มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 13 มกราคม 2008.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (48) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">19 พฤษภาคม 2548 17:37 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="5">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="350"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="350"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ได้พรรณนากัมมัฏฐานวิธีแบบกสิณ 10 วิธี และอสุภสัญญา 10 วิธีแล้ว ลำดับแต่นี้ไปจักแสดงกัมมัฏฐานวิธีแบบอนุสติอีก 10 วิธี ต่อไป

    การฝึกฝนอบรมจิตแบบอนุสติ 10 วิธี ก็เช่นเดียวกันกับแบบกสิณ 10 วิธี และอสุภสัญญา 10 วิธี นั่นคือพระบรมศาสดาทรงแสดงอนุสติ 10 วิธี ไว้เป็นแม่บทหรือเป็นแม่แบบในการฝึกฝนอบรมเท่านั้น เพราะการฝึกฝนอบรมจิตแบบอนุสตินั้นยังมีอีกมากมายหลายวิธี ขอให้เป็นเพียงการผูกจิตซึ่งทำหน้าที่สติไว้กับสิ่งหนึ่งสิ่งใดเท่านั้น

    เพราะอนุสติก็คือการผูกจิตหรือผูกสติไว้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง นี่คือความหมายโดยอรรถะของคำว่าอนุสติ ในขณะที่ความหมายโดยพยัญชนะนั้นแปลว่าการตามระลึกถึงธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง

    ที่กล่าวว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นหมายถึงสิ่งที่เป็นรูป สิ่งที่ไม่เป็นรูป สิ่งที่เป็นคุณสมบัติ สิ่งที่เป็นคุณธรรม สิ่งที่เป็นนามธรรม ซึ่งอาจกล่าวรวมว่าทั้งหมดนั้นคือธรรม การผูกสติหรือผูกจิตไว้กับธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงมีชื่อว่าอนุสติ

    พระบรมศาสดาทรงวางแบบอย่างการฝึกฝนแบบอนุสติไว้ 10 วิธีคือ พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ สีลานุสติ จาคานุสติ เทวตานุสติ อุปสมานุสติ มรณานุสติ กายคตาสติ และอานาปานสติ

    พุทธานุสติคือการตามระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า หรือการผูกจิตหรือสติไว้กับพระคุณของพระพุทธเจ้า

    ธัมมานุสติคือการตามระลึกถึงพระคุณของพระธรรม หรือการผูกจิตหรือสติไว้กับพระคุณของพระธรรม

    สังฆานุสติคือการตามระลึกถึงพระคุณของพระอริยสงฆ์ หรือการผูกจิตหรือสติไว้กับพระคุณของพระสงฆ์

    สีลานุสติคือการตามระลึกถึงคุณของศีล หรือการผูกจิตหรือสติไว้กับคุณของศีล

    จาคานุสติคือการตามระลึกถึงทาน หรือการผูกจิตหรือสติไว้กับการให้ทาน

    เทวตานุสติคือการตามระลึกถึงเทวดา หรือคุณความดีของเทวดา หรือการผูกจิตหรือสติไว้กับเทวดาหรือคุณของเทวดา

    อุปสมานุสติคือการตามระลึกถึงคุณแห่งพระนิพพาน หรือการผูกจิตหรือสติไว้กับคุณของพระนิพพาน ซึ่งเป็นสภาวะที่ดับทุกข์สิ้นเชิง

    มรณานุสติคือการตามระลึกถึงความตาย ว่าเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง เป็นสภาวะที่เป็นจริงอย่างหนึ่งที่ทุกชีวิตเกิดมาแล้วย่อมต้องตาย แม้ตัวเราก็มีความตายเป็นที่สุดในสักวันหนึ่ง หรือการผูกจิตหรือสติไว้กับความตาย

    กายคตาสติคือการตามระลึกถึงส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย อิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่งของร่างกาย อวัยวะอย่างใดอย่างหนึ่งของร่างกาย หรือการผูกจิตไว้กับกายอย่างใดอย่างหนึ่ง รวมทั้งลมหายใจเข้าออกด้วย

    อานาปานสติคือการตามระลึกถึงลมหายใจเข้าออก หรือการผูกจิตหรือสติไว้กับลมหายใจที่แล่นเข้าออกอยู่ในกายนี้

    นั่นคือความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับความหมายของอนุสติ 10 วิธี ที่พระบรมศาสดาทรงตรัสสอน และเป็นความเข้าใจเบื้องต้นตามที่บรรดาครูบาอาจารย์ทุกสำนักต่างให้ความหมายในทางปริยัติที่ถูกตรงลงกัน และหากอธิบายอนุสติในลักษณะเช่นนี้ก็จะไม่มีข้อโต้แย้งโต้เถียงอะไรกัน

    แต่เมื่อจำต้องกล่าวลึกลงไป พิสดารออกไป และไม่จำกัดดังที่ถูกจำกัดเอาไว้ว่ากัมมัฏฐานวิธีบางอย่างให้ผลหรืออานิสงส์แค่ภูมิธรรมชั้นนั้นชั้นนี้ ดังที่มักนิยมแสดงไว้ในบางคัมภีร์ บางตำรา บางสำนักแล้ว ก็อาจจะเป็นที่มาหรือเป็นบ่อเกิดของการโต้แย้งถกเถียงกันได้ง่าย

    ดังนั้นจึงกราบขอความกรุณาและออกตัวไว้เสียแต่ในชั้นนี้ว่าหากจะได้แสดงความใดที่ไม่ต้องใจหรือไม่ตรงกับที่ได้รับรู้ได้ศึกษามาแต่ก่อนแล้ว ขออย่าได้เห็นเป็นเรื่องผิดเรื่องพลาดที่จะต้องมาโต้แย้งโต้เถียงกันเลย เพราะไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ทั้งต่อตนเองและต่อท่านผู้อื่น ขออย่าได้เสียเวลาคิดอ่านหาเหตุหาผลมาโต้เถียงกันให้สูญเสียเวลาไปเปล่า ๆ ขอได้ใช้เวลาและความเห็นที่ไม่ตรงกันนั้นไปทดลองปฏิบัติตามวิธีที่รู้มาแต่ก่อนก็ได้ ตามวิธีที่จะแสดงนี้ก็ได้ ผลของการปฏิบัติจริงนั่นแหละจะทำให้ได้รู้ว่าเป็นอย่างไร และทำให้มีโอกาสได้ลิ้มรสพระธรรมอย่างแท้จริงอีกโสตหนึ่งด้วย

    หากได้ทำตามที่กล่าวนี้แล้ว อาณาประโยชน์ย่อมบังเกิดมีแก่ผู้ปฏิบัติเองโดยไม่ต้องเสียเวลาและเกิดปัญหาโต้เถียงกันและนั่นก็เป็นอานิสงส์อย่างหนึ่ง เป็นมหัศจรรย์อย่างหนึ่งของโลกภายในที่สามารถเข้าไปสัมผัส ไปทดลองลิ้มชิมรสได้ด้วยตนเองโดยไม่ยากไม่ลำบากและไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ

    ขอเพื่อนชาวพุทธได้โปรดมองความต่างและตัดสินความต่างด้วยการปฏิบัติตามวิถีทางที่พระบรมศาสดาทรงตรัสสอนนั้นเถิด ก็จะเห็นความจริง จะพบความจริง จะสัมผัสความจริงดังที่กล่าวกันโดยนิยมในบทสรรเสริญพระธรรมว่าพระธรรมนั้นเป็น อกาลิโกไม่ขึ้นกับกาลเวลา เป็นสันทิฏฐิโก เป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติเข้าถึงด้วยตนเองก็จะรู้เห็นเอง ดังนี้แล้วก็จะถึงซึ่งความประเสริฐ สมกับความเป็นมนุษย์เป็นแน่แท้

    อันคำสอนของพระบรมศาสดานั้นไม่มีธรรมข้อใดที่มีลักษณะเป็นต้นไม้ไร้ยอดหรือเป็นตาลยอดด้วน เพราะบรรดาพระธรรมทั้งหลายที่พระบรมศาสดาทรงแสดง ทรงบัญญัติแล้วนั้นไหลไปในทางเดียวกัน มุ่งไปสู่ที่หมายปลายทางเดียวกัน คือทุกข์และความดับทุกข์ นั่นคือพระนิพพานทั้งสิ้น

    ดังนั้นกัมมัฏฐานวิธีแต่ละวิธีจึงมุ่งไปสู่พระนิพพานหรือวิมุติมิติทั้งสิ้น ไม่มีวิธีใดที่ทรงบัญญัติไว้ให้เป็นตาลยอดด้วนหรือเป็นทางตันที่ไปสู่มรรคผลนิพพานไม่ได้ เป็นแต่ว่าลำดับขั้นฝึกฝนอบรมจิตนั้นนอกจากที่จะบรรลุมรรคผลโดยแวบวาบแปลบปลาบแบบวชิรญาณแล้วย่อมมีกระบวนการขั้นตอนที่เป็นระบบในตัวเอง ไม่ว่าในหนทางแห่งปัญญาวิมุติ หรือเจโตวิมุติก็ตาม

    ดังนั้นอย่าได้ติดยึดหรือตั้งข้อรังเกียจเดียดฉันท์เสียแต่ต้นว่ากัมมัฏฐานวิธีนั้นวิธีนี้ให้ผลขั้นต่ำบ้าง ให้ผลขั้นกลางบ้าง ให้ผลขั้นสูงบ้างเลย ทุกวิธีที่ทรงบัญญัติสามารถมุ่งสู่พระนิพพาน ถึงแดนแห่งวิมุติมิติอย่างเดียวกันทั้งสิ้น ข้อสำคัญจึงเป็นดังที่ได้กล่าวมาแต่ต้นแล้วว่าพึงเลือกกัมมัฏฐานวิธีที่เหมาะสมสอดคล้องกับอัชฌาสัยของตน จะทำให้ง่ายต่อการฝึกอบรมและสัมผัสรู้ถึงผลปฏิบัติได้ง่ายยิ่งขึ้น

    กัมมัฏฐานวิธีแบบอนุสติทั้ง 10 วิธี เป็นการฝึกอบรมที่มุ่งต่อสติ นั่นคือการผูกจิตซึ่งทำหน้าที่เป็นสติไว้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือใช้สติตามระลึกถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นเรื่องที่ประณีตละเอียดอ่อนและลึกซึ้งกว่ากัมมัฏฐานวิธีจำพวกกสิณวิธีและอสุภสัญญา

    ในกัมมัฏฐานวิธีจำพวกกสิณนั้นเป็นการฝึกฝนอบรมที่มุ่งไปที่รูปและเวทนา เพื่ออาศัยรูปและเวทนานั้นกำหนดเป็นอารมณ์กระทำเป็นอุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต เพราะว่ากสิณวิธีทั้งหมดเกี่ยวข้องกับรูปและเวทนา แม้สิ่งที่อาจเข้าใจว่าไม่ใช่รูป เช่น อากาศ แสงสว่าง และความว่าง สิ่งเหล่านั้นแม้ในทางโลกหรือทางกายภาพจะถือว่าไม่มีรูป แต่ในทางธรรมก็ถือว่าเป็นรูปอย่างหนึ่งไม่ใช่นาม เป็นการถ่ายทอดรูปและความรู้สึกที่สัมผัสได้จากทางกายเข้าสู่จิต และอาศัยรูปนั้นกระทำอุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต

    ส่วนกัมมัฏฐานวิธีจำพวกอสุภสัญญาเป็นการฝึกฝนอบรมที่มุ่งไปที่สัญญาหรือการทรงจำกำหนดหมาย หรือนัยหนึ่งก็คือสัญญาขันธ์ หรือการทำหน้าที่ของจิตที่ทำหน้าที่สัญญาขันธ์นั่นเอง

    แต่กัมมัฏฐานวิธีจำพวกอนุสติทั้ง 10 วิธี เป็นการฝึกฝนอบรมที่มุ่งไปที่สติเพื่อให้มีศักยภาพที่สูงขึ้นโดยลำดับ และรู้เท่าทันต่อสภาวะธรรมทั้งปวงเพื่อให้มีผลต่อการระงับยับยั้งการปรุงแต่งจิต หรือนัยหนึ่งก็คือสังขารขันธ์ ที่ปรุงแต่งจิตไปในทางดี ทางชั่ว ในทางโลภ โกรธ หลง ในทางอยากได้ อยากมี อยากเป็น ไม่อยากได้ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น

    ดังนั้นกัมมัฏฐานวิธีจำพวกอนุสติทั้ง 10 วิธี จึงไม่มุ่งเน้นที่รูปเพื่อกำหนดเป็นอุคหนิมิตและกระทำเป็นปฏิภาคนิมิตเหมือนกับแบบกสิณหรืออสุภสัญญา และอาจไม่ผ่านขั้นตอนที่ต้องกระทำอุคหนิมิตหรือปฏิภาคนิมิต แต่ลัดขั้นตอนไปสู่การก่อตัวขององค์ห้าแห่งปฐมฌานทีเดียว

    นั่นคือการทำให้จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง มีวิตก วิจาร มีปิติและสุข ก่อตัวขึ้นเป็นลำดับไป

    แต่ทว่าในการฝึกฝนปฏิบัติจริงนั้นบางครั้งก็บังเกิดรูปขึ้นในขณะที่ฝึกฝนอบรมจิต ดังตัวอย่างเช่นการฝึกฝนอบรมแบบพุทธานุสติที่ตามระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าหรือผูกจิตหรือสติไว้กับพระคุณของพระพุทธเจ้า ในขณะที่ตามระลึกอยู่นั้นแทนที่องค์ทั้งห้าแห่งปฐมฌานจะก่อตัวขึ้นโดยลำดับ กลับปรากฏนิมิตเป็นรูปของพระพุทธเจ้าหรือเป็นดวงแก้ว มีลักษณะเป็นวงกลมสว่างไสว

    ในกรณีเช่นนั้นถือได้ว่าการอบรมปฏิบัติได้เบี่ยงเบนออกไปจากแบบพุทธานุสติไปเป็นแบบกสิณชนิดหนึ่ง แต่ไม่ใช่เรื่องเสียหาย เพราะเวไนยสัตว์บางพวกมีความคุ้นเคย มีอัชฌาสัยชอบพอและต้องด้วยอัชฌาสัยที่จะได้นิมิตหรือพบนิมิตเช่นนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ก็พึงรู้ว่าอัชฌาสัยที่แท้จริงของตัวนั้นต้องด้วยนิมิตชนิดนั้น จึงควรต้องดำเนินการฝึกฝนอบรมให้สอดคล้องกับอัชฌาสัยแท้ที่สัมผัสและรู้เห็นเองนั้น

    นั่นคืออย่าได้ติดยึดกับแบบวิธีว่าเป็นกสิณหรือเป็นอนุสติ หากได้นิมิตเป็นรูปพระพุทธเจ้าหรือดวงแก้วเป็นวงกลมสว่างไสวแล้ว นั่นแหละคืออุคหนิมิตชนิดหนึ่ง แล้วพึงกระทำยกระดับให้เป็นปฏิภาคนิมิตต่อไป

    แม้การฝึกฝนอบรมแบบธัมมานุสติ สังฆานุสติ หรือแบบอนุสติอื่น ๆ ก็ตาม การฝึกฝนอบรมในบางครั้งก็กลับปรากฏนิมิตเป็นรูป ก็พึงถือเอานิมิตนั้นเป็นอารมณ์ กำหนดเป็นอุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตตามแบบกัมมัฏฐานวิธีแบบกสิณวิธีนั้นเถิด เพราะเมื่อมีอัชฌาสัยเช่นนั้นก็สามารถได้รับผลดีของการฝึกฝนอบรมแบบนั้นและสามารถบรรลุถึงมรรคผลนิพพานได้ง่าย ได้เร็วกว่าที่จะฝืนกลับมาเป็นแบบอนุสติอีก

    การฝึกฝนอบรมแบบอนุสติจึงมีทางแยกที่จะออกไปทางกสิณได้โดยนัยดังได้แสดงมานี้ ขอท่านผู้สนใจในธรรมได้ลองฝึกฝนปฏิบัติดู บางครั้งก็อาจจะได้ประสบพบเห็นกับสิ่งที่ได้แสดงมานี้และพึงรู้เถิดว่านั่นไม่ใช่เป็นการผิดแบบผิดวิธีอะไร หากเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่จะบังเกิดขึ้นได้ และสามารถให้ผลอย่างเดียวกัน

    ที่สำคัญคือพึงรู้ว่าแท้จริงแล้วตัวเองมีอัชฌาสัยเป็นอย่างไร จึงเท่ากับว่าการปฏิบัติจริงมีผลต่อการแนะนำให้ได้รู้และปฏิบัติกัมมัฏฐานวิธีที่เหมาะสมสอดคล้องกับอัชฌาสัยของตนได้เป็นอย่างดีที่สุดอีกด้วย เพราะธรรมดาของคนเรานั้นอาจจะคิดว่าตัวเองมีอัชฌาสัยชอบหรือคุ้นเคยกัมมัฏฐานวิธีใดวิธีหนึ่งแล้วเลือกเอาวิธีนั้น ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้วไม่เป็นเช่นนั้น

    คือเมื่อปฏิบัติเข้าจริง การปฏิบัติที่เป็นจริงนั่นแหละจะสะท้อนและบอกอย่างชัดเจนว่าอัชฌาสัยที่แท้จริงหรือความคุ้นเคยที่แท้จริงที่จะทำให้การฝึกฝนปฏิบัติเป็นไปได้ง่ายและได้ผลมาก ได้ผลเร็วเป็นอย่างไร และกัมมัฏฐานวิธีใดที่เหมาะสมที่สุด นี่ก็เป็นความมหัศจรรย์ของโลกภายในอีกประการหนึ่ง

    แต่ก็พึงตระหนักด้วยว่านั่นคือการเดินไปตามทางแยกที่เป็นแบบกสิณวิธี ไม่ใช่อนุสติ ข้อพึงรู้ดังกล่าวนี้ความจริงก็ไม่มีประโยชน์อะไรต่อการดับทุกข์ หรือต่อการไปสู่โลกภายใน แต่เป็นไปเพื่อรู้ไว้ใช่ว่า อย่างน้อยก็เพื่อตอบคำถามของผู้เป็นกัลยาณมิตรหรือครูบาอาจารย์ได้โดยถูกตรงเท่านั้น
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (49) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">26 พฤษภาคม 2548 21:16 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="5">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="364"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="364"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ในกัมมัฏฐานวิธีแบบอนุสตินั้น แต่เดิมมาถือกันว่ามีเพียงอนุสติ 6 เท่านั้นคือ พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ ศีลานุสติ จาคานุสติ และเทวตานุสติ ดังที่กล่าวกันโดยทั่วไปว่าอนุสติ 6 นั่นคืออนุสติ 6 หมายถึงอนุสติที่กล่าวแล้วทั้ง 6 วิธีนี้

    คงเป็นไปเพื่อให้เกิดความครบถ้วนสมบูรณ์และเป็นหมวดหมู่ ดังนั้นผู้รจนาคัมภีร์เกี่ยวกับกัมมัฏฐานวิธีที่สำคัญคือทั้งคัมภีร์วิมุตติมรรคและวิสุทธิมรรค จึงได้รวบรวมและเรียบเรียงกัมมัฏฐานวิธีที่ทรงตรัสสอนในลักษณะของอนุสติเพิ่มขึ้นอีก 4 วิธีคือ อุปสมานุสติ มรณานุสติ กายคตาสติ และอานาปานสติ จึงรวมเป็นอนุสติ 10 วิธี

    การทั้งนั้นคงเป็นไปเพื่อทำให้กัมมัฏฐานวิธีที่อาศัยสติตามระลึกหรือผูกสติไว้กับสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้รวมอยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในเชิงปริยัติ

    อุปสมานุสติหรือการรำลึกถึงคุณประโยชน์ของพระนิพพานก็ดี มรณานุสติหรือการระลึกถึงความตายก็ดี พอจะจัดเป็นกลุ่มหรือเป็นหมวดหมู่ทำนองเดียวกับอนุสติ 6 ได้อย่างไม่อิหลักอิเหลื่อ เพราะล้วนเป็นการผูกสติไว้กับสิ่งซึ่งไม่ใช่รูปหรือเวทนา แต่กายคตาสติและอานาปานสตินั้นยังอิหลักอิเหลื่ออยู่บ้างและเพราะเรื่องนี้มีความสำคัญมาก จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจเสียในเบื้องต้นนี้

    พระบรมศาสดาทรงตรัสสอนเกี่ยวกับสติหรือหนทางปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพานโดยการใช้สติตามระลึกไว้อย่างเป็นระบบในพระสูตรสามพระสูตร คือ กายคตาสติสูตร อานาปานสติสูตร และมหาสติปัฏฐานสูตร นอกจากนี้แล้วทรงตรัสเป็นบางส่วนบางตอนเพื่อให้เหมาะสมกับพระสาวกหรือเวไนยสัตว์ที่ทรงตรัสสอนในขณะนั้น ๆ

    ทั้งสามพระสูตรนี้แหละคือเนื้อตัวที่แท้จริงของพระพุทธศาสนาที่ทรงบัญญัติหนทางปฏิบัติ รูปแบบการปฏิบัติ ขั้นตอนการปฏิบัติ เป้าหมายการปฏิบัติ และอานิสงส์ของการปฏิบัติอย่างเป็นระบบ อย่างละเอียดประณีตเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก และพระสูตรทั้งสามนี้นี่เองที่ทำให้พระพุทธศาสนาแตกต่างอย่างถึงที่สุดกับศาสนาอื่น เพราะทุกศาสนาในโลกมิได้มีบัญญัติวิธีเกี่ยวกับการฝึกฝนอบรมจิตอย่างประณีตและเป็นระบบอย่างนี้เลย

    ดังนั้นพุทธศาสนิกชนที่ปรารถนามรรคผลนิพพานหรือมุ่งเดินตามรอยพระอรหันต์ตามที่พระบรมศาสดาทรงวางเป็นหลักเกณฑ์ไว้ก็ไม่ต้องยากลำบากหรือวุ่นวายไปแสวงหากัมมัฏฐานวิธีหรือวิธีปฏิบัติกันที่ไหนอีก มุ่งเอาที่พระสูตรทั้งสามนี่แหละก็จะได้พบกับกัมมัฏฐานวิธีที่เป็นคำตรัสสอนโดยตรงของพระบรมศาสดาที่เป็นระบบและสมบูรณ์อย่างยิ่ง หากทดลองฝึกฝนปฏิบัติแล้วก็เหมือนกับได้ฟังคำตรัสสอนจากพระโอษฐ์เฉพาะพระพักตร์ทีเดียว

    ทำนองเดียวกับนักศึกษากฎหมาย หากจะมุ่งความสำเร็จที่สั้นตรงต่อการเรียนกฎหมายแล้วก็มุ่งเรียนเอาจากตัวบทกฎหมายนั่นแหละ คำอธิบายหรือคำพิพากษาฎีกาเป็นเพียงการทำความเข้าใจหรือการขยายความหมายให้กว้างขวางเพื่อให้มีความรู้กว้างขวางมากขึ้นเท่านั้น

    ในกายคตาสติสูตรทรงตรัสสอนเรื่องการผูกลมหายใจหรือการใช้สติตามระลึกลมหายใจบ้าง อริยาบถของร่างกายบ้าง อวัยวะต่างๆ ของร่างกายบ้าง ธาตุต่าง ๆ ที่ประกอบเข้าเป็นกายนี้บ้าง ซากศพบ้าง ปฐมฌานบ้าง ทุติยฌานบ้าง ตติยฌานบ้าง จตุตถฌานบ้าง

    ทรงตรัสว่า “ภิกษุไร ๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว เธอย่อมถึงความเป็นผู้สามารถในธรรม ที่ควรทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่ง อันเป็นแดนที่ตนน้อมจิตไปโดยการกระทำให้แจ้ง ด้วยความรู้ยิ่งนั้น ๆ ได้ ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ”

    และทรงตรัสรับรองไว้ในตอนท้ายของพระสูตรดังกล่าวว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมาก เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นฌานแล้ว ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว ให้ดำรงอยู่เนือง ๆ แล้ว อบรมแล้ว ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์สิบประการนี้” คือ

    (1) อดกลั้นต่อความไม่ยินดีและความยินดีได้ ไม่ถูกความไม่ยินดีครอบงำ ย่อมครอบงำความไม่ยินดี ที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วยฯ

    (2) อดกลั้นต่อภัยและความหวาดกลัวได้ ไม่ถูกภัยและความหวาดกลัวครอบงำ ย่อมครอบงำภัยและความหวาดกลัวที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วยฯ

    (3) อดทนคือเป็นผู้มีปกติอดกลั้นต่อความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน ต่อทำนองคำพูดที่กล่าวร้ายใส่ร้าย ต่อเวทนาประจำสรีระที่เกิดขึ้นแล้ว อันเป็นทุกข์กล้าเจ็บแสบ ไม่ใช่ความสำราญ ไม่เป็นที่ชอบใจ พอจะสังหารชีวิตได้ฯ

    (4) เป็นผู้ได้ฌาน 4 อันเกิดมีในมหัคคตจิต เครื่องอยู่สบายในปัจจุบันตามความปรารถนา ไม่ยาก ไม่ลำบากฯ

    (5) ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอเนกประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ปรากฏตัวหรือหายตัวไปนอกฝา นอกกำแพง นอกภูเขาได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ทำการผุดขึ้นและดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศโดยบัลลังก์เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์และพระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพมากปานฉะนี้ ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ฯ

    (6) ย่อมฟังเสียงทั้งสอง คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ได้ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์ฯ

    (7) ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น และบุคคลอื่นได้ด้วยใจ คือ จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่าจิตมีโมหะ จิตปราศจากโมหะก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็น มหัคคตะก็รู้ว่าจิตเป็นมหัคคตะ หรือจิตไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหัคคตะ จิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตมีหรือไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตตั้งมั่น หรือจิตไม่ตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่าจิตหลุดพ้นแล้ว หรือจิตยังไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้นฯ

    (8) ย่อมระลึกถึงขันธ์ ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายสังวัฏกัปบ้าง หลายวิวัฏกัปบ้าง หลายสังวัฏวิวิฏกัปบ้าง ว่าในชาติโน้น เรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้วบังเกิดในชาติโน้น แม้ในชาตินั้น เราก็มีชื่อเสียงอย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว จึงเข้าถึงในชาตินี้ ย่อมระลึกถึงขันธ์ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ เช่นนี้ฯ

    (9) ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ ย่อมทราบชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม เช่นนี้ฯ

    (10) ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันอยู่ฯ

    อานิสงส์ทั้ง 10 ประการนี้ย่อมเป็นอานิสงส์ที่พึงบังเกิดขึ้นตามธรรมดาธรรมชาติของการฝึกฝนอบรมปฏิบัติตามลำดับขั้นและกำลังอำนาจของจิตในการปฏิบัตินั้นอย่างเป็นขั้นตอน

    ส่วนมหาสติปัฏฐานสูตร พระบรมศาสดาทรงตรัสยืนยันว่านี่คือทางสายเอกที่เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง

    ระบบปฏิบัติในมหาสติปัฏฐานสูตรก็ทำนองเดียวกันกับกายคตาสติสูตร คือการใช้สติตามระลึกหรือผูกสติไว้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

    ทรงตรัสสอนเกี่ยวกับการใช้สติตามระลึกหรือผูกสติไว้กับลมหายใจบ้าง อิริยาบถบ้าง อวัยวะต่าง ๆ บ้าง ธาตุต่าง ๆ ที่ประกอบเป็นกายบ้าง ซากศพบ้าง เวทนาบ้าง จิตบ้าง ธรรมบ้าง อายตนะบ้าง โพชฌงค์เจ็ดบ้าง อริยสัจสี่บ้าง ซึ่งล้วนเป็นการใช้สติตามรำลึกหรือผูกสติไว้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งทั้งสิ้น เป็นระบบที่ครอบคลุมกัมมัฏฐานทุกวิธีเพราะกัมมัฏฐานทุกวิธีนั้นเมื่อกล่าวให้ถึงที่สุดแล้วก็รวมลงตรงที่สติทั้งสิ้น

    เหตุนี้มหาสติปัฏฐานสูตรจึงเป็นสูตรที่เป็นหลักและเป็นระบบของกัมมัฏฐานวิธีที่ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุด ทั้งเชิงปริยัติและเชิงปฏิบัติ เป็นแต่อานิสงส์หรือผลทรงแสดงไว้ต่างหากจากที่ทรงแสดงไว้ในอานิสงส์ 10 ประการ ในกายคตาสติสูตร โดยทรงตรัสเพิ่มเติมอีก 5 ประการคือ เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อความล่วงโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง และเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง

    สำหรับอานาปานสติสูตรนั้นเป็นพระสูตรที่ทรงแสดงกัมมัฏฐานวิธีสำหรับคนทั่วไปหรือคนส่วนใหญ่ที่ไม่มีอัชฌาสัยติดยึดอะไรเป็นพิเศษ เป็นระบบที่ใช้สติตามระลึกหรือผูกสติไว้กับลมหายใจ โดยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนใหญ่ 16 ขั้นตอนย่อยในการฝึกฝนปฏิบัติ ดังที่ได้แสดงไว้แล้วในภาคว่าด้วยปัญญาวิมุตนั้น จึงไม่กล่าวซ้ำอีก

    แต่ทว่าจำจะต้องย้ำข้อน่าสังเกตอย่างยิ่งคือความที่ทรงตรัสยืนยันหลายครั้งหลายหนตรงกันว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติอันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐานสี่ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐานสี่แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์เจ็ดให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์เจ็ดแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตได้”

    ทรงตรัสสอนอานาปานสติอย่างเป็นระบบอย่างยิ่ง เป็นขั้นตอนที่ชัดเจนอย่างยิ่ง

    ดังนั้นจากพระสูตรทั้งสามนี้ก็จะเห็นได้ชัดถึงระบบการฝึกฝนปฏิบัติ วิธีการฝึกฝนปฏิบัติ ภาวะของธรรมที่เกิดขึ้นในท่ามกลางปฏิบัติ เป้าหมายของการปฏิบัติ ตลอดจนอานิสงส์ของการปฏิบัตินั้น และนี่ก็คือเนื้อตัวที่แท้จริงของพระพุทธศาสนา

    ในกัมมัฏฐานวิธีอนุสติ 10 วิธีนั้น ไม่ได้กล่าวถึงและไม่ได้รวมสติปัฏฐานเอาไว้ด้วย ทั้ง ๆ ที่ความจริงเป็นพระสูตรที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เป็นหนทางอันเอก ไม่ว่าจะโดยหนทางปัญญาวิมุตหรือเจโตวิมุตก็ตาม

    อาจสันนิษฐานได้ว่าพระโบราณาจารย์อาจจะเล็งเห็นว่าสติปัฏฐานสูตรเป็นหลักหรือแม่บทใหญ่ เมื่อได้กล่าวถึงกัมมัฏฐานวิธีอื่น ๆ แล้วย่อมมีผลรวมเป็นกัมมัฏฐานวิธีที่ทรงแสดงในสติปัฏฐานก็ได้

    จึงขอเพื่อนชาวพุทธได้ทำความเข้าใจในลักษณะนี้เถิด ก็จะเข้าใจหลักในทางปริยัติได้โดยไม่คลาดไม่เคลื่อน
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (50) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">2 มิถุนายน 2548 18:37 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="5">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="318"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="318"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> เมื่อได้พรรณนาในเรื่องที่จำเป็นต้องกล่าวในเชิงปริยัติเพื่อความเข้าใจเป็นเบื้องต้นแล้ว ลำดับแต่นี้ไปจะได้พรรณนาในเชิงปฏิบัติเกี่ยวกับกัมมัฏฐานวิธีอนุสติ 10 วิธีต่อไป และขอย้ำไว้อีกครั้งหนึ่งว่าอนุสติ 10 วิธีนี้คือแม่บทแม่แบบเท่านั้น ยังมีกัมมัฏฐานวิธีที่ใช้สติตามระลึกหรือผูกสติไว้กับธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งก็ยังมีอยู่อีก เป็นแต่ว่าเมื่อได้รู้แม่บทแม่แบบแล้วก็สามารถนำไปปฏิบัติฝึกฝนอบรมจิตใจตามแบบอนุสติที่ต้องการได้

    ในอนุสติ 10 วิธีนั้น พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ สีลานุสติ จาคานุสติ เทวตานุสติ และอุปสมานุสติ มีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน จึงรวมพรรณนาไปพร้อมกัน ส่วนมรณานุสตินั้นมีลักษณะแปลกออกไปบ้าง จะได้พรรณนาเป็นส่วนหนึ่ง สำหรับกายคตาสติก็แปลกออกไปอีก จึงจำต้องพรรณนาเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก แต่จะไม่กล่าวซ้ำในส่วนของอานาปานสติ ซึ่งได้พรรณนามาแล้วในภาคที่ว่าด้วยปัญญาวิมุต

    พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ สีลานุสติ จาคานุสติ เทวตานุสติ และอุปสมานุสติ เป็นการใช้สติตามระลึกถึงธรรมอันเป็นคุณลักษณะ คุณสมบัติ ซึ่งไม่เห็นเป็นรูป แต่ลักษณะของธรรมนั้น ๆ ก็มีความต่างกันบ้าง

    พุทธานุสติที่ผูกสติหรือใช้สติตามระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้านั้นแม้ว่าจะมีพระคุณมากมายหาประมาณมิได้ แต่เพื่อความสะดวก เพื่อให้ง่ายต่อการกำหนดเป็นอารมณ์ จึงมักที่จะนิยมกำหนดเป็นพุทธคุณ 9 ประการ คือ

    ความเป็นพระอรหันต์ที่ไกลแล้วจากกิเลส ถึงซึ่งความดับสนิทแห่งทุกข์ หรืออรหังประการหนึ่ง บางสำนักที่ใช้สติตามรำลึกในพระคุณข้ออรหังก็คือการเจริญกัมมัฏฐานข้อนี้

    ความเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ หรือสัมมาสัมพุทโธประการหนึ่ง

    ความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะหรือความรู้ทั้งสามคือ บุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตถญาณ และอาสวัคคยญาณ หรือวิชชาจรณะสัมปันโนประการหนึ่ง

    ความเป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว หรือสุคะโตประการหนึ่ง

    ความเป็นผู้รู้แจ้งโลกทั้งปวง หรือโลกะวิทูประการหนึ่ง

    ความเป็นสารถีผู้เลิศในการฝึกบุรุษอันควรฝึก หรืออนุตโรปุริสธรรมสารถิประการหนึ่ง

    ความเป็นศาสดาเอกของเทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย หรือสัทถาเทวะมนุสสานังประการหนึ่ง

    ความเป็นผู้ตื่น ผู้เบิกบาน หรือพุทโธประการหนึ่ง บางสำนักที่ใช้สติตามระลึกพระคุณข้อพุทโธก็คือการเจริญกัมมัฏฐานข้อนี้

    ความเป็นผู้ควรแก่การเคารพบูชาสูงสุดอีกประการหนึ่ง

    ผู้ฝึกฝนอบรมรักชอบหรือถนัดหรือนิยมหรือพอใจในพระคุณข้อใดก็ย่อมถือเอาพระคุณข้อนั้นมากำหนดเป็นอารมณ์ในการใช้สติตามระลึกได้ หรือแม้แต่เพียงระลึกว่าพุทโธก็ได้

    ธัมมานุสติคือการใช้สติผูกติดกับพระคุณของพระธรรมหรือตามระลึกถึงพระคุณของพระธรรมก็มีมากมายหลายประการ แต่เพื่อความสะดวกและความง่าย ท่านได้กำหนดไว้เป็น 6 ประการ ตามที่ปรากฏในบทสรรเสริญพระธรรมคือ

    พระธรรมซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ แสดงไว้ดีแล้ว หรือ สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโมประการหนึ่ง

    พระธรรมเป็นสิ่งที่จะรู้เห็นได้ด้วยตนเอง ไม่ใช่ด้วยการบอกเล่าหรือรับรู้โดยคนอื่น หรือ สันทิฏฐิโกประการหนึ่ง

    พระธรรมไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา ไม่ว่าในกาลไหน ๆ พระธรรมก็เป็นจริงอยู่ในทุกกาล ให้ผลอย่างเดียวกัน หรืออกาลิโกประการหนึ่ง

    พระธรรมเป็นสิ่งที่ใครรู้เห็นแล้วควรเชื้อเชิญให้คนทั้งปวงมาลิ้มชิมรสสัมผัส หรือเอหิปัสสิโกประการหนึ่ง

    พระธรรมเป็นสิ่งที่ควรน้อมนำมาสู่จิตใจของคน หรือโอปะนะยิโกประการหนึ่ง

    พระธรรมเป็นสิ่งที่รู้ได้และรับผลได้ก็เฉพาะตน หรือปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิอีกประการหนึ่ง

    ผู้ฝึกฝนอบรมปฏิบัติรักชอบพอในพระคุณของพระธรรมบทใด ข้อใด ก็ย่อมเลือกใช้พระคุณข้อนั้น บทนั้น มาใช้ปฏิบัติได้

    สังฆานุสติคือการใช้สติตามรำลึกถึงพระคุณของพระสงฆ์ หรือผูกสติไว้กับพระคุณของพระสงฆ์ มีมากมายหลายประการ แต่ท่านประมวลไว้เป็น 9 ประการตามที่ปรากฏไว้ในบทสรรเสริญคุณพระสงฆ์คือ

    พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดี หรือสุปะฏิปันโนประการหนึ่ง

    พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติตรง หรืออุชุปะฏิปันโนประการหนึ่ง

    พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อถึงซึ่งพระนิพพาน หรือ ญายปะฏิปันโนประการหนึ่ง

    พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติชอบ หรือสามีจิปะฏิปันโนประการหนึ่ง

    พระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่การบูชา หรืออาหุเนยโยประการหนึ่ง

    พระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่การถวายการต้อนรับ หรือ ปาหุเนยโยประการหนึ่ง

    พระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่การทำบุญด้วย หรือทักขิเนยโยประการหนึ่ง

    พระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่การกราบไหว้ หรืออัญชลีกรณีโยประการหนึ่ง

    พระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญอันประเสริฐของโลก หรือนุตรังปุญญักเขตตังโลกัสสะอีกประการหนึ่ง

    ผู้ฝึกฝนปฏิบัติถนัดและชอบพอต้องด้วยอัชฌาสัยในพระคุณบทใดในพระสงฆ์ก็ย่อมใช้พระคุณบทนั้นในการกระทำอนุสติได้

    สีลานุสติหรือการผูกสติไว้กับพระคุณของศีล หรือการใช้สติตามระลึกถึงศีลนั้น ก็มีมากมายหลายประการ หรือแม้จะใช้สติตามรำลึกถึงศีลข้อใดข้อหนึ่งก็ได้ หรือรำลึกถึงคุณของศีลโดยรวมหรือโดยเฉพาะข้อใดข้อหนึ่งก็ได้ รักชอบพอต้องใจอย่างไหนก็เลือกอย่างนั้นมาเป็นตัวกำหนดสติ

    แต่เพื่อความสะดวกและง่ายต่อการกำหนดสติ พึงเลือกศีลหรือพระคุณของศีลที่ง่ายที่สุด ดังตัวอย่างเช่น

    ศีลทำให้มีความปกติทั้งกาย วาจา และใจ

    ศีลเป็นบ่อเกิดที่ให้ไปสู่สุคติ

    ศีลเป็นบ่อเกิดแห่งอริยทรัพย์

    ศีลเป็นปัจจัยให้ถึงซึ่งพระนิพพาน

    ศีลทำให้ความเบียดเบียน ความเศร้าหมอง สิ้นสุดและมีความหมดจดงดงาม

    ศีลทำให้มีความสง่างาม เป็นที่น่าเกรงขามแก่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย

    หรือการเว้นจากการฆ่า หรือการเบียดเบียน เว้นจากการกล่าววาจาอันเป็นมุสา เว้นจากการผิดลูกเมีย เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการเสพเครื่องดองของเมา เป็นต้น หรือแม้กระทั่งรำลึกว่าศีลทำให้มีความบริสุทธิ์ ทำให้จิตใจถึงซึ่งความเป็นไทย ทำให้มีความปลอดภัย เป็นต้น

    จาคานุสติคือการผูกสติหรือการใช้สติตามระลึกถึงคุณของการบริจาค การแบ่งปัน การให้ทาน หรือคุณของการบริจาคว่าเป็นการสั่งสมบุญกุศลย่อมเป็นที่รักของมนุษย์และเทวดา ย่อมทำให้สัตว์อื่นมีความสุข ย่อมผูกมิตร ย่อมก่อประโยชน์ ขจัดความตระหนี่ถี่เหนียว ความเห็นแก่ตัว มีความยินดีในความเป็นผู้สละ มีความยินดีในการได้รับการขอ

    รวมทั้งการตามระลึกถึงทานที่ได้กระทำแล้ว การบริจาคที่ได้กระทำแล้ว การให้หรือการอุทิศที่ได้กระทำแล้ว รวมทั้งผู้ที่ได้รับความสุข ได้รับประโยชน์ และได้รับความปลอดภัยจากการบริจาคนั้น

    รักชอบพอใจในคุณข้อใดหรือในเรื่องใดก็ย่อมน้อมนำหรือเอาคุณเรื่องนั้นมากำหนดในการใช้สติตามระลึกได้

    เทวตานุสติคือการใช้สติตามระลึกหรือผูกสติไว้กับเทวดา หรือพระคุณของเทวดา หรือธรรมซึ่งทำให้เป็นเทวดา

    เช่น ระลึกว่าเทวดานั้นมีอยู่จริง เทวดาลำดับนั้นมีอยู่จริง ทำบุญทำกุศลอย่างใดส่งผลให้เป็นเทวดานั้นหรือชั้นนั้น ๆ เทวดาประกอบด้วยศีลด้วยธรรมจึงทำให้เป็นเทวดา

    รักชอบพอใจเทวดาองค์ใด ชั้นใด ธรรมข้อใดที่ทำให้เป็นเทวดา หรือการเสวยสุขของเทวดาก็ย่อมใช้ธรรมนั้นมาเป็นเครื่องผูกจิตในการตามระลึกได้

    อุปสมานุสติคือการใช้สติตามระลึกหรือผูกสติไว้กับความสงบเย็น ความสงัด และความสิ้นสุดแห่งทุกข์หรือพระนิพพาน ความที่กิเลสอาสวะทั้งหลายสงบรำงับไม่ก่อกำเริบขึ้นอีก ความที่ภพชาติสิ้นสุดแล้ว ไม่มีการเกิดใหม่อีก ความว่างอย่างยิ่ง ความสงบอย่างยิ่ง ความสุขอย่างยิ่ง ความเหนือพ้นจากแดนแห่งโลกียะ ภาวะในวิมุตตะมิติเป็นต้น

    รักชอบพอใจในความสงบสงัดและพระคุณข้อใดของพระนิพพานหรือความสงบเย็นประการใดก็ย่อมเลือกใช้พระคุณนั้น ข้อนั้นในการกำหนดสติเป็นอนุสติได้

    เหล่านั้นล้วนเป็นการพรรณนาถึงคุณสมบัติ ถึงพระคุณ หรือธรรมประการใดประการหนึ่งสำหรับใช้สติตามระลึกหรือผูกสติหรือจิตไว้กับธรรมนั้น การจะเลือกธรรมประการใดต้องขอย้ำว่าพึงเลือกบทหรือข้อที่ชอบพอต้องด้วยอัชฌาสัยหรือที่จะทำให้เกิดความง่ายต่อการผูกสติหรือใช้สติตามระลึก หากเลือกได้ถูกต้องแล้วก็เหมือนกับการเลือกกสิณวิธี หรือกัมมัฏฐานวิธีที่ถูกต้อง ย่อมทำให้การปฏิบัติก้าวหน้าไปได้อย่างรวดเร็ว และได้รับผลจากการปฏิบัตินั้นอย่างรวดเร็วและอย่างง่ายดายด้วย

    ดังนั้น ความแตกต่างในเรื่องการปฏิบัติหรือในสิ่งที่ถูกกำหนดเป็นอารมณ์ จึงไม่ใช่ความผิดเพี้ยนแปลกแยก หรือเป็นเรื่องนอกพระพุทธศาสนา ดังที่มีการถือเอามาเป็นข้อขัดแย้งกันและกัน และความแตกต่างนั้นไม่ใช่สิ่งที่แสดงว่าวิธีไหนประเสริฐเลิศเลอกว่าวิธีไหน เพราะล้วนเป็นวิธีที่พระบรมศาสดาทรงตรัสสอนทั้งสิ้น จึงไม่ใช่เรื่องที่จะใช้โอ้อวดหรือข่มกัน สิ่งที่ควรทำก็คือการปฏิบัติให้มีความเจริญในธรรมนั้น ๆ ไปโดยลำดับ

    เมื่อเลือกคุณสมบัติหรือธรรมประการใดประการหนึ่งสำหรับผูกสติหรือใช้สติตามรำลึกได้แล้วก็กำหนดจิต กำหนดอารมณ์ให้เป็นสมาธิเป็นหนึ่งเดียว รำลึกถึงธรรมข้อนั้น ๆ ตามที่ได้เลือกสรรไว้

    กำหนดสติแน่วแน่อยู่ที่ธรรมข้อนั้น ๆ ไม่วอกแวก ไม่ย่อหย่อน ไม่เผอเรอ จนอารมณ์ของจิตมีความเป็นหนึ่งเดียว อยู่ในธรรมข้อนั้น ๆ ภาวะแห่งจิตเช่นนี้บังเกิดขึ้นแล้วย่อมได้ชื่อว่าภาวะจิตนั้นเป็นเอกคตารมณ์หรือมีอารมณ์อันเป็นหนึ่งเดียวอันเนื่องด้วยสติ

    จิตที่ดำรงสติตั้งมั่นอยู่ในธรรมเช่นนั้นด้วยความเพียรไม่ย่อหย่อน ด้วยความศรัทธาในธรรมนั้น ด้วยปราศจากความสงสัยในธรรมนั้น ด้วยเห็นพระคุณของธรรมนั้นอย่างแจ่มแจ้ง ภาวะจิตที่เป็นเช่นนั้นคือการยกเอาอารมณ์ของจิตอันเนื่องจากสติกำหนดตามระลึก ทำให้วิตกเกิดขึ้น และวิจารก็เกิดขึ้น

    ความพึงใจ ความสุขใจ หรือปิติและสุขก็เกิดขึ้น

    เมื่อความสว่างแห่งองค์ทั้งห้าของปฐมฌานก่อตัวขึ้นอย่างบางเบา ความมืดด้วยอุปกิเลสคือนิวรณ์ทั้งห้าประการก็จะค่อย ๆ จางหายไปตามลำดับ

    ที่หมายปลายทางเบื้องต้นของการฝึกฝนอบรมแบบอนุสติทั้ง 7 วิธีนี้ก็คือการทำให้องค์ทั้งห้าแห่งปฐมฌานค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นเป็นลำดับไป ในขณะที่นิวรณ์ทั้งห้าประการก็ค่อย ๆ สูญสิ้นสลายเป็นลำดับไปนั่นเอง
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน(53) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">23 มิถุนายน 2548 19:05 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table><table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="body" align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="5">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="350"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="350"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> กัมมัฏฐานวิธีจำพวกอนุสติทั้ง 8 ชนิดคือพุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ ศีลานุสติ จาคานุสติ เทวตานุสติ อุปสมานุสติ และมรณานุสติ ล้วนมีเป้าหมายเบื้องต้นคือการฝึกฝนอบรมจิตให้องค์ห้าแห่งปฐมฌานก่อตัวขึ้น ในขณะที่จำพวกกสิณและอสุภสัญญามีเป้าหมายเบื้องต้นคือการกระทำอุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต แต่สำหรับกายคตาสติซึ่งจัดอยู่ในจำพวกอนุสติชนิดที่เก้า มีความต่างกันไปบ้าง

    นั่นคือนอกจากมีเป้าหมายเบื้องต้นของการฝึกฝนปฏิบัติอยู่ที่การก่อตัวขององค์ห้าแห่งปฐมฌานเหมือนกับกัมมัฏฐานวิธีจำพวกอนุสติทั้ง 8 ชนิดแล้ว ยังมีลักษณะของการฝึกฝนอบรม ภาวะของจิต และสติเป็นการเฉพาะตัว

    ลักษณะของการฝึกฝนอบรมแบบกายคตาสตินี้ พระบรมศาสดาทรงตรัสว่าภิกษุนั้นต้อง “ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้” นี่คือลักษณะเฉพาะของการฝึกฝนอบรมซึ่งทรงบัญญัติไว้สามประการ อันควรทำความเข้าใจความหมายและวิธีการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

    ประการแรก ในขณะฝึกฝนอบรมจิตแบบกายคตาสติจะต้องกระทำจิตให้มีสติแน่วแน่ต่อเนื่องไม่ขาดสาย ไม่เผอเรอ ไม่วอกแวก ไม่หวั่นไหวหวาดหวั่น ดังนี้ย่อมได้ชื่อว่าไม่ประมาท

    ประการที่สอง ในขณะฝึกฝนอบรมจิตแบบกายคตาสติ จิตจะมีความตั้งมั่นและมีพลังจิตก่อตัวขึ้นจนรู้สึกได้ เป็นรากฐานให้เกิดความเพียรอย่างยอด ไม่ย่อหย่อน ดังนี้ย่อมได้ชื่อว่ามีความเพียร

    ประการที่สาม เพราะจิตมีความตั้งมั่น ไม่เผอเรอ ไม่ประมาท และมีความเพียรไม่ย่อหย่อน สติจึงมั่นคง สามารถตามระลึกถึงธรรมที่ฝึกฝนปฏิบัตินั้นได้อย่างต่อเนื่องแน่วแน่ตรงดิ่ง และสัมผัสรสชาติของความสงบสุขที่เปี่ยมด้วยพลังซึ่งเพิ่มขึ้นโดยลำดับ สติก็ยิ่งตามระลึกถึงธรรมได้หนักหน่วงมั่นคงยิ่งขึ้นโดยลำดับ นี่เรียกว่าส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้

    เมื่อจิตตั้งมั่น สติมีศักยภาพที่จะตามรำลึกถึงธรรมที่ฝึกฝนปฏิบัติอย่างต่อเนื่องแน่วแน่หนักหน่วงไม่ขาดสายครบลักษณะทั้งสามประการดังกล่าวแล้ว พระบรมศาสดาทรงตรัสว่าย่อมเกิดผลในขั้นตอนแรกคือ “ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้”

    ความดำริพล่านที่อาศัยเรือนนี้คืออะไร? ก็คืออุปกิเลสอันได้แก่นิวรณ์ห้าประการ ได้แก่ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจะกุกกุจจะ และวิจิกิจฉานั่นเอง เพราะความติดใจในกามคุณก็ดี ความคิดพยาบาทก็ดี ความท้อแท้ซึมเศร้าก็ดี ความฟุ้งซ่านรำคาญใจก็ดี ความลังเลสงสัยไม่รู้สร่างก็ดี ทั้งห้าประการนี้คือละอองฝุ่นที่เกาะฉาบจิตอยู่ ส่งอิทธิพลรบกวนจิตและสติอยู่ทุกขณะไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่งหรือหลายอย่างพร้อม ๆ กัน

    อาการที่อุปกิเลสหรือนิวรณ์ทั้งห้าปลิวว่อนกลุ้มรุมจิตอยู่นั้นจึงทำให้จิตอ่อนพลัง สติพลั้งเผลอตั้งอยู่ในความประมาท ขาดความต่อเนื่อง มีความรุ่มร้อนกระวนกระวาย ทำลายความเพียรให้ย่อหย่อน และหาความสงบมิได้ นิวรณ์ทั้งห้ายังมีอยู่ตราบใด จิตก็ไม่มีทางตั้งมั่นได้ สติก็ไม่อาจตามระลึกสิ่งใดได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงต้องกำจัดนิวรณ์ห้าประการนี้เสียก่อน

    แต่การกำจัดนิวรณ์ทั้งห้าประการนี้ไม่ใช่ว่านั่งเฉย ๆ หรือทำความพยายามเฉย ๆ แล้วจะกำจัดให้หมดไปได้ หากจะต้องใช้กำลังอำนาจของจิตที่ผ่านการฝึกฝนถึงระดับหนึ่งแล้วไปกำจัด อุปมานิวรณ์เหมือนกับความมืด วิธีขับไล่ความมืดจะเอามีดเอาไม้หรือเอาคนไปไล่ย่อมไม่มีวันสำเร็จ การขับไล่ความมืดก็ต้องใช้ความสว่าง ความสว่างบังเกิดขึ้นแล้วเมื่อใด เมื่อนั้นแหละความมืดก็จะหายไป ฉันใดก็ฉันนั้น

    ดังนั้นการกำจัดนิวรณ์จึงไม่ใช่การไล่ความมืดโดยวิธีอื่น แต่โดยวิธีฝึกฝนอบรมจิตให้มีศักยภาพและมีสติมั่นแน่วแน่ถึงระดับหนึ่ง จึงจะสามารถกำจัดนิวรณ์ทั้งห้านั้นเสียได้ ดังที่พระบรมศาสดาทรงตรัสรับรองไว้ว่าเมื่อการฝึกฝนอบรมจิตได้กระทำโดยไม่ประมาท มีความเพียร มีสติตามระลึกในธรรมที่กำหนดอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับไปแล้ว ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้

    การฝึกฝนปฏิบัติแบบกสิณวิธีและแบบอสุภสัญญาที่มีเป้าหมายเบื้องต้นอยู่ที่อุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตนั้น จิตจะมาเผชิญหน้ากับนิวรณ์อย่างดุเดือดและมีพลังที่จะต่อสู้หรือข่มนิวรณ์ได้ก็ในช่วงปลายเมื่อบรรลุถึงปฏิภาคนิมิตแล้ว นั่นคือเมื่อฝึกฝนอบรมจิตจนถึงขั้นกระทำปฏิภาคนิมิตได้ ก็เหมือนกับความสว่างเกิดขึ้นกับจิตขับไล่ความมืดมิดของนิวรณ์ให้บรรเทาเบาบางไปโดยลำดับ

    ส่วนการฝึกฝนปฏิบัติแบบอนุสติทุกวิธี รวมทั้งกายคตาสตินั้นมีเป้าหมายเบื้องต้นอยู่ที่การก่อตัวขององค์ห้าแห่งปฐมฌาน จิตก็ต้องเผชิญหน้ากับนิวรณ์และมีพลังที่จะขจัดนิวรณ์ได้ก็เมื่อองค์ห้าแห่งปฐมฌานก่อตัวขึ้นแล้ว

    ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าแดนแห่งการเผชิญหน้าแบบแตกหักระหว่างความสว่างไสวของจิตที่มีพลานุภาพและจิตตานุภาพกับความมืดที่กลุ้มรุมจิตอันเกิดจากความพล่านที่นิวรณ์ทั้งห้ารบกวนก็คือแดนแห่งธรรมที่เป็นแดนการก่อตัวขององค์ห้าแห่งปฐมฌานนั่นเอง

    ในกายคตาสตินั้น พระบรมศาสดาทรงชี้ไว้อย่างชัดเจนว่าเมื่อการฝึกฝนอบรมปฏิบัติเป็นไปโดยความไม่ประมาท มีความเพียร มีสติตามระลึกถึงธรรมอย่างนั้นแล้ว ย่อมสามารถละนิวรณ์ทั้งห้า ซึ่งทรงเรียกในที่นี้ว่าความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้

    ลองปฏิบัติดูเถิดก็จะสัมผัสพบได้ด้วยตนเองว่าในกรณีที่กระทำปฏิภาคนิมิตและกำลังเริ่มก่อตัวขององค์ห้าแห่งปฐมฌานก็ดี หรือถ้าเป็นกรณีฝึกฝนปฏิบัติแบบอนุสติ เมื่อมาถึงขั้นที่องค์ห้าแห่งปฐมฌานเริ่มก่อตัวแล้ว ก็จะพบจะสัมผัสอย่างชัดเจนว่าความรู้สึกนึกคิดที่ติดยึดในกาม ที่ติดยึดในความพยาบาท ที่ท้อแท้ซึมเศร้า ที่ฟุ้งซ่านรำคาญใจ และความลังเลสงสัยจะค่อย ๆ หมดสิ้นไปโดยลำดับเป็นลำดับๆ ไป

    ถ้าจะกล่าวแบบบุคลาธิษฐานก็กล่าวได้ว่าเมื่อถึงขั้นนั้นก็จะเห็นมารน้อย ๆ ทั้งห้าตัวกำลังถูกแสงสว่างที่เกิดขึ้นจาก “ความไม่ประมาท ความเพียร และการมีสติส่งไปในธรรมอย่างต่อเนื่อง” ขับไล่ไสส่งอย่างไม่ไยดีและมารตัวน้อย ๆ ทั้งห้านั้นกำลังวิ่งหนีอย่างกระเจิดกระเจิงฉะนั้น

    บางสำนักอาจจะสอนสั่งอบรมศิษย์ว่าก่อนจะเริ่มฝึกฝนปฏิบัติให้ขจัดนิวรณ์ทั้งห้าเสียก่อนจึงจะลงมือปฏิบัติในการฝึกฝนอบรมจิต พูดในเชิงปริยัตินั้นง่ายอยู่ และดูเหมือนว่าจะเป็นลำดับขั้นตอนเช่นนั้น แต่ในการปฏิบัติจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะไม่มีวิธีหรืออาวุธศัสตราใดที่จะไปทำลายนิวรณ์ก่อนที่จะฝึกฝนอบรมจิตได้

    มีแต่ต้องลงมือฝึกฝนอบรมจิตตามกัมมัฏฐานวิธีที่พระบรมศาสดาทรงตรัสสอนด้วยความไม่ประมาท ด้วยความเพียร และอาศัยสติตามระลึกถึงธรรมอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย เมื่อกำลังของจิตและอำนาจของสติแก่กล้าถึงจุดหนึ่งคือแดนที่เริ่มต้นของปฐมฌานแล้ว นิวรณ์ทั้งห้าที่กลุ้มรุมจิตอยู่ก็จะถูกขับไล่ไสส่งให้หมดไปได้เอง

    ในการปฏิบัติจริง เมื่อจิตและสติไปถึงขั้นนั้นก็สามารถตรวจสอบด้วยการกำหนดรู้ของจิตและสติได้ว่าความกำหนัดหรือความติดยึดในกามก็ดี ความรู้สึกนึกคิดพยาบาท ความรู้สึกนึกคิดท้อแท้ซึมเศร้า ความรู้สึกฟุ้งซ่านรำคาญใจ และความลังเลสงสัยใจค่อย ๆ หมดไปโดยลำดับเป็นลำดับไป ความจริงนี้นั่นแหละเป็นธรรมดาธรรมชาติดังที่ปรากฏในบทสรรเสริญพระธรรมว่า เป็นสันทิฏฐิโก เป็นอกาลิโก คือปฏิบัติเมื่อใดก็เห็นเมื่อนั้น ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลาไหน ๆ เป็นเอหิปัสสิโก ใครปฏิบัติก็รู้สัมผัสได้ ไม่หวงห้ามกีดกันไว้เฉพาะหมู่ใดคณะใดเลย

    เมื่อนิวรณ์ทั้งห้าถูกกำจัดแล้วจิตก็จะมีความตั้งมั่นบริสุทธิ์มั่นคง สติก็จะมีความหนักแน่นมากขึ้น ดังที่พระบรมศาสดาทรงตรัสว่าภาวะของจิตในยามนี้จะมีอาการดังต่อไปนี้คือ “เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้นย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น”

    นั่นคือเมื่อละนิวรณ์ทั้งห้าได้แล้ว จิตย่อมมีความผ่องใสอยู่ภายใน ความผ่องใสสว่างของจิตนั้นแน่วนิ่งคงที่ องค์ห้าแห่งปฐมฌานหรือองค์ธรรมที่เป็นไปตามลำดับขั้นของการปฏิบัติจะปรากฏขึ้น เห็นได้ชัด สัมผัสลิ้มรสได้ชัด และมีความตั้งมั่น

    ในลักษณะเช่นนั้นจิตจะอยู่ในสมาธิที่เรียกว่าอุปจารสมาธิ เพราะเป็นสมาธิประเภทที่ทำให้จิตแน่วแน่ คงที่ ตั้งมั่น สติไม่เผอเรอ จิตพร้อมที่จะทำหน้าที่ของจิตที่สูงขึ้นโดยลำดับ ๆ ไป ความผ่องใสของจิตและความทันการณ์ของสติอย่างเต็มเปี่ยมในภาวะเช่นนั้นมีความสว่างไสว ยากจะหาใดเปรียบปาน นั่นคืออาการของจิตที่บางสำนักเรียกว่าเป็นอาการที่จิตประภัสสร

    ธรรมเอกที่ทรงตรัสนี้หมายถึงสภาวะธรรมที่เกิดกับจิตตามลำดับขั้นของการปฏิบัติหรือตามผลของการปฏิบัติแต่ละขั้น เช่น สภาวะธรรมที่กายสังขารสงบรำงับ สภาวะธรรมที่เป็นองค์ห้าแห่งปฐมฌาน สภาวะธรรมที่เป็นองค์แห่งทุติยฌาน ตติยฌาน หรือจตุตถฌาน เป็นต้น

    สภาวะธรรมใดที่จะพึงเกิดขึ้นตามธรรมดา ธรรมชาติ หรือเป็นผลธรรมดา ธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นในลำดับขั้นของการปฏิบัตินั้น ในขั้นตอนนั้น นั่นเรียกว่าธรรมเอก
    พระบรมศาสดาทรงตรัสถึงผลของการปฏิบัติว่าเมื่อการฝึกฝนอบรมกายคตาสติ “ทำให้มากแล้ว เธอย่อมถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่ง อันเป็นแดนที่ตนน้อมจิตไปโดยการกระทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งนั้น ๆ ได้ ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ”

    นั่นคือเมื่อสติตามระลึกถึงธรรมจนธรรมเอกผุดขึ้นกับจิตโดยอาการทั้งหลายดังได้แสดงมาแล้วนั้นยังคงจะต้องฝึกฝนปฏิบัติให้มากขึ้นด้วยความเพียรที่ไม่ย่อหย่อนต่อไป ก้าวไปตามขั้นตอนแต่ละก้าว ฝึกฝนอบรมจิตให้พัฒนาก้าวรุดหน้าไปโดยลำดับ

    นั่นคือในที่สุดจิตก็จะมีกำลังอำนาจ มีความสามารถที่จะรับรู้สัมผัสและเข้าถึงธรรมอันประเสริฐยิ่ง ๆ ขึ้นไปโดยลำดับ จิตจะมีความสามารถอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด จิตสามารถทำหน้าที่ของจิตได้อย่างเต็มที่ถึงที่สุด คือการน้อมจิตไปถึงซึ่งวิชชาและวิมุต

    นั่นเพราะว่าเมื่อจิตมีกำลังความสามารถขั้นสูงสุด มีความตั้งมั่นถึงที่สุด มีความบริสุทธิ์ถึงที่สุด มีพลานุภาพที่จะทำหน้าที่ขั้นสูงสุดของจิตแล้ว ณ จุดนั้นย่อมเรียกว่าแดนที่จิตสามารถน้อมจิตไปบรรลุสู่วิชชาและวิมุตได้

    ดังนั้นการที่บางอาจารย์ บางสำนัก ระบุว่ากัมมัฏฐานวิธีนั้นวิธีนี้ให้ผลปฏิบัติขั้นสูงอย่างนั้นอย่างนี้ แม้กระทั่งเป็นตาลยอดด้วนในบางวิธีนั้น จึงเป็นอัตตะวินิจฉัยเฉพาะตน ตามภูมิธรรมที่มีอยู่เท่านั้น ไม่ใช่สิ่งที่พระบรมศาสดาทรงตรัสสอนแต่ประการใด

    พระบรมศาสดาทรงตรัสสอนรับรองและยืนยันว่ากัมมัฏฐานวิธีทั้งหลายที่ทรงตรัสแล้วในกายคตาสตินั้น ย่อมสามารถก้าวไปถึงแดนที่สามารถน้อมจิตไปสู่วิชชาและวิมุตหรือมรรคผลนิพพานได้ทั้งสิ้น

    ขึ้นอยู่กับว่าการฝึกฝนปฏิบัติมี “ธรรมเอก” ระดับใดที่ผุดขึ้นกับจิต หากธรรมเอกที่ว่านี้คือธรรมที่สามารถน้อมจิตไปถึงซึ่งวิชชาและวิมุตได้แล้ว ธรรมเอกนั้นก็เป็นขั้นสูงสุด

    หาก “ธรรมเอก” ยังเป็นเพียงปฏิภาคนิมิต หรือองค์แห่งฌานบางระดับ ธรรมเอกนั้นก็ยังมีขีดคั่นที่ยังจำกัด ยังต้องฝึกฝนอบรมจิตต่อไป อุปมาเหมือนบันไดมี 9 ขั้น แต่ละขั้นก็กล่าวได้ว่าเป็นธรรมเอกทั้งสิ้น แต่ถ้าไปถึงขั้นที่ 9 ก็ย่างเข้าประตูบ้านได้ หากยังไม่ถึงขั้นที่ 9 ก็ยังต้องก้าวต่อไป ฉันใดก็ฉันนั้น

    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> </tbody></table> [​IMG]
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (51) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">30 มิถุนายน 2548 18:56 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="5">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="400"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="400"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> เป้าหมายปลายทางเบื้องต้นของการฝึกฝนปฏิบัติแบบอนุสติวิธีทั้ง 7 วิธี คือการก่อรากฐานขององค์ห้าแห่งปฐมฌาน ตรงนี้คือความต่างกันกับกัมมัฏฐานวิธีจำพวกกสิณ 10 วิธี และอสุภสัญญา 10 วิธี ที่มีเป้าหมายเบื้องต้นคือการได้อุคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต จากนั้นจึงเป็นการก่อรากฐานขององค์ห้าแห่งปฐมฌาน

    นั่นเป็นเพราะพื้นฐานอัชฌาสัยความชอบพอและความประณีตทางจิตใจอันเป็นพื้นฐานดั้งเดิมของผู้ฝึกฝนปฏิบัติ ไม่ใช่เรื่องวิธีใดดีกว่า ให้ผลมากกว่าวิธีใด หรืออันไหนถูก อันไหนผิด และหากเห็นจริงดังนี้แล้วก็จะทำให้ความขัดแย้งหรือการยกสำนักข่มกันหรือการยกวิธีปฏิบัติข่มกันในบรรดาผู้ฝึกฝนปฏิบัติหมดสิ้นไปได้

    และแท้จริงแล้วการยึดมั่นถือมั่นในสำนัก ในรูปแบบวิธีและการยกตนข่มกันไม่เป็นสาระ ไม่เป็นแก่นสาร ไม่เป็นหนทางที่จะไปสู่ความมหัศจรรย์แห่งโลกภายในได้เลย อย่าได้เสียเวลาไปกับเรื่องเหล่านั้น เวลาของคนเรามีน้อยนิด จึงพึงใช้ไปให้คุ้มค่าเพื่อถึงและได้รับซึ่งประโยชน์สูงสุด ให้สมกับที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์

    ลำดับนี้จะได้แสดงกัมมัฏฐานวิธีประเภทมรณานุสติต่อไป ซึ่งได้พรรณนามาก่อนแล้วว่าแม้จะอยู่ในจำพวกเดียวกันกับกัมมัฏฐานวิธีทั้ง 7 วิธีข้างต้นนั้น แต่มีความต่างกันอยู่บ้าง

    ข้อที่ต่างกันนั้นคือ มรณานุสติเป็นกัมมัฏฐานวิธีที่เหมาะสมกับผู้มีอัชฌาสัยยึดมั่นถือมั่นในตัวตนสูงกว่าปกติ กัมมัฏฐานวิธีนี้จึงข่มส่วนเกินปกตินั้นได้อย่างถูกตรง สามารถตัดรอนส่วนเกินที่ยึดมั่นถือมั่นในตัวตนนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นกัมมัฏฐานวิธีสำหรับบุคคลพิเศษอีกวิธีหนึ่ง

    ข้อที่ต่างกันต่อมาก็คือ มรณานุสติมีผลทำให้เกิดความเบื่อหน่าย จางคลายความยึดมั่นถือมั่น และเห็นถึงความไม่เที่ยงแท้ของสิ่งทั้งปวงได้ง่าย ซึ่งลึกลงไปอีกขั้นหนึ่ง ทำให้เข้าไปใกล้พระไตรลักษณ์ คือ ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ และความไม่ใช่ตัวตนมากขึ้นโดยลำดับ การเข้าใกล้พระไตรลักษณ์ก็คือการเข้าใกล้มรรคผลนิพพานนั่นเอง

    ความต่างทั้งสองเรื่องนี้เป็นนัยยะสำคัญของมรณานุสติ และยังมีอานิสงส์ข้างเคียงอีกประการหนึ่งคือการทำให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ซึ่งเป็นธรรมที่พระบรมศาสดาทรงสรรเสริญเป็นอันมากว่าในบรรดาธรรมทั้งหลายนั้นไม่เห็นข้อใดเป็นใหญ่กว่าความไม่ประมาทเลย แม้ในยามใกล้จะดับขันธปรินิพพานก็ยังทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่าเธอทั้งหลายจงประพฤติพรหมจรรย์ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด

    มรณานุสติก็คือการกำหนดสติหรือการใช้สติตามระลึกถึงความตาย และเห็นความตายเป็นธรรมดา ธรรมชาติอย่างหนึ่ง เป็นที่สุดของชีวิตที่ทุกชีวิตเกิดมาแล้วก็ต้องตาย ไม่ว่าใคร มีฐานะอย่างไร เพศ พันธุ์ วรรณะ หรือวัยใด ก็ย่อมมีความตายเป็นที่สุดทั้งสิ้น ไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงความตายไปได้เลย

    เบื้องต้นก็ต้องรู้จักความตายก่อน ว่าเป็นที่สุดของชีวิตที่ทุกคนจะต้องประสบ ไม่ว่าจะเกลียดกลัวหรือจะพยายามหลีกเลี่ยงอย่างไร และไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ก็จะไม่มีวันพ้นจากความตายไปได้

    ความตายจะมาถึงได้ด้วยโรคและภัย และการขาดซึ่งปัจจัยแห่งชีวิต

    ชีวิตนี้มีความเปราะบาง มีโรคมากหลาย ทั้งโรคที่เกิดขึ้นจากภายในและทั้งโรคที่เกิดจากภายนอก และทั้งที่เกิดจากความผิดพลาดในการเยียวยารักษา ซึ่งอาจทำให้ถึงแก่ความตายได้ทั้งสิ้น

    นอกจากโรคแล้วยังมีภัยมากหลายที่ยังความตายให้เกิดขึ้นได้ บ้างก็เป็นราชภัย บ้างก็เป็นโจรภัย อุบัติภัย และภัยจากธรรมชาติ ตลอดจนภัยจากสัตว์ชนิดต่าง ๆ

    ความตายยังมาถึงได้ด้วยการขาดอาหารหรืออากาศ หรือการได้อาหารและอากาศมากหรือน้อยจนเกินไปก็อาจทำให้ถึงตายได้

    ไม่มีใครสามารถกำหนดวันเวลาตายได้ล่วงหน้านาน ๆ ความคิดที่ว่าอายุยังน้อยย่อมห่างไกลจากความตายก็ดี อีก 7 ปี 6 ปี 5 ปี แม้กระทั่ง 1 ปี แม้กระทั่งเป็นชั่วโมง ว่ายังห่างไกลจากความตาย หรือแม้ชั่วตักข้าวเข้าสู่ปากก็ไม่อาจกำหนดได้แน่นอนทั้งสิ้น ความแน่นอนมีอย่างเดียวเท่านั้นคือความตายจะต้องมาถึง ดังนั้นจึงประมาทกับความตายไม่ได้ เมื่อประมาทกับความตายไม่ได้เวไนยสัตว์จึงพึงเร่งความเพียรเพื่อถึงซึ่งความไม่ตายเสียก่อนตาย

    การเจริญมรณานุสติจะทำให้มีจิตใจกล้าหาญ กล้าเตรียมตัวเตรียมใจและเตรียมพร้อมที่จะรับมือหรือเผชิญหน้ากับความตาย นี่เรียกว่าทำให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ทำให้เกิดความไม่หวาดหวั่นหวาดผวา และสามารถเดินทางไกลในยามสิ้นลมด้วยความอุ่นใจและวางใจ ไม่วุ่นวาย ไม่ลุ่มหลง ไม่คลุ้มคลั่งในยามที่ใกล้จะตาย

    ในเนตติปทสูตรได้สรุปข้อใหญ่ใจความเกี่ยวกับการฝึกฝนปฏิบัติมรณานุสติว่า การบำเพ็ญกัมมัฏฐานวิธีประเภทมรณานุสตินั้น “เธอควรเพ่งดูบุคคลที่กำลังจะถูกฆ่า และควรรู้จักเหตุแห่งความตาย”

    เหตุแห่งความตายก็คือเหตุดังได้แสดงมานี้นั่นเอง ดังนั้นจึงควรจะได้ทำความเข้าใจในเรื่องของการเพ่งดูความตายต่อไป

    คำว่าการเพ่งดูบุคคลที่กำลังจะถูกฆ่าในเนตติปทสูตรนั้นเป็นถ้อยคำสั้น ๆ แต่ความหมายกว้าง ในทางปริยัติหมายถึงอารมณ์ทุกข์กังวลเกี่ยวกับความตาย ความกลัวว่าจะตาย ความรู้สึกวางเฉยในความตาย และความเป็นธรรมดา ธรรมชาติว่าทุกชีวิตเกิดมาแล้วย่อมต้องตาย รวมเป็นสี่ประการ

    ความทุกข์กังวลเกี่ยวกับความตายหมายถึงความทุกข์กังวลเกี่ยวกับความตายที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง ตลอดจนที่จะเกิดขึ้นกับผู้ที่เป็นที่รักว่ามีความรู้สึกกังวลอย่างไร เป็นทุกข์อย่างไร

    ความกลัวว่าจะตายก็คือความรู้สึกกลัวตามความเป็นจริงตามธรรมชาติของทุกชีวิต ทั้ง ๆ ที่ความตายซึ่งจะเกิดขึ้นกับตนเองและที่จะเกิดขึ้นกับผู้ที่เป็นที่รัก ความกลัวความตายนี้เป็นอีกชนิดหนึ่งจากความทุกข์กังวลเกี่ยวกับความตาย

    ความรู้สึกวางเฉยในความตาย ความรู้สึกนี้พรรณนาได้ยากลำบาก แต่จะง่ายถ้าหากกล่าวโดยอุปมาโวหารว่าเป็นความรู้สึกแบบเดียวกันกับที่สัปเหร่อเห็นซากศพหรือกระทำการฌาปนกิจซากศพนั้น ความรู้สึกที่เป็นปกติธรรมดาไม่ทุกข์ไม่ร้อน ไม่กังวล ไม่ยี่หระ เป็นความรู้สึกเฉย ๆ

    ความรู้สึกว่าความตายเป็นเรื่องธรรมดาธรรมชาติว่าทุกชีวิตเกิดมาแล้วย่อมต้องตาย ไม่มีชีวิตใด ไม่มีใครจะสามารถล่วงพ้นความตายไปได้ ซึ่งประการนี้เป็นอารมณ์กัมมัฏฐานที่ทำให้เกิดปัญญาเห็นความจริงตามความเป็นจริง

    ในการฝึกฝนปฏิบัติมรณานุสติ โบราณาจารย์ทั้งหลายจึงได้สอนสั่งสืบต่อกันมาว่าสามประการแรกนั้นไม่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นผลดีในการฝึกฝนปฏิบัติ เพราะไม่สามารถยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นได้ เนื่องจากจมปลักอยู่กับความทุกข์ ความกลัว หรือความรู้สึกเฉย ๆ โดยที่ความรู้สึกเฉย ๆ เป็นอุเบกขาเช่นนี้เป็นคนละสิ่งคนละอย่างกับอุเบกขา ซึ่งเป็นองค์ธรรมสำคัญในสัมโพชฌงค์

    จึงคงเหลือเพียงประการที่สี่ซึ่งเป็นอารมณ์ที่จะทำให้เกิดปัญญา เห็นความจริงตามความเป็นจริง และเป็นหนทางไปสู่พระไตรลักษณ์ ในคัมภีร์วิมุตติมรรคได้รับรองว่า “บุคคลเมื่อระลึกถึงธรรมชาติของโลก เกิดความเบื่อหน่ายนี้เรียกว่ามรณสติที่เกี่ยวเนื่องด้วยปัญญา ในที่นี้โยคีไม่ควรปฏิบัติมรณสติที่เกี่ยวเนื่องด้วยทุกข์กังวล ความกลัว หรืออุเบกขา เพราะอาศัยการเจริญมรณสติเหล่านั้น เธอไม่สามารถกำจัดทุกข์ได้ ทุกข์เป็นสิ่งที่กำจัดได้เพราะอาศัยการปฏิบัติมรณสติที่เกี่ยวเนื่องด้วยปัญญาเท่านั้น”

    อารมณ์ความรู้สึกเกี่ยวกับความตายทั้งสี่ประการ แต่ใช้ฝึกฝนปฏิบัติเพียงประการเดียวคืออารมณ์ความรู้สึกที่เป็นไปเพื่อปัญญา ที่ใช้สติตามระลึกแล้วจะก่อเกิดปัญญาเห็นความจริงตามความเป็นจริงเพื่อเห็นพระไตรลักษณ์เท่านั้น

    นั่นเป็นเรื่องของอารมณ์ที่จะนำมากำหนดในการใช้สติตามระลึก แต่ในส่วนของความตายนั้นในทางปริยัติเองก็ยังควรต้องทำความเข้าใจในความหมายต่าง ๆ กัน แต่ก็อาจจำแนกให้เหลือเพียงสองจำพวก

    จำพวกแรก แบ่งความตายออกเป็นความตายที่ชาวโลกสมมติขึ้นตามที่เข้าใจกัน เช่น ต้นไม้ตาย สัตว์ตาย หรือคนตาย ซึ่งเรียกว่าสมมติมรณะอย่างหนึ่ง ความตายของกิเลสและอาสวะทั้งหลาย หรือความดับทุกข์สิ้นเชิงที่เรียกว่าสมุทเฉทมรณะอย่างหนึ่ง และการตายของการปรุงแต่งแต่ละห้วง แต่ละตอน หรือนัยหนึ่งก็คือการสิ้นสุดการปรุงแต่งในห้วงหนึ่ง ตอนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าขณิกกมรณะอีกอย่างหนึ่ง

    สมุทเฉทมรณะและขณิกกมรณะจะเป็นความตายที่ไม่นำมาใช้ในการฝึกฝนอบรมปฏิบัติมรณานุสติ เพราะไม่ใช่ความหมายของความตายที่จะใช้เป็นแบบฝึกฝนอบรมหรือนำมากำหนดเป็นอารมณ์ของกัมมัฏฐานวิธีนี้ คงเหลือแต่การตายจำพวกสมมติมรณะซึ่งเป็นความตายที่จะจำแนกในจำพวกที่สอง

    จำพวกที่สอง สมมติมรณะแบ่งความตายออกเป็น 2 ชนิดคือการตายตามกาล ได้แก่ การตายเพราะสิ้นอายุ เพราะความชรา เรียกว่ากาลมรณะอย่างหนึ่ง และการตายเพราะการฆ่าตัวตาย หรือถูกฆ่าตาย หรือเพราะความเจ็บป่วย หรือเพราะถูกทำให้ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ เรียกว่าอกาลมรณะอีกอย่างหนึ่ง

    การใช้สติตามระลึกถึงความตายอย่างใดอย่างหนึ่งในสองจำพวกนี้คือการฝึกฝนปฏิบัติจำพวกมรณานุสติ แต่ต้องมุ่งกำหนดอารมณ์เอาที่เจริญปัญญา คือ ตามระลึกเห็นความตายว่าเป็นธรรมดาธรรมชาติของทุกชีวิต

    ในการฝึกฝนปฏิบัตินั้นจะใช้สติตามระลึกในประการดังต่อไปนี้

    ใช้สติตามระลึกว่าความตายนั้นกำหนดเวลาแน่นอนไม่ได้ ไม่ว่าเด็ก คนวัยกลางคน หรือผู้ใหญ่ หรือคนในวัยชรา ก็อาจตายด้วยกันได้ทั้งนั้น เวลากำหนดได้ไม่แน่นอนแต่ความตายนั้นเป็นสิ่งแน่นอน ประการหนึ่ง

    ใช้สติตามระลึกว่าความตายอาจมาถึงได้ทั้งด้วยโรค ด้วยภัย ด้วยปัจจัยแห่งชีวิตขาดสิ้น ชีวิตนี้เปราะบางยิ่งนัก เหตุปัจจัยที่ทำให้ตายมีมากมายนัก ตั้งอยู่ในความประมาทไม่ได้เลย ประการหนึ่ง

    ใช้สติตามระลึกว่าคนที่เป็นที่รักหวงแหนปานไหน แม้ตัวเราเองก็ต้องถึงแก่ความตายด้วยกันทั้งสิ้น ไม่สามารถหวงกันเอาไว้ได้ และไม่สามารถหลีกหนีได้ ความตายจะมาพรากทุกสิ่งทุกอย่างโดยที่ไม่มีใครจะขวางกั้นเอาไว้ได้ ประการหนึ่ง

    ใช้สติตามระลึกว่าทรัพย์สมบัติทุกชนิดไม่ว่าจะรักหวงห่วงแหนสักเพียงใด ก็ไม่สามารถพาติดตัวไปในยามตายได้เลย จะต้องทิ้งไว้ในเบื้องหลังทั้งสิ้น ทั้งอาจเป็นการทิ้งไว้แบบไม่มีปัญหา หรือมีปัญหากับคนข้างหลัง จะติดยึดหวงแหนรักห่วงหนักหนาทำไม ประการหนึ่ง

    ใช้สติตามระลึกว่ายศศักดิ์วาสนาชื่อเสียงเกียรติคุณใด ๆ ก็ไม่อาจนำพาไปได้ ล้วนต้องทิ้งไว้ข้างหลังทั้งสิ้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ประการหนึ่ง

    ใช้สติตามระลึกว่าแม้ร่างกายนี้ที่สุดหวงห่วงรักสักปานไหน ทะนุถนอมสักปานไหนก็ไม่อาจปกป้องรักษาเอาไว้ได้ จะต้องกลายเป็นสภาพเน่าเปื่อย เป็นอาหารของหมู่หนอนและแบคทีเรียทั้งหลาย มีความเน่าเหม็น มีความเป็นปฏิกูล มีความน่ารังเกียจ น่าขยะแขยงที่แม้คนที่เคยรักสักเท่าใดก็ไม่อยากเข้าใกล้ แม้กระทั่งตกเป็นเหยื่อแร้งกาก็ไม่อาจขัดขวางป้องกันได้ ประการหนึ่ง

    การใช้สติตามระลึกดังแสดงมานี้ก็เป็นแบบบทเป็นตัวอย่างเท่านั้น ดังนัยยะที่แสดงในกัมมัฏฐานวิธีที่ได้แสดงมาแล้ว

    การใช้สติตามระลึกด้วยความเพียรไม่ย่อหย่อนจะยกระดับสติและจิตเป็นอารมณ์เดียว คือ เอกคตารมณ์ แล้วเกิดวิตก วิจาร และปีติขึ้นอย่างบางเบา นั่นคือการก่อตัวขององค์ห้าแห่งปฐมฌานนั่นเอง
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (52) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">30 มิถุนายน 2548 18:57 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="5">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="380"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="380"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ลำดับแต่นี้ไปจะได้พรรณนากายคตาสติเป็นลำดับที่ 9 แห่งกัมมัฏฐานวิธีจำพวกอนุสติ ตามที่ได้เกริ่นกล่าวมาก่อนแล้วว่ากายคตาสตินั้นแม้จัดอยู่ในจำพวกอนุสติแต่ก็มีความแตกต่างจากอนุสติ 7 วิธีแรก และต่างอยู่บ้างกับมรณานุสติ จึงเป็นการเหมาะสมและสมควรที่จะได้แยกแสดงเป็นโสตหนึ่งต่างหาก

    กายคตาสติก็คือการใช้สติกำหนดหรือตามระลึกความเป็นไปของกายนี้ในลักษณาการต่าง ๆ กัน คือทั้งในลักษณะที่เป็นรูป ทั้งที่ไม่เป็นรูป และทั้งที่เป็นองค์ธรรมแห่งฌาน

    ก่อนอื่นอยากจะทำความเข้าใจเรื่องสำคัญ ๆ สองเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับกายคตาสติ

    เรื่องแรก คือมูลเหตุที่มาของคำตรัสสอนของพระบรมศาสดาเรื่องกายคตาสติ ที่ทรงแสดงไว้ในกายคตาสติสูตร ที่มาของการแสดงพระสูตรนี้เนื่องจากพระสงฆ์สาวกจำนวนมากที่มีภูมิธรรมแตกต่างกัน มีความคุ้นเคยถนัดในการปฏิบัติกัมมัฏฐานวิธีแตกต่างกัน กำลังสนทนากันในอุปัฏฐานศาลาของพระอารามเชตวันมหาวิหาร ซึ่งท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้สร้างถวายไว้ที่พระนครสาวัตถี

    พระสงฆ์สาวกเหล่านั้นได้สนทนากันถึงเรื่องกัมมัฏฐานวิธีที่ใช้สติกำหนดหรือตามระลึกความเป็นไปต่างๆ ของกาย ซึ่งแม้ในพระสูตรจะมิได้ระบุโดยละเอียดถึงเนื้อหาแห่งการสนทนากันนั้น แต่ก็น่าจะสันนิษฐานได้ว่าต่างก็พรรณนาถึงวิธีการแห่งกัมมัฏฐานวิธีที่ต่างก็ได้ฝึกฝนปฏิบัติ รวมทั้งอานิสงส์ของการปฏิบัติในแต่ละวิธี ซึ่งมีความแตกต่างกันเป็นอันมาก เพราะยิ่งมากรูปก็ยิ่งมากวิธีตามที่ครูบาอาจารย์ของแต่ละรูปได้อบรมสั่งสอนมา

    พระบรมศาสดาคงจะทรงทราบข้อสนทนาของพระสงฆ์สาวกเหล่านั้น และคงจะเห็นเป็นโอกาสที่จะได้แสดงกัมมัฏฐานวิธีที่ใช้สติตามระลึกเกี่ยวกับกายให้ครบถ้วนกระบวนความ เพื่อความรู้ความเข้าใจร่วมกัน เพื่อป้องกันกำจัดความขัดแย้งหรือการยกตนข่มกัน และเพื่อการบรรลุถึงธรรมอันประเสริฐ ดังนั้นพระบรมศาสดาจึงเสด็จออกจากที่ประทับไปยังอุปัฏฐานศาลานั้น แล้วทรงตรัสถามว่าภิกษุเหล่านั้นกำลังสนทนากันด้วยเรื่องอะไร

    พระสงฆ์สาวกเหล่านั้นได้กราบทูลถึงหัวข้อธรรมที่ได้สนทนากันว่า “เกิดข้อสนทนากันขึ้นในระหว่างกันดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่น่าเป็นไปได้เลย เท่าที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธะตรัสกายคตาสติที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ว่ามีผลมาก มีอานิสงส์มากนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อสนทนากันในระหว่างพวกของข้าพระองค์ได้ค้างอยู่เพียงเท่านี้ พอดีพระผู้มีพระภาคก็เสด็จมาถึง”

    ดังนั้น พระบรมศาสดาจึงได้ตรัสกายคตาสติสูตรซึ่งเป็นหนึ่งในพระสูตรสำคัญที่แสดงกัมมัฏฐานวิธีอันเป็นทางนำไปสู่วิมุตตะมิติ โดยเฉพาะคือหนทางเจโตวิมุต

    เรื่องที่สอง คือความเข้าใจในสิ่งที่เรียกว่ากายที่คนทั่วไปมักจะเข้าใจว่าหมายถึงเพียงร่างกายเท่านั้น แต่ในเรื่องโลกภายในหรือในเรื่องของพระธรรมนั้น สิ่งที่เรียกว่ากายนอกจากที่เป็นร่างกายนี้แล้ว ยังหมายถึงลมหายใจ ยังหมายถึงลักษณะต่าง ๆ ของร่างกาย รวมทั้งสภาวะธรรมที่เกิดกับจิตทั้งหลายด้วย ดังนั้น สิ่งที่เรียกว่ากายในที่นี้จึงมีความหมายอย่างกว้าง รวมความครอบคลุมไปหมดถึงสิ่งไร ๆ ก็ตามที่เป็นส่วนประกอบเกี่ยวเนื่องหรือเกิดขึ้นเนื่องจากกายนี้

    ดังนั้น พระบรมศาสดาจึงรวมตรัสเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับกายไว้เป็นหมวดหนึ่งและเป็นหมวดสำคัญดังที่ปรากฏในกายคตาสติสูตร

    กัมมัฏฐานวิธีที่ทรงตรัสในกายคตาสติสูตร บางวิธีก็ใกล้เคียงหรือออกจะซ้ำกับกัมมัฏฐานวิธีอื่น ๆ ทั้งนี้ก็คงเป็นเพราะพระพุทธประสงค์ที่จะตรัสสอนเรื่องการใช้สติกำหนดหรือตามระลึกเกี่ยวกับกาย ได้รวบรวมเป็นหมวดหมู่อย่างสมบูรณ์ในเรื่องกายคตาสตินั่นเอง

    สิ่งที่เรียกว่ากายที่พระบรมศาสดาทรงตรัสสอนให้ใช้สติกำหนดหรือตามระลึกนี้ทรงตรัสถึงการเตรียมตัวเตรียมกาย เตรียมใจ ไว้อย่างชัดเจนว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี” นั่นก็คือการที่ทรงชี้ทำเลอันเหมาะสมและเกื้อกูลต่อการฝึกฝนอบรมจิต

    มีแม่บทแม่แบบแห่งการฝึกฝนอบรมดังต่อไปนี้

    ชนิดที่หนึ่ง คือการใช้สติกำหนดหรือตามระลึกลมหายใจเข้าออก เพื่อกำหนดรู้กองลมทั้งปวงและระงับกายสังขารคือการปรุงแต่งกายเนื้อ กายลม ซึ่งเป็นขั้นตอนใหญ่ขั้นตอนแรกในกัมมัฏฐานวิธีจำพวกอานาปานสติ คือกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน แต่ในกายคตาสตินี้มีวงกรอบอยู่ที่การทำกายสังขารให้รำงับซึ่งจัดอยู่ในขั้นกาย แต่ในอานาปานสตินั้นจะก้าวขั้นต่อไปสู่เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานซึ่งเป็นขั้นของจิต รวมความก็คือในกายคตาสตินี้วิธีกำหนดลมหายใจหรือใช้สติตามระลึกลมหายใจจำกัดอยู่เฉพาะขั้นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน และเมื่อกายสังขารสงบรำงับแล้ว แทนที่จะยกระดับไปสู่เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานเพื่อระงับการปรุงแต่งจิต ก็จะแยกทางไปสู่การอบรมจิตเพื่อก่อองค์ห้าแห่งปฐมฌาน ตรงนี้คือจุดแยกที่สำคัญของกัมมัฏฐานวิธีดังกล่าวนี้

    ชนิดที่สอง คือการใช้สติกำหนดหรือตามระลึกอิริยาบถเดิน ยืน นั่ง นอน หรือการทรงกายในลักษณะอื่นๆ ดังที่ทรงตรัสว่า “ภิกษุเดินอยู่ก็รู้ชัดว่ากำลังเดิน หรือยืนอยู่ก็รู้ชัดว่ากำลังยืน หรือนั่งอยู่ก็รู้ชัดว่ากำลังนั่ง หรือนอนอยู่ก็รู้ชัดว่ากำลังนอน หรือเธอทรงกายโดยอาการใด ๆ อยู่ก็รู้ชัดว่ากำลังทรงกายโดยอาการนั้น ๆ” ซึ่งบางสำนักก็ยึดถือกัมมัฏฐานวิธีนี้ในการฝึกฝนอบรมจิต

    ชนิดที่สาม คือการใช้สติกำหนดหรือตามระลึกการเคลื่อนไหวของร่างกายในประการต่าง ๆ ดังที่ทรงตรัสว่า “ภิกษุย่อมเป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในเวลาก้าวไปและถอยกลับ ในเวลาแลดูและเหลียวดู ในเวลางอแขนและเหยียดแขน ในเวลาทรงผ้าสังฆาฏิ บาตรและจีวร ในเวลาเดิน ยืน นั่ง นอน หลับ ตื่น พูด และนิ่ง” ซึ่งบางสำนักก็ยึดถือกัมมัฏฐานวิธีนี้ดังที่นิยมเรียกกันว่าเดินจงกลมบ้าง การเคลื่อนไหวของมือและเท้าบ้างเป็นต้น

    ชนิดที่สี่ คือการใช้สติกำหนดหรือตามระลึกถึงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ว่าเต็มไปด้วยของไม่สะอาด ดังที่ทรงตรัสว่า “ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้แล ข้างบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป ข้างล่างแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีประการต่าง ๆ ว่ามีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น มันตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ดูกรภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนไถ้มีปากทั้งสองข้าง เต็มไปด้วยธัญชาติต่าง ๆ ชนิด คือข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วทอง งา และข้าวสาร บุรุษผู้มีตาดีแก้ไถ้นั้นออกแล้ว พึงเห็นได้ว่านี้ข้าวสาลี นี้ข้าวเปลือก นี้ถัวเขียว นี้ถั่วทอง นี้งา นี้ข้าวสาร ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลายฉันนั้นเหมือนกันแล” ซึ่งบางสำนักก็ยึดถือกัมมัฏฐานวิธีนี้ดังที่นิยมเรียกกันว่าการพิจารณาอวัยวะ 32 ของร่างกายนี้ เป็นต้น

    ชนิดที่ห้า คือการใช้สติกำหนดหรือตามระลึกถึงส่วนประกอบทั้งหมดของร่างกายว่า แท้จริงแล้วประกอบขึ้นด้วยธาตุสี่ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ดังที่ทรงตรัสว่า “ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้แลตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ดำรงอยู่โดยธาตุว่ามีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม” ซึ่งบางสำนักก็ยึดถือกัมมัฏฐานวิธีนี้

    ชนิดที่หก คือการใช้สติกำหนดหรือตามระลึกถึงซากศพ “ที่เขาทิ้งในป่าช้าอันตายได้วันหนึ่ง หรือสองวัน หรือสามวัน ที่ขึ้นพองเขียวคล้ำ มีน้ำเหลืองเยิ้ม จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่าแม้กายนี้แลก็เหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้” หรือ “ที่เขาทิ้งในป่าช้า อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง ฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง ฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขบ้านกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขป่ากัดกินอยู่บ้าง สัตว์เล็กสัตว์น้อยต่าง ๆ ชนิดฟอนกินอยู่บ้าง จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แลก็เหมือนอย่างนี้ เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้”
    หรือ “เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า ยังคุมเป็นรูปร่างอยู่ด้วยกระดูก มีทั้งเนื้อและเลือด เส้นเอ็นผูกรัดไว้ … เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้ายังคุมเป็นร่างด้วยกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว แต่เส้นเอ็นยังผูกรัดอยู่ … เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้าเป็นท่อนกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นเครื่องผูกรัดแล้ว กระจัดกระจายไปทั่วทิศต่าง ๆ … เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้าเป็นแต่กระดูกสีขาว … เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้าเป็นท่อนกระดูกเรี่ยราดเป็นกอง ๆ มีอายุเกินปีหนึ่ง … เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้าเป็นแต่กระดูกผุเป็นจุณ

    จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แลก็เหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้”

    นั่นก็คือการใช้สติกำหนดหรือตามระลึกถึงลักษณะต่าง ๆ ของร่างกายที่เป็นซากศพลักษณะต่าง ๆ คล้ายคลึงกับกัมมัฏฐานวิธีจำพวกอสุภสัญญา แต่เป็นการใช้สติกำหนดหรือตามระลึก ไม่ใช่การทรงจำกำหนดหมาย ซึ่งบางสำนักก็ใช้กัมมัฏฐานวิธีนี้

    ชนิดที่เจ็ด คือการใช้สติกำหนดหรือตามระลึกถึงธรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับจิต อันประกอบเป็นองค์ห้าแห่งปฐมฌาน ดังที่ทรงตรัสว่า “ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปิติ และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอยังกายนี้แลให้คลุกเคล้าบริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปิติและสุขเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไร ๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ปิติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง”

    ชนิดที่แปด คือการใช้สติกำหนดหรือตามระลึกถึงธรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับจิตอันประกอบเป็นองค์แห่งทุติยฌาน ดังที่ทรงตรัสว่า “ภิกษุเข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบ วิตก และวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปิติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอยังกายนี้แลให้คลุกเคล้าบริบูรณ์ซาบซ่านด้วย ปิติและสุขเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไร ๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอ ที่ปิติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง”

    ชนิดที่เก้า คือการใช้สติกำหนดหรือตามระลึกถึงธรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับจิตอันประกอบเป็นองค์แห่งตติยฌาน ดังที่ทรงตรัสว่า “ภิกษุเป็นผู้วางเฉย เพราะหน่ายปิติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมเข้าตติยฌานที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่าผู้วางเฉย มีสติอยู่เป็นสุข เธอยังกายนี้แลให้คลุกเคล้าบริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปิติ ไม่มีเอกเทศไร ๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอ ที่สุขปราศจากปิติจะไม่ถูกต้อง”

    ชนิดที่สิบ คือการใช้สติกำหนดหรือตามระลึกถึงธรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับจิตอันเป็นองค์แห่งจตุตถฌาน ดังที่ทรงตรัสว่า “ภิกษุเข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อน ๆ ได้ มีสติเพราะอุเบกขาอยู่ เธอย่อมเป็นผู้นั่งเอาใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องแผ่ไปทั่วกายนี้แล ไม่มีเอกเทศไร ๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง”

    รวมความได้ว่าการฝึกฝนอบรมจำพวกอนุสติประเภทของกายคตาสตินี้ทรงวางแม่บทแม่แบบไว้โดยเฉพาะถึง 10 วิธี สุดแท้แต่ผู้ฝึกฝนปฏิบัติจะมีอัชฌาสัยชอบพอหรือมีจิตใจที่สอดคล้องกับกัมมัฏฐานวิธีใด ที่จะทำให้การฝึกฝนอบรมก้าวรุดหน้าและได้ผลอย่างรวดเร็ว

    โดยที่การฝึกฝนอบรมชนิดที่ 7-10 รวม 4 วิธีเป็นการใช้สติตามรำลึกถึงองค์ฌานโดยตรง ซึ่งเป็นขั้นตอนการพัฒนาของจิตในขั้นสูงที่กัมมัฏฐานทุกวิธีจะต้องดำเนินไป ดังนั้นจะได้ยกรวมไปพรรณนาโดยพิสดารในตอนที่เกี่ยวกับขั้นตอนการฝึกฝนอบรมและพัฒนาจิตแบบเจโตวิมุตต่อไป
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (54) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">30 มิถุนายน 2548 19:07 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="5">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="410"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="410"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ได้พรรณนากัมมัฏฐานวิธีจำพวกกสิณ 10 วิธี จำพวกอสุภสัญญา 10 วิธี จำพวกอนุสติ 10 วิธี มาโดยลำดับแล้ว และหากจะพรรณนาโดยลำดับวิธีดังที่นิยมการเรียบเรียงมาแต่ก่อนก็จะต้องพรรณนากัมมัฏฐานวิธีจำพวกอัปมัญญา 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ก่อน

    แต่เนื่องจากเห็นว่ากัมมัฏฐานวิธีจำพวกอัปมัญญา 4 นั้นมีความละเอียดอ่อนประณีตและลึกซึ้ง สมควรจะพรรณนากัมมัฏฐานวิธีที่สัมผัสง่าย เห็นง่าย รู้ง่าย เข้าใจง่ายเสียก่อน ก็จะเป็นบาทฐานและเป็นประโยชน์แก่ความเข้าใจในเรื่องที่ลึกซึ้งประณีตกว่า ดังนั้นจึงขอพรรณนาเรื่องอาหาเรปฏิกูลสัญญาเป็นลำดับที่ 31 จตุธาตุววัตถานเป็นลำดับที่ 32 จากนั้นจึงจะแสดงกัมมัฏฐานวิธีจำพวกอัปมัญญา 4 ต่อไป

    เพราะเห็นว่าเรื่องอาหารนั้นเป็นเรื่องที่สัมผัสได้ง่าย รู้เห็นได้ง่าย และเข้าใจได้ง่าย เนื่องจากเป็นวัตถุธาตุที่แลเห็นและทรงจำกำหนดหมายได้ง่าย ทั้งพบเห็นเผชิญหน้าในชีวิตประจำวันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

    เมื่อพรรณนาเรื่องอาหาเรปฏิกูลสัญญาแล้วก็จะได้พรรณนาเรื่องจตุธาตุววัตถานเป็นลำดับต่อไปโดยนัยและเหตุอย่างเดียวกัน

    อาจจะทำให้ท่านที่ติดยึดในแบบแผนและการเรียบเรียงดังที่ปรากฏในคัมภีร์ต่าง ๆ กังวลสงสัยบ้าง แต่ก็ให้ถือเสียว่าถึงอย่างไรก็จะพรรณนาจนครบทุกวิธีอยู่ดีประการหนึ่ง ทั้งการปรับก่อนหลังในการพรรณนานั้นก็ไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหายหรือผิดพลาดแต่ประการใดอีกประการหนึ่ง หากเข้าใจเช่นนี้แล้วก็จะเป็นประโยชน์ทั้งเชิงปริยัติและปฏิบัติ และไม่ต้องขัดเคืองขุ่นใจหรือโต้เถียงกันอันเป็นเรื่องที่ไม่เกิดประโยชน์อันใดเลย

    อาหาเรปฏิกูลสัญญาแปลความหมายว่า การกำหนดความน่าเกลียดในอาหาร แม้ว่าจะมีคำต่อท้ายของกัมมัฏฐานวิธีนี้ว่า “สัญญา” ซึ่งหากดูผิวเผินแล้วก็น่าที่จะจัดรวมอยู่ในจำพวก “อสุภสัญญา” 10 วิธี แต่ความจริงแล้วยังมีความแตกต่างกันและเป็นคนละเรื่องกัน

    ที่มีความเหมือนกันคือการทรงจำกำหนดหมาย ซึ่งเป็นเรื่องสัญญาด้วยกัน โดยอสุภสัญญานั้นเป็นเรื่องการทรงจำกำหนดหมายเกี่ยวกับซากศพที่มีลักษณะต่าง ๆ กัน ส่วนอาหาเรปฏิกูลสัญญาเป็นการทรงจำกำหนดหมายในเรื่องของอาหาร แต่ไม่ใช่แค่ทรงจำกำหนดหมายอย่างเดียว

    หากเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาด้วยปัญญาให้เห็นความจริงตามความเป็นจริงว่าความเป็นไปในเรื่องอาหารนั้นเป็นสิ่งน่าเกลียด เป็นสิ่งปฏิกูล เป็นเรื่องที่น่าเบื่อหน่าย และเมื่อเบื่อหน่ายแล้วก็มีความละวางเป็นลำดับไปจนถึงความไม่ติดยึดในอาหาร มีความเป็นอิสระ จิตไม่ถูกพันธนาการให้อยากได้ใคร่มี หรือลุ่มหลงติดพันในอาหารอีกต่อไป

    ตรงนี้เป็นจุดที่ต้องทำความเข้าใจให้ดีเสียก่อน มิฉะนั้นแล้วก็จะสับสนไขว้เขวว่าอาหาเรปฏิกูลสัญญาเป็นเรื่องเดียวกันกับจำพวกอสุภสัญญา ปมสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจคือกัมมัฏฐานวิธีจำพวกอสุภสัญญานั้นเป็นเรื่องของการทรงจำกำหนดหมาย โดยมีซากศพเป็นอารมณ์ การทรงจำกำหนดหมายนี้เป็นเรื่องของสัญญาขันธ์

    แต่ในเรื่องอาหาเรปฏิกูลสัญญานอกจากการทรงจำกำหนดหมายในเรื่องอาหารซึ่งเป็นเรื่องของสัญญาขันธ์เหมือนกันก็จริง แต่ไม่ได้หยุดอยู่เพียงเท่านั้น หากจิตจะทำหน้าที่พิจารณาความทรงจำกำหนดหมายในเรื่องอาหารนั้นจนเห็นความจริงว่าเป็นสิ่งน่าเกลียด เป็นสิ่งปฏิกูล และเป็นเรื่องน่าเบื่อหน่าย ซึ่งเป็นเรื่องที่จิตจะต้องเจริญปัญญาเพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่งด้วย

    ตรงนี้คือปมของความแตกต่างระหว่างอสุภสัญญากับอาหาเรปฏิกูลสัญญา เป็นความแตกต่างในเรื่องการทำหน้าที่ของจิต ซึ่งเป็นเรื่องภายใน ในขณะที่ความแตกต่างภายนอกเป็นความแตกต่างระหว่างซากศพกับอาหาร ซึ่งเห็นได้ง่าย เห็นได้ชัด แต่ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่เรื่องภายนอก แต่อยู่ที่เรื่องของจิตและการทำหน้าที่ของจิต

    อาหารคือเครื่องบำรุงที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่และดำเนินไป

    สัตว์ทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นสัตว์เดรัจฉานหรือมนุษย์ย่อมมีความจำเป็นและมีความต้องการอาหารด้วยกันทั้งสิ้น ต้องแสวงหาอาหาร ต้องกินอาหาร และอาหารนั้นก็จะเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงร่างกายและชีวิตให้ดำรงอยู่และดำเนินไปได้ ขาดอาหารก็ต้องตาย ดังนั้นสัตว์ทั้งปวงจึงมีจิตใต้สำนึกที่ต้องการอาหาร

    ลูกนกเล็ก ๆ พอออกจากกะเปาะไข่ไม่ทันนานก็มีความรู้สึกต้องการอาหาร ลูกวัว ลูกควาย พอคลอดออกจากท้องแม่ลุกขึ้นยืนได้ก็จะไปคลุกเคล้าหานมแม่ ทารกแรกเกิดพอร้องอุแว้ ยังไม่รู้ประสีประสาใด ๆ แต่ความต้องการแรกสุดก็คืออาหารคือน้ำนมแม่

    เหล่านี้คือสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าเป็นธรรมชาติของชีวิต แม้ยังไม่รู้จักคิด ยังไม่รู้จักภาษาอะไร แต่ก็มีสัญชาตญาณที่ต้องการอาหารและแสวงหาอาหารแล้ว แม้หากินเองไม่ได้แต่ธรรมชาติก็ได้ให้สัญชาติญาณไว้กับพ่อแม่ที่จะต้องหาและป้อนอาหารให้แก่ลูก ทั้งคนและสัตว์ก็มีสัญชาตญาณนี้เป็นเช่นเดียวกัน

    ดังนั้น การกำหนดหมายให้เห็นความน่าเกลียดในอาหารจึงไม่ใช่เรื่องผิวเผิน หากเป็นเรื่องที่ลุ่มลึก มีผลบั้นปลายคือความเบื่อหน่ายคลายวางจากความยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งเป็นเรื่องที่ใกล้แดนแห่งพระนิพพานหรือวิมุตตะมีติยิ่งนัก

    มนุษย์ต่างกับสัตว์ในเรื่องความต้องการอาหาร เพราะสัตว์นั้นแม้มีความต้องการอาหารแต่เป็นความต้องการตามสัญชาตญาณเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่และดำเนินไป ไม่มีสิ่งอื่นนอกเหนือไปจากนี้ ความต้องการอาหารของสัตว์ทำให้เกิดการแย่งชิงวิวาททำร้ายและเข่นฆ่ากัน ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปตามสัญชาตญาณนั้นอีก มนุษย์ก็มีสัญชาตญาณเช่นเดียวกันนี้ แต่ว่ามีการปกปิดซุกซ่อนกลบเกลื่อนและละมุนละไมกว่าสัตว์ จึงทำให้เห็นสัญชาตญาณนี้ได้ยากสักหน่อย ทั้ง ๆ ที่ความจริงก็เป็นอย่างเดียวกัน

    ความต้องการอาหารเป็นต้นตอของกิเลสคือความโลภอย่างหนึ่ง ความไม่พอใจที่ไม่ได้อาหารตามต้องการหรือถูกแย่งชิงไปเป็นต้นตอของกิเลสคือความโกรธอย่างหนึ่ง ความลุ่มหลงในรสชาติหรือคุณภาพของอาหารและความไม่รู้จักพอในเรื่องของอาหารก็เป็นต้นตอของกิเลสคือความหลงอีกอย่างหนึ่ง

    ความโลภ ความโกรธ ในเรื่องของอาหารดังกล่าวนี้จะมีเหมือนกันทั้งมนุษย์และสัตว์ แต่ความหลงในอาหารของมนุษย์จะมีมากกว่าสัตว์ เพราะโดยทั่วไปสัตว์หาอาหารอย่างไรก็กินอย่างนั้น หาได้เท่าใดก็กินเท่านั้น ยกเว้นก็แต่สัตว์บางชนิด เช่น ลิงหรือควายที่มักจะเก็บอาหารไว้ในปากหรือในกระเพาะพิเศษสำหรับเก็บไว้กินในเวลาถัดไป แต่นั่นก็เป็นแค่สัญชาติญาณที่ธรรมชาติประทานมาให้เท่านั้น

    ต่างกับมนุษย์ที่มีความโลภและความโกรธในเรื่องอาหารมากกว่าสัตว์และมีความลุ่มหลงในเรื่องอาหารมากกว่าสัตว์ ดังนั้นมนุษย์จึงพยายามปรุงแต่งอาหารเพื่อสนองความอยากตามความหลงของตน จนเกิดกลายเป็นอาหารพิสดารมากหลาย และปรุงแต่งด้วยรสชาติพิสดารมากหลาย จนกระทั่งกลายเป็นพิษเป็นภัยแก่ชีวิตมนุษย์เอง

    ดังนั้นอาหารจึงเป็นต้นตออย่างหนึ่งของกิเลส เป็นต้นตอพื้นฐานที่สุดของชีวิต คือเป็นต้นตอที่สำคัญของความโลภ ความโกรธและความหลง การจะกำจัดกิเลสก็ต้องกำจัดต้นตอของกิเลส ดังที่พระบรมศาสดาได้ตรัสสอนว่าธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุ เมื่อจะดับผลใดก็ต้องดับเหตุนั้นเสียก่อน นั่นคือเมื่ออาหารเป็นต้นตอหรือต้นเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของกิเลสคือโลภ โกรธ หลง แล้ว หากกำจัดต้นตอนี้เสียได้ ความโลภ โกรธ หลง อันเป็นกิเลสหนักก็จะบรรเทาเบาบางกระทั่งสิ้นสูญไป

    การกำจัดต้นตอของกิเลสที่เนื่องมาจากอาหารก็คือการเห็นความจริงตามความเป็นจริง เห็นถึงมายาภาพของอาหารที่เป็นต้นตอให้เกิดความโกรธ ความโลภ ความหลงนั้นตามความเป็นจริง

    ต้องไม่ลืมว่ากัมมัฏฐานวิธีนี้มีสองกระบวนการในการทำหน้าที่ของจิต คือ การทรงจำกำหนดหมายในความเป็นไปของอาหารอย่างหนึ่ง และการพิจารณาเห็นความเป็นจริงของอาหารว่าเป็นสิ่งน่าเกลียด เป็นสิ่งปฏิกูลอีกอย่างหนึ่ง แต่ไม่ใช่แยกทำแยกส่วนแยกอย่างๆ ไป หากกระบวนการในการทรงจำกำหนดหมายและในการพิจารณานั้นจะเกิดขึ้นควบคู่และพร้อมเพรียงกันไป

    เพราะทรงจำกำหนดหมายได้แม่นยำ การพิจารณาเห็นความน่าเกลียดในอาหารก็จะมีความชัดเจนและทำให้สติมีความตั้งมั่น เพราะสติตั้งมั่นพิจารณาแน่วแน่ ก็ย่อมสามารถทรงจำกำหนดหมายได้มั่นคง ทั้งสองส่วนนี้จึงเหมือนกับเกลียวเชือกสองเส้นที่ร้อยรัดเป็นเส้นเดียวกัน ทำนองเดียวกับอริยมรรคอันมีองค์แปดฉันใดก็ฉันนั้น

    จะทรงจำกำหนดหมายและพิจารณาอย่างไรจึงจะเห็นความจริงตามความเป็นจริงว่าอาหารนั้นมีความน่าเกลียดและเป็นปฏิกูลเล่า?

    การเตรียมตัว เตรียมกาย เตรียมใจ ในการฝึกฝนอบรมกัมมัฏฐานวิธีนี้ก็เหมือนกับการเตรียมตัว เตรียมกาย เตรียมใจในการฝึกฝนปฏิบัติกัมมัฏฐานวิธีอื่น ๆ

    กายสงัด ใจสงบดีแล้ว ก็พิจารณาอาหารตั้งแต่อยู่ภายนอก ยังไม่ทันเข้าปาก มาจนถึงอาหารเข้าสู่ปาก แล้วผ่านล่วงลำคอสู่กระเพาะ ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ และออกทางทวารเบา ทวารหนักสู่ภายนอก พิจารณาสภาพเมื่อออกสู่ภายนอกอีกครั้งหนึ่ง รวมเป็นสามขั้นตอน

    กล่าวสั้น ๆ ก็คือพิจารณาอาหารตั้งแต่ก่อนกินเข้าปากขั้นตอนหนึ่ง พิจารณาอาหารตั้งแต่ผ่านริมฝีปากไปจนถึงหยุดอยู่ที่ปลายทวารหนักขั้นตอนหนึ่ง และพิจารณานับแต่ออกจากปากทวารเบา ทวารหนักอีกขั้นตอนหนึ่ง พิจารณาตามความเป็นจริงก็จะเห็นความจริง

    เห็นความจริงอย่างไรในอาหาร?

    ในขั้นตอนแรก อาหารก่อนที่จะเข้าปากนั้นเดิมทีมาจากธรรมชาติหรือไม่ก็มนุษย์ปลูกสร้างขึ้น จากนั้นมนุษย์ก็นำมาปรุงแต่งเป็นอาหารให้มีรสชาติต่าง ๆ หลากหลายเพื่อสนองความอยากของตน ให้มีสีสันที่ตอบสนองต่อความอยากมากขึ้น และมากที่สุด ปรุงแต่งรสชาติให้สนองความอยากให้มากที่สุด จัดสรรภาชนะให้น่าดูน่ากินมากที่สุด ตบแต่งแสงสีให้รู้สึกอยากกิน น่ากินมากที่สุด จึงทำให้เกิดเป็นมายาว่าอาหารนั้นมีสีมีกลิ่นมีรสชาติและประกอบด้วยสีที่น่าชื่นชมพิสมัย น่าติดใจ มีความเอร็ดอร่อย ซึ่งเป็นไปเพื่อสนองความอยากและเพื่อให้ติดในความอยากนั้นต่อไป

    ท่านเจ้าคุณพุทธทาสเคยอบรมสั่งสอนศิษย์ว่า น้ำจิ้มถ้วยเล็ก ๆ นั่นแหละตัวดีนัก ถ้วยเล็ก ๆ นั้นนั่นแหละที่ทำให้เกิดการติดยึดและหลงในอาหารมากขึ้น

    นั่นเป็นภาพและความรู้สึกที่สัมผัสรู้เห็นจากภายนอกของอาหาร ในขณะที่ความจริงก็คืออาหารที่ยังไม่ได้ปรุงไม่ได้แต่งมีที่มาจากสิ่งสกปรกโสโครก มีเชื้อโรคแบคทีเรีย มีความสกปรกเจือปนคละเคล้าอยู่ เวลานำมาปรุงแต่งก็ผ่านความสกปรกโสโครกต่าง ๆ ทั้งวิธีการปรุงแต่ง ตัวผู้ปรุงแต่ง และสิ่งที่ปรุงแต่งเข้าไป สีก็ดี กลิ่นก็ดี รสก็ดีที่ผิดไปจากธรรมชาติล้วนมีพิษมีภัยเจือปนอยู่ตามมากตามน้อยด้วยกันทั้งสิ้น

    การพิจารณาขั้นตอนนี้ก็คือการพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงของอาหารโดยนัยยะที่กล่าว และเห็นถึงความจริงว่าทั้งหมดนั้นเป็นพิษแก่จิต คือก่อให้เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลง ความยึดมั่นถือมั่น ซึ่งเป็นพิษเป็นภัยแก่ความประเสริฐของมนุษย์และทำให้มนุษย์ห่างไกลจากความประเสริฐมากขึ้นโดยลำดับ

    ขั้นตอนนี้เอากันแค่เห็นความจริงเช่นนี้ก็จะรู้สึกฉงนสนเท่ในอาหาร ทำให้ได้สติยั้งคิดและตระหนักในเภทภัยของอาหารเป็นเบื้องต้น
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (55) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">7 กรกฎาคม 2548 19:39 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="5">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="262"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="262"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> การพิจารณาความเป็นปฏิกูลในอาหารในขั้นตอนแรกก็จะได้สติยั้งคิดว่าความเป็นไปในอาหารที่เคยคิดเคยหลงเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่น่ากิน มีสีงดงาม มีรสหอมกรุ่น มีความเอร็ดอร่อยนั้น มีความน่าเกลียด น่าขยะแขยง และทำให้เกิดความยั้งคิดได้ว่าที่เคยคิดเห็นมาแต่ก่อนนั้นอาจไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงเสียแล้ว จากนั้นก็พิจารณาความเป็นไปในอาหารต่อไป

    ขั้นตอนที่สอง เมื่ออาหารล่วงเข้าปากก็ต้องบดต้องเคี้ยว บางครั้งก็มีความเจ็บความปวด ทั้งฟัน ทั้งลิ้น ทั้งช่องปาก อาหารเมื่อบดเคี้ยวแล้วลองคายออกมาดูเถิดก็จะเห็นว่าความสวยสดงดงามน่าพิสมัยในรสชาติ สี กลิ่น และรูปลักษณะ ก่อนที่จะเข้าปากนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงแล้ว ความสวย ความงาม ความหอม ความน่ากินหมดสิ้นไป จะเห็นความน่าขยะแขยงทั้ง ๆ ที่เพิ่งล่วงเข้าปากไม่ทันนานเลย เมื่อคายออกมาเห็นเช่นนั้นแล้วก็แทบกลืนกินเข้าไปอีกไม่ได้ นี่คือความน่าเกลียดของอาหาร ที่ปรากฏความจริงให้เห็นในพลันที่ล่วงเข้าปากและผ่านการขบเคี้ยวแล้ว

    เมื่อผ่านช่องปากลงไปถึงลำคอแล้วลองขากออกมาดูเถิดก็จะเห็นความจริงอีกขั้นหนึ่งว่าสภาพของอาหารที่เพิ่งล่วงลำคอไปนั้นมีกลิ่นเหม็น มีรสเปรี้ยวเจือขม และมีความน่าสะอิดสะเอียน น่าปฏิกูลสักปานไหน เพียงเท่านี้ก็กลืนเข้าไปไม่ลงแล้ว

    และเมื่ออาหารล่วงลงสู่กระเพาะ หากอ้วกออกมาก็จะเห็นความจริงของอาหารอีกว่าเหมือนกับอ้วกของสุนัขที่อย่าว่าจะกลืนกินเข้าไปได้อีกเลย แม้แต่จับต้องหรือเข้าใกล้ก็ไม่อยากจับต้องหรือเข้าใกล้เลย เพราะมีกลิ่นโชยเหม็น น่ารังเกียจ น่าสะอิดสะเอียนอย่างยิ่ง

    เมื่ออาหารผ่านจากกระเพาะก็จะกระจัดกระจายย่อยสลายกลายเป็นเครื่องบำรุงเลี้ยงร่างกายส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งก็จะผ่านไปทางกระเพาะปัสสาวะบ้าง ทางลำไส้ใหญ่บ้าง

    ระหว่างทางเคลื่อนไหลของอาหาร บางครั้งก็รู้สึกเจ็บ รู้สึกปวด รู้สึกแน่น กระทั่งมีการเรอ มีการผายลม ซึ่งล้วนแต่เป็นรสชาติและกลิ่นที่น่ารังเกียจ น่าขยะแขยงทั้งสิ้น

    เพียงครึ่งทางของทางเดินของอาหารในร่างกายเท่านั้นก็จะเห็นความจริงในความเป็นปฏิกูลตามความเป็นจริงแล้วว่าสภาพที่แท้จริงของอาหารนั้นต่างจากที่เคยเห็นเคยรู้สึกก่อนที่จะกินเข้าปากอย่างสิ้นเชิง

    มายาภาพที่เคยปิดบังความเป็นจริงว่าอาหารนั้นน่ากิน มีกลิ่นหอม มีรสชาติละมุน มีสีสันที่สวยงาม ได้ถูกเปิดเผยออกมาว่าแท้จริงแล้วก็ไม่ต่างอันใดกับอุจจาระหรือความน่ารังเกียจของซากศพ

    หากอาหารที่ผ่านช่องปากเข้าไปแล้วไม่ย่อยไหลลงไปตามทางที่ควรจะไปก็จะเกิดความป่วยไข้เกิดขึ้น บ้างก็เกิดความร้อน บ้างก็เกิดความเย็น บ้างก็เกิดอาการกระอักกระอ่วน และถ้าหากไม่ลื่นไหลไปจริง ๆ แล้วก็อาจทำให้ถึงตายได้ แม้ขนาดอาหารน้อยนิดหากพลัดไปติดที่หลอดลมก็อาจทำให้ถึงตายได้ในพริบตา

    อาหารที่ถูกย่อยไปบำรุงเลี้ยงร่างกายก็เหมือนกัน หากมีพิษหรือผิดเพศก็จะเกิดการป่วยเจ็บและอาจถึงตายได้ ดังที่ปรากฏเป็นข่าวของการกินอาหารเป็นพิษแล้วเสียชีวิตอย่างไม่ควรเป็น

    อาหารส่วนที่เป็นของเหลวและกลายเป็นปัสสาวะเล่าก็เป็นสิ่งปฏิกูลที่แม้ถูกตัวถูกมือก็ต้องชำระล้าง ส่วนที่เป็นเศษกากก็จะไหลไปที่ลำไส้ใหญ่และไปออกที่ปลายทวารหนัก มีกลิ่นเหม็นน่ารังเกียจ น่าขยะแขยง ถูกต้องเข้าก็เหม็นติดไม้ติดมือจนต้องชำระล้างกันเป็นพัลวัน

    อาหารที่ออกไปทางปัสสาวะและอุจจาระ หากจะนำมาเปรียบเทียบอาหารก่อนที่จะเข้าปากก็จะเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงเป็นคนละเรื่องคนละราว จากความน่ากิน น่าพิสมัย กลายเป็นความน่ารังเกียจ น่าขยะแขยง เมื่อเห็นความจริงเช่นนั้นแล้วก็จะมีความรู้สึกเห็นอาหารเป็นสิ่งปฏิกูลตามความเป็นจริงของมัน มายาภาพของอาหารที่ทำให้เกิดความหลงติดยึดและเป็นต้นตอของกิเลสก็จะค่อย ๆ คลายจางลงไป

    ขั้นตอนที่สาม เมื่ออาหารออกทางทวารเบา ทวารหนักแล้วก็จะไม่เรียกว่าอาหารอีกแล้ว แต่จะเรียกว่าปัสสาวะ อุจจาระ หรือมูตร คูถไปโน่น มีความน่าเกลียด น่าขยะแขยงและเป็นสิ่งปฏิกูลที่ปรากฏโฉมให้เห็นอย่างชัดเจน คือมีความเป็นปฏิกูลทั้งกลิ่น ทั้งสี ทั้งรสชาติสัมผัส และไม่อาจปกปิดความน่าขยะแขยงน่าเกลียดนั้นได้อีกต่อไป

    เหมือนกับซากศพย่อมไม่อาจปกปิดมายาภาพของความเต่งตึงสวยสดงดงามและน่าทะนุถนอมใด ๆ เอาไว้ได้อีกนั่นเอง

    และยังเต็มไปด้วยพิษภัยและเชื้อโรคนานาประการ พอผ่านวันเวลาไม่ทันนานก็จะเน่าหนักมากขึ้น หากไม่มีสิ่งใดปิดบังก็จะมีแมลงวันไปไข่แล้วกลายเป็นหนอน แม้มีสิ่งปิดบังก็จะมีมดปลวกและหนอนทั้งหลายเข้าตอมไชกัดกิน มีสภาพไม่ต่างอันใดกับซากศพเลย

    เมื่อกำหนดหมายและพิจารณาอาหารทั้งสามขั้นตอนโดยบริบูรณ์แล้วก็จะเห็นความเป็นจริงของอาหารตามความเป็นจริงว่าแท้จริงแล้วเป็นสิ่งปฏิกูล เป็นสิ่งน่ารังเกียจ น่าขยะแขยง รูปลักษณะ สี กลิ่น และรสชาติที่เคยเห็น เคยเข้าใจว่าน่าดม น่าดู น่ากินนั้นล้วนแต่เป็นมายาภาพที่ถูกการปรุงแต่งปกปิดหลอกลวงเท่านั้น

    ความตื่นเห็นความเป็นจริงตามความเป็นจริงก็จะเกิดขึ้นและมีความแจ่มชัดขึ้นโดยลำดับ นี่คือกระบวนการขั้นตอนและลักษณะของการเห็นความเป็นจริงในอาหาร ที่เริ่มตั้งแต่เห็นถึงความน่าดู น่าดม น่ากิน ไปจนถึงเห็นความเป็นปฏิกูล ความน่ารังเกียจ น่าขยะแขยงของอาหาร

    การพิจารณาเห็นความปฏิกูลของอาหารก็คือการพิจารณาเห็นความจริงตามความเป็นจริงดังว่านี้

    นั่นเป็นเรื่องของการพิจารณา ซึ่งปัญญาจะเจริญงอกงามตามลำดับของการเห็นความจริงตามความเป็นจริง ว่าไปแล้วกัมมัฏฐานวิธีนี้ก็คือกัมมัฏฐานวิธีที่บ่มเพาะปัญญา เจริญปัญญา อยู่เป็นอันมาก แม้ว่าจะเป็นการดำเนินในวิถีแห่งเจโตวิมุตติก็ตาม

    เมื่อได้พรรณนาถึงกระบวนการขั้นตอนในการพิจารณาการเห็นความจริงตามความเป็นจริงในอาหารว่ามีความปฏิกูลดังนี้แล้ว ลำดับนี้ไปจะได้พรรณนาถึงภาวะแห่งจิตที่เปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่เริ่มการพิจารณาขั้นตอนแรกไปจนถึงขั้นตอนสุดท้าย

    ภาวะของจิตในช่วงตอนต้นของการฝึกฝนอบรมยังคงกลุ้มรุมด้วยอุปกิเลสคือนิวรณ์ห้า ตลอดจนมายาภาพต่างๆ ของจิตที่เป็นไปตามธรรมดา ธรรมชาติ แต่ครั้นกายสงัด จิตสงบ มีความตั้งมั่น มีความบริสุทธิ์ และควรแก่การงานในหน้าที่ของจิตบ้างแล้ว จิตก็จะมีความแน่วแน่มั่นคงในการทรงจำกำหนดหมายและในการพิจารณาเพิ่มขึ้นโดยลำดับไป

    ความรับรู้ของจิตเมื่อผ่านการฝึกฝนอบรมไปโดยลำดับแล้ว ก็จะผ่านขั้นการเห็นด้วยตา ความรู้ที่ได้ศึกษาและความเข้าใจที่เกิดขึ้นโดยลำดับ จะเปลี่ยนแปรไปเป็นการเห็นความจริงด้วยปัญญาเป็นลำดับไปคือ ตั้งแต่ขั้นตอนก่อนเข้าปาก ขั้นตอนการย่อย และขั้นตอนที่กากเศษอาหารออกทางทวารเบา ทางทวารหนักไปแล้ว ซึ่งเป็นการเห็นด้วยปัญญาตามความเป็นจริง

    เมื่อเห็นความเป็นจริงเช่นนั้นแล้วจิตก็จะมีความตั้งมั่นแน่วแน่แน่นิ่งเป็นสมาธิ เคลื่อนตัวอยู่ระหว่างขนิกกะสมาธิคือเป็นสมาธิเป็นขณะ ๆ กระทั่งเป็นสมาธิที่ต่อเนื่องหรืออุปจารสมาธิ

    ภาวะของจิตก็จะพัฒนารุดหน้าต่อไปอีก คือเมื่อเห็นความจริงในความเป็นปฏิกูลของอาหารแล้ว ความเบื่อหน่ายก็จะเกิดขึ้น ความติดยึดก็จะค่อย ๆ คลายจางลง จิตก็จะมีความผ่องใสในภายในมากขึ้น

    ก็จะเห็นความจริงในความเป็นปฏิกูลนั้นแจ่มชัดยิ่งขึ้นไปอีก ความเบื่อหน่ายคลายวางก็จะหนักแน่นขึ้น ในภาวะเช่นนั้นนิวรณ์ห้าได้แก่กามฉันทะ พยาบาท ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่แห้งเหี่ยว หรือความลังเลสงสัยก็จะคลายจางออกไปโดยลำดับ ๆ

    จิตที่พิจารณาเห็นความจริงตามความเป็นจริงในความเป็นปฏิกูลของอาหารจนเบื่อหน่ายจางคลายและทำลายนิวรณ์ไปโดยลำดับแล้วนั้นก็จะยิ่งมีความผ่องใสมากขึ้น แน่วแน่มากขึ้น บริสุทธิ์มากขึ้น เป็นอิสระมากขึ้น และมีกำลังมากขึ้น

    ความผ่องใสในภายในของจิตจะทำให้อารมณ์ของจิตเป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่ามีอารมณ์เป็นเอกคตารมณ์ มีวิตก วิจาร เกิดขึ้น

    องค์ทั้งสามเกิดขึ้นแน่นหนาขึ้นแล้ว ความรู้สึกปิติและความสุขที่เกิดแต่วิเวกก็จะเกิดขึ้น เรียกได้ว่าองค์ห้าแห่งปฐมฌานได้ก่อตัวขึ้นอย่างบางเบาแล้ว นั่นก็คือการถึงที่หมายปลายทางเบื้องต้นของการฝึกฝนอบรมแบบอาหาเรปฏิกูลสัญญา

    ลองปฏิบัติดูเถิดก็จะพบความจริงด้วยตนเองว่าการฝึกฝนอบรมแบบอาหาเรปฏิกูลสัญญานี้ภาวะของจิตจะพัฒนาไปโดยลำดับ โดยที่จะไม่เกิดอุคหนิมิตหรือปฏิภาคนิมิตใด ๆ ขึ้น แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นเช่นนั้นเสมอไป

    ในการปฏิบัติของบางบุคคลปรากฏว่าในขณะที่พิจารณาถึงอาหารที่ย่อยถึงกระเพาะ กลับปรากฏนิมิตเห็นอาหารนั้นเด่นชัดขึ้นว่าเป็นกลุ่มเป็นก้อน มีลักษณะต่างๆ กัน ซึ่งปรากฏการณ์เช่นนี้ก็มีได้ เกิดได้ หรือแม้เมื่ออาหารไหลไปรวมอยู่ที่ลำไส้ใหญ่หรือกลายเป็นอุจจาระแล้วก็เห็นเป็นนิมิตเช่นนั้นขึ้นก็เกิดได้เป็นได้อีก

    แล้วจะทำอย่างไร? ย่อมปฏิบัติได้เป็นสองทาง สุดแท้แต่จะชอบพอเลือกปฏิบัติไปในทางไหนที่จะเห็นประโยชน์และได้รับประโยชน์ที่ประจักษ์ชัดกว่ากันก็พึงเลือกเอาวิธีนั้นเถิด

    การปฏิบัติสองวิธีที่อาจต้องกำหนดเลือกในขั้นนี้ได้แก่

    วิธีแรก หากมีอัชฌาสัยชอบพอหรือมีความปิติและสุขเกิดแต่นิมิตที่ปรากฏนั้นก็พึงกระทำอุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตต่อไป ก็ย่อมจัดได้ว่าเป็นกัมมัฏฐานวิธีอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งโน้มไปทางกสิณวิธีนั่นเอง ถ้าหากเลือกปฏิบัติในวิถีทางนี้ก็พึงกระทำอุคหนิมิต กระทำปฏิภาคนิมิต แล้วก่อองค์แห่งปฐมฌานให้เกิดขึ้นก็จะไปถึงที่หมายปลายทางได้โดยสวัสดีเหมือนกัน

    วิธีที่สอง หากมีอัชฌาสัยชอบพอไปในทางการพิจารณาเห็นถึงความเป็นปฏิกูลในอาหารตั้งแต่เดิมที่เริ่มฝึกฝนแบบอาหาเรปฏิกูลสัญญา และมีความเชื่อมั่นในใจว่ามีอัชฌาสัยชอบพอและจะได้ผลจากการปฏิบัติแบบอาหาเรปฏิกูลสัญญามากกว่าแล้ว ก็พึงกำหนดรู้ว่านิมิตที่บังเกิดขึ้นนั้นเป็นอุปสรรคที่ขวางกั้นการฝึกฝนอบรมมิให้ก้าวรุดหน้าต่อไป แม้กระทั่งพิจารณาให้เห็นว่านั่นก็เป็นมายาภาพอย่างหนึ่ง

    จากนั้นก็พึงกำหนดรู้มายาภาพนั้นแล้วพิจารณาต่อไปตามกระบวนการขั้นตอนดังได้พรรณนามาแล้ว จิตก็จะข้ามพ้นจากความติดยึดในนิมิตที่ปรากฏนั้น แล้วก้าวรุดหน้าต่อไป เห็นถึงความเป็นปฏิกูลในอาหารเป็นลำดับ ๆ ไป

    ดังนี้อุปสรรคที่มีนิมิตเช่นนั้นมาขัดขวางก็จะสิ้นสลายไป การฝึกฝนอบรมปฏิบัติโดยวิธีอาหาเรปฏิกูลสัญญาก็จะก้าวหน้าต่อไป จนกระทั่งองค์ห้าแห่งปฐมฌานได้ก่อเกิดขึ้น

    ผู้ฝึกฝนปฏิบัติที่เห็นความจริงตามความเป็นจริงแห่งอาหารนั้นแล้ว นอกจากจะมีความเจริญก้าวหน้าในธรรม ยังก่อให้เกิดสภาพที่พระบรมศาสดาทรงตรัสย้ำสอนว่าเป็นคนเลี้ยงง่าย ไม่มีปัญหาเรื่องการกินอีกต่อไป และในการกินอาหารทุกครั้งก็สามารถเจริญปัญญาว่าการกินนั้นเป็นไปเพื่อยังชีวิตนี้ให้ดำรงอยู่และดำเนินไปเท่านั้น ทำให้การยึดมั่นถือมั่นในตัวตนค่อย ๆ หมดไปโดยลำดับ ดำเนินอยู่ในพระไตรลักษณ์เป็นปกตินั่นเอง
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (56) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">15 กรกฎาคม 2548 14:39 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="5">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="370"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="370"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ลำดับนี้จักได้แสดงจตุธาตุววัตถานต่อไปเป็นลำดับที่ 32 แห่งกัมมัฏฐานวิธี ซึ่งทรงบัญญัติไว้เป็นแม่บทแม่แบบสำหรับฝึกฝนอบรมจิต เพื่อถึงซึ่งโลกภายในโดยหนทางเจโตวิมุต

    จตุธาตุววัตถานหมายถึงการกำหนดพิจารณาให้เห็นกายนี้ว่าเป็นเพียงการประกอบขึ้นของธาตุสี่คือดิน น้ำ ไฟ ลม และหมายถึงการพิจารณาสรรพสิ่งนอกกายนี้ว่าเป็นเช่นเดียวกัน คือประกอบขึ้นจากธาตุสี่ ได้แก่ดิน น้ำ ไฟ ลม เหมือนกัน

    เหตุที่แสดงเรื่องจตุธาตุววัตถานเป็นลำดับถัดจากอาหาเรปฏิกูลสัญญาก็เพราะว่ากัมมัฏฐานวิธีนี้ยังนับเนื่องเป็นเรื่องของกาย ดังที่พระบรมศาสดาทรงตรัสไว้ในกายคตาสติสูตรว่า “ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้แลตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ดำรงอยู่โดยธาตุว่ามีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม … ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ”

    ในสติปัฏฐานสูตรก็ทรงย้ำว่าจตุธาตุววัตถานเป็นกัมมัฏฐานวิธีที่ยังนับเนื่องเป็นเรื่องของกาย ดังที่ทรงตรัสว่า “อีกประการหนึ่งภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ตั้งอยู่ตามปกติ โดยความเป็นธาตุว่ามีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม … ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง … แม้อย่างนี้ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่”

    การที่แสดงเรื่องจตุธาตุววัตถานเป็นลำดับถัดจากอาหาเรปฏิกูลสัญญาก่อนที่จะแสดงกัมมัฏฐานวิธีจำพวกอัปปมัญญาซึ่งเป็นเรื่องของนามธรรม จึงเป็นประโยชน์เกื้อกูลต่อความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรมนั้นได้ดีกว่าที่จะแสดงเรื่องอัปปมัญญาเสียก่อน

    ธาตุทั้งสี่นั้นมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่ามหาภูต ซึ่งแปลว่าปีศาจตัวใหญ่หรือผีตัวใหญ่ หรืออาจกล่าวได้อีกว่ามหาภูตคือจอมหลอกลวงตัวใหญ่ทั้งสี่

    เหตุที่ธาตุทั้งสี่ได้ชื่อว่าเป็นมหาภูตหรือเป็นจอมหลอกลวงตัวใหญ่ทั้งสี่ก็เพราะว่าเป็นแหล่งหรือที่ตั้งหรือเป็นจอมแห่งการแสดงมายาให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริงว่าสิ่งที่รู้เห็นสัมผัสลิ้มชิมรสนั้นช่างสวยหรูดูงดงาม มีกลิ่นอันชวนชื่นชม มีรสชาติอันเอร็ดอร่อย มีสัมผัสที่ละมุนละไมเหล่านี้เป็นต้น ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงแล้วสิ่งที่ปรากฏนั้นเป็นเพียงมายาภาพ เป็นเพียงสิ่งหลอกลวง ทำให้เกิดการหลงใหล สำคัญผิด และติดยึดเท่านั้น

    คนเราหลงผิดในร่างกายนี้ว่าเป็นตัวตนของตน ว่ามีความสวยความงาม ว่ามีความนุ่มความนวล ว่ามีสีสันที่สวยสด กระทั่งเห็นเป็นรูปโฉมที่หล่อเหลาหรือโฉมสะคราญ มีสีผิวที่น่าชวนพิสมัย ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วล้วนเป็นสิ่งสมมติ ล้วนเป็นมายาภาพที่ปกปิดความจริงเอาไว้อย่างแยบยล คือปกปิดสภาพที่แท้จริงที่ประกอบขึ้นจากธาตุทั้งสี่คือดิน น้ำ ลม ไฟ นั่นเอง

    เพราะมายาภาพทำให้หลงใหลและสำคัญผิดเช่นนั้นจึงทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น เกิดความห่วงหวงแหน เกิดความทะนุถนอมปกป้องและหวงกัน จัดเป็นต้นตอของกิเลส ไม่ว่าจำพวกโลภ โกรธ หรือหลงก็ตาม เป็นต้นตอที่ทำให้อุปกิเลสคือนิวรณ์ทั้งห้าคละคลุ้งปลิวว่อนรบกวนจิตใจจนไร้ความสงบ ขุ่นมัว ไม่สามารถเห็นความจริงตามความเป็นจริงได้

    ด้วยเหตุนี้ธาตุทั้งสี่คือดิน น้ำ ไฟ ลม จึงได้ชื่อว่าเป็นมหาภูต คือผีปีศาจตัวใหญ่หรือนักหลอกลวงจอมหลอกลวงตัวใหญ่ ที่หลอกลวงสร้างมายาภาพให้คนหลงใหลสำคัญผิด และสิ่งที่สร้างขึ้นนั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นมหาภูตรูป คือรูปที่สร้างขึ้นโดยมหาภูต หรือเป็นรูปของมหาภูต หรือเป็นรูปของจอมหลอกลวงที่ปิดบังความจริงไว้จนยากที่จะรู้เห็นสัมผัสความจริงนั้นได้

    ยิ่งหลงใหลติดยึดในมายาภาพเท่าใด ความโลภ โกรธ หลงก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น พายุของอุปกิเลสคือกามฉันทะ ความพยาบาท ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่ห่อเหี่ยวและความลังเลสงสัยก็ยิ่งครอบงำความคิดจิตใจจนไม่มีวันสงบสุข และไม่มีวันเข้าถึงโลกภายในได้เลย

    พระบรมศาสดาทรงบัญญัติกัมมัฏฐานวิธีประเภทจตุธาตุววัตถานก็เพื่อให้เข้าใจและเห็นจริงตามความเป็นจริงว่ามหาภูตรูปที่หลงใหลติดยึดและสำคัญผิดนั้นแท้จริงเป็นเพียงสิ่งประกอบขึ้นจากมหาภูต คือดิน น้ำ ไฟ ลม เท่านั้น เช่นภาพที่เห็นเป็นสตรีโฉมสะคราญนั้น แท้จริงแล้วก็คือการประกอบเข้ากันของดิน น้ำ ไฟ ลม ที่ไม่ใช่ตัวตนอันควรแก่การยึดมั่นถือมั่นแต่ประการใดเลย มายาภาพที่เห็นนั้นจึงไม่ต่างอันใดกับยักษ์มารที่น่าเกลียดน่ากลัว

    ที่ว่าเป็นยักษ์มารที่น่าเกลียดน่ากลัวก็เพราะว่าเป็นต้นตอของกิเลสคือโลภ โกรธ หลง เป็นต้นตอของความติดยึดความยึดมั่นถือมั่นทั้งปวง

    ที่หมายปลายทางของการฝึกฝนอบรมแบบจตุธาตุววัตถานก็คือการเห็นความจริงตามความเป็นจริงว่ากายนี้หรือมหาภูตรูปนี้เป็นเพียงส่วนที่ประกอบขึ้นจากดิน น้ำ ไฟ ลม มหาภูตรูป หรือรูปที่เห็นใด ๆ นั้นล้วนแต่เป็นมายาภาพหรือภาพลวงที่ดิน น้ำ ไฟ ลม แสดงกลให้เห็นนั่นเอง

    ดังนั้นกัมมัฏฐานวิธีนี้จึงเจือปนด้วยปัญญา โน้มใกล้เข้าไปทางปัญญาวิมุต แต่ท่านยังคงจัดไว้เป็นจำพวกเจโตวิมุตก็เพราะว่ายังคงมุ่งเน้นการฝึกฝนอบรมเพื่อเพิ่มพูนความเข้มแข็งของกำลังจิต โดยกัมมัฏฐานวิธีนี้จะมีปัญญาเจริญงอกงามขึ้นตามไปด้วยตั้งแต่ต้น

    นั่นคือปัญญาเจริญงอกงามเห็นความจริงตามความเป็นจริงเป็นลำดับไป ตามความแกร่งกล้าของกำลังจิตว่ากายนี้เป็นส่วนประกอบขึ้นของมหาภูตคือดิน น้ำ ไฟ ลม เท่านั้น

    นี่คือสิ่งที่แตกต่างกันอยู่บ้างระหว่างกัมมัฏฐานวิธีประเภทจตุธาตุววัตถานกับกัมมัฏฐานวิธีแบบกสิณหรืออสุภสัญญาหรืออนุสติ และค่อนข้างจะใกล้เคียงกับกัมมัฏฐานวิธีประเภทอาหาเรปฏิกูลสัญญา ซึ่งทำให้เจริญปัญญาไปในทำนองเดียวกัน

    กัมมัฏฐานวิธีประเภทอาหาเรปฏิกูลสัญญามีอานิสงส์ที่เกื้อกูลต่อการเห็นพระไตรลักษณ์คือการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป นั่นคือเห็นถึงความไม่เที่ยงได้ง่าย ในขณะที่กัมมัฏฐานวิธีประเภทจตุธาตุววัตถานนั้นมีอานิสงส์ที่เกื้อกูลต่อการเห็นความว่างหรือสุญตาว่าแท้จริงแล้วสรรพสิ่งนั้นไม่ใช่ตัวตน เป็นสิ่งสมมติ เป็นความว่างเปล่า

    ดังนั้นการฝึกฝนอบรมกัมมัฏฐานวิธีประเภทจตุธาตุววัตถานซึ่งถึงแม้จะนับเนื่องอยู่ในเรื่องจำพวกกาย แต่ก็มีอานิสงส์ที่ล้ำเลิศมาก เพราะทำให้เกิดปัญญาเห็นความเป็นสุญตาได้ตลอดเวลาในกระบวนการฝึกฝนอบรมนั้น

    ในเบื้องต้นของการฝึกฝนอบรมกัมมัฏฐานวิธีนี้จำต้องทำความรู้ทำความเข้าใจก่อนว่าธาตุดินหรือปฐวีธาตุ ธาตุน้ำหรืออาโปธาตุ ธาตุไฟหรือเตโชธาตุ ธาตุลมหรือวาโยธาตุนั้นเป็นอย่างไร และส่วนต่าง ๆ ของกายนี้จัดเป็นธาตุจำพวกใด

    หากจะกล่าวในเชิงปริยัติย่อมพิสดารยิ่งนักจนยากจะจดจำ แต่ถึงกระนั้นหากมีเวลาเหลือเพียงพอก็น่าที่จะศึกษาและทำความเข้าใจ เพราะอย่างน้อยก็จะได้รู้ได้เห็นถึงพระสัพพัญญูญาณและความเป็นโลกวิทูของสมเด็จพระบรมศาสดา ซึ่งย่อมเจริญและเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาที่จะทำให้ความเพียรเพิ่มพูนขึ้น ทั้งยังมีอานิสงส์ต่อการทำความเข้าใจหรืออรรถาธิบายให้คนอื่นได้เข้าใจโดยพิสดารอีกด้วย

    ท่านผู้ใดสนใจก็ใฝ่ศึกษาเอาได้ตามใจชอบ แต่ในที่นี้จักขอลัดข้ามส่วนพิสดาร เอาแต่เพียงพอสังเขป เพื่อไม่ให้เสียเวลาและเนื้อที่มากเกินไป โดยจักพรรณนาแต่เพียงสังเขปเพื่อประโยชน์ในการฝึกฝนปฏิบัติเท่านั้นว่าอะไรคือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม

    วิธีที่จะรู้และเข้าใจได้โดยง่ายโดยไม่ต้องจดจำมากนักว่าอะไรเป็นธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ก็คือสิ่งใดหรือส่วนใดของร่างกายที่มีลักษณะแข็ง สิ่งนั้นพึงอนุโลมว่าเป็นธาตุดิน สิ่งใดหรือส่วนใดของร่างกายที่มีลักษณะเหลว สิ่งนั้นพึงอนุโลมว่าเป็นธาตุน้ำ สิ่งใดหรือส่วนใดของร่างกายที่มีลักษณะอุ่นร้อน สิ่งนั้นพึงอนุโลมว่าเป็นธาตุไฟ สิ่งใดหรือส่วนใดของร่างกายที่มีลักษณะไร้รูปไร้ร่าง มีลักษณะเป็นความว่าง เคลื่อนไหวจากบนลงล่าง จากล่างขึ้นบน จากขวาไปซ้าย จากซ้ายไปขวา สิ่งนั้นพึงอนุโลมว่าเป็นธาตุลม

    ถ้าใช้วิธีการดังกล่าวนี้ก็ไม่ต้องเสียเวลาท่องจำว่าธาตุแต่ละอย่างมีอะไรบ้าง ซึ่งจะบรรเทาเบาบางภาระในการทรงจำไปได้มาก จากนั้นก็ใช้วิธีการดังกล่าวในการพิจารณาว่าสิ่งใดหรือส่วนใดของร่างกายเป็นธาตุใด

    เนื่องเพราะจตุธาตุววัตถานนี้ก็เป็นกัมมัฏฐานวิธีในการฝึกฝนอบรมจิตวิธีหนึ่ง ดังนั้นการเตรียมสถานที่ เตรียมตัว เตรียมใจ ในการฝึกฝนปฏิบัติจึงต้องใช้วิธีการทั่วไปดังได้แสดงมาโดยลำดับแล้ว

    ในการฝึกฝนปฏิบัติก็คือการฝึกฝนพิจารณาทำความรู้จักมหาภูตตามความเป็นจริงของมันเพื่อขจัดการหลอกลวงหลงใหลหรือติดยึดในมหาภูตรูป และเมื่อเห็นตามความเป็นจริงแล้วจิตก็จะมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว มีวิตก มีวิจาร ปีติและสุขก่อขึ้นอย่างบางเบาอันเป็นการก่อตัวขององค์ห้าแห่งปฐมฌาน

    โดยมีอานิสงส์สำหรับกัมมัฏฐานวิธีนี้โดยเฉพาะคือการจางคลายความยึดมั่นถือมั่น การเห็นความจริงตามความเป็นจริงว่าสรรพสิ่งไม่ใช่ตัวตน จึงมีผลที่ทำให้ใกล้ชิดต่อพระไตรลักษณ์และสุญตามาก

    ในการฝึกฝนอบรมจิตโดยกัมมัฏฐานวิธีนี้ก็คือการพิจารณากายนี้ให้เห็นเป็นส่วน ๆ ตามความเป็นจริง ว่านั่นเป็นธาตุดิน นั่นเป็นเพียงธาตุน้ำ นั่นเป็นเพียงธาตุไฟ นั่นเป็นเพียงธาตุลม รูปที่เห็นว่าเป็นผิวเนื้อผิวหนังที่สวยงามก็ดี ดวงตาที่สดใสเจิดจ้าเป็นประกายน่ารักก็ดี จมูกโด่งคมสันก็ดี ใบหน้ารูปไข่หรือทรวดทรงองค์เอวที่น่ารักน่าใคร่ก็ดี เป็นมายาภาพเท่านั้น

    สิ่งหรือส่วนที่มีลักษณะแข็ง ถึงที่สุดแล้วก็เป็นธาตุดิน สิ่งหรือส่วนที่มีลักษณะเหลว ถึงที่สุดแล้วก็คือธาตุน้ำ สิ่งหรือส่วนที่มีลักษณะอุ่นร้อน ถึงที่สุดแล้วก็คือธาตุไฟ สิ่งหรือส่วนที่มีลักษณะพัดโบกขึ้นไปมาไร้รูปร่าง ถึงที่สุดแล้วก็คือธาตุลม

    ต้องเป็นการเห็นจริง ๆ ด้วยปัญญา ไม่ใช่ด้วยความจำหรือความเข้าใจหรือเหตุผลทางตรรกวิทยาว่าส่วนนั้นส่วนนี้เป็นธาตุใด

    มีตัวอย่างหนึ่งที่เป็นอุทาหรณ์สอนใจว่าเห็นความเป็นธาตุจริงแท้หรือไม่จริงแท้ นั่นคือตัวอย่างของพระฤาษีองค์หนึ่งที่อวดอ้างว่าบรรลุมรรคผลนิพพานแล้ว ต่อมามีเทพจำแลงรูปหนึ่งต้องการพิสูจน์ความจริง จึงแปลงตัวเป็นสตรีที่มีรูปโฉมสวยสะคราญในอาภรณ์ที่เปลือยเปล่าท่อนบน เดินไปหาพระฤาษีที่บำเพ็ญภาวนาอยู่นั้น

    พระฤาษีเห็นสตรีจำแลงแล้วเบือนหน้าหนี ซึ่งถ้าหากพิจารณาแต่ผิวเผินก็อาจเข้าใจได้ว่าพระฤาษีละวางความรักความใคร่ ไม่สนใจแล้ว แต่ความจริงก็ปรากฏตามคำของสตรีจำแลงนั้นที่ต่อว่าพระฤาษีว่าท่านเป็นนักหลอกลวง ท่านยังไม่หมดกิเลส ท่านยังเห็นรูปเป็นรูป ติดยึดมั่นในรูป และกลัวรูปอยู่ ฤาษีนั้นจึงได้คิด และเข้าใจความจริงโดยคำต่อว่าของสตรีจำแลงนั้น

    หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง พระอาจารย์สอนกัมมัฏฐานแก่ศิษย์ในจตุธาตุววัตถานนี้ วันหนึ่งก็เห็นเหยี่ยวเฉี่ยวลูกกระต่ายขึ้นไปในอากาศ พระอาจารย์จึงถามศิษย์ว่าได้เห็นอะไรบ้าง ศิษย์ตอบว่าเห็นกระดูกของนกติดอยู่กับกระดูกของกระต่าย

    ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่เป็นขั้นต้นเท่านั้น คำตอบของศิษย์ก็คือได้เห็นความเป็นจริงตามความเป็นจริงแล้วว่าสิ่งที่เห็นเป็นเหยี่ยวก็ดี เป็นกระต่ายก็ดี เป็นเพียงมายาภาพ แท้จริงแล้วก็คือกระดูกซึ่งเป็นธาตุดิน 2 กลุ่มเท่านั้น แต่ที่ว่ายังเป็นขั้นต้นก็เพราะว่าเห็นแต่ความเป็นธาตุ ยังไม่เห็นถึงความเป็นสุญตา และยังไม่ถึงขั้นการละวางความยึดมั่นถือมั่น

    กัมมัฏฐานวิธีจำพวกจตุธาตุววัตถานนี้จะต้องฝึกฝนอบรมจิตจนเห็นความจริงตามความเป็นจริงว่าสรรพสิ่งล้วนประกอบขึ้นจากธาตุทั้งสี่ ไม่เห็นสิ่งอื่นใดว่าสวยว่างามว่าเป็นตัวตน เป็นของตน เห็นแต่ความเป็นธาตุเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะเห็นมายาของมหาภูต เห็นมหาภูตรูปว่าเป็นการแสดงการหลอกลวงอย่างหนึ่งของมหาภูตคือธาตุทั้งสี่เท่านั้น จิตก็จะก้าวไปสู่ทิศทางแห่งการหลุดพ้นโดยลำดับไป

    ภาวะของจิตอันเป็นเป้าหมายเบื้องต้นของการฝึกฝนอบรมกัมมัฏฐานวิธีนี้คือการก่อตัวขององค์ห้าแห่งปฐมฌานที่จะเกิดขึ้นอย่างชัดเจนโดยลำดับ ภายหลังการเห็นความจริงตามความเป็นจริงของมายาภาพแห่งมหาภูตแล้ว

    *********

    กราบท่านผู้อ่านที่เคารพ,

    สัปดาห์นี้เป็นเทศกาลสำคัญของชาวพุทธ คือวันอาสาฬหบูชา ซึ่งเป็นวันของพระธรรม หรือวันของพระรัตนตรัย สิริอัญญาผู้มีปัญญาอันน้อยรำลึกถึงพระคุณของท่านผู้อุปการคุณมิได้ขาด ดังนั้นในเทศกาลนี้จึงคิดอ่านทำของกำนัลมาบรรณาการท่านทั้งปวง โดยได้จัดทำผังของการศึกษาปฏิบัติเพื่อถึงซึ่งความมหัศจรรย์แห่งโลกภายในดังที่แนบมาข้างท้ายนี้แล้ว ซึ่งหวังว่าจักเป็นประโยชน์แก่เพื่อนชาวพุทธและเพื่อนร่วมทุกข์เกิดแก่เจ็บตายทั้งปวง ที่มีความสนใจใฝ่หาความรู้ในสิ่งที่พระบรมศาสดาได้ค้นพบมาแล้ว ได้ปฏิบัติให้เห็นผลประจักษ์มาแล้ว
    พระตถาคตเจ้าได้ตรัสสอนมากหลายตลอดโพธิกาล ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องข้อห้าม ข้อปฏิบัติของพุทธบริษัท ส่วนสำคัญที่สุดคือพระธรรมคำสอนที่จะนำทางชีวิตให้ถึงซึ่งความประเสริฐในระดับต่าง ๆ กัน ตั้งแต่ระดับทาน บุญ ศีล โดยเฉพาะคือส่วนที่เป็นเนื้อตัว คือหนทางปฏิบัติเพื่อถึงซึ่งวิมุตตะมิติ ถึงซึ่งวิชชาและวิมุต ซึ่งมีอยู่สามหนทาง
    ขอท่านทั้งปวงจงรับเอาประโยชน์แห่งของบรรณาการนี้เพื่อประโยชน์และความสุขและเพื่อถึงซึ่งพระนิพพานในอนาคตกาลทั่วกันเทอญ.


    สิริอัญญา
    15 กรกฎาคม 2548

    [​IMG]
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (57) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">21 กรกฎาคม 2548 18:58 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="5">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="333"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="333"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ลำดับนี้จะได้พรรณนากัมมัฏฐานวิธีจำพวกอัปมัญญา ซึ่งมีอยู่ 4 วิธี หรือ 4 ชนิดต่อไป กัมมัฏฐานวิธีจำพวกอัปมัญญา 4 ชนิด หรือ 4 วิธี ได้แก่ การเจริญเมตตาหนึ่ง กรุณาหนึ่ง มุทิตาหนึ่ง และอุเบกขาอีกหนึ่ง ซึ่งธรรมทั้ง 4 ประการนี้ยังมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าพรหมวิหาร 4

    ดังนั้นแม้จะแยกได้ถึง 4 วิธี แต่ความจริงก็คือการเจริญพรหมวิหาร 4 นั่นเอง เป็นแต่ว่าเป็นการเจริญในฐานะที่เป็นการปฏิบัติกัมมัฏฐานวิธีแต่ละชนิดหรือแต่ละวิธี ตามความพอใจหรือตามความเหมาะสมแห่งอัชฌาสัย

    ขอทำความเข้าใจเบื้องต้นก่อนว่าเหตุใดอัปมัญญา 4 นี้ จึงมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่าพรหมวิหาร 4

    เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา อันเป็นธรรม 4 ประการนี้เมื่อรวมเป็นองค์ 4 แล้วได้ชื่อว่าเป็นพรหมวิหาร 4 นั่นคือเป็นหัวข้อธรรมหรือหลักปฏิบัติธรรม 4 ประการ เพื่อเข้าถึงความเป็นพรหม หรือเข้าถึงสถานที่อันเป็นที่สถิตของพรหม แต่ถ้านำหัวข้อธรรมข้อใดข้อหนึ่งมาฝึกฝนอบรมจิต การฝึกฝนอบรมนั้นย่อมได้ชื่อว่าอัปมัญญา

    อุปมาดั่งอากาศ เมื่ออยู่นิ่งๆเฉย ๆ ก็อาจเรียกว่าอากาศ แต่พอเคลื่อนตัวไปก็เรียกได้ว่าลม หากลมพัดกล้าขึ้นก็ย่อมเรียกว่าพายุ ฉันใดก็ฉันนั้น

    หัวข้อธรรมในพระพุทธศาสนาที่ลงท้ายด้วย “วิหาร” ที่สำคัญก็คือ “พรหมวิหาร” ซึ่งแปลตามตัวว่าที่อยู่ของพรหม หรือแปลโดยความหมายว่าวิหารธรรมที่เข้าไปตั้งอยู่แล้วย่อมถึงซึ่งความเป็นพรหม จัดเป็นอาคารที่พักอาศัยของจิตในระดับที่จิตมีภูมิธรรมสูงกว่าปกติ และถ้าสูงขึ้นไปกว่านั้นก็คืออริยวิหาร และตถาคตวิหาร ซึ่งหมายถึงภาวะที่ภูมิธรรมของจิตสูงหรือดำรงอยู่ในธรรมแห่งพระอริยเจ้าหรือพระตถาคตเจ้า แล้วแต่กรณี

    พรหมวิหารนั้นเป็นวิหารธรรมสำหรับผู้ฝึกฝนอบรมจิตในหนทางเจโตวิมุติ เพราะกัมมัฏฐานวิธีจำพวกอัปมัญญา 4 เป็นกัมมัฏฐานวิธีในหนทางปฏิบัติแบบเจโตวิมุติ ในขณะที่การปฏิบัติในหนทางปัญญาวิมุตินั้นจะมีอานาปานสติเป็นแบบฝึกฝนปฏิบัติที่ชัดเจนสมบูรณ์เป็นระบบอย่างยิ่ง ยามที่จิตเจริญอานาปานสติย่อมได้ชื่อว่าจิตได้เข้าถึงหรือเข้าอยู่ในวิหารธรรมที่เรียกว่าอานาปานสติ หรือที่เรียกว่าอานาปานสติวิหาร

    พระตถาคตเจ้าทรงมีปกติในการดำรงพระจิตอยู่ในอานาปานสติวิหาร ซึ่งตรัสรับรองว่าเป็นที่อยู่เป็นสุข และสุขในที่นี้ไม่ได้หมายถึงความสุขแบบชาวโลก แต่เป็นความสุขในทางธรรมที่ไกลจากกิเลส จิตมีความอิสระผ่องใส มีปัญญาเห็นความจริงตามความเป็นจริง เป็นสุขที่ปราศจากอามิสและเป็นสุขที่เกิดในสมาธิโดยเฉพาะ

    อานาปานสติวิหารหรือการที่จิตเข้าถึงวิหารธรรมตามวิถีทางปัญญาวิมุติย่อมมีหลายระดับตามภูมิธรรมและความสำเร็จของการฝึกฝนอบรม มีอริยวิหารและตถาคตวิหารเป็นที่หมายปลายทาง นั่นคืออาคารที่พักหรือที่สถิตแห่งจิตของหนทางปัญญาวิมุติและเจโตวิมุติที่ปลายทางนั้น คือวิหารธรรมที่เรียกว่าอริยวิหารและตถาคตวิหารอย่างเดียวกัน ดังที่พระบรมศาสดาตรัสว่าน้ำทั้งหลายย่อมไหลไปสู่พระมหาสมุทรอย่างเดียวกันฉันใด ธรรมทั้งหลายย่อมมีที่หมายปลายทางคือความสิ้นกิเลสอาสวะฉันนั้น

    พรหมวิหารเป็นวิหารธรรมหรือเป็นองค์ธรรมสำคัญที่สัมผัสและเข้าถึงได้ตั้งแต่เริ่มต้นฝึกฝนปฏิบัติเป็นลำดับ ๆ ไป จนกระทั่งสิ้นกิเลสอาสวะ ยามที่ฝึกฝนปฏิบัติและจิตเข้าถึงองค์ธรรมทั้ง 4 คือเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาแล้ว ยามนั้นย่อมได้ชื่อว่าจิตอยู่ในหรือเข้าถึงพรหมวิหาร หรือความเป็นพรหม ที่จะไม่จมลงสู่ปลักแห่งอบายอีก

    ในการฝึกฝนอบรมจิตโดยอาศัยองค์ธรรมแห่งพรหมวิหารคือเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา จะรวมเรียกโดยแบบกัมมัฏฐานวิธีว่าอัปมัญญา 4 ทั้งๆ ที่ในการปฏิบัติจริงนั้นเป็นการฝึกฝนปฏิบัติแต่ละหัวข้อธรรมไป ไม่ใช่ปฏิบัติพร้อมกันทีเดียวทั้ง 4 หัวข้อธรรม เพราะแต่ละหัวข้อธรรมยังมีความต่างกันบ้าง มีการปฏิบัติที่ต่างกันบ้างและมีอานิสงส์ที่ต่างกันบ้าง ไม่อาจปฏิบัติพร้อมกันทั้งสี่วิธีได้ แต่ในฐานะองค์ธรรมที่เป็นพรหมวิหารนั้นจะต้องประกอบด้วยองค์สี่ในเวลาเดียวกัน นี่คือความต่างที่พึงทำความเข้าใจให้ดี

    อย่างน้อยก็เพื่อความถูกต้องในการสื่อความเข้าใจว่าอะไรคือพรหมวิหาร อะไรคืออัปมัญญา 4 ดังนี้

    ได้กล่าวมาบ้างแล้วว่าเหตุที่แสดงอัปมัญญา 4 เป็นลำดับหลังจากกัมมัฏฐานวิธีประเภทอาหาเรปฏิกูลสัญญาและจตุธาตุววัตถานก็เพราะเป็นกัมมัฏฐานวิธีที่มีความละเอียดประณีตลึกซึ้ง จะเป็นประโยชน์ยิ่งกว่าถ้าหากได้พรรณนาอาหาเรปฏิกูลสัญญาและจตุธาตุววัตถานเสียก่อน

    และเมื่อได้เข้าใจกัมมัฏฐานวิธีประเภทอาหาเรปฏิกูลสัญญาและจตุธาตุววัตถานแล้วก็จะเป็นทางที่ทำให้เกิดความเข้าใจในเรื่องอัปมัญญา 4 ง่ายขึ้นไปอีก

    เพราะกัมมัฏฐานวิธีประเภทอาหาเรปฏิกูลสัญญาและจตุธาตุววัตถานนั้นแม้จะจัดอยู่ในกัมมัฏฐานวิธีในหนทางเจโตวิมุติก็ตาม แต่ก็มีการเจริญและมีการใช้ปัญญาเพิ่มขึ้นมา ส่วนอัปมัญญาทั้ง 4 วิธีนั้นแม้จัดอยู่ในกัมมัฏฐานวิธีในหนทางเจโตวิมุติเหมือนกัน แต่ยังมีความต่างเพิ่มขึ้นไปอีก คือนอกจากมุ่งเอาความเข้มแข็งของพลังอำนาจจิต มีการเจริญและใช้ปัญญาเพิ่มขึ้นแล้ว ยังมีส่วนที่เพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่งคือการเพ่งแผ่พลังจิต ซึ่งส่วนนี้เป็นลักษณะเฉพาะ เป็นคุณสมบัติเฉพาะและวิธีการเฉพาะของกัมมัฏฐานวิธีจำพวกอัปมัญญา 4

    คำว่า “อัปมัญญา” แปลว่าการแผ่ไปโดยไม่มีขอบเขต หรือแผ่ไปอย่างกว้างขวางหาประมาณมิได้

    ที่ว่าแผ่นั้นก็คือการแผ่พลังอำนาจของจิตออกไปภายนอกทั้งระยะใกล้ ทั้งระยะไกล จนพ้นประมาณ เป็นการแผ่พลังอำนาจของจิตไปในทุกทิศ เป็นการแผ่พลังอำนาจของจิตไปยังสรรพสิ่งอย่างกว้างขวางหาประมาณมิได้

    พลังอำนาจของจิตที่แผ่ไปประการใดย่อมขึ้นอยู่กับกัมมัฏฐานวิธีใดในจำพวกอัปมัญญา นั่นคือถ้าเป็นกัมมัฏฐานวิธีเมตตา สิ่งที่จิตส่งกำลังแผ่ไปก็คือพลังแห่งความเมตตา ถ้าเป็นกัมมัฏฐานวิธีกรุณา สิ่งที่จิตส่งกำลังแผ่ไปก็คือพลังแห่งความกรุณา ถ้าเป็นกัมมัฏฐานวิธีมุทิตา สิ่งที่จิตส่งกำลังแผ่ไปก็คือพลังแห่งมุทิตา ยกเว้นก็เฉพาะแต่เป็นกัมมัฏฐานวิธีจำพวกอุเบกขา ซึ่งมีความเฉพาะเป็นพิเศษ คือ ไม่ได้แผ่ออกไปภายนอก หากเป็นการแผ่ภายใน มุ่งเอาที่จิตเองเป็นสำคัญ แต่สิ่งที่แผ่นั้นกลับเป็นพลังแห่งปัญญาที่เห็นความจริงตามความเป็นจริง แล้วทำให้จิตยกระดับถึงซึ่งอุเบกขาธรรม

    อุเบกขาธรรมในกัมมัฏฐานวิธีจำพวกอัปมัญญา 4 นี้ก็คือธรรมที่มีคุณสมบัติและมีลักษณะเดียวกันที่ทำให้จิตวางเฉยจากกิเลสด้วยปัญญา เป็นอุเบกขาธรรมอย่างเดียวกันกับอุเบกขาสัมโพชฌงค์

    ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่ากัมมัฏฐานวิธีจำพวกอัปมัญญา 4 นอกจากเป็นกัมมัฏฐานวิธีที่มุ่งเน้นการยกระดับความเข้มแข็งและพลังของจิตซึ่งเป็นหลักทั่วไปในการฝึกฝนปฏิบัติแบบเจโตวิมุติแล้ว ยังมีการเจริญและใช้ปัญญาเพิ่มขึ้นและมีการแผ่พลังของจิตเพิ่มขึ้นอีก ตามลักษณะธรรมที่ฝึกฝนปฏิบัตินั้น ๆ

    นี่คือลักษณะพิเศษ ความละเอียด ความประณีตของกัมมัฏฐานวิธีจำพวกอัปมัญญา 4 ที่ค่อนข้างต่างจากกัมมัฏฐานวิธีจำพวกกสิณ 10 อสุภสัญญา 10 และอนุสติ 10

    ที่ลึกซึ้งยิ่งกว่านั้นก็คืออัปมัญญา 4 เป็นกัมมัฏฐานวิธีที่ตรงกันข้ามกับกิเลส อุปมาดั่งเป็นความสว่างที่หากมีขึ้น ณ ที่ใดแล้ว ณ ที่นั้นความมืดคือกิเลสก็ย่อมสูญสิ้นสลายตัวเป็นลำดับ ๆ ไป

    เมตตา คือความรัก ความปรารถนา ที่ต้องการให้ผู้อื่นหรือสัตว์อื่นพ้นจากความทุกข์ เป็นความรัก ความปรารถนาที่บริสุทธิ์ ปราศจากกามหรือราคะเจือปน มีลักษณะคล้ายคลึงกับความรักระหว่างมารดาบิดากับบุตร ซึ่งเป็นลักษณะที่ตรงกันข้ามกับความโกรธหรือโทสะ

    ดังนั้นเมตตามีขึ้น ณ ที่ใด ก็ย่อมขับไสไล่ส่งโทสะ ณ ที่นั้น จะขับไสไล่ส่งในระดับใดก็ย่อมเป็นไปตามระดับของจิตที่ได้เจริญเมตตานั้น และเมื่อเจริญถึงที่สุดแล้ว โทสะก็ย่อมหมดไปอย่างที่สุดด้วย

    กรุณา คือความเอ็นดู ความปรารถนาที่ต้องการให้ผู้อื่นหรือสัตว์อื่นประสบความสุข เป็นความเอ็นดู ความปรารถนาที่บริสุทธิ์ ไม่เจือด้วยกามหรือราคะหรืออามิสใด ๆ มีลักษณะตรงกันข้ามกับความพยาบาทมาดร้ายทั้งปวง

    ดังนั้นกรุณามีขึ้น ณ ที่ใด ย่อมขับไล่ไสส่งพยาบาท ณ ที่นั้น จะขับไสไล่ส่งในระดับใดก็ย่อมเป็นไปตามระดับของจิตที่ได้เจริญเมตตานั้น และเมื่อเจริญถึงที่สุดแล้ว พยาบาทก็ย่อมหมดไปอย่างที่สุดด้วย

    เพราะเหตุที่กรุณาเป็นความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นหรือสัตว์อื่นมีความสุข ดังนั้นจึงเป็นปรปักษ์โดยตรงกับความโลภหรือโลภะ ที่มุ่งปรารถนาแต่จะมีจะเป็นจะได้สำหรับตนหรือพวกตน ดังนั้นเมื่อกรุณาเจริญแล้วจึงมีอานิสงส์ในการขจัดโลภะไปโดยลำดับด้วย

    มุทิตา เป็นลักษณะของจิตที่มีความอิ่มใจ มีความชุ่มฉ่ำใจ เบิกบานใจ ในการที่ผู้อื่นหรือสัตว์อื่นมีความสุข ความเจริญ หรือพ้นจากทุกข์ เห็นคนหรือสัตว์ใดมีความสุข มีความปลอดภัย มีความเจริญก็มีความชื่นใจ มีความเบิกบาน

    ลักษณะของปิติจึงตรงกันข้ามกับความริษยา ซึ่งเป็นความปรารถนาที่ไม่ต้องการให้ผู้อื่นหรือสัตว์อื่นมีความสุข หรือมีความเท่าเทียมกับตนในประการต่าง ๆ ริษยาบ่อนทำลายจิต ทำให้จิตขุ่นมัว เป็นปราการที่สกัดกั้นปัญญาและความบริสุทธิ์ที่สำคัญอย่างยิ่ง

    ดังนั้นมุทิตาเจริญขึ้น ณ ที่ใดในระดับแล้ว ไม่เพียงแต่จิตจะมีความอิ่มเอิบชุ่มฉ่ำเบิกบานเท่านั้น ยังทำให้ความริษยาถูกขจัดเป็นลำดับไปอีกด้วย

    ส่วนอุเบกขานั้นได้แก่ความรู้สึกวางเฉย แต่ไม่ใช่เป็นการวางเฉยแบบยอมจำนนหรือแบบหลงงมงาย หรือเฉย ๆ แบบตอไม้ หากเป็นความวางเฉยที่เป็นผลจากปัญญาได้เจริญขึ้นถึงระดับที่เห็นความจริงตามความเป็นจริง จนทำให้จิตมีความเป็นอิสระหลุดพ้นจากภาวะครอบงำทั้งปวง ไม่หวั่นไหวในอารมณ์ทั้งปวง

    อุเบกขาก็มีอยู่หลายระดับ ตั้งแต่เมื่อเห็นความจริงแล้วไม่ทุกข์ไม่ร้อนกับสิ่งใด ๆ ไม่หวั่นไหวกับสิ่งใด ๆ ไปจนถึงระดับสูงสุดที่ปัญญาเจริญเต็มที่ เห็นพระไตรลักษณ์หลุดพ้นจากความครอบงำ จากกิเลสและอาสวะทั้งหลาย

    การเห็นความจริงคือเห็นความไม่เที่ยง เห็นความเป็นทุกข์ และเห็นความไม่ใช่ตัวตน ทำให้จิตไม่หวั่นไหว ไม่ถูกครอบงำ มีความเป็นอิสระอย่างถึงที่สุด จึงเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความหลงหรือโมหะ

    เหตุนี้เมื่ออุเบกขาเจริญขึ้น ณ ที่ใดในระดับใดแล้ว โมหะหรือความหลงก็จะถูกขจัดให้สูญสิ้นไปโดยลำดับ ณ ที่นั้น และในระดับนั้น ๆ ด้วย

    อัปมัญญา 4 จึงเป็นกัมมัฏฐานวิธีที่มีผลหรืออานิสงส์ต่อการทำลายกิเลสคือโลภ โกรธ หลง โดยตรง เป็นแต่เป็นวิธีปฏิบัติในด้านหนึ่งซึ่งอยู่ตรงกันข้ามหรือเป็นปรปักษ์กับกิเลสเหล่านั้น จึงนับว่าเป็นกัมมัฏฐานวิธีที่มุ่งหมายขจัดกิเลสอาสวะที่ตรงตัวที่สุดและมีผลมากที่สุด

    การฝึกฝนอบรมกัมมัฏฐานวิธีจำพวกอัปมัญญา 4 นี้ จะฝึกและเจริญแต่ละข้อหรือแต่ละวิธี ๆ ไป จนครบถึง 4 วิธีก็ได้ หรือจะฝึกฝนและเจริญแต่วิธีใดวิธีหนึ่งซึ่งสอดคล้องกับอัชฌาสัยของตนก็ได้สุดแท้แต่ความปรารถนา และความง่ายต่อการที่ได้รับผลซึ่งแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (58) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">28 กรกฎาคม 2548 17:32 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="5">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="350"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="350"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> หลักการใหญ่ในการฝึกฝนอบรมกัมมัฏฐานวิธีแบบอัปปมัญญาคือการแผ่กำลังอำนาจแห่งจิตไปอย่างกว้างขวางโดยไม่มีประมาณ แผ่เมตตา หรือกรุณา หรือมุทิตา ตามที่ได้ตกลงเลือกสรรวิธีออกไปในทุกทิศทาง ในทุกสิ่งทุกอย่าง ยกเว้นก็เฉพาะอุเบกขาแผ่เป็นพลังปัญญาที่มุ่งต่อความเป็นอิสระและความหลุดพ้นของจิตเป็นหลัก

    การฝึกฝนอบรมในกัมมัฏฐานวิธีจำพวกอัปปมัญญานี้ย่อมต้องเตรียมตัว เตรียมกาย เตรียมใจ เช่นเดียวกับการฝึกฝนอบรมกัมมัฏฐานวิธีแบบอื่น ๆ และยังต้องเผชิญหน้ากับมายาภาพของจิตและการรบกวนของอุปกิเลสคือนิวรณ์เหมือนกับการฝึกฝนวิธีอื่น ๆ

    นิวรณ์นั้นเป็นกิเลสอย่างตื้นหรือเรียกว่าอุปกิเลส ในขณะที่โลภะ โทสะ โมหะเป็นกิเลสหลัก มีรากมาจากตัณหา คือความอยากมี อยากได้ อยากเป็น ความไม่อยากมี ไม่อยากได้ ไม่อยากเป็น แม้แต่ความอยากเฉย ๆ ก็ตาม ดังนั้นเมื่อการฝึกฝนอบรมจำพวกอัปปมัญญาเป็นอีกด้านหนึ่งของกิเลสหลักคือโลภะ โทสะ โมหะ จึงย่อมต้องฝ่าข้ามอุปกิเลสคือความกำหนัด ความพอใจในกาม ความพยาบาท ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่ ห่อเหี่ยว และความลังเลสงสัยเสียก่อนเป็นธรรมดา

    เป็นแต่ว่าวิธีฝ่าข้ามอุปกิเลสเหล่านั้นไม่ใช่เรื่องที่ต้องสนใจทุ่มเทเป็นพิเศษ เพราะเป็นสูตรสำเร็จอยู่ในตัวอันเป็นผลมาจากการค้นพบของพระบรมศาสดาว่าขอเพียงแต่ได้ปฏิบัติตามกัมมัฏฐานวิธีจำพวกอัปปมัญญาเท่านั้น ก็จะสามารถฝ่าข้ามอุปกิเลสเจาะทะลุทะลวงไปยังกิเลสหลัก จนกระทั่งทำลายได้หมดสิ้นในที่สุด

    เนื่องจากกัมมัฏฐานวิธีจำพวกอัปปมัญญานั้นเป็นการแผ่พลังจิตออกไปอย่างกว้างขวางหาประมาณมิได้ ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับพลังของจิตเป็นการเฉพาะ

    ความรับรู้อันเกิดจากการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันนี้ได้พบได้รู้และเข้าใจแต่เพียงว่านอกจากพลังทางกายหรือพลังทางฟิสิกส์แล้ว ยังมีพลังอีกชนิดหนึ่งคือพลังของจิตที่อาจนับเนื่องเป็นพลังงานชนิดพิเศษ ซึ่งถึงแม้ว่าจะรู้และเข้าใจในทางวิทยาศาสตร์ปัจจุบันน้อยกว่าน้อยนัก แต่วิทยาศาสตร์ปัจจุบันก็ได้ยอมรับแล้วว่าจิตนั้นมีพลังที่สามารถแผ่ออกไปได้

    ลักษณะของพลังจิตเปรียบเทียบได้กับคลื่นชนิดหนึ่งที่มีอนุภาคเล็กที่สุด มีความเร็วสูงที่สุด สัมผัสจับต้องไม่ได้ แต่อานุภาพแห่งพลังนั้นจะมีเพียงใด วิทยาศาสตร์ปัจจุบันยังไม่สามารถตรวจสอบรับรู้อย่างครบถ้วนได้

    ทำนองเดียวกับคลื่นวิทยุ คลื่นแม่เหล็ก คลื่นแสง คลื่นเสียงนั่นเอง คลื่นเหล่านี้ในอดีตมนุษย์ไม่รู้จัก แต่เมื่อวิทยาศาสตร์มีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้นก็สามารถผลิตเครื่องตรวจจับ เครื่องรับ เครื่องส่งได้ และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ดังที่ปรากฏรู้เห็นกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันแล้ว คลื่นของพลังจิตก็ทำนองเดียวกันนี้ เป็นแต่มีความละเอียดอ่อน มีความประณีต มีความเร็ว และมีพลังที่ยังไม่อาจศึกษาค้นพบโดยทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันได้อย่างสมบูรณ์เท่านั้น

    วิทยาศาสตร์ปัจจุบันสามารถผลิตเครื่องตรวจวัดพลังอำนาจของจิต สามารถผลิตเครื่องตรวจวัดคุณภาพของพลังอำนาจของจิตได้ ว่าจิตนั้นมีพลังอำนาจและมีคุณภาพประการใด

    ดังตัวอย่างที่มีการถ่ายทำหนังสารคดีเผยแพร่ออกไปทั่วโลกแล้วว่าผู้ที่มีความทุกข์ มีความกังวลครอบงำจิตอยู่ จะมีคลื่นชนิดหนึ่งแผ่ออกไป และสามารถถ่ายเป็นภาพของคลื่นนั้นและแสดงออกเป็นภาพสีได้ ทำนองเดียวกันกับผู้ที่มีความเบิกบาน มีความปิติ ก็จะมีคลื่นชนิดหนึ่งแผ่ออกไปและสามารถถ่ายเป็นภาพของคลื่นนั้นและแสดงออกเป็นภาพสีได้

    ผู้ที่มีเมตตาสูงจิตจะแผ่พลังที่มีลักษณะเป็นคลื่นและตรวจวัดในลักษณะของสีได้คือสีฟ้าปนเหลือง ในขณะที่ผู้มีจิตใจบริสุทธิ์มาก ๆ ลักษณะของสีจะเป็นสีขาว แต่ที่วิทยาศาสตร์ยังไม่เคยตรวจพบก็คือพลังจิตของพระอรหันต์ ซึ่งจะไม่มีลักษณะสีแต่มีลักษณะใส ซึ่งเครื่องมือวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันยังไม่อยู่ในฐานะที่จะตรวจวัดพลังจิตชนิดนี้ได้

    เพราะเหตุที่จิตมีคลื่นที่แผ่ออกไปเป็นพลังได้เช่นนี้ ดังนั้นผู้ที่มีพลังอำนาจจิตสูงจึงสามารถสัมผัสและรับรู้พลังจิตของผู้อื่นได้ว่าเป็นอย่างไร มีความรู้สึกนึกคิด มีอารมณ์ความรู้สึกเป็นประการใด

    พิจารณาโดยนัยยะนี้ก็จะเข้าใจได้โดยง่ายว่าพระอรหันต์หรือผู้ที่ได้เจโตปริยญาณ หรือญาณที่สามารถหยั่งรู้ใจผู้อื่นได้แล้วว่าสามารถล่วงรู้ได้อย่างไร นั่นคือการรู้ด้วยอำนาจของจิตทำนองเดียวกับแก้วปริซึมใสที่สามารถสะท้อนแสงออกมาเป็นสีม่วงคราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง ได้อย่างชัดเจน หรือดังที่นักวิทยาศาสตร์สามารถตรวจวัดพลังอำนาจจิตได้โดยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์นั่นเอง

    นั่นเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ เป็นเรื่องของความรู้ในสาขาฟิสิกส์ ที่แม้ว่าโลกปัจจุบันจะถือว่าก้าวหน้า แต่ความจริงในเรื่องของจิตและความมหัศจรรย์แห่งโลกภายในนั้นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันยังน้อยนิดยิ่งนัก ดุจดั่งเม็ดทรายเม็ดหนึ่งใต้ท้องพระมหาสมุทร ในขณะที่ความมีสัพพัญญูญาณในพระบรมศาสดานั้นทรงรู้แจ้งโลก ทรงเป็นโลกวิทู และทรงค้นพบความรู้เหล่านี้มากว่า 2,500 ปีแล้ว ทั้งเป็นเรื่องใหญ่ใจความที่ตรัสสอนเวไนยสัตว์ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์

    เป็นแต่ว่ามนุษย์มักสนใจแต่เรื่องใหม่ เรื่องข้างหน้า โดยหาได้ตระหนักหรือเฉลียวใจไม่ว่าเรื่องเก่า เรื่องอดีต เรื่องที่มีมาแล้วแต่ข้างหลังนั้นยังมีอยู่ และในเฉพาะเรื่องจิตนี้ก็มีความก้าวหน้าล้ำยุคไปหลายปีแสงทีเดียว

    เอาเป็นว่าจิตนั้นมีพลังที่สามารถแผ่ออกไปได้อย่างกว้างขวาง หาที่สุดหาประมาณมิได้ แต่พลังนั้นจะมีระยะที่อาจแผ่ไปได้เพียงใดย่อมขึ้นอยู่หรือได้มาก็แต่การฝึกฝนอบรมจิต และคุณภาพของพลังนั้นจะเป็นประการใดก็ขึ้นอยู่กับกัมมัฏฐานวิธีว่าเป็นวิธีอัปมัญญาวิธีใด คือ วิธีเมตตา กรุณา มุทิตา หรืออุเบกขา

    การจะเริ่มต้นฝึกฝนกัมมัฏฐานวิธีจำพวกอัปปมัญญาวิธีใดจึงต้องเริ่มต้นด้วยการตรวจสอบอัชฌาสัยของตนว่าคุ้นเคยชอบพอกับความเมตตา ความกรุณา ความมุทิตา หรือความอุเบกขาเสียก่อน

    หรือในทางตรงกันข้ามก็อาจสำรวจจิตใจของตนเองก่อนว่าติดยึดหนักแน่นไปในกิเลสและอาสวะชนิดใด คือหนักไปในทางมักโกรธ มักริษยา มักโลภ หรือมักหลง เมื่อตรวจสอบเช่นนั้นแล้วก็ย่อมรู้ถึงปมหรือลักษณะของจิตตัวเองว่ามีกิเลสชนิดใดห่อหุ้มครอบงำและส่งอิทธิพลต่อความเป็นไปของชีวิต ดังนั้นแล้วก็จะรู้เองว่าจะเลือกอัปปมัญญาวิธีใด ที่ข่มหรือขจัด หรือเป็นผลดีต่อการแก้ไขจุดอ่อน จุดด้อยเหล่านี้

    เป็นความโชคดีของเวไนยสัตว์ทั้งหลายที่ไม่ต้องคิด ไม่ต้องค้นคว้าด้วยตนเอง เพราะเป็นเรื่องที่พระบรมศาสดาได้ทรงค้นพบ ทรงรู้ และตรัสสอนมาเนิ่นนานหนักหนาแล้ว ดังนั้นจึงเป็นความสะดวกที่จะได้ดำเนินการตามหนทางที่พระองค์ตรัสสอนไว้ ในกรณีนี้ก็เช่นเดียวกัน เมื่อรู้จิตใจตนเองว่ามีกิเลสอาสวะแบบไหน มีจุดด้อย และอุปสรรคตรงไหน หรือว่าชอบพอคุ้นเคยในเรื่องใดก็สามารถเลือกวิธีแห่งอัปปมัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งในสี่วิธีนี้มาเป็นแบบฝึกฝนสำหรับตนได้

    เมื่อได้เลือกแล้วก็ต้องกำหนดให้รู้จักอารมณ์นั้นว่าอย่างไรเป็นเมตตา อย่างไรเป็นกรุณา อย่างไรเป็นมุทิตา อย่างไรเป็นอุเบกขา

    เมตตาเป็นความปรารถนาให้คนอื่นพ้นทุกข์ กรุณาเป็นความปรารถนาให้คนอื่นมีความสุข มุทิตาเป็นความยินดีพอใจเบิกบานใจ ที่เห็นคนอื่นได้ดีมีสุขเจริญรุ่งเรืองไม่ว่าในทางโลกหรือทางธรรม ดังนั้นกัมมัฏฐานวิธีทั้งสามประการนี้จึงกำหนดขึ้นในจิตได้โดยง่าย เพราะเป็นสิ่งที่รู้จักกันดีอยู่ เป็นสิ่งที่คุ้นเคยกันดีอยู่ จะต่างกันก็ตรงที่มากบ้าง น้อยบ้างเท่านั้น

    เพราะคนเราทุกคนย่อมมีสัญชาตญาณของความเมตตา ความกรุณา และความมุทิตาอยู่ทั้งนั้น เป็นแต่ว่าความมีอยู่โดยสัญชาตญาณนั้นยังคงคลุกเคล้าด้วยกิเลสคือความโลภโกรธหลง และอคติที่มีประจำอยู่ในจิต จึงมักมีเมตตา กรุณา มุทิตา กับคนผู้เป็นที่รัก ที่พอใจ ที่ใกล้ชิด ในขณะที่มีความโกรธ มีความพยาบาท มีความริษยา ต่อผู้ที่ไม่ค่อยถูกคอ ไม่พอใจ หรือเป็นศัตรูกัน

    การกำหนดอัปปมัญญาวิธีเมตตา กรุณา และมุทิตา ในการฝึกฝนอบรมปฏิบัติทางจิตก็คือการกำหนดเมตตา กรุณา และมุทิตา ที่มีอยู่ตามสัญชาตญาณเก่าก่อนนั่นเอง เพียงแต่ว่ากำหนดให้เด่นชัดขึ้น สำหรับนำมาใช้ในการฝึกฝนอบรมจิต

    จักกล่าวในเรื่องของการกำหนดและการแผ่พลังแห่งจิตที่เมตตา กรุณา และมุทิตาเสียก่อน ส่วนเรื่องของอุเบกขานั้นจักพรรณนาเป็นที่สุดเพราะว่าเรื่องของอุเบกขาวิธีมีลักษณะเฉพาะต่างหากออกไปอีก

    เมื่อกำหนดรู้ว่าเมตตาเป็นอย่างไร กรุณาเป็นอย่างไร และมุทิตาเป็นอย่างไร จากที่มีประจำอยู่ในจิตตามสัญชาตญาณดั้งเดิมแล้ว ก็กำหนดเอาแต่ความรู้สึกเมตตาหรือกรุณา หรือมุทิตานั้นล้วน ๆ อย่าให้มีสิ่งใดเจือปน แล้วกำหนดเป็นอารมณ์แห่งกัมมัฏฐานตามที่ได้เลือกสรรไว้

    จากนั้นก็เป็นการเพ่งความสนใจของจิตไปที่อารมณ์ความรู้สึกเมตตา หรือกรุณา หรือมุทิตานั้น จนมีความคุ้นเคยแม่นยำในอารมณ์ความรู้สึกที่เป็นเมตตา หรือกรุณา หรือมุทิตานั้นอย่างแจ่มชัด นี่อาจเรียกได้ว่าเป็นกระบวนการทรงจำกำหนดหมายอย่างหนึ่งในการฝึกฝนอบรมจิต

    นั่นคือต้องทรงจำกำหนดหมายให้แม่นยำว่าอารมณ์ความรู้สึกใดคือกรุณา คือเมตตา หรือมุทิตา และเข้าสู่อารมณ์นั้น ถึงซึ่งอารมณ์นั้นอย่างแม่นยำรวดเร็วเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ๆ ไป

    แค่ขั้นทรงจำกำหนดหมายในเรื่องเมตตา กรุณา หรือมุทิตา ก็จะสัมผัสพบกับอานุภาพหรืออานิสงส์บางประการ ซึ่งแม้ไม่มีประโยชน์อะไรต่อการฝึกฝนอบรมจิต แต่ถ้าหากได้กล่าวเสียในชั้นนี้แล้วก็อาจเป็นเรื่องส่งเสริมศรัทธาและความเพียรให้เพิ่มพูนมากขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์แก่ปุถุชนเราไม่น้อย

    ทดลองฝึกฝนปฏิบัติดูเถิด เมื่อจิตทรงจำกำหนดอารมณ์เมตตา หรือกรุณา หรือมุทิตาได้ชัดเจนแม่นยำแน่นแฟ้นแล้วนั้นก็จะประสบพบพานได้ด้วยตนเองว่าสิ่งแปลกประหลาดอาจเกิดขึ้นได้ เช่น แมลงหวี่หรือแมลงวันที่เคยบินมาตอมไต่ให้เป็นที่รำคาญจะหลีกลี้หนีหายไป หรือยุงที่ตอมกัดให้เป็นที่รำคาญก็จะเกิดความเมตตาแล้วหนีหายไป แม้บางทีเสียงหรือกลิ่นที่น่าขนพองสยองเกล้าหรือรบกวนความสงบในการฝึกฝนอบรมจิตที่เคยเกิดขึ้นจะค่อย ๆ สูญสลายไป

    สัตว์ร้าย สัตว์เสือกคลานที่อาจทำอันตรายถึงชีวิตหรือที่เคยรบกวนมาแต่ก่อนจะไม่มารบกวนอีกเลย หรือแม้เข้ามาใกล้ตัวบ้างก็เข้ามาด้วยความเป็นมิตร ไม่มีลักษณะของการเบียดเบียนหรือการรบกวนอีกเลย

    นั่นเป็นตัวอย่างอานิสงส์เบื้องต้น เพราะเหตุนี้ชาวพุทธจึงถูกสั่งสอนอบรมให้รู้จักการแผ่เมตตาเป็นเบื้องต้น เพื่อแผ่พลังแห่งเมตตานั้นออกไปเพื่อความพ้นทุกข์ เพื่อความเป็นสุขของเหล่าสัตว์ รวมทั้งตัวของผู้แผ่พลังแห่งเมตตานั้นด้วย

    ดังนั้นพระบรมศาสดาจึงตรัสสรรเสริญเมตตาว่าเป็นธรรมค้ำจุนโลก เป็นธรรมที่จะปกป้องสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากการเบียดเบียน จากการทำลายล้างและจากการสังหารผลาญชีวิต กระทั่งแม้ยาพิษหรืออาวุธก็ไม่อาจแผ้วพานผู้ที่มีพลังแห่งเมตตาหรือพลังแห่งอัปปมัญญา 4 นี้ได้เลย
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (59) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">4 สิงหาคม 2548 17:05 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="5">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="400"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="400"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> อานิสงส์ใหญ่ของการฝึกฝนอบรมอัปปมัญญาวิธีเมตตา กรุณา และมุทิตานั้น พระบรมศาสดาทรงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลายเมตตาเจโตวิมุตินี้เป็นเครื่องสลัดออกเสียซึ่งพยาบาท กรุณาเจโตวิมุตินี้เป็นเครื่องสลัดออกเสียซึ่งวิหิงสา มุทิตาเจโตวิมุตินี้เป็นเครื่องสลัดออกเสียซึ่งอรติ”

    นั่นคือผู้ที่ฝึกฝนอบรมอัปปมัญญาวิธีแบบเมตตาจะสามารถขจัดความมุ่งร้ายภายในจิตได้ ผู้ที่ฝึกฝนอบรมแบบกรุณาจะสามารถขจัดความรู้สึกนึกคิดเบียดเบียนผู้อื่นได้ ผู้ที่ฝึกฝนอบรมแบบมุทิตาจะสามารถขจัดความรู้สึกนึกคิดที่ไม่รู้สึกไยดีต่อผู้อื่นได้ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือสามารถขจัดความรู้สึกเห็นแก่ตัวได้

    นอกจากนี้แล้วการฝึกฝนอบรมอัปปมัญญาวิธีทั้งเมตตา กรุณา และมุทิตานั้นยังมีอานิสงส์เฉพาะอีก 11 ประการ คือ นอนเป็นสุข, ตื่นเป็นสุข, ไม่ฝันร้าย, เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย, เป็นที่รักของอมนุษย์รวมทั้งภูตผีทั้งหลาย, เป็นผู้ที่เทวดาทั้งหลายคอยเฝ้าบำรุงรักษา, เป็นผู้ที่ไฟ ยาพิษ หรือศาสตราวุธไม่กล้ำกรายใกล้ตัว, จิตจะเป็นสมาธิได้เร็ว, มีผิวและหน้าตาผ่องใส, ไม่หลงในยามใกล้ตาย และแม้หากจะไม่บรรลุธรรมขั้นสูงสุดในขณะมีชีวิตอยู่ อย่างต่ำที่สุดก็จะไปบังเกิดในพรหมโลก

    ที่น่าแปลกประหลาดมหัศจรรย์ที่สุดก็คือผู้ที่ฝึกฝนอบรมกัมมัฏฐานวิธีนี้ แล้วจะมีลักษณะการนอนที่เป็นประโยชน์ยิ่งต่อสุขภาพ คือจะไม่นอนในท่าเดียว แต่จะพลิกตัวไปมาและสามารถแก้ไขขจัดการเมื่อยขบ การเหน็บชาได้ แม้กระทั่งคนที่นอนกรน หากได้ฝึกฝนอบรมจิตในอัปปมัญญาวิธีนี้แล้วก็จะหายกรน เนื่องจากการกรนนั้นเป็นอาการที่เกิดในขณะหายใจเข้า มีเสียงดังโครก หรือโฮก หรือฟี้ หรือฟ่อ ครั้นเมื่อได้เจริญเมตตาแล้วการหายใจเข้าออกก็จะละเอียดประณีต ระบบการหายใจจะมีความเป็นปกติมากขึ้น เสียงดังที่เรียกว่ากรนนั้นก็จะหายไปเป็นน่าที่มหัศจรรย์

    เมื่อรู้จักและทรงจำกำหนดหมายว่าเมตตาเป็นอย่างไร กรุณาเป็นอย่างไร และมุทิตาเป็นอย่างไรแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการแผ่พลังอำนาจของจิตที่มีเมตตา หรือกรุณา หรือมุทิตานั้นออกไปภายนอก นี่เป็นกระบวนการฝึกฝนอบรมเพื่อเพิ่มพูนพลังอำนาจของจิต เพื่อให้พลังอำนาจของจิตนั้นแผ่กว้างออกไปจากระยะใกล้ ๆ แค่รอบตัวไกลออกไปโดยลำดับ จนหาประมาณมิได้

    ในการแผ่พลังแห่งจิตเช่นนั้นจะกำหนดตัวบุคคลเป็นเฉพาะเจาะจงเป็นเบื้องต้นก็ได้ หรือเป็นกลุ่มบุคคลเป็นเบื้องต้นก็ได้ แต่นั่นเป็นเบื้องต้นเท่านั้น สำหรับผู้ที่ฝึกฝนอบรมจนยกระดับก้าวหน้าแล้วก็พึงแผ่พลังอำนาจของจิตที่มีเมตตาหรือกรุณาหรือมุทิตานั้นออกไปยังสัตว์ทั้งหลาย โดยไม่เลือกหน้า ไม่ว่าจะรู้จักกันหรือไม่รู้จักกัน จะเกี่ยวข้องกันหรือไม่เกี่ยวข้องกัน หรือแม้กระทั่งเป็นศัตรูกัน นี้จึงเรียกว่าเป็นการแผ่พลังแห่งจิตไปอย่างกว้างขวางหาประมาณมิได้

    พลังที่แผ่ออกไปนั้นย่อมพุ่งแผ่กระจายออกไปตามขนาดและระดับของพลังแห่งจิตที่ได้ฝึกฝนอบรม และสามารถส่งถึงผู้รับให้รู้สึกสัมผัสได้ และจะลองสังเกตก็ได้ว่าผู้รับสามารถสัมผัสได้ นั่นคือเมื่อได้แผ่เมตตาให้แก่ผู้ใดแล้ว แม้ผู้นั้นจะเป็นศัตรูกันมาก่อน หากพบหน้ากันอีกก็จะมีความรู้สึกที่ดีต่อกัน ความรู้สึกไม่พอใจ ไม่ชอบใจ ความเกลียดหรือความโกรธที่เคยมีมาแต่ก่อนจะจางหายคลายไปกระทั่งสิ้นสูญ

    ดังนี้เมตตา กรุณา และมุทิตา จึงเป็นคุณภาพของพลังจิตที่จะระงับดับความเป็นปรปักษ์หรือความเป็นศัตรูต่อกัน ทำให้สันติภาพ สันติสุขบังเกิดขึ้นในมวลหมู่มนุษย์อย่างไร้ขอบเขต ไร้ประมาณ ไม่เลือกเพศ ชั้น วรรณะ ศาสนา หรืออารยธรรมใด ๆ

    ยิ่งฝึกฝนอบรมมากขึ้น จิตก็จะมีความตั้งมั่นมากขึ้น มีความบริสุทธิ์ผ่องแผ้วมากขึ้น มีขีดความสามารถและพลังสูงขึ้น พลังของจิตก็จะสามารถแผ่กว้างออกไปจนไร้ขอบเขต ไร้ประมาณ และเปี่ยมไปด้วยพลังที่ส่งผลหรือสัมผัสได้ชัดเจนยิ่งขึ้นโดยลำดับ

    ลำดับและกระบวนการพัฒนาของภาวะจิตในท่ามกลางการฝึกฝนอบรมปฏิบัติจะเกิดขึ้นในสองลักษณะ

    ลักษณะแรก เมื่อได้แผ่กำลังอำนาจจิตออกไปแล้ว จิตจะมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว มุ่งมั่นอยู่ในกัมมัฏฐานวิธี คือเมตตา หรือกรุณา หรือมุทิตานั้น มีวิตก วิจาร ปิติ และสุขเกิดขึ้นอย่างบางเบาเป็นลำดับไป นั่นคือองค์ทั้งห้าแห่งฌานได้ก่อเกิดขึ้น และสลายจางคลายนิวรณ์ทั้งห้าออกไปโดยลำดับ เป็นบาทฐานที่จะเข้าสู่ปฐมฌานต่อไป

    ลักษณะที่สอง เมื่อได้แผ่กำลังอำนาจของจิตออกไป ประกอบด้วยความเพียร ความแน่วแน่ และด้วยสมาธิแห่งจิตแล้ว แทนที่องค์ห้าแห่งปฐมฌานจะก่อตัวขึ้นเป็นลำดับไป กระบวนการพัฒนาของจิตจะข้ามชั้นยกระดับสูงขึ้นอย่างฮวบฮาบ นั่นคือ

    (1) ในขณะฝึกฝนอบรมอัปปมัญญาวิธีแบบเมตตาด้วยภาวะที่จิตมีความตั้งมั่น มีความบริสุทธิ์ และมีพลังแกร่งกล้าขึ้นโดยลำดับนั้น กำลังอำนาจของจิตจะแผ่ไปในอารมณ์เดียว ถึงซึ่งสุภวิโมกข์โดยตรง นั่นคือก้าวทะลุไปถึงขั้นตอนที่พร้อมจะน้อมจิตไปเพื่อบรรลุถึงวิชชาและวิมุตอันเป็นที่สุดแห่งการฝึกฝนอบรม

    พระตถาคตเจ้าตรัสรับรองกระบวนการก้าวทะลุอย่างฮวบฮาบของจิตในลักษณะนี้ว่า การฝึกฝนอบรมแบบเมตตาเจโตวิมุตินี้จะมีสุภวิโมกข์เป็นผลขั้นสุดยอด

    (2) ในขณะฝึกฝนอบรมอัปปมัญญาวิธีแบบกรุณาด้วยภาวะที่จิตมีความตั้งมั่น มีความบริสุทธิ์ และมีพลังแกร่งกล้าขึ้นโดยลำดับนั้น ได้เกิดปัญญาเห็นความจริงตามความเป็นจริงว่าต้นเหตุหรือบ่อเกิดของกรุณาก็คือรูป หรืออีกนัยหนึ่งก็คือต้นเหตุที่ทำให้เกิดความทุกข์ที่จะต้องแผ่ความกรุณาไปนั้นก็เพราะมีรูปเป็นต้นเหตุ จึงเกิดความเบื่อหน่ายในรูป จิตก็จะเพิกถอนหรือสละความติดยึดในรูปออกไปเสีย จึงเหลือแต่เพียงอากาศหรือความว่างล้วน ๆ

    จิตก็จะบรรลุถึงอากาสานัญจายตนฌาน นั่นคือจิตจะก้าวทะลุข้ามพ้นหรือข้ามชั้นสภาวะธรรมที่เป็นลำดับขั้นไปสู่ขั้นสูง คืออากาสานัญจายตนฌาน ดังที่พระตถาคตเจ้าได้ตรัสรับรองว่ากรุณาเจโตวิมุตินี้มีอากาสานัญจายตนฌานเป็นผลขั้นสุดยอด

    อะไรคืออากาสานัญจายตนฌาน? จักได้กล่าวโดยพิสดารต่อไป แต่ในชั้นนี้เอาเป็นว่าจิตจะข้ามพ้นรูปฌานคือตั้งแต่ปฐมฌานถึงจตุตถฌาน ทะลุไปยังอากาสานัญจายตนฌานทีเดียว

    (3) ในขณะฝึกฝนอบรมอัปปมัญญาวิธีแบบมุทิตาด้วยภาวะที่จิตมีความตั้งมั่น มีความบริสุทธิ์ และมีพลังแกร่งกล้าขึ้นโดยลำดับนั้น ได้เกิดปัญญาเห็นความจริงตามความเป็นจริงว่าความยินดีปรีดาปราโมทย์ทั้งหลายนั้นเกิดขึ้นจากการยึดมั่นถือมั่นของวิญญาณ และความมุทิตานั้นก็เกิดขึ้นที่วิญญาณ มีอยู่ที่วิญญาณ จิตก็จะก้าวทะลุไปถึงวิญญาณัญจายตนฌานโดยตรง

    วิญญาณัญจายตนฌานคืออะไร? จักได้พรรณนาในภายหลังเช่นเดียวกับอากาสานัญจายตนฌาน แต่ในชั้นนี้เอาแต่เพียงว่าอัปมัญญาวิธีมุทิตานั้นสามารถทำให้จิตก้าวทะลุผ่านไปยังวิญญานัญจายตนฌานโดยตรง เพราะเหตุนี้พระตถาคตเจ้าจึงตรัสรับรองว่ามุทิตาเจโตวิมุตินี้มีวิญญาณัญจายตนฌานเป็นผลขั้นสุดยอด

    การแผ่พลังแห่งจิต แห่งเมตตา แห่งกรุณา แห่งมุทิตาออกไปนั้นยังมีเรื่องต้องทำความเข้าใจและฝึกฝนอบรมปฏิบัติอีกสองประการคือ

    ประการแรก การแผ่พลังจิตแห่งเมตตา กรุณา หรือมุทิตาออกไปนั้นจะเป็นการแผ่ไปสู่ภายนอก ด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ ปราศจากอามิสหรือหวังผลอื่นใด นั่นคือแผ่ออกไปเพื่อความพ้นทุกข์ เพื่อความสุข ของเหล่าสัตว์และเพื่อความยินดีปราโมทย์โดยแท้ หากยังเจือด้วยความต้องการในผลอย่างใด ๆ ไม่ว่าต้องการให้เขารักตอบหรือให้เขาตอบแทนด้วยลาภหรือสิ่งอื่นใด หรือต้องการสิ่งใด ๆ จากการแผ่ออกไปนั้นก็จะทำให้กิเลสบังเกิดขึ้นและครอบงำจิตใจหนักขึ้น กลายเป็นการปฏิบัติที่ไม่บริสุทธิ์ หรือที่เรียกว่ามารเข้าสิง

    ในขณะที่ฝึกฝนปฏิบัติ หากกำหนดรู้หรือสังเกตพบว่ามีความต้องการความตอบแทนใด ๆ ในประการที่กล่าวมาแล้ว ก็ต้องกำหนดรู้ว่านั่นเป็นสิ่งผิด เป็นพิษเป็นภัยเป็นอุปสรรคต่อการฝึกฝนปฏิบัติ และไม่ใช่หนทางอันประเสริฐแห่งเจโตวิมุติ แต่เป็นทางที่ทำให้กิเลสและอาสวะพอกพูนงอกงามขึ้น จนทำให้กลายเป็นมารร้ายได้ในที่สุด

    ดังนั้นเมื่อกำหนดรู้แล้วก็ต้องกำหนดความรู้เท่าทันของอารมณ์ที่เกิดขึ้น แล้วขจัดอารมณ์ความรู้สึกนั้นออกไป ทำให้จิตมีความบริสุทธิ์ มีความตั้งมั่น และมีพลังที่กล้าแกร่งมากขึ้น นั่นคือการกำหนดให้จิตสละละวางสิ่งแปลกปลอมที่ผิด ๆ นั้นเสีย แล้วกลับเข้าสู่ร่องรอยของหนทางปฏิบัติที่ถูกต้อง

    ประการที่สอง อาจแบ่งจำพวกของผู้ที่ต้องการแผ่พลังอำนาจจิตไปถึงเป็นสามพวก คือ พวกที่รักชอบพอใกล้ชิดที่สุดหนึ่ง พวกกลาง ๆ หนึ่ง และพวกที่เป็นปรปักษ์ศัตรูคู่แค้นอีกหนึ่ง

    แม้ว่าในการฝึกฝนปฏิบัติในที่สุดจะเป็นการแผ่พลังแห่งจิตไปอย่างกว้างขวางและหาประมาณมิได้ครอบคลุมถึงทุกพวกก็ตาม แต่ในการเริ่มต้นนั้นหากเริ่มต้นจากพวกแรกหรือพวกหลังคือพวกที่รักหรือพวกที่เกลียดเสียทีเดียวก็จะเป็นอุปสรรคในการฝึกฝนปฏิบัติ

    เพราะถ้ามุ่งไปยังพวกที่รักก่อนก็จะเกิดความโน้มเอียงที่จิตนั้นจะมีความผูกพันติดยึด กระทั่งเป็นความกำหนัดหรือเป็นราคะหรือโลภะได้ ในทางตรงกันข้าม หากมุ่งไปยังพวกที่เป็นปรปักษ์เกลียดชังกันก่อนก็จะเกิดความโน้มเอียงที่จิตนั้นจะปฏิเสธผลักไสกระทั่งเป็นความโกรธ ความเกลียด ความพยาบาทเพิ่มขึ้น

    ดังนั้นกุศโลบายที่จะทำให้การฝึกฝนอบรมก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วและป้องกันอุปสรรคขัดขวางในท่ามกลางการฝึกฝนปฏิบัติจึงพึงมุ่งไปที่พวกกลาง ๆ ก่อน จากนั้นจึงแผ่ไปยังพวกแรกหรือพวกหลัง สุดแท้แต่อย่างไหนจะให้ผลดียิ่งกว่ากัน ซึ่งขึ้นอยู่กับอุปนิสัยของแต่ละบุคคล โดยให้ถือผลที่เกิดขึ้นจริงเป็นหลักก็เป็นพอ

    ดังได้พรรณนามาจึงพึงสังเกตว่ากัมมัฏฐานวิธีจำพวกอัปปมัญญานั้นนอกจากภาวะธรรมที่เกิดกับจิตจะเป็นลำดับตามการฝึกฝนอบรมกัมมัฏฐานวิธีแบบเจโตวิมุตโดยข้ามขั้นอุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตสู่การก่อตัวขึ้นขององค์ทั้งห้าแห่งปฐมฌานก็ตาม แต่มีความเป็นธรรมดา ธรรมชาติของการฝึกฝนอบรมแบบนี้ที่จิตอาจเกิดปัญญาขึ้นในท่ามกลางการฝึกฝนปฏิบัตินั้น รู้เห็นความจริงตามความเป็นจริงตามคุณลักษณะของกัมมัฏฐานวิธีนั้น ๆ

    และเมื่อจิตเกิดปัญญาหนุนความแก่กล้าของกำลังอำนาจแห่งจิตเช่นนั้นแล้ว แทนที่กระบวนการพัฒนาของจิตจะเป็นไปตามลำดับขั้นตอนคืออุคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน และลำดับแห่งอรูปฌาน จิตยังมีขีดความสามารถที่จะทะลุข้ามสภาวะธรรมเหล่านี้ ไปยังขั้นสุดยอดของกัมมัฏฐานวิธีแต่ละวิธี

    นั่นคือสุภวิโมกข์ซึ่งเป็นขั้นสุดยอดของอัปปมัญญาวิธีเมตตา อากาสานัญจายตนฌานสำหรับอัปปมัญญาวิธีกรุณา และวิญญาณัญจายตนฌานสำหรับอัปปมัญญาวิธีมุทิตา จากนั้นก็จะถึงซึ่งแดนที่จิตพร้อมน้อมจิตไปบรรลุถึงวิชชาและวิมุติอันเป็นที่หมายปลายทางของการฝึกฝนอบรมจิต.

    ********

    กราบเรียน ท่านผู้มีอุปการคุณ

    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน ภาค 2 ว่าด้วยเจโตวิมุต เขียนต้นฉบับมาถึงตอนที่ 63 แล้ว ถึงเรื่องของปฐมฌาน เมื่อจบกระบวนการพัฒนาทางจิตโดยหนทางเจโตวิมุติก็จะเป็นอันจบภาคที่ 2 จากนั้นก็จะขึ้นสู่ภาคที่ 3 คือการกระทำอิทธิ ฤทธิ์ และวิชชา ได้ตั้งใจว่าจะพยายามให้จบลงในเนื้อหาเพียง 80 ตอน เท่ากับพระชนมายุของพระตถาคตเจ้า และสามารถลงพิมพ์ได้ครบถ้วนในปีนี้ เพื่อที่กองบรรณาธิการจะได้พิจารณารวบรวมจัดพิมพ์เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีในปีหน้า ทั้งหากสามารถจบลงได้ในเนื้อหา 80 ตอน ก็จะทำให้การจัดพิมพ์ไม่หนาไม่มากเกินไป

    จึงขอบอกกล่าวมาเพื่อกรุณาทราบโดยทั่วกัน

    สิริอัญญา 4 สิงหาคม 2548
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (60) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">11 สิงหาคม 2548 19:27 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="5">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="359"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="359"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ลำดับนี้จะได้พรรณนากัมมัฏฐานวิธีจำพวกอัปปมัญญาชนิดที่สี่คืออุเบกขา ตามที่ได้พรรณนามาก่อนแล้วว่าอุเบกขานั้นมีความต่าง มีความเฉพาะตัว อยู่บ้าง แม้ว่าจะจัดเป็นชนิดหนึ่งในอัปปมัญญาสี่ชนิดก็ตาม

    จำเป็นจะต้องย้ำว่าอุเบกขาก็คือความรู้สึกวางเฉย และความรู้สึกวางเฉยนี้ก็มีอยู่หลายระดับ ตั้งแต่ระดับต่ำสุดที่ไม่รู้สึกรู้สาประการใดต่อสิ่งเร้า แล้วมีความรู้สึกวางเฉย สูงขึ้นไปอีกหน่อยก็คือความวางเฉยที่เกิดจากความไม่รู้จักรับผิดชอบใด ๆ มีความเห็นแก่ตัวจนไม่มีความผูกพันใด ๆ กับใคร สูงขึ้นไปอีกก็คือมีความรู้สึกรู้สากับคนที่รู้จักมักคุ้นหรือมีความผูกพัน แต่รู้สึกวางเฉยกับคนไกลหรือไม่ได้มีความผูกพันกัน สูงขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งก็คือความรู้สึกวางเฉยที่เกิดจากความจำนนเพราะไม่รู้ว่าปัญหาเกิดอย่างไร ทำไมจึงเกิดปัญหาเช่นนั้น และไม่มีวิธีการแก้ไขใด ๆ หาทางออกใด ๆ ไม่ได้ จึงวางเฉยเสีย

    สูงขึ้นไปอีกก็คือแม้จะมีเมตตา กรุณา หรือมุทิตากับผู้อื่นหรือสัตว์อื่นแล้ว ก็ไม่ได้ดังหวัง ไม่เป็นไปดังคาด จึงเกิดความรู้สึกวางเฉย

    สูงขึ้นไปอีกคือความรู้สึกวางเฉยที่เกิดจากปัญญา ว่าสรรพสิ่งนั้นเป็นอนิจตาคือมีความไม่เที่ยง มีความเปลี่ยนแปลงเสื่อมสลายไป หรือเป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตนที่จะยึดมั่นถือมั่นได้ คือเป็นอนัตตา

    ความวางเฉยหรืออุเบกขาธรรมในระดับต่าง ๆ กันนั้นมีประจำอยู่กับสัตว์ทั้งหลายทุกตัวคน ซึ่งอาจกล่าวว่าเป็นสัญชาตญาณอย่างหนึ่งของมนุษย์ก็ได้ ยกเว้นก็แต่ความรู้สึกวางเฉยสองอย่างหลังเท่านั้นที่จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการฝึกฝนอบรมจิต และการฝึกฝนอบรมจิตจำพวกอัปปมัญญาในวิธีอุเบกขานี้ก็คือการฝึกฝนอบรมจิตให้มีอุเบกขาธรรมชนิดหลังสุดนั่นเอง

    สำหรับอุเบกขาธรรมชนิดหลังสุดนั้นเป็นอุเบกขาที่เกิดขึ้นจากกำลังจิตบรรลุถึงระดับสูงสุดและปัญญาเจริญขึ้นในระดับสูงสุด เห็นแจ้งในพระไตรลักษณ์ว่าสรรพสิ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน จิตจึงเป็นอิสระพ้นจากการครอบงำจากกิเลสและอาสวะทั้งหลาย จึงถึงซึ่งอุเบกขาธรรม ซึ่งเป็นอุเบกขาธรรมเดียวกันกับอุเบกขาสัมโพชฌงค์ในสัมโพชฌงค์นั้น

    บางคัมภีร์ระบุว่าอัปปมัญญาวิธีอุเบกขานั้นจะให้ผลสูงสุดที่จตุตถฌาน บางคัมภีร์ก็ระบุว่าจะให้ผลสูงสุดที่อากิญจัญญายตนฌาน แม้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคก็ได้ยกพุทธพจน์บางตอนมาแสดงว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวว่าอุเบกขาเจโตวิมุตติมีอากิญจัญญายตนฌานเป็นผลขั้นสุดยอด”

    ผลขั้นสุดยอดในการฝึกฝนอบรมจิตในพระพุทธศาสนาตามที่พระบรมศาสดาทรงตรัสสอนนั้นคือการพ้นจากกิเลสาสวะทั้งปวง ถึงซึ่งวิชชาและวิมุตติ แต่ในการตรัสกับบุคคลบางจำพวกบางระดับและบางกาลก็จะทรงตรัสเกี่ยวกับความสุดยอดในระดับที่ต่าง ๆ กัน ดังนั้นอัปปมัญญาวิธีอุเบกขาจึงหาได้เป็นกัมมัฏฐานวิธีที่เป็นแค่ตาลยอดด้วนคือสุดยอดอยู่แค่จตุตถฌาน หรืออากิญจัญญายตนฌานไม่ หากคงมีที่หมายปลายทางสุดยอดคือวิชชาและวิมุตติ อันเป็นเป้าหมายสูงสุดที่พระบรมศาสดามุ่งตรัสสอนนั่นเอง

    ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือโพชฌงค์เจ็ด ก็มีอุเบกขาเป็นองค์สุดท้าย คืออุเบกขาที่กำลังจิตและปัญญาเจริญถึงขั้นสูงสุด เห็นธรรมตามความเป็นจริงว่าสรรพสิ่งเป็นอนิจตา ทุกขตา และอนัตตา จิตจึงเป็นอิสระสูงสุด พ้นจากการครอบงำของกิเลสและอาสวะทั้งหลาย จึงถึงซึ่งความเป็นอุเบกขา และเมื่อถึงสภาวะธรรมนั้นแล้วจิตย่อมน้อมไปสู่วิชชาและวิมุตตินั่นคือวิมุตตะมิติได้

    อุเบกขาองค์ธรรมสุดท้ายแห่งพรหมวิหารหรืออัปปมัญญาวิธีอุเบกขาย่อมไม่ใช่ตาลยอดด้วนที่จำกัดขีดคั่นอยู่เพียงนั้นเพียงนี้ หากย่อมมีที่สุดคือสภาวะถึงที่สุดแห่งทุกข์ พ้นจากกิเลสและอาสวะทั้งหลาย ถึงซึ่งวิมุตตะมิติเหมือนกัน ดังนั้นท่านทั้งปวงที่จะฝึกฝนอบรมกัมมัฏฐานวิธีอัปปมัญญาชนิดอุเบกขาจึงอย่าได้ท้อถอยน้อยอกน้อยใจว่าจะบรรลุธรรมขั้นสูงสุดแค่นั้นแค่นี้เลย พึงเข้าใจและเชื่อมั่นในคำตรัสสอนของพระตถาคตเจ้าเถิดว่าอัปปมัญญาวิธีก็ดี กัมมัฏฐานวิธีทั้ง 38 หรือ 40 วิธีก็ดี ล้วนมีที่หมายปลายทางสุดยอดคือวิมุตตะมิติทั้งสิ้น

    ดังนี้แล้วก็จะเจริญศรัทธาเป็นที่ตั้งแห่งความเพียรในการฝึกฝนอบรมเพื่อถึงซึ่งธรรมอันประเสริฐที่พระบรมศาสดาได้ทรงค้นพบและได้ทรงตรัสสอน

    บางคัมภีร์ระบุว่าการเจริญอุเบกขานั้นจะต้องแผ่จิตออกไปภายนอกในทิศทางต่างๆ ในบุคคลต่าง ๆ โดยมีบทภาวนาบ้าง โดยมีการกระทำอารมณ์กับจิตบ้าง ซึ่งล้วนเป็นแบบอย่างเดียวกันกับการแผ่พลังจิตเมตตา กรุณา และมุทิตา ซึ่งถ้าว่าในทางปริยัติก็มีความเป็นไปได้และดูเหมือนว่าจะเป็นไปได้เช่นนั้น

    แต่ในการปฏิบัติจริงนั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะการฝึกฝนอบรมจิตให้มีความวางเฉยในระดับต้น ๆ ไปจนถึงขั้นสูงสุดมุ่งอยู่ที่จิตเองทั้งสิ้น ไม่ได้แผ่ออกไปไหนและไม่ได้แผ่ออกไปให้กับใคร และใครไหนก็ไม่อาจรับผลของการแผ่นั้นได้ เพราะมุทิตาเป็นปัญญาที่หนุนเนื่องก่อตามพลังอำนาจจิตที่เข้มข้นจากการฝึกฝนโดยลำดับ เป็นกำลังจิตและปัญญาที่พัฒนาจิตนั้นเองให้ถึงซึ่งความวางเฉยด้วยปัญญา

    การฝึกฝนอบรมจิตโดยกัมมัฏฐานวิธีอุเบกขาอัปปมัญญานี้ หลายคัมภีร์ระบุว่าจะฝึกฝนได้ก็แต่โดยผ่านการฝึกฝนอบรมอัปปมัญญาวิธีเมตตา กรุณา และมุทิตามาก่อน บ้างถึงขนาดเปรียบเทียบกับการปลูกบ้านว่าอุเบกขาอัปปมัญญาวิธีนั้นเหมือนกับการมุงหลังคาบ้าน จะต้องขุดหลุม ยกเสา วางโครงหลังคาให้เสร็จเสียก่อนจึงจะมุงหลังคาได้ แล้วสรุปว่าจะต้องผ่านการฝึกฝนอบรมกัมมัฏฐานวิธีอัปปมัญญาแบบเมตตา กรุณา และมุทิตามาโดยลำดับก่อน จึงจะเริ่มต้นฝึกฝนอบรมแบบอุเบกขาได้

    ก็ไม่ผิดแต่ก็ไม่ถูกเสียทีเดียว เพราะการฝึกฝนปฏิบัติแบบอุเบกขานั้นสามารถฝึกฝนได้ทั้งสองทาง คือเริ่มต้นฝึกฝนแบบเมตตา กรุณา และมุทิตามาโดยลำดับก่อนแล้วจึงฝึกแบบอุเบกขาก็ได้ แม้กระทั่งผู้ที่เคยฝึกฝนแบบกสิณวิธีหรืออสุภสัญญาหรืออนุสติหรืออาหาเรปฏิกูลสัญญา หรือจตุธาตุววัตถานมาก่อนแล้วเกิดความปรารถนาชอบพอที่จะฝึกฝนอบรมแบบอุเบกขา ก็ย่อมฝึกฝนอบรมจิตตนได้ ขอเพียงได้รับคำแนะนำหรือรับกัมมัฏฐานจากผู้เป็นอาจารย์หรือกัลยาณมิตรที่ถูกต้องเท่านั้น ซึ่งหากจะฝึกฝนปฏิบัติเช่นนี้ก็สามารถเริ่มต้นต่อเนื่องจากที่เคยฝึกฝนไว้แต่เดิมได้โดยสะดวก

    หรือจะเริ่มต้นฝึกฝนอบรมกันที่แบบอุเบกขาเลยก็ได้ และเนื่องจากระดับของอุเบกขาที่มีอยู่ประจำเป็นสัญชาตญาณของทุกตัวคนนั้นต่าง ๆ กัน ดังนั้นการเริ่มต้นฝึกฝนอบรมจึงสามารถเริ่มต้นฝึกจากความเป็นจริงของแต่ละคนได้ โดยเริ่มต้นจากความรู้สึกความวางเฉยในระดับต่าง ๆ ที่มีอยู่จริง เป็นอยู่จริงกับตัวนั่นแหละ เริ่มต้นกันที่ตรงนี้

    นั่นคือเมื่อทำสมาธิจนจิตมีความตั้งมั่น มีความบริสุทธิ์พอประมาณแล้ว ก็เร่งความเพียรพิจารณาที่จิตนั่นเองว่ามีความวางเฉยประจำจิตอยู่ที่ระดับใด นี่คือการเริ่มต้นจากความเป็นจริงของแต่ละคน จากนั้นก็ยกระดับความวางเฉยให้สูงขึ้นเป็นขั้น ๆ ตามกำลังอำนาจของจิตที่ได้รับการฝึกฝนอบรมให้เข้มแข็งแกล้วกล้าและตั้งมั่นขึ้นโดยลำดับ

    สภาวะของจิตที่มีปัญญาเจริญตามขึ้นมาจากการพิจารณานั้นก็จะค่อย ๆ เห็นความจริงขึ้นเป็นลำดับไปว่าอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้ไม่รู้สึกรู้สาต่อสิ่งเร้าทั้งปวง อะไรที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้ไม่รู้สึกรับผิดชอบจนเกิดเป็นความวางเฉย อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้วางเฉยได้กับคนที่ไม่รู้จักมักคุ้น แต่กับคนที่ผูกพันใกล้ชิดหรือเป็นญาติสนิทกลับวางเฉยอยู่ไม่ได้

    ออกจะยากลำบากบ้างเพราะเป็นการเริ่มต้นการฝึกฝนอบรมแบบที่ละเอียดประณีตลึกซึ้งที่สุดของกัมมัฏฐานวิธีจำพวกอัปปมัญญา และยิ่งเป็นแบบอุเบกขาซึ่งต้องอาศัยปัญญาอย่างยอดประกอบด้วยแล้ว ก็ยิ่งละเอียดประณีตลึกซึ้งขึ้นไปอีก แต่เมื่อศรัทธามั่นในสิ่งที่พระบรมศาสดาทรงค้นพบ ทรงตรัสสอนและทรงดำเนินในเส้นทางสายนี้มาก่อนแล้ว ก็จะเพิ่มกำลังความเพียรทำให้อินทรีย์แก่กล้าขึ้น ทำให้นามกายค่อยๆ แก่กล้าแข็งแกร่งขึ้นโดยลำดับ

    ในที่สุดก็จะเห็นความจริงตามความเป็นจริงว่าการที่วางเฉยได้กับบางเรื่องหรือกับบางคนไม่รู้สึกวิตกทุกข์ร้อนใด ๆ กับเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับบางคนหรือบางพวกก็เพราะไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นกับบุคคลหรือเรื่องราวเหล่านั้น และเหตุที่วางเฉยกับบางเรื่องบางคนไม่ได้ก็เพราะมีความยึดมั่นถือมั่นกับบุคคลหรือเรื่องราวเหล่านั้น

    ปัญญาเห็นความจริงในระดับนี้จะเกิดขึ้นในขณะที่ระดับกำลังของจิตได้รับการฝึกฝนอบรมยกระดับสูงขึ้นเป็นอันมากแล้ว และการเห็นความจริงนี้ก็จะมีความแจ่มแจ้งชัดเจนเป็นลำดับไปด้วย ในที่สุดก็จะเห็นความจริงด้วยปัญญาว่าการที่วางเฉยได้หรือไม่ได้ในระดับใด ๆ นั้นมีเหตุมีปัจจัยที่สำคัญคือความยึดมั่นถือมั่น

    และจะเห็นว่าความยึดมั่นถือมั่นนั้นคือศัตรูหรือปรปักษ์หรืออุปสรรคของอุเบกขาโดยแท้ เมื่อเห็นเช่นนี้แล้วจิตที่มีกำลังแกร่งกล้าขึ้น มีความเพียรหนุนเนื่องในการพิจารณาธรรมด้วยปัญญาก็จะเห็นความจริงต่อไปโดยลำดับว่าเหตุที่ยึดมั่นถือมั่นก็เพราะว่ามายาภาพได้ปกคลุมครอบงำจิตว่าสิ่งทั้งปวงมีความเที่ยงเป็นสุขและเป็นตัวเป็นตน จากนั้นก็จะเห็นมายาภาพและขจัดมายาภาพนั้นเสียด้วยกำลังอำนาจของจิตและกำลังปัญญาที่ได้พัฒนามาโดยลำดับ

    สำหรับผู้ที่ฝึกฝนอบรมกัมมัฏฐานวิธีแบบอื่นโดยเฉพาะวิธีเมตตา กรุณา มุทิตาแล้วมาฝึกฝนอบรมแบบอุเบกขานั้นก็จะเห็นด้วยปัญญาในส่วนที่ต่อยอดจากที่ได้ฝึกฝนอบรมมาแต่เดิมว่าเมตตาก็ดี กรุณาก็ดี มุทิตาก็ดี ยังห่างไกลจากความวางเฉย ยังข้องแวะวุ่นวายอยู่กับสิ่งอื่น ทำให้จิตยังคงห่างจากความเป็นอิสระอย่างแท้จริงแล้วเกิดความเบื่อหน่าย สละละวางการข้องแวะนั้นเสีย เพ่งเอาความวางเฉยที่เกิดจากปัญญาเห็นความจริงตามความเป็นจริง

    คือเห็นความจริงว่าสรรพสิ่งล้วนเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา

    ลำดับการฝึกฝนอบรมกำลังอำนาจของจิตและการเจริญของปัญญาเป็นลำดับ ๆ ไปจนกระทั่งเห็นพระไตรลักษณ์ว่าสรรพสิ่งเป็นอนิจจา ทุกขตา และอนัตตา แล้วคลายความยึดมั่นถือมั่นจนถึงที่สุด จิตก็จะถึงซึ่งอุเบกขาอย่างถึงที่สุด มีความเป็นอิสระถึงที่สุด หลุดพ้นจากการครอบงำของกิเลสทั้งปวง

    เพราะเหตุที่การเจริญอุเบกขาแห่งอัปปมัญญาวิธีนี้กำลังและปัญญาของ จิตจะค่อย ๆ สลัดปลดละสิ่งครอบงำทั้งหลาย ซึ่งรวมทั้งวิตก วิจาร ปิติและสุข ไปโดยลำดับดังนั้นเมื่อการฝึกฝนอัปปมัญญาวิธีแบบอุเบกขาบรรลุผลแล้ว จิตก็จะปราศจากวิตก วิจาร ปิติและสุข นั่นคือองค์ห้าแห่งปฐมฌาน แม้กระทั่งองค์แห่งตติยฌานก็จะระงับดับไป เหลืออยู่ก็แต่อุเบกขาแห่งจตุตถฌานเท่านั้น ดังนั้นการฝึกฝนอบรมแบบอุเบกขานี้จึงเป็นแบบที่ลัดขั้นตอนตั้งแต่อุคหนิมิตไปจนถึงตติยฌานและสำเร็จจตุตถฌานทีเดียว

    โดยนัยที่ว่านี้จึงไม่ผิดที่บางคัมภีร์ระบุว่าจตุตถฌานคือสุดยอดของอัปปมัญญาวิธีอุเบกขา และเมื่อได้ฝึกฝนอบรมก้าวหน้าต่อไปอีกก็ไม่ผิดที่บางคัมภีร์ระบุว่าอากิญจัญญายตนฌานเป็นผลขั้นสุดยอดของอัปปมัญญาวิธีอุเบกขา

    แต่ที่ถูกต้องแท้จริงตามที่พระบรมศาสดาทรงตรัสสอนและที่ผู้ฝึกฝนอบรมปฏิบัติสามารถฝึกฝนและปฏิบัติให้ถึงได้ก็คืออุเบกขาที่เป็นขั้นสูงสุดแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ หรืออุเบกขาแห่งพรหมวิหาร อันเป็นแดนที่กำลังจิตและปัญญาเจริญสูงสุด พร้อมน้อมไปสู่วิชชาและวิมุตหรือวิมุตตะมิตินั่นเอง
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (61) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">18 สิงหาคม 2548 18:25 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table><table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="body" align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> ณ บัดนี้เป็นอันว่าได้แสดงกัมมัฏฐานวิธีมาแล้ว 36 วิธี หรือ 36 แบบ ได้แก่กสิณ 10 วิธี อสุภสัญญา 10 วิธี อนุสติ 10 วิธี อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1 วิธี จตุธาตุววัตถาน 1 วิธี และอัปปมัญญา 4 วิธี ซึ่งทั้งหมดนี้จำเป็นที่จะต้องขอย้ำว่าเป็นเพียงแม่บทต้นแบบเท่านั้น

    ดังนั้นหากจะพรรณนาตามที่ตั้งต้นไว้ว่ามีกัมมัฏฐาน 38 วิธี หรือ 38 แบบ ก็จะต้องพรรณนาเรื่องอากิญจัญญายตนะ และเรื่องเนวสัญญานาสัญญายตนะต่อไป

    แต่ต้องขอทำความเข้าใจในเรื่องนี้ให้เป็นที่สำคัญว่าแท้จริงแล้วแม่บทแม่แบบแห่งกัมมัฏฐานวิธีนั้นมีเพียง 36 วิธีเท่านั้น แต่ได้ตั้งต้นไว้ 38 วิธี ก็เพื่อให้เป็นตัวกลางระหว่าง 36 และ 40 วิธี เพื่อจะได้กล่าวถึงเรื่องนี้ในลักษณะกลาง ๆ และเมื่อกล่าวในลักษณะกลาง ๆ แล้วก็ต้องยึดระบบการตรัสสอนของพระบรมศาสดาเป็นที่ตั้ง

    เนื่องจากปัจจุบันนี้ยังมีข้อโต้เถียงกันไม่หยุดไม่หย่อนและยังหาข้อยุติลงตัวกันไม่ได้ว่ากัมมัฏฐานวิธีมี 36 วิธีหรือ 38 วิธีหรือ 40 วิธีกันแน่ เพราะบรรดาผู้ที่นิยมศรัทธาในคัมภีร์วิมุตติมรรคก็จะยืนยันว่ามีเพียง 38 วิธีเท่านั้น ในขณะที่บรรดาผู้นิยมศรัทธาในคัมภีร์ วิสุทธิมรรคก็จะยืนยันว่ามีถึง 40 วิธี บางครั้งข้อขัดแย้งในเรื่องนี้ได้บานปลายขยายตัวจนทำให้เกิดการพิพาทบาดหมางกัน ทำให้การมีความเห็นขัดแย้งเหล่านั้นเป็นอุปสรรคต่อการได้ลิ้มชิมรสพระธรรมอันประเสริฐ และเสียเวลาในการที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ดังตัวอย่างที่มีมาแล้วในลังกาในอดีตกาลโน้น

    ความจริงเรื่องนี้ไม่ได้มีความสำคัญอันใด แต่ที่กลายเป็นเรื่องขัดแย้งกันก็เพราะมีความยึดมั่นถือมั่นที่ต่างกันเท่านั้น การที่จะระงับดับความขัดแย้งนี้เสียให้ยั่งยืนจึงเป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา เป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจในเชิงปริยัติ และเป็นทางที่จะมีความเข้าใจถูกต้องตรงกันได้ อันจะเป็นประโยชน์ในการฝึกฝนอบรมจิตสืบไป

    อันกัมมัฏฐานวิธีไม่ว่า 36 วิธีหรือ 38 วิธี หรือ 40 วิธี ต่างก็เป็นวิธีที่พระตถาคตเจ้าได้ทรงตรัสได้ทรงแสดงแล้วทั้งสิ้น เป็นแต่ว่าการจัดลำดับและระบบในการสอน ในการทำความเข้าใจ ต่างกันไปเท่านั้น

    ต่างกันที่ตรงไหนเล่า? ตรงนี้แหละควรจะได้ทำความเข้าใจเพราะบางทีถกเถียงโต้แย้งกันไปโดยที่ต่างก็ไม่รู้ว่าความต่างกันอยู่ที่ตรงไหน และเป็นผลอย่างไร

    ส่วนที่ไม่ต่างกันเลยก็คือกัมมัฏฐานวิธี 36 วิธี ได้แก่กสิณ 10 อสุภสัญญา 10 อนุสติ 10 อัปปมัญญา 4 อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1 และจตุธาตุววัตถานอีก 1

    ส่วนที่ต่างกันก็คือส่วนที่ประมวลเรียงขึ้นมาใหม่ ซึ่งมีคัมภีร์หลักอยู่สองคัมภีร์คือคัมภีร์วิมุตติมรรคและคัมภีร์วิสุทธิมรรค

    โดยคัมภีร์วิมุตติมรรคนั้นได้เพิ่มขึ้น 2 วิธี คือ อากิญจัญญายตนะ 1 และเนวสัญญานาสัญญายตนะอีก 1 จึงทำให้คัมภีร์วิมุตติมรรคมีกัมมัฏฐานวิธี 38 วิธี
    ส่วนคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นเพิ่มเติมขึ้นไปอีก 2 วิธี คือ อากาสานัญจายตนะ 1 และวิญญาณัญจายตนะอีก 1 จึงทำให้คัมภีร์วิสุทธิมรรคมีกัมมัฏฐานวิธีเพิ่มจากคัมภีร์วิมุตติมรรคอีก 2 วิธีเป็น 40 วิธี

    ความต่างก็อยู่ที่ตรงนี้แหละ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องที่จะมายึดมั่นถือมั่นแล้วเป็นเหตุให้โต้เถียงกัน เพราะไม่ว่า 36 วิธี 38 วิธี หรือ 40 วิธี ก็ตาม ทั้งหมดนั้นล้วนเป็นคำตรัสสอนของพระบรมศาสดาทั้งสิ้น

    เมื่อเข้าใจดังนี้แล้วก็พึงพิจารณาต่อไปว่าอากิญจัญญายตนะ และเนวสัญญานาสัญญายตนะที่เพิ่มขึ้นในคัมภีร์วิมุตติมรรค และอากาสานัญจายตนะ และวิญญาณัญจายตนะที่คัมภีร์วิสุทธิมรรคเพิ่มขึ้นจากคัมภีร์วิมุตติมรรคอีก 2 วิธีนั้นคืออะไร

    ทั้ง 4 วิธีนี้ความจริงก็คือกัมมัฏฐานวิธีเพื่อเข้าถึงอรูปฌานสี่ซึ่งมีลำดับของฌานที่สูงขึ้นมาจากรูปฌานสี่ ถัดจากจตุตถฌานโดยลำดับคือ อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน และเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

    จึงมีข้อสังเกตว่าถ้าหากถือว่าวิธีการเข้าอรูปฌานทั้งสี่เป็นกัมมัฏฐานวิธีก็จะต้องถือด้วยว่าการอบรมปฏิบัติเพื่อเข้าสู่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌานในชั้นของรูปฌานสี่และสัญญาเวทยิตนิโรธหรืออกุปปาเจโตวิมุตติที่อยู่สูงขึ้นไปจากเนวสัญญานาสัญญายตนะก็ต้องเป็นกัมมัฏฐานวิธีด้วย เพราะเป็นกัมมัฏฐานวิธีที่ปฏิบัติเพื่อถึงซึ่งฌานและภูมิธรรมเหล่านั้น

    พระบรมศาสดาของชาวพุทธแม้ว่าภูมิจิตภูมิธรรมของพระองค์จะสูงมาตั้งแต่ยังเป็นพระกุมาร แต่เมื่อเสด็จออกบรรพชาแล้วก็ได้ศึกษาอบรมกับพระอาจารย์ทั้งสองคืออุททกดาบสและอาฬารดาบส

    กับอุททกดาบสนั้นทรงศึกษาจนบรรลุถึงรูปฌานทั้งสี่ มีจตุตถฌานเป็นที่สุด ครั้นทรงทราบจากพระอาจารย์ว่าความรู้ที่จะสอนมีเท่านี้จึงทรงลาไปศึกษาต่อไปกับอาฬารดาบส

    ในการศึกษากับพระอาจารย์อาฬารดาบสนั้น พระองค์ก็ทรงศึกษาจนบรรลุถึงอรูปฌานสี่ มีเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเป็นที่สุด แต่ก็ทรงรู้ด้วยพระองค์เองว่ายังไม่บรรลุถึงความหลุดพ้นอย่างแท้จริง ครั้นทรงทราบจากพระอาจารย์ว่าความรู้ที่จะสอนมีเท่านี้จึงทรงลาพระอาจารย์ออกไปศึกษาปฏิบัติด้วยพระองค์เอง

    ดังนั้นการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงทั้งรูปฌานและอรูปฌานจึงไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นกัมมัฏฐานวิธี แต่เป็นกระบวนการขั้นตอนปฏิบัติเพื่อถึงซึ่งฌานนั้น ๆ อันเป็นขั้นตอนของการพัฒนาภูมิจิตและภูมิธรรมในหนทางเจโตวิมุตติ โดยมีเครื่องมือคือกัมมัฏฐานวิธี 36 วิธีนั่นเอง

    ความจริงแล้วในทางปฏิบัติจะไม่มีเหตุอันใดให้โต้เถียงกันได้เลยเพราะผลการปฏิบัติจะเป็นไปตามลำดับขั้นตอน ข้อที่โต้เถียงกันนั้นเป็นเพียงเรื่องของเชิงปริยัติ และมักจะเถียงกันโดยที่ไม่รู้ถึงการปฏิบัติ นี่แล้วจึงเป็นที่มาแห่งความขัดแย้งโดยที่ไม่ก่อประโยชน์อันใดเลย

    ดังนี้จึงวิงวอนเพื่อนผู้สนใจในธรรมทั้งหลายและเพื่อนผู้ร่วมทุกข์เกิดแก่เจ็บตายทั้งหลายได้พึงเข้าใจเถิดว่าในส่วนที่เป็นกัมมัฏฐานวิธีแม่บทแม่แบบจริง ๆ นั้น พระตถาคตเจ้าทรงบัญญัติไว้ 36 วิธี คือ กสิณ 10 อสุภสัญญา 10 อนุสติ 10 อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1 จตุธาตุววัตถาน 1 และ อัปปมัญญา 4 ส่วนอีก 2 หรืออีก 4 วิธีที่เป็นเหตุให้โต้แย้งกันนั้นเป็นเรื่องของกระบวนการและขั้นตอนในการพัฒนาของจิต

    กัมมัฏฐานวิธีทั้ง 36 วิธีนี้คือเครื่องมือหรือแบบแผนในการฝึกฝนอบรมปฏิบัติ ในการพัฒนาจิตของตนไปตามหนทางเจโตวิมุตติ

    ในหนทางเจโตวิมุตตินั้นก็มีเส้นทางที่แน่นอนชัดเจนเป็นระบบอยู่ เช่นเดียวกันกับหนทางปัญญาวิมุตที่มีเส้นทางที่แน่นอนชัดเจนเป็นระบบ คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน โดยแต่ละขั้นตอนใหญ่เหล่านี้ยังมีขั้นตอนย่อยแต่ละขั้นอีก 4 ขั้นตอนย่อยดังที่ได้พรรณนามาแล้วในภาคปัญญาวิมุตนั้น

    เส้นทางเจโตวิมุตนั้นก็มีขั้นตอนของการพัฒนาระดับจิตและภูมิธรรมของจิต ซึ่งจัดลำดับได้ดังนี้คือ อุคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน สัญญาเวทยิตนิโรธ และอกุปปาเจโตวิมุตติ รวมเป็น 12 ขั้น

    เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับขั้นตอนของเส้นทางดังกล่าวในหนทางเจโตวิมุตติและเพื่อเปรียบเทียบกับขั้นตอนของเส้นทางในหนทางปัญญาวิมุต จึงได้จัดทำแผนผังของกระบวนการพัฒนาจิตตั้งแต่ความเป็นปุถุชนหรือบุคคลธรรมดาที่เมื่อได้อาศัยเครื่องมือคือกัมมัฏฐานวิธีที่พระบรมศาสดาทรงตรัสสอนทั้ง 36 วิธีแล้ว ภูมิธรรมและจิตก็จะพัฒนาก้าวหน้าเป็นลำดับไป จนกระทั่งถึงแดนที่น้อมจิตไปบรรลุถึงวิชชาและวิมุตคือวิมุตตะมิติ ถึงซึ่งความเป็นพระอริยบุคคล ดังที่ได้แนบไว้เป็นผนวกข้างท้ายนี้

    ในการฝึกฝนอบรมปฏิบัติที่เป็นจริงโดยทั่วไปจะเป็นไปตามลำดับขั้นตอนดังกล่าวนั้น แต่กัมมัฏฐานวิธีบางวิธีก็มีหนทางลัดขั้นตอนอยู่เหมือนกัน สำหรับการเริ่มต้นฝึกฝนหรือเริ่มต้นทำความเข้าใจในชั้นนี้ควรทำความเข้าใจและเห็นในลักษณะที่เป็น 12 ขั้นตอนนั้นเถิด ก็จะเห็นเส้นทางในหนทางเจโตวิมุตติได้ตลอดทั้งเส้น

    อุปมาได้กับการเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ แม้ไปได้ทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศ แต่ก็ต้องผ่านเส้นทางที่แน่นอนเส้นทางหนึ่งระหว่างกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่ กัมมัฏฐานวิธีทั้งหมดก็คือเครื่องมือเดินทางว่าเป็นเครื่องมือเดินทางทางบก ทางเรือ หรือทางอากาศ ส่วนขั้นตอนในการพัฒนาจิตหรือภูมิธรรมที่จะบังเกิดขึ้นนั้นก็คือพื้นที่ต่าง ๆ หรือจังหวัดต่าง ๆ ในเส้นทางกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่นั่นเอง

    รถ เรือ หรือเครื่องบิน เป็นเครื่องมือในการเดินทาง พื้นที่และจังหวัดในเส้นทางคือขั้นตอนการพัฒนาของจิต ซึ่งภูมิประเทศในบางพื้นที่ก็สามารถลัดเส้นทางให้สั้นตรงได้ ฉันใดก็ฉันนั้น

    เพราะเหตุนี้เมื่อได้แสดงกัมมัฏฐานวิธีมาครบ 36 วิธีอันเป็นแม่บทแม่แบบแล้วส่วนที่เหลือค้างคาตามที่ตั้งต้นมาแต่เดิมคืออากิญจัญญายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ จึงขอยกไปพรรณนาในส่วนที่เป็นขั้นตอนการฝึกฝนอบรมและพัฒนาภูมิธรรมในหนทางเจโตวิมุตติต่อไป

    ณ ลำดับแต่นี้ไปจักได้พรรณนาแสดงขั้นตอนในการฝึกฝนอบรมพัฒนายกระดับภูมิจิตและภูมิธรรมในหนทางเจโตวิมุตติที่ได้ใช้แม่บทแม่แบบปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างในกัมมัฏฐานวิธี 36 วิธี

    โดยจะพรรณนาตั้งแต่ขั้นต้นที่สุดคืออุคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน สัญญาเวทยิตนิโรธิ และอกุปปาเจโตวิมุต ซึ่งเป็นแดนที่น้อมจิตไปสู่วิชชาและวิมุตติ ถึงซึ่งวิมุตตมิติ

    แต่จะเว้นเสียไม่พูดถึงกระบวนการลัดข้ามขั้น ซึ่งแม้ว่าจะมีอยู่ เช่น การฝึกฝนอบรมจำพวกอัปปมัญญาอุเบกขาวิธีที่สามารถบรรลุถึงจตุตถฌานได้โดยตรง นั่นคือการลัดขั้นตอนอุคหนิมิตถึงตติยฌาน ไปบรรลุถึงจตุตถฌานทีเดียว หรือแม้การลัดขั้นตอนโดยกัมมัฏฐานวิธีอื่น ๆ ตามที่ทรงตรัสสอนไว้ นอกจากจำเป็นจะต้องกล่าวเพื่อความต่อเนื่องและเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ เนื่องจากเห็นว่าเป็นเรื่องที่หากได้สัมผัสและรู้เห็นเองในการปฏิบัติจะดีกว่า และถ้าหากได้พรรณนาโดยลำดับแล้วก็เหมือนกับการได้รู้เห็นแผนที่การเดินทางเสียก่อน พอถึงการปฏิบัติแล้วลัดขั้นตอนตามธรรมดาธรรมชาติก็จะส่งเสริมให้รู้และเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น

    ในกระบวนการฝึกฝนอบรมในเส้นทางเจโตวิมุตตินั้นจะมีสิ่ง 3 สิ่งที่ได้รับการพัฒนายกระดับให้มีความเจริญรุดหน้าไปพร้อม ๆ กัน และเกี่ยวเนื่องกัน กระทั่งเป็นสิ่งเดียวกัน นั่นคือกำลังของสมาธิ การก่อตัวและพัฒนาของนามกาย และภาวะของจิตที่ยกระดับไปตามกระบวนการและขั้นตอนในหนทางเจโตวิมุตตินั้น

    ดังนั้นในการพรรณนาเกี่ยวกับกระบวนการทั้ง 12 กระบวนการนั้นย่อมจำเป็นที่จะต้องกล่าวถึงเรื่องสมาธิ นามกาย และภาวะแห่งจิตประกอบกันไป ซึ่งอาจจะเห็นว่าซ้ำกันไปบ้าง แต่ก็พึงเข้าใจว่าแม้จะซ้ำกันบ้างแต่เป็นการซ้ำในระดับและคุณภาพที่ต่างกัน ตามกระบวนการพัฒนาที่ได้ฝึกฝนอบรมไปนั้น

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="404"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="404"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>

    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> </tbody></table> [​IMG]
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (62) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">25 สิงหาคม 2548 17:37 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table><table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="body" align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="5">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="415"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="415"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> เมื่อได้แสดงกัมมัฏฐานวิธีในหนทางเจโตวิมุตติมาโดยลำดับแล้ว แต่นี้ไปจักได้พรรณนากระบวนการพัฒนาของจิตตั้งแต่ที่ยังเป็นคนธรรมดาสามัญเป็นลำดับไป จนกระทั่งถึงแดนที่น้อมใจไปสู่วิมุตตมิติในที่สุด หรือนัยหนึ่งก็คือเพื่อถึงซึ่งแดนมหัศจรรย์แห่งโลกภายในอันเป็นและอยู่ในวิสัยที่เวไนยสัตว์สามารถไปถึงได้

    ในเส้นทางดังกล่าวจะประกอบด้วยขั้นตอนหรือกระบวนการในการพัฒนากำลังอำนาจของจิตรวม 12 ขั้น คือ การที่คนเราปฏิบัติกัมมัฏฐานวิธีอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างแล้วได้บรรลุถึงอุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน สัญญาเวทยิตนิโรธ และอกุปปาเจโตวิมุตติ

    แต่จะไม่กล่าวถึงกระบวนการลัดขั้น ทั้งนี้แม้ว่ากัมมัฏฐานวิธีบางวิธีนั้นสามารถลัดขั้นตอนกระบวนการพัฒนาของจิตได้ก็ตาม เช่น กัมมัฏฐานวิธีจำพวกอัปปมัญญาอาจลัดขั้นตอนไปสู่ปฐมฌานโดยตรงก็มี หรืออัปปมัญญาวิธีอุเบกขาที่อาจลัดขั้นตอนไปสู่จตุตถฌานก็มี โดยจะปล่อยไว้ให้ผู้ฝึกฝนอบรมได้สัมผัสรับรู้ด้วยตนเอง ซึ่งจะง่ายกว่าและเป็นประโยชน์กว่าเพราะไม่ต้องเสียเวลาทำความเข้าใจในเชิงปริยัติ

    เนื่องจากการปฏิบัติจริงนั้นย่อมสัมผัสความจริงตามความเป็นจริงได้ด้วยตนเองว่ามีการลัดขั้นตอนได้อย่างไร และเกิดผลอย่างไร โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาจดจำเนื่องจากการปฏิบัตินั้นเป็นเรื่องของจริง ไม่ใช่เรื่องการจดจำหรือการพิสูจน์ด้วยเหตุผลทางตรรกะ

    แต่ทว่าการได้กล่าวถึงกระบวนการแต่ละขั้นตอนทั้ง 12 ขั้นตอนนี้จะทำให้ได้รู้ได้เข้าใจล่วงหน้าว่าในการปฏิบัติจริงนั้นจะพานพบประสบสัมผัสอะไรบ้าง เหมือนกับการได้เห็นแผนที่เดินทางล่วงหน้า หากรู้และเข้าใจแผนที่นั้นเป็นอย่างดีแล้ว เมื่อถึงเวลาเดินทางจริงก็จะรู้และเข้าใจความจริงได้ง่ายขึ้น

    ในการพรรณนาถึงกระบวนการพัฒนาของจิต 12 ขั้นนั้นยังมีเรื่องอีก 3 เรื่องที่เกี่ยวเนื่องกันอยู่ และจำเป็นต้องพรรณนาไว้เสียแต่ในเบื้องต้นนี้ เพราะจะไม่ต้องเสียเวลากล่าวโดยซ้ำซากเมื่อถึงวาระนั้น ๆ แม้หากจำเป็นจะต้องกล่าวก็กล่าวแต่เพียงสังเขปก็จะเกิดความเข้าใจได้ดีขึ้น
    เรื่อง 3 เรื่องที่เกี่ยวเนื่องกันอยู่ก็คือเรื่องสมาธิเรื่องหนึ่ง เรื่องฌานเรื่องหนึ่ง และเรื่องนามกายอีกเรื่องหนึ่ง ดังนั้นจึงขอพรรณนาทั้ง 3 เรื่องนี้ในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับกระบวนการพัฒนาจิตทั้ง 12 ขั้นเสียก่อน

    เรื่องแรกคือเรื่องสมาธิ มีการพูดถึงสมาธิกันทั่วทุกหนแห่ง และทุกหนแห่งนั้นก็พูดถึงสมาธิในทางที่ดี ในทางที่เป็นประโยชน์ทั้งสิ้น ตั้งแต่การเรียนหนังสือ การทำการงาน หรือการคิดค้นสิ่งใด ๆ ก็ตามก็มักจะพูดกันว่าหากไม่มีสมาธิก็จะทำไม่ได้ดี ซึ่งแสดงให้เห็นอยู่ในตัวว่าสมาธินั้นให้คุณประโยชน์ในการทำการงานทั้งปวงได้ดีและดียิ่งขึ้น

    แต่สมาธิก็มีหลายความหมายหลายขั้น ที่กล่าวกันโดยทั่วไปนั้นหมายถึงสมาธิโดยทั่ว ๆ ไปได้แก่ความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งและทุ่มเทความสนใจในเรื่องนั้นอย่างเต็มที่ ไม่มีวอกแวกไปในเรื่องอื่นก็ย่อมได้ชื่อว่ามีสมาธิแล้ว

    แต่สมาธิที่จะพรรณนาในที่นี้หมายถึงสมาธิที่สูงกว่าสมาธิในความหมายที่กล่าวกันโดยทั่วไป ซึ่งมีอยู่หลายระดับคือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ และอัปปณิหิตสมาธิ

    ขณิกสมาธิคือสมาธิที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวเป็นห้วง ๆ หรือเป็นช่วงๆ เกิดขึ้นแล้วก็คลายไป ซึ่งบุคคลโดยทั่วไปก็มีได้และเป็นจุดเริ่มต้นของการฝึกฝนอบรมจิตที่บุคคลทั่วไปจะพึงปฏิบัติ เพื่อย่างเข้าสู่บันไดขั้นแรกของการทำสมาธิ นั่นคือการทำจิตให้มีความสงบ มีความตั้งมั่น ขจัดอารมณ์อื่นที่รบกวนออกไป แม้ว่าจะทำได้หรือเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวก็ตาม

    อุปจารสมาธิคือสมาธิที่ทำให้จิตมีความสงบมากขึ้น มีความตั้งมั่นมากขึ้น มีความบริสุทธิ์มากขึ้น ใกล้เข้าไปกับเขตที่จิตจะถึงซึ่งฌาน ดังนั้นจึงได้ชื่อว่าเป็นสมาธิที่เฉียดญาณที่โบราณาจารย์ท่านกล่าวว่าเหมือนกับถนนหน้าหมู่บ้าน

    อุปจารสมาธิเป็นสมาธิที่สูงกว่าขณิกสมาธิ ในตอนเริ่มต้นการฝึกฝนถึงกระบวนการนี้จิตจะต้องต่อสู้กับมายาและสิ่งรบกวนทั้งปวง และเป็นแดนที่จิตจะต้องเผชิญหรือต้องต่อสู้กับนิวรณ์ทั้งห้าซึ่งเป็นอุปกิเลสที่ขัดขวางความสงบ ความตั้งมั่น ความบริสุทธิ์ของจิต

    อุปจารสมาธิจะก่อตัวขึ้นตั้งแต่จิตได้เข้าสู่หรือบรรลุถึงอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต ดังนั้นในขณะที่บรรลุถึงปฏิภาคนิมิตจิตจะอยู่ในอุปจารสมาธิ

    แต่สำหรับผู้ที่บรรลุธรรมขั้นสูงถึงจตุตถฌานแล้ว นามกายแปรเปลี่ยนสภาพเป็นทิพย์กายแล้ว การกระทำอิทธิ ฤทธิ์ ปาฏิหาริย์และวิชชาจะต้องกระทำในขณะที่จิตอยู่ในอุปจารสมาธิ หรือถ้าหากจิตอยู่ในอัปปนาสมาธิหรือสมาธิขั้นที่สูงกว่าก็ต้องถอนหรือเคลื่อนสมาธินั้นมาที่อุปจารสมาธิก่อนจึงจะกระทำอิทธิ ฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ และวิชชาได้

    อัปปนาสมาธิคือสมาธิที่จิตมีความสงบแน่วแน่ ถึงซึ่งเขตแดนที่เป็นฌานแล้ว สมาธิในขั้นอัปปนานี้จิตจะใช้ปัญญาพิจารณาอารมณ์เป็นลำดับขั้นตอนไป รวมทั้งการขจัดอารมณ์และองค์ฌานอื่น ๆ เพื่อก้าวไปสู่องค์ฌานที่สูงกว่า

    นับตั้งแต่บรรลุถึงปฐมฌานไปจนถึงจตุตถฌาน จิตจะตั้งอยู่ในอัปปนาสมาธิ แต่เมื่อจิตก้าวข้ามพ้นจตุตถฌานไปแล้วก็จะเกิดสมาธิที่ประณีตลึกซึ้งกว่าได้แก่สมาธิประเภทที่เหลือ คือ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ และอัปปณิหิตสมาธิ

    สุญญตสมาธิคือสมาธิที่ทำให้จิตมีความสงบ มีความว่าง จากอารมณ์ทั้งปวง

    อนิมิตตสมาธิคือสมาธิที่ทำให้จิตเป็นอิสระ พ้นจากการปรุงแต่งของอารมณ์ทั้งปวง

    อัปปณิหิตสมาธิคือสมาธิที่ทำให้จิตผ่องใส โดยไม่ตั้งหรือติดอยู่กับอารมณ์ใดๆ ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ที่มีรูปหรือไม่มีรูป หรืออาศัยรูปหรือไม่อาศัยรูปก็ตาม หรืออีกนัยหนึ่งก็คือไม่รองรับด้วยอารมณ์อื่นใดอีก

    ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ คือสมาธิที่จะได้พรรณนาถึงในกระบวนการฝึกฝนอบรมจิต ส่วนสมาธิจำพวกที่เหลือนั้นเป็นคำเรียกสมาธิในเชิงปริยัติที่เป็นผลมาจากจิตได้เข้าถึงสมาธิลักษณะนั้น ๆ แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องกล่าว ดังนั้นในกระบวนการฝึกฝนอบรมจิตจึงพึงรู้และเข้าใจสมาธิเพียง 3 ประเภทคือกนิกกะสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิก็เพียงพอแล้ว

    เรื่องที่สองคือเรื่องฌาน ซึ่งมีอยู่ 3 ส่วน คือสภาวะของจิตหรือภูมิธรรมของจิตก่อนที่จะถึงซึ่งฌานหรือก่อนที่จะได้ฌาน ได้แก่สภาวะของจิต ของบุคคลธรรมดาทั้งปวง ไปจนถึงสภาวะจิตก่อนที่จะบรรลุปฐมฌานส่วนหนึ่ง สภาวะของจิตที่บรรลุถึงรูปฌานได้แก่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน รวมทั้งอรูปฌานสี่ ได้แก่อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน และเนวสัญญานาสัญญายตนฌานส่วนหนึ่ง และสภาวะของจิตที่บรรลุถึงแดนที่สามารถน้อมจิตไปบรรลุถึงวิชชาและวิมุตติหรือวิมุตตมิติอีกส่วนหนึ่ง

    ฌานคือความตั้งมั่นของจิต ความบริสุทธิ์ของจิต และกำลังที่แกล้วกล้าเพิ่มขึ้นของจิตโดยลำดับไป จิตจะถึงฌานก็เมื่อได้ปฏิบัติสมาธิ ทำให้จิตนั้นเข้าสู่ปฐมฌานเป็นลำดับไป และจะพ้นเขตฌานก็ต่อเมื่อบรรลุถึงสัญญาเวทยิตนิโรธและอกุปปาเจโตวิมุตติและในเขตนี้ก็คือเขตแดนที่จิตจะน้อมจิตไปสู่วิชชาและวิมุตตินั่นเอง ในการน้อมจิตนี้จิต จะมีสมาธิในระดับที่เรียกว่าอัปปนาสมาธิเป็นอย่างต่ำ รวมทั้งอาจมีสมาธิอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 อย่างที่เหลือก็ได้

    เรื่องที่สามเรื่องนามกาย ซึ่งได้เกริ่นกล่าวไว้บ้างแล้วว่าคนเรานั้นหาได้มีแต่เพียงกายเนื้อคือร่างกายที่ยาววาหนาคืบแต่เพียงเท่านั้นไม่ สิ่งที่เรียกว่ากายมีอยู่มากมายหลายอย่าง มีลมหายใจเป็นต้น แต่นั่นก็เป็นกายในความหมายที่กล่าวเพียงเป็นเรื่องของส่วนหนึ่งหรือกองหนึ่งเท่านั้น

    แต่ที่จะกล่าวนี้มีความหมายนัยทำนองเดียวกันกับร่างกายอันยาววาหนาคืบนี้ก็คือนามกาย ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดของการฝึกฝนในหนทางเจโตวิมุตติ เพราะว่าสิ่งที่เรียกว่านามกายนั้นก็คือกายของจิตนั่นเอง

    ร่างกายคือกายที่เป็นเนื้อหนัง ส่วนจิตนั้นปกติจะมองไม่เห็นรูปเห็นร่าง แต่ก็จัดว่าเป็นอีกกายหนึ่งที่มีความสมบูรณ์ นั่นคือกายของจิตคือสิ่งที่ทำให้จิตทำงานได้เหมือนกับร่างกาย และสามารถทำงานโดยมีสมรรถนะและขีดความสามารถที่เหนือโพ้นกว่าการทำงานของร่างกายธรรมดา กายของจิตนี้นี่แหละที่เรียกว่านามกาย

    การที่คนเราสามารถสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ก็แต่โดยอาศัยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รวมเป็นหกประการ หรือที่เรียกว่าอินทรีย์ หากสิ้นอินทรีย์นี้แล้วหรืออินทรีย์ทั้งหมดนี้ทำงานไม่ได้ ความเป็นคนก็ไร้ค่าและทำการงานใด ๆ ก็ไม่ได้

    ร่างกายจึงอาศัยอินทรีย์ นั่นคือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รับรู้สัมผัสสรรพสิ่ง แต่ทว่าการเห็นของตา การได้ยินเสียงของหู การได้กลิ่นของจมูก การรู้รสของลิ้น การรู้ร้อนหนาวของร่างกาย และอารมณ์ความรู้สึกทั้งหลายนั้น หาใช่รับรู้สัมผัสได้เองเพราะอวัยวะที่เป็นตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ หากรับรู้สัมผัสได้ก็เพราะยังมีอีกสิ่งหนึ่งเป็นตัวรู้เป็นตัวสัมผัสนั่นก็คือวิญญาณ และวิญญาณในที่นี้ก็คือการทำหน้าที่อย่างหนึ่งของจิตนั่นเอง

    คนเราทั่วไปจิตจะทำหน้าที่ในลักษณะดังที่กล่าวนี้ และแม้ว่าจะมีหน้าที่มากหลาย มีชื่อมากมายหลายหลาก แต่ก็กล่าวสรุปได้ว่าล้วนเป็นการทำหน้าที่ของจิตอย่างเดียวกันทั้งสิ้น

    เพราะเหตุนี้ในการจำแนกในบางลักษณะจึงจำแนกชีวิตนี้ให้เหลือแต่เพียงสองสิ่งคือกายกับจิตเท่านั้น ซึ่งนับว่าเป็นการจำแนกที่ง่ายดีเพราะใคร ๆ ก็สามารถเข้าใจได้เช่นนั้น

    จิตก็มีร่างกายของตนเอง จิตจะมีความแข็งแรงแกร่งกล้าสามารถเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับร่างกายของจิตว่ามีโครงสร้างสูง ต่ำ กำยำ แข็งแรงหรือไม่เพียงใด โครงสร้างและคุณลักษณะของร่างกายของจิตหรือนามกายนั้นมี 5 ส่วนคือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา ดังนั้นนามกายจะมีสมรรถนะหรือขีดความสามารถเยี่ยงมนุษย์ธรรมดาหรือเหนือกว่าวิสัยของมนุษย์ธรรมดาจึงขึ้นอยู่กับนามกายนี้ นั่นคือการพัฒนาโครงสร้างของร่างกายของจิตคือนามกายนี้ให้ถึงซึ่งสภาวะที่มีคุณสมบัติวิเศษกว่าคุณสมบัติของนามกายของคนธรรมดานั่นเอง

    นามกายของคนทั่วไปจะบางเบา จึงขาดกำลังอันแกล้วกล้าที่จะทำหน้าที่ล่วงพ้นวิสัยของมนุษย์ ดังนั้นคนธรรมดาจึงมีสมรรถนะในการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การสัมผัสร้อนหนาว และอารมณ์ความรู้สึกไม่ต่างกันเท่าใดนัก บางครั้งยังสู้สมรรถนะของสัตว์บางชนิดก็ไม่ได้ ดังเช่น สมรรถนะในการได้ยินเสียงที่สู้ปลาวาฬไม่ได้ หรือการได้กลิ่นที่สู้สุนัขไม่ได้ หรือการเห็นที่สู้นกเค้าแมวไม่ได้ เป็นต้น

    แต่เมื่อใดก็ตามที่นามกายได้รับการพัฒนาจากสภาวะที่บางเบาที่มีอยู่ตามธรรมดาธรรมชาติไปจนถึงภาวะหนึ่งที่ถึงซึ่งความเป็นทิพย์กายแล้ว นามกายนั้นก็จะแปรเปลี่ยนเป็นกายทิพย์หรือนามกายที่เป็นทิพย์ที่มีสมรรถนะและขีดความสามารถล่วงพ้นวิสัยมนุษย์ธรรมดาได้ ตั้งแต่การเห็น การได้ยิน การรับรู้ ตลอดจนการใช้กำลังอำนาจของจิตในการทำอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ

    นามกายจะบรรลุถึงความเป็นทิพย์กายได้ก็ต่อเมื่อระดับปฏิบัติสมาธิไปถึงขั้นอัปปนาสมาธิ และระดับฌานบรรลุถึงจตุตถฌาน นามกายจึงแปรเปลี่ยนเป็นทิพย์กายและสามารถกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ได้

    และเมื่อใดที่นามกายนี้ได้พัฒนาก้าวหน้าไปกว่านั้นจนกระทั่งเป็นอิสระจากกิเลสและอาสวะทั้งหลายถึงซึ่งวิมุตตมิติแล้ว นามกายซึ่งเป็นทิพย์กายนั้นก็จะแปรเปลี่ยนสภาพอีกครั้งหนึ่งซึ่งมีชื่อว่าธรรมกาย ดังที่พระตถาคตเจ้ากล่าวสรรเสริญว่ากายชนิดนี้นี่แหละคือกายของพระองค์ แม้กระทั่งเป็นนามเรียกอย่างหนึ่งของพระองค์ด้วย

    ในกระบวนการฝึกฝนอบรมเพื่อพัฒนาจิตโดยกัมมัฏฐานวิธีตามลำดับหนทางเจโตวิมุตติ จึงเกี่ยวพันอย่างแนบแน่นกับเรื่องสมาธิ ฌาน และนามกาย ดังแสดงมานี้

    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> </tbody></table> [​IMG]
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (63) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">1 กันยายน 2548 18:26 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="5">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="350"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="350"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ลำดับนี้จักได้แสดงกระบวนการพัฒนาจิตจากการฝึกฝนอบรมโดยกัมมัฏฐานวิธี ซึ่งมีอุคคหนิมิตเป็นกระบวนการขั้นต้นและปฏิภาคนิมิตเป็นกระบวนการขั้นที่สอง หากอุปมาว่ากระบวนการพัฒนาทั้ง 12 ขั้นเป็นบันไดที่จะไปสู่วิมุตตะมิติแล้ว อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตก็คือบันไดขั้นแรกและขั้นที่สองที่จะไปถึงความมหัศจรรย์แห่งโลกภายในนั้น

    เนื่องจากอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตเป็นกระบวนการพัฒนาของจิตที่ใกล้ชิดต่อเนื่องกันอยู่ จึงพรรณนารวมกันไป ซึ่งจะเกิดความรู้ความเข้าใจอันนำไปสู่การปฏิบัติได้โดยง่าย

    จากพื้นฐานภูมิธรรมและจิตของคนธรรมดาสามัญที่มุ่งเดินตามหนทางเจโตวิมุตติโดยมีอุคคหนิมิตเป็นบันไดขั้นที่หนึ่งและปฏิภาคนิมิตเป็นบันไดขั้นที่สองนั้น ทั้งสองขั้นนี้มีอุปสรรคขวากหนามที่ขวางกั้นอยู่เป็นอันมาก อุปสรรคขวากหนามบางชนิดคือสิ่งที่จะต้องขจัดหรือละในช่วงจังหวะก้าวขั้นที่หนึ่งและขั้นที่สองนี้ ในขณะที่อุปสรรคขวากหนามที่ประณีตละเอียดอ่อนลึกซึ้งจะต้องฝ่าข้ามหรือขจัดในช่วงจังหวะก้าวที่สูงขึ้นไป

    จิตของคนเรานั้นบ้างก็ว่าเดิมทีมีความบริสุทธิ์ผ่องใส แต่มีกิเลสและอาสวะทั้งหลายครอบงำเจือปนในภายหลัง บ้างก็ว่านับตั้งแต่เกิดมาก็มีกิเลสอาสวะครอบงำเจือปนอยู่แล้ว แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไหนก็ตามกิเลสและอาสวะอันเป็นอุปสรรคขวากหนามนั้นก็เป็นเรื่องที่ต้องขจัดหรือละทั้งสิ้น มิฉะนั้นก็จะไม่มีทางที่จะบรรลุถึงวิมุตตะมิติได้

    จิตของคนเรามีปกติไม่ตั้งมั่น ไม่บริสุทธิ์ และอ่อนแอ เพราะเหตุที่มีหลายสิ่งหลายอย่างครอบงำเจือปนอยู่ ที่สำคัญที่สุดคือกิเลสหลักได้แก่โลภะ โทสะ โมหะ ซึ่งมีตัณหาคือความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ความไม่อยากมี ไม่อยากได้ ไม่อยากเป็น และความรู้สึกเฉย ๆ เป็นต้นเหตุ ทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น กิเลสหลักทั้งสามประการนี้คืออุปสรรคที่อยู่ลึกและจะขจัดให้หมดสิ้นได้เมื่อก้าวถึงบันไดขั้นที่สูงแล้ว

    ตื้นขึ้นมาจากกิเลสหลักคือโลภ โกรธ หลงนี้แล้วก็ยังมีอุปสรรคที่เรียกว่าอุปกิเลสหรือนิวรณ์ห้าประการ ได้แก่ความกำหนัดความพอใจในกาม ความพยาบาทผูกเจ็บแค้น ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่ห่อเหี่ยว และความลังเลสงสัย นี่เป็นอุปสรรคที่ห่อหุ้มครอบงำจิตอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ส่งผลต่อพฤติกรรมและอารมณ์ความรู้สึกของผู้คนไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ทำให้จิตไม่มีวันสงบ มีความวอกแวกหวั่นไหว และไม่อยู่กับเนื้อกับตัว จึงเป็นต้นเหตุที่ทำให้จิตอ่อนไร้พลัง เหมือนกับคนที่วิ่งอยู่ตลอดทั้งวันก็ย่อมอ่อนเพลียไร้กำลังเป็นธรรมดา

    ที่อยู่ฉาบผิวของจิตคือคุณลักษณะทั่วไปของจิตคนเรานั่นเองที่ไม่นิ่ง วอกแวก แล่นไปแล่นมา หรือเผลอเรอ เอาแน่เอานอนอะไรไม่ได้ อุปมาดั่งสุนัขหรือวัวที่ไม่ได้ฝึกย่อมใช้การงานไม่ได้ฉันใดก็ฉันนั้น และยังมีมายาของจิตที่ดิ้นรนไม่ยอมรับการฝึกฝนหรือพัฒนา นี่ก็เป็นอุปสรรคที่อยู่ฉาบผิวของจิตอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

    อุปสรรคทั้งสามระดับและความลึกสามชนิดดังกล่าวนี้นี่แหละคืออุปสรรคที่จะต้องฝ่าข้ามหรือขจัดให้หมดสิ้นเป็นลำดับ ๆ ไป

    ในการฝึกฝนอบรมเพื่อบรรลุอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตก็คือการกำจัดอุปสรรคที่ฉาบผิวและอุปสรรคที่อยู่ระดับลึกขั้นที่สองคืออุปกิเลสนั่นเอง

    เพราะอาศัยกัมมัฏฐานวิธีจึงมีการสำรวมจิตเพื่อให้จิตมีความตั้งมั่นและขจัดอุปสรรคที่ครอบงำขัดขวางรบกวนจิตอยู่เป็นลำดับ ๆ ไป ในท่ามกลางการขจัดอุปสรรคเหล่านั้นจิตก็จะยิ่งมีความตั้งมั่นมากขึ้น มีความบริสุทธิ์มากขึ้นเพราะฝุ่นตะกอนได้แก่อุปกิเลสและกิเลสทั้งหลายก็จะบางเบาและหายไปโดยลำดับ กำลังของจิตก็จะพัฒนาแกล้วกล้าขึ้นเป็นลำดับไป

    เมื่อเริ่มต้นปฏิบัติกัมมัฏฐานวิธี จิตที่วอกแวกแล่นไปมาไม่หยุดหย่อนและมายาภาพของจิตก็จะปรากฏขึ้น และจะแสดงฤทธิ์หรืออำนาจที่อาจทำให้เบื่อหน่ายหรือฝึกฝนอบรมไปไม่ได้

    แต่ด้วยความศรัทธามั่นในความประเสริฐของการเดินหนทางเจโตวิมุตติก็จะเกิดความเพียรพยายามในการฝึกฝน เป็นผลให้สติมีความตั้งมั่นและสมาธิก็ค่อย ๆ ก่อตัวขึ้น โดยปัญญาก็จะค่อย ๆ ผ่องใสเห็นความจริงตามความเป็นจริงเป็นลำดับไป นี่คือกระบวนการก่อตัวขึ้นของนามกาย

    เพราะนามกายค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นนั่นเอง จิตก็จะมีความตั้งมั่นคือหลุดพ้นจากความวอกแวก ความเผลอเรอ ความวุ่นวายเป็นลำดับไปด้วย และก้าวเข้าสู่แดนของอุคคหนิมิต

    นั่นคือแดนที่ได้กล่าวมาแต่ต้นแล้วว่าเป็นแดนที่จิตเข้าสู่กระบวนการถ่ายโอนภาพที่เห็นด้วยตามาเป็นภาพที่เห็นด้วยจิต

    เนื่องจากนิมิตที่ถูกกำหนดเป็นอารมณ์ในการฝึกฝนปฏิบัติโดยกัมมัฏฐานวิธีนั้นจะถูกจดจำอย่างครบถ้วนบริบูรณ์โดยการเพ่งและพิจารณา เกิดภาวะที่จำนิมิตนั้นติดตา ในขณะที่จิตเข้าสู่ภาวะจำนิมิตติดตา จิตก็จะมีความมั่นคงมากขึ้น หรือนัยหนึ่งก็คือการออกก้าวเดินจากภาวะจิตใจของปุถุชนเข้าสู่เส้นทางในหนทางเจโตวิมุตติเป็นก้าวแรก

    เมื่อจำนิมิตติดตาแล้วก็เป็นกระบวนการตรวจสอบว่าความจำติดตานั้นมีความครบถ้วนสมบูรณ์และสามารถก่อความจำซ้ำแล้วซ้ำเล่าได้อย่างรวดเร็วขึ้นเป็นลำดับ ในท่ามกลางกระบวนการพัฒนาเช่นนี้ นิมิตซึ่งจำติดตานั้นก็จะถ่ายโอนไปที่จิต โดยการทำหน้าที่ของจิตอย่างหนึ่งที่เรียกว่าสัญญาขันธ์

    นิมิตที่ถูกถ่ายโอนไปที่จิตจะเริ่มแต่การปรากฏของนิมิตขึ้นที่จิตอย่างแผ่วบางแล้วคลายหายไปหรือสลายไป การปรากฏขึ้นอย่างไม่ครบถ้วน อย่างไม่สมบูรณ์หรือโดยมีนิมิตอื่นเข้ามาเจือปนเป็นลำดับไป จนกระทั่งนิมิตนั้นปรากฏขึ้นที่จิตอย่างชัดเจนครบถ้วนและสมบูรณ์

    จากนั้นก็เป็นกระบวนการพัฒนาของจิตไปอีกขั้นหนึ่งที่ทำให้ปรากฏนิมิตซ้ำขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และมีความมั่นคงมากขึ้น มีความครบถ้วนสมบูรณ์มากขึ้นเหมือนกับนิมิตที่เห็นได้ด้วยตาเปล่าในครั้งแรกๆ นั้นทุกประการ

    เมื่อนิมิตปรากฏขึ้นกับจิตอย่างชัดเจนครบถ้วนสมบูรณ์เหมือนกับภาพที่เห็นด้วยตาและเกิดขึ้นดังใจปรารถนาแล้ว ย่อมได้ชื่อว่าบรรลุถึงอุคคหนิมิต

    ในยามนั้นจิตจะมีความตั้งมั่นมากขึ้น มีความบริสุทธิ์มากขึ้นและมีกำลังมากขึ้นกว่าแต่ก่อน เพราะความวอกแวกพลั้งเผลอตลอดจนมายาของจิตได้พ่ายต่อกำลังของจิตที่มีความตั้งมั่นนั่นเอง และเป็นการพ่ายเป็นลำดับ ๆ ไปจนกระทั่งความวอกแวกพลั้งเผลอและมายาหมดสิ้นไปอย่างสิ้นเชิง

    ในภาวะเช่นนั้นจิตได้ฝ่าข้ามอุปสรรคที่ฉาบผิวของจิตอยู่ถึงซึ่งอุคคหนิมิตและดวงนิมิตนั้นจะปรากฏแจ่มชัดครบถ้วนสมบูรณ์กับจิตเหมือนกับภาพที่เห็นได้ด้วยตา ในภาวะเช่นนี้ก็คือภาวะที่จิตเห็นภาพเหมือนกับที่ตาเห็นภาพอย่างครบถ้วนสมบูรณ์

    ภาวะที่จิตเห็นภาพเป็นอุคคหนิมิตเช่นนั้นก็คือภาวะที่นามกายหรือร่างกายของจิตหรือตาของจิตได้เห็นภาพนิมิตนั่นเอง ในยามนี้นามกายก็ได้พัฒนาก่อตัวขึ้นจนกระทั่งมีขีดความสามารถที่จะเห็นนิมิตที่กำหนดไว้ในขณะหลับตาแล้ว

    จิตที่ผ่านอุปสรรคฉาบผิวคือความวอกแวก เผลอเรอ และมายามาจนถึงอุคคหนิมิต จึงทำให้อุปสรรคขัดขวางเหลืออยู่อีกเพียงสองระดับ คือระดับของอุปกิเลสคือนิวรณ์ทั้งห้าและกิเลสหลักคือโลภะ โทสะ โมหะ

    บางคนสามารถได้อุคคหนิมิตในการฝึกฝนอบรมปฏิบัติเพียงครั้งแรกหรือเพียงไม่กี่ครั้ง บางคนก็ต้องใช้เวลามากสักหน่อยหนึ่ง แต่ถึงอย่างไรก็เป็นเรื่องธรรมดา ธรรมชาติที่เวไนยสัตว์สามารถฝึกฝนอบรมจิตตนให้ถึงซึ่งอุคคหนิมิตได้ และเมื่อได้อุคคหนิมิตแล้วก็ต้องหมั่นดำรงรักษาและฝึกฝนให้นิมิตนั้นเกิดขึ้นดำรงอยู่อย่างแคล่วคล่องรวดเร็วขึ้นโดยลำดับ คือ สามารถเข้าถึงอุคคหนิมิตได้อย่างรวดเร็วโดยมีภาพนิมิตที่ครบถ้วนสมบูรณ์เหมือนกับภาพที่เห็นด้วยตาทุกประการ

    ภาพนิมิตหรือนิมิตจะเป็นรูปร่างประการใดนั้นย่อมขึ้นอยู่กับกัมมัฏฐานวิธีที่ได้เลือกปฏิบัตินั่นเอง เลือกปฏิบัติอย่างไหนก็จะได้อุคคหนิมิตอย่างนั้น แต่อุคคหนิมิตนั้นก็เป็นเพียงปรากฏการณ์ที่แสดงออกซึ่งผลของกระบวนการพัฒนาจิตเท่านั้น

    ระดับของสมาธิในขณะได้อุคคหนิมิต บ้างก็อยู่ที่ระดับขนิกสมาธิ บ้างก็ยกระดับไปอยู่ที่ระดับอุปจารสมาธิแล้ว ซึ่งขึ้นอยู่กับภูมิธรรมภูมิจิตของแต่ละคน แต่อย่าได้ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญเลยเพราะความสำคัญอยู่ตรงที่ความเป็นสมาธิของจิตที่ต้องยกระดับพัฒนาทั้งขนิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิอยู่นั่นเอง ในการปฏิบัติจึงพึงคำนึงแต่เพียงว่าต้องทำให้เกิดสมาธิที่แน่วแน่มั่นคงขึ้นเป็นลำดับไปก็พอ

    เมื่อได้อุคคหนิมิตแล้วกระบวนการพัฒนาต่อไปก็คือการกระทำอุคคหนิมิตนั้นให้เป็นปฏิภาคนิมิต ซึ่งพระวิปัสสนาจารย์บางท่านมักจะกล่าวเพื่อความเข้าใจง่ายๆ ว่าเป็นการเล่นกับนิมิต

    การกระทำอุคคหนิมิตให้เป็นปฏิภาคนิมิตก็คือการฝึกฝนอบรมจิตให้มีกำลังแกล้วกล้ามากขึ้นด้วยการบังคับนิมิตที่ได้จากอุคคหนิมิตนั้นให้แปรเปลี่ยนสภาพต่างๆ กันตามความปรารถนา

    เช่น การบังคับนิมิตนั้นให้ขยายตัวจากที่เห็นเป็นปริมณฑลเพียงคืบเศษ ๆ ให้ขยายเป็นเท่ากระด้ง เท่าผืนนา เท่าท้องทุ่ง หรือกระทั่งขยายทั่วทั้งจักรวาล รวมทั้งการย่อนิมิตที่เห็นนั้นให้เล็กลงจนเหลือเพียงเท่าเมล็ดทราย หรือการเคลื่อนย้ายนิมิตแห่งอุคคหนิมิตจากซ้ายไปขวาบ้าง จากขวาไปซ้ายบ้าง จากบนมาล่างบ้าง จากล่างขึ้นบนบ้าง หรือการเคลื่อนย้ายนิมิตด้วยความเร็วที่ต่าง ๆ กันบ้าง หรือการแปรสภาพนิมิตจากสีหนึ่งเป็นอีกสีหนึ่งหรือหลายสีบ้าง เหล่านี้จึงอาจเรียกได้ง่ายๆ ว่าการเล่นกับนิมิต

    แต่การเล่นกับนิมิตจะเป็นปฏิภาคนิมิตได้ก็ต่อเมื่อการขยาย การย่อ การเคลื่อนย้าย การเปลี่ยนสีแปรสภาพของนิมิตนั้นกระทำได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ คือนิมิตนั้นยังมีความครบถ้วนสมบูรณ์เหมือนกับนิมิตที่แรกเห็นด้วยตานั่นเอง ไม่เว้าแหว่ง หรือขาดหาย หรือขาดความครบถ้วนสมบูรณ์ด้วยประการใด ๆ ในกระบวนการที่เล่นอยู่กับนิมิตนั้น

    เมื่อใดที่การเล่นกับนิมิตทำได้อย่างแคล่วคล่องว่องไว มีความครบถ้วนสมบูรณ์ของนิมิต มีความต่อเนื่องไม่ขาดหายหรือแตกซ่าน จิตสามารถบังคับนิมิตได้ตามปรารถนาในลักษณะนี้แล้ว เมื่อนั้นย่อมถึงซึ่งปฏิภาคนิมิตหรือบรรลุถึงปฏิภาคนิมิตนั่นเอง

    ระดับของสมาธิที่จะเล่นกับนิมิตจากอุคคหนิมิตไปสู่ปฏิภาคนิมิตนั้นจะแปรเปลี่ยนไปหรือยกระดับพัฒนาไปจากขนิกสมาธิหรืออุปจารสมาธิอย่างหย่อน ไปสู่อุปจารสมาธิเต็มตัว คือสมาธิมีความแน่วแน่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว หรือที่เรียกว่าสมาธิเฉียดฌานนั่นเอง

    ระดับของอุปจารสมาธิจะแน่วแน่มั่นคงต่อเนื่องเป็นเวลานานตามปรารถนา ปฏิภาคนิมิตก็จะปรากฏบังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วครบถ้วนสมบูรณ์และมั่นคงดังปรารถนาในระดับเดียวกัน

    ภาวะของจิตในยามนั้น ความศรัทธาจะเพิ่มพูนขึ้นเนื่องจากได้สัมผัสกับความสงบอันเกิดจากวิเวกนั้นส่งผลให้เกิดความเพียรไม่ย่อหย่อน ทำให้สติตั้งมั่นมากขึ้น สมาธิไปถึงขั้นอุปจารสมาธิแน่วแน่ขึ้น และจิตก็เกิดปัญญาก่อตัวเห็นความจริงเช่นนั้นชัดเจนขึ้น

    ภาวะเช่นนี้นามกายก็ได้พัฒนาก่อตัวขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (64) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">8 กันยายน 2548 18:48 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="5">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="400"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="400"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ในท่ามกลางกระบวนการเล่นกับนิมิตหรือการทำอุคหนิมิตเป็นปฏิภาคนิมิตนั้นจิตยังต้องเผชิญกับอุปสรรคขวากหนามที่อยู่ลึกชั้นที่สองคืออุปกิเลสหรือนิวรณ์ห้าประการด้วย ซึ่งอาจเปรียบเทียบได้ว่าในแดนแห่งปฏิภาคนิมิตนี้เป็นแดนแห่งการต่อสู้กันระหว่างด้านมืดกับด้านที่สว่างของจิตซึ่งจะเกิดขึ้นในท่ามกลางการฝึกฝนอบรมปฏิบัติ

    ด้านที่มืดของจิตก็คืออุปกิเลส ได้แก่ความกำหนัด ความพอใจในกาม ความพยาบาท ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่ห่อเหี่ยวและความลังเลสงสัย ที่ส่งผลให้จิตวอกแวกหวั่นไหว เผลอเรอ ไร้กำลัง ไม่ว่าจะรู้สึกตัวหรือไม่รู้สึกตัวก็ตาม

    ด้านที่สว่างของจิตที่จะเกิดขึ้นจากการฝึกฝนปฏิบัติในขั้นปฏิภาคนิมิตก็คือความสงบสงัดไปของความกำหนัดและนิวรณ์ รวมทั้งการก่อตัวขององค์ห้าแห่งปฐมฌาน ได้แก่ วิตก วิจาร ปิติ สุข และเอกัคคตารมณ์

    เพราะความสว่างเกิดขึ้น ความมืดจึงค่อย ๆ สิ้นสลายไป ในที่นี้มาทำความรู้จักองค์ห้าแห่งปฐมฌานกันสักครั้งหนึ่ง

    วิตกได้แก่ความคิดหรือความเพ่งที่มีลักษณะยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ที่เล่นอยู่กับนิมิตนั้น เทียบได้กับการคิดหรือเพ่งผลส้มทั้งลูก เป็นด้านที่อยู่ตรงกันข้ามกับความหดหู่ห่อเหี่ยว ซึ่งส่งผลให้ไม่อยากคิด ไม่อยากเพ่ง ไม่อยากทำอะไร อารมณ์ทั้งสองนี้จะต่อสู้กันตลอดระยะเวลาในกระบวนการฝึกฝนปฏิบัติปฏิภาคนิมิต

    วิจารได้แก่ความตรวจตราพิจารณาส่วนใดส่วนหนึ่ง เรื่องใดเรื่องหนึ่งของนิมิตนั้นอย่างลึกซึ้งและชัดเจน เทียบได้กับการคิดหรือเพ่งกลีบส้มแต่ละกลีบเป็นกลีบ ๆ ไปจนครบถ้วนทุกกลีบของผลส้มลูกนั้น เป็นด้านที่อยู่ตรงกันข้ามกับความลังเลสงสัย อารมณ์ทั้งสองนี้จะต่อสู้กันตลอดระยะเวลาในกระบวนการฝึกฝนปฏิบัติปฏิภาคนิมิต

    ปิติได้แก่อารมณ์ความรู้สึกชุ่มชื่นผ่องใสฉ่ำเย็นในจิต เป็นด้านที่อยู่ตรงกันข้ามกับความรู้สึกพยาบาทที่รุ่มร้อนกระวนกระวายและมืดดำ อารมณ์ทั้งสองนี้จะต่อสู้กันตลอดระยะเวลาในกระบวนการฝึกฝนปฏิบัติปฏิภาคนิมิต

    สุขได้แก่ความสบาย ความชุ่มฉ่ำเย็น ปลอดโปร่งของจิต เป็นด้านที่อยู่ตรงกันข้ามกับความฟุ้งซ่านที่ทำให้จิตพลุ่งพล่านฟุ้งไปไม่มีความสงบ อารมณ์ทั้งสองนี้จะต่อสู้กันตลอดระยะเวลาในกระบวนการฝึกฝนปฏิบัติปฏิภาคนิมิต

    เอกัคคตารมณ์ได้แก่ภาวะที่จิตมีความมั่นคง มีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว มีลักษณะตั้งมั่น ไม่วอกแวก ไม่พลุ่งพล่าน หรือเผลอเรอ เป็นด้านที่อยู่ตรงกันข้ามกับความกำหนัดหรือความพอใจในกามที่ทำให้จิตกระสับกระส่ายหรือกระวนกระวายและมีความรุ่มร้อน ไม่มีความสงบ อารมณ์ทั้งสองนี้จะต่อสู้กันตลอดระยะเวลาในกระบวนการฝึกฝนปฏิบัติปฏิภาคนิมิต

    ดังนี้ก็จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าด้านมืดห้าประการของจิตที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการพัฒนาจิตไม่ให้ตั้งมั่น ไม่ให้บริสุทธิ์ และไม่ให้มีกำลังที่แกล้วกล้าคือนิวรณ์ห้าประการซึ่งกลุ้มรุมจิตอยู่ตลอดเวลานั้น เป็นด้านที่อยู่ตรงกันข้ามและเป็นปรปักษ์กับด้านที่สว่างห้าประการ ซึ่งเป็นองค์ห้าแห่งปฐมฌาน คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข และเอกัคคตารมณ์

    เพราะเหตุที่ขจัดด้านมืดเสียได้ ด้านสว่างจึงปรากฏชัดขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งก็คือเมื่อด้านสว่างปรากฏขึ้น ด้านที่มืดจึงถูกขจัดไป การต่อสู้กันของทั้งสองด้านจะดำเนินไปอย่างหนักหน่วงต่อเนื่องตลอดกระบวนการเล่นกับนิมิตหรือกระบวนการพัฒนาของจิตตั้งแต่อุคหนิมิตไปจนถึงขั้นที่สุดของปฏิภาคนิมิต

    หากด้านที่สว่างไม่ประสบชัยชนะตราบใด ด้านมืดก็ยังดำรงอยู่ตราบนั้น เมื่อใดที่ด้านสว่างประสบชัยชนะ เมื่อนั้นด้านมืดก็จะสิ้นสลายไป แต่ทว่าลำดับของชัยชนะและการสิ้นสลายนั้นไม่ได้เกิดขึ้นแบบแวบวาบแปลบปลาบหรือแค่พริบตาเดียว แต่มีกระบวนการพัฒนาจากสว่างน้อยแล้วค่อย ๆ สว่างมากขึ้นเป็นลำดับไปจนเจิดจ้า หรืออีกนัยหนึ่งก็คือด้านที่มืดสนิทค่อย ๆ จางคลายเป็นมืดน้อยลง สลัว ราง ๆ และสว่างขึ้นโดยลำดับ

    ห้าประการของด้านที่สว่าง กับห้าประการของด้านมืด ซึ่งสัประยุทธ์กันอย่างดุเดือดต่อเนื่องและหนักหน่วงนั้น แต่ละด้านก็ยังมีแม่ทัพหรือตัวหลักในการสัประยุทธ์ชิงชัยกัน

    ด้านมืดก็คือกามฉันทะ ซึ่งเป็นตัวหลักที่ทำให้จิตไม่ตั้งมั่น มีความหวั่นไหวร้อนรุ่มวอกแวก ตัวที่รองลงมาคือความฟุ้งซ่าน ไม่อยู่กับที่อยู่กับทาง ร้อนรุ่มวุ่นวายเรื่อยไป ถัดไปก็คือพยาบาทที่ทำให้มีความรุ่มร้อน แห้งแล้งในจิต ถัดไปคือความหดหู่ห่อเหี่ยวที่ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย ไม่อยากคิด ไม่อยากเพ่ง ไม่อยากทำอะไร และสุดท้ายก็คือความลังเล สงสัย ที่เงอะงะงมงายไปทางไหนไม่ได้แม้แต่ทางเดียว

    ด้านสว่างนั้นแม้จะจัดเอกัคคตารมณ์ไว้ในลำดับสุดท้าย แต่แท้จริงก็คือนายท้ายเรือหรือตัวแม่ทัพของด้านที่สว่าง เพราะหากอารมณ์เป็นหนึ่งเดียวเกิดขึ้นไม่ได้ตราบใด ตราบนั้นวิตก วิจาร ปิติ และสุขก็ไม่อาจปรากฏหรือเกิดขึ้นได้ โดยนัยยะเช่นนี้เอกัคคตารมณ์หรืออารมณ์ที่ตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียวจึงมีบทบาทสำคัญที่สุด

    ตั้งแต่อุคคหนิมิตเกิดขึ้น อารมณ์ที่ตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียวหรือเอกัคคตารมณ์จะค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นเป็นลำดับ ทำให้จิตมีความตั้งมั่น ทำลายความวอกแวกเผอเรอวุ่นวายที่เป็นด้านมืดไปโดยลำดับ

    เพราะจิตมีความตั้งมั่นมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียวเช่นนี้ ความคิดที่มีลักษณะยกจิตขึ้นสู่อารมณ์หรือวิตกจึงก่อตัวเกิดขึ้นและพัฒนาไป ความพินิจพิเคราะห์ตรวจตราหรือการตรึกอ่านในอารมณ์หนึ่ง ๆ ส่วนหนึ่ง ๆ ก็จะเกิดขึ้นต่อเนื่องไป เห็นความจริงที่เป็นไปอย่างชัดเจนขึ้นโดยลำดับ ความชุ่มฉ่ำสดชื่นผ่องใสหรือปิติก็จะเกิดขึ้น ความฉ่ำเย็นสบายหรือความสุขก็จะเกิดขึ้น

    ด้านสว่างก่อตัวขึ้นเป็นลำดับไป ด้านมืดก็อ่อนกำลังสลายตัวเป็นลำดับไป ในภาวะเช่นนั้นความตั้งมั่นของจิต ความบริสุทธิ์ของจิต และกำลังอำนาจของจิตก็เข้มแข็งแกล้วกล้าขึ้นเป็นลำดับไปด้วย

    ในขณะที่ด้านสว่างปรากฏขึ้นกับจิตทั้งห้าประการเป็นลำดับไปนั้นก็คือภาวะที่จิตก้าวเข้าใกล้กับเขตของฌานมากขึ้นทุกที ยิ่งสว่างมากขึ้นเท่าใดความผ่องใสแห่งจิตใจภายในก็เกิดขึ้นตามไปเท่านั้น นั่นคือเมื่อเอกัคคตารมณ์ วิตก วิจาร ปิติ และสุข ก่อตัวแน่นหนากล้าแข็งขึ้นเป็นลำดับไปเพียงใด กามฉันทะ พยาบาท ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่ห่อเหี่ยว และความลังเลสงสัยที่เป็นด้านมืดก็จะถูกข่มให้ระงับเป็นลำดับไปเพียงนั้น

    ณ ปลายแดนแห่งปฏิภาคนิมิตคือจุดที่ใกล้กับฌานมากที่สุด ฌานที่ว่านี้ก็คือปฐมฌาน ทั้งนี้เนื่องจากองค์ห้าแห่งปฐมฌานได้แก่วิตก วิจาร ปิติ สุข และเอกัคคตารมณ์ได้ก่อตัวแน่นหนามั่นคงขึ้นนั่นเอง

    เป้าหมายหลักในการฝึกฝนอบรมในขั้นปฏิภาคนิมิตนี้ก็คือการขจัดด้านมืดคืออุปกิเลสทั้งห้าหรือนิวรณ์ทั้งห้าให้หมดสิ้นไป ทำให้องค์ห้าแห่งปฐมฌานก่อตัวขึ้นถึงขั้นที่จะสมบูรณ์เต็มที่

    พระตถาคตเจ้าได้ตรัสถึงภาวะของจิต ณ แดนต่อแดนแห่งปฏิภาคนิมิตกับปฐมฌานว่า “วิวิจเจวะ กาเมหิ วิวิจจะ อกุสเลหิ ธัมเมหิ สะวิตตะกัง สวิจารัง วิเวกชัง ปิติสุขัง ปะฐะมะญานัง อุปสัมปัชชะ วิหะระติ” ซึ่งแปลว่าเมื่อสงัดจากกามและอกุศลธรรมแล้วเข้าสู่ปฐมฌานซึ่งมีวิตก วิจาร ปิติ และสุขเกิดจากวิเวกอยู่

    พระตถาคตเจ้าไม่ได้ตรัสถึงเอกัคคตารมณ์หรือความตั้งมั่นของจิต ทั้งนี้เนื่องจากเป็นที่รู้และเป็นที่เข้าใจโดยถ่องแท้แล้วว่า ภาวะของจิตในยามนั้นมีภาวะที่เป็นเอกัคคตารมณ์เกิดขึ้นอยู่แล้ว จึงทรงเน้นเฉพาะวิตก วิจาร ปิติ และสุข แต่จะเข้าถึงจุดนี้ได้จิตย่อมต้องสงัดจากกามและอกุศลธรรมเสียก่อน และเป็นการสงัดจากกามและอกุศลธรรมโดยอาศัยวิเวก

    กามและอกุศลธรรมที่ตรัสถึงนี้ก็คืออุปสรรคที่ขัดขวางจิตคือนิวรณ์หรืออุปกิเลสห้าประการนั่นเอง ซึ่งมีความชัดเจนแจ่มแจ้งว่าก่อนจะเข้าสู่ปฐมฌานจิตจะต้องละกามและอกุศลธรรมได้แก่นิวรณ์ทั้งห้าประการนั้นเสียก่อน

    ภาวะที่จิตต่อสู้และขจัดกามและอกุศลธรรมนั้นยังไม่จัดว่าเป็นเขตของฌานหรือเป็นฌานแต่เป็นภาวะที่เกิดขึ้นก่อนที่จะเป็นฌานหรือถึงซึ่งฌาน เหตุนี้ในภาวะนั้นจึงถูกเรียกโดยปริยัติว่าเป็นบุพพโยคฌาน หรือภาวะก่อนที่จะถึงฌานนั่นเอง ในภาวะนี้จิตจะอยู่ในอุปจารสมาธิเต็มที่ ทำให้จิตมีความสงบเฉียดฌาน หรืออยู่ ณ ปลายแดนสุดที่จะเข้าเขตฌาน

    ภาวะที่จิตสงัดจากกามและอกุศลธรรมนั้นเกิดขึ้นได้โดยอาศัยวิเวก ได้แก่กายวิเวกคือการตั้งกายหรือการที่ได้อยู่ในที่สงบวิเวกจากการรบกวนทางกายด้วยประการทั้งปวง รวมทั้งจิตวิเวกได้แก่ภาวะที่จิตปลอดจากภาวะถูกรบกวนด้วยเหตุปัจจัยภายนอก หรืออารมณ์ที่รุมเร้าอย่างอื่น

    ปิติและสุขซึ่งเป็น 2 ใน 5 องค์แห่งปฐมฌานนั้นเป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับจิตได้ในสองสถานะ คือ โดยอาศัยวิเวกอย่างหนึ่ง ดังที่ได้พรรณนามานี้ และเกิดขึ้นโดยอาศัยสมาธิซึ่งมีความประณีตละเอียดลึกซึ้งและระดับขั้นที่สูงกว่าปิติและสุขที่เกิดขึ้นโดยอาศัยวิเวกอีกอย่างหนึ่ง

    ปิติและสุขซึ่งเป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับจิตในขั้นตอนปฏิภาคนิมิตนั้นยังคงเป็นปิติและสุขที่เพิ่งเริ่มก่อตัว ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ และก่อตัวเกิดขึ้นในขณะที่กามและอกุศลธรรมสงบรำงับไปโดยอาศัยวิเวก คือกายวิเวกและจิตวิเวกในลักษณะที่พรรณนามานี้

    ในขั้นสูงสุดของปฏิภาคนิมิต สมาธิแห่งจิตจะอยู่ในอุปจารสมาธิอย่างเต็มที่ ใกล้เต็มทีกับอัปปนาสมาธิ อุปกิเลสได้แก่นิวรณ์ทั้งห้าได้ถูกข่มกำจัดจนออกฤทธิ์เดชไม่ได้ มีความผ่องใสความสว่างขึ้นในจิตแทนที่ความมืด ในขณะที่ความสว่างแห่งจิตซึ่งได้แก่องค์ห้าแห่งปฐมฌานก็ก่อตัวขึ้นและพัฒนาหนาแน่นขึ้นจนใกล้จะสมบูรณ์

    ความมีศรัทธามั่น ความเพียรไม่ย่อหย่อน ความมีสติตั้งมั่น ภาวะที่จิตเป็นสมาธิในระดับเฉียดฌานและความมีปัญญาเห็นความจริงที่เพิ่มพูนขึ้นโดยลำดับ ก็จะพัฒนาเข้มแข็งขึ้น ทำให้นามกายเข้มข้นขึ้น และเข้าไปใกล้เขตฌานมากขึ้นเช่นเดียวกัน

    ในภาวะเช่นนั้นจึงกล่าวได้ว่าสมาธิแห่งจิตอยู่ในขั้นสูงสุดของอุปจารสมาธิ ใกล้ชิดอย่างยิ่งกับอัปปนาสมาธิแล้ว กามและอกุศลธรรมได้สงัดไปเพราะวิเวกแล้ว องค์ห้าแห่งปฐมฌานได้ก่อตัวขึ้นถึงขีดใกล้สมบูรณ์เต็มที เหมือนกับการย่างเท้าใกล้จะจรดลงในเขตปฐมฌานแล้ว

    ในพลันที่ภาวะของจิตพัฒนาก้าวข้ามพ้นจากปฏิภาคนิมิตสู่ปฐมฌาน ระดับของสมาธิก็จะเคลื่อนสูงขึ้นจากอุปจารสมาธิสู่อัปปนาสมาธิ กามและอกุศลธรรมเป็นอันสงัดไป องค์ห้าแห่งปฐมฌานเกิดขึ้นครบถ้วนสมบูรณ์ คือ วิตก วิจาร ปิติ และสุข ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยวิเวก ในขณะที่ภาวะของจิตนั้นมีความตั้งมั่นบนอารมณ์เดียวหรือความเป็นเอกัคคตารมณ์

    ในขณะที่จิตเข้าสู่เขตของปฐมฌานนั้นกามและอกุศลธรรมเป็นอันสงัดหรือรำงับไป แต่ยังไม่เป็นอันสิ้นสุดถึงขนาดถอนรากถอนโคน และยังคงมีกิเลสหลักคือโลภะ โทสะ โมหะ ที่อยู่ในชั้นลึกกว่าดำรงอยู่ แต่ก็ได้สงัดลงไป สงบลงไปตามกำลังอำนาจของจิตและกำลังแห่งฌานนั้น

    เมื่อถึงตอนนี้ก็อาจเปรียบเทียบภาวะของจิตให้เห็นชัดเจนขึ้นอีกขั้นหนึ่งว่าเปรียบได้กับโอ่งน้ำโอ่งหนึ่งที่ผิวน้ำมีสวะและขยะลอยอยู่ ในน้ำมีฝุ่นตะกอนคละคลุ้งอยู่ ที่ก้นโอ่งยังมีดินโคลนอยู่ เมื่อเข้าสู่ปฐมฌานสวะและขยะถูกขจัดไปแล้ว ฝุ่นตะกอนสงบสงัดตกลงที่ก้นโอ่งทับอยู่บนดินโคลนที่อยู่ก้นโอ่งนั้น น้ำจึงใสมากขึ้น สามารถมองเห็นอะไรในน้ำได้ แต่ก็ยังอยู่ในวิสัยที่ฝุ่นตะกอนจะคละคลุ้งทำให้น้ำขุ่นได้อีก ทั้งฝุ่นตะกอนและโคลนจะหมดสิ้นไปก็ต่อเมื่อจิตมีความหลุดพ้นอย่างสิ้นเชิงถึงที่สุดแห่งทุกข์ ดังที่พระตถาคตเจ้าทรงตรัสว่าเป็นภาวะที่เหมือนกับตาลยอดด้วนที่จะไม่งอก ไม่กำเริบอีก นับเป็นอันสิ้นสุดภพชาติและถึงที่สุดแห่งทุกข์สิ้นเชิงนั่นเอง
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (65) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">15 กันยายน 2548 19:03 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="5">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="350"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="350"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ในยามที่เข้าสู่ปฐมฌานนั้นจิตจะมีลักษณะหรือทำหน้าที่อยู่สามประการ คือ การทำหน้าที่เป็นสติตั้งมั่นมีอารมณ์หนึ่งเดียวประการหนึ่ง ทำหน้าที่กำหนดอารมณ์และอ่านอารมณ์ประการหนึ่ง และทำหน้าที่เสวยอารมณ์อันได้แก่ปิติและสุขอีกประการหนึ่ง

    ในภาวะนั้นอุปสรรคขัดขวางอย่างหยาบในขั้นที่หนึ่งได้ถูกขจัดไปแล้ว กามและอกุศลธรรมได้สงบสงัดลงด้วยอำนาจกำลังและความสงบของจิต ในขณะที่กิเลสหลักคือโลภะ โทสะ โมหะ ก็สงบสงัดลงตามไปด้วย แต่ยังไม่ถูกขุดรากถอนโคน การขุดรากถอนโคนกาม อกุศลธรรม และกิเลสหลักที่เปรียบดั่งฝุ่นตะกอนและโคลนก้นโอ่งยังต้องดำเนินไปในท่ามกลางการฝึกฝนอบรมและพัฒนาจิตจนกว่าจะถึงที่สุด ที่ทำให้สิ่งเหล่านี้หมดสิ้นไป ไม่กำเริบได้อีก

    กระบวนการฝึกฝนอบรมจิตนับแต่ปฐมฌานไปจึงเป็นกระบวนการเพื่อขุดรากถอนโคนกาม อกุศลธรรม และโลภะ โทสะ โมหะ นั่นเอง โดยมีความตั้งมั่น ความบริสุทธิ์ ความแกล้วกล้า ความสงบนิ่ง และปัญญาเห็นความจริงตามความเป็นจริงเข้ามาทดแทนโดยลำดับไป จนถึงความหลุดพ้นสิ้นเชิง หรือถึงแดนแห่งวิมุตตะมิตินั่นเอง

    การทำหน้าที่ของจิตในฐานะที่เป็นสติตั้งมั่นมีอารมณ์หนึ่งเดียว และการทำหน้าที่กำหนดและอ่านอารมณ์ ได้แก่วิตกและวิจารได้พรรณนาถึงกระบวนการฝึกฝนอบรมมาแล้ว เพียงพอแก่การแล้ว จึงไม่กล่าวซ้ำอีก ดังนั้นจึงคงกล่าวเฉพาะเรื่องปิติและสุข รวมทั้งการละวิตก วิจาร การกำจัดปิติและสุขเพื่อยกระดับภูมิธรรมของจิตให้สูงขึ้นเป็นลำดับ ๆ ไป

    ปิติเป็นความอิ่มเอิบร่าเริงฉ่ำเย็นที่เกิดกับจิต มีแหล่งเกิดหรือมีปัจจัยที่ทำให้เกิดปิติ 6 อย่างตามลำดับหยาบไปถึงประณีตคือ

    อย่างแรก เมื่อเกิดความสมใจอยาก สมใจชอบ สมใจปรารถนา สมใจหวังแล้วก็เกิดปิติ ปิติอย่างนี้เรียกว่าปิติที่เกิดจากราคะ

    อย่างที่สอง เมื่อได้พบเห็น สัมผัสด้วยประการใดๆ กับผู้ที่มีความศรัทธาเชื่อมั่น ก็เกิดปิติขึ้น มีความอิ่มอกอิ่มใจ ร่าเริง เบิกบาน ปิติอย่างนี้เรียกว่าปิติที่เกิดจากศรัทธา

    อย่างที่สาม เมื่อคนหรือสิ่งอันเป็นที่หวังที่ผูกพันมีอันเป็นไปหรือกระทำการใดตามที่ตั้งความหวังความประสงค์หรือประสบความสำเร็จอันเป็นทางแห่งความเจริญรุ่งเรืองก็เกิดปิติยินดี ปิติอย่างนี้เรียกว่าปิติที่เกิดจากความไม่ดื้อด้าน หรืออีกนัยหนึ่งก็คือปิติที่เกิดจากความยินดี

    อย่างที่สี่ ปิติที่เป็นความรู้สึกอิ่มใจ ร่าเริงใจ โปร่งว่างในใจในขณะที่เข้าปฐมฌาน ปิติอย่างนี้เรียกว่าปิติที่เกิดจากวิเวก

    อย่างที่ห้า ปิติที่เป็นความเบิกบานผ่องใส ร่าเริงใจอย่างโล่งและประณีต ปิติอย่างนี้เรียกว่าปิติที่เกิดจากสมาธิ เป็นปิติที่เกิดขึ้นในการเข้าทุติยฌาน

    อย่างที่หก ปิติที่มีลักษณะฉ่ำเย็น โล่งสว่าง ร่าเริงอย่างละเอียดอ่อนประณีตถึงที่สุด ปิติอย่างนี้เรียกว่าปิติที่เกิดจากสัมโพชฌงค์คือปิติสัมโพชฌงค์

    ลักษณะความอ่อนไหวนุ่มนวลรุนแรงหรือแรงกระเพื่อมที่เกิดกับจิตของปิตินั้นมีอยู่ 5 ลักษณะ คือ ลักษณะที่เกิดขึ้นอย่างบางเบาอย่างหนึ่ง ลักษณะที่เกิดขึ้นเป็นชั่วขณะ ๆ อย่างหนึ่ง ลักษณะที่เกิดขึ้นเป็นระลอก ๆ เหมือนคลื่นในทะเลอย่างหนึ่ง ลักษณะที่เกิดขึ้นอย่างหนักหน่วงรุนแรงอย่างหนึ่ง และลักษณะที่เกิดแบบซาบซ่านไปทั่วทั้งกายใจอีกอย่างหนึ่ง

    ปิติที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ และที่มีลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งรบกวนกลุ้มรุมจิต ทำให้จิตมีความติดยึดลุ่มหลง จัดเป็นอุปสรรคอย่างละเอียดอ่อนที่ขวางกั้นการยกระดับภูมิธรรมของจิตให้สูงขึ้นไป และยังมีความเกื้อกูลอย่างประณีตในการทำให้กาม อกุศลธรรม และกิเลสหลักดำรงอยู่ ดังนั้นนับแต่ขั้นปฐมฌานเป็นต้นไปจึงต้องกำจัดปิติเป็นลำดับเป็นขั้นตอนต่อไป

    สุขก็เช่นเดียวกัน มีเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดความสุข 5 ประการคือ สุขที่เกิดจากการกระทำความดีหรือการทำการกุศล สุขที่เกิดจากความดีหรืออานิสงส์ที่ผู้อื่นกระทำให้ สุขที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาจิตใจไม่ว่าในระดับปฐมฌาน ทุติยฌาน ที่ได้ขจัดอุปกิเลสและกิเลสเป็นลำดับไปแล้ว ซึ่งเรียกสุขชนิดนี้ว่าวิเวกสุข สุขที่อยู่ตรงกันข้ามกับภาวะที่จิตหลุดพ้นจากอาสวะกิเลสสิ้นเชิงแล้ว คือสุขที่เกิดจากนิพพาน ดังที่มีมาในพระบาลีว่านิพพานัง ปรมังสุขขัง และสุขที่เกิดจากการเสวยอารมณ์ที่เรียกว่าสุขวิหาร

    ความแตกต่างที่เด่นชัดระหว่างปิติและสุขก็คือ ปิติทำให้จิตมีความร่าเริง เกิดขึ้นจากความตั้งมั่นแห่งจิต เป็นธรรมชาติอย่างหยาบและจัดอยู่ในจำพวกสังขารขันธ์ ส่วนสุขทำให้จิตมีความสบายฉ่ำเย็น เกิดจากความสงบของจิต เป็นธรรมชาติที่ละเอียด จัดอยู่ในเวทนาขันธ์ ดังนั้นเมื่อเกิดปิติขึ้นแล้วก็ย่อมเกิดสุขตามมาด้วย แต่ในภาวะที่จิตเป็นสุขนั้นอาจจะไม่มีปิติก็ได้ เพราะเมื่อได้ละปิติแล้วภาวะที่เรียกว่าสุขก็จะสุขุม ประณีต ละเอียดอ่อนยิ่งขึ้น

    ทั้งปิติและสุขจึงคงเป็นสิ่งที่รบกวนจิตและเป็นอุปสรรคในการพัฒนาจิตไม่ให้ถึงซึ่งวิมุตติมิติ ดังนั้นทั้งปิติและสุขจึงเป็นเรื่องที่ต้องขจัดเป็นลำดับไป ยกเว้นก็แต่สุขสองชนิดเท่านั้นคือสุขที่เป็นภาวะที่ดับทุกข์สิ้นเชิงแล้วคือสุขเกิดจากนิพพาน และการเสวยสุขที่เกิดจากนิพพานนั้นเท่านั้น

    ในท่ามกลางกระบวนการขจัดปิติและสุข ความตั้งมั่นของจิต ความบริสุทธิ์ของจิตและความแกล้วกล้าเข้มแข็งของจิต ตลอดจนพลังของจิตก็จะเพิ่มพูนขึ้นเป็นลำดับไป ข่มอำนาจแห่งกามและกุศลธรรมหนักหน่วงเป็นลำดับไปจนสิ้นสลายในที่สุด ในขณะที่ปัญญาก็ได้พัฒนาก่อตัวเป็นลำดับตามไปด้วย และในที่สุดกำลังและปัญญาจะขจัดกิเลสและตัณหาซึ่งเป็นต้นตอของกิเลสให้ดับสูญ เป็นอันหลุดพ้นจากกิเลสและ อาสวะทั้งหลาย

    ในภาวะที่จิตเข้าสู่ปฐมฌานนี้อาจจัดกระบวนการพัฒนาจิตเป็นสามขั้นตอน คือเบื้องต้นของปฐมฌาน กลางของปฐมฌาน และที่สุดแห่งปฐมฌาน ซึ่งการฝึกฝนอบรมและเพ่งพิจารณาของจิตทำให้จิตมีความตั้งมั่น มีความบริสุทธิ์ และมีกำลังแกล้วกล้าเกิดขึ้นอย่างอ่อน อย่างกลาง และอย่างเข้ม ตามลำดับทั้งสามขั้นตอนเช่นเดียวกัน

    ในขณะที่เข้าถึงปฐมฌานนั้นองค์ทั้งห้าได้แก่วิตก วิจาร ปิติ สุข โดยมีเอกคตารมณ์เป็นหลักได้บังเกิดขึ้นพร้อมกัน บริบูรณ์พร้อมกัน แต่การที่จิตยังคงวุ่นวายอยู่กับการพิจารณาอ่านตรึกอารมณ์คือยังทำหน้าที่วิตก วิจาร อยู่นั้น จิตก็ยังคงต้องมีความวุ่นวาย เหนื่อยล้า และไม่อาจสงบตั้งมั่นถึงที่สุดได้ ดังนั้นปฐมฌานซึ่งเป็นการเริ่มต้นของการเข้าสู่ทุติยฌานจึงต้องทำให้จิตปลอดจากความวุ่นวาย เหนื่อยล้า และมีความสงบตั้งมั่นมากขึ้นเสียก่อน นั่นคือจะต้องขจัดวิตกและวิจารเสียก่อน

    เมื่อขจัดวิตก วิจารได้แล้วจิตก็จะเข้าสู่ทุติยฌาน ดังที่พระตถาคตเจ้าได้ตรัสว่า วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา อัชฌัดตัง สัมปะสาทะนัง เจตะโส เอโกทิพาวัง อะวิตักกัง อะวิชารัง สมาธิฌัง ปิติสุขขัง ทุติยัง ฌานัง อุปสัมปัชชะ วิหะรัตติ ซึ่งแปลว่าเมื่อระงับวิตก วิจารแล้วจึงเข้าสู่ทุติยฌาน จิตมีความผ่องใสในภายใน เด่นเป็นดวงเดียว ไม่มีวิตก วิจาร มีแต่ปิติและสุขที่เกิดจากสมาธิอยู่

    การฝึกฝนอบรมจิตในขณะบรรลุถึงปฐมฌานแล้ว เพื่อยกระดับฌานขึ้นสู่ทุติยฌานจึงเป็นการละวางหน้าที่อ่านอารมณ์ของจิตคือสละละวางวิตกและวิจารให้เด็ดขาดสิ้นเชิง จิตจะทำหน้าที่ที่เหลือสองอย่างคือความตั้งมั่นในอารมณ์เดียวหรือเอกคตารมณ์ และหน้าที่ในการเสวยอารมณ์คือปิติและสุขเท่านั้น

    ในกระบวนการเคลื่อนตัวพัฒนาไปนั้นจิตก็จะอยู่ในอัปปนาสมาธิที่แน่วแน่มากขึ้น กำลังฌานแห่งปฐมฌานที่เริ่มต้นขึ้นอย่างบางเบาก็จะพัฒนาไปสู่ขั้นกลางและเข้มข้นถึงที่สุดของระดับปฐมฌาน ในขณะที่กาม อกุศลธรรม โลภะ โทสะ โมหะก็จะถูกบดข่มแน่นหนาขึ้น จนมีความสงบรำงับมากขึ้น

    สัมผัสของจิตจากการเสวยปิติและสุขเป็นสัมผัสใหม่ที่เกิดขึ้นจากปฐมฌาน เป็นความดื่มด่ำในความสงบแห่งวิเวกของกายและจิต จิตจะค่อย ๆ ผละหรือละความสนใจจากวิตกและวิจาร ไปมุ่งสนใจพิจารณาและเสวยอารมณ์ที่เป็นปิติและสุขนั้นมากขึ้น ๆ เป็นลำดับ ๆ ไป

    ยิ่งเสวยปิติและสุขมากขึ้น เพ่งพิจารณาอารมณ์ปิติและสุขด้วยกำลังอำนาจสมาธิที่สูงขึ้น การเสวยอารมณ์ก็ยิ่งประณีตละเอียดอ่อนมากขึ้น จิตก็จะละออกจากหน้าที่การอ่านอารมณ์คือวิตกและวิจารได้อย่างสิ้นเชิง แล้วรวมศูนย์กำลังอำนาจสมาธิในการเสวยอารมณ์ปิติและสุขอยู่เท่านั้น

    จิตก็จะค่อย ๆ ละถอนออกจากวิตกและวิจารเป็นลำดับ ๆ ไป จนกระทั่งละถอนทิ้งวิตก วิจาร คือจิตหยุดหรือเลิกการทำหน้าที่ในการอ่านตรึกอารมณ์ที่เกิดจากนิมิตแห่งกัมมัฏฐานวิธีต่าง ๆ แล้วเพ่งพิจารณารวมอยู่ที่อารมณ์ที่เสวยปิติและสุขอยู่เท่านั้น ในภาวะเช่นนั้นปิติและสุขที่หยาบก็จะแปรสภาพเป็นปิติและสุขที่ประณีต เพราะเป็นปิติและสุขที่เกิดแต่สมาธิแล้ว

    ภาวะที่จิตละวางหรือขจัดวิตกและวิจารได้อย่างสนิทสิ้นเชิง เพ่งพิจารณาและเสวยอยู่ที่ปิติและสุขในอัปปนาสมาธิ และทำให้ปิติและสุขกลายเป็นปิติและสุขที่เกิดจากสมาธิเช่นนี้จะทำให้จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียวมากขึ้น มีความผ่องใสเด่นจรัสแจ่มจ้ามากขึ้น ณ ยามนั้นจิตก็จะยกระดับจากปฐมฌานเข้าสู่ทุติยฌาน

    นั่นคือเป็นภาวะที่จิตได้ขจัดหรือระงับวิตก วิจารแล้ว ปิติและสุขที่เกิดจากวิเวกในขั้นปฐมฌานได้ยกระดับละเอียดประณีตขึ้นเป็นปิติและสุขที่เกิดจากสมาธิแล้ว จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว เจิดจรัสผ่องใสแจ่มจ้าอยู่ภายใน ภาวะนี้นี่แหละคือภาวะที่จิตได้เข้าสู่ทุติยฌานแล้ว

    ในภาวะเช่นนั้นกำลังศรัทธา กำลังความเพียรไม่ย่อหย่อน สติที่ตั้งมั่น สมาธิที่แน่วแน่มั่นคง และปัญญาที่เห็นอุปสรรคเห็นโทษของวิตกและวิจารมีความแจ่มแจ้ง เห็นถึงคุณของการที่จิตไม่ต้องวุ่นวายเหนื่อยล้าจากการทำหน้าที่วิตกและวิจาร กระทั่งเห็นถึงภาวะที่สรรพสิ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป นั่นคือนามกายก็ได้พัฒนาก่อตัวเข้มแข็งมีพลังเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

    ภาวะที่นามกายเข้มแข็งขึ้นในขั้นยกระดับจากปฐมฌานสู่ทุติยฌานนั้น นามกายหรือนัยหนึ่งก็คือกายของจิตก็จะมีความแก่กล้าขึ้น อุปมาเหมือนดั่งปูที่เข้าสู่ระยะเตรียมการลอกคราบ นั่นคือส่วนกระดองคือร่างกายกับส่วนที่เป็นเนื้อตัวของปูเริ่มจะจำแนกแยกเป็นสองส่วนได้ชัดขึ้นโดยลำดับ ในภาวะนั้นแม้ว่าตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจของร่างกายจะอยู่ในภาวะสงบนิ่ง แต่ตา หู จมูก ลิ้น กายของจิตได้ก่อตัวเป็นอีกกายหนึ่งชัดเจนขึ้นแล้ว หรือเรียกว่าอยู่ในระยะเตรียมลอกคราบแล้ว ขีดความสามารถในการเห็น ในการได้ยิน ในการรู้รส ในการสัมผัส และรับรู้ความรู้สึกทั้งหลายของนามกายจะค่อย ๆ มีสมรรถนะและขีดความสามารถที่สูงขึ้นเป็นลำดับไปด้วย

    ภาวะที่จิตอยู่ในปฐมฌานและเพ่งพิจารณาขจัดละวิตก วิจาร แปรเปลี่ยนปิติและสุขที่เกิดจากวิเวก เป็นปิติและสุขที่เกิดจากสมาธิ ในขณะที่อัปปนาสมาธิก็แน่วแน่หนักแน่นมากขึ้น และนามกายก่อตัวเข้มแข็งมากขึ้นนั้น เป็นภาวะที่เรียกว่าจิตอยู่ในฌานและเจริญฌาน

    การเผาผลาญพลังงานทางกายภาพจะลดน้อยลงโดยลำดับ ลมหายใจเข้าออกจะแผ่วเบาไปโดยลำดับ ละเอียดประณีตขึ้นเป็นลำดับ สติตั้งมั่นขึ้นเป็นลำดับ การกำหนดอารมณ์ที่เพ่งพิจารณาและเสวยอยู่กับปิติและสุขเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ความเพียรเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ปิติและสุขก็ประณีตมากขึ้นโดยลำดับ สมาธิก็จะแน่วแน่มากขึ้นโดยลำดับ นั่นก็คือองค์แห่งโพชฌงค์ก็ได้ก่อตัวเกิดขึ้นและพัฒนาไปโดยลำดับเช่นเดียวกัน คงเหลือก็แต่การสลัดละวางอารมณ์ความรู้สึกและกิเลสอาสวะทั้งปวง และความวางเฉยหรือความเป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์เท่านั้นที่ยังไม่ปรากฏขึ้น

    ภาวะเช่นนั้นการเจริญฌานก็จะก้าวรุดหน้าไปเป็นลำดับ ๆ
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (66) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">22 กันยายน 2548 18:13 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="5">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="364"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="364"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ภาวะที่บรรลุถึงทุติยฌานนั้นจิตทำหน้าที่เพียงสองอย่าง คือความตั้งมั่นในอารมณ์เดียวอย่างแน่วแน่มั่นคงอย่างหนึ่ง และการเสวยอารมณ์แห่งปิติและสุขที่เกิดจากสมาธิอีกอย่างหนึ่ง ในยามนั้นจิตมีความผ่องใสในภายในมากขึ้นอย่างเด่นชัด ดังที่พระตถาคตเจ้าได้ตรัสว่า “มีความผ่องใสในภายใน มีความปรากฏเด่นเป็นดวงเดียวแห่งจิต ไม่มีวิตก วิจาร มีปิติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่”

    การฝึกฝนอบรมจิตในขณะที่จิตได้บรรลุถึงทุติยฌานเป็นการฝึกฝนอบรมเพื่อละวางภาระของจิตที่เป็นเหตุให้จิตเหนื่อยล้าไร้กำลังลงโดยลำดับ ทำให้จิตมีกำลังแกล้วกล้ามากขึ้น มีความตั้งมั่น มีความบริสุทธิ์มากขึ้น มีความเป็นอิสระมากขึ้นโดยลำดับ

    ภาระของจิตในยามที่บรรลุถึงทุติยฌานนั้นได้แก่ภาระในการเสวยอารมณ์ปิติที่เกิดแต่สมาธิอย่างหนึ่ง และภาระในการเสวยอารมณ์สุขที่เกิดแต่สมาธิอีกอย่างหนึ่ง ในขณะเดียวกันนั้นก็ต้องอบรมยกระดับกำลังอำนาจของจิตที่เป็นอารมณ์หนึ่งเดียวนั้นให้สูงขึ้นเป็นลำดับไปด้วย กำลังของสมาธิจึงจะสูงขึ้นตามไปได้

    แม้ว่าปิติจะเป็นองค์หนึ่งของปฐมฌานและดำรงต่อเนื่องมาจนถึงทุติยฌานโดยแปรเปลี่ยนสภาพความหยาบละเอียดประณีตจากปิติที่เกิดแต่วิเวกมาเป็นปิติที่เกิดจากสมาธิก็ตาม และแม้ว่าปิตินั้นถึงจะประณีตละเอียดอ่อนเพียงใดก็ตาม ปิตินั้นก็ยังเป็นภาระถ่วงรั้งการพัฒนาจิต เป็นอุปสรรคที่ทำให้จิตไม่มีอิสระ เป็นอุปสรรคที่ทำให้จิตไม่มีกำลังแกล้วกล้าถึงที่สุด เป็นอุปสรรคที่ทำให้สมาธิไม่มีกำลังสูงส่งถึงที่สุด

    เช่นเดียวกับสุข ถึงแม้จะมีความละเอียดประณีตเพียงใด ให้ความฉ่ำเย็นดื่มด่ำกับจิตเพียงใด แต่ก็ยังเป็นเครื่องหลังที่ถ่วงรั้งความเป็นอิสระ ความก้าวหน้าของจิต เป็นแต่ว่าสุขนั้นละเอียดอ่อนกว่าปิติและยังอยู่ในระดับที่ลึกกว่าปิติ ไม่อาจขจัดหรือละวางพร้อมกับปิติได้ เหตุนี้จึงต้องละปิติอันเกิดแต่สมาธิเสียก่อน จิตจึงจะมีกำลังแกล้วกล้าที่สามารถละสุขในขั้นต่อไปได้

    อุปมาดั่งบุคคลจะหักลำไผ่พร้อมกันทีเดียวถึงสองท่อนก็ไม่มีกำลังพอที่จะหักได้ แต่ครั้นหักทีละท่อนก็ย่อมมีกำลังพอที่จะหักลำไผ่นั้นได้ฉันใด การฝึกฝนอบรมจิตในขั้นทุติยฌานจึงต้องหักลำไผ่ลำแรกคือปิติเสียก่อน จากนั้นจึงค่อย ๆ หักลำไผ่ลำที่สองคือสุขต่อไปฉันนั้น

    พระตถาคตเจ้าได้ตรัสว่า “ปิติยา จะวิราคา อุเปกขะโก จะวิหะรัตติ สะโตจะ สัมปะชาโน สุขัญจะ กาเยนะ ปฏิสังเวเทติ ยันตัง อะริยา อาจิกขันติ อุเปกขะโก สะติมา สุขขะ วิหารีติ ตะติยัง ฌานัง อุปสัมปัชชะ วิหะระติ” ซึ่งแปลว่าเมื่อสำรอกปิติแล้วเข้าตติยฌานซึ่งเป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะและเสวยสุขด้วยกายที่พระอริยเจ้ากล่าวว่าผู้วางเฉยมีสติอยู่เป็นสุขดังนี้

    นั่นคือในขั้นทุติยฌานจะต้องฝึกฝนอบรมจิตให้ขจัดปิติเสียก่อน แล้วยกระดับจิตซึ่งมีอารมณ์เดียวนั้นให้ถึงพร้อมด้วยสติและสัมปชัญญะ และเสวยสุขอันเกิดแต่สมาธิที่ยกระดับสูงขึ้นอีกขั้นหนึ่ง โดยการเสวยสุขที่ยกระดับสูงขึ้นนี้จะเป็นการเสวยสุขในลักษณะที่จิตไม่มีความยินดียินร้ายต่ออารมณ์นั้นอีกต่อไป มีความวางเฉยต่ออารมณ์ที่เสวยนั้น คือรู้แต่ว่าเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขอยู่แต่ไม่ยินดียินร้าย ไม่ติดพันในอารมณ์นั้น ซึ่งย่อมทำให้จิตมีความเป็นอิสระมากขึ้นไปอีก

    ดังนั้นภาวะของจิตในท่ามกลางการฝึกฝนอบรมในขั้นทุติยฌานเพื่อที่จะยกระดับไปสู่ตติยฌานจะเป็นดังต่อไปนี้

    ประการแรก จิตที่ตั้งมั่นมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียวหรือเอกคตารมณ์จะมีความแน่วแน่เด่นดวงเจิดจ้ามากขึ้น ในอารมณ์หนึ่งเดียวนั้นสติจะมีความตั้งมั่น มั่นคง เด็ดเดี่ยว แน่วแน่มากขึ้น ในขณะเดียวกันนั้นก็จะมีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอย่างต่อเนื่องไม่เผลอเรอ ไม่ขาดสาย มีความว่องไวในความรู้สึกตัวของจิตที่จะรับรู้และยกระดับอารมณ์ที่สูงขึ้น อาจกล่าวได้ว่าในความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียวนั้นภายในนั้นการทำหน้าที่ของจิตก็จะมีความเด่นชัดมากขึ้นสองประการ คือ การทำหน้าที่เป็นสติที่ตั้งมั่น มั่นคง เด็ดเดี่ยว แน่วแน่ และความรู้สึกตัวทั่วพร้อมที่ว่องไวทันต่อทุกสถานการณ์ นี่ก็เป็นการพัฒนาขั้นใหญ่ของจิตที่เกิดขึ้นในห้วงของทุติยฌาน

    ประการที่สอง ความหวั่นไหวของจิตที่เป็นผลของปิติอันเกิดแต่สมาธิแม้จะละเอียดประณีตปานใดแต่ก็ยังทำให้จิตหวั่นไหวอยู่นั่นเอง เป็นแต่หวั่นไหวในระดับที่ประณีตละเอียดอ่อนมากขึ้น ความรู้ตัวทั่วพร้อมและสติที่มั่นคงตลอดจนกำลังสมาธิที่แกล้วกล้าขึ้นโดยลำดับแล้วนั้นจะทำให้จิตได้รู้ว่าปิตินี้ก็คืออุปสรรคที่ขัดขวางถ่วงรั้งความก้าวหน้าของจิต ทำให้จิตกระเพื่อมแล้วเห็นโทษของปิตินั้นด้วยปัญญา เมื่อเป็นดังนี้ก็จะเกิดความเบื่อหน่ายในปิติ ขยะแขยงในปิติ ไม่อยากให้ติดพันเกี่ยวข้องในอารมณ์อีกต่อไป จิตก็จะค่อย ๆ ถอนถอยออกจากปิตินั้น ในพระบาลีออกจะใช้ถ้อยคำรุนแรงอันบ่งบอกถึงโทษของปิติในทุติยฌานว่าเป็นเรื่องที่ต้องสำรอกหรืออ้วกออกมานั่นเอง

    หากสังเกตถ้อยคำในพระบาลีแล้วก็พอจะเห็นได้ว่าปิตินั้นแม้เป็นที่พึงปรารถนาของปุถุชนสักปานใด แต่ในสายตาของพระอริยเจ้าแล้วเป็นสิ่งน่ารังเกียจ น่าขยะแขยง จนต้องถึงกับสำรอกออกไปให้ได้ นั่นก็คือปิติคืออุปสรรคใหญ่ยิ่งของการฝึกฝนอบรมจิตในขั้นทุติยฌาน หากสำรอกปิติออกไม่ได้ก็ไม่มีทางก้าวหน้าไปสู่ตติยฌานได้ เพราะเป็นนัยยะสำคัญชี้ขาดความก้าวหน้าของจิตเด็ดขาดถึงปานนี้จึงถึงกับต้องใช้ถ้อยคำว่าสำรอกปิติ

    ประการที่สาม เมื่อจิตเห็นโทษ ขยะแขยง และเบื่อหน่ายปิติมากขึ้นโดยลำดับ จิตก็จะค่อย ๆ ผละถอนออกมาจากปิติเป็นลำดับไปเช่นเดียวกัน จนกระทั่งละปิติได้สิ้นเชิงแล้วจิตก็จะเสวยอารมณ์สุขที่เกิดจากสมาธิเพียงอย่างเดียว แต่อารมณ์สุขในยามนี้ก็มีความประณีตละเอียดอ่อนยิ่งกว่าในยามที่ยังละปิติไม่ได้ และเป็นการเสวยอารมณ์สุขในขณะที่จิตมีสติและสัมปชัญญะในลักษณะที่วางเฉยซึ่งเป็นความก้าวหน้าขั้นใหม่ เพราะว่าแม้สุขจะยังดำรงอยู่และจิตจะได้เสวยอารมณ์สุขนั้นต่อเนื่องมาก็ตาม แต่ความก้าวหน้าในระดับนี้จิตมีสติ มีสัมปชัญญะถึงพร้อม กำลังสมาธิสูงขึ้น กำลังปัญญาค่อยๆ สูงตามขึ้นมา จึงไม่มีความติดยึดในอารมณ์สุขนั้นอีกต่อไป เสวยสุขก็รู้แต่เพียงว่าเสวยสุข เหมือนกับคนกินข้าวแล้วรู้อยู่ว่ากำลังกินข้าวอยู่ ไม่ติดยึดยินดีในความอร่อยหรือความไม่อร่อย หรือความพอใจหรือไม่พอใจในการกินนั้นอีกต่อไป จิตจึงมีความเป็นอิสระมากขึ้นไปอีก มีความบริสุทธิ์ผ่องใสมากขึ้นไปอีก

    ภาวะทั้งสามประการดังกล่าวนี้ พระอริยเจ้าจึงกล่าวว่าผู้ที่ถึงภาวะเช่นนี้เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขอยู่ด้วยกาย และเมื่อบรรลุถึงภาวะสามประการนี้ เมื่อนั้นย่อมได้ชื่อว่าได้บรรลุถึงตติยฌาน ซึ่งเป็นฌานขั้นที่สามแห่งรูปฌาน

    ภาวะที่จิตมีความวางเฉยในการรับรู้อารมณ์นั้นเป็นภาวะที่ก่อตัวขึ้นใหม่ในขั้นตติยฌาน ความวางเฉยนี้ก็คืออุเบกขา และจะค่อย ๆ พัฒนายกระดับขึ้นเป็นอุเบกขาชนิดเดียวกันกับอุเบกขาสัมโพชฌงค์ในที่สุด

    เมื่อบรรลุถึงตติยฌานแล้วการฝึกฝนอบรมจิตขั้นต่อไปก็คือการฝึกฝนอบรมเพื่อเข้าจตุตถฌาน เพื่อทำให้จิตมีความตั้งมั่นมากขึ้นถึงขั้นสูงสุดของภาวะจิตในรูปฌาน มีความบริสุทธิ์ถึงขั้นสูงสุดของภาวะจิตในรูปฌาน และมีกำลังแกล้วกล้าสูงสุดในระดับรูปฌาน

    การพัฒนายกระดับของจิตให้ก้าวหน้าจากขั้นตติยฌานสู่จตุตถฌานนั้น กล่าวโดยสรุปก็คือการทำให้จิตละวางหน้าที่เสวยอารมณ์ซึ่งยังคงมีสุขเหลืออยู่นั้นเสีย และทำให้ภาวะภายในของจิตที่มีสติสัมปชัญญะถึงพร้อมอยู่นั้นมีความมั่นคง มีความบริสุทธิ์ถึงที่สุด

    ดังที่พระตถาคตเจ้าได้ตรัสว่า “สุขัสสะ จะ ปะหานา ทุกขัสสะ จะ ปะหานา ปุพเพวะ โสมะนัสสะ โทมะนัส สานัง อัตถังคะมา อะทุกขะมะสุขขัง อุเปกขา สติปาริสุทธิง จะตุตถัง ฌานัง อุปสัมปัชชะ วิหะระติ”

    ซึ่งแปลว่าเพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนนั่นแล้วเข้าจตุตถฌาน ซึ่งไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ มีแต่อุเบกขากับสติและความบริสุทธิ์ของจิตเท่านั้น

    นั่นคือภาวะจิตในตติยฌานนั้นอุเบกขาเพิ่งก่อตัวขึ้นในขณะที่จิตยังคงเสวยอารมณ์สุขอยู่ ระดับของความวางเฉยหรือความเป็นอุเบกขาที่อยู่ในขั้นของการเริ่มก่อตัวนั้นจึงยังคงต้องเจือปนคละเคล้าหรือก่อตัวขึ้นบนรากฐานที่จิตยังเสวยสุขอยู่ ดังนั้นอุเบกขา สติ และความบริสุทธิ์ของจิตจะสมบูรณ์ถึงที่สุดได้ก็ต้องผละละวางออกจากอารมณ์ที่เสวยสุขนั้นเสียก่อน

    ในปฐมฌาน ทุติยฌาน และตติยฌาน ได้แสดงแต่อารมณ์ที่เสวยสุขแต่ไม่กล่าวถึงทุกข์ ก็เพราะว่าตราบใดที่มีสุขตราบนั้นก็มีทุกข์ควบคู่กันไป เหมือนกับถ้วยที่วางอยู่กับพื้น ภาวะที่ถ้วยวางอยู่กับพื้นนั้นและภาวะที่ไม่มีถ้วยอยู่กับพื้นนั้นย่อมเป็นภาวะที่ดำรงอยู่พร้อม ๆ กัน แต่เมื่อถึงขั้นฝึกฝนอบรมจิตเพื่อเข้าสู่จตุตถฌาน จิตมีความประณีตละเอียดอ่อนมากขึ้น เห็นทั้งภาวะทั้งสองด้านอย่างสมบูรณ์พร้อม ๆ กัน

    คือเห็นภาวะที่มีถ้วยตั้งอยู่กับพื้น และยังเห็นถึงภาวะที่ไม่มีถ้วยอยู่กับพื้นด้วย จึงเรียกว่าเป็นการรู้ถ้วนทั่วหรือรู้ทั่วถึงด้วยปัญญานั่นเอง

    และยามใดที่จิตยังข้องแวะอยู่กับสุขหรือเสวยสุขอยู่ ยามนั้นก็ย่อมข้องแวะอยู่กับความดีใจ เสียใจ หรือโสมนัส หรือโทมนัสด้วย เพราะว่าความเสียใจก็ดำรงอยู่ร่วมกับความดีใจนั่นเอง เช่นเดียวกับโทมนัสก็ดำรงอยู่ร่วมกับโสมนัส เป็นแต่ว่าในยามที่มีสุขด้านที่เป็นทุกข์ก็จะถูกมองข้ามไป ยามที่โสมนัสโทมนัสก็จะถูกมองข้ามไป หรือไม่สามารถส่งอิทธิพลที่ทำให้เกิดทุกข์หรือโทมนัสเด่นชัดเท่านั้น

    เพราะเหตุนี้ตราบใดที่มีสุข ตราบนั้นทุกข์ โสมนัส และโทมนัส ก็ยังคงแฝงตัวอยู่ร่ำไป นั่นคือแม้จะเห็นหรือเสวยอารมณ์อยู่แต่สุขอย่างเดียว และเป็นสุขที่ประณีตละเอียดอ่อนอันเกิดแต่สมาธิที่ยกระดับสูงขึ้นปานนี้แล้ว ทุกข์ โสมนัส และโทมนัสก็ยังคงแฝงตัวอยู่กับสุขนั่นเอง

    การที่จะข่มระงับหรือละทุกข์ โสมนัส โทมนัส จึงต้องอาศัยปัญญาเห็นสุข ทุกข์ โสมนัส และโทมนัส อย่างถ้วนทั่ว และเห็นโทษของมันด้วยปัญญาว่าตราบใดที่ยังดำรงอยู่ ตราบนั้นจิตก็ยังไม่มีวันเป็นอิสระอย่างสมบูรณ์ สมาธิก็ไม่อาจยกระดับขึ้นสู่ขั้นสูงสุด ความบริสุทธิ์แห่งจิตก็ไม่มีวันถึงที่สุด ความตั้งมั่นของจิตและขีดความสามารถของจิตก็ไม่มีวันบรรลุถึงขั้นสูงสุดได้

    ดังนั้นในการฝึกฝนอบรมจิตในขั้นตติยฌานเพื่อยกระดับไปสู่ขั้นจตุตถฌานจึงต้องละสุขให้หมดสิ้นไปก่อน และนั่นย่อมหมายความรวมไปถึงการละทุกข์ และดับโสมนัส และโทมนัส ให้หมดสิ้นไปพร้อมกันด้วย
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (67) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">29 กันยายน 2548 18:30 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="5">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="250"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="250"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> สุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัส ที่จะต้องละหรือขจัดในการฝึกฝนอบรมจิตเพื่อบรรลุถึงจตุตถฌานนั้น ไม่ใช่สุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัสอย่างหยาบ แต่เป็นอย่างละเอียดประณีตที่เกิดขึ้นและดำรงอยู่ในขณะที่จิตเป็นสมาธิขั้นสูง ดังที่เรียกว่าสุขอันเกิดแต่สมาธิ

    กล่าวโดยสรุปก็คือสุขทั้งหลายทุกชนิดทุกประเภทจะต้องละทั้งหมด กำจัดทั้งหมด ยกเว้นก็แต่สุขชนิดสุดท้ายคือสุขที่เกิดแต่นิพพาน อันเป็นสมมติบัญญัติภาวะที่เกิดกับจิต และขยายความรวมไปถึงการเสวยสุขหรือการอยู่ในความสุขชนิดนี้เท่านั้น

    การละสุขทั้งหมดดังกล่าวนี้ครอบคลุมรวมไปถึงการละทุกข์ ดับโสมนัส และดับโทมนัส ที่เนื่องกันอยู่ทั้งหมดด้วยเช่นเดียวกัน

    โดยปกติสุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัส ที่ละเอียดประณีตเช่นนี้ยากที่จะกำหนดรู้ได้ และกำหนดรู้ได้ก็ในภาวะที่บรรลุถึงตติยฌานแล้ว เพราะในภาวะนั้นจิตมีความตั้งมั่นสูง มีความบริสุทธิ์ผุดผ่องเจิดจรัสแจ่มจ้า และมีกำลังอำนาจที่กล้าแกร่ง จึงสามารถเห็นสุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัส อันละเอียดประณีตนั้นได้

    การเห็นชนิดนี้จึงเป็นการเห็นด้วยปัญญา เนื่องจากปัญญาได้ก่อตัวพัฒนาตามขึ้นมาและมีความคมกล้าควบคู่ไปกับความตั้งมั่น ความบริสุทธิ์ และกำลังอำนาจของจิต นี่คือผลอันเป็นธรรมดาธรรมชาติของการฝึกฝนอบรมจิตโดยหนทางเจโตวิมุตดังที่ได้กล่าวมาแต่ต้นแล้วว่าแม้มุ่งเน้นในการพัฒนากำลังอำนาจของจิต แต่ก็มีอานิสงส์ที่ปัญญาเจริญตามขึ้นมาด้วย

    นั่นก็คือความเจริญของปัญญาย่อมเป็นผลธรรมดาธรรมชาติของจิตที่จะบังเกิดขึ้นและพัฒนาไป ในขณะที่จิตมีความตั้งมั่น มีความบริสุทธิ์และมีกำลังอำนาจกล้าแกร่งเพิ่มขึ้น

    เมื่อจิตมีปัญญาเห็นสุข ทุกข์ โสมนัสและโทมนัสแจ่มแจ้งชัดเจนขึ้นแล้ว ก็จะสัมผัสรู้โดยธรรมชาตินั่นเองว่าการที่จิตยังมีสุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัส เจือเคล้าอยู่นั้น แม้จะละเอียดประณีตสักปานใดก็ตาม ย่อมมีผลให้ความเป็นอิสระของจิต ความเป็นอุเบกขาของจิต ความบริสุทธิ์ ความตั้งมั่นและกำลังอันแกล้วกล้าของจิตไม่สามารถยกระดับให้ถึงที่สุดได้

    เมื่อเห็นเช่นนั้นแล้วก็จะรู้สึกด้วยกำลังอำนาจของสติและสัมปชัญญะและปัญญาต่อไปอีกว่าสุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัสนี้ก็คืออุปสรรคที่ขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของจิตไม่ให้ยกระดับไปถึงที่สุดได้ ก็จะเกิดความรังเกียจ เกิดความเบื่อหน่าย เกิดความละวางจางคลายสุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัสนั้น เพื่อก้าวผ่านพ้นจากอุปสรรคอันขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของจิตต่อไป

    จิตจะกำหนดรู้โดยธรรมชาติของจิตเองว่าสิ่งใดเป็นที่ตั้งหรือเป็นเหตุให้สุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัสยังคงดำรงอยู่ แล้วก็จะรู้ว่าผลที่สุดลมหายใจและความเป็นอุเบกขาที่ยังไม่ถูกยกระดับให้สูงถึงที่สุดนั่นเองที่เป็นที่ตั้ง เป็นต้นเหตุของสุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัส และเป็นต้นเหตุที่ทำให้ความเป็นอิสระของจิต ความเป็นอุเบกขาของจิตไม่บริสุทธิ์ถึงที่สุด

    เมื่อรู้ถึงเหตุปัจจัยอันเป็นที่ตั้งของสุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัสว่าเป็นลมหายใจและอุเบกขาที่ยังไม่แก่ตัวเต็มที่แล้ว จิตก็จะกำหนดบังคับกายให้ลมหายใจนั้นละเอียดประณีตลงโดยลำดับ และสงบรำงับไปในที่สุด โดยยกระดับความวางเฉยของจิตให้สูงขึ้นโดยลำดับด้วย

    เมื่อลมหายใจสงบรำงับถึงที่สุดแล้วและอุเบกขาได้ยกระดับเต็มที่แล้ว ต้นเหตุอันเป็นที่ตั้งของสุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัสทั้งหลายก็เป็นอันมอดหมดฤทธิ์เดชไป เมื่อเหตุดับผลก็ดับด้วย นั่นคือสุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัสก็เป็นอันดับหรือเป็นอันละได้สำเร็จ

    เมื่อละสุขและทุกข์ได้สำเร็จ โสมนัส และโทมนัสอันเป็นผลต่อเนื่องหรือแรงกระเพื่อมของสุขและทุกข์ก็เป็นอันดับไป

    ครั้นจิตได้สละละสุข ทุกข์ ดับโสมนัสและโทมนัสแล้ว ภาวะของจิตก็จะเหลืออยู่แต่ความเป็นอุเบกขา ไม่ยินดียินร้ายในสุข ทุกข์ใด ๆ อีก มีแต่ธาตุรู้เท่านั้นที่ยังคงดำรงอยู่

    ภาวะเช่นนั้นจิตถึงซึ่งความเป็นอิสระ ความบริสุทธิ์ ความเป็นกลาง หรือความเป็นอุเบกขาในขั้นสูง จึงเรียกภาวะเช่นนั้นว่าอุเบกขาฌาน

    ศรัทธาที่พัฒนายกระดับมาโดยลำดับแล้วก็ยิ่งมีความมั่นคงแน่วแน่ถึงขั้นสูงสุด ความเพียรไม่ย่อหย่อนก็พัฒนามาถึงขั้นสูงสุด สติมีความตั้งมั่นและมีความมั่นคงในขั้นสูงสุด เป็นสติที่เรียกว่าสัมมาสติ หรือสติสัมโพชฌงค์ สมาธิก็มีความมั่งคงแน่วแน่ผ่องแผ้วในขั้นสูงสุด เป็นสมาธิที่เรียกว่าสัมมาสมาธิหรือสมาธิสัมโพชฌงค์ ในขณะที่ปัญญาก็ยกระดับที่คมกล้าใกล้จะถึงขั้นสูงสุด เป็นปัญญาที่ทำให้สามารถรู้เห็นสรรพสิ่งได้ตามความเป็นจริงในขั้นที่สูงที่สุด

    นั่นคือนามกายซึ่งประกอบด้วยองค์ห้าได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิและปัญญาก็ได้พัฒนามาถึงขั้นสูงสุด มีพละกำลังขั้นสูงสุด นามกายในภาวะเช่นนี้จึงถึงภาวะที่เป็นทิพย์ ทำให้นามกายนั้นมีความเป็นทิพย์ หรือเรียกว่าทิพย์กาย นี่คือจุดแปรเปลี่ยนอันสำคัญของกายของจิต หรือที่เรียกว่านามกาย และทำให้ถึงซึ่งทิพยภาวะหรือทิพยภูมิ

    หากจะอุปมาเนื่องมาจากที่ได้อุปมามาแล้วว่านามกายในฌานขั้นต้น ๆ นั้นเหมือนปูที่กำลังอยู่ในภาวะเตรียมการลอกคราบแล้วก็อุปมาพัฒนาการของนามกายในขั้นนี้ได้ว่าปูได้ลอกคราบแล้ว กระดองแข็งแล้ว เป็นปูในคราบใหม่ในขณะที่กายเดิมหรือคราบเก่าก็ยังคงอยู่

    นามกายซึ่งแปรเปลี่ยนเป็นทิพย์กายเพราะเหตุที่จิตถึงภาวะอันเป็นทิพย์เช่นนี้ย่อมมีผลให้กายของจิตนั้นมีพลานุภาพ มีอานุภาพ และเป็นที่ตั้งแห่งอำนาจและฤทธิ์ทั้งปวง มีขีดขั้นความสามารถในการกระทำการทั้งหลายคล้ายกับร่างกายธรรมดา แต่มีความวิเศษล่วงพ้นความสามารถธรรมดาของร่างกายธรรมดา ดังที่เรียกว่ามีขีดความสามารถล่วงพ้นขีดความสามารถของมนุษย์ธรรมดา

    การกระทำอิทธิฤทธิ์และอภินิหารทั้งหลายนั้นกระทำโดยนามกาย ซึ่งได้แปรเปลี่ยนสภาพเป็นทิพย์กายในขั้นตอนนี้แล้ว คงเหลือแต่วิธีการในการกระทำอิทธิ ฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ ซึ่งมีวิธีการเฉพาะดังที่จะได้พรรณนาในภาคที่สามต่อไป

    ในขั้นนี้ก็ขอให้ได้รู้เพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธาว่าการกระทำอิทธิ ฤทธิ์ และปาฏิหาริย์นั้นเป็นเรื่องปกติตามธรรมดาธรรมชาติที่พึงมีพึงเป็นในกรณีที่จิตได้ก้าวถึงทิพยภูมิจนนามกายแปรเปลี่ยนเป็นทิพย์กาย ไม่ใช่กระทำโดยร่างกายมนุษย์ธรรมดา หากกระทำโดยร่างกายของจิตหรือทิพย์กายนั้น

    ในยามที่ถึงซึ่งทิพย์ภาวะเช่นนี้แล้วย่อมได้ชื่อว่าบรรลุถึงจตุตถฌาน ถึงซึ่งความเป็นทิพย์ ภาวะจิตที่อยู่ในทิพยภูมินี้จึงเรียกว่าอยู่ในทิพยวิหาร ในยามนั้นภาวะของจิตจะเป็นดังต่อไปนี้คือ

    สุขและทุกข์เป็นอันละได้เพราะเหตุลมหายใจสงบรำงับและเข้าถึงอุเบกขาฌาน แต่ยังไม่ถึงขั้นขุดรากถอนโคน เป็นแต่เพียงละให้ไม่แสดงฤทธิ์อำนาจได้เท่านั้น

    ส่วนโสมนัสและโทมนัสเป็นอันดับสิ้นเพราะได้ดับต้นเหตุคือลมหายใจและอารมณ์อันกำหนดลมหายใจนั้น

    จิตมีความสงบตั้งมั่นในสมาธิระดับขั้นสูงสุด มีความเป็นกลาง มีแต่ธาตุรู้อยู่เฉย ๆ หรือเรียกว่าอุเบกขาฌาน

    มีสติที่ตั้งมั่นคงสูงสุดและจิตมีความบริสุทธิ์ผุดผ่อง หรือที่เรียกว่ามีความประภัสสรขั้นสูงสุด

    ภาวะที่บรรลุถึงจตุตถฌานนั้นเป็นภาวะที่ได้บรรลุถึงรูปฌานสี่ ซึ่งเป็นฌานที่ยังต้องอาศัยรูปเป็นที่ตั้ง แต่ในขั้นที่บรรลุถึงขั้นสุดท้ายคือจตุตถฌานนั้นรูปอันเป็นที่ตั้งก็จางคลายหายไปแล้ว เหลือแต่ความเป็นอุเบกขา ความตั้งมั่นของจิต ความบริสุทธิ์ผุดผ่องของจิตที่เปี่ยมด้วยพลังอันแกล้วกล้าโดยมีปัญญาแหลมกล้าพัฒนาตามขึ้นมาด้วย

    ในการฝึกฝนอบรมจิตให้เป็นสมาธิเพื่อบรรลุถึงรูปฌานตามลำดับทั้งสี่ฌานนั้นย่อมเป็นที่แน่นอนว่าไม่อาจฝึกฝนปฏิบัติให้สำเร็จได้ในคราวเดียว หรือแม้กระทั่งในวันเดียว ความเป็นปกติและความจริงทั่วไปก็คือต้องฝึกฝนหลายครั้งหลายคราว ต้องฝึกฝนต่อเนื่องด้วยความเพียรอย่างยิ่งยวด อาจกินเวลา 7 วันบ้าง เดือนหนึ่งบ้าง 3 เดือนบ้าง 6 เดือนบ้าง ปีหนึ่งบ้าง 7 ปีบ้าง หรือแม้กระทั่งชั่วชีวิตก็ได้

    ดังนั้นการสิ้นสุดการฝึกฝนปฏิบัติแต่ละครั้งและการเริ่มต้นใหม่จึงเป็นเรื่องที่ต้องมีขึ้นเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องกล่าวถึงจุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด และจุดเริ่มต้นใหม่ของการฝึกฝนอบรมแต่ละครั้งพอเป็นสังเขป

    ทุกครั้งที่มีการเริ่มต้นใหม่ก็เริ่มต้นปฏิบัติดังที่ได้กล่าวมาแต่ต้นแล้ว นั่นคือการทำจิตให้มีความสงบ มีความตั้งมั่น แล้วยกระดับความสงบของจิตให้สงบยิ่งขึ้นไปโดยลำดับ สัมผัสรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้นอย่างละเอียดถ้วนทั่วไปโดยลำดับ

    เมื่อฝึกฝนการเริ่มต้นใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่าก็จะมีความชำนาญแคล่วคล่องว่องไวมากขึ้น สามารถยกระดับความสงบของจิตให้ไปถึงจุดที่เคยเป็น เคยสัมผัสมาก่อน ได้โดยรวดเร็วขึ้นและโดยง่ายยิ่งขึ้น และในที่สุดเมื่อความชำนาญ ความแคล่วคล่องว่องไวถึงที่สุดแล้วก็สามารถเริ่มต้นและยกระดับความสงบของจิตได้ในพลันทันใด ความแคล่วคล่องว่องไวและความชำนาญในระดับที่ถึงที่สุดเช่นนี้ได้ชื่อว่ามีขีดความสามารถในการเข้าฌาน หรือที่เรียกในภาษาบาลีว่าสมาปัชชนวสี

    จากการเริ่มต้นไปสู่ความชำนาญแคล่วคล่องในการยกระดับของจิตให้ถึงซึ่งความสงบแล้วก็ยังมีกระบวนการหรือขั้นตอนในการดำรงความสงบ ความตั้งมั่นของจิตในขณะฝึกฝนปฏิบัติอีกกระบวนหนึ่ง

    นั่นคือเมื่อเริ่มต้นและยกระดับจิตให้มีความสงบในขั้นต่าง ๆ ตามที่ต้องการแล้ว ก็ดำรงภาวะจิตให้คงอยู่ในภาวะนั้น ๆ ให้นานที่สุด หรือนัยหนึ่งก็คือเมื่อจิตบรรลุถึงฌานขั้นใดแล้ว ในการฝึกฝนอบรมแต่ละครั้งก็ดำรงจิตให้อยู่ในฌานนั้น ๆ ให้นานที่สุดเป็นลำดับ ๆ ไป จนกระทั่งสามารถดำรงอยู่ในฌานได้เป็นชั่วโมง เป็นครึ่งวัน เป็นชั่วกลางวัน หรือทั้งวันทั้งคืน หรือต่อเนื่องตลอดทั้งเจ็ดวันหรือมากกว่านั้น

    ในการดำรงฌานแต่ละขั้นนั้นจะต้องกำหนดจิตหรือที่เรียกว่าอธิษฐานจิตหรือตั้งจิตอธิษฐานว่าจะดำรงฌานเป็นเวลานานเท่าใด แล้วดำรงฌานได้ตามระยะเวลาที่กำหนดนั้นจนมีความแน่วแน่มั่นคงเป็นไปตามความอธิษฐานทุกประการ เมื่อมีความชำนาญถึงขั้นนี้ย่อมได้ชื่อว่าความสามารถในการดำรงฌาน หรืออีกนัยหนึ่งก็คือมีความสามารถในการดำรงฌานให้เป็นไปตามอธิษฐาน หรือที่เรียกในภาษาบาลีว่าอธิษฐานวสีได้

    เป็นธรรมดาเมื่อเริ่มฝึกฝนปฏิบัติแล้วก็ต้องหยุดลงในเวลาใดเวลาหนึ่ง แม้กระทั่งถึงซึ่งฌานแล้วก็ต้องออกจากฌานในเวลาใดเวลาหนึ่ง ไม่ว่าการดำรงฌานนั้นจะเป็นไปชั่วขณะใดขณะหนึ่ง หรือเป็นไปได้ตามระยะเวลาที่ได้ตั้งอธิษฐานไว้ก็ต้องออกจากฌานในเวลาใดเวลาหนึ่ง การถอนจิตออกมานั้นเรียกว่าการออกจากฌาน

    การถอนจิตจะมีลักษณะหรือภาวะที่ค่อยๆถอนหรือเคลื่อนออกมาจากความสงบในระดับต่าง ๆ แม้กระทั่งระดับฌานที่ดำรงอยู่ แต่การจะถอนออกมานั้นย่อมต้องเกิดจากการกำหนดของจิตว่าจะถอนจิตออกจากภาวะที่ดำรงอยู่เสียก่อน

    เมื่อจิตกำหนดเช่นนั้นแล้วจิตก็จะค่อย ๆ เคลื่อนถอยออกมาจากภาวะนั้นจนกระทั่งถึงภาวะปกติ จะเป็นการเคลื่อนหรือถอยออกมาอย่างช้า ๆ ครั้นมีความชำนาญแล้วก็จะมีความเร็วขึ้นโดยลำดับ นั่นคือเพียงแค่จิตกำหนดว่าจะถอนออกจากฌานก็ถอนออกมาได้ทันที โดยไม่มีความกระทบกระเทือนใด ๆ เกิดขึ้น เมื่อมีความสามารถในการถอนจิตเช่นนี้แล้ว ย่อมได้ชื่อว่ามีความชำนาญในการออกฌาน หรือที่เรียกว่าวุฏฐานวสี

    จิตที่ถอนออกมาจากความสงบระดับต่าง ๆ รวมทั้งถอนออกมาจากฌานนั้นกิเลสและอาสวะทั้งหลายที่เคยสงบรำงับไปก็จะไม่ฟื้นคืนกลับมาอีก เพราะเป็นการถอยออกจากกำลังสมาธิ ไม่ใช่ถอนออกมาโดยรับเอากิเลสและอาสวะทั้งหลายคืนมาใหม่แต่ประการใด

    ดังนั้นผู้ที่บรรลุถึงความสงบหรือฌานแล้ว แม้ถอนจิตออกมาหรือออกจากฌานแล้ว ความตั้งมั่น ความบริสุทธิ์ และกำลังของจิตก็ยังคงดำรงอยู่ อุปมาดั่งนักกีฬายกน้ำหนัก เมื่อฝึกยกน้ำหนักได้ถึงระดับ 120 กิโลกรัมแล้ว แม้จะวางลูกตุ้มน้ำหนักลงแต่ความสามารถในการยกนั้นก็ยังอยู่ ฉันใดก็ฉันนั้น แต่ทว่าอาจเสื่อมสลายไปได้หากไม่สามารถพัฒนาก้าวรุดหน้าไปจนถึงวิมุตตะมิติ หรือไม่สามารถดำรงภาวะเดิมไว้ได้

    ก็เหมือนกับนักกีฬายกน้ำหนักอีกนั่นแหละ ฝึกยกได้ครั้งหนึ่งแล้วละทิ้งไว้นาน ๆ ความสามารถนั้นก็ค่อย ๆ จะเสื่อมสลายไป
     

แชร์หน้านี้

Loading...