล ลำตัวหันไปในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
    ชุด 3 ท่ารำมือขวา
    เตะเท้าขวาไปทางทิศเหนือ บิดเอวถ่ายน้ำหนักไปยังเท้าขวา เป็นขาคันธนู ผลักฝ่ามือทั้งสองออกมาเป็น ท่าผลัก รายละเอียดการเคลื่อนไหวเหมือนชุดที่ 1 รำต่อเนื่องจนถึงท่ากด เป็นอันจบชุดที่ 3
    ชุด 4 ท่ารำมือซ้าย

    เมื่อจบชุดที่ 3 จะรำต่อเนื่องไปรำมือซ้าย ก็ใช้ การต่อท่าไปรำมือซ้ายŽ ตามราย-ละเอียดข้างต้น แล้วรำท่าผลักจนถึงท่ากดอีก

    การรำชุดที่ 4 นี้เป็นการเคลื่อนตัวไปทางทิศใต้ เมื่อรำครบ 4 ชุด เราก็จะเคลื่อนตัวไปครบทั้ง 4 ทิศ แต่จะเป็นมือขวา 2 ทิศ คือตะวันออกกับเหนือ และมือซ้าย 2 ทิศ คือตะวันตกกับใต้ โดยปกติผู้รำจะรำต่ออีก 4 ชุด รำมือขวาก็จะเพิ่มมาเป็นตะวันตก กับใต้ มือซ้ายก็จะเพิ่มมาเป็นตะวันออก กับเหนือ ทั้งซ้ายและขวาจะเคลื่อนครบ 4 ทิศทั้งคู่ และท่ารำสุดท้ายจะหันหน้าไปทางทิศเหนือ จบในทิศเหนือ เหมือนการเริ่มต้นท่า

    หากผู้รำสนใจจะรำรอบที่ 2 ก็จะต่อท่ารำดังนี้

    ชุดที่ 5 ท่ารำมือขวา

    จากท่ากดของท่ารำมือซ้าย ยื่นเท้าซ้ายมั่นคง วาดมือขวา เท้าขวามาอยู่ในท่าอุ้มบอล รายละเอียดเหมือน การต่อท่าไปรำมือขวาŽ แต่ทิศทางในท่าอุ้มบอลจะหันหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ และเริ่มท่ารำโดยการเตะเท้าขวาออกไปยังทิศตะวันตก บิดเอวผลักฝ่ามือเป็นท่าผลัก แล้วรำต่อเนื่องจนถึงท่ากด

    ชุดที่ 6 ท่ารำมือซ้าย

    ใช้ การต่อท่าไปรำมือซ้ายŽ ท่าอุ้มบอล จะหันไปในทิศตะวันออกเฉียงใต้ เตะเท้าซ้ายไปยังทิศตะวันออก บิดเอว ถ่ายน้ำหนักไปบนเท้าซ้ายข ผลักไปยังทิศตะวันออก รำต่อเนื่องจนกระทั่งถึงท่ากด

    ชุดที่ 7 ท่ารำมือขวา

    ใช้ การต่อท่าไปรำมือขวาŽ ท่าอุ้มบอลจะหันไปในทิศตะวันออกเฉียงใต้ เตะเท้าขวาไปยังทิศใต้ แล้วรำต่อเนื่องจนถึงท่ากด

    ชุดที่ 8 ท่ารำมือซ้าย

    ใช้ การต่อท่าไปรำมือซ้ายŽ ท่าอุ้มบอลจะหันไปในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เตะเท้าซ้ายไปยังทิศเหนือ แล้วรำต่อเนื่องจนถึงท่ากด

    เมื่อรำครบ 8 ชุด จะเป็นการรำ 4 ทิศ ครบ 4 ทิศ ทั้งมือซ้ายและมือขวา การจบชุดการรำจำทำดังนี้

    ท่าจบ

    อยู่ในท่ากดของการรำมือซ้าย น้ำหนัก 60% อยู่บนเท้าซ้ายในท่าขาคันธนู ลำตัวหันไปทางทิศเหนือ
    เริ่มท่าโดยการถ่ายน้ำหนัก 40% ของเท้าขวา (ซึ่งตั้งอยู่เท้าหลัง) มายังเท้าซ้ายทีละน้อย จนส้นเท้าขวาพ้นจากพื้น และปลายเท้าหลุดจากพื้นตามมา ยกเท้าขวามาวางอยู่ข้างๆ เท้าซ้าย ห่างกันประมาณ 1 คืบ ฝ่าเท้าทั้งสองประกบกันเป็นเลข 11

    ท่ามือ ขณะที่ยกเท้าขวาขึ้นมาจากพื้น มือทั้งสองที่อยู่ในท่ากด วาดเป็นวงกลมออกทางด้านข้างทั้งซ้าย-ขวา กดฝ่ามือลงกับพื้นเมื่อระดับลงมาถึงท้องน้อย วาดปลายนิ้ว ทั้งสองมือชี้เข้าด้านใน ฝ่ามือหงายขึ้นรับฟ้า เคลื่อนฝ่ามือทั้งสองเข้าหากัน จนข้อมือซ้อนกันเป็นรูปกากะบาด มือซ้ายอยู่บน มือขวาอยู่ล่าง เมื่อข้อมือทั้งสองซ้อนกันอยู่ที่ระดับท้องน้อย เท้าขวาที่ยกมาจากด้านหลัง มาวางอยู่ข้างเท้าซ้าย ปลายเท้าขวาแตะถึงพื้นพอดี

    ถ่ายน้ำหนักจากเท้าซ้ายมายังเท้าขวา เท้าขวาจะเริ่มเหยียบพื้นจนแนบสนิท ขณะนั้นยกมือทั้งสองที่ไขว้กันอยู่ขึ้นมาจากท้องน้อยสู่ระดับอก โดยที่ข้อมือทั้งสองไขว้กันอยู่ เมื่อถึงระดับอกให้ห่างจากอก 1 ช่วงศอก ลำตัวตั้งตรง ช่วงขายืนหย่อนเข่าอยู่

    พลิกฝ่ามือ แล้วแยกมือทั้งสองออกจากกัน ความห่างไม่เกินหนึ่งช่วงไหล่ กดมือทั้งสองข้างลง ขณะที่กดฝ่ามือลง ให้ยืดตัวขึ้น ฝ่ามือทั้งสองที่กดพื้นกับตัวที่ยืดขึ้นให้จบพร้อมกัน ลดฝ่ามือทั้งสองมาวางแนบขวา เป็นอันจบท่ารำต่อเนื่องของท่าคว้าจับหางนกกระจอก 4 ทิศ

    ข้อควรสังเกตในการฝึกฝน

    การนั่งเท้าหลัง-ขาคันธนูที่สำคัญคือการสังเกตจุดลงน้ำหนักของตัวผู้รำ ซึ่งปกติจะอยู่ที่ต้นขาและที่ปลีน่อง ซึ่งเกิดจากการเกร็งกล้ามเนื้อเมื่อรับน้ำหนัก ผู้ฝึกจะต้องเรียนรู้ที่จะเคลื่อนจุดรับน้ำหนักมาที่ฝ่าเท้า โดยการผ่อนคลายกล้ามเนื้อต้นขาและน่อง แล้วกดน้ำหนักลงบนฝ่าเท้า
    การรำจึงต้องหมั่นรับรู้น้ำหนักที่กดอยู่บนฝ่าเท้าทั้งสองตลอดเวลา

    เมื่อฝึกเปลี่ยนจุดรับน้ำหนักมาบนฝ่าเท้าได้ การเคลื่อนไหวไปมาระหว่างท่านั่งเท้าหลังและขาคันธนู จะเกิดจากแรงดันของฝ่าเท้าหลังไปยังเท้าหน้า และแรงดันจากเท้าหน้ากลับมาเท้าหลัง ซึ่งจะต่างจาก แรงของการยืดตัวและหดตัวของกล้ามเนื้อต้นขาและน่อง

    เมื่อเคลื่อนตัวจากนั่งเท้าหลังไปขาคันธนู น้ำหนักตัว 90% ที่กดอยู่บนเท้าหลัง แรงกดของเท้าจะเคลื่อนน้ำหนักตัวให้ผ่านมาตามขา สะโพก แล้วถ่ายไปยังเท้าหน้า เท้าหน้าที่มีแรงกดอยู่ 10% จะเพิ่มแรงกดขึ้นจนถึง 60% เป็นท่าขาคันธนู

    ในขณะที่รำ ถ้าผู้รำสามารถปล่อยจิตให้ว่าง ให้กระแสของความรู้สึกซึ่งวิ่งมาจากฝ่าเท้าทั้งสอง มาปรากฎและจิตรับรู้ได้พร้อมๆ กัน บางทีการกระทำเช่นนี้ เราเรียกว่า การขยายจิตให้กว้าง ซึ่งโดยปกติ จิตจะคุ้นเคยกับการรับรู้ เป็นจุดๆ เฉพาะจุด การรับรู้หลายจุดหรือทุกจุดไปพร้อมๆ กัน เป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝน-เรียนรู้ ถ้าหากเราสามารถรับรู้แรงกดของเท้าทั้งสองได้พร้อมๆ กัน เมื่อเราถ่ายน้ำหนักจากเท้าหนึ่งไปยังอีกเท้าหนึ่ง เราจะเห็นแรงดันและแรงฉุดระหว่างเท้าทั้งสองอย่างประสานกลมกลืนกัน ซึ่งโดยปกติเท้าทั้งสองก็ทำสิ่งนี้อยู่แล้ว เพียงแต่เราไม่เคยรับรู้มัน เมื่อเรารับรู้มัน สิ่งเหล่านี้ก็จะยิ่งแสดงตัวชัดขึ้น และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

    เช่นเดียวกัน เมื่อเราเคลื่อนตัว จากขาคันธนูมานั่งเท้าหลัง ปรากฏการณ์ของการเคลื่อนตัวของแรงบนเท้าทั้งสองก็จะแนบเนื่องกันตามที่กล่าวแล้วข้างต้น แต่ประสบการณ์ในแรงก็จะแตกต่างกันไป ตามร้อยละของน้ำหนักตัวที่ถูกเคลื่อนและทิศทางของการเคลื่อนในท่ารำ

    การฝึกการเคลื่อนตัวในท่ารำ 4 ทิศนี้ ผู้ฝึกจะได้เรียนรู้การเคลื่อนตัวของแรงอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับปรับท่านั่งเท้าหลังและขาคันธนูให้ถูกต้อง

    เมื่อผู้ฝึกท่าเท้าได้ดีแล้ว นำมาประยุกต์กับท่าเอว ซึ่งมีหลักการอยู่ที่ ความว่างŽ คือ ปล่อยให้ส่วนบนนั้นว่างเปล่า การเคลื่อนไหวมีเพียงแต่เอวเป็นผู้เคลื่อนไหว การบิดตัวไปทางซ้าย ทางขวา ไหล่ แขน มือ ไม่ปรากฏการณ์เคลื่อนไหว สิ่งเหล่านี้มีอยู่ แต่ ไม่กระทำ การเคลื่อนไหวออกมา การเคลื่อนไหวยังคงเป็นการเคลื่อนไหวของเอว เมื่อเอวหันตัวทางทิศตะวันออก แต่ไหล่ยังคงอยู่ทิศเหนือเหมือนเดิม ไหล่ กระทำ การไม่เคลื่อนไหว เมื่อเอวหันไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ไหล่หันต่อเนื่องไปยังทิศตะวันตก ไหล่ กระทำ การเคลื่อนไหว

    เมื่อเรียนรู้การเคลื่อนไหวส่วนบน อย่างว่างเปล่าได้ดีแล้ว และนำมาประยุกต์ใช้กับท่าฝ่ามือของท่าคว้าจับหางนกกระจอก ซึ่งมีแรงหลัก 5 แบบตามที่กล่าวไว้ข้างต้น จะทำให้ผู้ฝึกรำ 4 ทิศ ได้รับคุณประโยชน์อย่างมหันต์

    การที่ท่าฝ่ามือมีการเคลื่อนไหวที่หลากหลาย ขณะที่การเคลื่อนไหวของเอวมีเพียงหมุนซ้าย หมุนขวา เคลื่อนหน้า ถอยหลัง และหยุดนิ่ง การรำท่าฝ่ามือบนหลักของความว่าง จึงเป็นโจทก์สำคัญที่ผู้ฝึกรำจะต้องหาคำตอบให้เจอในประสบการณ์การรำของตน

    การขยายความหลักของ ความว่างŽ ด้วยการ ไม่กระทำŽ อาจช่วยให้ผู้รำเข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น วาดฝ่ามือเป็นเส้นโค้ง พลิกฝ่ามือ 90 องศา กดสันมือบนเส้นข้อมือขวา สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการเคลื่อนไหวของมือ หากการเคลื่อนไหวเหล่านี้ เนื่อง อยู่กับการเคลื่อนไหวของเอว ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป มากจนการเคลื่อนไหวของมือเป็นการเคลื่อนอย่างอิสระ อีกทั้ง แรงของการพลิกฝ่ามือ แรงกด ฯลฯ ไม่ได้มาจากกล้ามเนื้อของมือและแขนเป็นสำคัญ แต่เป็นการส่งทอดมาจากเอว การเคลื่อนไหวที่ปรากฏขึ้นที่ฝ่ามือสามารถรับรู้ได้ว่า เป็นการเคลื่อนไหวของเอว

    เมื่อเอวเป็นตัวส่งถ่ายของแรง โดยมีฐานหรือฝ่าเท้าเป็นจุดกำเนิดของแรง การรำ 4 ทิศที่ดี ในที่สุดอาจเหลือเพียงฝ่าเท้าและจุดใช้แรง

    การทำความเข้าใจท่ารำ 4 ทิศมีอยู่หลายแบบ ในส่วนที่นำมาเสนอนี้ มีความมุ่งหวังที่จะให้ผู้รำ เกิดความสนใจทั้งต่อท่ารำ แรงที่เคลื่อนไหวอยู่ภายใน และภาวะของจิตใจที่พัฒนาไปตามทักษะของการรำ

    ประโยชน์ในการรักษาโรค และความผิดปกติของร่างกาย

    ‘ สำหรับผู้สูงอายุ เมื่อฝึกท่ารำชุดนี้ทุกวัน เพียง 1-2 สัปดาห์ น้ำหนักของฝ่าเท้าจะมากขึ้น เวลายืนเดินจะมั่นคง เมื่อฝึกจนร่างกายผ่อนคลายดีแล้ว จะหลีกเลี่ยงปัญหามือเท้าไม่มีแรง เวลาฝึกรำ ผู้สูงอายุไม่จำเป็นต้องย่อตัวลงต่ำแค่พอประมาณ แต่ต้องย่อตัวเพื่อให้ฝ่าเท้าได้รับน้ำหนัก

    ‘ การบิดเอวในท่ารำ ถ้าผู้รำมีความละเอียดอ่อน ปล่อยให้จิตได้รับรู้การเคลื่อน ตัวของกระดูกสันหลัง จะเห็นการเคลื่อนตัวของกระดูกสันหลัง ด้วยแรงบิดที่เป็นวงสว่าน จากก้นกบ ขึ้นตามแนวกระดูกสันหลังสูงขึ้นไปทีละข้อ ไปยังไหล่ทั้งสองข้างและสู่ท้ายทอย การบิดตัวของกระดูกสันหลังตามแนวตั้ง ไม่โน้มตัวไปข้างหหน้า ไม่แอ่นตัวไปข้างหลัง จะทำให้กระดูกสันหลังเคลื่อนตัวในภาวะสมดุลย์ ไม่บดกระดูกสันหลังไปมุมใดมุมหนึ่ง เป็นการออกกำลังกายให้กระดูกสันหลังถ้วยความอ่อนนุ่ม เบา และเสริมแรง นอกจากเป็นการทำกายบริหารให้กับกระดูก เนื้อเยื่อ เส้นเอ็น ตามแนวกระดูกสันหลังแล้ว ยังเป็นการบำรุงเลี้ยงระบบประสาทอีกด้วย อีกทั้งผู้ที่มีปัญหาแคลเซี่ยมเกาะกระดูก เวลาตื่นเช้ารู้สึกหลังไหล่หนักอึ้ง เหมือนแบกขื่อเอาไว้ ฝึกท่าชุดนี้ทุกวัน อาการจะดีขึ้นจนหายขาด

    ‘ การรำได้อย่างต่อเนื่องและผ่อนคลาย จะทำให้ลมหายใจเนียนลึกและยาวขึ้น ทำให้ถุงลมในปอดทำงานอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ถ้าหากผู้รำสามารถเรียนรู้ลักษณะการหายใจที่เกิดขึ้นในขณะรำ แล้วนำไปทดลองใช้ในชีวิตประจำวันในท่านั่งนอนหรือยืน สังเกตดูลมหายใจที่เกิดขึ้นในปอด จะสังเกตเห็นถึงไออุ่นที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับลมหายใจ ไออุ่นๆ นี้ถือเป็นการปรากฏตัวของชีหรือพลังชีวิต ปอดที่ถูกบำรุงเลี้ยงด้วยชีอย่างต่อเนื่องจะทำให้สุขภาวะของปอดที่เคยพร่องไปปรับสภาพให้ขึ้น ผู้ฝึกที่มีปัญหาด้านสุขภาพกับปอด เช่น วัณโรค ฯลฯ ก็จะช่วยบรรเทาอาการได้ดีขึ้น

    ‘ การฝึกโดยเรียนรู้แรงกดที่ฝ่าเท้า และส่งแรงนั้นไปยังขา เอว และส่วนที่ต้องการใช้แรง จะทำให้เกิดการโคจรของเลือดลมหรือชีไปทั่วร่างกาย ไปตามกระดูกเส้นเอ็นและเนื้อเยื่อ อีกทั้งการรำบนพื้นฐานการรำที่ผ่อนคลาย จะเกิดผลดีต่อสุขภาพโดยรวม ดังนี้ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารและโรคอาหารไม่ย่อย โรคประเภทวิตกกังวลสูง ปวดหัว นอนไม่หลับ รักษาโรคโลหิตจาง โรคความดันสูง ความดันต่ำ โรคหัวใจ เช่น หัวใจอ่อนแรง รักษาโรคทางกระดูก กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เช่น รูมาติ เหน็บชา ฯลฯ
    นอกเหนือจากโรคต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว ยังมีผู้ที่เคยมีประสบการณ์การในการรำไทเก๊กระบุว่า ในการรำไทเก๊กนั้นแม้ผู้ที่ป่วยด้วยโรคหอบหืด โรคเบาหวาน โรคกระเพาะอาหารพิการ ผู้ที่ผ่าตัดใหญ่ถึง 3 ครั้ง หรือแม้กระทั่งผู้ที่ป่วยเป็นอัมพฤกษ์เกือบถึงขั้นเป็นอัมพาต หรือมะเร็ง เมื่อได้



    ที่มา : http://www.mannature.com/<!-- google_ad_section_end -->
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  18. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    มาทดลองสัมผัสพลังปราณชี่กันเถอะ

    ปราชญ์จีนโบราณพบว่ามีพลังบางอย่างที่มีอยู่ในสภาพแวดล้อมและทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัว ซึ่งส่งผลกระทบต่อกันและกัน พลังนี้เรียกว่า ปราณชี่ หรือ ขี่ ซึ่งสอดคล้องกับการค้นพบของชาวอินเดียที่เรียกว่า ปราณจักระ ในวิชาโยคะ และชาวตะวันตกเรียกว่า พลังออร่า การกล่าวถึงปราณชี่โดยไม่มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ ย่อมเป็นสิ่งเลื่อนลอยไม่สามารถเชื่อถือได้ ฉะนั้นคุณจะต้องทดลองมาสัมผัสปราณชี่ในตัวของคุณเอง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

    1.ยกมือทั้งสองข้างขึ้นมาให้อยู่ในระดับอก งอข้อศอก และกางฝ่ามือหันเข้าหากัน อยู่ในท่าเหมือนกำลังประคองถือแก้วเจีรนัยใบใหญ่ไว้ในมือโดยฝ่ามือทั้งสองข้างขนานกันห่างกันประมาณ 1 คืบซึ่งเหมือนกับท่าจะตบมือ

    2.ทำความรู้สึกในร่างกายทุกส่วนให้ผ่อนคลาย โดยเฉพาะที่แขนและฝ่ามือ

    3.จินตนาการว่ามีพลังออกมาจากฝ่ามือทั้งสองข้างไปรวมกันในบริเวณที่ว่างระหว่างฝ่ามือทั้งสองเป็นลูกบอลแห่งพลัง

    4.ค่อยๆ ขยับมือทั้งสองข้างเข้าหากันจนกระทั่งสัมผัสถึงแรงผลักที่เกิดขึ้นระหว่างฝ่ามือ นั่นคือพลังปราณชี่ของคุณ

    5.เพื่อให้สัมผัสได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ลองขยับมือขึ้นโดยอีกมือหนึ่งลงเหมือนกำลังปั้นดินเหนียว คุณจะได้รับรู้ถึงการมีอยู่ของพลังอย่างแท้จริง ห้ามไม่ให้ฝ่ามือแตะกันเด็ดขาด

    หมายเหตุ ห้ามไม่ให้ฝ่ามือแตะกันเป็นอันขาด พยายามรักษาสมาธิและความผ่อนคลายไว้ ถ้าคุณยังทำไม่ได้แสดงว่าคุณตั้งใจมากเกินไป จะต้องให้ความรู้สึกผ่อนคลาย แล้วลองใหม่ตั้งแต่ต้น
     
  19. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    <TABLE><TBODY><TR><TD width="10%">[​IMG] </TD><TD class=username style="PADDING-RIGHT: 8px" width="25%">วีรพัฒน์ เงาธรรมทรรศน์


    ว่าด้วย พลังปราณ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE><TBODY><TR><TD width="10%"></TD><TD class=username style="PADDING-RIGHT: 8px" width="25%">ในตำราแพทย์แผนไทย ไม่ค่อยกล่าวถึง พลังปราณ
    แต่จากประสบการณ์ผม และ การแพทย์แผนจีน ยอมรับการมีอยู่จริง ของพลัง(ลม)ปราณ
    มีกลุ่มอาการ พลังปราณพร่อง หรือเรียก ชี่พร่อง
    ในการดูแลสุขภาพ เชิงวัฒนธรรม หรือภูมิปัญญา จะให้ความสนใจ เรื่อง ลมปราณ หรือ ลมอาณาปราณสติ
    และนักปราชญ์ไม่คิดว่า การออกกำลังกายหนัก อย่างที่ฝรั่งและ นักบริหารสุขภาพ ชอบส่งเสริม อย่างการวิ่งๆๆ จะเหมาะสมกับคน
    ผมชอบแหย่ว่า ธรรมชาติคน มีสองขา ไม่ล่าสัตว์ จึงไม่จำเป็นต้องไปฝึกวิ่ง
    แต่หากคิด จะต้องเป็นผู้ล่าสัตว์ ก็จงไปฝึกวิ่ง และเตรียมรับพิษของการวิ่ง ไว้ด้วย
    นักปราชญ์เดิมทั้งหลาย จะมีสูตรฝึกบริหารเติมพลังปราณ อย่างละเอียดอ่อน นุ่มนวล
    ผมได้เห็นได้อ่าน บทคำสอน ตอนหนึ่งของ ท่านพ่อลี หรือหลวงพ่อลี ผู้ก่อตั้งวัดอโศการาม ที่บางปู สมุทรปราการ
    คือ ลม เป็นธาตุที่สำคัญ ลมจะควบคุมธาตุไฟ
    ไฟ จะควบคุม น้ำ
    น้ำจะควบคุม ธาตุดิน (น่าจะหมายถึง อวัยวะ )
    จึงต้องรู้จักฝึก และ บริหาร ลม

    การที่มนุษย์เรามีพลังลมปราณพร่อง เพราะอ่อนแอ จากสารพัดสาเหตุ จึงสามารถฝึกบริหาร ลม หรือ ฝึกลมอาณาปราณสติ เพิ่มพลังลมปราณ ด้วยรูปแบบ ต่างๆ ตามจริตนิสัย ของบุคคล
    เสียดายที่ภูมิปัญญา แพทย์แผนไทย ไม่ค่อยได้เน้น ตรงนี้ แต่ออกไปทาง ฤาษีดัดตน
    ในทัศนะของผม ผมยกย่อง ให้การบริหาร ลมปราณ เป็นสุดยอดแก่นวิชาอย่างง่ายที่สำคัญ ของมนุษย์ผู้ใฝ่ดี ใฝ่สูง ต้องรู้ต้องฝึกตั้งแต่เด็ก
    ฐานะที่เป็น ยาอายุวัฒนะอย่างแรง สรรพคุณ สารพัดประโยชน์ อย่างสุดยอดเอนกประสงค์ ไม่สิ้นเปลืองใดๆ แม้กระทั่งเวลา เพราะเป็นการใช้เวลาให้หมดไปอย่างคุ้มค่าที่สุด
    ผู้ไม่รู้จักฝึก ไม่เคย ไม่คิดฝึก ปราณ ก็คงเป็นเพียงมนุษย์ธรรมดา ไม่อาจเป็นยอดมนุษย์ผู้ที่พึ่งตนเอง และเป็นที่พึ่งให้กับผู้อื่น และค่อยแต่จะเอาปัญหาของตนเองไปรบกวนผู้อื่น
    ผมยังคิดเชิงก้าวหน้าว่า นักบริหารระบบสุขภาพของชาติ หากไม่เข้าใจเรื่อง ลมปราณกับสุขภาพ ก็ลาออกไปทำงานอื่น อย่าคิด ไปบริหารสุขภาพประชาชน เพราะได้อำนาจบริหารเงิน แต่ไม่มีอำนาจความรู้ชี้นำ สังคมไทย ประชาชนไทย ท่านกำลังทำ บาปกรรมเปล่าๆ ให้คนไทยหลงปลื้มกับการรักษาปลายเหตุ กินยาฟรี โดยไม่ส่งเสริมความแข็งแรงพื้นฐานให้กับประชาชนไทย
    โปรดรู้ไว้ ASIA VALUE เป็นทิศทางโลก GLOBAL DIRECTION
    ไม่ใช่ WESTERN VALUE แล้วครับ


    หมวดหมู่: การแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ
    คำสำคัญ: ปราณ ลม
    สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ [​IMG]
    สร้าง: ส. 31 พฤษภาคม 2551 @ 23:45 แก้ไข: ส. 31 พฤษภาคม 2551 @ 23:45 ขนาด: 6129 ไบต์

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  20. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    <table class="text" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td align="middle">[​IMG] </td></tr><tr><td class="center">การไหลเวียนของพลังปราณใน 12 ยาม
    การดูแล สุขภาพ แบบจีน<o></o>
    อาหาร ที่เรา รับประทาน เข้าสู่ ร่างกาย นั้น ร่างกาย จะนำ ไปสร้าง เป็น พลังปราณ หรือ พลังงานรวม โดยการ ไหลเวียน ไปกับ โลหิต สู่อวัยวะ ภายใน ทั่วร่างกาย ครบหนึ่งรอบ ใน 24 ชั่วโมง หรือ 12 ยาม แต่ละจุดใช้เวลา 2 ชั่วโมง หรือ 1 ยาม ในการ ไหลเวียน สู่อวัยวะ ภายใน แต่ละส่วนนั้น เริ่มต้นจาก ปอด สิ้นสุดที่ ตับ โดยเริ่ม นับจาก ยาม เวลาที่ พระอาทิตย์ขึ้น ชาวจีน เริ่มนับ จากยาม a เอี๊ยง เวลา 03.00 ถึง 04.59 น. เป็นเวลา ที่พระอา ทิตย์ขึ้น<o></o>
    <o></o>

    1.ปอด เวลา 03-04.59 น. ยาม เอี๊ยง<o></o>
    พลังงาน จะเคลื่อนเข้าสู่ปอด ถ้าปอด แข็งแรง ผู้นั้น จะหลับ สนิท ถ้าเป็น โรคปอด หรือ สูบบุหรี่ จะไม่ รู้สึก สบายตัว และจะ ถูกปลุก ให้ตื่น ช่วงนี้ จะไอ และ หายใจขัด <o></o>
    <o></o>

    2.ลำไส้ใหญ่ เวลา 05-06.59 น. ยาม เบ้า<o></o>
    พลังงาน จะเคลื่อน เข้าสู่ ลำไส้ใหญ่ เป็นช่วง ที่เราต้อง ถ่ายอุจจาระ ร่างกาย จะต้อง เอาของเสีย ทิ้งให้ หมด ก่อน 07.00 น. ถ้า ไม่ถ่าย ร่างกาย จะเริ่ม ดูดซึม ของเสีย เข้าสู่ ระบบเลือด นี่เป็น สาเหตุ ให้เกิด ริ้วรอย บนใบหน้า เกิดไขมัน เสีย ๆ ควรออก กำลังกาย ช่วงนี้ เพื่อให้ ลำไส้ใหญ่ ขยับตัว และเพิ่ม ศักยภาพ ในการ ขับเคลื่อน ของเสีย <o></o>
    <o></o>

    3.กระเพาะอาหาร เวลา 07-08.59 น. ยาม ซิ้ง<o></o>
    กระเพาะ อาหาร จะ ทำงานได้สูงสุด ในช่วงนี้ เท่านั้น กระเพาะ อาหาร จะต้อง การอาหาร และจะ หลั่งน้ำย่อย มากที่สุด ผู้ที่ ไม่รับประทาน อาหารเช้า จะมี โอกาส เป็นโรคกระเพาะ อาหาร และ จะเกิด โรคหัวใจ ด้วย เพราะ ไม่ได้ สารอาหาร สำหรับ ทุกอวัยวะ เพื่อกลับ ไปสร้าง พลังงานรวม <o></o>
    <o></o>

    4.ม้าม เวลา 09-10.59 น. ยาม จี๋
    <o></o>
    ม้าม จะเริ่ม เก็บพลังงาน สำรอง เก็บสาร อาหาร จากการ ย่อยของ กระเพาะอาหาร การที่ เราไม่ได้ รับประทาน อาหารเช้า ร่างกาย จะดึง พลังงาน สำรอง ออกมาใช้ พลังงานรวม จะหายไปร่างกาย จะอ่อนแอ ไม่มีแรง

    5.หัวใจ เวลา 11-12.59 น. ยาม โง่ว<o></o>
    พลังงาน จะเคลื่อนที่ ไปที่ หัวใจ ถ้าร่างกาย ไม่ได้ สารอาหาร หัวใจ จะทำงาน ลำบาก หัวใจวาย ได้ง่าย ในช่วงนี้<o></o>
    <o></o>
    6.ลำไส้เล็ก เวลา 13-14.59 น. ยาม บี่
    <o></o>
    พลังงาน จะเคลื่อน สู่ลำไส้เล็ก แล้ว ลำไส้เล็ก จะทำงาน โดยเปลี่ยน รูปอาหาร ที่ได้จาก ตอนเช้า ทั้งคาร์โบไฮเดรต ไขมัน เกลือแร่ เป็นพลังงาน ทั้งหมด ถ้าไม่ได้ รับอาหารเช้า อาหาร ที่จะ ย่อยใน ลำไส้เล็ก ก็ไม่มี ลำไส้เล็ก ก็จะ ย่อยตัวเอง และเริ่ม อ่อนแอ<o></o>
    <o></o>
    7.กระเพาะปัสสาวะ เวลา 15-16.59 น. ยาม ซิม<o></o>
    พลังงาน จะเคลื่อน มาที่ กระเพาะ ปัสสาวะ ของเสีย ที่เกิดขึ้น จากการ แปรรูป อาหารที่ ลำไส้เล็ก จะเกิดขึ้น กระเพาะ ปัสสาวะ จะทำงาน มากที่สุด
    <o></o>
    8.ไต เวลา 17-18.59 น. ยาม อิ๋ว
    <o></o>
    พลังงาน จะเคลื่อน มาที่ ไต ช่วงนี้ ไต ทำงานหนัก ไม่ควร ออกกำลังกาย การออก กำลังกาย ช่วงเย็น จะทำให้ ไตวาย ง่าย เวียนหัว ตาพร่า ปวดศีรษะ<o></o>
    <o></o>
    9.หัวใจ เวลา 19-20.59 น. ยาม สุก
    <o></o>
    พลังงาน จะเคลื่อน มาที่ กล้ามเนื้อ หัวใจ จะทำงาน ชะล้าง ตัวเอง ทำงานช้าลง ช่วงนี้ ต้องพักผ่อน ถ้าไม่พัก เลือดจะข้น กล้ามเนื้อ หัวใจจะทำ งานหนัก ทำให้ หัวใจโต<o></o>

    10.เส้นสามส่วน เวลา 21-22.59 น. ยาม ไห
    <o></o>
    ร่างกาย จะสะสม พลังงานรวม พลังงานของร่างกาย จะสร้าง ช่วงนี้ เท่านั้น จึงควร พักผ่อนเข้านอน 3 ทุ่ม <o></o>
    <o></o>
    11.ถุงน้ำดี เวลา 23-00.59 น. ยาม จื้อ
    <o></o>
    พลังงาน ที่สร้างขึ้น จะเคลื่อน เข้าสู่ ถุงน้ำดี ล้างถุงน้ำดี ทำให้ ถุงน้ำดี แข็งแรง ย่อยไขมัน ที่จะ เปลี่ยนรูป ไปเป็น ฮอร์โมน กล้ามเนื้อ กระดูก เส้นเอ็น ไขสมอง น้ำหล่อเลี้ยง ในร่างกาย ทั้งหมด การย่อย ไขมัน ของร่างกาย จะเกิดขึ้น ในช่วงนี้ เท่านั้น หากไม่ พักผ่อน ช่วงนี้ ไขมัน ดังกล่าว จะตก ตะกอน อยู่ตาม ร่างกาย เช่นถุง ไขมัน ใต้ตา มีพุง สมอง เลอะเลือน ง่าย ปวดไหล่ ปวดท้อง ง่าย บริเวณ ลำไส้ใหญ่ ท้องเสีย หรือ ท้องผูก ง่าย <o></o>
    <o></o>

    12.ตับ เวลา 01-02.59 น. ยาม ทิ่ว
    <o></o>
    พลังงาน จะเคลื่อน เข้าสู่ ตับ ตับจะเริ่ม ทำงาน โดยใช้ พลังงาน ที่สะสมไว้ ตับจะ สะสม อาหาร สำรอง ให้ร่างกาย กำจัด ของเสีย ผลิตน้ำดี และส่ง ไปเก็บ ที่ถุง น้ำดี ถ้าช่วงนี้ ไม่หลับ นอนร่างกาย จะสูญเสีย พลังงาน ที่สะสมไว้ ตับจะ อ่อนแอลง การสะสม พลังงาน สำรอง ลดลง การผลิต น้ำดี ก็ลดลง ส่งผล กระทบ ต่อการ ทำงาของ ตับอ่อน เป็นผลให้ การผลิต อินซูลิน ลดลงด้วย โรคที่ จะเกิดขึ้น คือ โรคเกี่ยว กับ ความดัน โลหิต แปรปรวน โรคเก๊าท์ โรครูมาตอยด์ ภูมิคุ้ม กันบกพร่อง เบาหวาน หัวใจ กระดูกเสื่อม
    <o></o>


    </td></tr></tbody></table>
    ที่มา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มกราคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...