สติต้องเจริญ ต้องทำให้มาก ต้องทำให้เกิดขึ้นที่จิต สติเกิดขึ้นเองไม่ได้

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมะสวนัง, 29 พฤศจิกายน 2009.

  1. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    [​IMG]
     
  2. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697

    ข้อ1 คุณแน่ใจหรือว่าแค่รักษาศีลแล้วกำลังปฏิบัติอริยมรรคองค์แปด สติ สมาธิ เกิดขึ้นแล้ว

    เราชอบข้อ2 นะ ก็จิตอยู่แต่กายกับจิตนั่นแหละเขาเรียกสติ ส่วนคำว่าไม่คิดชั่ว คุุณมีเจตนาจะโยงกลับไปที่ศีลหรือเปล่าไม่ทราบ หรือจะไม่ก็ตาม แต่เอารวมๆว่ามีสติอยู่กับกายและจิต รู้ว่าจิตมีอกุศลหรือกุศล อกุศลให้ละกุศลให้เจริญ นี่แหละเขาเรียกว่ามีสติ4(ก็จะเกิดสัมมัปทาน4) พูดง่ายๆ ทุกขณะที่เจริญสติสี่ จะเจริญ(ครอง)ศีล สมาธิ และปัญญาไปด้วย

    ข้อ3 เอาที่สีแดงก่อน การปฏิบัติแบบสัมมาทิฏฐิ จะดูแต่จิตอย่างเดียว คือสติปัฏฐานสี่ คุณเข้าใจคำว่า สติปัฏฐาน4 ไหม เขาเป็นหลักปฏิบัติหรือวิธีการ คือให้เอาสติผูกไว้กับหลักทั้งสี่ คือ รูป เวทนา จิต ธรรม (โดยตามความถนัดตอนปฏิบัติก็ได้ คือใครไม่ถนัดดูจิตเพราะดูจิตแล้วยิ่งสับสนก็มี) แยกกายกับจิต รู้เห็นรูปนามตามจริงนี่จึงว่ามีสัมมาทิฏฐิ การเจริญสติ4 ถือเป็นการเจริญอริยมรรค(อย่างเข้ม)ไปด้วย แม้นสุดท้ายจะรู้ว่าทุกอย่างเกิดแต่จิต แต่ก็ต้องทราบว่ารูปมีผลพวงมาอย่างไร รูปเป็นทุกข์อย่างไร...เหตุแห่งทุกข์คืออะไร ...
    มาที่สีฟ้า คุณธรรมสวะนัง เขาเน้นการทำฌาน4 สัมมาสมาธิ แล้วจึงมาเจริญสติสี่ คุณแน่ใจว่าอ่านที่เขาโพสต์รู้เรื่อง หรือเพียงมาโยงว่าการมีสัมมาสมาธิแล้วจะเกิดการเจริญอริยมรรค ...เหมือนดังข้อ 1 ที่คุณว่าคนที่มีศีลก็เป็นการเจริญอริยมรรคแล้ว และข้อนี้ คนมีสัมมาทิฏฐิก็เจริญอริมรรคแล้ว อีกทั้งการเจริญสัมมาสมาธิแล้วก็ถือว่าเจริญอริยมรรคแล้ว ....ตกลงเอาหมดเลยนะ :mad:

    มาที่ข้อ 4 สรุปได้ดีนะ เอาสลับกันได้หมดเลย เกิดพร้อมกันได้หมด
    ถ้าเขามีองค์ศีลอยู่แล้ว ตกลงเอาศีลขึ้น?
    คราวแรก คุณสับสนเอาสัมมาทิฏฐิขึ้น ทั้งที่คุณธรรมสวนังเอาสัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะเป็นเบื้องปลาย (มันเหมือนกันตรงไหน)
    มาคราวนี้เอาศีลขึ้นแล้วจะเจริญอริยมรรค เจริญสติสี่ สลับกันได้หมด

    ที่จริงพูดได้ว่า การเจริญสติสี่ ถือเป็นการเจริญอริยมรรคมีองค์แปด
    แต่การเจริญอริมรรคมีองค์แปดถือเป็นการเจริญสติสี่นั้นต้องครบแปดนะ
    จะศีลมาก่อน แล้วตัวอื่นจะเกิดด้วยแล้วโดยไม่รู้ตัว
    จะสมาธิมาก่อน แล้วตัวอื่นจะเกิดด้วยแล้วโดยไม่รู้ตัว
    จะสัมมาทิฏฐิมาก่อน แล้วตัวอื่นจะเกิดด้วยแล้วโดนไม่รู้ตัว
    นี่คุณแน่ใจเหรอ ว่าทำได้เช่นนั้น

    เราว่าที่เขียนมาทั้งหมด คุณต้องหาทางออกเองให้เจอก่อน
    ธรรมอันละเอียดวกวนของคุณสับสน
    คนหยาบช้ารึจะเข้าใจ รวมถึงคนสติดีๆ ก็ไม่รู้จะเข้าใจไหม

    :boo:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2010
  3. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697
    อ้างอิง ..คุณสับสน
    ทำครั้งเดียวโพชงค์37..อะไรนั่นก็จะเกิดมาพร้อมเพรียง กันในภาคลงมือทำนี้
    หากจิตเป็นสมาธิสักครั้งหนึ่งครับ หากคุณเต้าเจี้ยวลองลงมือทำดูนะครับหรือทำแล้วยังไม่เกิดก็ต้องตรวจดู"ศิล"ครับ
    คนที่ฝึกสัมมาสติ สัมมาสสมาธิ มรรคมีองค์8 แล้วสติปัฏฐาน4 จะสลับกันอย่างไร ในทางปฏิบัติ ก็จะเกิดขึ้นพร้อมกันได้เลยครับเพราะเขามีความคิดชอบ"ในองค์ศิล" อยู่แล้ว ซึ่งหนอนหนังสือจะไม่เข้าใจเด็ดขาด เพราะ"เข็มขัดสั้น" ครับ

    .

    ถ้าจะอ้างไปถึง การเอาการภาวนาอย่างต่อเนื่องจนจบขบวนการนั้นทีเดียว
    ทุกขณะที่เจริญสติปัฏฐานสี่ ขณะนั้นศีลครบอยู่แล้วค่ะ ไม่ใช่ว่าไม่สำเร็จเพราะต้องไปตรวจดูศีล แต่ศีลบริบูรณ์ในขณะนั้นทันที ต่อให้ฆ่าคนตายมาก่อนก็ตาม อดีตก็จบไปแล้ว (ยกเว้นอนันตริกรรมจะมากั้นการเห็นธรรม นี่เป็นเรื่องของกรรมหนัก)


    ส่วนโพธิปักขิยธรรม 37
    สติปัฏฐาน4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 มรรคมีองค์ 8

    จะว่าเกิดพร้อมกันนั้นไม่ใช่
    แต่คำว่าสมังคี นี่หมายถึงเสมอกัน ประชุมกันคือการประหารกิเลสได้นี่ต้องกำลังเสมอไม่สูงต่ำกว่ากันของกำลังสติสมาธิปัญญา (หรือเต็มๆ คือกำลังห้า ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา หรือเต็มๆ อีกนัยคือ อริยมรรคองค์แปดมาเสมอกัน)

    ขอให้เจริญธรรมค่ะ

    *
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2010
  4. โลกุตตระ

    โลกุตตระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    448
    ค่าพลัง:
    +2,624
    สมาธิเพียงข่มกิเลสตัณหา

    เมื่อใจยังมีความหลงไปตามกระแสโลกอยู่ มีความใฝ่ฝันในกามคุณอยู่ กำลังใจที่เกิดจากสมาธิความสงบก็จะเป็นกำลังหนุนกิเลสตัณหาราคะให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น เพราะกำลังใจที่เกิดจากสมาธิความสงบเป็นเพียงกำลังหนุนเท่านั้น


    ถ้าผู้ฝึกสติปัญญามาดี กำลังของสมาธิก็จะเป็นตัวหนุนสติปัญญาได้เป็นอย่างดี พิจารณาความจริงในสิ่งใด ก็จะเกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งชัดเจน ถ้าไม่มีสติปัญญาให้หนุน กำลังใจที่เกิดจากสมาธิก็จะไปหนุนกิเลสตัณหาน้อยใหญ่ให้ใจฟุ้งไปตามอารมณ์ที่รักที่ชอบใจต่อไป

    คนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจว่า การทำสมาธิความสงบจะทำให้เกิดปัญญา ทำให้ใจมีความบริสุทธิ์ผ่องใส ทำให้ใจละอาสวกิเลสตัณหา ความเห็นในลักษณะนี้ จึงเป็นความเห็นเป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นผิดโดยไม่รู้ตัว ถึงจะเข้าใจว่าเป็นความเห็นถูกอยู่ก็ตาม ก็จะเป็นความเห็นผิดต่อไป

    ดังคำว่าเห็นผิดเป็นถูก เห็นชั่วว่าดี เห็นสิ่งไม่เที่ยงว่าเป็นของเที่ยง เห็นสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข เห็นสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอัตตา จึงตรงกันข้ามกับความเป็นจริงอยู่ตลอดเวลา ใน ความเห็นที่เกิดเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่มาเข้าใจว่าเรามีความเห็นเป็นสัมมาทิฏฐิ อย่างนี้ใช้ไม่ได้เลย ไม่เป็นไปตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าแต่อย่างใด

    ฉะนั้น การภาวนาปฏิบัติจึงเริ่มต้นจากความเห็น ตามปกติใจจะมีความเห็นผิดเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว เราจึงแก้ความเห็นผิดที่เป็นมิจฉาทิฏฐิให้หมดไปจากใจเสียก่อน แล้วจึงมาเริ่มต้นใหม่ให้ใจมีความเห็นเป็น สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ เห็นจริงตามความเป็นจริงที่ถูกต้อง

    ในเมื่อใจเรายังไม่เป็นสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ เราก็อย่าเพิ่งภาวนาปฏิบัติแต่อย่างใด เหมือนการออกรถลงสู่ถนน ถ้าเราไม่แน่ใจในเส้นทางที่เราจะต้องไป ก็อย่าแล่นรถออกไป ให้ศึกษาเส้นทางให้ดี ดูแผนที่ให้เข้าใจ จนเกิดความมั่นใจว่าถูกต้องแล้ว จึงออกรถไป จะไม่ทำให้เสียเวลา จะถึงจุดหมายปลายทางที่เราต้องการ นี้ฉันใด

    การภาวนาปฏิบัติก็ฉันนั้น เราจึงมาแก้ความเห็นผิดของใจให้เกิดความถูก จากนั้นไป ก็จะเกิดความเห็นถูก การภาวนาปฏิบัติก็จะเป็นแนวทางที่ถูกต้องในการเริ่มต้น ถูกในทางกลาง และถูกในที่สุดคือมรรคผลนิพพาน ...

    ................................................................................................................................................

    ธรรมะจาก หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ<!-- google_ad_section_end -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...