พระเนตรขวาของ ในหลวง+คุณธรรม 8 ประการ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย อธิมุตโต, 3 ตุลาคม 2007.

  1. yokeedevil

    yokeedevil เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2006
    โพสต์:
    1,553
    ค่าพลัง:
    +6,257
    แม่เคยเล่าเรื่องพระเนตรขวาของในหลวงให้ฟังตอนเด็กๆค่ะ
    พอรู้มาบ้าง
     
  2. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    รูป สคส.2551 ที่แจก ในการร่วมลงนามถวายพระพร ให้ สมเด็จพระพี่นาง ฯ หายจากพระองค์ทรงพระประชวร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • King001.jpg
      King001.jpg
      ขนาดไฟล์:
      301.9 KB
      เปิดดู:
      3,728
    • King002.jpg
      King002.jpg
      ขนาดไฟล์:
      252.2 KB
      เปิดดู:
      204
  3. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    [​IMG]
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=text1 vAlign=top align=left height=20>พระสมาธิของพระเจ้าอยู่หัว
    โดย พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร

    ด้วยพระเมตตาแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงสละความสุขส่วนพระองค์เพื่อพสกนิกรชาวไทย พระองค์ประดุจพระผู้สร้างแผ่นดิน ทรงเป็นดั่งผู้มอบชีวิต มอบความรุ่งเรือง มอบความเจริญงอกงามภายในหัวใจคนไทยทั้งชาติ ทรงเป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นแรงบันดาลใจจุดประกายพลังแผ่นดิน

    หากเราได้มีโอกาสศึกษาพระบรมราโชวาท แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เราจะเข้าใจได้อย่างแจ่มชัดด้วยคำสอนที่พระองค์ทรงพระราชทานให้แต่ละข้อแต่ละอย่างนั้น ล้วนเกิดขึ้นจากการที่พระองค์ ทรงไตร่ตรองพิเคราะห์ถึงปัญหานั้นอย่างถ่องแท้แล้วว่า จะเป็นหนทางแห่งการแก้ปัญหาการดับทุกข์ได้ด้วยสมาธิ

    ธรรมดาสภาวะจิตอันเป็นสมาธินั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร เกิดขึ้นจากการบังคับควบคุม เกิดขึ้นจากความผ่อนคลาย หรือเกิดขึ้นจากภาวะคับขันต่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นตรงหน้าจะทำให้ต้อง เร่งรวบรวมสติให้มั่น ไม่ว่าสมาธิจะเกิดขึ้นอย่างไร สมาธิเป็นของดี เป็นของที่เกิดขึ้นได้จากการฝึกฝน เป็นของที่มีอยู่ในกายและในจิตอันพร้อมเป็นของเข้าใจได้ เป็นของเข้าใจง่าย และใช้ได้กับคนทุกเพศทุกวัย และความเข้าใจอันแจ่มชัดที่แสดงให้เห็นว่า สมาธิเองก็มิใช่ของที่เกิดขึ้นโดยลำพังหรือใช้โดยลำพัง แต่สมาธิที่ดีจะยังประโยชน์แก่ผู้อื่นได้มาก หากผู้ใช้สมาธิรู้จักการปฏิบัติอันถูกต้อง ถูกต้องทั้งแก่ตนแลถูกต้องทั้งแก่ผู้อื่น ดังที่ได้ศึกษาจากรอยพระจริยวัตรแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช อันได้แสดงไว้ถึงเรื่องราวของ "พระสมาธิ"

    ผู้ที่เคยเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ในงานหรือพิธีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องประทับอยู่เป็นเวลานานๆ เช่น ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร คงจะได้เห็นด้วยความพิศวงกันทุกคนว่า พระเจ้าอยู่หัวนั้นเมื่อทรงนั่งลงแล้ว จะประทับอยู่ในพระอิริยาบถนั้นตั้งแต่เริ่มพิธีไปจนกระทั่งจบไม่ทรงเปลี่ยนพระอิริยาบถเลย

    นอกจากนั้น ยังทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอย่างกระฉับกระเฉงต่อเนื่อง ไม่มีพระอาการที่แสดงว่าทรงเหนื่อย หรือทรงเบื่อเลย ผมเคยเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร พิธีนั้นยาวถึงประมาณ ๔ ชั่วโมง และมีบัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาเฝ้าฯ รับพระราชทานปริญญาบัตรเป็นจำนวนหลายพันคน ได้เห็นเหตุการณ์เช่นว่านั้น แต่ผมได้เห็นมากกว่านั้นคือ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับไปถึงพระตำหนักจิตรลดารโหฐานในตอนค่ำวันนั้น พระเจ้าอยู่หัวยังทรงออกพระกำลังบริหารพระวรกายด้วยการวิ่งในศาลาดุสิตาลัยอีก

    ในการประกอบพระราชกรณียกิจอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน พระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติด้วยพระอาการที่แสดงว่าเอาพระทัยจดจ่ออยู่กับพระราชกรณียกิจนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่ทรงเหนื่อยหรือเบื่อหน่าย เช่น ในการทรงดนตรี (ที่ใครๆ มักจะนึกว่าเป็นการหย่อนพระราชหฤทัย) เป็นต้น ผมเคยเห็นพระเจ้าอยู่หัวประทับทรงดนตรีตั้งแต่หัวค่ำจนสว่าง โดยทรงนั่งไม่ลุกเลยแม้แต่จะเพื่อเสด็จฯ ไปห้องสรง ในขณะที่นักดนตรีอื่นๆ ลงกราบแล้วถอยหลังลุกไปเข้าห้องน้ำกันเป็นครั้งคราวทุกคน

    ในการทรงเรือใบก็เช่นเดียวกัน ทรงจดจ่ออยู่กับการบังคับเรืออย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งจบ ครั้งหนึ่งเสด็จฯ ออกจากฝั่งไปได้ไม่นานก็ทรงแล่นเรือใบเข้าฝั่ง ตรัสกับผู้ที่คอยมาเฝ้าฯ อยู่ ด้วยความฉงนว่า เสด็จฯ กลับเข้าฝั่งเพราะเรือใบพระที่นั่งแล่นไปโดนทุ่นเข้าซึ่งในกติกาการแข่งเรือใบถือว่า ฟาวล์ ทั้งๆ ที่ไม่มีใครเห็น

    แสดงว่าการทรงดนตรีก็ดี ทรงเรือใบก็ดี สำหรับพระเจ้าอยู่หัวเป็นงานอีกชนิดหนึ่ง ที่จะต้องทำด้วยความจดจ่อและต่อเนื่องไปจนกว่าจะเสร็จเหมือนกัน

    พระราชกรณียกิจอื่นๆ ทั้งน้อยและใหญ่ ทรงปฏิบัติแบบเดียวกัน คือด้วยการเอาพระราชหฤทัยจดจ่อไม่ทรงยอมให้ขาดจังหวะจนกว่าจะเสร็จ และไม่ทรงทิ้งขว้างแบบทำๆ หยุดๆ เพราะฉะนั้นจึงจะเห็นว่าพระราชกรณียกิจทั้งหลายนั้น สำเร็จลุล่วงไปเป็นส่วนใหญ่

    ผมไปรู้เอาหลังจากที่เข้ารับราชการในตำแหน่งนายตำรวจราชสำนักประจำอยู่ได้ไม่นานว่า ที่ทรงสามารถจดจ่ออยู่กับพระราชกรณียกิจทุกชนิดได้เช่นนั้นก็เพราะพระสมาธิ

    ผมไม่ทราบว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มฝึกสมาธิตั้งแต่เมื่อใด แต่สันนิษฐานว่าคงจะเริ่มในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ เมื่อทรงผนวชที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) หลังจากทรงผนวชแล้ว ประทับจำพรรษาอยู่ที่พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงอยู่ในสมณเพศเป็นเวลา ๑๕ วัน ครั้งนั้นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ซึ่งทรงเป็นพระอุปัชฌาย์จารย์ทรงเลือกสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก (เมื่อครั้งยังเป็นพระโสภณคณาภรณ์) ให้เป็นพระอภิบาล (พระพี่เลี้ยง) ของพระเจ้าอยู่หัว เป็นที่ทราบกันดีว่า แม้จะทรงมีเวลาน้อยแต่พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงศึกษาและปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด และคงจะได้ทรงฝึกเจริญพระกรรมฐานในโอกาสนั้นด้วย


    เมื่อผมเข้าไปเป็นนายตำรวจราชสำนักประจำในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ นั้น ปรากฏว่า การศึกษาและปฏิบัติสมาธิหรือกรรมฐานในราชสำนักกำลังดำเนินอยู่แล้ว พระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติเป็นประจำ และข้าราชสำนักข้าราชบริพารหลายคนทั้งฝ่ายพลเรือนและทหารก็กำลังเจริญรอยพระยุคลบาทอยู่ด้วยการฝึกสมาธิอย่างขะมักเขม้น

    ผมไม่ได้ตั้งใจจะหัดสมาธิ แม้จะเคยศึกษามาก่อนโดยเฉพาะจากหนังสือของท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ แต่ระหว่างการตามเสด็จฯ โดยรถไฟ จากกรุงเทพมหานครไปอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ การเดินทางไกลกว่าที่ผมคาดคิด หนังสือเล่มเดียวที่เตรียมไปอ่านฆ่าเวลาบนรถไฟ ก็อ่านจบเล่มเสียตั้งแต่กลางทาง ขณะนั้นผมเห็นนายทหารราชองครักษ์ประจำที่ปฏิบัติหน้าที่ถวายความปลอดภัยร่วมกันสองนาย ใช้เวลาว่างนั่งหลับตาทำสมาธิ ผมจึงลองทำดูบ้างโดยใช้อานาปานสติ (คือกำหนดรู้แต่เพียงว่ากำลังหายใจเข้า และหายใจออก) อันเป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ และท่านอาจารย์พุทธทาสแนะนำ ปรากฏว่าจิตสงบเร็วกว่าที่ผมคาด แลเห็นนิมิตเป็นภาพสีสวยๆ งามๆ มากมาย และเป็นเวลาค่อนข้างนานด้วย ตั้งแต่นั้นมาผมก็ติดสมาธิและกลายเป็นอีกผู้หนึ่งที่ปฏิบัติสมาธิเป็นประจำมาจนทุกวันนี้

    เมื่อความทราบถึงพระกรรณว่าผมเริ่มปฏิบัติสมาธิ พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงกรุณาพระราชทานหนังสือ และแถบบันทึกเสียงคำสอนของครูบาอาจารย์ต่างๆ ลงมา และบางครั้งก็ทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชดำรัสแนะนำด้วยพระองค์เอง ผมจึงได้รู้ว่า พระสมาธิของพระเจ้าอยู่หัวนั้นก้าวหน้าไปแล้วเป็นอันมาก รับสั่งเล่าเองว่าแม้จะทรงใช้อานาปานสติเป็นอุบายในการทำสมาธิ แต่พระเจ้าอยู่หัวก็ไม่ทรงสามารถที่จะกำหนดพระอัสสาสะ (ลมหายใจเข้า) และพระปัสสาสะ (ลมหายใจออก) ได้แต่ลำพัง ต้องทรงนับกำกับ วิธีนับของพระเจ้าอยู่หัวนั้นทรงทำดังนี้ หายใจเข้าครั้งที่หนึ่ง นับหนึ่ง หายใจเข้าครั้งที่สอง นับสอง หายใจเข้าครั้งที่สาม นับสาม หายใจเข้าครั้งที่สี่ นับสี่ หายใจเข้าครั้งที่ห้า นับห้า หายใจออกครั้งที่หนึ่ง นับหนึ่ง หายใจออกครั้งที่สอง นับสอง หายใจออกครั้งที่สาม นับสาม หายใจออกครั้งที่สี่ นับสี่ หายใจออกครั้งที่ห้า นับห้า

    เมื่อถึงห้าแล้ว หากจิตยังไม่สงบ ก็นับถอยหลังจากห้าลงมาหาหนึ่ง แล้วนับจากหนึ่งขึ้นไปหาห้าใหม่ กลับไปกลับมาเช่นนั้นจนกว่าจิตจะสงบ รับสั่งว่า ที่เห็นพระองค์ประทับอยู่นิ่งๆ นั้น พระจิตทรงอยู่กับหนึ่งเข้าหนึ่งออกตลอดเวลา

    พระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาเรื่องสมาธิด้วยการรวบรวม และประมวลคำสอนของครูบาอาจารย์ทุกคนแล้ว ก็ทรงพระกรุณาพระราชทานประมวลคำสอนนั้นแก่ผู้ที่ทรงทราบว่ากำลังปฏิบัติสมาธิอยู่

    ครั้งหนึ่ง ทรงพระกรุณาพระราชทานแถบบันทึกเสียงของสมเด็จพระญาณสังวรฯ ให้ผม รับสั่งว่าเป็นบันทึกเสียงการแสดงธรรมเรื่อง ฉฉักกสูตร (คือพระสูตรว่าด้วยธรรมะ หมวด ๖ รวม ๖ ข้อ ซึ่งอธิบายความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ และความไม่มีตัวมีตนของสิ่งต่างๆ มีอายตนะภายนอก อายตนะภายใน วิญญาณ ผัสสะ เวทนา และตัณหา พระสูตรนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน) และทรงแนะนำให้ผมฟังธรรมบทนั้น

    ผมรับพระราชทานแถบบันทึกเสียงม้วนนั้นมาแล้วก็เอาไปใส่เครื่องบันทึกเสียงและเปิดฟัง ฟังไปได้ไม่ทันหมดม้วนก็ปิด แล้วก็เก็บเอาไว้ไม่ได้ฟังอีก หลังจากนั้นไม่นานนัก ได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสรับสั่งถามว่า ฟังเทปของสมเด็จฯ แล้วหรือยัง เป็นอย่างไร

    ผมไม่อาจจะกราบบังคมทูลความอันเป็นเท็จได้ ต้องกราบบังคมทูลตรงๆ ว่าฟังได้ไม่ทันจบม้วนก็ได้หยุดฟังเสียงแล้ว ตรัสถามต่อไปถึงเหตุผลที่ผมไม่ฟังให้จบ และผมก็จำเป็นต้องกราบบังคมทูลตรงๆ ว่า สมเด็จฯ ท่านเทศน์ฟังไม่สนุก พูดขาดเป็นวรรคๆ เป็นห้วงๆ เนื่องจากสมเด็จฯ พิถีพิถันในการใช้ถ้อยคำและประโยคเทศน์ของท่านนั้น ถ้าเอามาพิมพ์ก็จะอ่านได้สบายกว่าฟัง

    พระเจ้าอยู่หัวตรัสถามว่า ที่ฟังสมเด็จฯ เทศน์ไม่รู้เรื่องนั้นก็เพราะคิดไปก่อนหรือไม่ว่า สมเด็จฯ ท่านจะพูดว่าอย่างนั้นอย่างนี้ ครั้นท่านพูดช้ากว่าที่คิด หรือพูดออกมาแล้วไม่ตรงกับที่คาดหมายจึงเบื่อ เมื่อผมนิ่งไม่กราบบังคมทูลตอบ ก็ทรงแนะนำว่าให้กลับไปฟังใหม่ คราวนี้อย่าคิดไปก่อนว่าสมเด็จฯ จะพูดว่าอย่างไร สมเด็จฯ หยุดก็ให้หยุดด้วย ผมกลับมาทำตามพระราชกระแสรับสั่ง เปิดเครื่องบันทึกเสียงฟังเทศน์ของสมเด็จฯ จากแถบบันทึกเสียงม้วนนั้นใหม่ตั้งแต่ต้น ฟังด้วยสมาธิ

    สมเด็จฯ หยุดตรงไหน ผมก็หยุดตรงนั้น และไม่คิดๆ ไปก่อนว่า สมเด็จฯ จะพูดว่าอย่างไร คราวนี้ผมฟังได้จนจบและเห็นว่าจริงดังพระราชดำรัส แถบบันทึกเสียงม้วนนั้น เป็นม้วนที่ดีที่สุดม้วนหนึ่ง

    ครั้งหนึ่ง หลังจากที่นั่งสมาธิแล้ว ผมได้มีโอกาสเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทและกราบบังคมทูลประสบการณ์ที่ได้ขณะทำสมาธิ ผมกราบบังคมทูลว่า ขณะที่นั่งสมาธิครั้งนั้น รู้สึกว่าตัวเองลอยขึ้นจากพื้นสูงประมาณศอกหนึ่ง ทีแรกก็ยังไม่รู้สึกอะไรแต่ครั้นหัวเริ่มคล้อยลงไปข้างหน้า ทำท่าเหมือนจะตีลังกา ผมก็ตกใจและต้องเลิกทำสมาธิ

    พระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชวิจารณ์ว่า ถ้าหากสติยังอยู่ ยังรู้ตัวว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น ก็ไม่ควรจะเลิก แต่ควรจะปล่อยให้เป็นไปตามสภาพนั้น

    อีกครั้งหนึ่ง หลังจากทำสมาธิแล้ว ผมกราบบังคมทูลว่า พอจิตสงบผมรู้สึกว่าตัวเองกำลังเลื่อนต่ำลงไปในท่อขนาดใหญ่ และที่ปลายท่อข้างล่าง ผมแลเห็นแสงสว่างเป็นจุดเล็กๆ แสดงว่าท่อยาวมาก กลัวจะหลุดออกจากท่อไป ผมก็เลยเลิกทำสมาธิ รับสั่งเช่นเดียวกันว่า หากยังรู้ตัว (มีสติ) อยู่ ก็ไม่ควรเลิก ถึงหากจะหลุดออกนอกท่อไปก็ไม่เป็นไร ตราบเท่าที่สติยังอยู่และรู้ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นกับตน

    ต่อมาภายหลังจากการศึกษาคำสอนของครูบาอาจารย์ทุกท่าน และโดยเฉพาะของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัสสอนให้ "ดำรงสติให้มั่น" ในเวลาทำสมาธิ

    ในส่วนที่เกี่ยวกับพระสมาธิของพระเจ้าอยู่หัว เคยตรัสเล่าให้ผมฟังว่า ครั้งหนึ่งขณะที่กำลังทรงทำสมาธิอยู่ พระจิตสงบและเกิดนิมิต ในนิมิตนั้นพระเจ้าอยู่หัวทรงทอดพระ เนตรเห็นพระกร (แขนท่อนล่าง) ลอกออกทีละชั้นๆ ตั้งแต่จากพระตจะ (หนัง) ลงไปจนถึงพระอัฐิ (กระดูก)

    พระเจ้าอยู่หัวทรงประยุกต์พระสมาธิในการประกอบพระราชกรณียกิจทุกอย่างทั้งน้อยและใหญ่ จึงทรงสามารถเผชิญกับพระราชภาระอันหนัก ในตำแหน่งพระมหากษัตริย์ได้โดยไม่ทรงสะทกสะท้านหรือหวั่นไหว ไม่ทรงคาดการณ์ล่วงหน้าไปไกลๆ อย่างเลื่อนลอยและเปล่าประโยชน์ ไม่ทรงอาลัยอดีตหรืออนาคต ไม่ทรงเสียเวลาหวั่นไหวไปกับความสำเร็จหรือความล้มเหลว อันเป็นเรื่องที่ผ่านพ้นไปแล้ว แต่ทรงจดจ่ออยู่กับปัจจุบัน ทรงสนพระราชหฤทัยอยู่แต่กับพระราชกรณียกิจเฉพาะพระพักตร์เท่านั้น

    ในฐานะที่เกิดมาเป็นพลเมืองของประเทศที่มีพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้เป็นพระประมุข และในฐานะที่ทุกคนมีหน้าที่ในการทำนุบำรุงเมืองไทยนี้ให้เป็นที่ร่มเย็นของเรา และของลูกหลานของเรา จึงสมควรที่เราจะเจริญรอยประพฤติตามพระยุคลบาทด้วยการศึกษาและปฏิบัติสมาธิกันอย่างจริงจัง และนำสมาธิมาประยุกต์ในการดำเนินชีวิตเช่นเดียวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา

    </TD></TR><TR><TD class=text1>"เนาว์สถิตย์" : </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  4. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    "ในหลวง" กับงานศิลปะ-ออกแบบ

    ปฤษณา กองวงค์



    [​IMG]"ความเป็นศิลปิน หมายถึง ความสามารถตามธรรมชาติที่จะเห็นความงามและคิดถึงความงาม เมื่อเกิดความคิดแล้ว ก็ต้องอาศัยวิชาความรู้หรือเทคนิค เช่น วิชาช่าง เป็นต้น จึงจะแสดงออกมาเป็นจิตรกรรม ประติมากรรม หรือศิลปกรรมในลักษณะอื่นๆ ได้" พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหา วิทยาลัยศิลปากร วันที่ 12 ต.ค. 2507

    เนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนม พรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 มหา วิทยาลัยศิลปากร จัดโครงการเฉลิมพระ เกียรติ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับงานศิลปะและการออกแบบ"

    เนื่องจากงานด้านศิลปะและการออก แบบ ซึ่งในอดีตมักเรียกรวมกันว่า "งานช่าง" นั้น ทรงมีผลงานด้านศิลปะและการออกแบบ ตลอดจนงานช่างฝีพระหัตถ์หลากหลายรูปแบบ และมีมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ตราบจนปัจจุบัน เช่น การถ่ายภาพ ดนตรี งานจิตรกรรม และการออกแบบเรือใบ เป็นต้น

    เมื่อทรงพระเยาว์ ผลงานฝีพระหัตถ์แสดงให้เห็นทั้งพระอัจฉริยภาพในการริเริ่มสร้างสรรค์และการประสานความงามกับประโยชน์ของสิ่งประดิษฐ์ให้เข้ากันอย่างดี ครั้งเมื่อทรงมีพระราชภารกิจที่ต้องห่วงใยทุกข์สุขของประชาชน งานประดิษฐ์ฝีพระหัตถ์เน้นประโยชน์มากขึ้น ดังจะเห็นได้จากสิ่งประดิษฐ์เพื่อพัฒนาคุณภาพของแหล่งน้ำ เช่น กังหันชัยพัฒนา เป็นต้น

    นอกจากนี้ ยังมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ แสดงให้เห็นพระปรีชาสามารถในการวางแผนและการออกแบบสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นทั้งงานด้านสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ผังเมืองและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ พระราชดำริต่างๆ นับตั้งแต่เมื่อทรงริเริ่มโครงการ ตลอดจนเมื่อพระราช ทานคำแนะนำแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานล้วนเป็นไปตามหลักวิชาการและสอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ วัฒนธรรมและความรู้สึกนึกคิดของประชา ชนชาวไทย

    ภายในงานนิทรรศการนี้นำเสนอผลงานพระราชกรณียกิจทางด้านทัศนศิลป์และการออกแบบ ได้แก่ พระราชกรณียกิจด้านจิตรกรรมที่มีความโดดเด่น หาชมยาก คือ ภาพจิตรกรรมพระราชนิพนธ์พระมหาชนก จำนวน 36 ภาพ ที่เขียนขึ้นในปี 2536-2539 โดยศิลปินชั้นครู 8 ท่าน คือ ประหยัด พงษ์ดำ พิชัย นิรันต์ ปรีชา เถาทอง ปัญญา วิจินธนาสาร เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เนติกร ชินโย ธีระวัฒน์ คะนะมะ และจินตนา เปี่ยมศิริ
    <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=1><TBODY><TR bgColor=#ffe9ff><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ต่อมาคือพระราชกรณียกิจทางด้านสถา ปัตยกรรม ได้แก่ สถาปัตยกรรมไทย สถา ปัตยกรรมร่วมสมัย นาวาสถาปัตยกรรม การอนุรักษ์สถาปัตยกรรม ผังเมืองและสิ่งแวดล้อม สุดท้ายพระราชกรณียกิจด้านมัณฑนศิลป์

    การเตรียมงานครั้งนี้ใช้เวลาถึง 2 ปี

    เมื่อเดินเข้าไปจะได้พบกับภาพชุดพระมหาชนก ที่มีสีสันสวยงามมีครบทุกตอน จากนั้นเป็นโซนสถาปัตยกรรม จัดแสดงบนบอร์ดนิทรรศ การมีภาพถ่าย พร้อมบอกถึงรายละเอียดสถาปัตย กรรมนั้นๆ ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นประการแรก ถัดมาเป็นเทคนิคทางสถาปัตยกรรม ส่วนกลางห้องมีเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 ขนาด 1.20x2.30 เมตร จำลองการลอยน้ำจัด แสดงไว้ ส่วนด้านบนชั้น 2 มีการออกแบบตกแต่งภายใน ออกแบบนิเทศศิลป์ ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาห กรรม

    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุนนท์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้อำนวยการหลักสูตรนานาชาติ การจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรมและการท่องเที่ยว ประธานอนุกรรมการฝ่ายรวบรวมพระราชกรณียกิจ กล่าวถึงการจัดงานว่า เราทราบอยู่แล้วว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นนักดนตรีที่เก่ง ทางด้านทัศนศิลป์เราก็ทราบว่าพระองค์ท่านทรงเขียนภาพและมีภาพเขียนอยู่ร้อยภาพเป็นที่รู้จักและยอมรับกันทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ ทรงงานด้านการออกแบบ เช่น การออกแบบเรือใบ และทรงเป็นนักกีฬาด้วย ในภาพรวมๆ พระองค์ท่านทรงมีความสนพระราชหฤทัยและทรงงานด้วยฝีพระหัตถ์
     
  5. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    นอกจากนั้น ยังมีงานด้านอื่นๆ ที่ทรงมีพระราชดำริ และพระบรมราชวินิจฉัย พระราชกรณียกิจทางด้านศิลปะและการออกแบบในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในที่นี้จึงหมายถึงพระราชกรณียกิจที่มีพระราชดำริหรือพระราชวินิจฉัย หรือเป็นงานฝีพระหัตถ์ โดยงานที่เราจัดทำเน้นในกลุ่มทัศนศิลป์และการออกแบบ <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=2><TBODY><TR bgColor=#ffffe8><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    สำหรับงานที่มีพระราชดำริ เช่น อุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร ทรงเป็นผู้ริเริ่มสร้างพระอุโบสถไม่อิงตามแบบ แผนของพุทธาวาสทั่วไป โดยรวมพระอุโบสถเข้ากับพื้นที่ใช้สอยอื่นๆ ให้เป็นหลังเดียวเป็นอาคารสมเกียรติกับหลวงพ่อโสธร มีความสง่างาม มีคุณค่าทางศิลปะสถาปัตยกรรมเหมาะสมที่จะเป็นพุทธสถาน เป็นถาวรวัตถุคู่บ้านคู่เมืองและเป็นสมบัติของชาติอันมีค่า

    ขณะที่พระอุโบสถวัดพระราม 9 กาญจนา ภิเษก ซึ่งออกแบบโดย นาวาอากาศเอกอาวุธ เงินชูกลิ่น โดยพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงต้องการให้เป็นวัดตามหลัก บวร คือ บ้านวัดโรงเรียน ตามลักษณะพื้นฐานของ สังคมไทย คือ บ้าน วัด โรงเรียน มีส่วนเกื้อหนุนกัน ช่วยเหลือกันเพื่อทำความเจริญ ความเข้มแข็งให้กับชุมชน และทรงโปรดให้มีขนาดเล็กโดยทรงแก้ไขแบบ พร้อมรับสั่งว่า อยากให้มีวัดตัวอย่างที่มีขนาดเล็กๆ ที่เกี่ยวกับชุมชนจริงๆ และทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย ศาลหลักเมือง กทม.

    พระองค์ทรงให้แนวทางในการออกแบบว่า "ศาลหลักเมืองนั้นให้มีลักษณะเหมือนๆ กับประตูพระบรมมหาราชวัง คือมีความสูง แต่มีมุขยื่นโดยรอบทั้งสี่ด้าน" โดยมีนาวาอากาศเอกอาวุธ เงินชูกลิ่น เป็นสถาปนิก ดำเนินงานปี 2525-2529

    นอกจากนี้ พระเมรุมาศสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 7 ทรงขอให้ดำเนินการโดยประหยัดครบถ้วนตามขัตติยราชประเพณีและสมพระเกียรติพระบรมศพ อีกประการหนึ่งฐานพระเมรุมาศไม่ควรสูงมาก จะเป็นการลำบากแก่ผู้สูงอายุในการขึ้นถวายพระเพลิงพระบรมศพ ซึ่งแสดงถึงทรงเข้าพระทัยในงานออกแบบประโยชน์ใช้สอยที่เหมาะสม โดยงานนี้รัฐบาลไทยรับผิดชอบโครงการ มีนายประเวศ ลิมปรังษี เป็นสถาปนิก

    นอกจากนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุนนท์กล่าวด้วยว่า การทำงานลักษณะการเก็บข้อมูลต้องมีความระมัดระวัง ทว่า ผู้ที่ถวายงานส่วนใหญ่อยู่ที่ศิลปากร อย่าง อ.วนิดา พึ่งสุนทร เป็นผู้ออกแบบพระมหาธาตุเฉลิมราชศรัทธา ซึ่งเป็นงานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแก้แบบ ทรงสเกตช์ หรืองานอีกหลายงาน รวมถึงงานศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู ก็เป็นงานที่มีพระราชดำริให้สร้างขึ้น สิ่งเหล่านี้ได้รวบรวมไว้ในนิทรรศการในกลุ่มสถาปัตยกรรม

    ขณะเดียวกัน งานนาวาสถาปัตยกรรมเป็นไฮไลต์อีกส่วนหนึ่ง คือ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เรือลำนี้เป็นเรือที่กรมศิลปากรรับผิดชอบด้านศิลปกรรมและกองทัพเรือรับผิดชอบในการสร้างตัวเรือ เดิมทีจะสร้างคล้ายเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ แต่ได้ไปหารือร่วมกับกรมศิลป์สรุปว่าเป็นไปไม่ได้เพราะเรือสุพรรณหงส์ต้องมีลำเดียว แต่มีเรือเดิมที่ถูกระเบิดพังไป คือ เรือนารายณ์ทรงสุบรรณ ซึ่งสร้างแต่สมัยรัชกาลที่ 3 หัวเรืออยู่ในพิพิธภัณฑ์ ต่อมาได้ทูลเกล้าฯ ขอพระบรมราชานุญาตสร้างเรือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานชื่อมาด้วยว่า "เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9" พอพระราชทานนาม ทางฝ่ายออกแบบก็เข้าใจในพระราชดำริ และรูปแบบงานศิลปกรรมเกิดเป็นงานผสมผสานขึ้นใหม่ที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 9

    ส่วนเรือ ต.991 เป็นเรือรบที่มีขนาดพอประมาณ เหมาะกันจุดประสงค์ในการตรวจ การณ์ชายฝั่ง ทั้งยังเป็นเรือที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ สร้างได้ด้วยคนไทย โดยไม่ต้องว่าจ้างอู่ต่อเรือต่างประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และยังมีอีกหลายงาน ความเหมาะสมกับฐานะ พอเพียงไม่ใช่ขี้เหนียว ต้องถูกกาลเทศะ

    ทั้งนี้ ในวันเปิดงาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จฯ ทรงเป็นประธาน ในวันที่ 30 พ.ย. เวลา 15.00 น. ที่หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ

    ภายในงานนิทรรศการยังจัดพิมพ์หนังสือ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับงานศิลปะและการออกแบบ" 2 ภาษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หนังสือเล่มนี้ไม่เพียงเป็นงานวิจัยแต่เป็น การจัดระบบข้อมูล ปีที่ดำเนินการ ผู้รับผิดชอบโครงการสถาปนิก ส่วนงานจิตรกรรมก็จะมีชื่อจิตรกร ปีที่ดำเนินการ เทคนิค ขนาดภาพจะมีบันทึกที่เป็นระบบระเบียบ จำหน่ายราคาเล่มละ 1,980 บาท สำหรับผู้สนใจร่วมชมพระอัจฉริยภาพของพระองค์ได้ตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย. ถึงวันที่ 28 ธ.ค.
     
  6. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    คุณธรรม 8 ประการ

    [​IMG]
     
  7. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    [​IMG]
     
  8. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    [​IMG]
     
  9. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    [​IMG]
     
  10. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    [​IMG]
     
  11. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    [​IMG]
     
  12. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    [​IMG]
     
  13. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    [​IMG]
     
  14. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    สรุป คุณธรรม 8 ประการ

    [​IMG]
     
  15. djinn

    djinn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2007
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +122
    อ้าว ผมนึกว่าคนไทยรู้กันหมดแล้วซะอีก!?

    อืม...งั้นต้องเอาไปโพสต่อๆอีก
     
  16. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    บางคนรู้ บางคนยังไม่รู้

    เหมือนกับผมที่พึ่งรู้เมื่อตอนโพสต์ :love:
     
  17. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    [​IMG]

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>คลื่นมหาชนเสื้อเหลืองทยอยเข้าพระราชวังสวนจิตรฯ เตรียมเข้าเฝ้าฯ</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>4 ธันวาคม 2550 14:28 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> คลื่นมหาชนที่สวมใส่เสื้อสีเหลืองจากทั่วประเทศ ได้เริ่มเคลื่อนขบวนเข้าสู่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ทางประตูถนนศรีอยุธยา และประตูบนถนนราชวิถี ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยและจัดระเบียบจากเจ้าหน้าที่อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน หรือ อปพร. และเจ้าหน้าที่จากสถานีตำรวจนครบาล เพื่อเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่จะพระราชทานพระบรมราโชวาท เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
    อย่างไรก็ตาม ประชาชนจำนวนมากยังคงเคลื่อนขบวนมาตามทางเดินเท้า จากประตูพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ด้านถนนศรีอยุธยาต่อเนื่อง ตลอดไปจนถึงแยกวัดเบญจมบพิตร อย่างเป็นระเบียบ แม้แสงแดดจะค่อนข้างร้อนก็ตาม</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    [​IMG]
     
  19. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    ไม่รู้ว่าอ่านกันหมดหรือยัง ^_^
     
  20. ดาโกต้า

    ดาโกต้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +210
    ขอถวายความเคารพและสรรเสริญ ในความอดทนเสียสละของพระองค์ที่มีให้กับปวงชนชาวไทยมาตลอดเวลาหลายสิบปี โดยมิได้คำนึงถึงว่าพระวรกายของพระองค์จะต้องทรมานเพียงใด ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน คุณงามความดีที่พระองค์มีให้กับประชาชน ข้าพเจ้าจะขอจงรักภักดีแก่ชาติ บ้านเมือง เพื่อตอบแทนข้าพระบาทในชาตินี้
     

แชร์หน้านี้

Loading...