วิปัสนูกิเลส : ประสบการณ์ และ การแก้ไข

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Rupanama, 25 สิงหาคม 2009.

  1. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    กำหนดหรือยัง...
     
  2. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    เวทนารมณ์ทั้งหลายไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้ง อยู่ แล้วดับไป ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ในเวทนารมณ์นั้นเลย เมื่อสีหลายสีมันผสมกันไปแล้วจะแยกออกมาให้รู้ว่าสีใดเป็นสีใดนั้น จะทำยังก็มีแต่ต้องโยนิโสมนสิการด้วยตนเอง ตัวอย่างเช่น หาตัวดูดซับเพราะสีแต่ละสีมีคุณสมบัติต่างกัน จึงเกิดการดูดซับและเคลื่อนที่ผ่านไปได้ช้าเร็วต่างกัน นั่นแหละคือการโยนิโสมนสิการ นี่ตัวอย่าง
    อนุโมทนาครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 สิงหาคม 2009
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    วิปัสสนูกิเลสนี่ จะติดกันทุกคน อย่างน้อยต้องเกิดขึ้น โดยส่วนมากจะไม่ต่ำกว่า 3 ตัวหลัก

    ใช้คำว่า ตัวหลัก คือช่องเข้า แต่เวลาปรากฏวิปัสสนูกิเลส จะแสดงอาการเกือบครบ

    ดังนั้น อย่าตั้งท่าว่า จะไม่ติดวิปัสสนูกิเลส ....เพราะจะติดเสียก่อนติด....

    จะดีกว่าหาก เราติดแล้ว แกะออกมาได้เร็ว ส่วนใหญ่กัลยณมิตรที่ดี ที่มีอยู่จะ
    ช่วยได้ อันดับแรกๆคือ พ่อแม่ แล้วไปครูบาอาจารย์ นอกนั้นจะมีกำลังน้อย
    เพราะวาสนาต่อกันไม่มี

    ในกรณีที่ห่างไกลกัลยาณมิตร ทำอย่างไร ....ที่จะให้เราติดแล้วแกะออกมาได้ไว

    ก็ต้องฝึกระลึกเห็น ยุคล6 ไว้เนืองๆ ส่วนใหญ่จะดูเบากาย เบาใจ ลหุตา แต่ตัวนี้
    มีความปริเฉท และกิเลสลอกเลียนแบบได้ง่าย ...มียุคลอีกหลายตัว...แต่ขอลัด
    มาดูตัวที่ชื่อ อุชุกตา คือ มหากุศลจิต ที่ทำหน้าที่ให้เราซื่อตรงต่อการเห็นกิเลส

    เราจะฝึกดู อุชุกะตาได้ เมื่อฝึกกระทบโลก แล้วกิเลสมันเกิดขึ้น ตอนที่กิเลส
    มันเก่อตัวเป็นทิฏฐิ กำลังสะเทือนขึ้นโดยยังไม่บอกว่าเป็นอะไร จิตเราเห็นทันไหม
    ว่ากิเลสได้เกิดขึ้นแล้ว

    และเมื่อกิเลสเกิดขึ้นแล้ว เราคล้อยตาม เห็นหรือไม่ว่า เราคล้อยตามเพราะกิเลส
    หรือว่า คล้อยตามเพราะโอนอ่อนตามสัจจธรรม

    เมื่อกิเลสเกิดขึ้นแล้ว เราต้านมัน แทรกแซงมัน เพราะไม่ชอบใจเราเห็นหรือไม่เห็น

    เมื่อกิเลสเกิดขึ้นแล้ว เดินพ้นหน้าบ้านไปแล้ว โดยเราไม่ได้หยิบฉวยขึ้นมา
    เราเห็นหรือไม่เห็น

    เหล่านี้คือการฝึกเห็น อุชุกตา ซึ่งจะทำให้กลับมามี หิริโอตัปปะ ได้มากขึ้น
    และปรับให้เกิด ทิฏฐิชุกรรมไปในตัว (ช่วยให้ค้นหากัลยณธรรมเจอ)

    พอฝึกระลึกเห็น อุชุกตา ไว้ ไม่ใช่เอาแต่ ลหุตา ปคุณตา มุทุตา ฯ ก็จะทำให้
    ตอนที่ติดวิปัสสนูกิเลสจะดำริออกได้เร็วขึ้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 สิงหาคม 2009
  4. Rupanama

    Rupanama สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +25
    กำหนดแล้วแต่ไม่หาย เลยปล่อยไว้เฉยๆ แบบนั้่นไม่สนใจครับ
     
  5. Rupanama

    Rupanama สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +25
    อนุโมทนา กับ ความรู้ที่ให้น่ะครับ และ การเขียนขยายความ ผมไปลองหาอ่านดู ที่แนะนำคือตัวนี้ใช่ไหมครับ


    พระยุคลมี ๖ ประการ

    กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ จัดเป็นยุคลประการหนึ่ง
    กายลหุตา จิตตลหุตา จัดเป็นยุคลประการหนึ่ง
    กายมุทุตา จิตตมุทุตา ก็จัดเป็นยุคลประการหนึ่ง
    กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา ก็จัดเป็นยุคลประการหนึ่ง
    กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา ก็จัดเป็นยุคลประการหนึ่ง
    กายชุคตา จิตตุชุคตา ก็จัดเป็นยุคลประการหนึ่ง
    ประสมเข้ากันเป็นยุคล ๖ ประการด้วยกันอรรถที่ว่า

    กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กระทำให้กายแล จิตนี้ระงับจากกระวนกระวายทั้งปวง กายปัสสัทธิ เป็นพนักงานระงับกาย จิตตปัสสัทธินั้น เป็นพนักงานระงับจิต เมื่อกายปัสสัทธิบังเกิดแล้ว ความกระวนกระวายในกายอันตรธานหาย จิตตปัสสัทธิบังเกิดแล้วความกระวนกระวายในจิตอันตรธานหาย

    แลพระยุคลที่ ๒ ชื่อ กายลหุตา จิตลหุตา นั้นเมื่อบังเกิดแล้วทำให้กายและจิตนั้นเบา มิให้หนักอยู่ในที่จำเริญสมถะกัมมัฎฐานภาวนาและพระวิปัสสนากัมมัฎฐานภาวนา กายลหุตานั้นเป็นพนักงานบรรเทาเสียซึ่งความหนักในกาย จิตลหุตานั้นบรรเทาเสียซึ่งความหนักแห่งจิต เมื่อกายลหุตา จิตตลหุตา เกิดแล้วที่หนักกายและจิตก็อันตรธานหาย

    แลยุคลอันที่ ๓ กายมุทุตา จิตมุทุตา นั้น เมื่อบังเกิดแล้ว ก็ทำให้กายและจิตนั้นอ่อน มิให้กระด้างอยู่ในที่จำเริญ สมถะกัมมัฎฐานภาวนาและวิปัสสนากัมมัฎฐานภาวนา กายมุทุตานั้นเป็นพนักงานระงับเสียซึ่งกระด้างในกาย จิตมุทุตานั้นเป็นพนักงานระงับเสียซึ่งความกระด้างแห่งจิต เมื่อกายมุทุตา จิตมุทุตา นี้บังเกิดขึ้นแล้ว อันความกระด้างในกายและจิตก็ระงับหาย

    แลพระยุคลอันดับที่ ๔ ที่ว่า กายกัมมัญญตา จิตกัมมัญญตา นั้นเล่าก็เป็นพนักงานที่จะบำรุงกายและจิตให้ดี อยู่ในที่จำเริญสมถะกัมมัฎฐานภาวนาและวิปัสสนากัมมัฎฐานภาวนา

    แลพระยุคลอันดับที่ ๕ ชื่อ กายปาคุญญตา จิตปาคุญญตา นั้นเมื่อบังเกิดแล้วในสันดาน ก็ระงับเสียซึ่งความลำบาก กายปาคุญญตานั้นเป็นพนักงานระงับเสียซึ่งความลำบากแห่งกาย จิตปาคุญญตานั้นเป็นพนักงานระงับเสียซึ่งความลำบากแห่งจิต เมื่อ กายปาคุญญตา จิตปาคุญญตาบังเกิดแล้ว ความลำบากกายและจิตก็ระงับหาย

    แลยุคล ๖ อรรถที่ว่า กายชุคตา จิตตุชุคตา นั้นเล่าถ้าบังเกิดในสันดานแล้ว ก็กระทำให้กายและและจิตนั้นตรงอยู่ในที่จำเริญสมถกัมมัฎฐานภาวนา และวิปัสสนากัมมัฎฐานภาวนา กายชุคตาเป็นพนักงานกระทำให้กายนั้นตรง จิตตุชุคตานั้นเล่าเป็นพนักงานทำให้จิตนั้นตรง เมื่อกายชุคตา จิตตุชุคตาบังเกิดแล้ว กายและจิตที่คดอันตรธานหาย

    พระยุคล ๖ ประการมีคุณต่างๆ กัน เป็นต่างๆ กัน ดุจพรรณนามานี้พึงเข้าใจเป็นใจความว่า ปีติอันมี ลักษณะ ๕ ประการดังพรรณนามาแต่หนหลังนั้น ถ้าบังเกิดในสันดานแล้ว ก็ยังพระยุคลธรรม อันเป็นปฐมคือ กายปัสสัทธิ จิตปัสสัทธิ อันให้บังเกิด กายปัสสัทธิ จิตปัสสัทธิ เมื่อบังเกิดขึ้นในสันดานแล้ว ก็ยังให้กายเป็นสุข จิตเป็นสุข ก็ทำให้บังเกิดสมาธิ ๓ ประการ คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ
     
  6. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647

    ทีนี้ลองไปกำหนดอีกครั้งถ้ายังพบสภาวะนั้นนะครับ...ให้กำหนดว่าเห็นหนอ....เห็นหนอ...ลงไป....นะครับ....

    ให้กำหนดรู้ว่าเห็นหนอนะครับ.....กำหนดรู้...ไม่ใช่กำหนดแสง......

    ลองไปทำดูก่อน...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 สิงหาคม 2009
  7. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    จริงๆอยากจะบอกว่า ปัญหาด้านการปฏิบัตินั้น มันไม่ได้ตกไปด้วยการถามหลอกนะ....หากแต่ตกไปด้วยการปฏิบัติมากกว่า....

    การถามก็เหมือนการถามทาง...การปฏิบัติคือการเดินให้ไปถึงที่....

    ไปปฏิบัติดูก่อนนะครับ....
     
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ;aa8

    แม่นแล้ว.....

    ศัพท์ที่ใช้ว่า ยุคล6 จะมาจากหลักสูตรพระ "กรรมฐานโดยลำดับ" ที่วางไว้
    โดยพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน) ช่วงสมัย ร.4 ซึ่งเป็นหลักสูตรสำหรับฝึก
    ให้เป็น ปฏิสัมภิทาฯ ...เนื้อหาการฝึกจึงพิสดารพอควร...แต่เราก็หยิบยืม
    มาใช้ได้โดยอาศัยดูจากหลังที่ยุคล6 ปรากฏ ฝึกระลึกเห็นว่ามี ว่ามันทำ
    งานอย่างไรบ่อยๆ ก็จะค่อยๆ เข้าใจเหตุของการปรากฏได้ ก็จะพอทราบนัย
    ในการฝึกที่พิศดารนั้น แล้วก็ฝึกเพื่อเป็นปฏิสัมภิทาได้(สามารถ อนุโลม และ
    ปฏิโลม ได้)

    ตามหลักสูตรอภิธรรม จะใช้ชื่อ โสภณเจตสิก จะเป็นการตามรู้ตามดู ไม่ใช่
    การสร้างขึ้น ...ซึ่งก็พอเพียงต่อการนำมาช่วยเรื่องการแกะวิปัสสนู
     
  9. DevilBitch

    DevilBitch เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2005
    โพสต์:
    9,776
    ค่าพลัง:
    +36,838
    เห็นแสงสว่างมันไม่ยอมหายไป ก็มองดูมันไปสิคะ ถ้าปฏิบัติสติปัฎฐาน ๔ ยายผีป่าเพิ่งไปตอบที่กระทู้แม่ชีณัฐทิพย์เรื่อง พิจารณากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม (สติปัฎฐาน ๔)

    ไปอ่านดูสิคะ แล้วจะรู้ว่าที่เราบอกว่าฝึกเพื่อให้ศีล สมาธิ ปัญญา ตั้งมั่นนั้นเข้าใจถูกหรือไม่ เน็ตยายผีป่าอืดมากๆ กว่าจะตอบได้ นานหลายชั่วโมง เดี๋ยวว่างๆ จะเขียนให้เข้าใจมากขึ้นนะคะ
     
  10. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +1,558
    วิปัสนูกิเลส เรื่องควรรู้และจำเป็นต้องรู้ อย่างยิ่ง . .
    ก็อปมาไห้อ่าน คิดว่าคงรู้อยู่แล้วหละ

    1. โอภาส
    เมื่อจิตมีความสงบในสมาธิแล้ว จะเกิดแสงสว่าง

    2. ปิติ
    เมื่อจิตมีความสงบในสมาธิแล้ว จะเกิดความเพลิดเพลินเอิบอิ่มใจขณะนั้น

    3. ปัสสัทธิ
    มีความสงบกายสงัดใจเป็นอย่างมาก มีความสงบ เยือกเย็น
    ไม่มีความร้อนหนาว ไปตามดินฟ้าอากาศ แต่อย่างใด มีแต่ความสงบกายสงัดใจ
    อยู่ตลอดเวลา ไม่มีอารมณ์ให้เกิดความเร่าร้อนทุกข์ใจแต่อย่างใด จะยืน เดิน นั่ง
    นอน อยู่ที่ไหนก็มีความสงบกายสงัด ใจอยู่ที่นั่นไม่มีความรักความชังกับสิ่งใดๆ เหมือน
    กับกิเลสตัณหา ได้หมดไปจากใจ ไม่มีอะไรจะให้เกิด ความเศร้าหมองขุ่นมัว
    จะมีความพอใจยินดีอยู่ใน ลักษณะนี้อยู่ตลอดเวลา

    4. สุขะ
    จะมีความสุขกายมีความสุขใจเป็นอย่างยิ่ง ไม่มีความสุข ใดในโลกนี้
    จะเสมอเหมือน จะ ยืน เดิน นั่ง นอน ในที่ ไหน ก็มีแต่ความสุขอยู่ตลอดเวลา
    ชีวิตที่เกิดมาเพิ่ง ได้พบได้เห็น ความยินดีพอใจในความสุขนี้ แทบจะตะโกนให้คนอื่น
    ได้รับรู้ด้วย อยากให้ความสุขนี้มีอยู่ กับตัวเองตลอดไป(กิเลส) ไม่อยากให้ความสุขนี้ได้
    เสื่อมคลายสลายไป จะอยู่จะไปในที่ไหน ใจจะมีความเพลิดเพลินอยู่ในสุขนี้ จะกินอยู่หลับ
    นอนในที่ไหน ใจจะมีความสุขอยู่ในความสงบนี้อย่างฝังใจทีเดียว

    5. ญาณะ
    มีญาณรู้เกิดขึ้นที่ใจ ในบางครั้งความรู้เกิดขึ้นทางโลก บางครั้งความรู้
    เกิดขึ้นทางธรรม อยากรู้ในธรรมข้อไหน หมวดใดกำหนดถามใจก็จะได้คำตอบขึ้นมา
    ทันที อยากรู้ ในทางโลกอย่างไร กำหนดถามใจก็จะได้เช่นนั้น ในบาง ครั้งจะมีญาณ
    รู้เกิดขึ้นมาเอง ว่าจะมีเหตุการณ์เกิดขึ้นอย่าง นั้นอย่างนี้ไป บางทีก็รู้เป็นเรื่องอดีต
    บางทีก็รู้เป็นเรื่อง ในปัจจุบัน บางทีก็รู้เป็นเรื่องของอนาคต บางทีก็รู้ใน เรื่องของตัวเอง
    และเรื่องของคนอื่น อยากรู้เรื่องอะไร กำหนดถามใจจะรู้ได้ทันที

    6. อธิโมกข์
    น้อมใจเชื่อในสิ่งที่เกิดขึ้นว่าเป็นเรื่องจริง เชื่อว่าสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด
    เป็นแนวทางที่ถูกต้อง เป็นแนวทางที่จะให้ถึงซึ่งมรรคผลนิพพานเป็นความเชื่อมั่น
    ในตัวเองสูงมาทีเดียว โดยเฉพาะมีความเชื่อจากความรู้ที่เกิดขึ้นว่าเป็นของจริงไป
    เสียทั้งหมด ใครจะมาพูดว่าผิดก็จะโต้แย้ง ว่าตัวเองถูกตลอดไป จึงได้เกิดเป็นทิฎฐิมานะ
    เชื่อในความรู้ของตัวเองอย่างฝังใจเชื่อมั่นในการปฏิบัติของตัวเอง

    7. ปัคคาหะ
    มีความเพียงอย่างโดดเด่นเข้มแข็งมาก จะเดินจงกรมจะนั่งสมาธิ
    จะมีความขยัน หมั่นเพียรเป็นอย่างมากทีเดียว เป็นผู้ที่มีความตั้งใจที่จริงจังในการ
    ปฏิบัติธรรม จะยืน เดิน นั่ง นอน จะปรารภ ความเพียรอยู่ตลอดเวลา
    มีความขยันอดทนเพื่อมรรคผล นิพพานอย่งแน่วแน่ทีเดียว จะอยู่ที่ไหน ไปในที่ใด
    จะไม่ลดละในความเพียรนี้อย่างเด็ดขาด ความเพียรในที่นี้หมายถึงทำใจให้เป็นสมาธิอยู่
    อยู่ทุกลมหายใจ ไม่หวั่นไหวไม่สนใจกับสิ่งใดๆ ขอให้มีความเพียรตลอดทั้งคืนวันได้ยิ่งดี

    8. อุปัฎฐาน
    มีสติระลึกได้อย่างชัดเจนมาก จะเหยียดแขนคู้แขนมองหน้าเหลียวหลัง
    มีสติระลึกได้อยู่ตลอดเวลา การนึกคำบริกรรม ทำสมาธิจะมีสติดระลึกได้ไม่ให้เผลอ
    กำหนดลมหายใจเข้าออก ก็มีสติระลึกได้เท่าทันกับลมหายใจเข้าออก
    ลมหายใจเข้าออกสั้น ยาวก็มีสติ ระลึกรู้ได้อยู่ตลอดเวลา ความเคลื่อนไหวในร่างกาย
    ทุกส่วนคำพูดออกมาแต่ละประโยต มีสติระลึกได้เป็นอย่างดี จิตมีความนึกคิด
    ในเรื่องอะไรคิดในทางโลกและทางธรรม คิดเรื่องส่วนตัว หรือเรื่องผู้อื่นมีสติระลึกรู้
    ได้อยู่เสมอ แม้จะมีสติระลึกได้เท่าทันในการปฏิบัติอยู่ก็ตาม ถ้าฐานเดิมยังเป็น
    มิจฉาทิฎฐิ ความเห็นผิดอยู่ ก็จะ เป็นวิปัสสนูปกิเลสต่อไป

    9. อุเบกขา
    ความวางเฉย ภายใจใจจะมีความเป็นกลางได้เป็นอย่างดีไม่ว่าสิ่ง
    ใดมากระทบทาง อาตยนะ จะไม่ยินดียินร้ายในสิ่งนั้น ๆ ไม่มีความรักความชังกับใคร
    และสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น จะอยู่ใน อิริยาบถใดใจจะวางเฉยได้ตลอดทั้งคืนวัน
    จะมีคนพูดยกยอสรรเสริญ หรือกล่าวร้ายอย่างไร ใจก็เพียงรับรู้ ไม่ได้ฟูไปตาม
    อารมณ์ในคำพูดดี และชั่นอย่างใด ใจไม่กำเริบในราคะตัณหา ไม่มีแนวความคิดพิจารณา
    ด้วยปัญญาอะไรเลย จะอยู่คนเดียวเงียบๆ ไม่ชอบพูดคุยกับใครๆ ใจก็จะวางเฉย
    ต่อสิ่งทั้งหลายนี้ไป

    10 นิกันติ
    จะเกิดความพอใจยินดีในสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด สิ่งที่เกิดขึ้นจากการ
    เป็นไปในข้อ 1 - 9 จะมีความภาคภูมิใจในผลการปฏิบัติของตัวเองเป็นคนที่มีความ
    เชื่อมั่นสูงมาก มีความยินดีพอใจในลักษณะนี้เป็นอย่างมาก จึงได้เกิดความคิดว่า
    เป็นของจริง มีความเชื่อถือว่าเป็นแนวทางที่ตรงต่อมรรคผลนิพพานอย่างมั่นใจ
    จะมอบกายถวายชีวิตอุทิศตัวในการปฏิบัติอย่างนี้ไปจนชีวิตจะหาไม่
    ------------------------------------------------------------------------------

    ประสพการวิปัสนูกิเลสของผมคือข้อ 8 มีสติเกิดขึ้นชัดเจนมาก โดยที่ไม่เคยฝึกจริงจัง
    สาเหตุก็เพราะจิตเกิดละความสนใจในรูป และ อารมณ์อันน่ายินดีได้มากพอสมควร จนไม่สนใจปรุงแต่งต่อไป จิตจึงหันมาสนใจดูในกายแทน

    ตอนนั้นก็มีความยินดี คือ นิกันติในวิปัสนูกิเลสข้อ10 เกิดขึ้นนิดหน่อย เพราะไม่เคยศึกษาวิปัสนูกิเลส10 แต่ก็ระวังไว้แล้วว่าจะไม่ยินดีกับสติที่เกิดขึ้นนี้มากนัก เพราะรู้ว่าสิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น แต่ก็ยังมีความยินดี(นิกันติ)อยู่ดี . .

    แต่ผมโชคดีนิดหน่อย พอดีได้ฟังเรื่องวิปัสนูกิเลส10ทางวิทยุจากพระอาจารณ์ กิตติในเช้าวันหนึ่ง แต่ยังไม่ละเอียดนัก จะเล่าเท่าที่คิดว่าน่าจะมีประโยชน์ ดังนี้

    ตอนหนึ่งไกล้จะจบเรื่องวิปัสนูกิเลส ท่านว่า วิปัสนูกิเลสนี้ ต้องมี นิกันติเกิดร่วมด้วยเสมอจึงจะเป็นวิปัสนูกิเลส . . ถ้าเกิดแค่ข้อ1-9 ยังไม่เป็นวิปัสนูกิเลส ต้องมีความยินดีพอใจคือนิกันติเกิดร่วมด้วยเสมอ จึงเป็นวิปัสนูกิเลส . . จบ

    แต่ ในคนที่ไม่เคยได้ศึกษาวิปัสนูกิเลส10หละ เมื่อเกิดข้อ1-9 ต้องมีนิกันติ ในข้อ10 เกิดร่วมด้วยแน่นอน. . .
    เพราะฉะนั้น เรื่องวิปัสนูกิเลส จึงเป็นเรื่องน่ารู้และ จำเป็นต้องรู้อย่างยิ่ง
     
  11. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +1,558
    วิธีแก้ของผม ก็แค่วางมันซะความยินดีพอใจจนคิดจะหยุดเดินต่อหนะ วางลงซะ แล้วเดินต่อ . . ก็เราไม่มีกัลยานะมิตรนี่ หุหุ

    เดินต่ออย่างไรผมก็เห็นแล้ว ก็เอาสติที่มันชัดเจนขึ้นมาใช้ต่อไห้เกิดประโยชน์ต่อไป
    ทั้งทางสมาธิ และก็สติปัสฐาน . .

    แล้วก็จากที่เกิดวิปัสนูกิเลสครั้งนี้รู้ว่าเกิดเพราะจิตเลิกปรุงแต่ง ในสิ่งที่น่ายินดี น่าพอใจ ที่มากระทบได้มากพอสมควร
    ต่อไปก็จะไช้วิธีเดียวกัน กำหนดรู้ในสิ่งที่ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ ที่มากระทบ
    ไห้จิตคลายความยินร้ายไม่ชอบใจ ในอารมณ์ไม่น่าชอบใจต่างๆไห้ได้จนจิตเลิกปรุงแต่งอารมณ์ไม่น่าพอใจเหล่านั้นได้ มาก
    พอๆกับที่จิตเลิกปรุงแต่งในอารมณ์อันน่ารัก น่าพอใจ . .ที่ทำไห้เกิดวิปัสนูกิเลสในครั้งนี้ . . . ไห้สมกับที่ได้การบ้านจากพระพุทธเจ้า(ตู่เอาเอง)เป็นคำบาลี ว่า โสรัจจะมา

    ถึงตอนนั้นผมอาจจะได้เจอกันอีก วิปัสนู กิเลส ที่ อาจจะไม่มีนิกันติร่วมด้วย
    -------------------------------------------------------------------
    จบ อนุโมทนาครับ ^^
     
  12. Rupanama

    Rupanama สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +25
    ขอบคุณมากครับ

    ผมได้ลองทำดูวันนี้ครับ คือถ้าเราทำยุคลเบอร์ 6 (ผมว่ามันคล้ายๆ อุเบกขา)ได้ เดียวยุคลเบอร์อื่น จะเกิดขึ้นเองใช่ไหมครับ
     
  13. Rupanama

    Rupanama สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +25
    ขอบคุณมากครับ
    ผมเกิดประมาณ 3 อย่างครับ
    1. เกิดโอภาส ครับ แต่กำหนดแล้วไม่หาย เลยปล่อยไว้คิดเฉยๆ ว่าเมื่อก่อนไม่มีแสง ยังไม่เป็นไร พอมีแสงก็ทำเหมือนเดิม ครับ แรกๆ ชอบ แต่ตอนนี้เฉยๆ แล้วครับ ผมพึ่งทราบเหมือนกันว่า ถ้าไม่มีนิกันดิเป็นองค์ประกอบ ไม่ถือว่าเป็นวิปัสนูกิเลส ครับ แต่ดูแล้วก็น่าจะจริง เพราะ ข้ออื่น ไม่ได้มีองค์ประกอบ เป็น โลภะ โทสะ โมหะ ผมคิดว่าตอนนี้ไม่น่ามีนิกันดิเป็นองค์ประกอบ แล้วครับ

    2. เกิดปิติ ครับ เป็นแบบเหมือนกับมีความสุข แบบเหมือนเอาฟองน้ำ จุ่มน้ำเลยครับ มันเอิบอาบไปหมด เหมือนฟองน้ำ อมน้ำ กำหนดสุขหนอๆๆ ประมาณ ชั่วโมงกว่าๆ ถึงดับครับ แต่ปิติแบบนี้ปราณีตมาก ยังไม่เคยรู้สึกอย่างนี้เลยครับ แปลกมากๆ

    3. เหมือนมีกลิ่นหอม แบบที่หอมมากๆ ไม่เคยได้กลิ่นอย่างนี้มาก่อนเลยในชีวิต แถม กลิ่นหอมนี้สามารถรับรู้ได้ทางผิวหนังอีกด้วย เจออันนี้เลิกนั่งเลยครับ

    ประมาณนี้ครับ ติดใจเรื่องเดียวคือแสงสว่างครับ แต่ตอนนี้เข้าใจแล้ว

    อนุโมทนาบุญครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...