วิธีได้เจโตปริยญาน และบุฟนิวาสานุสติระลึก100อดีตชาติ

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย Tamjugg, 5 พฤศจิกายน 2014.

แท็ก: แก้ไข
  1. Tamjugg

    Tamjugg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2012
    โพสต์:
    657
    ค่าพลัง:
    +1,029
    บัวสี่เหล่าในอรรถกถา

    1. (อุคคฏิตัญญู) พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้ และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที

    2. (วิปจิตัญญู) พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำซึ่งจะบานในวันถัดไป

    3. (เนยยะ) พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอบด้วยศรัทธา ปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง

    4. (ปทปรมะ) พวกที่ไร้สติปัญญา และยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียร เปรียบเสมือนดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน

    พิงพิจารณาเนืองๆว่าต้นอยู่เหล่าไหนตามความจริง เพื่อพัฒนาตนเองยิ่งๆขึ้นไป ก็จะเจริญในธรรมในเร็ววันคับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กรกฎาคม 2015
  2. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ถามสั้น ให้ตอบตามความเป็นจริง กลับไม่ยอมตอบ
    ตอบเสียยาว แต่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับที่ถามเลย

    การปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้า คืออยู่กับสิ่งที่เป็นจริง
    เมื่อวิ่งหนีความจริง ก็เป็นเดียรถีย์ ผู้ทำลายพุทธศาสนา
     
  3. Tamjugg

    Tamjugg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2012
    โพสต์:
    657
    ค่าพลัง:
    +1,029
    "ทำชั่วด้วยตนเอง ย่อมเศร้าหมองด้วยตนเอง ไม่ทำชั่วด้วยตนเอง ย่อมหมดจดด้วยตนเอง"
    (๒๕/๒๒) ‪#‎ธรรมะ‬
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มีนาคม 2015
  4. Tamjugg

    Tamjugg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2012
    โพสต์:
    657
    ค่าพลัง:
    +1,029
    "ขึ้นชื่อว่าความลับไม่มีในโลก สำหรับผู้ทำบาปกรรม ดูกรบุรุษ จริงหรือเท็จ ตัวของท่านเองย่อมจะรู้ได้"
    (๒๐/๔๗๙) ‪#‎ธรรมะ‬
     
  5. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    มีปมด้อยอะไรกับคำว่าแต๋วหรือ?
    หรือว่าโดนคนอื่นล้อบ่อยตั้งแต่เด็ก เลยจำฝังใจ
     
  6. Tamjugg

    Tamjugg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2012
    โพสต์:
    657
    ค่าพลัง:
    +1,029
    บุคคล ไม่ชื่อว่าเป็นเถระ เพราะมีผมหงอกบนศีรษะ ผู้มีวัยแก่รอบแล้วนั้น เราเรียกว่า แก่เปล่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2017
  7. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    Tamjugg

    2500 หารด้วย 100 ได้เท่าไหร่?
     
  8. Tamjugg

    Tamjugg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2012
    โพสต์:
    657
    ค่าพลัง:
    +1,029
    ความไม่ทำบาปทั้งปวง ๑
    ความบำเพ็ญกุศลให้ถึงพร้อม ๑
    ความชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว ๑
    นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

    (๒๕/๒๔) ‪#‎มาฆบูชา‬
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มีนาคม 2015
  9. Tamjugg

    Tamjugg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2012
    โพสต์:
    657
    ค่าพลัง:
    +1,029
    การไม่ล่วงละเมิดทางกาย
    การไม่ล่วงละเมิดทางวาจา
    การไม่ล่วงละเมิดทางกายและวาจา
    นี้เรียกว่า ความถึงพร้อมด้วยศีล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2016
  10. Tamjugg

    Tamjugg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2012
    โพสต์:
    657
    ค่าพลัง:
    +1,029
    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ ๓๑๒

    " ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ทำให้เป็นเถระ ๔ ประการเหล่านี้ คือ พระเถระในพระศาสนานี้ เป็นผู้มีศีล เป็นพหูสูต ได้ฌาน ๔ สิ้นอาสวะทั้งหลาย”
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มกราคม 2017
  11. Tamjugg

    Tamjugg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2012
    โพสต์:
    657
    ค่าพลัง:
    +1,029
    "พึงพิจารณาเนืองๆ ว่า เราย่อมติเตียนตนเองได้โดยศีลหรือไม่"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2016
  12. Tamjugg

    Tamjugg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2012
    โพสต์:
    657
    ค่าพลัง:
    +1,029
    [๕๘๔] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
    เป็นผู้มีปรกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาตรา
    เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้
    พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
    ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโรคมาก ดูกรมาณพ
    ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคมากนี้ คือ เป็นผู้มีปรกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือ
    ก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาตรา ฯ


    [๕๘๕] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
    เป็นผู้มีปรกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาตรา
    เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม
    สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์
    เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโรคน้อย ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไป
    เพื่อมีโรคน้อยนี้ คือ เป็นผู้มีปรกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน
    หรือท่อนไม้ หรือศาตรา ฯ


    ๑. ภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อจักขุบาล ท่านทำความเพียรเพื่อบรรลุมรรคผลจนตาบอดทั้ง ๒ ข้าง พร้อมกับสำเร็จเป็นพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่าเป็นผลของกรรมที่เมื่อชาติหนึ่ง พระจักขุบาลเป็นหมอรักษาโรคตา ประกอบยาให้คนป่วยตาบอดโดยเจตนา เพราะคนป่วยทำทีบิดพลิ้วจะไม่ให้ค่ารักษา เรื่องนี้ปรากฎในอรรถกถาธรรมบทภาค ๑ เรื่องจักขุบาล

    ๒. ชายคนหนึ่ง ชื่อจุนทะ มีอาชีพทางฆ่าหมูขาย คราวหนึ่งป่วยหนัก ลงคลาน ๔ ขาร้องครวญครางเสียงเหมือนหมู ทุกข์ทรมานอยู่หลายวันจึงตาย เรื่องนี้ปรากฎในอรรถกถาธรรมบท ภาค ๑ เรื่องจุนทสูกริก

    ๓. ชายคนหนึ่ง มีอาชีพทางฆ่าโคขายเนื้อ วันหนึ่งเนื้อที่เก็บไว้เพื่อบริโภคเอง เพื่อนมาเอาไปเสียโดยถือวิสาสะ จึงถือมีดลงไปตัดลิ้นโคที่อยู่หลังบ้านมาให้ภรรยาทำเป็นอาหาร ขณะที่เขากำลังบริโภคอาหารอยู่นั้นลิ้นของเขาได้ขาดหล่นลงมา เขาคลาน ๔ ขา เหมือนโค ร้องครวญครางทุกข์ทรมานแสนสาหัสและสิ้นชีพพร้อมกับโคหลังบ้าน เรื่องนี้ปรากฏในอรรถกถาธรรมบทภาค ๗ เรื่องบุตรของนายโคฆาต

    ๔. ภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อติสสะ เป็นแผลเปื่อยพุพองรักษาไม่หายพระพุทธเจ้ากับพระอานนท์ไปช่วยดูแลให้อาบน้ำอุ่น แสดงธรรมให้ฟังพระติสสะได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์พร้อมกับนิพพานในวันนั้น พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่าที่เป็นแผลพุพองนั้นเพราะชาติก่อน พระติสสะเป็นพรานนก จับนกขายเป็นอาหาร ที่เหลือก็หักปีกหักขาไว้เพื่อไม่ให้มันบินหนี เรื่องนี้ปรากฏในอรรถกถาธรรมบท ภาค ๒ เรื่องปูติคัตตติสสะ

    สุดท้ายขอให้ทุกท่านยกเลิกการเบียดเบียนชีวิตผู้อื่น และรักษาศีลครบบริบูรณ์อันส่งผลให้ไปถึงสวรรค์ได้ และชาตินี้ก็โรคภัยไข้เจ็บไม่ค่อยมี และดูแลสุขภาพตามสมควร สิ่งเหล่านี้ถ้าท่านปฏิบัติถึงระดับนึงจะสามารถเห็นบุพกรรมได้ด้วยตนเองและจะเริ่มเข้าใจสิ่งที่พุทธองค์ตรัส
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2016
  13. Tamjugg

    Tamjugg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2012
    โพสต์:
    657
    ค่าพลัง:
    +1,029
    พระปูติคัตตติสสเถระ

    ท่านพระปูติคัตตติสสเถระซึ่งเป็นโรคฝีทั่วตัว จนกระทั่งร่างกายเน่า และจีวร

    เปื้อนด้วยเลือดและน้ำหนอง เมื่อภิกษุทั้งหลายทอดทิ้งท่าน พระผู้มีพระภาคทรงทราบก็

    เสด็จไปอนุเคราะห์ ซึ่งเมื่อภิกษุทั้งหลายเห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จไป ก็ได้ช่วยพระผู้มี

    พระภาคพยาบาลท่านพระปูติคัตตติสสเถระ โดยให้ท่านสรงน้ำร้อน และช่วยกันเปลี่ยน

    จีวรให้สะอาดกายสบายใจ ตามรับสั่งของพระผู้มีพระภาค เมื่อท่านพระปูติคัตตติ-

    สสเถระพร้อมที่จะได้ฟังพระธรรม พระผู้มีพระภาคก็ทรงแสดงธรรม เมื่อจบพระธรรม

    เทศนาท่านก็บรรลุเป็นพระอรหันต์และปรินิพพาน

    เพราะฉะนั้น ท่านผู้ฟังก็ควรจะระลึกถึงการไม่กระทำอกุศลกรรมใดๆเลยทั้งสิ้น

    เพราะเหตุว่าอกุศลกรรมที่ได้กระทำไว้แล้วในอดีตอนันตชาติ ก็ยังพร้อมที่จะให้ผลได้

    เมื่อถึงกาลที่จะให้ผลนั้นๆเกิด

    ซึ่งพระผู้มีพระภาคก็ได้ทรงแสดงอดีตชาติของท่านพระปูติคัตตติสสเถระว่า

    ในครั้งศาสนาของพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปะนั้น ท่านพระปูติคัต-

    ตติสสเถระเกิดเป็นพรานนก ฆ่านกขาย นกที่เหลือขายนั้นก็หักกระดูกขาและกระดูกปีก

    ทิ้งไว้เป็นกองๆ ไม่ให้บินไปได้ เพราะถ้าจะฆ่าให้ตาย นกพวกนั้นก็จะเน่าเสีย

    ตอนเช้า ก็เอานกที่ หักปีก หักขา เหล่านั้นไปเที่ยวขายอีก เหลือจากนั้นก็ทำ

    อาหารบริโภคตามต้องการ

    วันหนึ่ง เมื่อพรานนกนั้นทำอาหารเสร็จแล้ว พระอรหันต์องค์หนึ่งได้เที่ยว

    บิณฑบาตไปถึงบ้านของนายพรานนก นายพรานนกเกิดความเลื่อมใสจึงได้ถวายอาหาร

    บิณฑบาต และตั้งความปรารถนาที่จะบรรลุธรรม ซึ่งในชาติสุดท้ายท่านก็บรรลุธรรม แต่

    ว่าอดีตอกุศลกรรมที่ได้ทำไว้ ก็ทำให้ท่านเป็นโรคฝีทั่วตัวจนร่างกายเน่า

    และสำหรับการสงเคราะห์อนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์นั้น พระผู้มีพระภาคก็ไม่ได้ทรง

    สงเคราะห์เพียงการแสดงธรรมเท่านั้น พระผู้มีพระภาคยังทรงอนุเคราะห์ภิกษุผู้ป่วยไข้

    ที่ขาดผู้ดูแลพยาบาล และแม้ในกิจเล็กๆน้อยๆของภิกษุสงฆ์ เช่น ในสังยุตตนิกาย

    สคาถวรรค อรรถกถาอนุรุทธสูตร ขณะที่พระเถระ ๓ รูป คือ ท่านพระสารีบุตร ท่านพระ-

    มหาโมคคัลลานะ และท่านพระอนุรุทธะช่วยกันทำจีวรของท่านพระอนุรุทธะนั้น แม้

    พระผู้มีพระภาคเองก็ทรงร้อยเข็มประทานให้

    เพราะฉะนั้นผู้ที่ศึกษาธรรม แล้วก็พิจารณาโดยละเอียด ย่อมเห็นประโยชน์ของ

    การไม่ละโอกาสแม้เพียงเล็กๆน้อยๆ ที่จะกระทำกุศล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กรกฎาคม 2015
  14. Tamjugg

    Tamjugg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2012
    โพสต์:
    657
    ค่าพลัง:
    +1,029
    อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ ๓
    หน้าต่างที่ ๗ / ๙.

    ๗. เรื่องพระปูติคัตตติสสเถระ [๓๐]
    ข้อความเบื้องต้น
    พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภพระเถระชื่อว่า ปูติคัตตติสสเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า “อจิรํ วตยํ กาโย” เป็นต้น.

    พระเถระกายเน่า
    ได้ยินว่า กุลบุตรชาวกรุงสาวัตถีผู้หนึ่ง ฟังธรรมกถาในสำนักของพระศาสดา ถวายชีวิตในพระศาสนา ได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว ได้ชื่อว่า พระติสสเถระ. เมื่อกาลล่วงไปๆ โรคเกิดขึ้นในสรีระของท่าน ต่อมทั้งหลายประมาณเท่าเมล็ดผักกาดผุดขึ้น. มัน (โตขึ้น) โดยลำดับ ประมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียว ประมาณเท่าเมล็ดถั่วดำ ประมาณเท่าเมล็ดกระเบา ประมาณเท่าผลมะขามป้อม ประมาณเท่าผลมะตูม แตกแล้ว. สรีระทั้งสิ้นได้เป็นช่องเล็กช่องน้อย ชื่อของท่านเกิดขึ้นแล้วว่า พระปูติคัตตติสสเถระ (พระติสสเถระผู้มีกายเน่า).
    ต่อมา ในกาลเป็นส่วนอื่น กระดูกของท่านแตกแล้ว. ท่านได้เป็นผู้ที่ใครๆ ปฏิบัติไม่ได้. ผ้านุ่งและผ้าห่มเปื้อนด้วยหนองและเลือด ได้เป็นเช่นกับขนมร่างแห. พวกภิกษุมีสัทธิวิหาริกเป็นต้นไม่อาจจะปฏิบัติได้ (จึงพากัน) ทอดทิ้งแล้ว. ท่านเป็นผู้ไม่มีที่ พึ่งนอน (แซ่ว) แล้ว.

    พระพุทธเจ้าทรงพยาบาลและทรงแสดงธรรม
    ก็ธรรมดาว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่ทรงละการตรวจดูโลกสิ้น ๒ วาระ (คือ) ในกาลใกล้รุ่ง เมื่อทรงตรวจดูโลก ทรงตรวจดูจำเดิมแต่ขอบปากแห่งจักรวาล ทำพระญาณให้มุ่งต่อพระคันธกุฏี, เมื่อทรงตรวจดูเวลาเย็น ทรงตรวจดูจำเดิมแต่พระคันธกุฏี ทำพระญาณให้มุ่งต่อที่ (ออกไป) ภายนอก.

    ก็ในสมัยนั้น พระปูติคัตตติสสเถระปรากฏแล้วภายในข่าย คือพระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัตของติสสภิกษุ ทรงดำริว่า “ภิกษุนี้ถูกพวกสัทธิวิหาริกเป็นต้นทอดทิ้งแล้ว, บัดนี้ เธอยกเว้นเราเสีย ก็ไม่มีที่พึ่งอื่น” ดังนี้แล้ว จึงเสด็จออกจากพระคันธกุฏี เหมือนเสด็จเที่ยวจาริกในวิหาร เสด็จไปสู่โรงไฟ ทรงล้างหม้อ ใส่น้ำ ยกตั้งบนเตา เมื่อทรงรอให้น้ำร้อน ได้ประทับยืนในโรงไฟนั่นเอง, ทรงรู้ความที่น้ำร้อนแล้ว เสด็จไปจับปลายเตียงที่ติสสภิกษุนอน.

    ในกาลนั้น พวกภิกษุกราบทูลว่า “ขอพระองค์จงเสด็จหลีกไป พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์จักยก๑- (เอง) แล้ว (ช่วยกัน) ยกเตียง นำไปสู่โรงไฟ.
    พระศาสดาทรงให้นำรางมา ทรงเทน้ำร้อน (ใส่) แล้ว ทรงสั่งภิกษุเหล่านั้นให้ (เปลื้อง) เอาผ้าห่มของเธอ ให้ขยำด้วยน้ำร้อน แล้วให้ผึ่งแดด.
    ลำดับนั้น พระศาสดาประทับยืนอยู่ในที่ใกล้ของเธอ ทรงรดสรีระนั้นให้ชุ่มด้วยน้ำอุ่น ทรงถูสรีระของเธอ ให้เธออาบแล้ว. ในที่สุดแห่งการอาบของเธอ, ผ้าห่มนั้นแห้งแล้ว.
    ทีนั้น พระศาสดาทรงช่วยเธอให้นุ่งผ้าห่มนั้น ทรงให้ขยำผ้ากาสาวะที่เธอนุ่งด้วยน้ำ แล้วให้ผึ่งแดด. ทีนั้น เมื่อน้ำที่กายของเธอพอขาด (คือแห้ง) ผ้านุ่งนั้นก็แห้ง. เธอนุ่งผ้ากาสาวะผืนหนึ่ง ห่มผ้ากาสาวะผืนหนึ่ง เป็นผู้มีสรีระเบา มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง นอนบนเตียงแล้ว.
    พระศาสดาประทับยืน ณ ที่เหนือศีรษะของเธอ ตรัสว่า “ภิกษุ กายของเธอนี้ มีวิญญาณไปปราศแล้ว หาอุปการะมิได้ จักนอนบนแผ่นดิน เหมือนท่อนไม้”

    ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า
    ๗. อจิรํ วตยํ กาโย ปฐวึ อธิเสสฺสติ
    ฉุฑฺโฑ อเปตวิญฺญาโณ นิรตฺถํว กลิงฺครํ
    ไม่นานหนอ กายนี้จักนอนทับแผ่นดิน.
    กายนี้มีวิญญาณไปปราศ อันบุคคลทิ้งแล้ว, ราวกับ
    ท่อนไม้ไม่มีประโยชน์ฉะนั้น.


    พระปูติคัตตติสสเถระนิพพาน
    ในเวลาจบเทศนา พระปูติคัตตติสสเถระบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาแล้ว. แม้ชนอื่นเป็นอันมากก็ได้เป็นพระอริยบุคคลมีพระโสดาบันเป็นต้น. ฝ่ายพระเถระบรรลุพระอรหัตแล้วก็ปรินิพพาน. พระศาสดาโปรดให้ทำสรีรกิจของท่าน ทรงเก็บ (อัฐิ) ธาตุ แล้วโปรดให้ทำเจดีย์ไว้.

    พวกภิกษุกราบทูลถามพระศาสดาว่า “พระเจ้าข้า พระปูติคัตตติสสเถระบังเกิดในที่ไหน?”
    พระศาสดา. เธอปรินิพพานแล้ว ภิกษุทั้งหลาย.
    พวกภิกษุ. พระเจ้าข้า กายของภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่งพระอรหัตเห็นปานนั้น
    เกิดเป็นกายเน่า เพราะเหตุอะไร?
    กระดูกทั้งหลายแตกแล้ว เพราะเหตุอะไร?
    อะไรเป็นเหตุถึงความเป็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัตของท่านเล่า?
    พระศาสดา. ภิกษุทั้งหลาย ผลนี้ทั้งหมดเกิดแล้วแก่ติสสะนั่น ก็เพราะกรรมที่ตัวทำไว้.
    พวกภิกษุ. ก็กรรมอะไร? ที่ท่านทำไว้ พระเจ้าข้า.
    พระศาสดาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากระนั้น พวกเธอจงฟัง” ดังนี้แล้ว
    ทรงนำอดีตมา (ตรัสดังต่อไปนี้) :-

    บุรพกรรมของพระติสสะ
    ติสสะนี้เป็นพรานนก ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ ฆ่านกเป็นอันมากบำรุงอิสรชน, ขายนกที่เหลือจากนกที่ให้แก่อิสรชนเหล่านั้น. คิดว่า “นกที่เหลือจากขาย อันเราฆ่าเก็บไว้ จักเน่าเสีย” จึงหักกระดูกแข้งและกระดูกปีกของนกเหล่านั้น ทำอย่างที่มันไม่อาจบินหนีไปได้ แล้วกองไว้. เขาขายนกเหล่านั้นในวันรุ่งขึ้น, ในเวลาที่ได้นกมามากมาย ก็ให้ปิ้งไว้ เพื่อประโยชน์แห่งตน.

    วันหนึ่ง เมื่อโภชนะมีรสของเขาสุกแล้ว พระขีณาสพองค์หนึ่งเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต ได้ยืนอยู่ที่ประตูเรือนของเขา เขาเห็นพระเถระแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใส คิดว่า
    “สัตว์มีชีวิตมากมายถูกเราฆ่าตาย, ก็พระผู้เป็นเจ้ายืนอยู่ที่ประตูเรือนของเรา และโภชนะอันมีรสก็มีอยู่พร้อมภายในเรือน, เราจะถวายบิณฑบาตแก่ท่าน”
    ดังนี้แล้ว จึงรับบาตรของพระขีณาสพนั้น ใส่โภชนะอันมีรสนั้นให้เต็มบาตรแล้ว ถวายบิณฑบาตอันมีรส แล้วไหว้พระเถระด้วยเบญจางคประดิษฐ์ กล่าวว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าพึงถึงที่สุดแห่งธรรมที่ท่านเห็นเถิด.”
    พระเถระได้ทำอนุโมทนาว่า “จงเป็นอย่างนั้น.”

    ประมวลผลกรรม
    ภิกษุทั้งหลาย ผล (ทั้งหมด) นั่นสำเร็จแล้วแก่ติสสะ ด้วยอำนาจแห่งกรรมที่ติสสะทำแล้วในกาลนั้นนั่นเอง;
    กายของติสสะเกิดเน่าเปื่อย, และกระดูกทั้งหลายแตกก็ด้วยผลของการทุบกระดูกนกทั้งหลาย;
    ติสสะบรรลุพระอรหัต ก็ด้วยผลของการถวายบิณฑบาตอันมีรสแก่พระขีณาสพ ดังนี้แล.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กรกฎาคม 2015
  15. Tamjugg

    Tamjugg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2012
    โพสต์:
    657
    ค่าพลัง:
    +1,029
    "เรือนมีการอยู่ครองไม่ดี นำความทุกข์มาให้"
    "การอยู่ร่วมกับบุคคลผู้ไม่เสมอกัน นำความทุกข์มาให้"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2016
  16. Tamjugg

    Tamjugg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2012
    โพสต์:
    657
    ค่าพลัง:
    +1,029
    "ถ้าท่านทั้งหลายจักทำ หรือทำอยู่ซึ่งบาปกรรมไซร้ ท่านทั้งหลายแม้จะเหาะหนีไป ก็ย่อมไม่พ้นไปจากความทุกข์เลยฯ"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2016
  17. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    441
    ค่าพลัง:
    +627
    ถามนิดครับ ที่ว่าได้ฌาน9 ทรงไว้ได้นานไหมครับ กี่นาที กี่ชั่วโมงครับ แล้วหลังจากสภาวะฌาม9คลายออกเกิดอะไรอีกไหมครับ อยากทราบครับรบกวนตอบด้วยนะครับ ขอความอนุเคราะห์ครับ
     
  18. Tamjugg

    Tamjugg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2012
    โพสต์:
    657
    ค่าพลัง:
    +1,029
    ผมทรงฌาน9ไว้ไม่น่าจะเกินชั่วโมง(จะให้นานก็ได้สุดแล้วแต่ความชำนาญเป็นวสีของตน) ก็ถอยลงปฐมฌาน พระท่านก็บอกให้ผมทำฌาน8ให้เป็นวสีให้แจ้งก่อน และค่อยขึ้นฌาน9นั้นสำหรับคนที่จะบวชยาวตลอดชีวิต ถ้าฆราวาสทำฌาน8ก็พอแล้ว สำหรับอารมณ์ในฌาน9นั่น เหมือนทุกอย่างจะดับไปหมดไม่เหลืออะไร ไม่มีตัวตนอยู่อีก ตนเองไปอยู่ไหนก็ไม่รู้ สามารถทำสมาธิได้เป็นวัน อารมณ์ต่างๆจะหายไปหมด จิตจะรู้สึกถึงความไม่มีอะไรเลยว่างเปล่าหายวับไปหมดทุกอย่างขณะนั้น (ผมบอกไม่ก็ไม่มีประโยชน์ เพราะคนได้อภิญญาจริงๆเท่านั่นถึงจะเช็คได้คือพระท่าน และ ตัวผมเองที่ฝึกฌาน8จนเป็นวสี คือเห็นธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ลม ในตนจนคล่อง ถึงจะเห็นฌาน9)
     
  19. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    441
    ค่าพลัง:
    +627
    ลองทรงให้ได้ อย่างน้อย1ชั่วโมงขึ้นไปสิครับ ฌาน9 จึงจะบังเกิดผลเป็นที่ประจักษ์ เกิด อาการ 3 เวียนครบ 4 รอบ
     
  20. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    441
    ค่าพลัง:
    +627
    แต่ถ้ายังไม่เกิดต้องย้อนกลับมาดูว่าปฏิบัติอย่างไร ให้ได้ฌาน9 เป็นไปตามที่เขาปฏิบัติกันสมัยพุทธกาลหรือเปล่า
     

แชร์หน้านี้

Loading...