พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    ผมมีพระสมเด็จอยู่รุ่นนึง ซึ่งยังไม่ได้ให้พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ชมกัน จะบอกว่า รุ่นนี้ก็ดีมากๆเช่นกัน เป็นพระพิมพ์ที่สร้างขึ้นที่วังหน้า นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกที่วังหน้า ที่สำคัญที่สุดก็คือ หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า ,หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า และสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี(ท่านยังมิได้ทิวงคต) ส่วนพระเถรานุเถระชั้นผู้ใหญ่องค์อื่นๆ ไม่ทราบพระนาม อธิษฐานจิต

    เนื้อหาค่อนข้างสวย มีหลายพิมพ์ แถมยังมีพิมพ์วันทาเสมา(ทั้งใหญ่และเล็ก) และมีพิมพ์อื่นๆอีก

    มีเพียงน้องเอ ที่ได้เห็นแล้วครับ

    .
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    สงสัยลืมให้น้องเอไปแน่ๆเลย
    ว่าจะให้น้องเอสักองค์ เนื่องจากมาช่วยงานพี่อย่างเต็มกำลังครับ


    .
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ :::เพชร::: [​IMG]
    พรุ่งนี้มีนัดคุยเรื่องงาน จะแขวนเดี่ยวสมเด็จ....น้ำว่าน ไปทดสอบดู ลำพังผมเชื่อในอิทธิคุณพระสมเด็จองค์นี้แล้วครับจากประสบการณ์ที่ผ่านมาเมื่อ ๒ อาทิตย์ก่อน เขาว่าเมตตามหานิยมในพิมพ์ธรรมดา คราวนี้ ลองแบบน้ำว่านแขวนเดี่ยวดู ได้ความยังไงจะนำมาบอกเล่ากันครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ผมกำลังรอผลอยู่เช่นกันครับคุณเพชร
    ยินดีล่วงหน้านะครับ

    .
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    ดีแล้วครับ ความกตัญญูรู้คุณคน เป็นสิ่งที่ทั้งคนไทย - คนจีน หรือ คนตะวันออก ปฎิบัติกันจนเป็นประเพณีสืบมายาวนาน

    วันนี้อย่าลืมนะครับ จะถวายพระสมเด็จ(ที่สร้างก่อนปี พ.ศ.2415 และสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีท่านอธิษฐานจิต) จำนวน 200 องค์ ก็แล้วแต่จะจัดสรรไปถวายที่ไหนบ้าง

    เป็นพระสมเด็จรุ่นเดียวกันกับที่ไปมอบให้น้องเอ ตอนที่น้องเอบวชพระ แล้วแจกกับผู้ที่ไปร่วมงานบวชน้องเอครับ

    น้องchaipat ครับ อย่าลืมนำน้ำมนต์ที่ได้ในวันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน 2551 ขอขมาสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีและเทวดาประจำองค์พระพิมพ์ แล้วนำน้ำมนต์พรมอีกครั้งเพื่อความเป็นสิริมงคลกับผู้ที่ได้รับพระสมเด็จไปบูชาครับ

    โมทนาสาธุครับ

    .
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    เวลาที่จะให้ใคร ต้องพิจารณาด้วยว่า สมควรที่จะให้หรือไม่ ระวังจะเป็นดาบสองคมนะครับ เตือนไว้ด้วยความหวังดี

    อีกเรื่อง หากว่าเรื่องไหนที่มีความขัดแย้งกับพระไตรปิฎก,พระอภิธรรมหรือพระสูตรต่างๆ เรื่องนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง และไม่ควรนำความคิดตนเองที่เข้าใจเอง ไปอธิบายให้กับผู้อื่นฟัง จักเป็นกรรม เช่น การละลายกรรม ,การลดกรรม หรือการไม่ต้องใช้กรรม เป็นต้น

    .
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    วันพรุ่งนี้ เพื่อนผมได้นิมนต์พระอาจารย์ 2 รูปซึ่งอาพาทไปรักษาที่จ.ราชบุรี ค่าใช้จ่ายในการรักษาและค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อนผมและพี่ท่านนึงเป็นผู้ที่ทำบุญให้ทั้งหมด

    มาโมทนาบุญในการช่วยเหลือและรักษาพระอาพาทกันนะครับ

    โมทนาสาธุครับ

    .
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    อ้างอิง:

    เวลาที่จะให้ใคร ต้องพิจารณาด้วยว่า สมควรที่จะให้หรือไม่ ระวังจะเป็นดาบสองคมนะครับ เตือนไว้ด้วยความหวังดี

    อีกเรื่อง หากว่าเรื่องไหนที่มีความขัดแย้งกับพระไตรปิฎก,พระอภิธรรมหรือพระสูตรต่างๆ เรื่องนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง และไม่ควรนำความคิดตนเองที่เข้าใจเอง ไปอธิบายให้กับผู้อื่นฟัง จักเป็นกรรม เช่น การละลายกรรม ,การลดกรรม หรือการไม่ต้องใช้กรรม เป็นต้น

    .
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    กรรมเป็นเรื่องทีละเอียดอ่อนมากๆ การที่จะไม่ใช้กรรม คือกรรมนั้นมีการอโหสิกรรม หรือเบาบางมากจนไม่ต้องชดใช้กรรม

    แต่เรื่องของการอธิบาย หากไม่รู้จริงๆ ก็ไม่สมควร เพราะว่าเราจะไม่รู้ว่าการอธิบายของเราเองนั้น มีเรื่องไหนที่ขัดกับพระไตรปิฎก ,พระสูตรหรือพระอภิธรรมบ้าง

    ต้องพิสูจน์เอง ว่าสิ่งที่ตนเองทำอะไรนั้น ถูกหรือผิด จะเป็นกรรมหรือไม่เป็นกรรม
    .
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    กฎแห่งกรรม

    http://www.dmc.tv/pages/guide/page21.html

    กฎแห่งกรรม คือ กฎที่แสดงให้เห็นถึงเหตุและผลของการกระทำใดๆของมนุษย์ กล่าวคือ ใครกระทำกรรมอันใดไว้ ดีหรือชั่วก็ตาม บุคคลผู้กระทำนั้นจักต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้นๆเสมอ

    มิได้เกิดจากการดลบันดาลจากอำนาจของพระเจ้าองค์ใด และไม่มีใครมารับผลของกรรมแทนบุคคลอื่นได้
    พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ในพระสูตรหนึ่ง ชื่อว่า
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <CENTER><BIG>http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=2054</BIG></CENTER><CENTER><BIG>อรรถกถา จิตตสัมภูตชาดก</BIG> </CENTER><CENTER class=D>ว่าด้วย ผลของกรรม</CENTER><!-- อรรถกถา จิตตสัมภูตชาดกที่ ๒ -->
    พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุสองรูป ซึ่งอยู่ร่วมรักกันสนิทเป็นสัทธิงวิหาริกของท่านพระมหากัสสปะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้

    มีคำเริ่มต้นว่า สพฺพํ นรานํ สผลํ สุจิณฺณํ ดังนี้.
    ได้ยินว่า ภิกษุสองรูปนั้นใช้สอยสมณบริขารร่วมกัน มีความคุ้นเคยสนิทกันอย่างยิ่ง แม้เมื่อเที่ยวบิณฑบาตก็ไปร่วมกัน ไม่สามารถที่จะพรากจากกันได้.
    ภิกษุทั้งหลายนั่งสรรเสริญความคุ้นเคยกันของภิกษุทั้งสองรูปนั้นแหละในธรรมสภา
    พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร? เมื่อภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ<WBR>ที่<WBR>ภิกษุสองรูปนี้เป็นผู้คุ้นเคยกันในอัตภาพนี้ ไม่น่าอัศจรรย์เลย ก็โบราณกบัณฑิตทั้งหลายแม้ถึงจะท่องเที่ยวไประหว่างสามสี่ภพ ก็ไม่ละทิ้งความสนิทสนมกันฐานมิตรเลยเหมือนกัน
    แล้วทรงนำอดีตนิทานมาแสดงดังต่อไปนี้
    ในอดีตกาล พระเจ้าอวันตีมหาราชเสวยราชสมบัติในกรุงอุชเชนี แคว้นอวันตี ในกาลนั้น ด้านนอกกรุงอุชเชนีมีหมู่บ้านคนจัณฑาลตำบลหนึ่ง. พระมหาสัตว์เจ้าบังเกิดในหมู่บ้านนั้น ต่อมา คัพภเสยยกสัตว์แม้อื่น ก็มาเกิดเป็นบุตรแห่งน้าหญิงของพระมหาสัตว์นั้นเหมือนกัน. ในกุมารทั้งสองนั้น คนหนึ่งซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ ชื่อจิตตกุมาร คนหนึ่งซึ่งเป็นบุตรน้าสาวชื่อสัมภูตกุมาร. กุมารแม้ทั้งสองเหล่านั้น ครั้นเจริญวัยแล้ว เรียนศิลปศาสตร์ ชื่อว่า จัณฑาลวังสโธวนะ
    วันหนึ่งชักชวนกันว่า เราทั้งสองจักแสดงศิลปศาสตร์ที่ใกล้ประตูพระนครอุชเชนี คนหนึ่งแสดงศิลปะที่ประตูด้านทิศเหนือ อีกคนหนึ่งแสดงศิลปะที่ประตูด้านทิศใต้.
    ก็ในพระนครนั้นได้มีนางทิฏฐมังคลิกาสองคน คนหนึ่งเป็นธิดาของท่านเศรษฐี อีกคนหนึ่งเป็นธิดาของท่านปุโรหิตาจารย์ นางทั้งสองได้ให้บริวารชน ถือเอาของขบเคี้ยวและของบริโภคทั้งระเบียบดอกไม้และของหอมเป็นต้นเป็นอันมากไป ด้วยคิดว่า จักเล่นในอุทยาน คนหนึ่งออกทางประตูด้านทิศเหนือ อีกคนหนึ่งออกทางประตูด้านทิศใต้.
    นางทิฏฐมังคลิกากุมารีทั้งสองนั้น เห็นบุตรของคนจัณฑาลสองพี่น้องแสดงศิลปะอยู่ จึงถามว่าคนเหล่านี้เป็นใครๆ ได้ฟังว่าเป็นบุตรของคนจัณฑาล จึงคิดว่า เราทั้งหลายได้เห็นบุคคลที่ไม่สมควรจะเห็นแล้วหนอ แล้วเอาน้ำหอมล้างตาพากันกลับ. มหาชนที่ไปด้วยพากันโกรธ กล่าวว่า เฮ้ยไอ้คนจัณฑาลชาติชั่ว เพราะอาศัยเจ้าทั้งสอง พวกเราจึงไม่ได้ดื่มสุราและกับแกล้มที่ไม่ต้องซื้อหา แล้วพากันโบยตีพี่น้องแม้ทั้งสองเหล่านั้น ให้ถึงความบอบช้ำย่อยยับ
    พี่น้องทั้งสองเหล่านั้นกลับได้สติฟื้นขึ้นมา จึงลุกขึ้นเดินไปยังสำนักของกันแลกัน มาพร้อมกัน ณ สถานที่แห่งหนึ่ง แล้วบอกเล่าความทุกข์ที่เกิดขึ้นนั่นสู่กันฟัง ต่างร้องไห้คร่ำครวญ ปรึกษากันว่า เราทั้งสองจักทำอย่างไรกันดี แล้วพูดกันว่า เพราะอาศัยชาติกำเนิด ความทุกข์นี้จึงเกิดแก่เราทั้งสอง พวกเราไม่สามารถจะกระทำงานของคนจัณฑาลได้จึงตกลงกันว่า เราทั้งสองปกปิดชาติกำเนิดแล้ว ปลอมแปลงเพศเป็นพราหมณ์มาณพ ไปสู่เมืองตักกศิลา เล่าเรียนศิลปวิทยากันเถิด ดังนี้แล้ว เดินทางไปในพระนครตักกศิลานั้น เป็นธัมมันเตวาสิกเริ่มเรียนศิลปศาสตร์ในสำนักของอาจารย์ทิศาปาโมกข์
    เล่าลือกันไปทั่วชมพูทวีปว่า ได้ยินว่า คนจัณฑาลสองพี่น้องปกปิดชาติกำเนิด หนีไปเรียนศิลปศาสตร์.
    ในพี่น้องทั้งสองคนนั้น จิตตบัณฑิตเล่าเรียนศิลปศาสตร์สำเร็จ แต่สัมภูตกุมารยังเรียนไม่สำเร็จ อยู่มาวันหนึ่ง พราหมณ์ชาวบ้านผู้หนึ่ง มาเชิญอาจารย์ทิศาปาโมกข์ว่า ข้าพเจ้าจักกระทำการสวดมนต์(ในพิธีมงคล)
    ในคืนวันนั้นเอง ฝนตกเอ่อล้นซอกมุมเป็นต้นในหนทาง. อาจารย์จึงเรียกจิตตบัณฑิตมาแต่เช้าตรู่ ส่งไปแทนตนโดยสั่งว่า พ่อมหาจำเริญ เราไม่สามารถจะไปได้ เธอจงไปสวดมงคลกถา พร้อมด้วยมาณพทั้งหลาย บริโภคอาหารส่วนที่พวกเธอได้รับ แล้วนำอาหารส่วนที่เราได้มาให้ด้วย
    จิตตบัณฑิตรับคำอาจารย์แล้วพามาณพทั้งหลายมาแล้ว. คนทั้งหลายคดข้าวปายาสตั้งไว้ หมายว่า กว่ามาณพทั้งหลายจะอาบน้ำล้างหน้าเสร็จ ก็จะเย็นพอดี เมื่อข้าวปายาสยังไม่ทันเย็น มาณพทั้งหลายพากันมานั่งในเรือนแล้ว. มนุษย์ทั้งหลายจึงให้น้ำทักษิโณทก ยกสำรับมาตั้งไว้ข้างหน้าของมาณพเหล่านั้น.
    สัมภูตมาณพเป็นเหมือนคนมีนิสัยละโมบในอาหารรีบตักก้อนข้าวปายาสใส่ปาก ด้วยสำคัญ<WBR>ว่าเย็นดีแล้ว ก้อนข้าวปายาสซึ่งร้อนระอุเหมือนเหล็กแดง ก็ลวกปากของเขา. เขาสะบัดหน้าสั่นไปทั้งร่าง ตั้งสติไม่อยู่ มองดูจิตตบัณฑิตเผลอกล่าวเป็นภาษาจัณฑาลไปอย่างนี้ว่า "ขลุ ขลุ" ฝ่ายจิตตบัณฑิตก็ตั้งสติไว้ไม่ได้เหมือนกัน ส่งภาษาจัณฑาลตอบไปอย่างนี้ว่า "นิคคละ นิคคละ"
    มาณพทั้งหลายต่างมองหน้าแล้วพูดกันว่า นี้ภาษาอะไรกัน?
    จิตตบัณฑิตกล่าวมงคลกถาอนุโมทนาแล้ว.
    มาณพทั้งหลายจึงออกไปภายนอกแล้วนั่งวิพากย์<WBR>วิจารภาษากันอยู่ในที่นั้นๆเป็นพวกๆ พอ<WBR>รู้<WBR>ว่าเป็นภาษาจัณฑาลแล้ว จึงด่าว่า เฮ้ย! ไอ้คนจัณฑาลชาติชั่ว พวกเจ้าหลอกลวงว่าเป็นพราหมณ์มาตลอดเวลามีประมาณเท่านี้ แล้วช่วยกันโบยตีมาณพทั้งสอง.
    ลำดับนั้น สัตบุรุษผู้หนึ่งจึงห้ามว่า ท่านทั้งหลายจงหลีกไป แล้วกันสองมาณพออกมา แล้วส่งไปโดยพูดว่า นี้เป็นโทษแห่งชาติกำเนิดของท่านทั้งสอง จงพากันไปบวชเลี้ยงชีพ ณ ประเทศแห่งใดแห่งหนึ่งเถิด มาณพทั้งหลายกลับมาแจ้งเรื่องที่มาณพทั้งสองเป็นจัณฑาลให้อาจารย์ทราบทุกประการ
    แม้มาณพทั้งสองก็เข้าป่า บวชเป็นฤาษี ต่อมาไม่นานนัก ก็จุติจากอัตภาพนั้นไปบังเกิดในท้องของแม่เนื้อ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา จำเดิมแต่คลอดจากท้องแม่เนื้อแล้ว มฤคโปดกทั้งสองพี่น้องก็เที่ยวไปด้วยกัน ไม่อาจพรากจากกันได้. วันหนึ่ง นายพรานผู้หนึ่งมาเห็นมฤคโปดกทั้งสอง คาบเหยื่อกลับมา แล้วยืนเอาหัวต่อหัว เอาเขาต่อเขา เอาปากต่อปากจรดติดชิดกัน ยืนขนชัน ตั้งอยู่ ณ ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง จึงพุ่งหอกไปที่สัตว์ทั้งสองให้สิ้นชีวิต ด้วยการประหารทีเดียวเท่านั้น.
    ครั้นมฤคโปดกทั้งคู่จุติจากอัตภาพนั้นแล้วไปบังเกิดในกำเนิดนกเขา อยู่ที่ริมฝั่งน้ำรัม<WBR>มทา<WBR>นที. แม้ในอัตภาพนั้นก็มีนายพรานดักนกผู้หนึ่งมาเห็นลูกนกเขาทั้งสองเหล่านั้นซึ่งเจริญวัยแล้ว ไปเที่ยวคาบเหยื่อ แล้วมายืนเอาหัวซบหัว เอาจะงอยปากต่อจะงอยปากแนบสนิทชิดเรียงยืนเคียงกัน จึงเอาข่ายครอบฆ่าให้ตายด้วยการประหารทีเดียวเท่านั้น.
    ก็ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว จิตตบัณฑิตเกิดเป็นบุตรของปุโรหิตในพระนครโกสัมพี. สัมภูตบัณฑิตไปเกิดเป็นโอรสของพระเจ้าอุตตรปัญจาลราช.
    จำเดิมแต่กาลที่ถึงวันขนานนาม กุมารเหล่านั้นก็ระลึกชาติหนหลังของตนๆ ได้.
    สัมภูตบัณฑิตราชกุมารไม่สามารถระลึกชาติในระหว่างได้ คงระลึกได้เฉพาะชาติที่ ๔ ซึ่งเกิดเป็นคนจัณฑาลเท่านั้น ส่วนจิตตบัณฑิตกุมารระลึกได้ตลอด ๔ ชาติโดยลำดับ.
    ในเวลาที่มีอายุได้ ๑๖ ปี จิตตบัณฑิตออกจากเรือนเข้าไปสู่หิมวันตประเทศ บวชเป็นฤาษี ยังฌานและอภิญญาให้เกิดแล้ว ยับยั้งอยู่ด้วยความสุขอันเกิดแต่ฌาน.
    ฝ่ายสัมภูตราชกุมาร เมื่อพระชนกสวรรคตแล้ว ให้ยกเศวตฉัตรขึ้นเสวยราชสมบัติแทน ได้ตรัสพระคาถา ๒ คาถาด้วยความเบิกบานพระราชหฤทัย กระทำให้เป็นเพลงขับเฉลิมฉลองมงคล ท่ามกลางมหาชน ในวันเฉลิมฉัตรมงคลนั่นเอง. นางสนมกำนัลก็ดี นักฟ้อนรำทั้งหลายก็ดีได้สดับคาถาเพลงขับนั้นแล้ว คิดว่า ได้ยินว่านี้เป็นเพลงขับเฉลิมฉลองเนื่องในวันมงคลของพระราชาของเราทั้งหลาย จึงพากันขับร้องบทเพลงพระราชนิพนธ์นั้นทั่วกัน ประชาชนชาวพระนครแม้ทั้งหมดทราบว่า เพลงขับนี้เป็นที่โปรดปราน พอพระราชหฤทัยของพระราชา ก็พากันขับร้องบทพระราชนิพนธ์นั่นแหละ ต่อๆ กันไปโดยลำดับ.
    ฝ่ายพระจิตตบัณฑิตดาบสอยู่ในหิมวันตประเทศนั่นแล ใคร่ครวญพิจารณาดูว่า สัมภูตบัณฑิตผู้น้องชายของเราได้ครอบครองเศวตฉัตรแล้วหรือว่ายังไม่ได้ครอบครอง ทราบว่าได้ครอบครองแล้ว จึงคิดว่า บัดนี้เรายังไม่สามารถเพื่อจะไปสั่งสอนพระราชาซึ่งได้เสวยราชสมบัติใหม่ ให้ทรงรู้แจ้งซึ่งธรรมวิเศษได้ก่อน เราจักเข้าไปหาท้าวเธอในเวลาที่ทรงพระชราภาพ กล่าวธรรมกถา แล้วชักนำให้บรรพชา ดังนี้แล้วจึงมิได้เสด็จไปตลอดระยะเวลา ๕๐ ปี
    ในเวลาที่พระราชาทรงเจริญด้วยพระโอรสและพระธิดาแล้ว จึงเหาะมาทางอากาศด้วยฤทธานุภาพ ลงที่พระราชอุทยาน นั่งพักอยู่บนแท่นมงคลศิลาอาสน์ราวกับพระปฏิมาทองคำ. ขณะนั้นมีเด็กคนหนึ่งขับเพลงบทพระราชนิพนธ์ เก็บฟืนอยู่ จิตตบัณฑิตดาบสเรียกเด็กนั้นมา เด็กก็มาไหว้พระดาบสแล้วยืนอยู่. ทีนั้นพระจิตตบัณฑิตดาบส จึงกล่าวกะเด็กนั้นว่า ตั้งแต่เช้ามา เจ้าขับเพลงขับบทเดียวนี้เท่านั้น ไม่รู้จักเพลงอย่างอื่นบ้างเลยหรือ?
    เด็กตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมรู้บทเพลงแม้อย่างอื่นเป็นอันมาก แต่บทเพลงทั้งสองบทนี้ เป็นบทที่พระราชาทรงโปรดปราน พอพระราชหฤทัย เพราะฉะนั้น กระผมจึงขับร้องเฉพาะเพลงบทนี้เท่านั้น
    พระดาบสถามต่อไปว่า ก็มีใครๆ ขับร้องเพลงขับตอบบทพระราชนิพนธ์บ้างหรือไม่?
    เด็กตอบว่า ไม่มีเลยขอรับ.
    พระดาบสจึงกล่าวว่า ก็เจ้าเล่าจักสามารถเพื่อจะขับบทเพลงตอบอยู่หรือ?
    เด็กตอบว่า เมื่อกระผมรู้ก็จักสามารถ.
    พระดาบสกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น เมื่อพระราชาทรงขับบทเพลงพระราชนิพนธ์ทั้งสองแล้ว เจ้าจงจำเอาบทเพลงขับที่สามนี้ไปร้องขับตอบเถิด แล้วสอนเพลงขับนั้นให้เด็กส่งไป พร้อมกับสั่งว่า เจ้า ไปขับร้องในสำนักของพระราชา พระราชาทรงเลื่อมใสจักพระราชทานยศยิ่งใหญ่แก่เจ้า.
    เด็กนั้นรีบไปยังสำนักของมารดาให้ช่วยประดับตกแต่งตนแล้ว ไปยังประตูพระราชนิเวศน์ สั่งราชบุรุษให้กราบทูลพระราชาว่า ได้ยินว่า มีเด็กคนหนึ่งจักมาขับร้องบทเพลงตอบกับด้วยพระ<WBR>องค์
    ครั้นเมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้วจึงเข้าไปถวายบังคม อันพระราชาตรัสถามว่า พ่อเด็กน้อย เขาว่าเจ้าจักมาร้องเพลงตอบกับเราหรือ?
    ก็กราบทูลว่า ขอเดชะพระอาญาไม่พ้นเกล้า เป็นความจริง พระเจ้าข้า แล้วกราบทูลให้พระราชามีพระราชโองการให้ราชบริษัททั้งหลายมาประชุมกัน เมื่อราชบริษัทประชุมพร้อมกันแล้ว จึงกราบทูลพระราชาว่า ขอพระองค์โปรดทรงขับร้องเพลงบทพระนิพนธ์ของพระองค์ก่อนเถิด ข้าพระพุทธเจ้าจักขับบทเพลงถวายตอบทีหลัง.
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <CENTER><BIG>http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=2054</BIG></CENTER><CENTER><BIG>อรรถกถา จิตตสัมภูตชาดก</BIG> </CENTER><CENTER class=D>ว่าด้วย ผลของกรรม</CENTER>พระราชาได้ตรัสพระคาถา ๒ คาถาความว่า

    กรรมทุกอย่างที่นรชนสั่งสมไว้แล้ว ย่อมมีผลเสมอไป ขึ้นชื่อว่ากรรมแม้จะเล็กน้อยที่จะไม่<WBR>ให้<WBR>ผล<WBR>เป็นไม่มี เราได้เห็นตัวของเราผู้ชื่อว่าสัมภูตะ มีอานุภาพมาก อันบังเกิดขึ้นด้วยผลบุญ เพราะ<WBR>กรรม<WBR>ของตนเอง
    กรรมทุกอย่างที่นรชนสั่งสมไว้แล้ว ย่อมมีผลเสมอไป ขึ้นชื่อว่ากรรมแม้จะเล็กน้อยที่จะไม่ให้ผลเป็นไม่มี มโนรถของเราสำเร็จแล้วแม้ฉันใด มโนรถแม้ของจิตตบัณฑิตพระเชษฐาของเรา ก็คงสำเร็จแล้วฉันนั้น กระมังหนอ ดังนี้.


    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น กมฺมุนา กิญฺจน โมฆมตฺถิ นี้พระราชาตรัสหมายถึงอปราปร<WBR>เวท<WBR>นี<WBR>ยกรรมว่า ในกรรมที่บุคคลทำแล้วทั้งดีและชั่ว กรรมแม้เล็กน้อยเพียงอย่างเดียว ที่จะชื่อว่าเป็น<WBR>โมฆะ<WBR>ไม่มี คือจะไร้ผลเสียเลยหามิได้ ต้องให้ผลก่อนจึงจักพ้นไปได้.
    บทว่า สมฺภูตํ ความว่า พระเจ้าสัมภูตบัณฑิตตรัสเรียกพระองค์เองว่า เราเห็นตัวเองซึ่งมีชื่อว่าสัมภูตะ. บทว่า สกมฺมุนา ปุญฺญผลูปปนฺนา ความว่า ข้าพเจ้าเห็นตัวข้าพเจ้าผู้บังเกิดขึ้นด้วยผลแห่งบุญ เพราะกรรมของตน คือบังเกิดขึ้นด้วยผลแห่งบุญ เพราะอาศัยกรรมของตนเป็นเหตุเป็นปัจจัย.
    บทว่า กจฺจินุ จิตฺตสฺสปิ ความว่า แท้จริง เราทั้งสองได้รักษาศีลร่วมกันมา ไม่นานนักข้าพเจ้าก็ถึงซึ่งยศใหญ่ ด้วยผลแห่งศีลนั่นเองก่อนฉันใด มโนรถแม้แห่งจิตตเชษฐาพระภาดาของเรา จะสำเร็จสมความมุ่งหมายฉันนั้นเหมือนกัน ดังมโนรถของเราหรือไม่หนอ.

    เมื่อพระเจ้าสัมภูตะขับเพลงคาถาสองบทจบลง
    กุมารเมื่อจะขับเพลงตอบถวาย จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ความว่า

    ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ กรรมทุกอย่างที่นรชนสั่งสมไว้แล้ว ย่อมมีผลเสมอไป ขึ้นชื่อว่ากรรมแม้จะเล็กน้อยที่จะไม่ให้ผลเป็นอันไม่มี มโนรถของพระองค์สำเร็จแล้วแม้ฉันใด ขอพระองค์โปรดทราบเถิดว่า มโนรถของจิตตบัณฑิตก็สำเร็จแล้วฉันนั้นเหมือนกัน.


    พระราชาทรงสดับคาถานั้นแล้ว จึงตรัสพระคาถาที่ ๔ ความว่า
    เจ้าหรือคือจิตตะ เจ้าได้ฟังคำนี้มาจากคนอื่น หรือว่าใครบอกเนื้อความนี้แก่เจ้า คาถานี้เจ้าขับดีแล้ว เราไม่มีความสงสัย เราจะให้บ้านส่วยร้อยตำบลแก่เจ้า.


    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุตมญฺญโต เม ความว่า ถ้อยคำที่ว่าเชษฐาภาดาของพระเจ้าสัมภูตะ นามว่าจิตตบัณฑิตนี้ เจ้าได้ยินมาแต่สำนักจิตตบัณฑิตคนนั้นผู้กล่าวอยู่หรือ?
    บทว่า โกจิ นํ ความว่า หรือว่าใครบอกเนื้อความนี้แก่เจ้าว่า จิตตบัณฑิตผู้พระภาดาของพระเจ้าสัมภูตราชเราเห็นแล้ว. บทว่า สุคีตา ความว่า คาถานี้เจ้าขับดีแล้ว แม้โดยประการทั้งปวง เราไม่มีความเคลือบแคลงสงสัยในเพลงขับนี้. บทว่า คามวรํ สตญฺจ ความว่า พระเจ้าสัมภูตราชตรัสว่า เราจะให้บ้านส่วยร้อยตำบลเป็นรางวัลแก่เจ้า.

    ลำดับนั้น กุมารจึงกล่าวคาถาที่ ๕ ความว่า
    ข้าพระพุทธเจ้าหาใช่จิตตะไม่ ข้าพระพุทธเจ้าฟังคำนี้มาจากคนอื่น และฤาษีได้บอกเนื้อความนี้แก่ข้าพระพุทธเจ้าแล้วสั่งว่า เจ้าจงไปขับคาถานี้ตอบถวายพระราชา พระราชาทรงพอพระ<WBR>ทัย<WBR>แล้ว จะพึงพระราชทานบ้านส่วยให้แก่เจ้าบ้างกระมัง.


    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอตมตฺถํ ความว่า พระฤาษีรูปหนึ่งนั่งอยู่ในพระอุทยานของพระองค์ บอกเนื้อความนี้แก่ข้าพเจ้า.

    พระเจ้าสัมภูตราชทรงสดับถ้อยคำนั้นแล้ว ทรงพระดำริว่า ชะรอยพระดาบสนั้นจักเป็นจิตตบัณฑิตผู้เชษฐภาดาของเรา เราจักไปพบพระเชษฐภาดาของเรานั้น
    เมื่อจะตรัสใช้ให้ราชบุรุษเตรียมกระบวน จึงตรัสพระคาถาสองคาถา ความว่า

    ราชบุรุษทั้งหลายจงเทียมราชรถของเราจัดแจงให้ดี ผูกรัดจัดสรรให้งดงามวิจิตร จงผูกรัดสายประคนมงคลหัตถี นายหัตถาจารย์จงขึ้นประจำคอ
    จงนำเอาเภรีตะโพนสังข์มาตระเตรียม เจ้าหน้าที่ทั้งหลายจงเทียมยานพาหนะโดยเร็ว วันนี้แลเราจักไปเยี่ยมเยียนพระฤาษีซึ่งนั่งอยู่ ณ อาศรม<WBR>สถานให้ถึงที่ทีเดียว.


    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หญฺญนฺตุ แปลว่า จงนำมาเตรียมไว้.
    บทว่า อสฺสมนฺตํ ตัดบทเป็น อสฺสมํ ตํ แปลว่า ยังอาศรมบทนั้น.

    พระเจ้าสัมภูตราช ครั้นดำรัสสั่งอย่างนี้แล้ว เสด็จขึ้นทรงรถพระที่นั่งเสด็จไปโดยพลัน จอดราชรถไว้ที่ประตูพระราชอุทยาน แล้วเสด็จเข้าไปหาพระดาบสจิตตบัณฑิตนมัสการแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง มีพระราชหฤทัยชื่นชมโสมนัส ตรัสพระคาถาที่ ๘ ความว่า

    ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ลาภดีแล้วหนอ คาถาอันข้าพเจ้าขับดีแล้วในท่ามกลางบริษัท ข้าพเจ้าได้พบพระฤาษีผู้สมบูรณ์ด้วยศีลพรต เป็นผู้มีความชื่นชมยินดี ปิติโสมนัสยิ่งนัก.


    พระคาถานี้มีอรรถาธิบายว่า คาถาที่ข้าพเจ้าขับกล่อมในท่ามกลางบริษัท ในวันฉัตรมงคลของข้าพเจ้านั้น เป็นเหตุให้ข้าพเจ้าได้พบพระฤาษีผู้เข้าถึงศีลและพรตแล้ว ถึงความปิติโสมนัสหาที่เปรียบมิได้ นับว่าข้าพเจ้าได้ลาภอันดียิ่งทีเดียว.

    จำเดิมแต่ได้พบพระจิตตบัณฑิตดาบสแล้ว พระเจ้าสัมภูตราชทรงชื่นชมโสมนัสยิ่ง เมื่อจะมีพระราชดำรัสตรัสสั่ง ซึ่งราชกิจมีอาทิว่า ท่านทั้งหลายจงลาดบัลลังก์เพื่อเชษฐภาดาของเรา
    จึงตรัสคาถาที่ ๙ ความว่า

    ขอเชิญท่านผู้เจริญโปรดรับอาสนะ น้ำ และรองเท้าของข้าพเจ้าทั้งหมดเถิด ข้าพเจ้ายินดีต้อนรับท่านผู้เจริญในสิ่งของอันมีราคาคู่ควรแก่การต้อนรับ ขอท่านผู้เจริญเชิญรับสักการะอันมีค่าของข้าพเจ้าทั้งหลายด้วยเถิด.


    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคฺเฆ ความว่า ข้าพเจ้าขอต้อนรับท่านผู้เจริญ ในสิ่งของอันมีราคาควรเพื่อการต้อนรับแขก. บทว่า กุรุเต โน ความว่า ขอเชิญท่านผู้เจริญจงรับประเคน สิ่งอันมีค่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลายด้วยเถิด.

    ครั้นพระเจ้าสัมภูตบัณฑิตทรงทำการปฏิสันถาร ด้วยพระดำรัสอันอ่อนหวานอย่างนี้แล้ว
    เมื่อจะทรงแบ่งราชสมบัติถวายกึ่งหนึ่ง จึงตรัสพระคาถานอกนี้ ความว่า

    ขอเชิญพระเชษฐาทรงสร้างปรางค์ปราสาท อันเป็นที่อยู่น่ารื่นรมย์สำหรับพระองค์เถิด จงทรงบำรุงบำเรอด้วยหมู่นารีทั้งหลาย โปรดให้โอกาสเพื่ออนุเคราะห์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด แม้เราทั้งสองก็จะครอบครองอิสริยสมบัตินี้ร่วมกัน.


    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิมํ อิสฺสริยํ ความว่า เราจะเป็นกษัตริย์กันทั้งสององค์ แบ่งราชสมบัติกันคนละครึ่ง แล้วเสวยราชย์ครอบครองอยู่ในอุตตรปัญจาลนคร แคว้นกปิลรัฐ.

    พระจิตตบัณฑิตดาบสฟังพระดำรัสของพระเจ้าสัมภูตราชแล้ว
    เมื่อจะแสดงธรรมเทศนาถวาย จึงกล่าวคาถา ๖ คาถา ความว่า

    ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์ทรงเห็นผลแห่งสุจริตอย่างเดียว ส่วนอาตมาภาพเห็นผลแห่งสุจริต และทุจริตที่สั่งสมไว้แล้ว เป็นวิบากใหญ่จึงสำรวมตนเท่านั้น มิได้ปรารถนาบุตร ปศุสัตว์หรือทรัพย์
    ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ มีกำหนดร้อยปีเป็นอย่างมาก ไม่เกินกำหนดนั้นไปได้เลย ย่อมจะเหือดแห้งไป เหมือนไม้อ้อที่ถูกตัดแล้ว มีแต่จะเหี่ยวแห้งไปฉะนั้น
    ในช่วงชีวิตอันจะต้องเหือดแห้งไปนั้น จะมัวเพลิดเพลินไปไย จะมัวเล่นคึกคะนองไปทำไม ความยินดีจะเป็นประโยชน์อะไร ประโยชน์อะไรด้วยการแสวงหาทรัพย์ จะมีประโยชน์อะไรด้วยบุตรและภรรยาสำหรับอาตมา
    ดูก่อนมหาบพิตร อาตมาพ้นแล้วจากเครื่องผูก อาตมารู้ชัดอย่างนี้ว่า มัจจุราชจะไม่รังควานเราเป็นอันไม่มี เมื่อบุคคลถูกมัจจุราชครอบงำแล้ว ความยินดีจะเป็นประโยชน์อะไร จะมี<WBR>ประ<WBR>โยชน์<WBR>อะไร<WBR>ด้วย<WBR>การแสวงหาทรัพย์
    ดูก่อนมหาบพิตรผู้เป็นจอมนระ ชาติกำเนิดของคนเราไม่สม่ำเสมอกัน กำเนิดแห่งคนจัณฑาลจัดว่าเลวทรามในระหว่างมนุษย์ เมื่อชาติก่อนเราทั้งสองได้อยู่ร่วมกัน ในครรภ์แห่งนางจัณฑาลี เพราะกรรมอันชั่วช้าของตน
    เราทั้งสองได้เกิดเป็นคนจัณฑาล ในกรุงอุชเชนีอวันตีชนบท
    ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้เกิดเป็นเนื้อสองตัวพี่น้อง อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
    ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้เกิดเป็นนกเขาสองตัวพี่น้อง อยู่ฝั่งรัมมทานที
    ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว คราวนี้อาตมภาพเกิดเป็นพราหมณ์
    มหาบพิตรทรงสมภพเป็นกษัตริย์.


    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุจฺจริตสฺส ความว่า ดูก่อนมหาบพิตรพระราชสมภาร พระองค์ทรงเห็นแต่ผลแห่งสุจริตอย่างเดียว ส่วนอาตมาภาพเห็นทั้งผลแห่งทุจริตและสุจริตทีเดียว ด้วยว่าเราทั้งสองได้บังเกิดในกำเนิดคนจัณฑาล ในอัตภาพที่ ๔ แต่อัตภาพนี้ด้วยผลแห่งทุจริต พากันรักษาศีลอยู่ในอัตภาพนั้นไม่นาน ด้วยผลแห่งศีลอันสุจริตนั้น พระองค์ทรงบังเกิดในตระกูลกษัตริย์ อาตมาภาพเกิดในตระกูลพราหมณ์ เพราะอาตมาภาพเห็นผลแห่งทุจริตและสุจริตอันเคยสั่งสมดีแล้ว ว่าเป็นวิบากใหญ่อย่างนี้ จึงจักสำรวมตนเท่านั้น ด้วยความสำรวมคือศีล จะปรารถนาบุตร ปศุสัตว์ หรือธนสารสมบัติ ก็หามิได้.
    บทว่า ทเสวิมา วสฺสทสา ความว่า ดูก่อนมหาราชเจ้า เพราะชีวิตของสัตว์ทั้งหลายในมนุษย<WBR>โลกนี้ มีกำหนดสิบปีสิบหน คือร้อยปีเท่านั้นด้วยสามารถแห่งหมวดสิบเหล่านี้ คือ
    มันททสกะ สิบปีแห่งความเป็นเด็กอ่อน ๑ ขิฑฑาทสกะ สิบปีแห่งการเล่นคึกคะนอง ๑
    วัณณทสกะ สิบปีแห่งความสวยงาม ๑ พลทสกะ สิบปีแห่งความมีกำลังสมบูรณ์ ๑
    ปัญญาทสกะ สิบปีแห่งความมีปัญญารอบรู้ ๑ หานิทสกะ สิบปีแห่งความเสื่อม ๑
    ปัพภารทสกะ สิบปีแห่งความมีกายเงื้อมไปข้างหน้า ๑
    วังกทสกะ สิบปีแห่งความมีกายคดโกง ๑
    โมมูหทสกะ สิบปีแห่งความหลงเลอะเลือน ๑
    สยนทสกะ สิบปีแห่งการนอนอยู่กับที่ ๑.
    ชีวิตนี้ย่อมไม่ถึงขั้นลำดับทสกะเหล่านี้ครบทั้งหมด ตามที่กำหนดไว้.
    โดยที่แท้ยังไม่ทันถึงเขตที่กำหนดนั้นเลยก็ซูบซีดเหี่ยวแห้งไปดังไม้อ้อที่ถูกตัดแล้วฉะนั้น ถึงแม้สัตว์เหล่าใดมีอายุอยู่ได้ครบ ๑๐๐ ปีบริบูรณ์ รูปธรรมและอรูปธรรมของสัตว์แม้เหล่านั้น อันเป็นไปในมันททสกะถูกตัดแล้ว ย่อมผันแปรเหือดแห้งอันตรธานไป ในระยะมันททสกะนั่นเอง ดุจไม้อ้อที่เขาตัดแล้วตากไว้ที่แดดฉะนั้น. ที่จะล่วงเลยกำหนดนั้น จนถึงขั้นขิฑฑาทสกะหามิได้ วัณณทสกะเป็นต้น อันเป็นไปแล้วในขิฑฑาทสกะเป็นต้นก็อย่างเดียวกัน.
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <CENTER><BIG>http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=2054</BIG></CENTER><CENTER><BIG>อรรถกถา จิตตสัมภูตชาดก</BIG> </CENTER><CENTER class=D>ว่าด้วย ผลของกรรม</CENTER>
    บทว่า ตตฺถ ความว่า เมื่อชีวิตนั้นต้องซูบซีดเหี่ยวแห้งไปด้วยอาการอย่างนี้
    ความเพลิดเพลินยินดีเพราะอาศัยเบญจกามคุณ จะมีประโยชน์อะไร?
    การเล่นคึกคะนองด้วยสามารถแห่งการเล่นทางกายเป็นต้นจะมีประโยชน์อะไร
    ความยินดีด้วยสามารถแห่งความโสมนัสจะมีประโยชน์อะไร?
    การแสวงหาธนสารสมบัติจะมีประโยชน์อะไร?
    ประโยชน์อะไรด้วยลูกด้วยเมียของอาตมภาพ อาตมภาพหลุดพ้นแล้วจากเครื่องผูกคือบุตร<WBR>และ<WBR>ภรรยานั้น.
    บทว่า อนฺตเกนาธิปนฺนสฺส ความว่า อันมฤตยูผู้กระทำที่สุดแห่งชีวิตครอบงำแล้ว.
    บทว่า ทฺวิปทกนิฏฺฐา ความว่า (กำเนิดคนจัณฑาล)นับเป็นกำเนิดต่ำต้อย ในระหว่างมวลมนุษย์ผู้มีสองเท้าด้วยกัน.
    บทว่า อวสิมฺหา ความว่า เราแม้ทั้งสองคนได้เคยอยู่ร่วมกันมา.
    บทว่า จณฺฑาลาหุมฺหา ความว่า ดูก่อนมหาราชเจ้า เมื่อก่อนนับถอยหลังจากนี้ไป ๔ ชาติ เราทั้งสองได้เกิดเป็นคนจัณฑาลอยู่ในพระนครอุชเชนี แคว้นอวันตีรัฐ เคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้ว เราแม้ทั้งสองได้เกิดเป็นมฤคโปดก อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรานที มีนายพรานผู้หนึ่งฆ่าเราแม้ทั้งสองซึ่งยืนพิงกันอยู่ที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรานั้น จนสิ้นชีวิตเคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้วไปเกิดเป็นนกเขา อยู่ร่วมกันที่ฝั่งน้ำ "รัมมทานที" มีเนสาทผู้หนึ่งดักข่ายทำลายเราให้ถึงตายด้วยการประหารคราวเดียวเท่านั้น ครั้นเคลื่อนจากอัตภาพนั้น มาในชาตินี้ เราทั้งสองเกิดเป็นพราหมณ์ และกษัตริย์ คือ อาตมภาพเกิดในตระกูลพราหมณ์ในพระนครโกสัมพี พระองค์เกิดเป็นกษัตริย์ในพระนครนี้

    ครั้นพระโพธิสัตว์ประกาศชาติกำเนิดอันลามกต่ำต้อยที่ผ่านมาแล้วแก่พระเจ้าสัมภูตราชนั้นด้วยประการดังกล่าวมานี้ แล้วแสดงว่า อายุสังขารแม้ในชาตินี้มีเวลาเล็กน้อย ให้พระเจ้าสัมภูตราชทรงเกิดอุตสาหะในบุญกุศลทั้งหลาย ได้กล่าวคาถา ๔ คาถาติดต่อกันไป ความว่า

    ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ถูกชรานำเข้าไปสู่ความตาย อายุของสัตว์ทั้งหลายเป็นของน้อย เมื่อนรชนถูกชรานำเข้าไปสู่ความตาย ย่อมไม่มีผู้ต้านทาน ดูก่อนพระเจ้าปัญจาลราช มหาบพิตรจงทรงทำตามคำของอาตมภาพ อย่าทรงทำกรรมทั้งหลายมีทุกข์เป็นกำไรเลย
    ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ถูกชรานำเข้าไปสู่ความตาย อายุของสัตว์ทั้งหลายเป็นของน้อย เมื่อนรชนถูกชรานำเข้าไปสู่ความตาย ย่อมไม่มีผู้ต้านทาน ดูก่อนพระเจ้าปัญจาลราช มหาบพิตรจงทรงทำตามคำของอาตมภาพ อย่าทรงทำกรรมทั้งหลาย อันมีทุกข์เป็นผลเลย
    ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ถูกชรานำเข้าไปสู่ความตาย อายุของสัตว์ทั้งหลายเป็นของน้อย เมื่อนรชนถูกชรานำเข้าไปสู่ความตาย ย่อมไม่มีผู้ต้านทาน ดูก่อนพระเจ้าปัญจาลราช มหาบพิตรจงทรงทำตามคำของอาตมภาพ อย่าทรงทำกรรมทั้งหลาย อันมีศีรษะเกลือกกลั้วด้วยกิเลสธุลี
    ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ถูกชรานำเข้าไปสู่ความตาย อายุของสัตว์ทั้งหลายเป็นของน้อย ชราย่อมกำจัดวรรณะของนรชนผู้แก่เฒ่า ดูก่อนพระเจ้าปัญจาลราช มหาบพิตรจงทรงทำตามคำของอาตมภาพ อย่าทรงทำกรรมที่ให้เข้าถึงนรกเลย.


    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปนียติ ความว่า ดูก่อนมหาราชเจ้า ชีวิตแม้นี้ ย่อมเข้าไปใกล้ความตาย เพราะอายุของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นนี้มีน้อย ชื่อว่านิดหน่อยเพราะแล่นไปได้น้อยบ้าง เพราะดำรงอยู่ได้น้อยบ้าง เป็นเช่นเดียวกับหยาดน้ำค้างที่ติดอยู่ปลายหญ้า อันเหือดแห้งด้วยแสงพระอาทิตย์อุทัยฉะนั้น.
    บทว่า น สนฺติ ตาณา ความว่า เพราะว่าเมื่อนรชนอันชรานำเข้าไปใกล้ความตายแล้ว ปิยชนทั้งหลายมีบุตรเป็นต้น จะเป็นผู้ที่ต้านทานป้องกันไว้ได้ ก็หามิได้.
    บทว่า มเมว วากฺยํ ความว่า ซึ่งถ้อยคำของอาตมภาพนี้. บทว่า มากาสิ ความว่า อย่าได้ถึงความประมาทมัวเมา เพราะเหตุแห่งกามคุณมีรูปเป็นต้น แล้วกระทำกรรมที่มีทุกข์เป็นกำไร อันเป็นเครื่องให้เจริญด้วยทุกข์ในอบายมีนรกเป็นต้น.
    บทว่า ทุกฺขผลานิ ได้แก่ กรรมที่มีทุกข์เป็นผล. บทว่า รชสฺสิรานิ ได้แก่ กรรมอันเป็นเหตุให้ศีรษะเกลือกกลั้วด้วยธุลี คือกิเลส. บทว่า วณฺณํ ความว่า ชราย่อมกำจัดวรรณะแห่งสรีระของนรชนผู้เสื่อมวัยทรุดโทรม. บทว่า นิรยูปปตฺติยา ความว่า อย่าได้สร้างกรรมเพื่อจะไปบังเกิดในนรก อันหาความยินดีมิได้เลย.

    เมื่อพระมหาสัตว์เจ้ากล่าวอยู่อย่างนี้ พระเจ้าสัมภูตราชทรงรู้สึกพระองค์ แล้วตรัสพระคาถา ๓ คาถา ความว่า

    ข้าแต่ภิกษุ ถ้อยคำของพระคุณเจ้านี้เป็นคำจริงแท้ทีเดียว พระฤาษีกล่าวไว้ฉันใด คำนี้ก็เป็นฉันนั้น แต่ว่ากามทั้งหลายของข้าพเจ้ายังมีอยู่มาก กามเหล่านั้นคนเช่นข้าพเจ้าสละได้ยาก
    ช้างจมอยู่ท่ามกลางหล่มแล้ว ย่อมไม่อาจถอนตนไปสู่ที่ดอนได้ด้วยตนเองฉันใด ข้าพเจ้าจมอยู่ในหล่มคือกามกิเลส ก็ยังไม่สามารถปฏิบัติตนตามทางของภิกษุได้ฉันนั้น
    ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ อนึ่ง บุตรจะมีความสุขได้ด้วยวิธีใด มารดาบิดาพร่ำสอนบุตรด้วยวิธีนั้นฉันใด ข้าพเจ้าละจากโลกนี้ไปแล้ว จะพึงเป็นผู้มีความสุขอื่นนานได้ด้วยวิธีใด ขอพระคุณเจ้าโปรดพร่ำสอนข้าพเจ้า ด้วยวิธีนั้น ฉันนั้นเถิด.


    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนปฺปรูปา ความว่า กามกิเลสทั้งหลายของข้าพเจ้ายังมีชาติมิใช่นิดหน่อย คือมากมาย หาประมาณมิได้. บทว่า เต ทุจฺจชา มาทิสเกน ความว่า ข้าแต่ภิกษุผู้เชษฐภาดา ท่านละกิเลสทั้งหลายดำรงตนอยู่ได้แล้ว ส่วนข้าพเจ้ายังจมอยู่ในเปลือกตม คือกามกิเลส เพราะเหตุนั้น คนเช่นข้าพเจ้าละกามกิเลสเหล่านั้นได้ยากยิ่ง.
    ด้วยบทว่า นาโค ยถา นี้ พระเจ้าสัมภูตราชทรงแสดงถึงความที่พระองค์จมลงในเปลือกตมคือกามกิเลส.
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺยสนฺโน ความว่า ข้าพเจ้าจมลงแล้ว คือลื่นไหลลงแล้ว ได้แก่ถลำลงไปแล้ว. อีกอย่างหนึ่งปาฐะ ก็อย่างนี้เหมือนกัน.
    บทว่า มคฺคํ ได้แก่ มรรคาแห่งโอวาทานุสาสนีของท่าน.
    บทว่า นานุพฺพชามิ ความว่า ข้าพเจ้าไม่สามารถจะบรรพชาได้ ขอท่านจงโปรดให้โอวาทแก่ข้าพเจ้าผู้ดำรงอยู่ในฆราวาสวิสัยนี้เท่านั้นเถิด. บทว่า อนุสาสเร แปลว่า ย่อมพร่ำสอน.

    ลำดับนั้น พระมหาสัตว์กล่าวกะพระเจ้าสัมภูตราชนั้นว่า
    ดูก่อนมหาบพิตรผู้จอมนรชน ถ้ามหาบพิตรไม่สามารถละกามของมนุษย์เหล่านี้ได้ไซร้ มหาบพิตรจงทรงเริ่มตั้งพลีกรรมอันชอบธรรมเถิด แต่การกระทำอันไม่เป็นธรรมขออย่าได้มีในรัฐสีมาของมหาบพิตรเลย
    ทูตทั้งหลายจงไปยังทิศทั้ง ๔ นิมนต์สมณะพราหมณ์ทั้งหลายมา มหาบพิตรจงทรงบำรุงสมณะพราหมณ์ทั้งหลายด้วยข้าว น้ำ ผ้า เสนาสนะ และคิลานปัจจัย มหาบพิตรจงเป็นผู้มีกมลจิตอันผ่องใส ทรงอังคาสสมณพราหมณ์ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวน้ำ ได้ทรงบริจาคทานตามสติกำลัง และทรงเสวยแล้ว เป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายไม่ติเตียน จงเสด็จเข้าถึงสวรรคสถานเถิด.
    ดูก่อนมหาบพิตร ก็ถ้าความเมาจะพึงครอบงำมหาบพิตรผู้อันหมู่นารีทั้งหลายแวดล้อมอยู่ มหาบพิตรจงทรงมนสิการคาถานี้ไว้ แล้วพึงตรัสคาถานี้ในท่ามกลางบริษัทว่า เมื่อชาติก่อนเราเป็นคนนอนอยู่กลางแจ้ง อันมารดาจัณฑาลีเมื่อจะไปป่าให้ดื่มน้ำนมมาแล้ว นอนคลุกคลีอยู่กับสุนัขทั้งหลายจนเติบโต มาบัดนี้ คนนั้นใครๆ เขาก็เรียกกันว่าพระราชา.


    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น อุตฺสาหเส ความว่า ถ้าหากพระองค์จะไม่สามารถ
    บทว่า ธมฺมพลึ ความว่า จงยึดเหนี่ยวเอาธรรมิกพลี อย่าให้บกพร่องโดยธรรมสม่ำเสมอ.
    บทว่า อธมฺมกาโร เต ความว่า อย่าทำลายวินิจฉัยธรรมอันโบราณกษัตริย์ทั้งหลายตั้งไว้ ประพฤติธรรมจรรยา.
    บทว่า นิมนฺติตา ความว่า เชื้อเชิญอาราธนาสมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรมมา.
    บทว่า ยถานุภาวํ ความว่า ตามสติกำลังของตน.
    บทว่า อิมเมว คาถํ พระโพธิสัตว์กล่าวหมายถึงข้อความคาถาที่จะกล่าวต่อไป ณ บัดนี้.

    ในคาถานั้นมีอธิบายดังนี้ ดูก่อนมหาราชเจ้า ถ้าหากความมัวเมาจะพึงครอบงำพระองค์ คือถ้าหากความมานะถือตัว ปรารภกามคุณมีรูปเป็นต้น หรือปรารภความสุขเกิดแต่ราชสมบัติ จะพึงบังเกิดขึ้นแก่พระองค์ผู้ห้อมล้อมด้วยหมู่สนมนารีทั้งหลายไซร้ ทันทีนั้นพระองค์พึงทรง<WBR>จินตนา<WBR>การ<WBR>ว่า ในชาติปางก่อนเราเกิดในกำเนิดจัณฑาล ได้หลับนอนในที่ซึ่งเป็นอัพโภกาสกลางแจ้งเพราะ<WBR>ไม่มีแม้เพียงกระท่อมมุงด้วยหญ้ามิดชิด
    ก็แลในกาลนั้น นางจัณฑาลีผู้เป็นมารดาของเรา เมื่อจะไปสู่ป่าเพื่อหาฟืนและผักเป็นต้น ให้เรานอนกลางแจ้งท่ามกลางหมู่ลูกสุนัข ให้เราดื่มนมของตนแล้วไป เรานั้นแวดล้อมไปด้วยลูกสุนัข ดื่มนมแห่งแม่สุนัข พร้อมด้วยลูกสุนัขเหล่านั้น จึงเจริญวัยเติบโต เราเป็นผู้มีเชื้อชาติต่ำช้ามาอย่างนี้ แต่วันนี้เกิดเป็นผู้ที่ประชาชนเรียกว่ากษัตริย์
    ดูก่อนมหาราชเจ้า เพราะเหตุนี้แล เมื่อพระองค์จะทรงสอนตนเองด้วยเนื้อความนี้ พึงตรัสคาถาว่า ในชาติปางก่อนเราเป็นสัตว์นอนอยู่ในอันโภกาสกลางแจ้ง เมื่อนางจัณฑาลีผู้มารดาไปสู่ป่า เที่ยวไปทางโน้นบ้างทางนี้บ้าง เป็นผู้อันแม่สุนัขสงสารให้ดื่มนม คลุกคลีอยู่กับพวกลูกๆ จึงเจริญเติบโตมาได้ แต่วันนี้ เรานั้นอันใครๆ เขาเรียกกันว่าเป็นกษัตริย์ ดังนี้.

    พระมหาสัตว์ ครั้นให้โอวาทแก่พระเจ้าสัมภูตราชอย่างนี้แล้ว จึงกล่าวว่า อาตมภาพถวายโอวาท<WBR>แก่<WBR>พระองค์แล้ว บัดนี้พระองค์จงทรงผนวชเสียเถิด อย่าทรงเสวยวิบากแห่งกรรมของตนด้วยตนเลย แล้วเหาะขึ้นไปในอากาศ ยังละอองธุลีพระบาทให้ตกเหนือเศียรเกล้าของพระราชา แล้วเหาะไปยังหิมวันตประเทศทันที
    ฝ่ายพระราชาทอดพระเนตรดูพระดาบสนั้นไปแล้ว เกิดความสังเวชสลดพระทัย ยกราชสมบัติให้แก่ราชโอรสองค์ใหญ่ ตรัสสั่งให้พลนิกายกลับไปแล้ว บ่ายพระพักตร์เสด็จไปยังหิมวันต<WBR>ประเทศ(เพียงองค์เดียว) พระมหาสัตว์เจ้าทรงทราบการเสด็จมาของพระราชาแล้ว แวดล้อมด้วยหมู่ฤาษีเป็นบริวาร มาต้อนรับพระราชา ให้ทรงผนวชแล้วสอนกสิณบริกรรม.
    พระสัมภูตดาบสบำเพ็ญฌานและอภิญญาให้เกิดแล้ว.
    พระดาบสทั้งสองแม้เหล่านั้นได้เป็นผู้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ด้วยประการฉะนี้.

    พระศาสดา ครั้นนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โปราณกบัณฑิต แม้จะท่องเที่ยวไป ๓-๔ ภพ ก็ยังเป็นผู้มีความคุ้นเคยรักใคร่สนิทสนมมั่นคงอย่างนี้โดยแท้
    แล้วทรงประชุมชาดกว่า
    สัมภูตดาบสในครั้งนั้น ได้มาเป็น พระอานนท์
    ส่วนจิตตบัณฑิตดาบสได้มาเป็น เราตถาคต ฉะนี้แล.

    จบอรรถกถาจิตตสัมภูตชาดกที่ ๒
    .. อรรถกถา จิตตสัมภูตชาดก ว่าด้วย ผลของกรรม จบ.

    อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
    http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=27&A=8065&Z=8155
    - -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
    ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
    บันทึก ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
    หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com <!--BEGIN WEB STAT CODE----><SCRIPT language=javascript1.1>page="tipitaka";</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.1 src="http://truehits1.gits.net.th/data/c0004100.js"></SCRIPT>[​IMG]
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    กรรม

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

    <!-- start content --><DL><DD>บทความนี้เกี่ยวกับคำศัพท์พุทธศาสนา สำหรับหลักไวยากรณ์ ดูที่ กรรมวาจก

    </DD></DL><TABLE class=toccolours id=WSerie_Buddhism style="BORDER-RIGHT: #060 1px solid; BORDER-TOP: #060 1px solid; FLOAT: right; MARGIN: 0px 0px 1em 1em; BORDER-LEFT: #060 1px solid; BORDER-BOTTOM: #060 1px solid; TEXT-ALIGN: center" cellSpacing=0 cellPadding=1 width=170><TBODY><TR><TD style="FONT-SIZE: 100%" colSpan=2><SMALL>ส่วนหนึ่งของ</SMALL>
    พุทธศาสนา

    [​IMG]

    ประวัติพุทธศาสนา
    </TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>ศาสดา</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    </TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>จุดมุ่งหมายของพุทธศาสนา</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>พ้นทุกข์ / ความดับทุกข์</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>ไตรสรณะ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>พระพุทธ &middot; พระธรรม &middot; พระสงฆ์

    </TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>ความเชื่อและการปฏิบัติ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>ศีล &middot; ธรรม
    ศีลห้า &middot; เบญจธรรม &middot; ศีลแปด
    บทสวดมนต์และพระคาถา
    </TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>คัมภีร์และหนังสือ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>พระไตรปิฎก
    พระวินัยปิฎก &middot; พระสุตตันตปิฎก &middot; พระอภิธรรมปิฎก
    </TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>นิกาย</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>เถรวาท &middot; อาจริยวาท (มหายาน) &middot; วัชรยาน &middot; เซน</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>สังคมพุทธศาสนา</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%">เมือง &middot; ปฏิทิน &middot; บุคคล &middot; วันสำคัญ &middot; ศาสนสถาน &middot; วัตถุมงคล</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>ดูเพิ่มเติม</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>ศัพท์เกี่ยวกับพุทธศาสนา
    หมวดหมู่พุทธศาสนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>กรรม (ภาษาสันสกฤต : กรฺม, ภาษาบาลี : กมฺม) แปลว่า "การกระทำ" ได้แก่ กระทำทางกาย เรียก กายกรรม ทางวาจา เรียก วจีกรรม และทางใจ เรียก มโนกรรม
    • กรรม แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
    1. กรรมดี เรียกว่า กุศลกรรม หรือ บุญกรรม
    2. กรรมชั่ว เรียกว่า อกุศลกรรม หรือ บาปกรรม
    <TABLE class=toc id=toc summary=เนื้อหา><TBODY><TR><TD>เนื้อหา

    [ซ่อน]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><SCRIPT type=text/javascript>//<![CDATA[ if (window.showTocToggle) { var tocShowText = "แสดง"; var tocHideText = "ซ่อน"; showTocToggle(); } //]]></SCRIPT>
    [แก้] การจำแนกประเภทของกรรม

    กรรมดี หรือ กรรมชั่วก็ตาม กระทำทางกาย วาจา หรือทางใจก็ตาม สามารถจำแนกอีก เป็นประเภทต่าง ๆ ได้หลายแบบ ดังนี้
    • กรรมจำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรม (ปากกาลจตุกะ) 4 อย่าง
    • กรรมจำแนกตามหน้าที่ของกรรม (กิจจตุกะ) 4 อย่าง
    • กรรมจำแนกตามลำดับการให้ผลของกรรม (ปากทานปริยายจตุกะ) 4 อย่าง
    • กรรมจำแนกตามฐานที่ให้เกิดผลของกรรม (ปากฐานจตุกะ) 4 อย่าง
    [แก้] จำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรม

    การกระทำทางกาย วาจา ใจ ทั้งที่เป็นฝ่ายดีหรือไม่ดีก็ตาม ย่อมตอบสนองแก่ผู้กระทำ ไม่เร็วก็ช้า เวลาใดเวลาหนึ่ง กรรมจำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรม (ปากกาลจตุกะ) แสดงกำหนดเวลา แห่งการให้ผลของกรรม มี 4 อย่าง คือ
    1. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน คือในภพนี้
    2. อุปปัชชเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า
    3. อปราปริเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆไป
    4. อโหสิกรรม หมายถึง กรรมเลิกให้ผล ไม่มีผลอีก
    [แก้] จำแนกตามหน้าที่ของกรรม

    กรรมจำแนกตามหน้าที่การงานของกรรม (กิจจตุกะ) กรรมมีหน้าที่ ที่จะต้องกระทำสี่อย่าง คือ
    1. ชนกกรรม หมายถึง กรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด กรรมแต่งให้เกิด
    2. อุปัตถัมภกกรรม หมายถึง กรรมสนับสนุน กรรมที่ช่วยสนับสนุนหรือซ้ำเติม ต่อจากชนกกรรม
    3. อุปปีฬิกกรรม หมายถึง กรรมบีบคั้น กรรมที่มาให้ผล บีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรมนั้น ให้แปรเปลี่ยนทุเลาลงไป บั่นทอนวิบากมิให้เป็นไปได้นาน
    4. อุปฆาตกกรรม หมายถึง กรรมตัดรอน กรรมที่แรงฝ่ายตรงข้ามกับชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรม เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรมทั้งสองอย่างนั้น ให้ขาดไปเสียทีเดียว
    [แก้] จำแนกลำดับการให้ผลของกรรม

    กรรมจำแนกตามลำดับการให้ผลของกรรม(ปากทานปริยายจตุกะ) จำแนกตามความยักเยื้อง หรือ ลำดับความแรงในการให้ผล 4 อย่าง
    1. ครุกกรรม <SMALL>(หนังสือพุทธธรรมสะกดครุกกรรม หนังสือกรรมทีปนีสะกดครุกรรม)</SMALL> หมายถึง กรรมหนัก ให้ผลก่อน เช่น ฌานสมาบัติ 8 หรือ อนันตริยกรรม
    2. พหุลกรรม หรือ อาจิณกรรม หมายถึง กรรมที่ทำมาก หรือ ทำจนเคยชิน ให้ผลรองจากครุกรรม
    3. อาสันนกรรม หมายถึง กรรมจวนเจียน หรือ กรรมใกล้ตาย คือกรรมที่ทำเมื่อจวนจะตาย จับใจอยู่ใหม่ๆ ถ้าไม่มีสองข้อก่อน ก็จะให้ผลก่อนอื่น
    4. กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม หมายถึง กรรมสักแต่ว่าทำ กรรมที่ทำไว้ด้วยเจตนาอันอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้นโดยตรง ต่อเมื่อไม่มีกรรมอันอื่นให้ผลแล้ว กรรมนี้จึงจะให้ผล
    [แก้] จำแนกตามฐานที่ให้เกิดผลของกรรม

    กรรมจำแนกตามฐานที่ให้เกิดผลของกรรม(ปากฐานจตุกะ) แสดงที่ตั้งแห่งผลของกรรมสี่อย่าง เป็นการแสดงกรรมโดยอภิธรรมนัย(ข้ออื่นๆข้างต้นเป็นการแสดงกรรมโดยสุตตันตนัย)
    1. อกุศลกรรม
    2. กามาวจรกุศลกรรม
    3. รูปาวจรกุศลกรรม
    4. อรูปาวจรกุศลกรรม
    [แก้] กรรมดำ กรรมขาว

    นอกจากเรื่องของกรรมดีกรรมชั่วแล้ว ยังมีการอธิบายกรรมอีกนัยหนึ่ง โดยอธิบายถึงกรรมดำกรรมขาว จำแนกเป็นกรรม 4 ประการ คือ
    1. กรรมดำมีวิบากดำ ได้แก่ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกาย วาจา ใจ อันมีความเบียดเบียนบุคคลอื่น ย่อมได้เสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียน เป็นทุกข์โดยส่วนเดียว เช่น เป็นผู้ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ มีจิตประทุษร้ายต่อพระตถาคต ยังพระโลหิตให้ห้อขึ้น ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มน้ำเมา
    2. กรรมขาวมีวิบากขาว ได้แก่ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกาย วาจา ใจ อันมีไม่ความเบียดเบียนบุคคลอื่น ย่อมได้เสวยเวทนาที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขโดยส่วนเดียว เช่น เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ จากการประพฤติผิดในกาม จากการพูดเท็จ จากการพูดส่อเสียด จากการพูดคำหยาบ จากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มากไปด้วยความเพ่งเล็งอยากได้ มีจิตไม่พยาบาท มีความเห็นชอบ
    3. กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาว ได้แก่ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกาย วาจา ใจ อันมีความเบียดเบียนบุคคลอื่นบ้าง ไม่ความเบียดเบียนบุคคลอื่นบ้าง ย่อมได้เสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่ความเบียดเบียนบ้าง มีทั้งสุขและทั้งทุกข์ระคนกัน
    4. กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ได้แก่ เจตนาใดเพื่อละกรรมดำอันมีวิบากดำ เจตนาใดเพื่อละกรรมขาวอันมีวิบากขาว และเจตนาใดเพื่อละกรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม เช่น ผู้ปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปด โพชฌงค์เจ็ด
    [แก้] กฏแห่งกรรม

    กฎแห่งกรรม คือ กฎธรรมชาติ ข้อหนึ่ง ที่ว่าด้วยการกระทำ และผลแห่งการกระทำ ซึ่ง การกระทำและ ผลแห่งการกระทำนั้น ย่อมสมเหตุ สมผลกัน เช่น ทำดี ย่อมได้รับผลดี ทำชั่ว ย่อมได้รับผลชั่ว เป็นต้น โดยเชื่อมโยงกับความคิดที่เชื่อกันว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้ <SUP class=reference id=cite_ref-0>[1]</SUP>
    • กรรมใดใครก่อ ตนเองเท่านั้นที่จะได้รับผลของสิ่งที่กระทำ
    • กรรมในปัจจุบันเป็นผลมาจากการกระทำในอดีต และกรรมที่ก่อไว้ในปัจจุบันเป็นเหตุที่จะส่งผลสืบเนื่องต่อไปยังอนาคต
    • กรรมดี-กรรมชั่ว ลบล้างซึ่งกันและกันไม่ได้
    • ถึงแม้ว่าการทำกรรมดีจะลบล้างกรรมชั่วเก่าที่มีอยู่เดิมไม่ได้ แต่มีส่วนช่วยให้ผลจากกรรมชั่วที่มีอยู่เดิมผ่อนลง คือ การผ่อนหนักให้เป็นเบา(ข้อนี้ อุปมาได้กับ การที่เรามีน้ำขุ่นข้นอยู่แก้วหนึ่ง หากเติมน้ำบริสุทธิ์ลงไปแล้ว มิสามารถทำให้น้ำขุ่นกลับบริสุทธิ์ได้ แต่ทำให้น้ำขุ่นข้นนั้นกลับเจือจางลงและใสยิ่งขึ้นกว่าเดิม)
    [แก้] อ้างอิง
    1. ^ (จูฬกัมมวิภังคสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔)
    [แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
    [แก้] อ้างอิง
    <!-- NewPP limit reportPreprocessor node count: 78/1000000Post-expand include size: 3821/2048000 bytesTemplate argument size: 216/2048000 bytes#ifexist count: 0/500--><!-- Saved in parser cache with key thwiki:pcache:idhash:13761-0!1!0!!th!2 and timestamp 20080322191702 -->ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1".
    หมวดหมู่: กรรม | อภิธานศัพท์พุทธศาสนา
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  13. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    กำลังมองอยู่เลยว่าใครน้า หล่อๆยืนตักอาหาร ;)
    ผมลืมบอกท่าปา-ทานไป ตกลงข้าวเหนียวนี่ผมได้แค่ชมนะครับ ไม่ได้ชิมเพราะคุยไปคุยมาจะมาลองก็เอ้า หมดซะแล้วครับ55555
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 เมษายน 2008
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    อ่า ผมได้กินข้าวเหนียว น่าจะครบสีด้วย แถมมะม่วงก็อร่อยเยี่ยมมาก
    แต่ไม่ได้กินเป็ดพะโล้อะ


    ในงานเรื่องอาหารมีมาก มากจนต้องบอกว่า ความไม่มี ไม่ปรากฎในงานที่บ้านท่านอาจารย์ประถมครับ
    (||)(||)(||)
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    แนะนำเส้นทางลัด ในช่วงเทศกาลสงกรานต์

    http://hilight.kapook.com/view/22621

    <center>
    [​IMG]
    กรมทางหลวง แนะนำเส้นทางลัด ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2551

    รายงานข่าวจากสำนักงานประชาสัมพันธ์ กรมทางหลวงแจ้งว่าเนื่องจากช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี จะมีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน และประชาชนจะเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิม เพื่อเยี่ยมญาติหรือเดินทางไปพักผ่อนท่องเที่ยวต่างจังหวัดการเดินทาง พร้อมๆ กันเป็นจำนวนมาก มักจะก่อให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด รวมทั้งเกิดอุบัติเหตุในเส้นทางหลวงสายหลักๆ ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนเป็นประจำทุกปี

    เพื่อให้การเดินทางของประชาชนรวดเร็วและปลอดภัยยิ่งขึ้น กรมทางหลวง ขอแนะนำเส้นทางลัดในการเดินทางไปสู่ภาคต่าง ๆ
    ของประเทศดังนี้

    [​IMG]สู่ ภาคเหนือ และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]เส้นทางที่ 1 ใช้ถนนวิภาวดีรังสิต (ทางหลวงหมายเลข 31) หรือใช้ทางยกระดับดอนเมืองโทลเวย์ ต่อสายอุตราภิมุขเข้าถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข 1) ถึงต่างระดับบางปะอิน เข้าถนนเอเซีย (ทางหลวงหมายเลข 32) มุ่งสู่อ่างทองเพื่อเดินทางสู่ ภาคเหนือ หรือเข้าถนนพหลโยธิน ( ทางหลวงหมายเลข 1) มุ่งสู่สระบุรีเพื่อไป ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (สอบถามรายละเอียดเส้นทาง โทร. 0-2521-3745, 0-2529-1441, 0-3524-5093)

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]เส้นทางที่ 2 จากถนนรัตนธิเบศร์ (ทางหลวงหมายเลข 302) ใช้ถนนบางบัวทอง – สุพรรณบุรี (ทางหลวงหมายเลข340 ) เลี้ยวขวาเข้าถนนวงแหวนตะวันตก(ทางหลวงหมายเลข 9) จนถึงต่างระดับบางปะอิน แล้วใช้ถนนพหลโยธิน(ทางหลวงหมายเลข 1) มุ่งสู่สระบุรี เพื่อไป ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือใช้ถนนเอเซีย (ทางหลวงหมายเลข 32 )เพื่อไปภาคเหนือ (สอบถามรายละเอียดเส้นทาง โทร. 0-2529-1441, 0-2527-2488, 0-3524-5093)

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]เส้นทางที่ 3 จากถนนรัตนาธิเบศร์ (ทางหลวงหมายเลข 302) ใช้ถนนบางบัวทอง - สุพรรณบุรี (ทางหลวงหมายเลข 340) ผ่านสุพรรณบุรีไปสู่ชัยนาทเข้าถนนเอเซีย (ทางหลวงหมายเลข 32) ไปสู่ จ.นครสวรรค์เพื่อไป ภาคเหนือ (สอบถามรายละเอียดเส้นทาง โทร. 0-2527-2488, 0-3555-5434)

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]เส้นทางที่ 4 จากถนนรามอินทรา (ทางหลวงหมายเลข 304) ใช้ถนนต่างระดับลำลูกกา (ทางหลวงหมายเลข 9) ถึงแยกพหลโยธิน(ทางหลวงหมายเลข 1) เลี้ยวขวาเพื่อเดินทางสู่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือเลี้ยวซ้ายไปต่างระดับบางปะอินเข้าถนนเอเซีย (ทางหลวงหมายเลข 32) เพื่อสู่ ภาคเหนือ (สอบถามรายละเอียดเส้นทาง โทร. 0-2521-3745, 0-3524-5093, 0-3621-1105)

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]เส้นทางที่ 5 จากบริเวณถนนแจ้งวัฒนะ (ทางหลวงหมายเลข 304) ห้าแยกปากเกล็ด ใช้ถนน ติวานนท์ (ทางหลวงหมายเลข306) เลี้ยวขวาข้ามถนนบางพูน - บางปะหัน (ทางหลวงหมายเลข 347) ผ่านต่างระดับ เชียงรากน้อยจนบรรจบถนนเอเซีย (ทางหลวงหมายเลข 32) ที่ อ.บางปะหัน แล้วเดินทางไป ภาคเหนือ หรือเข้าถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข 1) มุ่งสู่สระบุรี เพื่อไป ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (สอบถามรายละเอียดเส้นทาง โทร. 0-2529-1441, 0-3524-5093, 0-3621-1105)

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]เส้นทางที่ 6 จากต่างระดับรังสิตไปตามถนนรังสิต - องครักษ์ (ทางหลวงหมายเลข 305) ผ่านต่างระดับธัญบุรีตรงไปจังหวัดนครนายก , กบินทร์บุรี เพื่อไป ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (สอบถามรายละเอียดเส้นทาง โทร. 0-2529-1441, 0-3733-5383)

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]เส้นทางที่ 7 จากถนนรามอินทรา ใช้ถนนรามอินทรา - สุวินทวงค์ (ทางหลวงหมายเลข 304) ผ่านฉะเชิงเทรา , พนมสารคาม , กบินทร์บุรี , ปักธงชัย เข้าสู่ถนนมิตรภาพ (สาย 2) ไป ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (สอบถามรายละเอียดเส้นทาง โทร. 0-2521-3745, 0-3851-1015) ​
    [​IMG]เส้นทางสู่ ภาคตะวันออก

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]เส้นทางที่ 8 ไปตามถนนบางนา - บางปะกง (ทางหลวงหมายเลข 34) จนถึง กม. 39 เลี้ยวซ้ายเข้าถนนกรุงเทพ - ชลบุรี (ทางหลวงหมายเลข 7) ที่ต่างระดับบางควาย มุ่งสู่พัทยาไป ภาคตะวันออก (สอบถามรายละเอียดเส้นทาง โทร. 0-2397-4086, 0-3875-8538) ​
    [​IMG] [​IMG] [​IMG] เส้นทางที่ 9 จากถนนศรีนครินทร์ (ทางหลวงหมายเลข 3344) ใช้ทางหลวงพิเศษกรุงเทพ - ชลบุรี(ทางหลวงหมายเลข7) มุ่งสู่พัทยาไป ภาคตะวันออก (สอบถามรายละเอียดเส้นทาง โทร. 0-2397-4086, 0-3857-8626) ​
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]เส้นทางที่ 10 จากถนนรามอินทรา (ทางหลวงหมายเลข 304) ใช้ถนนสุวินทวงศ์ (ทางหลวงหมายเลข 304)ผ่าน จ.ฉะเชิงเทรา เข้าทางหลวงหมายเลข 314 แล้วใช้ทางหลวงพิเศษกรุงเทพ - ชลบุรี (สาย 7) มุ่งสู่พัทยาไป ภาคตะวันออก (สอบถามรายละเอียดเส้นทาง โทร. 0-2521-3745, 0-3851-1015, 0-3857-8626) ​
    [​IMG]เส้นทางสู่ภาคใต้

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]เส้นทางที่ 11 ใช้ถนนธนบุรี - ปากท่อ (ทางหลวงหมายเลข 35 : ถนนพระราม 2) เข้าถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข4) เดินทางสู่จังหวัด ภาคใต้ (สอบถามรายละเอียดเส้นทาง โทร. 0-2420-6821) ​
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]เส้นทางที่ 12 ใช้ถนนเพชรเกษม ( ทางหลวงหมายเลข 4) ผ่าน อ.สามพราน จ.นครปฐม , โพธาราม ,ราชบุรี อ.ปากช่องเพื่อเข้าสู่จังหวัดภาคใต้ (สอบถามรายละเอียดเส้นทาง โทร. 0-2420-6821, 0-3425-8856)

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]เส้นทางที่ 13 จากขนส่งสายใต้ใหม่ ใช้ถนนบางกอกน้อย - นครชัยศรี (ทางหลวงหมายเลข 338) เข้านครปฐม ,ราชบุรีเพชรบุรี สู่จังหวัดภาคใต้ (สอบถามรายละเอียดเส้นทาง โทร. 0-2420-6821, 0-2433-0797, 0-3425-8856) ​
    สอบถามเส้นทางผ่านสายด่วนกรมทางหลวง 1586 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง




    ข้อมูลจาก
    [​IMG]
    ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต​
    </center>
    <!-- / message --> <!-- sig -->

    http://palungjit.org/showthread.php?p=1103296#post1103296
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    แนะกิน รำข้าว ป้องกันนิ่วในไต

    http://hilight.kapook.com/view/22649
    [​IMG]

    แม้การเกิดนิ่วจะเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม การดื่มน้ำไม่เพียงพอ แต่อาหารบางประเภท ตลอดจนพฤติกรรมการกิน ก็ยังมีส่วนสำคัญ ก่อนหน้านี้มีการแนะนำให้คนที่เสี่ยงต่อการเป็นนิ่วกินอาหารที่เป็นของเหลว โปรตีนต่ำ และมีใยอาหารสูง เพื่อช่วยลดการก่อตัวของแคลเซียมและออกซาเลทในระบบปัสสาวะ ทำให้คิดไปถึงอาหารที่มีไฟเบอร์สูงนานาชนิด

    แต่ความรู้ใหม่ที่จะนำเสนอต่อไปนี้ เป็นทางเลือกใหม่ของอาหารไฟเบอร์ ซึ่งเราต่างรู้จักกันดี นั่นคือ รำข้าว นอกจากรำข้าวแล้ว หากบ้านใครที่อยู่ใกล้ลานข้าวโพด รำข้าวโพดหรือที่เรียกกันว่าจมูกข้าวโพด ซึ่งได้จากการสีข้าวโพดแก่ออกจากฝักก็เป็นอาหารอีกอย่างที่แนะนำ

    สำหรับผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นนิ่ว ควรนำรำข้าวหรือรำข้าวโพดมาปรุงอาหาร อาจจะนำมาโรยในน้ำอาร์.ซี. หรือน้ำนมถั่วเหลืองในตอนเช้า โดยปริมาณไฟเบอร์ซึ่งอาจรวมไฟเบอร์จากแหล่งอาหารอื่นๆ ที่แนะนำต่อวัน คือ 18 กรัม

    ในรายที่มีการก่อตัวของก้อนนิ่ว เมื่อรับประทานรำข้าวหรือรำข้าวโพดในปริมาณ ครึ่งช้อนโต๊ะ วันละสองครั้งเป็นประจำทุกวัน พบว่าปริมาณแคลเซียมในปัสสาวะจะลดลงอย่างรวดเร็ว และถ้าทำได้ติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง ในระยะยาวจะไม่มีการก่อตัวของนิ่วก้อนใหม่ในช่วงเวลานั้น

    ราคาถูก ประโยชน์เต็มร้อยอย่างนี้ หาติดบ้านไว้สักหน่อยดีไหม



    ข้อมูลและภาพประกอบจาก
    [​IMG]
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    แกะความหมาย 13 หลัก เลขรหัสบัตรประชาชนคนไทย
    http://campus.sanook.com/u_life/knowledge_02357.php
    <script language="JavaScript" src="http://campus.sanook.com/global_js/global_function.js"></script><!--START--><center>[​IMG]</center>

    แม้ว่าวิชาคณิตศาสตร์จะมีสูตร มีกฎเกณฑ์ตายตัวให้คำนวณได้โดยเฉพาะก็ตาม แต่เชื่อว่าหลายๆ คนกลับรู้สึกว่า เจ้าตัวเลขเหล่านี้มันช่างคิดยากคิดเย็นเสียนี่กระไร ยิ่งถ้ามีพวกซายน์ คอส แทนแบบตรีโกณ มีสมกงสมการหรือเลขยกกำลัง ให้ต้องถอดรู้ทถอดราก จนสมองซีกซ้ายต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้นแล้วละก้อ ดูเหมือนว่าแต่ละคน ทำท่าจะเป็นพวกแพ้ตัวเลขขึ้นมาทันที ซึ่งอาจเป็นเหตุให้หลายคนเลือกไปเรียนทางสายศิลป์ แทนที่จะเรียนทางวิทย์ เพราะคิดว่า “ศิลปะ” มีอิสระเสรีในการใช้ความคิดมากกว่า และข้อสำคัญคิดว่าจะหนี “ตัวเลข” พ้น แต่โดยความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะเรียนหรือทำอะไร ตัวเลขก็ล้วนมีเอี่ยว หรือมายุ่งเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของคนเราเสมอ และในทางกลับกัน ตัวเลขบางตัวอาจจะทำให้เรามีความสุขขึ้นด้วยซ้ำ เช่น ตัวเลขเพิ่มขึ้นของเงินเดือนหรือโบนัส ตัวเลขในบัญชีรายรับ ตัวเลขมูลค่าเพิ่มของหุ้นที่เราซื้อ ฯลฯ ยกเว้น ตัวเลขดอกเบี้ยเงินกู้ ที่งามโดยไม่ต้องรดน้ำ หรือตัวเลขยอดหนี้ที่ยังไม่จ่าย ส่วนตัวเลขที่น่ารังเกียจอีกตัว คือ ตัวเลขอายุที่เพิ่มขึ้นของสาวๆ ที่ยังไม่แต่งงาน เป็นต้น

    นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมี “ตัวเลข” ที่เกี่ยวพันกับความเชื่อต่างๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศอีกหลายตัว เช่น คนไทยถือว่า เลข 9 เป็นเลขมงคล เพราะออกเสียงว่า “เก้า” ที่พ้องกับคำว่า “ก้าว” อันหมายถึง ความเจริญก้าวหน้า ด้วยเหตุนี้ ในปัจจุบัน เราจึงเห็นคนไทยจำนวนไม่น้อย ไปทัวร์ไหว้พระ 9 วัดเพื่อความเป็นสิริมงคล จนได้กลายมาเป็นการ “ทำบุญ” อีกรูปแบบที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย ทั้งๆ ที่หลายคนไปมาแล้ว หากมีใครถามขึ้นว่าวัดที่ไป พระที่ไหว้หน้าตา รูปทรงท่านเป็นอย่างไร ก็ตอบไม่ได้ เพราะตอนไปไหว้ ก็ต้องรีบๆๆๆ เนื่องจากต้องไหว้ให้ครบ 9 วัดภายใน 1 วัน ดังนั้น ของสำคัญในวัดที่ตนไปเยือน หรือความงดงาม ประวัติของพระพุทธรูปที่ตนไปไหว้ขอพร จะเป็นอย่างไรก็ตอบไม่ได้ เพราะเห็นแค่แว้บๆ ไม่ทันได้ดูรายละเอียด ซึ่งจริงๆ แล้ว วัด 9 วัดที่เราไปกราบพระ เช่น วัดพระแก้ว, วัดชนะสงคราม, วัดอรุณ, วัดระฆัง หรือวัดกัลยาณมิตร ฯลฯ ล้วนเป็นวัดสำคัญ และมีประวัติความเป็นมาที่น่าศึกษาเรียนรู้ทั้งสิ้น ซึ่งความรู้เหล่านี้นี่เอง ที่จะทำให้เราได้รู้จัก “ของดี” ของประเทศไทย และเมื่อรู้แล้ว ก็จะก่อให้เกิดความปลื้มปีติ และความภาคภูมิใจไปด้วย ที่สำคัญคือ การได้รู้ ได้เห็นและสัมผัสสิ่งที่ดีงามที่ว่านี่แหละที่เป็น “มงคล” แก่ชีวิตของเรา เพราะอาจเป็นแรงดลบันดาลใจ ให้เรากระทำความดียิ่งๆ ขึ้น มิใช่แค่เพียงการไปไหว้ประหล่กๆ ให้ครบ 9 วัด แล้วก็กลับมาทำตัวเหมือนเดิมเช่นที่หลายๆ คนเป็นอยู่

    สำหรับฝรั่งนั้น เขาจะถือว่าเลข 13 เป็นเลขอาถรรพ์ หรือเลขอัปมงคล โดยเรียกกันว่า ลัคกี้นัมเบอร์ (Lucky number) สาเหตุมาจากอาหารมื้อสุดท้าย ของพระเยซูคริสต์ ที่เรียกกันว่า เดอะลาสซับเปอร์ (The Last Supper) นั้น มีสาวกร่วมโต๊ะพร้อมกับพระองค์ นับรวมแล้วได้ 13 คนพอดี ครั้นวันรุ่งขึ้นซึ่งตรงกับวันศุกร์ พระองค์ก็ถูกจับตรึงกางเขนจนสิ้นพระชนม์ เขาจึงถือว่าวันศุกร์ที่ตรงกับวันที่ 13 เป็นวันโชคร้าย อย่างไรก็ดี แม้ว่าเลข 13 จะเป็นเลขอาถรรพ์ของฝรั่ง แต่คนไทยโดยทั่วไป ไม่ได้ถือกับตัวเลขดังกล่าว และที่น่าสนใจคือ มี เลข 13 ที่เกี่ยวพันโดยตรงกับคนไทย ซึ่งเชื่อว่าคงมีคนอีกไม่น้อยไม่เคยทราบมาก่อน นั่นคือ เลขประจำตัวประชาชนในบัตรประชาชน หรือที่เดี๋ยวนี้เรียก สมาร์ทการ์ด ที่มีด้วยกัน 13 หลัก และแต่ละหลักก็มิใช่แค่เป็นเพียงจำนวนนับธรรมดาๆ แต่มีความหมายแฝงอยู่ด้วย ซึ่งกลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ขอนำมาเสนอเพื่อเป็นความรู้ ดังนี้


    สมมุติว่า เลขบัตรประชาชนของเราเขียนไว้ว่า 1 1001 01245 29 9 (เขียนเว้นวรรค ตามแบบ) แต่ละหลักก็จะมีความหมายดังนี้

    หลักที่ 1 (คือหมายเลข 1 ในตัวอย่าง) จะหมายถึง ประเภทบุคคล ซึ่งมีอยู่ 8 ประเภทได้แก่

    ประเภทที่ 1 คือ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย และได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา หมายความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2527 เป็นต้นไป อันเป็นวันเริ่มแรกที่เขาประกาศให้ประชาชนทุกคน ต้องมีเลขประจำตัว 13 หลัก เมื่อพ่อแม่ผู้ปกครองไปแจ้งเกิดที่อำเภอ หรือสำนักทะเบียนในเขตที่อยู่ภายใน 15 วันนับแต่เกิดมา ตามที่กฎหมายกำหนด เด็กคนนั้นก็ถือเป็นบุคคลประเภท 1 และจะมีเลขประจำตัวขึ้นด้วยเลข 1 เช่น เด็กหญิงส้มจี๊ด เกิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2527 และพ่อไปแจ้งเกิดที่เขตดุสิตภายในวันที่ 17 มกราคม 2527 เด็กหญิงส้มจี๊ด ก็จะมีหมายเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 1 และก็ต่อด้วยเลขหลักอื่นๆ อีก 12 ตัว เป็น 1 1001 01245 29 9 เป็นต้น ซึ่งเลขนี้จะปรากฏในทะเบียนบ้าน และจะเป็นเลขประจำตัว เมื่อส้มจี๊ดไปทำบัตรประชาชนตอนอายุ 15 ปี

    ประเภทที่ 2 คือ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย ได้แจ้งเกิดเกินกำหนดเวลา หมายความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไป แล้วบังเอิญว่าพ่อแม่ผู้ปกครองลืมหรือติดธุระ ทำให้ไม่สามารถไปแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตภายใน 15 วันตามกฎหมายกำหนด เมื่อไปแจ้งภายหลัง เด็กคนนั้นก็จะกลายเป็นบุคคลประเภท 2 และจะมีเลขตัวแรกในทะเบียนบ้านขึ้นด้วยเลข 2 ทันที เช่น ในกรณีส้มจี๊ด หากพ่อไปแจ้งเกิดให้ ในวันที่ 18 มกราคม 2527 หรือเกินกว่านั้น ส้มจี๊ดก็จะมีเลขประจำตัวเป็น 2 1001 01245 29 9 ในทะเบียนบ้าน และเมื่อไปทำบัตรประชาชนในภายหน้า

    ประเภทที่ 3 คือ คนไทยและคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในสมัยเริ่มแรก (คือตั้งแต่ก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม 2527)หมายความว่า บุคคลใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นคนไทย หรือคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ณ ที่ใดที่หนึ่งในประเทศไทย มาตั้งแต่ก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 คนนั้นถือว่าเป็นบุคคลประเภท 3 และก็จะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 3 เช่น ส้มจี๊ด เกิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2501 และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแล้ว ส้มจี๊ดก็จะมีเลขประจำตัวในทะเบียนบ้าน และบัตรประชาชนเป็น 3 1001 01245 29 9

    ประเภทที่ 4 คือ คนไทยและคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญคนต่างด้าวแต่แจ้งย้ายเข้า โดยยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ในสมัยเริ่มแรก หมายความว่า คนไทยหรือคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญคนต่างด้าว ที่อาจจะเป็นบุคคลประเภท 3 คือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดิมอยู่แล้ว แต่ยังไม่ทันได้เลขประจำตัว ก็ขอย้ายบ้านไปเขตหรืออำเภออื่น ก่อนช่วงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 ก็จะเป็นบุคคลประเภท 4 ทันที เช่น ส้มจี๊ดมีชื่ออยู่ในสำนักทะเบียนเขตคลองสาน มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2527 ส้มจี๊ดก็ขอย้ายบ้านไปเขตดุสิต โดยที่ส้มจี๊ดยังไม่ทันได้เลขประจำตัวจากเขตคลองสาน พอแจ้งย้ายเข้าเขตดุสิต ส้มจี๊ดก็จะกลายเป็นบุคคลประเภท 4 มีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วย 4 กลายเป็น 4 1001 01245 29 9 ทันที แต่ถ้าส้มจี๊ดย้ายจากเขตคลองสานเดิม ไปเขตดุสิต หลังวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 ส้มจี๊ดก็ยังเป็นบุคคลประเภท 3 อยู่ เพราะถือว่าจะได้เลขประจำตัวจากเขตคลองสานแล้ว จะย้ายอย่างไรก็ไม่เปลี่ยนแปลง

    การกำหนดให้บุคคลเริ่มมีเลขประจำตัว 13 หลักในทะเบียนบ้านหรือบัตรประชาชน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2527 เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 อันเป็นวันสุดท้าย ของการดำเนินการให้ประชาชน ที่ไม่มีเลขประจำตัวในบัตรหรือทะเบียนบ้าน ได้มีเลขประจำตัวจนครบแล้วนั้น ก็เพราะก่อนหน้านี้ ประเทศไทยยังไม่เคยมีการกำหนดเลขประจำตัวดังกล่าวมาก่อนเลย ดังนั้น ช่วงที่ว่าจึงเป็นระยะเวลาจัดระบบให้เข้าที่เข้าทาง เพราะหลังจากวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 แล้ว ทุกคนจะต้องมีเลขประจำตัวเพื่อสำแดงตนว่า เป็นบุคคลประเภทใด โดยดูตามเงื่อนไขในแต่ละกรณี ซึ่งมีอีก 4 ประเภท คือ

    ประเภทที่ 5 คือ คนไทยที่ได้รับอนุมัติให้เพิ่มชื่อ เข้าไปในทะเบียนบ้านในกรณีตกสำรวจ หรือกรณีอื่นๆ เช่น ส้มจี๊ดมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเขตดุสิตอยู่แล้ว แต่บังเอิญว่าตอนที่มีการสำรวจรายชื่อผู้อยู่ในบ้าน เกิดความผิดพลาดทางเทคนิค ทำให้ชื่อของส้มจี๊ดหายไปจากทะเบียนบ้าน เมื่อไปแจ้งเจ้าหน้าที่และตรวจสอบแล้วว่าตกสำรวจจริง หรือจะเป็นเพราะกรณีอื่นใดก็ตาม เจ้าหน้าที่ก็จะเพิ่มชื่อให้ แต่ส้มจี๊ดก็จะมีหมายเลขในทะเบียนบ้านเป็นบุคคลประเภท 5 และบัตรประชาชนจะขึ้นต้นด้วยเลข 5 ทันที คือ กลายเป็น 5 1001 01245 29 9

    ประเภทที่ 6 คือ ผู้ที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผู้ที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่อยู่ในลักษณะชั่วคราว กล่าวคือ คนที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทย แต่ยังไม่ได้สัญชาติไทย เพราะทางการยังไม่รับรองทางกฎหมาย เช่น ชนกลุ่มน้อยตามชายแดน หรือชาวเขา กลุ่มนี้ถือว่าเป็นผู้เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนบุคคลที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่อยู่ชั่วคราว เช่น นักท่องเที่ยวหรือชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย แม้บางคนจะถือพาสปอร์ตประเทศของตน แต่อาจจะมีสามีหรือภริยาคนไทย จึงไปขอทำทะเบียนประวัติ เพื่อให้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านสามีหรือภริยา คนทั้งสองแบบที่ว่า ถือว่าเป็นบุคคลประเภท 6 เลขประจำตัวในบัตรจะขึ้นต้นด้วยเลข 6 เช่น 6 1012 23458 12

    ประเภทที่ 7 คือ บุตรของบุคคลประเภทที่ 6 ซึ่งเกิดในประเทศไทย คนกลุ่มนี้ในทะเบียนประวัติจะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 7 เช่น 7 1012 2345 133

    ประเภทที่ 8 คือ คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย คือ ผู้ที่ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือคนที่ได้รับการแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทย และคนที่ได้รับการให้สัญชาติไทย ตั้งแต่หลังวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 เป็นต้นไปจนปัจจุบัน คนกลุ่มนี้เลขในทะเบียนประวัติจะขึ้นด้วยเลข 8 เช่น 8 1018 01234 24 7

    คนทั้ง 8 ประเภทนี้ จะมีเพียงประเภทที่ 3, 4 และ 5 เท่านั้น ที่จะมีบัตรประชาชนได้เลย ส่วนประเภทที่ 1 และ 2 จะมีบัตรประชาชนได้ ก็ต่อเมื่อมีอายุถึงเกณฑ์ทำบัตรประจำตัวประชาชน คืออายุ 15 ปี แต่สำหรับบุคคลประเภทที่ 6, 7 และ 8 จะมีเพียงทะเบียนประวัติเล่มสีเหลืองเท่านั้น จะไม่มีการออกบัตรประชาชนให้

    ต่อไปคือ หลักที่ 2 ถึงหลักที่ 5 (เลข 1001 ในตัวอย่างหรือสี่ตัวถัดไปจากตัวแรก) จะหมายถึง รหัสของสำนักทะเบียน หรืออำเภอที่เรามีชื่ออยู่ในทะเบียนขณะที่ให้เลข ซึ่งก็หมายถึงถิ่นที่อยู่ของเรานั่นเอง กล่าวคือ เลขหลักที่ 2 และ 3 จะหมายถึงจังหวัดที่อยู่ ส่วนหลักที่ 4 และ 5 หมายถึงเขตหรืออำเภอในจังหวัดนั้นๆ เช่น ถ้าเขียนว่า 1001 ก็หมายถึงว่า คุณอาศัยอยู่ที่กรุงเทพฯ ในเขตดุสิต เพราะ 10๐ ในหลักที่ 2 และ 3 หมายถึงกรุงเทพมหานคร ส่วนเลข 01 ในหลักที่ 4 และ 5 คือรหัสของสำนักทะเบียนเขตดุสิต หรือถ้าเขียนว่า 1101 ก็จะหมายถึง อยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอเมือง เพราะ 11 แรกคือ รหัสจังหวัดสมุทรปราการ และ 01 หลัง คือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ เป็นต้น

    สำหรับ หลักที่ 6 ถึงหลักที่ 10 (เลข 01245 ในตัวอย่าง) จะหมายถึง กลุ่มที่ของบุคคลแต่ละประเภท ตามหลักแรก (หลักที่ 1) ซึ่งทางสำนักทะเบียนในแต่ละแห่ง ก็จะจัดกลุ่มเรียงไปตามลำดับ หรือหากเป็นเด็กเกิดใหม่ในปัจจุบัน เลขดังกล่าวก็จะหมายถึง เล่มที่ของสูติบัตร (ใบแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตออกให้) ซึ่งก็คือเลขประจำตัวในทะเบียนบ้านของเด็กที่แต่ละอำเภอหรือเขตออกให้ และจะไปปรากฎในบัตรประชาชน เมื่อถึงอายุต้องทำบัตรนั่นเอง แต่ถ้ายังไม่ถึงเกณฑ์เลขนี้ ก็จะปรากฏอยู่แค่ในทะเบียนบ้านของเด็กเท่านั้น

    หลักที่ 11 และ 12 (หมายเลข 29 ในตัวอย่างสมมุติ) จะหมายถึง ลำดับที่ของบุคคลในแต่ละกลุ่มประเภท เป็นการจัดลำดับว่าเราเป็นคนที่เท่าไรในกลุ่มของบุคคลประเภทนั้นๆ

    หลักที่ 13 (เลข 9 ตัวสุดท้ายในตัวอย่าง) จะหมายถึง ตัวเลขสำหรับตรวจสอบความถูกต้องของเลขทั้ง 12 หลักแรกอีกที

    สำหรับเลขตั้งแต่หลักที่ 6 ถึง 13 นี้เป็นการจัดหมวดหมู่ และเรียงลำดับบุคคลในแต่ละประเภทของสำนักทะเบียนในแต่ละท้องที่ ซึ่งเราก็คงไม่ต้องรู้รายละเอียดอะไรลึกไปกว่านี้ เพราะรู้แล้วอาจจะงงเปล่าๆ

    เป็นเรื่องน่าแปลกว่า ตัวเลข 13 หลักที่เป็นหมายเลขในบัตรประชาชน หรือเลขประจำตัวประชาชนของเราแต่ละคนนี้ จะไม่มีการซ้ำกันเลย ผิดกับชื่อหรือนามสกุล ยังมีซ้ำกันได้ และจะเป็นเลขประจำตัวเราจนตาย ไม่มีการเปลี่ยน หรือยกให้คนอื่น และจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ว่า ในอนาคตจะต้องมีการเติมเลข อย่างเลข 8 เข้าไปอีก เพราะเลขไม่พอใช้เหมือนโทรศัพท์มือถือหรือไม่ เขาก็บอกว่าคงอีกนาน อาจจะถึง 100 ปีโน่น เพราะการที่เขาแยกแยะบุคคลเป็นประเภทต่างๆ และยังแยกย่อยเป็นจังหวัดอำเภอ แล้วลงรายละเอียดไปเป็นกลุ่มๆในแต่ละประเภทอีกนั้น ทำให้เพดานหรือช่วงตัวเลขมีความห่างมาก จนสามารถรองรับจำนวนคนได้อีกมาก และหากใครสงสัย หรือมีปัญหาในเรื่องทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส บัตรประชาชน ก็สามารถสอบถามไปได้ที่ สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง โทร. 1548

    ตัวเลข 13 หลักที่กล่าวข้างต้น อันเป็นเลขประจำตัวประชาชนของแต่ละคนนี้ แม้จะมิใช่ตัวเลขที่เราต้องใช้เป็นประจำในชีวิตประจำวัน ยกเว้นใช้ในการกรอกเอกสารบางอย่าง เช่น การเปิดบัญชีธนาคาร ฯลฯ แต่เลขนี้ก็มีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นการสำแดงตัวตน “ความเป็นคนไทยหรือคนในประเทศไทย” ที่ทำให้เราสามารถอาศัยอยู่ในประเทศไทย และใช้สิทธิอย่างถูกต้องตามกฎหมายได้

    ขอขอบคุณข้อมูลข่าว : อมรรัตน์ เทพกำปนาท สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

    อัพเดทโดย : ศศิวิมล
    <!--END-->
     
  18. โพไซดอน

    โพไซดอน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    127
    ค่าพลัง:
    +326
    ดูดวงฟรีในเว็ปพลังจิตมาแล้วแม่นยำ 90% น่าลองดูนะ

    ผมลองไปเปิดแบนเนอร์ของเว็ปพลังจิตที่บอกว่า "ดูดวงฟรี ไม่มีเงื่อนไข" แล้วผมก็ส่งวัน เดือน ปี เวลา และจังหวัดที่เกิด ตามที่ทางเขาระบุมา ส่งไปให้ทางเว็ปเขาดูดวงให้ ต้องรอคิวอยู่ 2 วัน เขาบอกว่าคนดูดวงเยอะมากๆ เลยช้าไปหน่อย(ของฟรีรอได้อยู่แล้ว) แล้วเขาก็แจ้งกลับมาทาง Email พออ่านแล้วถึงกับงง ทำไมแม่นยำมากๆ ประมาณ 80 - 90% แต่แบนเนอร์ของเขาบางทีก็มี บางทีก็ไม่มี ก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน ดีที่ว่าเขาส่งชื่อเว็ปไซด์มาด้วย หากสมาชิกท่านใดสนใจจะลองดูดวงฟรีๆ ก็เชิญที่ http://www.horadeang.com ไม่ได้เสียหายอะไร จริงไหมครับ (||)
     
  19. khongbeng

    khongbeng เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    234
    ค่าพลัง:
    +657
    ในภาพเห็นข้าวเหนียวมะม่วง รู้สึกน่ากินมาก

    แต่ดันอิ่มซะก่อน เลยไม่ได้ลิ้มรสเลย...
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [​IMG]

    เอ้ ใครกำลังจ้องชม พระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุ เห็นไม่ชัดเจนน๊ะเนี่ย

    ผมเองก็ลืมให้ถ่ายรูป "พระบรมสารีริกธาตุ,พระธาตุ,พระบูชา,พระบูชาหลวงปู่อิเกสาโร,พระบูชาสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีและพระบูชาพระสังกัจจาย์" ลืมจริงๆ จะให้ชมความงามของพระบูชากันครับ

    ส่วนคุณ นายสติ (คุณปุ๊) สงสัยว่า ปรึกษาเรื่องอะไรกันหนอ
    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...