สติปัฏฐาน 4 ข้อ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 12 พฤษภาคม 2015.

  1. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ....... เบื่อ....:cool:
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    คนที่นำศัพท์แสงทางธรรม (บาลี) มาพูดโดยไม่เข้าใจความหมายของเขา ผมก็รู้สึกรำคาญ แต่ก็พยายามเข้าใจเขานะ คือ เขาเข้าใจว่าได้พูดธรรมะ คิกๆๆ พูดแล้วเป็นปลื้มใจฟูๆ (deejai)
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    เอกวีร์ขอรับ หายไปไหน คิกๆๆ:d
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ต่อ

    เหตุใด สติที่ตามทันขณะปัจจุบัน จึงเป็นหลักสำคัญของวิปัสสนา ?

    กิจกรรมสามัญที่สุดของทุกๆคน ซึ่งเป็นไปอยู่ตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน ก็คือ การรับรู้อารมณ์ต่างๆ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

    เมื่อมีการรับรู้ ก็มีความรู้สึกพร้อมไปด้วย คือ สุขสบายบ้าง ทุกข์ระคายเจ็บปวด ไม่สบายบ้าง เฉยๆ บ้าง เมื่อมีความรู้สึกสุขทุกข์ ก็มีปฏิกิริยาเกิดขึ้นในใจด้วย คือ ถ้าสุขสบายที่สิ่งใด ก็ชอบใจติดใจสิ่งนั้น ถ้าไม่สบายได้ทุกข์ที่สิ่งใด ก็ขัดใจไม่ชอบสิ่งนั้น เมื่อชอบ ก็อยากรับรู้อีก อยากเสพซ้ำ หรืออยากได้ อยากเอา เมื่อไม่ชอบ ก็เลี่ยงหนี หรืออยากกำจัด อยากทำลาย

    กระบวนการดังกล่าวนี้ ดำเนินไปอยู่ตลอดเวลา มีทั้งอย่างแผ่วๆ ที่ผ่านไปโดยไม่ได้สังเกต และที่แรงเข้มสังเกตได้เด่นชัด มีผลต่อจิตใจอย่างชัดเจน และสืบเนื่องไปนาน ส่วนใดแรงเข้ม หรือสะดุดชัด ก็มักชักให้มีความคิดปรุงแต่งยึดเยื้อเยิ่นเย้อออกไป ถ้าไม่สิ้นสุดทีในใจ ก็ผลักดันให้แสดงออกมาเป็นการพูด การกระทำต่างๆ ทั้งน้อยและใหญ่

    ชีวิตของบุคคล บทบาทของเขาในโลก และการกระทำต่อกันระหว่างมนุษย์ ย่อมสืบเนื่องออกมาจากกระบวนธรรมน้อยๆ ที่เป็นไปในชีวิตแต่ละขณะๆ นี้เป็นสำคัญ

    ในทางปัญญา การปล่อยจิตใจให้เป็นไปตามระบวนธรรมข้างต้นนั้น คือ เมื่อรับรู้แล้ว รู้สึกสุขสบาย ก็ชอบใจ ติดใจ เมื่อรับรู้แล้ว รู้สึกทุกข์ ไม่สบายก็ขัดใจ ไม่ชอบใจ ข้อนี้ จะเป็นเครื่องกีดกั้นปิดบังทำให้ไม่รู้ไม่เข้าใจ ไม่มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง หรือตามสภาวะที่แท้ของมัน ทั้งนี้เพราะจิตใจที่เป็นไปเช่นนั้น จะมีสภาพต่อไปนี้

    ข้องอยู่ที่ความชอบ ใจ หรือความขัดใจ ตกอยู่ในอำนาจของความติดใจ หรือขัดใจนั้น ถูกความชอบใจ หรือความไม่ชอบใจนั้นเคลือบคลุม ทำให้มองเห็นเอนเอียงไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ตรงตามที่มันเป็นจริง

    - ตกอดีต หรือลอยอนาคต กล่าวคือ เมื่อคนรับรู้แล้ว เกิดความชอบใจหรือไม่ชอบใจ จิตของเขาจะข้องหรือขัด ณ ส่วน หรือจุด หรือแง่ ที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจ ของอารมณ์นั้น และจับเอาภาพของอารมณ์นั้น ณ จุด หรือส่วน หรือแง่ ที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจนั้น เก็บค้างไว้ หรือเอาไปทะนุถนอม และคิดปรุงแต่งหรือฝันฟ่ามต่อไป

    การข้องอยู่ที่ส่วนใดก็ตาม ซึ่งชอบใจหรือไม่ชอบใจ และการจับอยู่กับภาพของสิ่งนั้นซึงปรากฏอยู่ในใจของตน คือการเลื่อนไหลลงสู่อดีต การคิดปรุงแต่งต่อไปเกี่ยวกับสิ่งนั้น คือการเลื่อนลอยไปในอนาคต

    ความรู้ความเข้าใจของเขา เกี่ยวกับสิ่งนั้น ก็คือภาพของสิ่งนั้น ณ จุด หรือตอน ที่ชอบใจ หรือไม่ชอบใจ หรือซึ่งเขาได้คิดปรุงแต่งต่อไปแล้ว ไม่ใช่สิ่งนั้น ตามที่มันเป็นของมันเอง ในขณะนั้นๆ

    - ตกอยู่ในอำนาจคิด ปรุงแต่ง จึงแปลความหมายของสิ่งที่รับรู้ หรือประสบการณ์นั้นๆ ไป ตามแนวทางของภูมิหลัง หรือความเคยชินที่ได้สั่งสมไว้ เช่นค่านิยม ทัศนคติ หรือทิฐิ ที่ตนยึดถือนิยมเชิดชูเรียกว่าจิตตกอยู่ในภาวะถูกปรุงแต่ง ไม่อาจมองอย่างเป็นกลางให้เห็นประสบการณ์ล้วนๆ ตามที่มันเป็น

    - นอกจากถูกปรุงแต่ง แล้ว ก็จะนำเอาภาพปรุงแต่งของประสบการณ์ใหม่นั้น เข้าไปร่วมในการปรุงแต่งต่อไปอีก เป็นการเสริมซ้ำการสั่งสมนิสัยความเคยชินของจิตให้แน่นหนายิ่งขึ้น

    ความเป็นเช่นนี้ มิใช่จะเกี่ยวข้องกับเรื่องหยาบๆ ตื้นๆในการดำเนินชีวิต และทำกิจการทั่วไปเท่านั้น แต่ท่านมุ่งเน้นกระบวนของจิตในระดับละเอียดลึกซึ้ง ที่ทำให้ปุถุชนมองเห็นสิ่งทั้งหลายเป็นของคงที่ เป็นชิ้น เป็นอัน มีสวยงาม น่าเกลียด ติดในสมมติต่างๆ ไม่เห็นความเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ดำเนินอยู่ตลอดเวลา

    อย่างไรก็ดี กระบวนการเช่นนี้ เป็นความเคยชิน หรือนิสัยของจิต ที่คนทั่วไปได้สั่งสมกันมาคนละนานๆเกือบจะว่าตั้งแต่เกิดทีเดียว ๒๐-๓๐ ปีบ้าง ๔๐-๕๐ ปีบ้าง เกินกว่านั้นบ้าง และไม่เคยหัดตัดวงจรลบกระบวนกันมาเลย การจัดการแก้ไขจึงมิใช่จะทำได้ง่ายนัก ในทันทีทีรับรู้อารมณ์ หรือมีประสบการณ์ ยังไม่ทันตั้งตัวที่จะยั้งกระบวน จิตก็แล่นไปตามความเคยชินของมันเสียก่อน

    ดังนั้น การแก้ไขในเรื่องนี้ จึงมิใช่จะเพียงตัดวงจรล้างกระบวนธรรมนั้นลงเท่านั้น แต่จะต้องแก้ไขความเคยชิน หรือนิสัยทีไหลแรงไปข้างเดียวของจิตอีกด้วย

    องค์ธรรมสำคัญ ที่จะใช้เป็นตัวเบิกทาง และเป็นหลักรวมพลทั้งสองกรณีนั้น ก็คือ สติ การปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐานก็มีวัตถุประสงค์อย่างนี้ กล่าวคือเมื่อมีสติตามทันขณะปัจจุบัน และมองดูสิ่งนั้นๆ ตามที่มันเป็นอยู่ในขณะนั้นๆตลอด เวลา ย่อมสามารถตัดวงจรทำลายกระบวนธรรมฝ่ายอกุศลลงได้ด้วย ค่อยๆแก้ไขความเคยชินเก่าๆ พร้อมกับสร้างแนวนิสัยใหม่ให้แก่จิตได้ด้วย
    จิตที่มีสติช่วยกำกับให้ตามทันอยู่กับขณะปัจจุบัน จะมีสภาพตรงข้ามกับจิตที่เป็นไปตามกระบวนธรรมข้างต้น คือ

    - ความชอบใจ หรือขัดใจ ไม่มีโอกาสเกิดขึ้นเลย เพราะการที่จะชอบใจ หรือขัดใจ จิตจะต้องข้องขัดอยู่ ณ จุด หรือส่วนใดส่วนหนึ่ง และชะงักค้างอยู่ คือตกลงในอดีต

    - ไม่เลื่อนไหลลงไปในอดีต ไม่เลื่อนลอยไปในอนาคต ความชอบใจ ไม่ชอบใจกับการตกอดีต เป็นอาการที่เป็นไปด้วยกัน เมื่อไม่ติดไม่ข้องไม่ค้างอยู่ ตามดูทันอยู่กับสภาวะ ที่กำลังเป็นไปอยู่ การตกอดีต ลอยอนาคตก็ไม่มี

    - ไม่ถูกความคิดปรุงแต่งเนื่องด้วยภูมิหลังที่ ได้สั่งสมไว้ ชักจูงให้แปลประสบการณ์ หรือสิ่งที่รับรู้ให้เอนเอียงบิดเบือน หรือย้อมสี ไปตามอำนาจของมัน พร้อมที่จะมองไปตามสภาวะของสิ่งนั้นๆ

    - ไม่ปรุงแต่งเสริมซ้ำหรือเพิ่มกำลังแก่ความเคยชินผิดๆที่จิตได้สั่งสมเรื่อยมา

    - เมื่อ ตามรู้ดูทันทุกสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันทุกขณะ ก็ย่อมได้รู้เห็นสภาพจิตนิสัย เป็นต้น ของตนเอง ที่ไม่พึงปรารถนา หรือที่ตนเองไม่ยอมรับปรากฏออกมาด้วย ทำให้ได้รับรู้สู้หน้าเผชิญสภาพที่เป็นจริงของตนเอง ตามที่มันเป็น ไม่เลี่ยงหนี ไม่หลอกลงตนเอง และทำให้สามารถชำระล้างกิเลสเหล่านั้น แก้ปัญหาในตนเองได้ด้วย

    นอกจากนั้นในด้านคุณภาพจิตก็จะบริสุทธิ์ผ่องใสโปร่งเบิกบานเป็นอิสระไม่ถูกบีบจำกัดให้คับแคบและไม่ถูกเคลือบคลุมให้หมองมัว

    สิ่ง ทั้งหลายตั้งอยู่ตามสภาพของมัน และเป็นไปตามธรรมดาของมัน พูดเป็นภาพพจน์ว่า ความจริงเปิดเผยตัวเองอยู่ตลอดเวลา แต่มนุษย์ปิดบังตนเองจากมัน หรือไม่ก็มองภาพของมันบิดเบือนไป หรือไม่ก็ถึงกับหลอกลวงตัวของมนุษย์เอง ตัวการที่ปิดบังบิดเบือน หรือหลอกลวงก็คือการตกลงไปในกระแสของกระบวนธรรมดังได้กล่าวข้างต้น เครื่องปิดบังบิดเบือน หรือหลอกก็มีอยู่แล้ว ยิ่งความเคยชินคอยชักลากให้เขวไปเสียอีกโอกาสที่จะรู้ความจริงก็แทบไม่มี

    ในเมื่อความ เคยชินหรือติดนิสัยนี้มนุษย์ได้สั่งสมต่อเนื่องกันมานานนักหนาการปฏิบัติ เพื่อแก้ไขและสร้างนิสัยใหม่ก็ควรจะต้องอาศัยเวลามากเช่นเดียวกัน

    เมื่อใด สติตามทัน ทำงานสม่ำเสมอต่อเนื่องอย่างชำนาญ คนไม่ปิดบังตัวเองไม่บิดเบือนภาพที่มองและพ้นจากอำนาจความเคยชิน หรือนิสัยเก่าของจิตแล้ว เมื่อนั้น ก็พร้อมที่จะมองเห็นสิ่งทั้งหลายตามสภาวะของมัน และรู้เข้าใจความจริง
    ถึงตอนนี้ ถ้าอินทรีย์อื่นๆโดยเฉพาะปัญญาแก่กล้าพร้อมดีอยู่แล้ว ก็จะร่วมงานโดยอาศัยสติคอยเปิดทางให้ทำงานได้เต็มที่ ทำให้เกิดญาณทัศนะความหยั่งรู้หยั่งเห็นตามเป็นจริง ที่เป็นจุดหมายของวิปัสสนา

    แต่การที่ปัญญินทรีย์ เป็นต้น จะพร้อมหรือแก่กล้าได้นั้น ย่อมอาศัยการฝึกฝนอบรมมาโดยลำดับ รวมทั้งเล่าเรียนสดับในเบื้องต้นด้วย การเล่าเรียนสดับฟัง และการคิดเหตุผล เป็นต้น จึงมีส่วนเกื้อกูลแก่การรู้แจ้งสัจธรรมได้
     
  5. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ..................ตลกดีนะ ผู้มีอายุยังพูดประโยคทำนองนี้.....ไม่งั้นคุณก็ เบบี๋ เนาะ:cool:
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    โยนิโสมนสิการ วิชชา วิมุตติ สติสัมปชัญญะ ฯลฯ พูดไปเถอะครับ ถ้าพูดแล้วมีความสุขสบายใจ จะหมายถึงอะไรช่างมัน พูดไป :d
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    สติปัฏฐาน เป็นอาหารของโพชฌงค์

    ความจริงนั้น สติ ไม่ใช่ตัววิปัสสนา ปัญญาหรือการใช้ปัญญาต่างหาก เป็นวิปัสสนา แต่ปัญญาจะได้โอกาส และจะทำงานได้อย่างปลอดโปร่งเต็มที่ ก็ต่อเมื่อมีสติคอยช่วยกำกับหนุนอยู่ด้วยเหตุผลดังกล่าวแล้วข้างต้น การฝึกสติจึงมีความสำคัญมากในวิปัสสนา

    พูดอีกอย่างหนึ่งว่า การฝึกสติ ก็เพื่อใช้ปัญญาได้เต็มที่ ่ หรือเป็นการฝึกปัญญาไปด้วยนั่นเอง ในภาษาของการปฏิบัติธรรม เมื่อพูดถึงสติ ก็มักเล็งและรวมถึงสัมปชัญญะที่ควบอยู่ด้วย และสติจะมีกำลังกล้าแข็ง หรือชำนาญคล่องแคล่วขึ้นได้ ก็เพราะมีปัญญาร่วมทำงาน *

    ปัญญาที่ทำงานร่วมอยู่กับสติในกิจทั่วๆไป มักมีลักษณะอาการที่เรียกว่าสัมปชัญญะ ในขั้นนี้ ปัญญายังดูคล้ายเป็นตัวประกอบ คอยร่วมมือและประสานงานอยู่กับสติ การพูดจากล่าวขานมักเพ่งเล็งไปที่สติ เอาสติเป็นตัวหลักหรือตัวเด่น แต่ในขั้นที่ใช้ปัญญาพินิจพิจารณาอย่างจริงจัง ความเด่นจะไปอยู่ที่ปัญญา สติจะเป็นเหมือนตัวที่คอยรับใช้ปัญญา ปัญญาที่ทำงานในระดับนี้ เช่นที่เรียกว่า ธรรมวิจัย ในโพชฌงค์ ๗ ประการ เป็นต้น

    ถึงตรงนี้ เห็นควรทบทวนหลักซึ่งได้แสดงไว้ตั้งแต่เริ่มมัชฌิมาปฏิปทา ที่ว่า สติปัฏฐาน ๔ เป็นอาหารหล่อเลี้ยงโพชฌงค์ ๗ และโพชฌงค์ ๗ นั้น ก็หล่อเลี้ยงวิชชาและวิมุตติ โดยยกพุทธพจน์มาย้ำ ดังนี้

    "ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววิชชาและวิมุตติว่ามีอาหาร มิใช่ไร้อาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ พึงกล่าวว่า คือ โพชฌงค์ ๗ แม้โพชฌงค์ ๗ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิใช่ไร้อาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของโพชฌงค์ ๗ พึงกล่าวว่า คือ สติปัฏฐาน ๔ "

    "สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ วิชชาและวิมุตตินี้ มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้"

    ตามพุทธพจน์นี้ ชัดว่า โพชฌงค์ ๗ เป็นธรรมที่ส่งผลแก่วิชชาวิมุตติ เท่ากับเป็นตัวที่ให้สำเร็จมรรคผล ส่วนสติปัฏฐานก็ช่วยโดยหล่อเลี้ยงโพชฌงค์ ๗ นั้น

    พุทธพจน์นี้ช่วยให้มองวิปัสสนาได้ชัดขึ้น ในสติปัฏฐานนั้น สติทำงานเป็นพื้นยืนโรงอยู่ ปัญญาในชื่อว่าสัมปชัญญะก็ได้โอกาสทำงานไปด้วย โดยรู้เข้าใจทุกอย่างที่สติจับดึงตรึงไว้หรือเข้าไปถึง สติจับอันใดให้สัมปชัญญะก็รู้เข้าใจอันนั้น เหมือนว่ามือจับอะไรเสนอมา ตาก็ไดดูเห็นสิ่งนั้น

    ส่วนโพชฌงค์ ก็คือ บนพื้นของสติปัฏฐานนี่แหละ คราวนี้สติจับเรื่องส่งให้ปัญญา ที่ชื่อว่าธรรมวิจัย แล้วคราวนี้ปัญญาเป็นเจ้าบทบาทรับเรื่องไปวิจัย เหมือนตาได้ดูต่อเนื่องไปทั่วตลอด ตอนนี้ก็เป็นกระบวนธรรมของปัญญา ที่เรียกว่าโพชฌงค์ ซึ่งแปลว่า "องค์แห่งการตรัสรู้"

    สัมปชัญญะ ก็ดี ธรรมวิจัย ก็ดี หรือปัญญาในชื่ออื่นๆก็ดี ที่ทำงานให้เกิดความเห็นแจ้งรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตรงตามสภาวะที่มันเป็น เพื่อให้จิตหลุดพ้นเป็นอิสระ นี่แหละ คือวิปัสสนา


    สติทำกิจสำคัญทั้งในสมถะ และในวิปัสสนา หากพูดเปรียบเทียบ ระหว่างบทบาทของสติในสมถะ กับ ในวิปัสสนา อาจช่วยให้ความเข้าใจมากขึ้น

    ในสมถะ สติกุมจิตไว้กับอารมณ์ หรือดึงอารมณ์ไว้กับจิต เพียงเพื่อให้จิตเพ่งแน่วแน่หรือจับแนบสนิทอยู่กับอารมณ์นั้น นิ่งสงบไม่ส่าย ไม่ซ่านไปที่อื่น เมื่อจิตแน่วแน่แนบสนิทอยู่กับอารมณ์นั้น เป็นหนึ่งเดียวต่อเนื่องไปสม่ำเสมอ ก็เรียกว่าเป็นสมาธิ และเพียงเท่านั้น สมถะก็สำเร็จ

    ส่วนในวิปัสสนา สติกำหนดอารมณ์ให้แก่จิต หรือดึงจิตไว้กับอารมณ์เหมือนกัน แต่มุ่งใช้จิตเป็นที่วางอารมณ์ เพื่อเสนออารมณ์นั้นให้ปัญญาตรวจสอบพิจารณา คือจับอารมณ์ไว้ให้ปัญญาตรวจดู และวิเคราะห์วิจัยโดยใช้จิตที่ตั้งมั่น เป็นที่ทำงาน

    หากให้อุปมา ในกรณีของสมถะ เหมือนเอาเชือกผูกลูกวัวพยศไว้กับหลัก ลูกวัวจะออกไปไหนๆ ก็ไปไม่ได้ คงวนเวียนอยู่กับหลัก ในที่สุด เมื่อหายพยศ ก็หมอบนิ่งอยู่กับหลักนั้นเอง จิตเปรียบเหมือนลูกวัวพยศ อารมณ์เหมือนหลัก สติเหมือนเชื่อ

    ส่วนในกรณีของวิปัสสนา เปรียบเหมือนเอาเชือกหรือเครื่องมือ ผูกตรึงคน สัตว์ หรือวัตถุบางอย่าง ไว้กับแท่นหรือเตียง แล้วตรวจดู หรือทำกิจอื่น เช่น ผ่าตัด เป็นต้น ได้ถนัดชัดเจน เชือกหรือเครื่องยึด คือ สติ คนสัตว์หรือวัตถุที่เกี่ยวข้อ คือ อารมณ์ แท่นหรือเตียงคือ จิตที่เป็นสมาธิ การตรวจหรือผ่าตัดเป็นต้นคือ ปัญญา

    .........

    อ้างอิงที่ *

    * สติเกิดร่วมกับปัญญา จึงจะมีกำลัง ขาดปัญญา ย่อมอ่อนกำลัง
    -ปัญญาปราศจากสติ ไม่มีเลย
    -ผู้ปราศจากสติ ย่อมไม่มีอนุปัสสนา
    -พูดถึงสติอย่างเดียวเล็งถึงปัญญาด้วย

    (ตัดชื่อคัมภีร์อ้างอิงออก)
     
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    บทความนี้ ลอกมาจาก...หน้า 758 ฯลฯ

    [​IMG]
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    เมื่อชีวิตประสบกับทุกข์ ธรรมะก็กระเทือน (คือการฝึกสติ)

     

แชร์หน้านี้

Loading...