พระโพธิสัตว์พญาช้างนาฬาคิรี(ธนปาล)พระพุทธเจ้าในอนาคต

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย อุตฺตโม, 5 ธันวาคม 2010.

  1. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    หากเป็นดังหลวงปู่สิมกล่าว"พญาช้างนาฬาคิรีได้มาบำเพ็ญบารมีแล้ว"

    -มีข้อเขียนของผู้เขียนท่านหนึ่งได้เรียบเรียงเอาไว้ และผมได้อ่านพบ

    -ข้อเขียนสรุปได้ว่า หลวงปู่สิม พุทธจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่ได้กล่าวรับรอง

    ด้วยตัวท่านเองว่า "ครูบาขาวปี วัดพระพุทธบาทผาหนาม เคยเป็นช้างนาฬาคิริง

    ส่วน.................เป็นช้างป่าเลไลยนะ"

    -พอดีเรื่องของ"พระโพธิสัตว์พญาช้างนาฬาคิรี(พระติสสะพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าในอนาคต

    องค์ที่ 9)" เป็นกระทู้นำเรื่อง แล้วมีเรื่องของ"พญาช้างปาลิไลยกะ(พระสุมังคลพุทธเจ้า

    พระพุทธเจ้าในอนาคตองค์ที่ 10)รวมอยู่ด้วย

    -ผมก็เลยสนใจ แต่จะขอกล่าวเฉพาะ"พญาช้างนาฬาคิรี"เท่านั้น

    ส่วน"พญาช้างปาลิไลยกะ" ที่หลวงปู่สิมที่เอ่ยถึงคือใคร ผมต้องขออนุญาตล่ะไว้ไม่ขอ

    เอ่ยพระนาม ด้วยเหตุผลหลายอย่าง

    -เรื่อง"พุทธประวัติ"มีข้อจำกัดอยู่ที่เป็นเรื่องราวของอดีตและเป็นสิ่งที่มีอยู่ใน"ตำรา" ไม่

    อาจสืบต่อมาถึงเรื่องราวในปัจจุบันได้

    -แต่เมื่อมี"พระอริยเจ้าผู้มั่นคงในศีลอย่างหลวงปู่สิมเอ่ยถึง" ก็คงเป็นเพราะหลวงปู่ท่าน

    ทราบจากญาณวิถีของท่าน และเป็นเรื่องที่ตรองดูเหตุผลในองค์หลวงปู่สิมแล้วทำให้

    "ผมเชื่อ" โดยเชื่อว่า"พระโพธิสัตว์พญาช้างนาฬาคิรี"ได้ลงมาสร้างบารมีของท่านในยุค

    ของพวกเราคือ "ครูบาขาวปี วัดพระพุทธบาทผาหนาม"

    -แต่เนื่องจาก ผมไม่เคยรู้จัก"ครูบาขาวปี"มาก่อนเลย จึงไม่ทราบประวัติจริยาวัตรและการ

    ปฏิบัติธรรมของท่านมาก่อนเลย

    -ผมจึงขอเรียนเชิญท่านผู้รู้ที่รู้จัก"ครูบาขาวปี"เป็นอย่างดี ช่วยเขียนลงประวัติของท่านให้

    เพื่อนสมาชิกและผู้ที่ติดตามอ่านกระทู้ได้ติดตามประวัติต่อไปด้วยครับ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2011
  2. สวนพลู

    สวนพลู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    6,596
    ค่าพลัง:
    +18,651
    หลวงพ่อตาบ มรณะภาพปี 2533 ครับพี่ ส่วนรูปหล่อที่โพสมา ปี 2529 ทันอยู่ครับพี่อุตตโม
     
  3. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931

    -แสดงว่ารูปหล่อของหลวงพ่อตาบรอคุณสวนพลูมาตั้ง 24 ปี

    -วันที่ 4 มกราคม 2553 ผมจะส่งไปให้ "น้องชาย"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ธันวาคม 2010
  4. อั๋นวัดสาม

    อั๋นวัดสาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    4,259
    ค่าพลัง:
    +9,022
    พึ่งผ่านไปเจอได้อ่านจึงอยากให้ท่านอื่นได้อ่านบ้างครับ:cool:

    พระวินัยปิฎก เล่ม 1 มหาวิภังค์ ปฐมภาค

    นะโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทฺ ธสฺส
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


    เวรัญชกัณฑ์
    เรื่อง เวรัญชพราหมณ์
    (1) โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ โคนไม้สะเดา เขตเมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ 500 รูป เวรัญชพราหมณ์ได้สดับข่าว ทราบกิติศัพท์สรรเสริญพระผู้มีพระภาคว่า ทรงเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ บรรลุวิชชาและจรณ เสด็จไปดี ทราบโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพุทธะ เป็นพระผู้มีพระภาค ทรงนำโลกนี้พร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญา อันยิ่งของพระองค์เอง แล้วสอนหมู่สัตว์ พร้อมสมณะพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ให้รู้ ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้ง พยัญชนะครบบริบูรณ์บริสุทธิ์ อนึ่งการเห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเป็นความดี

    เวรัญชพราหมณ์กล่าวตู่พระพุทธเจ้า
    (2) เวรัญชพราหมณ์ได้ไปในพุทธสำนัก ทูลปราศัยกับพระผู้มีพระภาค ฯลฯ แล้วจึงนั่งลง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วทูลถามว่า ข้าพเจ้าได้ทราบว่า พระสมณโคดมไม่ไหว้ ไม่ลุกรับ พวกพราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัยมาตามลำดับ หรือไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะ ฯลฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ในโลกทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ เราไม่เล็งเห็นบุคคลที่เราควรไหว้ ควรลุกรับ หรือควรเชื้อเชิญด้วยอาสนะ ฯลฯ
    เวรัญชพราหมณ์:ท่านพระโคดม มีปกติไม่ใยดี
    พระผู้มีพระภาค: จริงเช่นนั้น เพราะความใยดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพผะ เหล่านั้น ตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดานี้แหละนี้แหละที่เขากล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว
    เวรัญชพราหมณ์: พระโคดมไม่มีสมบัติ
    พระผู้มีพระภาค: จริงเช่นนั้น เพราะสมบัติ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพผะ เหล่านั้น ตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ฯลฯ
    เวรัญชพราหมณ์: พระโคดมกล่าวการไม่ทำ
    พระผู้มีพระภาค: จริงเช่นนั้น เพราะเรากล่าวการไม่ทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เรากล่าวการไม่ทำสิ่งที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง ฯลฯ <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เวรัญชพราหมณ์: พระโคดมกล่าวการขาดสูญ
    พระผู้มีพระภาค: จริงเช่นนั้น เพราะเรากล่าวความขาดสูญแห่ง ราคะ โทสะ โมหะ เรากล่าวสูญแห่งสภาพที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง ฯลฯ
    เวรัญชพราหมณ์: พระโคดมช่างรังเกียจ
    พระผู้มีพระภาค: จริงเช่นนั้น เพราะเราแสดงธรรมเพื่อกำจัด ราคะ โทสะ โมหะ แสดงธรรมเพื่อจำกัดสภาพที่เป็นบาปกุศลหลายอย่าง ฯลฯ
    เวรัญชพราหมณ์: พระโคดมช่างเผาผลาญ
    พระผู้มีพระภาค: จริงเช่นนั้น เพราะเรากล่าวธรรมที่เป็นบาปอกุศล คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ว่าเป็นธรรมที่ควรเผาผลาญ ซึ่งผู้ใดละได้แล้วตัดรากขาดแล้ว ฯลฯ
    เวรัญชพราหมณ์: พระโคดมไม่ผุดเกิด
    พระผู้มีพระภาค: จริงเช่นนั้น เพราะการนอนในครรภ์ต่อไป การเกิดในภพใหม่ อันผู้ใดละได้แล้วตัดรากขาดแล้ว ฯลฯ

    ทรงอุปมาด้วยลูกไก่

    (3) ดูกร พราหมณ์ เปรียบเหมือนฟองไข่หลายฟอง อันแม่ไก่กกดีแล้ว อบดีแล้ว ฟักดีแล้ว ลูกไก่ตัวใด ทำลายฟองไข่ออกมาได้โดยสวัสดีก่อนเขา ลูกไก่ตัวนั้นควรเรียกว่ากระไร จะเรียกว่าพี่หรือน้อง
    เวรัญชพราหมณ์: ท่านพระโคดม ควรเรียกว่าพี่ เพราะมันแก่กว่าเขา

    ทรงแสดงฌานสี่และวิชชาสาม
    พระผู้มีพระภาค: เราก็เหมือนอย่างนั้น เมื่อประชาชนตกอยู่ในอวิชชา เกิดในฟอง ผู้เดียวเท่านั้นในโลก ได้ทำลายฟองคือ อวิชชา แล้วได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม เรานั้นเป็นผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุดของโลก เพราะความเพียรของเราที่ปรารภแล้ว ไม่ย่อหย่อน สติดำรงมั่นไม่ฟั่นเฟือน กายสงบ ไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่นมีอารมณ์เป็นหนึ่ง
    ปฐมฌาน เรานั้นแลสงัดแล้วจากกาม จากอกุศลกรรม ได้บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร ปิติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่
    ทุติยฌาน เราได้บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก วิจาร เพราะวิตก วิจาร สงบไป มีปิติและสุข ซึ่งเกิดแต่สมาธิอยู่
    ตติฌาน เรามีอุเบกขาอยู่ มีสติ มีสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปิติสิ้นไป ได้บรรลุตติยญาณ ที่พระอริยทั้งหลายสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติมีสุขอยู่
    จตุตถฌาน เราได้บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อน ๆ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
    บุพเพนิวาสานุสสติญาณ เรานั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่องไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้วได้น้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ เรานั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เเป็นอันมาก คือ ระลึกชาติได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง...แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัลปเป็นอันมากบ้าง ว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขอย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพโน้นแล้ว ได้เกิดมาในภพนี้ เราย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอุเทศ พร้อมทั้งอาการ วิชชาที่หนึ่งนี้เราได้บรรลุแล้วในปฐมยามแห่งราตรี อวิชชาเรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ความมืดส่งจิตไปแล้ว ฉะนี้ ความชำแรกออกครั้งที่หนึ่งของเรานี้แล ได้เเป็นเหมือนการทำลายออกจากฟองของลูกไก่ ฉะนั้น
    จุตูปปาตญาณ เรานั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ดังนั้น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิตใจเพื่อญาณเครื่องรู้จุติ และอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เรานั้นย่อมเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต ผิวพรรณดี ผิวพรรณทรามได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงกรรมว่า หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบด้วย กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ หมู่สัตว์ที่เกิดเป็นอยู่เหล่านั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือว่าหมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบด้วย กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เราย่อมเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผุ้เข้าถึงตามกรรมด้วยประการฉะนี้ วิชชาสองนี้ เราได้บรรลุแล้วในมัชฌิมยามแห่งราตรี อวิชชา เรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ฯลฯ ความชำแรกออกครั้งที่สองเรานี้ได้เป็นเหมือนการทำลายออกจากฟองของลูกไก่ ฉะนั้น
    อาสวักขยญาณ เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ ฯลฯ ได้น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ เรานั้นได้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เหล่านี้อาสวะ นี้เป็นเหตุได้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อเรารู้อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตได้หลุดพ้นจาก กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ได้มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ได้รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี วิชชาสามนี้ เราได้บรรลุในปัจฉิมยามแห่งราตรี อวิชชาเรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ฯลฯ ความชำแรกออกครั้งที่สามของเรานี้ ได้เป็นเหมือนการทำลายออกจากฟองของลูกไก่ ฉะนั้น

     
  5. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    อสาตมันต์ชาดก

    -มูลเหตุที่พระพุทธองค์ทรงยก"อสาตมันต์ชาดก" ขึ้นสั่งสอนพระภิกษุสงฆ์ มีอยู่ว่า

    -มีพระภิกษุรูปหนึ่งเผลอสติไปหลงรักหญิงนางหนึ่ง จนอยากที่จะสึกออกไปครองเรือนตาม

    ใจหญิงนั้นที่มายั่วยวนและชักชวนอยู่บ่อยครั้ง

    -พระพุทธองค์จึงทรงเรียกพระภิกษุรูปนั้นมาซักถามความจริง เมื่อทรงทราบแล้วพระ

    พุทธองค์ทรงตักเตือนให้ระลึกถึงความดีที่ตั้งใจบำเพ็ญภาวนามาโดยตลอด และกล่าวให้

    เห็นโทษของหญิง โดยนำเรื่องที่พระพุทธองค์ทรงระลึกชาตินำมาเล่าคือ "อสาตมัน

    ตชาดก" เรื่องมีอยู่ว่า

    -ในอดีตกาล มีพราหมณ์ฐานะดีครอบครัวหนึ่ง มีบุตรชายที่มีลักษณะงดงาม บิดามารดาไม่

    ต้องการให้บุตรชายแต่งงาน แต่ต้องการให้ออกบวชประพฤติพรหมจรรย์ เมื่อสิ้นอายุขัยจะ

    ได้ไปเกิดในพรหมโลก อันเป็นความเชื่อของพราหมณ์สมัยนั้น

    -นางพราหมณีผู้เป็นแม่รู้อยู่แก่ใจว่าบุตรชายยังไม่อยากบวช จึงส่งบุตรชายไปเรียน

    ศิลปวิทยากับ "อาจารย์ทิศาปาโมกข์" ที่เมืองตักกสิลา และให้เลือกเรียนกับอาจารย์ที่เป็น

    โสด เพื่ออาจารย์จะได้มีเวลาทุ่มเทในการสอนให้แก่บุตรชายของตน

    -ชายหนุ่มตั้งใจเรียนจนสำเร็จ แล้วจึงเดินทางกลับบ้าน

    -นางพราหมณีผู้เป็นแม่ยังตั้งมั่นที่จะให้ลูกออกบวชด้วยพิจารณา"เห็นโทษของหญิง" ไม่

    ประสงค์จะให้บุตรชายแต่งงานครองเรือน

    -นางพราหมณีจึงแสร้งกล่าวถึง "วิชาอสาตมนต์" ว่าเป็นมนต์วิเศษน้อยคนที่จะได้เรียน

    ทำไมจึงไม่ขอเรียนจากอาจารย์

    -บุตรชายเมื่อรู้ว่ามีมนตร์วิเศษที่อาจารย์ยังไม่ได้สอน จึงรับกลับไปหาอาจารย์เพื่อขอเรียน

    มนตร์บทนี้

    -แต่อาจารย์ได้ออกจากสำนักทิศาปาโมกข์ เพื่อไปปรนนิบัติมารดาซึ่งมีอายุถึง 120 ปี

    โดยเข้าไปอาศัยอยู่ในป่าเสียแล้ว

    -ชายหนุ่มจึงออกติดตามหาอาจารย์จนพบ และขอเรียนอสาตมนต์

    -อาจารย์"เอะใจ" ว่า"มนต์บทนี้ไม่มีอยู่ในโลก" จึงได้ชวนศิษย์หนุ่มสนทนาถึงความเป็นไป

    ต่าง ๆ ของครอบครัวเขา จึงได้เข้าใจความต้องการที่แท้จริงของนางพราหมณีผู้เป็นมารดา

    ของศิษย์ อาจารย์จึงตกลงที่จะสอบ"อสาตมนต์"ให้

    -อาจารย์ได้มอบหมายให้เขาปรนนิบัติดูแลมารดาแทนตน และบอกนี่คือ"บทเรียน" โดย

    บอกวิธีปฏิบัติมารดาของอาจารย์ว่า "ทุกครั้งที่ปรนนิบัติต้องเยินยอ พรรณาความงามของ

    ท่านเมื่อสมัยที่ยังเป็นสาวไปด้วย เมื่อท่านตอบมาอย่างไรต้องมาเล่าให้อาจารย์ฟังทุก

    ครั้ง"อย่าปิดบังเด็ดขาด"

    -ศิษย์หนุ่มรับคำแล้วดำเนินตามคำสอนของอาจารย์ทุกอย่าง เช่น เมื่อชายหนุ่มบีบนวดแขน

    มารดาของอาจารย์ก็จะกล่าวชมว่า "แขนของคุณยายช่างสวยงามเหลือเกิน ขนาดอายุ

    มากยังงามอย่างนี้ เมื่อเป็นสาวคงงามไม่น้อย"

    -ศิษย์หนุ่มเอ่ยชมความงามทุกส่วนของร่างกายมารดาของอาจารย์

    -แม้ว่ามารดาของอาจารย์จะอายุถึง 120 ปี แถมตาบอดฟันหักหมดปากแล้วก็ตาม หญิง

    ชราจะถามกลับชายหนุ่มที่เอ่ยชม "จริงหรือ พ่อหนุ่มที่ยายสวยงามอย่างที่เจ้าเห็น"

    "จริงจ๊ะ คุณยาย หากฉันได้อยู่ครองเรือนกับคุณยายฉันคงมีความสุขมาก"

    -หญิงชรารู้สึกปลื้มใจและคิดว่า "ชายหนุ่มรักนางจริง" จึงอยากครองเรือนกับชายหนุ่ม และ

    คิดที่จำกำจัดลูกชายของตนซึ่งเป็นอาจารย์ของชายหนุ่ม

    -ศิษย์หนุ่มเล่าเรื่องราวทั้งหมดให้อาจารย์ฟัง อาจารย์นั่งตรวจดูพบว่า"มารดาจะสิ้นอายุขัย

    ในวันนี้"

    -จึงให้ศิษย์ไปหาตัดไม้มาท่อนหนึ่งขนาดสูงเท่าตัวอาจารย์ แล้วนำมาวางบนเตียงนอนของ

    อาจารย์พร้อมเอาผ้าคลุมไว้เหมือน"คนนอนหลับ" แล้วผูกราวเชือกไว้ที่เตียงโยงไปห้อง

    นอนของมารดา เพื่อให้มารดาใช้จับราวเดินมาที่เตียงได้

    -จากนั้นให้ศิษย์นำขวานไปให้มารดา เพื่อให้นำมาฆ่าอาจารย์

    -ครั้นนางรับขวานมาแล้วก็ลุกขึ้นเดินเกาะราวเชือกไปยังเตียงนอนของลูกชาย เมื่อมาถึง

    เตียงก็เอามือคลำตรงผ้าห่มรู้สึกเป็นคนนอนคลุมผ้าห่มอยู่

    -นางจึงยกเงื้อขวานแล้วฟันลงสุดแรง เมื่อขวานกระทบไม้กระดอนขึ้นมานางจึงรู้ว่าถูก

    หลอก

    -ทันทีนั้นบุตรชายก็ได้ถามมารดาขึ้น ด้วยความตกใจและด้วยความอับอายเข้าสู่หัวใจของ

    นาง นางถึงกับสิ้นสติล้มลงและขาดใจตายอยู่ ณ ที่นั้น

    -อาจารย์ถึงกับหลั่งน้ำตา พร้อมด้วยศิษย์ซึ่งรู้ซึ้งถึงพระคุณของอาจารย์ที่ยอมเสียสละแม้

    กระทั่งชีวิตมารดาของตน เพื่อสั่งสอนศิษย์ให้รู้ถึงโทษของหญิงแม้จะอยู่ในวัยชราก็หาได้

    ไว้ใจได้ไม่ ชายหนุ่มร้องไห้สะอึกสะอื้นคร่ำครวญก้มลงกราบอาจารย์แล้วกอดที่ขาทั้งสอง

    ของอาจารย์ไว้แน่นด้วยรู้ซึ้งถึงความรักและความเมตตาที่อาจารย์มีต่อศิษย์

    -เมื่อเสร็จจากการเผาศพมารดาของตนแล้ว อาจารย์จึงบอกกับศิษย์ว่า "วิชาอสามนต์"ไม่

    มีอยู่ในโลก แต่มารดาของศิษย์ต้องการให้มองเห็น"โทษของหญิง" และตอนนี้ก็ได้เห็น

    แล้ว จากนั้นศิษย์ก็ได้กราบลาอาจารย์กลับบ้าน

    -หลังจากนั้น ชายหนุ่มจึงลาบิดามารดาเข้าป่าบวชเป็นฤาษีบำเพ็ญภาวนา จนกระทั่งสิ้น

    อายุขัย ไปบังเกิดในพรหมโลก

    -หญิงชรา มากำเนิดเป็น ภิกษุณีชื่อ "ภัททกาปิลานี"

    -บิดาของชายหนุ่ม มากำเนิดเป็น "พระมหากัสสป"

    -ศิษย์หนุ่ม มากำเนิดเป็น "พระอานนท์"

    -อาจารย์ เสวยชาติเป็น "พระพุทธเจ้า"

    ข้อคิดให้เห็นคือ เมื่อกิเลสตัณหาเกิดขึ้นในจิตใจมนุษย์ย่อมทำอะไรก็ได้ตามใจกิเลสตัณหา

    นั้น และเป็นอริกับผู้มีความพากเพียรเสมอ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 เมษายน 2011
  6. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    สหชาตทั้ง 7 ของพระพุทธเจ้า

    -เมื่อพระนางสิริมหามายา กำหนดพระประสูติกาลก็เสด็จจากกรุงกบิลพัสดุ์ไปยัง

    กรุงเทวทหะอันเป็นเมืองตระกูลของพระนาง (ตามธรรมเนียมพราหมณ์ฝ่ายหญิง

    ต้องกลับไปคลอดที่บ้านบิดามารดา)

    -เมื่อขบวนผ่านมาถึงอุทยานลุมพินีซึ่งตั้งอยู่ระหว่างนครทั้งสอง พระนางทรงเจ็บ

    ครรภ์ ข้าราชบริพารจึงจัดที่ประสูติถวายใต้ต้นสาละใหญ่ และได้ทรงประสูติกุมาร

    คือ "เจ้าชายสิทธัตถะ"

    -ในวันนั้นมีมนุษย์และสัตว์กับสิ่งที่เป็นสหชาติมงคลบังเกิดร่วมกับพระองค์ 7 อย่าง

    ด้วยกัน หมายถึง ผู้ร่วมเกิดเป็นสหชาติของพระพุทธเจ้า คือ

    1.พระนางพิมพา เป็นราชบุตรีของพระเจ้าสุปปพุทธะ กรุงเทวทหะ ต่อมาเป็นพระ

    ชายาของเจ้าชายสิทธัตถะเมื่อมีพระชนมายุ 16 พรรษา มีพระโอรส คือ พระราหุล

    ภายหลังออกบวชมีพระนามว่า "พระภิษณีภัททกัจจานา"

    2.พระอานนท์ เป็นเจ้าชายในศากยวงศ์ พระโอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ ซึ่งเป็น

    พระเจ้าอาของเจ้าชายสิทธัตถะ ท่านออกบวชและได้รับเลือกเป็น"พระ

    อุปัฏฐาก"ประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้า ได้รับยกย่องเป็นเอกทัคคะในหลาย

    ด้าน เช่น เป็นพหูสูตร เป็นต้น ท่านบรรลุอรหันต์หลังจากพระพุทธองค์ปรินิพพาน

    แล้ว 3 เดือน เป็นองค์หนึ่งที่ร่วมสังคายนาครั้งแรก ท่านมีอายุ 120 ปี จึงนิพพาน

    ในอากาศเหนือแม่น้ำโรหิณี ซึ่งเป็นเส้นกั้นแดนระหว่างแคว้นของพระญาติทั้งสอง

    คือ ศากยะ และ โกลิยะ

    3.นายฉันนะ เป็นคนสนิทและเป็นสารถีของเจ้าชายสิทธัตถะ ในวันเสด็จออกบวช

    นายฉันนะตามเสด็จไปด้วย ภายหลังบวชเป็นภิกษุถือตัวว่าเป็นคนสนิทของพระ

    พุทธเจ้ามาก่อน ใครตักเตือนสอนสั่งก็ไม่ฟัง หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว

    ถูกสงฆ์ลงพรหมฑัณฑ์จึงหายพยศและได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์

    4.อำมาตย์กาฬุทายี เป็นพระสหายของเจ้าชายสิทธัตถะตั้งแต่เยาว์วัย พระเจ้าสุ

    ทโธนะส่งไปทูลเชิญพระพุทธองค์มากรุงกบิลพัสดุ์ ครั้นได้ฟังพระธรรมได้บรรลุ

    เป็นพระอรหันต์ อุปสมบทแล้วทูลเชิญพระพุทธเจ้าเสด็จมากรุงกบิลพัสดุ์ ท่านได้

    รับยกย่องว่า เป็นเอกทัคคะในบรรดาผู้ทำตระกูลให้เลื่อมใส

    5.ม้ากัณฐกะ ม้าพระที่นั่งของเจ้าชายสิทธัตถะ ตัวม้ายาวจากคอถึงหาง 18 ศอก

    ส่วนสูงก็เหมาะสมกับความยาว มีสีขาวผ่องเหมือนเปลือกหอยสังข์ขาวสะอาด ใน

    ราตรีที่เจ้าชายสิทธัตถะหนีออกบวช ได้ขี่ม้ากัณฐกะไปโดยมีนายฉันนะเกาะหาง

    ม้า ม้ากัณฐกะเดินทางถึงแม่น้ำอโนมาใช้เวลาเที่ยงคืนถึงเช้าวิ่งได้ระยะทาง 30

    โยชน์หรือ 480 กิโลเมตร กระโดดครั้งเดียวก็ข้ามแม่น้ำอโนมา และเจ้าชายจึง

    สั่งให้ม้ากลับไป ม้าเดินจากไปด้วยความเสียใจและอาลัยอาวรณ์พอลับจากเจ้า

    ชายก็ถึงแก่ความตายไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ชื่อว่า "กัณฐกเทวบุตร"

    6.ต้นมหาโพธิ์ เจ้าชายสิทธัตถะได้บำเพ็ญเพียรจนบรรลุโพธิญาณในวันเพ็ญ

    เดือน 6 ใต้ต้นโพธิ์ ภายในป่าสาละใกล้แม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา เสนานิคม

    แคว้นมคธ

    7.ขุมทรัพย์ทั้งสี่ คือ ขุมทอง 4 ขุม ได้แก่ ขุมทองสังขนิธี ขุมทองเอลนิธี ขุมทอง

    อุบลนิธี ขุมทองปุณฑริกนิธี.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 44533311(1).jpg
      44533311(1).jpg
      ขนาดไฟล์:
      17.4 KB
      เปิดดู:
      107
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2011
  7. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    ภัยของสตรีว่าด้วยเรื่องของกาม

    -กว่าผมจะได้เข้ามาเขียนต่อได้ "แอร์การ์ด" ของผมต้องต่อสู้กับชาวเน็ตที่ต่อ

    เข้า"พลังจิต" อย่างมากมาย "ดึงกันจนพาหนะของผมล่มหลายครั้ง"

    -วันนี้คงฤกษ์ดี ฝนตกที่จังหวัดชัยนาท ต่อกระทู้ได้เหมือนฟลุ๊คครับ

    -ในสมัยพุทธกาลมีพระภิกษุรูปหนึ่ง มีความพอใจสตรีนางหนึ่ง เมื่อแรกพบขณะออก

    บิณฑบาต จิตใจร้อนรุ่มอยากจะพบแต่สตรีนางนั้น ไม่เป็นอันปฏิบัติธรรม

    -เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบ จึงเรียกพระภิกษุรูปนั้นมาสอบถาม แล้วจึงทรงนำเรื่อง

    "ตักกชาดก" มาตรัสเล่าให้สำนึกในวิบากกรรมจากสตรี ความว่า

    -ในอดีตกาล เศรษฐีผู้หนึ่งมีธิดาสาวรูปร่างงดงาม แต่นางเป็นคนเจ้าอารมณ์ ปากร้าย มือ

    ไว นางชอบด่าบ่าวไพร่ บ่าวไพร่จะทำดีต่อหน้าของนางเท่านั้นลับหลังจะนินทาและรัง

    เกลียด

    -วันหนึ่งธิดาเศรษฐีและบริวารพากันไปเล่นน้ำที่แม่น้ำ ขณะนั้นมีเมฆฝนได้ตั้งเค้ามา บ่าว

    ไพร่จึงพากันหนีกลับบ้าน ทิ้งธิดาเศรษฐีไว้ที่แม่น้ำ

    -พอตกค่ำธิดาเศรษฐียังไม่กลับบ้าน เศรษฐีจึงระดมบ่าวไพร่ตามหา แต่ไม่พบ

    -เหตุเพราะนางถูกกระแสน้ำพัดไหลไปยังป่าแห่งหนึ่ง โดยนางได้ลอยมาถึงหน้าศาลาของ

    ฤาษีหนุ่ม

    -ฤาษีหนุ่มได้ยินเสียงนางจึงถือคบไฟออกมาดูและช่วยนางขึ้นจากน้ำ และจัดที่พักให้นาง

    นอนในศาลาแทนตน

    -วันรุ่งขึ้นได้หาผลไม้มาเลี้ยงเพื่อให้นางมีกำลังเดินกลับบ้าน แต่นางขออยู่ต่อโดยอ้างว่า

    ยังไม่หายอ่อนเพลีย

    -ความจริงธิดาเศรษฐีมีความพอใจในฤาษีหนุ่มต้องการได้เป็นสามี นางจึงใช้มารยาพูดจา

    อ่อนหวาน ถูกเนื้อต้องตัว จนฤาษีหนุ่มตบะแตกตกอยู่ในอำนาจของสตรี และได้นางเป็น

    ภรรยา

    -ต่อมานางขอให้ฤาษีพาไปอยู่ในเมือง โดยปลูกกระท่อมอยู่ชายแดนของเมือง

    -ฤาษีสึกเป็นชายหนุ่มธรรมดาตั้งแต่ได้นางเป็นภรรยา และได้ยึดอาชีพเป็นพ่อค้าขายนม

    เปรี้ยว และยังอบรมชาวบ้านให้รู้จักผิดชอบชั่วดี ชาวบ้านเคารพยกย่องและเรียกท่าน

    ว่า "ตักกบัณฑิต"

    -ต่อมามีโจรป่าบุกมาปล้นสะดมหมู่บ้านชายแดน

    -หัวหน้าโจรได้พบธิดาเศรษฐีเข้าจึงพานางไปเป็นภรรยาและเลี้ยงดูอย่างมีความสุข แต่

    นางไม่ต้องการกลับไปอยู่กับตักกบัณฑิตอีก

    -นางจึงคิดหาทางกำจัดตักกบัณฑิตให้พ้นทาง โดยให้คนส่งข่าวบอกให้สามีช่วยพานาง

    หนีจากโจร

    -ตักกบัณฑิตจึงมาตามอุบายของนาง นางพาเขาไปซ่อนตัวในยุ้งข้าว แล้วก็ไปบอกหัว

    หน้าโจรว่ามีศัตรูอยู่ที่ยุ้งข้าว

    -หัวหน้าโจรคว้าดาบไปเพื่อฆ่า เมื่อเห็นเขาก็กระชากลากคอมาที่ลานและสั่งสมุนโจรซ้อม

    โดยใช้แส้โบยหลัง

    -ทุกครั้งที่แส้กระทบหลังเขาจะกล่าวคำ 4 คำ คือ "ขี้โกรธ อกตัญญู ชอบส่อเสียด

    ประทุษร้ายมิตร"

    -หัวหน้าโจรโกรธและคิดว่า"ด่าตน" จึงไม่ใส่ใจฟังให้สมุนโบยต่อไป แต่ตนเองดื่มสุราจน

    หลับ

    -พอรุ่งเช้าสร่างเมา จึงให้สมุนโบยต่อ ตักกบัณฑิตก็ร้องเพียง 4 คำสลับกันไปมาเท่านั้น

    -หัวหน้าโจรสงสัยจึงสั่งให้หยุดโบยแล้วถามความเป็นมาของคำทั้ง 4 คำนั้น

    ตักกบัณฑิตจึงเล่าเรื่องราวทั้งหมดให้ฟัง

    -หัวหน้าโจรคิดทบทวนดูได้ความว่า "นางคนสวยคนนี้เป็นคนอกตัญญู ต่อไปนางคงคิดฆ่า

    ตนได้เหมือนกัน"

    -จึงนำตัวนางมา แสร้งบอกให้นางจับมือตักกบัณฑิตไว้ แล้วหัวหน้าโจรทำทีจะฟัน

    ตักกบัณฑิต แต่กลับใช้ดาบมาฟันนางขาดสองท่อน

    -หัวหน้าโจรสั่งให้รักษาทำแผลให้ตักกบัณฑิต แล้วจึงขอขมา

    -ตักกบัณฑิตให้อภัยแล้วสอนหลักธรรมให้นายโจร แล้วตักกบัณฑิตก็เดินทางกลับไปบวช

    เป็นฤาษีบำเพ็ญเพียรดังเดิม หัวหน้าโจรก็ตามไปขอบวชเป็นฤาษีด้วยกัน

    -ทั้งสองคนบำเพ็ญภาวนาจนสำเร็จอภิญญา 5 สมาบัติ 8 เมื่อสิ้นชีวิตไปบังเกิดใน

    พรหมโลกทั้งคู่

    -นายโจร ต่อมากำเนิดเป็น พระอานนท์

    -ตักกบัณฑิต เสวยชาติ เป็นพระพุทธเจ้า

    -ข้อคิดที่ได้ นักบวชให้มีตบะแก่กล้าขนาดไหนย่อมพินาศด้วยกิเลสจากสตรี พร้อมทั้งเป็น

    ข้อศึกษาความสัมพันธ์ในอดีตชาติของพระพุทธเจ้ากับพระอานนท์ครับ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 2586.jpg
      2586.jpg
      ขนาดไฟล์:
      8.6 KB
      เปิดดู:
      419
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2011
  8. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    ปลาหนุ่มผู้ลุ่มหลงในนางปลา

    -มีพระภิกษุรูปหนึ่งในสมัยพุทธกาล มีภริยาแล้วแต่ตัดใจออกบวชเป็นสาวกของพระ

    พุทธองค์

    -แต่เมื่อบวชแล้ว นางผู้เป็นภริยาก็มักจะนำอาหารที่ท่านชอบมาถวายอยู่เสมอ และทุกครั้ง

    นางจะแต่งตัวอย่างสวยงามและนำเรื่องของการครองเรือนมาพูดพรรณาให้พระภิกษุผู้ที่เคย

    เป็นสามีอยู่เป็นประจำ ทำให้ท่านไม่สงบกระวนกระวายและอยากสึกกลับไปครองเรือนกับ

    ภริยาตามเดิม

    -พระพุทธองค์ทรงทราบความรู้สึกของพระภิกษุรูปนี้ และปรารถนาจะเตือนสติให้ล้มเลิก

    ความตั้งใจที่จะหวนกลับไปเวียนว่ายในกองทุกข์อีก จึงทรงระลึกชาติแต่หนหลังให้เห็น

    กรรมเก่าของพระภิกษุรูปนี้ คือเรื่อง "มัจฉาชาดก"

    -ความว่าในอดีตกาล ณ คุ้งน้ำหน้าเมืองพาราณสี เหล่าปลาหลายพันธุ์อยู่ร่วมกันอย่างผา

    สุขมานาน

    -และมีปลาหนุ่มตัวใหญ่ตัวหนึ่งในคุ้งน้ำนั้น เกิดหลงรักใคร่นางปลาสาวที่ได้พบเห็น จึง

    ว่ายตามหยอกเย้าอยู่ด้วยกันไม่ยอมห่างทุกวัน

    -ขณะว่ายน้ำเคียงคู่กันอยู่ นางปลาได้กลิ่นตาข่ายของชาวประมงที่ดักไว้ จึงว่ายหลบ

    ออกไปทันที ฝ่ายปลาหนุ่มคิดแต่จะไล่ต้อนปลาสาว ไม่สนใจอะไรจึงว่ายเลยไปติด

    ตาข่าย

    -ฝ่ายนางปลาสาวนั้นไม่ได้อาลัยใยดีเท่าไร เพราะรักชีวิตตนยิ่งกว่า จึงทิ้งปลาหนุ่มหนี

    เอาตัวรอดไป

    -ชาวประมงยกตาข่ายขึ้นบนเรือจับปลาใหญ่ได้ จึงโยนไปรวมกับปลาที่ตนจับได้ก่อนหน้า

    นั้น แล้วก่อไฟเตรียมย่างปลากิน

    -ปลาใหญ่ดิ้นทุรนทุรายรอความตาย แทนที่จะกลัวตายกลับไปรำพึงรำพันถึงนางปลาสาว

    กลัวว่าจะทุกข์ใจที่ไม่ได้เห็นตน กังวลไปต่าง ๆนานา

    -ปลาหนุ่มกลัวว่านางปลาจะเข้าใจผิดว่าตนหนีไปมีปลาสาวตัวใหม่ กลัวว่านางปลาสาวจะ

    ไปมีคู่ใหม่ไม่ปรารถนาตน กลัวว่านางปลาสาวจะขาดผู้ดูแล โดยที่มันไม่ได้ห่างตัวมัน

    เองเลย

    -ขณะนั้น พราหมณ์ปุโรหิตของพระเจ้าพรหมทัตซึ่งเป็นผู้รู้ภาษาสัตว์ทั้งหลายกำลังเดิน

    ผ่านมา ได้เห็นปลาหนุ่มกำลังดิ้นทุรนทุรายและร้องไห้คร่ำครวญถึงนางปลาโดยไม่ห่วงใย

    ตนเองเลย

    -พราหมณ์ปุโรหิตสงสารคิดว่า "ถ้าปลาตัวนี้ตายขณะมีจิตเร่าร้อนอยู่ด้วยกามราคะ จะต้อง

    ไปเกิดในนรกแน่นอน" จึงคิดช่วยเหลือ

    -พราหมณ์ปุโรหิตจึงเดินไปหาชาวประมงแล้วเอ่ยขอปลาหนุ่ม ชาวประมงยินดียกให้

    -เมื่อได้ปลามา ก็นำไปที่ท่าน้ำแล้วกล่าวสั่งสอนว่า "เพราะความรักใคร่ติดพันนางปลา ทำ

    ให้เจ้าเกือบจะต้องตาย ถ้าไม่บังเอิญเรามาพบเจ้าก่อนเจ้าคงไม่รอดแน่ ต่อไปนี้เจ้าต้อง

    หมั่นสำรวมระวัง อย่าปล่อยให้อำนาจกิเลสเข้าครอบงำ อย่ามัวหลงติดอยู่ในกามอีกเลย"

    กล่าวเสร็จก็ปล่อยปลาลงน้ำไป

    -พระพุทธองค์ตรัสเล่ากรรมในชาติเก่าจบ ทรงแสดงธรรม พระภิกษุได้สำเร็จโสดาบัน โดย

    เข้าใจธรรมข้อลุ่มหลงนั้น

    -นางปลาสาว ต่อมาเกิดเป็น ภรรยาของพระภิกษุ

    -ปลาหนุ่ม ต่อมาเกิดมาเป็น พระภิกษุผู้อยากสึกรูปนี้

    -พราหมณ์ปุโรหิต เสวยชาติเป็นพระพุทธเจ้าในกาลต่อมา

    ข้อคิดที่ได้ สถานการณ์คับขันเพียงใด ผู้ที่กำลังมืดบอดด้วยความหลงก็ไม่อาจมีปัญญา

    แก้ไขได้ครับ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 40.jpg
      40.jpg
      ขนาดไฟล์:
      10.2 KB
      เปิดดู:
      384
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2011
  9. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    ความมีใจโลเลของอีกา

    -ในสมัยพุทธกาลมีพระภิกษุใจโลเลรูปหนึ่ง ซึ่งปฏิธรรมโดยไม่มีความตั้งใจที่แน่วแน่ ไม่

    มีความเพียรอย่างสม่ำเสมอ จึงไม่อาจจะบรรลุธรรมใด ๆ ได้เลย เพื่อนพระภิกษุจึงพามา

    เข้าเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อทรงชี้แนะแนวทางปฏิบัติธรรมให้บังเกิดผล

    -พระพุทธองค์จึงทรงสอบถาม ท่านยอมรับความประพฤติของท่าน

    -พระพุทธองค์ทรงระลึกชาติหนหลังของพระภิกษุรูปนี้ พร้อมกับตรัสเล่าเรื่องสั่งสอนให้ฟัง

    ความว่า "เมื่อชาติก่อน ๆเธอเคยต้องสิ้นชีวิตเพราะความโลเลของเธอเอง มิหนำซ้ำยัง

    เป็นเหตุให้ บัณฑิตผู้หนึ่งต้องพลัดพรากจากที่อยู่อาศัยอีกด้วย"

    -และทรงเล่าเรื่อง"กโปตกชาดก" ให้เป็นอุทาหรณ์ ดังนี้

    -ในอดีตกาล ณ กรุงพาราณสี ชาวเมืองนิยมแขวนกระเช้าหญ้าไว้ในที่ต่าง ๆ เพื่อให้เป็น

    ทานที่อยู่อาศัยของบรรดานกทั้งหลาย

    -นกพิราบตัวหนึ่งได้อาศัยอยู่ในกระเช้าหญ้าที่ชายคาโรงครัวบ้านเศรษฐีคนหนึ่ง ทุกเช้า

    นกพิราบจะบินออกไปหากิน และตกเย็นก็จะบินกลับมานอนในกระเช้าอย่างเป็นปกติสุข

    เรื่อยมา

    -วันหนึ่งมีอีกาตัวหนึ่งบินผ่านโรงครัวได้กลินหอมของอาหาร อยากลิ้มลองรสชาดจึงบิน

    มาเกาะอยู่บนกิ่งไม้ใกล้ ๆ พร้อมทั้งใช้อุบายพูดเอาใจนกพิราบว่าอยากมาอยู่เป็นเพื่อน

    ใกล้ ๆ เพราะชอบใจนกพิราบ

    -นกพิราบรู้สึกผิดปกติจึงถามว่า "เจ้ากินอาหารที่มีเลือดมีเนื้อ ส่วนเรากินเมล็ดพืช เราจะ

    ไปด้วยกันได้หรือ"

    -กาตอบ "อยู่ด้วยกันได้ เพราะไม่ต้องแย่งอาหารกินกัน เช้าบินออกไปหากินพร้อมกัน

    แล้วต่างก็แยกย้ายกันออกหาอาหาร ถึงเลาเย็นก็บินกลับรังพร้อมกันก็ได้นี่นกพิราบ"

    -เมื่อกายืนยันเช่นนั้น นกพิราบก็ยอมให้กาอยู่ด้วย แต่ก็ไม่ไว้ใจกา จึงเตือนว่า "เจ้าอย่า

    ได้ไปลักอาหารในครัวกินเป็นเด็ดขาด มิฉะนั้นจะพากันเดือดร้อน"

    -อีการับคำ

    -ฝ่ายพ่อครัวที่อยู่โรงครัวเห็นว่า กาเป็นเพื่อนกับนกพิราบก็ไว้ใจ จึงหากระเช้าหญ้ามา

    แขวนให้กาอีกกระเช้าหนึ่ง นับแต่นั้นมา นกทั้งสองก็บินไปหากินแล้วกลับรังพร้อม

    กันทุกวัน

    -อยู่มาวันหนึ่ง มีคนนำปลาและเนื้อสัตว์เป็นจำนวนมากมาฝากเศรษฐี พ่อครัวจึงนำมา

    แขวนไว้ในโรงครัว กาเห็นแล้วนึกอยากกิน จึงคิดหาวิธีที่จะกินให้ได้

    -รุ่งเช้ากาแกล้งทำเป็นปวดท้องบินไม่ไหว นกพิราบรู้ทันจึงพูดว่า "ถ้าเจ้าเห็นแก่ความ

    อยาก เจ้าต้องได้รับกรรมตามสนองแน่" ว่าแล้วนกพิราบก็บินออกไปหากินแต่เพียงลำพัง

    -ฝ่ายพ่อครัวได้ลงมือประกอบอาหารหลายอย่างด้วยปลาและเนื้อที่ได้มา เมื่อเสร็จจึงใส่

    หม้อนึ่งตั้งไฟ บ้างก็หมักเอาไว้โดยเปิดฝาแง้มไว้ ให้อากาศถ่ายเท แล้วเอากระชอน

    ครอบไว้อีกชั้นหนึ่งเพื่อกันแมลงวัน จากนั้นก็เดินออกจากครัว

    -กาเห็นโอกาสเหมาะจึงบินลงจากกระเช้าแอบใกล้ ๆกระชอน แต่ปีกไปกระทบถูกกระชอน

    เสียงดัง พ่อครัวได้ยินจึงกลับมาดูเห็นกากำลังขยับปีกบินหนี จึงโมโหปิดประตูต้อนจับ

    กาได้ จากนั้นก็จับถอนขนจนหมด เอาขึงสด เกลือป่น เนยเปรี้ยว คลุกทาที่ตัวกา แล้ว

    โยนลงกระเช้าของมัน

    -ครั้นตกเย็นนกพิราบกลับมา เห็นกาไม่มีขนตัวเกลี้ยง นอนหายใจแขม่ว ๆ ด้วยความเจ็บ

    ปวดและกำลังจะขาดใจตาย จึงพูดขึ้นว่า "เจ้าได้รับความทุกข์เช่นนี้ เพราะนิสัยโลเลทำดี

    ไม่ได้ตลอด เอาแต่ความโลภเป็นที่ตั้งไม่เชื่อฟังเรา"

    -แล้วนกพิราบก็กล่าวสุภาษิตให้กาฟังว่า "ผู้ใดไม่ทำตามคำสอนของผู้อนุเคราะห์ ผู้นั้น

    ย่อมถึงความฉิบหาย เศร้าโศกเหมือนกาไม่เชื่อฟังคำ และตกอยู่ในอันตรายนั้น"

    -ครั้นแล้ว นกพิราบคิดว่า "ตนคงอยู่ที่ดรงครัวต่อไปไม่ได้แล้ว เพราะกาทำให้พ่อครัวไม่

    ไว้วางใจ อันตรายอาจมาถึงตัว" จึงบินไปหาที่อยู่ใหม่ ส่วนกาก็นอนตายอยู่ในกระเช้า

    นั้นเอง

    -อีกา ต่อมากำเนิดเป็น พระภิกษุผู้มีใจโลเล

    -นกพิราบ เสวยชาติเป็น พระพุทธเจ้า

    -ข้อคิดที่ได้ ผู้ใดไร้สัจจะและมีความคิดโลเล ย่อมนำพาตนและมิตรให้พินาศได้ง่าย จึง

    ไม่ควรคบหา เพราะจัดอยู่ในพวกคนพาลในมงคล 38 ประการครับ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2011
  10. sakuda

    sakuda เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +2,214
    ผมยังติดตามอ่านอยู่เรื่อยๆนะครับ ได้ความรู้มากมายครับ อนุโมทนาด้วยจริงๆ
    รบกวนถามเรื่องพระพุทธเจ้าทางมหายานนิดนึงนะครับ อย่างพระพุทธเจ้า 5 ทิศ ที่ประกอบด้วย พระไวโรจนะ พระอมิตาภะ พระรัตนสัมภาวะ เป้นตำแหน่งของอะไรเหรอครับ และท่านยังอยู่ไหมครับ ขอความรู้ด้วยครับ
     
  11. nuanhadyai@hotmail

    nuanhadyai@hotmail เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    8,545
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +25,205
    อ่านแล้วมีแต่ผู้หญิงนำภัยมาให้นะคะ.....

    "กรรมเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล เหมือนใครกินข้าวก็อิ่มท้องตน ใครไม่กินก็ไม่อิ่ม ไม่มีใครจะช่วยกินแทนได้ เพราะเป็นเรื่องท้องของแต่ละคน เรื่องของกฎแห่งกรรม ฉันใดก็ฉันนั้น
    " แต่เรื่องของกรรมเป็นเรื่องสลับซับซ้อนลึกซึ้งอยู่ เพราะผู้ทรงศีลบริสุทธิ์มีบารมีมาก สมารถจะแผ่กุศลบารมีของท่านทางกระแสจิตให้เขาพ้นทุกข์ได้ ด้วยการอ่าน หรือเทศนาธรรมให้เขาฟัง"
    "บางทีเขาจะได้สติรำลึกได้ถึงกรรมดีกรรมชั่ว แล้วก็กรรมนิมิตที่ดี บังเกิดความอิ่มเอิบชุ่มชื่นใจ ซาบซึ้งในในรสพระธรรม
    "วิญญาณของเขาก็จะดับจากภพสัมภเวสีปีศาจอสุรกาย ได้ไปเกิดภพใหม่ที่ดีกว่าที่เป็นอยู่เดิมนี้ก็ได้"
    ถ้าเขาไม่ได้สติรำลึกถึงกรรมดีกรรมชั่ว จิตยังวนเวียนอยู่ไม่หลุดพ้น

    พระคาถาของสมเด็จพระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัสไว้ว่า
    ....เอกาทสหิ อคคีหีติ ราคะ โทสะ โมหะ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวทุกข โทมนส สุสุปายาสงขาเตหิ เอกาทสหิ อัคคีหิ"

    "อันว่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย ทั้งมนุษย์และเทวดา ได้ถูกไฟ ๑๑ กองนี้เผาอยู่เสมอ เป็นเหตุให้ได้รับทุกข์นานาประการ"

    ติดตามอ่านด้วยคนนะคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 มกราคม 2011
  12. สวนพลู

    สวนพลู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    6,596
    ค่าพลัง:
    +18,651
    หวัดดีครับพี่ชาย

    ซื้อของที่จะไปถวายวัดโคกหม้อแล้วหรือยังครับ พอดีเติมเงินไปหลายรอบแล้วพี่ เงินหมดแล้วเลยไม่ได้โทรไปคุยครับ

    แต่มาอ่านธรรมมะของพี่นิดๆหน่อยๆ มันยากนักที่จะตัดเรื่องกาม ผมเคยถามแฟนผมถ้าผมหนีบวชจะทำงัย เขาก็บอกว่าไม่ให้บวช 555+ ก็ไม่ได้โจมตีผู้หญิงน่ะครับ แต่ผมรู้สึกว่าความยึดติดในตัวตนของผู้หญิงค่อนข้างมีเยอะมาก บางคนที่รู้จักน่ะครับ ก็ปฏิบัติธรรม เดินทางหาอาจารย์สอนดีๆ ถึงขั้นอธิฐานว่าถ้าจะไปเรียนกรรมฐานกับใครต่อไปนี้ ขอให้ตัวเองได้พบกับพระอรหันต์ ผมงงเลยครับ ถ้าได้เรียนกับพระอรหันต์แล้วยังไง สุดท้ายแล้วท่านก็ช่วยเราเป็นอรหันต์โดยไม่ต้องปฏิบัติไม่ได้อยู่ดี เขาที่พูดถึงก็แก่แล้ว เป็นแม่ของเพื่อนผมเอง ผมก็ไม่สาวต่อน่ะครับ จนป่านี้เขายังไม่รู้จักกับวิปัสนากรรมฐานเลย ผมไปบอกเขา เขาก็บอกว่าเขาจิตนิ่งแล้ว แล้วผมก็ถามว่า นิ่ง แล้วยังไงต่อ เขาก็บอกว่า แค่นิ่งก็พอแล้ว พระอาจารย์สอนมา ผมนึกในใจว่า สงสัยพระที่สอนก็คงได้แค่นิ่ง สงบ บางทีแกก็ไปนั่งที่วัดเป็นอาทิตย์ กลับมาแล้วก็ยังด่าผัว โวยวาย สุดท้ายเมื่อเราเด็กกว่า พูดแล้วไม่เชื่อ ก็ตามใจเขาครับ ตัวของเขา ส่วนผมก็ยังกินเหล้า ไม่ได้มีดี แต่ก็ไม่ได้มีเลวมากมายอะไร เพราะเมาแล้วก็นอน อันนี้ยกตัวอย่างของผู้หญิงประเภทหนึ่ง ครับ
     
  13. nuanhadyai@hotmail

    nuanhadyai@hotmail เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    8,545
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +25,205
    ไฟ ๑๑ กองนี้คือ

    ๑.ราคะ ได้แก่ ความกำหนัดชอบใจ อยากได้กามคุณ๕ มีรูปเป็นต้น
    ๒.ไฟโทสะ คือ ความโกรธมีความไม่พอใจเป็นลักษณะ
    ๓.ไฟโมหะ ได้แก่ ความลุ่มหลงในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ลังเลใจฟุ้งซ่าน ไปตามอารมณ์
    ๔.ชาติ คือ ไฟแห่งความเกิดอันเป็นทุกข์
    ๕.ชรา คือ ไฟแห่งความแก่อันเป็นทุกข์
    ๖.มรณะ คือ ไฟแห่งความตายเป็นทุกข์
    ๗.โสกะ คือ ไฟแห่งความโศกเศร้า
    ๘.ปริเทวะ คือ ไฟแห่งความบ่นเพ้อร่ำไรรำพัน
    ๙.ทุกขัง คือ ไฟแห่งความทุกข์ลำบากกาย
    ๑๐.โทมนัส คือ ไฟแห่งความเสียใจ
    ๑๑.อุปายาโส คือ ไฟแห่งความคับแค้นใจ

    ไฟทั้ง ๑๑ กองนี้แหละเผาสนสรรพสัตว์ทั้งหลายให้ต้องพากันเวียนว่ายตายเกิดได้รับทุกข์ต่างๆ ในวัฏสงสารตลอดกาลอันยาวนาน
    ผู้ใดรักษามิให้ขาดตกบกพร่อง ไหว้พระสวดมนต์เจริญสมถะและวิปัสสนาตามสมควร ได้ปัญญาตามวาสนาบารมี
    โอกาสที่จะพ้นจากการท่องเที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่เกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิดเป็นวัฏจักร
    ก็พอมองเห็นทางมรรคผล นิพพาน อยู่ไม่ไกลไม่ใกล้จะพ้นการจากเวียนว่ายตายเกิด

    *ทุกวันนี้ก็ยังอยู่ใน ไฟ ๑๑ กองนี้ค่ะ
     
  14. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    -เรื่อง"มหายาน"อันนี้ "ท่านอริยมุนี" ท่านค่อนข้างแตกฉานมากเลยครับ

    -ผมขออนุญาต ขอความกรุณาต่อ"ท่านอริยมุนี" ช่วยตอบข้อข้องใจให้กับ

    sakuda ด้วยครับ.
     
  15. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931

    -คุณนวลพรรณครับ...เป็นเรื่องของ"ชาดก" ที่ผมเพียรพยายามหามา

    ให้"เพื่อนสมาชิกและผู้อ่านกระทู้กลับมาศรัทธาเคารพในพระพุทธองค์"

    ให้มีความรำลักถึง"พระพุทธองค์"ในกระทู้นี้เพียงเล็กน้อยในแต่ละวันก็จะดี

    -ผมคิดว่า"การนำเรื่องราวของพระพุทธองค์"มาเขียนเป็นการทำความดีที่นำ"ความเป็นมงคลมาสู่ห้อง

    ประสบการณ์เรื่องเล่า" และ"นำมงคลมาสู้เพื่อนสมาชิกและผู้อ่านกระทู้ครับ

    -ผมเขียนเรื่อง"พระพุทธองค์ท่าน" ตั้งแต่วันพ่อ"5 ธันวาคม 2553"แล้วครับตอนแรกก็รู้สึกว่า"อยู่

    อย่างโดดเดียว" เหมือนฉายาในหนังจีน"โดดเดียวร้อยลี้"จริง ๆแต่ความชอบใจในเพื่อนสมาชิกทุกคน

    ที่เห็นเขียนกันไปมาก็รู้สึกว่าหลายท่านเป็นคนดี

    -บางครั้งเห็นทะเลาะกันบ้างก็เห็นว่า"เป็นเพียงถูกกิเลสครอบงำเป็นขณะ ๆ"เพราะเชื่อว่าอารมณ์โกรธ

    หายไป เดี๋ยวก็ดีกันเอง "เพราะอารมณ์โกรธก็อยู่ภายใต้กฏแห่งไตรลักษณ์ข้ออนิจจัง "เกิดขึ้น ตั้งอยู่

    และดับไป"ในที่สุด

    -ที่ผมยกชาดกเรื่อง"ภัยของสตรี" หากคุณนวลพรรณแยกแยะจะเห็นเป็นส่วนที่ระบุ"เฉพาะสตรีทื่ไม่ตั้ง

    มั่นอยู่ในธรรมและไร้คุณธรรมต่างหาก" ไม่ได้เอื้อมอาจไป สตรีที่ตั้งมั่นอยู่ในธรรมหรือมีคุณธรรม

    เป็นคนดี เพราะท่านเล่านี้อยู่สูงกว่าจะมาอยู่ในเรื่องราวของชาดกที่เอ่ยถึง เช่นคุณนวลพรรณเห็นแล้ว

    ว่าคุณนวลพรรณเป็นผู้มุ่งมั่นมาทางธรรมอย่างแน่นอนครับ

    -ขอบคุณข้อธรรมที่คุณนวลพรรณเขียนไว้ในกระทู้อย่างสูง เป็นสิ่งสูงค่าและเป็นมงคลแก่ผู้อ่านครับ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มกราคม 2011
  16. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    -"น้องชาย" ผมกะว่าวันพุธนี้ตอนว่างงานจะไปบูชากลับมาครับ

    -ส่วนเรื่องที่เขียนมาให้อ่านก็เป็นอีก"ลักษณะหนึ่งของผู้หญิง"

    -พระอาจารย์ที่ให้ข้อธรรมจะบอกผมเกี่ยวกับคุณลักษณะของ"ผู้หญิงอยู่ข้อ

    หนึ่ง" คือ "สตรีส่วนใหญ่จะใช้อารมณ์ในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ มากกว่า

    เหตุผล"

    แต่ข้อนี้ก็ "ไม่เที่ยง" เพราะบางครั้งจะมี "สตรีที่หนักแน่นมีคุณธรรมใช้เหตุผล

    อยู่เหนืออารมณ์" ครับ.
     
  17. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    เศรษฐีผู้เก็บหนูตาย

    -ในสมัยพุทธกาลมีธิดาเศรษฐีผู้หนึ่ง ลอบได้เสียกับทาสในบ้าน แล้วจึงพากัน

    หนีไป ต่อมานางได้ตั้งครรภ์ และคลอดบุตร 2 คน คือ "มหาปันถกะ" และ

    "จุลลปันถกะ" ทั้งสองได้ออกบวชมาหลายพรรษา

    -พระมหาปันถกรับหน้าที่เป็นภัตตุเทศก์ เมื่อหมอชีวกโกมารภัจจ์นิมนต์พระ

    พุทธองค์และพระภิกษุไปฉันภัตตาหารที่บ้าน พระมหาปันถกรับนิมนต์ไว้หมด

    เว้นพระจุลลปันถกรูปเดียว

    -เมื่อพระจุลลปันถกทราบก็น้อยใจอยากสึก

    -พระพุทธองค์สอดส่ายพระญาณเห็นพระจุลลปันถกจะมีวาสนาได้บรรลุธรรม

    จึงเสด็จไปโปรด ทรงสอนด้วยการเนรมิตผ้าขาวผืนหนึ่งประทานแก่พระจุล

    ลปันถก แล้วตรัสให้ลูบคลำผ้าผินนั้นพร้มอบริกรรมภาวนาว่า "ระ โชหะระณัง

    ระ โชหะระณัง"(แปลว่า ผ้าเช็ดธุลี) ไปเรื่อย ๆ

    -ครั้นแล้วเสด็จไปถึงเวลาฉันภัตตาหารที่บ้านหมอชีวก

    -ฝ่ายพระจุลลปันถก พระสัมมาสัมพูทธเจ้าก็เสด็จไปยังบ้านหมอชีวก ฝ่ายจุล

    ลปันถก อยู่ที่พระอารามทำตามที่พระพุทธองค์ตรัสสั่ง ชั่วครู่ก็เห็นผ้าขาว

    หมองคล้ำ จึงเกิดความสลดใจว่า "ผ้าขาวแท้ ๆ ยังเปรอะเปื้อนจากกายเราถึง

    ปานนี้ สังขารทั้งหลายก็เช่นกันแท้จริงแล้วมีแต่ความไม่เที่ยง" พิจารณาธรรม

    ไปเรื่อย ๆ พลันจิตสว่างบรรลุธรรมเป็น"พระอรหันต์" ณ ที่นั้นเอง

    -ที่บ้านหมอชีวก พระพุทธองค์มิได้กระทำอนุโมทนาตรัสว่า "ในวัดยังมีเหลือ

    พระภิกษุอยู่รูปหนึ่ง"

    -หมอชีวกจึงส่งคนไปดูปรากฏว่า"คนรับใช้เห็นพระภิกษุพันรูปเต็มวัดไปหมด

    เนื่องด้วยพระจุลลปันถกเนรมิตไว้ด้วยฤทธิ์"

    -คนรับใช้กลับมาบอกหมอชีวกต่อหน้าพระพุทธองค์ พระพุทธองค์จึงรับสั่งให้

    เรียกชื่อ"พระจุลลปันถกดัง ๆ หากรูปไหนขานรับขึ้นก่อนให้จับมือพระรูปนั้นไว้

    แล้วพามายังที่นิมนต์"

    -คนรับใช้ทำตาม และเมื่อพระจุลลปันถกมาถึงแล้วได้รับภัตตาหารพร้อมทั้ง

    อนุโมทนา

    -วันรุ่งขึ้น พระภิกษุต่างพากกันสรรเสริญพระคุณของพระพุทธองค์ ครั้นพระ

    พุทธองค์จึงทรงระลึกชาติหนหลังเรื่อง"พระพุทธองค์กับพระจุลลปันถก"ให้ฟัง

    เรื่อง"จุลลกเศรษฐีชาดก" ดังนี้

    -ครั้งหนึ่งในอดีตกาล มีเศรษฐีชื่อ "จุลลกะ" เป็นผู้มีความสามารถพยากรณ์

    -วันหนึ่งนั่งรถม้าผ่านมาเห็น"หนูตาย"ตัวหนึ่งอยู่บนถนน จึงทำนายว่า "ถ้าใครมี

    ปัญญาย่อมสามารถนำหนูตายตัวนี้ไปทำการค้าจนเป็นเศรษฐีได้"

    -ชายหนุ่มยากจนคนหนึ่งได้ยินเข้า จึงนำหนูตายตัวนั้นไปขายให้ยายแก่คน

    หนึ่งเป็นอาหารแมว ได้เงินมา 1 กากณึก

    -วันรุ่งขึ้นนำเงินไปซื้อน้ำอ้อย พบคนเก็บดอกไม้กลับมาจากป่ากำลังกระหาย

    น้ำผ่านมาได้ดื่มน้ำอ้อยจากเขา คนเก็บดอกไม้เหล่านั้นจึงให้ดอกไม้คนละกำ

    เป็นการตอบแทน เขาจึงนำดอกไม้ไปขาย เป็นยประจำทุก ๆวัน

    -เขาทำอยู่ไม่นานก็รวบรวมทรัพย์ได้ถึง 8 กหาปณะ

    -ต่อมาวันหนึ่งฝนตกหนัก พายุพัดแรง ต้นไม้หักโค่นระเนระนาด ผู้รักษาพระ

    ราชอุทยานไม่รู้จะขนต้นไม้ไปทิ้งที่ไหน ชายหนุ่มจึงรับอาสาทำความสะอาด

    อุทยาน และขอต้นไม้ กิ่งไม้เหล่านั้นเป็นการตอบแทน

    -เขานำต้นไม้และกิ่งไม้ที่ได้ขายทำฟืนให้โรงงานดินเผาได้ทรัพย์ 16 กหาปณะ

    -ต่อมานำหม้อดินใส่น้ำไปผูกมิตรกับคนเกี่ยวหญ้า

    -ต่อมาไม่กี่วัน เขาได้ข่าวว่าวันรุ่งขึ้นจะมีพ่อค้านำม้ามาที่เมืองนี้ เขาจึงเอ่ย

    ปากขอหญ้าจากคนเกี่ยวหญ้าคนละฟ่อน แล้วนำไปขายพ่อค้าเพื่อเป็นอาหาร

    ม้าเมื่อพ่อค้ามาถึง ได้เงิน 1,000 กหาปณะ

    -ต่อมามีเรือบรรทุกสินค้ามาถึงท่า เขาจึงหาเช่ารถม้าพร้อมบริวารมาด้วยขับ

    ไปที่ท่าเรือ แล้วมัดจำสินค้าทั้งหมดไว้

    -เมื่อพ่อค้านับร้อยคนของเมืองพาราณสีมาขอซื้อสินค้า เขาจึงขายสินค้านั้น

    ไปได้กำไร 200,000 กหาปณะ

    -ชายหนุ่มมีฐานะร่ำรวยขึ้นทันตาสมดังคำทำนายของจุลลกเศรษฐีภายใน 4

    เดือนเท่านั้น

    -เขาได้ไปขอบคุณท่านเศรษฐีที่ชี้ช่องทางการค้าให้ ท่านเศรษฐีเห็นความ

    มานะและสติปัญญาของชายหนุ่ม จึงยกลูกสาวให้พร้อมกับมอบทรัพย์สมบัติ

    ให้ครอบครอง และได้ตำแหน่งเศรษฐีสืบต่อมา

    -ชายหนุ่มผู้มีปัญญา ต่อมากำเนิดเป็น พระจุลลปันถก

    -จุลลกเศรษฐี เสวยชาติเป็น พระพุทธเจ้า

    ข้อคิด ผู้ที่ฉลาดมีสติปัญญาย่อมเห็นคุณค่าของคำแนะนำและใช้เป็นหนทาง

    สร้างฐานะด้วยความขยันหมั่นเพียรครับ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 24012009626.jpg
      24012009626.jpg
      ขนาดไฟล์:
      592.8 KB
      เปิดดู:
      167
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2011
  18. สวนพลู

    สวนพลู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    6,596
    ค่าพลัง:
    +18,651
    พี่อุตตโมว่า หลวงพ่อให้ศิษย์ไปซื้อหรือยัง ที่นั่นมีรูปหล่อหมอชีวกป่าวครับพี่ น่าสนใจน่ะพี่ อย่างละครึ่ง ไม่ทราบว่ามีหรือป่าวครับ
     
  19. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    -"น้องชาย"ยังไม่ทราบเลยครับ เดี๋ยววันพุธจะไปดูรูปของหมอชีวกให้ด้วย

    ครับแล้วจะโทรไปหาครับ.
     
  20. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    มนต์วิเศษเวทัพพะ

    -ในสมัยพุทธกาลมีพระภิกษุที่มีนิสัยดื้อรั้นและมักท่องมนต์พร่ำเพรื่อไม่รู้กาละเทศะ จน

    กระทั่งเพื่อนพระภิกษุต่างเอือมระอาที่จะว่ากล่าวตักเตือน จึงนำเรื่องไปทูลพระพุทธองค์

    ให้เรียกพระภิกษุรูปนั้นมาตรัสเตือนสติอบรม

    -พระพุทธองค์ตรัสขึ้นว่า "ดูก่อนภิกษุ เธอมิได้เป็นผู้ว่ายากแต่ในชาตินี้เท่านั้น แม้ในกาล

    ก่อนเธอก็เป็นผู้ว่ายาก ไม่เชื่อฟังคำเตือนของบัณฑิตจึงถูกฟันขาดสองท่อน แล้วยังเป็น

    เหตุให้คนอีกตั้งพันชีวิตต้องตายตามไปด้วย"

    -เมื่อทรงตรัสดังนั้นแล้วทรงนำเรื่องที่ระลึกชาติถึงความเกี่ยวพันระหว่างพระพุทธองค์กับ

    พระภิกษุรูปนั้นในอดีตชาติในเรื่อง "เวทัพชาดก" มาตรัสเล่าให้ฟัง ดังนี้

    -ในอดีตกาลมีพราหมณ์คนหนึ่งรู้มนต์ชื่อ"เวทัพพะ"ซึ่งเป็นมนต์วิเศษโดยในปีหนึ่ง ๆ จะใช้

    ได้ผลเพียงครั้งเดียว โดยพราหมณ์จะร่ายมนต์แล้วแหงนดูท้องฟ้า ไม่นานนักเพชรนิล

    จินดาอันมกามายก็จะไหลหลั่งลงมาจากฟ้าราวกับสายฝน

    -อยู่มาวันหนึ่ง เวทัพพพราหมณ์มีธุระต้องเดินทางไปยังแคว้นห่างไกล จึงพาศิษย์ไปด้วย

    คนหนึ่ง ขณะกำลังเดินทางอยู่ในป่าถูกโจรป่า 500 คนจับตัวไว้ทั้งคู่

    -หัวหน้าโจรปล่อยศิษย์ออกมาเพื่อหาเงินมาไถ่ตัวอาจารย์ภายใน 3 วัน

    -ก่อนศิษย์จะไปได้บอกกับอาจารย์ว่า "อาจารย์อย่าได้ร่ายมนต์เป็นเด็ดขาดจะเกิดอันตราย

    เพราะโจรไม่เคยหยุดโลภในทรัพย์"

    -แต่เวทัพพพราหมณ์คิดว่า "วันนี้ฤกษ์ดีถ้าร่ายมนต์เอาสมบัติมากมายให้พวกโจร มันคง

    ปล่อยตัวเราไป"

    -คิดดังนั้น พราหมณ์จึงบอกโจรว่า "เรามีมนต์วิเศษเมื่อร่ายมนต์แล้วจะมีเพชรนิลจินดาตก

    มาจากท้องฟ้าให้พวกท่านมากมาย ท่านจงปล่อยเราไป"

    -ว่าแล้วหัวหน้าโจรก็ให้พราหมณ์ร่ายมนต์ก็เกิดเพชรนิลจินดาตกลงมาจากฟ้าจริง ๆ

    -เมื่อพวกโจรได้ทรัพย์จำนวนมากแล้ว วันรุ่งขึ้นจึงพาพราหมณ์ไปกับพวกโจรด้วย

    -ระหว่างทางได้มีโจรอีกกลุ่มหนึ่ง 500 คนผ่านมาพอดี เมื่อเห็นโจรกลุ่มแรกแบกทรัพย์

    สมบัติมากมายมา จึงได้ทำการปล้นโจรกลุ่มแรกทันทีโดยล้อมคนทั้งหมดเอาไว้

    -หัวหน้าโจรกลุ่มแรกจึงเล่าเรื่องแล้วส่งตัวพราหมณ์ให้ ซึ่งหัวหน้าโจรกลุ่มที่สองได้ขอให้

    พราหมณ์ร่ายมนต์ให้เอาทรัพย์สมบัติให้ตนบ้าง แต่พราหมณ์บอกว่าต้องรอปีหน้าเพราะ

    ร่ายได้แค่ปีละครั้ง

    -หัวหน้าโจรกลุ่มที่สองรู้สึกฉุนเฉียวจึงใช้ดาบฟันพราหมณ์ขาดสองท่อนอยู่ข้างทางนั้น

    เอง พร้อมสั่งสมุนฆ่าโจรกลุ่มแรกทั้งหมดแล้วชิงทรัพย์สมบัติมาเป็นของพวกตน

    -เมื่อโจรกลุ่มสองได้ทรัพย์มาขณะเดินทางกลับรัง พวกโจรด้วยกันต่างก็มีความโลภที่ต้อง

    การจะครอบครองทรัพย์คนเดียว จึงได้ฆ่าฟันกันตาย เหลือเพียง 2 คน

    -โจร 2 คนได้สติตกลงกันช่วยขนสมบัติกลับรังเพื่อแบ่งกัน

    -พอถึงที่พักโจรคนหนึ่งเฝ้าสมบัติ ส่วนอีกคนหนึ่งไปหาอาหารมาแบ่งกันกิน

    -โจรที่เฝ้าทรัพย์คิดแผนฆ่าเพื่อนชนิดดาบเดียวให้ตาย ฝ่ายโจรที่ไปหาอาหารก็คิดวางยา

    พิษใส่ในอาหารให้เพื่อนโจรกิน

    -ทันทีที่โจรหาอาหารมาถึง โจรที่เฝ้าสมบัติก็เอาดาบแทงสวนออกไปทันที เมื่อฆ่าแล้วก็

    ได้กินอาหารแต่พออาหารเข้าปากตกถึงท้องก็ถึงแก่ความตาย

    -เวลาผ่านไป 2 วัน ศิษย์ของพราหมณ์ได้นำเงินมาเพื่อไถ่ตัวอาจารย์ แต่ไม่พบใคร แต่ไป

    พบเห็นเพชรนิลจินดาที่ตกมาเหลืออยู่บางส่วนก็รู้ว่าอาจารย์ไม่ฟังคำเตือนของตน

    -เมื่อเดินต่อไปก็พบศพอาจารย์ถูกฟันขาดสองท่อน จึงรู้สึกสลดใจ จึงได้ทำการเผาศพ

    อาจารย์จนเสร็จ และเมื่อเดินทางต่อไปก็พบศพโจร 500 กลุ่มแรกตายอนาถ และเมื่อ

    เดินต่อไปอีกก็พบศพโจรกลุ่มหลังอีก 500 คน และได้พบสมบัติที่โจรซ่อนไว้

    -ศิษย์ของพราหมณ์จึงได้ขนเพชรนิลจินดากลับไปบ้าน และจัดการทำบุญให้ทาน อุทิศ

    ส่วนกุศลให้เวทัพพพราหมณ์ จากนั้นก็รักษาศิลตลอดชีวิต เมื่อตายไปบังเกิดบนสวรรค์

    -ส่วนอาจารย์และโจรทั้ง 1,000 คนตกนรกทั้งหมด

    -เวทัพพพราหมณ์ ต่อมากำเนิดเป็น พระภิกษุผู้ดื้อรั้น

    -ศิษย์ของพราหมณ์ เสวยชาติเป็น พระพุทธเจ้า

    ข้อคิดที่ได้ คือ บุคคลที่ไม่รู้กาละเทศะ และไม่รู้จักคิดหรือฟังคำเตือนของผู้หวังดี มักจะเอา

    ตัวไม่รอดครับ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 24012009627.jpg
      24012009627.jpg
      ขนาดไฟล์:
      577.8 KB
      เปิดดู:
      145
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2011

แชร์หน้านี้

Loading...