สติปัฏฐาน 4 (แบบของพระพุทธเจ้า)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 12 ตุลาคม 2008.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    จากข้อความ ในคำแสดงสติปัฏฐาน แต่ละข้อข้างต้น จะเห็นได้ว่า ในเวลาปฏิบัตินั้น

    ไม่ใช่ใช้สติเพียงอย่างเดียว แต่มีธรรมข้ออื่นๆ ควบอยู่ด้วย

    ธรรมที่ไม่บ่งถึงไว้ก็ คือ สมาธิ ซึ่งจะมีอยู่ด้วยอย่างน้อยในขั้นอ่อนๆ

    (เรียกว่า วิปัสสนาสมาธิ อยู่ในระดับระหว่างขณิกสมาธิ กับ อุปจารสมาธิ)

    ส่วนธรรมที่ระบุไว้ด้วย ได้แก่

    1. อาตาปี = มีความเพียร (ได้แก่ องค์มรรคข้อ 6 คือ สัมมาวายามะ ซึ่งหมายถึงเพียรระวัง

    และละความชั่ว กับเพียรสร้างและรักษาความดี)

    2. สัมปชาโน = มีสัมปชัญญะ (คือ ตัวปัญญา)

    3. สติมา = มีสติ (หมายถึง ตัวสตินี้เอง


    --------------------------------------------------------------------

    <TABLE border=0 cellSpacing=20 width="85%"><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>
    ข้อที่น่าสังเกต คือ สัมปชาโน ซึ่งแปลว่า มีสัมปชัญญะ

    สัมปชัญญะนี้ จะเห็นได้ว่า เป็นธรรมที่มักปรากฏควบคู่กับสติ

    สัมปชัญญะ ก็คือ ปัญญา

    ดังนั้น การฝึกฝนในเรื่องสตินี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการพัฒนาปัญญานั่นเอง

    สัมปชัญญะ หรือ ปัญญา ก็คือ ความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักชัดในสิ่งที่สติกำหนดไว้
    นั้น

    หรือ การกระทำในกรณีนั้นว่า มีความมุ่งหมายสิ่งที่ทำนั้นเป็นอย่างไร ปฏิบัติต่อมันอย่างไร

    และไม่เกิดความหลง หรือความเข้าใจผิดใดๆ ขึ้นมาในกรณีนั้นๆ
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ข้อความที่ว่า “กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้” แสดงถึงท่าที ที่เป็นผลจากการ

    มีสติสัมปชัญญะว่า เป็นกลาง เป็นอิสระ ไม่ถูกกิเลสผูกพัน ทั้งในแง่ติดใจอยากได้

    และขัดเคืองเสียใจในกรณีนั้นๆ


    --------------------------------

    ข้อความต่อท้ายเหมือนๆ กันของทุกข้อที่ว่า มองเห็นความเกิด ความเสื่อมสิ้นไปนั้น

    แสดงถึงการพิจารณาเข้าใจตามหลักไตรลักษณ์

    จากนั้น จึงมีทัศนคติที่เป็นผลเกิดขึ้น คือ การมองและรู้สึกต่อสิ่งเหล่านั้น ตามภาวะของมันเอง
    เช่น ที่ว่า “กายมีอยู่” เป็นต้น ก็หมายถึงรับรู้ความจริงของสิ่งเหล่านั้นตามที่เป็นอย่างนั้น

    ของมันเอง โดยไม่เอาความรู้สึกสมมุติและยึดมั่นต่างๆ เข้าไปสวมใส่ให้มัน ว่าเป็นคน

    เป็นตัวตน เป็นเขา เป็นเรา หรือกายของเรา เป็นต้น

    ท่าทีอย่างนี้จึงเป็นท่าทีของความเป็นอิสระ ไม่อิงอาศัย คือไม่ขึ้นต่อสิ่งนั้นสิ่งนี้

    ที่เป็นปัจจัยภายนอก และไม่ยึดมั่นสิ่งต่างๆ ในโลกด้วยตัณหาอุปาทาน
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    เพื่อให้เห็นเนื้อความชัดเจนยิ่งขึ้น จะยกบาลีที่สำคัญ มาแปลและแสดงความหมายไว้

    โดยย่อ ดังนี้

    -กาเย กายานุปสฺสี- แปลว่า พิจารณาเห็นกายในกาย

    คือมองเห็นในกายว่าเป็นกาย มองเห็นกายตามสภาวะ ซึ่งเป็นที่ประชุมหรือประกอบกันเข้า

    แห่งส่วนประกอบ คือ อวัยวะน้อยใหญ่ต่างๆ

    ไม่ใช่มองเห็นกายเป็นเขา เป็นเรา เป็นนายนั่นนางนี่ เป็นของฉัน ของคนนั้นคนนี้

    หรือเห็นชายนั้นหญิงนี้ ในผมในขน ในหน้าตา เป็นต้น

    หมายความว่าเห็นตรงตามความจริง ตรงตามสภาวะ ให้สิ่งที่ดูตรงกันกับสิ่งที่เห็น

    คือ ดูกายก็เห็นกาย ไม่ใช่ดูกาย ไพล่ไปเห็นนาย ก. บ้าง

    ดูกาย ไพล่ไปเห็นคนชัง บ้าง

    ดูกาย ไพล่เห็นเป็นของชอบอยากชมบ้าง เป็นต้น

    เข้าคติคำของโบราณาจารย์ว่า “ สิ่งที่ดูมองไม่เห็น ไพล่ไปเห็นสิ่งที่ไม่ได้ดู เมื่อไม่เห็น

    ก็หลงติดกับ เมื่อติดอยู่ ก็พ้นไปไม่ได้”
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    -ที.อ. 2/472; ม.อ. 1/333; วิภงฺค.อ. 284 ข้อความว่า “กายในกาย” นี้

    อรรถกถาอธิบายไว้ถึง 4-5 นัย โดยเฉพาะชี้ถึงความมุ่งหมาย เช่น ให้กำหนดโดยไม่สับสน

    กัน คือ ตามดูกายในกาย ไม่ใช่ตามดูเวทนา หรือจิต หรือธรรม

    ในกายอีกอย่างหนึ่งว่า ตามดูกายส่วนย่อยในกายส่วนใหญ่ คือตามดูกายแต่ละส่วนๆ

    ในกายที่เป็นส่วนรวมนั้น เป็นการแยกออกดูไปทีละอย่าง จนมองเห็นว่ากายทั้งหมดนั้นไม่มี

    อะไรนอกจากเป็นที่รวมของส่วนประกอบย่อยๆ ลงไป ไม่มีนาย ก. นาง ข. เป็นต้น

    เป็นการวิเคราะห์หน่วยรวมออกหรือคลี่คลายความเป็นกลุ่มก้อน เหมือนกับลอกใบกล้วย

    และกาบกล้วย ออกจากต้นกล้วย จนไม่เห็นมีต้นกล้วย ดังนี้ เป็นต้น


    (เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ก็พึงเข้าใจทำนองเดียวกัน)

    ------------------------------------------------------------------

    อาตาปี สัมปชาโน สติมา = แปลว่า มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

    ได้แก่ มีสัมมาวายามะ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสติ ซึ่งเป็นองค์มรรคประจำ 3 ข้อ

    ที่ต้องใช้ควบไปด้วยกันเสมอ ในการเจริญองค์มรรคทั้งหลายทุกข้อ

    (ตรงกับหลักในมหาจัตตารีสกสูตร)

    ความเพียร คอยหนุนเร้าจิต ไม่ให้ย่อท้อหดหู่ ไม่ให้รีรอล้าหรือถอยหลัง จึงไม่เปิดช่อง

    ให้อกุศลธรรมเกิดขึ้น แต่เป็นแรงเร่งให้จิตเดินรุดหน้าไป หนุนให้กุศลธรรมต่างๆ

    เจริญยิ่งขึ้น

    สัมปชัญญะ คือ ตัวปัญญาที่พิจารณา และรู้เท่าทันอารมณ์ที่สติกำหนดทำให้ไม่หลงใหลไปได้

    และเข้าใจถูกต้องตามสภาวะที่เป็นจริง

    สติ คือ ตัวกำหนดจับอารมณ์ไว้ ทำให้ตามทันทุกขณะ ไม่ลืมเลือนเลอะพลาดสับสน


    --------------------------------------------------------------------------------------

    คัดลอกมาจาก
    http://www.dhammajak.net

    --------------------------------------------------------------------------------------
     

แชร์หน้านี้

Loading...