พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=2172&Z=2203

    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒

    วิภังคปกรณ์</CENTER><CENTER>ธาตุ ๖ นัยที่ ๒
    </CENTER>[๑๒๑] ธาตุ ๖ อีกนัยหนึ่ง คือ
    ๑. สุขธาตุ
    ๒. ทุกขธาตุ
    ๓. โสมนัสสธาตุ
    ๔. โทมนัสสธาตุ
    ๕. อุเปกขาธาตุ
    ๖. อวิชชาธาตุ
    ในธาตุ ๖ นั้น สุขธาตุ เป็นไฉน
    ความสบายกาย ความสุขกาย ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข เกิด
    แต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขเกิดแต่กายสัมผัส นี้เรียกว่า
    สุขธาตุ
    ทุกขธาตุ เป็นไฉน
    ความไม่สบายกาย ความทุกข์กาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์
    เกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส นี้
    เรียกว่า ทุกขธาตุ
    โสมนัสสธาตุ เป็นไฉน
    ความสบายใจ ความสุขใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่
    เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า
    โสมนัสสธาตุ
    โทมนัสสธาตุ เป็นไฉน
    ความไม่สบายใจ ความทุกข์ใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์
    เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์เกิดแต่เจโตสัมผัส
    นี้เรียกว่า โทมนัสสธาตุ
    อุเปกขาธาตุ เป็นไฉน
    ความสบายใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ไม่ทุกข์
    ไม่สุขเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ไม่ทุกข์ไม่สุขเกิดแต่เจโตสัมผัส
    นี้เรียกว่า อุเปกขาธาตุ
    อวิชชาธาตุ เป็นไฉน
    ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ <SUP>๑-</SUP> ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูล คือโมหะ
    นี้เรียกว่า อวิชชาธาตุ
    สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๖

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๒๑๗๒ - ๒๒๐๓. หน้าที่ ๙๔ - ๙๕.
    http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=2172&Z=2203&pagebreak=0
    สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๓๕</U>
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/mean_reverse.php?text=35&Aindex=%CA%D2%C3%BA%D1%AD</U>
    http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_35

    บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
    การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ.
    หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com
    .
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=2204&Z=2251
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
    วิภังคปกรณ์


    <CENTER>ธาตุ ๖ นัยที่ ๓
    </CENTER>[๑๒๒] ธาตุ ๖ อีกนัยหนึ่ง คือ
    ๑. กามธาตุ
    ๒. พยาปาทธาตุ
    <SMALL>@๑. ความที่ ฯลฯ พึงดูในธรรมสังคณีปกรณ์ ข้อ (๓๐๐)</SMALL>
    ๓. วิหิงสาธาตุ
    ๔. เนกขัมมธาตุ
    ๕. อัพยาปาทธาตุ
    ๖. อวิหิงสาธาตุ
    ในธาตุ ๖ นั้น กามธาตุ เป็นไฉน
    ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ อันประกอบด้วยกาม ความ
    ที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์
    มิจฉาสังกัปปะ นี้เรียกว่า กามธาตุ ชั้นต่ำมีอวีจินรกเป็นที่สุด ชั้นสูงมีเทพชั้น
    ปรนิมมิตวสวัตตีเป็นที่สุด ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
    วิญญาณ ที่ท่องเที่ยวอยู่ในระหว่างนี้ นับเนื่องอยู่ในระหว่างนี้ นี้เรียกว่า กามธาตุ
    พยาปาทธาตุ เป็นไฉน
    ความตรึก ความตรึกอย่างแรง อันประกอบด้วยพยาบาท ฯลฯ มิจฉา-
    *สังกัปปะ นี้เรียกว่า พยาปาทธาตุ อีกนัยหนึ่ง ความที่จิตอาฆาต ในอาฆาฏ-
    *วัตถุ ๑๐ ความอาฆาตมีกำลัง ความกระทบ ความแค้น ความโกรธ ความกำเริบ
    ความกำเริบหนัก ความคิดประทุษร้าย ความคิดประทุษร้ายยิ่ง ความคิดประทุษ-
    *ร้ายหนัก ความที่จิตพยาบาท ความมีใจประทุษร้ายยิ่ง ความโกรธ กิริยาที่โกรธ
    สภาพที่โกรธ ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย สภาพที่คิดประทุษร้าย
    ความพยาบาท กิริยาที่พยาบาท สภาพที่พยาบาท ความพิโรธ ความแค้น ความ
    ดุร้าย อาการที่พูดไม่ยั้ง ความที่จิตไม่แช่มชื่น นี้เรียกว่า พยาปาทธาตุ
    วิหิงสาธาตุ เป็นไฉน
    ความตรึก ความตรึกอย่างแรง อันประกอบด้วยวิหิงสา ฯลฯ มิจฉา-
    *สังกัปปะ นี้เรียกว่า วิหิงสาธาตุ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเบียดเบียนสัตว์
    ทั้งหลายด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ฝ่ามือ ก้อนดิน ท่อนไม้ ศัสตรา
    หรือเชือก ความข่มเหง กิริยาที่ข่มเหง ความเบียดเบียน กิริยาที่เบียดเบียน
    ความขึ้งเคียด ความเคียดแค้น ความเข้าไปเบียดเบียนผู้อื่น เห็นปานนี้ นี้เรียกว่า
    วิหิงสาธาตุ
    เนกขัมมธาตุ เป็นไฉน
    ความตรึก ความตรึกอย่างแรง อันประกอบด้วยเนกขัมมะ ฯลฯ
    สัมมาสังกัปปะ นี้เรียกว่า เนกขัมมธาตุ กุศลธรรมแม้ทั้งหมด ก็เรียกว่า
    เนกขัมมธาตุ
    อัพยาปาทธาตุ เป็นไฉน
    ความตรึก ความตรึกอย่างแรง อันประกอบด้วยความไม่พยาบาท ฯลฯ
    สัมมาสังกัปปะ นี้เรียกว่า อัพยาปาทธาตุ ความมีไมตรี กิริยาที่มีไมตรี สภาพ
    ที่มีไมตรี ในสัตว์ทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า อัพยาปาทธาตุ
    อวิหิงสาธาตุ เป็นไฉน
    ความตรึก ความตรึกอย่างแรง อันประกอบด้วยอวิหิงสา ความดำริ
    ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่
    อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ นี้เรียกว่า อวิหิงสาธาตุ ความกรุณา กิริยาที่กรุณา
    สภาพที่กรุณา ในสัตว์ทั้งหลาย กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า อวิหิงสาธาตุ
    สภาวธรรมเหล่านี้ ก็เรียกว่า ธาตุ ๖
    [๑๒๓] ฉักกะ หมวดแห่งธาตุ ๖ ทั้ง ๓ นัยนี้ ประมวลเข้าเป็นหมวด
    เดียวกัน เป็นธาตุ ๑๘ ด้วยประการฉะนี้


    <CENTER>สุตตันตภาชนีย์ จบ
    </CENTER>เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๒๒๐๔ - ๒๒๕๑. หน้าที่ ๙๕ - ๙๗.
    http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=2204&Z=2251&pagebreak=0
    สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๓๕</U>
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/mean_reverse.php?text=35&Aindex=%CA%D2%C3%BA%D1%AD</U>
    http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_35

    บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
    การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ.
    หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com

    .
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๓๕

    อภิธรรมภาชนีย์

    ธาตุ ๑๘
    ๑. จักขุธาตุ
    ๒. รูปธาตุ
    ๓. จักขุวิญญาณธาตุ
    ๔. โสตธาตุ
    ๕. สัททธาตุ
    ๖. โสตวิญญาณธาตุ
    ๗. ฆานธาตุ
    ๘. คันธธาตุ
    ๙. ฆานวิญญาณธาตุ
    ๑๐. ชิวหาธาตุ
    ๑๑. รสธาตุ
    ๑๒. ชิวหาวิญญาณธาตุ
    ๑๓. กายธาตุ
    ๑๔. โผฏฐัพพธาตุ
    ๑๕. กายวิญญาณธาตุ
    ๑๖. มโนธาตุ
    ๑๗. ธรรมธาตุ
    ๑๘. มโนวิญญาณธาตุ




    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
    วิภังคปกรณ์
    http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=2272&Z=2366

    [๑๒๕] ในธาตุ ๑๘ นั้น จักขุธาตุ เป็นไฉน
    จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ <SUP>๑-</SUP> นี้เรียกว่า บ้านว่าง
    บ้าง นี้เรียกว่า จักขุธาตุ
    รูปธาตุ เป็นไฉน
    รูปใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ ได้แก่ สี ฯลฯ นี้เรียกว่า รูปธาตุบ้าง
    นี้เรียกว่า รูปธาตุ
    จักขุวิญญาณธาตุ เป็นไฉน
    <SMALL>@๑. ความที่ ฯลฯ ในอภิธรรมภาชนีย์นี้ พึงดูความเต็มในธรรมสังคณีปกรณ์</SMALL>
    <SMALL>@ตั้งแต่ข้อ (๕๑๖) เป็นลำดับไป</SMALL>
    จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์
    วิญญาณ วิญญาณขันธ์ จักขุวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยจักขุปสาทและรูปารมณ์
    เกิดขึ้น นี้เรียกว่า จักขุวิญญาณธาตุ
    [๑๒๖] โสตธาตุ เป็นไฉน
    โสตะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า บ้านว่าง
    บ้าง นี้เรียกว่า โสตธาตุ
    สัททธาตุ เป็นไฉน
    เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้ ฯลฯ นี้เรียกว่า
    สัททธาตุบ้าง นี้เรียกว่า สัททธาตุ
    โสตวิญญาณธาตุ เป็นไฉน
    จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์
    วิญญาณ วิญญาณขันธ์ โสตวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยโสตปสาทและสัททารมณ์
    เกิดขึ้น นี้เรียกว่า โสตวิญญาณธาตุ
    [๑๒๗] ฆานธาตุ เป็นไฉน
    ฆานะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า บ้านว่าง
    บ้าง นี้เรียกว่า ฆานธาตุ
    คันธธาตุ เป็นไฉน
    กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้ ฯลฯ นี้เรียกว่า
    คันธธาตุบ้าง นี้เรียกว่า คันธธาตุ
    ฆานวิญญาณธาตุ เป็นไฉน
    จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์
    วิญญาณ วิญญาณขันธ์ ฆานวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยฆานปสาทและคันธารมณ์
    เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ฆานวิญญาณธาตุ
    [๑๒๘] ชิวหาธาตุ เป็นไฉน
    ชิวหาใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า บ้านว่าง
    บ้าง นี้เรียกว่า ชิวหาธาตุ
    รสธาตุ เป็นไฉน
    รสใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ฯลฯ นี้เรียกว่า
    รสธาตุบ้าง นี้เรียกว่า รสธาตุ
    ชิวหาวิญญาณธาตุ เป็นไฉน
    จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์
    วิญญาณ วิญญาณขันธ์ ชิวหาวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยชิวหาปสาทและรสารมณ์
    เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ชิวหาวิญญาณธาตุ
    [๑๒๙] กายธาตุ เป็นไฉน
    กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า บ้านว่าง
    บ้าง นี้เรียกว่า กายธาตุ
    โผฏฐัพพธาตุ เป็นไฉน
    ปฐวีธาตุ ฯลฯ นี้เรียกว่า โผฏฐัพพธาตุบ้าง นี้เรียกว่า โผฏฐัพพธาตุ
    กายวิญญาณธาตุ เป็นไฉน
    จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
    วิญญาณขันธ์ กายวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยกายปสาทและโผฏฐัพพารมณ์เกิดขึ้น
    นี้เรียกว่า กายวิญญาณธาตุ
    [๑๓๐] มโนธาตุ เป็นไฉน
    จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
    วิญญาณขันธ์ มโนธาตุที่สมกัน เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของจักขุวิญญาณธาตุ
    จิต ฯลฯ ของโสตวิญญาณธาตุ จิต ฯลฯ ของฆานวิญญาณธาตุ จิต ฯลฯ
    ของชิวหาวิญญาณธาตุ จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ
    มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนธาตุที่สมกัน เกิดในลำดับแห่งการเกิด
    ดับของกายวิญญาณธาตุ หรือความพิจารณาอารมณ์ทีแรกในธรรมทั้งปวง นี้เรียกว่า
    มโนธาตุ
    ธรรมธาตุ เป็นไฉน
    เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ รูปที่เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้
    นับเนื่องในธัมมายตนะ และอสังขตธาตุ
    ในธรรมธาตุนั้น เวทนาขันธ์ เป็นไฉน
    เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. เวทนาขันธ์
    หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. เวทนาขันธ์หมวดละ ๓
    คือ เวทนาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวด
    ละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า เวทนาขันธ์
    สัญญาขันธ์ เป็นไฉน
    สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์
    หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. สัญญาขันธ์หมวด
    ละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ สัญญาขันธ์
    หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า สัญญาขันธ์
    สังขารขันธ์ เป็นไฉน
    สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์
    หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นเหตุ เป็นนเหตุ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ
    สังขารขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละมาก
    อย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า สังขารขันธ์
    รูปที่เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้ นับเนื่องในธัมมายตนะ เป็นไฉน
    อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร นี้เรียกว่า รูปที่เห็นไม่ได้ กระทบ
    ไม่ได้ นับเนื่องในธัมมายตนะ
    อสังขตธาตุ เป็นไฉน
    ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อสังขตธาตุ
    สภาวธรรมนี้เรียกว่า ธรรมธาตุ
    มโนวิญญาณธาตุ เป็นไฉน
    มโนธาตุเกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของจักขุวิญญาณธาตุ จิต มโน
    มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับแม้ของ
    มโนธาตุอีกชั้นหนึ่ง มโนธาตุ เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของโสตวิญญาณธาตุ
    ฯลฯ มโนธาตุ เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของฆานวิญญาณธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ
    เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของชิวหาวิญญาณธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ เกิดในลำดับ
    แห่งการเกิดดับของกายวิญญาณธาตุ จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุ
    ที่สมกัน เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับแม้ของมโนธาตุอีกชั้นหนึ่ง จิต มโน
    มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์
    มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดขึ้น นี้เรียกว่า มโน-
    *วิญญาณธาตุ


    <CENTER>อภิธรรมภาชนีย์ จบ
    </CENTER>
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๒๒๗๒ - ๒๓๖๖. หน้าที่ ๙๘ - ๑๐๒.
    http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=2272&Z=2366&pagebreak=0
    สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๓๕</U>

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/mean_reverse.php?text=35&Aindex=%CA%D2%C3%BA%D1%AD</U>
    http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_35

    บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
    การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ.
    หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com

    .
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๓๕

    ปัญหาปุจฉกะ

    ธาตุ ๑๘
    ติกมาติกาปุจฉา-ทุกมาติกาปุจฉา
    ติกมาติกาวิสัชนา

    ทุกมาติกาวิสัชชนา



    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒

    วิภังคปกรณ์</CENTER><CENTER>ปัญหาปุจฉกะ
    </CENTER>[๑๓๑] ธาตุ ๑๘ คือ
    ๑. จักขุธาตุ
    ๒. รูปธาตุ
    ๓. จักขุวิญญาณธาตุ
    ๔. โสตธาตุ
    ๕. สัททธาตุ
    ๖. โสตวิญญาณธาตุ
    ๗. ฆานธาตุ
    ๘. คันธธาตุ
    ๙. ฆานวิญญาณธาตุ
    ๑๐. ชิวหาธาตุ
    ๑๑. รสธาตุ
    ๑๒. ชิวหาวิญญาณธาตุ
    ๑๓. กายธาตุ
    ๑๔. โผฏฐัพพธาตุ
    ๑๕. กายวิญญาณธาตุ
    ๑๖. มโนธาตุ
    ๑๗. ธรรมธาตุ
    ๑๘. มโนวิญญาณธาตุ

    http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=2387&Z=2449


    <CENTER>ติกมาติกาปุจฉา-ทุกมาติกาปุจฉา
    </CENTER>บรรดาธาตุ ๑๘ ธาตุไหนเป็นกุศล ธาตุไหนเป็นอกุศล ธาตุไหนเป็น
    อัพยากฤต ฯลฯ ธาตุไหนเป็นสรณะ ธาตุไหนเป็นอรณะ


    <CENTER>ติกมาติกาวิสัชชนา
    </CENTER>[๑๓๒] ธาตุ ๑๖ เป็นอัพยากฤต ธาตุ ๒ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี
    เป็นอัพยากฤตก็มี ธาตุ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสุขเวทนาสัมปยุต แม้เป็น
    ทุกขเวทนาสัมปยุต แม้เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ธาตุ ๕ เป็นอทุกขม-
    *สุขเวทนาสัมปยุต กายวิญญาณธาตุ เป็นสุขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นทุกขเวทนา-
    *สัมปยุตก็มี มโนวิญญาณธาตุ เป็นสุขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต
    ก็มี เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตก็มี ธรรมธาตุ เป็นสุขเวทนาสัมปยุตก็มี
    เป็นทุกขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตก็มี กล่าวไม่ได้ว่า
    แม้เป็นสุขเวทนาสัมปยุต แม้เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต แม้เป็นอทุกขมสุขเวทนา-
    *สัมปยุตก็มี ธาตุ ๑๐ เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม ธาตุ ๕ เป็นวิบาก
    มโนธาตุ เป็นวิบากก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี ธาตุ ๒ เป็นวิบาก
    ก็มี เป็นวิบากธัมมธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี ธาตุ ๑๐ เป็น
    อุปาทินนุปาทานิยะ สัททธาตุ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ ธาตุ ๕ เป็นอุปา-
    *ทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี ธาตุ ๒ เป็นอุปาทินนุ-
    *ปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะก็มี
    ธาตุ ๑๖ เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ ธาตุ ๒ เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะก็มี
    เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะก็มี เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะก็มี ธาตุ ๑๕ เป็น
    อวิตักกาวิจาระ มโนธาตุ เป็นสวิตักกสวิจาระ มโนวิญญาณธาตุ เป็นสวิตักก-
    *สวิจาระก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตะก็มี เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี ธรรมธาตุ เป็น
    สวิตักกสวิจาระก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตะก็มี เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี กล่าว
    ไม่ได้ว่า แม้เป็นสวิตักกสวิจาระ แม้เป็นอวิตักกวิจารมัตตะ แม้เป็นอวิตักกา-
    *วิจาระก็มี ธาตุ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปีติสหคตะ แม้เป็นสุขสหคตะ
    แม้เป็นอุเปกขาสหคตะ ธาตุ ๕ เป็นอุเปกขาสหคตะ กายวิญญาณธาตุ เป็น
    นปีติสหคตะ เป็นสุขสหคตะ เป็นนอุเบกขาสหคตะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสุข-
    *สหคตะก็มี ธาตุ ๒ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นอุเปกขา-
    *สหคตะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปีติสหคตะ แม้เป็นสุขสหคตะ แม้เป็น
    อุเปกขาสหคตะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพะ ธาตุ ๒
    เป็นทัสสนปหาตัพพะก็มี เป็นภาวนาปหาตัพพะก็มี เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหา-
    *ตัพพะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ ธาตุ ๒ เป็น
    ทัสสนปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นภาวนาปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นเนวทัสสนน-
    *ภาวนาปหาตัพพเหตุกะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นเนวาจยคามีนาปจยคามี ธาตุ ๒ เป็น
    อาจยคามีก็มี เป็นอปจยคามีก็มี เป็นเนวาจยคามีนาปจยคามีก็มี ธาตุ ๑๖ เป็น
    เนวเสกขนาเสกขะ ธาตุ ๒ เป็นเสกขะก็มี เป็นอเสกขะก็มี เป็นเนวเสก-
    *ขนาเสกขะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นปริตตะ ธาตุ ๒ เป็นปริตตะก็มี เป็นมหัคคตะ
    ก็มี เป็นอัปปมาณะก็มี ธาตุ ๑๐ เป็นอนารัมมณะ ธาตุ ๖ เป็นปริตตา-
    *รัมมณะ ธาตุ ๒ เป็นปริตตารัมมณะก็มี เป็นมหัคคตารัมมณะก็มี เป็น
    อัปปมาณารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปริตตารัมมณะ แม้เป็นมหัคคตา-
    *รัมมณะ แม้เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นมัชฌิมะ ธาตุ ๒ เป็น
    หีนะก็มี เป็นมัชฌิมะก็มี เป็นปณีตะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นอนิยตะ ธาตุ ๒
    เป็นมิจฉัตตนิยตะก็มี เป็นสัมมัตตนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี ธาตุ ๑๐ เป็น
    อนารัมมณะ ธาตุ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคารัมมณะ แม้เป็นมัคคเหตุกะ
    แม้เป็นมัคคาธิปติ ธาตุ ๒ เป็นมัคคารัมมณะก็มี เป็นมัคคเหตุกะก็มี เป็น
    มัคคาธิปติก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคารัมมณะ แม้เป็นมัคคเหตุกะ แม้เป็น
    มัคคาธิปติก็มี ธาตุ ๑๐ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทีก็มี กล่าวไม่ได้ว่า
    เป็นอนุปปันนะ สัททธาตุ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า
    เป็นอุปปาที ธาตุ ๖ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทีก็มี
    ธรรมธาตุ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทีก็มี กล่าวไม่ได้ว่า
    แม้เป็นอุปปันนะ แม้เป็นอนุปปันนะ แม้เป็นอุปปาทีก็มี ธาตุ ๑๗ เป็นอดีตก็มี
    เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบันก็มี ธรรมธาตุ เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็น
    ปัจจุบันก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอดีต แม้เป็นอนาคต แม้เป็นปัจจุบันก็มี
    ธาตุ ๑๐ เป็นอนารัมมณะ ธาตุ ๖ เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ ธาตุ ๒ เป็นอตีตา-
    *รัมมณะก็มี เป็นอนาคตารัมมณะก็มี เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า
    แม้เป็นอตีตารัมมณะ แม้เป็นอนาคตารัมมณะ แม้เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี
    ธาตุ ๑๘ เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธาก็มี ธาตุ ๑๐
    เป็นอนารัมมณะ ธาตุ ๖ เป็นอัชฌัตตารัมมณะก็มี เป็นพหิทธารัมมณะก็มี
    เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี ธาตุ ๒ เป็นอัชฌัตตารัมมณะก็มี เป็น
    พหิทธารัมมณะก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น
    อัชฌัตตารัมมณะ แม้เป็นพหิทธารัมมณะ แม้เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี
    รูปธาตุ เป็นสนิทัสสนสัปปฏิฆะ ธาตุ ๙ เป็นอนิทัสสนสัปปฏิฆะ ธาตุ ๘
    เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆะ

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๒๓๘๗ - ๒๔๔๙. หน้าที่ ๑๐๓ - ๑๐๖.
    http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=2387&Z=2449&pagebreak=0
    สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๓๕</U>
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/mean_reverse.php?text=35&Aindex=%CA%D2%C3%BA%D1%AD</U>
    http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_35

    บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
    การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ.
    หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com

    .
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=2450&Z=2636

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
    วิภังคปกรณ์


    <CENTER>ทุกมาติกาวิสัชชนา

    </CENTER><CENTER>๑. เหตุโคจฉกวิสัชชนา
    </CENTER>[๑๓๓] ธาตุ ๑๗ เป็นนเหตุ ธรรมธาตุ เป็นเหตุก็มี เป็นนเหตุก็มี
    ธาตุ ๑๖ เป็นอเหตุกะ ธาตุ ๒ เป็นสเหตุกะก็มี เป็นอเหตุกะก็มี ธาตุ ๑๖
    เป็นเหตุวิปปยุต ธาตุ ๒ เป็นเหตุสัมปยุตก็มี เป็นเหตุวิปปยุตก็มี ธาตุ ๑๖
    กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุสเหตุกะ แม้เป็นสเหตุกนเหตุ มโนวิญญาณธาตุ
    กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุสเหตุกะ เป็นสเหตุกนเหตุก็มี กล่าวไม่ได้ว่า
    เป็นสเหตุกนเหตุก็มี ธรรมธาตุ เป็นเหตุสเหตุกะก็มี เป็นสเหตุกนเหตุ
    ก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุสเหตุกะ แม้เป็นสเหตุกนเหตุก็มี ธาตุ ๑๖
    กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุเหตุสัมปยุต แม้เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุ มโน-
    *วิญญาณธาตุ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุเหตุสัมปยุต เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุ
    ก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุก็มี ธรรมธาตุ เป็นเหตุเหตุ-
    *สัมปยุตก็มี เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุเหตุ-
    *สัมปยุต แม้เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นนเหตุอเหตุกะ
    มโนวิญญาณธาตุ เป็นนเหตุสเหตุกะก็มี เป็นนเหตุอเหตุกะก็มี ธรรมธาตุ
    เป็นนเหตุสเหตุกะก็มี เป็นนเหตุอเหตุกะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนเหตุ-
    *สเหตุกะ แม้เป็นนเหตุอเหตุกะก็มี


    <CENTER>๒. จูฬันตรทุกวิสัชชนา
    </CENTER>[๑๓๔] ธาตุ ๑๗ เป็นสัปปัจจยะ ธรรมธาตุ เป็นสัปปัจจยะก็มี
    เป็นอัปปัจจยะก็มี ธาตุ ๑๗ เป็นสังขตะ ธรรมธาตุ เป็นสังขตะก็มี เป็น
    อสังขตะก็มี ธาตุ ๑๗ เป็นอนิทัสสนะ รูปธาตุ เป็นสนิทัสสนะ ธาตุ ๑๐
    เป็นสัปปฏิฆะ ธาตุ ๘ เป็นอัปปฏิฆะ ธาตุ ๑๐ เป็นรูป ธาตุ ๗ เป็นอรูป
    ธรรมธาตุ เป็นรูปก็มี เป็นอรูปก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นโลกิยะ ธาตุ ๒ เป็นโลกิยะ
    ก็มี เป็นโลกุตตระก็มี ธาตุ ๑๘ เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ


    <CENTER>๓. อาสวโคจฉกวิสัชชนา
    </CENTER>[๑๓๕] ธาตุ ๑๗ เป็นโนอาสวะ ธรรมธาตุ เป็นอาสวะก็มี เป็น
    โนอาสวะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นสาสวะ ธาตุ ๒ เป็นสาสวะก็มี เป็นอนาสวะ
    ก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นอาสววิปปยุต ธาตุ ๒ เป็นอาสวสัมปยุตก็มี เป็นอาสว-
    *วิปปยุตก็มี ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสาสวะ เป็นสาสวโนอาสวะ
    มโนวิญญาณธาตุ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสาสวะ เป็นสาสวโนอาสวะก็มี
    กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสาสวโนอาสวะก็มี ธรรมธาตุ เป็นอาสวสาสวะก็มี
    เป็นสาสวโนอาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวสาสวะ แม้เป็นสาสวโน-
    *อาสวะก็มี ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต แม้เป็น
    อาสวสัมปยุตตโนอาสวะ มโนวิญญาณธาตุ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวอาสว-
    *สัมปยุต เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสัม-
    *ปยุตตโนอาสวะก็มี ธรรมธาตุ เป็นอาสวอาสวสัมปยุตก็มี เป็นอาสว-
    *สัมปยุตตโนอาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต แม้เป็น
    อาสวอาสวสัมปยุต แม้เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นอาสว-
    *วิปปยุตตสาสวะ ธาตุ ๒ เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะก็มี เป็นอาสววิปปยุตต-
    *อนาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ แม้เป็นอาสว-
    *วิปปยุตตอนาสวะก็มี


    <CENTER>๔. สัญโญชนโคจฉกวิสัชชนา
    </CENTER>[๑๓๖] ธาตุ ๑๗ เป็นโนสัญโญชนะ ธรรมธาตุ เป็นสัญโญชนะก็มี
    เป็นโนสัญโญชนะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นสัญโญชนิยะ ธาตุ ๒ เป็นสัญโญชนิยะ
    ก็มี เป็นอสัญโญชนิยะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นสัญโญชนวิปปยุตก็มี ธาตุ ๒ เป็น
    สัญโญชนสัมปยุตก็มี เป็นสัญโญชนวิปปยุตก็มี ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
    สัญโญชนสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะ มโนวิญญาณธาตุ กล่าว
    ไม่ได้ว่า เป็นสัญโญชนสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะก็มี กล่าว
    ไม่ได้ว่า เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะก็มี ธรรมธาตุ เป็นสัญโญชนสัญโญ-
    *ชนิยะก็มี เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชน-
    *สัญโญชนิยะ แม้เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะก็มี ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า
    แม้เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุต แม้เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะ
    มโนวิญญาณธาตุ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุต เป็นสัญโญ-
    *ชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่าเป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญ-
    *ชนะก็มี ธรรมธาตุ เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุตก็มี เป็นสัญโญชนสัมปยุตต-
    *โนสัญโญชนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุต แม้เป็น
    สัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญ-
    *ชนิยะ ธาตุ ๒ เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะก็มี เป็นสัญโญชนวิปปยุตต-
    *อสัญโญชนิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ แม้
    เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะก็มี


    <CENTER>๕. คันถโคจฉกวิสัชชนา
    </CENTER>[๑๓๗] ธาตุ ๑๗ เป็นโนคันถะ ธรรมธาตุ เป็นคันถะก็มี เป็นโนคันถะ
    ก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นคันถนิยะ ธาตุ ๒ เป็นคันถนิยะก็มี เป็นอคันถนิยะก็มี ธาตุ ๑๖
    เป็นคันถวิปปยุต ธาตุ ๒ เป็นคันถสัมปยุตก็มี เป็นคันถวิปปยุตก็มี ธาตุ ๑๖
    กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถคันถนิยะ เป็นคันถนิยโนคันถะ มโนวิญญาณธาตุ
    กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถคันถนิยะ เป็นคันถนิยโนคันถะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
    คันถนิยโนคันถะก็มี ธรรมธาตุ เป็นคันถคันถนิยะก็มี เป็นคันถนิยโนคันถะก็มี
    กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถคันถนิยะ แม้เป็นคันถนิยโนคันถะก็มี ธาตุ ๑๖
    กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถคันถสัมปยุต แม้เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะ มโน-
    *วิญญาณธาตุ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถคันถสัมปยุต เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี
    กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี ธรรมธาตุ เป็นคันถคันถสัมปยุต
    ก็มี เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถคันถสัมปยุต แม้
    เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ ธาตุ ๒
    เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะก็มี เป็นคันถวิปปยุตตอคันถนิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า
    แม้เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ แม้เป็นคันถวิปปยุตตอคันถนิยะก็มี


    <CENTER>๖, ๗, ๘. โอฆโคจฉกาทิวิสัชชนา
    </CENTER>[๑๓๘] ธาตุ ๑๗ เป็นโนโอฆะ ฯลฯ ธาตุ ๑๗ เป็นโนโยคะ ฯลฯ
    ธาตุ ๑๗ เป็นโนนีวรณะ ธรรมธาตุ เป็นนีวรณะก็มี เป็นโนนีวรณะก็มี ธาตุ ๑๖
    เป็นนีวรณิยะ ธาตุ ๒ เป็นนีวรณิยะก็มี เป็นอนีวรณิยะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็น
    นีวรณวิปปยุต ธาตุ ๒ เป็นนีวรณสัมปยุตก็มี เป็นนีวรณวิปปยุตก็มี ธาตุ ๑๖
    กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณนีวรณิยะ เป็นนีวรณิยโนนีวรณะ มโนวิญญาณธาตุ
    กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณนีวรณิยะ เป็นนีวรณิยโนนีวรณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
    นีวรณิยโนนีวรณะก็มี ธรรมธาตุ เป็นนีวรณนีวรณิยะก็มี เป็นนีวรณิยโนนีวรณะ
    ก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณนีวรณิยะ แม้เป็นนีวรณิยโนนีวรณะก็มี ธาตุ ๑๖
    กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุต แม้เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะ
    มโนวิญญาณธาตุ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุต เป็นนีวรณสัมปยุตต-
    *โนนีวรณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี ธรรมธาตุ เป็น
    นีวรณนีวรณสัมปยุตก็มี เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้
    เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุต แม้เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็น
    นีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะ ธาตุ ๒ เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะก็มี เป็นนีวรณ-
    *วิปปยุตตอนีวรณิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะ แม้เป็น
    นีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยะก็มี


    <CENTER>๙. ปรามาสโคจฉกวิสัชชนา
    </CENTER>[๑๓๙] ธาตุ ๑๗ เป็นโนปรามาสะ ธรรมธาตุ เป็นปรามาสะก็มี เป็น
    โนปรามาสะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นปรามัฏฐะ ธาตุ ๒ เป็นปรามัฏฐะก็มี เป็นอปรา-
    *มัฏฐะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นปรามาสวิปปยุต มโนวิญญาณธาตุ เป็นปรามาสสัมปยุต
    ก็มี เป็นปรามาสวิปปยุตก็มี ธรรมธาตุ เป็นปรามาสสัมปยุตก็มี เป็นปรามาส-
    *วิปปยุตก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปรามาสสัมปยุต แม้เป็นปรามาสวิปปยุตก็มี
    ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสปรามัฏฐะ เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะ มโน-
    *วิญญาณธาตุ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสปรามัฏฐะ เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี
    กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี ธรรมธาตุ เป็นปรามาสปรามัฏฐะก็มี
    เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปรามาสปรามัฏฐะ แม้เป็น
    ปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะ ธาตุ ๒ เป็น
    ปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะก็มี เป็นปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐะก็มี กล่าวไม่ได้
    ว่า แม้เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะ แม้เป็นปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐะก็มี


    <CENTER>๑๐. มหันตรทุกวิสัชชนา
    </CENTER>[๑๔๐] ธาตุ ๑๐ เป็นอนารัมมณะ ธาตุ ๗ เป็นสารัมมณะ ธรรมธาตุ
    เป็นสารัมมณะก็มี เป็นอนารัมมณะก็มี ธาตุ ๑๑ เป็นโนจิตตะ ธาตุ ๗ เป็นจิตตะ
    ธาตุ ๑๗ เป็นอเจตสิกะ ธรรมธาตุ เป็นเจตสิกะก็มี เป็นอเจตสิกะก็มี ธาตุ ๑๐
    เป็นจิตตวิปปยุต ธรรมธาตุ เป็นจิตตสัมปยุตก็มี เป็นจิตตวิปปยุตก็มี ธาตุ ๗
    กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นจิตตสัมปยุต แม้เป็นจิตตวิปปยุต ธาตุ ๑๐ เป็นจิตต-
    *วิสังสัฏฐะ ธรรมธาตุ เป็นจิตตสังสัฏฐะก็มี เป็นจิตตวิสังสัฏฐะก็มี ธาตุ ๗ กล่าว
    ไม่ได้ว่า แม้เป็นจิตตสังสัฏฐะ แม้เป็นจิตตวิสังสัฏฐะ ธาตุ ๑๒ เป็นโนจิตตสมุฏ-
    *ฐานะธาตุ ๖ เป็นจิตตสมุฏฐานะก็มี เป็นโนจิตตสมุฏฐานะก็มี ธาตุ ๑๗ เป็น
    โนจิตตสหภู ธรรมธาตุ เป็นจิตตสหภูก็มี เป็นโนจิตตสหภูก็มี ธาตุ ๑๗ เป็น
    โนจิตตานุปริวัตติ ธรรมธาตุเป็นจิตตานุปริวัตติก็มี เป็นโนจิตตานุปริวัตติก็มี
    ธาตุ ๑๗ เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ ธรรมธาตุ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะก็มี
    เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะก็มี ธาตุ ๑๗ เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู
    ธรรมธาตุ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูก็มี เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูก็มี
    ธาตุ ๑๗ เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ ธรรมธาตุ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏ
    ฐานานุปริวัตติก็มีเป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติก็มี ธาตุ ๑๒ เป็นอัชฌัต-
    *ติกะธาตุ ๖ เป็นพาหิระ ธาตุ ๙ เป็นอุปาทา ธาตุ ๘ เป็นนอุปาทา ธรรมธาตุ
    เป็นอุปาทาก็มี เป็นนอุปาทาก็มี ธาตุ ๑๐ เป็นอุปาทินนะ สัททธาตุ เป็นอนุปาทิน-
    *นะ ธาตุ ๗ เป็นอุปาทินนะก็มี เป็นอนุปาทินนะก็มี


    <CENTER>๑๑. อุปาทานโคจฉกวิสัชชนา
    </CENTER>[๑๔๑] ธาตุ ๑๗ เป็นนอุปาทานะ ธรรมธาตุ เป็นอุปาทานะก็มี เป็น
    นอุปาทานะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นอุปาทานิยะ ธาตุ ๒ เป็นอุปาทานิยะก็มี เป็น
    อนุปาทานิยะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นอุปาทานวิปปยุต ธาตุ ๒ เป็นอุปาทานสัมปยุตก็มี
    เป็นอุปาทานวิปปยุตตก็มี ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานอุปาทานิยะ เป็น
    อุปาทานิยโนอุปาทานะ มโนวิญญาณธาตุ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานอุปาทานิยะ
    เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะก็มี
    ธรรมธาตุ เป็นอุปาทานอุปาทานิยะก็มี เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะก็มี กล่าว
    ไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทานอุปาทานิยะ แม้เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะก็มี ธาตุ ๑๖
    กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุต แม้เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปา-
    *ทานะก็มี มโนวิญญาณธาตุ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุต เป็น
    อุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปา-
    *ทานะก็มี ธรรมธาตุ เป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุตก็มี เป็นอุปาทานสัมปยุตต-
    *โนอุปาทานะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุต แม้เป็น
    อุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นอุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยะ
    ธาตุ ๒ เป็นอุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยะก็มี เป็นอุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยะ
    ก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยะ แม้เป็นอุปาทานวิปป-
    *ยุตตอนุปาทานิยะก็มี


    <CENTER>๑๒. กิเลสโคจฉกวิสัชชนา
    </CENTER>[๑๔๒] ธาตุ ๑๗ เป็นโนกิเลสะ ธรรมธาตุ เป็นกิเลสะก็มี เป็น
    โนกิเลสะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นสังกิเลสิกะ ธาตุ ๒ เป็นสังกิเลสิกะก็มี เป็น
    อสังกิเลสิกะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นอสังกิลิฏฐะ ธาตุ ๒ เป็นสังกิลิฏฐะก็มี เป็น
    อสังกิลิฏฐะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นกิเลสวิปปยุต ธาตุ ๒ เป็นกิเลสสัมปยุตก็มี เป็น
    กิเลสวิปปยุตก็มี ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสังกิเลสิกะ เป็นสังกิเลสิก-
    *โนกิเลสะ มโนวิญญาณธาตุ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสังกิเลสิกะ เป็นสังกิเลสิก-
    *โนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะก็มี ธรรมธาตุ เป็นกิเลส-
    *สังกิเลสิกะก็มี เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสสังกิเล-
    *สิกะ แม้เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะก็มี ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลส-
    *สังกิลิฏฐะ แม้เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะ มโนวิญญาณธาตุ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
    กิเลสสังกิลิฏฐะ เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังกิลิฏฐโน-
    *กิเลสะก็มี ธรรมธาตุ เป็นสังกิเลสสังกิลิฏฐะก็มี เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี
    กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะ แม้เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี ธาตุ ๑๖
    กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุต แม้เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะ
    มโนวิญญาณธาตุ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุต เป็นกิเลสสัมปยุตต-
    *โนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะก็มี ธรรมธาตุ เป็น
    กิเลสกิเลสสัมปยุตก็มี เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น
    กิเลสกิเลสสัมปยุต แม้เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นกิเลส-
    *วิปปยุตตสังกิเลสิกะ ธาตุ ๒ เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะก็มี เป็นกิเลส-
    *วิปปยุตตอสังกิเลสิกะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะ
    แม้เป็นกิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะก็มี


    <CENTER>๑๓. ปีฏฐิทุกวิสัชชนา
    </CENTER>[๑๔๓] ธาตุ ๑๖ เป็นนทัสสนปหาตัพพะ ธาตุ ๒ เป็นทัสสนปหา-
    *ตัพพะก็มี เป็นนทัสสนปหาตัพพะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นนภาวนาปหาตัพพะ ธาตุ ๒
    เป็นภาวนาปหาตัพพะก็มี เป็นนภาวนาปหาตัพพะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นนทัสสนปหา-
    *ตัพพะเหตุกะ ธาตุ ๒ เป็นทัสสนปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นนทัสสนปหาตัพพเหตุกะ
    ก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ ธาตุ ๒ เป็นภาวนาปหาตัพพเหตุกะ
    ก็มี เป็นนภาวนาปหาตัพพเหตุกะก็มี ธาตุ ๑๕ เป็นอวิตักกะ มโนวิญญาณธาตุ
    เป็นสวิตักกะ ธาตุ ๒ เป็นสวิตักกะก็มี เป็นอวิตักกะก็มี ธาตุ ๑๕ เป็นอวิจาระ
    มโนธาตุ เป็นสวิจาระ ธาตุ ๒ เป็นสวิจาระก็มี เป็นอวิจาระก็มี ธาตุ ๑๖ เป็น
    อัปปีติกะ ธาตุ ๒ เป็นสัปปีติกะก็มี เป็นอัปปีติกะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นนปีติสหคตะ
    ธาตุ ๒ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นนปีติสหคตะก็มี ธาตุ ๑๕ เป็นนสุขสหคตะ
    ธาตุ ๓ เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นนสุขสหคตะก็มี ธาตุ ๑๑ เป็นนอุเปกขาสหคตะ
    ธาตุ ๕ เป็นอุเปกขาสหคตะ ธาตุ ๒ เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี เป็นนอุเปกขา-
    *สหคตะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นกามาวจร ธาตุ ๒ เป็นกามาวจรก็มี เป็นนกามาวจรก็มี
    ธาตุ ๑๖ เป็นนรูปาวจร ธาตุ ๒ เป็นรูปาวจรก็มี เป็นนรูปาวจรก็มี ธาตุ ๑๖ เป็น
    นอรูปาวจร ธาตุ ๒ เป็นอรูปาวจรก็มี เป็นนอรูปาวจรก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นปริยา-
    *ปันนะ ธาตุ ๒ เป็นปริยาปันนะก็มี เป็นอปริยาปันนะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นอนิยยา-
    *นิกะ ธาตุ ๒ เป็นนิยยานิกะก็มี เป็นอนิยยานิกะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นอนิยตะ
    ธาตุ ๒ เป็นนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นสอุตตระ ธาตุ ๒ เป็น
    สอุตตระก็มี เป็นอนุตตระก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นอรณะ ธาตุ ๒ เป็นสรณะก็มี เป็น
    อรณะก็มี ฉะนี้แล


    <CENTER>ปัญหาปุจฉกะ จบ

    </CENTER><CENTER>ธาตุวิภังค์ จบบริบูรณ์
    </CENTER>

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๒๓๘๗ - ๒๔๔๙. หน้าที่ ๑๐๓ - ๑๐๖.
    http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=2387&Z=2449&pagebreak=0
    สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๓๕</U>
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/mean_reverse.php?text=35&Aindex=%CA%D2%C3%BA%D1%AD</U>
    http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_35

    บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
    การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ.
    หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com



    .
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.wt81.org/buddhis/84000/index.php

    http://www.wt81.org/buddhis/84000/200/165.htm

    165 ธาตุ ๔ เปลี่ยนสภาพได้

    ปัญหา ในทางวิทยาศาสตร์ คำว่าธาตุ (Element) หมายถึง ปรมาณูซึ่งมีจำนวนอิเล็กตรอนและโปรตอนจำกัด เช่น ธาตุไฮโครเจนมีอิเล็กตรอนและโปรตอนอย่างละหนึ่ง ถ้าเราเปลี่ยนให้มันมีอิเล็กตรอน ๒ และโปรตอน ๒ มันจะกลายเป็น ธาตุฮีเลียม (Helium) ไป ไม่ใช่ไฮโครเจนฉะนั้นธาตุในทางวิทยาศาสตร์ อาจจะเปลี่ยนเป็นธาตุอื่น ๆ ได้ ธาตุในทางพระพุทธศาสนาเปลี่ยนได้หรือไม่ ?

    พุทธดำรัสตอบ “..... ดูก่อนอานนท์ มหาภูติ ๔ (หมายถึงธาตุใหญ่ทั้ง ๔) คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) พึงเป็นอย่างอื่นได้ แต่พระอริยสาวกผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างมั่นคงไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์ ไม่พึงเป็นอย่างอื่นไปได้เลย....”
    สมาทปกสูตร ติ. อํ. (๕๑๕)
    ตบ. ๒๐ : ๒๘๖-๒๘๗ ตท. ๒๐ : ๒๕๑
    ตอ. G.S. I : ๒๐๒-๒๐๓



    อธิบายอักษรย่อบอกแหล่งอ้างอิง

    มู.ม. = มูลปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย
    ม.ม. = มัชฌิมปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย
    อุ.ม. = อุปริปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย
    ส.สํ = สคาถวรรค สํยุตตนิกาย
    นิ.สํ. = นิทานวรรค สํยุตตนิกาย
    สฬ.สํ. = สฬายตนวรรค สํยุตตนิกาย
    ม.สํ. = มหาวารวรรค สํยุตตนิกาย
    เอ.อํ. = เอกนิบาต อังคุตตรนิกาย
    ทุ.อํ. = ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย
    ติ.อํ. = ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย
    จ.อํ. = จตุกกนิบาต อังคุตตรนิกาย
    ป.อํ. = ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย
    ฉ.อํ. = ฉักกนิบาต อังคุตตรนิกาย
    ส.อํ. = สัตตกนิบาต อังคุตตรนิกาย
    อ.อํ. = อัฏฐกนิบาต อังคุตตรนิกาย
    น.อํ. = นวกนิบาต อังคุตตรนิกาย
    ท.อํ. = ทสกนิบาต อังคุตตรนิกาย
    (๒๐) = เลขบอกหัวข้อในพระไตรปิฏก
    ตบ. ๒๐ : ๒๐-๒๑ = พระไตรปิฎกบาลี เล่ม ๒๐ หน้า ๒๐-๒๑
    ตท. ๑๘ : ๕๖-๕๘ = พระไตรปิฎกไทย เล่ม ๑๘ หน้า ๕๖-๕๘
    ตอ. = พระไตรปิฎกอังกฤษ
    MLS.I = Middle Length Sayings (มัชฌิมนิกาย) เล่ม ๑
    K.S.II = Kindred Sayings (สังยุตตนิกาย) เล่ม ๒
    G.S.IV = Gradual Sayings (อังคุตตรนิกาย) เล่ม ๔
    ตัวเลขข้างหลัง เลขโรมัน หมายถึงเลขบอกหน้าใน ตอ.
    ขันธ. สํ. = ขันธวารวรรค สังยุตตนิกาย
    สฬา สํ. = สฬายตนวรรค สังยุตตนิกาย
    มหา. สํ. = มหาวารวรรค สังยุตตนิกาย
    เอก. อํ. = เอกนิบาต อังยุตตนิกาย
    ป. ทุก. อํ. = ปฐมปัณณาสก์ ทุกนิบาต อังยุตตนิกาย
    ทุ. ทุก. อํ. = ทุติยปัณณาสก์ ทุกนิบาต อังยุตตนิกาย
    ต. ทุก. อํ. = ตติยปัณณาสก์ ทุกนิบาต อังยุตตนิกาย
    ติก. ทุก. อํ. = ติกนิบาต อังยุตตนิกาย
    เลขในวงเล็บข้างหลังชื่อสูตรและนิกาย หมายถึงเลขบอกข้อในพระไตรปิฎก บาลี
    และพระไตรปิฎกไทย เช่น นกุลปิตาสูตร ขันธ. สํ. (๑) อ่านว่า
    ขันธวารวรรค สังยุตตนิกาย ข้อ ๑
    ตบ. = พระไตรปิฎกบาลี ๔๕ เล่ม
    ตท. = พระไตรปิฎกไทย ๔๕ เล่ม
    K.S. = The Kindred Sayings ซึ่งตรงกับสังยุตตนิกาย
    G.S. = The Gradual Sayings ซึ่งตรงกับอังคุตตรนิกาย
    จำนวนเลขข้างหลังอักษรย่อบอกนามคัมภีร์ หมายถึง อันดับเล่มที่
    เช่น ตบ. ๑๗ หมายถึง พระไตรปิฎกบาลี เล่มที่ ๑๗
    จำนวนเลขข้างหลัง : หมายถึง หน้าหนังสือเล่มนั้น
    เช่น ตบ. ๑๗ : ๒๐-๒๑ อ่านว่า เล่ม ๑๗ หน้า ๒๐ และ ๒๑



    .
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.wt81.org/buddhis/84000/200/118.htm

    118 พระพุทธเจ้าทรงเคารพอะไร

    ปัญหา พระพุทธเจ้าจัดว่าเป้นพระบรมศาสดาของโลก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์ทรงเคารพใคร ? หรือว่าไม่ทรงเคารพใครเลย ?

    พุทธดำรัสตอบ “.... บุคคลผู้ไม่มีที่เคารพ ที่ยำเกรง ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เราจะพึงสักการะเคารพอาศัยสมณะ หรือพราหมณ์ใครผู้ใดอยู่หนอ ?
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้มีพระดำริว่า “เราควรสักการะเคารพสมณะหรือพราหมณ์อื่นแล้วอาศัยอยู่ เพื่อความบริบูรณ์แห่งศีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ แต่ว่า เรายังไม่เห็นสมณหรือพราหมณ์อื่นที่ถึงพร้อมด้วยศีลยิ่งกว่าตนในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ซึ่งเราควรสักการะเคารพแล้วอาศัยอยู่
    “เราควรสักการะเคารพสมณะหรือพราหมณ์อื่นแล้วอาศัยอยู่ เพื่อความบริบูรณ์แห่งสมาธิที่ยังไม่บริบูรณ์.... เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์.... เพื่อความบริบูรณ์แห่งวิมุติขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์.... เพื่อความบริบูรณ์ แห่งวิมุติญาณทัสสนะขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ แต่ว่าเรายังไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่น ที่ถึงพร้อมด้วยสมาธิ.... ที่ถึงพร้อมด้วยปัญญา.... ที่ถึงพร้อมด้วยวิมุติ..... ที่ถึงพร้อมด้วยวิมุติญาณทัสสนะยิ่งกว่าตนในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ซึ่งเราควรสักการะเคารพแล้วอาศัยอยู่
    “อย่างกระนั้นเลย เราควรสักการะเคารพธรรมที่เราตรัสรู้นั่นแหละ แล้วอาศัยอยู่”
    คารวสูตรที่ ๒ ส. สํ. (๕๖๐)
    ตบ. ๑๕ : ๒๐๓-๒๐๕ ตท. ๑๕ : ๑๙๔-๑๙๕
    ตอ. K.S. I : ๑๗๕




    .
     
  8. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    โยนเฉยเลยนะ จานน้อง จิตน้อง สามารถยั่งรู้
    แต่พี่นั้น ยังห่างไกล เหมือน รถพี่ วิ่งจัก 80
    เจอจานน้อง วิ่ง 140 แล้ว แวบไฟ
    พี่จัก ต้องชิดซ้าย ปล่อยน้องไปนะน้องเอย........
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ nongnooo [​IMG]
    โยนเฉยเลยนะ จานน้อง จิตน้อง สามารถยั่งรู้
    แต่พี่นั้น ยังห่างไกล เหมือน รถพี่ วิ่งจัก 80
    เจอจานน้อง วิ่ง 140 แล้ว แวบไฟ
    พี่จัก ต้องชิดซ้าย ปล่อยน้องไปนะน้องเอย........

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    วันนี้ทำให้ดีที่สุดก็พอแล้ว วันข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้นก็ไม่ต้องเสียใจนะครับน้องchaipat

    ด้วยรักและห่วงใย
    .
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ผมขอตอบคุณpucca2101

    ก่อนอื่นผมขอโมทนาบุญทุกๆประการด้วยนะครับ

    จากที่ผมได้รับ pm เข้ามาแล้ว มีอยู่สิ่งหนึ่งที่จะเรียนให้ทราบก็คือ หากสิ่งไหนก็ตามเป็นของเรา ต้องเป็นของเราอยู่วันยังค่ำ ไม่ช้าก็เร็ว ผมเองเมื่อสัก 10กว่าปีที่ผ่านมา ทั้งไฝ่ฝัน ทั้งตามหาหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ตามพระพระพิมพ์และวัตถุมงคลของพระองค์ท่าน แต่เมื่อสักประมาณ 4 ปีที่ผ่านมา ผมก็ได้สมใจและไม่ใช่ว่าจะได้มาน้อย ได้มาพอสมควร สิ่งที่คุณpucca2101 มีความประสงค์ที่จะได้ไว้ ถ้าเป็นของคุณpucca2101 จริงๆ คุณpucca2101 ย่อมได้สักวันหนึ่งแน่นอน

    ส่วนงานที่คณะผมจะจัดขึ้นนั้น โดยปกติแล้วผมจะไม่ได้เชิญท่านอื่นๆที่อยู่นอกกลุ่ม เข้ามาร่วมงาน อย่างที่ผมเคยบอกไว้ในกระทู้นี้ ประมาณ 4-5 หน้าย้อนหลังไปเรื่องของการที่ผมจะรับใครเข้ากลุ่ม ผมขอพิจารณาเป็นรายท่านไป เนื่องจากผมเองประสบปัญหาเรื่องของคนมาพอสมควร และได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของท่านอื่นๆครับ

    ส่วนพระพิมพ์ผมจะจัดส่งไปให้นะครับ

    โมทนาสาธุครับ

    .
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 21 คน ( เป็นสมาชิก 6 คน และ บุคคลทั่วไป 15 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"></TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>sithiphong, nongnooo+, pucca2101, พรหมศาสตร์พยากรณ์ </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ผมกลับบ้านก่อนนะครับ คืนนี้ว่าจะไปทำงานต่อซะหน่อย ยังไม่รู้ว่าจะมีแรงทำหรือเปล่าเลยครับ

    โมทนาบุญกับทุกๆท่านครับ
     
  12. pucca2101

    pucca2101 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    5,805
    ค่าพลัง:
    +20,896
    จากที่ผมได้รับ pm เข้ามาแล้ว มีอยู่สิ่งหนึ่งที่จะเรียนให้ทราบก็คือ หากสิ่งไหนก็ตามเป็นของเรา ต้องเป็นของเราอยู่วันยังค่ำ ไม่ช้าก็เร็ว ผมเองเมื่อสัก 10กว่าปีที่ผ่านมา ทั้งไฝ่ฝัน ทั้งตามหาหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ตามพระพระพิมพ์และวัตถุมงคลของพระองค์ท่าน แต่เมื่อสักประมาณ 4 ปีที่ผ่านมา ผมก็ได้สมใจและไม่ใช่ว่าจะได้มาน้อย ได้มาพอสมควร สิ่งที่คุณpucca2101 มีความประสงค์ที่จะได้ไว้ ถ้าเป็นของคุณpucca2101 จริงๆ คุณpucca2101 ย่อมได้สักวันหนึ่งแน่นอน



    ขอบพระคุณที่ได้เตือนสตินะคะ ถูกต้องที่สุดแล้วค่ะ หากของสิ่งไหนเป็นของเรา สักวันเราก็จะได้มา ขึ้นอยู่กับบุญบารมีของแต่ละคนที่ได้สะสมปฎิบัติมาด้วย
     
  13. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    วาระ....
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ป๋อเล่อเซี่ยงหม่า(伯乐相马) : ป๋อเล่อเลือกม้า
    http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9510000035246
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>25 มีนาคม 2551 17:11 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> 伯乐 อ่านว่า ป๋อเล่อ หมายถึง คำเรียกคนคัดสรรม้าศึกในสมัยโบราณ
    อ่านว่า เซี่ยง หมายถึง เลือก
    อ่านว่า หม่า หมายถึง ม้า

    伯乐相马 = ป๋อเล่อเลือกม้า

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> เชื่อกันว่าในสรวงสวรรค์มีเซียนวิเศษที่ทำหน้าที่ดูแลอาชาแห่งสวรรค์ ส่วนในโลกมนุษย์ก็มีผู้ที่มีความสามารถในการคัดเลือกยอดอาชาเช่นกัน โดยบุคคลเหล่านี้จะถูกเรียกว่า "ป๋อเล่อ"

    ป๋อเล่อคนแรกในประวัติศาสตร์ มีชื่อเดิมว่า ซุนหยัง เป็นคนสมัยชุนชิว และเนื่องจากว่าเขามีความรู้เรื่องม้าอย่างลึกซึ้ง โดดเด่น ทำให้ผู้คนต่างพากันเรียกเขาว่าป๋อเล่อ แทนชื่อจริง

    วันหนึ่ง เขาได้รับมอบหมายจากอ๋องรัฐฉู่ ให้ไปซื้อหาม้าห้อพันลี้ ซึ่งมีฝีเท้าจัดเป็นเลิศในแผ่นดินมาถวายเป็นมาศึก ป๋อเล่อตอบตกลงโดยกล่าวกับท่านอ๋องว่า
    "อันว่ายอดอาชาในแผ่นดิน มีจำนวนนับได้ การเสาะหาคงไม่ใช่เรื่องง่าย และต้องใช้เวลา ดังนั้นขอให้ท่านอ๋องใจเย็นๆ " กล่าวจบจึงออกเดินทางไปเสาะหาม้าที่เหมาะสมทันที

    ป๋อเล่อเดินทางไปยังหลายรัฐหลายประเทศ แม้แต่ดินแดนที่ได้ชื่อว่าเป็นถิ่นกำเนิดยอดอาชา อย่างรัฐเอียน(燕) และรัฐเจ้า(赵) แต่ก็ไม่ปรากฏม้าที่มีลักษณะต้องประสงค์

    วันหนึ่งขณะที่เดินทางกลับจากการไปเสาะหาม้ายังรัฐฉี ป๋อเล่อพลันพบเห็นม้าตัวหนึ่งกำลังออกแรงลากเกวียนบรรทุกเกลืออยู่อย่างยากลำบาก มันหอบหายใจเสียงดัง และมีท่าทางอิดโรยเป็นอย่างยิ่ง ด้วยความที่ป๋อเล่อมีชีวิตผูกพันกับม้ามาโดยตลอด ทำให้เขารู้สึกสงสารและเข้าไปหาม้าตัวนั้น

    เมื่อม้าพบเห็นป๋อเล่อเข้ามาใกล้ พลันเงยหน้า เบิ่งตาจ้องมอง พร้อมกับร้องออกมาด้วยเสียงดังกังวาน ราวกับจะบอกอะไรกับเขา ในครานั้นเองป๋อเล๋อได้แยกแยะจากเสียงร้องของเจ้าม้าบบรทุกเกลือ และพบว่า นี่เองคือสุดยอดอาชาที่เขาปรารถนา

    ป๋อเล่อจึงกล่าวกับเจ้าของม้าในขณะนั้นว่า
    "ม้าตัวนี้หากวิ่งอยู่ในสนามรบ ฝีเท้าของมันจักไม่มีม้าตัวใดเทียบเทียมได้ แต่หากนำมาบรรทุกของ มันกลับไม่อาจเปรียบกับม้าธรรมดาๆ ตัวอื่น ท่านมิสู้มอบมันให้กับเราเถิด"

    เจ้าของม้าได้ยินก็เข้าใจว่าป๋อเล่อนั้นช่างโง่เขลา เนื่องจากที่ผ่านมา ม้าตัวนี้แทบไม่มีแรงลากเกวียน แถมยังกินจุ และมีขาที่ผอมราวกับไม้ฟืน จึงรีบตกลงขายให้กับโป๋เล่อไป

    ป๋อเล่อนำม้ากลับมายังรัฐฉู่ ขณะที่กำลังเดินเข้าสู่ที่ประทับของท่านอ๋อง ป๋อเล่อก็กล่าวเบาๆ กับม้าว่า
    "ข้าหาเจ้านายที่คู่ควรมาให้เจ้าแล้ว" ม้าราวกับเข้าใจคำพูดของป๋อเล่อ พลันดีดขาหน้าขึ้นตะกุยอากาศ พร้อมทั้งร้องเสียงดังกังวาน จนกระทั่งท่านอ๋องได้ยินเสียง และรีบออกมาชมดู

    ป๋อเล่อเมื่อพบท่านอ๋องก็กล่าวว่า
    "ข้าน้อยนำยอดอาชากลับมาแล้ว ท่านโปรดพิจารณาดู"

    ฝ่ายท่านอ๋องเมื่อเห็นม้ามีลักษณะทึ่มทื่ออย่างยิ่ง ก็รู้สึกผิดหวัง เข้าใจว่าโดนป๋อเล่อหลอก จึงกริ้วและตรัสกับป๋อเล่อว่า
    "ข้าใช้ท่านหาม้า ก็เพราะเชื่อว่าท่านมีความสามารถ แต่ท่านกลับนำตัวอะไรไม่รู้มาให้ข้า ดูท่าทางมันแล้วขนาดเดินเฉยๆ ยังยาก จะให้ขี่ลงสนามรบคงเป็นไปไม่ได้"

    ป๋อเล่อรีบกล่าวว่า "ม้าตัวนี้ลักษณะทึ่มทื่อก็เพราะมันผ่านความยากลำบากมามาก แต่หากเจ้าของดูแลเอาใจใส่ ข้าน้อยรับรองว่าไม่เกินครึ่งเดือนมันจะกลับคืนสู่ลักษณะที่แท้จริง "

    เมื่อได้ฟัง ท่านอ๋องมิได้เชื่อเท่าใดนัก แต่ก็ให้ทหารนำม้าไปดูแลอย่างดี ป้อนอาหารชั้นดีให้มันกิน จนกระทั่งเวลาผ่านไปไม่นาน มันก็กลับคืนสู่ลักษณะของยอดอาชา ยามที่ท่านอ๋องขึ้นขี่ เพียงใช้แส้กระตุ้นเบาๆ มันก็พุ่งทะยานไปมากกว่า 100 ลี้

    ต่อมามันได้กลายเป็นม้าศึกคู่กายอ๋อง และอ๋องรัฐฉู่ก็กลับมาให้ความนับถือในตัวป๋อเล่อดังเดิม

    ป๋อเล่อเซี่ยงหม่า ปัจจุบันใช้เปรียบเปรยถึงผู้ที่มีสายตาแหลมคมในการคัดสรรคนดีมีฝีมือ

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ขอความเมตตาช่วยต่อชีวิตพระเณรบช.ออมทรัพย์ 2030-06304-5 บัญชี รร.พระปริยัติธรรมบ่อเงินบ่อทอง บมจ.ธ.กรุงไทย สาขาพนมสารคาม
    http://palungjit.org/showthread.php?t=21733&page=98

    <TABLE class=tborder id=post1064227 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">26/3/2551, 05:47 AM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right>#1941 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>พสภัธ<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_1064227", true); </SCRIPT>
    สมาชิก ยอดนิยม
    สมาชิกยอดฮิต

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 06:04 AM
    วันที่สมัคร: Nov 2005
    สถานที่: //////////////
    ข้อความ: 3,543 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 50 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 30,991 ครั้ง ใน 3,390 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 3488 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]



    </TD><TD class=alt1 id=td_post_1064227 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message -->โต(กุมารน้อย) ช่วงนี้มีสามเณรเข้ามาสมัครบวชเรียนหลายรูปแล้ว มาจาก จ. ฉะเชิงเทรา...และอีกส่วนหนึ่งก็มาบวชภาคฤดูร้อน...ในปัจจุบันมีประมาณ 80 กว่าชีวิต..โยมที่ทำบุญส่งปัจจัยมา..และที่เดินทางซื้อสิ่งของต่างๆ มาถวาย..ได้บุญมากๆๆ ..ขออนุโมทนาบุญเป็นอย่างยิ่ง
    ช่วงนี้มีเจ้าภาที่รับเป็นเจ้าภาพแล้ว..25 รูป..."บวชเรียนหนังสือ" เด็กๆ เหล่านี้ต้องบวชอยู่ 3 ปี เป็นอย่างน้อย..ถ้าอยู่เรียนต่อก็อีก 3 ปี..ญาติโยมที่รับเป็นเจ้าภาพ...ก็จะได้อานิสงส์ผลบุญ..อย่างต่อเนื่อง..กิจวัตรต่างๆ ที่เด็กๆ เหล่านี้ เมื่อบวชเข้ามาแล้วจะต้อง ปฏิบัติ..ศาสนกิจสืบต่อพระพุทธศาสนา..ทุกท่านได้มีส่วนร่วม..ขออนุโมทนาบุญ..สาธุ..สาธุ..สาธุ..

    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]

    ขอความเมตตาช่วยต่อชีวิตพระเณร บช.ออมทรัพย์ 2030-06304-5 บัญชี รร.พระปริยัติธรรมบ่อเงินบ่อทอง บมจ.ธ.กรุงไทย สาขาพนมสารคาม 081-940-8541 038-135238<!-- / message --><!-- attachments -->

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    กราบนมัสการพระคุณเจ้าครับ
    โมทนาสาธุครับ

    .
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ขอความเมตตาช่วยต่อชีวิตพระเณรบช.ออมทรัพย์ 2030-06304-5 บัญชี รร.พระปริยัติธรรมบ่อเงินบ่อทอง บมจ.ธ.กรุงไทย สาขาพนมสารคาม
    http://palungjit.org/showthrea...=21733&page=98

    <TABLE class=tborder id=post1064244 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">26/3/2551, 06:02 AM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right> #1942 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>พสภัธ<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_1064244", true); </SCRIPT>
    สมาชิก ยอดนิยม
    สมาชิกยอดฮิต

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 06:04 AM
    วันที่สมัคร: Nov 2005
    สถานที่: //////////////
    ข้อความ: 3,543 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 50 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 30,991 ครั้ง ใน 3,390 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 3488 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_1064244 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message -->สถานที่ๆ สำนักเรียนในปัจจุบัน..เพิ่มเติมอาคารเรียนอีก 4 ห้องเรียน...และพัฒนาสถานที่บริเวณสำนักเรียน..
    ในปัจจุบันสามารถที่จะรองรับเด็กๆ ที่เข้ามาบวชเรียนได้ 100 กว่ารูป

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    กราบนมัสการพระคุณเจ้าครับ
    โมทนาสาธุครับ


    .
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พระเจดีย์ธาตุทันใจ-พระเจ้าทันใจ"ภาคกลาง"(บ่อเงินบ่อทอง)
    http://palungjit.org/showthread.php?t=119759&page=2

    <TABLE class=tborder id=post1063304 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">เมื่อวานนี้, 07:18 PM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right> #35 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>พสภัธ<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_1063304", true); </SCRIPT>
    สมาชิก ยอดนิยม
    สมาชิกยอดฮิต

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 06:04 AM
    วันที่สมัคร: Nov 2005
    สถานที่: //////////////
    ข้อความ: 3,543 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 50 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 30,993 ครั้ง ใน 3,392 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 3488 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_1063304 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message --><LABEL>ทำเสร็จแล้วจะออกมาแบบนี้ครับ....</LABEL>
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG]
    </FIELDSET>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ พสภัธ [​IMG]
    <LABEL>ทำเสร็จแล้วจะออกมาแบบนี้ครับ....</LABEL>
    <LABEL>[​IMG]</LABEL>
    <LABEL></LABEL>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    สวยมากครับคุณโต

    โมทนาสาธุครับ

    <TABLE class=tborder id=post1063698 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">เมื่อวานนี้, 10:06 PM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right> #38 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>พสภัธ<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_1063698", true); </SCRIPT>
    สมาชิก ยอดนิยม
    สมาชิกยอดฮิต

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 06:04 AM
    วันที่สมัคร: Nov 2005
    สถานที่: //////////////
    ข้อความ: 3,543 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 50 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 30,993 ครั้ง ใน 3,392 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 3488 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_1063698 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message -->[​IMG]
    สาธุครับ...พี่หนุ่ม.... คุยกับหลวงพ่อเมื่อตอนเย็น ท่านว่าฐานของพระเจดีย์ต้องทำให้ดีจริงๆเพื่อความยาวนาน ต้องเข็งแรง ส่วนหน้าพระเจดีย์จะเป็นที่ตั้ง"หลวงพ่อพระเจ้าทันใจ" หลวงพ่อบอกว่าให้ทำเจดีย์ให้เสร็จก่อน แล้วค่อยไปเอา"แม่พิม"เพื่อติดลายเดี๋ยวต้องไปหา"พระครู" เพื่อขอฤกษ์ก่อนเพราะหลวงพ่อท่านต้องวางแผนแล้ว ...สาธุ
    <!-- / message --><!-- sig --></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.matichon.co.th/khaosod/v...ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09DMHdNeTB5Tmc9PQ==

    บัญชีความสุข

    สดจากจิตวิทยา

    สมศรี กิตติพงศ์พิศาล/กรมสุขภาพจิต

    วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 17 ฉบับที่ 6327 ข่าวสดรายวัน

    บัญชีความสุขเป็นเรื่องเล่าของชายชราวัย 72 ปีที่เพิ่งสูญเสียภรรยาสุดที่รักไป คุณตาจึงตัดสินใจเข้าพักในบ้านพักคนชรา ขณะที่เจ้าหน้าที่เชื้อเชิญให้ไปชมห้องพักอาศัย คุณตาก็บอกอย่างอารมณ์ดีว่า เท่าที่เห็นห้องพักก็ดูสะดวกสบายดีคงอยู่ได้อย่างเป็นสุข เจ้าหน้าทีที่ให้บริการจึงสอบถามคุณตาว่าเคยมาดูห้องพักแล้วหรือ คุณตาก็ตอบว่า บางอย่างก็ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยตา เมื่อใจกำหนดแล้วว่ามีความสุขๆ ก็เกิดขึ้นแล้ว แถมซ้ำคุณตายังบอกว่าขณะนี้บัญชีความสุขที่สะสมไว้มีมากมายพอจะใช้ไปได้ตลอดชีวิตอย่างสุขสบาย

    เคล็ดลับของการทำบัญชีความสุข ก็คือ การรู้จักเก็บสะสมความสุข ไว้ในใจตั้งแต่อยู่ช่วงวัยเยาว์หรือหนุ่มสาว ขณะที่ผู้คนทั่วไปคำนึงถึงแต่การเก็บสะสมเงินทองไว้ในธนาคาร แต่ผู้เข้าถึงแก่นของความสุขก็ค่อยๆ สะสมความสุขไว้ในใจวันละเล็กวันละน้อย จากการฝึกคิดถึงเรื่องราวหรือประสบการณ์ที่พบเจอในด้านบวก มองสิ่งแวดล้อมรอบตัวอย่างเป็นธรรมดาหรือเป็นธรรมชาติ ลดความคาดหวังที่มีต่อสรรพสิ่งในโลกอย่างไม่ถึงตนเองเป็นที่ตั้งสูงสุด ทำงานเพื่อให้ได้ผลงานที่ดีมีประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น แต่ไม่คาดหวังให้ตนเองผู้อื่นทำอะไรที่เลอเลิศจนถึงกับบีบคั้นตนเอง ไม่คาดหวังให้ได้รับผลตอบแทนจากการกระทำจนรู้สึกผิดหวังเมื่อเรื่องไม่เป็นอย่างที่คิดฝัน

    ซึ่งการลดความคาดหวังจากผลตอบแทนจะเกิดเคียงคู่ไปกับความพร้อมที่จะเป็นผู้ให้ เพราะเมื่อมีสิ่งที่สมควรได้รับ หากเราไม่ได้เป็นผู้ได้รับก็ต้องมีใครสักคนได้รับผลนั้นไป ความพร้อมในการเป็นผู้ให้ที่จะทำให้จิตใจเติบโตอย่างสมบูรณ์ อารมณ์อิจฉาริษยาก็จะค่อยลดลง อารมณ์ที่เป็นสุขต่างๆ จากการเป็นผู้ให้ก็จะเกิดขึ้นและได้รับการเก็บสะสมแต้มไว้ในธนาคาร ซึ่งก็ต้องอาศัยความวิริยะอุตสาหะในการลงแรงกายแรงใจเพื่อให้ได้มาถึงแต้มสะสมไม้แพ้การเพิ่มยอดเงินในธนาคารออมทรัพย์เช่นกัน แต่อาจจะยากกว่าเสียอีก



    .
     
  19. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR vAlign=bottom><TD>[​IMG]</TD><TD> </TD><TD width="100%">palungjit.org > พุทธศาสนา > พระเครื่อง - วัตถุมงคล </TD></TR><TR><TD class=navbar style="FONT-SIZE: 10pt; PADDING-TOP: 1px" colSpan=3>[​IMG] สร้างบุษบกประดิษฐานพระโมคคัลลานะรับมอบพระธาตุโมคคัลลานะ และพระกรุลำพูนอายุ๕๐๐-๗๐๐ ปี</TD></TR></TBODY></TABLE>

    http://palungjit.org/showthread.php?p=1064767#post1064767
    <TABLE class=tborder id=post1064633 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">วันนี้, 10:19 AM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right> #546 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>:::เพชร:::<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_1064633", true); </SCRIPT>
    สมาชิก
    สมาชิกยอดฮิต

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 11:17 AM
    วันที่สมัคร: Jul 2006
    อายุ: 43 ปี
    ข้อความ: 3,205 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 829 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 32,915 ครั้ง ใน 3,288 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 3178 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_1064633 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message -->พระธาตุโมคคัลลานะเป็นของจริงแท้แน่นอนไม่จำเป็นต้องเข้าพิธีก็ได้ แต่ผมก็ยังอดที่จะอัญเชิญพระท่านไปยังมณฑลพิธีไม่ได้ เนื่องจากว่า พิธีนี้ไม่ได้จัดขึ้นบ่อยๆ วัตถุประสงค์เพื่อพระพุทธศาสนา และอาจารย์ปู่ประถมก็เมตตาอย่างมาก แต่จะรบกวนท่านบ่อยๆเห็นจะไม่สมควร เข้าใจว่าพระเครื่องที่ได้รับการปรกแผ่ขอความเมตตาจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้สงเคราะห์ในวันนั้น น่าจะมีร่วมๆสองแสนองค์ พระเครื่องที่พระอาจารย์นิลสร้างไว้เพื่อสืบพระพุทธศาสนาจำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์ ไม่ได้แจกผู้ใดแม้แต่เพียงผู้เดียว ได้นำบรรจุกรุไว้ที่สนส.ผาผึ้งทั้งจำนวน พระเครื่องวังหน้า วังหลวง ของทั้งคุณหนุ่ม และของท่านอื่นๆอีกรวมๆกันมากกว่าแสนองค์อย่างแน่นอน ทราบภายหลังว่า อาจารย์ปู่บอกว่า รู้สึกบ้านท่านเอียงไปนะ

    พิธีพุทธาภิเษกเสาร์ ๕ วันเสาร์ที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๐ ที่มีโอกาสนำพระธาตุโมคคัลลานะสัณฐานพิเศษนี้ร่วมในพิธีฟ้าประทานนี้ เมฆฝนลอยต่ำมายังบริเวณบ้านอาจารย์ปู่ประถมก่อนเวลาพิธีใน"สมโณฤกษ์" เล็กน้อย เมื่อเริ่มอ่านโองการ ก็เป็นจังหวะเดียวกับที่ฝนเม็ดแรกได้ตกกระทบหลังคาบ้านอาจารย์ปู่แล้ว ฝนตกกระหน่ำแรงมากจนประตูหน้าต่างปิดดังปึงปังไปทั่ว ทั้งๆที่เป็นช่วงฤดูร้อน ก่อนวันสงกรานต์เพียง ๑ อาทิตย์ และจบพิธีราว ๑ ชั่วโมงเศษๆนั้น ผู้ร่วมงานทุกท่านต่างมีส่วนร่วมในพิธีพุทธาภิเษกนี้ เพราะเหตุว่า ก่อนเวลาอ่านโองการราว ๑๐ นาที อาจารย์ได้ถ่ายทอดบทสวดหนุนธาตุให้ใช้สวดตลอดเวลาพิธี ๑ ชั่วโมงนั้น หลักการของท่านคือ ทุกคนรวมใจเป็นหนึ่ง มีสมาธิที่จดจ่อกับพิธีนี้ และมีส่วนร่วมโดยแท้จริง คือ พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์คาถาเปรียบเสมือนเตาไฟหลอมขนาดใหญ่ ฆราวาสแทนที่นั่งพนมมือเฉยๆก็สวดพระคาถาที่อาจารย์ปู่ได้แนะนำเป็นการเฉพาะ(ขออนุญาตไม่แจ้งให้ทราบว่าตัวบทพระคาถาว่าอย่างไร) ฆราวาสที่เจริญพระพุทธมนต์บทนี้เปรียบเสมือนว่า เป็นพัดที่พัดโบกตรงเตาไฟขนาดใหญ่นั้น ให้โหมแรงยิ่งขึ้น สภาพดินฟ้าอากาศในวันนั้นจึงเป็นประจักษ์พยานที่สะท้อนพุทธานุภาพนั้นได้เป็นอย่างดี วันนั้นอาจารย์ปู่เล่าให้ฟังหลังพิธีบางส่วนว่า นกการะเวกเกาะเต็มหลังคาบ้าน ส่งเสียงเจี๊ยวจ้าวไปทั่วเชียว...

    รายละเอียดอื่นใด ให้ทราบเป็นเฉพาะผู้ร่วมพิธีในวันนั้นดีกว่าครับ...
    <!-- / message --><!-- sig --></TD></TR></TBODY></TABLE>

    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ :::เพชร::: [​IMG]
    พระธาตุโมคคัลลานะเป็นของจริงแท้แน่นอนไม่จำเป็นต้องเข้าพิธีก็ได้ แต่ผมก็ยังอดที่จะอัญเชิญพระท่านไปยังมณฑลพิธีไม่ได้ เนื่องจากว่า พิธีนี้ไม่ได้จัดขึ้นบ่อยๆ วัตถุประสงค์เพื่อพระพุทธศาสนา และอาจารย์ปู่ประถมก็เมตตาอย่างมาก แต่จะรบกวนท่านบ่อยๆเห็นจะไม่สมควร เข้าใจว่าพระเครื่องที่ได้รับการปรกแผ่ขอความเมตตาจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้สงเคราะห์ในวันนั้น น่าจะมีร่วมๆสองแสนองค์ พระเครื่องที่พระอาจารย์นิลสร้างไว้เพื่อสืบพระพุทธศาสนาจำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์ ไม่ได้แจกผู้ใดแม้แต่เพียงผู้เดียว ได้นำบรรจุกรุไว้ที่สนส.ผาผึ้งทั้งจำนวน พระเครื่องวังหน้า วังหลวง ของทั้งคุณหนุ่ม และของท่านอื่นๆอีกรวมๆกันมากกว่าแสนองค์อย่างแน่นอน ทราบภายหลังว่า อาจารย์ปู่บอกว่า รู้สึกบ้านท่านเอียงไปนะ

    พิธีพุทธาภิเษกเสาร์ ๕ วันเสาร์ที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๐ ที่มีโอกาสนำพระธาตุโมคคัลลานะสัณฐานพิเศษนี้ร่วมในพิธีฟ้าประทานนี้ เมฆฝนลอยต่ำมายังบริเวณบ้านอาจารย์ปู่ประถมก่อนเวลาพิธีใน"สมโณฤกษ์" เล็กน้อย เมื่อเริ่มอ่านโองการ ก็เป็นจังหวะเดียวกับที่ฝนเม็ดแรกได้ตกกระทบหลังคาบ้านอาจารย์ปู่แล้ว ฝนตกกระหน่ำแรงมากจนประตูหน้าต่างปิดดังปึงปังไปทั่ว ทั้งๆที่เป็นช่วงฤดูร้อน ก่อนวันสงกรานต์เพียง ๑ อาทิตย์ และจบพิธีราว ๑ ชั่วโมงเศษๆนั้น ผู้ร่วมงานทุกท่านต่างมีส่วนร่วมในพิธีพุทธาภิเษกนี้ เพราะเหตุว่า ก่อนเวลาอ่านโองการราว ๑๐ นาที อาจารย์ได้ถ่ายทอดบทสวดหนุนธาตุให้ใช้สวดตลอดเวลาพิธี ๑ ชั่วโมงนั้น หลักการของท่านคือ ทุกคนรวมใจเป็นหนึ่ง มีสมาธิที่จดจ่อกับพิธีนี้ และมีส่วนร่วมโดยแท้จริง คือ พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์คาถาเปรียบเสมือนเตาไฟหลอมขนาดใหญ่ ฆราวาสแทนที่นั่งพนมมือเฉยๆก็สวดพระคาถาที่อาจารย์ปู่ได้แนะนำเป็นการเฉพาะ(ขออนุญาตไม่แจ้งให้ทราบว่าตัวบทพระคาถาว่าอย่างไร) ฆราวาสที่เจริญพระพุทธมนต์บทนี้เปรียบเสมือนว่า เป็นพัดที่พัดโบกตรงเตาไฟขนาดใหญ่นั้น ให้โหมแรงยิ่งขึ้น สภาพดินฟ้าอากาศในวันนั้นจึงเป็นประจักษ์พยานที่สะท้อนพุทธานุภาพนั้นได้เป็นอย่างดี วันนั้นอาจารย์ปู่เล่าให้ฟังหลังพิธีบางส่วนว่า นกการะเวกเกาะเต็มหลังคาบ้าน ส่งเสียงเจี๊ยวจ้าวไปทั่วเชียว...

    รายละเอียดอื่นใด ให้ทราบเป็นเฉพาะผู้ร่วมพิธีในวันนั้นดีกว่าครับ...
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ผมขออนุญาตคุณเพชร แก้ไขเรื่องของจำนวนพระเครื่อง(พระพิมพ์)ที่พระอาจารย์นิลได้ร่วมกับพระสงฆ์ที่วัดเขาสมโภช สร้างขึ้นประมาณ 170,000 กว่าองค์ แต่นำไปเข้าพิธีในวันนั้น ประมาณ 130,000 องค์ โดยไม่มีผู้ใดได้พระพิมพ์ชุดนี้ไปเลยแม้แต่องค์เดียว แต่ได้นำเข้าไปบรรจุในพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง เพื่อสืบทอดอายุพระศาสนาและเป็นที่สักการะของทั้งพรหม ทั้งเทวดา ทั้งมนุษย์และคน ฯลฯ ครับ

    ผมมาเพิ่มเติมให้อีกเล็กน้อย ในพิธีในวันนั้น ได้มีการขอพระเมตตาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนาม กุกุกสันโธ ,หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 5 พระองค์ ,สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ,หลวงปู่แจ้งฌาณ ,หลวงปู่กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ และหลวงปู่ม่น วัดเนินตามาก ซึ่งในวันนั้น องค์ผู้อธิษฐานจิตนั้น ก็คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนาม กุกุกสันโธ ,หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรทั้ง 5 พระองค์ และสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ส่วนหลวงปู่แจ้งฌาณ ,หลวงปู่กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ และหลวงปู่ม่น วัดเนินตามาก พระองค์ท่านมาเป็นสักขีพยานและโมทนาบุญครับ

    ภายหลังจากวันนั้น ผมเองก็ได้ไปตรวจสอบกับบุคคลท่านนึงที่มีญาณลาภี ท่านนี้บอกเล่ามาตรงกันกับที่ผมรับทราบมา และยังบอกอีกว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ท่านเสด็จมาเพื่อมาโมทนาบุญอีกเป็นแสนพระองค์ ,องค์พระปัจเจกพุทธเจ้า พระองค์ท่านเสด็จมามากกว่าอีก ,องค์พระอรหันต์ที่เสด็จติดตามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกนับไม่ถ้วน และเบื้องบนอีกนับไม่ถ้วน หลายๆท่านที่อยู่ในพิธี จะมีอาการของแต่ละท่านเองครับ

    และยังมีพยานาคมาอีกด้วยนะครับ สำหรับท่านพยานาคท่านนี้นั้น เดิมผมไปกราบพระอาจารย์ชยางกูร ประมาณเดือนมีนาคม 50 ที่ท่านมาที่กรุงเทพฯ ตอนที่ผมกลับบ้าน ผมถอยรถเข้าบ้านก็ได้ยินเสียงเหมือนกับเกล็ดงูครูดกับเหล็ก ผมก็เอะใจ และเก็บความสงสัยไว้ พอผ่านไปประมาณ 2 วัน ผมอดรนทนไม่ไหว ก็เลยโทร.ไปหาพระอาจารย์ชยางกูร ถามท่านถึงเรื่องที่เกิดขึ้น ท่านบอกว่า ท่านพยานาคท่านไปเยี่ยมชมพระพิมพ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่บ้านผม ท่านจะอยู่ดูแลให้ช่วงระยะเวลานึง ท่านจะกลับไปที่อุบลก็เป็นช่วงสงกรานต์ (เมย.50) พองานในวันนั้น ผมก็ได้เชิญเทพเทวาและกายทิพย์รวมทั้งท่านพยานาค ไปในงานพิธีด้วย ซึ่งต่อมาผมก็ได้ตรวจสอบว่าท่านพยานาคท่านไปหรือไม่ ผลก็คือท่านพยานาคท่านได้ไปด้วยครับ

    ขอเพิ่มเติมเพียงเท่านี้ครับ

    โมทนาสาธุครับ

    .
    <!-- / message --><!-- sig -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...