ร่วมสร้างพระศิลปะอีสาน "พระเจ้าแสนหลวง" หน้าตัก ๑ วา ๑ ศอก ๑ คืบ ถวายวัดเก่าหนองบัว

ในห้อง 'พระพุทธรูป - วิหารทาน - สิ่งก่อสร้าง' ตั้งกระทู้โดย มายศ, 11 มกราคม 2014.

  1. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +581
    เจ้าปางคำแห่งเชียงรุ่ง ต้นสายเจ้าหลวงเมืองหนองบัวลำภูและอุบล (ตอนที่ ๓/๓)

    + + + + + + + + + + +

    อ่านถึงตรงนี้ชาวอุบลพอเห็นภาพไหมว่าทำไมรอบอุบลที่ติดกับกัมพูชา เช่น สุรินทร์ ศรีสะเกษ จึงมีแต่พวกส่วย ข่า ที่เรียกรวม ๆ ว่าเขมรป่าดง และทำไมอุบลจึงเป็นเชื้อสายลาวอยู่กระจุกเดียว แถมเป็นลาวที่สำเนียงการพูดไม่เหมือนเวียงจันทน์ นั่นเป็นเพราะอพยพจากเชียงรุ่งมาหนองบัวลำภู นั่นเป็นเพราะพระวอและท้าวคำผงอพยพชาวหนองบัวลำภูมาดินแดนแถบอุบลเพื่อหนีอิทธิพลของพระเจ้าสิริบุญสาร ด้วยการมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระเจ้าไชยกุมาร ราชวงศ์จำปาศักดิ์ โอรสของเจ้าสร้อยสมุทรพุทธางกูร เหตุหนึ่งที่พระเจ้าไชยกุมารยอมรับทหารและครัวของพระตา พระวอ และท้าวคำผง น่าเป็นเพราะพระองค์ได้ราชบัลลังก์มาจากการยินยอมของแม่ญิงแพงผู้เป็นพี่น้องร่วมบิดากับพระตานั่นเอง

    การพบกันครั้งนี้ระหว่างราชวงศ์เชียงรุ่งและราชวงศ์จำปาศักดิ์เป็นชนวนแห่งความไม่เข้าใจกันอันเป็นธรรมดาของโลก อย่าลืมว่าเจ้าจำปาศักดิ์ก็สืบเชื้อสายมาจากเจ้าเวียงจันทน์ เมื่อเวียงจันทน์ถูกกรุงธนบุรีตีแตก ลึก ๆ ในใจเป็นใครก็ต้องคิดว่าเป็นเพราะเชื้อสายของเจ้าเชียงรุ่ง ในขณะที่เจ้าเชียงรุ่งก็ต้องคิดว่าตัวมีความชอบธรรมเพราะถูกเจ้าเวียงจันทน์ตามตีไม่หยุดหย่อน ไม่ทำเขาเขาก็ทำเรา แม้แต่ในครัวของเชื้อสายเจ้าเชียงรุ่งเองก็ต้องมีความคิดเป็นสองฝักสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคงคิดว่ายอมไปเถอะ จะได้จบ อีกฝ่ายหนึ่งก็คงคิดว่ายอมไม่ได้ เพราะถ้ายอมแล้วก็จะถูกย่ำยีอย่างหนัก เพราะฝ่ายตัวก็สูญเสียญาติมิตรมิใช่น้อย เพราะฝ่ายเวียงจันทน์ก็สูญเสียหนักจนเกิดความเจ็บแค้นฝังใจ

    ทำไมไม่มีใครโทษจีนฮ่อที่มาตีเมืองเชียงรุ่ง?
    ที่สำคัญ...ทำไมไม่มีใครโทษตัวเองที่เคยสร้างกรรมเก่าที่ไม่ดีไว้ ทำให้ต้องมารับวิบากกรรมเหล่านี้?

    ถ้าเราไม่หยุดการจองเวร เวรก็จะจองจำเราเรื่อยไป การสร้างพระเจ้าแสนหลวงมีเจตนาเพื่อดับเหตุดับปัจจัยแห่งการจองเวรซึ่งกันแลกัน พร้อม ๆ กับการสร้างกรรมใหม่ที่ดีเพื่ออนาคตที่ดีกว่า

    [​IMG]

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสร้างพระใหญ่เมืองอุบล “พระเจ้าแสนหลวง” พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร
    คลิกที่นี่: ศุกร์เสาร์ที่ ๑๔-๑๕ มี.ค. ๕๗ เตียวขึ้นดอย.104/สรงน้ำพระพุทธบาทสี่รอย แม่ริม เชียงใหม่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 มีนาคม 2014
  2. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +581
    ศุกร์ ๗ มี.ค. ๒๕๕๗ ไหว้หลวงพ่อทองจันทร์ ที่พักสงฆ์หุบเขาผาจันทร์ (๑/๖)

    + + + + + + + + + + +

    [​IMG]

    ออกเดินทางราวตีสี่ รับป้านพรัตน์ ผานิบุศย์ ศิษย์ฆราวาสที่ทันคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม แถวคลองจั่นราวตีสี่ครึ่ง แล้วก็ขับรถมุ่งหน้าไปนมัสการและถวายภัตตาหารหลวงพ่อทองจันทร์ พุทฺธญาโณ ณ ที่พักสงฆ์หุบเขาผาจันทร์ ปากช่อง ถึงหุบเขาผาจันทร์ก่อน ๗ โมงเช้าเล็กน้อย หลวงพ่อทองจันทร์ฉันอาหารแบบธรรมชาติบำบัด ๑ วัน และฉันอาหารแบบปกติอีก ๒ วัน ฉันสลับแบบนี้ไปเรื่อย ๆ เพราะท่านเคยมีปัญหาสุขภาพ ปัจจุบันท่านสุขภาพดีขึ้นเยอะ ครั้งก่อนที่กราบท่าน ท่านเล่าว่าพรสี่ที่พระให้ อายุ วรรณะ สุขะ พละ เมื่อได้รับแล้วคนรับก็ต้องเอาไปทำเองด้วยจึงจะได้ผล เช่น อยากมีพละดีคือมีกำลังก็ต้องกินอาหารดี ๆ (อาหารมีประโยชน์ ปริมาณพอดี สารพิษตกค้างไม่มี) เป็นต้น ของที่คุณป้านพรัตน์และผมนำไปถวายได้แก่น้ำดื่ม นมจืดยูเอสที มะละกอสุก น้ำผึ้ง ช็อกโกแลตดำที่ไม่ผสมนม ของที่โยมทำถวายที่โรงครัวได้แก่ ข้าวสวยที่มีสีอมม่วง ๆ ต้มจืดปลาซัลมอน ต้มจืดไข่น้ำใส่เห็ด ผัดผักกาดขาวใส่เห็ด มะม่วง มะละกอ ส้มตำ น้ำพริกตาแดง สลัดผัก ขนมแป้งทอดชิ้นยาว ๆ เคลือบน้ำตาล

    หลวงพ่อทองจันทร์เป็นพระที่มีปฏิภาณดีมาก ปัจจุบันอายุ ๖๐ ปี คุณป้านพรัตน์วัยย่างเข้า ๘๔ ปี มีความอิ่มใจมากที่ได้นมัสการและถวายภัตตาหารท่าน และท่านก็เมตตาบอกให้ป้านพรัตน์ประเคนภัตตาหารเองกับมือ (หลายคนไม่ประเคนของเองกับมือ ทำให้บุญได้ไม่เต็มที่ตามแบบสัตบุรุษ สังเกตดู แม้แต่ในหลวงยังทรงประเคนของถวายด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง) ป้านพรัตน์ก็เลยขอให้ท่านอยู่จนถึงร้อยปี ท่านยิ้มแล้วก็ตอบกลับด้วยเสียงเนิบ ๆ สั้น ๆ คม ๆ ว่าถ้าอาตมาอยู่ โยมก็อยู่ด้วย จากนั้นต่างฝ่ายก็ต่างยิ้ม

    รูปที่อยู่ด้านบน ถ่ายไว้เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๖ ตอนนั้นหลวงพ่อทองจันทร์เพิ่งจะครบ ๕ รอบ ผมก็เลยพิมพ์รูปขนาด ๑๒x๑๘ นิ้ว ไปให้ท่านพิจารณา เพื่อขอพิมพ์ถวายท่าน ท่านกะให้ว่ารูปที่จะพิมพ์ควรมีความกว้างประมาณความยาวของรูปนี้ ก็เลยว่าจะพิมพ์รูป ๒๐x๒๔ นิ้ว ถวายท่าน (ใบละ ๗๕ บาท ที่ร้านจักรวาลโฟโต้ ห้าแยกลาดพร้าว) เมื่อไปรายงานความคืบหน้าของงานสร้างพระเจ้าแสนหลวงและนำแผ่นทองขอท่านกระทำอนุโมทนาก่อนสงกรานต์ศกนี้ สำหรับเป็นสังฆานุสติ จำนวนยังไม่ทราบเพราะคงไม่ได้ทำคนเดียว คงอาศัยบอกบุญต่อกับญาติมิตรด้วย แต่เบื้องต้นคาดว่าน่าจะไม่เกิน ๑๑๑ ใบ

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสร้างพระใหญ่เมืองอุบล “พระเจ้าแสนหลวง” พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร
    คลิกที่นี่: ศุกร์เสาร์ที่ ๑๔-๑๕ มี.ค. ๕๗ เตียวขึ้นดอย.104/สรงน้ำพระพุทธบาทสี่รอย แม่ริม เชียงใหม่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 มีนาคม 2014
  3. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +581
    ปฏิรูปงานบุญเพื่อผลไพศาลข้ามภพข้ามชาติ ตอนที่ ๑

    โดย สยาม สงวนรัมย์

    + + + + + + + + + + +

    [​IMG]

    หลายคนคงจำประโยคนี้ได้ในแผ่นพับ “พระเจ้าแสนหลวง พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร” ไม่ได้เขียนเล่น ๆ แต่ทำจริง ๆ ปฏิรูปงานบุญ ไม่ได้แปลว่าเปลี่ยนแปลงให้ผิดแบบ แต่หมายความว่าเปลี่ยนแปลงให้ตรงแบบ

    บางคนซื้อน้ำเต้าหู้ถวายพระตอนกลางคืน บางคนเข้าใจว่าอาหารที่ไม่เคี้ยว กินแล้วกลืนเอา ถวายพระตอนเย็นได้ บางคนคิดว่าน้ำแตงโมก็เป็นน้ำปานะ ทั้งหมดที่คิดไม่เป็นอย่างที่คิด ถวายพระไปบุญก็ได้ไม่เต็ม เพราะพระฉันแล้วอาบัตินั่นเอง

    คนไม่คุ้นกับกฎก็คิดว่ากฎเป็นเรื่องจุกจิกน่ารำคาญ อาจเสียเปรียบคนรู้กฎในทุกกาลทุกสถาน ถ้าคุณจะเป็นนักบริหารคุณต้องรู้สองเรื่องคือเรื่องเงินกะเรื่องกฎ เพราะงานเดินเพราะเงิน อำนาจเดินเพราะกฎ ทน ๆ จำแล้วทำตามกฎ คุณจะไม่เสียเปรียบใคร เมื่อทน ๆ ทำไปนาน ๆ กฎจะเป็นธรรมชาติประจำตัวคุณ คุณจะรุ่งเรืองเอง

    เรื่องของพระก็เช่นเดียวกัน พระสงฆ์สูงส่งขนาดพระมหากษัตริย์ต้องทรงไหว้ ถ้าไม่มีกฎคงจะวุ่นวายกันน่าดู การเรียนรู้กฎเริ่มจากการแจกแจงเป็นข้อๆ แล้วก็จำรายละเอียด ใครไม่จำรายละเอียด สุดท้ายก็จะเข้าใจผิดแล้วก็ทำผิดกฎ

    กฎของพระมาจากพระธรรมวินัย การถวายอาหารหรือยาให้พระต้องมีกฎ อันเป็นประโยชน์ต่ออุบาสกอุบาสิกา เพราะจะได้บุญเต็ม และเป็นประโยชน์ต่อภิกษุสงฆ์ เพราะจะได้มีศีลบริสุทธิ์ ไม่เสี่ยงต่อการปาราชิกข้อหาขโมยของราคา ๑ มาสก

    พระอาจารย์เปลี่ยน ปญฺญาปทีโป วัดอรัญญวิเวก (รูปบน) ได้เรียบเรียงหนังสือ “การถวายสิ่งของแด่พระภิกษุสงฆ์ที่ญาติโยมควรปฏิบัติ” ท่านเขียนไว้ในคำนำว่า “การทำบุญทำกุศลที่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนานั้น ผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลายควรจะรู้จักกาลเทศะว่าสิ่งของใดที่ควรนำมาบริจาคทานการกุศล และสิ่งของใดควรถวายเวลาไหน เรียกว่ารู้จักกาลัญญุตา”


    [​IMG]

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสร้างพระใหญ่เมืองอุบล “พระเจ้าแสนหลวง” พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร
    คลิกที่นี่: ศุกร์เสาร์ที่ ๑๔-๑๕ มี.ค. ๕๗ เตียวขึ้นดอย.104/สรงน้ำพระพุทธบาทสี่รอย แม่ริม เชียงใหม่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 มีนาคม 2014
  4. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +581
    ปฏิรูปงานบุญเพื่อผลไพศาลข้ามภพข้ามชาติ ตอนที่ ๒ (ต่อ)

    โดย สยาม สงวนรัมย์

    + + + + + + + + + + +

    พระธรรมวินัยเรียกของที่ถวายให้พระฉันได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดว่า “กาลิก” และกาลิกก็มี ๔ อย่าง คือ อย่างแรกคืออาหารทั่วไป บางที่เรียกว่าโภชนะทั้งห้า บาลีคือ “ยาวะกาลิก” ภิกษุฉันได้ตอนเช้าถึงเที่ยงวัน กี่มื้อก็ได้ เช้าไม่เช้าให้สังเกตจากความสว่างจนมองเห็นลายมือ หรือสังเกตจากความสว่างที่มากพอสำหรับการแยกสีในระยะห่างสามเมตรได้ว่า นี่ใบไม้อ่อน นี่ใบไม้แก่ ดังนั้นใครใส่บาตรตอนเช้ามืดเกินไป ก็เป็นการผิดพระวินัย ถ้าอ่านพระไตรปิฎกอย่างพิจารณา เมื่อฟ้ายังไม่สว่างพอจะบิณฑบาต พระอานนท์เถระอาจรอเวลาด้วยการไปฟังสำนักนั้นสำนักนี้สอนแล้วนำสิ่งที่สำนักต่าง ๆ สอนสอบถามกับพระผู้มีพระภาคเจ้าภายหลัง

    การรักษาอุโบสถศีล อันประกอบด้วยองค์แปด หนึ่งในศีลที่อธิษฐานคือการไม่กินอาหารยามวิกาล ก็ถือแบบแผนตามพระธรรมวินัย เพราะถือเป็นการรักษาอุโบสถศีลตามแบบอย่างที่พระอริยเจ้าปฏิบัติ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสรรเสริญ

    กาลิกอย่างที่สองคือน้ำปานะ หรือ “ยามะกาลิก” นี่เป็นกาลิกที่ชวนสับสนและเข้าใจผิด พระอาจารย์เปลี่ยนเขียนไว้ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตเฉพาะผลไม้ที่ไม่ใหญ่เกินขนาดส้มเขียวหวาน และให้มีเมล็ด ดังนั้นน้ำส้มโอ น้ำแตงโม ไม่ได้แน่นอน เพราะใหญ่กว่าส้มเขียวหวาน น้ำองุ่นไร้เมล็ดก็ไม่ได้เพราะไม่มีเมล็ด ผลมะปรางสุกนี่ถือเป็นข้อห้ามพิเศษ เพราะเนื้อละเอียดลอดผ้าได้ จึงนับเป็นอาหารทั่วไปหรือกาลิกประเภทแรก อย่างไรก็ตาม ให้ระวังว่าน้ำปานะจะบูดเป็นเมรัยถ้าเก็บไว้เกินเที่ยงคืน (ถ้าเก็บไว้ในที่เย็นก็แล้วไป)

    การกรองน้ำปานะตามพระวินัยต้องใช้ผ้ากรองอย่างน้อย ๗ ชั้น เพื่อไม่ให้เนื้อผลไม้ลอดผ้าจนนับเป็นอาหาร การทบผ้ากรองหนึ่งครั้งได้ ๒ ชั้น การทบผ้ากรองสองครั้งได้ ๔ ชั้น การทบผ้ากรองสามครั้งได้ ๘ ชั้น อ้าว! แล้วทำไมพุทธบัญญัติจึงมีแค่ ๗ ชั้น น่าจะเป็นเพราะการเผื่อผ้ากรองมีรูทะลุ เวลาทบผ้าโอกาสที่รูทะลุจะตรงกันมีน้อยมาก เพราะรูทะลุเล็กมากเมื่อเทียบกับพื้นที่ผ้ากรอง ทำให้ทุกจุดในผ้ากรองที่มีรูทะลุก็ยังคงถูกกรองด้วยผ้ากรอง ๗ ชั้น ถูกต้องตามพระธรรมวินัย!

    ลองทำน้ำปานะให้ถูกตามพระวินัย ๑๐๐% กับมือตัวเองสำหรับถวายพระดูนะครับ ความรู้สึกในการทำด้วยศรัทธาสุดยอดมาก ทำแบบนี้ครั้งเดียวในชีวิต ผมว่าได้ผลบุญไพศาลกว่าทำแบบไม่รู้และผิดพระวินัยไปเรื่อย ๆ ตลอดชีวิต ของแบบนี้ ใครทำใครได้ ขอให้โชคดีครับ

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสร้างพระใหญ่เมืองอุบล “พระเจ้าแสนหลวง” พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร
    คลิกที่นี่: ศุกร์เสาร์ที่ ๑๔-๑๕ มี.ค. ๕๗ เตียวขึ้นดอย.104/สรงน้ำพระพุทธบาทสี่รอย แม่ริม เชียงใหม่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 มีนาคม 2014
  5. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +581
    ปฏิรูปงานบุญเพื่อผลไพศาลข้ามภพข้ามชาติ ตอนที่ ๓ (ต่อ)

    โดย สยาม สงวนรัมย์

    + + + + + + + + + + +

    บางคนอ่านแล้วก็คิดว่าแค่น้ำปานะต้องทำขนาดนี้เลยหรือ คำตอบคือ “ใช่” ผลไพศาลของบุญในเขตนาบุญพระพุทธศาสนามีไว้สำหรับคนคิดต่าง คิดต่างจากคนอื่นในการปฏิบัติตรงอย่างไม่ลังเล แต่กลับคิดเหมือนตามแนวทางที่พระพุทธเจ้าสอน ดังนั้นมีเพียงคนที่คิดต่างในความคิดเหมือนเท่านั้นที่มีสิทธิ์ตีตั๋วเข้าสู่กระแสโลกุตรธรรม

    กาลิกอย่างที่สามนี้ เรียกว่า “สัตตาหะกาลิก” สำหรับผมถือเป็นอาวุธลับในการสร้างบุญบารมี เพราะถวายพระสงฆ์ได้ตลอดเวลา พระอาจารย์เปลี่ยนเขียนไว้ว่ากาลิกแบบนี้พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้ ๗ วัน ครบ ๗ วันยังฉันไม่หมดต้องสละให้สามเณรหรือญาติโยมไป

    กาลิกนี้ ได้แก่ น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำตาล เนยใส เนยแข็ง ช็อกโกแลตที่ไม่ผสมนม (มักเขียนว่า Dark chocolate และต้องอ่านส่วนผสมตัวเล็ก ๆ ภาษาอังกฤษว่ามีนมหรือไม่ ถ้ามีก็จัดเป็นกาลิกประเภทแรก) สัตตาหะกาลิกทำให้เราไม่ต้องกังวลว่าพระจะฉันเพลหรือยัง และสมัยนี้ก็มีสัตตาหะกาลิกขายเต็มไปหมดแม้แต่ที่ร้านเซเว่น

    หลายปีก่อน ผมและภรรยาเคยไปถวายน้ำผึ้งตอนบ่ายกับหลวงพ่อทองอินทร์ วัดกลางคลองสี่ ปทุมธานี ท่านรู้พระธรรมวินัยดี คนอื่นเข้าแถวอยู่หน้าผม ท่านไม่ให้ถวายกับมือเพราะติดที่เป็นยาวะกาลิก แต่เราสองคนได้ถวายกับมือเพราะเป็นสัตตาหะกาลิก

    สัตตาหะกาลิกมีข้อควรระวังคือถ้าถวายพร้อมอาหารอื่นก่อนเที่ยง ควรแยกภาชนะ หรือห่อให้มิดชิด เพราะการปนเปื้อนกับกาลิกที่มีอายุสั้นกว่า จะทำให้มีอายุเท่ากับกาลิกที่มีอายุสั้นนั้น แทนที่จะฉันได้ ๗ วัน ก็ฉันได้แค่ไม่เกินเที่ยงถ้าปนกับอาหารทั่วไป

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสร้างพระใหญ่เมืองอุบล “พระเจ้าแสนหลวง” พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร
    คลิกที่นี่: ศุกร์เสาร์ที่ ๑๔-๑๕ มี.ค. ๕๗ เตียวขึ้นดอย.104/สรงน้ำพระพุทธบาทสี่รอย แม่ริม เชียงใหม่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 มีนาคม 2014
  6. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +581
    ปฏิรูปงานบุญเพื่อผลไพศาลข้ามภพข้ามชาติ ตอนที่ ๔ (ต่อ)

    โดย สยาม สงวนรัมย์

    + + + + + + + + + + +

    การรู้กลเม็ดเคล็ดไม่ลับในการถวายอาหารพระภิกษุสงฆ์ทำให้เพิ่มกุศลให้ตัวเองได้อย่างมหาศาล เพราะอาหารเป็นสิ่งที่พระภิกษุต้องฉันทุกวัน เหล่าญาติโยมจึงทำบุญนี้บ่อย เมื่อทำบ่อย ทำถูกต้อง ด้วยความมั่นใจ บุญก็ทบทวีเร็ว คนไม่เข้าใจ ปล่อยเขาไป ไม่เกินร้อยปีรู้ผลบนสวรรค์ เพราะบอกกันให้เชื่อเป็นของยาก เนื่องจากทั้งฝ่ายบอกและฝ่ายฟังต้องทำบุญร่วมกันนานทีเดียวกว่าจะยอมรับกัน จะว่าดูใจกันนานหลายภพหลายชาติก็คงไม่ผิด

    กาลิกอย่างสุดท้ายคือของกินที่เป็นยา เรียกว่า “ยาวะชีวิก” ถ้ายานั้นผสมน้ำผึ้ง น้ำอ้อย หรือผสมสัตตาหะกาลิกอื่น ๆ ก็จะไม่นับยาวะชีวิก แต่นับเป็นสัตตาหะกาลิกแทน ตามกฎการปนเปื้อนของกาลิก พระอาจารย์เปลี่ยนเขียนไว้ว่าพระภิกษุสามารถรับประเคนและเก็บฉันได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นยาน้ำ ยาเม็ด ยาผง ยาจากสมุนไพรธรรมชาติ ยาจากแร่ธาตุ ยาจากกระดูกสัตว์ เช่น กระดูกหมาดำ กระดูกไก่ดำ กระดูกกา กระดูกชะนี กระดูหัวงูจงอาง กระดูกหัวงูเห่า กระดูกอีแร้ง เปลือกหอย เป็นต้น ถ้าไม่มีสามเณรหรือญาติโยมมาจับ พระภิกษุฉันได้ตลอด ถ้ามีสามเณรหรือญาติโยมมาจับ ต้องรับประเคนใหม่ก่อนจึงฉันได้

    สำหรับพระภิกษุอาพาธ ไม่ใช่ว่าท่านจะฉันอะไรก็ได้ พระอาจารย์เปลี่ยนเขียนว่ามีพุทธานุญาตให้พระภิกษุอาพาธฉันอาหารได้เพียง ๒ อย่าง คือ น้ำแช่ข้าวจี่ กับน้ำต้มกระดูกหมูไม่ติดเนื้อ (ที่อาจผสมยาแบบยาหม้อจีน)

    ทิ้งท้ายไว้ว่า การฉันอาหารยามวิกาลของพระภิกษุ คิดแบบสะสมทรัพย์ ฉัน ๑ คำ ผิดศีล ๑ ข้อ พระอาจารย์เปลี่ยนยกตัวอย่างว่า ถ้าป่วยเดือนเดียว ฉันยามวิกาลตลอดไม่รู้ขาดไปกี่ข้อ (ข้อก็หมายถึงข้อเดิมแต่นับทบหลายครั้ง) เช่น วันนี้ฉัน ๑๐ คำ ก็ผิดศีล ๑๐ ข้อ วันต่อมาฉัน ๒๐ คำ ก็ผิดศีล ๒๐ ข้อ รวมสะสมแล้ว ๓๐ ข้อ ท่านเขียนว่าการฉันอาหารยามวิกาลเป็นบาป ผิดศีล และต้องอาบัติ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ให้ประมาทในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ

    เรื่องนี้สอนให้รู้ว่าถ้าเราเป็นโยมอุปัฏฐากพระภิกษุอาพาธ ดูแลท่านแบบผิด ๆ แทนที่จะได้บุญเหมือนอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า กลับเป็นการสะสมบาปหนักให้กับตัวเองเพราะความไม่รู้ แต่ถ้าเราวางแผนในการอุปัฏฐาก เช้าฉันนั่น เพลฉันนี่ บ่ายฉันน้ำปานะ เย็นฉันสัตตาหะกาลิก ค่ำฉันน้ำแช่ข้าวจี่หรือต้มกระดูกหมูไม่ติดเนื้ออุ่น ๆ ผสมยา เราย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดอย่างที่พระอาจารย์เปลี่ยนเขียนไว้ในคำนำของหนังสือ “การถวายสิ่งของแด่พระภิกษุสงฆ์ที่ญาติโยมควรปฏิบัติ” หนังสือดีที่ชาวพุทธทุกคนควรอ่านให้ขึ้นใจ (มีไฟล์ pdf บนอินเตอร์เนต)

    ข้าพเจ้าขอน้อมถวายผลบุญใหญ่แห่งการสร้างพระเจ้าแสนหลวง เพื่อบูชาคุณแห่งพระอาจารย์เปลี่ยน ปญฺญาปทีโป

    และขอผลบุญใหญ่แห่งการสร้างพระเจ้าแสนหลวง จงถึงแก่ทุกรูปทุกนามที่เกี่ยวเนื่องกับพระอาจารย์เปลี่ยน และผู้จัดพิมพ์หนังสือที่พระอาจารย์เปลี่ยนได้แต่งขึ้น

    [​IMG]

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสร้างพระใหญ่เมืองอุบล “พระเจ้าแสนหลวง” พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร
    คลิกที่นี่: ศุกร์เสาร์ที่ ๑๔-๑๕ มี.ค. ๕๗ เตียวขึ้นดอย.104/สรงน้ำพระพุทธบาทสี่รอย แม่ริม เชียงใหม่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 มีนาคม 2014
  7. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +581
    ศุกร์ ๗ มี.ค. ๒๕๕๗ ไหว้พระครูโสภณวชิรคุณ (สวาสดิ์ โนนปู่, ฉายากมโล) เจ้าอาวาสวัดวชิราลงกรณวราราม (๒/๖)

    + + + + + + + + + + +

    [​IMG]

    เกือบสิบเอ็ดโมงเดินทางจากที่พักสงฆ์หุบเขาผาจันทร์ไปถึงวัดวชิราลงกรณ์ เพื่อนมัสการเจ้าอาวาส และนำแบบเจดีย์ที่เจ้าอาวาสฝากให้หาแบบให้ ตามคำแนะนำของคุณป้านพรัตน์ ผานิบุศย์ ศิษย์ใกล้ชิดคุณแม่บุญเรือน เพื่อให้ท่านใช้แบบสร้างพระเจดีย์สำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ชัยภูมิ เมื่อท่านเลือกเสร็จจึงขอให้ท่านจารแผ่นทองแดงร่วมสร้างพระเจ้าแสนหลวง ท่านตั้งใจทำให้อย่างดี จากนั้นก็ลาท่านเพื่อเข้าไปดูการบูรณะบ้านสามัคคีวิสุทธิภายในวัดกับคุณป้านพรัตน์ บ้านที่คุณแม่บุญเรือนเคยใช้สั่งสอนลูกศิษย์ที่ในอดีตเคยอยู่ที่พระโขนง ก่อนละสังขาร คุณแม่บุญเรือนได้สั่งให้รื้อบ้านสามัคคีวิสุทธิถวายวัดวชิราลงกรณวราราม คุณป้านพรัตน์บอกว่าพอบ้านสามัคคีวิสุทธิเสร็จ (น่าจะช่วงปีใหม่ ๒๕๕๘) ท่านจะมาปฏิบัติธรรมเป็นปฐมฤกษ์ที่นี่ ๑ เดือน อนุโมทนาด้วยครับ

    คุณป้านพรัตน์ ผานิบุศย์ ศิษย์ใกล้ชิดคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม อายุย่างเข้า ๘๔ ปี
    [​IMG]

    พระอาทิตย์ทรงกลดใหญ่พิเศษเหนือบ้านสามัคคีวิสุทธิ วัดวชิราลงกรณวราราม วันบวงสรวงดีดบ้านฯ ๖ ก.ค. ๒๕๕๖
    [​IMG]

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสร้างพระใหญ่เมืองอุบล “พระเจ้าแสนหลวง” พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร
    คลิกที่นี่: ศุกร์เสาร์ที่ ๑๔-๑๕ มี.ค. ๕๗ เตียวขึ้นดอย.104/สรงน้ำพระพุทธบาทสี่รอย แม่ริม เชียงใหม่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 มีนาคม 2014
  8. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +581
    ศุกร์ ๗ มี.ค. ๒๕๕๗ เขียนแผ่นทองอุทิศบุญที่วัดสามัคคี ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา (๓/๖)

    + + + + + + + + + + +

    เสร็จกิจจากวัดวชิราลงกรณ์ที่ปากช่อง (สะพานลอยคนข้ามที่เลยฟาร์มโชคชัยไปทางโคราชนิดนึง วัดอยู่ฝั่งเดียวกับฟาร์มโชคชัย และต้องเข้าซอยประมาณ ๓๐๐ เมตร) ผมและคุณป้านพรัตน์ก็เดินทางไปวัดสามัคคี วัดที่เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์) สร้างขึ้นหลังจากรบได้ชัยชนะร่วมกับท้าวสุรนารีและชาวเมืองโคราชทั้งหลาย วัดอยู่นอกกำแพงเมืองทางทิศเหนือก่อนถึงวัดศาลาลอย จอดรถหน้าโบสถ์ นำแผ่นทองชนวนสองแผ่นอธิษฐานสร้างพระเจ้าแสนหลวงอุทิศให้กับเจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์) และทุกรูปทุกนามที่เกี่ยวเนื่องกับการรบกับสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ และที่เกี่ยวเนื่องกับวัดสามัคคี

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสร้างพระใหญ่เมืองอุบล “พระเจ้าแสนหลวง” พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร
    คลิกที่นี่: ศุกร์เสาร์ที่ ๑๔-๑๕ มี.ค. ๕๗ เตียวขึ้นดอย.104/สรงน้ำพระพุทธบาทสี่รอย แม่ริม เชียงใหม่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 มีนาคม 2014
  9. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +581
    ศุกร์ ๗ มี.ค. ๒๕๕๗ ไหว้อัฐิคุณย่าโมที่วัดศาลาลอย (๔/๖)

    + + + + + + + + + + +

    [​IMG]
    รูปที่ ๑ พระยาปลัดทองคำ สามีของท้าวสุรนารี (ย่าโม)


    ออกจากวัดสามัคคี เลี้ยวซ้ายไปไม่ถึงกิโลก็เจอป้ายทางเข้าวัดศาลาลอย ที่วัดมีเจดีย์บรรจุอัฐิท้าวสุรนารี หรือคุณย่าโม ไปถึงผมและคุณป้านพรัตน์ก็ไปไหว้พระในโบสถ์เก่าที่มีรูปปั้นพระยาปลัดทองคำ (รูปที่ ๑) สามีของคุณย่าโมยืนตระหง่านอยู่ด้านหน้า

    [​IMG]
    รูปที่ ๒ คุณป้านพรัตน์ ผานิบุศย์ กับพานวางแผ่นทองสร้างพระเจ้าแสนหลวง

    จากนั้นก็นำแผ่นทองชนวน ๒ แผ่นร่วมสร้างพระเจ้าแสนหลวงอุทิศบุญให้กับคุณย่าโมและทุกรูปทุกนามที่เกี่ยวข้องกับท่าน (รูปที่ ๒) แล้วก็ขึ้นไปไหว้หลวงพ่อขาว พระประธานปางห้ามสมุทร์ในโบสถ์ใหม่ (รูปที่ ๓) ป้านพรัตน์บอกว่ามาเที่ยวนี้ทางวัดบูรณะหลวงพ่อขาวเสร็จแล้ว มาครั้งก่อนโน้น ยังไม่ขาวแบบนี้ เสร็จแล้วก็ไปไหว้เจดีย์บรรจุอัฐิคุณย่าโม (รูปที่ ๔)

    [​IMG]
    รูปที่ ๓ หลวงพ่อขาว

    [​IMG]
    รูปที่ ๔ เจดีย์บรรจุอัฐิย่าโม มีต้นตาลแฝดขึ้นทางขวาด้วย

    ออกจากวัดศาลาลอย ก็เลี้ยวซ้ายแล้วรีบชิดขวาเพื่อเลี้ยวขวาเข้าในกำแพงเมือง ตรงไปราวร้อยเมตรก็ถึงร้านลุงใหม่เป็ดย่าง (โทร. ๐๘๗ ๘๖๘ ๑๔๘๗) ที่นี่ทั้งเป็ด ทั้งหมูกรอบ ทั้งเกี๊ยว รสชาติดีมาก ป้านพรัตน์เจริญอาหารเป็นพิเศษ รับประทานเสร็จก็ไปไหว้คุณย่าโมที่ประตูชุมพล ยังไม่ทันจอดรถดี ก็ต้องขับรถกลับไปที่วัดศาลาลอย เพราะลืมกระเป๋าที่ใส่แผ่นทองไว้ จอดรถเห็นคนโบกมือถามมาแต่ไกลว่าลืมกระเป๋าหรือเปล่า แล้วชี้ไปที่บริเวณเจดีย์บรรจุอัฐิของคุณย่าโม ไปถึงก็เห็นกระเป๋า และก็มีการแจกรูปหลวงพ่อกวย และคุณแม่บุญเรือนที่นั่น แล้วจึงบึ่งรถไปอนุเสาวรีย์ท้าวสุรนารีอีกครั้ง ต้องขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ช่วยให้กระเป๋ายังอยู่ เพราะเงินหาใหม่ได้ แต่แผ่นทองชนวนที่ไปขอบารมีที่นั่นที่นี่ และของผู้มีจิตศรัทธาจะหาใหม่ได้อย่างไร โชคดีจริง ๆ และต้องอนุโมทนาบุญคนที่เก็บกระเป๋า เพราะท่านได้เขียนแผ่นทองและร่วมบริจาคเงินสมทบทุนสร้างพระเจ้าแสนหลวงด้วย บุญสัมพันธ์จริง ๆ

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสร้างพระใหญ่เมืองอุบล “พระเจ้าแสนหลวง” พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร
    คลิกที่นี่: ศุกร์เสาร์ที่ ๑๔-๑๕ มี.ค. ๕๗ เตียวขึ้นดอย.104/สรงน้ำพระพุทธบาทสี่รอย แม่ริม เชียงใหม่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 มีนาคม 2014
  10. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +581
    ศุกร์ ๗ มี.ค. ๒๕๕๗ ขอบารมีคุณย่าโม (๕/๖)

    + + + + + + + + + + +

    [​IMG]

    ที่พลาดไม่ได้ในการเดินทางร่วมกับคุณป้านพรัตน์ครั้งนี้คือการมาขอบารมีคุณย่าโมเพื่อมาร่วมสร้างพระเจ้าแสนหลวง พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร บอกตามตรงว่ารู้สึกดีมากเมื่ออยู่หน้าอนุสาวรีย์คุณย่าโม และหน้าเจดีย์บรรจุอัฐิของท่านที่วัดศาลาลอย

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสร้างพระใหญ่เมืองอุบล “พระเจ้าแสนหลวง” พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร
    คลิกที่นี่: ศุกร์เสาร์ที่ ๑๔-๑๕ มี.ค. ๕๗ เตียวขึ้นดอย.104/สรงน้ำพระพุทธบาทสี่รอย แม่ริม เชียงใหม่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 มีนาคม 2014
  11. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +581
    ศุกร์ ๗ มี.ค. ๒๕๕๗ อุทิศบุญให้ดวงวิญญาณทุกดวงที่ทุ่งสัมฤทธิ์ อ.พิมาย (๖/๖)

    + + + + + + + + + + +

    [​IMG]

    แม้คุณป้านพรัตน์ ผานิบุศย์ อายุเกือบ ๘๔ ปี จะมาที่โคราชหลายครั้ง แต่นี่เป็นครั้งแรกในชีวิตที่ท่านมายังทุ่งสัมฤทธิ์ สมรภูมิแห่งชัยชนะของคุณย่าโมและครัวนครราชสีมา การต่อสู้อย่างไม่เสียดายชีวิตของนางสาวบุญเหลือ ที่ยอมพลีชีพเพื่อแผ่นดินอันเป็นที่รัก เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ที่ผ่านมาเป็นวันครบรอบ ๑๘๘ ปี ของการรบที่ทุ่งสัมฤทธิ์ คุณป้านพรัตน์ได้แผ่บุญกุศลที่ท่านสั่งสมมา และบุญกุศลแห่งการสร้างพระเจ้าแสนหลวง พระแห่งอภัยทานแลกัลยาณมิตร อุทิศให้ทุกดวงวิญญาณที่ยังอยู่ที่นี่อันเนื่องมาจากการรบที่ทุ่งสัมฤทธิ์ในครั้งนั้นด้วย

    [​IMG]

    วันนั้นคุณป้านพรัตน์ได้ลองเสี่ยงเซียมซีดู ๓ ครั้ง ได้เลข ๓-๔-๕ ซึ่งเป็นเลขเรียงกันและตรงกับวันจัดงานวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ ๓-๔-๕ มีนาคม ๒๕๕๗ อย่างพอดิบพอดี

    [​IMG]

    ประวัติและวีรกรรมของนางสาวบุญเหลือ (จากวิกิพีเดีย)

    [​IMG]

    นางสาวบุญเหลือ เป็นบุตรีของ หลวงเจริญ กรมการผู้น้อยแห่งเมืองนครราชสีมา ครอบครัวของหลวงเจริญ มีความใกล้ชิดสนิทสนมและเคารพนับถือพระยาปลัดเมืองนครราชสีมาและคุณหญิงโมเป็นอันมาก อีกทั้งพระยาปลัดเมืองและคุณหญิงโม ไม่มีบุตรและธิดา จึงได้รักและเอ็นดูนางสาวบุญเหลือดุจว่าเป็นลูกหลานแท้ ๆ

    เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๙ เจ้าอนุวงศ์แห่งนครเวียงจันทน์ได้ยกกองทัพเข้าแผ่นดินไทยจนถึงเมืองนครราชสีมา โดยอ้างว่ามีพระราชโองการให้ยกทัพไปกรุงเทพเพื่อช่วยรบกับอังกฤษ และเนื่องจากในขณะนั้นเจ้าเมืองนครราชสีมาและพระยาปลัดเมืองไม่อยู่ ไปราชการเมืองขุขันธ์ เจ้าอนุวงศ์จึงยกทัพเข้ายึดเมืองนคราชสีมาได้โดยง่าย แล้วกวาดต้อนผู้คนชาวนครราชสีมาเป็นเชลยขึ้นไปยังเวียงจันทน์ ในจำนวนเชลยเหล่านั้นมีคุณหญิงโมและนางสาวบุญเหลือรวมอยู่ด้วย

    [​IMG]

    ระหว่างที่กองทัพเจ้าอนุวงศ์และทหารลาวหยุดพักค้างแรมระหว่างเดินทางไปเวียงจันทน์ ณ ทุ่งสัมฤทธิ์ แขวงเมืองนครราชสีมา เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๖๙ คุณหญิงโมร่วมกับนางสาวบุญเหลือ และหลวงณรงค์สงคราม หัวหน้าชาวเมือง ได้ใช้กลอุบาย โดยให้ชาวเมืองเลี้ยงสุราอาหารแก่ทหารลาวที่ควบคุมตัวมา เมื่อทหารเจ้าอนุวงศ์หลงกลกินเหล้าเมายาจนขาดสติเกือบหมดกองทัพ เมื่อได้โอกาสอันเหมาะสมแล้ว กำลังชาวโคราชที่ทุ่งสัมฤทธิ์ทั้งชายและหญิงก็แย่งอาวุธโจมตีเข่นฆ่าทหารลาวจนล้มตายเป็นจำนวนมาก ทำให้แผนกอบกู้อิสรภาพของนครราชสีมาสำเร็จ
    และในเหตุการณ์ครั้งนั้น นางสาวบุญเหลือได้เสียสละพลีชีพด้วยการนำไม้ฟืนจากกองไฟ วิ่งหลอกล่อทหารตรงไปยังกองเกวียน กระสุนดินประสิวของกองทัพทหารลาวจนเกิดการระเบิด แสงเพลิงแดงฉานไปทั่วท้องทุ่งสัมฤทธิ์ การตัดสินใจด้วยปฏิภาณอันห้าวหาญเด็ดเดี่ยวในวีรกรรมครั้งนี้ของนางสาวบุญเหลือยังคงประทับแน่นอยู่ในความทรงจำของลูกหลานชาวนครราชสีมาตลอดไม่รู้ลืม ต่อมาทางราชการได้ถือเอาวันที่ ๔ มีนาคมของทุกปีเป็น “วันไทยอาสาป้องกันชาติ”

    [​IMG]

    ทริปนี้ต้องยกให้ความอดทนต่อการนั่งรถของคุณป้านพรัตน์ ผานิบุศย์ ออกจากบ้านมาตีสี่กว่า กลับถึงบ้านเกือบสามทุ่ม สุดยอดจริง ๆ สมแล้วที่เป็นศิษย์ใกล้ชิดคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม

    ยิ่งกว่านั้นการเดินทางใช้เส้นมิตรภาพเป็นหลัก เป็นเคล็ดแห่งกัลยาณมิตรจริง ๆ

    ขอผลบุญแห่งการสร้างพระเจ้าแสนหลวงจงเป็นพระกุศลแด่สมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ ตลอดจนทุกรูปทุกนามที่เกี่ยวข้องกับพระองค์

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสร้างพระใหญ่เมืองอุบล “พระเจ้าแสนหลวง” พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร
    คลิกที่นี่: ศุกร์เสาร์ที่ ๑๔-๑๕ มี.ค. ๕๗ เตียวขึ้นดอย.104/สรงน้ำพระพุทธบาทสี่รอย แม่ริม เชียงใหม่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 มีนาคม 2014
  12. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +581
    เมื่อวานเขียนเรื่องกาลิกเสร็จ ก็ไปที่ Tops ซื้อตัวอย่างสัตตาหะกาลิกที่พระอาจารย์เปลี่ยนเขียนถึง

    ตัวอย่างที่ ๑ ช็อกโกแลตดำ

    [​IMG]

    อ่านสลากดี ๆ ว่าไม่มีส่วนผสมของนมผง หรือ นมผงพร่องมันเนย มิฉะนั้นจะเป็นยาวะกาลิกแทน สนนราคาที่ผมซื้อมา ๓๕ กรัม คือ ๓๘ บาท หรือประมาณกิโลกรัมละ ๑ พันบาท อืม.. สัตตาหะกาลิกชนิดนี้มิใช่ของถูกนะขอรับ แต่การถวายของพระภิกษุสงฆ์ เราควรถวายของปราณีตตามกำลังที่มีมิใช่ฤๅ เท่าที่ผมสัมผัสจากการกินเองไปแท่งหนึ่ง (๓๕ กรัม) เมื่อคืนนี้ซึ่งไม่ได้กินข้าวเย็น ช็อกโกแลตดำจะละลายในปากแล้วให้สัมผัสคล้าย ๆ เนย กลืนลงแล้วกระเพาะรู้สึกดี น่าจะเหมาะกับการบรรเทาอาการโรคกระเพาะ อาการลมตีขึ้นจากกระเพาะอาหาร

    [​IMG]

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสร้างพระใหญ่เมืองอุบล “พระเจ้าแสนหลวง” พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร
    คลิกที่นี่: ศุกร์เสาร์ที่ ๑๔-๑๕ มี.ค. ๕๗ เตียวขึ้นดอย.104/สรงน้ำพระพุทธบาทสี่รอย แม่ริม เชียงใหม่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 มีนาคม 2014
  13. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +581
    ตัวอย่างที่ ๒ เนยแข็ง

    [​IMG]

    เนยแข็งก็คล้ายกับช็อกโกแลตดำ บางแบบจะผสมนมไว้เพื่อให้กินง่ายขึ้น ดังนั้นการเลือกซื้อเพื่อถวายพระเป็นสัตตาหะกาลิกต้องอ่านสลากให้ละเอียด สอบถามก่อนก็ดีว่าพระฉันเป็นไหม แต่ถ้าเป็นที่วัดป่านานาชาติคงไม่น่ามีปัญหาอะไร และทางที่ดีควรมีที่เก็บที่เป็นสัดส่วนและเย็นพอ มิฉะนั้นอาจมีหนูมาเยือน หรือรสชาติเปลี่ยนไปได้ สนนราคาที่ซื้อมาก็ ๒๕๐ กรับ ๑๖๕ บาท หรือกิโลกรัมละ ๖๖๐ บาท

    [​IMG]

    [​IMG]

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสร้างพระใหญ่เมืองอุบล “พระเจ้าแสนหลวง” พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร
    คลิกที่นี่: ศุกร์เสาร์ที่ ๑๔-๑๕ มี.ค. ๕๗ เตียวขึ้นดอย.104/สรงน้ำพระพุทธบาทสี่รอย แม่ริม เชียงใหม่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 มีนาคม 2014
  14. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +581
    ตัวอย่างที่ ๓ งบน้ำอ้อย หรือ น้ำอ้อยงบ

    พระธรรมวินัยอนุญาตให้พระภิกษุอาพาธฉันได้เลยในยามวิกาล ส่วนพระภิกษุผู้ไม่อาพาธให้ผสมน้ำก่อนจึงฉันได้ในยามวิกาล จัดเป็นสัตตาหะกาลิกราคาย่อมเยา งบหนึ่งเป็นแผ่นกลม ๆ บาง ๆ ขนาดราวฝ่ามือ ขายส่งก็แผ่นละ ๒ บาท ถุงหนึ่งมี ๑๐ แผ่น (ราคาอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามเวลาครับ)

    ยกมาจากบทความมาจาก “คุณบุญส่ง จอมดวง” เจ้าพนักงานเคหกิจเกษตรชำนาญงาน สำนักงานเกษตรอำเภอพรานกระต่าย กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง “น้ำอ้อยงบ บ้านบ่อโพง”

    ชมวิธีทำ "น้ำอ้อยงบ" ที่บ้านบ่อโพง หมู่ ๑๔ ตำบลถ้ำกระต่ายทอง อำเภอพรานกระต่าย เมื่อเช้านี้...หลังจากที่รอมาหลายปี...วันนี้...โชคดีที่ได้ดูและนำมาแบ่งปันทุกท่านครับ..

    ๑. ครอบครัวของ"พี่จำรัส" ยังคงสืบสานภูมิปัญญาเรื่องการทำ"น้ำอ้อยงบ" อยู่ ซึ่งตอนนี้ในอำเภอพรานกระต่ายเหลือคนทำน้ำอ้อยไม่มากแล้ว ฉะนั้น จึงถือว่าโชคดีที่เราได้ดูวิธีทำทุกขั้นตอนครับ...เริ่มต้นด้วยจะต้องใช้ "อ้อยพันธุ์สีนวน" ที่ตัดมา พี่เขาบอกว่าต้องใช้อ้อยพันธุ์นี้อย่างเดียวเท่านั้นถึงจะได้น้ำอ้อยงบที่ได้คุณภาพครับ.....

    [​IMG]

    ๒. ขั้นตอนแรกก็นำเอาลำอ้อยมาคั้นน้ำด้วยเครื่อง "หีบอ้อย" สมัยก่อนเขาจะใช้แรงงานจากสัตว์เลี้ยงเช่น วัว,ควาย มาช่วยหมุนเครื่องหีบอ้อย.....แต่สมัยนี้ไม่มีแล้ว...แต่ถึงจะใช้วิธีไหน ๆ สิ่งที่ต้องการคือ "น้ำอ้อย" นั่นเองครับ...

    [​IMG]

    ๓. ได้ "น้ำอ้อย" แล้วก็นำมา "ต้ม" บนเตาที่ใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง....ช่วงนี้ต้องปล่อยให้น้ำอ้อยเดือด และคอยช้อนฟองน้ำอ้อยออก กว่าจะได้น้ำอ้อย.... ต้องรอ ๆ ๆ ๆ ๆ

    [​IMG]

    ๔. ต้มไปจนกระทั่งได้ที่ คำว่า "ได้ที่" ผมว่าต้องใช้ประสบการณ์ที่สั่งสมมานาน เพราะถ้าเป็นมือใหม่คงจะดูไม่ออกว่า "ได้ที่" เป็นอย่างไร? แต่สำหรับ "พี่จำรัส" แล้ว ผมว่าคง"ได้ที่"แบบไม่ยากคร้าบ!!!!!!

    [​IMG]

    ๕. "ความสามัคคี" ในครัวเรือน คงต้องเป็นส่วนสำคัญในการทำ "น้ำอ้อย" เพราะว่าต้องช่วยกัน พอน้ำอ้อยได้ที่แล้วก็ตักออกจากกระทะ พร้อมกับเติมน้ำอ้อยสดลงไปเคี่ยวต่อทันที งานนี้ "ร่วมแรงร่วมใจ" ครับ หากพลั้งเผลออาจได้รับอันตรายได้ คิดดูสิครับว่า "มันร้อน" ขนาดไหน

    [​IMG]

    ๖. หลังจากเปลี่ยนกระทะน้ำอ้อยแล้ว ก็ได้เวลากวนให้เย็น ขั้นตอนนี้ต้องใช้ประสบการณ์อีกแล้วหละครับ ขืนดูไม่ดีมีหวังแข็งโป๊ก!!!! ขั้นตอนนี้ "พี่จำรัส" จึงต้องดูแลเป็นพิเศษ และพิมพ์ "งบน้ำอ้อย" ก็ถูกเตรียมไว้ ที่สำคัญต้องแช่น้ำก่อน ไม่งั้นติดหนับ

    [​IMG]

    ๗. พร้อมแล้วก็ได้เวลาหยอดลงพิมพ์ "ความเร็ว" สำคัญที่สุดครับ... หาก "ชักช้า" คงจะไม่เป็นแผ่นแน่ ๆ

    [​IMG]

    ๘. ทิ้งไว้สักพัก ก็ได้เวลาแกะ "น้ำอ้อย" ออกจากพิมพ์ พักไว้ให้เย็นสนิท ก็ทำเป็นตั้ง ๆ ตามมาดูกันต่อครับ...

    [​IMG]

    ๙. หนึ่งตั้งมี ๑๐ แผ่น คิดแล้ว ราคาส่งให้พ่อค้าก็แผ่นละ ๒ บาท ที่เห็นเขาเรียงเป็นตั้ง ๆ ไม่เป็นระเบียบ "พี่จำรัส" บอกว่า จะได้แกะง่าย ๆ ... น่าเสียดายที่ต่อไปพื้นที่ปลูกอ้อยพันธุ์นี้เริ่มหมดไป เพราะว่าส่วนหนึ่งเกษตรกรหันมาปลูกพืชไร่ชนิดอื่น ๆ ที่ให้ผลผลิตสูงกว่า และมีรายได้มากกว่านั่นเองครับ...

    [​IMG]

    สำหรับวันนี้ ต้องขอขอบคุณ

    (๑) "พี่จำรัสและครอบครัว"ที่ทำน้ำอ้อยงบให้เราได้ดู อย่างน้อย ๆ ก็ถือว่าได้สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ถ่ายทอดกันมา และหวังว่า "คนรุ่นหลัง" คงจะได้สืบทอดต่อไป

    (๒) "ป้าจำเนียร" ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร และ"พี่เยาว์" เกษตรหมู่บ้าน ที่เป็นพาผมไปชมวิธีการทำ "น้ำอ้อยงบ" ในวันนี้ครับ...

    ท้ายนี้... เก็บภาพมาฝาก... กับประสบการณ์ "หยอดน้ำอ้อย" และ "ชิมน้ำอ้อยสดหวาน ๆ" จากบ้านบ่อโพง ครับ...

    [​IMG]

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสร้างพระใหญ่เมืองอุบล “พระเจ้าแสนหลวง” พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร
    คลิกที่นี่: ศุกร์เสาร์ที่ ๑๔-๑๕ มี.ค. ๕๗ เตียวขึ้นดอย.104/สรงน้ำพระพุทธบาทสี่รอย แม่ริม เชียงใหม่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 มีนาคม 2014
  15. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +581
    ได้จดหมายแผ่นทองชนวน ๒ ฉบับแล้วครับ (ยังไม่ได้เปิดซอง)

    คุณอดิเทพ ประยูรทอง วารินชำราบ อุบลราชธานี
    คุณบุษกล เปี่ยมศีล อุดรธานี

    ขอผลบุญใหญ่แห่งการสร้างพระเจ้าแสนหลวงจงถึงแก่ท่านทั้งสองและผู้ที่เกี่ยวเนื่องกับท่านทั้งสองทุกรูปทุกนามเทอญ

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสร้างพระใหญ่เมืองอุบล “พระเจ้าแสนหลวง” พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร
    คลิกที่นี่: ศุกร์เสาร์ที่ ๑๔-๑๕ มี.ค. ๕๗ เตียวขึ้นดอย.104/สรงน้ำพระพุทธบาทสี่รอย แม่ริม เชียงใหม่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 มีนาคม 2014
  16. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +581
    [​IMG]

    วันนี้ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๗ เป็นวันครบรอบ ๑๒๐ แห่งชาตกาลของคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม ตามที่คุณป้านพรัตน์ ผานิบุศย์ ได้กล่าวแก้ไว้จากเดิมที่เป็นวันที่ ๔ มีนาคม ด้วยเหตุที่ได้ขอบารมีท่านมาร่วมสร้างพระเจ้าแสนหลวง และความเคารพนับถือเป็นการส่วนตัว ขอน้อมบูชาคุณแห่งคุณแม่บุญเรือนด้วยโคลงบทนี้

    ๐ วันนี้ครบร้อยยี่............สิบปี
    คุณแม่บุญเรือนศรี..........รสิกแก้ว
    น้อมรำลึกบารมี.............คุณแม่
    คุ้มจิตให้ผ่องแผ้ว...........คลาดแคล้วโรคภัย

    ขอขอบคุณข้อมูลจากเวบพุทธวงศ์

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสร้างพระใหญ่เมืองอุบล “พระเจ้าแสนหลวง” พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร
    คลิกที่นี่: ศุกร์เสาร์ที่ ๑๔-๑๕ มี.ค. ๕๗ เตียวขึ้นดอย.104/สรงน้ำพระพุทธบาทสี่รอย แม่ริม เชียงใหม่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 มีนาคม 2014
  17. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +581
    จุดสูงสุดย่อมหยุดความรุ่งโรจน์

    โดย สยาม สงวนรัมย์

    + + + + + + + + + + +

    ใคร ๆ ก็อยากไปถึงฝัน อยากจะไปถึงจุดสูงสุดของชีวิต ลองนึกดู ถ้าเราเหน็ดเหนื่อยเดินขึ้นเขาจนถึงยอด ไม่ว่าจะเดินไปทางซ้าย ทางขวา ข้างหน้า หรือข้างหลัง ล้วนเป็นการเดินลง ลองนึกต่อไป พระราชาผู้รบชนะไปทุกสารทิศ กลับเมืองมาสักปีสองปีคงหงุดหงิดไม่น้อย เพราะตอนรบ ต้องคิดโน่นเผื่อนี่ ต้องใช้ทั้งแรงกาย แรงใจ ในการต่อสู้ พอไม่มีคู่ต่อกร ก็เบื่อ เบื่อก็ฟุ้งซ่าน หาอะไรทำ ระดับพระราชาคงมีอะไรไม่กี่อย่างในการคลายความเบื่อ สุรา นารี กีฬา ประมาณนี้ สุดท้ายเสพซ้ำเสพซากก็เบื่ออีก เพราะมันไม่เร้าใจเหมือนออกรบ ที่สุดก็กลายเป็นติดสุราเพราะกดประสาทไม่ให้คิดมาก ติดนารีเพราะรู้ใจ และติดกีฬาเพราะสนุก

    นักธุรกิจเช่นกัน ประสบความสำเร็จธุรกิจพันล้านไม่พอ ต้องหมื่นล้าน แสนล้าน กลายเป็นนักธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุด รวยที่สุด คือถึงจุดสูงสุด แล้วก็มาหลงตัวเองว่าตัวเองเก่ง ประสบความสำเร็จเกินใคร ใครทักใครห้ามอะไรมักจะไม่ฟัง หารู้ไม่ว่าชีวิตได้ผ่านจุดสูงสุดแล้ว ขยับไปทางไหนก็ลง มารู้ตัวอีกทีหนึ่งก็รู้ตัวว่าหนีความตายไม่พ้น ทีนี้หละ วิ่งหาคำสอนของพระพุทธเจ้าแทบไม่ทัน

    ตรงกันข้าม ไม่มีใครอยากถึงจุดต่ำสุด แต่เมื่อจุดนั้นมาถึง จงยิ้มและเดินไปข้างหน้าต่อไป เพราะไม่ว่าจะเดินไปทางใด ก็ล้วนแต่เป็นขาขึ้นอยู่ร่ำไปนั่นเอง

    ในโอกาสครบ ๑๐ รอบ ๑๒๐ ปี แห่งชาตกาลของคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม หนึ่งในพรที่เด็ดขาดของท่านคือ “ขอให้มีแนวชีวิตรุ่งโรจน์” พรนี้หมายถึงชีวิตมีแต่ขาขึ้น ไม่มีลง บางทีทางโลกไปสูงสุดสุดทาง แต่ทางธรรมกลับจำเริญต่อก็เป็นได้

    ที่เขียนเรื่องนี้ เพราะกำลังจะกล่าวถึงยุคทองแห่งล้านช้างในรัชสมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชที่ทรงครองราชย์มายาวนานถึง ๕๗ ปี ทางโลกก็ได้พระองค์เป็นเจ้าเหนือชีวิตดูแลทุกข์สุขของปวงประชา ในขณะที่ทางธรรมก็ได้เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กดูแลเหล่าพระสงฆ์แลสามเณร ยุคทองแปลว่าถึงจุดสูงสุด หมายความว่าหลังจากรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ล้านช้างกำลังเข้าสู่ขาลง และสุดท้ายก็ลงไปสู่จุดที่ไม่มีใครในดินแดนล้านช้างจะคาดฝันมาก่อน เรื่องราวจะเป็นอย่างไร โปรดติดตามตอนต่อไป

    [​IMG]

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสร้างพระใหญ่เมืองอุบล “พระเจ้าแสนหลวง” พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร
    คลิกที่นี่: ศุกร์เสาร์ที่ ๑๔-๑๕ มี.ค. ๕๗ เตียวขึ้นดอย.104/สรงน้ำพระพุทธบาทสี่รอย แม่ริม เชียงใหม่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 มีนาคม 2014
  18. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +581
    [​IMG]

    ไปร่วมงานบุญประจำปีพระพุทธบาทสี่รอย ตามรอยสิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งล้านนา ล้านช้าง สุโขทัย อยุธยา ธนบุรี ๔ วัน ๔ คืน ๒๔๔๐ กม. เพื่อขอบารมีสร้างพระเจ้าแสนหลวง เมืองอุบล

    พฤ. ๑๓ มี.ค. ๒๕๕๗: กรุงเทพฯ-ชุมแพ-หล่มสัก-พิษณุโลก-เด่นชัย-แพร่ (๘๔๓ กม.)
    ศ. ๑๔ มี.ค. ๒๕๕๗: แพร่-ลำปาง-ลำพูน-เชียงใหม่-แม่ริม-พระพุทธบาทสี่รอย (๒๖๐ กม.)
    ส. ๑๕ มี.ค. ๒๕๕๗: พระพุทธบาทสี่รอย-แม่ริม-บ้านธิ-ลำพูน-ลำปาง-ตาก (๓๘๑ กม.)
    อา. ๑๖ มี.ค. ๒๕๕๗: ตาก-สุโขทัย-พิษณุโลก-นครไทย-ด่านซ้าย-ภูเรือ-เลย-ชุมแพ-กรุงเทพฯ (๙๕๖ กม.)

    รูปบน หลังจากเดินมาเกือบทั้งคืน ท่ามกลางแสงจันทร์ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๔ ขบวนแห่ก็มาเกือบถึงวัด ๖ โมงกว่า ๆ

    รูปล่าง น้านงคราญ ฉวีรักษ์, พ่อใหญ่กำพล แก้วพรหม (๘๑ ปี), แม่ใหญ่สุนทรา ฉวีรักษ์ (๘๙ ปี) จากอุบลฯ มาร่วมงานประจำปีด้วย พ่อใหญ่กำพลเตียวขึ้นดอยจากวัดหนองก๋ายประมาณสองทุ่ม ถึงวัดพระบาทสี่รอยราวตีสองเศษ วิหารเล็ก ๆ ด้านหลังก็คือสถานที่ประดิษฐานพระพุทธบาทสี่รอย

    [​IMG]

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสร้างพระใหญ่เมืองอุบล “พระเจ้าแสนหลวง” พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 มีนาคม 2014
  19. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +581
    [​IMG]

    วันแรกจากไปชุมแพ เพื่อขับรถให้กับญาติมิตรจากอุบลสำหรับการแสวงบุญใหญ่ในครั้งนี้ ถึงแพร่ราวสองทุ่มเศษ ๆ ไปขอบารมีเจ้าพ่อแสนชัย และอุทิศบุญกุศลให้กับผู้ที่เกี่ยวเนื่องกับการปราบเงี้ยว

    ศาลเจ้าพ่อแสนชัย อยู่บริเวณประตูชัยเมืองแพร่ แต่ก่อนเคยมีศาลของนายร้อยตรีตาด นายตำรวจที่ถูกพวกพะกาหม่องชาวไทใหญ่หรือโจรเงี้ยว (เงี้ยว = ไทใหญ่ แต่ถือเป็นคำไม่สุภาพในภาษาไทใหญ่ ทำนองเดียวกับคำว่า “นิโกร” เป็นคำไม่สุภาพภาษาอังกฤษ คำสุภาพคือ “คนดำ”) ฆ่าตายเมื่อเกิดการจราจล ปล้นและยึดเมืองแพร่ตั้งแต่วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๔๔๕ (ตรงกับ ร.ศ. ๑๒๑) ขณะนั้นเจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์อุดร (น้อย เทพวงศ์) เป็นเจ้าผู้ครองนคร และพระยาไชยบูรณ์ (ทองอยู่ สุวรรณบาต) เป็นข้าหลวงกำกับเมืองแพร่คนแรก (โปรดเกล้าฯ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๐) ภายหลังชาวจีนจึงสร้างศาลใหม่เป็นศาลจีนดังปรากฏในปัจจุบัน

    เหตุแห่งการปล้นเมืองในครั้งนี้ ม.จ.พูนพิศมัย ดิศกุล นิพนธ์ไว้ในหนังสือ “แพร่-น่าน” ว่า กรมพระยาฯ ดำรงราชานุภาพเคยกล่าวถึงเรื่องนี้ว่าพะกาหม่องผู้ก่อการเป็นหนี้เจ้านางแว่นทิพย์ น้องเจ้าฟ้าเมืองเชียงตุง ๔ พันบาท พะกาหม่องจึงหนีหนี้มาอยู่กับพวกพ้องที่เมืองแพร่ พอเห็นเงินส่วยที่ขนเข้าศาลากลาง ก็เกิดความคิดปล้นเงินเพื่อนำไปใช้หนี้ ปรากฏว่าทำการได้สะดวก จึงเกิดเหตุบานปลายกลายเป็นกบฏไป

    ครั้งนี้ พระยาไชยบูรณ์ได้พยายามรวบรวมผู้คนไปต่อสู้กับพวกพะกาหม่อง แต่พะกาหม่องใช้วิธีสังหารเฉพาะคนไทยภาคกลาง ปล่อยนักโทษมาสมทบพวกตัว และตั้งรางวัลนำจับพระยาไชยบูรณ์ ๓๐๐ บาท และม้า ๒ ตัว ทำให้ที่อยู่ของพระยาไชยบูรณ์รู้ไปถึงพวกพะกาหม่องโดยนายแคว่น (กำนัน) และนายบ้าน (ผู้ใหญ่บ้าน) และถูกเมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๔๔๕

    วันที่ ๒๘ ถึง ๓๑ กรกฎาคม พวกพะกาหม่องตั้งแนวปะทะที่เขาพลึง ในขณะที่ตัวพะกาหม่องเองคุมไพร่พลตีลำปาง แต่ต้องกระสุนปืนตายในที่รบ พวกที่เหลือแตกหนีกลับแพร่

    วันที่ ๓ สิงหาคม พวกพะกาหม่องที่เขาพลึงปะทะกับกองทัพพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร ผู้ว่าราชการเมืองแพร่ สู้ไม่ได้ก็ถอยกลับไปที่เมืองแพร่

    ในเดือนสิงหาคม เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เป็นแม่ทัพใหญ่ปราบพวกพะกาหม่องจนราบคาบ

    วันที่ ๒๕ กันยายน ๒๔๔๕ เจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์อุดร (น้อย เทพวงศ์) เจ้าหลวงเมืองแพร่ลี้ภัยไปเมืองหลวงพระบางซึ่งอยู่ในปกครองของฝรั่งเศส

    ข้อมูลจาก Bloggang พระยาไชยบูรณ์ (ทองอยู่ สุวรรณบาตร)

    + + + + + + + + + + + +

    ขออุทิศผลบุญใหญ่แห่งการสร้างพระเจ้าแสนหลวง จงถึงแก่ พระยาไชยบูรณ์ (ทองอยู่ สุวรรณบาตร) นายร้อยตรีตาด พะกาหม่อง ตลอดจนทุกรูปทุกนามที่เสียชีวิตจากการปราบเงี้ยวที่เมืองแพร่เทอญ

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสร้างพระใหญ่เมืองอุบล “พระเจ้าแสนหลวง” พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 มีนาคม 2014
  20. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +581
    [​IMG]

    [​IMG]
    รูปบน ภายในวิหารพระทองคำ วัดหงส์รัตนาราม ที่สกุลชูโตได้มีส่วนสำคัญในการบูรณะ


    จอมพล มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต, ๒๘ มี.ค. ๒๓๙๔ – ๑ ก.ค. ๒๔๗๔) นับเป็นขุนพลคู่ราชบัลลังก์คนหนึ่ง สังเกตว่าเพียงหนึ่งปีหลังจากอสัญกรรมของท่าน ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ท่านเป็นบุตรเขยของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) เจ้าคุณทหารในพระพุทธเจ้าหลวง ที่ปรากฏชื่อในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ท่านเลี่ยม พรตพิทยพยัต ผู้บริจาคที่ดินกว่าพันไร่เพื่อการศึกษา (ที่ดินนี้ ในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โรงเรียนพรตพิทยพยัต วิทยาลัยช่างศิลป์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ และชุมชนท่านเลี่ยม-หลวงพรต) เคยเป็นอดีตภรรยาของท่าน และสกุล “ชูโต” คือสกุลหลักที่ร่วมบูรณะวิหารพระทองคำแห่งวัดหงส์รัตนาราม

    เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม) มีสมเด็จกรมพระยาปวเรศฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ เป็นคนไทยที่เก่งทั้งบุ๋นและบู้ เก่งทั้งการเงิน การทหาร และการก่อสร้าง นับเป็นผู้หนึ่งที่เป็นอัจฉริยะของแผ่นดินทีเดียว วัยเด็กท่านได้อบรมมาจากบ้านสมเด็จฯ ตักสิลาแห่งรัตนโกสินทร์ ตามความเข้าใจผม บ้านสมเด็จฯ นี้เน้นการเรียนภาษาต่างประเทศ มิฉะนั้นพระปิ่นเกล้าคงไม่ทรงฝากพระองค์เจ้ายอดยิ่งยศซึ่งต่อมาคือกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญมาเรียนด้วยที่นี่ ท่านผ่านการอบรมจากสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) และที่สำคัญ ท่านมีความใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้าหลวงเป็นพิเศษ

    ตอนเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม) เบื่อชีวิตราชการ มาพักรักษาอาการป่วยที่คลองประเวศบุรีรมย์ น่าจะแถวสำนักงานเขตลาดกระบังในปัจจุบัน ไม่ไกลจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ท่านเห็นคลองซึ่งเจ้าคุณทหารวรเคยเป็นแม่กองขุดตื้นเขิน เป็นที่ลำบากแก่เรือแพในการล่องไปมาระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำบางปะกง ท่านจึงชักชวนผู้คนทั้งหลายมาร่วมซ่อมคลอง ด้วยการนำควายลุยย่ำโคลนให้ไหลไปออกแม่น้ำ พร้อมเลี้ยงดูผู้คนทั้งหลาย ทำ ๓ วันก็แล้วเสร็จ เสร็จแล้วก็ถวายเป็นพระราชกุศลที่ทำบุญสาธารณะในครั้งนี้ [1]

    ไม่น่าเชื่อว่า พวกพะกาหม่องชาวไทยใหญ่ เป็นหนี้เจ้านางแว่นทิพย์เชื้อสายเจ้าเชียงตุง ทำให้เจ้าหลวงเมืองแพร่ต้องลี้ภัยไปหลวงพระบาง และมีผู้คนล้มตายมากมายในการปราบปราม จะมาเกี่ยวข้องกับวัดหงส์รัตนารามที่ประดิษฐานพระแสน และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (ที่ทำงานผม) ผ่านเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) และท่านเลี่ยม

    เอกสารอ้างอิง
    1. “ประวัติสังเขปของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เพียงปราบฮ่อ พ.ศ. ๒๔๓๐” พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) ๒๔๗๖

    + + + + + + + + + + + +

    ขออุทิศผลบุญใหญ่แห่งการสร้างพระเจ้าแสนหลวง จงถึงแก่เจ้าเชียงตุง เจ้าเมืองแพร่ เจ้าหลวงพระบาง และชาวไทยใหญ่ทุกคนเทอญ
    ขออุทิศผลบุญใหญ่แห่งการสร้างพระเจ้าแสนหลวง จงถึงแก่ผู้สืบสายสกุลและเกี่ยวข้องกับสกุลบุนนาค และสกุลชูโต ทุกรูปทุกนามเทอญ

    เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)
    [​IMG]

    เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)
    [​IMG]

    ท่านเลี่ยม พรตพิทยพยัต (บุนนาค)
    <a href="http://image.ohozaa.com/view2/xt9mtXmKym1G8Ovg" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/t/63c/6SgMc1.jpg" /></a>


    + + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสร้างพระใหญ่เมืองอุบล “พระเจ้าแสนหลวง” พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร
     

แชร์หน้านี้

Loading...