วิชชาที่จะทำให้อยู่รอดจากยุคสมัยแห่งภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย kananun, 17 กรกฎาคม 2006.

  1. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ remixsong

    สวัสดีครับ อ.คณานันท์

    ผมได้ศึกษาเพิ่มเติมในด้านของอรูปฌาน หลังจากที่เจริญ เนวสัญญา เสร็จแล้ว ต่อด้วยการพิจารณา สังโยชน์ 10 ประการ แล้วยกอารมณ์จิต
    เข้าสู่พระนิพพาน ในช่วงนี้มีความรู้สึกจิตโล่งสบายดี และในขณะที่ตั้งสติให้นึกถึง ปัจจุปัน อยู่ตลอดเวลานั้น อารมณ์ของ อรูปฌาน ทั้ง 4

    ยังคงระลึกไว้เสมอ ปล่อยใจสบายๆ ไม่ได้เกร็งร่างกายแต่อย่างใด ได้สักพักหนึ่ง มีอาการเหมือนทั้ง กายและจิต ถูกตรึง หยุดไว้ คล้ายกับจะหยุดนิ่ง

    เป็นรูปปั้น หยุด ไม่มีความรู้สึก ไม่รับรู้อะไรเลย ถ้าตายตอนนั้นก็ไม่รู้สึกอะไร เป็นความรู้สึกที่เกินบรรยาย อยู่ดีๆก็ วืบ!..เข้ามาเลย คล้ายๆกับ วืบ!

    ตอนเลื่อนฌาน แต่ว่า วืบ! แรงกว่านั้น ทุกๆครั้ง พอเจริญอรูปฌาน มาถึงตรงนี้ทีไร อารมณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้นเสมอ แต่ว่าทรงอยู่ได้ไม่นาน แป๊ปเดียว

    อารมณ์จิตก็คลาย ออกจากสมาธิ ถ้ากำลังใจดีหน่อย ประมาณ 1-2 นาที แต่ผมรู้สึกว่าเป็นอารมณ์ที่ปรานีตที่สุดแล้ว เท่าที่ผมได้สัมผัสมา

    ผมอยากถามว่า เป็นไปได้ใหมที่อารมณ์จิตกำลังจะก้าวเข้าไปสู่ สัญญาเวทยิตนิโรธ หรือ นิโรธสมาบัติ หรือ อรูปฌานที่ 9
    หรือว่า อารมณ์ ที่เกิดขึ้นนี้ เป็น อารมณ์ของ เนวาสัญญา แต่ว่าผมใช้ อารมณ์นี้กำหนดรู้ใน เนวสัญญา ได้ว่า อ้อ...การไม่มีสัญญา มันเป็นอย่างนี้นี่เอง

    มันไม่มีอะไรเลยจริงๆ ในหัวเราเนี่ย ผมอยากถาม อ.คณานันท์ ว่าพอจะมีเทคนิคและวิธีการที่จะทรงอารมณ์นี้ให้นานขึ้นได้อย่างไร
    หรือว่าต้องทำไปเรื่อยๆแล้วจะดีขึ้นเอง ยังไงก็ขอคำแนะนำด้วยนะครับ ขอบคุณครับ



    -----------------------------------------------------------------------------------------------
    สำหรับการปฏิบัติในส่วนของอรูปสมาบัตินี้ก็คือ เราประคองจิตในอรูปฌานหรืออารมณ์นี้เอาไว้ให้นานที่สุดเพื่อให้จิตเราชิน และอารมณ์สมาธิคงตัว

    จากนั้นตั้งจิตอธิฐานปักหมุดไว้ว่าขอให้เราจำอารมณ์จิตในอรูปนี้ได้ เข้าปุ้บได้ปั้บ

    จากนั้นเราจึงนำกำลังของอรูปสมาบัติมาพิจารณาในการตัดสังโยชน์สิบทีละข้ออีกทีหนึ่งครับ

    หากเอาละเอียดพิสดารไปกว่านี้ ก็ไล่กรรมฐานสี่สิบทีละกอง มาไล่อารมณ์จนถึง ฌานสี่ สมาบัติแปดและตัดสังโยชน์สิบจากกรรมฐานแต่ละกอง จนจบจนจิตเข้าถึงอารมณ์พระนิพพาน ในกรรมฐานครบทั้ง สี่สิบกองครับ

    ขอโมทนาในความตั้งใจในการปฏิบัติธรรมของคุณด้วยครับ __________________
     
  2. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ^บัวหลวง^
    สวัสดี ค่ะ อ.เล็ก วันนี้บัวมีปัญหากรรมฐานขอปรึกษาอ.เล็กหน่อยนะคะ คือว่าวันนี้หลังเรียนเสร็จ บัวก็ไปเดินจงกรม(ที่วัด)ค่ะ แล้วเดินๆอยู่บัวรู้สึกว่าได้ขึ้นไปกราบหลวงพ่อฤาษีบนพระนิพพานค่ะ ท่านก็สอนเรื่องการปฏิบัติที่บัวยังบกพร่องอยู่ค่ะ แล้วบัวก็ถามท่านว่าตอนนี้เป็นอุปาทานหรือเปล่าคะหลวงพ่อ (คือบัวยังไม่ทันได้ภาวนา นะมะพะธะ ก็ขึ้นไปได้ เลยสงสัยค่ะ)
    หลวงพ่อท่านตอบว่าถ้าแกคิดว่าเป็นอุปาทานมันก็เป็นอุปาทาน ถ้าแกคิดว่าจริงมันก็จริง แต่บัวไม่ทราบค่ะ เลยไม่กล้าคิดต่อ เราจะรู้ได้อย่างไรคะว่าเวลาทำมโนมยิทธิตอนไหนเป็นอุปาทาน ตอนไหนไม่ได้เป็นอุปาทานน่ะค่ะ ขออ.เล็กช่วยสงเคราะห์ ตอบบัวด้วยเถิดค่ะ จะเป็นพระคุณอย่างสูงค่ะ ขอขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ ^_________^

    ;38



    ถ้าเป็นตอนที่พระท่านสอนการปฏิบัติ เพื่อละวางกิเลสทั้งปวงนี่เป็นของจริงแท้ที่ท่านมาเมตตา

    ของจริงไม่ต้องตั้งท่า กำหนดจิตปั้ปใช้งานได้เลย

    แต่อุปทานจะเกิดก็ต่อเมื่อจิตเราเกิดวิจิกิจฉา สงสัยเกิดขึ้นหนึ่ง

    เมื่ออุปทานกิเลส มาให้รู้ มาลวงเพื่อให้จิตเราเกิดกิเลสเพิ่มบ้าง เกิดมานะทิษฐิเพิ่มพูนบ้าง

    ไอ้แบบนี้ล่ะที่เป็นอุปทานในการปฏิบัติ

    ดังนั้นเวลาเรารู้อะไรจากสมาธิ ก็ดี จากญาณฌานก็ดี จากมโนก็ดี

    ระหว่างรู้ก็อย่าไปสงสัย รับข้อมูลมาก่อน

    จากนั้นเราค่อยมาใช้ ธรรมมะวิจัยยะ จำแนกว่า สิ่งที่รู้เห็น เป็นอรรถ เป็นธรรมหรือไม่ เป็นไปเพื่อละวางกิเลสหรือไม่ เป็นไปเพื่อขัดเกลายกระดับจิต ระดับภูมิธรรมเราให้สูงขึ้นหรือไม่

    หากใช่เราจึงน้อมไปปฏิบัติ ให้ก้าวหน้างอกงามในธรรมยิ่งขึ้นไป
     
  3. Nakamura

    Nakamura Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,002
    ค่าพลัง:
    +17,625
    เหตุผลที่พระท่านเน้นและให้ความสำคัญกับเรื่องสัมมาิทิฐิ...

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดารอยเท้าสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ย่อมมารวมอยู่ในรอยเท้าช้างแห่งเดียว นี้ภิกษุทั้งหลาย บรรดามรรคทั้งหลายย่อมมารวมอยู่ในสัมมาทิฐิคือความเห็นชอบทั้งหมด"

    คำว่า รอยเท้าช้าง ก็หมายความว่าใหญ่กว่ารอยเท้าสัตว์ทั้งหลาย สัมมาทิฐิก็หมายว่าเป็นใหญ่ เป็นประธานให้แก่มรรคทั้งหลาย ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงมองเห็นความสำคัญ และได้ยกสัมมาทิฐิ คือ ปัญญาความเห็นชอบไว้เป็นข้อแรก
     
  4. namsompun

    namsompun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    300
    ค่าพลัง:
    +1,365
    [​IMG]วันนี้ได้ถวาย ชีท วิชชาฯ แด่พระสงฆ์ท่านค่ะ ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ และ ขอเรียนทุกท่านมาร่วมกันอนุโมทนาค่ะ สาธุ ค่ะ
     
  5. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    <center>Re: ความรู้สึกแบบนี้เป็น มโนมยิทธิ หรือเปล่าครับ

    </center>
    <hr style="color: rgb(255, 255, 255); background-color: rgb(255, 255, 255);" size="1"> อ้างอิง:
    <table width="100%" border="0" cellpadding="6" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border: 1px inset ;"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ remixsong
    สวัสดีครับ อ.คณานันท์

    ผลของการฝึกเพิ่มเติมในด้านของอรูปฌาน หลังจากที่ใช้กำลังของ อรูปฌาน พิจารณาในการตัดสังโยชน์ 10 อย่างเต็มที่แล้ว


    อารมณ์สมาธิทรงตัวเป็นอย่างมาก พอนั่งสมาธิเสร็จแล้ว ก็เข้านอน นอนได้ 3-4 ชั่วโมงก็ตื่นขึ้นมา เป็นแบบนี้ทุกๆวัน


    จะนอนต่อก็นอนไม่หลับ เลยลุกขึ้นมาทำสมาธิต่อ ฟังเสียงธรรมะของ หลวงพ่อ ฤาษีลิงดำ ในหมวด สมาบัติ 8

    (ตอน ใช้กำลังของ อรูปฌาน พิจารณาในการตัดสังโยชน์ 10) ฟังจบไปสองรอบก็ยังไม่ง่วง ตอนนั้นรู้สึก อารมณ์ทรงตัวเป็นอย่างมาก

    มีสติตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา พยายามจับลมหายใจสบายให้หลับไป อารมณ์สมาธิก็กลับเข้ามาที่อรูปฌานอีก เลยนึกในใจ เอาหล่ะ

    ไม่หลับก็ไม่หลับ งั้นก็นอนมันไปอย่างนี้แหละ ผมเลยนอนทรงอารมณ์สมาธิ สบายๆ นอนตัวแข็งทื่ออยู่อย่างนั้น สักพักหนึ่ง รู้สึกตัวอีกทีเหมือนตัวเองกำลังฝัน แต่ว่ายังไม่หลับ

    มีสติ รู้ตัวอยู่ตลอดเวลา คล้ายกับว่า กายหนึ่งนอนทรงอารมณ์สมาธิอยู่ แต่อีกหนึ่งฝันไป แต่เป็นฝันที่สามารถควบคุมได้จากกายที่นอนอยู่

    อยากฝันเรื่องอะไรก็นึกให้เป็นได้ ตอนนนั้น ถ้าใครถามอะไรมา ตอบได้ ฟังเข้าใจหมด ในใจคิดว่านี่ต้องเป็น มโนมยิทธิ แน่ๆ เลย นึกถึง ไฟล์เสียงสอนปฏิบัติสมาธิ ในด้านของกสิน

    อรูปฌาน มโนมยิทธิ ของ อ.คณานันท์ เลยลองนึกปฏิบัติตาม นึกว่าต้องการเห็นสวรรรค์ ก็เห็นภาพคล้ายกับพระราชวังสีทองเหลืองอร่ามสว่างสดใส ปรากฏขึ้นมา
    แต่ว่าเห็นไกลๆ นึกว่าต้องการเห็น นางฟ้า เทวดา ก็เห็น นางฟ้าเดินออกมาจากวัง ใส่ผ้าสไบสีทอง นุ่งผ้าซิ่นสีเขียวมรกต หน้าตาสวยแต่ว่าคล้ายๆกันหมด

    ทุกองค์ จากนั้นก็นึกถึง พระพุทธเจ้า พระท่านก็ปรากฏ กราบพระเสร็จแล้ว ก็นึกถึง หลวงพ่อ ฤาษี ภาพหลวงพ่อก็ปรากฎ ก้มลงกราบหลวงพ่อ เห็นท่านยิ้มให้

    จากนั้นก็นึกวิมานของตัวเอง ขอให้พระพาไป พระท่านก็พาเข้าไปข้างในเลย เข้าไปในห้องนอน ข้างในอย่างกับพระราชวัง เหมือนห้องบรรทมของพระราชา
    ใหญ่โต กว้างขวาง โอ่อ่า หรูหรา สวยงามมาก เลยนึกในใจว่านี่แหละมั้งที่ว่าสามารถ นั่งเล่นนอนเล่น บนวิมานของตัวเองได้ เลยขอนอนสักหน่อย

    เพราะว่านอนไม่หลับ อยากพักผ่อนมากๆ แล้วก็เห็นภาพตัวเอง นอนลงบนเตียง แต่งกายชุดเครื่องทรงยังกับพระเอกลิเกเลยครับ

    แต่ว่าชุดแต่งกายไม่มีสีสัน มีลักษณะเป็นเพชรเม็ดเล็กๆร้อยเรียงกันทั้งชุดเป็นประกายระยิบระยับสวยงาม ข้างๆมีนางฟ้าคอยประคับประคองอยู่ นอนได้สักพัก
    เสียงโทรศัพท์ดังขึ้น เลยต้องถอนออกจากสมาธิ อารมณ์เหล่านั้นจึงหายไป อยากถาม อ.คณานันท์ ว่า ความรู้สึกแบบนี้เป็น มโนมยิทธิ หรือเปล่าครับ

    ความรู้สึกตอนนี้ต่างจากตอนที่ฝึกในไฟล์เสียงสอนปฏิบัติสมาธิ เพราะว่าตอนฝึก ผมนึกถึงภาพอะไรก็จะเป็นสถานที่ที่เราเคยไปมาเห็นอึมครึมไปหมด

    แต่ว่า ตอนนี้ ภาพชัดเจน สถานที่ที่ไม่เคยไป แล้วก็ ไม่ได้เป็นการพยายามนึก แต่เป็นการปล่อยอารมณ์ให้เป็นไปตามเรื่อง

    ขอคำแนะนำด้วยครับ อ.คณานันท์ ขอบคุณมากนะครับ
    </td> </tr> </tbody></table>
    นี่เป็นมโนมยิทธิแล้วครับ

    นำอาทิสมานกายไปกราบพระพุทธเจ้าและครูบาอาจารย์ ที่ท่านอยู่บนพระนิพพานให้เป็นปกติครับ

    จุดสำคัญก็คือให้พยายาม ทรงอารมณ์ใจให้ชินในอารมณ์พระนิพพานให้มากๆ

    และพยายามเทียบเคียงอารมณ์จิตของเรา ในขณะทรงอารมณ์พระนิพพานและอารมณ์แบบโลกๆ ว่า มี ความหนัก ความเบา ความสว่าง ความหมอง ต่างกันอย่างไร

    เราพิสูจน์เรารู้ได้ด้วยใจและผลแห่งการปฏิบััติที่กระจ่างแจ้งแก่ใจของเราเองครับ

    เมื่อจิตเราเข้าใจก็จะรู้ จะละ กิเลศความเศร้าหมองไปทีละน้อยจนจิตของเราสะอาดขึ้น ในที่สุดครับ

    ขอโมทนาในผลแห่งการปฏิบัติด้วยครับ
     
  6. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    โอวาทหลวงพ่อชา สุภทฺโท

    เธอจงระวังความคิดของเธอ
    เพราะความคิดของเธอ
    จะกลายเป็นความประพฤติของเธอ

    เธอจงระวังความประพฤติของเธอ
    เพราะความประพฤติของเธอ
    จะกลายเป็นความเคยชินของเธอ

    เธอจงระวังความเคยชินของเธอ
    เพราะความเคยชินของเธอ
    จะกลายเป็นอุปนิสัยของเธอ

    เธอจงระวังอุปนิสัยของเธอ
    เพราะอุปนิสัยของเธอ
    จะกำหนดชะตากรรมของเธอชั่วชีวิต

    ที่มา ���ҷ��ǧ��ͪ� ����� - ��дҹʹ����Ѵ��Ң�ع
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤษภาคม 2009
  7. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    คำสอนหลวงปู่เณรคำ วัดป่าขันติธรรม


    อุเบกขานั้นไม่ใช่การวางเฉยไปเลย แต่เป็นการเฝ้าดูโดยความสงบนิ่งของจิต
    ไม่มีอารมณ์อื่นแทรกแซง ท่านทั้งหลายจงมีอุเบกขาแบบผู้มีปัญญา
    อุเบกขาแบบผู้มีปัญญา คือ การเฝ้าดูอยู่ ไม่ให้ตนเองพลาดพลั้ง ไม่มีสิ่งที่ไม่ดี ไม่มีสิ่งที่เป็นอกุศล


    ท่านทั้งหลายที่เป็นสาธุชนนั้น ต้องอาศัยการให้ทาน ต้องอาศัยวัตถุทาน
    เป็นตัวนำจิตให้เข้าถึงบุญกุศล เป็นสิ่งที่ทำง่ายสำหรับท่านทั้งหลาย
    เป็นสิ่งที่ทำให้จิตใจของท่านทั้งหลาย ยิ่งใหญ่ขึ้นในภายภาคหน้า


    คำว่าขณะที่ปฏิบัตินี่ ไม่ใช่เฉพาะชั่วโมงนั้นชั่วโมงนี้นะ
    มันทุกอากัปกิริยา ทุกสภาวะในปัจจุบันนั้น ๆ แต่ละลมหายใจเข้าออก


    คำว่าปฏิบัติให้ดี ปฏิบัติให้ต่อเนื่อง คือ ไม่ให้เผลอ ไม่ให้หลงลืม ไม่ให้ด่างพร้อยไปตามอารมณ์


    เกลี้ยงทั้งใจ ใสทั้งกระดูก ชื่อว่าพระอริยเจ้าที่แท้จริง

    ที่มา
    http://www.watthakhanun.com/webboard/showthread.php?t=484
     
  8. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    มีผู้สอบถามเรื่องเกี่ยวกับนิมิตรครับ


    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ วิิญญาณนิพพาน
    ดี ครับจาร มีเรื่องอยากสอบถามเกี่ยวกับนิมิตครับ ผมไปอ่านหนังสือมา เขาบอกว่านิมิตที่เราเห็นทั้งหลายนี่เป็นของปลอมหมดหรือ ?? หมายถึงจิตเราสร้างมาหลอกเราเองหมดหรือ ? เเล้วคนที่นั่งเเล้วเห็นหลวงพ่อที่เสียไปเเล้วนั้น จะมี % ที่เป็นหลวงพ่อมาให้เห้นได้ไหม ? หรือถ้าขึ้นชื่อว่านิมิตเเล้วต้องเป็นสิ่งหลอกเราหมดครับ เเนะด้วยครับจาร อนุโมทนาครับท่าน /\


    ---------------------------------------------------------------

    สำหรับเรื่องนิมิตรนี้ มีทั้งนิมิตรจริงและนิมิตรหลอก

    ดังนั้นก็อาจมีครูบาอาจารย์บางท่านที่ท่านห่วงกลัวศิษย์เกิดนิมิตรหลอกจน กลายเป็นวิปัสนูปกิเลสเอาได้ จึงได้สอนให้ไม่ต้องไปสนใจในนิมิตรต่างๆ


    แต่ในความเป็นจริงแล้ว การกำหนดในนิมิตรที่มาปรากฏแก่จิตของเรานั้น

    เริ่มต้นเราต้องวางอุเบกขาในนิมิตรก่อน รับรู้รับทราบในนิมิตรโดยไม่ต้องไปยึด หรือปรุงแต่งก่อน

    หากจะอธิบายตามภาษาสมัยใหม่ก็คือ เก็บข้อมูลเอาไว้ก่อน

    จากนั้น จึงเข้าสมาธิวางจิตให้เป็นอุเบกขา และปราศจากนิวรณ์

    จากนั้นใช้ปัญญาในสมาธิ ไตร่ตรอง ใคร่ครวญ พิจารณา นิมิตรนั้นอีกครั้งโดยละเอียด เป็นการ วิเคราะห์ข้อมูลและการนำไปใช้ โดย วางหลักไว้ว่า

    นิมิตรนั้น เป็นประโยชน์หรือเกิดโทษ

    เช่นหากนิมิตรและสิ่งที่รู้เห็นจากนิมิตรเป็นไปเพื่อการ ละ การ ตัด การปล่อยวางกิเลส

    นิมิตรนั้นหาก ยัง ศรัทธาและสร้างกำลังใจ ความเพียรในการปฏิบัติให้ยิ่งขึ้น

    นิมิตรนั้นหากก่อให้เกิดปิติ ความอิ่มเอมจิตใจ ทำให้จิตเราสะอาด สว่าง สงบขึ้น

    นิมิตรนั้นก็เป็นคุณ

    หากนิมิตรนั้น เพิ่มการหลงในอดีต ความยึดติดในภพชาติ สร้าง ความเห็นผิด เป็นมิจฉาทิษฐิ

    กระตุ้น ความพยาบาท ความโกรธ ความหลงผิด ความริษยา อาฆาต

    นิมิตรนั้นก่อให้เกิดความกลัว ความหดหู่ จิตใจเศร้าหมอง ทำให้จิตหนัก อารมณ์ใจเราหนัก

    นิมิตรที่มาหลอกว่าเราเป็น เราบรรลุธรรมขั้นนั้น ขั้นนี้แล้วบ้าง

    นิมิตรนั้นก็เป็นนิมิตรโทษ ควรละวางจากจิตใจเราอย่าได้ไปสนใจ

    ถึงหากนิมิตรที่เป็นประโยชน์เราก็ต้องพิจารณาให้รอบคอบพิจารณาโดยแยบบคาย เป็นโยนิโสมนัสสิการ แล้วจึงน้อมนำเข้าสู่การปฏิบัติ น้อมนำเข้าสู่จิตใจ

    จึงนับได้ว่า เป็นผู้มีปัญญา มีวสี และเป็นผู้ฉลาดในนิมิตรทั้งปวง
     
  9. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    บุคคลผู้ประพฤติถูก แต่อมกิเลสไว้

    นิโครธปริพาชก ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า พระองค์ตรัสถึงบุคคลผู้ประพฤติเพื่อการละกิเลสไว้มากมาย อยากจะทราบว่าจะทำอย่างไรให้ การปฏิบัตินั้นเข้าถึงความบริสุทธิ์ผ่องใส ครบถ้วนบริบูรณ์

    1) พระพุทธเจ้าตรัสว่า นิโครธะ ผู้มีการประพฤติปฏิบัติเพื่อการตัดกิเลสทำถูก ทำตรงตามวิถีทางการละการตัดกิเลส แต่จิตยึดมั่น ถือมั่น ดีใจ คิดการปฏิบัติเพียงเท่านี้ดีแล้ว จบแล้ว ไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้ละเอียดรอบคอบ ก็เป็นอุปกิเลส คือ จิตเข้าไปกอดความชั่วของผู้นั้น

    2) คนที่ปฏิบัติถูก ปฏิบัติตรงนั้นยึดมั่น ถือมั่น ในปฏิปทานั้น ยกตนข่มผู้อื่นว่า ฉันดีกว่าเธอนะ อย่างนี้ก็มีกิเลส

    3) ผู้ปฏิบัติ ผลเกิดจากการปฏิบัติพอสมควร เมื่อมีคนสรรเสริญ ก็ติดในคำสรรเสริญ เขาให้ลาภก็ติดในลาภ อย่างนี้ก็เป็นผู้เข้าไปกอดความสกปรกของกิเลสไว้

    4) ผู้ปฏิบัติถูก ผลของการปฏิบัติพอสมควร เมาในผลของการปฏิบัตินั้น คิดว่าเท่านี้พอแล้ว ก็เป็นอันว่าตกอยู่ในหลุมอุจจาระ คือ อุปกิเลส

    5)ผู้ปฏิบัติถูก ได้ลาภ ได้รับคำสรรเสริญ ติดในลาภและสรรเสริญ ข่มขู่ยกตนข่มผู้อื่น โดยคิดว่าพวกเธอมีลาภไม่เท่าฉัน ฉันรวยกว่า ฉันมีคนเคารพมากกว่านะ อย่างนี้ท่านก็ถือว่ามีความสกปรก คือ กิเลสเลยหัว

    6) ผู้ปฏิบัติถูก มีผลปฏิบัติพอสมควร มีคนเคารพนับถือมาก เขานำลาภสักการะมาถวายมากมาย ลืมสติ ลืมตัว เลือกรับของอะไรที่ตนชอบ ก็บอกอย่างนี้ไม่ได้ ที่ตนไม่ชอบก็บอกว่า อย่างนี้ผิดวินัย พระพุทธเจ้าห้ามรับ ไม่หวังเจริญศรัทธาตามปกติ ท่านก็ตรัสว่า มีอุปกิเลสมาก คือ ความเลวเหลือล้น

    7) ผู้ปฏิบัติถูก แต่เมาในโภชนะ คือ อาหาร คิดว่าอาหารประเภทนี้ควร ประเภทนี้ไม่ควร เลือกเฉพาะที่ชอบใจ เพราะติดในรสอาหาร ท่านกล่าวว่า ยังสะสมความชั่ว คือ อุปกิเลสไว้มาก

    8) ผู้ปฏิบัติถูก เมื่อได้รับความเคารพนับถือจากพระมหากษัตริย์หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เป็นต้น ลืมตัวหลงคิดว่าตนมีศักดิ์ศรีสูงกว่า คนที่ไม่มีพระมหากษัตริย์ เป็นต้น ไม่ได้เข้าไปแสดงความเคารพสักการะ ท่านก็ว่า ผู้นั้นเป็นผู้สะสมอารมณ์ชั่ว คือ อุปกิเลส

    9)ผู้ปฏิบัติถูก ริษยาผู้อื่นว่า กินไม่เลือก รับไม่เลือก เพราะท่านเหล่านั้นมีคนเคารพ และได้ลาภสักการะ ก็เกิดอารมณ์อิจฉาริษยา ท่านกล่าวว่า เขาเป็นผู้สะสมความชั่วคือ อุปกิเลสไว้มาก

    10)ผู้ปฏิบัติถูก มีผลบ้างเบื้องต้น เห็นท่านอื่นปฏิบัติมีผลดีกว่า มีคนเคารพมาก ก็หาทางโพนทนาด่าว่าเปรียบเปรย (นินทา) ให้เกิดความเสื่อมเสีย หรือ เสียหาย ท่านว่า คนเช่นนี้เป็นจอมสะสมความชั่ว คือ มีอุปกิเลสมาก

    11) พระองค์ตรัสว่า ผู้ปฏิบัติเพื่อละกิเลส นั่งสมาธิจริยา แสดงตนว่า ท่านนี้ฉันทำสมาธินะ หรือ แต่งกายเป็นการแสดงออกออกให้เข้าใจชัดว่า ฉันเป็นนักปฏิบัติเพื่อตัดกิเลสนะ ท่านว่า การแสดงตนอย่างนี้เป็นการโชว์เพื่ออวด ท่านว่ามีอุปกิเลสมาก

    12)บางพวกชอบอวดว่า ฉันนิยมปฏิบัติอย่างนี้นะ บางพวกปกปิดจริยาชั่ว ทำตัวเรียบร้อยด้วยมารยาท และ บางพวกมักโกรธ ผูกโกรธ คือ อาฆาต บางพวกชอบลบหลู่ ตีเสมอ ริษยา ตระหนี่ โอ้อวด ขับไล่ มีจริยากระด้างถือตัวจัด มีความปรารถนาลามก มีอารมณ์เห็นผิด คัดค้านคำสอนพระพุทธเจ้าอย่างนี้เป็นต้น ท่านกล่าวว่า เป็นผู้สะสมกิเลส คือ ความชั่วไว้สูงเลยหัว


    คติเตือนใจไม่ให้ชั่ว พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยานสอนไว้ดังนี้

    "ก่อนที่จะทำ ก่อนที่จะพูด ใคร่ครวญเสียก่อน อย่าไปคิดเห็นบุคคลอื่นเขาเลว เห็นคนอื่นเลวนี่ก็กลายเป็นสร้างความเลวให้เกิดขึ้นแก่ใจเรา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สอนให้กล่าวโทษโจทย์ความผิดตัวเอง ว่ามันเลวไว้เสมอ หาจุดความเลวของกาย หาจุดความเลวของวาจา หาจุดความเลวของใจ อย่าไปหาจุดความดี ถ้าพบจุดความเลวจุดไหน ทำลายความเลวจุดนั้นให้หมดไป แล้วความดีมันก็ปรากฏเอง"


    ที่มา ธรรมะประทานพร

    บุคคลผู้ประพฤติถูก แต่อมกิเลสไว้ : อาหารสมอง
    http://palungjit.org/posts/2123197
     
  10. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    พี่ <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->kananun
    teleportation ,telekenasis มีจริงรึปล่าวครับ ถ้ามีแล้วจะฝึกยังไงครับ

    เหรียญสเกลาร์มีเกรดไหมครับ ของทางกลุ่มพี่ มีจำน่ายไหมครับ

    รบกวนด้วยครับ ขอบคุณคร้าบ
     
  11. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    <center>Re: อาการแบบนี้เรียกว่าเป็น อุปสมานุสสติกรรมฐาน หรือเปล่าครับ

    </center>
    <hr style="color: rgb(255, 255, 255); background-color: rgb(255, 255, 255);" size="1"> อ้างอิง:
    <table width="100%" border="0" cellpadding="6" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border: 1px inset ;"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ remixsong
    สวัสดีครับ อ.คณานันท์
    อาการแบบนี้เรียกว่าเป็น อุปสมานุสสติกรรมฐาน หรือเปล่าครับ คือว่า หลังจากที่ผมพยายาม ทรงฌาน 4 ให้เป็นปกติ ตลอดวัน
    แล้วก็พิจารณาใน อรูปฌาน และ สังโยชน์ 10 ในใจนึกเห็นภาพพระพุทธรูปสีทอง กลายเป็นแก้วประกายพรึกใสสว่าง อยู่เป็นปกตินั้น อยู่ดีๆปรากฏ
    ภาพอีกภาพหนึ่งผุดขึ้นมาในความคิดของผม เป็นภาพพระพุทธองค์ เป็นองค์แก้วขาวสะอาดสว่างใสบริสุทธ์มากๆ เปล่งรัศมีรอบกาย ขาวบริสุทธิ์
    ไปทั่วบริเวณ ขาวสะอาดไปหมด ทุกๆพื้นที่ ขาวละเอียดมากๆ สามารถนึกเห็นได้ชัด คล้ายกับมองเห็นด้วยตาเปล่า หมายความว่า
    ตาเนื้อมองเห็นภาพทั่วไปยังไง ในจิตก็นึกเห็นภาพได้แบบนั้น เมื่อเอาจิตจับภาพพระนั้น ก็เกิดธรรมปีติ หลั่งมาจากในหัวสมอง ไหลไปทางกระดูกสันหลัง
    มีความสุขทางจิตเป็นอย่างมาก ไม่ได้สุขใจเพราะว่า ในขณะนั้นหัวใจไม่รับความสุขแล้ว สมาธิทรงตัวดีมาก
    ผมจึงกำหนดจิตรับรู้ ความรู้สึกนั้น จนนอนหลับไป พอตื่นมากอีกทีก็มานั่งพิจารณาว่า ภาพที่เกิดขึ้น จะเรียกว่ายังไงดี
    จะว่าเป็น โอทาตกสิณ หรือ อุปสมานุสสติกรรมฐาน ดี เพราะว่านึกเห็นพระพุทธรูปเป็นสีขาวเหมือนกัน แต่ว่าในเวลานั้น ผมไม่ได้เจริญโอทาตกสิณ
    ไม่ได้เพ่งกสิณเป็นพระพุทธรูปสีขาว แต่ว่า ภาพพระพุทธองค์ที่ผมนึกเห็นนั้น เป็นภาพที่ผมไม่เคยเห็นมาก่อน
    ผมจึงอยากถาม อ.คณานันท์ ว่าอาการแบบนี้เป็น อุปสมานุสสติกรรมฐาน หรือเปล่าครับ เพราะว่าจับภาพนี้ อารมณ์อรูปฌาน ก็ทรงตัวได้เหมือนกัน
    จึงขอคำแนะนำด้วยครับ อนุโมทนาครับ
    </td> </tr> </tbody></table>
    สำหรับคำว่าอุปมานุสติกรรมฐานนั้นคืออารมณ์พระนิพพานครับ

    ดังนั้นหากสภาวะเราเห็นพระพุทธองค์บนพระนิพพานได้นั้น

    เป็นพุทธานุสติควบอุปมานุสติ หรืออารมณ์พระนิพพานครับ

    ซึ่งต้องวางกำลังใจเสริมอีกว่าขอให้จิตของข้าพเจ้าตั้งมั่นไม่คลาดจากพระนิพพานเป็นอารมณ์ครับ

    ขอโมทนาบุญในความตั้งใจในการปฏิบัติด้วยครับ
    __________________
     
  12. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    [​IMG]
    เมื่อวันก่อน ตอนกำลังกลับจากฉะเชิงเทรา กำลังนั่ง

    อารมณ์สบายๆ
    มองเมฆสวยมากๆ บนฟ้าแสงอาทิตย์

    ส่องลงมาผ่านเมฆ
    มองแล้วเหมือนเพชรระยิบระยับสวยมาก

    มองไปได้ซักพัก
    ก็ได้ยินพระท่านมาสอนเรื่องการวางกำลังใจว่า

    เวลาจะ
    ช่วยเหลือผู้อื่นอย่าคิดว่าเราช่วยเพราะเราเป็น พุทธภูมิ

    หรือพระโพธิสัตว์แต่ให้คิดถึงว่าเรามีเป้าหมายจะมาทำอะไร

    ทำเพื่อใครและจะช่วยเหลืออย่างไรได้บ้างไม่ว่าเราจะ

    เคยเป็นอะไรมาก่อนมันผ่านไปเป็นอดีตหมดแล้วให้สนใจ

    แต่ตอนนี้เราเป็นใครและมีความปรารถนาอะไรที่ลงมา

    ให้มุ่งเน้นไปตรงนั้นจะช่วยลดมานะได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มิถุนายน 2009
  13. ประตูสู่ทางสว่าง

    ประตูสู่ทางสว่าง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    327
    ค่าพลัง:
    +1,173
    อ.ครับ อาการปิติหายไปแล้วครับ

    ตอนนี้ปิติหายไปแล้ว ผมจะต้องทำอย่างไรต่อครับ
    ขอบคุณครับ
     
  14. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775

    คราวนี้ให้จิตเราจับอยู่กับความสงบของจิต จนกระทั่งเห็นอาการหยุดของจิต พิจารณาด้วยอารมณ์เบาๆสบายๆครับ

    จากนั้นก็เริ่มเข้าสู่การเจริญเมตตาโดยเริ่มจากแผ่เมตตาให้จิตเราเองก่อน

    รำลึกถึงบุญกุศล ความสุข ความดีงาม จนจิตของเราเกิดความสุข ความสะบายความชุ่มเย็น จนจิตแย้มออกมา

    จากนั้นจึงแผ่เมตตาออกไปยังทิศทั้งปวงค่อยๆเริ่มจากรอบๆตัวเราก่อน ค่อยๆแผ่ออกไป จนทั่วบริเวณ ทั่วสถานที่ที่เราอยู่ เราทำงาน จากนั้นแผ่ออกไปสู่จังหวัด ประเทศ โลกจนถึงจักรวาล อนันต์จักรวาล

    สังเกตุจิตของเราว่ายิ่งแผ่ออกจิตเรายิ่งเป็นสุข ยิ่งมีพลัง ยิ่งสะอาดจากอกุศล

    ประคองอารมณ์ใจดังกล่าวให้ได้ตลอดทั้งวัน ยันนอนหลับ
    พอคล่องก็เริ่มฝึกทรงภาพพระพุทธรูปและแผ่เมตตาจากพระพุทธรูปให้สว่างเป็นแก้วใส พร้อมกับจิตเย็นสงบนิ่ง

    ทำให้ได้เป็นปกติก่อนครับ แล้วมาต่อ

    ขอโมทนาในความตั้งใจในการปฏิบัติด้วยครับ
     
  15. ประตูสู่ทางสว่าง

    ประตูสู่ทางสว่าง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    327
    ค่าพลัง:
    +1,173
    ขอบพระคุณ อ. มากครับ
    อนุโมทนา ครับ
     
  16. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,696
    ค่าพลัง:
    +51,932
    *** ณ ใต้ต้นโพธิ์ ****

    เพราะ สัจจะ ที่กล่าวไว้
    เพราะ กายวาจาใจ ทำได้ตามสัจจะ
    ปัญญาเกิดเพราะนั่งพิจารณา
    ความรู้แจ้งปรากฏขึ้น จึงเข้าถึงสัจจะธรรม
    เพราะการกระทำสร้างตัวตนที่มีผลตอบแทน
    เป็นตัวกระทำที่ไม่ตาย ติดตัวไปตลอดนานแสนนาน

    ใบโพธิ์เต็มต้น แต่ก็มีวันร่วงหล่นจนหมดไปได้
    นิสัยสันดานเต็มจิตวิญญาณ ก็ต้องมีวันหมดไปได้
    ใบไม้ร่วงหล่นเต็มลาน ถ้าเราไม่เก็บกวาด แล้วใครที่ไหนในป่าจะมาเก็บกวาดให้เรา
    นิสัยสันดานตัวเรา ถ้าเราไม่ตัดไม่ลดเอง แล้วใครจะมาตัดมาลดละนิสัยให้เราได้
    ใบไม้ที่เกลื่อนเต็มลาน ค่อยๆหยิบออกทีละใบ ลานก็ย่อมโล่งสะอาดได้
    นิสัยสันดานที่มีอยู่ในตัวเรา ถ้าตั้งใจตัดลด ทุกๆวัน สักวันนิสัยสันดานก็ย่อมหมดไปได้

    ความตั้งใจจริงที่สุดของมนุษย์นั้น คืออะไร
    ความตั้งใจที่ทำให้เราพบสัจจะธรรม คือสัจจะ
    เพราะสัจจะทำ คือ ความตั้งใจจริงด้วยกายวาจาใจ
    ความสำเร็จบรรลุได้ ด้วยสัจจะนี่เอง

    ต่อไปนี้ เราจะต้องตัดลดนิสัยที่ยังหลงเหลือด้วย สัจจะ
    สัจจะนั้นไม่มีข้อตายตัว เราต้องพิจารณาคลี่คลายนิสัยของตนเอง
    แล้วนำสัจจะมากำหนดเป็นข้อปฏิบัติตัดลดนิสัยในแต่ละวัน
    ใบโพธิ์หนึ่งใบ เสมือนสัจจะทำหนึ่งข้อ
    สัจจะที่เราทำได้หนึ่งข้อ ก็สามารถนำไปโปรดสอนเป็นตัวอย่าง ให้ผู้คนได้นำไปปฏิบัติตาม
    นิสัยสันดานมนุษย์มีเป็นร้อยเป็นพันเป็นหมื่น หลากหลายไม่เหมือนกัน
    เสมือนใบไม้ในป่าที่นับไม่ถ้วน
    แต่ต้นไม้แต่ละต้น ย่อมรู้จักใบของตัวเองได้ดี
    ถ้ามนุษย์เรารู้จักพิจารณาการกระทำของตัวเอง ก็จะรู้จักนิสัยสันดานของตัวเองได้เช่นกัน
    แต่เพราะสัจจะหนึ่งข้อ ทำให้เราได้พิจารณาตัวเอง จึงพบนิสัยอื่นได้อีก
    ถ้าเรานำสัจจะไปตัดลดนิสัยที่พบอีก สักวันนิสัยสันดานของเรา ก็ย่อมหมดลงได้จริง

    ...ใบโพธิ์ เสมือนสัจจะที่ทำได้....

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  17. นุภาวัฒน์

    นุภาวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    774
    ค่าพลัง:
    +270
    ขออนุโมทนาครับ ผมจะเริ่มในคืนนี้ พึ่งซื้อดอกไม้มา แรงปรารถนาจากภายในที่ต้องการช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์
     
  18. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775

    โมทนาบุญด้วยครับ ขอให้สำเร็จในจิตปรารถนาในกุศลเพื่อส่วนรวมครับ
     
  19. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    <center>Re: คือว่าเกิดมี ดวงสีขาว หรือ ดวงแก้ว ในสมาธิของผม

    </center>
    <hr style="color: rgb(255, 255, 255); background-color: rgb(255, 255, 255);" size="1"> อ้างอิง:
    <table width="100%" border="0" cellpadding="6" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border: 1px inset ;"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ remixsong
    สวัสดีครับ อ.คณานันท์
    ผมมีอีกเรื่องหนึ่งที่อยากเรียนถาม คือว่าเกิดมี ดวงสีขาว หรือ ดวงแก้ว ในสมาธิของผม เหมือนกับในที่เขียนไว้ใน
    หนังสือ "สมาธิ ทางสงบ ถอดจิต แนวคำสอนสมเด็จโต" ซึ่งดวงแก้วนี้ได้เกิดขึ้นมานานแล้ว ตั้งแต่เริ่มฝึกสมาธิใหม่ๆ
    แต่ก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่าเป็นอะไร จึงปล่อยไว้ไม่ได้ศึกษาต่อ เพราะศึกษาคำสอนของ หลวงพ่อ ฤาษีลิงดำ มาโดยตลอด
    เวลาผ่านไป ดวงสีขาว หรือ ดวงแก้วนี้ก็ คงอยู่อย่างนั้นเรื่อยมา มองเห็นทั้งลืมตาและหลับตา ต่อมาช่วงหลังๆมานี้
    ดวงสีขาว ได้เปลี่ยนเป็น ดวงใสๆ เล็กๆ เท่าหัวเข็มหมุด และ ต่อมาเมื่อสมาธิดีขึ้น ดวงใสๆ ก็จะใหญ่ขึ้น เท่ากับ ก้อนกรวด ก้อนเล็กๆ มีสีใสสว่าง
    เมื่อหลับตาจึงจะเห็น และรู้สึกว่า เมื่อจิตเป็นสมาธิ จิตจะมารวมตัวกันที่กึ่งกลางระหว่างคิ้ว และ เหนือท้ายทอยขึ้นไป จะมีอาการหนักๆนิด
    แต่พอทำสมาธิขั้นลึกเมื่อไร หัวจะรู้สึกโล่ง คล้ายกับถูกเปิดกะโหลกศรีษะเอาสมองออกมาเลย พอดีผมได้มาอ่าน หนังสือ "สมาธิ ทางสงบ ถอดจิต แนวคำสอนสมเด็จโต"
    ผมรู้สึกว่าเหมือนกับอาการที่เกิดขึ้นกับตัวผม ทั้งๆที่ผม ศึกษาคำสอนของ หลวงพ่อ ฤาษีลิงดำ แต่ ดวงสีขาว ที่เกิดขึ้นก็มีการพัฒนาตามไปด้วย
    ตามกำลังของสมาธิในตัวผม เลยอยากเล่าเรื่องนี้ให้ อ.คณานันท์ ฟังเพื่อขอคำแนะนำ
    ขอบคุณมาครับ
    อนุโมทนาครับ
    </td> </tr> </tbody></table>
    สำหรับ ดวงที่ปรากฏนั้น เป็น ดวงธรรม ที่ปรากฏจากสมาธิจิตที่เติบโตหรือมีพัฒนาการทางจิตที่กาวหน้าขึ้นครับ

    ให้ลองสังเกตุดูว่า ยิ่งเรา พิจารณาในวิปัสสนาญาณให้จิตสะอาด สงัดจากกิเลส กองทุกข์ การยึดติดจากอุปทานขันธุ์มากเท่าไรก็ตาม ดวงแก้วก็จะยิ่งใสขึ้น

    และยิ่งเราเจริญสมถะ สร้างความนิ่งความสงบ อารมณ์จิตตั้งมั่นได้มาก ดวงธรรมก็จะยิ่งมีพลังมากขึ้น

    ยิ่งเราแผ่เมตตาได้กว้างมากเท่าไร ดวงธรรมก็จะยิ่งส่องสว่างได้กว้างไกลได้มากขึ้นเท่านั้น


    ดวงธรรมนี้ สามารถพลิกแพลงนำไปใช้ได้มากมาย

    -ใช้ดูสภาวะจิตสภาวะธรรมของ จิตเราเอง อันเนื่องใน จิตตานุปัสสนามหาสติปัฐฐาน

    -ใช้เคลื่อนออกตามตำแหน่งเช่นกลางกระหม่อม เพื่อถอดกายทิพย์

    -ใช้เดินวิชชาธรรมกาย ตามแนวทางของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ

    -ใช้ตั้งเป็นแก้วกายสิทธิ์ อธิฐานฤทธิ์ ในฌานจากดวงธรรมที่ปรากฏ

    ซึ่งเราเองต้องเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเองครับ

    ขอโมทนาบุญในความก้าวหน้าในการปฏิบัติครับ
     
  20. paitoon01

    paitoon01 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,480
    ค่าพลัง:
    +4,160

    ขออนุโมทนาในการปฏิบัติธรรมของคุณremixsong

    ด้วยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...