ร่วมสร้างพระศิลปะอีสาน "พระเจ้าแสนหลวง" หน้าตัก ๑ วา ๑ ศอก ๑ คืบ ถวายวัดเก่าหนองบัว

ในห้อง 'พระพุทธรูป - วิหารทาน - สิ่งก่อสร้าง' ตั้งกระทู้โดย มายศ, 11 มกราคม 2014.

  1. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +581
  2. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +581
    วันต่อมา ตื่นเช้าไปขอบารมีพระธาตุช่อแฮ พระธาตุประจำปีขาล ตามตำนานสร้าง พ.ศ. ๑๘๗๙ ถึง ๑๘๘๑ ก่อนพญาลิไทขึ้นครองราชราว ๑๐ ปี ครูบาศรีวิชัยได้มาเป็นประธานในการบูรณปฏิสังขรณ์ในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ หลวงพ่อช่อแฮเป็นพระประธานในพระอุโบสถแบบก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง มีหน้าตักกว้าง ๓.๘๐ เมตร สูง ๔.๕๐ เมตร เป็นศิลปะผสมระหว่างล้านนา เชียงแสน และสุโขทัย สร้างขึ้นหลังพระธาตุช่อแฮ ขณะนี้ก็นับว่ามีอายุหลายร้อยปีแล้ว

    พระธาตุช่อแฮ ตั้งอยู่เลขที่ ๑ หมู่ ๑๑ เป็นเลข ๑๑๑ เลขแห่งพระรัตนตรัย แม้แต่กระทู้ที่ ๑ หน้า ๑ ก็เป็นเวลา ๑๑ นาฬิกา ๑ นาที ของวันที่ ๑๑ เดือน ๑ (มกราคม) เพื่อให้สอดคล้องกับหน้าตักพระ ๑ วา ๑ ศอก ๑ คืบ

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    + + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสร้างพระใหญ่เมืองอุบล “พระเจ้าแสนหลวง” พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร
     
  3. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +581
    แล้วก็ย้อนเข้าเมือง ไปไหว้และขอบารมี “พระแสนสุข” อายุ ๕๗๐ ปี (องค์กลาง บนสุด) ที่วัดพงษ์สุนันท์ (ปงสนุก) วัดนี้อยู่ติด ๆ กับบ้านวงศ์บุรี ซุ้มประตูเป็นรูปเจดีย์ ๑๙ ยอด ภายในกำลังสร้างวิหารเจดีย์ ๑๐๘ ยอด

    [​IMG]

    [​IMG]

    + + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสร้างพระใหญ่เมืองอุบล “พระเจ้าแสนหลวง” พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร
     
  4. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +581
    ได้รับจดหมาย (แต่ยังไม่ได้เปิดซอง) จาก

    คุณธเนศ แก้วกำเนิด เชียงใหม่
    คุณอนุศักดิ์ ครรชิตกุล กรุงเทพฯ (ฤดูร้อนปี ๒๕๓๖ ผมถีบจักรยานจากซอย ๑๐๑ เพื่อไปฝึกงานที่โรงกลั่นบางจากด้วยครับ)

    แล้วครับ

    ขอผลบุญแห่งการสร้างพระเจ้าแสนหลวง จงค้ำคูนหนุนเกื้อให้คุณธเนศ แก้วกำเนิด คุณอนุศักดิ์ ครรชิตกุล และคนในครอบครัว จงมีแนวชีวิตรุ่งโรจน์ครับ

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสร้างพระใหญ่เมืองอุบล “พระเจ้าแสนหลวง” พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร
     
  5. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +581
  6. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +581
    วัดพงษ์สุนันท์
    (อ้างอิงจาก เวบ วัดและชุมชนในเวียงแพร่: ความสัมพันธ์ระหว่างวัดและชาวเมืองแบบโบราณ สัมภาษณ์ ศรี แนวณรงค์ ๒๗ ก.ค. ๒๕๕๐)

    + + + + + + + + + + +

    ตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมือง ที่บ้านพงษ์สุนันท์ ตำบลในเวียง ได้รับวิสุงคามสีมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ แต่เดิมชื่อว่าวัดปงสนุกในพื้นที่บ้านสันกลาง (ชื่อหมู่บ้านเก่า) เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๐ พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ป่าโปร่ง วัดปงสนุกเคยเป็นวัดร้าง ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่นั้นว่า “พงสนุก” แทน ทางทิศใต้ของวัดมีสระน้ำลึก ในสระมีเต่าน้อย ตามตำนานเล่ากันว่า นางคำพวนเป็นคนพม่าหงสาวดีที่มาอยู่ในชุมชน อยากได้เต่า จึงลงไปในสระและจมน้ำตาย เพื่อนนางคำพวนชื่อ สางตาด จึงสร้างเจดีย์ขนาดเล็ก และสร้างรูปเต่า ๔ ตัววางไว้รอบฐานเจดีย์เพื่อระลึกถึงเพื่อน ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ พ่อเจ้าบุรี ศรีปัญญา ได้บูรณะวิหาร นำหญ้าคามามุง ไฟจึงไหม้และเวลาต่อมาเกิดเหตุน้ำท่วมซ้ำ พญาบุรีรัตน์ บุตรชายพ่อเจ้าบุรีจึงบูรณะวัดขึ้นมาใหม่ โดยมีหลวงพงษ์พิบูลย์ (วงษ์พระถาง) และภรรยา (เจ้าสุนันตา) เป็นศรัทธาหลัก และสร้างวิหารใหม่ขึ้น กระทั่ง พ.ศ. ๒๔๗๗ วัดจึงได้ชื่อ “วัดพงษ์สุนันท์” ที่มาของคำว่าพงษ์สุนันท์มาจากคำว่า พงษ์พิบูลย์ กับ สุนันตา โดยแบ่งที่ของบ้านวงษ์บุรีครึ่งหนึ่งเป็นวัด ภายในวัดมีพระนอนกลางจ้างริมกำแพงซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของวัด

    ขอผลบุญใหญ่แห่งการสร้างพระเจ้าแสนหลวง จงถึงแก่เทพพรหมเทวาที่ดูแลพระแสนสุข ที่เกี่ยวเนื่องกับวัดพงษ์สุนันท์, นางคำพวน, สางตาด, พ่อเจ้าบุรี ศรีปัญญา, หลวงพงษ์พิบูลย์, เจ้าสุนันตา, และทุกรูปทุกนามที่เกี่ยวเนื่องกับวัดพงษ์สุนันท์และบ้านวงษ์บุรีเทอญ

    [​IMG]

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสร้างพระใหญ่เมืองอุบล “พระเจ้าแสนหลวง” พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร
     
  7. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +581
    วัดศรีชุม เมืองแพร่

    + + + + + + + + + + +

    จากนั้นก็ขับรถแบบหลง ๆ เพราะตั้งใจจะไปวัดหลวง เพื่อไหว้สาพระเจ้าแสนหลวง เมืองแพร่ แต่รถกลับไปจอดที่วัดศรีชุม เลยได้ไหว้พระประธานในโบสถ์ พระยืนศิลปะแพร่ผสมสุโขทัย และพระธาตุศรีชุมซึ่งเป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอดระฆังแบบล้านนา ก็เลยได้ตั้งพานวางแผ่นทองชนวนขอบารมีในโบสถ์วัดศรีชุม อันเป็นแห่งชุมนุมของนักปราชญ์ตั้งแต่สมัยโบราณ แม้แต่เจ้ากาวิละแห่งลำปาง ก็เคยหนีภัยมาบวชเรียนที่วัดศรีชุม ก่อนกลับไปครองเมืองลำปางเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๐๒

    ครูบาที่มีชื่อเสียงที่เคยสถิตอยู่วัดศรีชุมได้แก่ ครูบาอุตมาผู้เคร่งครัดพระวินัยและมีความสามารถด้านการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ครูบามหาเถร (หรือครูบากัญจนาอรัญวาสีมหาเถระ) ซึ่งแตกฉานในพระธรรมวินัย มีชื่อเสียงไปถึงหลวงพระบาง และเป็นผู้ชำระพระไตรปิฎกจำนวนมากในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์

    ผู้เคยอุปถัมภ์วัดศรีชุมได้แก่ เจ้าแม่บัวถา ชายาองค์แรกในเจ้าพิริยะเทพวงศ์, สกุลแก่นหอม, สกุลวังซ้าย, สกุลบุตรรัตน์, สกุลแสนสิริพันธ์, สกุลช่างทอง, ชาวขมุเลี้ยงช้างหลังกำแพงเมือง ขณะนี้มีศรัทธาวัดราว ๒๕ หลังคาเรือน

    (ข้อมูลจาก เวบ วัดและชุมชนในเวียงแพร่: ความสัมพันธ์ระหว่างวัดและชาวเมืองแบบโบราณ)

    + + + + + + + + + + +

    ขอผลบุญใหญ่แห่งการสร้างพระเจ้าแสนหลวงจงถึงแก่ เทพพรหมเทวา ครูบาอาจารย์ และทุกรูปทุกนาม ที่เกี่ยวเนื่องกับวัดศรีชุม เมืองแพร่ เทอญ

    พระประธานในโบสถ์วัดศรีชุม
    [​IMG]

    พระยืนศิลปะแพร่ผสมสุโขทัย
    [​IMG]

    คาถาไหว้พระยืน
    [​IMG]

    พระธาตุศรีชุม เมืองแพร่ สร้างราวพุทธศตวรรษ ๒๐ เป็นเจดีย์ย่อมุม ๒๘ ฐานกว้างด้านละ ๔ วา
    [​IMG]

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสร้างพระใหญ่เมืองอุบล “พระเจ้าแสนหลวง” พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 มีนาคม 2014
  8. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +581
    วัดหลวง เมืองแพร่

    + + + + + + + + + + +

    เสร็จจากวัดศรีชุม ก็ขับรถเข้าซอยแคบ ๆ เลียบกำแพงวัดศรีชุมเพื่อไปวัดหลวง ที่ไหนได้ วัดหลวงสามารถเดินจากวัดพงษ์สุนันท์ไปได้เลย

    (ข้อมูลจาก ท่องเที่ยวจังหวัดแพร่ และ เวบ วัดและชุมชนในเวียงแพร่: ความสัมพันธ์ระหว่างวัดและชาวเมืองแบบโบราณ)

    วัดหลวงตั้งอยู่ที่หมู่บ้านวัดหลวง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.แพร่ สร้างโดยพ่อขุนหลวงพล เจ้าครองนครแพร่องค์แรก เมื่อปี พ.ศ. ๑๓๗๒ ทางกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้วัดหลวงเป็นโบราณสถานของชาติที่มีอายุเก่าแก่นับพันปี แม้ว่าวัดหลวงจะเป็นวัดที่มีประวัติการก่อสร้างมานาน ทว่าสภาพปัจจุบันของวัดยังสมบูรณ์มาก

    วิหารด้านในมี “พระเจ้าแสนหลวง” พระพุทธรูปขนาดใหญ่ประทับนั่งปางสมาธิสร้างโดยศิลปะล้านนาผสมกับสุโขทัย สภาพวิหารหลวงอยู่ในสภาพสมบูรณ์เนื่องจากได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์มาตลอด

    ด้านหลังของวิหารเป็นที่ตั้งของ “พระธาตุหลวงไชยช้างค้ำ” เป็นที่ประดิษฐานพระธาตุที่นำมาจากเมืองหงสาวดี

    วัดหลวง มีประตูวัดที่เก่าแก่ เรียกว่า "ประตูโขง" ใช้เป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นของเจ้าเมืองแพร่ ตามคำบอกเล่าของชาวบ้าน ประตูโขงเคยเป็นประตูที่ใช้เฉพาะเจ้านาย ภายหลังมีการย้ายประตูทางเข้าด้านหน้ามาไว้ทางด้านทิศตะวันตก ประตูโขงไม่ได้ใช้จึงปิดตาย สำหรับโบสถ์ของวัดหลวงมีชื่อว่า "โบสถ์เจ้าผู้ครองนคร"

    โบราณวัตถุที่น่าสนใจของวัดหลวง ได้แก่ กลุ่มพระพุทธรูป ซึ่งมีจำนวนหลายองค์ จารึกอายุ ๕๐๐ ปี ศิลาจารึกเจ้าผู้ครองนคร

    วัดหลวงมีอาคารไม้สักหลังหนึ่ง ชื่อว่า "หอวัฒนธรรมเมืองแพร่" เป็นที่รวบรวมศิลปะพื้นบ้าน เช่น หีบสมบัติโบราณ โลงไม้แกะสลัก และสิ่งที่น่าสนใจในวัดหลวง คือ คุ้มพระลอ ซึ่งเป็นบ้านไม้หลัง กะทัดรัด ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับหอวัฒนธรรมเมืองแพร่ เป็นอนุสรณ์สถานครั้งที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จทัศนศึกษา เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๓ ด้านล่างของคุ้ม มีเครื่องทอผ้าและล้อเกวียนเก่าจำนวนหนึ่งชั้นบนเป็นที่เก็บของ โบราณ เช่น เตารีดสมัยโบราณแบบใช้ถ่าน เครื่องทอฝ้าย ร่มโบราณ ไม้แกะ สลัก ฯลฯ และมีรูปถ่ายของแม่เจ้าบัวถา ชายาของเจ้าเมืองแพร่องค์หนึ่งรวมทั้งรูปถ่ายของ บ้านเจ้าเมืองแพร่ซึ่งเป็นต้นตระกูลเจ้าอาวาสวัดหลวงองค์หนึ่ง

    ประวัติของวัดกล่าวไว้ว่า วัดหลวงสร้างมานานนับพันปี มีการสร้างวัดขึ้นในบริเวณทิศตะวันตกของคุ้มเจ้าหลวงเมื่อปี พ.ศ.๑๓๗๒ คือ มีการสร้างวิหารหลวงพลนคร เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าแสนหลวง พระประธานของเมืองพลนคร

    ต่อมาในปี พ.ศ. ๑๖๐๐ ชนชาติขอมได้ยกทัพเข้ารุกรานเมืองพลนคร ได้เผาทำลายเมืองรวมทั้งวัด และได้เผาลอกเอาทองหุ้มพระเจ้าแสนหลวงไป จากนั้น ขอมได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็น "เมืองโกศัย"

    จนถึง พ.ศ. ๑๗๑๙ เมื่อพม่าขยายอิทธิพลมาสู่ดินแดนล้านนาและขับไล่ขอมออกไป พม่าได้เรียกเมืองพลว่า "เมืองแพล" ต่อมา พญาพีระไชยวงศ์ เจ้าเมืองแพลได้ทำไมตรีกับพม่าและร่วมกับส่างมังการะเจ้าเมืองพม่า ทำการบูรณะวัดหลวง เจ้าเมืองแพลและชาวเมืองแพลได้ร่วมกันสร้างพระธาตุหลวงไชยช้างค้ำพร้อมกับได้หุ้มทองพระเจ้าแสน หลวงและให้ชื่อวัดเสียใหม่ว่า "วัดหลวงไชยวงศ์"

    วัดหลวงได้รับการบูรณะสมัยพญาเมืองชัยราว พ.ศ. ๒๓๖๙ ต่อมาเจ้าเทพวงศ์ เจ้าฟ้าเมืองเชียงตุง ได้มาเป็นเจ้าเมืองแพร่ นำช่างฝีมือจากหลวงพระบางมาทำการบูรณะพระวิหารและลงรักปิดทองพระเจ้าแสนหลวงร่วมกับชาวเมืองแพร่ ช่วงเกิดเหตุการณ์เงี้ยวปล้นเมืองแพร่ พระธาตุหลวงไชยช้างค้ำทรุดโทรมพังทลายมาเป็นบางส่วน “ครูบาเจ้าธรรมชัย” ได้นำชาวบ้านช่วยกันเผาอิฐทำการบูรณะพระธาตุ และนับแต่ พ.ศ. ๒๔๗๐-๒๕๑๐ มีคณะศรัทธามาร่วมกันบูรณะดูแลต่อกันมาเป็นรุ่น ๆ

    วิหารพระเจ้าแสนหลวง เมืองแพร่
    [​IMG]

    พระธาตุหลวงไชยช้างค้ำ
    [​IMG]

    ซุ้มประตูโขง
    [​IMG]

    พิพิธภัณฑ์วัดหลวง (ซ้าย) และคุ้มพระลอ (ขวา)
    [​IMG]

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสร้างพระใหญ่เมืองอุบล “พระเจ้าแสนหลวง” พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร
     
  9. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +581
    พระเจ้าแสนหลวง เมืองแพร่

    + + + + + + + + + + +

    พ่อขุนหลวงพล หรือ ปู่พญาพล เป็นพระราชนัดดาแห่งกษัตริย์น่านเจ้า มีมารดาชื่อ แม่เฒ่าจันคำวงค์ ได้อพยพชาวไทยลื้อและไทยเขินจากเมืองเชียงแสน ไชยบุรี และเวียงพางคำ สร้าง “เมืองพลนคร” บนที่ราบริมฝั่งแม่น้ำยมในปี พ.ศ. ๑๓๗๑ และได้สร้าง “วัดหลวงสมเด็จ” หรือ “วัดหลวง” ในปัจจุบัน เป็นวัดประจำเมืองพลนคร ในปี พ.ศ. ๑๓๘๗ พ่อขุนหลวงพลได้มอบให้ท้าวพหุสิงห์ผู้เป็นราชบุตรครองเมืองพลนครต่อจากพ่อขุนเอง

    พระเจ้าแสนหลวงสร้างโดยพ่อขุนหลวงพล ราวปี พ.ศ. ๑๓๗๒-๑๓๗๓ เป็นพระปางมารวิชัยหน้าตัก ๗ ศอก ประดิษฐานอยู่ในวิหารหลวงพลนครที่สร้างไว้อย่างงดงามด้วยช่างเมืองแสนไชยบุรีและช่างเวียงพางคำ สมัยโบราณถือว่าพระเจ้าแสนหลวงเป็นพระประธานประจำเมือง

    นับตั้งแต่ทราบว่าพระที่มีส่วนร่วมสร้าง มีชื่อเดียวกับพระเจ้าแสนหลวง เมืองแพร่ ก็ปรารถนาไปไหว้สาขอบารมีท่าน ในที่สุดก็สมหวัง

    ข้อมูลจากเวบ เที่ยววัดหลวง ข้อมูลที่เที่ยวและแผนที่บนมือถือ

    + + + + + + + + + + +

    หมายเหตุ ขณะนี้วิหารหลวงพลนครกำลังได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ แต่ก็ได้เข้าไปขอบารมีพระเจ้าแสนหลวง พระศราวุธ สุภทฺโท ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดหลวง ที่บวชเณรตั้งแต่อายุ ๑๐ ขวบ และบวชพระต่อจนมีพรรษา ๖ ได้เมตตาจารแผ่นทองชนวนให้ และได้ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ว่า ชื่อ “พระเจ้าแสนหลวง” ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมศิลปากรและลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว การตั้งชื่อซ้ำแบบคำต่อคำอาจถูกฟ้องร้องภายหลังได้ จึงอาจมีการเปลี่ยนชื่อพระใหม่ (ตัวอย่างเช่น “พระเจ้าใหญ่แสนหลวง”, “พระแสนหลวง”) เพื่อไม่ให้ซ้ำตรงชื่อกับที่ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา แต่จะเป็นชื่อใดก็คงต้องแล้วแต่คณะกรรมการสร้างพระเจ้าแสนหลวง

    พระเจ้าแสนหลวง อายุเกือบ ๑,๒๐๐ ปี
    [​IMG]

    สร้างในพุทธศตวรรษที่ ๑๔ โดยพ่อขุนหลวงพล เจ้าครองนครแพร่องค์แรก
    [​IMG]

    มีการใช้ผ้าใบปิดพระเจ้าแสนหลวงกันฝุ่นและเศษอิฐเศษปูน
    [​IMG]

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสร้างพระใหญ่เมืองอุบล “พระเจ้าแสนหลวง” พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร
     
  10. rungdao

    rungdao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    2,019
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,731
    ดิฉันและครอบครัวร่วมบุญนี้ด้วย 755 บาทค่ะ โอนแล้ววันนี้ เงินจะเข้าพรุ่งนี้หลังบ่าย 3 โมงค่ะ และขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านที่ได้มีส่วนร่วมในบุญนี้ค่ะ
    สาธุ
     
  11. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +581
    ขอผลบุญใหญ่แห่งการสร้างพระเจ้าแสนหลวงจงถึงแก่คุณ rungdao และครอบครัวครับ

    + + + + + + + + + + +

    ช่วงนี้อยู่ในช่วงตรวจข้อสอบ/ส่งเกรด/ตรวจปริญญานิพนธ์/ทำงานบุญบางอย่าง ก็เลยไม่ได้เข้ามาอัพเดตบ่อยครับ
     
  12. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +581
    เตียวขึ้นดอย งานปีพระพุทธบาทสี่รอย คืนวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๔

    + + + + + + + + + + +

    ไปกี่ครั้งก็ไม่เบื่อ ตอนขับรถขึ้นเขาไปวัดพระพุทธบาทสี่รอยที่ทั้งชันทั้งคดเคี้ยว พ่อใหญ่พลจากอุบลถึงกับบอกว่าถ้าไม่ได้มีวาสนาไม่ได้มานี่หรอก จะว่าไป ๒๐ กิโลเมตรที่ขึ้นเขาบนถนนคอนกรีตแคบ ๆ สุดยอดจริง ๆ ทั้งทัศนียภาพ บรรยากาศ และความพิเศษลึก ๆ ที่ไม่อาจบอกให้ใครฟังได้

    จากแพร่ไปวัดพระพุทธบาทสี่รอย
    [​IMG]


    ซูมเส้นทางเข้าไปอีก จะเห็นว่าพระพุทธบาทสี่รอยอยู่บนเขาทิวเดียวกันกับดอยสุเทพ
    [​IMG]

    ซูมเข้าไปอีก วัดหนองก๋ายจะเป็นจุดเริ่มเตียวขึ้นดอย จะเห็นว่าเป็นทางขึ้นเขาคดเคี้ยวมาก
    [​IMG]

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสร้างพระใหญ่เมืองอุบล “พระเจ้าแสนหลวง” พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร
     
  13. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +581
    [​IMG]

    พระพุทธบาทสี่รอยในวันงานปี ศุกร์ที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๗ แผ่นทองใหญ่ ๆ ที่เห็นญาติ ๆ ของผมช่วยกันปิดครับ ใครไปนมัสการพระพุทธบาทสี่รอย แนะนำให้นำน้ำมันหอมและทองคำเปลวแท้ขึ้นไปด้วย ทองคำเปลวผมซื้อมาจากแพร่ ถ้าจำไม่ผิดร้อยละ ๖๕๐ บาท ถ้าซื้อแถวแม่ริมราคาอาจสูงถึงร้อยละ ๙๐๐ บาท ซื้อไปเยอะ ๆ จะได้ติดให้อิ่มอกอิ่มใจเต็มที่ ตอนติดก็ถวายน้ำมันหอมด้วยการป้ายไปบริเวณที่จะปิดทองไปก่อน จากนั้นจึงปิดทองไปเรื่อย ๆ เพื่อบูชาคุณพระพุทธเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ และคุณแห่งพระศรีอาริยเมตไตรย แผ่นไหนจะอุทิศบุญให้ใคร ก็นึกได้เลย มีเยอะ อุทิศได้เยอะ ถ้าเป็นของที่วัดอาจไม่ใช่ทองคำเปลวแท้

    อ้อ ดอกไม้ หมากพลู บุหรี่ ก็ควรนำขึ้นไปเองครับ ถ้าจะนำของปราณีตถวายให้ได้บุญสุด ๆ เพราะดอกไม้ข้างบนเป็นแบบวน ส่วนหมากพลู บุหรี่ ข้างบนไม่มีให้ แต่หาได้ง่ายจากตลาดแม่ริม โดยเฉพาะในช่วงเช้า หมากพลู บุหรี่ สำหรับถวายรัชกาลที่ ๕ และเจ้าดารารัศมี เทพพรหมเทวา ครูบาอาจารย์ ปู่ฤๅษีที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธบาทสี่รอยครับ

    คานเหล็กที่เห็นปกติไม่มี ที่มีเพราะวันเสาร์ที่ ๑๕ มีนาคม จะชักรอกสรงน้ำหลวงพระพุทธบาทสี่รอยนั่นเอง

    [​IMG]

    วิหารครอบพระพุทธบาทสี่รอยอยู่ท่ามกลางหุบเขาสูง
    [​IMG]

    โบสถ์วัดพระพุทธบาทสี่รอย คือสิ่งมหัศจรรย์แห่งทิวเขาถนนธงชัย
    [​IMG]

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสร้างพระใหญ่เมืองอุบล “พระเจ้าแสนหลวง” พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 มีนาคม 2014
  14. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +581
    เมื่อเดินเข้าทางหน้าโบสถ์วัดพระพุทธบาทสี่รอย จะเห็นตูบทางซ้ายมือครอบหลวงพ่ออินทร์สาน
    [​IMG]

    ภายในโบสถ์ มีการจัดเก้าอี้สำหรับพิธีสรงน้ำพระพุทธบาทสี่รอย และการสืบชะตาวันพรุ่งนี้
    [​IMG]

    หมู่พระประธานในโบสถ์
    [​IMG]

    มองออกนอกโบสถ์ ก็ชุ่มชื่นหัวใจด้วยสีเขียวของภูเขากลางไพร
    [​IMG]

    ด้านขวาของหมู่พระประธาน เป็นมุขสถิตพระพุทธชินราชจำลอง ด้านบนเป็นรูปหลวงพ่อทวด พระจอมเกล้าฯ และหลวงพ่อดู่ การตบแต่งวิจิตรมากทั้งฝ้า ผนัง คาน เสา
    [​IMG]

    ด้านซ้ายของหมู่พระประธาน เป็นมุขสถิตพระพุทธมหาธรรมิกราช ที่ว่ากันว่าพระศรีอาริยเมตไตรยรับการถวายด้วยพระองค์เอง http://www.gmwebsite.com/webboard/Topic.asp?TopicID=Topic-071014220120918
    [​IMG]

    ใครมาทำบุญวัดพระพุทธบาทสี่รอยช่วงนี้ ยังมีโอกาสได้ปิดทองลูกนิมิต รีบ ๆ หน่อยเด้อ
    [​IMG]

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสร้างพระใหญ่เมืองอุบล “พระเจ้าแสนหลวง” พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร
     
  15. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +581
    รถทะเบียนอุบลฯ ได้มาแอ่วงานปีวัดพระพุทธบาทสี่รอยตวย ปีนี้ซุ้มประตูยังไม่เสร็จ จึงเลื่อนการยกฉัตร และพระพุทธรูปขึ้นสู่ซุ้มประตูไปก่อน
    [​IMG]

    พ่อใหญ่พลวัย ๘๑ ปีจากอุบลฯ นั่งอย่างมั่นใจท้ายรถกระบะที่ร่วมกับวัดพระพุทธบาทสี่รอยพาผู้มีจิตศรัทธาลงไปวัดหนองก๋าย จุดเริ่มต้นของการเตียวขึ้นดอย ๑๖ กิโลเมตร
    [​IMG]

    พระอาทิตย์ลับขอบฟ้าแล้ว อากาศเย็นสบายดีมาก ๆ ใครไม่มา ไม่รู้ หนทางคดเคี้ยวเลี้ยวลดอย่างไม่ธรรมดา
    [​IMG]

    และแล้ว เราก็ถึงวัดหนองก๋าย โรงทานเพียบทั้งในและนอกวัด
    [​IMG]

    หลวงพ่อใหญ่ชัยมงคล พระประธานประจำโบสถ์วัดหนองก๋าย อายุกว่า ๑,๓๐๐ ปี โบสถ์วัดหนองก๋ายไม่ได้ใหญ่โต แต่ตบแต่งดูดีมาก ๆ
    [​IMG]

    บริเวณลานอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัยเป็นที่ตั้งของขบวนอัญเชิญน้ำหลวงสรงพระพุทธบาทสี่รอย พระทันใจ พระสังกัจจายน์ และพระสิวลีที่จะประดิษฐานบนซุ้มประตู ด้านหลังที่กำลังก่อสร้างเป็นเจดีย์พุทธคยาจำลอง
    [​IMG]

    พ่อใหญ่พลพร้อมไม้เท้าคู่ใจ ท่านคิดว่าพ่อใหญ่พลวัย ๘๑ ปี จะเดินไปถึงวัดพระพุทธบาทสี่รอยหรือไม่? เพราะหนทางชันมาก และไกลถึง ๑๖ กิโลเมตร!
    [​IMG]

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสร้างพระใหญ่เมืองอุบล “พระเจ้าแสนหลวง” พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 มีนาคม 2014
  16. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +581
    แม้แต่ผมเองก็คาดไม่ถึงว่าพ่อใหญ่พลจะใช้วิชาตัวเบาเดินถึงพระพุทธบาทสี่รอยตอนตีสองกว่า ๆ ในขณะที่ผมเองถึงตอนเกือบหกโมงเช้า สุดยอดจริง ๆ ครับ

    บรรยากาศตอนเตียวขึ้นดอยดีมาก ๆ แสงสว่างจากแสงจันทร์ก่อนคืนเป็ง ก็สว่างเพียงพอต่อการเดิน ทุกก้าวคือแรงศรัทธาสร้างบุญอันยิ่งใหญ่ ด้วยการใช้วิริยะพาร่างกายอันหนักอึ้งขึ้นไปบูชาคุณแห่งพระพุทธเจ้าที่พระพุทธบาทสี่รอย

    + + + + + + + + + + +

    แม้มีเพียงแสงจันทร์ เรามุ่งมั่นเดินต่อไป
    [​IMG]

    หุบเขาธารน้ำไหล กลางป่าดงแดนสวรรค์
    [​IMG]

    เสบียงแห่งศรัทธา ผู้คนมาร่วมแบ่งปัน
    [​IMG]

    สู่ทางที่ท้าฝัน มิมีวันจะท้อถอย
    [​IMG]

    มองเห็นประตูชัย คือหลักชัยที่รอคอย
    [​IMG]

    คืนเดียวเตียวขึ้นดอย แสนสุขใจตี้ได้เตียวฯ
    [​IMG]

    บรรยากาศขณะขบวนอัญเชิญน้ำหลวงผ่านหมู่บ้านพระพุทธบาทสี่รอยก่อนเข้าวัด
    [​IMG]

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสร้างพระใหญ่เมืองอุบล “พระเจ้าแสนหลวง” พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร
     
  17. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +581
    ยอดเงินล่าสุด ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๗

    ขอผลบุญใหญ่แห่งพระเจ้าแสนหลวงจงส่งผลให้ทุกท่านที่ร่วมบุญมีแนวชีวิตรุ่งโรจน์ด้วยเทอญ

    + + + + + + + + + + +

    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]

    [​IMG]

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสร้างพระใหญ่เมืองอุบล “พระเจ้าแสนหลวง” พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร
     
  18. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +581
    เสาร์ที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๗

    + + + + + + + + + + +

    [​IMG]

    เสร็จงานเตียวขึ้นดอย รับประทานอาหารเช้าจากโรงทาน ข้าวเหนียว ไก่ทอด ทอดมัน และเกี๊ยวกุ้งจากซีพี อาหารการกินบริบูรณ์มาก ก็ลงจากพระบาทสี่รอยราวแปดโมงกว่า เพื่อไปวัดสันพระเจ้าแดง อ.บ้านธิ จ.ลำพูน เพื่อนมัสการครูบากฤษดา ครูบากฤษดาเป็นตุ๊อายุน้อยใจดีมีเมตตามาก ชื่อเสียงของท่านระบือไกลไปถึงฮ่องกง สองวันก่อนตอนอยู่อุตรดิตถ์ได้โทรศัพท์สอบถามศิษย์ใกล้ชิดท่านว่าท่านจะว่างช่วงไหน ท่านบอกว่าวันเสาร์ช่วง ๑๐ ถึง ๑๑ โมง ก็เลยต้องรีบลงเพราะไม่เคยมา และไม่คุ้นทาง มาถึงก็เห็นแขกชาวไทยกลุ่มหนึ่ง และชาวจีนกลุ่มหนึ่ง หลังจากนมัสการท่าน ก็เรียนท่านว่ามางานเตียวขึ้นดอยนมัสการพระพุทธบาทสี่รอย พ่อใหญ่พลวัย ๘๑ ปีก็ได้เตียวด้วย ท่านบอกว่าได้ขึ้นปีละครั้งทำให้แข็งแรงดี และท่านก็จารไม้เท้าที่พ่อใหญ่พลใช้เตียวขึ้นดอยให้ ส่วนตัวถือว่าเป็นเคล็ดแห่งการค้ำจุนดวงชะตา เพราะได้ไม้เท้าค้ำร่างกายทำความดีที่ยากลำบากจนสำเร็จ พอจารเสร็จก็นำไม้เท้าห่อผ้าขาวไว้ จากนั้นก็ขอให้ท่านช่วยจารแผ่นทองชนวนแผ่นหนึ่งเพื่อนำไปสร้างพระเจ้าแสนหลวง ท่านก็จารยันต์รูปพระที่ท่านใช้ประจำให้ วัดของท่านกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง ใครสนใจจะร่วมบุญก็เป็นโอกาสของชีวิต ท่านเก่งและมีเมตตามาก วันนี้ยังพบท่านง่าย วันหน้าท่านอาจมีภารกิจมากตามอายุที่เพิ่มอาจพบยากขึ้น

    ครูบากฤษดา อายุ ๓๖ ปี แม่ใหญ่สุนทรา ฉวีรักษ์ อายุ ๘๙ ปี และพ่อใหญ่กำพล แก้วพรหม อายุ ๘๑ ปี
    [​IMG]

    แผ่นทองแดงชนวนสำหรับหล่อพระเจ้าแสนหลวงที่ครูบากฤษดาเมตตาจารให้
    [​IMG]

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสร้างพระใหญ่เมืองอุบล “พระเจ้าแสนหลวง” พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร
     
  19. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +581
    จากนั้นก็รับประทานอาหารกลางวันในอำเภอบ้านธิ แล้วก็เข้าลำพูนไปวัดพระธาตุหริภุญไชย ตามด้วยวัดจามเทวี (รูปข้างล่าง) สถานที่บรรจุอัฐิของพระแม่เจ้าจามเทวีเพื่อขอบารมีท่านอีกครั้งในการสร้างพระเจ้าแสนหลวง

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสร้างพระใหญ่เมืองอุบล “พระเจ้าแสนหลวง” พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร
     
  20. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +581
    จากลำพูน ก็เข้าลำปางไปวัดพระธาตุลำปางหลวงให้ญาติมิตรจากอุบลได้นมัสการพระธาตุลำปางหลวง

    [​IMG]
    รูปบน พระธาตุวัดไหล่หินอายุกว่า ๒,๐๐๐ ปี สถาปนาโดย ๒ พระอรหันต์ยุคพระศรีธรรมโศกราช แม่ใหญ่สุนทรายืนถือไม้เท้า พ่อใหญ่กำพลกำลังปิดทองพระพุทธรูป

    ไม่ไกลจากวัดพระธาตุลำปางหลวงก็ไปวัดไหล่หินหลวง ครูบากฤษดาแนะนำให้มา ท่านเล่าให้ฟังว่าพระบรมธาตุที่พระธาตุลำปางหลวงแบ่งมาจากวัดไหล่หินหลวง เพราะช้างที่นำพระบรมธาตุจากอินเดียในสมัยพระศรีธรรมโศกราช มาหยุดอยู่ที่บริเวณวัดไหล่หินขณะจะนำไปประดิษฐานที่พระธาตุลำปางหลวงเมื่อปี พ.ศ. ๒๑๘ พระอรหันต์ ๒ รูป คือ พระกุมารกัสสปเถรเจ้า และพระเมฆิยเถรเจ้า พิจารณาแล้วเห็นว่าม่อนหินแห่งนี้สมควรสร้างพระเจดีย์บรรจุพระอัฐิของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงสร้างพระธาตุสูง ๔ ศอก และพยากรณ์ว่าจะได้ชื่อ “วัดเสลารัตนปัพพตาราม” หรือ “วัดไหล่หินหลวงแก้วช้างยืน” ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พระบรมธาตุที่อัญเชิญมาเป็นส่วนของกรุงราชคฤห์ที่พระศรีธรรมโศกราชทรงอัญเชิญมาประดิษฐานที่ปาตรีบุตรนครก่อนจะมาสู่เขลางค์นคร ปัจจุบันพระธาตุไหล่หินอายุ ๒,๓๓๙ ปี ด้วยพระธาตุวัดไหล่หินได้รับการบรรจุพระบรมธาตุก่อน ผู้เฒ่าผู้แก่จึงเล่าสืบ ๆ กันมาว่าวัดไหล่หินเป็นพี่วัดพระธาตุลำปางหลวง

    [​IMG]

    [​IMG]
    รูปบน ครูบาป่าใหญ่เกสระปัญโญ

    วัดไหล่หินยังเกี่ยวข้องกับเชียงตุง ครูบาป่าใหญ่เจ้าเกสระปัญโญ (เกิด พ.ศ. ๒๑๗๓ อุปสมบท พ.ศ. ๒๑๙๓) ได้สถิตวัดไหล่หินตั้งแต่ยังเป็นสามเณรอายุ ๘ ปี ท่านเป็นสามเณรที่แปลก ไม่คลุกคลีกับหมู่คณะ ใช้จีวรสีคล้ำ ไม่ชอบท่องตำรา วันหนึ่งพระอาจารย์ให้ท่านเทศน์มหาชาติกัณฑ์มหาพล ท่านกลับสาธยายได้ตามใบลานโดยไม่ต้องดูอย่างน่าอัศจรรย์ นอกจากนี้ท่านถูกทดสอบด้วยการดึงเชือกออกจากผูกตำราและนำมาคละกันเป็นกองใหญ่กองเดียว ท่านก็เรียงตำราตามลำดับตามผูกได้อย่างน่าอัศจรรย์

    เมื่อราว พ.ศ. ๒๒๒๖ (ร่วมสมัยกับเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กที่บูรณะพระธาตุพนมเมื่อปี พ.ศ. ๒๒๓๓) ครูบามหาป่าเจ้าได้ไปบิณฑบาตที่เชียงตุงซึ่งอยู่ไกลจากวัดไหล่หินเป็นประจำ เมื่อมีผู้คนถามท่านว่ามาจากวัดใด ท่านก็บอกว่ามาจากวัดขบบ่แตก สืบเสาะหาวัดแถบนั้น ก็ไม่มีวัดชื่อนี้ เจ้าฟ้าเชียงตุงจึงถวายบิณฑบาตเป็นมะพร้าวครึ่งซีกแล้วขอให้ท่านฉันเนื้อมะพร้าวนั้นแล้วให้เก็บกะลาไว้ ท่านจะตามไปเอากะลาทีหลัง ส่วนอีกครึ่งซีกพระองค์ทรงเก็บไว้เปรียบเทียบ หลังจากนั้นก็ให้เสนาตามหาว่าพระสงฆ์รูปใดมีมะพร้าวครึ่งซีก ตามหามานาน ๗ เดือนจนมาพบครูบาป่าใหญ่ที่วัดไหล่หินเพราะกะลามะพร้าวเข้ากันสนิทดี เจ้าฟ้าเชียงตุงทรงมีศรัทธามาก จึงสร้างวิหารและซุ้มประตูโขงไว้ จนถึงปัจจุบันก็อายุ ๓๓๑ ปีแล้ว ที่นี่เป็นวัดเล็ก ๆ แต่เข้มขลังด้วยมรดกทางสถาปัตยกรรมล้านนาโบราณ ดังเห็นได้จากประตูโขง พระป่าใหญ่เจ้า เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดยุคโบราณเป็นที่สักการะบูชาของผู้คน ใครมีโอกาสลองมานมัสการวัดเล็ก ๆ แห่งนี้ดูนะครับ

    ครูบาป่าใหญ่เจ้าเกสระปัญโญ ถือเป็นปรมาจารย์ของตุ๊เจ้าบรมครูชาวลำปาง ได้แก่ ครูบาอินทรจักร วัดปงสนุกเหนือ, ครูบาเจ้าอโนชัยธรรม จินดาภิกขุ วัดปงสนุกใต้, ครูบานันตา นันโท วัดทุ่งม่านใต้, ครูบาธรรมชัย วัดปงสนุกใต้, ครูบาแก่น สุมโน วัดประตูป่อง, หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ และครูบาบุญเลิศ วัดทุ่งม่านใต้ เป็นต้น

    เสร็จจากวัดไหล่หินหลวงก็เย็นแล้ว จึงขับรถพักที่ตาก

    [​IMG]
    รูปบน ซุ้มประตูโขง วัดไหล่หิน

    [​IMG]
    รูปบน ซุ้มประตูโขงและวิหารที่สร้างสมัยครูบาป่าใหญ่เจ้า ร่วมสมัยกับเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กผู้บูรณะพระธาตุพนม

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสร้างพระใหญ่เมืองอุบล “พระเจ้าแสนหลวง” พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร
     

แชร์หน้านี้

Loading...