วิชชาที่จะทำให้อยู่รอดจากยุคสมัยแห่งภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย kananun, 17 กรกฎาคม 2006.

  1. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    คำว่าละ นั้นหมายถึง ใช้กำลังจาก ญาณ ฌานนั้น แต่ไม่ไปยึด ไปติด นำกำลังไปใช้ ในการทำนิพพานให้แจ้ง

    บางท่านอ่านมามาก รู้มาก แต่สภาวะพระนิพพานไม่เคยแจ้งกระจ่างแก่ใจ สูญหรือไม่สูญ มีสภาวะอย่างไร ใจคล้ายรู้แล้ว แต่ส่วนลึกของจิต ก็ยังมีวิจิกิจฉาอยู่ หนทางที่ จะคลายสิ้นสงสัยให้สิ้นออกไปจากจิต

    อันเป็นสังโยชน์เครื่องร้อยรัดกิเลสตัวสำคัญให้ออกไปจากจิตได้

    ก็คือเราต้องพิสูจน์ ให้รู้แน่กระจ่างใจ ในธรรมในสภาวะ ที่พระพุทธเจ้าท่านทรงสอนเอาไว้

    ไม่เช่นนั้นพระพุทธองค์ท่านย่อม สอนเพียง วิสัย สุขวิปัสโกเท่านั้น


    ทำไมท่านจึงสอน แนวทางการหลุดพ้นแบบ

    -เตวิชโช
    -ฉฬภิญโญ
    -และปฏิสัมภิทัตปัตโต

    ด้วย

    เหตุนี้ก็เนื่องจากวิสัยของสัตว์โลกแตกต่างกันออกไป

    การบรรลุธรรมก็แตกต่างกันออกไป


    การยึดติด และตัวหลง ตัวหลอก ในแต่ละวิสัย ก็ต่างมีด้วยกันทั้งสิ้น

    ติดคัมภีร์ ติดพระไตรปิฏกเกินไปก็มี

    ติดฤทธิ์ ติดเดช ก็มี

    ติดในสมาธิ ติดในสุขก็มี

    ติดในการดูจิต ติดในตัวรู้ก็มี

    ติดในอรูปฌาน หลงว่าเป็นนิพพาน หลงว่าเป็นสุญญตา ก็มากมาย หากไม่เคยสัมผัส เปรียบเทียบสภาวะจิต ของ อารมณ์ของอรูปและอารมณ์พระนิพพาน ก็จะไม่กระจ่างแก่ใจสิ้นวิจิกิจฉาไปได้ ทำให้ได้จริงก็จะยิ่งทำให้เราตั้งมั่นในการปฏิบัติ

    การใช้ญาณแปดเพื่อ การพิสูจน์ ภพภูมิ กฏของกรรม การเวียนว่ายตายเกิด มีเอาไว้ใช้เจริญให้เห็นภัยจากวัฏฏสงสาร

    ทุกสิ่งรู้เพื่อละ รู้ให้ละ

    วิชชามีเพื่อตัดกิเลส ตามแนวทางของโลกุตระภูมิ ก็ดี

    และแม้น วิชชาที่มีเพื่อโปรดมวลสรรพสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ทั้งทางโลกทางธรรมก็ดี ตัวผู้ใช้ก็ต้องพิจารณาให้เห็น ทุกข์ของเหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ตนเองได้ช่วย ได้โปรดด้วย

    ยิ่งช่วยมากเท่าไร ยิ่งเห็นทุกข์ แต่ที่ยอมทุกข์ ยอมลำบาก ก็เพื่อมวลสรรพสัตว์เป็นสำคัญ

    จิตที่ตรองแล้วว่า การหลุดพ้นแห่งจิตของเราเอง หรือ การช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้หลุดพ้น อย่างไรเกิด คุณประโยชน์กว่ากัน

    ตรองแล้วจึงตั้งจิตอธิฐานใน หน้าที่ ในวิสัย ที่เหมาะสมกับดวงจิตของเรา

    ดังนั้น ฌาน ญาณ ตัวรู้ ญาณทัศนะ อภิญญา อิทธิฤทธิ์ ต่างๆนั้น

    เราจะใช้เป็นเครื่องมือในการดับทุกข์ ก็ได้

    หรือเราจะตกอยู่ภายใต้การยึดติดในสิ่งเหล่านี้ก็ได้ เช่นกัน


    สำคัญที่ว่าเรารู้ว่า เราคือ จิตที่ได้อธิฐาน มาเพื่อสิ่งใด เป้าหมายของเราคืออะไร มีความมั่นคงในสิ่งใดเป็นสำคัญ

    สำหรับผมเอง มีมรดก ที่เป็นสมบัติพ่อให้ เอาไว้ว่า


    "อภิญญาสมาบัติที่สมเด็จพระจอมไตรศาสดาได้ทรงสอนเอาไว้ก็ดี ปฏิปทาสาธารณะประโยชน์ก็ดี ขอให้ลูกจงรักษาเอาไว้ หากลูกรักษาความดีเอาไว้ได้ ก็เท่ากับ พ่อได้อยู่คู่กับลูกตลอดไป "
     
  2. Nakamura

    Nakamura Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,002
    ค่าพลัง:
    +17,625
    เห็นชอบด้วยครับ

    บทความข้างต้นท่านเขียนเพื่อเตือนผู้ที่หลงติดในฤทธิ์ ปาฎิหาริย์ต่างๆ
    แล้วเพลิดเพลินไป โดยลืมจุดมุ่งหมายสำคัญที่แท้จริง คือการละกิเลส ทำนิพพานให้แจ้ง

    ผู้ที่มีฤทธิ์ สิ้นกิเลสแล้วก็มีอยู่
    ผู้ที่มีฤทธิ์ ยังมีกิเลสก็มีอยู่
    ผู้ที่ไม่มีฤทธิ์ มีกิเลสก็มีอยู่
    ผู้ไม่มีฤทธิ์ สิ้นกิเลสแล้วก็มีอยู่

    ท่านเตือนผูู้็ที่มีฤทธิ์ แต่ยังมีกิเลสก็มีอยู่


    สาธุครับ
     
  3. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
    คำอธิบายประกอบคำแปลบทมาติกา ตอนที่๓

    ธรรมที่พึงละได้ด้วยความเห็น ได้แก่ ธรรมฝ่ายชั่วที่ปฏิบัติแล้วนำผลชั่วมาให้ ตัวอย่างเช่น การล่วงละเมิดศีลและกรรมบถ ๑๐ ไม่ให้ทานเป็นต้น เมื่อพิจารณาเห็นผลชั่วแล้วก็ละเสีย หันมาตั้งใจรักษาศีลและกรรมบถ ๑๐ และให้ทานเป็นต้น ก็จะได้รับผลที่เป็นสุข

    ธรรมที่พึงละได้ด้วยการเจริญภาวนา ได้แก่อารมณ์ใจที่ฟุ้งซ่านไปในเรื่องกามคุณ หงุดหงิดขัดเคือง ง่วงเหงาหาวนอนขี้เกียจ คิดมาก ลังเลสงสัย เหล่านี้เป็นต้น ต้องเจริญภาวนาทำสมาธิให้จิตสงบจึงจะละได้ แม้จะละได้ครั้งละไม่นานก็ถือว่าละได้ ทำบ่อยๆก็จะละได้ครั้งละนานๆ

    ธรรมที่ละไม่ได้ทั้งด้วยความเห็นและด้วยการเจริญภาวนา คืออารมณ์จิตที่คิดเห็นว่า มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก เป็นแดนที่มีความสุข แต่แท้จริงแล้วแดนเหล่านี้มันไม่มีธรรมจีรังยั่งยืน ไม่มีสุขแท้ ต้องรักษาศีลและกรรมบถ ๑๐ และทำสมาธิให้จิตตั้งมั่น แล้วใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นความจริง ว่ามันไม่เที่ยง มีแต่ความทุกข์ ไม่ช้าก็ต้องสลายไป ใช้ปัญญาพิจารณาอย่างนี้บ่อยๆ เข้า จิตก็จะละความยึดมั่นถือมั่นได้ ไม่หลงอยากเกิดในแดนเหล่านี้อีก มีแต่จะเข้าสู่พระนิพพานอันเป็นแดนที่ปราศจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม อย่างเดียวเท่านั้น

    ธรรมที่มีเหตุอันพึงละได้ด้วยความเห็น ได้แก่คำสอนที่เป็นมิจฉาทิฏฐิที่ว่า ตายแล้วสูญ นิพพานสูญ เป็นต้น เมื่อเราพิจารณาดูคำสอนของพระพุทธเจ้าที่สอนว่า ถ้าปฏิบัติใน ทาน ศีล ภาวนา และศีล สมาธิ ปัญญา แล้วก็จะมีแต่ความสุขทั้งในมนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก และเข้าสู่พระนิพพาน แต่ถ้าปฏิบัติชั่ว ก็จะต้องไปสู่อบายภูมิเกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน โดยพระพุทธองค์ทรงยืนยันว่า " จิตเต สังกิลิฏเฐ ทุคคติ ปาฏิกังขา - ถ้าตายขณะที่จิตเศร้าหมอง ก็จะไปสู่ทุคติคืออบายภูมิ และ " จิตเต อะสังกิลิฏเฐ สุคะติ ปาฏิกังขา - ถ้าตายขณะที่จิตผ่องใสนึกถึง ทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น ก็จะไปสู่สุคติ คือ สวรรค์ พรหม และไปนิพพาน " เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้วก็จะละความเห็นผิดและละความชั่วได้ และประพฤติความดีทุกอย่างตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า


    ธรรมที่มีเหตุอันพึงละได้ด้วยการเจริญภาวนา ตัวอย่างเช่น คนที่มีจิตอ่อนแอหวั่นไหว มีจิตใจไม่มั่นคง คิดมาก ง่วงเหงาหาวนอน ขี้สงสัย เป็นต้น ถ้าหากรักษาศีลและกรรมบถ ๑๐ ให้เคร่งครัด และทำสมาธิสวดมนต์เจริญภาวนาแล้วก็จะละอารมณ์เหล่านี้ได้ จิตใจจะเข้มแข็ง กล้าทำทุกอย่างที่เป็นความดีโดยไม่ลังเลสงสัย

    ธรรมที่มีเหตุอันพึงละไม่ได้ทั้งด้วยความเห็นและด้วยการเจริญภาวนา ได้แก่ กิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรมที่ฝังรากลึกอยู่ประจำใจมานับชาติไม่ถ้วน จำเป็นต้องรักษาศีลและกรรมบถ ๑๐ ให้เคร่งครัด ทำสมาธิให้มีจิตตั้งมั่น แล้วใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญบ่อยๆ ให้เห็นตามความเป็นจริง ความชั่วเหล่านี้มันพาให้จิตเศร้าหมองต้องเวียนว่ายตายเกิดไม่มีที่สิ้นสุด พิจารณาจนเห็นโทษของการเกิด จนเกิดความเบื่อหน่ายไม่อยากจะเกิดอีกทั้งใน มนุษยโลก เทวโลก และพรหมโลก เพราะว่ามันไม่มีความจีรังยั่งยืนเที่ยงแท้อะไร มีแต่ทุกข์ ไม่ช้าก็ต้องสลายไป มีแต่แดนพระนิพพานแห่งเดียวเท่านั้น ที่เที่ยงแท้มีสุขตลอดกาล อย่างนี้จึงจะละกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรมได้ขาด
    ธรรมที่ไปสู่ความสะสมกิเลส ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่น่ารักน่าใคร่น่าปรารถนา เมื่อหลงคิดเห็นว่าเป็นของดีแล้ว ก็จะทำทุกอย่างเพื่อให้ได้สิ่งเหล่านี้มา เป็นการสะสมกิเลสให้มากขึ้นเรื่อยไปไม่มีที่สิ้นสุด

    ธรรมที่ไม่ไปสู่ความสะสมกิเลส ได้แก่ ทาน การให้เพื่อตัดความโลภ รักษาศีลและกรรมบถ ๑๐ และเจริญพรหมวิหาร ๔ เพื่อตัดความโกรธ เจริญภาวนาให้เกิดปัญญาเพื่อตัดความหลง เป็นต้น

    ธรรมที่จะว่าไปสู่ความสะสมกิเลสก็ไม่ใช่ และธรรมที่จะว่าไม่ไปสู่ความสะสมกิเลสก็ไม่ใช่ คือไม่ใช่ทั้งสองอย่าง ได้แก่ธรรมของฆราวาสผู้ครองเรือนจะต้องปฏิบัติเพื่อความอยู่เป็นสุข ตัวอย่างเช่น สังคหวัตถุ ๔ อย่าง คือ ทาน การให้ เพื่อเป็นการสงเคราะห์ผู้อื่น เป็นการผูกมิตรมีแต่คนรักไม่มีศัตรู จะได้อยู่เป็นสุขตามฐานะของตน ปิยวาจา เจรจาด้วยถ้อยคำไพเราะ เพื่อให้คนฟังชื่นใจ จะได้มีแต่คนรักใคร่ไม่มีใครเกลียด อัตถจริยา ช่วยผู้อื่นทำการงานตามกำลังความสามารถที่จะทำได้ เพื่อความรักใคร่สมานสามัคคีกัน และ สมานัตตตา ไม่ถือตัวถือตน คบหากับคนได้ทุกชั้นวรรณะ เป็นต้น ซึ่งจะว่าเป็นธรรมนำไปสู่ความสะสมกิเลสก็ไม่ใช่ ไม่นำไปสู่ความสะสมกิเลสก็ไม่ใช่ แต่เป็นข้อปฏิบัติของฆราวาสผู้ครองเรือน เพื่อความอยู่เป็นสุขไม่มีเวรภัยใดๆ และแม้บรรพชิตก็ควรปฏิบัติเช่นกัน

    ธรรมของพระอริยบุคคลผู้ยังต้องศึกษา พระอริยบุคคลขั้นโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี คือพระอริยบุคคลผู้ยังต้องศึกษา เพื่อความก้าวขึ้นไปสู่ขั้นสูงขึ้นไป คุณธรรมของพระโสดาบัน คือ คิดถึงความตายเป็นอารมณ์ มีความเคารพในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ รักษาศีล ๕ ได้ทรงตัว และรักษากรรมบถ ๑๐ ได้บ้าง และมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ คุณธรรมของพระสกิทาคามี เหมือนกับของพระโสดาบัน แต่ทรงกรรมบถ ๑๐ ได้ทุกเวลา โดยไม่ต้องระมัดระวัง มีอารมณ์กามราคะและปฏิฆะอ่อนลงมาก คุณธรรมของพระอนาคามี ละกามราคะกับปฏิฆะได้ขาด ซึ่งพระอริยบุคคลทั้ง ๓ขั้นนี้จะต้องศึกษาและปฏิบัติเพื่อความก้าวขึ้นสู่ขั้นสูงต่อไปอีกจนถึงความเป็นพระอรหันต์
    ธรรมของพระอริยบุคคลผู้ไม่ต้องศึกษา พระอริยบุคคลผู้ไม่ต้องศึกษา คือ พระอรหันต์ เพราะท่านจบกิจแล้ว ทำลายกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม ให้หมดไปจากจิตได้เด็ดขาดเป็นสมุจเฉปหานแล้ว จิตของท่านทรงอยู่ในอารมณ์สังขารุเปกขาญาณ และไม่เกาะติดในอะไรๆทั้งหมด

    ธรรมที่ไม่ใช่ของพระอริยบุคคลที่ยังต้องศึกษา และธรรมที่ไม่ใช่ของพระอริยบุคคลผู้ไม่ต้องศึกษา ได้แก่ธรรมทุกอย่างของฆราวาสผู้ครองเรือนจะต้องปฏิบัติ เพื่อความอยู่เป็นสุขตามฐานะของฆราวาสผู้ครองเรือน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 กันยายน 2008
  4. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
    13-04-2007, 10:13 PM
    kananun<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_424686", true); </SCRIPT>
    หัวหน้ากลุ่มพลังจิตพิชิตภัยพิบัติ


    การทรงอารมณ์นิพพาน
    ด้วยกำลังของ อรูปฌาน หรือ สมาบัติ 8





    ขอให้จับลมสบายให้ใจเราชุ่มเย็นสดชื่นก่อน จากนั้นระลึกถึงบารมีของ พระพุทธ
    พระธรรม พระสงฆ์ ระลึกถึง ศีล 5 พรหมวิหาร 4 จับ วิปัสนาญาณ พิจารณาความไม่เที่ยง
    มีความตายเป็นอารมณ์ เห็นความเป็นจริงในสังขารร่างกาย ว่าเป็นทุกข์


    ทรงพุทธนิมิตร เป็นองค์แห่งพุทธานุสติเต็มกำลังสมาธิ จนทรงพุทธนิมิตรสว่างไสว
    แพรวพราว เปล่งฉัพพรรณรังสี สวยงามระยิบระยับ จนใจเราสบาย
    กราบขอบารมีพระพุทธเจ้า ท่านทรงสงเคราะห์ให้เราเข้าถึงอารมณ์แห่ง สมาบัติ 8


    1. พิจารณาให้ทุกสิ่งทุกอย่าง รอบๆ พุทธนิมิตรในจิตเรา สลายไปกลายเป็นอากาศ
    ขาว เว้งว้าง ว่างเปล่า ไม่มีขอบเขต ไม่มีผนังไม่มีพื้น ไม่มีเพดาน เว้งว้างไปหมด
    พิจารณาว่าทุกสิ่งไม่ใช่แก่นสาร ไม่ช้าก็สลายตัวหมด ไม่เที่ยง ไม่จีรัง


    2.ทรงอารมณ์ พิจารณาให้เห็น บ้านเมือง อาคาร วัตถุ โลก จักรวาลหรือแม้แต่ตัวเรา
    ร่างกายเรา แตกสลายผุพังไปกลายเป็นความเว้งว้างว่างเปล่าอีก ทรงอยู่แต่พุทธนิมิตรในจิต
    พิจารณาว่า ร่างกายเราก็ดี ร่างกายบุคคลอื่นก็ดี วัตถุสิ่งของใดก็ดีล้วนแต่
    ผุ พัง ไปตามกาลเวลาไร้แก่นสารใดๆทั้งสิ้น ให้ยึดมั่นถือมั่น


    3.ทรงพุทธนิมิตรไว้ในจิตให้ทรงตัว ต่อไป พิจารณา เพิก สัมผัส และ การปรุงแต่ง
    ความยินดียินร้าย ทางอายตนะ ทั้งปวงออกไปจากจิต
    เห็นก็สักแต่ว่าเห็น ใจเฉย ๆ ไม่รับรู้ ได้ยินก็เหมือนไม่ได้ยิน ใครชมก็เฉย ใครด่าก็เฉย
    ได้กลิ่น ก็ไม่ไปปรุงแต่ง ไปยึดถือ ว่าหอม ว่าเหม็น ได้รับรส ก็เฉยไม่สนใจว่าอร่อยไม่อร่อย
    รับสัมผัสทางกาย ก็ไม่ไปปรุงแต่ง ว่านิ่ม ว่าแข็ง มีอารมณ์ภายนอกมากระทบ ก็เฉย


    ไม่รับ ไม่รู้ ไม่สนใจ


    ใจเราพิจารณาว่า สัมผัสทั้งปวงไม่เที่ยง การปรุงแต่งในสัมผัสแห่งอายตนะทั้งปวงเป็นทุกข์
    แค่วูบเดียวสัมผัสนั้นก็หายไปไยต้องไปยึดถือใจเราตั้งมั่นแต่พุทธนิมิตรที่สว่างไสวอย่างเดียว



    <!-- / message --><!-- sig -->


    [​IMG]





    4.ทรงพุทธนิมิตร ที่ส่องสว่างเปล่งฉัพพรรณรังสีไว้ ให้ใจเราสบาย จากนั้นพิจารณา ว่า
    อันสัญญา ความจำ ได้หมายรู้นั้น ไม่เที่ยง

    เพิกความทรงจำ ความคิดในอดีตกาลก็ดี อดีตชาติก็ดี ความยึดมั่นถือมั่น ทิษฐิต่างๆก็ดี
    ทั้งหมด ออกจากจิตใจ เห็น สัญญาความทรงจำในทุกสิ่งมีความไม่เที่ยงเมื่อยึดถือก็ย่อมเป็นทุกข์
    เป็นอนัตตา ความทรงจำ ความยึดมั่นก่อให้เกิดชาติ เกิดภพ เกิดการเวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จบ
    ในสังสารวัฏ เราเห็นโทษภัยในสัญญา พึงลบ พึงสลายสัญญาทั้งหลายออกไปจากดวงจิต
    ของเรา เหลือเพียงความเว้งว้างว่างเปล่ามีเพียงพุทธนิมิตรที่สว่างไสวลอยเด่นอยู่
    ท่ามกลางความเว้งว้างว่างเปล่านี้


    จากนั้นพิจารณาว่า อันอารมณ์แห่งฌานสี่มีองค์แห่งสมาธิอันเป็นสุข ฉะนี้ก็ดี อัน
    อรูปฌาน มีอารมณ์อันละเอียดปราณีต ดั่งนี้ก็ดี พระพุทธองค์ท่านยังทรง ตรัสว่า ยังไม่ใช่
    ที่สุดแห่งทุกข์ ยังมีธรรมที่บริสุทธิ์ยิ่งกว่า รูปพรหม อรูปพรหมก็ดี ยังต้องมีการเวียนว่าย
    ตายเกิดอีกเมื่อหมดกำลังบุญ ดังนั้นพรหมก็ดี อรูปพรหม ก็ดีเราไม่ต้องการ เพราะเรา
    ไม่ต้องการเกิดอีก จุดเดียวที่เราต้องการคือ พระนิพพานเพียงจุดเดียวเท่านั้น


    " ตัด " สังโยชน์ 10 ประการ ด้วยกำลังแห่ง สมาบัติ 8
    เห็นทุกสิ่งล้วนเว้งว้างว่างเปล่าไปหมด


    ขอบารมีพระพุทธเจ้าท่านให้เราทรงอารมณ์พระนิพพานด้วยกำลังแห่งสมาบัติ 8 นี้ และ
    ขอให้กำลังของสมาบัติแปดนี้จงตัดสรรพกิเลสให้เป็นสมุทเฉทประหาร ลง ณ บัดนี้ด้วยเทอญ


    ทรงอารมณ์ใจพระนิพพาน ไว้ให้เป็นปรกติของจิต


    ขอกราบโมทนาบุญในการปฏิบัติของทุกๆท่านด้วย เทอญ ขอให้ทุกท่าน
    ได้ทรงอารมณ์พระนิพพานได้ จนเป็นธรรมดาของจิต พูดถึง
    พระนิพพานจนติดปาก ติดใจ ไม่ไกลตัว กันอีกต่อไป

    ติดตามอ่านได้ที่นี่ค่ะ มีน้องเจนสาวิกาเป็นผู้รวบรวมค่ะ
    รวมสาระความรู้ วิชชาที่จะทำให้อยู่รอดจากยุคสมัยภัยพิบัติ ตั้งแต่ ปี 2006


     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 กันยายน 2008
  5. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
    คำอธิบายประกอบคำแปลบทมาติกา ตอนจบ

    ธรรมที่เป็นของเล็กน้อย ได้แก่ธรรมที่ปฏิบัติแล้วได้รับผลเพียงชั้นกามาจรสวรรค์ คือบำเพ็ญ ทาน ศีล ภาวนา ได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ก็มีผลให้ได้ไปเกิดในสวรรค์

    ธรรมที่เป็นของใหญ่ คือฌาณสมาบัติ มีผลให้ไปเกิดเป็นพรหม

    ธรรมที่หาประมาณมิได้ ได้แก่ธรรมที่ปฏิบัติเพื่อเข้าสู่พระนิพพาน ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา อิทธิบาท ๔ บารมี๑๐ และตัดสังโยชน์ได้จนเป็นพระอริยบุคคลตั้งแต่ขั้นโสดาบันจนถึงอรหันต์

    ธรรมที่มีธรรมเล็กน้อยเป็นอารมณ์ ตัวอย่างเช่น สวรรค์ชั้นกามาวจร เพียงให้ทานบ้าง รักษาศีลได้บ้าง และเวลาจะตายจิตนึกถึงทานที่เคยให้ นึกถึงศีลที่เคยรักษา หรือนึกถึงคุณพระรัตนตรัยได้ ก็สามารถไปสวรรค์ได้

    ธรรมที่มีธรรมใหญ่เป็นอารมณ์ ตัวอย่างเช่น การเกิดเป็นพรหม จิตต้องทรงอยู่ใน ทาน ศีล ภาวนา อย่างเข้มแข็งจนเป็นฌาณ จึงจะไปเกิดเป็นพรหมได้

    ธรรมที่มีธรรมหาประมาณมิได้เป็นอารมณ์ ได้แก่ แดนพระนิพพานผู้ที่จะไปนิพพานได้ ต้องละสังโยชน์ ๑๐ ประการได้เด็ดขาดจึงจะไปนิพพานได้ สังโยชน์ ๑๐มี สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส กามราคะ ปฏิฆะ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา

    ธรรมที่เลว ได้แก่ธรรมที่ปฏิบัติแล้วมีผลให้ไปอบายภูมิ เช่น การล่วงละเมิดศีล เป็นต้น

    ธรรมที่ปานกลาง ได้แก่ธรรมที่ปฏิบัติแล้วได้รับความสุขใน มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก ได้แก่การให้ทาน รักษาศีลและกรรมบถ ๑๐ เจริญพรหมวิหาร ๔ ทำสมาธิภาวนา เป็นต้น

    ธรรมที่ประณีต ได้แก่ธรรมที่ปฏิบัติแล้วได้เข้าสู่พระนิพพาน คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ปฏิบัติให้ถึงขั้น อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา จนสามารถตัดกิเลสได้ขาดเป็นสมุจเฉทปหาน
    ธรรมที่เป็นฝ่ายผิดและแน่นอน ได้แก่ คำสอนที่เป็นมิจฉาทิฏฐิที่สอนว่า ตายแล้วสูญ นิพพานสูญ เป็นต้น ซึ่งเป็นการคัดค้านคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นธรรมที่ผิดและมีความแน่นอนที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติต้องไปอบายภูมิอย่างเดียว
    ธรรมที่เป็นฝ่ายถูกและแน่นอน ได้แก่ คำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า สวรรค์ พรหม นิพพาน มีจริง ถ้าหากปฏิบัติในทาน ศีล ภาวนา และศีล สมาธิ ปัญญา ก็สามารถไป สวรรค์ พรหม นิพพาน ได้แน่นอน

    ธรรมที่ไม่แน่นอน ได้แก่ธรรมที่ผู้ปฏิบัติมีกำลังใจต้องการเพียง มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าเผลอประมาทก็อาจจะลงอบายภูมิได้ ได้แก่ มีกำลังใจไม่มั่นคงในการ ให้ทาน รักษาศีล ไม่มั่นคงในการเจริญภาวนา มีจิตหลงอยู่ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส จึงทำให้ได้รับผลไม่แน่นอน

    ธรรมที่มีมรรคเป็นอารมณ์ ตัวอย่างเช่น ผู้ที่ต้องการไปเกิดใน เทวโลก พรหมโลก ต้องบำเพ็ญ ทาน ศีล ภาวนาให้มีประจำใจไว้ เพื่อเป็นทางนำไปสู่ที่หมายได้แน่นอน

    ธรรมที่มีมรรคเป็นเหตุ ตัวอย่างเช่น เทวดาและพรหม คือผลที่ได้รับจากการบำเพ็ญ ทาน ศีล ภาวนา ในสมัยที่เป็นมนุษย์

    ธรรมที่มีมรรคเป็นใหญ่ คือพระนิพพาน ผู้ที่จะไปนิพพานได้ต้องมีจิตทรงอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา สามารถตัดกิเลสตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม ได้ขาดเป็นสมุจเฉทปหาน

    ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว คือผลของการทำดีและทำชั่วที่กำลังได้รับในปัจจุบัน

    ธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ได้แก่การปฏิบัติดีและปฏิบัติชั่วแล้วผลยังไม่เกิดในทันทีทันใด แต่จะต้องได้รับผลทั้งดีและชั่วในวันหน้าหรือชาติหน้าแน่นอน

    ธรรมที่จักเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น บุคคลผู้ประมาทขาดสติ ไม่ให้ทาน ไม่รักษาศีลและกรรมบถ ๑๐ ไม่เจริญภาวนา จิตโหดร้ายทารุณ ก็จะต้องได้ไปอบายภูมิอย่างเดียว หาความสุขและความเจริญไม่ได้ ส่วนผู้ที่ไม่ประมาท หมั่นให้ทานรักษาศีลและกรรมบถ ๑๐ และเจริญภาวนา เจริญพรหมวิหาร ๔ เป็นต้น ก็จะต้องได้รับความสุข ในมนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก และเข้าสู่พระนิพพานได้แน่นอน

    ธรรมที่เป็นอดีต คือผลของการปฏิบัติดีและปฏิบัติชั่วที่ได้รับแล้วและหมดไปแล้ว

    ธรรมที่เป็นอนาคต คือผลของการปฏิบัติดีและปฏิบัติชั่วที่จะต้องได้รับในวันข้างหน้า

    ธรรมที่เป็นปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น การมีสติสัมปชัญญะรู้อยู่ทุกขณะจิต ว่ากำลังทำอะไรอยู่ ทำดีก็รู้ ทำชั่วก็รู้ ทำสมาธิก็รู้ลมเข้าออกและคำภาวนาอยู่ทุกขณะ เป็นต้น

    ธรรมที่มีอดีตเป็นอารมณ์ ตัวอย่างเช่น ในอดีตที่ผ่านมาเราได้รับความทุกข์เพราะการปฏิบัติอย่างไร เราก็จดจำและนำมาเตือนสติเราไว้ทุกขณะ ว่าอย่าทำอย่างนั้นอีก และในอดีตที่ผ่านมาเราได้รับความสุขกายสบายใจเพราะปฏิบัติอย่างไร เราก็จดจำและนำมาคิดพิจารณาและปฏิบัติตามธรรมนั้นอยู่เสมอ

    ธรรมที่มีอนาคตเป็นอารมณ์ ตัวอย่างเช่น ขณะนี้เรายังเป็นคนหนุ่มสาวที่มีกำลังแข็งแรง เมื่อนึกถึงวันข้างหน้าที่จะต้องแก่และมีกำลังอ่อนลงหากินลำบาก เราก็เร่งขยันทำมาหากินเก็บหอมรอมริบไว้ เพื่อเป็นทุนไว้กินไว้ใช้ในวันหน้าเมื่อแก่แล้ว อย่างนี้เป็นต้น

    ธรรมที่มีปัจจุบันเป็นอารมณ์ ตัวอย่างเช่น เราอยู่ในท่ามกลางหมู่คนที่ไม่เป็นมิตร เราก็คิดให้ทานเป็นการสงเคราะห์ผู้อื่น เพื่อเป็นการสร้างมิตรให้มีแต่คนรักใคร่ หรือเรามีอารมณ์หงุดหงิดขัดเคืองไม่พอใจใคร เราก็ตั้งจิตแผ่เมตตาเจริญ พรหมวิหาร ๔ เพื่อให้อารมณ์เย็นและมีความรัก ความสงสารเข้ามาแทน หรือเรามีจิตคิดฟุ้งซ่านหวั่นไหวคิดอะไรไม่ออก ก็ตั้งสติทำจิตให้เป็นสมาธิตามกำลังที่สามารถทำได้ เพื่อจิตใจจะได้สงบตั้งมั่นมีปัญญาแก้ไขเหตุการณ์ต่างๆ ได้บ้างพอสมควร อย่างนี้เป็นต้น

    ธรรมที่เป็นภายใน ได้แก่การฝึกใจเราให้รู้จัก การให้ทาน รักษาศีลและกรรมบถ ๑๐ และการเจริญภาวนา เป็นต้น

    ธรรมที่เป็นภายนอก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่เราสามารถรับรู้ด้วยการ เห็น ได้ยิน ได้ฟัง ดมกลิ่น ลิ้มรส กายสัมผัสถูกต้องได้

    ธรรมที่เป็นทั้งภายในและภายนอก คืออารมณ์ใจของเราคิดดีหรือไม่ดีอย่างไร เมื่อตาได้เห็นรูป หูได้ฟังเสียง จมูกได้ดมกลิ่น ลิ้นได้ลิ้มรส กายได้สัมผัสถูกต้องกับสิ่งต่างๆก็รู้

    ธรรมที่มีอารมณ์ภายใน ได้แก่การที่ใจเรามีอารมณ์เศร้าหมอง เราก็พิจารณาดูว่าเป็นเพราะอะไร เมื่อรู้เหตุที่ทำให้ใจเศร้าหมองแล้วก็หาทางละมันเสีย หรือใจเรามีความสุขมีความอิ่มใจดีใจ เราก็พิจารณาดูว่าเป็นเพราะอะไร เมื่อรู้แล้วก็รักษาความดีนั้นไว้ และคิดไว้เสมอว่าอารมณ์ใจมันไม่เที่ยง เดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์เป็นของธรรมดา มันไม่ทุกข์ตลอดกาลและไม่สุขตลอดกาล ธรรมดามันเป็นอย่างนี้ เมื่อมีสติพิจารณาอยู่อย่างนี้ ใจเราก็จะไม่ติดอยู่ในสุขและทุกข์

    ธรรมที่มีอารมณ์ภายนอก ตัวอย่างเช่น เราเห็นคนหรือวัตถุที่สวยงามก็เอามาคิดว่า คนสวยงามนั้นจะต้องแก่แล้วก็ต้องตายไปในที่สุด วัตถุที่สวยงามนั้นไม่ช้าก็ต้องเสื่อมสลายไปในที่สุดอย่างนี้ก็จะทำให้จิตเราไม่เกาะติดอยู่ในอะไรๆ ความอยากในรูปสวยก็จะหมดไป ใจก็จะสะอาดผ่องใสปราศจากกิเลสเข้าสู่นิพพานได้

    ธรรมที่มีทั้งอารมณ์ภายในและภายนอก ได้แก่ เมื่อเราได้เห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ภายได้สัมผัสถูกต้องกับสิ่งต่างๆแล้ว เรามีความหลงรัก หลงเกลียดอยู่หรือไม่ ถ้าเรามีสติพิจารณาเห็นว่า ทุกอย่างมันมรสภาพไม่เที่ยง มีแต่นำทุะกข์มาให้ ไม่ช้าก็สลายไป พิจารณาอย่างนี้บ่อยๆ ใจเราก็จะไม่หลงรัก หลงเกลียดในสิ่งใดๆอีกต่อไป เมื่อใจเกาะอยู่ในความหลงรักหลงเกลียดแล้ว จิตใจก็สะอาดบริสุทธิ์หมดจดปราศจากกิเลสเข้าสู่พระนิพพาน

    ธรรมที่เห็นได้และถูกต้องได้ ได้แก่รูปคนรูปสัตว์และวัตถุธาตุต่างๆ ซึ่งมีแต่จะต้องตายสลายไปในที่สุด

    ธรรมที่เห็นไม่ได้แต่ถูกต้องได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อเราทำสมาธิมีใจสงบตั้งมั่น มีอารมณ์ใจเป็นสุข ตาเมือมองเห็นไม่ได้ แต่จิตใจเราสัมผัสกับความสุขที่เกิดจากสมาธินั้นได้

    ธรรมที่ทั้งเห็นไม่ได้และถูกต้องไม่ได้ ได้แก่ อารมณ์ที่เป็นมิจฉาทิฏฐิเห็นว่า ตายแล้วสูญ นิพพานสูญ แม้จะทำสมาธิก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร จิตใจไม่ได้รับสัมผัสกับความสุขที่แท้จริง ทำไปก็เหนื่อยเปล่าฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 กันยายน 2008
  6. Sawiiika

    Sawiiika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +1,557
    [​IMG]




    คุณมนัสกล่าวว่า ลูกศิษย์ของหลวงปู่เนียมที่ดังๆ ทั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศก็มีหลายรูปด้วยกัน ที่ท่านค้นคว้ามาได้มีหลวงพ่ออ่ำ แห่งวัดชีปะขาว อ.บางปลาม้า หลวงพ่อรูปนี้หลวงพ่อเนียมเป็นผู้บวชให้และมีศักดิ์เป็นหลานของท่านด้วย ที่ดังระดับประเทศก็คือ หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน อ.สองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ผู้เป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ และอีกรูปก็คือ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อ.เสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้เป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ (พระราชพรหมยาน) แห่งวัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี




    ;aa13​
     
  7. ksuchet

    ksuchet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2005
    โพสต์:
    450
    ค่าพลัง:
    +6,060
    อนุโมทนากับลุงชัยครับ ลุ้นแนวทางนี้อยู่นานแล้วครับ ก็เราแก่เหมือนกันหรือเปล่านะ ขอให้เจริญในธรรมครับคุณลุง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กันยายน 2008
  8. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
    05-07-2007, 09:02 AM
    kananun<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_611932", true); </SCRIPT>
    หัวหน้ากลุ่มพลังจิตพิชิตภัยพิบัติ



    การรวมบารมีกันให้เป็นหนึ่ง



    [​IMG]



    เพื่อให้ทุกๆท่านช่วยกันรวมบารมีของทุกท่านเป็นหนึ่งเดียว มาช่วยกันเป็น
    บาทฐาน ค้ำจุนองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้พระองค์ทรงมีพระพลานามัย
    ที่แข็งแรง แผ่พระราชบารมีคุ้มเกล้าชาวไทยทั้งปวงให้อยู่เย็นเป็นสุข



    อธิฐานขอให้บารมีที่รวมกันนั้นมาช่วยปกปักรักษาคุ้มครอง
    เป็น เกราะแก้วพิทักษ์พระพุทธศาสนาให้มีความบริสุทธิ์
    ยังประโยชน์ต่อหมู่สรรพสัตว์ทั้งปวง


    ให้จิตที่รวมกันเป็นหนึ่งนี้ ช่วย เชื่อมใจคนไทยทั้งปวง
    ผู้เป็นชาวธรรมให้กลมเกลียวอยู่กันด้วยความรักความมีสามัคคีธรรม
    เพราะยามใดที่คนไทยแตกความสามัคคี ก็จะเป็นเหตุที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองกันทุกที


    ขอให้รวมใจกันเป็นหนึ่งเพื่องานของส่วนรวมของพระศาสนา
    และ ของประเทศชาติเป็นสำคัญ องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงเป็นพระมหาโพธิสัตว์
    ผู้ทรงเป็นธรรมมิกราชา ท่านได้ทรงบำเพ็ญไว้เป็นแบบอย่าง ให้พุทธภูมิทั้งหลาย
    ได้บำเพ็ญบารมีตามรอยเบื้องพระยุคลบาทไว้แล้วในทุกๆด้าน


    แรงผลักดันจากภายในจิตใจที่ดีงามทุกๆดวง
    จะช่วยนำพาให้ทุกๆท่านได้ตระหนักรู้ถึงหน้าที่
    ที่ตนเองได้ตั้งใจเอาไว้เอง

    อยากให้พี่ๆน้องๆร่วมกันอธิษฐานจิตเพื่อพ่อหลวงของเรา และประเทศไทยของเราให้รอดพ้นจากภัยพิบัติค่ะ
     
  9. pat3112

    pat3112 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    373
    ค่าพลัง:
    +2,904
    [FONT=&quot]พี่ๆน้องๆทุกท่านครับ ผมจะบวชในวันที่[/FONT]15[FONT=&quot]ตุลาคม ที่วัดระฆังฯ(แถวศิริราช) และจะเดินทางไปวัดท่าซุงเพื่อปฏิบัติธรรมต่อไป<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]หากใคร่ว่างก็เชิญนะครับ คณะ[/FONT],[FONT=&quot]พี่กิ้กจะไปถวายสไบทองผมขอโมทนาด้วย น่าจะได้เจอกันที่โน่นนะครับ[/FONT]
    [FONT=&quot]หากเมื่อข้าพเจ้าได้ลวงเกินพี่ๆน้องๆทุกท่านด้วยกาย วาจา ใจ อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็ขออโหสิกรรมด้วยครับ[/FONT]
    [FONT=&quot]ขอโมทนาในความตั้งใจที่มุ่งมั่นปารถนาจะทำความดี ประโยชน์อื่นใดเพื่อศาสนาและคนอื่น ของพี่ๆน้องๆชาวเว็ปด้วยครับ[/FONT]
     
  10. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697

    อนุโมทนาค่ะ
     
  11. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    สวัสดีครับ

    สวัสดีครับ เพื่อนๆทุกๆคน คงจะไม่ได้พบกันนานนะครับ
    ขณะนี้ผมกำลังอยู่ที่จังหวัดสกลนครนะครับ แต่มีโอกาสได้ใช้คอมจึงจะขอบอกเล่าประสบการณ์รวมถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ขณะอยู่ที่นี่นะครับ

    1.ตอนแรกที่ผมมาที่นี่ผมก็ได้กะไว้แล้วว่าจะแลกชีวิตเพื่อให้ได้มาซึ่งธรรม
    แต่อารมณ์อาจจะหนักไปหน่อย
    ตอนนี้จึงได้คลายลงมาแล้ว อยากจะเตือนให้ทุกๆคนทราบนะครับว่า
    อารมณ์เด็ดเดี่ยวนั้นเป็นของดีแต่ให้เด็ดเดี่ยวเฉพาะชั่วขณะจิต
    อย่าให้มันเด็ดเดี่ยวตลอดเวลา เพราะจะหนักเกินไปและอาจจะเป็นผลจากวิปัสสนูปกิเลส คือข้อ วิริยะมากเกินปกติ

    2.ตั้งแต่ผมมาอยู่ที่นี่ผมก็มีอารมณ์ลังเลใจเป็นสอง
    คือเห็นทุกข์มากมายที่จะต้องเผชิญ ทำให้อยากจะลาเข้าพระนิพพานในชาติปัจจุบัน
    แต่อีกใจก็คิดว่าผู้ที่ทุกข์มากกว่าเรายังมีอีกมาก เราจะอดทนบำเพ็ญบารมีต่อไป
    เนื่องจากเวลาก็เหลืออีกไม่มากแล้ว แถมเราก็ลุยมาเยอะแล้ว
    ผมพอจะทราบแล้วว่าอีกนานเท่าใดสำหรับกลุ่มพวกเรา
    แต่ก็ยังไม่ปักใจเชื่อ วางอุเบกขาเอาไว้ก่อน

    ผมจึงตัดสินใจว่าเมื่อพระท่านเมตตา บอกทุกๆอย่างที่ผมควรจะรู้แล้ว ผมจึงค่อยตัดสินใจ และให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมากที่สุด

    3.การปฏิบัติธรรมนั้น ผมมักจะเป็นพวกความเพียรสูงเกิน มานึกย้อนแล้วก็ขำตัวเอง คือพยายามจะทรงฌาณให้ได้24ชั่วโมงบ้างล่ะ อะไรประมาณนี้
    ซึ่งเป็นเรื่องดี แต่ว่าอารมณ์มันหนักไป ตอนนี้ผมผ่อนลงมาแล้วคืออารมณ์ใจสบายๆ
    ปรากฏว่าจิตเป็นนสมาธิเองโดยไม่ต้องบังคับให้ทรง
    แถมยังชุ่มเย็นกว่าเมื่อก่อนอีกด้วย

    4.การวางอารมณ์ใจนั้น ผมลืมไปหน่อยว่าผมมาปฏิบัติธรรมเพื่อความสุข
    หลายๆคนลืมไปหรือเปล่าครับ
    ว่าเรามาฝึกสมาธิเพื่อความสุข
    จงอย่าให้อารมณ์ใจของเราเลยสุขไป คนธรรมดาปฏิบัติหย่อนไป
    แต่พวกเราเป็นกลุ่มที่ปฏิบัติบางครั้งเข้มไป
    ให้ผ่อนอารมณ์ใจกันบ้างนะครับ

    5.อารมณ์ใจสบายเป็นฌาณในตัวเองอยู่แล้ว
    เมื่อใจสบายแล้วไม่ต้องไปหาฌาณที่ไหน ฌาณมีอารมณ์คือสบายใจ

    6.แต่ก่อนผมก็มาคิดว่าสมาธิที่ผมมีนี้พอจะไปวัดไปวากับเขาได้
    แต่พอมาศึกษาเรื่องฌาณละเอียดแล้ว ถือว่าผมเป็นเด็กอนุบาลไปเลย
    ไม่มีความรู้ด้านนี้เลย
    แต่ตอนนี้พอที่จะจับต้นชนปลายได้แล้ว
    ให้เราทรงอารมณ์ใจสบายๆไปเรื่อยๆแหละครับ เดี้ยวมันก็ได้เองพอถึงวาระ
    จริตพวกเราไม่เหมาะกับการไปบีบให้ตัวหายหรอกครับ
    พวกเราฝึกมาทางสายสบายๆมานานมากๆแล้ว ถ้าให้ไปบีบจิตเพื่อเข้าฌาณละเอียดมันไม่เหมาะหรอกครับ อย่างน้อยกับผมก็ไม่เหมาะท่าไหร่

    เรื่องสมาธินั้นขอแค่รู้อารมณ์เท่านั้น แม้ความเป็นอริยะก็ทำกันได้ไม่ยาก
    ไม่ยากจริงๆ ขอแค่รู้อารมณ์ ถ้าไม่รู้แล้ว แค่ขณิกสมาธิก็ยังแทบจับอารมณ์กันไม่ถูก พอถึงวาระวิชาก็ได้กันเอง อย่าไปเร่งเลยครับ รักษาความสุขใจเอาไว้ดีกว่า

    7.ช่วงชีวิตในยุคภัยพิบัตินั้น จะลำบากมาก พวกที่มีหน้าที่จะสบายหน่อย เพราะว่ามีงานให้ทำตลอด ไม่เบื่อนะ
    แต่ว่าคนธรรมดา ลองคิดดูสิครับ ถึงแม้จะเป็นผมเอง พอจะมีสมาธิบ้าง
    แต่ถ้าต้องมานั่งนิ่งๆ วันๆทำแค่ กินข้าว ขับถ่าย เดินไปเดินมา แล้วก็นอน
    โดยไม่รู้ว่าจะอยู่ไปเพื่ออะไร ในเมื่อคนรอบข้างตายหมดแล้ว
    อารมณ์แบบนี้ คนธรรมดาที่ไม่ได้ฝึกสมาธิจะทนได้ซักกี่คน
    ต่อให้เป็นคนที่ฝึกสมาธิ พอเอาเข้าจริงก็ยังแย่ได้เหมือนกัน
    ดังนั้นการบริหารใจคน และหากิจกรรมให้ได้ทำช่วงภัยพิบัติจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้คนไม่สติแตก
    ในความคิดของผมนั้น คนที่จะอยู่รอดช่วงภัยพิบัติได้อย่างสบายใจ
    ไม่สบายกายนะ แต่สบายใจ
    -จะต้องมีจุดมุ่งหมายในการมีชีวิตรอด
    -จะต้องมีสมาธิเข้มแข็ง
    -จะต้องสามารถอยู่นิ่งๆได้เป็นเวลานาน
    -จะต้องมองโลกในแง่ดี
    -จะต้องรู้สึกว่าตัวเองมีประโยฃน์ต่อสถานที่นั้นๆ

    หากไม่แล้ว ก็คงจะสติแตกกันไปในเวลาไม่นาน
    ผมเองแค่1เดือนก็ล่อเอาแทบแย่เหมือนกัน ขนาดฝึกมาพอสมควร
    แล้วคนที่ไม่ฝึกมาเลยจะอยู่อย่างไร

    8.การพบครูบาอาจารย์ที่สามารถจะสอนเราได้อย่างถึงพริกถึงขิง
    เป็นสมบัติที่ผมคิดว่ามีค่ามากกว่าสิ่งใดๆ
    เพราะจะมีโอกาสซักเท่าไหร่ที่เราจะมีโอกาสมาพบกับผู้ทรงคุณธรรมดังกล่าว
    พร้อมทั้งมีจิศรัทธาที่จะเรียนกับท่าน
    บางคนหาไม่พบ บางคนหาพบแล้วแต่ไม่เห็นคุณค่า

    ขอให้ทุกๆคนศึกษากับครูบาอาจารย์ให้เต็มที่นะครับ
    ชาติหน้าเราคงจะไม่พบกับคำสอนของหลวงพ่อฤาษีได้ง่ายๆอีกแล้ว

    9.คนจะตายอยู่ที่ไหนก็ตาย คนยังไม่ตายอยู่ที่ไหนก็ไม่ตาย
    จงอย่ากลัวตาย เพราะหากไม่กลัวตายแล้วสามารถทำได้ทุกอย่าง
    คนกลัวตายทำอะไรก็ติดขัดไปหมด
    บางครั้งคนกลัวตายกลับตาย แต่คนไม่กลัวตายกลับไม่ตาย
    เรื่องบางเรื่องเป็นเรื่องของวาระ มิอาจจะหลีกหนีพ้น
    ผมพอจะเห็นแล้วว่า คนที่จะรอดจากภัยพิบัติมีน้อยแค่ไหน
    เชื่อเถอะว่าเกาะบุญไปสวรรค์จะสบายกว่าอยู่ในยุคต่อไปเยอะมากๆๆๆ
    สำหรับคนธรรมดานะ
    แต่ถ้าเป็นคนมีวาระก็จะสบายกว่าหน่อย แต่ก็ลำบากอยู่ดี

    ผมทราบอะไรเพิ่มมาเยอะแต่ว่าจำไม่ได้ทั้งหมด
    เหตุการณ์จะไม่เป็นอย่างที่เราคิดทั้งหมดนะครับ ขอให้ทำใจล่วงหน้าได้เลย


    สุดท้ายนี้ ผมขอให้ทุกๆคน รักษาอารมณ์ใจที่สบายเอาไว้นะครับ
    ความตายน่ะผมไม่ห่วงหรอก ผมห่วงมากกว่าว่าคนรอบข้างจะมีจิตเศร้าหมองก่อนตาย
    กายน่ะเรารักษามันไม่ได้ ก็ให้เรารักษาใจแทนนะครับ
    ใจเราก็ดี ใจคนรอบข้างก็ดี ประคับประคองเอาไว้นะครับ

    ขอให้ทุกๆคนเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปนะครับ
     
  12. ยาล้างตา

    ยาล้างตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2007
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +3,539

    อีกนานไหมครับ
    ;aa21
     
  13. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
    พอดีได้คุยกับน้องรัศมีดาราค่ะ เรื่องบทสวดขันธะปะริต ว่าตอนที่ไปปฏิบัติธรรมที่วัดท่าซุง ตอนนอนมักจะโดนมดกัด เลยเล่าให้น้องที่ปฏิบัติธรรมอยู่ในห้องเดียวกันฟัง น้องเขาแนะนำให้สวดบทขันธะปะริตบทนี้ก่อนนอน ก็ทำตามน้องบอก มดก็ไม่มารบกวนค่ะ (ใช้วิจารณญาณกันนะคะ)

    ขันธะปะริตตะคาถา

    วิรูปักเขหิ เม เมตตัง ---- เมตตัง เอราปะเถหิ เม,

    ฉัพยาปุตเตหิ เม เมตตัง ---- เมตตัง กัณหาโคตะมะเกหิ จะ,

    อะปะเกหิ เม เมตตัง ---- เมตตัง ทิปาทะเกหิ เม,

    จะตุปปะเทหิ เม เมตตัง ---- เมตตัง พะหุปปะเทหิ เม,

    มา มัง อะปาทะโก หิงสิ ---- มา มัง หิงสิ ทิปาทะโก,

    มา มัง จะตุปปะโท หิงสิ ---- มา มัง หิงสิ พะหุปปะโท,

    สัพเพ สัตตา สัพเพ ปาณา ---- สัพเพ ภูตา จะ เกวะลา,

    สัพเพ ภัทรานิ ปัสสันตุ ---- มา กิญจิ ปาปะมาคะมา,

    อัปปะมาโณ พุทโธ อัปปะมาโณ ธัมโม อัปปะมาโณ สังโฆ

    ปะมาณะวันตามิ สิริงสะปานิ อะหิ วิจฉิกา สะตะปะที

    อุณณานาภี สะระพู มูสิกา กะตา เม รักขา กะตา เม

    ปะริตตา ปะฏิกกะมันตุ ภูตานิ โสหัง นะโม ภะคะวะโต

    นะโม สัตตันนัง สัมมาสัมพุทธานังฯ

    คำว่าฉัพยา ,ภัทรา ในบทสวดมนต์มีเครื่องหมายให้ออกเสียงเพียงเบาๆ

    ฉัพยา อ่านว่า ฉัพ- พะ -ยา คำว่า พะ ออกเสียงเพียงเบาๆ
     
  14. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
    เจ้าชายกับต้นสะเดา

    นิทานธรรม ฉบับพิเศษ
    จัดพิมพ์โดย ธรรมสภา



    พระเจ้าพรหมทัตแห่งเมืองพาราณสี แคว้นกาสี ทรงมีพระโอรสพระองค์หนึ่งเป็นคนเกเรดุร้ายหยาบคาย ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าของเราเกิดเป็นฤาษี ได้รับมอบหมายให้อบรมพระโอรส พระอานนท์เกิดเป็นพระเจ้าพรหมทัต

    ฤาษีออกบวชจากตระกูลพราหมณ์ผู้มั่งคั่ง หลังจากบิดามารดาถึงแก่กรรม ครั้งเป็นฆราวาสได้เดินทางไปศึกษาไตรเพทและศิลปวิทยาที่เมืองตักสิลา เมื่อจบการศึกษาแล้วจึงได้สละทรัพย์สมบัติออกบวชเป็นฤาษี อยู่ในป่าหิมพานต์ บำเพ็ญฌานสมาบัติจนได้บรรลุคุณวิเศษต่างๆ คือ ตาทิพย์ หูทิพย์ เหาะเหินเดินอากาศได้

    ต่อมา ฤาษีประสงค์จะเดินทางมาเยี่ยมบ้านเกิด จึงเหาะจากป่าหิมพานต์มาลงที่เขตเมืองพาราณสีแล้วเดินทางเข้าไปอาศัยอยู่ในพระอุทยานของพระเจ้าพรหมทัต เช้าวันรุ่งขึ้นท่านภิกขาจารอย่างสำรวมเรื่อยไปจนกระทั่งถึงลานหน้าพระราชวัง

    ขณะนั้น พระเจ้าพรหมทัตประทับนั่งอยู่ในพระตำหนักทอดพระเนตรลงมาทางช่องพระแกล (หน้าต่าง) เห็นฤาษีเดินภิกขาจารอย่างสำรวมแล้วเกิดเลื่อมใส ตรัสกับตัวเองว่า
     
  15. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
    ข้อความนี้นำมาจากของคุณazalia ค่ะอ่านแล้วทำให้รู้สึกดีมากๆค่ะ

    <INPUT class=inlinemod_checkbox id=vmessagelist_115667 title="" type=checkbox value=0 name=vmessagelist[115667] inlineModID="inlineMod_comment"> วันนี้ 01:00 PM
    azalia

    ไปลอกเขามาให้อ่านเล่นนะคะ....

    [​IMG]
     
  16. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
    ขอนำบทสวดมนต์แปลของวัดท่าซุงมาให้ทุกท่านได้พิจารณาธรรมกันค่ะ
    ปฏิจจสมุปบาท
    (เหตุที่เป็นปัจจัยซึ่งกันและกันให้เกิดทุกข์และดับทุกข์ )
    (ฝ่ายที่เป็นปัจจัยทำให้ทุกข์เกิดขึ้น )

    **ความไม่รู้อริยสัจ เป็นเหตุให้พอใจใน มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก เพราะคิดเห็นว่า มนุษยโลก เทวโลก และพรหมโลก มีความสวยสดงดงาม เมื่อมีความพอใจในมนุษย์โลกอยากเกิด (๑) จึงเป็นเหตุให้จิตวิญญาณเข้าปฏิสนธิในครรภ์


    **เมื่อจิตวิญญาณเข้าปฏิสนธิในครรภ์แล้ว ก็เกิดมีรูปนามคือร่างกาย เมื่อมีร่างกายแล้ว ก็เกิดมีอายตนะ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายประสาท และ ใจ


    **เมื่อมี ตา หู จมูก ลิ้น กายประสาท และ ใจ แล้ว ก็ได้สัมผัสกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และเรื่องราวต่างๆ จึงเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนาคือ ความรู้สึกที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือรู้สึกเฉยๆ


    **เวทนา คือ ความรู้สึกที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือรู้สึกเฉยๆ เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาคือความอยากไม่มีที่สิ้นสุด ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ เป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน สิ่งที่ชอบก็ยึดถือว่าดี น่ารัก น่าปรารถนา สิ่งที่ไม่ชอบก็ยึดถือว่าไม่ดี ไม่น่ารักไม่น่าปรารถนา


    **อุปาทานที่ยึดถือว่าสิ่งนั้นๆ ดีและไม่ดี น่ารักน่าปรารถนาและน่าเกลียดชัง เป็นปัจจัยให้เกิดภพคือที่อันเป็นที่เกิดและเป็นที่อยู่ของหมู่สัตว์ เมื่อมีภพคือที่อันเป็นที่เกิดและที่อยู่แล้วจึงทำให้มีความเกิดไม่มีสิ้นสุด


    **เมื่อมีความเกิดขึ้นมาแล้ว ก็ต้องมีความแก่และความตายตามมา และมีความเศร้าโศกคิดถึงสิ่งอันเป็นที่รัก มีความร่ำไรรำพันใฝ่ฝันหาสิ่งอันเป็นที่รัก มีความทุกข์เพราะความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก และเพราะไม่สมหวังในสิ่งที่หลงรักหลงชอบใจ มีความเสียใจที่ต้องหมดหวังในการที่จะได้สิ่งอันเป็นที่รักนั้นกลับคืนมา มีความคับแค้นใจในการที่ต้องหมดหวังในสิ่งอันเป็นที่รักนั้นฯ


    **ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนั้น ก็มีด้วยอาการอย่างนี้แลฯ

    (ฝ่ายที่เป็นปัจจัยทำให้ทุกข์ดับ )
    **เพราะเห็นทุกอย่างในมนุษยโลก เทวโลก และพรหมโลก เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างแท้จริง จึงไม่พอใจและไม่คิดอยากเกิดใน มนุษยโลก เทวโลก และพรหมโลก อีกต่อไป มีความพอใจในพระนิพพานอย่างเดียว กิเลสทั้งปวงก็ดับไม่มีเชื้อเหลือ เมื่อกิเลสดับแล้ว จิตวิญญาณก็ดับ ไม่มีการเข้าปฏิสนธิในครรภ์อีกต่อไป
    เมื่อจิตวิญญาณดับแล้ว ก็ไม่มีรูปนามคือร่างกายอีกต่อไป


    **เมื่อไม่มีร่างกายแล้ว ก็ไม่ม่อายตนะทั้ง ๖ อีกต่อไป เมื่อไม่มีอายตนะทั้ง ๖ แล้ว ก็ไม่มีการสัมผัสอีกต่อไป


    **เมื่อไม่มีการสัมผัสแล้ว ก็ไม่มีเวทนาอีกต่อไป เมื่อไม่มีเวทนาแล้ว ก็ไม่มีตัณหาอีกต่อไป


    **เมื่อไม่มีตัณหาแล้ว ก็ไม่มีอุปาทานอีกต่อไป เมื่อไม่มีอุปาทานแล้ว ก็ไม่มีภพอันเป็นที่เกิดและที่อยู่อีกต่อไป


    **เมื่อไม่มีภพแล้ว ก็ไม่มีความเกิดอีกต่อไป เมื่อไม่มีความเกิดแล้ว ก็ไม่มีความแก่และความตาย ไม่มีความเศร้าโศก ไม่มีความร่ำไรรำพัน ไม่มีความทุกข์ ไม่มีความเสียใจ ไม่มีความคับแค้นใจ อีกต่อไป ฯ


    **เพราะฉะนั้น ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนั้น ก็มีด้วยอาการอย่างนี้แล ฯ

    (๑) ( คำอธิบายปฏิจจสมุปบาทเพิ่มเติม)

    ถ้าพอใจในมนุษยโลก คิดอยากเกิดในมนุษยโลก จะเกิดเป็นมนุษย์ได้ ต้องมีบุญคือความดีเพียงพอ คีอบุญจากการรักษศีล ๕ บริสุทธิ์เป็นต้น


    ถ้าพอใจในเทวโลก คืออยากเกิดในเทวโลก จะเกิดเป็นเทวดาได้ ต้องมีบุญคือ ความดีเพียงพอ คือมีหิริ - ความละอายความชั่ว โอตตัปปะ - ความเกรงกลัวผลของความชั่ว หรือมีการให้ทาน รักษาศีล เป็นต้น


    ถ้าพอใจในพรหมโลก คือ อยากเกิดในพรหมโลก จะเกิดเป็นพรหมได้ต้องมีบุญ คือ ความดีเพียงพอ คือ การให้ทานเป็นปกติ รักษาศีลเป็นปกติ มีพรหมวิหาร ๔ มีการภาวนาเป็นปกติจนทรงฌาณสมาบัติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 กันยายน 2008
  17. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
    <TABLE class=tborder id=post1519216 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>Sawiiika<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_1519216", true); </SCRIPT>
    ทีมผู้ดูแลแกลเลอรี่

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งล่าสุด: วันนี้ 08:27 PM
    วันที่สมัคร: Apr 2008
    ข้อความ: 371
    ได้ให้อนุโมทนา: 5,657
    ได้รับอนุโมทนา 6,151 ครั้ง ใน 442 โพส
    พลังการให้คะแนน: 43 [​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_1519216 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- icon and title -->[​IMG] พรหมวิหาร 4
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->
    31-01-2008, 11:20 PM
    kananun<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_886537", true); </SCRIPT>
    หัวหน้ากลุ่มพลังจิตพิชิตภัยพิบัติ


    พรหมวิหาร 4
    ต้องบริบูรณ์สมบูรณ์พร้อมอยู่ในจิตเราเสมอ

    พวกเรานั้นส่วนใหญ่จะคล่อง และ ชำนาญใน เมตตา

    แต่พอการพิจารณาใน กรุณา มี จิตปราณี นั้นบ้างครั้ง ก็ยังมีพลาดหรือเข้าใจผิด
    วางกำลังใจผิด หรือ ขาดไป จิตกรุณา หรือ จิตปราณี นั้น ก็คือการให้อภัย ทั้งที่เขาทำผิด
    พลาดทั้งที่รู้ตัวก็ดีไม่รู้ตัวก็ดี เรามีใจกรุณาก็ให้อภัยต่อเขา ไม่ถือโทษโกรธตอบหรืออาฆาต
    พยาบาทจองเวรผู้ใด จะเกิดโทษต่อเขาได้ประการใด เราก็มีใจกรุณางดโทษที่จะพึงเกิด
    กับเขาเสีย โลกก็เย็นสงบ สงบโดยเริ่มจากใจเราก่อนนั่นเอง ศัตรูของกรุณาก็ คือ
    ความโกรธ ความอาฆาตพยาท การจองเวร

    ส่วนข้อ มุทิตา นั้น คือ จิตที่เรามีความยินดีในความดี ความเจริญ
    ก้าวหน้าของเขา เขาได้ดีมีความสุข เราก็แช่มชื่นหัวใจ สุขไปกับเขาด้วย
    การ โมทนาบุญ ก็จัดว่าเป็นจิตที่ประกอบไปด้วยมุทิตาจิต เช่นกัน


    [​IMG]



    แต่หากจิตเราเกิดความริษยา เกิดหมั่นไส้ เกิดอยากกลั่นแกล้ง
    คนที่เขาดีกว่าเรา ไม่ว่าด้านใด นั่นคือจิตเราขาดมุทิตาจิต เสียแล้ว

    หลายท่านมีจิตเมตตามาตลอด ครั้นพอคนที่เราเมตตาและได้ดีกว่าเรา
    คราวนี้ไอ้ที่เราเมตตามันดันพลิกกลายเป็นอิจฉาริษยาเห็นเขาดีกว่าตัวเองไม่ได้
    นั่นคือ การทรงพรหมวิหาร 4 ไม่ครบ คิดว่าพรหมวิหารสี่มีเมตตาแค่ตัวเดียว
    แต่ที่จริงเราต้องวางกำลังใจให้ครบทั้ง เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ให้ครบ

    ประเทศไทยเราเองการที่ มีคำผูกเอาไว้ว่า
    " จงทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย ไม่มีใครอยากเห็นเราเด่นเกิน "
    การเกิดจิตอิจฉาริษยานั้นเกิดง่ายมาก เราเองบางครั้งก็ไม่ทันรู้ตัว และหนังไทยละครทีวี
    ยิ่งเน้นเนื้อหาด้านนี้มากก็ ยิ่งส่งเสริมให้คนเรามีจิตริษยาก่อเกิดขึ้นมากไปด้วย

    จิตมุทิตานั้นเรามุ่งยินดีในความดีของผู้อื่นเสมอ เรามีแต่ได้กับได้ เขาทำบุญเราโมทนา
    เราได้บุญ และ พลอยอิ่มใจไปด้วย แต่หากเขาทำบุญ เขาทำความดี เราไปติเขาบ้าง
    กล่าวโทษเขาบ้าง แทนที่จะได้บุญเรากลับได้บาปแถมมีจิตใจร้อนรุ่มด้วยไฟริษยาที่แผด
    เผาใจตนเองอยู่เพียงฝ่ายเดียว ส่วนท้ายสุด อุเบกขา อารมณ์ใจที่ ปล่อยวางไม่สุข
    ไม่ทุกข์ ไม่ใช่พอช่วยคนไม่ได้เราก็เกิดทุกข์นี่ยังถือว่า ยังทรงพรหมวิหาร 4 ได้ไม่เต็ม
    ไม่ครบ อุเบกขา ก็คือการวางใจเราเอาไว้ว่า เราเองจะช่วย จะสงเคราะห์ผู้อื่นตามกำลัง
    เท่าที่เราจะสามารถทำได้ หากช่วยไม่ได้เราก็ปล่อยวาง เสีย อย่าไปทุกข์

    ให้คิดว่า แม้องค์พระสุคตท่านก็ยังไม่อาจโปรดบุคคลได้ทุกๆคนเลย ดังนั้นเราเองก็ย่อม
    มีข้อจำกัดที่ทำให้ทำไม่ได้ในทุกสิ่งที่เราอยากช่วยอยากทำเช่นกัน ดังนั้น ต้องรู้เท่าทัน
    และ ปล่อยวาง เมื่อถึงวาระที่เราช่วยเขาได้เราค่อยช่วย เรื่องนี้พุทธภูมิหลายท่านยังขาด
    ตัวนี้กันมาก เวลาบำเพ็ญบารมีจึงเกิดทุกข์เพราะไปจมอยู่กับทุกข์ที่เราช่วยเขาไม่ได้
    ที่จริงท่านให้ ปล่อยวาง รอเวลาวาระ แล้วค่อยช่วยใหม่ ทำใหม่

    เมื่อทำดังนี้ การทรงพรหมวิหาร 4 ก็จะ ทรงความสงบ เย็น ไม่ทุกข์ ไม่เร่าร้อน
    มีแต่จิตที่อิ่มเต็ม เป็นสุข พร้อมที่จะให้พร้อมที่จะสงเคราะห์อยู่เสมอ

    ขอให้ พรหมวิหาร 4 อัปปันนาณญาณ จงอิ่มเต็ม
    ในทุกดวงจิตของทุกๆท่านผู้มีความเจริญในธรรมด้วยเทอญ


    <!-- / message --><!-- sig -->
    <!-- / message --><!-- sig -->__________________
    ;aa51
    พุท ธะ สัง วิ หะ ระ ตัง ปุญ ญัง วะ ทา มิ
    ด้วยอานุภาพแห่งการนอบน้อมในพระพุทธเจ้า พระสัจจธรรม
    พระอริยสงฆ์ ขอให้จิตของข้าพเจ้าจงเป็นวิหารที่สถิตซึ่ง....
    พระพุทธบารมี พระธรรมบารมี พระสังฆบารมี อันไม่มีประมาณ ด้วยเทอญ

    วิชชาที่จะทำให้อยู่รอดจากยุคสมัยแห่งภัยพิบัติ
    ลงชื่อรอรับ วิชชาที่จะทำให้อยูรอดฯ ฉบับพื้นฐานค่ะ
    รวมสาระความรู้ วิชชาที่จะทำให้อยู่รอดจากยุคสมัยภัยพิบัติ ตั้งแต่ ปี 2006

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
    <TABLE class=tborder id=post1524896 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>Sawiiika<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_1524896", true); </SCRIPT>
    ทีมผู้ดูแลแกลเลอรี่

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งล่าสุด: วันนี้ 08:27 PM
    วันที่สมัคร: Apr 2008
    ข้อความ: 371
    ได้ให้อนุโมทนา: 5,657
    ได้รับอนุโมทนา 6,151 ครั้ง ใน 442 โพส
    พลังการให้คะแนน: 43 [​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_1524896 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message -->
    04-02-2008, 11:28 PM
    kananun<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_959616", true); </SCRIPT>
    หัวหน้ากลุ่มพลังจิตพิชิตภัยพิบัติ


    ต้องมีความเชื่อเรื่อง
    การเวียนว่าย ตายเกิด '' สังสารวัฏฏ์ ''
    การไม่เชื่อ ไม่เห็นโทษภัยในสังสารวัฏฏ์ ย่อมไม่มีจิตคิดหลุดพ้นจาการเวียนว่ายตายเกิด
    มีพระนิพพานเป็นที่สุด เพราะ พระพุทธศาสนาไม่ใช่พุทธปรัชญา ไม่ใช่ความเชื่อ
    แต่ เป็นสัจจะธรรม ความจริง ว่า มีการเวียนว่ายตายเกิดไปตาม ภพภูมิต่างๆ มี ภพสุขคติภูมิ
    มีสวรรค์ พรหมโลก อรูปพรหม พระนิพพาน ภพอบายภูมิ ได้แก่ เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน
    สัตว์นรกดังที่ '' พญาลิไท '' ท่านได้ทรง กราบนิมนต์ให้พระมาลัยท่านถอดกายทิพย์
    ไปยังภพภูมิต่างๆ เพื่อกลับนำมาเล่า และบันทึก เพื่อสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้เข้าใจใน
    สังสารวัฏฏ์ เป็นสำคัญ " ไตรภูมิพระร่วง " ไม่ใช่เรื่องแต่ง แต่ เป็นการบันทึก ตาม
    ความเป็นจริง ที่พระมาลัยท่านได้ไปมาจริงๆ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าในยุคสมัย ของพญาลิไท
    พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งคนมีศีลมีธรรมสูง

    ลองมาย้อนดูยุคสมัยปัจจุบันนี้ มีมหาปราชญ์ทางพุทธ
    ที่คนยกย่องกันแต่ศีลธรรมกลับเสื่อม คนกลับละทิ้งธรรม ละทิ้งความดี เพราะเลิกเชื่อเรื่อง
    การเวียนว่ายตายเกิด เห็นพระบวรพุทธศาสนาเป็นเพียงปรัชญา ถกธรรมมะ สนนทนาธรรม
    โดย เน้น วาทะ แสดงภูมิ แสดงปัญญา ด้วย มานะทิษฐิ ว่าฉันฉลาดลึกซึ้งในธรรม
    ยิ่งทำให้อธิบายยากๆ ให้คนฟังยากๆได้ยิ่งทนงตนว่า ธรรมมะของฉันลึกซึ้ง พาให้คน
    เข้าใจผิดๆไปอีกว่าว่าธรรมมะเป็นเรื่องยากเป็นเรื่องลึกซึ้ง
    ยากเย็น มีผู้มีปัญญาสูงส่งเท่านั้นจึงจะเข้าใจในธรรมได้

    ซึ่งโดยพุทธประสงค์ท่านทรงปรารถนา
    ปรารถที่ผลแห่งการปฏิบัติ ปรารถนาให้ผู้ฟังธรรมได้เข้าถึงธรรมได้โดยง่าย
    และ ชาวบ้านมากมาย เด็กผู้มีอายุน้อย 7 ขวบ อีกมากที่ฟังธรรมแล้ว บรรลุธรรม
    โดยฉับพลันตั้งมากมาย นับไม่ถ้วน แม้เป็นคนเข็ญใจพระพุทธเจ้าท่านก็โปรด
    ประดุจ มหาคงคา อันเอ็นดูต่อหมู่สัตว์เสมอกัน

    เหตุนี้ ปฏิสัมภิทาญาณ จึงมีองค์แห่งการบรยายธรรม
    อนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์ ทำให้ธรรมมะที่ยากเป็นเรื่องง่าย และธรรมมะที่ง่ายๆ
    จำแนก ย่อยละเอียดลึกซึ้งพิสดารได้ เพื่อให้ธรรมนั้นแตกฉานกระจ่างในจิตยิ่งขึ้น
    เพื่อยังประโยชน์ในการสงเคราะห์คนทั้งปวงให้เข้าถึงธรรมได้โดยง่าย

    [​IMG]

    เชื่อในกรรมและผลของกรรม เชื่อบุญ เชื่อบาป
    เพราะหากไม่เชื่อบาปบุญคุณโทษแล้ว ศีล 5 ย่อมไม่มีในจิตของคนผู้นั้นแน่นอน
    ย่อมทำเลวทรามต่ำช้าได้โดยไม่ยับยั้งช่างใจ ไม่มีหิริโอตปะ ความเกรงกลัวละอายใจ
    ต่อบาปกรรม ทำอนันตริยกรรมได้โดยง่าย คนส่วนใหญ่ที่ทำผิด คิดร้าย เป็นพาลชนทั้งหลาย
    ล้วนเเต่เป็นผู้ไม่เชื่อเวร เชื่อกรรม อลัชชี ในศาสนาก็เกิดจากผู้ที่ไม่เชื่อเวรกรรม ไม่เชื่อ
    นรก - สวรรค์ มาศึกษาตามที่ผิดอีกก็กลับมาเห็นเป็น มิจฉาทิษฐิ ซ้ำอีกว่า เวรกรรมไม่มี
    สวรรค์- นรก ไม่มี การอยู่ในเพศพระเป็นที่สบาย มีคนให้คนถวาย อยู่ดีกินดี ก็เลย
    ลวงโลก ไม่เคารพในพระธรรมวินัยแต่อย่างไร แม้แต่ คุรุอาบัติมีปาราชิก ก็ทำได้โดย
    ไม่ละอาย พอถูกจับได้ความชั่วก็ปรากฏ ก็ทราบว่าเหตุเกิดจาก ไม่เชื่อในเวรกรรม
    '' ไม่เชื่อว่ามีสวรรค์นรก ไม่เชื่อบุญเชื่อบาปแต่อย่างไร ''



    เมื่อเชื่อกรรม และ ผลของกรรมจิตก็ย่อมตั้งมั่นอยู่ในกุศล ในบุญ ในความดี เป็นสำคัญ
    เมื่อจิตน้อมในความดี ก็ย้อมใกล้พระนิพพาน ใกล้มรรค ใกล้ผล การปฏิบัติธรรมก็ปฏิบัติขึ้น

    เชื่อว่า การปฏิบัติธรรมมีผล มรรคผล
    มีจริง พระอริยเจ้า มีจริง พระนิพพานมีจริง
    เพราะหากไม่เชื่อว่า การปฏิบัติจะมีผลแล้ว ก็ป่วยการในการปฏิบัติเช่นกัน จะทำในสิ่ง
    ที่ตนไม่เชื่อไปเพื่ออะไร บางท่านบอกว่า ณ .ปัจจุบันนี้ไม่มีพระอริยเจ้า ไม่มีพระอรหันต์แล้ว
    ก็ขอบอกได้เลยว่า ที่ท่านเข้าใจว่าไม่มีก็เพราะ ดวงจิตท่านมืดบอดต่อธรรม ต่อ
    พระอริยเจ้า ที่จริงท่านมีอยู่มากมายนับไม่ถ้วน
    และ จะดำรงสืบสานพระบวรพุทธศาสนาต่อไปตราบ
    5 พันปี ดังนั้นไม่ต้องห่วงกันในเรื่องนี้

    ส่วนท่านที่เข้าใจว่า '' นิพพานสูญ '' นั้น
    พระท่านบอกว่า บางท่าน มีจิตเป็น สัมมาทิษฐิ ทุกอย่างแต่ไปเข้าใจว่า
    นิพพานสูญ นั้น ท่านนับว่าเป็นการสำคัญผิด หากแม้นว่ายังไม่ตายจากชาตินี้
    ก็ยังนับว่า อาจเปลี่ยน ทิษฐิกลับมา เป็นสัมมาทิษฐิได้

    เรื่องนี้ผมเองก็ต้องยอมรับว่าตนเองก็เคยเลวมาก่อน เรียนผิดมาก่อนเช่นกัน
    สมัยที่ศึกษาธรรมมะด้วยตนเอง อ่านแต่ตำราของ.... ก็พลอยพาไปเข้าใจว่า
    พระนิพพานสูญ ไปกับเขาด้วย จึงเข้าใจได้อย่างดีว่า อารมณ์ และความคิด
    ที่เข้าใจว่า นิพพานสูญนั้นเป็นอย่างไร ,,,,

    มารู้จักพระนิพพานจริงๆ ก็จากการปฏิบัติ จนรู้ได้ เห็นได้ กระจ่างแจ้งแก่จิต
    ตนเองว่าที่พระพุทธองค์ท่านได้ตรัสสอนอาไว้เป็นอย่างไร ...?
    อารมณ์นิพพานสูญ กับสภาวะธรรมที่มีพระนิพพาน
    เป็นอารมณ์นั้น แตกต่างกันอย่างไร ละเอียดปราณีตต่างกันอย่างไร .... ?
    รวมทั้งหลายๆท่านที่ปฏิบัติได้ปฏิบัติถึงก็ได้ พิสูจน์ เรื่องนี้ด้วยตนเองทุกคน


    ดังนั้นอยากสิ้นสงสัยก็ขอให้มาปฏิบัติด้วยตนเอง
    เพราะผู้ที่ทำได้ ก็จะเกิดศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนาและ การปฏิบัติธรรม ธรรมนั้น
    บางท่านก็ไม่รู้ในธรรม บางท่านก็รู้ธรรม แบบได้ยินมาบ้าง เคยอ่านมาบ้าง
    บางท่านรอบรู้ในธรรม เชี่ยวชาญในธรรม แต่ใจไม่เคยได้สัมผัสธรรม บางท่านรู้ธรรม
    เพียงข้อเดียว แต่เข้าใจในธรรม พยายามปฏิบัติ บางท่าน รู้ธรรมและเข้าใจในธรรม
    บางท่าน รู้ธรรมและเข้าใจในธรรมอย่างกระจ่างแจ้งจนปรากฏการเปลี่ยนแปลงในจิต
    เข้าสู่ธรรม บางท่าน รู้ธรรม และจิตสัมผัสธรรมอย่างลึกซึ้ง รู้แจ้ง แทงตลอดในธรรม
    มีจิตที่เห็นพระคุณแห่งรัตนไตรได้อย่างหาที่สุดไม่ได้ ที่ช่วยพาตนและสัตว์ทั้งหลาย
    ให้รอดจากสังสารวัฏฏ์ จากนรกภูมิ จากอวิชชาทั้งปวง จนเกิดศรัทธามั่นคงเป็น
    '' อจลศรัทธา มั่นคงในพระรัตนไตรไม่แปรเปลี่ยน


    ขอท่านทั้งหลายจงถอด ถอนจิตจากมิฉาทิษฐิ ทั้งปวง จากดวงจิต
    น้อมจิต เข้าสู่สัมมาทิษฐิ อันพิสุทธิ์ เข้าถึงธรรมอัน สมเด็จพระจอมไตรศาสดา
    สัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ท่านได้ทรงมีพุทธประสงค์ด้วยเทอญ .



    <!-- / message --><!-- sig -->__________________
    ;aa51
    พุท ธะ สัง วิ หะ ระ ตัง ปุญ ญัง วะ ทา มิ
    ด้วยอานุภาพแห่งการนอบน้อมในพระพุทธเจ้า พระสัจจธรรม
    พระอริยสงฆ์ ขอให้จิตของข้าพเจ้าจงเป็นวิหารที่สถิตซึ่ง....
    พระพุทธบารมี พระธรรมบารมี พระสังฆบารมี อันไม่มีประมาณ ด้วยเทอญ

    วิชชาที่จะทำให้อยู่รอดจากยุคสมัยแห่งภัยพิบัติ
    ลงชื่อรอรับ วิชชาที่จะทำให้อยูรอดฯ ฉบับพื้นฐานค่ะ
    รวมสาระความรู้ วิชชาที่จะทำให้อยู่รอดจากยุคสมัยภัยพิบัติ ตั้งแต่ ปี 2006

    <!-- / sig --></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. Sawiiika

    Sawiiika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +1,557
    06-02-2008, 10:49 PM
    kananun<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_963902", true); </SCRIPT>
    หัวหน้ากลุ่มพลังจิตพิชิตภัยพิบัติ

    เนื้อหาที่ได้สอน เรื่อง '' กสิณ '' ไปในวันเสาร์
    5 มกราคม 08 สวนลุม มีดังนี้

    1. สอนในเรื่อง อานาปานสติกรรมฐาน ในระดับต่างๆ
    2. การใช้การ ล้างลมหายใจหยาบออก และ ฝึกให้ทุกๆคนได้ ฌาน 4 ใน
    อานาปานสติกรรมฐานกันก่อน ซึ่งก็ได้แทบทุกคน อย่างที่แย่ที่สุดก็ได้ ฌาน 3
    '' เหลือลมหายใจแค่ เม็ดถั่วเขียว ''

    3. ฝึก เมตตาอัปปันนาณฌานเพื่อให้ผู้ฝึกได้พบกับจิตเดิมแท้ที่เป็นจิตประภัสสร
    ตามที่พระพุทธเจ้าท่านได้ทรงสั่งสอนเอาไว้ ได้พบจิตใจที่ดีงามของตนเอง
    4. อธิฐาน ให้อภัยทาน ต่อสรรพสัตว์ ไม่เป็นเจ้ากรรมนายเวรของผู้ใด
    เพื่อลดแรงกรรมที่เราเองไปยึดไปเหนี่ยวกับดวงจิตของผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว
    5. กราบ ขอขมา พระรัตนไตร สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย คุณบิดามารดา
    ครูอาจารย์เจ้ากรรมนายเวรทั้งปวง เพื่อลดวิบาก ลดตัวขัดขวาง
    ความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมให้จิตโปร่งขึ้นเบาขึ้น
    6. อธิฐาน เก็บบุญ ของเราที่ได้เคยบำเพ็ญมานับแต่ อดีต
    ไปจนที่จะบำเพ็ญในอนาคต ให้มารวมตัวกันในชาติปัจจุบันนี้
    7. อธิฐาน ระลึกถึง บุญกุศล มหากุศลทั้งปวง ของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์
    พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระอริยสงฆ์ เทพพรหมเทวาทั้งปวง
    ตลอดจนสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้รวมตัวกันแล้วให้ทุกคนตั้งจิตมหาโมทนาบุญ
    '' ให้อำนาจแห่งโมทนามัยฤทธ์บังเกิดขึ้นในดวงจิตช่วยหนุนการปฏิบัติธรรม ''
    เมื่อสอนให้ได้ ฌาน 4 ใน อาณาปานสติกรรมฐาน แล้ว ได้ ชำระจิตให้สะอาดเบา
    แล้ว ได้ยกจิตขึ้นด้วยอำนาจบุญเก่าในอดีตของตนเองและด้วยอำนาจแห่ง
    โมทนามัยฤทธ์ แล้ว จิตส่วนใหญ่ก็เริ่มมีกำลังที่จะ ฝึกวิชชาในสายอภิญญา ได้


    '' ทั้งหมดนี้เป็นลำดับขั้นตอนที่พระท่านสอน
    เพื่อให้ผู้ฝึกปฏิบัติได้ผลเร็ว อย่างอัศจรรย์ ''

    ในส่วนของอภิญญา ในวันนั้นได้ใช้เทคนิคของการทำ " อภิจิต " โดยให้ทุกๆคน
    กำหนดนิมิตรร่วมที่จุดเดียวกัน ให้ฝึกโดย แทนที่จะให้กำหนดกสิณ ในภาพ 2 มิติ
    ก็ให้ กำหนดนิมิตรของกสิณ เป็น 3 มิติ คือ อยู่ในรูปของ
    ทรงกลม โดยเริ่มจาก กสิณธาตุ ก่อน

    ก้อนดิน กลมเต็มวง ก้อนดินค่อยๆใสขึ้น ขาวขึ้น สว่างขึ้น " อุคคหนิมิตร "
    ก้อนดินเป็นดวงกลมใสเป็นเพชร เป็นแก้วประกายพรึกเปล่งรัศมี " ปฏิภาคนิมิตร "
    ให้ย้อนมาดูลมหายใจ จะพบว่าในขณะที่จิตตั้งใน ปฏิภาคนิมิตร
    หรือ ฌาน 4 จากกสิณ ลมหายใจก็หายไป เช่นเดียวกัน
    เป็นการพิสูจน์เรื่องการปฏิบัติในส่วนของฌาน

    [​IMG]

    จากนั้นเปลี่ยนกองเป็น น้ำ ลม ไฟ
    เปลี่ยนเป็น กสิณสี สีแดง สีขาว สีเหลือง(สีทอง) สีดำ(สีเขียว)
    แสงสว่าง อากาศ ความว่างแบบมีอากาศที่โล่ง ต่างจาก อรูป

    จากนั้นให้สลับกองไปมา ให้ฝึก ย่อเล็ก + ขยายใหญ่
    เพิ่มจำนวน + ย้ายตำแหน่งไปมา ทำให้ชินให้คล่อง

    อธิฐานให้ปรากฏกสิณทั้งสิบกองพร้อมกัน
    อธิฐานรวมกองกสิณ พร้อมใช้คาถา " โสตัตตะภิญญา "
    กำกับเพื่อรวมกองกสิณ รวมอภิญญา

    พอทำได้จนคล่อง ก็เริ่ม ให้ฝึก อรูปฌาน 4 ครับ





    ขอบพระคุณค่ะพี่ปู ที่นำเอาสาระความรู้วิชชาที่รวมมาลง อีกที ค่ะ
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  20. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
    ไม่เป็นไรจ้าน้องเจน พอดีน้องเจนจัดเก็บรวบรวมเนื้อหาของอาจารย์คณานันท์สอนตรงกับพี่กำลังปฏิบัติอยู่ตอนนี้จ้า และน้องเจนก็จัดรวบรวมได้ดีมากจ้า โมทนาบุญจ้าที่ช่วยทำจัดเก็บข้อมูลให้อ่านง่ายขึ้น ขอให้น้องเจนเข้าถึงธรรมได้โดยง่ายได้โดยอัศจรรย์ทันใจจ้ะ ^v^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 กันยายน 2008

แชร์หน้านี้

Loading...