**ร้านศิวิไลพระเครื่อง** วัตถุมงคล เครื่องรางของขลัง เกจิคณาจารย์ภาคเหนือ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ศิวิไล, 25 พฤษภาคม 2013.

  1. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,132
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 2214

    พระกริ่งรุ่นแรก หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดป่าหมูใหม่ เนื้อทองทิพย์ ติดข้าวก้นบาตร เกศาจีวร

    วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง

    ๑. เพื่อเป็นการระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ และเพื่อให้สาธุชนทั้งหลายเข้าถึงพระรัตนตรัย เพื่อเป็นไปในการเข้าถึงซึ่งหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า และช่วยจรรโลงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองวัฒนาถาวร คู่ผืนแผ่นดินไทยสืบไป
    ๒. เพื่อมอบให้เป็นที่ระลึกเป็นพุทธานุสสติ แด่ท่านที่ร่วมทำบุญ เป็นเจ้าภาพบูรณะวิหารของวัดศรีดอนชัย
    ๓. นำปัจจัยรายได้ทั้งหมดจากการทำบุญวัตถุมงคลชุดนี้บูรณะวิหารวัดศรีดอนชัย สำหรับท่านที่ร่วมทำบุญเช่าบูชาพระกริ่ง พระชัยวัฒน์นี้ถือว่าท่านได้ร่วมทำบุญเป็นเจ้าภาพในการบูรณะวิหารของวัดศรีดอนชัย เพื่อให้สำเร็จลุล่วงสืบไป
    ชนวนสำคัญในการหล่อองค์พระกริ่ง รุ่นแรก
    ๑. ชนวนเททองหล่อพระเจ้าทันใจวัดร้องขุ้ม ซึ่งทำพิธีหล่อโดยหลวงพ่อประสิทธิ์ เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๔๙
    ๒. ชนวนเททองหล่อพระประธาน ทำพิธีเททองโดยหลวงตามหาบัว ที่วัดป่าศาลาปางสัก
    ๓. ชนวนเททองหล่อพระเจ้าทันใจวัดเจดีย์หลวง ทำพิธีเททองโดยหลวงตามหาบัว เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
    ๔. ชนวนพระกริ่งหลวงปู่ครูบาเจ้าบุญปั๋น วัดร้องขุ้ม รุ่นเศรษฐีล้มลุก ปี ๒๕๔๓
    ๕. ชนวนเททองหล่อพระมหาจักรพรรดิ, หลวงปู่ทวด, หลวงปู่ดู่, ของหลวงตาวรงคต วัดพุทธพรหมปัญโญ ปี ๒๕๔๒
    ๖. ชนวนเททองหล่อพระเจ้าเพชรศีมุงเมือง วัดศรีมุงเมือง ซึ่งทำพิธีหล่อโดยหลวงพ่อเปลี่ยน เมื่อปี ๒๕๕๐
    ๗. ชนวนพระกริ่งหลวงปู่ครูบาอิน อินโท วัดทุ่งปุย รุ่นไจยะเบ็งจร ปี ๒๕๔๕
    ๘. ชนวนเททองหล่อพระเจ้าแสนล้าน วัดเจดีย์หลวง ทำพิธีเททองโดยหลวงปู่พระพุทธพจนวราภรณ์ เมื่อนวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
    ๙. ชนวนเททองหล่อพระพุทธสิงหชัยวัฒน์ และรูปเหมือนหลวงปู่ครูบาหน้อย วัดบ้านปง ซึ่งทำพิธีหล่อโดยหลวงพ่อเปลี่ยน เมื่อปี ๒๕๕๐
    ๑๐. ชนวนพระกริ่งวัดสุทัศนเทพวราราม หลายนุ่น หลายพิธี
    ๑๑. เศษพระบูชาเนื้อโลหะสำริดเก่าจำนวนมาก
    ๑๒. ทองจังโก๋พระธาตุแช่แห้ง
    ๑๓. ทองจังโก๋พระธาตุดอยสุเทพ
    ๑๔. ทองยอดฉัตรเจดีย์วัดร้องขุ้ม ๒ สมัย
    ๑๕. ทองยอดฉัตรอุโบสถวัดร้องขุ้ม
    ๑๖. แผ่นยันต์ ๑๐๘ นะปถมัง ๑๔
    ๑๗. แผ่นยันต์มหาพิชัยสงครามดวงประสูติ ตรัสรู้ พระพุทธเจ้า
    ๑๘. แผ่นทองคำ เงิน ทองแดง ตะกั่วจารหลวงพ่อประสิทธิ์ วัดป่าหมู่ใหม่
    ๑๙. แผ่นยันต์จารหลวงปู่ครูบาน้อยวัดบ้านปง
    ๒๐. แผ่นยันต์จารหลวงปู่ครูบาบุญปั๋น วัดร้องขุ้ม
    ๒๑. แผ่นยันต์จารหลวงปู่ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง
    ๒๒. แผ่นยันต์จารหลวงปู่ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี
    ๒๓. แผ่นยันต์จารหลวงปู่ทอง วัดพระธาตุศรีจอมทอง
    ๒๔. แผ่นยันต์จารหลวงปู่ครูบามา วัดศิริชัยนิมิต
    ๒๕. แผ่นยันต์จารหลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง
    ๒๖. แผ่นยันต์จารหลวงพ่อตัด วัดชายนา
    ๒๗. แผ่นยันต์จารหลวงปู่ครูบาดวงดี วัดบ้านฟ่อน
    ๒๘. แผ่นยันต์จารหลวงปู่ครูบาจันทร์แก้ว วัดศรีสว่าง
    ๒๙. แผ่นยันต์จารหลวงปู่ครูบาอินตา วัดวังทอง
    ๓๐. แผ่นยันต์จารหลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว
    ๓๑. แผ่นยันต์จารหลวงปู่ทิม วัดพระขาว
    ๓๒. แผ่นยันต์จารหลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ
    ๓๓. แผ่นยันต์จารหลวงปู่สวัสดิ์ วัดศาสาปูน
    ๓๔. แผ่นยันต์จารหลวงพ่อรวย วัดตะโก
    ๓๕. แผ่นยันต์จารหลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว
    ๓๖. แผ่นยันต์จารหลวงพ่อพูล วัดไผ่ล่อม
    ๓๗. แผ่นยันต์จารหลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน
    ๓๘. แผ่นยันต์จารหลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
    ๓๙. แผ่นยันต์จารหลวงพ่ออุตตมะ วัดวังวิเวการาม
    ๔๐. แผ่นยันต์จารหลวงพ่อคูณ สัดบ้านไร่
    ๔๑. แผ่นยันต์จารหลวงปู่ตี๋ วัดหลวงราชาวาส
    ๔๒. แผ่นยันต์จารหลวงตาวรงคต วัดพุทธพรหมปัญโญ
    ๔๓. แผ่นยันต์จารหลวงปู่สังข์ วัดป่าอาจารย์ตื้อ
    ๔๔. แผ่นยันต์จารหลวงพ่อบัวเกตุ วัดป่าปางกื้ด
    ๔๕. แผ่นยันต์จารหลวงปู่ครูบาคำ วัดธรรมชัย
    ๔๖. แผ่นยันต์จารหลวงปู่ครูบาสิทธิ วัดปางต้นเดื่อ
    ๔๗. แผ่นยันต์จารหลวงปู่ครูบาแก้วมา วัดร่องดู่
    ๔๘. แผ่นยันต์จารหลวงปู่สุภา ภูเก็ต
    ๔๙. แผ่นยันต์จารหลวงปู่ครูบาตั๋น วัดม่อนปู่อิ่น
    ๕๐. แผ่นยันต์จารหลวงปู่ครูบาก๋องคำ วัดดอนเปา
    ๕๑. แผ่นยันต์จารหลวงพ่อประเสริฐ วัดพระพุทธบาทเวียงเหนือ
    ๕๒. แผ่นยันต์จารหลวงปู่ครูบาเผือก วัดไชยสถาน
    ๕๓. แผ่นยันต์จารครูบาเจ้าจันทรังษี วัดกู่เต้า
    ๕๔. แผ่นยันต์จารหลวงปู่ครูบาอ่อน วัดสันต้นหวีด
    ๕๕. แผ่นยันต์จารหลวงปู่ครูบาคำปัน วัดนาแส่ง
    ๕๖. แผ่นยันต์จารหลวงปู่ครูมาสุข วัดป่าซางน้อย
    ๕๗. แผ่นยันต์จารหลวงปู่ครูบาบุญมา วัดช่างคำน้อย
    ๕๘. แผ่นยันต์จารหลวงปู่ครูบาคำปัน วัดพระธาตุม่อนเปี้ยะ
    ๕๙. แผ่นยันต์จารหลวงปู่ครูบาผดุง วัดป่าแพ่ง
    ๖๐. แผ่นยันต์จารหลวงปู่พระราชเจติยาจารย์ วัดเจดีย์หลวง
    ๖๑. แผ่นยันต์จารหลวงปู่ครูบาพรรณ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม
    ๖๒. แผ่นยันต์จารหลวงปู่ครูบาข่าย วัดหมูเปิ้ง
    ๖๓. แผ่นยันต์จารหลวงปู่บุญหนา วัดป่าโสตถิผล
    ๖๔. แผ่นยันต์จารหลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง
    ๖๕. แผ่นยันต์จารหลวงพ่อเมือง วัดป่ามัชฌิมาวาส
    พิธีกรรม ๘ วาระ
    วาระที่ ๑
    วันที่ ๓๐ พ.ค. ๒๕๕๐ เวลา ๒๑.๑๙ น. พิธีเททองหลอมชนวนหลวงพ่อประสิทธิ์ เป็นองค์เททอง ณ มณฆลพิธี วัดศรีมุงเมือง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
    วาระที่ ๒
    วันที่ ๙ มิ.ย. ๒๕๕๐ พิธีปลุกเสกชนวน เข้าพิธี ณ. วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน หลวงพ่อประสิทธิ์ พร้อมพระมหาเถระเกจิอาจารย์สายครูบาศรีวิชัยจำนวนมากนั่งปรกอธิฐานจิต
    วาระที่ ๓
    วันที่ ๑๓ มิ.ย. ๒๕๕๐ พิธีปลุกเสกชนวน เข้าเข้าพิธี ณ วัดพญาวัด อ.เมือง จ.น่าน พระเกจิสายเขาอ้อ จำนวน ๘ รูป นั่งปรกอธิฐานจิต
    วาระที่ ๔
    วันที่ ๑๒ ส.ค. ๒๕๕๐ พิธีปลุกเสกชนวน เข้าพิธี ณ วัดป่าดาราภิรมย์ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ หลวงพ่อประสิทธิ์ พร้อมพระคณาจารย์สายวัดป่า จำนวน ๙ รูป นั่งปรกอธิฐานจิต
    วาระที่ ๕
    วันที่ ๑๔ ส.ค. ๒๕๕๐ พิธีปลุกเสกชนวน เข้าพิธี ณ วัดท่าจำปี อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ครูบาเจ้าดวงดี พร้อมพระคณาจารย์สายครูบาศรีวิชัยจำนวนมากนั่งปรกอธิฐานจิต
    วาระที่ ๖
    วันที่ ๒๘ ส.ค. ๒๕๕๐ เวลา ๑๗.๐๙ น. พิธีเททองหล่อพระกริ่งแบบโบราณ หลวงพ่อประสิทธิ์ เป็นองค์เททอง เฉพาะเนื้อนวะโลหะทั้งหมด ณ มณฑลพิธี วัดร้องขุ้ม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
    วาระที่ ๗
    วันที่ ๒๙ ก.ย. ๒๕๕๐ จนถึง วันที่ ๒๓ พ.ย. ๒๕๕๐ หลวงพ่อประสิทธิ์อธิฐานจิตเดี่ยว ณ วัดป่าหมู่ใหม่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    วาระที่ ๘
    วันที่ ๒๔ พ.ย. ๒๕๕๐ พิธีสมโภชพุทธาภิเษก พระกริ่ง หลวงพ่อประสิทธิ์อธิฐานจิตเดี่ยว พร้อมพระคณาจารย์สายวัดป่า เจริญพระพุทธมนต์พุทธาภิเษก ณ อุโบสถวัดป่าหมู่ใหม่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    องค์นี้ เนื้อทองทิพย์ หมายเลย 1596 ติด เทียนชัย เกศา จีวร ข้าวก้นบาตร เดิม


    คุณ Nattawut8899 บูชาแล้วครับ

    IMG_2606.JPG
    IMG_2607.JPG
    IMG_2610.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มกราคม 2018
  2. Nattawut8899

    Nattawut8899 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,408
    ค่าพลัง:
    +7,050
    สอบถามราคาครับ ขอบคุณครับ
     
  3. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,132
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 2215

    เหรียญสมเด็จพระทามหาชัย รุ่น 1 ปี 2519


    สร้างจำนวน 10,000 เหรียญ ออกที่วัดพุทธามหาชัย อ.แม่ทา จ.ลำพูน

    เป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทธที่ใหญ่ที่สุดใน จ.ลำพูน โดยมีท่านครูบาขาวปี ศิษย์เอกครูบาเจ้าศรีวิชัยและชาวประชาชน อ.แม่ทา พระพุทธรูปปางห้ามสมุทรที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดลำพูนขึ้นมา สร้างเมื่อปี 2515 เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและป้องกันเหตุเภทภัยต่าง ๆ ไม่ให้เกิดขึ้นหรือหากเกิดขึ้นก็ไม่มีการสูญเสียชีวิตแต่อย่างใด อีกทั้งเป็นจุดรวมเพื่อสร้างความสงบสุขและมีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ โดยให้ประดิษฐ์สถานอยู่บนเขาหลังที่ว่าการอำเภอแม่ทา ข้างซุปเปอร์ไฮเวย์สายเชียงใหม่ - ลำปาง ตรงสามแยกสายแม่ทา - ท่าจักร ซึ่งเป็นสถานที่เหมาะสมของอำเภอแม่ทาให้ผู้ที่ขับขี่ยวดยานบนถนนสายนี้จะได้ไม่ประมาท และได้ตั้งนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า "สมเด็จพระพุทธามหาชัย" แปลว่าผู้ให้ชัยชนะอันใหญ่หลวงแก่ผู้มากราบไหว้บูชา
    ดังนั้นศรัทธาประชาชนในอำเภอแม่ทาจึงมีความเคารพนับถือ กราบไหว้สมเด็จพระพุทธามหาชัยเป็นที่พึ่งทางใจตลอดเวลา เขาที่พระพุทธรูปองค์นี้ประดิษฐ์สถานอยู่จึงเรียกกันว่า "ดอยพุทธามหาชัย"

    สวยเดิมผิวรุ้ง ๆ ราคา 2300 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 081939600
    fgh.jpg lk;p.jpg fg.jpg
     
  4. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,132
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 2216

    เหรียญหลวงปู่มั่น ที่ระลึกสร้างวัดป่าอาจารย์มั่น บ้านแม่กอย
    อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

    ปี 2517 อธิษฐานจิตโดยหลวงปู่สิม พุทธจาโรวัดถ้ำผาปล่อง
    สวยตอกโค๊ต ผิวเดิมๆ สายพระป่ากรรมฐามไม่ควรพลาสครับ


    บูชาแล้วครับ

    dfee.jpg oli.jpg ju.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มกราคม 2018
  5. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,132
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 2217

    เหรียญรุ่นแรกเจ้าพ่อกู่ช้างปี 21 เหรียญประสบการณ์ของเมืองลำพูน

    วัตถุประสงค์ของการจัดสร้าง

    เพื่อหาทุนทรัพย์ในการบูรณะ ศาลเจ้าพ่อกู่ช้างสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ของชาวลำพูน ทำพิธีปลุกเสกในบริเวณกู่ช้างโดยเกจิชื่อดังของภาคเหนือในยุคนั้น
    เหรียญเจ้าพ่อกู่ช้าง ผู้กล่ำงาเขียว รุ่นแรก ปลุกเสกโดยเกจิคณาจารย์สายเชียงใหม่ ลำพูน ชื่อดังมากมายในสมัยนั้น
    เหรียญสุดยอดประสบการณ์ จัดเป็นอีกหนึ่งของดีแห่งเมืองลำพูน (ท้องที่หวงแหนกันมากครับ)

    ประวัติ-เจ้าพ่อกู่ช้าง

    มีตำนานว่า กู่ช้างเป็นเจดีย์บรรจุซากช้างคู่บารมีของพระเจ้ามหันตยศ ชื่อ"ปู่ก่ำงาเขียว" ล่ำลือกันว่ามีฤทธิ์เดชมาก ส่วนงานำไปเก็บไว้ในเจดีย์สุวรรณจังโกฏที่วัดจามเทวี ชาวลำพูนเคารพนับถือมาก ถึงกับสร้างศาลเจ้าพ่อกู่ช้างไว้ใกล้กับเจดีย์
    ความหมายของคำว่า"ผู้ก่ำ งาเขียว" ในภาษากลางก็คือ ช้างตัวผู้ผิวสีดำเข้ม และมีงาสีเขียว อันว่าช้างเชือกนี้เป็นช้างคู่บารมีของกษัตริย์ผู้ครองนครหริภุญไชยในอดีต คือพระเจ้ามหันตยศ และพระเจ้าอนันตยศ ผู้เป็นพระโอรสของพระนางจามเทวี ปฐมกษัตรีย์แห่งนครหริภุญไชย ช้างปู้ก่ำ งาเขียว เป็นช้างที่มีอิทธิฤทธิ์ นำพากษัตริย์ออกรบจนชนะข้าศึกศัตรูทุกครั้ง มีส่วนทำให้นครหริภุญไชย เป็นมหานครอันยิ่งใหญ่ในสมัยนั้น และเมื่อสิ้นอายุไขลง ร่างก็ถูกนำไปฝังที่บ้านกิ่งแก้ว และพระเจ้ามหันตยศได้สร้างกู่ (เจดีย์) ครอบไว้อีกทีเพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติ์


    สภาพใช้ราคาเบาๆ 2500 บาท สนใจสอบถามได้ครับ

    dfse.jpg gdgd.jpg dae.jpg
     
  6. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,132
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 2218

    พระ ชัยวัฒน์เศรษฐีล้มลุก ครูบาเจ้าบุญปั๋น วัดร้องขุ้ม สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ เนื้อทองทิพย์

    ท่านปลุกเสกด้วยวิชาเศรษฐีล้มลุกอันลือลั่น เด่นด้านเมตตาโชคลาภ เจริญโภคทรัพย์ เสริมดวง หนุ่นดวง และแคล้วคลาด ปลอดภัย

    เนื่องด้วยหลวงปู่ครูบาเจ้าบุญปั๋น ธัมมปัญโญ ได้ดำริที่จะไปเป็นประธานบูรณะปฏิสังขรณ์ วิหารวัดธรรมชัย ต. บ้านแม อ. สันป่าตอง จ. เชียงใหม่ ซึ้งเป็นวัดบ้านเกิดของท่าน ที่ได้ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ดังนั้นคณะศิษย์จึงได้ หารือกับคณะกรรมการและผู้ที่เกี่ยวข้อง และได้ขออนุญาติกับหลวงปู่ ว่าจะจัดสร้างพระกริ่ง พระชัย เศรษฐีล้มลุกขึ้น เพื่อที่จะได้หาทุนทรัพย์ไปบูรณะวิหารวัดธรรมชัยบ้านแม และ ให้สืบสานพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป แผ่นชนวนที่นำมาสร้างพระกริ่ง พระชัย เศรษฐีล้มลุกชนวนเก่าของหลวงปู่ครูบาเจ้าบุญปั๋น , ชนวนเก่าของหลวงปู่ครูบาน้อย วัดบ้านปง , ชนวนของหลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน , ชนวนของหลวงปู่อิง โชติโญ , ชนวนของวัดสุทัศน์ฯ ทุกรุ่นได้มาจากพระอาจารย์มงคล คณะ ๗ วัดสุทัศน์ฯ , ชนวนเททอง ครูบาบุญชุ่ม และ ครูบาเทือง , ตะกรุดเก่าหลวงพ่อเดิม , ตะกรุดเก่าหลวงพ่อทองอยู่ วัดบางสำเหร่ , ตะกรุดของหลวงพ่อพุฒ วัดขนอนเหนือ , ตะกรุดเก่าครูบาสม โป่งกว๋าว , ตะกรุดเก่าครูบาสุรินทร์ วัดหลวงศรีเตี้ย , ตะกรุดมหาจักรพรรดิหลวงตาม้า , ตะกรุดสามกษัตริย์ หลวงปู่หยอด , ตะกรุดหลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม , ตะกรุดหลวงปู่คำพันธ์ , แผ่นจารยันต์เศรษฐีล้มลุก , แผ่นจารยันต์สุคโตมหาวิเศษ , แผ่นจารยันต์ยอดมหาไจยเบ็งจร , แผ่นจารยันต์น้ำบ่อซึมทราย , แผ่นจารยันต์ดอกบัวคำเก้ากาบ , แผ่นจารยันต์เก้าหย้อเก้าแป้ , แผ่นจารยันต์จำปาสี่ต้น , แผ่นจารยันต์ฟ้าฟิก และ แผ่นยันต์อีกมากมายของหลวงปู่ครูบาเจ้าบุญปั๋น และตะกรุดเก่าของครูบาอาจารย์อีกหลายๆ รูปที่ไม่สามารถจดจำได้อีกมากมาย และยังมีแผ่นชนวนจาร แผ่นอธิฐานของพระมหาเถระครูบาอาจารย์ต่างๆ ดังนี้

    ๑ . สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก วัดบวรนิเวศ
    ๒ . หลวงปู่จันทร์ กุสโล วัดเจดีย์หลวง
    ๓ . หลวงปู่หนู ถาวโร วัดพระสิงห์
    ๔ . พระเทพวิสุทธิคุณ วัดบุพพาราม
    ๕ . หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง
    ๖ . หลวงปู่สำราญ วัดปากคลองมะขามเฒ่า
    ๗ . หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ สำนักสวนจิตรลดา
    ๘ . หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
    ๙ . หลวงพ่อวรรณรงค์ วัดมกุฏ
    ๑๐ . หลวงพ่อทุเรียน สุโขทัย
    ๑๑ . หลวงพ่อถม วัดเชิงท่า
    ๑๒ . หลวงปู่ครูบาน้อย วัดบ้านปง
    ๑๓ . หลวงปู่ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง
    ๑๔ . หลวงปู่ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี
    ๑๕ . หลวงปู่ครูบาคำตั๋น วัดสันทรายหลวง
    ๑๖ . หลวงปู่ครูบาคำปัน วัดหม้อคำตวง
    ๑๗ . หลวงปู่ครูบาอิ่นคำ วัดข้าวแท่นหลวง
    ๑๘ . หลวงปู่ครูบาหล้า วัดป่าลาน สันทราย
    ๑๙ . หลวงปู่ครูบาอินถา วัดหนองแฝก
    ๒๐ . ครูบาคำตั๋น วัดป่าลาน สันป่าตอง
    ๒๑ . หลวงปู่ครูบาดวงดี ยติโก วัดบ้านฟ่อน
    ๒๒ . หลวงปู่ครูบาจันทร์แก้ว วัดศรีสว่าง
    ๒๓ . หลวงปู่ครูบาอินตา วัดห้วยไซ
    ๒๔ . หลวงปู่ครูบาอินตา วัดวังทอง
    ๒๕ . หลวงปู่ครูบาดวงจันทร์ วัดป่าเส้า
    ๒๖ . หลวงปู่ครูบาชัยวงษ์ศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม
    ๒๗ . หลวงปู่ครูบาจ๋อน วัดป่าตาล
    ๒๘ . ครูบาสุข วัดป่าซางน้อย
    ๒๙ . ครูบาจันต๊ะ วัดหนองช้างคืน
    ๓๐ . หลวงปู่ครูบาคำอ้าย วัดโป่งเหนือ
    ๓๑ . ครูบาผัด วัดศรีดอนมูล
    ๓๒ . ครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล
    ๓๓ . ครูบาจันต๊ะรังษี วัดกู่เต้า
    ๓๔ . ครูบาอิ่นคำ วัดมหาวัน
    ๓๕ . ครูบาก๋องคำ วัดดอนเปา
    ๓๖ . หลวงพ่อบัวเกตุ วัดป่าบ้านปง
    ๓๗ . พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญญวิเวก
    ๓๘ . หลวงปู่ทิม วัดพระขาว
    ๓๙ . หลวงปู่อั๊บ วัดท้องไทร
    ๔๐ . หลวงปู่อุ้น วัดตาลกง
    ๔๑ . หลวงปู่แย้ม วัดสามง่าม
    ๔๒ . หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร
    ๔๓ . หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม
    ๔๔ . หลวงพ่อพุฒ วัดขนอนเหนือ
    ๔๕ . และคณาจารย์อีกมากมาย

    ตอกโค๊ต ป ใต้ฐานพระ พระดีน่าใช้มาก สำหรับคนดวงตก กลับร้ายกลายเป็นดี เชิญได้เลยครับ

    ราคา 2550 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 0861936900

    คุณ สุโขสุขี จองแล้วครับ

    พระชัยครูบาบุญปั๋น 100 a.jpg พระชัยครูบาบุญปั๋น 100 b.jpg พระชัยครูบาบุญปั๋น 100 c.jpg พระชัยครูบาบุญปั๋น 100 d.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มกราคม 2018
  7. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,132
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 2219

    พระชัยวัฒน์ครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสังวโร เนื้อนวะแก่เงิน หมายเลขใต้ฐาน

    สวยเลี่ยมพร้อมใช้

    ราคา 1500 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 0861936900
    IMG_2480.JPG IMG_2482.JPG IMG_2484.JPG
     
  8. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,132
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 2220

    เหรียญรุ่นแรกครูบาบุญชุ่ม บล็อกนิยม ประคำเกิน ปี 2519

    สวยราคาหลักหมื่น สำหรับองค์นี้ สภาพใช้ แต่พุทธคุณยังเต็ม 100 % แท้ดูง่ายสบายตา

    ราคา 1350 บาท สนใจสอบถามได้ครับ
    IMG_2326.JPG IMG_2327.JPG
     
  9. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,132
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 2221

    เหรียญครูบาศรีวิชัย ปี 36 เนื้อฝาบาตร

    เหรียญ ครูบาเจ้าศรีวิไชย รุ่นสิริวิชโย 115 ปี วัดบ้านปาง เป็นเหรียญครูบาเจ้าฯ อีกรุ่นหนึ่งที่มีความงดงาม สมบรูณ์ ทั้งด้านหน้า และด้าน หลังเหรียญ และยังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากการสร้างของ คุณ นิตย์ พงษ์ลัดดา โดยมีพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์ เจ้าภานุพันธุ์ ยุคล เป็นองค์ประธาน
    มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นทุนบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุ และทุนการศึกษาครูบาเจ้าศรีวิไชย วัดบ้านปาง อ. ลี้


    มีแผ่น,ทอง,นาค,เงิน ลงอักขระอธิฐานจิตจากวัด 9 วัดซึ่งมีนามเป็นมงคลดังนี้

    –วัดศรีเกิด

    -วัดดวงดี

    –วัดชัยมงคล

    –วัดชัยพระเกียรติ

    –วัดหม้อคำตวง

    –วัดหมื่นเงินกอง

    –วัดหมื่นล้าน

    –วัดเชียงยืน

    –วัดเชียงมั่น
    พิธีพุทธาภิเษกขึ้น เมื่อ 24 ธันวาคม 2536 โดยพระสุปฎิปันโนศิษย์สุดยอดเกจิแห่งล้านนาสายครูบาเจ้าศรีวิไชย อธิษฐานจิตลงอักขระ แผ่นทอง นาค เงิน เช่น

    1) ครูบาสิงหวิชัย วัดฟ้าฮ่าม จ.เชียงใหม่

    2) ครูบาอินทร์ วัดฟ้าหลั่ง จ.เชียงใหม่

    3) ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี จ.เชียงใหม่

    4) ครูบาคำปัน วัดหม้อคำตวง จ.เชียงใหม่

    5) ครูบาชัยวงศ์ วัดพระบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน

    6) พระครูสังวรญาณ สำนักปฎิบัติธรรมสังวราราม จ.ลำพูน

    7) พระเทพสิทธาจารย์ วัดพระธาตุดอยสุเทพ

    8) พระครูบวรสุขบท(ครูบาสุข) วัดป่าซางน้อย จ.ลำพูน

    9) ครูบาผัด วัดศรีดอนมูล จ.เชียงใหม่

    10) ครูบาประเทือง วัดบ้านเด่น จ.เชียงใหม่


    เหรียญยอดนิยม ออกแบบได้งดงาม พิธีสร้างดี เจตนาทำดี

    และออกจากวัดบ้านปาง ซึ่งเป็นบ้านเกิดของครูบาเจ้าและเหรียญดัง

    อีกหลายรุ่น ทำให้เหรียญรุ่นนี้ไต่ลำดับมาเป็นพระนิยมในเวลารวดเร็ว

    โดยประสบการณ์เป็นที่เล่าว่ามัคคุเทศน์ได้ไปปางช้างและทำพิธีลอด

    ท้องช้างทั่วไป การลอดคือการให้ช้างข้ามตัวผู้คนที่นอนอยู่นั่นเอง

    เป็นที่น่าแปลกใจก็คือ เมื่อไปถึงมัคคุเทศน์ผู้นั้นช้างกลับไม่ยอมข้าม

    มัคคุเทศน์ผู้นี้ก็ไม่มีอะไรนอกจากห้อยเหรียญครูบา115ปี นี้ หลังจาก

    ปลดออกแล้ว ช้างก็ยอมที่จะข้าม จึงเป็นที่มาของครูบาช้างไม่ข้ามโด่งดังมากครับ


    ราคา 1850 บาท สนใจสอบถามได้ครับ
    rtre.jpg uj.jpg syh_2.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ธันวาคม 2017
  10. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,132
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 2222

    เหรียญครูบาศรีวิชัย ปี 36 เนื้อทองแดง

    เหรียญ ครูบาเจ้าศรีวิไชย รุ่นสิริวิชโย 115 ปี วัดบ้านปาง เป็นเหรียญครูบาเจ้าฯ อีกรุ่นหนึ่งที่มีความงดงาม สมบรูณ์ ทั้งด้านหน้า และด้าน หลังเหรียญ และยังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากการสร้างของ คุณ นิตย์ พงษ์ลัดดา โดยมีพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์ เจ้าภานุพันธุ์ ยุคล เป็นองค์ประธาน
    มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นทุนบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุ และทุนการศึกษาครูบาเจ้าศรีวิไชย วัดบ้านปาง อ. ลี้


    มีแผ่น,ทอง,นาค,เงิน ลงอักขระอธิฐานจิตจากวัด 9 วัดซึ่งมีนามเป็นมงคลดังนี้

    –วัดศรีเกิด

    -วัดดวงดี

    –วัดชัยมงคล

    –วัดชัยพระเกียรติ

    –วัดหม้อคำตวง

    –วัดหมื่นเงินกอง

    –วัดหมื่นล้าน

    –วัดเชียงยืน

    –วัดเชียงมั่น
    พิธีพุทธาภิเษกขึ้น เมื่อ 24 ธันวาคม 2536 โดยพระสุปฎิปันโนศิษย์สุดยอดเกจิแห่งล้านนาสายครูบาเจ้าศรีวิไชย อธิษฐานจิตลงอักขระ แผ่นทอง นาค เงิน เช่น

    1) ครูบาสิงหวิชัย วัดฟ้าฮ่าม จ.เชียงใหม่

    2) ครูบาอินทร์ วัดฟ้าหลั่ง จ.เชียงใหม่

    3) ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี จ.เชียงใหม่

    4) ครูบาคำปัน วัดหม้อคำตวง จ.เชียงใหม่

    5) ครูบาชัยวงศ์ วัดพระบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน

    6) พระครูสังวรญาณ สำนักปฎิบัติธรรมสังวราราม จ.ลำพูน

    7) พระเทพสิทธาจารย์ วัดพระธาตุดอยสุเทพ

    8) พระครูบวรสุขบท(ครูบาสุข) วัดป่าซางน้อย จ.ลำพูน

    9) ครูบาผัด วัดศรีดอนมูล จ.เชียงใหม่

    10) ครูบาประเทือง วัดบ้านเด่น จ.เชียงใหม่


    เหรียญยอดนิยม ออกแบบได้งดงาม พิธีสร้างดี เจตนาทำดี

    และออกจากวัดบ้านปาง ซึ่งเป็นบ้านเกิดของครูบาเจ้าและเหรียญดัง

    อีกหลายรุ่น ทำให้เหรียญรุ่นนี้ไต่ลำดับมาเป็นพระนิยมในเวลารวดเร็ว

    โดยประสบการณ์เป็นที่เล่าว่ามัคคุเทศน์ได้ไปปางช้างและทำพิธีลอด

    ท้องช้างทั่วไป การลอดคือการให้ช้างข้ามตัวผู้คนที่นอนอยู่นั่นเอง

    เป็นที่น่าแปลกใจก็คือ เมื่อไปถึงมัคคุเทศน์ผู้นั้นช้างกลับไม่ยอมข้าม

    มัคคุเทศน์ผู้นี้ก็ไม่มีอะไรนอกจากห้อยเหรียญครูบา115ปี นี้ หลังจาก

    ปลดออกแล้ว ช้างก็ยอมที่จะข้าม จึงเป็นที่มาของครูบาช้างไม่ข้ามโด่งดังมากครับ


    ราคา 1250 บาท สนใจสอบถามได้ครับ

    dfsfp.jpg weq.jpg iyu.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ธันวาคม 2017
  11. Nattawut8899

    Nattawut8899 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,408
    ค่าพลัง:
    +7,050
    จองครับ
     
  12. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,132
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รับทราบการจองครับ ขอบพระคุณครับ
     
  13. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,132
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 2223

    เหรียญรุ่นแรกครูบาคำหล้า ปี 05 กะไหล่เงิน บล็อก 0 ขีดหายาก


    ชีวประวัติของครูบาคำหล้า ฐิตสํวโร
    วัดพระธาตุขุนห้วยสวดอรัญญวาสีสังวราราม บ้านใหม่เจริญไพร อ.เชียงคำ จ.พะเยา

    รูปภาพ

    1.สถานะเดิม

    ครูบาคำหล้า ฉายา สํวโร นามเดิม คำหล้า นามสกุล สุภายศ นามบิดา นายใจ มารดานางน้อย สุภายศ บ้านสันโค้งหลวง มีพี่น้องร่วมสายโลหิตด้วยกัน 5 คน และท่านเป็นคนสุดท้องจึงได้นามว่า “คำหล้า” มีรายชื่อดังนี้

    1. นางบุญปั๋น เนตรสุวรรณ
    2. นางสุจา วิจิตรรัตน์ (เสียชีวิต)
    3. นางสุข สุภายศ (เสียชีวิต)
    4. นางสุวรรณ สุรัตน์
    5. ครูบาคำหล้า สํวโร(มรณภาพ)

    2. ชาติกาล
    ท่านครูบาคำหล้าเกิดเมื่อวันพุธ ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2460 ขึ้น 11 เดือน 3 (เดือนห้าเหนือ) ตรงกับปีมะเส็ง ณ บ้านสันโค้งหลวง เลขที่ 14 ต.รอบเวียง อ.เมือง จ.เชียงราย

    3. การศึกษา

    ชีวิตเมื่อเยาว์วัยตั้งแต่อายุ 1-8 ปี ท่านก็อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบิดามารดาและญาติ มีชีวิติความเป็นอยู่เหมือนเด็กทั้งหลาย เคยเลี้ยงควาย วัว ตามทุ่งนา มีนิสัยร่าเริงว่านอนสอนง่าย เมื่ออายุ 9 ปี มีนิสัยเปลี่ยนไปไม่ชอบรับประทานอาหารที่ปรุงด้วยปลาหรือเนื้อสัตว์ ชอบรับประทานอาหารที่ปรุงด้วยผักเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะจะชอบทานจำพวกน้ำพริกน้ำผักที่ทำจากผักกาด และน้ำหน่อ และผลไม้ต่าง ๆ เป็นต้น ในปี พ.ศ. 2469 ขณะมีอายุ 9 ขวบได้เรียนหนังสือ ณ โรงเรียนจำรูญราษฎร์ ซึ่งตั้งอยู่หน้าวัดเจ็ดยอดในชั้นประถมปีที่ 1 และในปลายปีนี้เองที่ท่านได้เจ็บป่วยอย่างหนักเกือบเอาชีวิตไม่รอดไม่ยอมทานอาหารเป็นเวลา 3 วัน ทานเฉพาะใบส้มลม โดยเอาใบส้มลมมาห่อใบตองแล้วหมกไฟจนสุกจึงนำไปจิ้มกับเกลือใช้ทานแทนอาหาร นอกจากนี้ยังป่วยเป็นตุ่มพุพอง ในช่วงบริเวณใต้เข่าจนถึงเท้าทั้ง 2 ข้างใช้ยาหลายชนิดก็ไม่หายจึงได้นำเอาน้ำมันขี้โล้มาทาในที่สุดโรคนั้นก็พอทุเลาลง การเรียนหนังสือก็มีความรู้ สามารถอ่านออกเขียนได้เป็นอย่างดี

    4. ถวายตัวเป็นศิษย์ท่านครูบาศรีวิชัย

    ในปีนี้เอง ท่านครูบาศรีวิชัยนักบุญแห่งล้านนาไทย ซึ่งมีคนเคารพนับถือมากได้เดินทางกลับจากการไปบูรณะพระธาตุดอยตุง ซึ่งเป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในภาคเหนือได้มาพำนักวัดเชียงยืน (วัดสันโค้งหลวง)

    คุณพ่อใจ และแม่น้อย สุภายศ ก็ได้นำบุตรของตน คือ เด็กชายคำหล้า ไปนมัสการท่านครูบาศรีวิชัย พร้อมทั้งกราบเรียนว่าบุตรชายคนนี้มีนิสัยไม่ชอบทานเนื้อ ทานปลา ชอบทานอาหารที่ปรุงด้วยพืชผักเท่านั้นจึงเป็นสาเหตุทำให้ไม่ค่อยสบายจึงขอมอบบุตรชายให้ท่านครูบาได้เมตตาช่วยอบรมสั่งสอนด้วย เล่ากันว่า พ่อหนานทองสิงห์ ซึ่งเป็นญาติผู้ใหญ่ได้นำเอาผ้าเหลืองมาบนกับเจ้าที่วัดเชียงยืนไว้ว่า “ถ้าภายใน 2-3 วันนี้ถ้าเด็กชายคำหล้าหายป่วยจากโรคภัยไข้เจ็บทุกชนิดจะขอให้เด็กชายคำหล้าบวชเป็นสามเณรแก้บน” ปรากฏเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ภายหลังจากนั้นไม่นานเด็กชายคำหล้าก็หายป่วยพ่อแม่จึงดีใจมากให้ไปบรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา

    5. ครูบาศรีวิชัยเป็นประธานในการบรรพชา

    ในปีพ.ศ. 2470 ขณะที่เด็กชายคำหล้ามีอายุได้10 ปี ก็ได้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร ณ วิหารวัดเชียงยืน โดยมีท่านพระครูบาศรีวิชัย เป็นประธานสงฆ์พร้อมทั้งพระสงฆ์ที่เข้าพิธีอีก 10 รูปท่านครูบาศรีวิชัยได้ตั้งฉายาให้ว่า “ฐิตสํวโร” แปลว่าผู้มีความสำรวมที่มั่นคงดี ท่านครูบาศรีวิชัยได้มาแสดงธรรมโปรดคณะศรัทธาอยู่ประมาณ 1 สัปดาห์ ท่านก็เดินธุดงค์จาริกไปยังจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนต่อไป ในการที่สามเณรคำหล้าได้รับการบรรพชาจากท่านครุบาศรีวิชัยในครั้งนี้ได้นำความปลาบปลื้มปิติยินดีมาสู่บิดามารดาและวงศาคณาญาติเป็นอย่างมาก เมื่อสามเณรคำหล้าได้บรรพชาเป็นสามเณรเรียบร้อยแล้วก็ได้ประจำอยู่ ณ วัดเชียงยืน และได้เข้าศึกษาต่อชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนเชียงรายจรูญราษฎร์ จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากนั้นก็เข้าศึกษาต่อชั้นม. 1 โรงเรียนสามัคคีวิทยา (ขณะนั้นตั้งอยู่ใกล้วัดดอยงำเมือง) จนสำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จึงลาออก ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี

    ในขณะที่ศึกษาอยู่โรงเรียนสามัคคีวิทยาคมนั้น ท่านได้เริ่มชักชวนคณะศรัทธา คณะญาติและผู้ใจบุญทั้งหลายได้ก่อสร้างเจดีย์ 1 องค์ ขนานกว้าง 7 ศอก สูง 9 ศอก ด้านหลังวิหารวัดเชียงยืน ภายหลังได้ทรุดโทรมและได้มีการบูรณะขึ้นใหม่ในสมัยพระครูเมธังกรญาณ เป็นเจ้าอาวาสวัดเชียงยืน

    6. การศึกษาพระธรรมวินัย

    เมื่อท่านได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว นอกจากจะศึกษาวิชาสามัญแล้ว ท่านยังสนใจศึกษาพระธรรมวินัยอันเป็นหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่องจำทำวัตรสวดมนต์เจ็ดตำนานได้คล่องแคลวมีความรู้แตกฉาน ด้านอักษรล้านนา (ภาษาล้านนา) เทศนาธรรมอักษรล้านนาและชอบเทศน์มหาเวสสันดรชาดก โดยเฉพาะกัณฑ์มหาพนท่านชอบมากจำได้คล่องปากเปล่าได้เข้าสอบความรู้พระปริยัติธรรม ณ สนามสอบวัดเจ็ดยอด สอบได้น.ธ.ตรี สมัยยังเป็นสามเณร

    พ.ศ. 2477 ขณะที่ท่านได้อายุ 17 ปีท่านได้ออกเดินธุดงค์จากเชียงราย ผ่านอ.แม่สรวย ไปยังวัดฮ่างต่ำ อ.เวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เพื่อไปศึกษาภาษาบาลี และภาษาโบราณกับครูบาปัญญา อยู่ที่นั่งประมาณ 3 พรรษา จึงกลับมาอยู่ที่วัดเชียงยืน ได้นำเอาความรู้ที่ได้รับ มาอบรมสั่งสอนเพื่อนสหธรรมิกพระเณรในวัด และอบรมศิลธรรมกัมมัฏฐานแก่คณะศรัทธาทั้งหลาย ตามปกติท่านเป็นผู้มีความมักน้อยสันโดษชอบอยู่ในสถานที่สงบวิเวก ดังนั้น บิดามารดาและหมู่ญาติของท่านจึงได้ร่วมใจกันสร้างกุฏิกัมมัฏฐานถวายไว้ 1 หลัง ซึ่งท่านก็ได้อาศัยจำศิลภาวนา และมีความพอใจในการอยู่คนเดียวมาก

    7. การอุปสมบท

    ได้เข้าสู่พิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 8 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2481 ขณะอายุได้ 21 ปี ตามหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือสุทธิว่า สำเร็จเป็นพระภิกษุ เมื่อเวลา 16 นาฬิกา 27 นาที ของวันนั้น ณ พัทธสีมา วัดมุงเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ได้รับฉายาว่า “สํวโร ภิกขุ” โดยมี

    1. หลวงพ่อพระครูพุทธิสารเวที (แฮด เทววํโส) วัดมุงเมือง เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เป็นพระอุปัชฌาย์
    2. เจ้าคุณพระวีรญาณมุณี (หมื่น สุมโน) วัดเจ็ดยอด เผยแผ่จังหวัดเชียงราย )เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    3. พระมหาบัว โกมโล ครูสอนบาลี วัดมุงเมือง เป็นพระอนุสาสนาจารย์

    ภายหลังที่ได้รับอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ท่านก็ศึกษาและปฏิบัติธรรม เจริญเมตตาภาวนา ได้สั่งสอนธรรมะแก่พระภิกษุสามเณรวัดเชียงยืนและแก่คณะศรัทธาประชาชนทั่วไป ได้ชักชวนคณะศรัทธาสร้างกุฏิเพื่อเป็นที่พักอาศัยของพระภิกษุสามเณร 1 หลัง และสร้างกุฏิเพื่อใช้เดินจงกลม 1 หลัง ขณะที่ท่านจำพรรษาที่ ณ วัดเชียงยืน พ่อใจ สุภายศ ยอมบิดาของท่านก็ได้มาเอาใจใส่อุปัฎฐาก เพราะโยมบิดาท่านเป็นมรรคนายกของวัด และเป็นผู้นำชาวบ้านสันโค้งหลวงในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาด้วย

    เมื่อพ่อใจ สุภายศ อายุได้ 64 ปี ได้ถึงแก่กรรมท่านได้จัดงานฌาปณกิจศพตามประเพณี ในขณะนั้น คุณแม่น้อย สุภายศ โยมมารดาของท่านได้เป็นที่ประทับร่างทรงของเจ้าพ่อเจ้าแม่หลายองค์ และได้เป็นร่างทรงมาตั้งแต่ครูมามีอายุ 5-6 ขวบแล้วจนบัดนี้ก็ยังเป็นร่างทรงของวิณญาณอื่น ๆ เช่น

    1. เจ้าแม่คำเขียว
    2. เจ้าพ่อคำฟู
    3. เจ้าอินต๊ะปัฏฐาน
    4. เจ้าหลวงโมกขาว
    5. เจ้าแม่คำแดง
    6. เจ้าแม่สร้อยคำ

    8. ครูบา ได้แนะนำมารดาให้ตั้งอยู่ในสัมมาทิฏฐิ

    ในสมัยโบราณ ประชาชนยังไม่นิยมเข้ารับรักษาตัวตามโรงพยาบาลต่าง ๆ เมื่อท่านทราบว่าแม่น้อย สุภายศเป็นร่างทรงของเจ้าพ่อเจ้าแม่หลายองค์ และยังสามารถเอารากไม้และสมุนไพรมาเสกเป่าและให้คนนำไปต้มกินบ้าง ทำให้ผู้คนทั้งหลายหลั่งไหลกันมารักษาโรคภัยไข้เจ็บจนเต็มบ้านทุกวัน บ้านของแม่น้อยจึงพรุกพร่านไปด้วยแขกไม่ขาดหาเวลาพักผ่อนแทบไม่มี ท่านครูบาคำหล้า เล่าว่าท่านระลึกถึงมารดาของพระสารีบุตรได้ชักชวนมารดาให้ยินดีในศิลทานภาวนาและเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจนกลายเป็นคนมีสัมมาทิฏฐิ ท่านครูบาคำหล้าจึงไปขอร้องคุณแม่น้อย มารดาของท่านอย่าได้เป็นร่างทรงของเจ้าพ่อเจ้าแม่ต่าง ๆ อีกได้เอาธรรมะไปเทศนาให้โยมแม่ฟังจนสามารถทำให้แม่เลิกเป็นร่างทรงและได้ออกบวชเป็นชีและได้นำเอาเครื่องสักการะ เครื่องเข้าทรงของเจ้าพ่อเจ้าแม่ทั้งหลายไปทิ้งเสีย ซึ่งได้รับการวิพากย์วิจารย์กันอย่างมาก แต่ครูบาท่านบอกว่าท่านทำถูกต้องแล้ว เมื่อแม่ชีน้อยท่านปฏิบัติธรรมอยู่จนมีอายุได้ 64 ปี ก็ถึงแก่กรรม ห่างจากโยมพ่ออยู่ประมาณ 4 เดือนเท่านั้น ท่านครูบาก็ได้จัดทำบุญฌาปนกิจศพมารดาตามประเพณี

    9. บำเพ็ญธุดงควัตรต่างประเทศ

    เมื่อโยมบิดาโยมมารดาได้ถึงแก่กรรมไปแล้วท่านครูบาคำหล้าเล่าว่าท่านจึงไม่ค่อยเป็นห่วงกังวลอะไรเพราะถ้าพ่อแม่ยังอยู่ ก็ต้องเอาใจใส่ดูแลท่านตามสมควรเพราะพระพุทธเจ้าเองยังตรัสสั่งสอนไว้ว่าการบำรุงบิดามารดานั้น ด้วยการให้อามิสทานบ้าง ธรรมทานบ้าง ไม่ถือว่าผิดสมณวินัย พระองค์ยังทรงยกย่องด้วยเพราะเคยมีเรื่องภิกษุรูปหนึ่งได้เอาอาหารที่ตนได้รับจากบิณฑบาตมาแล้วแบ่งให้แก่บิดามารดาชรา ภิกษุหลายรูปตำหนิท่าน เมื่อพระพุทธเจ้าทราบได้เรียกภิกษุรูปนั้นมาตรัสถามทราบเรื่องราวความเป็นจริงแล้ว พระองค์ทรงอนุโมทนาสาธุการ ดังนั้น ในกาลต่อมา ท่านครูบาคำหล้า จึงได้เดินธุดงค์จาริกไปถึงสำนักวัดน้ำบ่อหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ท่านได้ศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานกับหลวงปู่ครูบาอินทจักร (ภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นเจ้าคุณพระสุธรรมยานเถระพระราชาคณะฝ่ายวิปัสนาธุระ) ได้ศึกษาอยู่ที่สำนักวัดน้ำบ่อหลวงอยู่ 3 พรรษา จึงกลับมาอยู่วัดเชียงยืน จังหวัดเชียราย

    อยู่มาไม่นานท่านครูบาก็ได้เดินธุดงค์ไปตามป่าเขาหาสถานที่สงบวิเวก ท่านเล่าว่าได้อยู้ใกล้ชิดกับธรรมชาติทำให้จิตใจมีความปิติสุข ท่านเดินทางไปหลายที่หลายแห่งไม่คิดจะกลับมาอยู่ที่วัดเชียงยืนอีกต่อไปเพราะวัดอยู่ในเมืองมีหมู่ญาติมากก็อาจไปมาหาสู่กัน จะเสียเวลาในการปฏิบัติธรรม ท่านจึงเดินธุดงค์ไปทางทิศเหนือ ผ่านอำเภอแม่สายเข้าสู่อำเภอท่าขี้เหล็กในอณาเขตของประเทศพม่า ได้ไปถึงเมืองพง เมืองเลน เมืองยอง เมืองพะยาก เมืองเชียงรุ้ง เมืองเชียงตุง จึงได้ขาดการติดต่อกับญาติพี่น้องทางเชียงรายเป็นเวลา 3 ปีเศษ ดังนั้นทางหมู่ญาติก็เป็นห่วงมาก พ่อน้อยแสน เนตรสุวรรณ ผู้เป็นพี่เขยและญาติคนอื่น ๆ อีก 4 คนจึงได้เดินทางออกตามหาติดตามไปยังประเทศพม่าเพื่อสืบข่าวท่านครูบาคำหล้า ได้พำนักอยู่ ณ ที่ใด ใช้เวลาติดตามหาตัวท่านอยู่นานแรมเดือน ในที่สุดจึงได้พบท่านครูบา จำศีลภาวนาอยู่ในป่าแห่งหนึ่งในเมืองพง ประเทศพม่า หมู่ญาติที่ไปพบต่างก์มีความดีใจมาก ทีแรกก็คิดว่าท่านอาจมรณภาพไปเสียแล้ว จึงนิมนต์ท่านกลับมาจำพรรษา ณ วัดเชียงยืน (สันโค้งหลวง) อีก

    10. ครูบาสร้างวัดพระธาตุจอมสักสังวรารามเป็นแห่งแรก

    เมื่อท่านครูบาคำหล้า ได้กลับมาอยู่วัดเชียงยืนแล้ว ท่านก็ได้สั่งสอนศีลธรรมแก่ประชาชนให้ยินดีในการให้ทานให้รักษาศีลและเจริญเมตตาภาวนาพอออกพรรษาแล้วท่านก็เดินธุดงค์ไปต่างถิ่นอีกได้ไปอยู่ป่าบ้านห้วยขม ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ได้ปฏิบัติธรรมอยู่อย่างสม่ำเสมอและจาริกต่อไปเรื่อย ๆ เพราะไม่ชอบติดอยู่ที่นั่นเอง จนกระทั่งวันหนึ่งท่านครูบาได้ไปพบซากเจดีย์เก่าแก่แห่งหนึ่งมีสภาพที่ชำรุดทรุดโทรมมากของวัดร้างแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของบ้าขัวแคร่ ต.บ้านดู่ อ.เมือง จ.เชียงราย

    เล่ากันว่า ณ วักร้างแห่งนี้ชาวบ้านขัวแคร่เล่ากันว่ามีผุดุมาก เวลากลางคืนใครจะเดินผ่านบริเวณนั้นไม่ได้จะถูกผีหลอก ครูบาคำหล้าเห็นว่าสถานที่แห่งนี้มีความสงบวิเวกเหมาะแก่การบำเพ็ญสมณธรรม ไม่ห่างไกลจากหมู่บ้านจนเกินไป สะดวกแก่การออกบิณฑบาตเมื่อท่านครูบา ได้มาปักกดอยู่ ณ วัดร้างแห่งนี้ ท่านเล่าว่าในระยะแรก ๆ ถูกผีหลอกอยู่หลายคืนแต่ท่านครูบาไม่เคยกลัว ได้สวดมนต์ภาวนาแผ่เมตตาจิตขอให้สรรพสัตว์ได้ยู่ร่วมกันอย่างสันติวิธี อย่าได้เบียดเบียนกันเลย ทางคณะศรัทธาชาวบ้านขัวแคร่ เมื่อทราบข่าวว่ามีพระกรรมฐานมาปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดร้างแห่งนี้ก็ดีใจจึงได้ชักชวนกันไปทำบุญตักบาตรไปฟังธรรมไปสนทนาธรรมะกับท่านครูบาคำหล้า ก็เกิดความเลื่อมใส จึงยินดีรับใช้ปรนนิบัติบำรุง ท่านครูบาจึงได้สร้างเจดีย์ขึ้นใหม่โดยครอบเจดีย์องค์เก่าจนสำเร็จนับเป็นเจดีย์องค์แรกพร้อมกับสร้างวิการเรือนไม้สักยกใต้ถุนสูงจำนวน 1 หลัง ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของเจดีย์และเจดีแห่งนี้ต่อมาได้รับการขนานนามว่า “พระธาตุจอมสักสังวราราม” เพราะตั้งอยู่ในดงไม้สัก และท่านครูบาคำหล้า สํวโรเป็นผู้ริเริ่มก่อสร้างไว้นั่นเอง

    11. พบกับครูบาอินถา กัลยาณมิตรที่สำคัญ

    เมื่อท่านครูบาคำหล้า สํวโร ได้ปฏิบัติกัมมัฏฐาน และจำพรรษาอยู่ ณ วัดพระธาตุจอมสักอยู่นั้นได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งเป็นนักปฏิบัติธรรมที่เคร่งครัดเช่นเดียวกัน ท่านมีครอบครัวมาแล้วได้ลาออกบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา โดยอุปสมบท ณ วัดสีย่องเปียะ ต.ม่วงคำ อ.ตะโก่ง จ.หม่องระแหม่ง ประเทศพม่า ท่านมีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านขัวแคร่ ได้เดินทางกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดเมืองนอน ได้มาพักชั่วชาว ณ วัดพระธาตุจอมสัก คณะศรัทธาและหมู่ญาติจึงได้ขอนิมนต์พระภิกษุรูปนั้นไว้ ขอให้อยู่ช่วยงานก่อสร้างและอยู่ปฏิบัติธรรมกับท่านครูบาคำหล้า ภิกษุรูปนั้นคือ หลวงพ่อครูบาอินถา สุทนฺโต ท่านครูบาทั้งสองจึงได้ช่วยกันพัฒนาวัดพระธาตุจอมสัก โดยร่วมกันก่อสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ มีกุฏิ วิหาร ศาลา กำแพง บันไดนาค สถานที่กักเก็บน้ำ และเสนาสนะต่าง ๆ อีกมาก ท่านครูบาอินถา ได้เป็นกัลยาณมิตรผู้ยิ่งใหญ่ได้ร่วมบำเพ็ญทานบารมี ศีลบารมีร่วมกับท่านครูบาคำหล้า จนตราบเท่าท่านได้ถึงอายุขัยมรณภาพจากไปเมื่อประมาณ 32 ปีล่วงแล้วนี้เอง

    12. ไปศึกษาที่มหาธาตุวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร

    ในปีพ.ศ. 2496 พระพิมลธรรม (อาสภมหาเถระ) อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์และสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครองได้นิมนต์ท่านครูบาคำหล้าและครูบาอินถาทั้งสองรูปไปอบรมวิปัสนากัมมัฏฐาน ณ สำนักวัดมหาธาตุ ของมหาธาตุวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ท่านได้ไปรับการอบรมอยู่ 3 เดือนเศษเมื่อเสร็จการอบรมแล้วก็ได้เดินทางกลับมาอยู่ที่วัดพระธาตุจอมสักตามเดิม ต่อมาท่านครูบาทั้งสองก็ได้รับนิมนต์ให้ไปเป็นประทานก่อสร้าง หรือบูรณปฏิสังขรณ์ปูชณียสถาน และถาวรวัตถุหลายแห่ง โดยไปดำเนินการก่อสร้างต่างตำบล ต่างอำเภอ และต่างจังหวัดทั้งในจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน

    13. ผลงานด้านการก่อสร้าง

    การไปทำการก่อสร้างปูชณียสถานหรือถาวรวัตถุตามสถานที่ต่าง ๆ นั้นท่านครูบาคำหล้าจะพิจจารณาดูก่อนว่าจะมีใครเป็นหัวหน้ามายืนยันกับท่านก่อนว่าพร้อมจะให้ความร่วมมือและจะต้องมีคณะศรัทธาที่มีความเคารพเลื่อมใสในตัวท่านจริง ๆ ท่านจึงจะยินดีรับนิมนต์ ถ้าไม่พร้อมทั้ง 2 ประการนี้ครูบาจะไม่รับนิมนต์ ทั้งนี้เพราะการก่อสร้างแต่ละแห่งนั้นมักจะสำเร็จลงอย่างรวจเร็วเพราะมีคนเคารพเลื่อมใสและตั้งใจทำงานและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีนั่นเอง และทุกแห่งที่ครูบาไปดำเนินการจะไม่มีการออกใบฎีกาเรี่ยรายขอให้ผู้ทำบุญมุ่งเอากุศลความดีเป็นที่ตั้ง อย่าทำบุญเอาหน้า หรือสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น หรือบริจาคเงินไปแล้ว เกิดความเสียดายอาลัย ก็ไม่เป็นบุญเป็นกุศล ท่านครูบาคำหล้านั้นแม้ไม่ได้ศึกษามาทางสายสถาปัตยกรรมการก่อสร้างก็ตาม แต่ท่านครูบา ก็สนใจศึกษางานก่อสร้างด้วยตนเอง และมีพรสวรรค์ในด้านวรรณกรรม มีความชำนาญทางด้านนี้เป็นพิเศษงานส่วนใหญ่ท่านครูบาชอบสร้างเจดีย์เพราะท่านบอกว่าสร้างแล้วมีคนกราบไหว้ ลองลงมาก็คือการสร้างโบสถ์ วิหาร กุฏิ ศาลา สะพาน และเสนาสนะต่าง ๆ ผลงานทางด้านการก่อสร้างของท่านครูบาคำหล้า สํวโร และท่านครูบาอินถา สุทนฺโตนั้น จะขอนำมากล่าวตามลำดับ ดังต่อไปนี้

    1. สร้างเจดีย์โบสถ์ วิหาร กุฏิ หอฉัน กำแพง บันไดนาค ถังกักเก็บน้ำฝน และเสนาสนะต่าง ๆ ณ วัดพระธาตุจอมสักสังวราราม ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
    2. สร้างวิหารและบูรณะพระธาตุวัดพระธาตุเจดีย์คำ ตำบลเจดีคำ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
    3. สร้างเจดีย์วัดกู่แก้ว ตำบลจันจว้า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียวราย
    4. สร้างเจดีย์วัดพระธาตุดอยเขาควายพร้อมทั้งกุฏิ หอฉัน บันไดนาค และยักษ์ 2 ตน ถังเก็บน้ำฝน และเสนาสนะอื่น ๆ บนดอยเขาควาย ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
    5. สร้างวิหารวัดพระเจ้านั่งดิน ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
    6. สร้างเจดีย์วัดพระแก้ว ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
    7. สร้างเจดีย์วิหารวัดพระธาตุภูซาง ตำบลภูซาง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา
    8. สร้างเจดีย์ขุนบง ตำบลสบบง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
    9. สร้างเจดีย์เด่นหล้าจอมสวรรค์ ตำบลยางฮอม อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
    10. สร้างเจดีย์ วิหาร วัดพระธาตุปูล้าน ตำบลไม้ยา อำเภอเมืองพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย
    11. สร้างเจดีย์ป่าตาล ตำบลป่าตาล อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
    12. สร้างพระธาตุ และวิหารวัดพระธาตุขิงแกง ตำบลจุน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา
    13. สร้างเจดีย์วัดจอมทอง ตำบลปล้อง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
    14. สร้างสะพานข้ามแม่น้ำพุง ตำบลป่าแงะ อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย
    15. สร้างเจดีย์ปูขวาง ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
    16. สร้างวิหารวัดพระธาตุจอมสวรรค์ บ้านสันขี้เหล็ก อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
    17. สร้างพระธาตุศรีมหาโพธิ์ วัดพระศรีมหาโพธิ์ ตำบลเวียงอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
    18. สร้างเจดีย์วัดนาซาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
    19. สร้างเจดีย์โบสถ์ วิหาร หอฉัน และเสนาสนะอื่น ๆ วัดวังถ้ำแก้ว ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
    20. สร้างเจดีย์วัดนาหนุน ตำบลแสนทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
    21. สร้างวิหารวัดสะเกิน ตำบลยอด อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน
    22. สร้างวิหาร กุฏิ ศาลา หอฉัน และเขื่อนกั้นน้ำวัดพระธาตุขุนห้วยสวดโดยการฝังท่อแอสร่อน นำเอาน้ำที่กั้นไว้นั้นไปใช้ในหมู่บ้านแวนโค้ง ทั้ง 2 หมู่บ้าน มีระยะทางไกล 3 กิโลเมตรและยังได้พบกระแสน้ำที่ไหลเข้าใกล้กุฏิของท่านครูบาคำหล้า นำมาให้ในบริเวณสำนักปฏิบัติธรรม วัดพระธาตุขุนห้วยสวดอรัญญวาสีสังวราราม ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
    23. ในปี พ.ศ. 2532 ท่านครูบาคำหล้าได้มีความดำริจะสร้างพระเจดีย์ประดิษฐานไว้บนดอยห้วยขุนสวด ได้ขอรถจากผู้มีจิตศรัทธาไปทำการปรับพื้นที่บริเวณนั้น แต่ปลายปีนี้เองที่ท่านครูบาคำหล้าได้อาพาธจนต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล การก่อสร้างจึงต้องต้องพักไว้

    14. การเดินทางไปเยี่ยมแดนพุทธภูมิ (อินเดีย-เนปาล)

    ในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 ท่านครูบาคำหล้า สํวโร พร้องทั้งคณะของท่านอันมีพระมหาหมื่น ปญฺญาธโร(ปัจจุบันคือพระครูศรีปริยัติวิธาน รองเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย) วัดพระสิงห์ พระครูอนันทขันติคุณ วัดเจ็ดยอดเชียงราย และอุบาสกอุบาสิกา มีพระภิกษุจำนวน 6 รูป และฆราวาส 21 คน ได้เดินทางไปนมัสการพุทธสังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่ง คือ

    1. สถานที่ประสูติ ตั้งอยู่สวนลุมพินี ตำบลรุมมินเดย์ เขตประเทศเนปาล
    2. สถานที่ตรัสรู้ ตั้งอยู่ที่พุทธคยา ตำบลคะยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
    3. สถานที่แสดงประฐมเทศนาคือธรรมจักกัปปวัตนสูตร ตั้งอยู่ป่าอิสิปนมฤคทายวัน ตำบลสารนาถ ใกล้กรุงพาราณสี รัฐ ยู.พี. ประเทศอินเดีย
    4. สถานที่พระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพาน ตั้งอยู่ที่สาลวโนทยาน เมืองกุสินาคาร์ รัฐ ยู.พี. ประเทศอินเดีย

    การเดินทางไปเยี่ยมดินแดนพุทธภูมิครั้งนี้ท่านครูบาเล่าว่าได้ประโยชน์มหาศาล เพราะได้ไปเห็นเทวทูตทั้ง 4 และไปพบสัจธรรม หากได้ไปประเทศอินเดียมาแล้วจะมีความซาบซึ้งในเรื่องพระพุทธานุสติและยิ่งเพิ่มความเคารพเลื่อมใสในพระพุทธเจ้ามากขึ้น ท่านครูบาคำหล้ายังได้นำเอาดินจากพุทธสังเวชนียสถานทั้ง 4 และดินจากปูชนียสถานที่สำคัญแห่งอื่น ๆ เอามาผสมกับเกศาของท่านและครูบาอินถาสร้างเป็นพระพิมพ์รูปเหมือน 2 หน้าของครูบาเพื่อแจกให้แก่คณะศรัทธาญาติโยมที่เคารพนับถือท่าน จะได้นำเอาไปสักการบูชา ในงานปอยหลวงคือฉลองวิหาร และอุโบสถ วัดพระธาตุจอมสักสังวราราม เพราะการทำบุญฉลองเป็นงานใหญ่ในปีพ.ศ. 2521 เมื่อท่านครูบาอยู่ ณ สถานที่ใดพอสมควรแล้วท่านก็จะย้ายไปอยู่ที่สถานที่แห่งใหม่อีก แห่งสุดท้ายที่ท่านพำนักอยู่นานที่สุดคือ วัดพระธาตุขุนห้วยสวดอรัญวาสีสังวราราม บ้านใหม่เจริญไพร ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

    15. ธรรมะโอวาทของครูบาคำหล้า

    ท่านครูบาคำหล้านั้น นอกจากจะเป็นนักปฏิบัติธรรม มีศิลาจารวัตรที่เคร่งครัดแล้ว ยังมีปฏิภาณไหวพริบในการสั่งสอนในเวลาการแสดงธรรมเทศนาท่านจะยกเอาคำสุภาษิตบ้าง สำนวนคำพังเพยบ้าง บางคำก็มีคำพื้นเมืองคือภาษาถิ่นเป็นถ้อยคำที่เข้าใจได้ง่าย ๆ คนฟังก็ไม่รู้สึกเบื่อ และคนฟังก็ตั้งใจฟังอยู่ในอาการอันสงบ เป็นที่น่าเสียดายที่การจัดพิมพ์หนังสือคราวนี้ไม่ได้รวบรวมพระธรรมเทศนาที่ท่านครูบาเทศนาในโอกาสต่าง ๆ มาพิมพ์ไว้ คงจะได้จัดทำในโอกาสอันสมควรต่อไป

    ในด้านธรรมะสำหรับใช้ปฏิบัตินั้น ท่านมักจะสอนธรรมะที่ง่าย ๆ เช่นเรื่องบุญกิริยาวัตถุคือ เรื่องการทำบุญให้ทาน การรักษาศีล และการเจริญสมาธิภาวนานั้นท่านครูบามักจะสอนให้ภาวนาบทว่า พทฺโธ พทฺโธ พทฺโธ บ้างครั้งก็สอนให้ใช้บทว่า ยุบหนอ พองหนอ บางครั้งท่านก็สอนให้เจริญ อานาปานสติกัมมัฏฐาน คือการกำหนดลมหายใจเข้าออก หายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้ ข้อสำคัญท่านครูบา ก็จะแนะนำว่าอย่ายึดติดในสำนักนั้นสำนักนี้ดีกว่ากัน จงทำจิตใจให้สงบระงับ มีจิตใจที่ใสสะอาด ปราศจากกิเลศนิกรณ์ธรรม ไม่เกิดการฟุ้งซ่านก็เป็นการดีที่สุด ท่านครูบาบอกว่านักปฏิบัติธรรมทั้งหลายควรจะปิดทวาร คำว่าทวารหมายถึงประตูเข้าออกของกิเลศคือปิดกายทวาร สิ่งที่ผ่านเข้าทางกาย ปิดวจีทวาร สิ่งที่ผ่านทางวาจา ปิดมโนทวาร สิ่งชั่วร้ายที่ผ่านเข้าทางใจจะต้องปิดกั้นมันหมดเพื่อทำจิตใจให้เป็นสมาธิ เมื่อจิตใจเป็นสมาธิ ปัญญาก็จะเกิดมีขึ้นมาเอง และนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย จะต้องยินดีในสถานที่สงบเงียบเช่นในป่า ใกล้ภูเขาหลีกเว้นจากการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เพราะธรรมให้เกิดความวุ่นวาย อย่าเห็นแก่การกิน การนอน การคุย การเล่น แม้แต่วิทยุ โทรทัศน์ ตลอดถึงหนังสือพิมพ์ก็ควรงดดู งดอ่าน จะอ่านก็ควรเป็นหนังสือธรรมะเท่านั้น ท่านยังพูดตำหนิพระเณรที่ชอบดูทีวีไม่สนใจข้อวัตรปฏิบัติของสมณะที่ดีชอบดูรายการมวยและส่งเสียงดังทั่ววัด ชอบเล่นหวย ซึ่งเป็นการพนันอีกชนิดหนึ่ง ล้วนแต่อยู่ในประเภทกิเลศหนาปัญญาหยาบทั้งสิ้น

    มีคนไปขอเลขขอหวยกับท่านครูบาคำหล้า ท่านจะหัวเราะและพูดว่า เห็นเราเป็นคนตาทิพหรือ ทำไมหนอ มนุษย์เราชอบรวยทางลัดมีความขี้เกียจไม่ขยันทำการงานเงินทองจะหลั่งใหลมาเองได้อย่างไรกัน ถ้าทุกสิ่งทุกอย่างขอร้องอ้อนวอนได้ละก้อพระพุทธเจ้า ก็ไม่ต้องบำเพ็ญบารมีอะไร ก็คงอ้อนวอนขอร้องเป็นพระพุทธเจ้าเอาได้เลย

    16. ของดีที่ครูบา ให้แก่พุทธบริษัท

    มีประชาชนเป็นจำนวนมากมีความเคารพเลื่อมใสในท่านครูบาคำหล้าที่ตั้งใจไปทำบุญไปฟังธรรมะจากท่านก็มีอยู่ แต่ก็มีคนบางพวกที่เข้าใจว่า ท่านเป็นนักบุญบ้างเป็นพระอรหันต์มีวาจาศักดิ์สิทธิ์บ้าง มักจะไปรบกวนขอของดีจากท่านครูบา ท่านครูบาก็จะถามว่า เห็นเราเป็นคนวิเศษหรือ ถ้ามีคนไปขอหวยว่า งวดหน้าเลขจะออกอะไรขอเมตตาบอกด้วยเถิด ท่านครูบา จะหัวเราะคงจะนึกขำคนถามแล้วท่านก็จะถามคนนั้นว่า รู้จักคำว่าอบายมุขไหม แล้วท่านครูบา ก็จะอธิบายคำว่าอบายมุขให้ฟังว่า การเป็นนักเลงสุรา นักเลงหญิง นักเลงเล่นการพนัน แม้แต่การเล่นหวยก็สงเคราะห์เข้าใจในการเล่นการพนัน มักมีแต่ความวอดวายฉิบหายผิดหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า อย่าได้เล่นเป็นอันขาด พอเข้าใจไหม อนึ่ง จะขอนำเอาคติธรรมคำสอนของท่านครูบาคำหล้า ซึ่งได้พูดไว้ในโอกาสต่าง ๆ ล้วนแต่เป็นคติสอนใจและนำไปเป็นข้อประพฤติปฏิบัติได้เป็นอย่างดี

    คติสอนของท่านครูบาคำหล้า สํวโร

    1. คนเรานั้น โลกีย์บ่หลุด โลกุตตร์บ่ได้
    หมายความว่า มนุษญ์เราไม่สามารถจะพ้นจากโลกนี้ไปได้ง่าย แลไม่สามารถจะบำเพ็ญเอาโลกุตรสมบัติ คือ มรรค ผล นิพพาน อันเป็นโลกุตรธรรมชั้นสูงได้

    2. จะยะอะหยังหื้อยะแต๊ ๆ กันยะเลาะแหละ มันบ่จ่างปอกิ๋น
    หมายความว่า ถ้าท่านจะทำสิ่งใดก็ขอให้ทำสิ่งนั้นอย่างจริงจัง อย่าสักว่าทำเล่น ๆ ถ้าทำจริงแล้วทุกอย่างก็จะสำเร็จจะมั่งมีเหลือกินเหลือใช้

    3. สัญชาตญาณของสัตว์ทั้งหลาย มันมีแต่เซาะหากิ๋นกับตั๋วต๋ายเต่าอั้น
    หมายความว่า ธรรมดาว่าสัตว์ทั้งหลายนั้น มีปกติแสวงหาอาหารและกลัวแต่ความตายเท่านั้น แต่สำหรับมนุษย์เรานั้นจะต้องมีสติปัญญา รู้จักแก้ไขอุปสรรค์ปัญหาดีกว่าสัตว์เหล่านั้น

    4. ยากอะไรไม่ยากเท่าปฏิสังขรณ์ ถอนอะไรไม่ยากเท่าถอนมานะ ละอะไรไม่ยากเท่าละอวิชชา
    หมายความว่า ถ้าทำสิ่งใดไว้ หากมันชำรุดทรุดโทรม จะไปทำการซ่อมแซมขึ้นมาใหม่มันยากมาก คนมีทิฏฐิมานะจัด มักเอาใจยากเพราะเขาจะยึดเอาความคิดเห็นตนฝ่ายเดียว เหตุที่คนไม่บรรลุพระนิพพาน เพราะมีกิเลศหนาถูกอวิชชาคือความโง่เหลาห่อหุ้มจิตใจไว้

    5. อย่าเป็นคนใหญ่เพราะกำข้าว อย่าเป็นคนเฒ่าเพราะอยู่เมิน
    หมายความว่า คนเราเติบโตขึ้นมาได้เพราะการกินอาหาร แต่เมื่อโตขึ้นมาแล้วต้องรู้จักคิด รู้จักทำ รู้จักใช้สติปัญญา มีเหตุผล เวลาแก่เฒ่าต้องรู้จักจำศีลภาวนา อย่าห่วงแต่ลูกหลานหรืออาศัยอยู่ไปเป็นวัน ๆ ไม่ทำประโยชน์อันใดไว้

    6. เกิดเป็นคนจงมืนตากว้างผ่อตางไกล๋
    หมายความว่า คนเราเกิดมาเป็นมนุษย์ ถือว่าแสนประเสริฐแล้ว อย่าได้เป็นคนมีใจคับแคบ อย่าเห็นแก่ตัว ต้องเห็นแก่ส่วนรวม ต้องทำตัวให้เป็นประโยชน์แก่ชาติ แก่ศาสนา แก่แผ่นดินที่ตนเกิด

    7. มืนตาแล้วต้องสว่างไป อย่าเป็นคนรกโลก
    หมายความว่า คนเราได้เกิดมาในโลกนี้ ถือว่ายังมีกิเลศตัณหาอยู่ ก็ต้องทำลายล้างกิเลสออกจากสันดานเพื่อจะได้ไปเกิดในภพในชาติที่ดีมีพระนิพพานเป็นที่ไปในเบื้องหน้า อย่าทำตนเป็นเสี้ยนหนาม หรือเป็นคนไม่มีศีลธรรม ถือว่าเสียชาติเกิดรกแผ่นดินเปล่า ๆ

    17. ท่านครูบาคำหล้าอาพาธ

    ปลายปีพ.ศ. 2532 ท่านครูบาคำหล้า สํวโร ได้เจริญอายุถึง 73 ปี 33 พรรษา นับตั้งแต่ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เป็นพระมหาเถระรูปหนึ่งที่มีประชาชนได้ยกย่องสักการบูชาเป็นจำนวนมาก ท่านอยู่ในวัยชราแม้กิจนิมนต์นอกวัด ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ท่านก็จะไม่ไป ท่านครูบา ได้เจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ อันเป็นธรรมดาของสังขารตามปกติ ถ้าไม่เจ็บป่วยมากท่านครูบา จะไม่ยอมไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล โดยเฉพาะโรคเก๊าที่เท้าของท่านนับว่าเป็นโรคที่คอยรบกวน ท่านครูบามาตลอด ซึ่งท่านก็พยายามรักษาเองมาโดยตลอดโดยการใช้ยาสมุนไพรบ้าง ยาแผนปัจจุบันบ้าง บางครั้งก็นั่งสมาธิบำบัดโรค ต่อมาท่านได้ป่วยเป็นโรคลำไส้อักเสบอีก ทำให้ท่านฉันอาหารได้น้อยลง ทำให้สุขภาพไม่ค่อยจะแข็งแรง แม้จะพยายามรักษาโดยวิธีการต่าง ๆ ก็มีอาการพอทุเลาลงบ้างเท่านั้น บรรดาคณะศิษยานุศิษย์ คณะญาติ และคณะศรัทธา จึงได้ขออาราธนาท่านไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลหลายแห่ง เช่น โรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัดพะเยา โรงพยาบาลลานนา จังหวัดเชียงใหม่ พอมีอาการทุเลาขึ้น ท่านครูบาก็ขอออกจากโรงพยาบาลลานนา เพื่อมารักษาโตอยู่ที่วัดพระธาตุขุนห้วยสวด ต่อมาไม่นานนักอาการป่วยของท่านก็กำเริบขึ้นอีก ฉันอาหารได้น้อยลง คณะศิษย์ และคณะศรัทธาที่เคารพก็นิมนต์ครูบา ไปพักรักษาตัวอยู่ ณ ตึกสงฆ์อาพาธ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย ประมาณ 1 สัปดาห์ อาการก็ไม่ค่อยจะดีขึ้น ฉันอาหารไม่ค่อยได้สุขภาพร่างกายผอมลง ถึงกระนั้นครูบาก็ข่มเวทนาความรู้สึกเจ็บป่วยได้ แสดงว่าด้านพลังจิตของท่านเข้มแข็งมาก อาการป่วยของท่านทรุดลงเรื่อย ๆ ย่างน่าวิตก จนท่านเอ่ยปากพูดว่าป่วยครั้งนี้คงจะเอาไม่อยู่นะ

    18. ชีวิตครูบาคำหล้า ตอนอวสาน วันมหาวิปโยคของชาวพุทธ

    เมื่อเวลาเช้าของวันจันทร์ ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2533 เวลา 06 : 59 น. ท่านครูบาคำหล้า สํวโรก็สิ้นลมปาณได้ถึงกาลมรณภาพ ละสังขารจากพวกเราผู้เป็นพุทธบริษัท ไปด้วยอาการอันสงบ แผ่นดินแห่งพุทธธรรม ได้สูญเสียพระมหาเถระผู้ใหญ่รูปหนึ่ง ผู้มีปฏิปทาและศิลาจารวัตรอันงดงามหาที่ตำหนิไม่ได้ ปฏิบัติตนเคร่งครัดด้านพระธรรมวินัย มีความมักน้อยสันโดษ มีเมตตาธรรมพรหมวิหารอันล้ำเลิศ เป็นมนุษย์ทรัพยากรบุคคลอันล้ำค่า ที่ไสวสว่างอยู่ในท่ามกลางดวงใจของบรรดาชาวพุทธทุกหมู่เหล่า ท่านเป็นพระนักปฏิบัติฝ่ายวิปัสสนาธุระ อธิษฐาน ฉันแต่มังสวิรัติวันละมื้อเดียวตั้งแต่อุปสมบทมาตลอดชีวิต และทำความดีมาโดยมิได้มุ่งหวังสมณฐานันดรศักดิ์ใด ๆ เลย เล่ากันว่าในวันที่ครูบาคำหล้าได้มรณภาพ ณ สำนักสงฆ์ปฏิบัติธรรมวัดพระธาตุขุนห้วยสวด พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ต่างกล่าวยืนยันกันว่า ก่อนเที่ยงของวันนั้น บริเวณวัด ซึ่งใกล้กับขุนเขาห้วยขุนสวดมีเสียงสั่นคล้ายแผ่นดินไหว ต่างก็มีอาการสะดุ้งตกใจ มองไปทางอากาศก็เห็นท้องฟ้ามืดคลึ้มคล้ายจะมีฝนตกหนักทั้งวัน แต่ก็ไม่มีฝนตกลงมาเลย สร้างความแปลกใจยิ่งนัก นับว่าเป็นเรื่องที่น่ามหัศจรรย์ยิ่งนัก

    หลวงพ่อครูบาคำหล้า สํวโร ได้ถึงกาลมรณภาพเมื่องวันที่ 8 เดือน มกราคม พ.ศ. 2533 เวลา 06.59 น.ได้อาราธนาศพของท่าน ไปตั้งบำเพ็ญกุศล ณ วัดเชตุพน (วัดสันโค้งน้อย) เชียงราย จนถึงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 เพื่ออนุวัตรตามคำสั่งของท่าน ก่อนจะมรณภาพ เคยสั่งการไว้ว่าท่านมรณภาพที่ใดก็ตามขอให้นำศพท่านไปเผาที่ห้วยขุนสวด เพราะเป็นสถานที่ครูบาได้เลือกไปอยู่ประจำเพื่อปฏิบัติธรรม เป็นแห่งสุดท้ายในวัยชราของท่าน ดังนั้นท่านคณะสงฆ์ อันมีท่านเจ้าคณะจังหวัดเชียงรายพร้อมทั้งพระเถระนุเถระทั้งหลาย ฝ่ายฆราวาสอันมีคณะศรัทธาประชาชนผู้ที่มีความเคารพเลื่อมใสในท่านครูบาจึงได้ขออาราธนาศพของท่านเคลื่อนย้ายไปตั้งบำเพ็ญกุศล ณ วัดขุนห้วยสวด ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

    ขบวนการแห่ศพของท่านครูบาคำหล้า สํวโร ได้เคลื่อนออกจากวัดพระฌชตุพน จังหวัดเชียงราย ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 ผ่านไปตามถนนสายเชียงราย เชียงคำ จนถึงวัดห้วยขุนสวด ระยะทางประมาณ 85 กิโลเมตร โดยออกจากเชียงราย เมื่อเวลา 12.00น. ได้ไปถึงวัดขุนห้วยสวด เวลา 22.00 น. ของวันเดียวกันใช้เวลานานราว 10 ชั่งโมง นับว่าเป็นการเคลื่อนศพที่ยิ่งใหญ่เป็นประวัติการณ์ที่ไม่เคยพบเคยเห็นที่ใหนมาก่อนเพราะตลอด 2 ฟากทางนั้น จะมีคณะประชาชนที่มีความเคารพเลื่อมใสในตัวครูบาจะถือข้าวตอกดอกไม้มาโปรยมากราบไหว้บูชา สักการะ และร่วมบริจาคเงินทองกำลังศรัทธาทำให้ขบวนการแห่ศพของท่านครูบาต้องเคลื่อนไปอย่างช้า ๆ เมื่อถึงอำเภอเชียงคำ ณ ที่นั่น นายทองคำ เขื่อนทา ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา พร้อมด้วยคณะข้าราชการ พ่อค้าประชาชนหลายหมู่บ้าน ชาวเขาหลายเผ่าและคณะสงฆ์อำเภอเชียงคำ ตลอดถึงผู้ที่อยู่ใกล้เคียงก็ได้มาคอยต้อนรับเพื่อเคารพศพท่านครูบา มีการนำเอาตุงนับจำนวนหลายร้อยพร้อมทั้งมีขบวนกองเกียรติยศเดินนำหน้าขบวนศพของท่านครูบาไปจนถึงวัดพระธาตุขุนห้วยสวด เหตุการณ์ครั้งนั้นแสดงออกถึงความเคารพ ความเลื่อมใส ความกตัญญูที่ทุกคนได้แสดงออกให้ปรากฏสุดที่จะบรรยายได้

    การตั้งศพของหลวงพ่อครูบา ได้บำเพ็ญกุศล ณ วัดพระธาตุขุนห้วยสวด มรณภาพเมื่อปีพ.ศ. 2533 ฌาปณกิจเมื่อปี พ.ศ. 2535

    ครับ....การมรณภาพของท่านที่จังหวัดเชียงราย ตอนที่เค้าอัญเชิญสังขารของท่านมาที่อำเภอเชียงคำ ซึ่งอยู่ห่างกันราวๆ ๘๒ กิโลเมตรนั้น มีประชาชนเรือนหมื่นเดินเท้าตามขบวนอัญเชิญสังขารของท่านจากเชียงรายมายังอำเภอเชียงคำ ในขณะที่ผ่านอำเภอต่างๆก็มีประชาชนที่ทราบข่าวได้ออกมาสักการะร่างของท่านกันเต็มไปหมด และบ้างก็พากันเดินเท้าตามมาจนถึงอำเภอเชียงคำ บ้างก็เดินไปร้องไห้ไป บ้างก็พนมไหว้มาตลอดทาง ปรากฏการณ์เช่นนี้ไม่เคยปรากฏมาก่อนในผืนดินล้านนาตอนบนแห่งนี้ นี่แหละครับ บารมีของพระอริยเจ้า ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มาตลอดทั้งชีวิตของท่าน จนถึงตอนนี้ ชื่อของครูบาคำหล้าก็ยังเป็นที่เล่าขานของคนเฒ่าคนแก่แถบนั้น ผมไปปั่นจักรยานที่เชียงคำก็ยังได้ยินผู้คนกล่าวถึงท่านอยู่เสมอ

    เหล่านี้ทำให้ผมไม่แปลกใจเลยว่า ในบรรดาเหรียญบูชาในพื้นแผ่นดินล้านนา เหรียญครูบาคำหล้า ปี ๒๕๐๕ กำลังพุ่งทยานขึ้นจนได้รับความนิยมอย่างสูงสุดในขณะนี้



    เหรียญครูบาคำหล้าออกปี 2505 ระบุไว้ว่าออกที่วัดจันดี ซึ่งในด้านหลังเหรียญได้ระบุไว้เช่นนี้แต่คาดว่าไม่ได้เกี่ยวเนื่องอะไรกับหลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน เพียงแค่ว่าตอนสมัยนั้นทางวัดไปให้ช่างเขาปั๊มเหรียญแล้วเผอิญมีบล็อคของหลวงพ่อคล้ายที่ออกวัดจันดีอยู่ ทางกรรมการเห็นว่าสะดวกและไม่เสียเวลา จึงให้ใช่แม่พิมพ์บล็อคนั้นแต่ย่อขนาดให้เล็กลงหน่อย เพราะวัดชื่อตรงกันคือวัดจันดี เท่านั้นเอง และได้อาศัยแบบของหลวงพ่อคล้ายเป็นต้นแบบ

    ครูบาคำหล้าพลังจิตท่านนั้นกล้าแกร่งขนาดที่ว่าคนท้องถิ่นแขวนเหรียญท่านโดนฟ้าผ่ายังไม่เป็นอะไรเลย หรือ ที่เชียงรายเด็กเล็กห้อยเหรียญท่านตกน้ำเป็นชั่วโมงๆกว่าคนจะมาพบ เด็กยังไม่จมน้ำตายเลย และยิ่งเรื่องแคล้วคลาดกับอุบัติเหตุบนท้องถนน

    เหรียญเกจิคณาจารณ์ยอดนิยมอันดับ 1 ของเมืองเชียงราย


    บูชาแล้วครับ

    gf.jpg hjj.jpg gh.jpg Clip.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มกราคม 2018
  14. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,132
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 2224

    ตะกรุดยันต์ก่าสะท้อน ครูบาผัด ผุสสิตธัมโม ((ยุคต้น))

    "ตะกรุดก่าสะท้อน" จัดเป็นเครื่องรางสายเหนือ ที่ได้รับความนิยมมานาน เชื่อกันว่า มีอิทธิคุณช่วยป้องกันสิ่งชั่วร้ายและไม่ดีต่างๆ ให้สะท้อนกลับออกไป ไม่สามารถส่งผลร้ายแก่ผู้ที่พกบูชาติดตัวได้ ทั้งนี้เรามักจะออกเสียง "ก่า" เป็น "กา" จนกลายเป็น "ตะกรุดกาสะท้อน"

    ยันต์ก่าสะท้อนเป็นยันต์ที่ได้รับความนิยมมากในหมู่ผู้นิยมยันต์ล้านนาทั้งหลาย คำว่า “ก่า” เป็นภาษาล้านนา แปลว่า ป้องกัน, ไม่ให้เกิดขึ้น คุณวิเศษของยันต์ก่าสะท้อนนั้น สามารถป้องกันอันตรายต่างๆ ทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็น มนต์ดำ คุณไสย คุณผี คุณคน ที่กระทำย่ำยีมาใส่เรานั้น ตะกรุดนี้จะสะท้อนสิ่งเหล่านั้นกลับไปยังผู้ทำของทำคุณไสยใส่เราได้ตามกฎแห่งกรรม

    อย่างไรก็ตาม ยันต์ก่าสะท้อนมีหลายชนิดหลายแบบแตกต่างกันไป เช่น ยันต์ก่าสะท้อนที่ทำจากหนังลูกวัวเกิดแล้วตายคาอวัยวะเพศ ส่วนมากจะหุ้มหรือพอกยันต์ด้วยครั่ง ยันต์ก่าสะท้อนชนิดนี้สามารถป้องกันอันตรายได้หมด เป็นมหาอุด ปืนยิงไม่ออก หลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่ม วัดวังมุย เคยสร้างไว้ ตอนนี้หายากมากแล้ว

    ในส่วนของยันต์ก่าสะท้อนที่ใช้ครั่งพอกนี้ มีคุณวิเศษมากหลายประการ ที่ใช้ครั่งพอกเพราะว่า หากมีผู้ใดประสงค์ร้ายกับเรา ทำคุณไสยใส่เรา ครั่งที่พอกยันต์ก่าสะท้อนจะแตก หากเรานำครั่งที่แตกนั้นไปเผาไฟ ของที่ผู้ประสงค์ร้ายทำใส่เราจะสะท้อนกลับไปหาตัวผู้นั้นเอง นี่คือที่มาของคำว่า ก่าสะท้อน คือทั้งป้องกัน และสะท้อนนั่นเอง

    (พระครูพิศิษฏ์สังฆการ) อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีดอนมูล เกจิอาจารย์ผู้เรืองเวทย์แห่งแผ่นดินล้านนา มีปาฏิหารย์เกิดขึ้นมากมาย ตอนพระราชทานเพลิงศพ สรีระสังขารของท่านครูบาผัดไม่ไหม้ไฟ จนครูบาน้อยต้องสวดถอนสรรพวิชาต่างๆ สรีระครูบาผัดถึงไหม้ไฟ โดยเริ่มไหม้จากปลายเท้าขึ้นไปเป็นที่ประจักษ์แก่ผู้มาร่วมงาน ครูบาผัดท่านเป็นอาจารย์ของครูบาน้อย สอนสรรพวิชาต่างๆ ตลอดจนวัตรปฏิบัติของสงฆ์แก่ครูบาน้อย ตำนานตะกรุดก่าสะท้อนอันโด่งดังของสำนักนี้ ลงคาถาตำราล้านนาโบราณตำรับวัดศรีดอนมูล ซึ่งสืบทอดตำรามาจากครูบาสม วัดป่าแดด อาจารย์ใหญ่สายสารภี เกจิอาจารย์ร่วมสมัยกับครูบาเจ้าศรีวิชัยนักบุญแห่งล้านนา ยันต์นี้จะลงคาถาจารใน แผ่นทองแดง แล้วพอกด้วยครั่ง สอดด้วยฝ้ายสายสิญจน์ ลักษณะรูปทรง เป็นเอกลักษณ์ของสำนักวัดศรีดอนมูล วัตถุมงคลที่เป็นสัญลักษณ์คู่กับวัดศรีดอนมูลต้องตะกรุดยันต์ก่าสะท้อน ซึ่งถ้าเป็นของครูบาผัด อดีตเจ้าอาวาส ดอกนี้ จะเป็นตำนานยันต์ก่าสะท้อนทรงคุณค่าเป็นตะกรุดที่มีชื่อเสียงโด่งดัง มานานแล้วไปทั่วประเทศ จนทุกวันนี้ โดยมีผู้ที่รอดตายจากการเกิดอุบัติเหตุ หลายราย และเชื่อว่า มาจากปาฏิหาริย์ การสำแดงเดชฤทธิ์ ของตะกรุดกาสะท้อน ของวัดศรีดอนมูล


    ดอกนี้สวยสมบูรณ์ แท้ดูง่ายสบายตา


    บูชาแล้วครับ

    IMG_2566.JPG IMG_2567.JPG IMG_2570.JPG Clip_4.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ธันวาคม 2017
  15. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,132
    ค่าพลัง:
    +1,341
    ขออนุญาตโชว์ครับ

    พระบูชาครูบาอินสม สุมโน วัดทุ่งน้อย รุ่นสร้างประปาพร้าว ขนาด 3 นิ้ว
    อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

    พระบูชาครูบาอินสม 800 a.jpg
    พระบูชาครูบาอินสม 800 b.jpg
    พระบูชาครูบาอินสม 800 c.jpg
    พระบูชาครูบาอินสม 800 d.jpg
    พระบูชาครูบาอินสม 800 e.jpg
    พระบูชาครูบาอินสม 800 f.jpg
     
  16. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,132
    ค่าพลัง:
    +1,341
    แจ้งหมายเลข EMS ครับ

    คุณ Nattawut8899 ET 1150 1454 2 TH ขอบพระคุณครับ
     
  17. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,132
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 2225

    พระกริ่งประทานพร หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง
    อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ปี 2520

    คุณนิตย์ พงษ์ลัดดา เป็นผู้จัดสร้าง โดยมีช่างติ๋ว(ทวีศักดิ์ สมวงศ์)เป็นผู้สร้างแบบและแกะพิมพ์ จำลองมาจากพระบูชากฐินต้น ภปร.ปี 2506 วัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ) จ.กาญจนบุรี พระพุทธรูปปางประทานพรศิลปะสุโขทัยประยุกต์ที่งดงามมาก จัดสร้างขึ้นทั้งสิ้น 999 องค์

    โดยคุณนิตย์ ได้นำไปขอหลวงปู่แหวนแผ่เมตตาและได้เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกที่วัดเจดีย์หลวง 1 ตุลาคม 2520
    -โดยมีหลวงปู่คำแสน คุณาลังกโร วัดป่าดอนมูล เป็นประธาน พร้อมด้วยพระอาจารย์สายกัมมัฎฐาน อาทิเช่น
    -พระอาจารย์บุญจันทร์ วัดถ้ำผาผึ้ง อ.ฝาง
    -หลวงปู่สิม พุทธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง
    -พระอาจารย์ทองบัว วัดป่าโรงธรรมสามัคคี อ.สันกำแพง
    -พระอาจารย์หนู สุจิตโต วัดดอยแม่ปั๋ง
    ร่วมกันนั่งอธิฐานจิตและพระกริ่งนี้ทางคุณนิตย์ได้นำถวายให้กับวัดป่าดอนมูลทั้งหมด


    บูชาแล้วครับ

    jk.jpg
    uj.jpg
    hj.jpg
    grg.jpg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มกราคม 2018
  18. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,132
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 2226

    เหรียญรุ่นแรกครูบาคำหล้า ปี 05


    เหรียญเกจิคณาจารณ์ยอดนิยมอันดับ 1 ของเมืองเชียงราย

    ราคา 2000 บาท พร้อมจัดส่ง EMS ครับ

    เหรียญครูบาคำหล้า 150 a.jpg
    เหรียญครูบาคำหล้า 150 b.jpg
    เหรียญครูบาคำหล้า 150 c.jpg
     
  19. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,132
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 2227

    พระปิดตารุ่นแรก ยันต์นะ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ปี 2522
    ตะกรุดเงิน 9 ดอก ตอกโค๊ตรวย
    แช่น้ำมนต์ ออกวัดชัยมงคล อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่

    หลวงปู่โต๊ะปลุกเสกครั้งมาจำพรรษาที่วัดชัยมงคล เพื่อนำปัจจัยบูรณะวัดพระ ธาตุสบฝางใน ปี 2522 ของดีที่หลวงปู่โต๊ะมอบให้คนเมืองเหนือได้ใช้

    คุณ Tanaphapon บูชาแล้วครับ

    dfuy.jpg
    erww.jpg
    dfse.jpg
    dfsrr.jpg
    fgt.jpg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มกราคม 2018
  20. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,132
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 2228

    เหรียญหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ปี 2522 ออกวัดพระธาตุสบฝาง
    อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่


    คุณ อาทิตย์03 บูชาแล้วครับ

    IMG_2676.JPG
    IMG_2677.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มกราคม 2018

แชร์หน้านี้

Loading...