รวมเรื่องการฝึกสมาธิ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 14 กรกฎาคม 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    สมาธิในชีวิตประจำวัน (ตอนที่ 1)

    ปกติคนเราก็มีสมาธิกันอยู่โดยธรรมชาติแล้วทั้งนั้น แต่เราอาจไม่รู้สึกตัวว่านั่นเป็น สมาธิ เหตุใดเราจึงหันมาสนใจสมาธิกันในระหว่างนี้ เห็นจะเป็นเพราะชีวิตประจำวันขณะนี้ วุ่นวายสับสน จนเรารู้สึกเหนื่อย ไม่มีกำลังพอที่จะรับหน้ากับสิ่งที่ต้องผจญอยู่ทุกวัน ๆ

    ที่เป็นดังนี้ เพราะเราไปมุ่งเพ่งเล็งอยู่แต่ในด้านวัตถุกันมาก จนกระทั่งลืมนึกว่าสิ่งที่เป็นรูปกายของเรานี้ ประกอบด้วยสองส่วน คือ กาย ซึ่งเป็น วัตถุ กับ ใจ ซึ่งเป็น นามธรรม เป็นพลัง

    เมื่อเราไม่เคยสนใจที่จะบำรุงรักษาใจให้ได้พักผ่อน เพื่อจะได้มีพลังเพียงพอไว้ต่อสู้กับเหตุกรารณ์ประจำวัน เราก็เริ่มรู้สึกล้า รู้สึกเหนื่อย รู้สึกขุ่นมัว รู้สึกเศร้าหมอง แต่เราก็ไม่มีเวลาที่จะนั่งลงถามหาเหตุผลว่า เหตุใดเราจึงเป็นเช่นนั้น

    ตรงข้าม เรากลับพยายามแสวงหากันต่อไป ด้วยคิดว่า อาจเป็นเพราะวัตถุที่มาอำนวยความสะดวกให้เรานั้นยังน้อยไป ยังขาดตกบกพร่อง เราจึงแสวงหาเพิ่มขึ้น ยิ่งแสวงหาเพิ่มขึ้น ก็ยิ่งเหนื่อยมากขึ้น ก็ยิ่งสับสนมากขึ้นก็ยิ่งไม่มีกำลังมากขึ้น

    จึงมีคนฉุกคิดว่า น่าจะมีอะไรมาแก้ไขได้ จึงหันมาเพ่งเล็งถึงสมาธิ ถึงวิธีทั้งหลายที่จะช่วยให้จิตของเรามีพลังและคุณภาพเพิ่มขึ้น

    สมาธิคืออะไร สมาธิคือความแน่วนิ่งของใจ ของจิตของเรา ปกติใจซึ่งเป็นพลัง เป็นสิ่งที่กระเพื่อมเหมือนกับน้ำอยู่ตลอดเวลา เมื่อมีการเคลื่อนไหว มีการคิดไป ไหลไปตามอารมณ์ โดยไม่มีหลักยึดเหนี่ยว ก็จะเหนื่อย จะหมดกำลังไปโดยเปล่าประโยชน์

    หากเราหาอะไรที่ทำให้มันเกิดความตั้งมั่น เกิดความแน่วนิ่งขึ้นได้ เป็นต้นว่า มีทุ่นสำหรับให้เกาะ จิตก็จะไม่ว้าวุ่น สับสน แต่จะสงบเย็น และมีกำลังพร้อม สำหรับนำไปใช้คิดขบปัญหา ด้วยเหตุ ด้วยผล ซึ่งจัดเป็นการประยุกต์ใช้อย่างมีประโยชน์และมีประสิทธิภาพ

    ปัญหาจึงมีว่า ทำอย่างไร เราจึงจะสามารถทำสมาธิให้เกิดได้เพียงพอ สำหรับรักษาและเสริมบำรุงใจของเรา ให้มีสมรรถภาพพอที่จะทำการงาน และมีชีวิตอยู่ โดยสามารถบำเพ็ญประโยชน์ได้เต็มที่ และดีที่สุด เราก็พบว่า เราสามารถทำได้ โดยอาศัยวิธีธรรมชาติ ธรรมดาที่สุด

    ปกติคนเราย่อมมีกิจกรรม มีการเคลื่อนไหวอิริยาบถ หรือมีอะไรทำอยู่เป็นประจำ แทนที่เราจะปล่อยให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ใส่ใจ ไม่เอาสติไปจดจ้องไว้ เราก็เอาสติมาตามรู้อยู่

    เพื่อให้จิตของเรามีทุ่นเกาะ มีหลักสำหรับให้มันแน่วนิ่งอยู่ ไม่ไหลตาม หรือเกาะเกี่ยวไปกับอารมณ์ ไปในอดีต ไปในอนาคต โดยละเลยปัจจุบัน ทุกขณะ ๆ ที่เรากำลังเป็นอยู่นี้

    เริ่มต้นง่าย ๆ ที่สุด ตั้งแต่ลืมตาตื่นขึ้นมาก แทนที่จะปล่อยใจของเราให้ไปนึกถึงสิ่งที่ผ่านไปเมื่อวาน ที่เรายังปลงไม่ตก ที่มันยังเป็นความกังวลอยู่ เราเอาสติมาตามร้อยู่กับอิริยาบถในปัจจุบับเดี๋ยวนั้น เราลุกขึ้น ก็ให้รู้อยู่ เราไปห้องน้ำทำกิจวัตรประจำวัน ก็ให้รู้อยู่

    ถ้าเราจำเป็นต้องคิด ก็เอาสติตามรู้อยู่ในกระแสของความคิดนั้น ๆ ว่า เรากำลังคิดด้วยความมีเหตุและผล เพื่อแก้ไข หรือหาวิธีที่จะคลี่คลายปัญหาของเราให้ดีขึ้น หรือว่า คิดไปด้วยความกลัดกลุ้ม ด้วยความสับสน ด้วยความไม่รู้เหนือไม่รู้ใต้กันแน่

    เอาสติตามรู้อยู่เช่นนั้น ตามรู้อยู่ดังนั้น อยู่กับปัจจุบันทุก ๆ ขณะอย่างนั้น และรู้อยู่ในอิริยาบถที่เราเคลื่อนไหว ซึ่งบางคนอาจเรียกว่า สัมปชัญญะ ก็ได้ เมื่อเรารู้อย่างนี้แล้ว หากต้องไปทำงานอะไร เราก็ไปจดจ่อรู้อยู่กับสิ่งที่เราไปทำนั้น

    เราอ่านหนังสือ ก็ให้รู้อยู่กับข้อความที่กำลังอ่านนั้น เราฟังใคพูด้วยก็ให้รู้อยู่ในเรื่องที่เขาพูดกับเราเท่านั้น ไม่ปล่อยให้ใจไหลไปคิดถึงอดีต คิดถึงอนาคต ฟังดูก็ง่าย แต่ถ้าลองปฏิบัติ กำหนดเอาสติจ่อใจของเราดู

    บางคนจะตกใจว่า ทำไมใจของเราจึงฟุ้ง คิดยุ่งเหยิงอย่างนั้น ทำไมจึงว่ายากอย่างนั้น เพราะใจเป็นธรรมชาติที่ไม่อยู่นิ่ง เป็นธรรมชาติที่ชอบไหลเกาะเกี่ยวกับอารมณ์ โดยที่เราไม่รู้ตัว

    เราจะตกใจมากที่พบว่า เราสามาถคิดเรื่องห้าเรื่องได้พร้อม ๆ กันในเวลาเดียว โดยที่เราไม่รู้ดอกว่า เราต้องการคิดถึงเรื่องอะไรก่อน เรื่องอะไรหลัง แต่มันจะโผล่ขึ้นมาพร้อม ๆ กัน จนเราแยกแยะไม่ออก จนเราสับสน จนเราเหนื่อย

    แล้วเราก็บ่นว่ากลุ้มจริง เบื่อจริง ชีวิตทำไมจึงมีแต่ปัญหามากมายอย่างนี้ ก็เพราะว่าเราไม่ได้ฝึกไม่ได้อบรม ไม่ได้ทำใจของเราให้มีหลัก มีทุ่นสำหรับยึดเหนี่ยวเราจึงทำให้สิ่งที่ไม่น่าเป็นปัญหา เกิดเป็นปัญหา ก่อกวนให้เราสับสนยิ่งขึ้น

    เพราะฉะนั้น หากเราคิดว่า เราไม่มีเวลาไปฝึกทำสมาธิ เรายังไม่พร้อม เรายังมีข้อขัดข้องอย่างโน้นอย่างนี้ กรุณาลองคิดใหม่ ดังนี้ แท้จริงนั้น เรามีสมาธิกันอยู่โดยธรรมชาติแล้ว เพราะหากเราไม่มีสมาธิเลย เราจะมีสุขภาพจิตเป็นปกติ ไม่เป็นโรคจิต หรือโรคประสาทไปไม่ได้

    ใจของเราก็เหมือนกาย มันต้องได้พักผ่อน ได้อาหารพอสมควร เพื่อที่จะดำรงพลัง และความมีสติ มีปัญญา พอเพียงสำหรับติดต่อ หรืออยู่ในโลกกับผู้คนได้ เพราะฉะนั้น ทุกวันนี้ เราทุกคนต่างก็มีสมาธิกันโดยพื้นฐานเพียงแต่ว่าเรารู้ตัวหรือไม่รู้ตัวเท่านั้น

    เมื่อทราบดังนี้แล้ว ก็เป็นการง่ายที่จะพยายามฝึกเพื่อให้สมาธิของเรามีคุณภาพเพิ่มขึ้น เพื่อเสริมใจของเราให้มีกำลังขึ้น เพราะไม่ว่าเราจะทำอะไร เราย่อมต้องการประสิทธิภาพทั้งนั้น ถ้าใจของเรามีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ผลดีย่อมเกิดตาม

    เพราะไม่ว่าเราจะทำกิจการใดลงไป จะพูดสิ่งใด หรือจะคิดอะไรขึ้นมาทุกอย่างล้วนสำเร็จด้วยใจทั้งนั้น เพราะใจเปรียบเหมือนนายงานที่คอยบังคับ ควบคุม ให้กายของเรากระทำออกไป ขณะเมื่อเราเคลื่อนไหวอิริยาบถ หรือมีงานกระทำ เป็นทุ่นให้ใจเกาะ ไม่แลบไหลไปที่ไหนแล้ว

    ก็เป็นการง่ายที่จะกำหนดใจของเราให้แน่วนิ่ง ให้มีสมาธิ แต่คนเราจะมีงานทำอยู่ตลอดเวลา หรือเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาที่ตื่นอยู่นั้น ย่อมเป็นเป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น บางครั้งที่เรานั่งพักผ่อน หรืออยู่เฉย ๆ สติซึ่งเปรียบเสมือนพี่เลี้ยงของเราจะเผลอ จะอ่อนแรงลง

    เนื่องจากความสบายที่รู้สึกว่าเราพักเสียสักนิด ในช่วงนิดเดียวนี้ ใจของเราซึ่งไม่เคยอยู่สุขเลย จะแลบออกไป ไหลออกไป ตามอดีตบ้าง ตามอนาคตบ้าง ท่านจึงแนะนำว่า ขณะที่เราไม่มีอะไรเป็นทุ่นยึดเหนี่ยวใจอยู่นี้ ให้กำหนดอยู่ที่ลมหายใจของเรา

    เพราะปกติลมหายใจเป็นสิ่งที่ไม่ต้องไปหาจากที่ไหนเลย เรามีลมหายใจเป็นสมบัติติดตัวตลอด ตั้งแต่ลืมตาเกิดขึ้นมา ตราบจนวันตาย เพียงแค่ว่าเราหายใจกันด้วยความปล่อยปละละเลย ด้วยความเป็นอัตโนมัติ

    คราวนี้เอาสติมากำหนดรู้อยู่ว่า เราหายใจเข้าแล้วหยุด แล้วหายใจออก จนจิตของเรานิ่งอยู่กับลมหายใจ เมื่อเรารู้ได้ถึงกิริยาที่เราหายใจโดยแจ่มชัด เราก็ไม่ต้องตามลมเข้า ลมออก อีกต่อไป

    แต่กำหนดสติวางไว้ตรงไหนก็ได้ในทางเดินของลมหายใจของเรา ตรงที่เรารู้สึกชัดเจนที่สุด ง่ายที่สุด จะเป็นที่ปลายจมูก ที่ดั้งจมูก ที่หลอดลม หรือที่ตรงไหนก็ได้ ตั้งสติวางเอาไว้ ลองฝึกดังนี้ไปเรื่อย ๆ

    เมื่อเราฝึกอยู่เรื่อย ๆ อย่างนี้ เราจะพบว่า สติ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง และเราคิดว่าเรามีสติบริบูรณ์อยู่กับใจของเรานั้น แต่แท้ที่จริง วันหนึ่ง ๆ สติของเราหายหกตกหล่นไปไม่รู้เท่าไหร่ ๆ ขณะที่เราคิดว่า เรามีสติรู้อยู่กับปัจจุบันนั้น

    แท้ที่จริงเราคิดไปในอดีต หรือตามไปในอนาคตอยู่ตลอดเวลา ไม่เป็นไร เมื่อเรารู้ตัว จับได้ว่า มันไหลออกไปอย่างนั้น ก็เรียกมันกลับมาใหม่ แล้วให้รู้ว่า แท้ที่จริง ใจของเราเป็นสิ่งที่เลี้ยงยากเหลือเกิน ไม่ยอมอยู่ในโอวาทของเราเลย และหลอกเราอยู่ตลอดเวลา

    เมื่อเราค่อย ๆ ฝึกไป ๆ ใจที่ไม่เคยไหลอยู่ตลอดกาล ไม่ได้หยุดนิ่งเลยนั้น ก็ค่อย ๆ นิ่งเข้า สงบเข้า รวมตัวเข้า แน่วนิ่งเข้า มีรากมีฐาน ได้พักผ่อน เหมือนที่เราให้กายพักผ่อน ให้นอน ให้อาหาร เพื่อว่าวันรุ่งขึ้นจะได้มีกำลังสดชื่นแข็งแรง

    นี่ก็เหมือนกัน เราเริ่มต้นดูแลจิตของเรา ซึ่งเหน็ดเหนื่อย ซึ่งสับสน ซึ่งว้าวุ่น ซึ่งร้อน ซึ่งเศร้าหมอง อยู่ตลอดเวลา ให้ได้พัก ได้สงบนิ่ง ได้มีกำลังขึ้น

    ประโยชน์ข้อแรกของสมาธิคือ การพัก การสงบของใจ เพื่อให้เกิดกำลัง เมื่อใจสงบนิ่งได้พัก ใจก็จะเย็น จะสบายขึ้น หรือถ้าเราจะเปรียบเทียบ ก็หมือนอย่างกับไฟฉาย หากเราเปิดอยู่ตลอดเวลา แบตเตอรี่จะอ่อนลง ๆ แสงของมันจะค่อย ๆ มัวเข้า

    ในที่สุดเมื่อเรามีปัญหา มีความจำเป็น ที่จะใช้แสงไฟฉายส่องดูอะไร มันก็ไม่มีกำลังพอจะส่องให้เราเห็นได้ชัดเจน ใจของคนเราก็เหมือนกัน หากปล่อยให้ไหลไปกับอารมณ์ ไปในอดีต ไปในอนาคต โดยไม่มีเป้าหมายอย่างนั้น

    เมื่อเวลาที่มีปัญหาอะไรเกิดขึ้น เราต้องการคิดให้เป็นเหตุ เป็นผล มันก็ไม่มีแรงจะคิดแล้ว แต่ถ้าเราทำสมาธิให้ใจได้พักอย่างนี้ ก็เหมือนกับได้อัดแบตเตอรี่ เมื่อมีปัญหาหรือมีงานที่ต้องการจะทำ ใจก็มีกำลัง พร้อมที่จะทำงานได้ด้วยประสิทธิภาพที่สูง

    ประโยชน์ข้อที่สอง คือมีสติสัมปชัญญะ เมื่อใจมีกำลังแล้ว เราฝึกสติ ฝึกสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา สองสิ่งนี้จะคมขึ้น จะอยู่กับจิตของเรามากขึ้น แต่เดิมนั้น มีหลายสิ่งที่เราทำโดยไม่ต้องใช้สติใช้ความคิดมากมายนัก

    ยกตัวอย่าง เป็นต้นว่าการเดิน บางครั้งเราแทบไม่สนใจด้วยซ้ำไปว่า เราต้องก้าวขาเดิน หรือเราจะไปทางไหน เราปล่อยให้มันเป็นไปโดยอัตโนมัติ หรือ บางคนที่ขับรถมาหลาย ๆ ปี ก็แทบจะขับรถไปโดยอัตโนมัติอีกเหมือนกัน

    ใจเราไม่ได้อยู่ที่รถ หรือคิดไปถึงว่า ปีหน้าเราจะทำอะไร เพราะฉะนั้น หลาย ๆ สิ่งที่เราเคยทำไปโดยอัตโนมัตินั้น บัดนี้สติสัมปชัญญะของเราจะมารู้อยู่ในสิ่งที่เรากำลังทำนั้น เมื่อสติและสัมปชัญญะคมขึ้นเช่นนี้

    เราจะประหลาดใจที่พบว่า เวลาที่อะไรเกิดขึ้นแทนที่เราจะไปโทษสิ่งรอบตัว หรือโทษของอื่น ๆ มันจะเกิดฉุกคิดขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติว่า เอ๊ะ...... นี่เกิดจากความบกพร่องของเราหรือเปล่า......

    เป็นต้นว่าเราหาอะไรไม่พบ แทนที่เราจะไปโทษเลขานุการของเราว่า ทำไมเขาไม่เอามาวางไว้ให้เรา เราก็ฉุกคิดว่า หรือเขาเอามาวางไว้ให้แล้ว แต่เราสิหยิบเอาไป แล้วเอาไปลืมวางทิ้งเสียที่ตรงไหน มันจะเกิดการมองย้อนเข้ามาดูตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก

    เพราะปกติด้วยความเคยชิน ด้วยธรรมชาติของคนเรา เราไม่มองเข้าตัว เรามองออกข้างนอก ทันทีที่มีอะไรเกิดขึ้น มันเข้าตำราที่ว่า ความผิดของผู้อื่นนิดเดียว เราก็เห็นใหญ่เท่าภูเขา และทนไม่ได้ แต่ความผิดของตัวเอง บางครั้งโตกว่าภูเขาพระสุเมรุอีก เรากลับมองไม่เห็น

    เพราะฉะนั้น เมื่อสติคมขึ้นมีอะไรเกิดขึ้น เพราะจะมองเข้าข้างในก่อน สำรวจดูว่า มีอะไรที่เราจะแก้ไขตัวเองได้ ที่เราจะทำให้ปัญหาที่เป็นขัดข้อง คลี่คลายออกไป หรือมีทางออกที่ละมุนละไม ดีที่สุดสำหรับสภาวะนั้น ๆ

    แล้วเราจะพบว่า ความกลัดกลุ้ม ความรู้สึกที่ว่าทุกอย่างเป็นความเครียด ความทนไม่ได้นั้นเบาบางลงไปอย่างน่าอัศจรรย์ เราจะรู้สึกว่าแท้ที่จริง ชีวิตของเราไม่ได้มีปัญหามากขึ้นกว่าเมื่อสิบปีก่อน หรือเมื่อยี่สิบปีก่อน

    ไม่ใช่ความบีบคั้นจากภายนอกมาเป็นสาเหตุก่อความทุกข์ให้แก่เรา แต่เราสร้างขึ้นมาดักใจของเราต่างหาก เราทำใจของเราให้ไปหงุดหงิดติดข้องอยู่ในความยึดมั่นถือมั่น หรือติดอยู่ในสิ่งที่เราตีกรอบไว้ให้ตัวเองคิด แล้วเราก็วิ่งไล่ยึด


    เหมือนคนที่วิ่งไล่ตามพยับแดดตอนเที่ยงวัน มองดูแล้วหลอนตาตัวเอง เหมือนกับมีระลอกน้ำอยู่ข้างหน้า แท้ที่จริงมันเป็นเงาของพยับแดด เป็นภาพลวงตา แล้วเราก็วิ่งตามสิ่งนั้นไป โดยที่เราไม่เคยใช้สติหรือปัญญาช่วยให้ฉุกคิดเลยว่า

    อันนี้เป็นเงาหรือเป็นของจริง เราตั้งค่านิยมขึ้นมาเองว่า เราจะต้องมีวัตถุแค่นั้นแค่นี้ เราจะต้องมีความสำเร็จในหน้าที่การงาน เราจะต้องมีเงิน จะต้องมีเกียรติ มีชื่อเสียง

    แต่ขณะเดียวกัน เราไม่เคยฉุกคิดเลยว่า ในการที่จะได้มาซึ่งสิ่งเหล่านั้น หากเราต้องวิ่งไล่ตามมัน จนเราหมดสุขหมดสบาย จิตใจของเราไม่มีเวลาได้ชื่นชมกับมันเลย หากแต่เหน็ดเหนื่อยวิ่งไล่ไขว่คว้า ว้าวุ่น สับสน ตะครุบได้แต่เงาอยู่ตลอดเวลาไม่เคยได้ของจริง ไม่เคยได้ตัวจริง

    ครั้นเราฝึกทำสมาธิ เราจะพบว่าใจของเราแน่วนิ่งขึ้น และมีเหตุมีผล มีสติคมขึ้นอย่างนี้ เราย้อนคิดได้อย่างนี้ เราเริ่มฉงนฉงายว่า เรากำลังทำอะไรอยู่ ทำเพื่ออะไร และอะไรคือเป้าหมายของเรากันแน่

    ประโยชน์ข้อที่สาม คือ ปัญญา ปัญญาจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น และแนะสอนใจ ให้เราค่อย ๆ แลเห็นว่า อะไรคือสิ่งที่เราต้องการจริง ๆ กันแน่ เราเริ่มต้นอยู่ได้ด้วยความพอใจในความมี ความเป็น ของเรา

    เราเริ่มมีที่พักพิง มีหลัก มีตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ไม่ใช่วิ่งตามค่านิยม หรือวิ่งตามสิ่งที่อยู่รอบข้างของเรา จนปล่อยตัวเองให้กลายเป็นอะไรอย่างหนึ่ง ที่ถูกลมของภาวะแวดล้อมภายนอก หรือโลกธรรม

    ซึ่งได้แก่ความสุข ความทุกข์ นินทา สรรเสริญ ความมี และ ความเสื่อม จาก ลาภ ยศ เหล่านี้ มากำหนดชีวิตของเรา แต่เราจะเริ่มกำหนดชีวิตของเราเอง เมื่อเราเอาปัญญาแนะสอนตัวของเราบ่อยครั้งเข้า ความหวั่นไหว ความสับสน ความไม่แน่ใจ ก็จะค่อย ๆ คลายลงไป

    เราจะมีหลักของเรา เราก็จะเริ่มมองเห็นว่า บางครั้ง ใจของเราไม่ได้ต้องการอย่างนั้นจริง ๆ แต่มันเกิดจากความอยาก ความโลภ ซึ่งเป็นของเกินพอ เกินความจำเป็น เพราะถ้าเรามองลงไปให้แน่วแน่แล้ว เราจะพบว่า ถ้าเราไม่มี เราก็ไม่เดือดร้อน

    หรือมันไม่ได้ทำให้ความเป็นอยู่ของเราขณะนี้ขัดสนลงไปเลย แต่เพราะเรามีความรู้สึกว่า คนอื่นซึ่งอยู่ในฐานะเดียวกันกับเรา เขามี เขาเป็น หากเราไม่มี เราน้อยหน้าเขา ซึ่งความน้อยหน้าอันนั้น ก็ไม่ได้มีอะไรเป็นของจริงของจัง อาจเป็นเพราะจิตของเราคิดไปเอง

    เราสร้างความเชื่อ ความยึดมั่นถือมั่นขึ้นมา แล้วเราก็ไปกำหนดให้จิตของเราตกเป็นทาสความรู้สึกเช่นนั้น เมื่อเราเล็งแลเห็นแจ่มชัดอย่างนี้ เราก็รู้ว่าอันนั้นเป็นส่วนเกิน เราก็ค่อย ๆ ละ หากจะใช้คำพูดที่ไม่ใคร่สุภาพนัก เราก็ว่า เราค่อย ๆ ขัดเกลาสันดานของเรา

    แท้ที่จริงสันดานนี้ก็หมายแต่เพียงว่า อะไรก็ตามที่มันย้อม มามอม จิตของเรา ทำให้เศร้าหมอง หรือหากเราจะเรียกมันว่า กิเลส มันก็คือ โลภ โกรธ หลง อุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น สิ่งเหล่านี้รวมเรียกง่าย ๆ ว่าเป็นสันดาน

    ประโยชน์ข้อสุดท้ายของสมาธิคือ เพื่อแก้ไขขัดเกลาสันดานของตน ให้เป็นคนประณีตขึ้นเป็นคนมีจิตใจสะอาด ผ่องใสขึ้น เมื่อเรากำหนดสติเพ่งมองเข้าไปในใจของเรา เราแลเห็นว่า เรามีข้อบกพร่อง เช่นเราเป็นคนขี้โกรธ อะไรไม่ได้อย่างใจ เราจะโกรธปึงปังออกไป

    เราก็ค่อย ๆ มองดูว่า เมื่อโกรธออกไปอย่างนั้นแล้ว มันช่วยให้อะไรดีขึ้นบ้าง เราจะพบว่า ตรงกันข้าม มันมีแต่จะทำให้ทรุดโทรมมากขึ้นไปเท่านั้น เพราะคนที่ถูกเราโกรธ พอที่เขาจะช่วยเรา เขาก็สะบัดมือไป เพราะคิดว่า อยากไม่พอใจ อยากโกรธ ก็เชิญทำเอง

    ตกลงเราก็ปิดประตูให้ตัวเอง ทำให้สิ่งที่ไม่ได้เป็นปัญหาแต่แรก กลายเป็นปัญหาขึ้นมาโดยไม่จำเป็น เพราะฉะนั้น ถ้าเรามีสมาธิ มีสติ มีปัญญา ค่อย ๆ ดูแลและแนะสอนจิตของเรา เราก็จะหาเหตุ หาผล และค่อย ๆ ประคับประคอง แก้ไขปัญหาเหล่านี้ ให้หลุดออกไป ตกออกไป

    ดังนั้น อะไรทุกอย่างก็จะค่อย ๆ ดีขึ้น สิ่งที่จะเป็นอุปสรรค เป็นความยากลำบาก เป็นปัญหา ก็จะค่อย ๆ คลายลงไป หรือหากยังเหลืออยู่ ก็จะเหลืออยู่ในแง่ที่เบาบาง ซึ่งอย่างน้อยที่สุด เราคงพบหนทางออกได้ หากเราบากบั่นต่อไป

    จากที่กล่าวมาแล้วนี้ จะเห็นได้ว่า เราสามารถฝึกอบรมจิตของเราให้มีสมาธิได้ ด้วยกรรมวิธีที่ไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไรเลย และไม่ต้องเสียเวลาในการประกอบกิจวัตรประจำวันของเราด้วย

    เพียงแค่ว่า เรามีความจงใจ ความตั้งใจ จดจ่อกับสิ่งที่เรากำลังทำอยู่นั้น ทุกขณะ ๆ และใช้ความอดทน ความเคร่งครัด กับตัวของเราเอง โดยสม่ำเสมอ

    เพราะส่วนใหญ่ เราสามารถเคร่งครัดกับผู้อื่นได้ ออกกฏเกณฑ์ คอยสำรวจ คอยจับผิด หรือดูให้คนอื่นทำตามสิ่งที่เราวางกฎเอาไว้ได้อย่างเด็ดขาด ครั้นมาถึงตัวของเราเข้า จะพบว่าเราย่อหย่อนที่สุด

    เมื่อเราทำอะไรไม่ได้ตามที่เราตั้งกฏเอาไว้ เราก็มักยกโทษให้ตัวเองว่า ช่างมันเถอะ เหนื่อยมามากแล้ว วันนี้พอกอ่น ค่ำไปแล้ว ไม่มีเวลา เรามีอะไรต่อมิอะไรอย่างนี้ มาแก้ต่างให้ตัวเองอย่างเหลือเชื่อ คือเราจะตามใจตัวเองในทางที่ไม่น่ารักอยู่ตลอดเวลา

    และหากใครมาบอก เราจะโกรธเป็นฟืน เป็นไฟ และจะไม่เชื่อด้วย เพราะเราอยู่ในฐานะที่เป็นผู้คอยดูแลคนอื่นจนเคยตัว เกิดความเคยชิน ที่จะมองออกนอก

    ยิ่งเรามีความสำเร็จมากเพียงใด มีตำแหน่ง ชื่อเสียง เกียรติยศมากเพียงใด สิ่งนี้จะเสมือนผงอยู่ในตาตัวเอง ใครเขี่ยให้ก็ไม่ได้ นอกจากเราจะเอาสติเอาปัญญามาเขี่ยให้ตัวเอง

    หากเราเขี่ยให้ตัวเองอยู่อย่างนี้ และเขี่ยอยู่ทุกวัน ๆ ๆ จนเกิดความรู้แจ้งเห็นจริงขึ้นในจิต เราก็จะสามารถขัดเกลาสันดานของเราที่เราเคยเป็นคนมักโกรธ เวลามีอะไรมากระทบ แทนที่เราจะปึงปังเอะอะออกไป

    เราก็ค่อย ๆ อ่อนโยนลง จะค่อย ๆ เยือกเย็น จะค่อย ๆ สงบ และมีความสุขขึ้น ผู้คนรอบข้างเราก็พลอยมีความสุขตามไปด้วย


    -------------------------------------------
    สมาธิในชีวิตประจำวัน
    โดย พ.ญ. อมรา มลิลา

     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    สมาธิในชีวิตประจำวัน (ตอนที่ 2)

    เราก็รู้กันอยู่แล้วว่า จิตของเราเป็นพลัง ซึ่งเปรียบได้กับคลื่นวิทยุ ฉะนั้นเมื่อเรามีความรู้สึกเกิดขึ้น แม้เราจะไม่พูดออกมาด้วยวาจา ไม่แสดงออกมาด้วยกายก็ตาม แต่ใจเป็นสิ่งที่สัมผัสถึงกันได้

    เช่น เราเข้าไปรวมอยู่ในที่ประชุม ซึ่งคนกำลังทะเลาะถกเถียงกันหน้าดำคร่ำเครียด พอเราเข้าไปถึง เราจะรู้สึกได้ถึงความตึงเครียดเหล่านั้น ซึ่งก่อให้เกิดความไม่สบายใจแห้งแล้งอึดอัด และระมัดระวังตัว

    แต่ถ้าเราเข้าไปในที่ซึ่งสงบเยือกเย็น เราจะรู้สึกว่าบรรยากาศนั้นดึงดูดเรา เชิญชวนเราให้อยากเข้าไปใกล้ ทำให้เรารู้สึกสบาย รู้สึกชื่นใจ เพราะความเย็น ความสบาย

    เพราะฉะนั้น การที่ทุกวันนี้ เราเข้าไปที่ไหน ก็รู้สึกแต่ว่าเครียดไปหมดนั้น เนื่องมาจากใจของแต่ละคน ๆ ที่ไม่ได้รับการดูแลรักษาให้ได้พักผ่อน และได้อาหารเพียงพอนั้น เต็มไปด้วยความเหนื่อย ความสับสน ความว้าวุ่น

    และกระแสของความว้าวุ่นที่อยู่ข้างในของแต่ละคน ๆ ก็กระจายเป็นคลื่นออกมา และมาสัมผัสซึ่งกันและกัน มามีอิทธิพลต่อกันและกัน มาทำให้อะไรต่อมิอะไรเกิดเดือดร้อน เคร่งเครียดไปหมด

    เมื่อแดดร้อน เราเอาพัดลมมาพัด ยังพอทุเลาได้ แต่ร้อนใจนี่ ไม่รู้จะเอาอะไรมพัดให้หายได้ นอกจากเอาสมาธิไปบำรุง ไปทำให้มันสงบลง ให้มันเย็นลง

    เมื่อเราทราบถึงประโยชน์ของสมาธิดังนี้แล้ว และก็เห็นว่า ไม่เป็นสิ่งเหลือบ่ากว่าแรง สำหรับที่เราจะทำได้ ฉะนั้นโปรดลอง กรุณาลองดู กำหนดสติให้อยู่กับปัจจุบันทุกขณะ ๆ จดจ่ออยู่อย่างนั้น

    เมื่อใดที่รู้ตัวว่าใจเผลออกไป ก็ดึงกลับมา ทำดังนี้ เพื่อฝึกสติอยู่เรื่อย ๆ ให้เวลาจริงจังสัก ๓ เดือน ก็จะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลง จะเห็นว่า ใจของเรามีกำลังขึ้น

    ที่เราเคยคิดบางครั้งว่า มิช้ามินานเราอาจเป็นโรคจิตโรคประสาทขึ้นก็ได้นั้น เราจะเปลี่ยนเป็นคนที่มีความอนทน มีความเยือกเย็นขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อเลย และจะเห็นว่า แต่ก่อนนั้น เมื่อมีสิ่งไม่สบอารมณ์มากระทบ

    เราจะรู้สึกว่า ทำไมจึงเป็นอย่างนี้ ทำไมมันจึงเป็นปัญหาไม่รู้จบ รู้สิ้น มาบัดนี้เรากลับเห็นว่า แท้ที่จริงเหตุกราณ์ที่เกิดขึ้นนั้น หาใช่ปัญหาหนักหนาแต่อย่างใดเลย แต่เราเอง ต่างหาก เราไปทำให้มันแลดูหนักหนา ไปทำให้มันแลดู ทับถม เป็นภาระอันหนัก

    เราเกิดความเข้าใจในชีวิตขึ้นใหม่ว่า สิ่งที่เราคิดว่าเป็นปัญหานั้น แท้ที่จริงหาใช่ปัญหาไม่ แต่เพราะความคิดเห็นของเรา ความยึดมั่นถือมั่นของเรา วิธีการที่เราดำรงชีวิตของเราต่างหากที่ก่อปัญหาขึ้นมา

    เพราะฉะนั้นเมื่อเราเล็งแลเห็นอย่างนี้ เราก็เปลี่ยนความคิดให้ถูกต้อง หรือที่เรียกว่า ทำความคิดให้เป็นสัมมาทิฐิ พอเปลี่ยนความคิดให้ถูกต้อง ให้อยู่ในเหตุในผล ในแบบแผนแล้ว เราจึงค่อยกระทำไปตามนั้น ทุกอย่างก็ค่อยดีขึ้น

    เราก็ได้ชื่อว่า ไม่เป็นผู้เบียดเบียนตนเอง เพราะปกติคนเรามีหน้าที่ต้องสงเคราะห์ตัวเอง ให้กายแข็งแรงปราศจากโรค มีความสุข สบายกายและให้ใจสงบผ่องใสจากกิเลส สิ่งมัวหมองทั้งปวง มีความสงบใจ เย็นใจ ตามสมควร

    ไม่ใช่จะข่มขู่ตัวเองให้เที่ยวได้แต่วิ่งหาวัตถุ เพื่อมาบำรุงกาย โดยไม่ทันได้นึกเลยว่า เมื่อวิ่งวุ่นเที่ยวหาแต่วัตถุนั้น สิ่งที่แสวงหาเป็นสิ่งจำเป็นโดยแท้ หรือเพราะเราไปเอาความเศร้าหมอง คือ กิเลสเข้ามาเคลือบคลุมจิตใจของเรา ทำให้เกิดความอยาก เกิดความต้องการอันไม่รู้จบ รู้สิ้น

    ตัวอย่างเช่น เรานึกเอาว่า ถ้าเราหาเงินได้สักเดือนละสองหมื่นก็พอกินพอใจ ครั้นหาได้ถึงเดือนละสองหมื่นจริง ๆ กลับเกิดรู้สึกไม่พอเสียอีกแล้ว เพราะสมัยนี้ค่าของเงินตกต่ำลง สองหมื่นเดี๋ยวนี้ ก็เทียบได้แค่สี่พันของเมื่อตอนเราตั้งความหวังไว้เท่านั้น เราจึงต้องหาให้ได้สักเดือนละแสนจึงจะพอ

    หากเป็นดังนี้ เราก็ไม่มีวันหาได้พอ เพราะความต้องการของเราไม่มีวันรู้จบ ถ้าเราอนุโลม ตามความอยากหรือกิเลสในจิตของเราไปเรื่อยๆ แต่ถ้าหากเรามีสมาธิ มีสติ มีปัญญา ที่จะมองดูปัญหาทุกอย่างตามความเป็นจริง

    และไตร่ตรองดูว่า อะไรกันแน่ คือสิ่งที่จำเป็นที่ชีวิตของเราต้องการ สำหรับบำรุงรักษากายให้สุขสบายตามควร ขณะเดียวกัน ใจก็ได้ความสงบความสุขด้วย

    ไม่ใช่มัวเพ่งเล็งแต่กาย ให้ได้รับการทำนุบำรุงอย่างดี โดยไม่คำนึงถึงใจ ปล่อยให้เป็นเหมือนม้าที่ถูกใช้ลาก หรือบรรทุกของจนเกินกำลัง ขนาดเพิ่มฟางไปอีกเพียงเส้นเดียวหลังก็หักได้ เราต้องคอยระวังให้ทั้งกายและใจได้รับการดูแลรักษาในสัดส่วนที่เป็นสมดุลกัน

    เมื่อเราได้สงเคราะห์ตัวของเราเองดังนี้แล้ว ความมีน้ำใจก็จะเผื่อแผ่ไปถึงเพื่อนร่วมเกิดแก่เจ็บตายที่อยู่รอบข้างด้วย เพราะเมื่อใจของเราได้พัก ได้อาหารหล่อเลี้ยงให้มีกำลัง มีความสงบ อิ่ม เต็มแล้ว อะไร ๆ รอบข้างที่เข้ามากระทบก็เป็นสิ่งที่สามารถรับได้ ทนได้

    ทำให้เรากลายเป็นคนมีพรหมวิหาร เอาใจเขามาใส่ใจเรา เกิดความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โดยคิดว่า อะไรก็ตาม หากเรามีพอที่จะสงเคราะห์ผู้อื่นได้ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุสิ่งของหรือเป็นด้วยวาจา ด้วยการกระทำ หรือด้วยน้ำใจ เราก็เอื้อเฟื้อเจือจานโดยเสมอหน้ากัน ผู้ใดล่วงล้ำก้ำเกินต่อเรา เราก็อภัยให้ด้วยเมตตา ทำให้การอยู่ร่วมกันบังเกิดความร่มเย็นเป็นสุข

    ขณะเดียวกัน เราก็คิดเอื้ออาทร ห่วงใยต่อไปถึงสิ่งแวดล้อม ถึงดินฟ้าอากาศ แผ่นดิน แผ่นน้ำ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของเราว่า เราได้ทำอะไรให้เกิดความเสียหายต่อธรรมชาติเหล่านี้บ้างหรือเปล่า

    ทุกวันนี้แต่ละคนต่างคิดว่า เราจะหาประโยชน์ใส่ตนให้มากที่สุด โดยไม่คำนึงว่าการกระทำของเราจะไปสร้างความสกปรก หรือความเป็นพิษ ให้แก่อากาศที่เราใช้หายใจเพื่อดำรงชีวติอย่างไรบ้าง หรือแก่แม่น้ำ มหาสมุทร ซึ่งมีสัตว์น้ำที่เป็นอาหารของเราอาศัยอยู่

    เราไม่เคยใคร่คิดไตร่ตรองถึงปัญหาเหล่านี้มาก่อน ปล่อยปละละเลยจนมันเกิดปัญหาขึ้น แล้วจึงคิดแก้ เพราะฉะนั้นเราจึงวิ่งตามแก้ไม่รู้จบรู้สิ้นสักที แต่นี้ไป ก่อนกระทำอะไร เราจะมองให้รอบคอบเสียก่อน

    คิดไปถึงว่า หากทำลงไปแล้วอีก ๑๐ ปีข้างหน้า อีก ๒๐ ปีข้างหน้า จะมีผลเสียอย่างใดเกิดขึ้นบ้าง ลูกของเรา หลานของเรา จะเดือดร้อนจากการกระทำที่เราไม่ได้คิดให้รอบคอบนี้หรือเปล่า

    เพราะฉะนั้นเราก็จะกระทำทุกสิ่งลงไปโดยที่ตัวของเราเองก็มีความสงบสุข เพื่อนรอบข้างก็มีความสงบสุข และแม้กระทั่งแผ่นดินที่อยู่อาศัยก็พลอยร่มเย็นตามไปด้วย ทุกสิ่งก็จะน่าอยู่ และมีผลสืบต่อกันไป

    เป็นการถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกัน ทำให้ใจของเราสงบขึ้น นิ่งขึ้น และเราไม่ต้องใช้ความพยายามมากมาย ในการที่จะประคับประคองใจให้คงเยือกเย็นเป็นสมาธิอยู่

    ความคิดที่ว่า หากเราฝึกสมาธิแล้ว เราจะบกพร่อง หรือละเลยภาระที่เป็นกิจวัตร ประจำวันของเราไปนั้น เป็นความคิดที่ผิด เราสามารถทำได้ แม้เราจะยังมีหน้าที่การงานทางโลกอยู่อย่างเข้มแข็ง และการฝึกสมาธิจะไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในการปฏิบัติหน้าที่ของเราเลย

    ยกตัวอย่างเช่น มีผู้สงสัยว่า หากเราจำต้องไล่ผู้ใต้บังคับบัญชาที่ทำผิดระเบียบวินัยออกจากงาน โดยที่เราเคยเรียกมาว่ากล่าวตักเตือนและภาคทัณฑ์ไว้แล้วว่า หากยังประพฤติผิดดังนั้นอีก จะต้องถูกไล่ออก การกระทำดังนี้ จะทำให้เรากลายเป็นผู้ขาดความเมตตากรุณาไปหรือไม่

    คนส่วนใหญ่ไปเข้าใจผิดว่า ความเมตตากรุณาคือการไม่ลงโทษผู้หนึ่งผู้ใด แม้ผู้นั้นจะกระทำผิดก็ตาม สิ่งนั้นไม่ใช่เมตตากรุณา แต่เป็นความเกรงว่าผู้ถูกลงโทษจะผูกใจเจ็บ และโกรธแค้นเรา

    เมื่อเรามีหน้าที่ต้องรักษากฏ ผู้ใดที่ฝ่าฝืนกฏ กระทำความผิดให้ปรากฏ เราก็ต้องตัดสินไปตามหลักเหตุและผล และทำไปด้วยความเห็นอกเห็นใจ ไม่ใช่ด้วยความเกลียดชังคุมแค้นเป็นส่วนตัวว่า เขาดื้อดึงอวดดี ขัดใจเรา ขัดคำสั่งของเรา

    หากทำไปโดยพิจารณา ไตร่ตรองรอบคอบแล้ว เรามีหน้าที่ปกครองลูกน้อง มีความรับผิดชอบ ที่จะต้องบริหารให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามกรอบของกฏข้อบังคับ เพื่อความสงบเรียบร้อยของหมู่คณะ และการปฏิบัติงาน เราก็ต้องหนักแน่นเด็ดขาด ในการรักษากฏข้อบังคับนั้น ๆ

    เราได้ให้โอกาสแก่เขาแล้ว โดยชี้แจงตักเตือนและภาคทัณฑ์ แต่เขายังละเมิด ขืนทำความผิดซ้ำอีก หากเราปล่อยไป ก็จะเป็นตัวอย่างให้คนอื่นทำตามบ้าง แล้วผลเสียก็จะทับทวีขึ้น พระพุทธองค์สอนให้เราเอาใจเขามาใส่ใจเรา ให้เรามีเมตตากรุณาก็จริงอยู่

    แต่ท่านมิได้สอนให้เราสนับสนุนคนให้เป็นโจรทั่วเมือง เราเมตตากรุณาต่อเขาในแง่ที่เป็นคุณธรรมความดี หากเป็นความผิด เป็นความบกพร่อง เราต้องลงโทษเพื่อให้เขาหลาบจำ และแก้นิสัยนั้นให้ตกไป

    กฏข้อบังคับก็ต้องเป็นกฏข้อบังคับ การลงโทษก็ยังต้องมีอยู่ แต่เราลงโทษด้วยจิตใจที่ว่างเปล่า จากความคิดร้ายต่อเขา การที่เราจะนำธรรมะมาประยุกต์ใช้ให้ได้ผลเต็มที่นั้น เปรียบเหมือนความรักของพ่อและของแม่รวมกัน

    พ่อรักลูกด้วยความเข้มแข็งเด็ดขาด มีกฏข้อบังคับวางไว้ เพื่อปลูกนิสัยดีงามให้แก่ลูก หากลูกทำผิดก็ต้องลงโทษ ต้องเฆี่ยนตี เพื่อให้หลาบจำ ดังคำพังเพยที่ว่า รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี

    แต่ขณะเดียวกันในใจก็เปี่ยมไปด้วยความสงสาร เห็นอกเห็นใจ ให้อภัยและให้โอกาสแก่เขาที่จะกลับตัว แบบเดียวกับความรักของแม่ ที่เมื่อเห็นลูกถูกตี ก็ปลอบ โอบอุ้ม ให้กำลังใจ ให้ลูกเล็งแลเห็นจุดประสงค์ของการถูกลงโทษ และจดจำไว้ เพื่อจะไม่ทำผิดเช่นนั้นอีก

    การที่มีคนหันมาสนใจสมาธิ และนำไปฝึกหัดปฏิบัติ ให้รู้เห็นเป็นขึ้นในตนนั้น เป็นสิ่งควรยินดี และสนับสนุน เพราะหากเราไม่ขวนขวายหาทางแก้ไข หล่อเลี้ยงบำรุงใจของเรา ขณะที่ยังพอมีหนทาง เราก็อาจประมาทจนหมดโอกาสเยียวยาแก้ไขให้ใจของเรากลับคืนดีขึ้นมาก็เป็นได้

    เพราะการหลงทาง หรือหลงอย่างอื่นนั้น ยังพอมีทางแก้ไข แต่การหลงใจไปตามกิเลส ตัณหา อวิชชา อุปาทาน เป็นการหลงที่หมดหนทางเยียวยา

    การปล่อยใจให้มัวหมอง รุ่มร้อนนั้น ผลร้ายมีอเนกอนันต์กว่าที่เราคาดคิด เพราะการแห้งแล้งน้ำใจต่อกัน หรืออยู่กันอย่างเคร่งเครียดเข้าหากันนั้น เป็นภาวะที่ร้ายกาจยิ่งเสียกว่าเราเจ็บป่วยด้วยโรคทางกาย หรือมีข้อขัดข้องอะไรที่เห็นได้ทางวัตถุ ซึ่งสามารถนำมาแก้ไขได้

    ใจเป็นสิ่งสำคัญ เป็นตัวบงการทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เราจะกระทำลงไป เพราะฉะนั้นหากทุกคนระมัดระวังสักนิด หรือให้ความใส่ใจกับใจของเรา กับสิ่งที่เป็นนามธรรม ที่ดูเหมือนไม่มีความสลักสำคัญอะไร ให้มากขึ้นอีกสักหน่อย

    เราอาจทำให้อะไร ๆ ที่เคยคิดว่าหมดทางช่วยเหลือ หรือแก้ไขไม่ได้แล้ว ให้กลายเป็นสิ่งที่แก้ไขได้ หรือเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ผลงาน อย่างที่เราเองก็นึกไม่ถึง การกระทำดังนี้ ไม่ต้องไปแสวงหาจากที่ใด หรือลงทุนด้วยอะไรเลย หากแต่เกิดขึ้นได้จากการที่แต่ละคน แต่ละคน แต่ละคน เอาน้ำใจของตนมาเอื้อเฟื้อเจือจานซึ่งกันและกันเท่านั้นเอง

    ------------------------------------
    สมาธิในชีวิตประจำวัน
    โดย พ.ญ. อมรา มลิลา


     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    สาเหตุของการไม่มีสมาธิ

    สาเหตุของการไม่มีสมาธิ
    ๑. ขาดความสนใจในสิ่งที่ทำ
    ๒. สนใจในสิ่งที่ทำมากจนเกินไป
    ๓. สนใจหลายเรื่องในเวลาเดียวกัน
    ๔. ความเป็นคนหัวดี ปัญญาดี ทำให้คิดไปที่อื่นเร็ว
    ๕. จิตครอบงำด้วยนิวรณ์


    การสร้างนิสัยให้มีสมาธิในชีวิตประจำวัน
    ๑. สร้างนิสัย “ลงมือทำทันที”
    ๒. สร้างนิสัย “เรียนล่วงหน้า” มิใช่แค่ “เรียนตาม”
    ๓. สร้างนิสัยมุ่งมั่นว่า “ถ้าทำไม่เสร็จจะไม่ใส่ใจอะไรอื่น”
    ๔. จัดลำดับของเรื่องที่จะทำก่อนลงมือ
    ๕. หัดคิดทีละเรื่อง โดยให้เจาะลึกในเรื่องนั้นๆ อย่าผิวเผิน
    ๖. สร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะแก่การมีสมาธิ
    ๗. รู้จักพักเป็นช่วงๆ
    ๘. สร้างความเต็มใจและจริงใจที่จะทำสิ่งนั้นๆ
    ๙. พยายามหัดคิดในเรื่องสร้างสรรค์
    ๑๐. เลิกนิสัยมากเรื่องในการจะทำอะไรสักอย่าง


    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน ได้แนะนำวิธีการทำสมาธิในห้องเรียนว่า
    ๑. หาที่นั่งที่สามารถมองเห็นครูและกระดานได้ชัดเจน
    ๒. เมื่อครูเดินเข้ามา ส่งจิตไปรวมที่ครูผู้สอน
    ๓. จับใจความให้ได้ตามที่ครูต้องการ
    ๔. เวลาว่างแทนที่จะนั่งคิดสิ่งอื่น ก็นำบทเรียนมาคิด
    ๕. ให้สติรู้ตัวทุกอิริยาบถ ในการทำ พูด คิด


    ...............................................................
    ขอบคุณบทความจากพลังจิตดอทคอม
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    การฝึกทำสมาธิมีหลายรูปแบบ

    การฝึกหายใจให้สมบูรณ์ คือการฝึกหายใจให้ร่างกายได้รับอ๊อกซิเจนอย่างเต็มที่ จะทำให้ร่างกายแข็งแรง และจิตใจแจ่มใส การอยู่ในอริยาบทที่สบาย ถ้านั่งก็นั่งแบบสบายๆ แต่ไม่ต้องเอนไปเอนมา เป็นมนุษย์ไร้สันหลังนะครับ ค่อยๆหายใจเข้าลึกๆ จนลมหายใจไปถึงกระบังลม ที่เรียกว่าหายใจเข้าท้องป่อง หลังจากนั้นก็หยุดหายใจสัก ๒-๔ วินาที เพื่อให้ปอดได้รับอ็อกซิเจนอย่างเต็มที่ แล้วจึงค่อยๆ ปล่อยลมหายใจออกอย่างช้าๆ จนท้องแฟ่บ ซึ่งข้อมูลการหายใจแบบนี้ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก หนังสือ วิทยาศาสตร์การหายใจ ของเจ้าคุณนรฯ ซึ่งได้แปลและเรียบเรียงค้นคว้าขึ้นมา ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งตอนนี้หนังสือเป็นลิขสิทธิ์ ของมูลนิธิเจ้าคุณนรฯ

    เมื่อหายใจอย่างสมบูรณ์แล้วก็มาเริ่มฝึกสมาธิกัน โดยท่านสามารถเลือกได้ว่าจะฝึกสมาธิกับอะไร เช่น การเพ่งกสิณ การมองพระพุทธรูป และที่นิยมคือการติดตามลมหายใจของตนเองในขณะนั่ง และติดตามการเดินของตนเอง ในขณะเดินจงกลม ซึ่งถือว่าเป็นการฝึกสมาธิที่ได้ผลดีชนิดหนึ่ง ในบางตำรา และบางสำนัก นิยมให้ฝึกสมาธิแบบเป็นชุด คือ เดินจงกลมส่วนหนึ่ง เสร็จแล้วมานั่งสมาธิอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเชื่อกันว่าจะทำให้การฝึกสมาธิ พัฒนาไปได้เร็วยิ่งขึ้น บางตำราให้เพิ่มการนอนสมาธิ หลังจากการนั่งสมาธิ อีกส่วนหนึ่งด้วย

    ก่อนทำสมาธินั้นควรตั้งจิต อธิษฐานว่าจะทำสมาธิ รวมทั้งมนัสการคุณพระรัตนตรัยก่อน

    สำหรับการจัดท่าทางการทำสมาธินั้น ขอให้ผ่อนคลายแต่อย่าสบายจนหลับแล้วกัน

    ข้อควรระวังที่ทำให้สมาธิฟุ้งซ่าน และไม่พัฒนาก็คือ การติดอยู่กับทางโลก โดยเฉพาะเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่อง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ต่างๆ ชวนพาให้จิตใจฟุ้งซ่าน เตลิดเปิดเปิงไปได้ง่ายๆ ความง่วงเหงาหาวนอน ก็เป็นตัวบั้นทอนสมาธิที่ร้ายกาจ การปล่อยอารมณ์โกรธ อาฆาตพยาบาทก็เป็นตัวทำลายสมาธิ และความลังเลสงสัย ในผลของการปฏิบัติก็เป็นตัวปัญหาสำคัญที่ทำให้การฝึกสมาธิไม่เป็นผล ที่ทางธรรมเรียกสิ่ง ต่างๆ เหล่านี้ว่า นิวรณ์ทั้ง ๕ ซึ่งจำเป็นต้องปล่อยวางก่อนจะเข้าสู่การทำสมาธิ

    หลังการทำสมาธิ ควรอุทิศบุญที่สำเร็จแก่ ตนเอง มารดาบิดา ญาติ ครูอาจารย์ เทพเทวา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกรูปทุกปาง เจ้าบุญนายคุณ เจ้ากรรมนายเวร และแผ่เมตตาแก่สัตว์


    การฝึกทำสมาธิมีหลายรูปแบบ แล้วแต่ผู้สอนจะนำมาแนะนำ ทางโครงการผู้ก่อการบุญ จะแนะนำการท
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    การเพ่งกสิณเพื่อการทำสมาธิภาวนา

    แม้แนวทางในการปฏิบัติสมาธิภาวนาจะมีอยู่ด้วยกันหลายแนวทาง แต่การที่จิตจะเข้าสู่สมาธิได้นั้นจิตจำเป็นจะต้องมีเครื่องรู้ (อุบายกรรมฐาน) [1]เพื่อให้จิตใช้เป็นเครื่องมือในการเข้าสู่สมาธิ ซึ่งอุบายกรรมฐานก็มีอยู่ด้วยกันทั้งหมดสี่สิบกองและอีกสี่อุบายวิธี แต่ละอุบายวิธี ตางมีความสำคัญและสามารถนำไปใช้ให้เกิดผลได้จริง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าใครจะถูกจริตกับกรรมฐานกองใด และหากว่าใครมีจริตตรงกับกรรมฐานกองใด ก็จะสามารถนำกรรมฐานกองนั้นไปใช้อย่างได้ผล องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงรู้แจ้งในเรื่องการปฏิบัติสมาธิภาวนา และเรื่องการเข้าฌานทั้งรูปฌาณและอรูปฌานได้ทรงชี้แนะแนวทางในการปฏิบัติสมาธิภาวนาด้วยการใช้อุบายกรรมฐานไว้ทั้งหมดสี่สิบกองด้วยกัน ซึ่งภายใต้กรรมฐานทั้งสี่สิบกองนั้นจะประกอบไปด้วยกรรมฐานที่เกี่ยวเนื่องกับการเพ่งกสิณอยู่ถึงสิบกอง อีกทั้งการเพ่งกสิณยังเป็นกรรมฐานกองแรกๆ ของกรรมฐานทั้งหมด (เป็นอุบายวิธีต้นๆ ในการปฏิบัติกรรมฐาน) นั้นย่อมแสดงให้เห็นถึงว่า การเพ่งกสิณจัดเป็นอุบายวิธีในการทำสมาธิที่มีดีอยู่ในตัวอย่างแน่นอน


    วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    สัมมาสมาธิ

    การ ฝึกสมาธิเพื่อให้เกิดประโยชน์และคุณค่า ผู้ฝึกหรือผู้ปฏิบัติย่อมต้องการที่จะฝึกหรือปฏิบัติในแนวทางที่ถูกต้อง ซึ่งนอกจากจะฝึกหรือปฏิบัติได้ถูกต้องแล้ว จำเป็นจะต้องทราบว่าวัตถุประสงค์ของการฝึกหรือปฏิบัติเพื่ออะไร ทั้งนี้การฝึกสมาธิในแนวทางที่ถูกต้องในทางพระพุทธศาสนาเรียกว่าสัมมาสมาธิ และสัมมาสมาธินั้น โดยความหมายทั่วไป หมายถึงการตั้งจิตมั่นชอบ ซึ่งในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึงสัมมาสมาธิไว้หลายแห่ง โดยได้อธิบายความหมาย ตลอดจนลักษณะของสัมมาสมาธิไว้ หลายแห่งดังนี้


    สัมมาสมาธิเป็นไฉน ?

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้า ถึงปฐมฌานมีวิตกวิจารมีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอเข้าถึงทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าถึงตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอเข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ[2]

    จาก ความที่ยกนำมากล่าวนี้ แสดงว่าสัมมาสมาธิ จะมีความสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เมื่อเข้าถึงปฐมฌาน จนกระทั่งถึงจตุตถฌานแล้ว จะมีสภาวะที่ไม่สุข ไม่ทุกข์ และเป็นอุเบกขา จนมีสติบริสุทธิ์ นอกจากนี้ ในพระไตรปิฎกยังกล่าวถึงลักษณะของสัมมาสมาธิไว้ดังนี้


    ลักษณะของสัมมาสมาธิคือการที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน[3]

    สัมมาสมาธิ มีความตั้งมั่นแห่งจิตโดยชอบเป็นลักษณะ [4]
    ส่วนในพระอภิธรรมปิฎก[5] ได้กล่าวถึงลักษณะของจิตที่เป็นสัมมาสมาธิว่า

    สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ? ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาสมาธิมีในสมัยนั้น.

    จาก ลักษณะของสัมมาสมาธิที่กล่าวนี้ ในพระไตรปิฎกยังแสดงให้เห็นว่า สัมมาสมาธิมีคุณูปการแก่ผู้ฝึกหรือผู้ปฏิบัติ โดยเมื่อจิตไม่ฟุ้งซ่านและมีความตั้งมั่นแห่งจิตแล้ว ย่อมขจัดมิจฉาสมาธิ ตลอดจนกิเลสได้ ดังความในพราหมณสูตร[6]กล่าวถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้อีกตอนหนึ่งว่า

    สัมมาสมาธิที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด. จาก ความข้างต้น แสดงให้ทราบว่า สัมมาสมาธิสามารถขจัดมิจฉาสมาธิ ตลอดจนกิเลสและความฟุ้งซ่าน สามารถทำให้ผู้ปฏิบัติเข้าสู่เป้าหมายสูงสุดคือพระนิพพานได้ ดังความในปปัญจสูทนี อรรถกถามัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ กล่าวไว้ดังนี้

    สัมมา สมาธิ (เมื่อเกิดขึ้น) ย่อมละมิจฉาสมาธิ กิเลสที่เป็นข้าศึกต่อสัมมาสมาธิและความฟุ้งซ่านนั้นได้ กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ และย่อมตั้งมั่นสัมปยุตธรรมทั้งหลายไว้โดยชอบ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า สัมมาสมาธิ[7]

    สรุปได้ว่า การจะฝึกสมาธินั้น บุคคลจะต้องยึดหลักการฝึกแบบสัมมาสมาธิ กล่าวคือ ฝึกเพื่อการทำให้ใจสงบ ระงับจากกาม ปราศจากอกุศลธรรมทั้งหลาย และไม่ฟุ้งซ่าน จนกระทั่งจิตตั้งมั่น ไม่ซัดส่าย ก็จะสามารถทำให้การฝึกและปฏิบัติของบุคคลนั้น ถูกต้อง ตรงต่อพระพุทธธรรมคำสอน จนสามารถบรรลุถึงเป้าหมาย คือพระนิพพานได้ ทั้งนี้ การที่จะจิตจะไม่ฟุ้งซ่าน จิตจะต้องไม่คิดหรือตรึกในสิ่งที่จะทำให้จิตเกิดราคะ โทสะ โมหะ ซึ่งในพระไตรปิฎก ได้กล่าวถึงลักษณะของจิตฟุ้งซ่านว่า จะมีลักษณะที่ซัดส่ายไปข้างนอก คือซัดส่ายไปในอารมณ์ คือกามคุณ ทำให้มีความพอใจในกามคุณ 5 อย่าง คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ซึ่งทำให้จิตระคนปนเจือไปด้วยความตรึกไปในกาม[8]


    วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มิจฉาสมาธิ

    <TABLE class=tick02 cellSpacing=0 cellPadding=5 width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top height=100>โดยความหมายที่ตรงข้ามกับสัมมาสมาธินั้น ก็หมายถึงการตั้งมั่นจิตที่ไม่ชอบ หรือ การที่จิตตั้งมั่นในสิ่งที่ผิด ซึ่งในพระไตรปิฎ1 ได้อธิบายว่าที่ชื่อว่า มิจฉาสมาธิ เพราะตั้งมั่นตามความไม่เป็นจริง ดังนั้น มิจฉาสมาธิจึงเป็นสิ่งที่แตกต่างจากสัมมาสมาธิ นั่นคือ มิจฉาสมาธิจะทำให้จิตซัดส่าย ฟุ้งซ่าน เป็นสภาพจิตที่

    ส่งออกนอกเพื่อไปมีความพอใจในกามคุณ 5 อย่าง คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ซึ่งทำให้จิตระคนปนเจือไปด้วยความตรึกไปในกาม ดังนั้น มิจฉาสมาธิจึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำให้กิเลสคือ โลภะ โทสะ และโมหะ เบาบางลงได้ และไม่ใช่หนทางที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดคือ พระนิพพานได้ ทั้งนี้ในพระไตรปิฎกได้อธิบายไว้อีกว่า


    มิจฉาสมาธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

    ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความ
    ไม่ ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจผิด ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มิจฉาสมาธิมีในสมัยนั้น

    ดังนั้น การฝึกสมาธิ จึงต้องยึดปฏิบัติตามหลักสัมมาสมาธิ ด้วยการไม่ส่งใจไปเกาะเกี่ยวกับกามคุณ ไม่ปล่อยใจให้ซัดส่ายเพลิดเพลินใน รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัสทางกาย โดยในทางตรงข้าม จะต้องน้อมใจให้อยู่ภายในกาย ให้ตั้งมั่น ไม่ซัดส่าย ไม่ฟุ้งซ่าน หมั่นพิจารณาสภาวะที่ปรากฏตามความเป็นจริง พร้อมด้วยการละโทสะ โมหะ และโทสะ ที่เกิดขึ้นในใจของตน อันจะสามารถนำไปสู่ทางพ้นทุกข์ และจะทำให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดในทางพระพุทธศาสนาได้


    ประเภทของสมาธิจำแนกตามการวางใจ

    สมาธิสามารถจำแนกได้ตามวิธีการกำหนดวางที่ตั้งของใจ หรือแบ่งตามที่ตั้งของใจในขณะที่เจริญสมาธิ ได้ 3 ประเภท ดังนี้ คือ

    1. ประเภทวางใจไว้นอกร่างกาย
    2. ประเภทวางใจในตัวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
    3. ประเภทวางใจไว้ในร่างกายที่ศูนย์กลางกาย


    1. ประเภทวางใจไว้นอกร่างกาย
    วิธีส่งจิตหรือใจออกข้างนอก เป็นวิธีที่ส่วนใหญ่ในโลกนี้ได้ใช้ฝึกกัน คือเอาใจส่งออกไปข้างนอกกาย เพราะเป็นวิธีการที่ง่าย เนื่องจากปกติคนส่วนใหญ่มักมีนิสัยชอบมองไปข้างนอก ดังนั้นการส่งจิตออกไปข้างนอกจึงสบาย ง่าย และทำได้กันเกือบจะทุกคน แต่ข้อเสียก็มี คือจะมีภาพนิมิตลวงเกิดขึ้นมา เป็นนิมิตเลื่อนลอยไม่ใช่ของจริงเกิดขึ้น บางนิมิตก็น่าเพลิดเพลิน


    บางนิมิตเห็นแล้วก็น่าสะดุ้งหวาดเสียว ถ้าหากว่าได้ครูที่ไม่ชำนาญ ไม่มีประสบการณ์เป็นผู้แนะนำ จะทำให้จิตออกไปข้างนอก และเป็นสาเหตุที่ทำให้ได้ยินบ่อยครั้งว่าการปฏิบัติธรรมฝึกจิตเป็นเหตุให้ เป็นบ้า ซึ่งที่จริงเกิดจากการวางใจไว้ผิดที่ โดยเอาออกไปสู่ข้างนอก เพราะฉะนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นมาจึงผิดมากกว่าถูก เก้าสิบกว่าเปอร์เซ็นต์ในโลกนี้ฝึกจิตด้วยวิธีการแบบนี้ ไม่ทางสู่ความพ้นทุกข์ ไม่เข้าถึงสรณะ เข้าไม่ถึงที่พึ่งที่ระลึกภายในตัว และเป็นโอกาสให้หลงตัวเอง พลาดพลั้ง และเดินผิดทางได้

    2. ประเภทวางใจในตัวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
    ประเภทที่ 2 จะเป็นการเอาใจมาไว้ข้างใน หรือคือการเอาความรู้สึกอยู่ภายในแล้วก็หยุดนิ่งเฉย ๆ ลอยๆ อยู่ภายในตัวของเราตามฐานต่างๆ ส่วนใหญ่แล้วมักจะอยู่ที่บริเวณทรวงอก แล้วหยุดนิ่งสงบ มีความเย็นกายเย็นใจเกิดขึ้น มีสติ มีปัญญา มีความรู้รอบตัวเกิดขึ้นบ้าง ซึ่งการปฏิบัติด้วยวิธีที่สองนี้มีอยู่น้อยในโลก วิธีอย่างนี้ยังถือว่าถูกมากกว่าผิด เช่น ถ้าจิตฝึกฝนด้วยการปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างในโลก ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรทั้งสิ้น แล้วก็ปล่อยให้สงบนิ่ง อยู่ภายในตัว จะทำให้รู้สึกมีความสุขอยู่ภายใน และการทำสมาธิแบบนี้จะทำให้มีความรู้สึกว่าเราไม่ติดอะไรเลย ไม่ยินดียินร้าย ปล่อยวางสงบ สว่างเย็น อยู่เฉยๆ อยู่ภายใน จะไม่ค่อยมีนิมิตเลื่อนลอยเกิดขึ้น เพราะว่าปล่อยวางหมด เอาแต่ความบริสุทธิ์ผ่องใสอย่างเดียว ให้สงบเย็น ความรู้ต่าง ๆ ก็เกิดขึ้นกว้างขวางกว่าเดิมมาก แต่ก็ยังเข้าไปไม่ถึงการพิจารณากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม จึงยังไม่ได้ชื่อว่าเข้าถึงไตรสรณคมน์ หรือหนทางพ้นทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง


    3. ประเภทวางใจไว้ในร่างกายที่ศูนย์กลางกาย
    ประเภทที่ 3 เป็นการฝึกใจโดยการเอาใจมาหยุดนิ่งภายในกลางกาย หรืออยู่ที่ตรงฐานที่ 7 หยุดจนกระทั่งถูกส่วน แล้วเห็นปฐมมรรคเกิดขึ้นมาเป็นดวงสว่าง ได้ดำเนินจิตเข้าไปในทางนั้น กลางของกลางปรากฏการณ์นั้น เข้าไปเรื่อย ๆ โดยเอามรรคมีองค์แปดประการขึ้นมาเป็นเครื่องปฏิบัติ



    DMC ธรรมะ กฎแห่งกรรม นรก สวรรค์ สมาธิ พุทธประวัติ สรรสาระดีๆ ที่คุณต้องรู้!!

    </TD></TR><TR class=text14><TD bgColor=#eeeeee>โดย : จิตสงบ | email : sugas.nop@hotmail.com | วันที่ : 200</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ประเภทของสมาธิจำแนกตามการวางใจ

    สมาธิสามารถจำแนกได้ตามวิธีการกำหนดวางที่ตั้งของใจ หรือแบ่งตามที่ตั้งของใจในขณะที่เจริญสมาธิ ได้ 3 ประเภท ดังนี้ คือ

    1. ประเภทวางใจไว้นอกร่างกาย
    2. ประเภทวางใจในตัวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
    3. ประเภทวางใจไว้ในร่างกายที่ศูนย์กลางกาย


    1. ประเภทวางใจไว้นอกร่างกาย

    วิธีส่งจิตหรือใจออกข้างนอก เป็นวิธีที่ส่วนใหญ่ในโลกนี้ได้ใช้ฝึกกัน คือเอาใจส่งออกไปข้างนอกกาย เพราะเป็นวิธีการที่ง่าย เนื่องจากปกติคนส่วนใหญ่มักมีนิสัยชอบมองไปข้างนอก ดังนั้นการส่งจิตออกไปข้างนอกจึงสบาย ง่าย และทำได้กันเกือบจะทุกคน แต่ข้อเสียก็มี คือจะมีภาพนิมิตลวงเกิดขึ้นมา เป็นนิมิตเลื่อนลอยไม่ใช่ของจริงเกิดขึ้น บางนิมิตก็น่าเพลิดเพลิน

    บางนิมิตเห็นแล้วก็น่าสะดุ้งหวาดเสียว ถ้าหากว่าได้ครูที่ไม่ชำนาญ ไม่มีประสบการณ์เป็นผู้แนะนำ จะทำให้จิตออกไปข้างนอก และเป็นสาเหตุที่ทำให้ได้ยินบ่อยครั้งว่าการปฏิบัติธรรมฝึกจิตเป็นเหตุให้ เป็นบ้า ซึ่งที่จริงเกิดจากการวางใจไว้ผิดที่ โดยเอาออกไปสู่ข้างนอก เพราะฉะนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นมาจึงผิดมากกว่าถูก เก้าสิบกว่าเปอร์เซ็นต์ในโลกนี้ฝึกจิตด้วยวิธีการแบบนี้ ไม่ทางสู่ความพ้นทุกข์ ไม่เข้าถึงสรณะ เข้าไม่ถึงที่พึ่งที่ระลึกภายในตัว และเป็นโอกาสให้หลงตัวเอง พลาดพลั้ง และเดินผิดทางได้


    2. ประเภทวางใจในตัวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย

    ประเภทที่ 2 จะเป็นการเอาใจมาไว้ข้างใน หรือคือการเอาความรู้สึกอยู่ภายในแล้วก็หยุดนิ่งเฉย ๆ ลอยๆ อยู่ภายในตัวของเราตามฐานต่างๆ ส่วนใหญ่แล้วมักจะอยู่ที่บริเวณทรวงอก แล้วหยุดนิ่งสงบ มีความเย็นกายเย็นใจเกิดขึ้น มีสติ มีปัญญา มีความรู้รอบตัวเกิดขึ้นบ้าง ซึ่งการปฏิบัติด้วยวิธีที่สองนี้มีอยู่น้อยในโลก วิธีอย่างนี้ยังถือว่าถูกมากกว่าผิด เช่น ถ้าจิตฝึกฝนด้วยการปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างในโลก ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรทั้งสิ้น แล้วก็ปล่อยให้สงบนิ่ง อยู่ภายในตัว จะทำให้รู้สึกมีความสุขอยู่ภายใน และการทำสมาธิแบบนี้จะทำให้มีความรู้สึกว่าเราไม่ติดอะไรเลย ไม่ยินดียินร้าย ปล่อยวางสงบ สว่างเย็น อยู่เฉยๆ อยู่ภายใน จะไม่ค่อยมีนิมิตเลื่อนลอยเกิดขึ้น เพราะว่าปล่อยวางหมด เอาแต่ความบริสุทธิ์ผ่องใสอย่างเดียว ให้สงบเย็น ความรู้ต่าง ๆ ก็เกิดขึ้นกว้างขวางกว่าเดิมมาก แต่ก็ยังเข้าไปไม่ถึงการพิจารณากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม จึงยังไม่ได้ชื่อว่าเข้าถึงไตรสรณคมน์ หรือหนทางพ้นทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง


    3. ประเภทวางใจไว้ในร่างกายที่ศูนย์กลางกาย

    ประเภทที่ 3 เป็นการฝึกใจโดยการเอาใจมาหยุดนิ่งภายในกลางกาย หรืออยู่ที่ตรงฐานที่ 7 หยุดจนกระทั่งถูกส่วน แล้วเห็นปฐมมรรคเกิดขึ้นมาเป็นดวงสว่าง ได้ดำเนินจิตเข้าไปในทางนั้น กลางของกลางปรากฏการณ์นั้น เข้าไปเรื่อย ๆ โดยเอามรรคมีองค์แปดประการขึ้นมาเป็นเครื่องปฏิบัติ

    คำว่า มรรค แปลว่าหนทาง หมายความว่าทางเดินของใจ ทางเดินของใจที่จะเข้าไปสู่ภายใน จนกระทั่งหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งหลาย โดยอาศัยศีล สมาธิ ปัญญา เป็นเครื่องกลั่นกรองใจ ให้สะอาด ให้บริสุทธิ์ ให้ผ่องใสขึ้นไปตามลำดับ จนกระทั่งเข้าไปถึงธรรมกายที่บริสุทธิ์หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งหลาย

    ตรงฐานที่ 7 ตรงนี้ที่เดียวจึงจะเห็นหนทาง แล้วก็ดำเนินจิตเข้าไปตามลำดับจนกระทั่งเข้าถึงธรรมกาย สิ่งนี้คือหลักในทางพระพุทธศาสนา เป็นหลักของการสร้างความสุขให้กับชีวิตในโลก ใครอยากจะหลุดอยากจะพ้น ก็ต้องทำมรรคให้เกิดขึ้นมา แล้วก็ดำเนินจิตเข้าไปตามลำดับ จนกระทั่งเข้าถึงธรรมกาย

    นอกจากนี้ถ้ากล่าวถึงวิธีการในการปฏิบัติสมาธิโดยละเอียดขึ้น จะพบวิธีที่ปรากฏอยู่ในตำราต่างๆ เช่น วิสุทธิมรรค ถึง 40 วิธี3 ซึ่งวิธีทั้ง 40 นั้น ต่างก็มีเป้าหมายอันเดียวกัน คือ การทำใจให้ถูกส่วนและเข้าถึงพระธรรมกายภายใน ถ้าหากว่าเรานำใจของเรามาตั้งไว้ตรงที่ฐานที่ ๗ แล้วก็เริ่มต้นอย่างง่าย ๆ ด้วยวิธีการดังกล่าว จะเริ่มต้นจากกสิณ10 อสุภะ 10 อาหาเร ปฏิกูลสัญญา อนุสติ 10 หรืออะไรก็ตาม อย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าใจหยุดถูกส่วนตรงฐานที่ 7 นี้แล้ว ดำเนินจิตให้เข้าสู่ภายใน และดำเนินจิตเข้าไปตามลำดับ ไม่ช้าก็จะพบธรรมกาย ซึ่งสิ่งนี้มีอยู่แล้วในตัวของพวกเราทุกคน ไม่ใช่เป็นสิ่งใหม่ แต่เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วและสามารถเข้าถึงได้ทุกคนที่ปฏิบัติตามได้อย่าง ถูกวิธี


    DMC ธรรมะ กฎแห่งกรรม นรก สวรรค์ สมาธิ พุทธประวัติ สรรสาระดีๆ ที่คุณต้องรู้!!
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    เคล็ดลับการฝึกสมาธิ

    สมาธินับเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อทุกคน คือ ถ้าเด็กมีสมาธิก็จะเรียนเก่ง มีความจำดีและคิดเก่ง ถ้าคนทำงานมีสมาธิก็จะทำให้ทำการงานได้ดี หรือแม้ นักวิปัสสนาถ้ามีสมาธิก็จะทำให้เกิดปัญญาขั้นเห็นแจ้งและดับทุกข์ได้

    แต่ปัญหาสำคัญที่ทำให้ผู้ที่ฝึกสมาธิไม่สามารถฝึกจิตให้เกิดสมาธิได้นั้นก็คือ “ความไม่เข้าใจว่าสมาธิคืออะไรและจะเกิดขึ้นได้อย่างไร?” ถ้าผู้ฝึกสมาธิจะเข้าใจว่าสมาธิคืออะไร และจะเกิดขึ้นได้อย่างไรแล้ว การฝึกสมาธิของเขาก็จะง่ายและเกิดขึ้นเร็วได้อีกด้วย แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่รู้ว่าสมาธินั้นแท้จริงเป็นอย่างไรและเคล็ดลับในการฝึกเป็นอย่างไรแล้ว การฝึกสมาธิก็ยากที่จะประสบผลสำเร็จได้ ดังนั้นเราจะมาเรียนรู้เคล็ดลับในการฝึกสมาธิกันต่อไป

    ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจคำว่า “สมาธิ”ก่อน คำว่า สมาธิ แปลว่า ตั้งมั่นอยู่เสมอ คือหมายถึง อาการที่จิตเพ่ง (หรือจดจ่อ หรือกำหนด หรือจับติด)อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ดีงามอยู่ตลอดเวลาได้นานๆอย่างต่อเนื่อง จนจิตเกิดความสงบ, ตั้งมั่น, ปลอดโปร่งแจ่มใส, อ่อนโยน, และเกิดความสุขที่สงบ หรือความเบาสบาย ไม่มีความทุกข์ใดๆขึ้นมา

    เรามักเข้าใจกันว่าเมื่อจิตมีสมาธิแล้วจิตจะสงบนิ่งหรือตั้งมั่นโดยไม่มีความคิดใดๆเลยหรือไม่รับรู้สิ่งภายนอกเลย ซึ่งนั่นเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะนั่นเป็นสมาธิที่สูงเกินความจำเป็น(คือใช้งานอะไรไม่ได้)และฝึกได้ยาก ดังนั้นเราจึงไม่ควรสนใจ ซึ่งสมาธิที่เป็นประโยชน์นั้นจะเป็นสมาธิที่ถูกต้อง คือเป็นการตั้งใจคิด หรือพูด หรือทำในสิ่งที่ถูกต้องดีงามอย่างต่อเนื่อง อย่างเช่น ในการกำหนดรู้ถึงหายใจของร่างกาย หรือเพ่งอยู่ในการคิด ในการอ่าน การเขียน การฟัง การพูด หรือในการทำการงานที่ดีงามทั้งหลายเป็นต้น


    สมาธิที่ถูกต้องจะมีลักษณะ ๓ อย่างให้สังเกตได้ คือ

    ๑. บริสุทธิ์ คือไม่มีกิเลส(ยินดี ยินร้าย ลังเลใจ) ไม่มีนิวรณ์(ความคิดฟุ้งซ่านต่างๆหรือความหดหู่ เซื่องซึม เป็นต้นที่จัดเป็นพวกกิเลสอ่อนๆ)

    ๒. ตั้งมั่น คือจิตจะสงบ มั่นคง เข้มแข็ง ไม่อ่อนแอไปตามสิ่งที่มายั่วยวนให้ยินดีหรือยินร้ายหรือลังเลใจก็ตาม

    ๓. อ่อนโยน คือจะควบคุมได้ง่าย จะให้คิดเรื่องอะไรก็ได้ เพราะไม่ดื้อรั้นเอาแต่ใจเหมือนตอนถูกกิเลสครอบงำ รวมทั้งจะมีสติที่สมบูรณ์อีกด้วย

    เมื่อจิตบริสุทธิจากกิเลส ก็เท่ากับขณะนั้นจิตหลุดพ้นจากกิเลสจิตก็จะไม่เป็นทุกข์ เมื่อจิตไม่เป็นทุกข์มันก็ย่อมที่จะสงบเย็น ดังนั้นสมาธิจึงมีผลดีหรือมีประโยชน์อย่างยิ่งตรงที่มันช่วยดับทุกข์ของจิตใจในปัจจุบันได้ตราบเท่าที่จิตยังมีสมาธิอยู่ และยังมีของแถมก็คือเมื่อจิตมีสมาธิมันก็จะมีความสุขที่สงบเกิดขึ้นมาด้วยเสมอ ซึ่งความสุขที่สงบนี้จะเหนือความสุขจากเรื่องกามารมณ์จนทำให้ผู้ที่มีสมาธิจะไม่ติดใจในกามสุขได้

    สมาธิจะเกิดขึ้นได้อย่างไร? จิตจะเกิดสมาธิได้ จิตจะต้องตั้งใจเพ่ง(หรือจดจ่อ)อยู่แต่ในสิ่งที่เพ่งนั้นได้นานๆ ซึ่งการที่จะให้จิตเพ่งอยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานๆนั้น สิ่งที่เพ่งนั้นจะต้องเพ่งแล้วเกิดความสุขที่สงบ ถ้าเพ่งแล้วไม่เกิดความสุขที่สงบ หรือเพ่งแล้วเกิดความทุกข์ จิตก็จะไม่เกิดสมาธิ

    แล้วอะไรคือสิ่งที่เพ่งแล้วทำให้จิตเกิดความสุขที่สงบ? ซึ่งคำตอบก็คือ “สิ่งที่ดีงามและจิตชอบ” ซึ่งสิ่งที่ดีงามก็คือสิ่งเกิดประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น รวมทั้งไม่เป็นโทษด้วย ส่วนสิ่งที่จิตชอบนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าจิตของใครจะชอบอะไร ถ้าใครชอบอะไรที่เป็นประโยชน์ก็ให้เลือกเพ่งสิ่งนั้นจิตจึงจะเกิดสมาธิได้ง่าย แต่ถ้าให้ไปเพ่งสิ่งที่แม้จะเป็นประโยชน์ แต่ว่าจิตไม่ชอบมันก็เป็นสมาธิได้ยาก เพราะมันฝืนจิตใจ ซึ่งนี่คือเคล็ดลับของการฝึกให้จิตเกิดสมาธิได้ง่ายและเร็ว
    บางคนชอบการอ่านหนังสือ ก็ทำให้เกิดสมาธิได้ บางคนชอบการเรียน ก็ทำให้เกิดสมาธิได้ บางคนชอบการเขียนก็ทำให้เกิดสมาธิได้ บางคนชอบคิดค้น ก็ทำให้เกิดสมาธิได้ บางคนชอบพูด ก็ทำให้เกิดสมาธิได้ บางคนชอบทำงาน ก็ทำให้เกิดสมาธิได้ คือใครชอบอะไรที่ไม่เป็นโทษและเป็นประโยชน์ก็เอาสิ่งนั้นมาตั้งใจกำหนดรู้หรือเพ่งให้ต่อเนื่อง คือทำให้ติดต่อกันเป็นสายไม่ขาดตอนตลอดเวลา ก็จะทำให้การกำหนดรู้หรือเพ่งนั้นทำให้จิตเกิดสมาธิขึ้นมาได้โดยง่าย

    เด็กสมัยนี้ส่วนมากมีสมาธิสั้นก็เพราะเขาไม่ได้รับการฝึกให้คิด หรือพูด หรือทำในสิ่งที่เกิดประโยชน์และเขาชอบมาก่อนอย่างเพียงพอ เราปล่อยให้เด็กเล่นสนุกตามใจชอบอย่างไร้สาระมากเกินไป จนเด็กเคยชินและติดจนกลายเป็นนิสัยที่เลิกหรือเปลี่ยนแปลงได้ยากไปในที่สุด และเมื่อมีสมาธิสั้น มันก็ส่งผลถึงการเรียนและพฤติกรรมของเด็ก แล้วก็สร้างปัญหาให้กับตัวเด็กเองและสังคมไปในที่สุด แต่ถ้าเราจะมาสนใจฝึกให้เด็กมีสมาธิกันตั้งแต่ยังเล็กๆอย่างถูกต้อง ต่อไปเด็กก็จะโตขึ้นเป็นเด็กที่มีสมาธิมากและก็จะส่งผลทำให้เป็นเด็กที่เรียนเก่งและเป็นคนดีของสังคมได้โดยง่าย

    ถ้าเราจะฝึกสมาธิหรือจะฝึกให้เด็กมีสมาธิ เราก็ต้องหาอะไรที่ดีงามหรือเป็นประโยชน์และเป็นสิ่งที่ผู้ฝึกชอบด้วยมาฝึกทำด้วยความตั้งใจ ซึ่งก็อาจจะเป็นการเล่นเกมส์อะไรที่ใช้ความคิด หรือการเล่นอะไรที่ต้องใช้สมอง หรือแม้การฝึกให้เด็กแสดงออก เช่นการพูด การร้องเพลง การเขียน การวาดรูป การปลูกต้นไม้ การประดิษฐ์คิดค้น เป็นต้น หรือแม้การฝึกให้เด็กได้ทำงานที่เด็กพอจะทำได้ก็ซึ่งถ้าจะให้ดีที่สุดก็ต้องฝึกกันมาตั้งแต่เด็กยังเล็กเลยจะดีที่สุด เพราะเมื่อจิตของเด็กยังว่างอยู่ ถ้าจิตของเด็กจะได้รับอะไรมาในครั้งแรก จิตของเด็กก็จะรับเอาสิ่งนั้นมาพัฒนาให้เจริญงอกงามจนเต็มจิตใจ และยากที่สิ่งอื่นที่ตรงข้ามจะเจริญขึ้นมาแทนที่ได้

    การฝึกพูดหรือบรรยายนับเป็นการฝึกที่สมาธิที่ดีอย่างหนึ่ง เพราะการพูดนั้นก็ต้องใช้สมาธิในการพูดมากและยังต้องใช้ความรู้จากการอ่านมา หรือฟังมา หรือคิดมาเพื่อมาใช้พูดอีก การพูดจึงนับเป็นการฝึกสมาธิที่ดีอย่างมากที่ทุกคนควรฝึกพูดให้ได้ เพราะเป็นทั้งการฝึกสมาธิและสร้างปัญญาไปพร้อมกัน เราจึงควรส่งเสริมให้เด็กฝึกพูดเพื่อเสริมสร้างสมาธิและปัญญาให้กับเด็กด้วยอีกวิธีหนึ่ง

    การฝึกสมาธิที่สอนให้นั่งหลับตาและกำหนดลมหายใจพร้อมทั้งให้หยุดความคิดนั้นเป็นการฝึกที่ยาก เพราะจิตมันไม่ชอบให้บังคับมัน มันจะรู้สึกทรมานหรืออึดอัดมากเมื่อถูกบังคับให้ขาดอิสรภาพ มันจึงมักจะยิ่งฟุ้งซ่านหนักเข้าไปอีก จนผู้ฝึกท้อถอยเอาได้ง่ายๆ ต้องใช้ความอดทนอย่างมาก คือต้องอดทนฝึกไปนานๆจิตจึงจะอ่อนลงและเกิดสมาธิขึ้นมาได้ การฝึกเช่นนี้จึงไม่ค่อยจะได้ผลคือทั้งไม่เกิดสมาธิและผู้คนเบื่อหน่ายไม่สนใจจะฝึก

    สำหรับผู้ที่ทนฝึกสมาธิวิธีเก่าๆมาจนท้อแท้แล้วก็มาลองใช้วิธีการฝึกพูดหรือบรรยายความรู้ที่ตนเองมีให้คนอื่นฟังดู โดยอาจจะฝึกพูดคนเดียวแต่ก็พูดให้เหมือนกับว่ามีคนจำนวนมากฟังอยู่จริงๆก็ได้ ซึ่งการพูดก็ต้องตั้งใจพูดอย่างที่สุด และพูดช้าๆด้วยประโยคสั้นๆ โดยอาจจะพูดเฉพาะขณะที่หายใจออก แต่พอหายใจเข้าจะหยุดพูดก็ได้ (ถ้าพูดเร็วและติดต่อกันอาจจะทำให้เสียสมาธิได้ง่ายถ้ายังไม่ชำนาญ) ถ้าฝึกพูดคนเดียวได้สักพักจิตก็จะสงบ ตั้งมั่น เบาสบาย สดชื่น แจ่มใส เย็นใจ และมีความอิ่มเอมใจรวมทั้งมีความสุขที่ประณีตเกิดขึ้นมาทันที ซึ่งนั่นแสดงว่าจิตเกิดสมาธิขั้นต้นขึ้นมาแล้วอย่างแท้จริง และถ้าฝึกต่อไปเรื่อยๆจิตก็จะเกิดสมาธิที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆของมันเอง (คือจิตจะสงบตั้งมั่นมากขึ้น โดยความอิ่มเอมใจกับความสุขที่ประณีตก็จะค่อยๆหายไป จะเหลืออยู่แต่จิตที่ตั้งมั่นอยู่กับความสงบเย็นเท่านั้น) ส่วนอิริยาบถในการฝึกนั้นอาจจะเดินไปพูดไป หรือนั่งหรือยืนพูดก็ได้ตามสะดวก

    สำหรับนักวิปัสสนานั้นเรื่องที่ใช้พูดก็ควรเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการดับทุกข์ คือเรื่องอนิจจัง(ความไม่เที่ยง) ทุกขัง(สภาพที่ต้องทนอยู่)และอนัตตา(สภาวะที่ไม่มีตัวตนที่แท้จริง) ตามหลักอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้า ลองทำดูแล้วจะพบว่านอกจากจะทำให้จิตเกิดสมาธิได้ง่ายแล้วยังทำให้เกิดปัญญาแตกฉานขึ้นอีกด้วย (แต่การพูดคนเดียวก็ต้องระวังว่าถ้ามีคนอื่นมาพบเข้าเขาก็จะหาว่าเราบ้าเอาได้ แต่ก็อย่าไปสนใจเพราะคนบ้าจะมีสุขบ้างทุกข์บ้าง แต่เรามีแต่ความสุข ดังนั้นคนที่มาว่าเราบ้านั่นเองที่กลับเป็นคนบ้าเสียเอง)

    พื้นฐานสำคัญของการฝึกสมาธิก็คือ ต้องมีศีล ซึ่งศีลก็คือการเป็นคนดีทั้งทางกายและวาจา คือ ไม่เบียดเบียนชีวิตและทรัพย์ของผู้อื่น ไม่ประพฤติผิดในเรื่องกามารมณ์ ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดโกหก ไม่พูดส่อเสียดหรือยุยงให้แตกความสามัคคี และไม่พูดเรื่องเพ้อเจ้อไร้สาระ ถ้าใครปรกติเป็นคนดีอยู่แล้วก็ฝึกให้เกิดสมาธิได้ง่าย ส่วนใครที่ปรกติไม่ค่อยจะมีศีลก็หันมาตั้งในรักษาศีลเอาเองได้

    ส่วนนักวิปัสสนานั้นจำเป็นที่จะต้องมีปัญญามาเป็นพื้นฐานอีกด้วย ซึ่งปัญญาก็คือความรอบรู้ในเรื่องการดับทุกข์ตามหลักอริยสัจ ๔ ถ้าใครมีความรู้นี้อย่างถูกต้องแล้วก็จะสามารถเอาเรื่องอริยสัจ ๔ นี้มาฝึกคิด หรือฝึกพูดให้เกิดสมาธิได้ทันที แต่ถ้าใครยังไม่มีความรู้เรื่องอริยสัจ ๔ นี้อย่างถูกต้อง ก็ต้องไปศึกษามาก่อนให้เข้าใจ (สามารถศึกษาได้จาก
    www.whatami.8m.com หรือ www.whatami.5u.com )

    การฝึกสมาธินี้จะต้องหมั่นฝึกฝนอยู่เสมอ คือเราสามารถปฏิบัติหรือฝึกสมาธิไปพร้อมๆกับการเรียน หรือการทำหน้าที่การงานของเราได้ตลอดเวลาถ้าชำนาญแล้ว แต่ถ้ายังไม่ชำนาญก็ต้องหาสถานที่และเวลาเพื่อฝึกฝนก่อน เมื่อชำนาญแล้วก็สามารถปฏิบัติกิจวัตรของเราไปพร้อมๆกับมีสมาธิไปด้วยได้ แล้วก็มีความสุขสงบและความสงบเย็นพร้อมกับไม่มีทุกข์ไปด้วย


     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ปัญหาการฝึกสมาธิ

    คำถามที่ถามกันมากสำหรับผู้เริ่มต้น


    สมาธิคืออะไร ? สมาธิคือ การตั้งใจมั่น เช่น มั่นต่อการยืน เดิน นั่ง นอน รับประทาน ดื่ม พูด คิด ทำงาน เมื่อทำด้วยความตั้งใจตลอดเวลา ก็เรียกว่ามีสมาธิแล้ว การที่เราเรียกว่า "ทำสมาธิ" นั้น เรามักจะหมายถึงนั่งขัดสมาท บำเพ็ญสมาธิจิตเพื่อให้เกิดสมาธิ สติ ปัญญา



    การทำสมาธิหรือเรียกอีกอย่างว่าทำกรรมฐานแบ่งเป็น สมถะและวิปัสสนา

    สมถะต่างกับวิปัสสนาอย่างไร ? สมถะ เป็นการทำสมาธิจน เกิดความสงบ

    วิปัสสนา เป็นความรู้แจ้งเห็นจริง สงบกิเลส

    จะทำวิปัสสนาได้ต้องทำสมาธิผ่านขั้นสมถะ เข้าสู่ฌาณ จากฌาณเข้าสู่วิปัสสนา


    ฌาณคืออะไร ? ฌาณ คือ การเพ่งอยู่ จิตเป็นสมาธิหยุดนิ่ง เกิดความสุขขึ้น


    ญาณคืออะไร ญาณ คือ ความรู้ที่เกิดจากการทำสมาธิ

    ทำสมาธิบริกรรมแบบไหนดีกว่ากัน "พุทโธ" "สัมมา อรหัง" " ยุบหนอ พองหนอ" "โอม"..... ? การบริกรรม เพื่อกรองความคิดและอารมณ์ เมื่อจิตสงบแล้วไม่ต้องบริกรรมอีก ดังนั้นจะใช้คำอะไรก็ได้

    การบริกรรม ทำให้จิตเป็นหนึ่ง
    จิตเป็นหนึ่ง ทำให้เกิดความสงบ
    ความสงบ ทำให้จิตมีพลัง
    จิตมีพลัง ทำให้มีสติระลึกรู้
    มีสติระลึกรู้ ทำให้เกิดสติปัญญา
    มีสติปัญญา ทำให้รู้ทันอารมณ์
    การรู้ทันอารมณ์ ทำให้จิตเป็นกลางได้
    (หลวงพ่อวิริยังค์)


    การฝึกสมาธิต้องการองค์ประกอบอะไรจึงจะทำให้ได้ผลอย่างรวดเร็ว ? โดยทั่วไปแล้วการฝึกสมาธิให้ได้ผลเร็วดี ต้องมีองค์ประกอบ ๔ ประการ เรียกสัปปายะ ๔ คือ

    ๑. อาหารดี ต้องสดสะอาด ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป
    ๒. อากาศดี ต้องบริสุทธ์ ปราศจากมลพิษ
    ๓. สถานที่เหมาะสม ต้องเรียบร้อย ปราศจากอันตราย บุคคลหรือสัตว์รบกวน
    ๔. ครูอาจารย์ ดีที่รู้จริง ให้คำแนะนำ เพื่อให้การฝึกไปในทางสัมมาสมาธิ มิใช่มิจฉาสมาธิ

    ทำสมาธิทีไรนั่งไม่ทนปวดเมื่อย ชา แก้ไขอย่างไร ? เป็นธรรมดาของผู้ทำความเพียร ที่จะมีเวทนาเกิดขึ้นก่อนที่จะครบเวลาที่ตั้งใจไว้ แก้ไขโดย

    ๑. อดทน โดยหาอุบายให้ตนเอง เช่น ทนเจ็บกายตอนนี้ ดีกว่าผิดสัจจะและทุกข์ใจภายหลัง (เมื่อหมดเวลาเปลี่ยนท่าปุ๊บก็หายปั๊ป ถ้าเปลี่ยนท่าหรือเลิกทำตอนนี้ ก็ผิดสัจจะที่ตั้งใจไว้ และเป็นปกติของการทำสมาธิที่ต้องทวนกระแสโลกจึงสำเร็จ........อดทนไว้ ๆ ๆ ...)

    ๒. หลบเวทนา เมื่อสู้ไม่ไหวจริง ๆ ให้เอาจิตไปไว้ที่อื่น เช่น เอาจิตไปไว้ที่บริเวณท้ายทอย ซึ่งเป็นจุดหลบเวทนา


    เมื่อทำสมาธิบางครั้ง รู้สึกว่าจะไม่หายใจ เพราะอะไร ? เป็นปรกติของการทำสมาธิ คือ เมื่อบริกรรมไปสักพัก จิตจะสงบลง ลมหายใจก็ละเอียดขึ้นจนเหมือน หายไป บางครั้งตัวตนก็ไม่ปรากฎ เพราะจิตเข้าสู่ความละเอียดของสมาธิ ให้ผู้ฝึกไม่ต้องตกใจ


    ทำไมเวลานั่งสมาธิ จิตถอนก่อนเวลา แล้วรวมลงอีกก็ยาก เพราะขาดความชำนาญ (วสี ) เวลาจิตรวมก็ไม่มีสติ เวลาออกก็ไม่มีสติ ต้องทำสมาธิให้มากขึ้น


    http://www.geocities.com/samadhinet/problem.htm
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    วิธีปฏิบัติแบบเจริญสติ

    ธรรมะหมู่บ้านพลัม เข้าใจ ฝึกฝนและปฏิบัติง่าย จึงเหมาะกับผู้ที่เริ่มฝึกสมาธิขั้นพื้นฐานที่จะช่วยทำให้จิตใจสงบนิ่งอยู่กับตัวเอง ณ ขณะเวลานั้น จิตไม่คิดฟุ้งซ่าน อีกทั้งหลักปฏิบัติที่พระธรรมาจารย์นำมาสอนให้นักธุรกิจสงบนิ่งอยู่กับตัวเอง จิตไม่คิดกังวลเกี่ยวกับหน้าที่รับผิดชอบ ทำให้ร่างกายจิตใจรู้สึกผ่อนคลาย


    ทั้งนี้ หลักปฏิบัติที่พระธรรมาจารย์นำมาเผยแผ่ ได้แก่ “การบรรยายธรรม” คือ การนั่งฟังธรรม คำสั่งสอนจากพระธรรมาจารย์ ข้อดีกับผู้ฟังคือ ได้เรียนรู้ธรรมะ ซึ่งมีหลักธรรมเดียวกับศาสนาพุทธ จึงช่วยกล่อมเกลาจิตใจ อีกทั้งนำหลักพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น ทำให้ดำเนินชีวิตอย่างมีสติ

    “การสนทนาธรรมในกลุ่มย่อย” วิธีปฏิบัติ คือ เป็นการฝึกการฟังอย่างลึกซึ้ง เพื่อการเข้าใจที่ถ่องแท้ พูดกันด้วยวาจาแห่งความรัก บรรยากาศจึงอบอุ่น เข้าใจกันและกัน เหมือนคนในครอบครัวเดียวกัน มีการแบ่งปันประสบการณ์จากชีวิตจริงของตนเองมาเล่าสู่กันฟัง เป็นการฟังด้วยหัวใจ มีการแลกเปลี่ยนปัญหา ที่สำคัญคือฝึกการพูด การสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยกัน ตลอดจนการ “ฝึกนั่งสมาธิ” ผู้ปฏิบัติจะได้อยู่กับลมหายใจ จิตเกิดความสงบ ตระหนักรู้ถึงร่างกายของเรา ความรู้สึกเช่นเดียวกับ การสวดมนต์ ท่องพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อีกทั้งเรายังได้ทบทวนคำสอนต่างๆ เกิดความสงบในจิตใจ และ “เดินวิถีแห่งสติ” คือ เดินสมาธิ ผสานลมหายใจสอดคล้องกับท่วงท่าการเดิน สิ่งที่ได้คือใจสงบ ได้หยุดชื่นชมกับธรรมชาติ เนื่องจากในชีวิตที่เร่งรีบ ไม่ได้มองสิ่งรอบข้าง ทำให้ได้หยุดและมองสิ่งรอบตัวมากขึ้น จิตรู้สึกผ่อนคลาย


     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    อารมณ์ฟุ้งซ่าน

    อารมณ์ฟุ้งซ่าน

    1. ฟุ้งเพราะใจลอย ขาดสติ
    2. ฟุ้งเพราะบังคับจิตมากเกินไป ทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านทางจิต
    ทำให้จิตไม่ยอมสงบนิ่ง
    3. ฟุ้งเพราะผู้ปฏิบัติหันมาดูจิตและเริ่มรู้จักจิตของตนเอง คือรู้ว่าจิตนั้นคิดอยู่เสมอ
    4. ฟุ้งเพราะเกิดปิติ และมีความยินดี ติดอยู่ในอารมณ์ที่รู้ที่เห็น
    ไม่ยอมละอารมณ์นั้น เรียกว่ายึดติดอารมณ์

    หากผู้ปฏิบัติไม่รู้เท่าทันความฟุ้งบางอย่าง ก็ถึงกับทำให้ผู้ปฏิบัติเลิกปฏิบัติ
    และอารมณ์ฟุ้งบางอย่างก็จะทำให้ผู้ปฏิบัติหลงผิดไปจนวันตาย
    ดังนั้น ผู้ปฏิบัติที่รู้ว่าตนเองฟุ้งซ่าน ก็ควรสังเกตว่า
    ตนเองนั้นฟุ้งเพราะเหตุใร ฟุ้งลักษณะใด

    (1) อารมณ์ฟุ้งเพราะใจลอย ขาดสติ มี 2 ลักษณะ คือ

    1. ปรุงแต่งอารมณ์ภายใน เรียกว่าธรรมารมณ์
    2. ปรุงแต่อารมณ์ภายนอก เรียกว่าจิตวิ่งไปรับอารมณ์ที่มากระทบ

    ผู้ปฏิบัติจะมีลักษณะชอบคิดถึงคนนั้นคนนี้ อยากเที่ยวที่นั่นที่นี่
    อยากรู้อยากเห็น สร้างวิมานในอากาศ บางครั้งคิดถึงสิ่งที่เคยได้ยินได้ฟังมา
    อารมณ์ฟุ้งซ่านเหล่านี้เป็นเพราะผู้ปฏิบัติขาดสติ
    ถ้าหากผู้ปฏิบัติคิดปรุ่งแต่งเรื่องธรรม ก็ไม่เป็นไร
    ดีกว่าง่วงนอนเพราะทำให้เกิดปัญญา
    แต่ถ้ามากเกินไปก็จะทำให้เสียผลในการปฏิบัติ
    เพราะถึงแม้ฟุ้งในธรรมจะทำให้เกิดปัญญาก็ตาม
    แต่ก็เป็นปัญญาภายนอก ไม่ใช่ปัญญาดับทุกข์
    ส่วนฟุ้งเรื่องที่ไม่ใช่ธรรม หรือสร้างวิมานในอากาศ หรือคิดสร้างนั่นสร้างนี่
    ผู้ปฏิบัติมักจะไม่รู้ตัวว่าตนกำลังฟุ้งซ่าน เพราะขาดสติอย่างมาก
    บางรายถึงกับเพลินกับอารมณ์ที่เห็นที่ได้ยิน ทำให้เสียเวลาปฏิบัติมาก
    ดังนั้นถ้าผู้ปฏิบัติเมื่อรู้ว่า กำลังคิดสิ่งต่าง ๆ อยู่ จัดว่ากำลังฟุ้งเพราะขาดสติอยู่

    วิธีแก้ไข
    ปฏิบัติจะต้องหยุดความคิดไว้ด้วยการเรียกสติเข้าหาตัวก่อน คือ
    ให้หายใจเข้าทรวงอกให้เต็มแล้วพักไว้สักครู่หนึ่ง
    จนรู้สึก ว่าอกอิ่ม และมีความอบอุ่นที่อกแล้ว ให้หายใจออก
    จะทำให้เกิดความรู้สึกตัวและมีสติดีขึ้น
    ให้ผู้ปฏิบัติหายใจเข้าออกสัก 2-3 ครั้ง หรือมากกว่านั้น
    จนรู้สึกว่าที่อกนั้นโล่งปลอดโปร่งแล้ว
    ให้ทำความรู้สึกไว้ที่ 3 จุด คือ ที่หน้าผาก ที่ทรวงอก ที่สะโพก จิตก็จะนิ่ง
    แต่ถ้าหากผู้ปฏิบัติไม่สามารถตั้งจิตไว้ทั้ง 3 จุดนี้ได้ ให้เอามือจับที่ปลายจมูกแล้ว
    ทำความรู้สึกเอาจิตดูที่มือสัมผัสกับจมูกแล้ว หายใจเข้าออกยาว ๆ
    ดูลมให้ดูอยู่ที่เดียว คือที่ปลายจมูก
    เอามือจับจมูกดูลมหายใจเข้าออกสักครู่หนึ่ง
    จนรู้สึกว่าจิตเริ่มอยู่ที่ปลายจมูกแล้ว ให้เอามือออก
    และดูลมหายใจเข้าออกต่อไป อารมณ์ฟุ้งซ่านก็จะหายไปเอง

    (2) ฟุ้งเพราะบังคับจิตมากเกินไป ทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านทางจิต
    ทำให้จิตไม่ยอมสงบนิ่ง

    ผู้ที่เป็นเช่นนี้จะมีลักษณะหงุดหงิดง่าย ไม่พอใจ และจิตคิดไม่ยอมหยุด
    ยิ่งบังคับยิ่งคิดมาก เพราะจิตนั้นไม่เคยถูกบังคับ
    เมื่อผู้ปฏิบัติมาบังคับจิต จึงทำให้เกิดการต่อต้านกันทำให้ผู้ปฏิบัติอารมณ์รุนแรง
    ตาขวาง เห็นอะไรรู้สึกอยากทำลาย และอึดอัดใจ
    อารมณ์ฟุ้งประเภทนี้มักเกิดกับผู้ที่ชอบบริกรรมและภาวนา

    วิธีแก้ไข
    ผู้ปฏิบัติจะต้องปล่อยใจให้สบายไว้ก่อน อย่าบังคับจิต
    หมั่นมองดูสีเขียวหรือท้องฟ้ามาก ๆ
    เพื่อให้จิตผ่องใสอยู่กับอากาศ หรือรื่นเริงอยู่กับต้นไม้ใบหญ้า
    ถ้าบริกรรมแล้วฟุ้งหรือเครียด จิตไม่สงบ ก็ควรเลิกบริกรรมเสีย อย่าบังคับจิต
    ถ้าหากยังฟุ้งมากอยู่ก็ปล่อยให้จิตนั้นฟุ้งไปให้พอ ไม่ต้องบังคับจิตให้หยุดคิด
    ผู้ปฏิบัติเพียงแต่ตามดูตามรู้ โดยการทำความรู้สึกตัวอยู่ข้างหน้า
    จิตจะคิดอะไรก็ปล่อยมัน เดี๋ยวมันเหนื่อยก็จะหยุดคิดเอง
    ข้อสำคัญให้ทำความรู้สึกตัวอยู่เสมอ
    การตั้งสติตามดูนั้นอุปมาเหมือนกับเชือกที่ผูกวัว
    จิตที่ฟุ้งก็เหมือนกับวัว เมื่อวัวคึกคะนองเราก็ต้องถือเชือกวิ่งตามจนกว่าวัวจะเหนื่อย
    เมื่อมันเหนื่อยเราก็จูงมันกลับบ้านได้
    จิตก็เช่นเดียวกัน เมื่อมันคิดจนเหนื่อย มันก็หยุดเอง
    หลังจากจากหายฟุ้งแล้ว ผู้ปฏิบัติควรจะเลิกการปฏิบัติด้วยการบริกรรมชั่วคราว
    หันมาใช้วิธีทำความรู้สึกตัวด้วยการประคองจิต ไว้ที่รูปกายหยาบ หรือที่กาย
    หมั่นตั้งจิตไว้ที่ผัสสะอยู่เสมอ หรือควรหัดทำความรู้สึกให้เต็มหน้าก่อน
    หลังจากนั้นเมื่อมีความรู้สึกเต็มหน้าแล้ว ก็หัดแผ่ใจให้เต็มกาย
    การแผ่ใจให้เต็มกายนี้จะช่วยให้จิตที่เหนื่อยเพราะคิดมากหรือฟุ้งมาก
    เกิดพลังขึ้นมาแทน และเป็นสมาธิง่าย ๆ
    ไม่ฟุ้งง่ายเหมือนการบังคับจิต หรือการบริกรรม

    (3) ฟุ้งเพราะผู้ปฏิบัติหันมาดูจิตและเริ่มรู้จักจิตของตนเอง
    คือรู้ว่าจิตนั้นคิดอยู่เสมอ

    แต่อำนาจสติยังน้อยอยู่ ทำให้ผู้ปฏิบัติมีความรู้สึกว่า เป็นทุกข์มากเพราะจิตคิดไม่ยอมหยุด
    ผู้ปฏิบัติที่ตกอยู่ในอารมณ์ฟุ้ง ประเภทนี้มักจะชอบคิดแต่เรื่องในอดีตที่ผ่านมาแล้ว
    เพราะว่าเมื่อหันมาดูจิตก็จะเลิกสนใจเรื่องภายนอก
    ทำให้เห็นแต่อารมณ์ภายใน แล้วรู้ว่าจิตชอบคิด
    เมื่อไม่มีอารมณ์ใหม่เข้ามาจิตจึงปรุงแต่งนึกคิดแต่อารมณ์เก่าที่ผ่านมา
    บางคนเคยโกรธกับผู้อื่น มาถึง 10 ปี และลืมไปแล้ว
    เมื่อมาทำความเพียรดูจิต ก็จะกลับเกิดอารมณ์โกรธขึ้นมาอีกได้
    บางคราวรู้สึกเสียใจ บางคราวรู้สึกดีใจ
    บางคนระลึกถึงความหลังได้มากถึงขนาดระลึกชาติได้ก็มี
    ทำให้เข้าใจผิดว่าได้สำเร็จธรรม ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่
    แต่เกิดจากการหันมาดูจิตและรู้จักจิตของตนมากขึ้น คือทำให้ระลึกความหลังได้
    อารมณ์ฟุ้งประเภทนี้บางท่านไม่รู้เท่าทันอารมณ์
    คิดว่าธรรมเสื่อม สมาธิเสื่อม เลิกปฏิบัติก็มี
    ดังนั้น ถ้าผู้ปฏิบัติเห็นจิตตนเองคิดมาก คิดแต่เรื่องอดีต และไม่ยอมหยุด
    ก็ควรรู้ว่าเป็นการเริ่มรู้จักจิตแล้วว่าจิตนั้นมีลักษณะชอบคิด
    อุปมาเหมือนกับน้ำที่นิ่ง ย่อมมองเห็นเงาในน้ำ

    วิธีแก้ไข
    ให้เลิกดูจิต หันมาดูกายแทน
    ถ้าจิตคิดมากให้อัดลมหายใจ เหมือนฟุ้งเพราะขาดสติ
    หันมาปฏิบัติด้วยการทำความรู้สึกไว้ให้เต็มหน้าอยู่เสมอ
    อารมณ์ฟุ้งแบบนี้เมื่อเลิกดูจิตหันมาดูกาย ไม่นานก็จะหายเอง

    (4) ฟุ้งเพราะเกิดปิติ และมีความยินดี ติดอยู่ในอารมณ์ที่รู้ที่เห็น
    ไม่ยอมละอารมณ์นั้น เรียกว่ายึดติดอารมณ์

    ความฟุ้งประเภทนี้มักจะทำให้ผู้ปฏิบัติอยากสอนคนทั่วไป
    อยากบอกคนนั้นคนนี้ให้มาปฏิบัติเหมือนกับตนเอง
    บางท่านพบกับความสงบ หรือพบกับอารมณ์บางอย่างที่ไม่เคยพบ
    และติดใจอยากให้เกิดอีก
    แต่ไม่สามารถทำได้อีกเพราะเกิดตัณหา คือความอยาก
    ทำให้นึกคิดไปต่าง ๆ นานา
    อารมณ์ฟุ้งประเภทนี้นับว่าเป็นอันตรายมาก เพราะจะทำให้เลิกปฏิบัติ
    หรือไม่ก็เป็นมิจฉาทิฐิ คือคิดว่าตนสำเร็จ
    บางท่านปฏิบัติจนจิตเข้าสู่อุปจารสมาธิ
    จิตอยู่ในสภาพครึ่งหลับครึ่งตื่น และเข้าติดต่อกับแดนวิญญาณได้
    คือบางครั้งได้ยินเสียงกระซิบที่หู บางครั้งเห็นรูปละเอียด
    ผู้ปฏิบัติที่ตกอยู่ในช่วงนี้นับว่ามีอันตรายมาก
    เพราะส่วนมากมักจะเข้าใจผิดกันเสมอ
    คิดว่า ตนสำเร็จแล้ว แต่ความจริงไม่ใช่
    แต่แค่ตกอยู่ในอุปจารสมาธิ เป็นอารมณ์ที่ผู้ปฏิบัติต้องผ่านเท่านั้น

    วิธีแก้ไข
    เมื่อปฏิบัติไปแล้วเกิดอะไรขึ้น
    ไม่ว่าจะเป็นความว่าง ความสงบ หรือความสุขกายสุขใจก็ตาม
    ไม่ควรยินดีติดใจในอารมณ์เหล่านี้
    เพราะเมื่อเกิดความยินดีขึ้นเมื่อใดจิตก็จะเคลื่อนออกจากสมาธิ
    ผู้ปฏิบัติจะต้องเข้าใจว่า สภาวธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง
    เมื่อมีการเกิดก็ต้องมีการดับเป็นธรรมดา
    เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรยินดีกับอารมณ์ที่ดี ยินร้ายกับอารมณ์ที่ไม่ดี
    การยินดีในอารมณ์ดีนั้นเมื่ออารมณ์ดี คือปิติดับหมด
    จะทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดความท้อแท้ ทุกข์เจียนตายเลยที่เดียว
    จึงไม่ควรยินดียินร้ายในอารมณ์ทั้งปวงที่เกิดขึ้น

    ส่วนการได้ยินเสียงมากระซิบที่หูนั้น ผู้ปฏิบัติจะต้องเลิกฟังเลิกสนใจ
    เพราะถ้าสนใจฟัง เมื่อนานเข้าก็จะไม่สามารถแก้ไขได้
    และกลายเป็นคนวิกลจริตไปในที่สุด
    ผู้ปฏิบัติจะต้องรีบละอารมณ์นี้ให้ได้ ถ้าหากเลิกสนใจแล้ว
    แต่ยังเห็นรูปละเอียดและได้ยินเสียงอยู่
    ผู้ปฏิบัติจะต้องเลิกทำสมาธิหันมากำหนดทุกข์ที่กาย เพื่อให้จิตเกาะอยู่กับทุกข์
    เมื่อจิตเกาะอยู่กับทุกข์ จะละเสียงและรูปละเอียดที่ได้ยินได้เห็นเอง
    ดังนั้นการกำหนดทุกข์ด้วยการกำหนดที่ผัสสะ
    จึงมีประโยชน์มากสำหรับผู้ที่อยู่ระหว่างแดนต่อแดน
    เมื่อละเสียงกระซิบที่หูได้แล้ว ก็ควรเลิกกำหนดทุกข์ด้วย
    เพราะทุกข์มากจะทำให้เครียดอีกได้ ให้หันมาดูจิตต่อไป
    ซึ่งแล้วแต่ความแยบคายของผู้ปฏิบัติเอง
    ว่าจะใช้วิธีใดในเคล็ดลับดับทุกข์ที่กล่าวมา


    จิตสงบที่ตรงไหน - มีคำตอบ - กูรู
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    อารมณ์ของสมถภาวนา ๔๐ อารมณ์

    บางอารมณ์ จิตก็สงบได้ไม่ถึงอุปจารสมาธิ
    บางอารมณ์ จิตก็สงบได้ถึงอุปจารสมาธิ
    บางอารมณ์ จิตก็สงบได้ถึงปฐมฌานเท่านั้น
    บางอารมณ์ จิตก็สงบได้ถึงจตุตถฌานโดยปัญจกนัย
    บางอารมณ์ จิตก็สงบได้ถึงปัญจมฌาน
    และบางอารมณ์ก็เป็นอารมณ์เฉพาะปัญจมฌานเท่านั้น ดังนี้คือ ...
    อนุสสติ ๖ ได้แก่ ...พุทธานุสสติ ๑ ธัมมานุสสติ ๑ สังฆานุสสติ ๑
    จาคานุสสติ ๑ สีลานุสสติ ๑ เทวตานุสสติ ๑ ผู้ที่ไม่ใช่พระอริยบุคคลระลึก
    ถึงอนุสสติ ๖ นี้ จิตสงบได้ไม่ถึงอุปจารสมาธิ สำหรับพระอริยบุคคลนั้นอาจ
    สงบได้ถึงอุปจารสมาธิเท่านั้น ไม่ถึงอัปปนาสมาธิ
    อนุสสติ ๒ คือ อุปสมานุสสติ การระลึกถึงพระนิพพาน และมรณานุส-
    สติ การระลึกถึงความตายนั้น มรณานุสสติสงบได้ถึงอุปจารสมาธิเท่านั้น แต่
    อุปสมานุสสติสงบได้ถึงอุปจารสมาธิเฉพาะผู้ที่เป็นพระอริยบุคคลเท่านั้น
    อาหาเรปฎิกูลสัญญา ๑ คือ การระลึกถึงความปฎิกูลของอาหาร จิต
    สงบได้ถึงอุปจารสมาธิ
    จตุธาตุววัฎฐาน ๑ คือ การระลึกถึง ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ที่กาย จิตสงบ
    ได้ถึงอุปจารสมาธิ
    อสุภ ๑๐ คือ การระลึกถึงสภาพของซากศพ ๑๐ อย่าง จิตสงบได้ถึง
    ปฐมฌาน
    กายคตาสติ (อนุสสติ) ๑ คือ การระลึกถึงความไม่น่าใคร่ของส่วน
    ต่างๆ คือ อาการ ๓๒ ของกายแต่ละส่วน เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น จิต
    สามารถสงบได้ถึงปฐมฌาน
    อานาปานสติ (อนุสสติ) ๑ การระลึกถึงลมหายใจ จิตสงบได้ถึงปัญจ-
    มฌาน
    กสิณ ๑๐ จิตสงบได้ถึงปัญจมฌาน
    พรหมวิหาร ๓ คือ เมตตา ๑ กรุณา ๑ มุทิตา ๑ จิตสงบได้ถึงจตุตถ-
    ฌานโดยปัญจกนัย (ตติยฌานโดยจตุกกนัย)
    พรหมวิหาร ๑ คือ อุเบกขาพรหมวิหาร เมื่อจิตสงบจากพรหมวิหาร ๓
    ถึงจตุตถฌานแล้วจึงเจริญอุเบกขาพรหมวิหารต่อไปได้ ในบรรดาพรหมวิหาร ๔
    อุเบกขาพรหมวิหารจึงเป็นอารมณ์ของเฉพาะปัญจมฌาน ฌานเดียวเท่านั้น

     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    นั่งสมาธิแล้วเกิดปัญญาขึ้นได้จริงหรือ?

    เป็นปัญหาที่เป็นที่สงสัยกันเป็นอย่างยิ่งว่า การปฏิบัติสมาธิต่างๆเช่นการปฏิบัติสมาธิอย่างมีรูปแบบแผน เช่น การนั่งสมาธิดังที่นิยมปฏิบัติกันโดยทั่วไปนั้น ทำให้เกิดปัญญาขึ้นจริงหรือเปล่า จะว่าจริงก็ถูก จะว่าไม่จริงก็ถูก เหตุใดจึงกล่าวเช่นนั้น จึงต้องจำแนกแตกธรรมกันให้ถูกต้อง

    นักปฏิบัติโดยทั่วไป มักเชื่อถือกันโดยอธิโมกข์ว่า เมื่อปฏิบัติสมถสมาธิเช่นการนั่งสมาธิได้ดีงามแล้วจะทำให้เกิดปัญญาผุดขึ้นได้นั้น ยังเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไม่ถูกตรงตามความเป็นจริงอย่างแท้จริง ยังเป็นความเชื่ออย่างผิดๆ สามารถกล่าวได้ว่าสมาธิมิได้ทำให้เกิดปัญญาโดยตรงๆ ดังจะเห็นว่า สมาธินั้นก็มีการปฏิบัติกันในหมู่อัญญเดียรถีร์กันอย่างแพร่หลายมาช้านานก่อนพุทธกาลเสียอีก แถมบางศาสนานั้นทั้งฝึกฝนทั้งแกร่งกล้าเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งต่างล้วนมีหลักสำคัญเหมือนกันทั้งหมดทั้งสิ้น กล่าวคือ การปฏิบัติที่มีจุดประสงค์อยู่ที่ การทำให้จิตแน่วแน่อยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง อันเป็นอารมณ์อย่างใดก็ได้ เพราะเป็นเพียงอุบายคือวิธีให้จิตรวมแน่วแน่เป็นหนึ่ง อารมณ์นั้นพึงแตกต่างกันไปตามจริต ความเชื่อ ความเข้าใจ คำสั่งสอน ฯลฯ เท่านั้น ดังเช่น ในพุทธศาสนิกชน ก็มักใช้ พุทโธบ้าง สัมมาอรหังบ้าง ยุบหนอพองหนอบ้าง ลมหายใจบ้าง การเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆ ฯลฯ. ส่วนในศาสนาอื่นๆก็อาจใช้พระนามของพระเจ้าของตนเป็นอารมณ์ ฯลฯ. เมื่อปฏิบัติได้ดีแล้ว กล่าวคือแน่วแน่อยู่กับอารมณ์ที่กำหนดได้อย่างดีงามแล้ว ใจย่อมไม่ซัดส่ายสอดแส่ ก็ย่อมล้วนยังให้เกิดสมาธิกันถ้วนหน้า ที่ย่อมอาจเกิดฌานตามมาได้อีกเช่นกัน ผลของสมาธิที่เกิดขึ้นโดยตรงคือ ความสงบ จึงเกิดความสุข ความสบายต่างๆเป็นผลตามมา แม้แต่องค์ฌานทั้งหลายอีกด้วยในที่สุด ดังนั้นผลโดยตรงของการปฏิบัติสมาธิจริงๆแล้ว ก็คือความสงบ ความสุข ความสบาย ที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่ก็มีข้อเสียที่แอบนอนซ่อนเงื่อนอยู่อีกด้วย โดยไม่ค่อยรู้หรือกล่าวถึงกัน กล่าวคือ เมื่อไม่ได้นำไปเจริญวิปัสสนาคือการนำความสงบไม่ซัดส่ายนั้นไปพิจารณาธรรมให้เกิดปัญญา ก็จะเกิดการติดสุข ในฌานสมาธิขึ้น อันเป็นผลเสียอย่างรุนแรงในภายหน้า

    แต่ถึงแม้สมาธิมิได้ยังให้เกิดปัญญาขึ้นโดยตรงดังกล่าวเบื้องต้น เพียงแต่ยังให้เกิดความสงบ ความสุข ความสบาย แต่สมาธินั้นนั่นเองสามารถเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดปัญญาขึ้น กล่าวคือ เมื่อนำไปเป็นเครื่องอุดหนุนคือเป็นบาทฐานในการเจริญวิปัสสนาให้เกิดปัญญาขึ้น คือนำสมาธิที่ยังให้เกิดความสงบสุขสบาย ที่ย่อมไม่ซัดส่ายออกไปฟุ้งซ่าน คือระงับความดำริพล่านลงไปเสียได้นั้น ไปในการใช้ความคิดพิจารณาในธรรมต่างๆ ให้เห็นความจริงต่างๆอย่างแจ่มแจ้งคืออย่างปรมัตถ์ ดังเช่น ปฏิจจสมุปบาท, ขันธ์ ๕, อริสัจ๔, พระไตรลักษณ์, สติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ. อันพึงพิจารณาเลือกได้ตามจริต สติ สมาธิ ปัญญาแห่งตน ในกรณีเยี่ยงนี้ ก็ถือว่า สมาธิยังให้เกิดปัญญา อันเป็นไปดังคำกล่าวที่ว่า

    "สมาธิปริภาวิตา ปญฺญามหปฺผลา โหติ มหานิสํสา"
    สมาธิเป็นเครื่องหนุนปัญญา

    ดังนั้นคำกล่าวที่ว่า นั่งสมาธิแล้วเกิดปัญญาขึ้นได้ ที่ถูกต้องอย่างแท้จริงหรือปรมัตถ์แล้วจึงควรเป็น การนั่งสมาธิหรือการปฏิบัติสมถสมาธิเป็นเครื่องหนุนให้เกิดปัญญา เมื่อนำไปใช้ในการพิจารณาธรรม


     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ศีล สมาธิ ปัญญาเกี่ยวข้องกับอะไร

    ถาม.. คำว่า" ศีล สมาธิ ปัญญา " เป็นคำที่ชาวพุทธรู้จักกันดี แล้วคำว่า อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา " คืออะไร เกี่ยวข้องกับ "ศีล สมาธิ ปัญญา " ?

    ตอบ.. ความจริงแล้วเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา กับอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา เป็นเรื่องที่ต่อเนื่องกัน คือเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ว่าเป็นคนละระดับเท่านั้น

    ศีล สมาธิ ปัญญา คืออะไรคำเต็มๆ ของคำว่า "ศีล สมาธิ ปัญญา" ที่เราพูดกันอย่างคล่องปากก็คือ การศึกษาเรื่องศีล การศึกษาเรื่องสมาธิ การศึกษาเรื่องปัญญานั่นเอง ศึกษาเรื่องศีล เพื่อเอามาใช้ควบคุมกาย และวาจา ให้มีความสะอาดบริสุทธิ์ คือ ไม่พูด ไม่ทำ ให้วิปริตผิดร่องรอยจนกระทบตนเอง หรือกระทบคนอื่นให้เดือดร้อน ศึกษาเรื่องสมาธิ เพื่อเอามาใช้ควบคุมจิต ไม่ให้หนีไปเที่ยว ไม่ให้คิดฟุ้งซ่านในทางที่เป็นอกุศล ศึกษาเรื่องปัญญา เพื่อให้รู้เท่าทันโลก รู้เท่าทันชีวิต รู้เท่าทันคน พูดง่ายๆ เพื่อให้รู้เท่าทันตามความเป็นจริง จะได้เลิกโง่เสียที อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา คืออะไร

    เมื่อตั้งใจฝึกฝนตนเองไปตามลำดับๆ ตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนเอาไว้ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกกันอย่างจริงๆ จังๆ ชนิดเอาชีวิตเป็นเดิมพันแล้ว จากศีลธรรมดาที่ใช้ควบคุมกาย และวาจาให้สะอาดบริสุทธิ์ ก็กลายเป็น อธิศีล หรือว่าศีลอย่างยิ่งขึ้นมา จากสมาธิจิตธรรมดา ที่ใช้ควบคุมจิต ก็กลายเป็นอธิจิต หรือว่าจิตอย่างยิ่งขึ้นมา จากปัญญาธรรมดา ก็กลายเป็นอธิปัญญา หรือว่าปัญญาอย่างยิ่งขึ้นมา

    ขั้นตอนการเปลี่ยนจากศีลเป็นอธิศีล คุณโยมลองสำรวจตัวเอง โดยใช้ศีล ๕ เป็นเกณฑ์ก็ได้ เมื่อตอนเข้าวัดใหม่ๆ ศีล ๓ ข้อแรก ได้แก่ เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม ซึ่งเป็นเรื่องของการควบคุมกายและวาจาของเรา ยกตัวอย่าง ศีลข้อที่ ๑ เว้นจากการฆ่าสัตว์ ตอนเข้าวัดใหม่ๆ พวกเราส่วนมากมักจะมีอาการอย่างนี้ คือพอยุงกัดหมับละก็ เงื้อมมือขึ้นเตรียมจะตบทันทีเลย แต่พอจะตบลงไปก็นึกได้ว่า " เรากำลังรักษาศีลอยู่นะ" แล้วก็เอามือลง ต่อมารักษาศีลมากเข้า พอยุงกัดหมับ แทนที่จะยกมือขึ้นเตรียมจะตบ แล้วเงื้อค้างอย่างเคย ก็ไม่ทำ กลับเกิดความรู้สึกว่า "เจ้ายุงเอ๊ย ข้าเจ็บแล้ว เอ็งไปหาของอื่นกินบ้างเถอะนะ ครั้นรักษาศีลนานๆ เข้า ใจก็เปลี่ยนไปอีก ที่เคยคิดจะฆ่านั้นหมดไป พอถูกยุงกัด ก็เกิดความคิดขึ้นมาว่า "สัตว์โลกมันก็เบียดเบียนกันอย่างนี้แหละ" เห็นการลัก การขโมย ก็เกิดความคิดขึ้นมาว่า " สัตว์โลกก็แย่งชิงกันอย่างนี้แหละ"เห็นเขาผิดสามี ผิดภรรยากัน ก็เกิดความคิดขึ้นมาว่า "สัตว์ โลกไม่รู้จักควบคุมใจกันอย่างนี้แหละ"จากเมื่อก่อนต้องคอยระมัดระวังในการรักษาศีล พอรักษาศีลจนเกิดความคุ้นเคยมากเข้า จนกระทั่งศีลกับใจได้กลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขึ้นมา ก็เลยไม่ต้องมาคอยระมัดระวัง ในการรักษาศีลอีกต่อไป เพราะว่าใจนั้นสะอาดบริสุทธิ์ ที่จะคิดร้าย พูดร้าย ทำร้ายใครเป็นไม่มี จากการรักษาศีลธรรมดาๆ กลายเป็นอธิศีลขึ้นมาได้อย่างนี้ คือ รักษาศีลจนกระทั่งกลายเป็นศีลรักษาเรานั่นเอง

    อุปมาการรักษาศีลถ้าจะอุปมาการรักษาศีลเมื่อตอนเข้าวัดใหม่ๆ เหมือนอย่างกับเอามะขามเปรี้ยวๆ มาจิ้มน้ำตาล รสชาติก็เปรี้ยวๆ หวานๆ กันล่ะนะ พอรักษาศีลนานเข้า จนกระทั่งกลายเป็นอธิศีล ก็เหมือนอย่างกับการเอามะขามเปรี้ยวๆ มาแช่อิ่มในน้ำตาล ปรากฏว่ารสเปรี้ยวไม่มีเหลืออยู่เลย หวานสนิทเช่นเดียวกัน อธิศีลก็ทำให้กายและวาจาของเรา สะอาดบริสุทธิ์เกินกว่าที่ใครจะคาดคะเนได้ ขั้นตอนการเปลี่ยนจากสมาธิจิตเป็นอธิจิต การฝึกสมาธิอย่างที่ทำกันอยู่ทั่วไป จากใจที่หยุดนิ่งบ้าง หนีไปเที่ยวบ้าง คิดฟุ้งซ่านบ้าง สงบลงไปบ้าง พอฝึกแบบเอาชีวิตเป็นเดิมพันมากเข้าๆ ใจจะหยุดนิ่งสนิทอยู่ที่ศูนย์กลางกายอย่างถาวร ไม่คิดฟุ้งซ่าน ไม่หนีไปเที่ยวที่ไหนอีกแล้ว ซึ่งเป็นความก้าวหน้าของสมาธิ และนั่นคือเป็นความก้าวหน้าของจิตเราด้วย ถึงตอนนี้ไม่ว่าจะหลับตา ลืมตา ใจใสสว่าง ทีเดียว เมื่อใจใส ใจสว่าง จึงต่างจากใจของคนธรรมดาทั่วไป ที่ยังมืดตื้อมืดมิดกันอยู่ ท่านเรียกใจที่มีสมาธิอย่างนี้ หยุดอย่างนี้ว่า อธิจิต หรือว่า จิตอย่างยิ่งขั้นตอนการเปลี่ยนจากปัญญาเป็นอธิปัญญาเมื่อจิตของเราสะอาดอย่างยิ่งด้วยอำนาจแห่งอธิศีล มีความสว่างยิ่งกว่าตะวันเที่ยงเป็นอย่างน้อยด้วยอำนาจแห่งอธิจิต สิ่งที่ไม่น่าเชื่อก็เกิดตามมา ลองนึกดูก็แล้วกัน ถ้าใจของเรามีความสว่างยิ่งกว่าตะวันเที่ยง ลูกนัยน์ตาของเราก็คงจะมองอะไรได้ทะลุหมด แล้วอาศัยความสว่างที่ปรากฏขึ้นมาอย่างยิ่งนั้น ไม่ว่าจะมองอะไร ย่อมเห็นและรู้ไปตามสภาพความเป็นจริง เช่น รู้เรื่องกรรมที่เราเคยสงสัยนักหนาว่าเป็นอย่างไร รู้ว่าบุญบาปเป็นอย่างไร และสามารถมองเห็นได้ชัดเจนว่า กิเลสที่ซุกซ่อนอยู่ในใจ คอยบีบคั้นใจของเราให้มีความโลภ ความโกรธ ความหลงนั้น เป็นอย่างไร ปัญญาที่เกิดจากการเห็นจากภายใน ซึ่งอาศัยความสว่างจากอธิจิต ทำให้เห็นถูกต้องตามความเป็นจริงของทุกสรรพสิ่งทั้งหลาย โดยไม่ต้องเสียเวลาคิดนี้ ท่านเรียกว่า อธิปัญญา เพราะฉะนั้น อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา จึงเป็นเสมือนลูกโซ่ที่ต่อเนื่องกันมา จากการที่ได้ศึกษาเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา มาตั้งแต่ต้นนั่นเอง คือศึกษาแล้วไม่ศึกษาเปล่า เมื่อรู้และเข้าใจแล้ว ก็เอาชีวิตเป็นเดิมพันในการนำมาประพฤติปฏิบัติ ฝึกฝนตนเอง จนกระทั่งกาย วาจา ใจ เกิดความสะอาดบริสุทธิ์อย่างยิ่ง เกิดความสว่างอย่างยิ่ง แล้วก็ เกิดความสงบอย่างยิ่ง

    เพราะฉะนั้น ความสะอาดบริสุทธิ์ ความสว่าง และความสงบของกายและใจนี้ จึงเป็นเรื่องที่พวกเราทุกคนต้องฝึกกันให้ได้ เพื่อเราจะได้ปิดนรกให้สนิท และเปิดสวรรค์ได้เต็มที่ ยิ่งกว่านั้น ยังสามารถถางทางไปพระนิพพานได้สะดวกสบายเหลือเกิน ตั้งใจฝึกกันให้ดี จะได้ไม่เสียชาติที่เกิดมาเป็นมนุษย์ และได้มาพบพระพุทธศาสนา


    :: ธรรมะประจำวัน :: - ศีล สมาธิ ปัญญาเกี่ยวข้องกับอะไร

     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    นั่งสมาธิ จะเกิดปัญญาได้อย่างไร

    สมาธิเป็นสภาวะอย่างหนึ่งของจิตที่รับรู้อารมณ์เพียงอารมณ์เดียว ถ้าจะกล่าวให้เห็นชัดยิ่งขึ้น ก็ลองสังเกตุด้วยตัวเอง ในชีวิตประจำวัน อย่างเช่น ตอนกำลังขับรถยนต์ บุคคลที่กำลังขับต้องมีสมาธิ หรือตอนกำลังฟังข่าวจากวิทยุ บุคคลผู้นั้นตอนมีสมาธิในการฟัง ถ้าไม่มีสมาธิในการฟังคงฟังไม่รู้เรื่อง แต่มีข้อสังเกตุคือ น้อยคนนักที่จะมีสมาธิติดต่อกันตลอดโดยไม่ขาดสาย แม้กระทั่งตอนขับรถ หรือกำลังฟังข่าว จิตของบุคคลนั้นต้องหันไปจับกับอารมณ์อื่นบ้าง นี่เป็นตัวอย่างที่สามารถสังเกตุได้ง่ายในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตามถ้าบุคคลคนนั้นมีสมาธิติดต่อกันอย่างไม่ขาดสายไม่ว่าจะกระทำการงานใด ก็ไม่จำเป็นเลยที่จะต้องมานั่งสมาธิ แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำไมการนั่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยให้จิตสงบ และรับรู้อารมณ์เพียงอารมณ์เดียว ถ้าบุคคลนั้นยังไม่มีสมาธิดีพอ การนั่งสมาธิก็ต้องนั่งในที่เงียบสงบ เพื่อลดโอกาสที่จิตจะไปรับรู้เสียงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ต้องหลับตาเพื่อปิดโอกาสที่จิตจะไปรับรู้การเห็นสิ่งต่าง ๆ เพราะฉะนั้นการนั่งสมาธิจะช่วยให้ จิตสงบง่ายขึ้น

    ถ้าถามว่าแล้วการนั่งสมาธิสามารถทำให้เกิดปัญญาได้อย่างไร ลองพิจารณาดู ทะเลที่กำลังมีพายุ คลื่นในทะเลมีลักษณะเช่นไร ลักษณะเช่นนั้นทำให้เรือลำเล็ก ๆ ที่เล่นอยู่เป็นเช่นไร จะสามารถเล่นไปถึงฝั่งได้หรือไม่ ฉันใดก็ฉันนั้น จิตก็เหมือนกัน จิตที่เป็นสมาธิย่อมมีความสงบเยือกเย็น สุขุม รอบคอบ ไม่เร่าร้อน ควรแก่การงาน สิ่งเหล่านี้เองเป็นปัจจัยให้เกิดความคิดที่แยบคาย และความคิดที่แยบคายนี้ก็จะเป็นบ่อเกิดแห่งปัญญาในทางโลก ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนงานที่มีคุณภาพ การเรียน การทำการงานต่าง ๆ แต่ตามหลักพระพุทธศาสนา การนั่งสมาธิจนจิตสงบจะเนรมิตให้เกิดปัญญาได้ ถึงแม้ว่าบุคคลนั้นจะนั่งได้จนถึงขึ้นสงบสูงสุด คือ ขั้นอรูปฌานก็ตาม บุคคลนั้นก็ยังไม่ถือว่าเป็นผู้มีปัญญา แต่ถือว่าเป็นเพียงผู้ที่มีสมาธิแก่กล้า พระพุทธเจ้าทรงสอนให้มีสมาธิแล้วเจริญวิปัสนา หรือกล่าวได้ว่า ให้มีสมาธิและให้มีสติระลึกรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และมีการดับไป สิ่งนี้เองจะเป็นปัจจัยก่อให้เกิดปัญญารู้แจ้งในสัทธรรมทั้งปวง เป็นปัญญาที่รู้แจ้งแทงตลอด ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีก



    001204 -
     

แชร์หน้านี้

Loading...