พระโพธิสัตว์พญาช้างนาฬาคิรี(ธนปาล)พระพุทธเจ้าในอนาคต

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย อุตฺตโม, 5 ธันวาคม 2010.

  1. สวนพลู

    สวนพลู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    6,596
    ค่าพลัง:
    +18,651
    มีเรื่องปรึกษาครับพี่ชาย

    สมมุติว่า ผมไปเช่าห้องให้ญาติที่ออกมาจากคุก โดยใช้ชื่อผม แล้วไอ้ญาติคนนี้ดันไปขายยาบ้า แล้วโดนตำรวจยิง พร้อมของกลาง แล้วก็ตอนโดนยิงก็ยืมรถผมไปด้วย (ยืมประจำ) แล้วอย่างนี้ผมจะโดนข้อหาอะไรหรือไม่ครับ
     
  2. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    นิยายธรรม "โกกิลาภิกษุณี" ที่หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี ได้แสดงเผยแผ่

    ตอนที่ 12

    -และแล้วพระอานนท์ก็กล่าวว่า "น้องหญิง ชีวิตนี้เริ่มต้นด้วยเรื่องที่น่าละอาย ทรงตัวอยู่

    ด้วยเรื่องที่ยุ่งยากสับสน และจบลงด้วยเรื่องเศร้า"

    "อนึ่ง ชีวิตนี้เริ่มต้นและจบลงด้วยเสียงคร่ำครวญ เมื่อลืมตาขึ้นดูโลกเป็นครั้งแรก เราก็

    ร้องไห้ และเมื่อจะหลับตาลาโลก เราก็ร้องไห้อีก หรืออย่างน้อยก็เป็นสาเหตุให้คนอื่น

    หลั่งน้ำตา"

    "เด็กร้องไห้พร้อมด้วยกำมือแน่นเป็นสัญญลักษณ์ว่า เขาเกิดมาเพื่อจะหน่วงเหนี่ยวยึดถือ

    แต่เมื่อหลับตาลาโลกนั้นทุกคนแบมือออก เหมือนจะเตือนให้ผู้อยู่เบื้องหลังสำนึกและ

    เป็นพยานว่าเขามิได้เอาอะไรไปเลย"

    "น้องหญิง อาตมาขอเล่าเรื่องส่วนตัวให้ฟังสักเล็กน้อย อาตมาเกิดแล้วในศากยวงศ์อัน

    มีศักดิ์ ซึ่งเป็นที่เลื่องลือว่าบริสุทธิ์ยิ่งในเรื่องตระกูล อาตมาเป็นอนุชาแห่งพระบรม

    ศาสดา และออกบวชติดตามพระองค์เมื่ออายุได้ 36 ปี"

    "ราชกุมารผู้มีอายุถึง 36 ปีที่ยังมีดวงใจผ่องแผ้วไม่เคยผ่านเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ มาเลยนั้นเป็น

    ที่หาได้ยากในโลก หรืออาจจะหาไม่ได้เลยก็ได้"

    "น้องหญิงอย่านึกว่า อาตมาจะเป็นคนวิเศษเลิศลอยกว่าราชกุมารทั้งหลาย อาตมาเคย

    ผ่านความรักมาและประจักษ์ว่า ความรักเป็นความร้าย ความรักเป็นสิ่งทารุณและเป็น

    เครื่องทำลายความสุขของปวงชน อาตมากลัวต่อความรักนั้น"

    "ทุกคนต้องการความสมหวังในชีวิตรัก แต่ความรักไม่เคยให้ความสมหวังแก่ใครถึงครึ่ง

    หนึ่งแห่งความต้องการยิ่งความรักที่ฉาบทาด้วยความเสน่หาด้วยแล้วจะเป็นพิษแก่จิตใจ

    ทำให้ทุรนทุรายดิ้นรนไม่รู้จักจบสิ้น"

    "ความสุขที่เกิดจากความรักนั้นเหมือนความสบายของคนป่วยที่ได้กินของแสลง เธออย่า

    พอใจในเรื่องความรักเลย เมื่อหัวใจถูกลูบไล้ด้วยความรัก หัวใจนั้นจะสร้างความหวัง

    ขึ้นอย่างเจิดจ้า แต่ทุกครั้งที่เราหวัง ความผิดหวังก็จะรอเราอยู่"

    "น้องหญิง อย่าหวังอะไรให้มากนัก จงมองดูชีวิตอย่างผู้ช่ำชอง อย่าวิตกกังวลอะไร

    ล่วงหน้า ชีวิตนี้เหมือนเกลียวคลื่นซึ่งก่อตัวขึ้นแล้วม้วนเข้าหาฝั่งและแตกกระจายเป็น

    ฟองฝอย จงยืนมองดูชีวิตเหมือนคนผู้ยืนอยู่บนฝั่งมองดูเกลียวคลื่นในมหาสมุทรฉะนั้น"

    "โกกิลาเอย เมื่อความรักเกิดขึ้น ความละอายและความเกรงกลัวในสิ่งที่ควรกลัวก็พลัน

    สิ้นไป เหมือนก้อนเมฆมหึมาเคลื่อนตัวเข้าบดบังดวงจันทร์ให้อับแสง"

    "ธรรมดาสตรีนั้นควรจะยอมตายเพราะความละอาย แต่แทนที่จะเป็นเช่นนั้น ความ

    ละอายมักจะตายไปก่อนเสมอ เมื่อความใคร่เกิดขึ้น ความละอายก็หลบหน้า เพราะ

    เหตุนี้พระบรมศาสดาจึงตรัสว่าความใคร่ทำให้คนมืดบอด"

    "อนึ่ง โลกมนุษญ์ของเรานี้เต็มไปด้วยชีวิตอันประหลาดพิสดารต่างชนิดและต่างรส ชีวิต

    ของแต่ละคนได้ผ่านมาและผ่านไป ด้วยความระกำลำบากทุกข์ทรมาน ถ้าชีวิตมีความ

    สุขก็เป็นความหวาดเสียวที่จะต้องจากชีวิตอันรื่นรมย์นั้นไป"

    "โกกิลาเอย มนุษย์ทั้งหลายผู้ยังมีอวิชชาเป็นฝ้าบังปัญญาจักษุนั้น เป็นเสมือนทารก

    น้อยผู้หลงเข้าไปในป่าใหญ่อันรกทึกซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายอันน่าหวาดเสียวและว้าเหว่

    เงียบเหงา"

    "มนุษย์ส่วนใหญ่แม้จะร่าเริงแจ่มใสอยู่ในหมู่ญาติและเพื่อนฝูง แต่ใครเล่าจะทราบว่าใน

    ส่วนลึกแห่งหัวใจเขาจะว้าเหว่และเงียบเหงาสักปานใด แทบทุกคนว้าเหว่ ไม่แน่ใจว่าจะ

    ยึดเอาอะไรเป็นหลักของชีวิตที่แน่นอน เธอปรารถนาจะเป็นอย่างนั้นด้วยหรือ"

    "น้องหญิง บัดนี้เธอมีธรรมเป็นเกาะที่พึ่งแล้ว จงยึดธรรมเป็นที่พึ่งต่อไปเถิด อย่าหวัง

    อย่างอื่นเป็นที่พึ่งเลย โดยเฉพาะความรักความเสน่หาไม่เคยเป็นที่พึ่งจริงจังให้แก่ใคร

    ได้ มันเสมือนตอที่ผุ จะล้มลงทันทีเมื่อถูกคลื่นซัดสาด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_1330.JPG
      IMG_1330.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.4 MB
      เปิดดู:
      71
    • IMG_1331.JPG
      IMG_1331.JPG
      ขนาดไฟล์:
      3.9 MB
      เปิดดู:
      61
  3. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    นิยายธรรม "โกกิลาภิกษุณี" ที่หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี ได้แสดงเผยแผ่

    ตอนที่ 13

    -พระอานนท์ยังคงกล่าวต่อไป

    "ธรรมเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตมนุษย์ ไม่ว่าเขาจะอยู่ในเพศใดภาวะใด การกระทำที่

    นึกขึ้นภายหลังแล้วต้องเสียใจนั้น พระศาสดาทรงสอนให้เว้นเสีย เพราะฉะนั้นแม้จะ

    ประสบปัญหาหัวใจ หรือได้รับความทุกข์ยากลำบากสักปานใด ก็ต้องไม่ทิ้งธรรม"

    "มนุษยที่ยังมีอาสวะอยู่ในใจนั้น ย่อมจะมีวันพลั้งเผลอประพฤติผิดธรรมไปบ้าง เพราะ

    ยังมีสติไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อได้สติในภายหลังแล้ว ก็ควรตั้งใจประพฤติธรรมสั่งสมความดี

    กันใหม่ ยิ่งพวกเรานักบวชด้วยแล้วจำเป็นต้องมีอุดมคติ การตายด้วยอุดมคตินั้นมีค่า

    กว่าการเป็นอยู่โดยไร้อุดมคติ"

    "น้องหญิง ธรรมดาว่าไม้จันทน์นั้น แม้จะแห้งก็ไม่ทิ้งกลิ่น อัศวินก้าวลงสู่สงครามก็ไม่

    ทิ้งลีลา อ้อยแม้เข้าสู่หีบยนต์แล้วก็ไม่ทิ้งรสหวาน บัญฑิตแม้ประสบทุข์ก็ไม่ทิ้งธรรม

    พระศาสดาทรงย้ำว่าพึงสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อรักษาธรรม"

    "โกกิลาเอย เธอได้สละเพศฆราวาสมาแล้ว ซึ่งเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ยากที่ใคร ๆ จะ

    สละได้ ขอให้เธอเสียสละต่อไปเถิด และสละให้ลึกกว่านั้น คือ ไม่สละแต่เพียง

    เพศอย่างเดียว แต่จงสละความรู้สึกอันจะเป็นข้าศึกต่อเพศเสียด้วย"

    "เธอเคยฟังสุภาษิตอันกินใจยิ่งมาแล้วมิใช่หรือ ในคนร้อยคนหาคนกล้าได้หนึ่งคน ใน

    คนพันคนหาคนเป็นบัณฑิตได้หนึ่งคน ในคนแสนคนหาคนพูดจริงได้เพียงหนึ่งคน ส่วน

    คนที่เสียสละได้ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่รู้ว่าจะมีหรือไม่ คือไม่ทราบจะคำนวณเอาจากคน

    จำนวนเท่าใดจึงจะเฟ้นได้หนึ่งคน"

    "สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นนักเสียสละตัวอย่างของโลก เคยมีกษัตริย์องค์ใด

    บ้างทำได้เหมือนพระพุทธองค์ ยอมเสียสละความสุขความเพลินใจทุกอย่างที่ชาวโลก

    ปองหมายมาอยู่กลางดินกลางทราย ก็เพื่อทำประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่มนุษยชาติ"

    "การเสียสละของพวกเราเมื่อนำไปเทียบกับการเสียสละของพระบรมศาสดาแล้ว ของเรา

    ช่างเล็กน้อยเสียนี่กระไร"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    นิยายธรรม "โกกิลาภิกษุณี" ที่หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี ได้แสดงเผยแผ่

    ตอนที่ 14

    -พระอานนท์ยังกล่าวแก่โกกิลาภิกษุณีต่อไปว่า

    "น้องหญิง พระศาสดาตรัสว่าบุคคลอาจอาศัยตัณหาละตัณหาได้ อาจอาศัยมานะ

    ละมานะได้ อาจอาศัยอาหารละอาหารได้ แต่เมถุนธรรมนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

    สอนให้ชักสะพานเสีย คือ อย่าทอดสะพานเข้าไปเพราะอาศัยละไม่ได้"

    "ข้อว่าอาศัยอาหารละอาหารนั้น คือ ละความพอใจในรสของอาหาร จริงอยู่สัตว์โลกทั้ง

    มวลดำรงชีพอยู่ได้เพราะอาหาร ข้อนี้พระศาสดาก็ตรัสไว้ แต่มนุษย์และสัตว์เป็นอันมาก

    ติดข้องอยู่ในรสอาหาร จนต้องกระเสือกกระสนกระวนกระวาย และต้องทำชั่วเพราะรส

    แห่งอาหารนั้น"

    "ที่ว่าอาศัยอาหารละอาหารนั้น คือ อาศัยอาหารละความพอใจในรสแห่งอาหารนั้น

    บริโภคเพียงเพื่อยังชีพให้ชีวิตนี้เป็นไปได้เท่านั้น เหมือนคนเดินทางข้ามทะเลทราย

    เสบียงอาหารหมดและบังเอิญลูกน้อยตายลงเพราะหิวโหย เขาจำใจต้องกินเนื้อบุตรเพียง

    เพื่อให้ข้ามทะเลทรายได้เท่านั้น หาติดในรสแห่งเนื้อบุตรไม่"

    "ข้อว่าอาศัยตัณหาละตัณหานั้น คือ เมื่อทราบว่า ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาชื่อ

    โน้นได้สำเร็จเป็นโสดาบัน สกิทาคา อนาคามี หรืออรหันต์ ก็มีความทะยานอยากที่จะเป็น

    บ้าง เมื่อพยายามจนได้เป็นแล้ว ความทะยานอยากอันนั้นก็หายไปอย่างนี้เรียกว่าอาศัย

    ตัณหาละตัณหา"

    "ข้อว่าอาศัยมานะละมานะนั้น คือ เมื่อได้ยินได้ฟังภิกษุหรือภิกษุณี หรืออุบาสก

    อุบาสิกาชื่อโน้นได้สำเร็จเป็นโสดาบัน เป็นต้น ก็มีมานะขึ้นว่า เขาสามารถทำได้ ทำไม

    เราซึ่งเป็นมนุษย์และมีอวัยวะทุกส่วนเหมือนเขาจะทำไม่ได้บ้าง จึงพยายามทำความเพียร

    เผากิเลสจนได้บรรลุโสดาปัตติผลบ้าง อรหัตตผลบ้าง อย่างนี้เรียกว่า อาศัยมานะละมา

    นะ เพราะเมื่อบรรลุแล้ว มานะนั้นย่อมไม่มีอีก"

    "ดูก่อนน้องหญิง ส่วนเมถุนธรรมนั้น ใคร ๆ จะอาศัยละมิได้เลย นอกจากจะพิจารณา

    เห็นโทษของมันแล้วเลิกละเสีย ห้ามใจมิให้เลือนไหลไปยินดีในกามสุขเช่นนั้น น้องหญิง

    พระศาสดาตรัสว่า กามคุณนั้นเป็นของไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน มีสุขน้อยแต่มีทุกข์มาก มีโทษ

    มาก มีความคับแค้นเป็นมูล มีทุกข์เป็นผล"

    -พระอานนท์พูดจบ คอบจับกิริยาของโกกิลาภิกษุณีว่าจะมีความรู้สึกอย่างไร ธรรมกถา

    ของท่านได้ผล ภิกษุณีค่อย ๆ ลุกจากเตียงสลัดผ้าห่มออก คลานมาหมอบลงแทบเท้า

    ของพระอานนท์ สะอึกสะอื้นจนสั่นเทิ้มไปทั้งตัว นางพูดอะไรไม่ออนางเสียใจอย่างสุด

    ซึ้ง

    -อันความเสียใจและละอายนั้น ถ้ามันแยกกันเกิดคนละครั้งก็ดูเหมือนจะไม่รุนแรงเท่าใด

    นัก แต่เมื่อใดทั้งความเสียใจและความละอายเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน และในกรณีเดียวกัน

    ด้วยแล้ว ย่อมเป็นความทรมานสำหรับสตรีอย่างยวดยิ่ง

    -นางเสียใจเหลือเกินที่ความรักของนางมิได้รับสนองเลยแม้แต่น้อย คำพูดของพระ

    อานนท์ล้วนแต่เป็นคำเสียดแทงใจสำหรับนางผู้ยังหวังความรักจากท่านอยู่

    -ยิ่งกว่านั้นเมื่อนางทราบว่าพระอานนท์มิได้เชื่อในอาการลวงของนางเลย นางจึงรู้สึก

    เหมือนถูกตบหน้าอย่างแรง ละอายสุดที่จะประมาณได้ นางจึงไม่สามารถพูดคำใดได้

    เลย นอกจากถอนสะอื้นอยู่ไปมา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 19032010458.jpg
      19032010458.jpg
      ขนาดไฟล์:
      561.1 KB
      เปิดดู:
      86
    • 18279.jpg
      18279.jpg
      ขนาดไฟล์:
      11.4 KB
      เปิดดู:
      256
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กุมภาพันธ์ 2011
  5. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    นิยายธรรม "โกกิลาภิกษุณี" ที่หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี ได้แสดงเผยแผ่

    ตอนที่ 15

    -ครู่ต่อมาพระอานนท์จึงพูดว่า "น้องหญิง หยุดร้องไห้เสียเถิด การร้องไห้ไม่มีประโยชน์

    อะไร ไม่ช่วยเรื่องหนักใจของเธอให้คลายลงได้" อนิจจา พระอานนท์ช่างพูดอย่างพระ

    อริยะแท้

    "ข้าแต่พระคุณเจ้า" นางพูดทั้งเสียงสะอื้น ภิกษุผู้เป็นปัจฉาสมณะของพระอานนท์ต้อง

    เบือนหน้าไปเสียทางหนึ่ง เกรงว่าไม่สามารถจะอดกลั้นน้ำตาได้

    "ข้าพเจ้าจะพยายามกล้ำกลืนฝืนใจปฏิบัติตามโอวาทของท่าน แม้จะเป็นความทรมานสัก

    ปานใด ข้าพเจ้าก็จะอดทนและขอเทิดทูนบูชาพระพุทธอนุชาไว้ในฐานะเป็นที่เคารพ

    สักการะอย่างสูง"

    "ข้าพเจ้าไม่เจียมตัวเอง จึงต้องทุกข์ทรมานถึงปานนี้ ข้าพเจ้าเป็นเพียงหญิงทาสทูน

    หม้อน้ำ ข้าพเจ้าเพิ่งสำนึกตนเวลานี้เอง ความรักความอาลัยทำให้ข้าพเจ้าลืมกำเนิด

    ชาติตระกูลและความเหมาะสมใด ๆ ทั้งสิ้น มาหลงรักพระพุทธอนุชาผู้ทรงศักดิ์"

    "ข้าแต่ท่านผู้สืบอริยวงศ์ กายกรรม วจีกรรม ที่ข้าพเจ้าล่วงเกินท่านและจะพึงขอโทษนั้น

    ไม่มี ส่วนมโนกรรมนั้นมีอยู่ ข้าพเจ้ารักท่าน และรักอย่างสุดหัวใจ ถ้าการที่ข้าพเจ้ารัก

    ท่านนั้นเป็นความผิด ขอท่านผู้ประเสริฐโปรดให้อภัยในความผิดพลาดอันนั้นด้วย"

    -นางพูดจบแล้วนั่งก้มหน้า น้ำตาของนางหยดลงบนจีวรผืนบาง เสมือนหยาดน้ำค้างถูก

    สลัดลงจากใบหญ้าเมื่อลมพัดเป็นครั้งคราว

    "น้องหญิง เรื่องชาติตระกูลนั้นอย่านำมาปรารภเลย อาตมามิได้เคยคิดถึงมันเป็นเวลา

    นานมาแล้ว ที่อาตมาไม่รักน้องหญิง มิใช่เพราะอาตมามาเกิดในตระกูลอันสูงศักดิ์

    ส่วนเธอเป็นทาสีดอก แต่เป็นเพราะอาตมาเห็นโทษแห่งความรัก ความเสน่หา ตามที่พระ

    ศาสดาสอนอยู่เสมอ"

    "เวลานี้อาตมามีหน้าที่ต้องบำรุงพระศาสดาผู้เป็นนาถะของโลก และพยายามทำหน้าที่

    กำจัดอาสวะในจิตใจ มิใช่เพิ่มอาสวะให้มากขึ้น เมื่ออาสวะยังไม่สิ้น ย่มต้องเวียน

    ว่ายอยู่ในวัฏฏสงสารอีก จะเป็นเวลานานเท่าใดก็สุดจะคำนวณ"

    "พระศาสดาตรัสว่า การเกิดบ่อย ๆ เป็นความทุกข์ เพราะเมื่อมีการเกิด ความแก่ ความ

    เจ็บ และความทรมานอื่น ๆ ก็ติดตามมาเป็นสาย นอกจากนี้ผู้วนเวียนอยู่ในวัฏฏสงสาร

    อาจจะมีบางชาติที่ประมาทพลาดพลั้งไปแล้วต้องตกไปในอบาย เป็นการถอยหลังไปอีก

    มาก กว่าจะตั้งต้นได้ใหม่ก็เป็นการเสียเวลาของชีวิตไปมิใช่น้อย"

    "น้องหญิง เธออย่าน้อยใจในชาติตระกูลอันต่ำต้อยของเธอเลย บุคคลจะเกิดในตระกูล

    กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ หรือ ศูทรก็ตาม ย่อมตกอยู่ภายใต้กฏธรรมดาเหมือนกันหมด

    คือ เมื่อเกิดมาแล้ว ก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ และในที่สุดก็ต้องตาย ความตายย่อมกวาดล้าง

    สรรพสัตว์ไปโดยมิละเว้นใครไว้เลย และใคร ๆ ไม่อาจต่อสู้ด้วยวิธีใด ๆ ได้"

    "นอกจากนี้ มนุษย์ทุกคนล้วนมีเลือดสีแดง รู้จักกลัวและใคร่ความสุขเสมอกัน เหมือน

    ไม้นานาชนิด เมื่อนำมาเผาไฟย่อมมีเปลวสีเดียวกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ จะมัวมาแบ่งแยกกัน

    อยู่ทำไมว่า คนนั้นวรรณะสูง คนนี้เป็นวรรณะต่ำ มาช่วยกันกระพือสันติสุขให้แก่โลกที่

    ร้อนระอุนี้จะมิดีกว่าหรือ"

    "มนุษย์ไม่ว่าจะเกิดในวรรณะใด เมื่อประพฤติดีก็เป็นคนดีเหมือนกันหมด เมื่อประพฤติชั่ว

    ก็เป็นคนชั่วเหมือนกันหมด เพราะฉะนั้น ขอให้น้องหญิงเลิกน้อยใจในเรื่องชาติตระกูลของ

    ตัว และตั้งหน้าพยายามทำความดีเถิด ขอให้น้องหญิงเชื่อว่าการที่อาตมาไม่สามารถ

    สนองความรักของน้องหญิงได้นั้น มิใช่เป็นเพราะอาตมารังเกียจเรื่องชาติเรื่องตระกูลของ

    เธอเลย แต่มันเป็นเพราะอาตมารังเกียจตัวความรักนั่นต่างหาก"

    "ภคินีเอย อันธรรมดาว่าความรักนั้น มันเป็นธรรมชาติที่เร่าร้อนอยู่แล้ว ถ้ายิ่งมันเกิดขึ้น

    ในฐานะที่ผิดที่ไม่เหมาะสมเข้าอีก มันจะยิ่งเพิ่มความร้อนแรงมากขึ้น"

    "การที่น้องหญิงจะรักอาตมา หรืออาตมาจะรักเธออย่างเสน่หาอาลัย นั่นแลเรียกว่าความ

    รักอันเกิดขึ้นในฐานะที่ผิดหรือไม่เหมาะสม ขอให้เธอตัดความรักความอาลัยเสียเถิด แล้ว

    เธอจะพบความสุข ความปลอดโปร่งอีกแบบหนึ่งซึ่งสูงกว่า ประณีตกว่า"

    -พระอานนท์ละภิกขุนูปัสสะไว้เบื้องหลัง ด้วยความรู้สึกที่แปลกประหลาด ท่านเดินลัด

    เลาะมาทางริมสระแล้วนั่งลง ณ ม้ายาวมีพนักตัวหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นปัจฉาสมณะก็นั่งลง ณ

    ริมสุดข้างหนึ่ง

    -พระอานนท์ถอนหายใจยาวและหนักหน่วง เหมือนจะระบายความหนักอกหนักใจออกมา

    เสียบ้าง ครู่หนึ่งท่านจึงบอกให้ภิกษุรูปนั้นกลับไปก่อน ท่านต้องการจะนั่งพักผ่อนอยู่ที่นั่น

    สักครู่ ถ้าพระศาสดาเรียกหาก็ให้มาตามที่ริมสระนั้น

    -ท่านนั่งคิดทบทวนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บางครั้งรู้สึกสงสารภิกษุณีโกกิลาอย่างจับใจ

    แต่ด้วยอัธยาศัยแห่งมหาบุรุษประดับด้วยบารมีธรรมนั้นต่างหากเล่า จึงสามารถข่มใจและ

    สลัดความรู้สึกสงสารอันนั้นเสีย

    -ท่านปรารภกับตนเองว่า "อานนท์ เธอเป็นเพียงโสดาบันเท่านั้น ราคะ โทสะ และโมหะ

    ยังมิได้ละเลย เพราะฉะนั้นอย่าประมาท อย่าเข้าใกล้ หรือยอมพบกับภิกษุณีโกกิลาอีก"

    "ธรรมชาติของจิตเป็นสิ่งดิ้นรนกลับกลอกง่าย บางคราวปรากฏเหมือนช้างตกมัน

    อานนท์จงเอาสติเป็นขอสำหรับเหนี่ยวรั้งช้าง คือ จิตที่ดิ้นรนนี้ให้อยู่ในอำนาจ"

    "บุคคลผู้มีอำนาจมากที่สุด และควรแก่การสรรเสริญนั้นคือ ผู้ที่สามารถเอาตนของตนเอง

    ไว้ในอำนาจได้ สามารถชนะตนเองได้"

    "พระศาสดาตรัสว่าผู้ชนะตนเองได้ ชื่อว่าเป็นยอดนักรบในสงคราม เธอจงเป็นยอดนัก

    รบในสงครามเถิด อย่าเป็นผู้แพ้เลย"

    -พระอานนท์ตรึกตรองและให้โอวาทตนเองอยู่พอสมควรแล้ว ก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค

    ท่านไม่มีอะไรปิดบังสำหรับพระผู้มีพระภาค เพราะฉะนั้นท่านจึงกราบทูลเรื่องราวทั้งหมด

    ให้พระจอมมุนีทรงทราบ รวมทั้งที่ท่านปรารภกับตนเอง และให้โอวาทตนเองนั้นด้วย.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มีนาคม 2011
  6. สวนพลู

    สวนพลู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    6,596
    ค่าพลัง:
    +18,651
    มีเรื่องรบกวนพี่ชายอีกแล้วครับ
     
  7. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    นิยายธรรม "โกกิลาภิกษุณี" ที่หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี ได้แสดงเผยแผ่

    ตอนที่ 16 (ตอนจบ)


    -พระมหาสมณะทรงทราบเรื่องนี้แล้ว ทรงประทานสาธุการแก่พระอานนท์ แล้วตรัสให้

    กำลังใจว่า "อานนท์ เธอเป็นผู้มีบารมีอันได้สั่งสมมาดีแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายแห่ง

    เธอ เรื่องที่เธอจะตกไปสู่ฐานะที่ต่ำกว่านี้นั้นเป็นไม่มีอีก"

    -แล้วพระศากยมุนีก็ทรงแย้มพระโอษฐ์น้อย ๆ เมื่อพระอานนท์ทูลถามสาเหตุที่ทรงแย้มพระ

    โอษฐ์นั้นจึงตรัสว่า "อานนท์ เธอคงลืมไปว่า พระโสดาบันนั้นมีการไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา

    จะต้องได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันต์อย่างแน่นอนไม่วันใดก็วันหนึ่ง เธออย่าวิตกทุกข์ร้อนไป

    เลย"

    -พระอานนท์มีอาการแช่มชื่นแจ่มใสขึ้น เพราะพระดำรัสประโลมใจของพระศาสดานั้น

    -เย็นวันนั้นเอง พุทธบริษัทแห่งนครโกสัมพีผู้ใคร่ต่อธรรมมีมือถือดอกไม้ธูปเทียน และสุ

    คันธชาติหลากหลายต่างมุ่งหน้าสู่โฆสิตามราม เพื่อฟังธรรมรสจากพระพุทธองค์

    -เมื่อพุทธบริษัทพรั่งพร้อมนั่งอย่างมีระเบียบแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงอันตรวาสก(สบง-

    ผ้าสำหรับนุ่ง) ซึ่งย้อมไว้ด้วยดีแล้ว ทรงคาดพระกายพันธนะ (ประคตเอว-ผ้ารัดเอว) อัน

    เป็นประดุจสายฟ้า ทรงครองสุคตมหาบังสุกุลจีวร อันเป็นประดุจผ้ากัมพลสีเหลืองหม่น

    เสด็จออกจากพระคันธกุฎีสู่ธรรมสภาด้วยพุทธลีลาอันงามยิ่งหาที่เปรียบมิได้ ประดุจ

    วิลาสแห่งพระยาช้างตัวประเสริฐ และประดุจอาการเย้องกายแห่งไกรสรสีหราชเสด็จขึ้นสู่

    บวรพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ดีแล้วท่ามกลางมณฑลมาลย์ซึ่งประดับตกแต่งอย่างวิจิตรตระการ

    ตา ทรงเปล่งพระฉัพพรรณรังสีประดุจพระอาทิตย์เปล่งแสงอ่อน ๆ บนยอดภูเขายุคันธร

    -เมื่อสมเด็จพระจอมมุนีเสด็จมาถึง พุทธบริษัทก็เงียบกริบ พระพุทธองค์ทรงมองดูพุทธ

    บริษัทด้วยพระหฤทัยอันเปี่ยมไปด้วยเมตตาทรงดำริว่า "ชุมนุมนี้ช่างงามน่าดูจริง จะหาคน

    คะนองมือคะนองเท้าหรือมีเสียงไอเสียงจามไม่ได้เลย ชนทั้งหมดนี้มีคารวะต่อเรายิ่งนัก

    ถ้าเราไม่พูดขึ้นก่อน แม้จะนั่งอยู่นานสักเท่าใดก็จะไม่มีใครพูดอะไรเลย แต่เวลานี้เป็น

    เวลาแสดงธรรม"

    -พระองค์ทรงดำริเช่นนี้แล้วจึงส่งข่ายแห่งพระญาณของพระองค์ไปสำรวจพุทธบริษัทว่า

    ใครหนอจะสามารถบรรลุธรรมเบื้องสูงได้บ้างในวันนี้ ทรงเล็งเห็นอุปนิสัยแห่งภิกษุณี

    โกกิลาว่ามีญาณแก่กล้าพอจะบรรลุธรรมได้ พระพุทธองค์จึงทรงประกาศธรรมจักรอัน

    ประเสริฐ ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะกังวาน ดังนี้

    "ดูก่อนท่านทั้งหลาย ทางสองสายคือ กามสุขัลลิกานุโยค การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุขสาย

    หนึ่ง และ อัตตกิลมถานุโยค การทรมานกายให้ลำบากเปล่าสายหนึ่ง อันผู้หวังความ

    เจริญในธรรมพึงละเว้นเสีย"

    "ควรเดินทางสายกลาง คือ เดินตามอริยมรรคมีองค์ 8 คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ

    การพูดชอบ การทำชอบ การประกอบอาชีพในทางสุจริต ความพยายามในทางที่ชอบ การ

    ตั้งสติชอบ และการทำสมาธิชอบ"

    "ดูก่อนท่านทั้งหลาย ความทุกข์เป็นความจริงประการหนึ่งที่ชีวิตทุกชีวิตจะต้องประสบบ้าง

    ไม่มากก็น้อย ความทุกข์ที่กล่าวนี้มีอะไรบ้าง"

    "ท่านทั้งหลาย ความเกิดเป็นความทุกข์ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ก็เป็นความทุกข์

    ความแห้งใจ หรือความโศก ความร่ำไรรำพันจนน้ำตานองหน้า ความทุกข์กาย ความ

    ทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ความพลัดพรากจากบุคคลหรือสิ่งของอันเป็นที่รัก"

    "ความต้องประสบกับบุคคลหรือสิ่งของอันไม่เป็นที่พอใจ ปรารถนาอะไรไม่ได้ดังใจ ทั้ง

    หมดนี้ล้วนเป็นความทุกข์ที่บุคคลต้องประสบทั้งสิ้น เมื่อกล่าวโดยสรุป การยึดมั่นใน

    ขันธ์ 5 ด้วยตัณหาอุปาทานนั่นเอง เป็นความทุกข์อันยิ่งใหญ่"

    "ท่านทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวว่าความทุกข์ทั้งมวลย่อมสืบเนื่องมาจากเหตุ ก็อะไรเล่า

    เป็นเหตุแห่งทุกข์นั้น เรากล่าวว่าตัณหานั้นเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ ตัณหาคือความ

    ทะยานอยากดิ้นรน ซึ่งมีลักษณะเป็นสามคือ ดิ้นรนอยากได้อารมณ์ที่น่าใคร่น่าปรารถนา

    เรียกกามตัณหาอย่างหนึ่ง ดิ้นรนอยากเป็นนั่นเป็นนี่เรียกว่าภวตัณหาอย่างหนึ่ง ดิ้นรน

    อยากผลักสิ่งที่มีแล้วเป็นแล้ว เรียกวิภวตัณหาอย่างหนึ่ง นี่แลคือสาเหตุแห่งทุกข์ขั้น

    มูลฐาน"

    "ท่านทั้งหลาย การสละคืนโดยไม่เหลือซึ่งตัณหาประเภทต่าง ๆ ดับตัณหาคลายตัณหา

    โดยสิ้นเชิงนั่นแล เราเรียกว่า นิโรธ คือความดับทุกข์ได้ ทางที่จะดับทุกข์ดับตัญหานั้น

    เราตถาคตแสดงไว้แล้ว คือ อริยมรรคมีองค์ 8"

    "ท่านทั้งหลายจงมีธรรมเป็นที่พึ่งเถิด อย่ามีอย่างอื่นเป็นที่พึ่งเลย เราตถาคตเองเป็นที่พึ่ง

    แก่ท่านทั้งหลายไม่ได้ ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้ชี้บอกทางเท่านั้น ส่วนความเพียรพยายาม

    เพื่อเผาบาปอกุศล ท่านทั้งหลายต้องทำเอง ทางมีอยู่ เราชี้แล้วบอกแล้ว ท่านทั้ง

    หลายต้องเดินเอง"

    -พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าในวันนั้น เหมือนเจาะจงเทศนาแก่ภิกษุณีโกกิลา

    โดยเฉพาะ นางรู้สึกเหมือนพระองค์ประทับแก้ปัญหาหัวใจของนางให้หลุดร่วง สมแล้วที่

    ใคร ๆพากันชมพระพระพุทธองค์ว่า เป็นเหมือนดวงจันทร์ซึ่งทุกคนรู้สึกเหมือนว่าจงใจจะ

    ส่องแสงสีนวลไปให้แก่ตนเพียงคนเดียว

    -โกกิลาภิกษุณีส่งกระแสจิตไปตามพระธรรมเทศนา ปลดเปลื้องสังโยชน์คือ กิเลสเครื่อง

    ร้อยรัดจิตใจที่ละขั้น จนสามารถประหารกิเลสทั้งมวลได้สำเร็จมรรคผลชั้นสูงสุดในพระ

    พุทธศาสนาเป็นประอรหันต์องค์หนึ่งด้วยประการฉะนี้.....(จบครับ).
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กุมภาพันธ์ 2011
  8. สวนพลู

    สวนพลู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    6,596
    ค่าพลัง:
    +18,651
    จบแล้ว จบง่ายจังครับ ถ้าเราเกิดทันยุคนั้นน่าจะได้เข้านิพพานกันบ้างก็ดีนะครับพี่ชาย

    มายุคนี้ยากแก่การบรรลุธรรมยิ่งนัก
     
  9. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    ความอับอายของพระราชา


    -ผมยังมีข้อเขียนเรื่อง"สัมนานิยายธรรมโกกิลา" ซึ่งเป็นประเด็นให้ผู้อ่านเข้าใจข้อธรรมที่

    นำมาแสดงในนิยายธรรมแต่ละ ๆ ข้อไป แต่ยังต้องร่างให้อ่านได้ง่ายๆ ดังนั้นผมจึงขอนำ

    เสนอชาดกให้อ่านไปก่อนนะครับ

    -ในฤดูเข้าพรรษาในสมัยพุทธกาลครั้งหนึ่ง เมื่อพระพุทธองค์ประทับ ณ เชตวันมหา

    วิหาร ทรงทราบว่า "พระนางวาสภขัตติยา" พระราชธิดาของ "พระเจ้ามหานาม"แห่ง

    ศากยวงศ์ ได้ถูกถอดออกจากตำแหน่งพระอัครมเหสีของ"พระเจ้าปเสนทิโกศล" อีกทั้ง

    พระราชโอรสของพระนางก็ถูกริบสิทธิในราชสมบัติคืน เพียงเพราะพระเจ้าโกศลสืบรู้ว่า

    พระมเหสีมีมารดาเป็น"สามัญชน"เท่านั้น

    -พระพุทธองค์มีพระทัยเปี่ยมล้นด้วยเมตตากรุณา ใคร่จะอนุเคราะห์นางกับพระราชโอรสผู้

    ปราศจากความผิด จึงตรัสถามเรื่องนี้กับพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า "นางมาที่เมืองนี้ มาหา

    ใคร ใครไปขอให้มา หรือนางมาเอง"

    -พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลว่า "ข้าพระพุทธเจ้าไปสู่ขอนางมาเป็นพระมเหสีเองพระเจ้าข้า"

    -"ดูก่อน มหาบพิตร นางเป็นธิดาของพระราชา มาสู่พระราชาเหมือนกัน ได้โอรสก็โดย

    อาศัยพระราชา ไฉนพระราชโอรสนั้นจึงไม่ควรได้เป็นเจ้าของราชสมบัติของพระชนก

    เล่า อย่าว่าแต่ครั้งนี้เลย แม้แต่โบราณกาล พระราชามีโอรสกับหญิงเก็บฟืนที่อยู่ร่วมกัน

    เพียงครู่เดียว พระองค์ยังทรงยอมมอบราชสมบัติแก่พระโอรสนั้นได้"

    -พระพุทธองค์จึงตรัสเล่าเรื่อง "กัฏฐหาริชาดก" มีใจความว่า

    -วันหนึ่งพระเจ้าพรหมทัต แห่งนครพาราณสี ได้เสด็จประพาสพระราชอุทยาน พร้อมด้วย

    หมู่ข้าราชบริพาร พลันได้ยินเสียงสตรีขับร้องเพลงดังมาจากป่าใกล้ ๆ

    -เมื่อเสด็จตามหาจนพบ ก็ทรงมีจิตปฏิพัทธ์รักใคร่ และได้เสด็จไปอยู่ร่วมด้วย ณ ที่พักของ

    นาง ต่อมานางตั้งครรภ์ จึงกราบทูลให้พระเจ้าพรหมทัตทรงทราบ พระองค์จึงพระราช

    ทานพระธำมรงค์วงหนึ่งแก่นาง แล้วตรัสว่า หากบุตรในครรภ์เป็นหญิง ให้นำพระ

    ธำมรงค์นั้นไปขายเลี้ยงชีวิต แต่หากบุตรเป็นชายให้พาไปหาพระองค์

    -เวลาผ่านไปนางได้ตคลอดบุตรเป็นชาย และได้เลี้ยงดูกุมารน้อยจนเติบใหญ่ ครั้งกุมาร

    น้อยรู้ความจึงถามถึงบิดาตน มารดาจึงเล่าความจริงให้ทราบ กุมารจึงอ้อนวอนให้พา

    เข้าวัง ต่อมาจึงพากันไปเฝ้าพระเจ้าพรหมทัตผู้เป็นพระบิดา

    -แต่เมื่อนางได้กราบทูลพระเจ้าพรหมทัตว่า "กุมารน้อยคือพระโอรสของพระองค์"

    -พระเจ้าพรหมทัตกลับรู้สึกละอายจึงตรัสปฏิเสธ แม้กระทั่งนางนำพระธำมรงค์มาถวายให้

    ทอดพระเนตร พระองค์ก็ยังไม่ทรงยอมรับ นางรู้สึกเสียใจยิ่งนัก จึงกล่าวสัตยาธิษฐาน

    ต่อหน้าพระเจ้าพรหมทัตว่า "หากกุมารน้อยนี้เป็นโอรสของพระองค์ ก็จงลอยอยู่ในอากาศ

    แต่หาว่ามิใช่ก็ขอให้ตกลงมาตายเสียเถิด"

    -กล่าวจบ นางจับกุมารน้อยโยนขึ้นไปบนอากาศทันที ท่ามกลางความตกตะลึงของพระ

    เจ้าพรหมทัตและหมู่อำมาตย์ข้าราชบริพาร

    -ด้วยอำนาจแห่งสัตยาธิษฐาน ร่างของกุมารน้อยกลับนั่งขัดสมาธิลอยอยู่เป็นอัศจรรย์ยิ่ง

    นัก พลางกูมารกล่าวภาษิตคาถาว่า " แม้คนเหล่าอื่นพระองค์ทรงชุบเลี้ยงได้ ไฉนจะไม่

    ทรงชุบเลี้ยงโอรสของพระองค์เองเล่า พระเจ้าข้า"

    -พระเจ้าพรหมทัตได้ฟังก็ทรงตื้นตันพระทัย ยื่นพระกรขึ้นรับกุมารน้อยแล้วตรัสว่า "ลงมา

    เถิดลูกเอ๋ย พ่อจะเลี้ยงเจ้าเอง"

    -พระกุมารจึงลงสู่พระหัตถ์ของพระบรมราชชนกแล้วประทับนั่งอยู่บนพระเพลา

    -พระเจ้าพรหมทัตได้พระราชทานตำแหน่งอุปราชแก่พระราชโอรส และทรงแต่งตั้งหญิง

    เก็บฟืนมารดาของพระราชโอรสเป็นพระอัครมเหสี

    -ต่อมา เมื่อพระเจ้าพรหมทัตได้เสด็จสวรรคต กุมารน้อยพระราชโอรสได้ครองราชสมบัติ

    สืบแทน ทรงพระนามว่า "พระเจ้ากัฏฐวาหนะ"

    -หญิงเก็บฟืน กำเนิดเป็น พระนางสิริมหามายา

    -พระกุมารน้อยหรือพระเจ้ากัฏฐวาหนะ เสวยพระชาติเป็นพระพุทธเจ้า

    -ข้อคิดที่ได้ ผู้ละเมิดสัญญาแห่งตนย่อมได้รับความอับอายไร้เกียรติยศครับ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มีนาคม 2011
  10. สวนพลู

    สวนพลู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    6,596
    ค่าพลัง:
    +18,651
    แวะมาอ่านยามดึกครับพี่ชาย
     
  11. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    สัมมนานิยายธรรมโกกิลาภิกษุณี บทที่ 1

    -นิยายธรรมเรื่อง"โกกิลาภิกษุณี" หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี วัดมเหยงคณ์ พระนครศรี

    อยุธยา ได้นำนิยายธรรมส่วนนี้มาจาก "ธรรมนิยายอิงประวัติในพุทธกาล เรื่อง พระ

    อานนท์ พุทธอนุชา" ซึ่งท่านอาจารย์วศิน อินทรสระ ได้เขียนขึ้นเมื่อตอนท่านมีอายุเพียง

    30 ปี ขณะนี้ท่านมีอายุ 76 ปีแล้วครับ ยังคงทำหน้าที่บรรยายธรรมให้เป็นประโยชน์แก่

    พระพุทธศาสนา และ ชาวพุทธอีกทั้งปวงชนทั่วไปอยู่

    -ท่านกล่าวว่า "ในชีวิตของผม ผมชอบแสดงธรรมมากกว่าแสดงตน และไม่เคย

    ปรารถนารางวัลใด ๆทั้งสิ้น......."

    -คำกล่าวอันเป็นอุดมคติธรรมของท่านจับใจของผมอย่างยิ่ง "ผมจึงเทิดทูนท่านอาจารย์

    ไว้ในดวงใจ"

    -ขณะที่ท่านอายุเพียง 30 ปี ท่านเขียนนิยายได้ลึกล้ำให้รายละเอียดทั้งด้านอารมณ์ ความ

    จริง และธรรมที่ฟังดูแล้วเข้าใจง่าย ๆ เมื่อคิดพิจารณาตาม

    -ผมได้ฟังเทปบันทึกเสียงของหลวงพ่อสุรศักดิ์ ที่ท่านมาตั้งชื่อใหม่แยกเรื่องเป็น"โกกิลา

    ภิกษุณี" เมื่อประมาณปี พ.ศ.2526-2527 ปีใดปีหนึ่งในสองปีนี้ แต่จำไม่ได้แน่ชัด

    นิยายที่หลวงพ่อสุรศักดิ์พากษ์เสียงแสดงธรรม เป็นนิยายที่ได้เคาะใจของผมให้เปิดรับพระ

    ธรรมของพระพุทธองค์อย่างไม่มีความเคลือบแคลงใจเป็นครั้งแรก ก็ด้วยความจริงทาง

    ธรรมที่ปรากฏในนิยายผมไม่อาจใช้ปัญญาขบคิดหักล้างคำพูดในข้อธรรมนั้นได้ ข้อธรรม

    ดังกล่าว "สอาด สว่าง สงบ และเกิดปัญญา" ผมมองย้อนกลับไปแล้วถามตัวเองที่เข้าหา

    ธรรมได้เพราะเหตุใด ก็ได้คำตอบว่า"เพราะได้ฟังนิยายเรื่องนี้จากหลวงพ่อสุรศักดิ์จริง ๆ"

    -ครั้งแรกที่ฟังนิยายธรรมเรื่องนี้ ผมนอนอยู่ในห้องนอนข้างห้องนอนของคุณแม่ของผม

    คุณแม่ของผมได้เปิดนิยายตอนราวประมาณ 5 ทุ่มเศษ หมู่บ้านของผมเงียบสงบ ยิ่งดึก

    ยิ่งสงบ พาให้จิตใจเราสงบไปด้วย เสียงธรรมแห่งนิยายจึงได้ซึมซาบเข้าหัวจิตหัวใจอย่าง

    เปี่ยมล้น "ศรัทธาจริง ๆครับ"

    -มาพิจารณานิยายธรรมที่ผมได้ตัดแบ่งเป็นตอน ๆ ดังนี้ ว่าให้ข้อคิด ข้อธรรมและความจริง

    อย่างใดแก่เราบ้าง และผู้เขียนคือ ท่านอาจารย์วศิน ต้องการให้เราเห็นหรือรู้เรื่องอะไรครับ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 71(8).gif
      71(8).gif
      ขนาดไฟล์:
      13.4 KB
      เปิดดู:
      227
    • IMG_1345.JPG
      IMG_1345.JPG
      ขนาดไฟล์:
      3.9 MB
      เปิดดู:
      81
    • IMG_1347.JPG
      IMG_1347.JPG
      ขนาดไฟล์:
      3.4 MB
      เปิดดู:
      62
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2011
  12. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    สัมมนานิยายธรรมโกกิลาภิกษุณี บทที่ 1 (ต่อ 1)


    -ในนิยายตอนที่ 1 ตอนที่ 2 และ ตอนที่ 3 ติดต่อกัน นิยายได้กล่าวถึงเหตุการณ์ตอนที่

    พระอานนท์ได้เดินทางจะไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ที่วัดเชตวันมหาวิหาร ระหว่างทางท่าน

    เกิดกระหายน้ำเป็นกำลัง และท่านมาพบกับนางทาสีชื่อ โกกิลา ซึ่งกำลังตักน้ำอยู่ ท่าน

    จึงได้เอ่ยขอบิณฑบาตรน้ำจากโกกิลา และได้มีการสนทนากันระหว่างพระอานนท์กับ

    โกกิลา จนนางติดตามพระอานนท์ไปและได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์

    -ในตอนที่ 1 พระอานนท์ได้แสดงความจริงโดยพูดให้กับโกกิลาได้เข้าใจถึงเรื่องวรรณะ

    เมื่อนางโกกิลายึดธรรมเนียมปฏิบัติเรื่องวรรณะ พระอานนท์กล่าวว่า

    "อย่าคิดอย่างนั้นเลย น้องหญิง อาตมาไม่มีวรรณะแล้ว อาตมาเป็นสมณศากยบุตร

    อาตมามิได้เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ ไวศยะ ศูทร หรือจัณฑาล อย่างใดอย่างหนึ่ง อาตมา

    เป็นมนุษย์เหมือนน้องหญิงนี่แหละ"

    -ในบทและเนื้อความตอนนี้ท่านอาจารย์วศินต้องการเขียนให้รับรู้ความเป็นจริงที่ว่า คนทุก

    คนเกิดมานั้นเท่าเทียมกันหมด ไม่ว่าอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต ซึ่งสมัยพุทธกาลชนชาว

    อินเดียได้แบ่งแยกวรรณะไว้ ซึ่งในสายตาของอาจารย์ หรือในทัศนทางพุทธศาสนาถือว่า

    เป็นเรื่องไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง การแบ่งวรรณะนั้น เป็นการแบ่งชั้นกัน ซึ่งปัจจุบัน

    บ้านเราก็"คลับคล้ายคลับคลา"ว่าจะมีการแบ่งชั้นกันเช่นนี้

    -โกกิลาได้เอ่ยอ้างเรื่องของมลทินและบาปที่จะถวายน้ำแก่พระอานนท์ก็คงเป็นเรื่องสามัญ

    สำนึกของวรรณะที่นางยึดถืออยู่ พระอานนท์กล่าวว่า

    "น้องหญิง มลทินและบาปจะมีแก่ผู้มีเมตตากรุณาไม่ได้ มลทินย่อมมีแก่ผู้ประกอบกรรม

    ชั่ว บาปย่อมมีแก่ผู้ไม่สุจริต การที่อาตมาขอน้ำ และน้องหญิงจะให้น้ำนั้นเป็นธรรม

    ธรรมย่อมปลดเปลื้องบาปและมลทิน เหมือนน้ำสะอาดชำระสิ่งสกปรกฉะนั้น"

    -ซึ่งข้อนี้ ท่านอาจารย์ได้ยกเอาคำตรัสสอนของพระพุทธองค์และหลักธรรมมาแสดงได้

    เห็นความจริงว่า สิ่งที่เรียกว่าบาปและมลทิน คือ ผู้ประกอบกรรมชั่ว บาปย่อมมีแก่ผู้ไม่

    สุจริต ไม่ใช่เกิดจากวรรณะหรือชาติตระกูล

    -คำกล่าวต่อไปของพระอานนท์ "น้องหญิง บัญญัติของพราหมณ์เรื่องบาปและมลทินอัน

    เกี่ยวกับวรรณะนั้นเป็นบัญญัติที่ไม่ยุติธรรม เป็นการแบ่งแยกมนุษย์ให้เหินห่างจากมนุษย์

    เป็นการเหยียดหยามมนุษย์ด้วยกัน เรื่องนี้อาตมาไม่มีแล้ว อาตมาเป็นสมณศากยบุตร

    สาวกของพระพุทธเจ้า เป็นผู้ไม่มีวรรณะ เพราะฉะนั้นถ้าน้องหญิงต้องการจะให้น้ำก็จงเท

    ลงในบาตรนี้เถิด"

    -ข้อนี้ ท่านอาจารย์ได้แสดงความจริงและเหตุผลตามทัศนคติทางพุทธศาสนาชัดเจนจนไม่

    ต้องอธิบาย ท่านอาจารย์ต้องการย้ำเตือนให้ผู้อ่านเห็นว่า มนุษย์นั้นเท่าเทียมกันไม่น่าที่จะ

    กำหนดอะไรให้มนุษย์แตกต่างกันครับ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2011
  13. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    สัมมนานิยายธรรมโกกิลาภิกษุณี บทที่ 1 (ต่อ 2)


    -ในตอนที่ 2 ได้กล่าวถึง นางโกกิลาทาสีได้เดินตามพระอานนท์ไปจนถึงซุ้มประตูเข้าวัด

    เชตวัน และจะตามพระอานนท์เข้าไป พระอานนท์บอกให้นางกลับไปแต่นางบอกว่า

    "นางรักพระอานนท์และไม่เคยพบใครดีเท่าพระอานนท์"

    -พระอานนท์กล่าวว่า "น้องหญิง พระศาสดาตรัสว่า ปกติของคนเราอาจจะรู้ได้ด้วยการอยู่

    ร่วมกัน และต้องอยู่ร่วมกันนาน ๆ ต้องมีโยนิโสมนสิการ และต้องมีปัญญา จึงจะรู้ว่าคนนั้น

    คนนี้มีปกติอย่างไร คือ ดีหรือไม่ดี........ที่น้องหญิงพบเราเพียงครู่เดียวจะตัดสินได้อย่าง

    ไรว่าอาตมาเป็นคนดี อาตมาอาจจะเอาชื่อท่านอานนท์มาหลอกเธอก็ได้ อย่าเข้ามา

    เลย กลับเสียเถิด"

    -จะเห็นว่าถ้อยคำตอนนี้ ท่านอาจารย์วศินได้ยกเอาหลักที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้ถึง

    หลักการพิจารณาหรือวินิจฉัยว่า "ผู้ใดเป็นคนดีหรือคนไม่ดี" ท่านใช้คำว่า "คนนั้นหรือคน

    นี้มีปกติอย่างไร" ซึ่งคำว่าปกติในที่นี้น่าจะหมายถึง"ความประพฤติที่ผู้นั้นประพฤติอยู่เป็น

    ประจำ" โดยเขียนให้พระอานนท์เป็นผู้แสดงให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านโดยวางหลักการ

    พิจารณาวินิจฉัยว่า 1.ได้อยู่ร่วมกัน 2.ต้องอยู่ร่วมกันนาน ๆ 3.ต้องมีโยนิโสมนสิการคือ

    หมั่นสังเกตตรวจดู 4.ต้องมีปัญญา โดยพิจารณาร่วมกันทั้งสี่ข้อจึงวินิจฉัย ได้โปรดโยชน์

    มากครับเป็นหลักวินิจฉัยที่ตั้งอยู่บนหลักเหตุและผลโดยแท้

    -"ที่น้องหญิงพบเราเพียงครู่ จะตัดสินได้อย่างไรว่า อาตมาเป็นคนดี..." ซึ่งเป็นการแสดง

    ความจริงโดยแท้ การเห็นกันเพียงครู่เดียวไม่อาจตัดสินสรุปได้หรอกว่าผู้ใดเป็นผู้ดี แม้

    เขาจะแต่งกายอย่างภูมิฐาน สะอาดเรียบร้อย มีหน้าตาที่หล่อเหลาหรือสวยงาม เป็นคน

    รวยมีเงิน เป็นคนพูดจาไพเราะ เป็นคนจน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เพียงเราเห็นเพียงชั่วครู่ชั่ว

    ยามเราไม่สามารถรับรองได้หรอกครับว่า "เขาเป็นคนดีหรือคนไม่ดี" นอกจากเราจะใช้

    หลักการพิจารณาวินิจฉัยในการดูคนตามที่ท่านอาจารย์นำคำสอนของพระพุทธองค์มา

    แสดงไว้ในนิยายครับ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 155-29.jpg
      155-29.jpg
      ขนาดไฟล์:
      25.6 KB
      เปิดดู:
      101
    • b14.jpg
      b14.jpg
      ขนาดไฟล์:
      68.8 KB
      เปิดดู:
      83
    • imagesCAM9DSLT.jpg
      imagesCAM9DSLT.jpg
      ขนาดไฟล์:
      15.2 KB
      เปิดดู:
      196
    • 268_1210705972_jpg_569.jpg
      268_1210705972_jpg_569.jpg
      ขนาดไฟล์:
      42.3 KB
      เปิดดู:
      57
    • b120.jpg
      b120.jpg
      ขนาดไฟล์:
      66.1 KB
      เปิดดู:
      67
    • phuttawong-1.jpg
      phuttawong-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      132.1 KB
      เปิดดู:
      47
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2011
  14. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    สัมมนานิยายธรรมโกกิลาภิกษุณี บทที่ 1 (ต่อ 3)


    -นางโกกิลาทาสียังกล่าวว่า "นางรักพระอานนท์" ซึ่งพระอานนท์ได้กล่าวขึ้นในทันทีว่า

    "น้องหญิง ความรักเป็นเรื่องร้าย มิใช่เรื่องดี พระศาสดาตรัสว่า ความรักเป็นเหตุให้เกิดทุกข์

    โศก และทรมานใจ เธอชอบความทุกข์หรือ"

    -ข้อนี้ผมไม่ขออธิบายมากนอกจากบอกเพียงว่า "ท่านลองรักดูเถอะ" แล้วดูผลของมันด้วย

    ตัวของท่านเอง เพราะธรรมชาติของความรักจะสั่งสอนท่านเอง แม้ท่านอาจารย์วศินจะ

    นำทัศนคติทางความรักมาแสดงก็เชื่อว่า "หลายคนอ่านไว้เฉย ๆ เท่านั้นเอง"

    -แต่ถ้อยคำที่แสดงไว้ตอนนี้เปรียบเทียบความรักกับตัวเราไว้ดีมาก คือ "ความรักก็เหมือน

    การจับไฟนั่นแหละ ทางที่จะไม่ให้มือพองเพราะไฟเผามีอยู่ทางเดียว คือ อย่าจับไฟ อย่า

    เล่นกับไฟ ทางที่จะปลอดภัยจากรักก็ฉันนั้น มีอยู่ทางเดียว คือ อย่ารัก" เป็นคำที่ไม่ต้อง

    อธิบาย

    -ในนิยายตอนนี้ได้แสดงลักษณะของผู้หญิงอยู่ตอนหนึ่งให้เราได้ศึกษาและรู้จักผู้หญิงเอา

    ไว้ คือ " แต่ใครเล่าจะเอาชนะความปรารถนาของหญิงได้ง่าย ๆ ลงจะเอาอะไรก็จะเอาให้

    ได้ เพราะธรรมชาติของเธอมักจะ"ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล" ถ้าผู้หญิงคนใด"ใช้เหตุผล

    ในการตัดสินปัญหาชีวิต หรือในการดำเนินชีวิต หญิงคนนั้นจะเป็น "สตรีที่ดีที่สุดและน่ารัก

    ที่สุด"

    -ซึ่งแสดงไว้เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านที่เป็นบุรุษ และผู้อ่านที่เป็นสตรีว่าหนทางใดที่"จะทำ

    ให้สตรีดีที่สุดน่ารักที่สุดคืออะไรครับ" เป็นถ้อยคำที่อ่านแล้วเป็นความหมายอยู่ในถ้อยคำ

    แล้วครับ จึงไม่ต้องนำมาพิจารณาอีก.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2011
  15. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    สัมมนานิยายธรรมโกกิลาภิกษุณี บทที่ 1 (ต่อ 4)


    -ต่อมาในตอนที่ 3 เป็นเรื่องที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมให้แก่นางโกกิลาทาสีให้เห็น

    ความเป็นจริงของร่างกาย โดยเรื่องมีอยู่ว่า พระพุทธองค์ได้ยินเสียงโต้เถียงกัน

    ระหว่าง"พระอานนท์" กับ "นางโกกิลาทาสี" จึงได้เรียกให้พระอานนท์พานางโกกิลาทาสี

    เข้ามาเข้าเฝ้าต่อหน้าพระพักตร์

    -พระอานนท์ได้เล่าเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งหมดระหว่างท่านกับนางจนพระพุทธองค์พอเข้าใจ

    ว่า"นางโกกิลาทาสีพอใจรักใคร่ในพระอานนท์" พระองค์จึงแสดงธรรมความเป็นอสุภะ

    ของร่างกายให้แก่นางเพื่อระงับความรักใคร่พอใจ

    -ซึ่งตอนนี้ท่านอาจารย์วศิน ได้นำสิ่งที่พระองค์ทรงตรัสสอนไว้มาแสดงให้เห็นค่อนข้าง

    ชัดเจนจนน่าที่ผู้อ่านจะสิ้นความสงสัย และน่าจะมีมุมมองตามข้อธรรมนี้ประกอบกับการ

    มองเรือนร่างของบุคคลตามความเป็นจริง

    -เรื่องที่พระพุทธองค์ได้ตรัสถามนางเพื่อเปิดช่องทางในการป้อนธรรมแสดงธรรมแก่นางก็

    คือ "เธอรักอะไรในอานนท์"

    -ซึ่งนางตอบไว้มีอยู่ 3 อย่าง คือ รักนัยน์ตาของพระอานนท์ , รักหูของพระอานนท์ และ

    รักจมูกของพระอานนท์ ซึ่งสิ่งที่นางตอบนั้นแสดงให้เห็นว่านางมองแต่เปลือกนอก

    ของอวัยวะนั้น แต่หาได้พิจารณาไปถึงข้างในของอวัยวะนั้น

    -ซึ่งทั้งสามอวัยวะที่นางตอบมา พระพุทธองค์ได้แสดงความจริงของอวัยวะนั้นอีกด้านหนึ่ง

    ให้นางทราบ และแสดงให้เห็นว่าปกติมันจะมีความสกปรกอยู่เป็นประจำต้องหมั่นชะล้างทำ

    ความสะอาดอยู่เสมอ

    -ในที่สุดพระพุทธองค์ก็ตรัสโดยสรุปว่า "ภคินี อันร่างกายนี้สะสมไว้แต่ของสกปรก

    โสโครก มีสิ่งปฏิกูลไหลออกจากทวารทั้ง 9 มีช่องหู ช่องจมูก เป็นต้น เป็นที่อาศัยแห่ง

    สัตว์เล็กสัตว์น้อย เป็นป่าช้าแห่งซากสัตว์นานาชนิด เป็นรังแห่งโรค เป็นที่เก็บมูตรและ

    กรีส......อุปมาเหมือนถุงหนังซึ่งบรรจุเอาสิ่งโสโครกต่าง ๆ เข้าไว้ และซึมออกมา

    เสมอ ๆ เจ้าของกายจึงต้องชำระล้างขัดถูวันละหลาย ๆครั้ง เมื่อเว้นจากการชำระล้างแม้

    เพียงวันเดียวหรือสองวัน กลิ่นเหม็นก็ปรากฏเป็นที่รังเกียจ เป็นของน่าขยะแขยง.....ภคินี

    ร่างกายนี้เป็นเหมือนเรือนซึ่งสร้างด้วยโครงกระดูก มีหนังและเลือดเป็นเครื่องฉาบทา ที่

    มองเห็นเปล่งปลั่งผุดผาดนั้นเป็นเพียงผิวหนังเท่านั้น เหมือนมองเห็นความงามแห่งหีบ

    ศพอันวิจิตรตระการตา.......ผู้ไม่รู้ก็ติดใจในหีบศพนั้น แต่ผู้รู้ เมื่อทราบว่า เป็นหีบศพ

    แม้ภายนอกจะวิจิตรตระการตาเพียงไร ก็หาพอใจยินดีไม่ เพราะทราบชัดว่าภายในแห่ง

    หีบอันสวยงามนั้นมีสิ่งปฏิกูลพึงรังเกียจ"

    -ธรรมที่แสดงไว้ทำความจริงให้ปรากฏเกี่ยวกับร่างกายของเรา ซึ่งปรากฏว่าแท้จริงมีเพียง

    ผิวหนังอย่างเดียวที่พวกเราได้แลเห็นและตัดสินใจผิวหนังของเราหรือบุคคลที่เรามองนั้นว่า

    งาม แต่พระพุทธองค์ได้แสดงให้เห็นภายใต้ผิวหนังนั้น แท้จริงคือของโสโครกส่งกลิ่น

    เหม็นออกมาจากภายในกายสู่ผิวหนังของเราตลอดเวลา พยานที่ยืนยันให้เห็นในปัจจุบันก็

    คือ พวกเครื่องสำอางค์หรือยาระงับกลิ่นกายต่าง ๆ เช่น ฟันของเราจะมีกลิ่นเหม็นอยู่ตลอด

    เวลาอันทำให้เกิดกลิ่นปากขึ้นทุกวัน เราต้องใช้ยาสีฟันที่มีกลิ่นหอมแปลงขัดมันให้สอาด

    ต้องใช้ยาอมดับกลิ่นปาก , สบู่ เราต้องใช้ฟอกทำความสะอาดร่างกายเช้าเย็นและก่อน

    นอนเพื่อดับของโสโครกที่ซึมออกมาจากภายในกาย อีกทั้งน้ำหอม แป้งหอมที่ต้องใช้เพื่อ

    ระงับกลิ่นกายตลอดเวลา ฯลฯ

    -ตัวของพวกเราธรรมชาติที่แท้จริงไม่สะอาดเอาเสียเลย แต่เราต้องใช้สิ่งดังกล่าวหรือ

    เครื่องหอมปกปิดความเหม็นร่างกายเอาไว้ "ที่หอมก็คือกลิ่นแป้ง กลิ่นน้ำหอม ไม่ใช่ตัว

    เราหอม"

    -หากเราหมั่นระลึกสิ่งปฏิกูลหรือระลึกให้เป็นของไม่สวยงามหรือทางภาษาธรรมเรียกว่า

    "อสุภะ" มันจะทำให้เราระงับนิวรณ์ข้อ "กามฉันทะ" ได้

    -การหมั่นระลึกบ่อย ๆ ทำให้ความใคร่ไม่บังเกิด ข้อนี้พระพุทธองค์จึงได้วางแนวสำหรับ

    ผู้มีจริตไปในทางความใคร่ ให้ฝึกกรรมฐานโดยการใช้ข้อ "อสุภกรรมฐาน" คือเพ่งซากศพ

    ของไม่สวยงาม อารมณ์แห่งกามก็จะสงบระงับแล้วจึงทำความเพียรในทางวิปัสสนา

    กรรมฐานต่อไปครับ.(จบบทที่ 1 ครับ)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 155-30.jpg
      155-30.jpg
      ขนาดไฟล์:
      23.1 KB
      เปิดดู:
      84
    • 155-9.jpg
      155-9.jpg
      ขนาดไฟล์:
      34.2 KB
      เปิดดู:
      100
    • 37g.jpg
      37g.jpg
      ขนาดไฟล์:
      22 KB
      เปิดดู:
      120
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2011
  16. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    สัมมนานิยายธรรมโกกิลาภิกษุณี บทที่ 2


    -ในบทที่ 2 นี้ จะกล่าวรวมตอนที่ 4, ตอนที่ 5 และตอนที่ 6

    -ในสามตอนนี้เรื่องราวโดยย่อคือ นางโกกิลาทาสีได้เสียเวลาอยู่ที่วัดเชตวันเป็นเวลานาน

    นางจึงกลับบ้านเอาจวนค่ำ แต่ก็ไม่สบายใจกลัวนายเรียกใช้และไม่พบนาง นางอาจถูก

    ทำโทษ แต่เมื่อกลับถึงบ้าน ปรากฏว่านายไม่ได้เรียกนางเลย นางจึงคิดว่าเป็นพุทธานุ

    ภาพ

    -ยามนอนนางโกกิลาทาสีจะนอนไม่หลับเนื่องจากคิดถึงพระอานนท์ จนเช้ารุ่งขึ้น นาง

    เห็นภิกษุณีบิณฑบาตรยามเช้า นางจึงได้อุบายที่จะได้อยู่ใกล้ชิดพระอานนท์ จึงได้ขอ

    อนุญาตนายเพื่อมาบวชเป็นภิกษุณี นายอนุญาตนางจึงได้บวชและคอยเฝ้ามองดูพระ

    อานนท์เสมอ

    -พระพุทธองค์ได้ให้โอวาทเรื่องกิเลส 3 ประการ นางได้ฟังรู้สึกละอายใจที่เป็นนักบวช

    กลับมาคิดเรื่องที่ตรงกันข้ามกับการบวช นางจึงสะกดใจไม่ให้คิดถึงพระอานนท์ แต่แล้ว

    วันหนึ่งนางได้ชวนเพื่อนภิกษุณีไปหาพระอานนท์ แต่เมื่อนางจะกลับ พระอานนท์ได้เอ่ย

    กับนางไม่ให้มาหาอีก นางจึงรู้สึกเสียใจ

    -ในที่สุดเมื่อนางสะกดใจไม่อยู่จึงได้ลาพระศาสดา พระอานนท์ไปจากวัดเชตวัน ไปสู่ที่วัด

    โฆสิตาราม

    -นางจำพรรษาอยู่เป็นเวลาเกือบ 3 เดือนก็ได้ยินข่าวว่าพระพุทธองค์และพระอานนท์และ

    พระสาวกจะเสด็จมาที่วัดโฆสิตารามที่นางจำพรรษาอยู่ นางจึงรู้สึกดีใจ.

    -ในตอนที่ 4 นั้นท่านอาจารย์วศิน ได้น้อมนำคำตรัสสอนของพระพุทธองค์มาแสดง

    โดยได้เขียนกำหนดให้พระพุทธองค์ได้ตรัสสอนให้โอวาทแก่พระภิกษุและภิกษุณี โดย

    เฉพาะนางโกกิลาภิกษุณีก็ได้รับฟังโอวาทนี้ด้วย โอวาทแสดงให้ได้รู้จักลักษณะของกิเลส

    3 ประการดังนี้ คือ

    -กิเลสทั้งสามประการคือ ราคะ โทสะ และโมหะ พระพุทธองค์ตรัสว่า "กิเลสทั้งสาม

    ประการนี้ย่อมเผาบุคคลผู้ยอมอยู่ใต้อำนาจของมันให้รุ่มร้อน กระวนกระวายเหมือนไฟเผา

    ไหม้ท่อนไม้และแกลบให้แห้งเกรียม.......ข้อแตกต่างแห่งกิเลสทั้งสามประการนี้ก็คือ

    ราคะนั้นมีโทษน้อยแต่คลายช้า โทสะมีโทษมากแต่คลายเร็ว โมหะมีโทษมากด้วย

    คลายช้าด้วย......บุคคลซึ่งออกบวชแล้วประพฤติตนเป็นผู้ไม่มีเรือนเรียกว่า ได้ชัก

    กายออกห่างจากามราคะ แต่ถ้าใจยังหมกมุ่นพัวพันอยู่ในกามก็หาสำเร็จประโยชน์แห่งการ

    บวชไม่ คือ เขาไม่สามารถจะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบได้.......อุปมาเหมือนไม้สดชุ่ม

    อยู่ด้วยยาง แม้จะวางอยู่บนบก บุคคลผู้ต้องการไฟก็ไม่อาจนำมาสีให้เกิดไฟได้ เพราะ

    ฉะนั้น ภิกษุ ภิกษุณีผู้ชักกายออกจากกามแล้ว ควรพยายามชักใจออกจากกาม ความ

    เพลิดเพลินหลงใหลเสียด้วย"

    -โอวาทข้อนี้จะเห็นว่าในส่วนของ"ราคะหรือความใคร่นั้น" ท่านอาจารย์ได้พยายามแสดง

    ให้ผู้อ่านรู้จักซึมซาบ โดยในบทที่ 1 ได้แสดงถึงธรรมให้พิจารณาในการระงับหรือสงบ

    ราคะโดยให้พิจารณาร่างกายในทางที่เป็นของสกปรกโสโครกให้เห็น อันเป็นประโยชน์ใน

    การหยุดราคะหรือความใคร่ลงได้บ้าง แต่มาบทนี้ท่านได้กล่าวถึงโทษของราคะนั้นเป็น

    โทษที่น้อย แต่คลายช้าคือเกิดแล้วอยู่ได้นาน

    -นอกจากนี้ในส่วนของราคะยังแสดงให้เห็นเป็นการเสริมเจาะจงถึงนักบวชว่า "เมื่อชัก

    กายออกจากกามราคะแล้วก็ควรชักใจออกจากกามราคะให้สมกับหน้าที่ของนักบวชด้วย"

    -นักบวชที่ยังติดในกามราคะก็เหมือนกับไม้สดชุ่มด้วยยาง แม้จะวางอยู่บนบกก็ไม่สามารถ

    สีให้เกิดไฟได้

    -ในส่วนของ"โทสะ" กล่าวไว้ว่า "มีโทษมากแต่คลายเร็ว" นี่คือคุณสมบัติของมัน แต่

    โทสะนี้ในนิยายมิได้แสดงว่า"เกิดขึ้นได้อย่างไร" หรือ "มีมูลมาอย่างไร"

    -ผมก็ขอน้อมนำเสริมให้ได้ประโยชน์เพื่อให้ผู้อ่านได้รู้จัก "ผู้ให้กำเนิดหรือแม่ของโทสะ"

    -ธรรมข้อนี้ผมรับฟังมาจาก "หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี" ครับ แต่ที่ฟังท่าน ท่านเอ่ยถึง

    คือเรื่อง"โกธะหรือความโกรธว่ามีเค้ามูลมาจากสิ่งใด" แล้วท่านมาต่อจากความโกรธ

    เปลี่ยนเป็นโทสะ และเปลี่ยนเป็นพยาบาท(คือเมื่อทำร้ายไม่ได้ก็ผูกอาฆาตพยาบาท) ก็

    คือแท้จริงแล้วมาจากสิ่งที่ผมจะเอ่ยถึงเค้ามูลสิ่งนี้สิ่งเดียว

    -คือ "โทสะ" มีความหมายว่า "คิดประทุษร้าย" จิตมีโทสะ ก็คือ จิตคิดประทุษร้าย ต้น

    กำเนิดมาจาก "ความไม่พอใจ" ตัวเดียวเท่านั้นครับ หากจะระงับหรือดับกิเลสของสายนี้

    ต้องหยุดตัว"ความไม่พอใจ"ที่เราครับ "นี่แหละมารดาตัวจริง ผู้ให้กำเนิด ตัวโกรธ โทสะ

    พยาบาท"

    -เมื่อมีคนทำให้เราไม่พอใจขึ้นมาเมื่อไร เราจะรู้สึกโกรธขึ้นมาทันที เมื่อโกรธแล้วก็คิด

    ประทุษร้ายคือ"โทสะ" ยกตัวอย่างเช่น นาย ก. ขับรถปาดหน้า นาย ข. อย่างเย้ยหยัน

    ประมาณว่ารถเอ็งช้ารถข้าไวกว่า นาย ข.จะเริ่มขึ้นด้วยการไม่พอใจ และเปลี่ยนเป็นโกรธ

    ต่อมาเป็นโทสะ(จิตคิดประทุษร้าย) นายข.จึงขับรถตาม นาย ก. เอาปืนไปยิงนายก.จน

    ตาย(เหมือนข่าวในหนังสิอพิมพ์ครับ)

    -แต่ตัว โทสะ โกรธ พยาบาท หรือความไม่พอใจนี้ เป็นคู่อริกับ "ความเมตตา" ครับ เมื่อ

    เรามีเมตตา ทรงความเมตตาไว้ตลอดแม้แต่คนที่ทำให้เราไม่พอใจ เราก็เมตตาไม่ถือสา

    ต่อเขา กิเลสสายนี้ก็เกิดอยาก ให้มีสติระลึกถึงความเมตตาเข้าไว้ครับ.

    -"โมหะ" มีโทษมากด้วย คลายช้าด้วย ก็คือ ความหลงนั้นแหละครับ หลงรัก หลงการ

    พนัน หลงยาเสพติด หลง...... มีโทษมากคลายช้าเพราะหลงก็คือไม่เห็น เมื่อไม่เห็น

    สติก็ไม่มีแล้วจะคลายได้เร็วเช่นไรครับ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • untitled99(3)(1)(3).gif
      untitled99(3)(1)(3).gif
      ขนาดไฟล์:
      61.2 KB
      เปิดดู:
      44
    • wi617.jpg
      wi617.jpg
      ขนาดไฟล์:
      51.4 KB
      เปิดดู:
      52
    • IMG_1343.JPG
      IMG_1343.JPG
      ขนาดไฟล์:
      4.4 MB
      เปิดดู:
      60
    • IMG_1346.JPG
      IMG_1346.JPG
      ขนาดไฟล์:
      4.6 MB
      เปิดดู:
      107
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2011
  17. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    สัมมนานิยายธรรมโกกิลาภิกษุณี บทที่ 2 (ต่อ 1)


    -นิยายในตอนที่ 5 และ ตอนที่ 6 ได้อธิบายลักษณะของผู้ที่ตกอยู่ในความรัก และวงจร

    ทางความรักให้เห็น

    -ซึ่งท่านอาจารย์วศินได้อธิบายธรรมชาติของความรัก และผู้ที่ตกอยู่ในห้วงรักเบื้องต้นพอ

    ประมาณ และก็คงจะกล่าวความเข้มข้นชี้โทษของความรักให้เห็นในตอนต่อ ๆ ไป

    -ท่านผู้ที่เคยมีความรัก คงจะรู้รสและอาการของมันได้ดี โดยไม่ต้องให้นิยายมาชี้นำ

    เพราะท่านได้สัมผัสด้วยตนเองอย่างลึกซึ้งมาแล้ว

    -ในละครทีวีก็ดี ในภาพยนต์ก็ดี แม้กระทั่งลิเกและงิ้ว ต่างสรรสร้างเรื่องของความรัก

    ระหว่างหญิงสาวและชายหนุ่มให้บังเกิดขึ้น เพื่อดึงดูดผู้คนให้มาดู ซึ่งก็สมหวังเกือบจะ

    ทุกอย่าง แสดงให้เห็นว่าพวกเราส่วนใหญ่โน้มเอียงไปในทางที่อยากมีความรัก อยากรู้

    เรื่องของความรัก อยากเข้าใจในความรัก

    -ในภาพยนต์ ละครทีวี ลิเก ฯลฯ จะนำความรักที่ดี ๆ ที่สมหวังในตอนท้ายแทบทุกเรื่องมา

    นำเสนอ แต่ก็มีบ้างเรื่องที่ทำให้เห็นถึงความวิโยคโศกเศร้าของความรัก

    -พฤติการณ์เหล่านี้ของภาพยนต์ ละคร ฯลฯ เป็นสิ่งล่อและเร้าใจเราให้อยากมีรักที่

    โรแมนติก หรือรักชั้นเลิศ ทำให้เกิดการกระหายที่จะแสดงออกในทางความรักกันอย่างไม่

    มีที่สิ้นสุด

    -ความรักของแต่ละคนเป็นเรื่องละเอียดอ่อนเข้าใจยาก แต่ท้ายที่สุดหลังจากที่ทั้งคู่ได้เลิก

    รากันไปแล้ว เช่น ดารานักแสดงหลาย ๆ คู่ เขาจะเริ่มรู้สึกตัวว่าสิ่งที่เข้าใจว่าเป็น

    "ความรัก" นั้น "แท้จริงเป็นอาการของความหลง หลงเข้าใจว่าเป็นความรักเท่านั้นเอง"

    -มากล่าวต่อลักษณะของความรักที่ท่านอาจารย์แสดงไว้ในนิยาย มีอยู่ว่า

    "แน่นอนทีเดียว ผู้ใดตกอยู่ในความรัก ดวงใจของผู้นั้นย่อมเป็นทาส ทาสของความ

    รัก ทาสรักนั้นจะไม่มีใครสามารถช่วยปลดปล่อยได้ นอกจากเจ้าของดวงใจจะปลดปล่อย

    เอง.......ความรักย่อมมีวงจรของมัน จนกว่ารักนั้นจะสิ้นสุดลง ชีวิตมักจะเป็นอย่างนี้

    เสมอ เมื่อใครคนหนึ่งพยายามดิ้นรนหาความรัก เขามักไม่สมปรารถนา แต่พอเขาทำ

    ท่าจะหนี ความรักก็ตามมา ......ความรักจึงมีลักษณะคล้ายเงา เมื่อบุคคลวิ่งตาม มัน

    จะวิ่งหนี แต่เมื่อเขาวิ่งหนี มันจะวิ่งตาม"

    -สิ่งที่ท่านแสดงไว้จัดเป็นเฉพาะ "ความรักระหว่างชายหญิง" ครับ

    -ในส่วนของผม ผมมีความเห็น...อยากให้ท่านทั้งหลายลองมีรักเช่นนี้ดูครับ ไม่ว่าจะ

    สมหวังหรือผิดหวังก็ให้ลองดู .....เพราะสิ่งที่ได้ต้องได้ทางความรู้สึกด้วยตนเองไม่ได้

    จากการบอกเล่า ...แล้วเราก็นำมาวินิจฉัย"ความดี", "ความร้าย" ของความรัก แล้ว

    เทียบเคียงดูระหว่างมีความรักกับไม่มีความรักอย่างไหนดีกว่ากัน

    -ที่ผมแนะนำเช่นนี้ก็เพื่อให้ท่าน "เกิดปัญญา" ขึ้นมาครับ...แต่ขอร้องอย่าไปเสียท่าให้แก่

    ความรักที่ถึงขนาด..เมื่อคนรักทรยศต่อเราแล้ว ต้องเอาปืนไปยิงเขาให้ตาย....หรือฆ่า

    เขาแล้วหันมาฆ่าเราด้วย

    -ให้จำไว้อย่างเดียวว่า "ความรัก"ก็ตกอยู่ในกฏอนิจจัง คือ "เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป"

    ถ้ามันไม่ดับไป "คู่รักสะท้านโลก""อย่างนักกีฬาชั้นยอดกับนางงามของโลกก็คงไม่เลิกรา

    กันครับ...(จบบทที่ 2 ครับ).
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2011
  18. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    สัมมนานิยายธรรมโกกิลาภิกษุณี บทที่ 3


    -ในบทนี้จะกล่าวรวมเนื้อเรื่องย่อของตอนที่ 7 , ตอนที่ 8 และ ตอนที่ 9 แล้วจะนำข้อ

    ธรรม หรือถ้อยคำที่เด่นของนิยายมาพิจารณาวินิจฉัยให้รับทราบเพื่อเป็นประโยชน์ประดับ

    สติปัญญาทางธรรมกันต่อไปครับ

    -ในสามตอนนี้เนื้อเรื่องจะกล่าวถึง .....วันที่พระพุทธองค์ พระอานนท์และเหล่าสาวกได้

    เสด็จมาที่กรุงโกสัมพี เพื่อมาประทับที่วัดโฆสิตาราม ปรากฏว่า นับแต่พระเจ้าอุเทน เสนา

    อำมาตย์ พ่อค้าประชาชน สมณพราหมณาจารย์ มาให้การต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่

    -นางโกกิลาภิกษุณีได้เห็นพระอานนท์ ความรักซึ่งสงบอยู่อย่างห่างไกลกันก็ฟุ้งขึ้นมาอีก

    -คืนหนึ่งนางนอนด้วยความกระวนกระวายรัญจวนจิตถึงพระอานนท์ และร้องไห้ พร้อมกับ

    รำลึกถึงคำตรัสสอนของพระศาสดาว่า "ไม่ควรปล่อยตนให้ตกอยู่ภายใต้อำนาจความรัก"

    -รุ่งขึ้นเวลาบ่ายนางเที่ยวชมธรรมชาติบริเวณวัดโฆสิตาราม และมาหยุดยืนอยู่ริมสระซึ่งมี

    บัวบานสะพรั่งทำให้นางสดชื่นขึ้นบ้าง.

    -ในนิยายท่านอาจารย์วศินได้กล่าวเปรียบเทียบให้ความเห็นว่า"ไม่มีไฟอะไรร้อนแรงและ

    ดับยากเท่าไฟรัก" เพื่อให้เห็นความจริงเพิ่มเติมจากที่ท่านได้ให้ทัศนคติของความรักไว้ใน

    ตอนต้น ๆ

    -ในนิยายกล่าวว่า "นางรีบกลับสู่ห้องของตน บัดนี้ใจของนางเริ่มปั่นป่วนรวนเรอีกแล้ว

    จริงทีเดียวในจักรวาลนี้ ไม่มีไฟอะไรร้อนแรงและดับยากเท่าไฟรัก......ความรักเป็นความ

    เรียกร้องของหัวใจ มนุษย์เราทำอะไรลงไปเพราะเหตุเพียงสองอย่างเท่านั้น คือ เพราะ

    หน้าที่อย่างหนึ่ง และ เพราะความเรียกร้องของหัวใจอีกอย่างหนึ่ง..........ประการแรก

    แม้จะทำสำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้าง มนุษย์ก็ไม่ค่อยจะเดือดร้อนเท่าใดนัก เพราะคนส่วน

    มากหาได้รักหน้าที่เท่าความสุขส่วนตัวไม่...........แต่สิ่งที่หัวใจเรียกร้องนี่ซิ ถ้าไม่สำเร็จ

    หรือไม่สามารถสนองได้ หัวใจจะร่ำร้องอยู่ตลอดเวลา มันจะทรมานไปจนกว่าจะหมด

    ฤทธิ์ของมัน หรือมนุษย์ผู้นั้นตายจากไป.......โกกิลาภิกษุณีกำลังต่อสู้กับสิ่งสองสิ่งอย่าง

    นี้อย่างน่าสงสาร....หน้าที่ของนางคือการทำลายความรักความใคร่ บัดนี้นางเป็นภิกษุณี

    มิใช่หญิงชาวบ้านธรรมดา นางจึงต้องพยายามกำจัดความรักความใคร่ระหว่างเพศให้หมด

    ไป แต่หัวใจของนางกำลังเรียกร้องหาความรัก..............หน้าที่กับความเรียกร้องของ

    หัวใจ อย่างไหนจะแพ้จะชนะก็แล้วแต่ ความเข้มแข็งของอำนาจฝ่ายสูงหรือฝ่าย

    ต่ำ...............ผู้หญิงนั้นลงได้ทุ่มเทความรักให้แก่ใครแล้วก็มั่นคงเหนียวแน่นยิ่งนัก ยาก

    ที่จะถ่ายถอน และความรักที่ไม่มีทางสมปรารถนาเลยนั้นเป็นความปวดร้าวอย่างยิ่งสำหรับ

    ผู้หญิง....แต่นางก็ยังรักสุดที่จะหักห้ามและถ่ายถอนได้"

    -ในความตอนนี้ "หนึ่งแสดงให้เห็นลักษณะของความรัก" , "สองแสดงให้เห็นธรรมชาติ

    ของหญิง" , "สามแสดงให้เห็นความรักกับผู้หญิงหรือผู้หญิงตกอยู่ในห้วงรัก" และ "สี่

    แสดงข้อเปรียบเทียบของความรักกับหน้าที่ที่บุคคลทั่วไปรู้สึกและประพฤติปฏิบัติ"

    -ท่านชี้ชัดลงไปให้เห็นลักษณะของความรักเลยว่า "ไม่มีไฟอะไรร้อนแรงและดับยากเท่า

    ไฟรัก ความรักเป็นความเรียกร้องของหัวใจ ..........หัวใจจะร่ำร้องอยู่ตลอดเวลา มัน

    จะทรมานไปจนกว่าจะหมดฤทธิ์ของมัน หรือมนุษย์ผู้นั้นตายจากไป"

    -เมื่อนำความข้อนี้ไปปรับเข้ากับบุคคลผู้มีความรักจะได้ความว่า "เขาผู้นั้นเมื่อลงได้อยู่ใน

    ห้วงแห่งความรักแล้ว จะถูกไฟรักนี้เผาให้ตนเองร้อนรนและดับยาก คนลงได้มีความรักก็จะ

    พร่ำเพ้อคิดถึงถวิลหาแต่คนรักของตน...เรียกว่าทุกเวลาของยามได้ตื่นจากความหลับที

    เดียว..มันจะร่ำร้องอยากอยู่ใกล้ชิด...สร้างภาพในอากาศคิดคำนึงกำหนดให้ตนและคู่รัก

    อยู่ด้วยกันเพียงสองคน...และพากันท่องเที่ยวไปยังที่ต่าง ๆ ฯลฯ........ตราบใดที่ยังไม่

    หมดพิษรักมันจะพร่ำเพ้อไปเช่นนี้ไม่มีหยุด....หากรักไม่สมหวังก็จะทุกข์ระทมที่สุด"

    -สองและสามแสดงให้เห็นถึงธรรมชาติของหญิงและผู้หญิงตกอยู่ในห้วงรัก ความว่า ผู้หญิง

    นั้นลงได้ทุ่มเทความรักให้แก่ใครแล้วก็มั่นคงเหนียวแน่นยากที่จะถ่ายถอน และความรักที่ไม่

    มีทางสมปรารถนาเลยนั้นเป็นความปวดร้าวอย่างยิ่งสำหรับผู้หญิง

    -ซึ่งถ้อยคำแสดงให้เห็นความจริงอย่างชัดเจนแล้วขอไม่อธิบาย แต่จะข้ามไปในอย่างที่สี่

    คือ หน้าที่กับความรักที่คนทั่วไปรู้สึกและประพฤติปฏิบัติกัน ได้อธิบายว่า คนส่วนใหญ่

    หน้าที่ที่ตนมีอยู่ไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่ากับ ความเรียกร้องของหัวใจเกี่ยวกับความรักที่

    ตนกำลังอยู่ในห้วงรักอยู่ .....การงานบางอย่างจะต้องกระทำ...แต่ปรากฏว่าคนรักมาชวน

    ให้ไปกับเขา....บุคคลก็จะทิ้งงานเพื่อไปหาความสุขกับคนรักของเขาทันที....โดยหาได้

    กังวลในเรื่องของงานให้เป็นใหญ่กว่าความรักไม่...อธิบายได้สั้น ๆดังที่กล่าวมานี้ครับ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • return_3.jpg
      return_3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      146.2 KB
      เปิดดู:
      95
    • p333.gif
      p333.gif
      ขนาดไฟล์:
      31.2 KB
      เปิดดู:
      54
    • MSG-060928002529389.jpg
      MSG-060928002529389.jpg
      ขนาดไฟล์:
      79.9 KB
      เปิดดู:
      51
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2011
  19. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    สัมมนานิยายธรรมโกกิลาภิกษุณี บทที่ 3 (ต่อ 1)


    -นิยายตอนที่ 8 ยังให้ทัศนคติเกี่ยวกับความรักของ "ผู้หญิงอย่างหนึ่ง" ของ "ผู้ชายอย่าง

    หนึ่ง" โดยท่านอาจารย์วศินได้แสดงให้เห็นว่า

    -ผู้หญิงถือว่าชีวิตเป็น"ส่วนหนึ่ง"ของความรัก ตรงกันข้ามกับผู้ชายซึ่งมักจะเห็นความรัก

    เป็นเพียง"บางส่วน" ของชีวิตเท่านั้น......เมื่อเกิดความรัก ผู้หญิงจึงทุ่มเททั้งชีวิตและจิต

    ใจให้แก่ความรักนั้น ทุ่มเทอย่างยอมเป็นทาส

    -อธิบายได้โดยดูจากลักษณะของถ้อยคำ "ส่วนหนึ่ง" กับ "บางส่วน" ดูค่อนข้างแตกต่าง

    กันทางน้ำหนักมาก "ความรักเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต"เป็นทัศนะของผู้หญิง ดังนั้นมันจึงมี

    ความสำคัญสำหรับผู้หญิงมาก....ผู้หญิงปรารถนาที่จะแต่งงานเพียงครั้งเดียวกับชายที่ตน

    รัก...ไม่ปรารถนาที่จะแต่งงานครั้งสองและสาม ดังนั้นความรักเมื่อมอบให้แก่ผู้ใดไปก็

    ปรารถนาจะให้คนรักของตนรักตนเองเช่นเดียวกับที่เธอรัก...ปรารถนาที่จะร่วมสร้างชีวิต...

    สร้างฐานะ...สร้างครอบครัว...เป็นความหวังของผู้หญิงที่สุดที่ต้องการจะมีความรักและ

    ครอบครัวที่สมบูรณ์...ผู้หญิงในความคิดของปุถุชนทั่วไปไม่อาจจะอยู่เดียวดายได้..

    ผู้หญิงที่อยู่โดยไร้คู่หรือไร้ความรักย่อมได้รับการดูถูกจากหญิงด้วยกัน..หรือแม้แต่ชายบาง

    คน...อีกทั้งสังคมส่วนรวม......ดังนั้นผู้หญิงจึงมุ่งมั่นหารักแท้และคนรัก...เพราะมันคือ

    ส่วนหนึ่งของชีวิตหญิงที่เติมเต็มความเป็นหญิงให้แก่เธอ เธอจึงต้องทุ่มเททั้งชีวิตและจิต

    ใจให้แก่ความรักนั้น

    -ในส่วนของผู้ชาย "ความรักเป็นเพียงบางส่วนของชีวิต" อธิบายได้ว่า ชายชาตรีจะมี

    ความรักหรือคนรักก็ได้ หรือไม่มีก็ได้ เพราะผู้ชายมีเรื่องราวมากมายที่เล็งเห็นได้

    ว่า"สำคัญกว่าการมีความรักหรือคนรักหรือครอบครัว" ความปรารถนาของเขา คือ การที่

    ได้รับการยอมรับยกย่องในทางเกียรติยศ การได้รับเสียงสรรเสริญ การมีฐานะ ดูเป็นสิ่งที่มี

    ความสุขของผู้ชายมากกว่าความรัก.......ผู้ชายสามารถปฏิเสธคนรักที่ชวนไปทานอาหาร

    เนื่องจากเลือกที่จะไปกับเจ้านายของตน หรือ เพื่อนฝูง...เพื่อไปสังสรรค์เฮฮา......

    สามารถปฏิเสธคนรักเมื่อเธอไปตามให้เขากลับบ้านในขณะที่กำลังดื่มสุรา........เล่นการ

    พนัน ฯลฯ

    -ชายบางคนเล่นการพนันติดหนี้สินจนถึงขนาดเอาคนรักของตนให้ไปนอนกับชายผู้เป็นเจ้า

    หนี้เพื่อขัดดอก...หรือเพื่อต้องการได้เงินเพิ่ม....เพราะเขาไม่ได้เห็นความรักหรือคนรัก

    สำคัญเท่ากับความสนุกในการเล่นการพนัน

    -ถ้อยคำที่นิยายได้นำพระดำรัสของพระพุทธองค์มาแสดงคือ " ไม่ควรปล่อยตนให้ตกอยู่

    ภายใต้อำนาจแห่งความรัก เพราะการพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักเป็นเรื่องทรมาน และ

    เรื่องที่จะบังคับมิให้พลัดพรากก็เป็นสิ่งสุดวิสัย ทุกคนจะต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก

    ที่พอใจ ไม่วันใดก็วันหนึ่ง"

    -อธิบายได้ว่าทางพุทธศาสนาพยายามชี้ความจริงให้เห็นอยู่อย่างหนึ่งว่า "เราทุกคนเกิดมา

    เพื่อเดินทางไปสู่ความตาย...ไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้า....และทุกสิ่งที่เกิดขึ้นก็เป็นตามหลัก

    อนิจจัง..คือ ..เกิดขึ้น...ตั้งอยู่...และดับไปในที่สุด

    -ความรักหรือคนรักของเราก็เช่นกันต้องเป็นอย่างนี้ ไม่ตายจากกัน ก็อาจจะคนรักเบื่อ

    หน่ายต่อเราจนขอเลิกร้าง

    -ถ้อยคำดังกล่าวเหมือนกับนำเสนอให้เราว่า "รักได้" แต่"อย่าไปอยู่ภายใต้อำนาจแห่ง

    ความรัก" คือเป็นสิ่งเตือนใจว่าอย่ายึดมั่นถือมั่นต่อคนรักหรือความรักให้มากจนหลงหา

    ทางไม่เจอ ....ให้พยายามหาทางให้แก่ตนเองไว้บาง...อย่าเอาความรักมาปิดประตูทาง

    ปัญญาเราจนหมด

    -ในนิยายได้แสดงให้เห็นว่า "ธรรมชาติเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อชีวิตเสมอ มันเป็นเพื่อนที่ดีทั้ง

    ยามสุขยามทุกข์ ชีวิตที่อยู่กับธรรมชาติมักจะเป็นชีวิตที่ชื่นสุขเบาสบาย......ยิ่งมนุษย์

    ทอดทิ้งห่างเหินจากธรรมชาติมากเท่าใด เขาก็ยิ่งห่างความสุขออกไปทุกทีมากเท่านั้น

    -ข้อนี้ยกตัวอย่างให้เห็น "ชีวิตของคนเมืองหลวง" กับ "ชีวิตของคนบ้านนอก"

    -"ชีวิตของคนเมืองหลวง" ถูกห้อมล้อมไปด้วยตึกและบ้านเรือนมากมาย...มีถนนหลาย

    สายเหมือนกับมันจะตีตารางกักขังเราเอาไว้...มีควันที่ผสมปนเปกับอากาศให้สูดดม..อัน

    เป็นอากาศที่ไม่บริสุทธิ์....เวลาก็มีน้อยเพราะเสียเวลาไปกับรถติด...การกินอาหารก็เร่งรีบ

    แข่งกับเวลา...ทำงานที่ถูกกำหนดไว้หลายอย่างแต่อาจทำไดเพียงอย่างเดียวในแต่ละ

    วัน...ชีวิตในเมืองหลวงไม่ใช่วิถีแห่งธรรมชาติเอาเสียเลย

    -ส่วน"ชีวิตของคนบ้านนอก"...ตื่นเช้าขึ้นมาก็พบกับความบริสุทธิ์ของอากาศ มองไปใน

    ท้องทุ่ง...ทิวป่าไม้...แม่น้ำลำคลอง...มองเห็นดวงอาทิตย์ขึ้น...กินอาหารก็ไม่ต้องรีบ

    ร้อนอย่างเคร่งเครียด....เดินไปทำงานก็ไม่มีกำหนดเวลากำกับไว้....ทำงานอยู่ท่ามกลาง

    ธรรมชาติ...ได้มองเห็นดวงอาทิตย์ตกดินยามเย็น..ฯลฯ เป็นวิถีชีวิตที่สามารถทะนุถนอม

    ชีวิตให้มีอายุยืนยาวครับ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 4350.jpg
      4350.jpg
      ขนาดไฟล์:
      10.4 KB
      เปิดดู:
      312
    • b117.jpg
      b117.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.7 KB
      เปิดดู:
      66
    • amitabha(2)(1).jpg
      amitabha(2)(1).jpg
      ขนาดไฟล์:
      70.9 KB
      เปิดดู:
      83
    • return_3.jpg
      return_3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      146.2 KB
      เปิดดู:
      48
    • pict0020.jpg
      pict0020.jpg
      ขนาดไฟล์:
      13.5 KB
      เปิดดู:
      283
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2011
  20. สวนพลู

    สวนพลู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    6,596
    ค่าพลัง:
    +18,651
    มารอชาดกครับพี่ชาย แทรกชาดกหน่อยครับ รีเควชครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...