ภาระกิจเร่งด่วน...ทำวัดให้เป็นที่พึ่งพิงจากภัยพิบัติ!!!

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย เกษม, 6 มิถุนายน 2010.

  1. texsum

    texsum เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +1,511
    เห็นด้วยครับ เป็นโครงการที่ดีมากอีกโครงการนึง
     
  2. ชัยธนันท์

    ชัยธนันท์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    859
    ค่าพลัง:
    +1,488
    อนุโมทนาสาธุครับ ผมเห็นด้วยครับน้ำสะอาดหายากตอนนี้เตรียมโอ่งหรือแท่ง รองน้ำฝนเก็บไว้เหมือนคนรุ่นก่อนๆครับ หรือไม่ก็ช่วยกันบริจาคโอ่งให้กับวัดต่างๆครับ
     
  3. นัทชี่

    นัทชี่ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +62
    ธรรมะย่อมรักษาผู้ปฏิบัติธรรม
     
  4. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ประกาศ บุญให้น้ำให้ชีวิตพระเณรกำลังขาดน้ำอย่างหนักเชิญร่วมเป็นเจ้าขุดเจาะน้ำ บาดาล<!-- google_ad_section_end -->


    <hr style="color: rgb(255, 255, 255); background-color: rgb(255, 255, 255);" size="1"> <!-- google_ad_section_start -->เชิญร่วมสร้าง มหากุศลให้น้ำให้ชีวิตแก่พระเณรชีรวม 23 ชีวิต
    ----------------------------------------------------


    จากข่าวดังกล่าวนี้ หากเราร่วมใจกัน คือ ใช้โครงการแนวคิดเรื่อง บวร การสานใจ สานสามัคคีกันของ

    บ บ้าน ชาวบ้านในท้องถิ่น เยาวชน ชาวค่ายกิจกรรม ชาวอาสาสมัคร ชาวจิตอาสา

    ว วัด หมู่สงฆ์ ทั้งในพื้นที่เองและส่วนกลาง

    ร ราชการ ทหารช่าง หน่วยงานรัฐ


    มาร่วมใจ ร่วมกิจกรรม สร้างโอ่งน้ำดื่มขนาดใหญ่ถวายวัดเพื่อให้พระท่านก็ดี ชาวบ้านก็ดีได้อาศัยในยามร้อนยามแล้ง

    หากให้เกิดผลยิ่งขึ้นบนโอ่งก็หล่อยันต์ทำน้ำมนต์บนทุกโอ่งพร้อมแผ่นกรองน้ำกรองตะกอน ให้สะอาดและปราศจากตัวสัตว์

    เพื่อยังผลให้เป็นน้ำมนต์ยังเมตตารักษาโรคภัยไข้เจ็บการเดือดร้อนทุกข์ใจ ได้อานิสงค์ไปอีกประการหนึ่ง

    เพื่อที่ว่า โลกจะร้อน น้ำจะแล้งเพียงใด

    แต่วัดยังร่มเย็น เป็นที่พึ่งได้ทั้งทางกาย และร่มเย็นยังจิตใจให้สงบเย็น ได้เสมอ


     
  5. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,194
    "ถังเก็บน้ำ"
    [​IMG]ถังเก็บน้ำใต้ดิน

    ถ้าไม่จำเป็นจริงๆไม่ควรทำถังใต้ดิน ควรจะวางบนพื้นดินจะดีกว่า แต่ถ้าไม่มีที่จริงๆ ก็ต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะการ ทรุดตัว ของถังน้ำใต้ดินกับตัวอาคาร จะไม่เท่ากันเพราะถัง น้ำใช้เข็มสั้น ดังนั้นท่อน้ำต่างๆ ที่ต่อไว้ก็อาจแตกได้และข้อ สำคัญ เราไม่มีสิทธิ์จะรู้ได้จนกว่า บิลค่าน้ำจะมาเก็บ


    [​IMG] ถังเก็บน้ำบนดาดฟ้า

    โดยปกติถ้าบ้านมีพื้นที่สำหรับวางถังไว้ด้านล่างแล้ว ปั๊มน้ำขึ้นไปใช้ก็สามารถทำได้ เพราะไม่ต้องใช้กำลังในการ ปั๊มมากนัก แต่ถ้าบ้านมีหลายชั้นและมีพื้นที่บริเวณดาดฟ้า ก็ ควรนำถังไว้บนดาดฟ้า แล้วปั๊มน้ำไปเก็บไว้ด้านบนแล้วปล่อย ลงมาตามแรงโน้มถ่วง ซึ่งจะทำให้ปั๊มน้ำตัวล่างไม่ต้องทำงาน ตลอดเวลา แต่สิ่งที่ควรระวังสำหรับการติดตั้งถังเก็บน้ำบนดาด ฟ้าก็คือ ตำแหน่งที่ติดตั้ง เพราะควรอยู่ในที่ลับหูลับตา เพราะ จะทำให้อาคารขาดความงาม แล้วที่สำคัญต้องเตรียมโครงสร้าง ไว้รองรับด้วย

    การติดตั้งถังพักน้ำ

    ควรติดตั้งถังพักน้ำให้สัมพันธ์กับปริมาณน้ำใช้ในอาคาร บ้านเรือน ถังพักน้ำที่ใหญ่เกินไป จะทำความสะอาดได้ยาก มีทั้งแบบ ติดตั้งบนดินและใต้ดิน ควรมีขนาดพอเก็บน้ำไว้ใช้ประมาณ 1-2 วัน เท่านั้น เพราะหากเก็บน้ำไว้นานกว่า 1-2 วัน ปริมาณคลอรีนตกค้าง ในน้ำประปาจะระเหยไปหมด เชื้อโรคหรือแบคทีเรียอาจเข้ามา ปะปนในน้ำได้ ควรเลือกถังพักน้ำชนิดที่ทนทานและปราศจากสารพิษ เพราะคลอรีนในน้ำประปาอาจทำปฏิกิริยากับโลหะบางชนิดให้เกิด การผุกร่อนและเป็นสนิมได้

    การเลือกขนาดถังพักน้ำ
    <TABLE borderColor=#3333ff cellSpacing=1 cellPadding=1 width=350 align=center border=1><TBODY><TR bgColor=#ffce86><TD colSpan=2>
    จำนวนผู้ใช้น้ำ (คน) ​
    </TD><TD rowSpan=2>
    ใช้ถังขนาดความจุ (ลิตร )
    </TD></TR><TR bgColor=#ffedd2><TD width=119>
    บ้านพักอาศัย​
    </TD><TD width=125>
    สำนักงาน​
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=119 height=81>
    5
    6
    7-8
    9-10
    11-15 ​
    </TD><TD vAlign=top width=125 height=81>
    20
    25
    32
    40
    60 ​
    </TD><TD vAlign=top width=156 height=81>
    1,000
    1,200
    1,600
    2,000
    3,000 ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    วิธีทำความสะอาดถังพักน้ำ

    ใส่น้ำให้เต็มถังพักน้ำ แล้วใส่คลอรีนน้ำหรือคลอรีนผง โดยให้ใช้ ปริมาณคลอรีน / ปริมาณน้ำ ตามสัดส่วนดังนี้
    - คลอรีนชนิดน้ำ 5 %
    ควรใช้น้ำยาคลอรีน 100 ซี.ซี./น้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร (คิว)
    - คลอรีนชนิดน้ำ 10 %
    ควรใช้น้ำยาคลอรีน 50 ซี.ซี./น้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร (คิว)
    - คลอรีนชนิดผง
    ควรใช้ประมาณ 8 กรัม/น้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร (คิว)

    กวนน้ำและคลอรีนให้เข้ากันเพื่อให้คลอรีนทำปฏิกิริยากับน้ำ อย่างทั่วถึง แช่ไว้ประมาณ 3 ชั่วโมง แล้วจึงปล่อยน้ำคลอรีนออกจาก ถังพักน้ำให้หมด คลอรีนจะฆ่าเชื้อโรคภายในถัง จากนั้นจึงใส่น้ำประปา ที่สะอาดลงไป จะทำให้น้ำประปาที่นำไปใช้ในอาคารเป็นน้ำที่มีคุณภาพดี สะอาด ปราศจากเชื้อโรค​
    [​IMG]
    แบบที่ 1 การติดตั้งเครื่องสูบน้ำโดยมีถังพักน้ำบนดิน
    [​IMG]
    แบบที่ 2 การติดตั้งเครื่องสูบน้ำโดยมีถังพักน้ำใต้ดิน

    ปัจจุบัน ถังเก็บน้ำ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งและมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะวันไหนน้ำไม่ไหล ใครที่ เคยเจอคงรู้ว่าลำบากแค่ไหน เพราะฉะนั้น การจัดเก็บน้ำสำรองไว้ใช้ภายในบ้านจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งปัจจุบัน มีถังเก็บน้ำหลากหลายรูปแบบให้เราเลือก ตามความต้องการใช้งาน ในแต่ละบ้าน แถมราคาไม่แพงอย่างที่ คิด ดังนี้

    1.ถังเก็บน้ำแบบถังคอนกรีตเสริมเหล็ก ปัจจุบันถังเก็บน้ำแบบนี้ไม่นิยมนำมาใช้กับบ้านในกรุงเทพ ฯ หรือบ้านในตัวเมืองที่มีพื้นที่เล็กๆ แต่จะเป็นตามต่างจังหวัด เพราะตัวถังจะมีขนาดใหญ่ การสร้างจึงต้อง มีการออกแบบถังก่อน เพื่อให้เข้ากับสภาพพื้นที่ที่จะตั้ง ส่วนมากจะทำไปพร้อมๆ กับตอนสร้างบ้านใหม่ๆ ถังคอนกรีตเสริมเหล็กนี้ สามารถทำได้ทั้งแบบฝังดินหรือแบบบนดิน หรือจะทำติดกับตัวบ้านเลยก็ได้เพราะ ออกแบบไปพร้อมๆ กับตอนสร้างบ้าน

    ข้อดีของถังแบบนี้ คือความคงทนแข็งแรง และเก็บปริมาณน้ำได้มากเหมาะสำหรับใช้ในบ้านขนาด ใหญ่ หรือหมู่บ้าน ที่ต้องการใช้น้ำใน ปริมาณมากๆ

    ส่วนข้อเสีย ของถังแบบนี้คือ มีราคาแพง (แพงค่าแรง+ค่าวัสดุ) และโอกาสที่จะรั่วซึมจากความ ผิดพลาดตอนสร้างมีสูง นอกจากนี้หากไม่ทำ ความสะอาดทุก 3 เดือนเป็นอย่างน้อย อาจมีปัญหาตะไคร่น้ำ คราบตะกอนติดเป็นจำนวนมาก ทำให้น้ำไม่สะอาด และไม่เหมาะกับ การเก็บน้ำไว้บริโภค

    2.ถังเก็บน้ำแบบสำเร็จรูป ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้กันมาก เพราะเหมาะกับบ้านขนาดเล็กในตัวเมือง หรือบ้านที่มีจำนวนการใช้น้ำไม่มาก โดยที่เราสามารถเลือกแบบและขนาดได้ตามความเหมาะสม และไม่กินพื้นที่ของตัวบ้านมากนัก มีทั้งแบบวางบนพื้นและฝังดิน ใช้วัสดุที่เป็น สแตนเลส หรือจะเลือกพลาสติกอย่างดีก็มี

    ข้อดี ของถังสำเร็จรูป คือ ราคาถูก ติดตั้งได้ง่าย สามารถเลือกแบบที่เหมาะสมกับบ้านได้ มีขายทั้ง ชนิดวางบนพื้นหรือฝังดิน เลือกรูปร่างของถัง ให้เหมาะกับสถานที่ได้ส่วน

    ข้อเสีย คือ ถังสำเร็จรูปจะมีความจุไม่มาก มีอายุการใช้งานระดับหนึ่งแล้วแต่วัสดุที่ใช้ หากเป็นถัง แบบฝังดินจะดูแลได้ยาก

    ถังเก็บน้ำตามชนิดวัสดุถังเก็บน้ำ

    1.ถังเก็บน้ำสแตนเลส เป็นถังเก็บน้ำอีกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน แต่เกรดและชนิดของสแตนเลสก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึง เพราะสแตนเลสนั้นมีหลายเกรด และปัจจุบันนี้รอยข้อต่อของถังเก็บน้ำสแตนเลสนิยมใช้อลูมิเนียมก็มีโอกาสเป็นสนิมได้เหมือนกัน

    2.ถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาส จะมีความทนทานและแข็งแรงกว่าพลาสติกแต่ก็มีปัญหาเรื่องกรอบแตกง่ายถ้าถูกแสงแดดนานๆ

    3.ถังเก็บน้ำพลาสติก เป็นถังที่ทำจากโพลีแอททิลีน ราคาไม่แพง อายุการใช้งานสั้นกรอบแตกง่ายและมีปัญหาเรื่องสนิม

    4.ถังเก็บน้ำจากวัสดุเอลิเซอร์ เป็นนวัฒกรรมใหม่สำหรับถังเก็บน้ำบนดิน Elixir เป็น PE Compound ( Poly ethylene Compound) มีคุณสมบัติ ทนแดด ไม่เป็นสนิม ไม่เป็นตะไคร่น้ำ

    Resource : กองจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ

    ที่มา http://www.novabizz.com/CDC/System/Water_Tank.htm
     
  6. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,194
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    ถังเก็บน้ำฝนแบบปูนฉาบเสริมลวด

    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    <DD>เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าประชากรประมาณ 17 ล้านคนในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่มีฐานะทางเศรษฐกิจ ต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประชากรในภาคอื่น ๆ ของประเทศ ปัญหาที่สำคัญ ประการหนึ่งได้แก่ การขาดแคลนน้ำซึ่งเกิดจากการมีระยะฝนแล้งเป็นเวลา ยาวนานถึง 7-8 เดือน และสภาพดินเป็นดินทรายหรือดินตะกอนปนทราย ซึ่งทำให้ไม่สามารถเก็บน้ำไว้ได้ ดังนั้น การแก้ไขปัญหาของชาวชนบทด้าน น้ำดื่มจึงมุ่งไปที่การเก็บกักน้ำฝนไว้บริโภค คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหา- วิทยาลัยขอนแก่น ได้ศึกษาและพัฒนาถังเก็บน้ำฝนที่มีความคงทน และง่าย ต่อการก่อสร้างแทนการเก็บน้ำฝนด้วยโอ่งซีเมนต์ ซึ่งต้องการพื้นที่สำหรับ วางโอ่งมากกว่าแบบปูนฉาบเสริมลวด ถังเก็บน้ำฝนแบบปูนฉาบเสริมลวดนี้ มีราคาถูก มีความคงทนและก่อสร้างง่าย ไม่ต้องการช่างฝีมือแต่ประการใด เหมาะสำหรับใช้ในครัวเรือนและสถานที่ชุมชน เช่น วัดและโรงเรียน

    วัสดุและอุปกรณ์ <DD> <DD>- ลวดเบอร์ 14 (เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.1 มม.) สำหรับถังน้ำขนาด 6 ลบ.ม. <DD>- ลวดเบอร์ 11 (เส้นผ่าศูนย์กลาง 3.2 มม.) สำหรับถังน้ำขนาด 12 ลบ.ม. <DD>- หิน ทราย ปูนซีเมนต์ น้ำสะอาด - ดินเหนียว ท่อเหล็ก ก๊อกน้ำ เหล็กเส้น ไม้ไผ่

    ขั้นตอนการก่อสร้าง </DD>

    <DD>1. ถากหน้าดินออก 5 ซม. เป็นวงกลมให้มีเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่ กว่าขนาดของถัง 25 ซม. ใส่หินและทรายรองพื้น 5 ซม. พร้อมทั้งกระทุ้งให้ แน่นและราดน้ำให้ชุ่ม
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    <DD>2. เทคอนกรีตที่ฐานชั้นแรกหนา 3-4 ซม. แล้วใช้เท้าย่ำให้แน่น และวางทับด้วยเหล็กเสริมฐานที่ได้เตรียมไว้แล้วพร้อมท่อน้ำทิ้ง
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    <DD>3. เทคอนกรีตชั้นที่สองทับหนา 3-4 ซม. แล้วใช้เท้าย่ำให้แน่น แต่งผิวให้เรียบและทำรอยบากบริเวณที่มีลวด
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    <DD>4. ประกอบแบบโครงเหล็กไม้ไผ่บนฐาน โดยใช้ลวดผูกเหล็กมัดให้ แน่น
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    <DD>5. ใช้เหล็กเส้นดัดเป็นรูป [ 4 เส้นยึดภายในที่ระดับสูงประมาณ 40 ซม. และอีก 4 เส้นยึดที่ระดับสูงประมาณ 1.60 ม. เพื่อให้โครงแบบ แน่นไม่สั่นคลอน
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    <DD>6. ฉาบดินเหนียวรอบแบบ เพื่อป้องกันไม่ให้ผนังโอ่งติดกับแบบ
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    <DD>7. ฉาบปูนชั้นที่หนึ่งหนา 2 ซม.
    <CENTER>[​IMG]
    </CENTER><DD>8. ผูกลวดแนวดิ่งและลวดแนวนอน
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    <DD>9. ฉาบปูนชั้นที่สองหนา 2 ซม.
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    <DD>10. คลุมด้วยแผ่นพลาสติกทิ้งไว้ข้ามคืน จึงทำการถอดแบบทำ ความสะอาดภายใน และทำท่อ ก๊อกน้ำ และท่อน้ำล้น
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    <DD>11. ผูกเหล็กและลวดตะแกรงสำหรับทำฝาครอบ แล้วนำไปไว้ บนถังและผูกให้อยู่กับที่โดยมัดกับลวดที่โผล่จากผนังถัง
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    <DD>12. โบกปูนฉาบทำฝาครอบ โดยให้คนใช้แผ่นไม้อัดรองรับอยู่ ภายใน
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>

    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    <DD>ถังเก็บน้ำฝนแบบปูนฉาบเสริมลวดนี้กำลังเป็นที่นิยมกันอย่าง แพร่หลายในหลายจังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ที่จังหวัดอุบล ราชธานีและจังหวัดขอนแก่น ถังน้ำขนาด 6 ลบ.ม. และ 12 ลบ.ม. มีราคา ค่าก่อสร้างประมาณ 1,500 บาท และ 2,800 บาท (ราคา พ.ศ. 2529) ซึ่งถูกกว่าการสร้างถังด้วยวัสดุอื่น ๆ เช่น ถังคอนกรีตเสริมเหล็ก ถังเฟอร์โรซีเมนต์ และถังก่ออิฐถือปูนมาก เป็นที่คาดหมายว่าถังเก็บน้ำฝนแบบปูน ฉาบเสริมลวดนี้จะช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำดื่มในชนบทได้เป็น อย่างดี </DD><DD>
    ผู้สนใจขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อขอคู่มือการก่อสร้าง ถังเก็บน้ำฝนแบบปูนฉาบเสริมลวด ได้ที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น
    </DD></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ที่มา http://www.tistr.or.th/t/publication...sp?i1=95&i2=21
     
  7. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ร่วมกันสร้างแทงค์เก็บน้ำจากปูน ที่มีราคาถูกหาวัสดุง่าย ถวายวัดเอาไว้เป็นการสำรองน้ำดื่มยามแล้ง ยามเกิดภัยพิบัติกันครับ
     
  8. chaiyan14

    chaiyan14 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2009
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +65
  9. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ได้มีโอกาสคุยกับพี่ท่านหนึ่งซึ่งได้ดำเนินงานโครงการ บวรมาก่อน


    ท่านให้ทัศนะในเรื่องโครงการที่ทำนั้น จำเป็นต้องดำเนินงานต่อเนื่องถึงการดูแล การบำรุงรักษา การติดตามงานให้เกิดผลของโครงการต่อไปไม่สิ้นสุด

    ไม่เกิดเป็นภาระของพระอาจารย์ ให้เกิดความประสานราบรื่นสะดวกใจกับทุกๆคน ทุกๆฝ่ายครับ

    ซึ่งหากเราจะร่างโครงการแต่ละโครงการหรือ การนำไปใช้ ต้องพิจารณาให้ละเอียดยิ่งขึ้นไปอีกครับ
     
  10. Tossaporn K.

    Tossaporn K. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,565
    ค่าพลัง:
    +7,747
    เรียนคุณคณานันท์

    ถังใส่น้ำแบบปูน จะมีปัญหามากในเรื่องน้ำกระด้างอันเกิดจากแคลเซี่ยมจากปูนละลายลงในน้ำที่เก็บ จะไมาสามารถใช้บริโภคได้เพราะอันตรายเกินไปจากความกระด้างของน้ำ วิธีแก้ไขคือต้องใช้สีอีป๊อกซี่ทาทับผิวปูนภายในก็จะช่วยได้ แต่สีอีป๊อกซี่ก็มีราคาแพงพอสมควร ก็อาจจะต้องพิจารณาถ้าเก็นเป็นน้ำใช้ทั่วไปก็ไม่ต้องทาสี แต่ถ้าจะเอาไว้ใช้ดื่มหรือทำอาหารก็ต้องทาสีอีป๊อกซี่ด้านในครับ โอ่งกระเบื้องเคลือบก็เก็บน้ำดื่มได้ดีเช่นกันเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งครับแต่อาจจะแพงกว่าเนื่องจากต้องใช้เป็นสิบหรือยี่สิบใบ

    ต้องไม่ลืมทำฝาปิดถังด้วยนะครับเพื่อป้องกันแมลงและสัตวเล็กตกลงไปตายในถังน้ำจะเหม็นหมดทั้งถัง
     
  11. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ขอบคุณครับผมสำหรับข้อมูล

    ท่านใดที่ริเริ่ม หรือดำเนินการ โครงการ บวร แล้วก็ดี

    โครงการจัดสรรค์ พัฒนาวัดให้รองรับ หมู่ชนในยามเกิดภัยพิบัติก็ดี

    มาร่วมกันแบ่งปันข้อมูลเพื่อให้เกิดคุณประโยชน์ต่อส่วนรวมกันครับ
     
  12. marine24

    marine24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    2,223
    ค่าพลัง:
    +15,634
    เอาต้นไม้ที่มีผลไม้กินได้ไปปลูกที่วัด เป็นการสร้างความร่มรื่นให้วัด เป็นการปรับภูมิทัศน์ ลดสภาวะอากาศร้อน เพิ่มต้นไม้ และมีผลไม้ไว้กินในยามปกติและขาดแคลนอาหาร
     
  13. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ได้มีโอกาสสนทนาเรื่องงานส่วนรวมกับครูบาก้อง

    ท่านเล่าให้ฟังว่า มีวัดอีกประมาณ 3,000 วัดที่ได้ดำเนินการทำน้ำชีวภาพทั้งเพื่อใช้ รักษาสภาพแวดล้อมของวัดก็ดี ใช้ทำปุ๊ยก็ดี และที่ทำเพื่อแจกจ่ายสงเคราะห์ญาติโยมก็ดี

    มีทั้งที่ท่านเจ้าอาวาสท่านจัดทำเองและ ที่พระลูกวัดท่านทำแบบเงียบๆ

    หากส่งเสริมได้ จะช่วย ส่งเสริมในโครงการ บ ว ร ได้อีกมากครับ

    วัดที่อยู่ติดริมน้ำ ใช้น้ำชีวภาพเอนไซม์ ปรับสภาพน้ำ แพปลาหน้าวัด เขตอภัยทาน ส่งเสริมการอนุรักษ์พันธุ์ปลา สร้างความอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่และชุมชน น้ำที่ผ่านวัดกลายเป็นปุ๋ย ไปสร้างความอุดมสมบูรณ์ต่อไปอีก

    วัดที่ทำแจกเพื่อสงเคราะห์ส่งเสริมให้ชาวบ้านได้ใช้ เพื่อประหยัดค่าปุ๋ยเคมี เพื่อสงเสริมสุขภาพ ลดสารพิษที่ทำลายสภาพแวดล้อมและร่างกาย คนปลุก คนกิน ทำให้ประหยัดงบประมาณสาธารณะสุขต่อไปในอนาคต

    หากเราร่วมใจกันส่งเสริมได้ทั้งใน วัด และ โรงเรียน จะเป็นรากฐาน การพึ่งพาตนเองและเศรษฐกิจพอเพียงต่อไปในอนาคตครับ
     
  14. Tossaporn K.

    Tossaporn K. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,565
    ค่าพลัง:
    +7,747
    เรียนคุณคณานันท์

    การทำปุ๋ยน้ำ EM ใช้หัวเชื้อ EM ของยี่ห้อคิวเซ มาทำการผลิตปุ๋ยน้ำ EM ดีที่สุดครับมีการทดลองแล้วจากคนที่ผมรู้จัก

    วิธีการทำ
    - เตรียมน้ำใส่ถัง 20 ลิตร
    - ใส่น้ำตาลทรายแดงลงถัง 1 กิโลกรัม กวนให้ละลายให้หมด
    - ใส่ปุ๋ยยูเรีย 2 - 3 ช้อนโต๊ะ กวนให้ละลายให้หมด
    - ใสหัวเชื้อ EM 0.2 ลิตร( 200 ซีซี )
    - ปิดฝาถังเก็บไว้ในที่เย็น 20 - 30 เซลเซียส ( C )
    - เก็บไว้ประมาณ 15 วัน หรือจะเก็บไว้เป็นเดือนก็ได้

    เสร็จแล้วนำมาผสมกับน้ำในอัตราส่วน EM : น้ำ = 1 : 200 เพื่อใช้รดผักหรือต้นไม้ได้ผลดีมากครับ หรือผสมไปใส่บ่อน้ำที่เลี้ยงปลา หรือผสมเทราดพื้นที่สกปรกส่งกลิ่นเหม็นก็จะช่วยดับกลิ่นเหม็นได้ดีมากครับ บางคนเลี้ยงหมูก็ใช้น้ำผสมนี้ฉีดตามพื้นที่เลี้ยงหมูทำให้ไม่ส่งกลิ่นเหม็นครับ
     
  15. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    มีหลายท่านได้แจ้งมาที่ผมว่า ได้ดำเนินการในการสานงาน บ ว ร ในส่วนของภูมิภาคกันไปหลายท่านและหลายโครงการแล้วครับ

    ต้องขอเป็นกำลังใจและโมทนาในกุศลเจตนาของทุกๆท่านที่ทำในงานสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของคนหมู่มากด้วยครับ

    หากเราเลือกทำโครงการที่สอดคล้องกับ ภูมิปัญญา ความจำเป็น สภาพการณ์ วัฒนธรรมท้องถิ่น ฤดูกาล แล้ว

    ย่อมประสบความสำเร็จในประโยชน์ของโครงการชัดเจนขึ้นครับ

    ยามแล้ง ร่วมใจกันขุดลอกแหล่งน้ำ คู คลอง บ่อหนอง

    นำทราย ขนทรายเข้าวัด วัดได้สิ่งปลูกสร้าง วิหารทาน หรือหล่อพระพุทธปฏิมา

    นำดินตะกอน ดินก้นน้ำที่อุดมสมบูรณ์มาผสมกับปุ๋ยชีวภาพที่ร่วมใจทำแบ่งปันกันในชุมชน

    ได้ที่เก็บน้ำปริมาณมากขึ้น

    ลดปัญหาน้ำท่วม

    แก้ปัญหาภัยแล้งของปีหน้า

    ได้ปุ๋ยราคาถูก ลดต้นทุนชุมชน หรือเกิดเงินกองทุนหมู่บ้าน

    เมื่อเราชี้แจงให้เห็นประโยชน์ ที่ทุกคน ชุมชนได้รับร่วมกัน ความร่วมมือ ความร่วมใจย่อมเกิดขึ้น

    ความร่วมใจเกิดขึ้น ความสามัคคีย่อม แน่บแน่น

    เมื่อดำริ คิดโครงการเริ่มต้นด้วยกุศล ก็เกิดแต่ประโยชน์สุขต่อทุกๆคนครับ

    คิดด้วยเมตตา คิดเพื่อส่วนรวม คิดด้วยความเสียสละ
     
  16. สาน์สทิพย์

    สาน์สทิพย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +113
    เห็นด้วยอย่างยิ่ง ในโครงการ บวร โดยเฉพาะเรื่องน้ำ สำคัญมาก
    ส่วนด้านภัยพิบัติ จะป้องกันได้อย่างไรคะ เพราะไม่ใช่ทุกวัดที่จะปลอดภัย
    น่าจะเป็นวัดตามป่าตามเขา ที่สถานที่ปลอดภัยด้วย
     
  17. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    เน้นการสร้างแหล่งน้ำดื่มสะอาด
    ป่าชุมชนกินได้

    การอนุรักษ์ป่าต้นน้ำและแหล่งเพาะพักอนุรักษ์พันธู์สัตว์ป่า

    เพื่อสร้างอุดมสมบูรณ์ให้ วัด ป่า ชุมชนครับ

    เมื่อเกิดมีความอุดมสมบูรณ์มากเข้า ก็ช่วยบรรเทาความทุกข์ยาก ความลำบาก ความยากจน ของผู้คนและสัตว์ทั้งหลาย

    ทั้งก่อนเกิดภัยพิบัติและหลังจากเกิดภัยพิบัติครับ

    รายละเอียดการดำเนินงานจะได้ทะยอยนำลงเอาไว้ให้ครับ
     
  18. สังสารวัฏ

    สังสารวัฏ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    562
    ค่าพลัง:
    +5,382
    อนุโมทนาสาธุกับทุกๆ ท่านด้วยนะคะ (^_^)
    ขอสนับสนุนโครงการ "บวร" ด้วยคนค่ะ

    เคยเห็นเขาเก็บในถังโอ่งมังกรน่ะค่ะแบบใหญ่ๆ หลายๆใบมีฝาปิด
    กินน้ำแล้วเย็นชื่นใจหลาย ..
    ทางเหนือเขาเก็บน้ำดื่มในน้ำต้น (ภาคกลางเรียกคณโฑป่าวน้า) และมีกระบวยไว้ดื่ม
    น้ำในน้ำต้นจะเย็นเหมือนอยู่ในตู้เย็นเลยค่ะ .. ทำจากเครื่องปั้นดินเผา
    อันนี้น่าจะช่วยได้เมื่อยามไฟฟ้าไม่มี ตู้เย็นใช้ไม่ได้
     
  19. อารมณ์สุนทรีย์

    อารมณ์สุนทรีย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    522
    ค่าพลัง:
    +1,740
    [FONT=&quot]หนึ่งในโครงการที่เริ่มดำเนินการแล้ว [/FONT][FONT=&quot]

    ต้องขอบคุณพี่ๆที่ช่วยเหลือในทุกๆด้านด้วยนะครับ มีหลายโครงการที่ทำอยู่ ลงเวปมาให้ยินดีกันเรื่อยๆ

    เป็นงานที่เน้นเรื่องโลกร้อน จึงนำมาโยงกับโครงการ บวร ออกมาเป็นงานนี้

    ผลที่ได้คือ ได้พา นศ.เข้าวัด ทำกิจกรรมเพื่อส่วนรวม ให้วัดเป็นศูนย์กลาง ฯลฯ

    ________________________________________________________________________
    [/FONT][FONT=&quot]
    ชื่อโครงการ[/FONT]
    [FONT=&quot] ภาวะโลกร้อน[/FONT][FONT=&quot] : กิจกรรม “ปลูกป่าสมุนไพรในวัด”<o></o>[/FONT]

    [FONT=&quot]หลักการและเหตุผล[/FONT]
    [FONT=&quot]: ลดภาวะโลกร้อน<o></o>[/FONT]

    [FONT=&quot]วัตถุประสงค์[/FONT]
    [FONT=&quot]<o>
    </o>[/FONT]
    [FONT=&quot]1.เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจถึงปัญหาภาวะโลกร้อน ผลสะท้อนที่จะตามมาในอนาคตและเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]2.เพื่อให้นักศึกษาได้รู้จักและเข้าใจถึงการทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม หรือ [/FONT][FONT=&quot]“จิตอาสา”<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]3[/FONT][FONT=&quot].เพื่อให้นักศึกษา[/FONT][FONT=&quot]ได้เดิน[/FONT][FONT=&quot]ตามรอยพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว[/FONT][FONT=&quot] ในโครงการ [/FONT][FONT=&quot]“บวร”<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]3.เพื่อให้นักศึกษาได้ทำงานร่วมกันเป็นทีมให้มีความสามัคคี<o>

    </o>
    [/FONT] [FONT=&quot]ระยะเวลาดำเนินการ[/FONT][FONT=&quot] ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot] จำนวน 9 ชั่วโมง ในช่วงระหว่าง เดือนกรกฎาคม-เดือนสิงหาคม 2553[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot] ดำเนินการครั้งแรก วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553<o></o>[/FONT]

    [FONT=&quot]สถานที่ดำเนินการ[/FONT]
    [FONT=&quot]: วัดหนองหญ้าปล้อง ต.จรเข้เผือก อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี<o></o>[/FONT]

    [FONT=&quot]วิธีการดำเนินการ[/FONT]
    [FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]1. [/FONT]<!--[endif]-->[FONT=&quot]ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเรื่องภาวะโลกร้อน[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]2. [/FONT]<!--[endif]-->[FONT=&quot]ตั้งหัวข้อโครงการและกิจกรรม[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]3. [/FONT]<!--[endif]-->[FONT=&quot]วางแผนภาพรวม[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]4. [/FONT]<!--[endif]-->[FONT=&quot]ดำเนินการ[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]5. [/FONT]<!--[endif]-->[FONT=&quot]สรุป[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]6. [/FONT]<!--[endif]-->[FONT=&quot]ประเมินผล[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot]7. [/FONT]<!--[endif]-->[FONT=&quot]นำเสนอผลงาน[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]รูปแบบกิจกรรม[/FONT]
    [FONT=&quot]: ค้นคว้าข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวเนื่องให้สมาชิกภายในกลุ่มได้เข้าใจและสามารถนำไปชักชวนหรือเผยแพร่แก่บุคคลอื่นได้ต่อไป ดำเนินการนำพืชสมุนไพรที่วัดต้องการหรือที่มีประโยชน์ครอบคลุมไปปลูกภายในวัด และรณรงค์ให้วัดเป็นศูนย์กลางความรู้เรื่องสมุนไพร<o>

    </o>
    [/FONT] [FONT=&quot]ผลคาดหวังที่จะได้รับ[/FONT][FONT=&quot]: ตระหนักถึงภาวะโลกร้อนและทำให้วัดเป็นที่พึงดั่งโครงการ “บวร” และนักศึกษาได้เข้าใจถึงประโยชน์ส่วนรวม การเสียสละ และความสามัคคี<o>

    </o>
    [/FONT] [FONT=&quot]ภาวะโลกร้อน[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่า ทำไมโลกถึงร้อน ร้อนได้อย่างไร แล้วจะยับยั้งได้ไหม ด้วยวิธีใด[/FONT]
    [FONT=&quot]หากเราถามนักวิทยาศาสตร์หรือนักวิชาการ คำตอบว่าทำไมโลกจึงร้อน คำตอบที่ได้คงไม่ต่างกันนัก นั้นคือ เกิดจากคนใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง อย่างรวดเร็วจนโลกไม่สามารถปรับสภาวะได้ทัน แต่ถ้าหันไปถามพระหรือผู้ปฎิบัติธรรม ท่านคงบอกว่า เหตุที่ทำให้โลกร้อนนั้นก็คือ คนมันร้อน โลกจึงร้อน ร้อนด้วยไฟราคะ โมหะ โทสะ หากพิจารณาดูแล้วไม่ว่าด้านใดก็มีเหตุมีผลทั้งนั้น ดังนั้นกลุ่มพวกเราจึงมุ่งแก้ปัญหาทั้ง ๒ ด้าน คือ ด้านสภาวะแวดล้อม และทางด้านจิตใจ เพื่อจะได้ชะลอหรือยับยั้งภาวะโลกร้อนและภัยพิบัติที่ตามมา[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]สิ่งที่พวกเราเลือกนำเสนอคือ [/FONT][FONT=&quot]“ปลูกป่าสมุนไพรในวัด”[/FONT][FONT=&quot] <o></o>[/FONT]

    [FONT=&quot]ทำไมต้องเป็นสมุนไพร[/FONT]
    [FONT=&quot]?[/FONT][FONT=&quot]<o>
    </o>
    [/FONT] [FONT=&quot]เนื่องจากกลุ่มพวกเรานั้นกำลังศึกษาอยู่คณะการแพทย์แผนตะวันออก จึงเลือกที่จะนำสมุนไพรมาปลูก เนื่องจากสามารถเป็นยารักษาโรคได้อยู่แล้ว และสามารถนำมารับประทานเป็นอาหารได้อีกด้วย แท้จริงแล้วกลุ่มพวกเราได้นำพระราชกะแสรับสั่งขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือโครงการ [/FONT][FONT=&quot]“บ ว ร” ซึ้งย่อมาจาก บ บ้าน, ว วัด, ร (ศาสตร์ของ)ราชา เพราะเราเป็นประชาชนชาวไทย ซึ่งสามารถลดภาระของท่านได้ และท่านก็ได้วางรากฐานไว้เสร็จเรียบร้อยหมดแล้ว เหลือแต่พวกเราชาวไทยจะก้าวเดินตามท่านหรือไม่ ด้วยความพอเพียง และเพียงพอ<o></o>[/FONT]

    [FONT=&quot]ทำไมต้องไปปลูกในวัด[/FONT]
    [FONT=&quot]?[/FONT] (จากกระทู้วิชชา)
    [FONT=&quot]ไม่ว่าจะสมัยใด วัดก็ยังเป็นที่พึงพิงของทุกคนไม่ว่าจะศาสนาไหนๆ แล้วถ้าหากเกิดภัยพิบัติจากภาวะโลกร้อนก็ดี เราจะมี วัด เป็นที่หลบภัยได้อีกด้วย โดยทำให้วัดเป็นที่พึงพิงได้ทั้งทางโลกและทางจิตใจ(ทางธรรม)<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]วัด[/FONT]
    [FONT=&quot] ในฐานะ สถานที่ขัดเกลาเพาะบ่มคุณธรรมความดี ความงดงามในสังคมชุมชนนั้นๆ[/FONT][FONT=&quot]
    วัด ในฐานะ สถานที่ปฏิบัติธรรม ขัดเกลากิเลส ฝึกฝนจิตใจเพื่อมรรคผลพระนิพพาน
    วัด ในฐานะ สถานที่รวบรวมศิลปะวิทยาการ องค์ความรู้ สรรพวิชา ทั้งทางศาสนา และทางโลก ของชุมชนนั้นๆ
    วัด ในฐานะ ที่พึ่งพิงยามยาก โรงทาน ยามอดอยาก ศาลาที่นอน ที่ขอพักอาศัยยามเกิดภัยพิบัติ
    วัด ในฐานะ สถานที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ แพปลาหน้าวัด ที่เพาะพักสัตว์น้ำให้ลำน้ำอุดมสมบูรณ์ สวนป่าในวัด เพื่อความร่มเย็น เพื่อรักษ์ป่า สวนสมุนไพรเพื่ออนุรักษ์พันธุ์ไม้ยาหายาก เพื่อเยียวยา เขตอภัยทาน เพื่อรักษาคุ้มครองชีวิตสรรพสัตว์ และรณรงค์ให้วัดเป็นศูนย์กลางความรู้เรื่องสมุนไพร
    วัด ในฐานะสิ่งสะท้อนความเจริญรุ่งเรืองทางจิตใจ ความศรัทธาในพระศาสนาอย่างมั่นคงจนเกิด ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ
    วัด ในฐานะ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม ที่อนุรักษ์วิถีชีวิต อนุรักษ์งานศิลป์ อย่างหมดจดลงตัว <o></o>
    [/FONT]
    [FONT=&quot]การลดภาวะโลกร้อนเป็นสิ่งที่ทุกคนจะต้องช่วยกันลงมือทำ เราทุกคนก็ต่างมีส่วนที่ทำให้เกิดปัญหานี้ขึ้น เพราะเพียงแค่เราหายใจอยู่เฉยๆก็ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาแล้ว ยังไม่รวมถึงกิจกรรมต่างๆมากมายที่เราทำอยู่ทุกๆวัน ถึงเวลาที่เราต้องเลิกคิดว่าภาวะโลกร้อนไม่ใช่ธุระของเรา แล้วหันมาร่วมมือกัน..มาเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาโลกร้อนกันเถอะ[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้าท่านคิดว่าการลดภาวะโลกร้อนนั้นมันทำได้ยาก หรือคิดว่าท่านคนเดียวช่วยโลกไม่ได้ หรือว่าจะทำตอนนี้มันก็ไม่มีอะไรดีขึ้นแล้ว ท่านกำลังคิดผิด ทุกอย่างที่เราทำจะส่งผลดีต่อโลก และมันยังมีเวลาอยู่ ถ้าไม่เริ่มที่ตัวเราก่อนก็ไม่รู้จะให้ไปเริ่มจาก[/FONT][FONT=&quot]ตรงไหน[/FONT] [FONT=&quot]แค่เราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างของเราทำอยู่ในวันๆหนึ่ง[/FONT] [FONT=&quot]ก็สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้แล้ว[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>
    [/FONT] [FONT=&quot]การประเมินผล [/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]ในการศึกษาภาวะโลกร้อน ทำให้ทราบถึงภัยธรรมชาติที่มีความแปรเปลี่ยนเกี่ยวกับลักษณะทางภูมิอากาศที่ไม่แน่นอน มีการเกิดภัยทางธรรมชาติมากกว่าในอดีต ฤดูกาลเกิดไม่ตรงกับที่เป็นมา มีการเกิดภัยแห้งแล้งกว่าที่แล้วมา การแปรเปลี่ยนของทวีปทำให้มีการดำเนินชีวิตทั้งมนุษย์และสัตว์ มีความไม่สมดุลทางการเป็นอยู่มากขึ้น ฯลฯ ในการเกิดภาวะโลกร้อนก็เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ไม่ว่าจะการทำลายป่าไม้ การสร้างแหล่งที่อยู่รุกล้ำเข้าเขตป่า และการปล่อยก๊าซคาร์บอน หรือก๊าซเสียต่างๆ ดังนั้นการแก้ปัญหาของภาวะโลกร้อนเราทุกคนจะต้องช่วยกันลงมือปฏิบัติ [/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]กลุ่มพวกเราได้นำเสนอโครงการกิจกรรมที่มีประโยชน์ครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นด้าน สาธารณะประโยชน์ คือ ทำให้วัดเป็นที่พึงพิงในทุกๆด้านโดยเฉพาะภัยพิบัติที่มาจากผลของโลกร้อน หรือด้านบุคคล คือ ทำให้นักศึกษาเข้าใจถึงจิตอาสา และการพัฒนาจิตใจเพื่อเป็นคนดีของสังคมต่อไป [/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT]
    [FONT=&quot]ข้อเสนอแนะ[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot] การช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นหน้าที่ของทุกคนไมใช่ของใครคนใดคนหนึ่งเพราะต้องช่วยกันรับผิดชอบสภาพแวดล้อมของโลกใบนี้[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]<o>
    </o>[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DCAM0784.JPG
      DCAM0784.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.7 MB
      เปิดดู:
      155
    • DCAM0788.JPG
      DCAM0788.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.6 MB
      เปิดดู:
      221
    • P1020177.JPG
      P1020177.JPG
      ขนาดไฟล์:
      4.5 MB
      เปิดดู:
      142
    • P1020203.JPG
      P1020203.JPG
      ขนาดไฟล์:
      4.7 MB
      เปิดดู:
      253
    • P1020258.JPG
      P1020258.JPG
      ขนาดไฟล์:
      5.1 MB
      เปิดดู:
      215
    • P1020262.JPG
      P1020262.JPG
      ขนาดไฟล์:
      5.1 MB
      เปิดดู:
      217
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2010
  20. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    โมทนา ด้วยครับ

    งานที่แท้จริงคือการ จุดประกาย ความดี

    จุดประกายความคิดสร้างสรรค์เชิงบวก

    จุดประกายการร่วมมือร่วมใจการประสานประโยชน์ต่อส่วนรวมด้วยความเสียสละครับ

    หาก โครงการต่างๆเหล่านี้ เกิดเพิ่มขึ้น มากขึ้น ก็เป็นการแบ่งเบาพระราชภาระกิจขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครับ

    ประโยชน์เกิดขึ้น ใน ปัจจุบัน
    ประโยชน์ทีี่เกิดขึ้นยามเกิดภัยพิบัติ

    ยังมีอีกหลายพื้นที่ หลายวัด หลายโครงการ ที่เกิดโครงการดีๆขึ้นมาได้ หากทุกๆคนตระหนักและร่วมใจกันครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...