รวบรวมคติธรรมดี ๆ มาให้อ่านกัน...

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย J.Sayamol, 16 มีนาคม 2009.

  1. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561

    [๑๐๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน?
    คือ สัทธาพละ ๑ วิริยพละ ๑ สติพละ ๑ สมาธิพละ ๑ ปัญญาพละ ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการ นี้แล.

    [๑๑๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน
    บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญพละ ๕ กระทำให้มากซึ่งพละ ๕
    ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

    [๑๑๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญพละ ๕ กระทำให้มากซึ่งพละ ๕
    อย่างไรเล่า ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน?
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ย่อมเจริญสัทธาพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
    ย่อมเจริญวิริยพละ ...
    สติพละ ...
    สมาธิพละ ...
    ปัญญาพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญพละ ๕ กระทำให้มากซึ่งพละ ๕ อย่างนี้แล
    ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.

    [๑๑๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้
    สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เป็นไฉน? คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล.

    [๑๑๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
    เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล พละ ๕ เป็นไฉน?
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธาพละ ... วิริยพละ ... สติพละ ... สมาธิพละ ปัญญาพละ
    อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป
    เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล.

    [๑๑๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน
    บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญพละ ๕ กระทำให้มากซึ่งพละ ๕
    ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

    [๑๑๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญพละ ๕ กระทำให้มากซึ่งพละ ๕
    อย่างไรเล่า ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน?
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ย่อมเจริญสัทธาพละ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ...
    ย่อมเจริญปัญญาพละ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญพละ ๕ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.

    [๑๑๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้
    สังโยชน์อันเป็น ส่วนเบื้องบน ๕ เป็นไฉน? คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน เหล่านี้แล.

    [๑๑๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ อันภิกษุพึงเจริญเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
    เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล พละ ๕ เป็นไฉน?
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ย่อมเจริญสัทธาพละ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ...
    ย่อมเจริญปัญญาพละ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด
    พละ ๕ เหล่านี้แล อันภิกษุพึงเจริญเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
    เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล.

    จบ พลสังยุต​
     
  2. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • dsc08309t.jpg
      dsc08309t.jpg
      ขนาดไฟล์:
      311.7 KB
      เปิดดู:
      246
  3. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561

    [๑๖๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอย่าตรึกถึงอกุศลวิตกอันลามก
    คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
    เพราะวิตกเหล่านี้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น
    ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ
    ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน ก็เมื่อเธอทั้งหลายจะตรึก พึงตรึกว่า
    นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
    เพราะความตรึกเหล่านี้ ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น
    ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ
    ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงกระทำความเพียร
    เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

    จบ สูตร​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤศจิกายน 2012
  7. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561


    [๑๖๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงอย่าคิดถึงอกุศลจิต
    อันลามกว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด
    ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพอย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่ง
    สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก
    สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี
    สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้
    ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร?

    เพราะความคิดนี้ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น
    ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ
    ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน ก็เมื่อเธอทั้งหลายจะคิด พึงคิดว่า
    นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

    ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความคิดนี้ประกอบด้วยประโยชน์
    เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด
    ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร
    เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

    จบ สูตร​
     
  8. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561

    [๑๗๑๐] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เถระมากรูปอยู่ ณ เมืองสหชนิยะ แคว้นเจดีย์
    ก็สมัยนั้น เมื่อภิกษุผู้เถระมากรูป กลับจากบิณฑบาต ในเวลาปัจฉาภัต
    นั่งประชุมกันในโรงกลม เกิดสนทนากันขึ้น ในระหว่างประชุมว่า

    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ผู้ใดหนอแล ย่อมเห็นทุกข์
    ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็น แม้ทุกขสมุทัย แม้ทุกขนิโรธ แม้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

    [๑๗๑๑] เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว
    ท่านพระควัมปติเถระ ได้กล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ผมได้ฟังมา ได้รับมาในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า

    ผู้ใดย่อมเห็นทุกข์ ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นแม้ทุกขสมุทัย แม้ทุกขนิโรธ แม้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

    ผู้ใดย่อมเห็นทุกขสมุทัย ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นแม้ทุกข์ แม้ทุกขนิโรธ แม้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

    ผู้ใดย่อมเห็นทุกขนิโรธ ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นแม้ทุกข์ แม้ทุกขสมุทัย แม้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

    ผู้ใดย่อมเห็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นแม้ทุกข์ แม้ทุกขสมุทัย แม้ทุกขนิโรธ.

    จบ สูตร​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤศจิกายน 2012
  9. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561

    [๑๗๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เปรียบเหมือนท่อนไม้ ที่บุคคลขว้างขึ้นไปบนอากาศแล้ว
    บางคราวเอาโคน ตกลงมาก็มี
    บางคราวเอาตอนกลาง ตกลงมาก็มี
    บางคราวเอาปลาย ตกลงมาก็มี

    ฉันใด สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีนิวรณ์ คืออวิชชา มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบ
    ได้แล่นไปอยู่ ท่องเที่ยวไปอยู่
    บางคราวจากโลกนี้ ไปสู่ปรโลกก็มี
    บางคราวจากปรโลก มาสู่โลกนี้ก็มี

    ฉันนั้นเหมือนกัน ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
    เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน?
    คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร
    เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

    จบ สูตร​
     
  10. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    [๗๙] ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรม
    ที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวง
    เป็นอนัตตา ชื่อว่าสุตมยญาณอย่างไร ฯ

    ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้
    สดับมาแล้วนั้นว่า รูปไม่เที่ยงเพราะความว่าสิ้นไป เป็นทุกข์เพราะความว่า
    น่ากลัว เป็นอนัตตาเพราะความว่าหาแก่นสารมิได้ ชื่อว่าสุตมยญาณ ปัญญา
    เครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า
    เวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ไม่เที่ยง เพราะ
    ความว่าสิ้นไป เป็นทุกข์เพราะความว่าน่ากลัว เป็นอนัตตาเพราะความว่าหา
    แก่นสารมิได้ ชื่อว่าสุตมยญาณ ชื่อว่าญาณด้วยอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่า
    ปัญญาด้วยอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำ
    ธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า สังขาร
    ทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ชื่อว่า
    สุตมยญาณ ฯ

    ลักขณัตติกนิทเทส
     
  11. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    [๘๐] ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรม
    ที่ได้สดับมาแล้วว่า นี้ทุกขอริยสัจ นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ
    นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ชื่อว่าสุตมยญาณอย่างไร ฯ

    ในอริยสัจ ๔ ประการนั้น ทุกขอริยสัจเป็นไฉน ชาติเป็นทุกข์ ชรา
    เป็นทุกข์ มรณะเป็นทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
    เป็นทุกข์ ความประจวบกับสังขารหรือสัตว์อันไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์ ความ
    พลัดพรากจากสังขารหรือสัตว์อันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความไม่ได้สมปรารถนา
    ก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ฯ

    ชาติในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความเกิด ความเกิดพร้อม ความ
    ก้าวลง ความบังเกิด ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย ความ
    กลับได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้นๆ แห่งสัตว์นั้นๆ นี้ท่านกล่าวว่า ชาติ ฯ

    ชราในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความแก่ ความชำรุด ความเป็นผู้มี
    ฟันหัก ความเป็นผู้มีผมหงอก ความเป็นผู้มีหนังเหี่ยว ความเสื่อมอายุ ความ
    แก่แห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในหมู่สัตว์นั้นๆ แห่งสัตว์นั้นๆ นี้ท่านกล่าวว่า ชรา ฯ

    มรณะในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความจุติ ความเคลื่อน ความแตก
    ความหายไป ความถึงตาย ความตาย ความทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์
    ความทอดทิ้งซากศพ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ แห่งสัตว์นั้นๆ
    นี้ท่านกล่าวว่า มรณะ ฯ

    [๘๑] โสกะในทุกขอริสัจนั้นเป็นไฉน ความโศก กิริยาที่โศก ความ
    เป็นผู้โศก ความโศก ณ ภายใน ความตรมตรอม ณ ภายใน ความตรอมจิต
    ความเสียใจ ลูกศร คือ ความโศก แห่งบุคคลผู้ถูกความฉิบหายแห่งญาติกระทบ
    เข้าก็ดี ผู้ถูกความฉิบหายแห่งสมบัติกระทบเข้าก็ดี ผู้ถูกความฉิบหาย คือ โรค
    กระทบเข้าก็ดี ผู้ถูกความฉิบหายแห่งศีลกระทบเข้าก็ดี ผู้ถูกความฉิบหายแห่งทิฐิ
    กระทบเข้าก็ดี ผู้ประจวบกับความฉิบหายอื่นๆ ก็ดี ผู้ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่นๆ
    กระทบเข้าก็ดี นี้ท่านกล่าวว่า โสกะ ฯ

    ปริเทวะในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความครวญ ความคร่ำครวญ ความ
    ร่ำไร ความเป็นผู้ร่ำไร ความเป็นผู้รำพัน ความบ่นด้วยวาจา ความเพ้อด้วยวาจา
    ความพูดพร่ำเพรื่อ กิริยาที่พูดพร่ำ ความเป็นผู้พูดพร่ำเพรื่อ แห่งบุคคลผู้ถูกความ
    ฉิบหายแห่งญาติกระทบเข้าก็ดี ... ผู้ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่นๆ กระทบเข้าก็ดี นี้ท่าน
    กล่าวว่า ปริเทวะ ฯ

    ทุกข์ในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความไม่สำราญ ความลำบากอันมี
    ทางกาย ความไม่สำราญ ความลำบากที่สัตว์เสวยแล้วซึ่งเกิดแต่กายสัมผัส
    กิริยาอันไม่สำราญ ทุกขเวทนาซึ่งเกิดแต่กายสัมผัส นี้ท่านกล่าวว่า ทุกข์ ฯ

    โทมนัสในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความไม่สำราญ ความลำบากอันมี
    ทางใจ ความไม่สำราญ ความลำบากที่สัตว์เสวยแล้วเกิดแต่สัมผัสทางใจ กิริยา
    อันไม่สำราญ ทุกขเวทนาซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางใจ นี้ท่านกล่าวว่า โทมนัส ฯ

    อุปายาสในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความแค้น ความเคือง ความ
    เป็นผู้แค้น ความเป็นผู้เคือง แห่งบุคคลผู้ถูกความฉิบหายแห่งญาติกระทบเข้า
    ก็ดี ... ผู้ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่นๆ กระทบเข้าก็ดี นี้ท่านกล่าวว่า อุปายาส ฯ

    [๘๒] ความประจวบกับสังขารหรือสัตว์อันไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์ใน
    ทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน สังขารเหล่าใด คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
    อันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจในโลกนี้ ย่อมมีแก่บุคคลนั้น หรือ
    สัตว์เหล่าใดเป็นผู้ไม่หวังประโยชน์ ไม่หวังความเกื้อกูล ไม่หวังความสบาย
    ไม่หวังความปลอดโปร่งจากโยคกิเลสแก่บุคคลนั้น การไปร่วมกัน การมาร่วมกัน
    การอยู่ร่วมกัน การทำกิจร่วมกัน กับสังขารหรือสัตว์เหล่านั้น นี้ท่านกล่าวว่า
    ความประจวบกับสังขารหรือสัตว์อันไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์ ฯ

    ความพลัดพรากจากสังขารหรือสัตว์อันเป็นที่รัก เป็นทุกข์ในทุกขอริย-
    *สัจนั้นเป็นไฉน สังขารเหล่าใด คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่า
    ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ในโลกนี้ ย่อมมีแก่บุคคลนั้น หรือสัตว์เหล่าใด
    คือ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร พวกพ้อง ญาติ
    หรือสาโลหิตเป็นผู้หวังประโยชน์ หวังความเกื้อกูล หวังความสบาย หวังความ
    ปลอดโปร่งจากโยคกิเลสแก่บุคคลนั้น การไม่ได้ไปร่วมกัน การไม่ได้มาร่วมกัน
    การไม่ได้อยู่ร่วมกัน การไม่ได้ทำกิจร่วมกัน กับสังขารหรือสัตว์เหล่านั้น นี้ท่าน
    กล่าวว่า ความพลัดพรากจากสังขารหรือสัตว์อันเป็นที่รัก เป็นทุกข์ ฯ

    ความไม่ได้สมปรารถนาเป็นทุกข์ในทุกขอริยสัจเป็นไฉน สัตว์ทั้งหลาย
    ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา มีความปรารถนาเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ขอเราทั้งหลายอย่ามี
    ชาติเป็นธรรมดา และชาติอย่ามาถึงแก่เราทั้งหลายเลย ข้อนี้อันสัตว์ทั้งหลาย
    ไม่พึงได้ตามความปรารถนา แม้ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นี้ก็เป็นทุกข์
    สัตว์ทั้งหลายมีชราเป็นธรรมดา ฯลฯ สัตว์ทั้งหลายมีพยาธิเป็นธรรมดา ฯลฯ
    สัตว์ทั้งหลายมีมรณะเป็นธรรมดา ฯลฯ สัตว์ทั้งหลายมีโสกะปริเทวะ ทุกข์
    โทมนัสและอุปายาสเป็นธรรมดา มีความปรารถนาเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ขอเรา
    ทั้งหลายอย่าพึงมีความโศก ความร่ำไร ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความ
    คับแค้นใจเป็นธรรมดาเลยและขอความโศก ความร่ำไร ความทุกข์กาย ความ
    ทุกข์ใจและความคับแค้นใจ ไม่พึงมาถึงแก่เราทั้งหลายเลย ข้อนี้อันสัตว์ทั้งหลาย
    ไม่พึงได้ตามความปรารถนา ความไม่ได้สมปรารถนาแม้นี้ก็เป็นทุกข์ ฯ

    โดยย่ออุปาทาขันท์ ๕ เป็นทุกข์ ในทุกขอริยสัจนั้น เป็นไฉน อุปาทาน-
    *ขันธ์ คือ รูป อุปาทานขันธ์ คือ เวทนา อุปาทานขันธ์ คือ สัญญา
    อุปาทานขันธ์ คือ สังขาร อุปาทานขันธ์ คือ วิญญาณ อุปาทานขันธ์เหล่านี้
    ท่านกล่าวว่า โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขอริยสัจ ฯ

    ทุกขสัจนิทเทส
     
  12. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    [๑๑๕] ปัญญาในความปรากฏเป็นของน่ากลัว เป็นอาทีนวญาณอย่างไร ฯ
    ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นภัยว่า ความเกิดขึ้นเป็นภัย ความ
    เป็นไปเป็นภัย สังขารนิมิตเป็นภัย ฯลฯ กรรมประมวลมาเป็นภัย ปฏิสนธิ
    เป็นภัย คติเป็นภัย ความบังเกิดเป็นภัย ความอุบัติเป็นภัย ชาติเป็นภัย ชรา
    เป็นภัย พยาธิเป็นภัย มรณะเป็นภัย ความโศกเป็นภัย ความรำพันเป็นภัย
    ความคับแค้นใจเป็นภัย เป็นอาทีนวญาณแต่ละอย่าง ฯ

    ญาณในสันติบทว่า ความไม่เกิดขึ้นปลอดภัย ความไม่เป็นไปปลอดภัย
    ฯลฯ ความไม่คับแค้นใจปลอดภัย ญาณในสันติบทว่า ความเกิดขึ้นเป็นภัย
    ความไม่เกิดขึ้นปลอดภัย ความเป็นไปเป็นภัย ความไม่เป็นไปปลอดภัย ฯลฯ
    ความคับแค้นใจเป็นภัย ความไม่คับแค้นใจปลอดภัย ปัญญาในความปรากฏ
    โดยความเป็นภัยว่า ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์ ฯลฯ ความคับแค้นใจเป็นทุกข์ เป็น
    อาทีนวญาณแต่ละอย่างๆ ญาณในสันติบทว่า ความไม่เกิดขึ้นเป็นสุข ความ
    ไม่เป็นไปเป็นสุข ฯลฯ ความไม่คับแค้นใจเป็นสุข ฯ

    [๑๑๖] ญาณในสันติบทว่า ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์ ความไม่เกิดขึ้น
    เป็นสุข ความเป็นไปเป็นทุกข์ ความไม่เป็นไปเป็นสุข ฯลฯ ความคับแค้นใจ
    เป็นทุกข์ ความไม่คับแค้นใจเป็นสุข ฯ

    [๑๑๗] ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นภัยว่า ความเกิดขึ้นมีอามิส
    ความเป็นไปมีอามิส ฯลฯ ความคับแค้นใจมีอามิส เป็นอาทีนวญาณแต่ละอย่างๆ
    ญาณในสันติบทว่าความไม่เกิดขึ้นไม่มีอามิส ความไม่เป็นไปไม่มีอามิส ฯลฯ
    ความไม่คับแค้นใจไม่มีอามิส ความเกิดขึ้นมีอามิส ความไม่เกิดขึ้นไม่มีอามิส
    ความเป็นไปมีอามิส ความไม่เป็นไปไม่มีอามิส ฯลฯ ความคับแค้นใจมีอามิส
    ความไม่คับแค้นใจไม่มีอามิส ฯ

    [๑๑๘] ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นภัยว่า ความเกิดขึ้นเป็น
    สังขาร ฯลฯ ความคับแค้นใจเป็นสังขาร เป็นอาทีนวญาณแต่ละอย่างๆ ญาณ
    ในสันติบทว่า ความไม่เกิดขึ้นเป็นนิพพาน ความไม่เป็นไปเป็นนิพพาน ฯลฯ
    ความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน ญาณในสันติบทว่า ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ความ
    ไม่เกิดขึ้นเป็นนิพพาน ความเป็นไปเป็นสังขาร ความไม่เป็นไปเป็นนิพพาน ฯลฯ
    ความคับแค้นใจเป็นสังขาร ความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน ฯ

    [๑๑๙] ข้อที่พระโยคาวจรพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น ความเป็นไป
    สังขารนิมิต กรรมเครื่องประมวลมาและปฏิสนธิว่า เป็นทุกข์
    นี้เป็นอาทีนวญาณ ข้อที่พระโยคาวจรพิจารณาเห็นความไม่
    เกิดขึ้น ความไม่เป็นไป ความไม่มีนิมิต ความไม่มี
    กรรมเครื่องประมวลมาและความไม่ปฏิสนธิว่า เป็นสุขนี้เป็น
    ญาณในสันติบท อาทีนวญาณนี้ย่อมเกิดในฐานะ ๕ ญาณ
    ในสันติบทย่อมเกิดในฐานะ ๕ พระโยคาวจรย่อมรู้ชัดญาณ-
    ๑๐ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ เพราะเป็นผู้ฉลาดใน
    ญาณทั้ง ๒ ฉะนี้แล ฯ

    ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
    เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นภัย เป็น
    อาทีนวญาณ ฯ

    อาทีนวญาณนิทเทส
     
  13. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    [๑๒๐] ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้งพิจารณาหาทาง
    และวางเฉยอยู่ เป็นสังขารุเปกขาญาณอย่างไร ฯ

    ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสียจากความเกิดขึ้น ทั้งพิจารณา
    หาทางและวางเฉยอยู่ ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสียจากความเป็นไป
    ทั้งพิจารณาหาทางและวางเฉยอยู่ ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสียจาก
    สังขารนิมิต ฯลฯ จากกรรมเครื่องประมวลมา จากปฏิสนธิ จากคติ จากความ
    บังเกิด จากความอุบัติ จากชาติ จากชรา จากพยาธิ จากมรณะ จากความโศก
    จากความรำพัน ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสียจากความคับแค้นใจ
    ทั้งพิจารณาหาทางและวางเฉยอยู่ เป็นสังขารุเปกขาญาณแต่ละอย่างๆ ฯ

    [๑๒๑] ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้งพิจารณาหาทาง
    แลวางเฉยอยู่ว่า ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์ ความเป็นไปทุกข์ สังขารนิมิตเป็นทุกข์
    ฯลฯ ความคับแค้นใจเป็นทุกข์ เป็นสังขารุเปกขาญาณแต่ละอย่างๆ ปัญญา
    เครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้งพิจารณาหาทางและวางเฉยอยู่ว่า ความ
    เกิดขึ้นเป็นภัย ความเป็นไปเป็นภัย ฯลฯ ความคับแค้นใจเป็นภัย เป็น
    สังขารุเปกขาญาณแต่ละอย่างๆ ฯ

    [๑๒๒] ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้งพิจารณาหาทาง
    และวางเฉยอยู่ว่า ความเกิดขึ้นมีอามิส ความเป็นไปมีอามิส ฯลฯ ความ
    คับแค้นใจมีอามิส ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ความเป็นไปเป็นสังขาร ฯลฯ ความ
    คับแค้นใจเป็นสังขาร เป็นสังขารุเปกขาญาณแต่ละอย่างๆ ฯ

    [๑๒๓] ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะ
    เหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ แม้ธรรม ๒ ประการนี้ คือ สังขารและอุเบกขา
    ก็เป็นสังขาร ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
    ความเป็นไปเป็นสังขาร ฯลฯ นิมิตเป็นสังขาร กรรมเครื่องประมวลมาเป็น
    สังขาร ปฏิสนธิเป็นสังขาร คติเป็นสังขาร ความบังเกิดเป็นสังขาร ความอุบัติ
    เป็นสังขาร ชาติเป็นสังขาร ชราเป็นสังขาร พยาธิเป็นสังขาร มรณะเป็นสังขาร
    ความโศกเป็นสังขาร ความรำพันเป็นสังขาร ความคับแค้นใจเป็นสังขาร
    ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ แม้ธรรม
    ๒ ประการ คือ สังขารและอุเบกขา ก็เป็นสังขาร ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น
    เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ฯ

    [๑๒๔] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขา ย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร ฯ
    การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขา ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๘ ฯ

    การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร
    การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะ ย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร
    การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ ย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร ฯ

    การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๒
    การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะ ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๓
    การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๓ ฯ

    [๑๒๕] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ย่อมมีได้ด้วย
    อาการ ๒ เป็นไฉน ฯ
    ปุถุชนย่อมยินดีสังขารุเปกขา ๑ ย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา ๑
    การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๒ นี้ ฯ
    การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะ ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๓
    เป็นไฉน ฯ
    พระเสขะย่อมยินดีสังขารุเปกขา ๑ ย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา ๑
    พิจารณาแล้วเข้าผลสมาบัติ ๑ การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะ ย่อม
    มีได้ด้วยอาการ ๓ นี้ ฯ

    การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ ย่อมมีได้ด้วย
    อาการ ๓ เป็นไฉน ฯ

    ท่านผู้ปราศจากราคะย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา ๑ พิจารณาแล้วเข้าผล-
    *สมาบัติ ๑ วางเฉยสังขารุเปกขานั้นแล้ว ย่อมอยู่ด้วยสุญญตวิหารสมาบัติ
    อนิมิตตวิหารสมาบัติ หรืออัปปณิหิตวิหารสมาบัติ ๑ การน้อมจิตไปใน
    สังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะย่อมมีได้ด้วยอาการ ๓ นี้ ฯ

    [๑๒๖] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนและของพระเสขะ เป็น
    อย่างเดียวกันอย่างไร ฯ
    ปุถุชนยินดีสังขารุเปกขา มีจิตเศร้าหมอง มีอันตรายแห่งภาวนา
    มีอันตรายแห่งปฏิเวธ มีปัจจัยแห่งปฏิสนธิต่อไป แม้พระเสขะยินดีสังขารุเปกขา
    ก็มีจิตเศร้าหมอง มีอันตรายแห่งภาวนามีอันตรายแห่งปฏิเวธในมรรคชั้นสูง มีปัจจัย
    แห่งปฏิสนธิต่อไป การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนและของพระเสขะ
    เป็นอย่างเดียวกันโดยสภาพแห่งความยินดีอย่างนี้ ฯ

    [๑๒๗] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและ
    ของท่านผู้ปราศจากราคะ เป็นอย่างเดียวกันอย่างไร ฯ
    ปุถุชนย่อมพิจารณาเห็นสังขารุเปกขาโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์
    และเป็นอนัตตา แม้พระเสขะก็พิจารณาเห็นสังขารุเปกขาโดยความเป็นของ
    ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา แม้ท่านผู้ปราศจากราคะ ก็พิจารณาเห็น
    สังขารุเปกขาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา การน้อมจิต
    ไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ เป็น
    อย่างเดียวกันโดยสภาพแห่งการพิจารณาอย่างนี้ ฯ

    [๑๒๘] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและ
    ของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันอย่างไร ฯ
    สังขารุเปกขาของปุถุชนเป็นกุศล แม้ของพระเสขะก็เป็นกุศล แต่ของท่าน
    ผู้ปราศจากราคะเป็นอัพยากฤต การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของ
    พระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันโดยสภาพเป็นกุศลและ
    อัพยากฤตอย่างนี้ ฯ

    [๑๒๙] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและ
    ของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันอย่างไร ฯ
    สังขารุเปกขาของปุถุชน ปรากฏดีในกาลนิดหน่อย (ในเวลาเจริญ
    วิปัสสนา) ไม่ปรากฏดีในกาลนิดหน่อย แม้สังขารุเปกขาของพระเสขะ ก็ปรากฏ
    ดีในการนิดหน่อย สังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ ปรากฏดีโดยส่วนเดียว
    การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจาก
    ราคะ มีความต่างกันโดยสภาพที่ปรากฏและโดยภาพที่ไม่ปรากฏอย่างนี้ ฯ

    [๑๓๐] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและ
    ของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันอย่างไร ฯ
    ปุถุชนย่อมพิจารณา เพราะเป็นผู้ยังไม่เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา แม้
    พระเสขะก็พิจารณาเพราะเป็นผู้ยังไม่เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา ส่วนท่านผู้ปราศจาก
    ราคะย่อมพิจารณาเพราะเป็นผู้เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา การน้อมจิตไปใน
    สังขารุเปกขาของปุถุชนของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกัน
    โดยสภาพที่ยังไม่เสร็จกิจและโดยสภาพที่เสร็จกิจแล้วอย่างนี้ ฯ

    [๑๓๑] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและ
    ของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันอย่างไร ฯ
    ปุถุชนย่อมพิจารณาสังขารุเปกขาเพื่อจะละสังโยชน์ ๓ เพื่อต้องการ
    ได้โสดาปัตติมรรค พระเสขะย่อมพิจารณาสังขารุเปกขาเพื่อต้องการได้มรรคชั้นสูง
    ขึ้นไป เพราะเป็นผู้ละสังโยชน์ ๓ ได้แล้ว ท่านผู้ปราศจากราคะย่อมพิจารณา
    สังขารุเปกขา เพื่อต้องการอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะเป็นผู้ละกิเลสทั้งปวง
    ได้แล้ว การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและของท่าน
    ผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันโดยสภาพที่ละกิเลสได้แล้วและโดยสภาพที่ยังละ
    กิเลสไม่ได้อย่างนี้ ฯ

    [๑๓๒] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขา ของพระเสขะและของท่านผู้
    ปราศจากราคะ มีความต่างกันอย่างไร ฯ
    พระเสขะยังยินดีสังขารุเปกขาบ้าง ย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขาบ้างพิจารณา
    แล้วเข้าผลสมาบัติบ้าง ท่านผู้ปราศจากราคะย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขาบ้างพิจารณา
    แล้วเข้าผลสมาบัติบ้าง วางเฉยสังขารุเปกขานั้นแล้ว ย่อมอยู่ด้วยสุญญตวิหาร-
    *สมาบัติ อนิมิตตวิหารสมาบัติ หรืออัปปณิหิตวิหารสมาบัติ การน้อมจิตไปใน
    สังขารุเปกขาของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันโดยสภาพ
    แห่งวิหารสมาบัติอย่างนี้ ฯ

    [๑๓๓] สังขารุเปกขาเท่าไร ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ สังขารุเปกขา
    เท่าไร ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา ฯ
    สังขารุเปกขา ๘ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ สังขารุเปกขา ๑๐ ย่อม
    เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา ฯ
    สังขารุเปกขา ๘ เป็นไฉน ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ ปัญญาที่พิจารณา
    หาทางแล้ววางเฉยนิวรณ์ เพื่อต้องการได้ปฐมฌาน เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑
    ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยวิตกวิจาร เพื่อต้องการได้ทุติยฌาน เป็น
    สังขารุเปกขาญาณ ๑ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยปีติ เพื่อต้องการได้
    ตติยฌาน เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยสุขและทุกข์
    เพื่อต้องการได้จตุตถฌาน เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ว
    วางเฉยรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา (และ) นานัตตสัญญา เพื่อต้องการได้
    อากาสานัญจายตนสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ว
    วางเฉยอากาสานัญจายตนสัญญา เพื่อต้องการได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ เป็น
    สังขารุเปกขาญาณ ๑ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยวิญญาณัญจายตนสัญญา
    เพื่อต้องการได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ปัญญาที่พิจารณา
    หาทางแล้ววางเฉยอากิญจัญญายตนสัญญา เพื่อต้องการได้เนวสัญญานาสัญญายตน-
    *สมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ สังขารุเปกขา ๘ เหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วย
    อำนาจสมถะ ฯ

    [๑๓๔] สังขารุเปกขา ๑๐ เป็นไฉน ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา ฯ
    ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต
    กรรมเครื่องประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด อุบัติ ชาติ ชรา พยาธิ
    มรณะ ความโศก ความรำพัน ความคับแค้นใจ เพื่อต้องการได้โสดาปัตติมรรค
    เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ... เพื่อต้องการได้โสดาปัตติผลสมาบัติ เป็น
    สังขารุเปกขาญาณ ๑ ... เพื่อต้องการได้สกทาคามิมรรค เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑
    ... เพื่อต้องการได้สกทาคามิผลสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ... เพื่อ
    ต้องการได้อนาคามิมรรค เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ... เพื่อต้องการได้อนาคามิผล
    สมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ... เพื่อต้องการได้อรหัตมัค เป็น
    สังขารุเปกขาญาณ ๑ ... เพื่อต้องการได้อรหัตผลสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑
    ... เพื่อต้องการสุญญตวิหารสมาบัติ สังขารุเปกขาญาณ ๑ ปัญญาที่พิจารณา
    หาทางแล้ววางเฉยความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเครื่องประมวลมา
    ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด อุบัติ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ความโศก
    ความรำพัน ความคับแค้นใจ เพื่อต้องการได้อนิมิตตวิหารสมาบัติ เป็น
    สังขารุเปกขาญาณ ๑ สังขารุเปกขาญาณ ๑๐ เหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจ
    วิปัสสนา ฯ

    [๑๓๕] สังขารุเปกขาเป็นกุศลเท่าไร เป็นอกุศลเท่าไร เป็นอัพยากฤต
    เท่าไร สังขารุเปกขาเป็นกุศล ๑๕ เป็นอัพยากฤต ๓ เป็นอกุศลไม่มี ฯ
    ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉย เป็นโคจรภูมิของสมาธิ-
    จิต ๘ เป็นโคจรภูมิของปุถุชน ๒ เป็นโคจรภูมิของพระ-
    *เสขะ ๓ เป็นเครื่องให้จิตของท่านผู้ปราศจากราคะหลีกไป ๓
    เป็นปัจจัยแห่งสมาธิ ๘ เป็นโคจรแห่งภูมิแห่งญาณ ๑๐
    สังขารุเปกขา ๘ เป็นปัจจัยแห่งวิโมกข์ ๓ อาการ ๑๘ นี้
    พระโยคาวจรอบรมแล้วด้วยปัญญา พระโยคาวจรผู้ฉลาดใน
    สังขารุเปกขา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ ฉะนี้แล ฯ
    ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
    เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปทั้งพิจารณา
    หาทางและวางเฉย เป็นสังขารุเปกขาญาณ ฯ

    สังขารุเปกขาญาณนิทเทส

    อรรถกถา สังขารุเปกขาญาณนิทเทส
     
  14. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    [๑๓๖] ปัญญาในการออกและหลีกไปจากสังขารนิมิตภายนอกเป็นโคตร-
    *ภูญาณอย่างไร ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่าครอบงำความเกิดขึ้น ครอบงำความ
    เป็นไป ครอบงำนิมิต ครอบงำกรรมเครื่องประมวลมา ครอบงำปฏิสนธิ
    ครอบงำคติ ครอบงำความบังเกิด ครอบงำอุบัติ ครอบงำชาติ ครอบงำชรา
    ครอบงำพยาธิ ครอบงำมรณะ ครอบงำความเศร้าโศก ครอบงำความรำพัน
    ครอบงำความคับแค้นใจ ครอบงำสังขารนิมิตภายนอก ชื่อว่าโคตรภู เพราะ
    อรรถว่า แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น ฯลฯ แล่นไปสู่นิพพานอัน
    เป็นที่ดับ ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่า ครอบงำความเกิดขึ้นแล้ว แล่นไปสู่
    นิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น ครอบงำความเป็นไปแล้ว แล่นไปสู่นิพพานอัน
    ไม่มีความเป็นไป ฯลฯ ครอบงำสังขารนิมิตภายนอกแล้ว แล่นไปสู่นิพพานอัน
    เป็นที่ดับ ฯ

    [๑๓๗] ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่า ออกจากความเกิดขึ้น
    ออกจากความเป็นไป ... ออกจากสังขารนิมิตภายนอก ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่า
    แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความเป็นไป ฯลฯ
    แล่นไปสู่นิพพานอันเป็นที่ดับ ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่า ออกจากความ
    เกิดขึ้นแล้ว แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น ออกจากความเป็นไปแล้ว
    แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความเป็นไป ออกจากสังขารนิมิตภายนอกแล้ว แล่น
    ไปสู่นิพพานอันเป็นที่ดับ ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่า หลีกออกจากความเกิดขึ้น
    หลีกออกจากความเป็นไป ฯลฯ หลีกออกจากสังขารนิมิตภายนอก ชื่อว่าโคตรภู
    เพราะอรรถว่า แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มี
    ความเป็นไป ฯลฯ แล่นไปสู่นิพพานอันเป็นที่ดับ ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่า
    หลีกออกจากความเกิดขึ้นแล้ว แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น ออกจาก
    ความเป็นไปแล้ว แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความเป็นไป ฯลฯ หลีกออกจาก
    สังขารนิมิตภายนอกแล้ว แล่นไปสู่นิพพานอันเป็นที่ดับ ฯ

    [๑๓๘] โคตรภูธรรมเท่าไร ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งสมถะ โคตร-
    *ภูธรรมเท่าไร ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา โคตรภูธรรม ๘ ย่อมเกิดขึ้น
    ด้วยอำนาจแห่งสมถะ โคตรภูธรรม ๑๐ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา ฯ

    [๑๓๙] โคตรภูธรรม ๘ เป็นไฉน ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งสมถะ ฯ
    ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่า ครอบงำนิวรณ์เพื่อได้ปฐมฌาน ๑ ครอบงำ
    วิตกและวิจารเพื่อได้ทุติยฌาน ๑ ครอบงำปีติเพื่อได้ตติยฌาน ๑ ครอบงำสุข
    และทุกข์เพื่อได้จตุตถฌาน ๑ ครอบงำ รูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา
    เพื่อได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ ๑ ครอบงำอากาสานัญจายตนสัญญาเพื่อได้
    วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ๑ ครอบงำวิญญาณัญจายตนสัญญาเพื่อได้อากิญจัญญายตน-
    *สมาบัติ ๑ ครอบงำอากิญจัญญายตนสัญญาเพื่อได้เนวสัญญานาสัญญายตน-
    *สมาบัติ ๑ โคตรภูธรรม ๘ นี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งสมถะ ฯ

    [๑๔๐] โคตรภูธรรม ๑๐ เป็นไฉน ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา ฯ
    ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่า ครอบงำความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต
    กรรมเครื่องประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด อุบัติ ชาติ ชรา พยาธิ
    มรณะ ความเศร้าโศก ความร่ำไร ความคับแค้นใจ สังขารนิมิตภายนอก
    เพื่อได้โสดาปัตติมรรค ๑ ครอบงำความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรม
    เครื่องประมวลมา ปฏิสนธิ เพื่อโสดาปัตติผลสมาบัติ ๑ ฯลฯ เพื่อได้สกทาคามิ-
    *มรรค ๑ เพื่อสกทาคามิผลสมาบัติ ๑ เพื่อได้อนาคามิมรรค ๑ เพื่ออนาคามิผล-
    *สมาบัติ ๑ ครอบงำความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเครื่องประมวลมา
    ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด อุบัติ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ความเศร้าโศก
    ความร่ำไร ความคับแค้นใจ สังขารนิมิตภายนอก เพื่อได้อรหัตมรรค ๑ ครอบงำ
    ความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเครื่องประมวลมา ปฏิสนธิ เพื่ออรหัตผล-
    *สมาบัติ ๑ เพื่อสุญญตวิหารสมาบัติ ๑ และเพื่อสมาบัติ ๑ โคตรภูธรรม ๑๐ นี้
    ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา ฯ

    [๑๔๑] โคตรภูธรรมเป็นกุศลเท่าไร เป็นอกุศลเท่าไร เป็นอัพยากฤต
    เท่าไร โคตรภูธรรมเป็นกุศล ๑๕ เป็นอัพยากฤต ๓ เป็นอกุศลไม่มี ฯ

    [๑๔๒] โคตรภูญาณ ๘ คือ โคตรภูญาณที่มีอามิส ๑ ไม่มี
    อามิส ๑ มีที่ตั้ง ๑ ไม่มีที่ตั้ง ๑ เป็นสุญญตะ ๑ เป็น
    วุฏฐิตะ ๑ เป็นอวุฏฐิตะ ๑ เป็นปัจจัยแห่งสมาธิ โคตรภู-
    ญาณ ๑๐ เป็นโคจรแห่งวิปัสสนาญาณ โคตรภูธรรม ๑๘
    เป็นปัจจัยแห่งวิโมกข์ ๓ โคตรภูธรรมมีอาการ ๑๘ นี้
    พระโยคาวจรอบรมแล้วด้วยปัญญา พระโยคาวจรเป็นผู้ฉลาด
    ในโคตรภูญาณ อันเป็นเครื่องหลีกไปและในโคตรภูญาณ
    อันเป็นเครื่องออกไป ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ
    ฉะนี้แล ฯ

    ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
    เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไป และหลีกไปจากสังขารนิมิต
    ภายนอก เป็นโคตรภูญาณ ฯ

    โคตรภูญาณนิทเทส

    อรรถกถา โคตรภูญาณนิทเทส
     
  19. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    [๑๔๓] ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขาร
    นิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณอย่างไร ฯ

    ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิเพราะอรรถว่าเห็น
    ย่อมออกจากมิจฉาทิฐิ จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น จากขันธ์ทั้งหลาย
    (คืออรูปขันธ์ ๔ อันเป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น เบญจขันธ์พร้อมด้วยรูปอันมีทิฐินั้นเป็น
    สมุฏฐานและวิบากขันธ์อันจะพึงเกิดขึ้นในอนาคต) และจากสรรพนิมิตภายนอก
    เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส
    ขันธ์ และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ ญาณชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ
    เพราะอรรถว่าดำริออก ย่อมออกจากมิจฉาสังกัปปะ ... เป็นมรรคญาณ ญาณชื่อว่า
    สัมมาวาจา เพราะอรรถว่ากำหนดเอา ย่อมออกจากมิจฉาวาจา ... เป็นมรรคญาณ
    ญาณชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ย่อมออกจากมิจฉา-
    *กัมมันตะ ... เป็นมรรคญาณ ญาณชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะอรรถว่าขาวผ่อง
    ย่อมออกจากมิจฉาอาชีวะ ... เป็นมรรคญาณ ญาณชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะ
    อรรถว่าประคองไว้ ย่อมออกจากมิจฉาวายามะ ... เป็นมรรคญาณ ญาณชื่อว่าสัมมาสติ
    เพราะอรรถว่าตั้งมั่น ย่อมออกจากมิจฉาสติ ... เป็นมรรคญาณ ญาณชื่อว่า
    สัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากมิจฉาสมาธิ จากเหล่ากิเลส
    ที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะ
    เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และ
    สังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ ฯ

    [๑๔๔] ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิ เพราะอรรถว่า
    เห็น ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากกามราค-
    *สังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆ จากเหล่ากิเลส
    ที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะ
    เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขาร
    นิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ ฯ

    [๑๔๕] ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิ เพราะอรรถ
    ว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากกามราค-
    *สังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆ ย่อม
    ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพ-
    *นิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจาก
    กิเลส ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ ฯ

    [๑๔๖] ในขณะแห่งอรหัตมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิ เพราะอรรถว่าเห็น
    ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากรูปราคะ อรูปราคะ
    มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย ย่อมออกจาก
    เหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิต
    ภายนอก เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส
    ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ ฯ

    [๑๔๗] อริยมรรคสมังคีบุคคล ย่อมเผาสังกิเลสที่ยังไม่เกิด ด้วย
    โลกุตตรฌานที่เกิดแล้ว เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว
    โลกุตตรฌานว่าเป็นฌาน บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิ
    ต่างๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในฌานและวิโมกข์ ถ้าพระ
    โยคาวจรตั้งใจมั่นดีแล้วย่อมเห็นแจ้งฉันใด ถ้าเมื่อเห็นแจ้งก็
    พึงตั้งใจไว้ให้มั่นคงดีฉันนั้น สมถะและวิปัสสนาได้มีแล้วใน
    ขณะนั้น ย่อมเป็นคู่ที่มีส่วนเสมอกันเป็นไปอยู่ ความเห็นว่า
    สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ นิโรธเป็นสุข ชื่อว่าปัญญาที่ออก
    จากธรรมทั้งสอง ย่อมถูกต้องอมตบท พระโยคาวจรผู้ฉลาด
    ในความเป็นต่างกัน และความเป็นอันเดียวกันแห่งวิโมกข์
    เหล่านั้น ย่อมรู้วิโมกขจริยา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ
    เพราะความเป็นผู้ฉลาดในญาณทั้งสอง ฉะนี้แล ฯ

    ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้นๆ ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
    เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์
    และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสองเป็นมรรคญาณ ฯ

    มรรคญาณนิทเทส

    อรรถกถา มรรคญาณนิทเทส
     
  20. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    มหาวรรค ทิฐิกถา

    [๒๙๔] ที่ตั้งแห่งทิฐิเท่าไร ความกลุ้มรุมแห่งทิฐิเท่าไร ทิฐิเท่าไร
    ความถือผิดแห่งทิฐิเท่าไร ความถอนที่ตั้งแห่งทิฐิเป็นไฉน ทิฐิคือความลูบคลำด้วย
    ความถือผิดเท่าไร ฯ

    ถามว่า ที่ตั้งแห่งทิฐิเท่าไร ตอบว่า ที่ตั้งแห่งทิฐิ ๘ ถามว่า ความกลุ้ม-
    *รุมแห่งทิฐิเท่าไร ตอบว่า ความกลุ้มรุมแห่งทิฐิ ๑๘ ถามว่า ทิฐิเท่าไร ตอบว่า
    ทิฐิ ๑๖ ถามว่า ความถือผิดแห่งทิฐิเท่าไร ตอบว่า ความถือผิดแห่งทิฐิ ๑๓๐
    ถามว่า ความถอนที่ตั้งแห่งทิฐิเป็นไฉน ตอบว่า โสดาปัตติมรรคเป็นเครื่องถอน
    ที่ตั้งแห่งทิฐิ ฯ

    [๒๙๕] คำว่า ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดเท่าไร ตอบว่า
    ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งรูปว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็น
    ตัวตนของเรา ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งเวทนา สัญญา สังขาร
    วิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฐิ คือ ความ
    ลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ว่า นั่นของเรา นั่นเป็น
    เรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งรูป เสียง
    กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน
    ของเรา ฯ

    [๒๙๖] ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ซึ่ง จักขุวิญญาณ โสต-
    *วิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ว่า นั่นของเรา
    นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งจักษุ-
    *สัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส ว่า
    นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความ
    ถือผิดซึ่งจักษุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา
    ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา ว่า
    นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ

    [๒๙๗] ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งรูปสัญญา สัททสัญญา
    คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธรรมสัญญา ว่า นั่นของเรา นั่นเป็น
    เรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่ง
    รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา
    ธรรมสัญเจตนา ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฐิ คือ
    ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งรูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา
    โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
    ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งรูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก
    โผฏฐัพพวิตก ธรรมวิตก ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
    ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งรูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร
    โผฏฐัพพวิจาร ธรรมวิจาร ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ

    [๒๙๘] ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งปฐวีธาตุ อาโปธาตุ
    เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา
    นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งปฐวีกสิณ อาโป-
    *กสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ
    อากาสกสิณ วิญญาณกสิณ ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน
    ของเรา ฯ

    [๒๙๙] ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งผม ขน เล็บ ฟัน
    หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ฯลฯ
    น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร สมองศีรษะ ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็น
    ตัวตนของเรา ฯ

    [๓๐๐] ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งจักขายตนะ รูปายตนะ
    โสตายตนะ สัททายตนะ ฆานายตนะ คันธายตนะ ชิวหายตนะ รสายตนะ
    กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ มนายตนะ ธรรมายตนะ จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุ-
    วิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆาน-
    *วิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ
    กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ ธรรมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ว่า นั่นของเรา นั่น-
    *เป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ

    [๓๐๑] ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งจักขุนทรีย์ โสตินทรีย์
    ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์
    อุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ว่า
    นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ

    [๓๐๒] ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งกามธาตุ รูปธาตุ
    อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ
    เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน
    จตุตถฌาน เมตตาเจโตวิมุติ กรุณาเจโตวิมุติ มุทิตาเจโตวิมุติ อุเปกขาเจโตวิมุติ
    อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ
    เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน
    ของเรา ฯ

    [๓๐๓] ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งอวิชชา สังขาร
    วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ
    ชราและมรณะ ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฐิ คือ
    ความลูบคลำด้วยความถือผิดอย่างนี้ ฯ

    [๓๐๔] ที่ตั้งแห่งทิฐิ ๘ เป็นไฉน แม้ขันธ์ทั้งหลายก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฐิ
    แม้อวิชชา ผัสสะ สัญญา วิตก อโยนิโสมนสิการ มิตรชั่ว เสียงแต่ที่อื่น
    ทุกอย่างเป็นที่ตั้งแห่งทิฐิ ฯ

    ขันธ์ทั้งหลายเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นที่ตั้งแห่งทิฐิ เพราะอรรถว่า
    เป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้ขันธ์ทั้งหลายก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฐิอย่างนี้ ... อวิชชา ...
    ผัสสะ ... สัญญา ... วิตก ... อโยนิโสมนสิการ ... มิตรชั่ว เสียงแต่ที่อื่น ก็เป็น
    เหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นที่ตั้งแห่งทิฐิ เพราะอรรถว่าเป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้เสียง
    แต่ที่อื่นก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฐิอย่างนี้ ที่ตั้งแห่งทิฐิ ๘ เหล่านี้ ฯ

    [๓๐๕] ความกลุ้มรุมแห่งทิฐิ ๑๘ เป็นไฉน ทิฐิ คือ ทิฐิไป ทิฐิ-
    *รกชัฏ ทิฐิกันดาร ทิฐิเป็นเสี้ยนหนาม ทิฐิวิบัติ ทิฐิเป็นสังโยชน์ ทิฐิเป็นลูกศร
    ทิฐิเป็นสมภพ ทิฐิเป็นเครื่องกังวล ทิฐิเป็นเครื่องผูกพัน ทิฐิเป็นเหว ทิฐิเป็น
    อนุสัย ทิฐิเป็นเหตุให้เดือดร้อน ทิฐิเป็นเหตุให้เร่าร้อน ทิฐิเป็นเครื่องร้อยกรอง
    ทิฐิเป็นเครื่องยึดมั่น ทิฐิเป็นเหตุให้ถือผิด ทิฐิเป็นเหตุให้ลูบคลำ ความกลุ้มรุม
    แห่งทิฐิ ๑๘ เหล่านี้ ฯ

    [๓๐๖] ทิฐิ ๑๖ เป็นไฉน คือ อัสสาททิฐิ ๑ อัตตานุทิฐิ ๑ มิจฉาทิฐิ ๑
    สักกายทิฐิ ๑ สัสสตทิฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ ๑ อุจเฉททิฐิอันมีสักกายะเป็น
    วัตถุ ๑ อันตคาหิกทิฐิ ๑ ปุพพันตานุทิฐิ ๑ อปรันตานุทิฐิ ๑ สังโยชนิกาทิฐิ ๑
    ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าเป็นเรา ๑ ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าของเรา ๑ ทิฐิอันสัมป-
    *ยุตด้วยอัตตวาทะ ๑ ทิฐิอันสัมปยุตด้วยโลกวาทะ ๑ ภวทิฐิ ๑ วิภวทิฐิ ๑ ทิฐิ ๑๖
    เหล่านี้ ฯ

    [๓๐๗] อัสสาททิฐิ มีความถือผิดด้วยอาการเท่าไร อัตตานุทิฐิ ...
    มิจฉาทิฐิ ... สักกายทิฐิ ... สัสสตทิฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ ... อุจเฉททิฐิอันมี
    สักกายะเป็นวัตถุ ... อันตคาหิกทิฐิ ... ปุพพันตานุทิฐิ ... อปรันตานุทิฐิ ... สัง-
    *โยชนิกาทิฐิ ... ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าเรา ... ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าของเรา
    ... ทิฐิอันสัมปยุตด้วยอัตตวาทะ ... ทิฐิอันสัมปยุตด้วยโลกวาทะ ... ภวทิฐิ ...
    วิภวทิฐิ มีความถือผิดด้วยอาการเท่าไร ฯ

    [๓๐๘] อัสสาททิฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๓๕ อัตตานุทิฐิ ... ๒๐
    มิจฉาทิฐิ ... ๑๐ สักกายทิฐิ ... ๒๐ สัสสตทิฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ ... ๑๕
    อุจเฉททิฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ ... ๕ อันตคาหิกทิฐิ ... ๕๐ ปุพพันตานุทิฐิ
    ... ๑๘ อปรันตานุทิฐิ ... ๔๔ สังโยชนิกาทิฐิ ... ๑๘ ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะ
    ว่าเรา ... ๑๘ ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าของเรา ... ๑๘ ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยอัตต-
    *วาทะ ... ๒๐ ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยโลกวาทะ ... ๘ ภวทิฐิ ... ๑๙ วิภวทิฐิ มี
    ความถือผิดด้วยอาการ ๑๙ ฯ

    [๓๐๙] อัสสาททิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๓๕ เป็นไฉน ทิฐิ คือ
    ความลูบคลำด้วยถือความผิดว่า สุขโสมนัสอาศัยรูปใดเกิดขึ้น นี้เป็นอัสสาทะ
    (ความยินดี) แห่งรูป ทิฐิไม่ใช่อัสสาทะ อัสสาทะมิใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง
    อัสสาทะเป็นอย่างหนึ่ง ทิฐิและอัสสาทะ นี้ท่านกล่าวว่า อัสสาททิฐิ อัสสาท-
    *ทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ เป็นทิฐิวิบัติ บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฐิวิบัตินั้น เป็นผู้มีทิฐิ
    วิบัติ บุคคลผู้มีทิฐิวิบัติ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะ
    เหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฐิลามก ทิฐิใด ราคะใด ราคะไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิไม่ใช่
    ราคะ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง ราคะเป็นอย่างหนึ่ง ทิฐิและราคะ นี้ท่านกล่าวว่า ทิฐิ
    ราคะ บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฐินั้นและราคะนั้น เป็นผู้ยินดีในทิฐิราคะ ทานที่ให้
    ในบุคคลผู้ยินดีในทิฐิราคะ เป็นทานไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ข้อนั้นเพราะ
    เหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฐิลามก อัสสาททิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ บุรุษบุคคลผู้
    ประกอบด้วยมิจฉาทิฐิ มีคติเป็น ๒ คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อนึ่ง
    บุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฐิ สมาทาน กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม
    ให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ธรรมทั้งปวง คือ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ
    และสังขาร เหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ
    เพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้น
    มีทิฐิลามก เปรียบเหมือนพืชสะเดา พืชบวบขม หรือพืชน้ำเต้าขม ที่เขาฝังลง
    ในแผ่นดินเปียก อาศัยรสแผ่นดินและรสน้ำ พืชทั้งปวงนั้นย่อมเป็นไปเพื่อความ
    เป็นของมีรสขม รสปร่า ไม่เป็นสาระ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสะเดาเป็น
    ต้นนั้นมีพืชเลว ฉันใด บุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฐิ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    สมาทานกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ธรรมทั้งปวง
    คือ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และสังขาร เหล่านั้น ย่อมเป็นไป
    เพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ เพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
    ความทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฐิลามก อัสสาททิฐิเป็นมิจฉา-
    *ทิฐิ ทิฐิ คือ ทิฐิที่ไป ทิฐิรกชัฏ ฯลฯ ทิฐิเป็นเหตุให้ถือผิดและลูบคลำ ฯ

    [๓๑๐] ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า สุขโสมนัส อาศัย
    เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง
    กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ จักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ
    ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ จักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส
    ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส จักษุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชา
    เวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา
    มโนสัมผัสสชาเวทนา ใด เกิดขึ้น นี้เป็นอัสสาทะแห่งมโนสัมผัสสชาเวทนา
    ทิฐิไม่ใช่อัสสาทะ อัสสาทะไม่ใช่ทิฐิ ... ทิฐิเป็นเหตุให้ถือผิดและลูบคลำ ความ
    เกี่ยวข้องแห่งจิตอันทิฐิกลุ้มรุม เป็นมิจฉาทิฐิซึ่งจัดเป็นอัสสาททิฐิ ด้วย
    อาการ ๑๘ นี้ ฯ

    [๓๑๑] สังโยชน์และทิฐิมีอยู่ สังโยชน์แต่มิใช่ทิฐิมีอยู่ สังโยชน์และ
    ทิฐิเป็นไฉน ความลูบคลำด้วยสักกายทิฐิ สักกายทิฐิและสีลัพพตปรามาส เหล่านี้
    เป็นสังโยชน์และทิฐิ สังโยชน์แต่ไม่ใช่ทิฐิเป็นไฉน กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสัง-
    *โยชน์ มานสังโยชน์ วิจิกิจฉาสังโยชน์ ภวราคสังโยชน์ อิสสาสังโยชน์
    มัจฉริยสังโยชน์ อนุสัยสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์ เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่มิใช่ทิฐิ
    อัสสาททิฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๓๕ เหล่านี้ ฯ

    [๓๑๒] อัตตานุทิฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ปุถุชนผู้
    ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า
    ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรม
    ของสัปบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน
    บ้าง เห็นตนว่ามีรูปบ้าง เห็นรูปในตนบ้าง เห็นตนในรูปบ้าง ย่อมเห็นเวทนา
    สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตนเอง เห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง เห็น
    วิญญาณในตนบ้าง เห็นตนในวิญญาณบ้าง ฯ

    [๓๑๓] ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นปฐวีกสิณโดยความเป็นตน คือ ย่อม
    เห็นปฐวีกสิณและตนไม่เป็นสองว่า ปฐวีกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด
    ปฐวีกสิณก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีป น้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลเห็น
    เปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า เปลวไฟอันใด แสงสว่างก็อันนั้น แสง
    สว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    ย่อมเห็นปฐวีกสิณโดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นปฐวีกสิณและตนไม่เป็นสองว่า
    ปฐวีกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด ปฐวีกสิณก็อันนั้น ทิฐิ คือ ความ
    ลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็น
    อย่างหนึ่ง ทิฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฐิมีรูปเป็นวัตถุที่ ๑ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉา-
    *ทิฐิ เป็นทิฐิวิบัติ บุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยอัตตานุทิฐิ ย่อมมีคติเป็นสอง ฯลฯ
    เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฐิ ฯ

    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นอาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ
    นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็น
    โอทาตกสิณและตนไม่เป็นสองว่า โอทาตกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด
    โอทาตกสิณก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลเห็น
    เปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า เปลวไฟอันใด แสงสว่างก็อันนั้น แสง
    สว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    ฯลฯ ย่อมเห็นโอทาตกสิณและตนไม่เป็นสอง ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วย
    ความถือผิด ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง
    ทิฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฐิมีรูปเป็นวัตถุที่ ๑ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ เป็นทิฐิ-
    *วิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ บุคคลย่อมเห็นรูปโดยความเป็น
    ตนอย่างนี้ ฯ

    มหาวรรค ทิฐิกถา
     

แชร์หน้านี้

Loading...