พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ธปท. แนะวิธีตรวจสอบแบงก์ 1,000 ปลอม หลังพบระบาด-เหมือนจริงมาก
    -http://money.kapook.com/view144086.html-

    ธปท. แนะวิธีตรวจสอบธนบัตร จริงหรือปลอม เพียงแค่สัมผัส-ส่องดู-ตะแคงข้าง หลังพบแบงก์ 1,000 ปลอม ระบาด-เหมือนจริงมาก

    วันที่ 16 มีนาคม 2559 เพจ เที่ยงวันทันเหตุการณ์ รายงานว่า นายวรพร ตั้งสง่าศักดิ์ศรี ผู้ช่วยผู้ว่าการสายออกบัตรธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เปิดเผยถึงกระแสข่าว พบธนบัตรปลอมชนิด 1,000 บาท ที่มีความเหมือนจริงทุกประการ เว้นเพียงมีภาพครุฑไม่สมบูรณ์ โดยชี้แจงว่า ในการตรวจสอบธนบัตรว่าเป็นของจริงหรือปลอมนั้นจะต้องตรวจสอบลักษณะต่อต้านการปลอมแปลงหลายจุดประกอบกัน ซึ่งหากพบว่าทุกจุดมีความถูกต้อง ธนบัตรดังกล่าวก็เป็นธนบัตรจริง แต่อาจเป็นธนบัตรชำรุด ซึ่งประชาชนสามารถนำไปแลกเปลี่ยนได้ที่ธนาคารออมสินหรือธนาคารพาณิชย์

    อย่างไรก็ตาม ประชาชนสามารถทำการตรวจสอบธนบัตรได้ด้วยตนเองง่าย ๆ 3 วิธี ดังนี้

    1. การสัมผัส : เนื้อกระดาษธนบัตร เป็นกระดาษชนิดพิเศษ มีความเหนียว แกร่ง ทนต่อการพับดึง และให้ความรู้สึกแตกต่างจากกระดาษทั่วไป และเมื่อสัมผัสตัวเลขแจ้งราคา กับคำว่ารัฐบาลไทย จะรู้สึกสะดุดกับหมึกพิมพ์

    2. การยกส่อง : เมื่อยกธนบัตรส่องกับแสงสว่าง จะเห็นลายน้ำพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ในเนื้อกระดาษอย่างชัดเจนทั้งด้านหน้าและด้านหลัง รวมถึงรูปลายไทยขนาดเล็กที่มีความโปร่งแสงเป็นพิเศษ และแถบสีโลหะฝังอยู่ในเนื้อกระดาษ บนแถบมีตัวเลขและตัวอักษรแจ้งชนิดราคา

    3. การพลิกเอียง : บริเวณมุมของธนบัตร พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์ชนิดพิเศษ เมื่อพลิกธนบัตรไปมาสีของตัวเลขจะเปลี่ยนสลับจากสีหนึ่งเป็นอีกสีหนึ่งได้

    สามารถอ่านวิธีสังเกตธนบัตรเพิ่มเติมได้ที่ bot.or.th

    ทั้งนี้หากผู้ใดมีข้อสงสัยเพิ่มเติม โปรดติดต่อมาที่ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน โทรศัพท์ 1213 หรือ แผนกวิเทศสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ สายออกบัตรธนาคาร โทรศัพท์ 0-2356 8687-90

    ภาพและข้อมูลจาก เพจ เที่ยงวันทันเหตุการณ์, bot.or.th

    -https://www.bot.or.th/Thai/Pages/default.aspx-
    -https://www.bot.or.th/Thai/Banknotes/Pages/default.aspx-

    -https://www.facebook.com/MiddayNewsTV3/posts/906012226179075-
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ย้ำ ! กฎหมายใหม่ ฝ่าฝืนตรวจวัดแอลกอฮอล์ โทษเทียบเท่าเมาแล้วขับ
    -http://hilight.kapook.com/view/134294-


    ย้อนอ่านประกาศปรับแก้ พ.ร.บ.จราจรทางบก เพิ่มเติม ระบุชัด บุคคลใดฝ่าฝืนหรือไม่ยอมให้ตรวจวัดแอลกอฮอล์ ต้องโทษเทียบเท่าเมาแล้วขับ จำคุก 1 ปี ปรับตั้งแต่ 10,000-20,000 บาท

    วันที่ 18 มีนาคม 2559 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2557 ประกาศแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.จราจรทางบก 2522 โดยมีการแก้ไขในส่วนของมาตรา 142 กรณีผู้ขับขี่ไม่ยอมให้ทดสอบว่าหย่อนความสามารถในการขับขี่โดยไม่มีเหตุอันควร คือให้อำนาจสิทธิเจ้าพนักงานจราจรสามารถสั่งให้ผู้ขับขี่หยุดรถ เมื่อเห็นว่ารถนั้นมีสภาพไม่ถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ และในกรณีที่ผู้ขับขี่มีพฤติการณ์อันควรเชื่อว่าเสี่ยงเมาสุรา หรือขับรถในขณะหย่อนความสามารถในอันที่จะขับหรือขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่นหรือไม่

    ภาพจาก เฟซบุ๊ก ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร
    -https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=303703039818533&id=152824254906413-

    - บก.02, เฟซบุ๊ก FM. 91 Trafficpro
    -https://www.facebook.com/trafficradiofm91/posts/1204009696276225-

    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
    -http://social.tnews.co.th/content/122934/-
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 002-horz.jpg
      002-horz.jpg
      ขนาดไฟล์:
      56.3 KB
      เปิดดู:
      65
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พระพุทธสิหิงค์ (องค์จริง)
    -https://www.facebook.com/HistoryKrungsriAyutthaya/?fref=nf-


    พระพุทธสิหิงค์ในภาพเคยประดิษฐานยังวัดพระศรีสรรเพชญ กรุงศรีอยุธยา ท่านคงเคยเห็นบ้านเมืองอยุธยาสมัยยังดี
    พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปโบราณหล่อด้วยสำริดหุ้มทอง ปางสมาธิ สูง 79 เซนติเมตร หน้าตักกว้าง 63 เซนติเมตร เป็นศิลปะแบบลังกา ตามประวัติกล่าวว่า พระเจ้าสีหฬะ พระมหากษัตริย์แห่งลังกาทวีปทรงสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 700 ต่อมา พระเจ้าศรีธรรมโศกราชแห่งราชอาณาจักรตามพรลิงค์ได้ไปขอมาถวายพระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาได้กรุงสุโขทัยเป็นเมืองขึ้น จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่กรุงศรีอยุธยา ต่อมา ได้มีผู้นำไปไว้ที่เมืองกำแพงเพชรและเชียงราย เมื่อพระเจ้าแสนเมืองมา เจ้านครเชียงใหม่ยกทัพไปตีเมืองเชียงรายได้ จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่เชียงใหม่พร้อมกับพระแก้วมรกต เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชตีเมืองเชียงใหม่ได้เมื่อ พ.ศ. 2205 ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่วัดพระศรีสรรเพชญ์กรุงศรีอยุธยาเป็นเวลานานถึง 105 ปี
    เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 แก่พม่าใน พ.ศ. 2310 ชาวเชียงใหม่ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์กลับไปที่เชียงใหม่ เมื่อมณฑลพายัพได้กลับมาเป็นของไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทโปรดให้อัญเชิญลงมายังกรุงเทพมหานครเมื่อปี พ.ศ. 2338 โดยประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถานมงคล นิยมเชิญออกมาช่วงเทศกาลสงกรานต์ให้ประชาชนไทยได้สักการะและสรงน้ำ
    ตามตำนานเล่าสืบต่อกันถึงความศักดิ์สิทธิ์แห่งองค์พระพุทธสิหิงค์ว่า
    "การสร้างได้ประกอบขึ้นด้วยแรงอธิษฐาน 3 ประการคือ 1)คำอธิษฐานของพระอรหันต์ผู้ร่วมพิธี 2)แรงอธิษฐานของพระเจ้ากรุงลังกาผู้สร้าง 3)อานุภาพแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การที่พระพุทธสิหิงค์เสด็จประทับอยู่ที่ใด พระพุทธศาสนาย่อมรุ่งเรืองดังดวงประทีปเสมือนหนึ่งพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่"
    ส่วนพระพุทธสิหิงค์ที่ประดิษฐานที่จังหวัดเชียงใหม่และนครศรีธรรมราชนั้น จะเป็นพุทธลักษณะปางมารวิชัย ศิลปะเชียงแสนสิงค์ 1 คือจะเป็นพุทธลักษณะนั่งขัดสมาธิเพชร ส่วนองค์ที่กรุงเทพจะเป็นแบบขัดสมาธิราบ
    อ้างอิง
    เทพชู ทับทอง,ต่วย'ตูน พิเศษ พฤษภาคม พ.ศ. 2546 หน้า 105
    พระพุทธสิหิงค์ ธรรมะไทย
    อุดม ประมวลวิทย์, หนังสือ "50 กษัตริย์ไทย ,(2508)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    "กรรม" ของ "พระมหาโมคคัลลานะเถระเจ้า"
    ผู้ที่เป็น "เอตทัคคะ ด้านการมีฤทธิ์" "ยังไม่พ้นกรรม"

    อย่างที่ผมบอกมาหลายครั้งแล้ว

    ต่อให้ใหญ่แค่ไหน
    รวยล้นฟ้าเพียงใด
    ไม่มีใครหนีกรรมพ้น

    ----------------------------------------------

    พระมหาโมคคัลลานะ
    พระอัครสาวกผู้เป็นเลิศในทางฤทธิ์

    -http://www.dharma-gateway.com/monk/great_monk/pra-mokkalana.htm-

    พระมหาโมคคัลลานะ มีชื่อเดิมว่า โกลิตะ เป็นบุตรพราหมณ์ท้ายบ้านผู้หนึ่ง ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากกรุงราชคฤห์ โกลิตมาณพเป็นเพื่อนสนิทกับอุปติสสมาณพ หรือ พระสารีบุตร ทั้งสองคนอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน เป็นบุตรแห่งสกุลผู้มั่งคั่งเหมือนกัน เบื่อชีวิตการครองเรือนที่วุ่นวาย จึงพาบริวารไปขอบวชอยู่ในสำนักสัญชัยปริพพาชก เรียนลัทธิของสัญชัยได้หมด จนได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยสอนหมู่ศิษย์ต่อไป ทั้งสองมาณพยังไม่พอใจในคำสอนของสัญชัยปริพาชก เพราะไม่ใช่แนวทางที่ตนต้องการ จึงตกลงกันที่จะแสวงหาอาจารย์ที่สามารถชี้แนะแนวทางที่ดีกว่านี้ หากใครได้โมกขธรรม ก็ขอให้บอกแก่อีกฝ่ายหนึ่ง

    ได้ดวงตาเห็นธรรมและอุปสมบทเป็นภิกษุ

    เมื่ออุปติสสมาณพได้ไปพบพระอัสสชิในกรุงราชคฤห์ ได้ฟัง "พระคาถาเย ธัมมา" จากพระอัสสชิ ทำให้ได้ดวงตาเห็นธรรม คือ บรรลุโสดาบัน อุปติสสมาณพได้นำคำสอนของพระอัสสชิไปแจ้งให้โกลิตมาณพทราบ โกลิตมาณพก็ได้ดวงตาเห็นธรรมเช่นดียวกัน ทั้งสองมาณพได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่วัดเวฬุวนาราม และได้ทูลขออุปสมบทต่อพระพุทธเจ้า พระองค์ก็ได้ทรงอนุญาตให้อุปสมบทเป็นภิกษุ โกลิตมาณพซึ่งอุปสมบทเป็นพระมหาโมคคัลลานะ บำเพ็ญความเพียงได้ 7 วัน ก็สำเร็จพระอรหันต์ ส่วนอุปติสสมาณพ ซึ่งอุปสมบทเป็นพระสารีบุตร อุปสมบทได้กึ่งเดือน จึงสำเร็จพระอรหันต์

    พระมหาโมคคัลลานะเมื่ออุปสมบทแล้วไปทำความเพียรอยู่ที่บ้านกัลลวาลมุตตคาม ถูกนิวรณ์ คือ ถีนมิทธะ ได้แก่ ความหดหู่ซึมเซาเข้าครอบงำ มีอาการนั่งโงกง่วง พระบรมศาสดาได้เสด็จไปสอนอุบายสำหรับระงับความโงกง่วงแก่พระมหาโมคคัลลานะ พระมหาโมคคัลลานะสามารถกำจัดถีนมิทธะ ความหดหู่ซึมเซาได้ พิจารณาธรรมทั้งปวงด้วยปัญญา สำเร็จเป็นพระอรหันต์

    ได้รับการแต่งตั้งเป็นอัครสาวก

    ในวันที่พระสารีบุตรบรรลุพระอรหันต์ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนมาฆะ ในคืนวันนั้น พระพุทธเจ้าทรงประทานพระโอวาทปาติโมกข์แก่จาตุรงคสันนิบาต จากนั้น พระพุทธเจ้าทรงประกาศแต่งตั้งพระสารีบุตรเป็นอัครสาวกเบื้องขวา เลิศกว่าผู้อื่นในทางปัญญา พระมหาโมคคัลลานะเป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายเลิศกว่าผู้อื่นในทางฤทธิ์

    เป็นผู้มีอภิญญา

    พระมหาโมคคัลลานะเป็นอัครสาวกผู้มีอภิญญา ซึ่งแปลว่าความรู้ยิ่งยวด อภิญญามี ๖ ประการ ดังนี้

    ๑. อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้ เช่น คนเดียวนิรมิตเป็นหลายคนได้ ล่องหนผ่านไปในวัตถุกั้นขวางอยู่ เช่น ฝา กำแพงได้ ดำดินคือไปใต้ดินได้ เดินบนน้ำ ดุจเดินบนพื้นดินได้ เหาะไปในอากาศได้

    ๒. ทิพพโสต มีหูทิพย์ ล่วงหูของสามัญมนุษย์ ฟังเสียง ๒ อย่างได้ คือทั้งเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ได้ ทั้งเสียงไกล ทั้งเสียงใกล้

    ๓. เจโตปริยญาณ กำหนดใจคนอื่นได้ รู้ได้ซึ่งใจของบุคคลอื่นอันบริสุทธิ์หรือเศร้าหมองอย่างไร

    ๔. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้ตั้งแต่ชาติหนึ่งสองชาติ จนตั้งหลายๆ กัป ว่าในชาติที่เท่านั้น ได้มีชื่อโคตร ผิวพรรณ มีอาหารอย่างนั้น ๆได้เสวยสุข ได้เสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีอายุเท่านั้น ๆ จุติจากชาตินั้นแล้ว เกิดในชาติที่เท่านั้น ได้เป็นอย่างนั้น ๆ แล้วมาเกิดในชาตินี้

    ๕. ทิพพจักขุ มีตาทิพย์ มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า จุตูปปาตญาณ มีจักษุทิพย์ บริสุทธิ์ล่วงจักษุสามัญมนุษย์ เห็นเหล่าสัตว์กำลังจุติก็มี กำลังเกิดก็มี เลวก็มี ดีก็มี ผิวพรรณงามก็มี ผิวพรรณไม่งามก็มี ได้ดีก็มี ตกยากก็มี รู้ชัดว่าสัตว์เป็นไปตามกรรม

    ๖. อาสวักขยญาณ ทำให้อาสวะสิ้นไป รู้ชัดตามความจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกข์สมุทัย นี้ทุกข์นิโรธ คามินีปฏิปทาเหล่านี้ อาสวะนี้เหตุเกิดอาสวะนี้ ความดับอาสวะนี้ ทางไปถึงความดับอาสวะ เมื่อรู้เห็นอย่างนี้จิตพ้นแล้วจากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ รู้ชัดว่าชาตินี้พ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กรณียะทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอันจะต้องทำเช่นนี้ไม่มีอีก

    อภิญญา ๕ ข้อแรก เป็นโลกิยอภิญญา ข้อ ๖ สุดท้ายเป็นโลกุตตรอภิญญา ผู้ที่จะบรรลุอรหันต์ จะต้องได้โลกุตตรอภิญญา คือ อาสวักขยญาณ ได้อภิญญา ๕ ข้อแรก ยังไม่บรรลุพระอรหันต์

    ทิพพจักขุของพระมหาโมคคัลลานะ

    เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดเวฬุวันในกรุงราชคฤห์ พระมหาโมคคัลลานะกับพระลักขณะ ได้ขึ้นไปจำพรรษาอยู่บนเขาคิชกูฎ เวลาเช้าพระเถระทั้งสองได้ถือบาตรเดินลงมาจากยอดเขาเพื่อไปบิณฑบาตในเมือง ในระหว่างที่กำลังเดินลงมานั้น พระลักขณะได้เห็นพระมหาโมคคัลลานะยิ้ม จึงได้ถามถึงสาเหตุ พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า ให้ถามเรื่องนี้ในที่เฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้า กลับจากบิณฑบาตแล้ว พระเถระทั้งสองได้พร้อมกันเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระลักขณะได้ถามถึงสาเหตุที่พระมหาโมคคัลลานะยิ้ม พระมหาโมคคัลลานะได้ตอบว่าสาเหตุที่ยิ้ม เพราะได้เห็นโครงร่างกระดูกร่างหนึ่งลอยไปมาอยู่ในอากาศ ถูกแร้งกาบินตามจิกกิน เนื้อที่ยึดซี่โครงเอาไว้ ยังผลให้ร่างกระดูกนั้นส่งเสียงร้องครวญครางด้วยความเจ็บปวด

    พระพุทธเจ้าตรัสรับรองว่า โครงกระดูกที่พระมหาโมคคัลลานะเห็นนั้นมีอยู่จริง และพระองค์เองก็ได้เห็นมาแล้วในวันตรัสรู้ แต่ที่ยังไม่ตรัสบอกใครก็เพราะยังไม่มีพยาน แต่บัดนี้พระองค์ได้พระมหาโมคคัลลานะเป็นพยานแล้วจึงตรัส เนื่องจากทรงเห็นว่า หากไม่มีพยานรับรอง เมื่อตรัสไปแล้ว สำหรับผู้ที่เชื่อไม่มีปัญหา แต่สำหรับผู้ที่ไม่เชื่อจะเป็นผลร้ายอย่างใหญ่หลวงแก่เขา

    จากนั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสบุพกรรมของโครงร่างกระดูกนั้นว่า เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ได้มีอาชีพเป็นนายโคฆาตก์ฆ่าวัวชำแหละเนื้อขายเลี้ยงชีวิตอยู่ในกรุงราชคฤห์นี้เอง ด้วยวิบาก (ผล) ของกรรมนั้น ตายแล้วได้ไปเกิดอยู่ในนรกหลายแสนปี พ้นจากนรกแล้วด้วยวิบากกรรมที่ยังเหลืออยู่จึงได้มาเกิดเป็นเปรตมีแต่โครงร่างกระดูก

    พระพุทธเจ้าสนทนาธรรมกับพระมหาโมคคัลลานะทางทิพพจักขุ และทิพพโสต

    ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ส่วนพระมหาโมคคัลลานะกับพระสารีบุตรได้พักอยู่ที่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์

    วันหนึ่ง พระสารีบุตรได้ออกจากที่เร้นในตอนเย็นและเข้าไปหาพระมหาโมคคัลลานะ พระสาระบุตรเห็นพระมหาโมคคัลลานะผ่องใสจึงพูดว่า โมคคัลลานะผู้อาวุโส อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก สีหน้าของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง วันนี้ท่านโมคคัลลานะอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อันละเอียดหรือ พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า ท่านผู้อาวุโส วันนี้ผมอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างหยาบ แต่ว่าผมได้สนทนาธรรม

    พระสารีบุตรถามว่า ท่านโมคคัลลานะได้สนทนาธรรมกับใคร พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า กับพระผู้มีพระภาคเจ้า พระสารีบุตรถามว่า ผู้มีอายุ ขณะนี้พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในวัดเชตวันในเมืองสาวัตถีซึ่งอยู่ไกลจากที่นี่ ท่านโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าด้วยฤทธิ์หรือ หรือว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาหาท่านโมคคัลลานะด้วยฤทธิ์ พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า ท่านผู้อาวุโส ไม่ใช่ทั้งสองอย่าง คือ ผมมิได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าด้วยฤทธิ์ ทั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มิได้เสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์ แต่ว่า ผมกับพระพุทธเจ้าสนทนาธรรมกันทางทิพพจักขุและทิพพโสต เพราะว่า ผมมีทิพพจักขุ และทิพโสตบริสุทธิ์เท่ากับพระพุทธเจ้าและพระพุทธเจ้าก็มีทิพพจักขุและทิพโสตบริสุทธิ์เท่ากับผม

    ปราบนันโทปนันทะนาคราช

    ในคาถาพาหุง บทที่ ๗ มีข้อความเป็นภาษาบาลี และคำแปลเป็นไทยมีใจความว่า "พระจอมมุนี ทรงโปรดให้พระมหาโมคคัลลานะเถระพุทธชิโนรส (นิรมิตกายเป็นนาคราช) ไปทรมานพระยานาคราชชื่อนันโทปนันทะ ผู้มีความรู้ผิด มีฤทธิ์มาก ด้วยวิธีอันให้อุปเท่ห์แห่งฤทธิ์แก่พระเถระ ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงเกิดมีแก่ท่านด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น"

    พระพุทธชัยมงคลในบทนี้ กล่าวถึงพระผู้มีพระภาคทรงมีชัยแก่นันโทปนันทะนาคราช ซึ่งมีเรื่องดังนี้

    ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี เช้าวันหนึ่งก่อนที่พระผู้มีพระภาคจะเสด็จไปรับภัตตาหารที่บ้านของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เวลาใกล้รุ่ง พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูสัตว์โลก ก็ทรงเห็นนันโทปนันทะนาคราชปรากฏอยู่ในข่ายพระญาณ ในตอนเช้าพระผู้มีพระภาคตรัสสั่งพระอานนท์ให้บอกสงฆ์ทราบว่า พระองค์จะเสด็จไปเทวโลก และได้ทรงพาพระสาวกผู้มีอภิญญาเหาะไปยังเทวโลก

    นันโทปนันทะนาคราชเห็นพระผู้มีพระภาคและพระสาวกเหาะมาก็โกรธ โดยถือว่าตนเป็นผู้มีอานุภาพมาก ถ้าสมณะเหล่านั้นเหาะข้ามไป ฝุ่นละอองที่ติดเท้าก็จะล่วงหล่นมาบนหัว จะต้องหาทางไม่ให้เหาะข้ามไป จึงเอาหางรัดเขาพระสุเมรุไว้ ๗ รอบ และบันดาลให้เป็นหมอกควันมืดมัวไปหมด

    มีสาวกหลายองค์ทูลอาสาที่จะปราบพระยานาค แต่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาต ครั้นเมื่อพระมหาโมคคัลลานะทูลอาสา พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาต พร้อมทั้งทรงให้พรให้มีชัยชนะแก่พระยานาค พระมหาโมคคัลลานะได้เนรมิตกายเป็นพระยานาคที่มีร่างกายยาวใหญ่กว่าพระยานันโทปนันทะถึง ๒ เท่า แล้วรัดกายพระยานาคให้แน่นเข้ากับเขาพระสุเมรุมิให้เคลื่อนไหว ฝ่ายพระยานาคถูกนาคพระมหาโมคคัลลานะรัดจนแทบกระดูกแตก ก็โกรธเกรี้ยวยิ่งนัก จึงพ่นพิษให้เป็นควันแผ่ไปโดยรอบ พระมหาโมคคัลลานะก็บันดาลให้ควันเกิดขึ้นมากยิ่งกว่า ปราบฤทธิ์ของพระยานาคนั้นเสีย พระยานาคจึงพ่นควันพิษเป็นเปลวไฟอันร้ายแรง พระมหาโมคคัลลานะก็เนรมิตไฟที่ร้อนแรงกว่าให้เกิดขึ้น ไฟของพระยานาคไม่อาจทำอันตรายแก่พระมหาโมคคัลลานะได้ แต่ไฟที่พระมหาโมคคัลลานะเนรมิตขึ้นกลับรุมล้อมพระยานาคทั้งภายนอกภายในให้รุ่มร้อนกระสับกระส่ายเป็นกำลัง

    พระยานาคคิดว่าสมณะนี้ชื่อใด จึงมีฤทธิ์มากอย่างนี้ คิดแล้วก็ถามชื่อ พระมหาโมคคัลลานะก็บอกให้ทราบว่า เป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายของพระผู้มีพระภาค พระยานาคได้กล่าวว่า ท่านเป็นสมณะเหตุใดจึงมาทำร้ายข้าพเจ้า การกระทำของท่านไม่สมควรแก่สมณะ พระมหาโมคคัลลานะได้ตอบว่าเราไม่ได้โกรธและลงโทษท่าน แต่ที่ทรมานท่านก็เพื่อจะช่วยท่านให้พ้นจากความเห็นผิดและพยศร้าย ให้ท่านอยู่ในทางตรงคืออริยมรรค

    ในที่สุดพระมหาโมคคัลลานะก็ได้ปราบนันโทปนันทะนาคราชจนยอมจำนน พ้นจากการเป็นมิจฉาทิฏฐิ รู้จักบาปบุญคุณโทษ เกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนา พระยานาคได้กราบนมัสการพระผู้มีพระภาคและขอบูชาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดไป พระผู้มีพระภาคได้ทรงประทานศีล ๕ ให้รักษา จากนั้นพระผู้มีพระภาคก็ได้พาพระสาวกไปเรือนของอนาถบิณฑิกเศรษฐีเพื่อรับภัตตาหาร

    ถูกโจรทุบตีก่อนนิพพาน

    พระมหาโมคคัลลานะมักจะเหาะไปเทวโลกและนรก ถามกรรมที่พวกเทวดาและพวกสัตว์ที่อยู่ในสวรรค์และนรกทำในชาติก่อน แล้วนำมาเล่าให้มนุษย์ฟัง ผู้คนก็พากันนำลาภสักการะมาถวาย เป็นเหตุให้พวกเดียรถีย์เสื่อมจากลาภ พวกนี้จึงว่าจ้างให้พวกโจรไปลอบฆ่าท่าน พวกโจรไปลอบฆ่าพระมหาโมคคัลลานะถึง ๓ ครั้ง ในสองครั้งแรกท่านเหาะหนีไปทางอากาศ พวกโจรไม่สามารถทำอันตรายท่านได้ แต่ในครั้งสุดท้าย ท่านพิจารณาเห็นว่าเป็นเพราะกรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อนติดตามมา ท่านจึงไม่หนี พวกโจรก็จับท่านมาทุบตี จนกระดูกแตกละเอียด แล้วนำไปซ่อนไว้ในพุ่มไม้แห่งหนึ่ง แต่ท่านยังไม่มรณะ ได้รักษาตนเองด้วยกำลังฌาน แล้วไปเฝ้าพระศาสดาทูลลานิพพาน

    ปรากฏว่าประชาชนมีความสงสัยว่าเหตุใดพระมหาโมคคัลลานะ ซึ่งเป็นถึงพระอัครสาวกเบื้องซ้ายผู้มีฤทธิ์จึงถูกโจรทุบตีอย่างทารุณ พระพุทธเจ้าได้ตรัสเล่าบุพพกรรมของพระมหาโมคคัลลานะว่า ในอดีตชาตินานมาแล้ว พระมหาโมคคัลลานะได้เกิดเป็นชาวเมืองพาราณสี ทำหน้าที่เลี้ยงดูมารดาผู้ทุพพลภาพเสียตา ต่อมาได้ภรรยาคนหนึ่ง และได้ยอมทำตามภรรยา นำมารดาไปทิ้งไว้ในป่า ทุบตีจนตาย พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! โมคคัลลานะทำกรรมประมาณเท่านี้ โทษในนรกหลายแสนปี ด้วยวิบากยังเหลืออยู่ จึงถูกทุบตีอย่างนั้นนั่นและละเอียดหมดถึงมรณะสิ้น ๑๐๐ อัตตภาพ"

    ผู้จัดพิมพ์เผยแพร่ : สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย

    โพสท์ในกระทู้ธรรม อภิธรรมมูลนิธิ โดย : สมพร เทพสิทธา - 18/12/2001 09:53
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    สินเชื่อส่วนบุคคล กับ สินเชื่อบัตรกดเงินสด คิดให้ดีเลือกให้ถูก
    -http://money.sanook.com/370095/-


    -https://moneyhub.in.th/-
    สนับสนุนเนื้อหา

    แน่นอนว่าหลายคนคงไม่อยากเป็นหนี้ เป็นสิน กัน แต่ถ้ามีความจำเป็นกันจะทำยังไงดี แต่นะว่าจำเป็น ถ้าต้องเป็นหนี้เพื่อไปท่องเที่ยว เพื่อให้มีรูปถ่ายมาอวดคนอื่นๆ บนหน้าเฟสว่าฉันก็ไปมาแล้วนะที่นี้ ขอย้ำว่าอย่าทำดีกว่า หรือจะเป็นหนี้เพื่อให้เพื่อนเห็นว่าฉันนี้แบรนด์เนมนะจ๊ะ ก็จะย้ำเน้นๆ อีกว่าหยุดคิดไปได้เลย...เป็นหนี้เพื่อความจำเป็นดีกว่า เช่น ต้องเข้าโรงพยาบาล ต้องจ่ายค่าเทอมให้ลูก หรือต้องซ่อมรถถ้าไม่ซ่อมไม่มีทำงานแน่ หรือจะเป็นต้องซ่อมบ้าน ถ้าไม่ทำน้ำรั่วเข้าบ้านของในบ้านพังอีกต่างหาก

    โดยสินเชื่อด่วนด่วนแบบนี้ก็มีให้เลือก 2 แบบ คือ สินเชื่อส่วนบุคคล หรือจะเป็นสินเชื่อบัตรกดเงินสด ที่ว่าด่วนก็คือ แต่ละธนาคารจะใช้เอกสารและเวลาในการพิจารณาอนุมัติไม่มาก 3-5 วันก็รู้ผลแล้ว แต่ดอกเบี้ยของสินเชื่อทั้ง 2 ตัวนี้ก็แพงอยู่ ประมาณ 28% ต่อปี แต่เวลาทีเซลล์โทรมาขายจะบอกเราแค่ว่า 2% ต่อเดือน ซึ่งทำให้หลายคนติดกับดักมาแล้ว

    ทั้งสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อเงินสด คือ สินเชื่อที่ธนาคารให้เราเพื่อนำเงินไปใช้จ่ายส่วนตัว จะใช้อะไรก็ได้ ธนาคารจะไม่มาตรวจสอบเราเหมือนกับเวลาเรากู้ซื้อบ้านหรือรถยนต์ที่จะต้องให้เห็นว่าซื้อบ้านจริง ซื้อรถยนต์จริง ทีนี้พอได้เงินก้อนมาก็สนุกละซิเรา ไม่มีใครมาบังคับว่าจะเอาเงินไปทำอะไรบ้าง ก็กลายเป็นว่าเอาไปใช้แบบไม่คิด แต่เวลาจ่ายคืนนี่ซิคิดหนักจนแทบเป็นบ้ากันเลยทีเดียว

    เรามาดูที่สินเชื่อส่วนบุคคลกันก่อนดีกว่า สินเชื่อส่วนบุคคล คือ เมื่อธนาคารพิจารณาอนุมัติวงเงินให้เราแล้ว ธนาคารจะโอนเงินเข้าบัญชีให้กับเรามาหนึ่งก้อน เราจะเอาไปทำอะไรก็ได้ จ่ายค่าเทอมลูก ค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉิน หรือจะเอาไปปลดหนี้บัตรเครดิต ก็ได้แต่ต้องห้ามใช้เงินจากบัตรเครดิตอีก ไม่งั้นก็จะเป็นงูกินหางไปเรื่อยๆ เวลาจ่ายคืนก็จะต้องจ่ายคืนให้ธนาคารเป็นงวดๆ เช่น 12 เดือน 24 เดือนหรือสูงสุดอาจจะเป็น 84 เดือนกันเลยทีเดียว และแต่ละงวดก็จะจ่ายเงินที่เท่ากันทุกงวด แต่บางธนาคารก็ใจดีหากเรามีเงินมาจ่ายเพิ่มในแต่ละงวดก็จะไปตัดเงินต้นให้เราทันที ก็จะช่วยให้เราประหยัดดอกเบี้ยได้

    ส่วนสินเชื่อบัตรกดเงินสด ก็คือ เมื่อธนาคารอนุมัติวงเงินให้เราแล้ว เราจะได้มาเป็นบัตร 1 ใบ พร้อมกับรหัสกดเงินเหมือนกับบัตรเอทีเอ็ม ที่เราสามารถกดเงินที่ตู้เอทีเอ็มของธนาคารไหนก็ได้ เมื่อกดเงินเอาเงินออกมาเราถึงจะถูกคิดดอกเบี้ย และเมื่อนำเงินไปคืนทั้งจำนวนก็จะถูกคิดดอกเบี้ยด้วยจำนวนเงินที่กดออกมาและจำนวนวันที่เอาเงินออกมาด้วยเช่นกัน แต่ถ้าหากเราจ่ายคืนด้วยจำนวนเงินขั้นต่ำ ส่วนที่เหลือก็จะถูกคิดดอกเบี้ยต่อไป แต่ไม่ใช่ลดต้นลดดอกเหมือนกับสินเชื่อส่วนบุคคล แต่เราจะถูกคิดดอกเบี้ยด้วยจำนวนเงินก้อนแรกที่กดเงินออกมา เช่น กดมา 10,000 บาท จ่ายคืนเพียง 1,000 บาท เราก็จะถูกคิดดอกเบี้ยที่ 10,000 บาทไปตลอดจนกว่าจะจ่ายคืนหมด

    ทีนี้ก่อนที่จะเป็นหนี้สินอะไรสักอย่างก็ต้องคิดกันให้ดีว่าเป็นหนี้แล้ว เอาใช้เรื่องจำเป็นจริงๆ ใช่หรือเปล่า เพราะถ้าไม่ใช่ก็ต้องคิดให้ดีๆ เพราะดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายสำหรับสินเชื่อทั้ง 2 อย่างนี้ ประมาณ 10 เท่าของดอกเบี้ยเงินฝากกันเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นก่อนจะเป็นหนี้ต้องท่องไว้ว่า ไม่จำเป็นก็ไม่ต้องใช้ ไม่มีก็ไม่ต้องซื้อ ไม่มีก็ไม่ต้องเที่ยว ใช้ของที่มีอยู่ก่อน นอนอยู่บ้านชิวๆ ดีกว่า จำไว้ให้ขึ้นใจ ใช้เงินให้น้อยกว่าที่หาได้ ที่เหลือก็แบ่งไปเก็บ พอมีแล้วก็ค่อยซื้อ ค่อยเที่ยว จะได้ไม่ทุกข์กันทีหลัง
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    คปภ.เผย 5 ปัญหาใหญ่ที่บริษัทประกันโดนร้องเรียนมากที่สุดในปี58
    โดย MGR Online
    24 มีนาคม 2559 23:22 น.
    -http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9590000030858-

    คปภ.เผย 5 ปัญหาใหญ่ที่ประชาชนร้องเรียนบริษัทประกันภัยและบริษัทประกันชีวิต พร้อมโชว์ตัวเลขร้องเรียนในปีที่ผ่านจำนวน 12,902 เรื่อง และสามารถยุติปัญหาได้จำนวน 11,995 เรื่อง ย้ำเดินหน้าปรับปรุงระบบรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคเต็มที่

    ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า จากสถิติการรับเรื่องร้องเรียนประจำปี 2558 แม้จะมีเรื่องร้องเรียนที่มีเข้ามาทั้งสิ้น 12,902 เรื่อง แต่สามารถยุติเรื่องได้จำนวน 11,995 เรื่อง หรือคิดเป็นร้อยละ 92.97 โดยแยกเป็นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจำนวน 574 เรื่อง สามารถยุติเรื่องได้ 548 เรื่อง ด้านประกันวินาศภัยจำนวน 9,262 เรื่อง สามารถยุติเรื่องได้ 8,717 เรื่อง และด้านประกันชีวิตจำนวน 3,066 เรื่อง สามารถยุติเรื่องได้จำนวน 2,730 เรื่อง

    ในขณะที่ปี 2557 มีเรื่องร้องเรียนเข้ามาจำนวน 11,239 เรื่อง แต่สามารถยุติเรื่องได้ถึง 10,902 เรื่อง หรือคิดเป็นร้อยละ 97.00 โดยแยกเป็นเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจำนวน 661 เรื่อง แต่สามารถยุติเรื่องได้ทั้งหมด 661 เรื่อง ด้านประกันวินาศภัยจำนวน 8,234 เรื่อง แต่สามารถยุติเรื่องได้จำนวน 8,002 เรื่อง และด้านประกันชีวิตจำนวน 2,344 เรื่อง แต่สามารถยุติเรื่องได้จำนวน 2,239 เรื่อง

    ทั้งนี้จากสถิติดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า สำนักงานคปภ.สามารถบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนให้กับประชาชนได้สำเร็จเกือบ 100% ดังนั้นประชาชนจึงมั่นใจได้ว่าสำนักงาน คปภ.จะทำทุกวิถีทางเพื่อคุ้มครองสิทธิและประโยชน์ต่างๆที่ประชาชนพึ่งได้รับจากการทำประกันภัย

    สำหรับเรื่องร้องเรียนยอดนิยม 5 อันดับแรกที่เกี่ยวกับประกันวินาศภัย ในปี 2558 ก็คือ

    1.กรณีค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ

    2.กรณีบริษัทจะจ่ายค่าซ่อมหรือค่าสินไหมทดแทนน้อยกว่าจำนวนที่ผู้เสียหายเรียกร้อง

    3.กรณีเมื่อเกิดความเสียหายแล้ว บริษัทคุมราคาล่าช้า หรือไม่จัดส่งอะไหล่ตามกำหนด

    4.กรณีบริษัทจ่ายค่าสินไหมทดแทนไม่เป็นไปตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

    5.กรณีบริษัทไม่จ่ายค่าเสื่อมราคา

    ส่วนเรื่องร้องเรียนยอดนิยม 5 อันดับที่เกี่ยวกับประกันชีวิตในปี 2558 ก็คือ

    1.กรณีบริษัทปฏิเสธโดยอ้างว่าผู้เอาประกันปกปิดข้อเท็จจริงในใบคำขอ

    2.กรณีคนกลาง (ตัวแทน นายหน้า ธนาคารพาณิชย์) บอกว่าเป็นโครงการพิเศษ หรือบอกว่าเป็นการฝากเงิน โดยไม่บอกให้ผู้เอาประกันรู้ว่าเป็นการทำประกันชีวิต

    3.กรณีถูกรบกวนโดยการเสนอขายประกันภัยทางโทรศัพท์ หรือยังไม่ได้ตกลงทำประกันแต่บริษัทส่งกรมธรรม์มาให้ผู้เอาประกันและมีการหักเงินจากบัตรเครดิต

    4.กรณีบริษัทจ่ายค่าสินไหมทดแทนไม่เป็นไปตามเงื่อนไข โดยอ้างว่าไม่มีความจำเป็นทางการแพทย์ หรือเกิดจากโรคที่เป็นมาก่อน

    5.กรณีกรมธรรม์ที่บริษัทออกให้ไม่เป็นไปตามที่ตัวแทนเสนอขายตามที่ตกลงกับผู้เอาประกันภัย

    อย่างไรก็ตามปัจจุบัน สำนักงาน คปภ. ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านประกันภัย โดยเร่งปรับปรุงกระบวนการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนด้านการประกันภัยให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง

    โดยเห็นได้จากมีการเพิ่มช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนด้านการประกันภัยในหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการรับเรื่องร้องเรียนโดยตรงจากสำนักงานคปภ.ส่วนกลางและภูมิภาค ซึ่งครบคลุมทั่วประเทศ การรับเรื่องร้องเรียนผ่านสายด่ว 1186 การรับเรื่องร้องเรียนด้วยระบบสารสนเทศผ่านช่องทาง E-mail : ppd@oic.or.th และ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | ซึ่งจัดให้มีระบบทางด่วนประกันภัย ไม่ว่าเรื่องร้องเรียนจะเข้าช่องทางใดและทุนประกันภัยความเสียหายเท่าใด

    โดยเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจะต้องประสานกับบริษัทประกันภัยที่ถูกร้องทางโทรศัพท์สายตรงที่ Complaint Unit หรือหน่วยควบคุมคุณภาพของบริษัทและกำหนดให้บริษัทต้องมีผู้บริหารที่มีอำนาจในการพิจารณาสินไหมทดแทนประจำหน่วยดังกล่าวตลอดเวลาทำการ ซึ่งสามารถยุติเรื่องร้องเรียนได้เป็นจำนวนมาก และมีการนำเอาระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้เป็นเครื่องมือในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัยผ่านช่องทาง E-mail : ppd@oic.or.th และ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | อีกด้วย

    ดร.สุทธิพล กล่าวต่อว่า สำนักงานคปภ.จะดูแลผู้บริโภคแบบเชิงรุกและครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ผู้บริโภคและเสริมศักยภาพการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีประสิทธิภาพและเข้มแข็งมากขึ้น โดยมีมาตรการที่สำคัญๆ ทั้งมาตรการในเชิงป้องปราม เพื่อลดปัญหาการร้องเรียน

    โดยจะดูแลตั้งแต่การให้ความเห็นชอบแบบกรมธรรม์เพื่อส่งเสริมให้มีกรมธรรม์ที่ประชาชนสามารถเข้าใจได้ง่ายเพิ่มขึ้น มีการกำกับดูแลอัตราเบี้ยประกันภัยให้สมเหตุสมผล มีการส่งเสริมประกันภัยรายย่อยที่มีเบี้ยประกันภัยถูกเพื่อให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงได้ เช่น กรมธรรม์ประกันภัย 100 ที่ออกตามเทศกาลต่างๆและกรมธรรม์ประกันภัย 200 เป็นต้น

    รวมทั้งจะกำกับดูแลพฤติกรรมทางการตลาดของบริษัทประกันภัยให้มากขึ้น ซึ่งจะให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลและการปรับปรุงระบบการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าแก่บริษัทประกันภัย และจะมีการพัฒนามาตรการการตรวจติดตามอย่างเข้มข้น

    นอกจากนี้ได้ริเริ่มให้นำระบบไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัยมาใช้อย่างเป็นระบบและเต็มรูปแบบเพื่อรองรับข้อพิพาทด้านประกันภัยในปีนี้ ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวนมากขึ้นโดยจะมีการตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัยโดยเฉพาะเป็นแห่งแรกในภูมิภาคอาเซียน

    ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดเตรียมระบบธุรการ บุคลากร และปรับปรุงสถานที่เพื่อให้มีความพร้อม โดยเบื้องต้นคาดว่าจะสามารถเปิดศูนย์ไกล่เกลี่ยได้ในช่วงเดือนปลายเมษายนนี้ รวมทั้งจะมีการขยายเครือข่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบอนุญาโตตุลาการในส่วนภูมิภาคให้มีความเข้มแข็ง

    โดยในวันที่ 5 เมษายน 2559 จะมีพิธีเปิดสถานที่ทำการอนุญาโตตุลาการ คปภ. ภาค 12 จังหวัดสงขลา เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับประชาชนในการระงับข้อพิพาทด้านการประกันภัย

    "ด้วยความทุ่มเท มุ่งมั่นและความตั้งใจจริงของ คปภ.ที่จะเข้าไปดูแลและคุ้มครองผู้บริโภคด้านประกันภัยอย่างตรงไปตรงมาและเป็นรูปธรรมเช่นนี้ จึงคาดหวังว่ากลไกต่างๆที่พัฒนาเพิ่มขึ้นจะสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนด้านการประกันภัยได้อย่างเป็นรูปธรรม มีประสิทธิภาพ และเกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย"
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    12 วิธีแก้ปัญหาท่อน้ำตันง่าย ๆ แม้ไม่ใช่ช่างก็ทำเองได้ !
    -http://home.kapook.com/view144575.html-

    ท่อน้ำตันทำอย่างไร ? มาดูวิธีแก้ปัญหาท่อน้ำตันง่าย ๆ ไม่ต้องเรียกช่าง วิธีแก้ปัญหาน้ำตันด้วยน้ำส้มสายชู เบกกิ้งโซดา โซดาไฟ และของใกล้ตัวที่ช่วยแก้ปัญหาท่อน้ำตันได้อย่างดีเยี่ยม

    หากกำลังประสบปัญหาท่อน้ำตัน อย่าเพิ่งกริ๊งกร๊างไปหาช่างซ่อม เพราะวันนี้กระปุกดอทคอมมีวิธีแก้ปัญหาท่อน้ำตันง่าย ๆ มาบอกต่อ โดยวิธีแก้ไขท่อน้ำตันด้วยตัวเองและของใช้ในบ้าน เช่น น้ำส้มสายชู เบกกิ้งโซดา โซดาไฟ และของอื่น ๆ อีกมากมายที่อยู่ใกล้มือ อยากรู้ว่าท่อน้ำตันทำอย่างไร ? ก็ตามไปหาคำตอบพร้อม ๆ กันเลยจาก 12 วิธีแก้ไขปัญหาท่อน้ำตัน

    1. ที่ปั๊มส้วมช่วยได้ในเบื้องต้น

    วิธีการแก้ไขเบื้องต้นปัญหาท่อน้ำอุดตันนั่นก็คือ การใช้ที่ปั๊มส้วม แต่จะให้ดีต้องปั๊มด้วยวิธีที่ถูกต้อง โดยการครอบที่ปั๊มลงไปที่ปากท่อ นำผ้าเปียกมาคลุมไว้รอบ ๆ ที่ปั๊มแล้วทำการปั๊มขึ้น-ลงประมาณ 6-10 ครั้ง เพื่อดึงเอาสิ่งที่อุดตันอยู่ในท่อขึ้นมา

    2. น้ำส้มสายชูและเบกกิ้งโซดา

    หากเกิดปัญหาท่อน้ำอุดตันแนะนำให้เทเบกกิ้งโซดาประมาณ ½ ถ้วยตวงลงไปในท่อ แล้วเทน้ำส้มสายชู ½ ถ้วยตวงตามลงไปและทิ้งไว้สักพัก จากนั้นให้ราดน้ำร้อนลงไปในท่อซ้ำอีกครั้ง


    3. เบกกิ้งโซดาและเกลือ

    วิธีนี้คล้ายกับวิธีที่ 2 แต่เปลี่ยนจากน้ำส้มสายชูเป็นเกลือ โดยเทเบกกิ้งโซดาประมาณ 1 ถ้วยตวงและเกลือ ½ ถ้วยตวงลงไปในท่อ แล้วปล่อยทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นเทน้ำร้อนลงไปในท่ออีก 2 ถ้วยตวง

    4. ไม้แขวนเสื้อใช้ทะลวงท่อ

    หากเราสามารถมองเห็นเศษขยะที่อุดตันอยู่ในท่อได้ ให้นำไม้แขวนเสื้อมาคลายออกให้เป็นลวดยาว ๆ งอปลายขึ้นเล็กน้อยเพื่อทำเป็นหัวตะขอเกี่ยว จากนั้นนำลวดด้านที่มีหัวเกี่ยวหย่อนลงไปในท่อเพื่อเกี่ยวเศษขยะที่อุดตันท่อขึ้นมา

    5. เครื่องดูดฝุ่น ดูดหมดทุกสิ่งอุดตัน

    ถ้าที่บ้านมีเครื่องดูดฝุ่นที่สามารถใช้ทำงานได้ทั้งพื้นที่เปียกและพื้นที่แห้ง แนะนำให้เปิดระบบการทำงานเครื่องดูดฝุ่นให้เป็นแบบเปียก จากนั้นเปิดน้ำหล่อท่อเอาไว้แล้วใช้เครื่องดูดฝุ่นจ่อลงไปที่ปากท่อ แล้วดูดสิ่งอุดตันท่อออกมาให้หมด

    6. โซดาไฟ กัดคราบสกปรกให้หลุดออกจากท่อน้ำ

    วิธีนี้ควรใช้แก้ปัญหาส้วมอุดตันเท่านั้นและควรเตรียมอุปกรณ์ป้องกันด้วย ได้แก่ ถุงมือยาง แว่นป้องกันสายตา และหน้ากากอนามัย แล้วก็ลงมือผสมโดยการเทน้ำเย็นลงในถังประมาณ ¾ แกลลอน ตามด้วยโซดาไฟอีก 3 ถ้วยตวง ใช้ไม้พายคนให้เข้ากัน เมื่อเกิดฟองฟู่และไอร้อนก็รีบเทลงในชักโครก ทิ้งไว้ 20-30 นาที แล้วค่อยเทน้ำต้มเดือดราดลงไป


    7. น้ำยาล้างจาน ล้างคราบไขมันให้หายเกลี้ยง

    แม้การใช้น้ำยาล้างจานอาจจะดูเป็นวิธีที่ค่อนข้างเบาแต่กลับได้ผลเกินคาด โดยเทน้ำยาล้างจานลงไปในท่อประมาณ ¼ ถ้วยตวง แล้วตามด้วยน้ำต้มเดือด น้ำยาล้างจานจะลงไปกัดคราบไขมันให้หลุดออกจากท่อ แต่ถ้าจะให้ดีแนะนำให้สวมถุงมือยาง แล้วล้วงมือลงไปดึงเศษขยะที่ติดอยู่ออกมา ก็จะช่วยแก้ปัญหาท่ออุดตันได้ดีกว่า

    8. ถอดท่อน้ำออกมาทำความสะอาด

    หากท่อน้ำทิ้งที่อ่างล้างหน้าหรืออ่างล้างจานเกิดอุดตันแบบขั้นหนัก แนะนำให้ถอดท่อน้ำออกมาทำความสะอาดเลยจะดีกว่า ก่อนอื่นปิดวาล์วน้ำให้น้ำหยุดไหล แล้วนำถาดมารองไว้ใต้ท่อน้ำด้านล่าง จากนั้นค่อย ๆ ถอดท่อน้ำข้อต่อระหว่างอ่างกับผนังออกมาทีละส่วน แล้วใช้แปรงสีฟันขัดถูทำความสะอาดสิ่งอุดตันออกให้หมด จากนั้นนำที่ปิดน้ำตรงปากท่อน้ำทิ้งออกมาทำความสะอาด แล้วจัดการต่อท่อกลับไปให้เหมือนเดิม


    9. น้ำส้มสายชูและเกลือ

    อีกหนึ่งสูตรช่วยกำจัดสิ่งอุดตันท่อแบบไร้สารพิษทำลายล้างท่อน้ำ โดยเทเกลือขนาด ½ ถ้วยตวง เบกกิ้งโซดาอีก ½ ถ้วยตวง และน้ำส้มสายชูอีก ½ ถ้วยตวงลงไปในท่อน้ำ แล้วทิ้งไว้ 10 นาที จากนั้นเทน้ำต้มเดือดตามลงไปเพื่อล้างคราบไขมันที่ติดอยู่ในท่อและกำจัดสิ่งสกปรกให้หมดไป

    10. ผลิตภัณฑ์เอนไซม์ แบบไม่ทำลายท่อน้ำ

    ผลิตภัณฑ์น้ำเอนไซม์มีวางขายตามห้างร้านทั่วไป หากจะนำมาใช้เพื่อทำความสะอาดท่ออุดตันแนะนำให้เลือกเอนไซม์ชนิดที่เป็นออแกนิกส์ เพราะไม่ทำลายพื้นผิวของท่อน้ำ อ่านและทำตามฉลากด้านข้างขวดอย่างเคร่งครัด จากนั้นก็ปล่อยให้เอนไซม์ทำงานโดยการทิ้งไว้ 1 คืน แล้วค่อยล้างออกด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งในตอนเช้า

    11. สายทะลวงท่อน้ำอุดตัน

    ไม่อยากเสียเวลากับการแก้ปัญหาท่อน้ำอุดตันเราแนะนำให้ลองใช้สปริงทะลวงท่อหรือที่เรียกกันว่างูเหล็ก สอดเข้าไปในท่อที่อุดตัน เมื่อเจอกับสิ่งที่อุดตันท่อแล้ว ก็ใช้งูเหล็กทะลวงเข้าไปพร้อมกับเปิดน้ำทิ้งหรือกดชักโครกไล่สิ่งอุดตันตามไปด้วย

    12. น้ำยาฟอกผ้าขาว ใช้กับท่อน้ำก็ได้

    ใครว่าน้ำยาฟอกผ้าขาวใช้ได้กับผ้าเท่านั้น เพราะจริง ๆ แล้วมันก็ช่วยทะลวงท่อน้ำอุดตันได้เช่นกัน เริ่มจากถอดตัวกรองน้ำที่ปากท่อออกก่อน แล้วเทน้ำยาฟอกผ้าขาวประมาณ 1 ถ้วยตวงลงไป ปล่อยทิ้งไว้ 10 นาที เปิดน้ำให้ไหลงไปในท่อ หากว่าน้ำในท่อค่อย ๆ ลดระดับลง ก็เป็นอันว่าสิ่งที่อุดตันท่อหลุดออกไปเรียบร้อยแล้ว จากนั้นก็ทำความสะอาดท่อตามปกติได้เลย

    ปัญหาท่อน้ำอุดตันเกิดขึ้นได้กับทุกบ้านและถ้าหากเราปล่อยเอาไว้มันจะส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อระบบท่อน้ำในบ้าน ดังนั้นเมื่อเจอปัญหาท่อน้ำอุดตันที่ไหนก็อย่าลืมนำเอาวิธีที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ไปใช้นะคะ

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก Katmckee, Ncleaningtips, Wikihow, Wisebread และ Wonderhowto
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ธรรมะที่แท้จริงจากพระไตรปิฎก
    การเผยแพร่เพจธรรมะที่แท้จริงจากพระไตรปิฎก
    -https://www.facebook.com/dhamma.true/posts/865073110256003:0-

    การสมาทานศีล ๕ และองค์ประกอบของศีล ๕

    บุญของการรักษาศีลห้าและศีลอุโบสถ
    บุญของการรักษาศีลในชาตินี้ คือ ทำให้ผู้รักษาศีลมีความโชคดี ทำอะไรก็จะประสบความสำเร็จได้เร็ว หน้าที่การงานจะได้เลื่อนขั้นเร็ว เป็นที่รักใคร่เมตตาแก่ผู้พบเห็น มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง โรคน้อย หากผู้มีศีลนั้นได้ทำทานอย่างสม่ำเสมอก็จะได้รับผลบุญของทานเร็วกว่าปรกติ เช่น ปรกติเมื่อเราได้ทำทานแล้ว ผลของทานบางส่วนก็จะกลับมาในชาตินี้ โดยใช้เวลาปกติประมาณ ๒๐ ปี แต่ถ้ารักษาศีล๕ อย่างเดียวจะทำให้ผลของทานกลับมาหาเราเร็วขึ้นคือ ๑๕ ปี แต่ถ้าวันธรรมดารักษาศีล๕ และวันพระรักษาศีลอุโบสถด้วยแล้วจะทำให้ผลของทานกลับมาหาเราเร็วขึ้น คือ อาจแค่เพียง ๑๐ ปี แต่ถ้าวันธรรมดารักษาศีล๕ และวันพระรักษาศีลอุโบสถด้วยและนั่งฌานสมาธิภาวนาวันละ ๒ ชั่วโมง แล้วจะทำให้ผลของทานกลับมาหาเราเร็วขึ้น คือ อาจแค่เพียง ๕ ปี ก็เป็นได้ นอกจากนี้ เมื่อเกิดชาติหน้าก็มีโอกาสเกิดเป็นมนุษย์ได้อีก และมีรูปร่างผิวพรรณดีเหมือนอย่างดาราที่มีรูปเป็นทรัพย์นั่นเอง

    คำสมาทานศีล ๕
    ขั้นตอนที่ ๑ กราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

    ขั้นตอนที่ ๒ บูชาพระรัตนตรัย
    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ ฯ (กราบ)
    สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ ฯ (กราบ)
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ ฯ (กราบ)

    ขั้นตอนที่ ๓ อาราธนาศีล ๕
    อะหัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามิ.
    ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามิ.
    ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามิ.

    ( กรณีว่าคนเดียวให้เปลี่ยน มะยัง เป็น อะหัง, เปลี่ยน ยาจามะ เป็น ยาจามิ )
    ( กรณีว่าหลายคนให้เปลี่ยน อะหัง เป็น มะยัง, เปลี่ยน ยาจามิ เป็น ยาจามะ )

    ขั้นตอนที่ ๔ นะโมสรรเสริญพระพุทธเจ้า
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ.
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ.
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ.

    ขั้นตอนที่ ๕ ไตรสรณคมน์
    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ, สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ,
    ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ, ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ, ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ,
    ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ, ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ, ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ,

    ขั้นตอนที่ ๖ สมาทานศีล ๕
    ปาณาติปาตา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,
    อทินนาทานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,
    กาเมสุมิจฉาจารา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,
    มุสาวาทา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,
    สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,

    ขั้นตอนที่ ๗ อธิษฐานรักษาศีล ๕
    ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิษฐานว่า ต่อแต่นี้ไปข้าพเจ้าจะขอรักษาศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ดังเดิม

    ขั้นตอนที่ ๘ สรุปศีล ๕
    อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ, อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ, อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ,

    ขั้นตอนที่ ๙ กราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

    *การทำทาน ๑๐๐ ครั้ง บุญไม่เท่ารักษาศีลห้า ๑ ครั้ง*

    หมายเหตุ เรามีศีลไว้ให้ขาดดีกว่าเราไม่มีศีลให้ขาด ถ้าเราไม่มีศีลเราก็อยู่แบบกินบุญเก่าของเรากับการทำบาปเท่านั้น เพราะศีล๕ถึงเราไม่รักษา เราทำผิดก็เป็นบาปเหมือนกับการที่เรารักษาศีลเหมือนกัน แต่ช่วงที่เรารักษาศีลทำขาดก็เป็นบาป ช่วงที่เรายังไม่ได้ต่อศีล (วิรัตศีล) เราก็กินบุญเก่าเท่านั้นเอง การถือศีล๕ เพียงวันหนึ่งคืนหนึ่ง ถือได้ว่าเป็น หนึ่งครั้ง (นับจากพระอาทิตย์ขึ้นตอนเช้าของวันนี้ จนพระอาทิตย์ขึ้นรุ่งอรุณของอีกวันหนึ่ง) และเมื่อเราทำศีลขาดเราสามารถต่อศีล ๕ เองได้ เราเรียกว่า.

    การวิรัตศีล๕หรือการต่อศีลดังนี้...
    กราบพระ ๓ ครั้ง(บูชาพระแบบย่อ)

    อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา
    พุทธังภะคะวันตังอะภิวาเทมิ (กราบ)
    สะวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม ธัมมังนะมัสสามิ (กราบ)
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆังนะมามิ (กราบ)

    (คำอธิษฐานการ ต่อศีล ๕)
    ด้วยอานุภาพ คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ คุณบิดา-มารดา คุณครูบาอาจารย์
    ข้าพเจ้าได้ทำศีลข้อ (.... )ขาด(ทำข้อไหนขาด ทำอะไร ก็บอกไปด้วย ) ข้าพเจ้าขอต่อศีล ๕ ให้สมบูรณ์ดังเดิม ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

    (สรุปศีล) อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ ( ๓ จบ )

    (กราบพระ ๓ ครั้ง) พระพุทธ, พระธรรม, พระสงฆ์, (ศีล ๕ ของเราก็สมบูรณ์เป็นปกติ)

    สมาทานศีล๕ ที่บ้านด้วยตนเองได้ ไม่ต้องรอไปสมาทานศีล๕ ที่วัด รอพระอย่างเดียว ให้สมาทานศีล๕ก่อนนอน เพราะจะทำให้เรามีศีลตอนเวลานอน สาเหตุที่ให้สมาทานศีลก่อนนอนก็เพราะว่าตอนนอนเราไม่ได้ทำผิดศีล จะได้บุญอย่างยิ่ง

    ศีล๕ ทำขาดสัก ๑ ข้อก็จะขาดทั้ง ๕ ข้อ แต่จะบาปในข้อที่ขาด
    คนที่ไม่รักษาศีล๕ ก็บาปแน่นอน เพราะไม่มีศีล จะทำผิดศีลอย่างไม่เกรงกลัวบาปกรรม และบาปในข้อที่ทำไป
    หรือทำผิดทั้ง ๕ ข้อ ก็บาปทั้ง ๕ข้อ รักษาศีล๕ ไม่ได้เลย และยังทำบาปมาก คงไม่พ้น นรก แน่นอน

    ๙๙ เปอร์เซ็นต์ของมนุษย์ทั้งหมดจะต้องลงนรกและอบายภูมิ นี่เป็นกฏธรรมชาติ
    - ทำทาน ๑๐๐ ครั้ง บุญไม่เท่ารักษาศีลห้า ๑ ครั้ง
    - รักษาศีลห้า ๑๐๐ ครั้ง บุญไม่เท่านั่งสมาธิ ๑ ครั้ง
    สรุป ให้ทาน ๑๐๐๐๐ ครั้ง (๒๗ปี ๘ เดือน) บุญยังไม่เท่านั่งสมาธิ ๑ ครั้ง (ต้องเป็นสมาธิที่ถูกต้องคือ รูปฌาน๔ ) เพราะเหตุว่าเพียงให้ทาน รักษาศีลถึงพระนิพพานไม่ได้เป็นเพียงปัจจัยขั้นต้นเท่านั้น แต่การนั่งสมาธิรู้จักธรรมชาติตามความเป็นจริง สามารถทำให้ถึงพระนิพพานได้
    (อ้างอิงจาก หนังสือความสำเร็จที่มาจากพระพุทธเจ้า ของอาจารย์ ษิริพงษ์ อัครศรียุกต์ )
    ที่ทำให้ผมมารักษาศีล๕ได้ โดยวันธรรมดาผมจะรักษาศีล๕ และวันพระผมจะรักษาศีลอุโบสถ

    อานิสงส์ของความถึงพร้อมด้วยศีล ๕
    พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้ว่า
    ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย อานิสงส์ของความถึงพร้อมด้วยศีลมี ๕ ประการ คือ
    ๑. ย่อมประสบซึ่งกองแห่งโภคใหญ่ คือความไม่ประมาทอันเป็นคุณอย่างยิ่ง
    ๒. ย่อมมีชื่อเสียงดีงามฟุ้งขจรไป
    ๓. เข้าไปในบริษัทใดก็ตามย่อมเป็นผู้ไม่หลงตาย ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้าไม่เก้อเขิน
    ๔. ผู้ที่มีศีลสมบูรณ์ ย่อมไม่เป็นผู้ไม่หลงตาย
    ๕. เบี้องหน้าเมื่อการแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

    ผู้สมาทานศีล๕ ละโลกนี้ไปแล้ว มีทางไปสู่สวรรค์ ๖ภูมิ แต่ถ้าเกิดมาเป็นมนุษย์ทำบุญให้ทานบ้างแต่ไม่มีศีล๕ รองรับ จะตกสู่อบายภูมิ๔ เปรต สัตว์นรก อสูรกาย สัตว์เดรัจฉานเรียกว่าทุคติภูมิ
    ****ภพหรือภูมิก็คือที่อยู่ที่ๆเราจะไปเกิดและดำเนินชีวิตอยู่***
    กามสุคติภูมิหรือเรียกอีกอย่างหนึงว่าสุคติภูมิ แบ่งออกเป็น ๗ ภูมิ ได้แก่ มนุษย์ภูมิ ๑ และเทวภูมิอีก ๖
    เทวภูมิก็คือที่อยู่ของเทวดามีอยู่ ๖ ชั้นตามอำอาจบุญบารมีที่ได้สั่งสมกระทำไว้ตอนเกิดเป็นมนุษย์ คือ

    ๑.จาตุมหาราชิกาภูมิ
    ๒.ดาวดึงสาภูมิ
    ๓.ยามาภูมิ
    ๔.ดุสิตภูมิ
    ๕.นิมมานนรดีภูมิ
    ๖.ปรมินมิตวสวัตตีภูมิ

    รักษาศีล ๕ ข้อ ให้สม่ำเสมอทำบุญใส่บาตร สำหรับผู้มีศีล ประพฤติชอบด้วย กาย วาจา ใจ ละโลกนี้ไปแล้วจุติจิตไปปฏิสนธิในโลกสวรรค์ ทันที
    ผู้สมาทานศีล ๕ ศีล ๘ มีโอกาสไปอุบัติใน สุคติภูมิ ๖ ขั้นนั้น จะไปอุบัติในเทวโลกภูมิใดนั้นแล้วแต่กำลังบุญกุศลทำไว้ในโลกมนุษย์

    มีปัญหาถามขึ้นมาว่าแล้วเราจะต้องไปวัดเพื่อรับศีลกับทุกวันเลยหรือ?
    ไม่จำเป็นหรอกครับถ้าเราตั้งใจจะทำความดีที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ เพียงแต่ว่าเมื่อก่อนคนเราไม่รู้ว่าศีลคืออะไร เราก็ไปขอกับพระเพื่อให้ท่านอธิบายให้ฟังว่าอานิสงส์ของการรักษาคืออะไรแล้วเราก็รับศีลมาประพฤติปฏิบัติ ซึ่งตอนนี้ก็ยังมีธรรมเนียมอย่างนี้อยู่ พอเราสมาทานศีลเสร็จพระท่านก็จะบอกอานิสงส์อย่างย่อให้ฟัง คือ สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสธเย แปลเป็นไทยก็คือ ศีลเป็นเหตุให้ถึงสุคติ ศีลเป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ ศีลเป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน เพราะฉะนั้นเราควรรักษาศีลให้บริสุทธิ์

    ถ้าเราจะสมาทานศีลเองก็ให้สมาทานศีลหน้าหิ้งพระก็ได้ ตอนเช้าหรือเย็น กลางคืน ก่อนนอนแล้วแต่สะดวก หรือจะสมาทานทุกครั้งที่รู้ตัวว่าทำผิดศีลข้อนั้นๆก็ได้ โดยที่เราไม่ได้อยู่หน้าหิ้งพระได้เหมือนกันเพราะทุกอย่างอยู่ที่เจตนาของเราเองเป็นสำคัญ เพราะถ้าเรารับศีลกับพระก็ดีหรือสมาทานหน้าหิ้งพระก็ดี โดยที่ปากเราก็พูดไปงั้นๆ แต่ไม่ได้ตั้งใจปฏิบัติจริงก้อไม่ได้ผลอะไร เพราะฉะนั้นทุกอย่างอยู่ที่เจตนาคือความตั้งใจที่จะประพฤติปฏิบัติรักษาศีลให้บริสุทธิ์นั่นคือหัวใจสำคัญ

    เสริมอีกนิดน่ะครับเกี่ยวกับองค์ประกอบของศีลแต่ละข้อ จากเรื่ององค์ประกอบของศีลนั้น ทำให้ทราบว่า ถ้าไม่ครบองค์ประกอบของศีล ไม่ถือว่า ศีลขาด เช่น การฆ่าสัตว์มีองค์ ๕ แต่ทำไปแค่องค์ ๔ อย่างนี้เรียกว่าศีลทะลุ และถ้าลดหลั่นลงมาอีก ก็จะเรียกว่า ศีลด่าง ศีลพร้อย ตามลำดับ นอกจากนี้ พระอรรถกถาจารย์ ยังได้แสดงหลักสำหรับวินิจฉัยว่า การละเมิดศีลแต่ละข้อจะมีโทษมากหรือน้อย นั้นขึ้นอยู่กับสิ่งต่อไปนี้ด้วย คือ

    ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี(เว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป)
    ศีลข้อนี้จะขาดต่อเมื่อล่วงพร้อมด้วยองค์ ๕
    ๑.๑ ปาโณ สัตว์มีชีวิต
    ๑.๒ ปาณสญญิตา รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
    ๑.๓ วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า
    ๑.๔ อุปกฺกโม เพียรเพื่อจะฆ่า
    ๑.๕ เตน มรณํ สัตว์ตายด้วยความเพียรนั้น
    สำหรับศีลข้อที่ ๑ การฆ่าสัตว์ จะมีโทษมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ
    ๑. พิจารณาจากคุณประโยชน์ การฆ่าสัตว์ที่มีคุณมาก(เช่นสัตว์ที่เราเลี้ยงไว้ไถนา หรือพวกวัวนม ซึ่งพวกนี้ถือว่ามันให้คุณเรา) จะมีโทษมากกว่าการฆ่าสัตว์ที่มีคุณน้อยหรือไม่มีคุณ เช่น ฆ่าพระอรหันต์ มีโทษมากกว่าฆ่าปุถุชน ฆ่าสัตว์ที่ช่วยงานมีโทษมากกว่าฆ่าสัตว์ดุร้าย เป็นต้น
    ๒. ขนาดกายของสัตว์ก็สำคัญ สำหรับสัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่ไม่มีคุณเหมือนกัน การฆ่าสัตว์ใหญ่ มีโทษมาก กว่าการฆ่าสัตว์เล็ก
    ๓. ความพยายาม มีความพยายามในการฆ่ามาก มีโทษมาก มีความพยายามน้อย มีโทษน้อย
    ๔. กิเลสหรือเจตนา กิเลสหรือเจตนาแรง มีโทษมาก กิเลสหรือเจตนาอ่อน มีโทษน้อย เช่น การฆ่าด้วยโทสะ หรือความเกลียดชัง มีโทษมากกว่าการฆ่าเพื่อป้องกันตัวอย่างงี้ก็มีโทษมาก

    ๒. อทินฺนาทานา เวรมณี(เว้นจากการถือเอาของที่เขามิได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย)
    ศีลข้อนี้จะขาดต่อเมื่อล่วงพร้อมด้วยองค์ ๕
    ๒.๑ ปรปริคฺคหิตํ ของมีเจ้าของหวง
    ๒.๒ ปรปริคฺคหิตสญฺญิตา รู้ว่ามีเจ้าของหวง
    ๒.๓ เถยฺยจิตฺตํ จิตคิดจะลัก
    ๒.๔ อุปกฺกโม เพียรเพื่อจะลัก
    ๒.๕ เตน หรณํ นำของมาด้วยความเพียรนั้น
    สำหรับศีลข้อที่ ๒ จะการลักทรัพย์ มีโทษมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ
    ๑. คุณค่าของทรัพย์สินสิ่งของนั้น
    ๒. คุณความดีของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์นั้น
    ๓. ความพยายามในการลักทรัพย์นั้น

    ๓. กาเมสุ มิจฺฉาจารา เวรมณี(เว้นจากการประพฤตผิดในกาม, เว้นจากการล่วงละเมิดสิ่งที่ผู้อื่นรักใคร่หรือหวงแหน)
    ศีลข้อนี้จะขาดต่อเมื่อล่วงพร้อมด้วยองค์ ๔
    ๓.๑ อคมนียวตฺถุ หญิงหรือชายที่ไม่ควรละเมิด (หญิง 20 จำพวก)
    ๓.๒ ตสฺมึ เสวนจิตฺตํ จิตคิดจะเสพ
    ๓.๓ เสวนปฺปโยโค พยายามเสพ
    ๓.๔ มคฺเคน มคฺคปฺปฏิปตฺติอธิวาสนํ ยังอวัยวะเพศให้ถึงกัน
    (หญิง ๒๐ จำพวก คือ ๑. หญิงมีมารดารักษา ๒. หญิงมีบิดารักษา ๓. หญิงมีมารดาและบิดารักษา ๔. หญิงมีพี่ชายหรือน้องชายรักษา ๕. หญิงมีพี่สาวหรือน้องสาวรักษา ๖. หญิงมีญาติรักษา ๗. หญิงมีตระกูลเดียวกันรักษา ๘.หญิงประพฤติธรรมร่วมอาจารย์เดียวกันรักษา ๙. หญิงมีสามีรักษา ๑๐. หญิงที่ถูกสินไหมบังคับ ๑๑. ภรรยาสินไถ่ ๑๒. หญิงสมัครอยู่กับชาย ๑๓. หญิงเป็นภรรยาเพราะทรัพย์ ๑๔. หญิงเป็นภรรยาเพราะได้ผ้านุ่งห่ม ๑๕. หญิงที่ชายสู่ขอ ๑๖. หญิงที่ชายช่วยปลงภาระ ๑๗. หญิงเป็นทาสีชายได้เป็นภรรยา ๑๘. หญิงรับจ้างชายได้เป็นภรรยา ๑๙. หญิงเชลยได้มาเป็นภรรยา ๒๐. หญิงอยู่กับชายขณะหนึ่งคิดว่าชายนั้นเป็นสามีตน(สำหรับชายต้องห้ามสำหรับหญิง พึงเทียบกลับเอาตามนี้)
    สำหรับศีลข้อที่ ๓ การประพฤติผิดในกาม จะมีโทษมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ
    ๑. คุณความดีของผู้ที่ถูกละเมิด
    ๒. ความแรงของกิเลส
    ๓. ความเพียรพยายามในการประพฤติผิดในกามนั้น

    ๔. มุสาวาทา เวรมณี(เว้นจากการพูดเท็จ)
    ศีลข้อนี้จะขาดต่อเมื่อล่วงพร้อมด้วยองค์ ๔
    ๔.๑ อตฺถํ วตฺถุ เรื่องไม่จริง
    ๔.๒ วิสํวาทนจิตฺตํ จิตคิดจะพูดให้ผิด
    ๔.๓ ตชฺโช วายาโม พยายามพูดออกไป
    ๔.๔ ปรสฺส ตทตฺถวิชานนนํ คนอื่นเข้าใจเนื้อความนั้น
    สำหรับศีลข้อที่ ๔ การพูดเท็จ มีโทษมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ
    ๑. ความเสียหายที่เกิดขึ้นว่ามากน้อยเพียงใด
    ๒. คุณความดีของผู้ที่ถูกละเมิด
    ๓. ผู้พูดนั้นเป็นใคร เช่น
    - คฤหัสถ์ (ผุ้ครองเรือน) ที่โกหกว่า " ไม่มี " เพราะไม่อยากให้ของๆ ตน อย่างนี้มีโทษน้อย แต่การเป็นพยานเท็จมีโทษมาก
    - บรรพชิต พูดเล่นมีโทษน้อย แต่การพูดว่าตน "รู้เห็น " ในสิ่งที่ตนไม่รู้ไม่เห็น จึงมีโทษมาก

    ๕. สุราเมรยมชฺชปมาทฏฐานา เวรมณี(เว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นทางแห่งความประมาท)
    ศีลข้อนี้จะขาดต่อเมื่อล่วงพร้อมด้วยองค์ ๔
    ๕.๑ มทนียํ ของทำให้เมา มีสุรา เป็นต้น
    ๕.๒ ปาตุกมฺยตาจิตฺตํ จิตใคร่จะดื่ม
    ๕.๓ ตชฺโช วายาโม ทำความพยายามดื่ม
    ๕.๔ ปีตปฺปเวสนํ ดื่มให้ไหลล่วงลำคอเข้าไป
    สำหรับศีลข้อที่ ๕ การดื่มน้ำเมา มีโทษมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ
    ๑. อกุศลจิต หรือกิเลสในการดื่ม
    ๒. ปริมาณที่ดื่ม
    ๓. ผลที่เกิดจากการกระทำผิดพลาด ชั่วร้าย ที่ตามมาจากการดื่มน้ำเมา

    อย่างไรก็ตาม การละเมิดศีลในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นศีลขาด ศีลทะลุ ศีลด่าง หรือ ศีลพร้อย ล้วนแล้วแต่ทำให้ใจเราไม่บริสุทธิ์ หรือเรียกว่า “บาป” เป็นหนทางสู่ประตูอบายภูมิ ในการรักษาศีลที่ถูกต้องและบริสุทธิ์ยิ่งขึ้นนั้น ควรกระทำควบคู่กับการรักษากุศลกรรมบถ ๑๐ และตั้งใจว่า เราจะไม่ละเมิดศีลด้วยตนเอง เราจะไม่ยุยงให้คนอื่นผิดศีล และเมื่อเห็นคนอื่นผิดศีลแล้วเราจะไม่พลอยยินดี

    หลักกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ ดังนี้

    ๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์ คือไม่ฆ่าสัตว์ นับตั้งแต่ฆ่าคนทั่วไป ฆ่าสัตว์ ที่มีคุณ และฆ่าสัตว์อื่นๆ
    เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการให้ทุกคนรู้จักแก้ปัญหาโดยสันติวิธี ไม่ใช่โดยวิธีฆ่าอีกฝ่ายหนึ่งเสีย เพราะการฆ่านั้น ผู้ฆ่าย่อมเกิดความทารุณโหดร้ายขึ้นในใจ ทำให้ใจเศร้าหมอง และตนก็ต้องรับผลกรรมต่อไป และต้องคอยหวาดระแวงว่า ญาติพี่น้องเขาจะมาทำร้ายตอบ เป็นการแก้ปัญหา ซึ่งจะสร้างปัญหาอื่นๆ ต่อมาโดยไม่จบสิ้น

    ๒. เว้นจากการลักทรัพย์ คือไม่แสวงหาทรัพย์มาโดยทางทุจริต เช่น
    ลัก = ขโมยเอาลับหลัง
    ฉก = ชิงเอาซึ่งหน้า
    กรรโชก = ขู่เอา
    ปล้น = รวมหัวกันแย่งเอา
    ตู่ = เถียงเอา
    ฉ้อ = โกงเอา
    หลอก = ทำให้เขาหลงเชื่อแล้วให้ทรัพย์
    ลวง = เบี่ยงบ่ายลวงเขา
    ปลอม = ทำของที่ไม่จริง
    ตระบัด = ปฏิเสธ
    เบียดบัง = ซุกซ่อนเอาบางส่วน
    สับเปลี่ยน = แอบเปลี่ยนของ
    ลักลอบ = แอบนำเข้าหรือออก
    ยักยอก = เบียดบังเอาของในหน้าที่ตน
    เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการให้ทุกคนทำมาหาเลี้ยงชีพโดยสุจริต ซึ่งจะทำให้ใช้ทรัพย์ได้เต็มอิ่ม ไม่ต้องหวาดระแวงว่าจะมีใครมาทวงคืน

    ๓. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม คือไม่กระทำผิดในทางเพศ ไม่ลุอำนาจแก่ความกำหนัด เช่น การเป็นชู้กับสามีภรรยาคนอื่น การข่มขืน การฉุดคร่าอนาจาร
    เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการให้ทุกคนมีจิตใจสูง เคารพในสิทธิของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เป็นการรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคม

    ๔. เว้นจากการพูดเท็จ คือต้องไม่เจตนาพูดให้ผู้ฟังเข้าใจผิดไปจากความเป็นจริง ซึ่งรวมถึงการทำเท็จให้คนอื่นหลงเชื่อรวม ๗ วิธีด้วยกัน คือ
    พูดปด = โกหกซึ่งๆ หน้า
    ทนสาบาน = อ้างสิ่งต่างๆ ทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อ
    ทำเล่ห์กระเท่ห์ = ทำกลอุบายหรือเงื่อนงำอันอาจทำให้คนอื่นหลงเข้าใจผิด
    มารยา = เช่น เจ็บน้อยทำเป็นเจ็บมาก
    ทำเลศ = ทำทีให้ผู้อื่นตีความคลาดเคลื่อนเอาเอง
    เสริมความ = เรื่องนิดเดียวทำให้เห็นเป็นเรื่องใหญ่
    อำความ = เรื่องใหญ่ปิดบังไว้ให้เป็นเรื่องเล็กน้อย
    การเว้นจากพูดเท็จต่างๆ เหล่านี้ หมายถึง
    - ไม่ยอมพูดคำเท็จเพราะเหตุแห่งตน กลัวภัยจะมาถึงตนจึงโกหก
    - ไม่ยอมพูดคำเท็จเพราะเหตุแห่งคนอื่น รักเขาอยากให้เขาได้ ประโยชน์จึงโกหก หรือเพราะเกลียดเขา อยากให้เขาเสียประโยชน์จึงโกหก
    - ไม่ยอมพูดเท็จเพราะเห็นแก่อามิสสินจ้าง เช่น อยากได้ทรัพย์สินเงินทองสิ่งของ จึงโกหก
    เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการให้ทุกคนมีความสัตย์จริง กล้าเผชิญหน้ากับความจริงเยี่ยงสุภาพชน ไม่หนีปัญหา หรือหาประโยชน์ใส่ตัวด้วยการพูดเท็จ

    ๕. เว้นจากการพูดส่อเสียด คือไม่เก็บความข้างนี้ไปบอกข้างโน้น เก็บความข้างโน้นมาบอกข้างนี้ ด้วยเจตนาจะยุแหย่ให้เขาแตกกัน ควรกล่าวแต่ถ้อยคำที่ทำให้เกิดความสมัครสมานสามัคคี
    เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการไม่ให้คนเราหาความชอบด้วยการประจบสอพลอ ไม่เป็นบ่างช่างยุ ต้องการให้หมู่คณะสงบสุขสามัคคี

    ๖. เว้นจากการพูดคำหยาบ คือไม่พูดคำซึ่งทำให้คนฟังเกิดความระคายใจ และส่อว่าผู้พูดเองเป็นคนมีสกุลต่ำ ได้แก่
    คำด่า = พูดเผ็ดร้อน แทงหัวใจ พูดกดให้ต่ำ
    คำประชด = พูดกระแทกแดกดัน
    คำกระทบ = พูดเปรียบเปรยให้เจ็บใจเมื่อได้คิด
    คำแดกดัน = พูดกระแทกกระทั้น
    คำสบถ = พูดแช่งชักหักกระดูก
    คำหยาบโลน = พูดคำที่สังคมรังเกียจ
    คำอาฆาต = พูดให้หวาดกลัวว่าจะถูกทำร้าย
    เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการให้ทุกคนเป็นสุภาพชน รู้จักสำรวมวาจาของตน ไม่ก่อความระคายใจแก่ผู้อื่นด้วยคำพูด

    ๗. เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ คือไม่พูดเหลวไหล ไม่พูดพล่อยๆ สักแต่ ว่ามีปากอยากพูดก็พูดไปหาสาระมิได้ แต่พูดถ้อยคำที่มีสาระ มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง ถูกกาลเวลา มีประโยชน์
    เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการให้ทุกคนมีความรับผิดชอบต่อถ้อยคำของตน

    ๘. ไม่โลภอยากได้ของเขา คือไม่เพ่งเล็งที่จะเอาทรัพย์ของคนอื่นในทางทุจริต
    เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการให้คนเราเคารพในสิทธิข้าวของของผู้อื่น มีจิตใจสงบไม่ฟุ้งซ่านไหวกระเพื่อมไปเพราะความอยากได้ทรัพย์ของผู้อื่น ทำให้มีใจผ่องแผ้ว มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ พร้อมที่จะสร้างประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม

    ๙. ไม่พยาบาทปองร้ายเขา คือไม่ผูกใจเจ็บ ไม่คิดอาฆาตล้างแค้น ไม่จองเวร มีใจเบิกบาน แจ่มใสไม่ขุ่นมัว ไม่เกลือกกลั้วด้วยโทสะจริต
    เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการให้คนเรารู้จักให้อภัยทาน ไม่คิดทำลาย ทำให้จิตใจสงบผ่องแผ้ว เกิดความคิดสร้างสรรค์

    ๑๐. ไม่เห็นผิดจากคลองธรรม คือไม่คิดแย้งกับหลักธรรม เช่น มีความเห็นที่เป็น สัมมาทิฏฐิพื้นฐาน ๘ ประการ คือ
    ๑. เห็นว่าการให้ทานดีจริง ควรทำ
    ๒. เห็นว่าการบูชาบุคคลที่ควรบูชาดีจริง ควรทำ
    ๓. เห็นว่าการต้อนรับแขกมีผล ควรทำ
    ๔. เห็นว่าผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วมีจริง
    ๕. เห็นว่าโลกนี้โลกหน้ามีจริง
    ๖. เห็นว่าบิดามารดามีพระคุณต่อเราจริง
    ๗. เห็นว่าสัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมีจริง (นรกสวรรค์มีจริง)
    ๘. เห็นว่าสมณพราหมณ์ที่หมดกิเลสแล้วมีจริง

    หมายเหตุ ข้อ ๕ อาจแยกเป็น โลกนี้มีจริง ๑- โลกหน้ามีจริง ๑
    ข้อ ๖ อาจแยกเป็น บิดามีพระคุณจริง ๑ มารดามีพระคุณจริง ๑
    ซึ่งถ้าแยกแบบนี้ก็จะรวมได้เป็น ๑๐- ข้อ แต่เนื้อหาเหมือนกัน
    เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการให้คนเรามีพื้นใจดี มีมาตรฐานความคิดที่ถูกต้อง ยึดถือค่านิยมที่ถูกต้อง มีวินิจฉัยถูก มีหลักการ มีแนวความคิดที่ถูกต้อง ส่งผลให้ความคิดในเรื่องอื่น ถูกต้องตามไปด้วย

    "เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้สักอย่าง ซึ่งจะเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดได้เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เพิ่มพูนไพบูลย์ยิ่งขึ้นเหมือนอย่างสัมมาทิฏฐินี้เลย" องฺ. เอก. ๒๐/๑๘๒/๔๐

    คุณธรรมทั้ง ๑๐ ประการนี้ คนทุกคนจำเป็นต้องฝึกให้มีในตน โดยเฉพาะผู้นำ ผู้ที่จะบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม จะต้องฝึกให้มีในตนอย่างเต็มที่ จึงจะทำงานได้ผลดี

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักปฏิบัติที่ตั้งใจประพฤติปฏิบัติให้ตนเองพ้นทุกข์นั้น จะต้องมีการรักษาศีลของตนให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่เสมอ เมื่อศีลบริสุทธิ์แล้ว จะมีความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติ และเข้าสู่กระแสของมรรค ผล นิพพานในที่สุด

    มหาทาน ๕
    ทานที่ยิ่งใหญ่ ลงทุนน้อย ได้ผลมาก มี ๕ ประการ คือ
    ๑. เว้นจากปาณาติบาต คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ เท่ากับให้ความปลอดภัยแก่ชีวิตสัตว์ทั้งหลาย
    ๒. เว้นจากอทินนาทาน คือ เว้นจากการลักทรัพย์เท่ากับให้ความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของผู้อื่น
    ๓. เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร คือ เว้นประพฤติผิดในกามเท่ากับให้ความบริสุทธิ์กับภรรยา ธิดา และตนเอง
    ๔. งดเว้นจากมุสาวาท คือ เว้นจากการพูดปด พูดไม่จริง เท่ากับให้ความจริงแก่ผู้อื่น
    ๕. งดเว้นจากสุรา-เมรัย ไม่เสพ ไม่ดื่ม เท่ากับให้ความปลอดภัยแก่ตนเองและผู้อื่น

    พุทธพจน์
    ในการสมาทานศีล ๕ รักษาศีล ๕ ที่บริสุทธิ์บริบูรณ์ ไว้ได้นั้นภูมิจิตจะยกสูงขึ้นสู่โสดาปัตติผล
    พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า...
    " แม้เพียงโสดาปัตติผลเท่านั้นยังประเสริฐกว่าความเป็นเอกราชในแผ่นดิน ประเสริฐกว่าการกำเนิดเป็นเทพในสวรรค์ ประเสริฐกว่าความเป็นใหญ่ในโลกทั้งปวง เมื่อเป็นดังนี้ จะกล่าวไปใยถึง อรหัตผล เล่าว่า....มีผลเลิศเพียงใด "
    พระพุทธองค์เทศนาให้พระเจ้าอชาตศัตรูฟัง ว่า......
    ภายหลังพระราชบิดาและพระราชมารดาสิ้นพระชนม์แล้ว ได้ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภกในการสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยครั้งแรก ภายหลังพุทธปรินิพพาน
    เมื่อศีล ๕ ทำให้ผู้ประพฤติ ประเสริฐกว่าเทพในสวรรค์ ประเสริฐกว่าความเป็นใหญ่ในโลกทั้งปวง เราควรจะสมาทานศีลห้ารักษาศีลห้าไว้ให้ได้ เมื่อสิ้นอายุขัยแล้วจะได้ไปอุบัติในโลกสวรรค์ ในเทวภูมิ ๖ ภูมินั้น ด้วยกำลังอำนาจของศีล
    https://youtu.be/f4jIPMJCmo8 [https://youtu.be/f4jipmjcmo8&h=daqh...pged6sg81vfuwmbvvus8hvvecadgebfbp4&s=1_green]

    นรกในพระไตรปิฎก ผู้ที่ผิดศีล๕ แต่ละข้อ
    https://www.facebook.com/dhamma.tru...7232597706724/565621286867855/?type=3&theater
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 เมษายน 2016
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 599
    โกกาลิกสูตรที่ ๑๐ ว่าด้วยกรรมที่ให้เกิดในนรก ตอน๑
    -https://www.facebook.com/dhamma.true/-

    โกกาลิกสูตรที่ ๑๐
    ว่าด้วยกรรมที่ให้เกิดในนรก

    [๓๘๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
    ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล โกกาลิกภิกษุ
    เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน
    ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ตกอยู่ใน
    อำนาจแห่งความปรารถนาลามก พระเจ้าข้า.

    [๓๘๕] เมื่อโกกาลิกภิกษุกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า
    ได้ตรัสกะโกกาลิกภิกษุว่า โกกาลิกะ เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้ โกกาลิกะ เธอ
    อย่าได้กล่าวอย่างนี้ เธอจงยังจิตให้เลื่อมใสในสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด
    สารีบุตรและโมคคัลลานะมีศีลเป็นที่รัก.
    แม้ครั้งที่ ๒ โกกาลิกภิกษุก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่
    พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชักนำข้าพระองค์ให้จงใจเชื่อ ให้
    เลื่อมใสก็จริง แต่พระสารีบุตรและโมคคัลลานะเป็นผู้มีความปรารถนาลามก
    แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสกะโกกาลิกภิกษุว่า โกกาลิกะ เธอ
    อย่าได้กล่าวอย่างนี้ โกกาลิกะ เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย เธอจงยังจิตให้
    เลื่อมใสในสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด สารีบุตรและโมคคัลลานะมีศีลเป็น
    ที่รัก.
    แม้ครั้งที่ ๓. . .

    ลำดับนั้นแล โกกาลิกภิกษุลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระ-
    ภาคเจ้ากระทำประทักษิณแล้วหลีกไป เมื่อโกกาลิกภิกษุหลีกไปแล้วไม่นานนัก
    ได้มีต่อมประมาณเมล็ดพันธุ์ผักกาดเกิดขึ้นทั่วกาย ครั้นแล้ว เป็นย่อมประมาณ
    เท่าเมล็ดถั่วเขียว เท่าเมล็ดถั่วดำ เท่าเมล็ดพุดทรา เท่าผลพุดทรา เท่าผล
    มะขามป้อม เท่าผลมะตูมอ่อน เท่าผลขนุนอ่อน แตกหัวแล้ว หนองและ
    เลือดไหลออก ลำดับนั้น โกกาลิกภิกษุมรณภาพเพราะอาพาธนั้นเอง ครั้น
    โกกาลิกภิกษุมรณภาพแล้ว ก็ย่อมอุบัติในปทุมนรก เพราะจิตคิดอาฆาตใน
    พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ. ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหม เมื่อ
    ปฐมยามล่วงไปแล้ว มีรัศมีงามยิ่ง ทำพระเชตวันสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้า
    พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมเเล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
    ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โกกาลิก-
    ภิกษุมรณภาพแล้ว ครั้นแล้วอุบัติในปทุมนรก เพราะจิตคิดอาฆาตในพระ-
    สารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ท้าวสหัมบดีพรหมครั้นกราบทูลดังนี้แล้ว
    กระทำประทักษิณแล้ว ได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง.
    ครั้นพอล่วงราตรีนั้น ไป พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว ท้าวสหัมบดีพรหม
    มีรัศมีอันงามยิ่ง ทำวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ อภิวาท
    แล้วยืนอยู่ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    โกกาลิกภิกษุมรณภาพแล้วอุบัติในปทุมนรก เพราะจิตคิดอาฆาตในพระสารีบุตร
    และพระโมคคัลลานะ ท้าวสหัมบดีพรหม ครั้นกล่าวดังนี้แล้ว กระทำ
    ประทักษิณแล้ว ได้อันตรธานหายไปในที่นั้นเอง.

    [๓๘๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูล
    ถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ประมาณอายุในปทุมนรก
    นานเพียงใด พระเจ้าข้า.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ประมาณอายุในปทุมนรก
    นานนัก การนับประมาณอายุในปทุมนรกนั้นว่า เท่านี้ปี เท่านี้ร้อยปี เท่านี้
    พันปี หรือว่าเท่านี้แสนปี ไม่ใช่ทำได้ง่าย.
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระองค์สามารถจะทรงกระทำการเปรียบ
    เทียบได้หรือไม่ พระเจ้าข้า.

    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับว่า สามารถ ภิกษุ ดังนี้แล้ว ตรัสว่า
    ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนเกวียนที่บรรทุกงาหนัก ๒๐ หาบของชาวโกศล
    เมื่อล่วงไปได้ร้อยปี พันปี แสนปี บุรุษพึงหยิบเมล็ดงาขึ้นจากเกวียนนั้นออก
    ทิ้งเมล็ดหนึ่ง ๆ ดูก่อนภิกษุ เกวียนที่บรรทุกงาหนัก ๒๐ หาบของชาวโกศล
    นั้น จะพึงถึงความสิ้นไปโดยลำดับนี้เร็วเสียกว่า แต่อัพพุทนรกหนึ่งจะไม่พึง
    ถึงความสิ้นไปได้เลย ดูก่อนภิกษุ ๒๐ อัพพุทนรกเป็นหนึ่งนิรัพพุทนรก ๒๐
    นิรัพพุทนรกเป็นหนึ่งอัพพนรก ๒๐ อัพพนรกเป็นหนึ่งอหหนรก ๒๐ อหห-
    นรกเป็นหนึ่งอฎฏนรก ๒๐ อฏฏนรกเป็นหนึ่งกุมุทนรก ๒๐ กุมุทนรกเป็น
    หนึ่งโสคันธิกนรก ๒๐ โสคันธิกนรกเป็นหนึ่งอุปลกนรก ๒๐ อุปลกนรก
    เป็นหนึ่งปุณฑรีกนรก ๒๐ ปุณฑรีกนรกเป็นหนึ่งปทุมนรก อย่างนี้ ก็โกกาลิก-
    ภิกษุอุบัติในปทุมนรกเพราะจิตคิดอาฆาตในสารีบุตรและโมคคัลลานะ.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว
    จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า

    [๓๘๗] วาจาหยาบเช่นกับขวาน
    เกิดในปากของบุรุษแล้ว เป็นเหตุตัดรอน
    ตนเองของบุรุษผู้เป็นพาล ผู้กล่าวคำทุภาษิต
    ผู้ใดสรรเสริญคนที่ควรนินทา หรือนินทา
    คนที่ควรสรรเสริญ ผู้นั้นย่อมก่อโทษเพราะ
    ปาก ย่อมไม่ได้ความสุขเพราะโทษนั้น การ
    แพ้ด้วยทรัพย์เพราะเล่นการพนันเป็นโทษ
    เพียงเล็กน้อย โทษของผู้ที่ยังใจให้ประทุษ-
    ร้ายในท่านผู้ปฏิบัติดีนี้แล เป็นโทษมากกว่า.

    บุคคลตั้งวาจาและใจอันลามกไว้แล้ว
    เป็นผู้ติเตียนพระอริยเจ้า ย่อมเข้าถึงนรก
    ตลอดกาลประมาณด้วยการนับปี ๑๐๐,๐๐๐
    นิรัพพุทะและ ๔๐ อัพพุทะ.

    ผู้กล่าวคำเท็จย่อมเข้าถึงนรก อนึ่ง
    ผู้ทำกรรมอันลามกแล้ว กล่าวว่าไม่ได้ทำ
    ก็ย่อมเข้าถึงนรกอย่างเดียวกัน แม้คนทั้ง
    สองนั้นเป็นมนุษย์มีกรรมอันเลวทราม ละ
    ไปแล้วย่อมเป็นผู้เสมอกันในโลกเบื้องหน้า.
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 599
    โกกาลิกสูตรที่ ๑๐ ว่าด้วยกรรมที่ให้เกิดในนรก ตอน๑
    -https://www.facebook.com/dhamma.true/-

    ผู้ใดประทุษร้ายต่อคนผู้ไม่ประทุษ-
    ร้าย ผู้เป็นบุรุษหมดจด ไม่มีกิเลสเครื่อง
    ยั่วยวน บาปย่อมกลับมาถึงผู้เป็นพาลนั้นเอง
    เหมือนธุลีละเอียดที่บุคคลซัดไปทวนลม
    ฉะนั้น.

    ผู้ที่ประกอบเนือง ๆ ในคุณคือความ
    โลภ ไม่มีศรัทธา กระด้าง ไม่รู้ความ
    ประสงค์ของผู้ขอ มีความตระหนี่ ประกอบ
    เนือง ๆ ในคำส่อเสียด ย่อมบริภาษผู้อื่น
    ด้วยวาจา.

    แน่ะคนผู้มีปากเป็นหล่ม กล่าวคำ
    อันไม่จริง ผู้ไม่ประเสริฐ ผู้กำจัดความเจริญ
    ลามก ผู้กระทำความชั่ว ผู้เป็นบุรุษในที่สุด
    มีโทษ เป็นอวชาต ท่านอย่าได้พูดมากใน
    ที่นี้ อย่าเป็นสัตว์นรก.

    ท่านย่อมเกลี่ยธุลี คือ กิเลสลงในตน
    เพื่อธรรมมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล ท่านผู้ทำ
    กรรมหยาบ ยังติเตียนสัตบุรุษ ท่านประพฤติ
    ทุจริตเป็นอันมากแล้วย่อมไปสู่มหานรกสิ้น
    กาลนาน.

    กรรมของใคร ๆ ย่อมฉิบหายไปไม่
    ได้เลย บุคคลมาได้รับกรรมนั้นแล เป็น
    เจ้าของแห่งกรรมนั้น (เพราะ) คนเขลาผู้ทำ
    กรรมหยาบ ย่อมเห็นความทุกข์ในตน ใน
    ปรโลก.

    ผู้ทำกรรมหยาบย่อมเข้าถึงสถานที่
    อันนายนิรยบาลนำขอเหล็กมา ย่อมเข้าถึง
    หลาวเหล็กอันคมกริบและย่อมเข้าถึงก้อน
    เหล็กแดงโชติช่วง เป็นอาหารอันสมควรแก่
    กรรมที่ตนทำไว้อย่างนั้น.

    นายนิรยบาลทั้งหลายเมื่อพูดก็พูดไม่
    เพราะสัตว์นรกจะวิ่งหนีก็ไม่ได้ ไม่ได้ที่ต้าน-
    ทานเลย นายนิรยบาลลากขึ้นภูเขาถ่านเพลิง
    สัตว์นรกนั้นนอนอยู่บนถ่านเพลิงอันลาดไว้
    ย่อมเข้าไปสู่กองไฟอันลุกโพลง.

    พวกนายนิรยบาลเอาข่ายเหล็กพัน
    ตีด้วยค้อนเหล็กในที่นั้น สัตว์นรกทั้งหลาย
    ย่อมไปสู่โรรุวนรกที่มืดทึบ ความมืดทึบนั้น
    แผ่ไปเหมือนกลุ่มหมอกฉะนั้น.

    ก็ลำดับนั้น สัตว์นรกทั้งหลาย ย่อม
    เข้าไปสู่หม้อเหล็กอัน ไฟลุกโพลง ลอยฟ่อง
    อยู่ ไหม้อยู่ในหม้อเหล็กนั้น อันไฟลุก
    โพลงสิ้นกาลนาน.
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 599
    โกกาลิกสูตรที่ ๑๐ ว่าด้วยกรรมที่ให้เกิดในนรก ตอน๑
    -https://www.facebook.com/dhamma.true/-

    ก็ผู้ทำกรรมหยาบจะไปสู่ทิศใด ๆ ก็
    หมกไหม้อยู่ในหม้อเหล็กอันเปื้อนด้วยหนอง
    และเลือดในทิศนั้น ๆ ลำบากอยู่ในหม้อ
    เหล็กนั้น.

    ผู้ทำกรรมหยาบหมกไหม้อยู่ในน้ำ
    อันเป็นที่อยู่ของหมู่หนอน ในหม้อเหล็ก
    นั้น ๆ แม้ฝั่งเพื่อจะไปก็ไม่มีเลย เพราะกะทะ
    ครอบอยู่โดยรอบมิดชิดในทิศทั้งปวง.

    และยังมีป่าไม้มีใบเป็นดาบคม สัตว์
    นรกทั้งหลายย่อมเข้าไปสู่ป่าไม้ ถูกดาบ
    ใบไม้ตัดหัวขาด พวกนายนิรยบาล เอาเบ็ด
    เกี่ยวลิ้นออกแล้ว ย่อมเบียดเบียนด้วยการ
    ดึงออกมา ๆ
    ก็ลำดับนั้น สัตว์นรกทั้งหลายย่อม
    เข้าถึงแม่น้ำด่างอันเป็นหล่ม ย่อมเข้าถึงคม
    มีดโกนอันคมกริบ สัตว์นรกทั้งหลายผู้
    กระทำบาป เป็นผู้เขลา ย่อมตกลงไปบน
    คมมีดโกนนั้น เพราะได้กระทำบาปไว้.

    ก็สุนัขดำ สุนัขด่าง และสุนัขจิ้งจอก
    ย่อมรุมกัดกินสัตว์นรกทั้งหลาย ผู้ร้องไห้อยู่
    ในที่นั้น ฝูงกาดำ แร้ง นกตะกรุม และกา
    ไม่ดำ ย่อมรุมกันจิกกิน.

    คนผู้ทำกรรมหยาบ ย่อมเห็นความ
    เป็นไปในนรกนี้ยากหนอ เพราะฉะนั้น
    นรชนพึงเป็นผู้ทำกิจที่ควรทำในชีวิตที่ยัง
    เหลืออยู่นี้ และไม่พึงประมาท เกวียน
    บรรทุกงา ผู้รู้ทั้งหลายนับแล้วนำเข้าไป
    เปรียบในปทุมนรก เป็น ๕๑,๒๐๐ โกฏิ.

    นรกเป็นทุกข์ เรากล่าวแล้วใน
    พระสูตรนี้ เพียงใด สัตว์ทั้งหลายผู้ทำกรรม
    หยาบ พึงอยู่ในนรกแม้นั้น ตลอดกาลนาน
    เพียงนั้น เพราะฉะนั้น บุคคลพึงกำหนด
    รักษาวาจา ใจ ให้เป็นปกติในผู้สะอาด
    มีศีลเป็นที่รักและมีคุณดีงามทั้งหลาย.

    จบโกกาลิกสูตรที่ ๑๐
    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 606
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    โกกาลิกสูตรที่ ๑๐ ว่าด้วยกรรมที่ให้เกิดในนรก ตอน๒
    -https://www.facebook.com/dhamma.true/photos/a.557306294366021.1073741828.557232597706724/907176696045644/?type=3&theater-

    -https://www.facebook.com/dhamma.true/photos/a.579242658839051.1073741839.557232597706724/907176696045644/?type=3&theater-


    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 607

    อรรถกถาโกกาลิกสูตรที่ ๑๐
    โกกาลิกสูตร มีคำเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ดังนี้.
    พระสูตรนี้มีการเกิดอย่างไร ?
    การเกิดขึ้นแห่งสูตรนี้ จักมีแจ้งในอรรถกถาแห่งสูตรนั่นแล. บทมี
    อาทิว่า เอวมฺเม สุตํ แห่งสูตรนี้ มีนัยดังได้กล่าวแล้วในอรรถกถานั่นแล
    ก็ในบทว่า อถโข โกกาลิโก นี้ โกกาลิกะนี้เป็นใคร เหตุไรจึง
    เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านกล่าวไว้ดังต่อไปนี้.

    มีเรื่องเล่ามาว่า โกกาลิกะนี้ เป็นบุตรของโกกาลิกเศรษฐี ในเมือง
    โกกาลิกะแคว้น โกกาลิกะ ออกบวชแล้วอาศัยอยู่ในวิหารที่บิดาสร้างไว้นั่นเอง
    มีชื่อว่าจูฬโกกาลิกะ มิใช่เป็นศิษย์ของพระเทวทัต. เพราะโกกาลิกะศิษย์พระ
    เทวทัตนั้นเป็นบุตรพราหมณ์ ชื่อว่ามหาโกกาลิกะ. ได้ยินว่า เมื่อพระผู้มี
    พระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี พระอัครสาวกสองรูปพร้อมด้วยภิกษุ
    ประมาณ ๕๐๐ จาริกไปยังชนบท เมื่อจวนใกล้เข้าพรรษาส่งภิกษุเหล่านั้นกลับ
    ไป ตนเองถือบาตรและจีวรไปถึงนครในชนบทนั้น ได้ไปยังวิหารนั้น ณ ที่นั้น
    พระอัครสาวกทั้งสองรูปสนทนาอยู่กับโกกาลิกภิกษุนั้นแล้วกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส
    เราจักอยู่ ณ ที่นี้สัก ๓ เดือน ท่านอย่าบอกใคร ๆ นะ โกกาลิกภิกษุรับคำ
    ครั้นล่วงไป ๓ เดือน วันหนึ่งโกกาลิกภิกษุรีบเข้าไปยังนครกล่าวว่า ท่านทั้ง
    หลายไม่รู้หรือว่าพระอัครสาวกทั้งสองมาอยู่ ณ ที่นี้จึงไม่มีใครนิมนต์ถวายปัจจัย
    ชาวนครถามว่า ทำไมพระคุณเจ้าไม่บอกพวกผมเล่า. โกกาลิกภิกษุตอบว่า จะ
    บอกไปทำไม พวกท่านไม่เห็นภิกษุสองรูปอาศัยอยู่ดอกหรือ ทั้งสองรูปนั้นเป็น
    พระอัครสาวกมิใช่หรือ. ชาวนครพากันประชุมด่วน นำเนยใส น้ำอ้อยงบ และ
    ผ้าเป็นต้นมาวางไว้ข้างโกกาลิกภิกษุ. โกกาลิกภิกษุคิดว่า พระอัครสาวกทั้งสอง
    เป็นผู้มักน้อยอย่างยิ่ง ครั้นรู้ว่า ลาภเกิดขึ้นเพราะพูดชักชวนจักไม่ยินดีรับ
    เมื่อไม่ยินดีรับ จักพูดว่า ท่านทั้งหลายจงถวายแก่ภิกษุเจ้าอาวาสเถิดเป็นแน่
    เอาเถิดเราจักให้พระอัครสาวกทั้งสองรับลาภนี้ไป. โกกาลิกภิกษุได้ทำอย่างนั้น
    พระเถระทั้งสองเห็นแล้วก็รู้ว่าลาภเกิดขึ้นเพราะพูดชักชวนจึงคิดว่าปัจจัยเหล่านี้
    ไม่ควรแก่เราทั้งสองเลย และไม่ควรแก่โกกาลิกภิกษุด้วย. จึงไม่พูดว่า ท่านทั้ง-
    หลายจงถวายแก่เจ้าอาวาสเถิด ปฏิเสธแล้วก็หลีกไป. ด้วยเหตุนั้น โกกาลิกภิกษุ
    เกิดเสียใจว่า นี่อะไรกัน พระอัครสาวกทั้งสองได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงปวารณาแล้ว หากไม่เสด็จจาริกไปยังชนบทด้วย
    พระองค์เอง ก็ทรงสั่งอัครสาวกทั้งสองไปตรัสว่า จรถ ภิกฺขเว จาริกํ
    พหุชนหิตาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงจาริกไปเพื่อประโยชน์แก่ชน
    เป็นอันมากเถิด ดังนี้เป็นต้น. นี้เป็นประเพณีของพระตถาคตทั้งหลาย.

    แต่สมัยนั้น พระองค์ไม่มีพระประสงค์จะเสด็จไปด้วยพระองค์เอง. จึง
    ทรงส่งพระอัครสาวกทั้งสองไปด้วยพระดำรัสว่า คจฺฉถ ภิกฺขเว จรถ จาริกํ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงไป จงเที่ยวจาริกไปเถิด ดังนี้. พระอัครสาวก
    ทั้งสองพร้อมด้วยภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป เที่ยวจาริกไป ได้ไปถึงนครนั้นใน
    แคว้นนั้น ๆ โดยลำดับ. ชาวนครจำพระเถระทั้งสองได้ จึงเตรียมทานพร้อม
    ด้วยบริขาร สร้างมณฑปกลางนครพากันถวายทาน พร้อมบริขารเข้าไปถวายแด่
    พระเถระทั้งสอง. พระเถระทั้งสองรับแล้วได้ให้แก่ภิกษุสงฆ์. โกกาลิกภิกษุ
    เห็นดังนั้นจึงคิดว่า เมื่อก่อนพระอัครสาวกทั้งสองรูปนี้เป็นผู้มักน้อย บัดนี้ถูก
    ความโลภครอบงำ เกิดเป็นผู้มีความปรารถนาลามกเสียแล้ว เมื่อก่อนท่านทั้ง
    สองนี้คล้ายกับมีความมักน้อย สันโดษ สงัด บัดนี้เห็นจะมีความปรารถนา
    ลามก เป็นภิกษุลามก แสดงคุณของอสัตบุรุษเสียแล้ว. โกกาลิกภิกษุจึงเข้า
    ไปหาพระเถระทั้งสองกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส ท่านทั้งสอง เมื่อก่อนได้เป็นดุจ
    ผู้มักน้อย สันโดษ สงัด แต่บัดนี้ท่านทั้งสองกลับเป็นภิกษุลามกไปเสียแล้ว
    แล้วถือบาตรและจีวรรีบออกไปทันทีทันใด คิดว่าจักกราบทูลความนี้แด่พระผู้
    มีพระภาคเจ้าจึงมุ่งหน้าไปกรุงสาวัตถีเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยลำดับ. ใน
    สูตรนี้โกกาลิกภิกษุนี้ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเหตุนี้. ดังที่พระสังคี-
    ติกาจารย์กล่าวคำเป็นอาทิว่า อถ โข โกกาลิโก ภิกฺขุ เยน ภควา
    เตนุปสงฺกมิ ครั้งนั้นแลโกกาลิกภิกษุเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ
    พระผู้มีพระภาคเจ้าทอดพระเนตรเห็นโกกาลิภิกษุนั้นรีบร้อนมาทรง
    รำพึงดู ได้ทรงทราบว่า โกกาลิกภิกษุมาประสงค์จะด่าพระอัครสาวกทั้งสอง.

    ทรงรำพึงต่อไปว่า สามารถจะทรงห้ามได้หรือไม่หนอ ได้ทรงเห็นว่าไม่
    สามารถจะห้ามได้ โกกาลิกภิกษุนั้นมาเพื่อจะทำร้ายในอัครสาวกทั้งสอง จักเกิด
    ในปทุมนรกโดยแน่นอน. พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทรงปลดเปลื้องคำติเตียน
    ของคนอื่นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ทรงเห็นอย่างนี้ ทรงสดับคำติเตียนพระ
    สารีบุตรและพระโมคคัลลานะแล้วก็มิได้ทรงห้าม และเพื่อแสดงความมีโทษ
    มากของผู้ติเตียนพระอริยะจึงตรัสห้ามถึง ๓ ครั้ง โดยนัยมีอาทิว่า มาเหวํ
    โกกาลิกะ เธออย่าได้กล่าวอย่างนั้น ดังนี้.

    ในบทเหล่านั้น บทว่า มาเหวํ ความว่า เธออย่าได้กล่าวอย่างนั้น.
    บทว่า เปสลา แปลว่า มีศีลเป็นที่รัก. บทว่า สทฺธายิโก คือชักนำให้น้อมใจ
    เชื่อ อธิบายว่า ให้นำมาซึ่งความเชื่อ. บทว่า ปจฺจยิโก ให้เลื่อมใส อธิบาย
    ว่า ให้นำมาซึ่งความปลงใจว่านี้เป็นอย่างนั้น ดังนี้.
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    โกกาลิกสูตรที่ ๑๐ ว่าด้วยกรรมที่ให้เกิดในนรก ตอน๒
    -https://www.facebook.com/dhamma.true/photos/a.557306294366021.1073741828.557232597706724/907176696045644/?type=3&theater-

    -https://www.facebook.com/dhamma.true/photos/a.579242658839051.1073741839.557232597706724/907176696045644/?type=3&theater-

    บทว่า อจิรปกฺกนฺตสฺส คือ เมื่อโกกาลิกภิกษุหลีกไปไม่นานนัก.
    บทว่า สพฺโพ กาโย ผุฏฺโฐ อโหสิ ได้มีต่อมเกิดขึ้นในกาย ความว่า
    ทั่วร่างกายไม่เว้นช่องว่างแม้เพียงปลายผมได้มีต่อมทำลายกระดูกเกิดขึ้นเต็มไป
    หมด เพราะด้วยพุทธานุภาพกรรมเห็นปานนั้นยังมิให้ผลในเมื่ออยู่เฉพาะพระ
    พักตร์พระพุทธเจ้าแต่ให้ผลเมื่อพ้นสายตาไปแล้ว ฉะนั้น เมื่อโกกาลิกภิกษุหลีก
    ไปไม่นานย่อมจึงผุดขึ้น. ด้วยเหตุนั้นแล ท่านจึงกล่าวว่า อจิรปกฺกนฺตสฺส
    โกกาลิกสฺส เมื่อโกกาลิกภิกษุหลีกไปไม่นาน. เมื่อหากจะมีคำถามว่า เมื่อ
    เป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร โกกาลิกภิกษุจึงไม่อยู่ ณ ที่นั้นเล่า. ตอบว่า ด้วย
    อานุภาพของกรรม. เพราะกรรมรอโอกาสให้ผลแน่นอน ฉะนั้น กรรมจึงไม่ให้
    โกกาลิกภิกษุอยู่ ณ ที่นั้น โกกาลิกภิกษุนั้นถูกเตือนด้วยอานุภาพของกรรมจึง
    ลุกจากที่นั่งหลีกไป. บทว่า กฬายมตฺติโย เท่าเมล็ดถั่วดำ คือ เท่าเมล็ดลูกเดือย.
    บทว่า เวฬุวสลาฏุกมตฺติโย คือเท่าผลมะตูมอ่อน. บทว่า ปริภิชฺชึสุ คือ
    แตกแล้ว. เมื่อต่อมทั้งหลายแตกแล้วทั้งตัวได้เป็นเหมือนขนุนสุก. โกกาลิก-
    ภิกษุนั้นมีตัวเปื่อยเน่าถึงความลำบาก ถูกทุกข์ครอบงำ นอนที่ซุ้มประตูพระ-
    เชตวันมหาวิหาร. ลำดับนั้น มนุษย์ทั้งหลายต่างพากันมาเพื่อจะฟังธรรม ครั้น
    เห็นโกกาลิกภิกษุนั้นต่างก็พูดตำหนิว่า โธ่ โกกาลิกะ โธ่ โกกาลิกะ ทำกรรม
    ไม่สมควรเลย ท่านอาศัยปากของตนเองแท้ ๆ จึงถึงความลำบาก. บรรดา
    อารักขเทวดาได้สดับคำของมนุษย์เหล่านั้น ก็ได้ติเตียนเป็นเสียงเดียวกัน.
    บรรดาอากาศเทวดาได้ฟังเสียงของอารักขเทวดา ก็ติเตียนเป็นเสียงเดียวกัน
    ด้วยอุบายนี้ จนถึงอกนิฏฐภพ.

    ครั้งนั้น ภิกษุชื่อจตุที๑ อุปัชฌาย์ของโกกาลิกภิกษุบรรลุอนาคามิผล
    บังเกิดเป็นพรหมชั้นสุทธาวาส. พรหมนั้นออกจากสมาบัติได้สดับคำติเตียนนั้น
    จึงมาให้โอวาทโกกาลิกภิกษุ เพื่อให้เกิดจิตเลื่อมใสในพระสารีบุตรและพระ-
    โมคคัลลานะ. โกกาลิกภิกษุนั้นไม่เธอคำของพรหมนั้นได้ถึงมรณภาพทั้ง ๆ ที่ไม่
    เลื่อมใสนั่นเองไปบังเกิดในปทุมนรก. ด้วยเหตุนั้นพระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า
    อถโข โกกาลิโก ภิกฺขุ เตเนว ปาเปน ฯเปฯ อาฆาเตตฺวา เป็นต้น
    ความว่า ครั้งนั้นแล โกกาลิกภิกษุมรณภาพเพราะบาปนั้นเอง ครั้นโกกาลิก-
    ภิกษุมรณภาพแล้วก็ไปเกิดในปทุมนรก เพราะจิตอาฆาตในพระสารีบุตรและ
    พระโมคคัลลานะ.

    บทว่า อถ โข พฺรหฺมา สหมฺปติ ครั้งนั้นแลสหัมบดีพรหม ความ
    ว่า พรหมนี้เป็นใคร ก็และเพราะเหตุไรจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
    กล่าวคำนี้. สหัมบดีพรหมนี้ ครั้งศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า
    กัสสปะ เป็นภิกษุชื่อว่าสหกะ เป็นพระอนาคามีบังเกิดใน สุทธาวาสมหาพรหม.
    ที่สุทธาวาสนั้น พรหมทั้งหลายเรียกท่านว่า สหัมบดีพรหม. สหัมบดีพรหม
    นั้นดำริว่า เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามถึงปทุมนรก แต่นั้น
    พระผู้มีพระภาคเจ้าจักตรัสบอกแก่ภิกษุทั้งหลาย ทีนั้นภิกษุทั้งหลายผู้ฉลาดใน
    การลำดับเรื่องจักทูลถามกำหนดอายุในปทุมนรกนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อ
    (๑. บางแห่งเป็น ตุทุพรหม.)

    จะตรัสบอกกำหนดอายุนั้นจักทรงประกาศโทษในการติเตียนพระอริยะ ด้วยเหตุ
    นี้ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลเรื่องนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรง
    กระทำอย่างนั้น. แม้ภิกษุรูปหนึ่งก็ได้ทูลถามขึ้น. ครั้นภิกษุรูปนั้นทูลถามแล้ว
    พระผู้มีพระภาคเจ้าจงตรัสคำมีอาทิว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขุ ดังนี้.

    ในบทเหล่านั้น บทว่า วีสติขาริโก ๒๐ ขาริ คือ ๔ ปัตถะโดย
    ปัตถะของชาวมคธ เป็น ๑ ปัตถะในแคว้นโกศล, โดยปัตถะนั้น ๔ ปัตถะเป็น
    ๑ อาฬหกะ, ๔ อาฬหกะเป็น ๑ โทณะ, ๔ โทณะเป็น ๑ มาณิกะ, ๔ มาณิกะ
    เป็น ๑ ขาริ, เป็น ๒๐ ขาริ ด้วยขารินั้น (ขาริหนึ่งเท่ากับ ๑,๒๕๖ ทะนาน
    ๒๐ ขาริ เท่ากับ ๒๕,๑๒๐ ทะนาน). บทว่า ติลวาโห ได้แก่ เกวียนบรรทุกงา.

    บทว่า อพฺพุโท นิรโย อัพพุทนรก คือ ชื่อว่าอัพพุทนรก ไม่มีนรกจัดไว้
    เฉพาะไร ๆ แต่โอกาสที่ได้รับความเร่าร้อน ด้วยการนับอัพพุทะ (๑๐๐ ล้านปี)
    ในอเวจีนั่นแหละท่านกล่าวว่า อัพพุทนรก. ในนิรัพพุทนรกเป็นต้นก็มีนัยนี้.
    ในนิรัพพุทนรกนั้น พึงทราบการนับปีอย่างนี้, ๑๐๐ แสนเป็น ๑ โกฏิ, ๑๐๐
    แสนโกฏิ เป็น ๑ ปโกฏิ, ๑๐๐ แสนปโกฏิ เป็น ๑ โกฏิปโกฏิ, ๑๐๐ แสนโกฏิ-
    ปโกฏิ เป็น ๑ นหุต, ๑๐๐ แสนนหุต เป็น ๑ นินนหุต, ๑๐๐ แสนนินนหุต
    เป็น ๑ อัพพุทะ, เอา ๒๐ คูณอัพพุทะ เป็น ๑ นิรัพพุทะ. ในนรกทั้งปวงก็มี
    นัยนี้. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ในนรกนั้น ๆ ได้ชื่อโดยความต่างแห่งการ
    เสวยทุกข์บ้าง โดยความต่างแห่งกรรมกรณ์บ้าง. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า
    นรกเหล่านี้เป็นสีตนรก. บทว่า อถาปรํ ท่านกล่าวหมายถึงคาถาประพันธ์แสดง
    ความให้พิเศษไปจากความนั้น. ใน ๒๐ คาถา คาถาหนึ่งนี้ว่า สตํ สหสฺสานิ
    ๑๐๐ พัน คือ หนึ่งแสน แสดงความดังที่กล่าวแล้วโดยปาฐะนั้นเอง. คาถาที่
    เหลือแสดงความต่างกันออกไป. แต่สองคาถาสุดท้ายไม่มีในปาฐะที่วินิจฉัยไว้
    แล้วในมหาอรรถกถา ด้วยเหตุนั้นจะได้กล่าวใน ๒๐ คาถา.

    ในบทเหล่านั้น บทว่า กุฐารี ได้แก่ วาจาหยาบเช่นกับขวานเพราะ
    เฉือนตัวเอง. บทว่า ฉินฺทติ ตัด คือตัดรอนรากเหง้าของตนคือกุศลมูล. บท
    ว่า นินฺทิยํ แปลว่า ควรนินทา. บทว่า ตํ วา นินฺทติ โย ปสํสิโย ผู้ใด
    นินทาคนที่ควรสรรเสริญ ความว่า บุคคลใดควรสรรเสริญด้วยอรรถว่า เป็นผู้
    สงสุด กลับยกโทษติเตียนบุคคลนั้น ว่าเป็นผู้มีความปรารถนาลามกเป็นต้น.

    บทว่า วิจินาติ แปลว่า ย่อมก่อ. บทว่า กลึ แปลว่า โทษ. บทว่า อยํ กลิ
    ได้แก่ โทษนี้. บทว่า อกฺเขสุ เพราะเล่นการพนัน. บทว่า สพฺพสฺสาปิ
    สหาปิ อตฺตนา คือ กับทรัพย์ของตนทั้งหมดบ้าง กับตนเองบ้าง. บทว่า
    สุคเตสุ ในพระสุคตทั้งหลาย ได้แก่ ในพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและ
    พระสาวกมีชื่อว่าสุคต เพราะไปด้วยดีและเพราะไปสู่ฐานะดี. บทว่า มนํ
    ปทูสเย ยังใจให้ประทุษร้าย ท่านอธิบายว่า ใจของผู้ประทุษร้ายในพระพุทธเจ้า
    พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวก มีโทษมากกว่า. เพราะเหตุไร. เพราะบุคคล
    ตั้งวาจาและใจอันลามกไว้แล้ว เป็นผู้ติเตียนพระอริยเจ้าย่อมเข้าถึงนรกตลอด
    กาล ประมาณด้วยการนับปี ๑๐๐,๐๐๐ นิรัพพุทะ และ ๑๖๐ อัพพุทะ ท่าน
    อธิบายว่า เพราะบุคคลตั้งวาจาและใจอันลามก เป็นผู้ติเตียนพระอริยเจ้าย่อม
    เข้าพึงนรก คือหมกไหม้อยู่ในนรกนั้นตลอดกาลประมาณตัวการนับปี. นี้เป็น
    ประมาณอายุในปทุมนรกโดยสังเขป.

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 613
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    โกกาลิกสูตรที่ ๑๐ ว่าด้วยกรรมที่ให้เกิดในนรก ตอน๓ จบ
    -https://www.facebook.com/dhamma.true/photos/a.557306294366021.1073741828.557232597706724/907177682712212/?type=3&theater-

    -https://www.facebook.com/dhamma.true/photos/a.579242658839051.1073741839.557232597706724/907177682712212/?type=3&theater-

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 614

    บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงชี้แจงความนี้ให้แจ่มแจ้งโดยอีก
    นัยหนึ่งว่า ผู้ที่ยังใจให้ประทุษร้ายในพระสุคตทั้งหลาย มีโทษมากกว่านัก จึง
    ตรัสคำมีอาทิว่า อภูตวาที คนพูดเท็จ.

    ในบทเหล่านั้น บทว่า อภูตวาที ได้แก่ คนพูดเหลาะแหละเพราะ
    ติเตียนพระอริยเจ้า. บทว่า นิรยํ ได้แก่ ปทุมนรกเป็นต้น. บทว่า เปจฺจ
    สมา ภวนฺติ ได้แก่ ละจากโลกนี้ไปแล้วย่อมเสมอกันในการเข้าถึงนรก. บทว่า
    ปรตฺถ คือในโลกอื่น. ยิ่งกว่านั้นมีอะไรอีก ในบทว่า โย อปฺปทุฏฺฐสฺส นี้พึง
    ทราบว่า ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ประทุษร้าย เพราะไม่มีโทษ ชื่อว่าเป็นผู้บริสุทธิ์
    เพราะไม่มีมลทินคืออวิชชา, ชื่อว่า เป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน เพราะไม่มี
    ความปรารถนาลามก. ในบทนี้พึงประกอบอย่างนี้ว่า เป็นผู้บริสุทธิ์ เพราะ
    เป็นผู้ไม่ประทุษร้าย และเป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน เพราะเป็นผู้บริสุทธิ์.

    พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงชี้ถึงผู้ที่มีใจประทุษร้ายในพระสุคตทั้ง-
    หลายมีโทษมากกว่าอย่างนี้แล้ว จึงตรัสคาถาที่ ๑๔ ชื่อว่า ธาริตวัตถุคาถา
    (คาถาเรื่องที่พระองค์ทรงตั้งไว้).
    นัยว่า คาถาเหล่านั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวสอนโกกาลิก-
    ภิกษุผู้กำลังจะตายนั่นเอง. อาจารย์บางคนกล่าวว่า มหาพรหมกล่าวสอน. เพื่อ
    สงเคราะห์คาถาเหล่านั้นให้เป็นอันเดียวกันกับสูตรนี้ จึงอ้างถึงบทนี้มีอาทิว่า
    โย โลภคุเณ อนุยุตฺโต ผู้ที่ประกอบเนือง ๆ ในคุณคือความโลภ ดังนี้.

    ในคาถานั้นพึงทราบวินิจฉัยในคาถาต้นก่อน ความโลภเท่านั้นชื่อว่า
    คุณคือความโลภ เพราะ อ้าง ถึงบทว่า คุโณ หรือเพราะเป็นไปหลาย ๆ ครั้ง.
    บทว่า โลภคุโณ นี้เป็นชื่อของตัณหา. บทว่า อวทญฺญู ไม่รู้ความประสงค์
    ของผู้ขอ. คือ ชื่อว่าไม่รู้คำพูด เพราะไม่ถือโอวาทแม้ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
    บทว่า มจฺฉรี มีความตระหนี่ คือด้วยความตระหนี่ห้าอย่าง. ชื่อว่าเป็นผู้
    ประกอบเนือง ๆ ในคำส่อเสียด เพราะประสงค์จะให้อัครสาวกทั้งสองแตกกัน.

    บทที่เหลือปรากฏชัดแล้ว บทนี้ท่านอธิบายว่า ดูก่อนโกกาลิกะผู้มีอายุ ผู้ใด
    เป็นเช่นท่าน ประกอบเนือง ๆ ในคุณคือความโลภ ไม่มีศรัทธา กระด้าง ไม่รู้
    ความประสงค์ของผู้ขอ ตระหนี่ ประกอบเนือง ๆ ในคำพูดส่อเสียด ผู้นั้น
    ย่อมบริภาษผู้อื่นคือบุคคลที่แม้ไม่ควรพูดถึงด้วยวาจา ด้วยเหตุนั้นเราจึงกล่าว
    คาถาที่สามว่า มุขทุคฺค แน่ะคนผู้มีปากเป็นหล่ม. ต่อไปนี้เป็นอธิบายบทที่
    ยากของบทว่า มุขทุคฺค นั้น แน่ะคนผู้มีปากเป็นหล่ม คือมีปากไม่เรียบร้อย
    กล่าวคำไม่จริง คือปราศจากความจริง พูดจาเหลาะแหละ ผู้ไม่ประเสริฐ คือ
    เป็นอสัตบุรุษ ผู้กำจัดความเจริญ คือกำจัดความสมบูรณ์ ทำความสมบูรณ์
    ให้พินาศ ผู้เป็นที่สุดคน คือ อาพับ ผู้มีโทษ คือ เป็นผู้เคราะห์ร้าย ผู้เป็น
    อวชาต คือเป็นอวชาตบุตร (บุตรที่เลว) ของพระพุทธเจ้า ท่านเกลี่ยธุลี คือ
    กิเลสลงในตน. บทว่า ปปตํ ได้แก่ มหานรก. ปาฐะว่า ปปฏํ ก็มี.
    ความอย่างเดียวกัน . ปาฐะว่า ปปตฺตํ คือมหานรก. บทว่า ห ในบทว่า
    เอติ ห ตํ นี้เป็นนิบาต. บทว่า ตํ ได้แก่กุศลกรรมและอกุศลกรรมนั้น. อีก
    อย่างหนึ่ง บทว่า หตํ ได้แก่ไปแล้วคือถึงแล้ว. อธิบายว่า สะสมแล้ว.

    บทว่า สุวามิ คือ เป็นเจ้าของกรรมนั้น เพราะได้ทำไว้. ท่านอธิบายว่า
    เพราะเขาได้กรรมนั้นไว้ กรรมนั้นของเขาจึงไม่หายไป. ก็เพราะเขาได้ (กรรม)
    ไว้ ฉะนั้น คนเขลาผู้ทำกรรมหยาบ ย่อมเห็นความทุกข์ของตนในปรโลก.
    บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงประกาศถึงทุกข์ที่คนเขลาเห็นจึง
    ตรัสคำมีอาทิว่า อโย สงฺกุสมาหฏํ ฐานํ ย่อมเข้าถึงหลาวเหล็กอันคมกริบ.

    ในบทนั้น พึงทราบความในกึ่งคาถาต้นก่อน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
    หมายถึงฐานะอันนำมาซึ่งหลาวเหล็กอันใด ตรัสว่า ตเมนํ ภิกฺขเว นิรฺยปาลา
    ปญฺจวิธพนฺธนํ นาม กมฺมกรณํ กาเรนฺติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นายนิริยบาล
    ให้ลงกรรมกรณ์ เครื่องจองจำ ๕ อย่างนั้น ดังนี้ ผู้ทำกรรมหยาบย่อมเข้าถึง
    ฐานะนั้น เมื่อเข้าถึง นายนิริยบาลให้นอนเหนือแผ่นดินอันร้อนจัดบนหลาว
    เหล็กนั้น แล้วเข้าถึงหลาวเหล็กอันคมกริบ แข็ง ร้อน ถูกนายนิริยบาลโบย
    ในที่ ๕ แห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงหลาวเหล็ก จึงตรัสว่า ตตฺตํ
    อโยขิลํ หตฺเถ คเมนฺติ นายนิริยบาลถือกอันเหล็กร้อนมา.

    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดาถากึ่งหนึ่งต่อจากนั้น ทรงหมายถึงคำที่พระ-
    องค์ตรัสไว้ว่า นายนิริยบาลยัดก้อนเหล็กร้อนลงในปากของสัตว์นรกผู้เผาไหม้
    อยู่ในนรกนั้นหลายพันปี แล้วไปยังฝั่งแม่น้ำแสบ ตามลำดับเพื่อเสวยผลกรรม
    ที่เหลือจากการถูกเผาไหม้ นายนิริยบาลกรอกน้ำทองแดงร้อนลงในปาก.
    ในบทเหล่านั้น บทว่า อโย คือ โลหะ. บทว่า คุฬสนฺนิภํ ก้อน
    เหล็กแดงโชติช่วง คือมีสัณฐานเหมือน ผลมะตูม. ในบทว่า อโย นี้ พึง
    ทราบโลหะทองแดงด้วย อย ศัพท์ นอกนั้น พึงทราบว่าเป็นก้อนเหล็ก.
    บทว่า ปฏิรูปํ คือ สมควรแก่กรรมที่ทำไว้.

    พึงทราบวินิจฉัยในคาถาอื่นจากนั้นดังต่อไปนี้ บทว่า น หิ วคฺคุ
    ความว่า นายนิรบาลพูดว่า จงจับ จงประหาร ดังนี้เป็นต้น ไม่พูดคำไพเราะ
    เลย. บทว่า นาภิชวนฺติ จะวิ่งหนีก็ไม่ได้ คือจะทำเป็นหน้าเบิกบานก็
    ไม่ได้ จะทำหน้ายิ้มเข้าไปหาก็ไม่ได้. ท่านอธิบายว่า จะเข้าไปหาเพราะนำ
    ความพินาศมาให้ก็ไม่ได้. บทว่า น ตาณมุเปนฺติ ไม่ได้ที่ต้านทานเลย คือ
    จะเข้าไปขอความต้านทาน ที่ซ่อนเร้น ที่อาศัยก็ไม่ได้. ท่านอธิบายว่า นายนิริย-
    บาลเข้าไปจับฆ่าอย่างเดียว. บทว่า องฺคาเร สนฺถเต เสนฺติ สัตว์นรกนอน
    อยู่บนถ่านเพลิงอันลาดไว้ คือ สัตว์นรกถูกลากขึ้นภูเขาถ่านเพลิง นอนอยู่บน
    ถ่านเพลิงที่ลาดไว้หลายพันปี. บทว่า อคฺคินิสมํ ปชฺชลิตํ คือเข้าไปสู่กองไฟ
    อันลุกโพลงโดยรอบ และโชติช่วงในทิศทั้งปวง. บทว่า ปวิสนฺติ คือนาย
    นิริยบาลจับยัดใส่ลงในมหานรก. มหานรกนั้นท่านกล่าวว่ามีอยู่ ๔ มุม ผู้ที่
    ยืนดูอยู่ห่างประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ตาย่อมแตกได้. บทว่า ชาเลน จ
    โอนหิยานา นายนิริยบาลเอาข่ายเหล็กพันคือ นายนิริยบาลเอาข่ายเหล็กพัน
    แล้วประหารเหมือนพรานเนื้อฆ่าเนื้อ ฉะนั้น นี้เป็นกรรมกรณ์ซึ่งมิได้กล่าวไว้
    ในเทวทูตสูตร. บทว่า อนฺธํว ติมิสมายนฺติ สัตว์นรกทั้งหลายย่อมไปสู่โรรุวนรก
    ที่มืดทึบ ความว่า สัตว์นรกย่อมไปสู่โรรุวนรกอันมืดทึบที่รู้ว่ามืด เพราะทำ
    ความมืด ที่รู้ว่าทึบเพราะมืดจัด. นัยว่า ที่โรรุวนรกนั้นตาแตก เพราะสูดควัน
    กรดของหมอกเหล่านั้นเข้าไป. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อนฺธํว ดุจความ
    มืดทึบ. บทว่า ตํ วิตตํ ยถา มหิกาโย ความว่า ความมืดทึบนั้นแผ่ไปเหมือน
    กลุ่มหมอก เกิดเป็นรูปร่างขึ้นมาอีก แม้ข้อนี้ ก็เป็นกรรมกรณ์ที่ท่านมิได้กล่าว
    ไว้ในเทวทูตสูตรเหมือนกัน.
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    โกกาลิกสูตรที่ ๑๐ ว่าด้วยกรรมที่ให้เกิดในนรก ตอน๓ จบ
    -https://www.facebook.com/dhamma.true/photos/a.557306294366021.1073741828.557232597706724/907177682712212/?type=3&theater-

    -https://www.facebook.com/dhamma.true/photos/a.579242658839051.1073741839.557232597706724/907177682712212/?type=3&theater-

    บทว่า อถ โลหมยํ ความว่า ก็โลหกุมภี (หม้อเหล็ก) นี้อยู่สุด
    แผ่นดิน มีความลึก ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ เต็มไปด้วยโลหะร้อนเต็มเปี่ยม. บทว่า
    ปจฺจนฺติ หิ ตาสุ จิรรตฺตํ ได้แก่ ไหม้อยู่ในหม้อเหล็กนั้นสิ้นกาลนาน. บทว่า
    อคฺคินิสมาสุ คืออันไฟลุกโพลง. บทว่า สมุปฺปิลวาสา ได้แก่ ลอยฟ่องอยู่
    ท่านอธิบายว่า สัตว์นรกขึ้นไปข้างบนคราวหนึ่ง ลงข้างล่างคราวหนึ่ง ผุดขึ้น
    แล้วจมลง เพราะแรงของฟองน้ำ. พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในเทวทูตสูตร
    นั่นแล.

    บทว่า ปุพฺพโลหิตมิสฺเส คือเปื้อนด้วยหนองและเลือด. บทว่า ตตฺถ
    กึ คือในทิศนั้น ๆ. บทว่า ทิสตํ คือทิศ. บทว่า อธิเสติ คือ ไป ปาฐะว่า
    อภิเสติ ก็มี. อธิบายว่า อาศัยอยู่ในทิศที่ติดอยู่. บทว่า กิลิสฺสติ คือ ลำบาก.
    ปาฐะว่า กิเลชฺชติ บ้าง. อธิบายว่า เปื่อยเน่า. บทว่า สมฺผุสฺสมาโน
    คือ หนองและเลือดแปดเปื้อน. แม้ข้อนี้ก็เป็นกรรมกรณ์ที่ท่านมิได้กล่าวไว้ใน
    เทวทูตสูตร. บทว่า ปุฬวาวสเถ ได้แก่เป็นที่อยู่ของหมู่หนอน. โลหกุมภี
    นี้ท่านกล่าวไว้ในเทวทูตสูตรว่า เป็นคูถนรก. ผู้ที่ตกลงไปในคูถนรกนั้น สัตว์
    ปากเข็มกัดผิวหนังเป็นต้น แล้วเคี้ยวกินเยื่อในกระดูก. บทว่า คนฺตุํ น หิ
    ตีรมปตฺถิ คือ ในคูถนรกนั้น แม้ฝั่งที่จะไปก็ไม่มีเลย. ปาฐะว่า ตีรวมตฺถิ
    ดังนี้บ้าง. ความเหมือนกัน. ฝั่งนั่นแหละท่านกล่าวว่า ตีรวํ ในบทนี้. บทว่า
    สพฺพสฺมา หิ สมนฺตกปลฺลา เพราะกะทะครอบอยู่มิดชิดในที่ทั้งปวง ความ
    ว่า เพราะโลหกุมภีนั้นกะทะครอบอยู่มิดชิดแม้ในส่วนบน ฉะนั้นท่านจึงกล่าว
    ว่า ไม่มีฝั่งจะข้ามไป. ป่าไม้มีใบเป็นดาบคม มีนัยดังที่ท่านกล่าวไว้แล้วใน
    เทวทูตสูตรนั่นแล. ก็ป่านั้นปรากฏแต่ไกลเหมือนป่ามะม่วงน่ารื่นรมย์. เมื่อเป็น
    เช่นนั้น สัตว์นรกทั้งหลายพากันเข้าไปด้วยความโลภ. แต่นั้นใบของต้นไม้
    เหล่านั้นถูกลมพัดก็ตกแล้วตัดอวัยวะน้อยใหญ่. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
    ตํ ปวิสนฺติ สมุจฺฉินฺนคตฺตา คือ สัตว์นรกเข้าไปสู่ป่าไม้นั้น ถูกดาบใบไม้
    ตัดตัวขาด. บทว่า ชิวฺหํ พลิเสน คเหตฺวา อารจยารจยา วิหนนฺติ
    พวกนายนิริยบาล เอาเบ็ดเกี่ยวลิ้นออกมาแล้วเบียดเบียนด้วยการดึงออกมา ๆ
    ความว่า พวกนายนิริยบาลเอาเบ็ดดึงลิ้นของสัตว์นรกผู้พูดปดรีบวิ่งไปล้มลงใน
    ป่าที่มีใบไม้เป็นดาบคมแล้วทุบ เหมือนพวกมนุษย์ลาดหนังสดไว้บนแผ่นดิน
    แล้วทุบด้วยเสาเหล็กฉะนั้น แล้วเอาขวานชำแหละออกๆ เชือดปลายข้างหนึ่งๆ
    ทำให้ลำบาก ปลายที่เชือดออก ๆ ก็ตั้งอยู่อย่างเดิมอีก. ปาฐะว่า อารชยารชยา
    ดังนี้บ้าง. ความว่า ดึงออกมา ดึงออกมา ดังนี้. แม้ข้อนี้ก็เป็นกรรมกรณ์
    ที่ท่านมิได้กล่าวไว้ในเทวทูตสูตร.

    บทว่า เวตฺตรณึ ได้แก่ แม่น้ำที่ท่านกล่าวไว้ในเทวทูตสูตรว่าเป็น
    แม่น้ำด่างใหญ่. ได้ยินว่า แม่น้ำนั้นปรากฎมีน้ำเต็มดุจแม่น้ำคงคา. เมื่อเป็น
    เช่นนั้น สัตว์นรกทั้งหลายคิดว่า จักอาบ จักดื่ม ย่อมตกไปในแม่น้ำนี้. บทว่า
    ติณฺหธารํ ขุรธารํ คมมีดโกนอันคมกริบ ท่านอธิบายว่า สัตว์นรกทั้งหลาย
    ย่อมตกไปบนคมมีดโกนอันคมกริบ. ได้ยินว่า ที่ฝั่งทั้งสองทั้งข้างบนข้างล่าง
    ของแม่น้ำนั้นปรากฏดุจคมมีดโกนอันคมกริบตั้งอยู่ตามลำดับ. ด้วยเหตุนั้น
    ท่านจึงกล่าวว่า แม่น้ำนั้นมีคมมีดโกนอันคมกริบ. อธิบายว่า สัตว์นรกทั้ง-
    หลายย่อมเข้าถึง คือ ติดอยู่กับคมมีดโกนอันคมกริบเพราะกระหายน้ำ. ก็เมื่อ
    สัตว์นรกทั้งหลายเข้าถึงอย่างนี้ ถูกบาปกรรมเตือนแล้ว, คนโง่ คือคนพาล
    ย่อมตกไปบนคมมีดโกนนั้น. พึงประกอบบทนี้ว่า สามา สวลา ด้วยบทว่า
    โสณา ข้างหน้า. เป็น สามวณฺณา กมฺมาสวณฺณา จ โสณา ขาทนฺติ
    ความว่า สุนัขดำและสุนัขด่าง ย่อมรุมกันกัดกิน. บทว่า กาโกลคณา ได้แก่
    ฝูงกาดำ. บทว่า ปฏิคิชฺฌา ได้แก่สัตว์ที่เกิดความอยากด้วยดี อาจารย์
    พวกหนึ่งกล่าวว่า มหาคิชฺฌา พญาแร้ง. บทว่า กุลลา ได้แก่ นกตะกรุม.
    อาจารย์บางคนกล่าวว่า บทว่า กุลลา นี้เป็นชื่อของเหยี่ยว. คำนี้ เป็นชื่อ
    ของเสนา. บทว่า วายสา ได้แก่ กาไม่ดำ. แม้ข้อนี้ก็เป็นกรรมกรที่ท่าน
    มิได้กล่าวไว้ในเทวทูตสูตร. ก็แม้บทเหล่านี้จะได้กล่าวไว้ในเทวทูตสูตร ไม่ได้
    กล่าวไว้ในสูตรนี้ ก็พึงทราบว่าบทเหล่านั้นเป็นอันกล่าวแล้ว เป็นส่วนเบื้องต้น
    และเบื้องหลังของบทเหล่านั้นนั่นเอง.

    บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงความเป็นไปของนรกนี้ทั้ง
    หมดแล้ว เมื่อจะทรงสั่งสอนจึงตรัสคาถาว่า กิจฺฉา วตายํ ความเป็นไปยาก
    หนอ ดังนี้.
    บทนั้นมีความว่า ชนผู้ทำกรรมหยาบย่อมเห็นความเป็นไปอันมีกรรม
    กรต่าง ๆ ในนรกนี้ยากหนอ เพราะฉะนั้นเมื่อยังมีชีวิตเหลืออยู่ ยังอยู่ในโลก
    นี้ต่อไป พึงเป็นผู้ทำกิจในชีวิตที่เหลือนี้ ด้วยการตั้งใจทำกุศลธรรมมีการถึง
    พระไตรสรณคมน์เป็นต้น คือ แม้เป็นผู้ทำกิจในชีวิตที่ยังเหลืออยู่นี้ ก็ไม่พึง
    ประมาท คือ ไม่ถึงความประมาทแม้เพียงครู่เดียว ด้วยการทำความเพียรติดต่อ
    กันไปนั่นเอง. นี้เป็นการพรรณนารวบยอดในสูตรนี้. ก็เพราะบททั้งหลาย
    ที่เหลือได้กล่าวไว้แล้วทั้งเข้าใจได้ง่าย เพราะมีนัยดังได้กล่าวไว้แล้วในก่อน
    และเพราะมีความง่าย ฉะนั้น จึงไม่ต้องพรรณนาไปตามลำดับบท ด้วยประการ
    ฉะนี้.

    จบอรรถกถาโกกาลิกสูตรที่ ๑๐ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย
    ชื่อปรมัตถโชติกา
    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 620
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เรื่องเล่าจากการบวช..
    -https://www.facebook.com/putthakom/posts/487017224802130:0-
    (ตอนที่ 1 จาก3 ตอน)

    การทำบุญทำทานและการถวายสิ่งของให้พระ
    ว่ากันด้วยเรื่องของการทำบุญทำทานและการถวายสิ่งของให้พระ คือแต่ก่อนผมเองก็ไม่ค่อยจะมีความรู้เรื่องการทำบุญทำทานอะไรซักเท่าไหร่ ไม่รู้ว่าการทำบุญคือต้องทำอะไรแบบไหน อะไรทำได้ทำไม่ได้ แต่พอได้มาบวชแล้วก็เลยทำให้เข้าใจอะไรๆ มากขึ้น

    การทำบุญ หลายคนเข้าใจว่าเป็นแค่การเอาเงินหรือเอาสิ่งของไปถวายให้พระหรือถวายให้วัด จริงๆ แล้วสิ่งที่เราทำนั่นเรียกว่า “การทำทาน” ซึ่งเป็น 1 ใน 10 วิธีการทำบุญ

    10 วิธีการทำบุญที่ว่านี้ อยู่ในส่วนของ “บุญกิริยาวัตถุ 10” ที่มีการทำบุญด้วยวิธีอื่นๆ อย่างเช่น รักษาศีล ภาวนา อะไรต่างๆ อยู่ในนั้นด้วย แต่ผมเองก็คงขอไม่เอารายละเอียดตรงส่วนนั้นมาเขียนลงในบล็อกตอนนี้ เพราะเข้าใจว่าคนที่สนใจก็สามารถศึกษากันเองได้ ส่วนที่ผมจะเน้นในบล็อกตอนนี้คือเรื่องของ “ทานมัย” คือการทำทาน ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่อ่านมากกว่า

    จุดประสงค์ที่แท้จริงของการทำทาน หลายคนมักจะเข้าใจว่าทำไปเพื่อให้ได้ขึ้นสวรรค์ ทำไปแล้วชีวิตจะเจริญรุ่งเรือง เงินทองไหลมาเทมา หรือหากได้ทำบุญทำทานไปแล้วจะสามารถลบล้างสิ่งชั่วๆ ที่เราเคยทำมาได้

    จริงๆ ผมเองก็ไม่รู้แน่ชัดหรอกว่า “ผล” ของการทำทานนั้นจะเป็นยังไงบ้าง แต่ผมรู้แค่ว่า “เหตุ” ของการทำทาน คือต้องการให้คนเรารู้จักการเสียสละ รู้จักแบ่งปัน รู้จักว่าสิ่งของที่เรามีอยู่มันอาจจะไม่ได้อยู่กับเราตลอดไป (อย่างน้อยตายไปก็เอาไปไม่ได้) และที่สำคัญที่สุด การทำทาน มีไว้เพื่อให้คนเราปล่อยวาง “อัตตา” เพื่อที่จะเข้าสู่จุดมุ่งหมายสูงสุดของพุทธศาสนา ซึ่งก็คือ “นิพพาน” นั่นเอง

    ดังนั้นถ้าเราทำทานเพื่อหวังผล คิดว่าใส่บาตรไปแล้วจะขอให้ผลการเรียนดีขึ้น การงานราบลื่นขึ้น ขอให้ได้แฟนหล่อๆ สวยๆ รวยๆ ขอให้มีเงินทองไหลมาเทมา ฯลฯ ก็แปลว่าเรายัง “ยึดติด” กับของที่เราให้ไปอยู่ ยังไม่ได้เป็นการให้แบบตัดขาดจริงๆ ซึ่งมันก็เลยทำให้ไม่ตรงกับจุดประสงค์ของการทำทานตั้งแต่แรก

    เรื่องการทำบุญทำทาน หลายคนอาจสงสัยว่าถ้าจะเอาของไปถวายพระ มีอะไรบ้างที่ควรเอาไป หรือมีอะไรที่บ้างที่นำไปถวายพระไม่ได้ ในบล็อกตอนนี้ผมเลยจะมาว่าถึงเรื่องนี้กัน แต่บอกไว้นิดนึงว่าข้อมูลตรงส่วนนี้เป็นสิ่งที่ผมได้เรียนรู้มาจากประสบการณ์ตอนที่บวช ดังนั้นถ้าเป็นวัดอื่นๆ ก็อาจจะมีความแตกต่างกันได้

    อาหาร

    การทำทานด้วยการถวายอาหาร ส่วนใหญ่เราจะนิยมตักบาตรตอนเช้าๆ หรือไม่ก็เอาอาหารไปถวายพระที่วัดตอนสายๆ ซึ่งในส่วนของอาหารที่เอาไปถวายพระนั้นหลักๆ มีสิ่งต้องห้ามคือเนื้อสัตว์ 10 อย่าง เช่น เนื้องู เนื้อสิงโต เนื้อช้าง เนื้อหมา เป็นต้น เหตุผลหลักๆ ที่ห้ามถวายเนื้อพวกนี้ คือเนื้อสัตว์บางชนิดถ้าพระฉันเข้าไปแล้วจะทำให้มีกลิ่นตัวแรง เป็นอันตรายต่อการดำรงชีวิตในป่า หรือเนื้อสัตว์บางอย่างในอดีตเป็นพาหนะของราชา ซึ่งถ้าชาวบ้านไปล่าสัตว์พวกนั้นมาถวายพระก็อาจทำให้เกิดปัญหาได้ เป็นต้น

    อาหารที่นำมาถวายพระ ควรเป็นอาหารที่ทำสุกใหม่ๆ ไม่ควรเป็นของเก่าค้างคืน พวกอาหารธรรมดาที่เราทำกินกันตามปกตินี่ก็สามารถเอามาถวายพระได้อยู่แล้ว แต่อาจต้องมีการระวังในเรื่องของอาหารที่มีรสจัด เพราะพระบางรูปอาจไม่สามารถทานอาหารรสจัดได้ รวมถึงการใส่พริกขี้หนูสีเขียวเม็ดเล็กๆ มาในผัดผักบุ้งหรือแกงหน่อไม้นี่ก็ไม่ควรทำ เพราะถ้าพระเผลอกินเข้าไปนี่คงสะดุ้ง ดื่มน้ำแก้เผ็ดกันไม่ทัน พวกปลาที่มีก้างเยอะๆ หรือมีก้างเล็กๆ ที่กินแล้วสามารถติดคอได้ อันนี้ก็อาจต้องพิจารณากันดีๆ ว่าถ้าถวายไปแล้วมันจะอัตรายสำหรับพระหรือเปล่า

    ตอนที่ผมบวช พระวัดป่าจะตักอาหารทุกอย่าง ทั้งข้าว ทั้งแกง ใส่ลงในบาตรเดียวกัน แล้วเวลากิน พวกอาหารต่างๆ ที่เราตักมาก็จะไหลมารวมกัน ก็ได้รสชาติแปลกๆ ดี แต่เรื่องรสชาติไม่ใช่ปัญหา ขอแค่เป็นของที่กินได้เป็นพอ

    พวกผลไม้ ก็ต้องปอกเปลือกหรือแกะเมล็ดออกให้เรียบร้อยก่อน ซึ่งผมเข้าใจว่าทางโรงครัวคงจะมีคนที่คอยทำหน้าที่จัดเตรียมอาหารไว้ก่อนนำขึ้นถวายพระอยู่แล้ว แต่ก็อาจจะต้องระวังเรื่องผลไม้กันนิดนึงในกรณีที่ผลไม้นั้นอาจมีหนอนหรือแมลงอยู่ เพราะตอนบวชผมเองเคยกัดผลไม้แล้วเจอว่าข้างในมีหนอน แต่ก็ไม่มั่นใจว่าได้กัดโดนตัวหนอนหรือเผลอกินหนอนตัวเป็นๆ เข้าไปด้วยหรือเปล่า (แต่ในกรณีนี้ถ้าพระไม่ได้ตั้งใจที่จะมีเจตนาฆ่าสัตว์ก็ไม่ได้ผิดอะไร)

    พวกข้าวสารอาหารแห้ง รวมถึงปลากระป๋อง อันนี้ผมไม่แน่ใจจริงๆ ว่าถ้าถวายพระแล้วพระจะเอามากินยังไง อาจจะเอามาเก็บรวมรวมไว้ที่โรงครัว แล้วค่อยมีคนเอาไปทำเป็นกับข้าวเพื่อถวายพระอีกทีทั้ง แต่พระก็คงไม่ออกมาต้มมาม่าหรือเปิดปลากระป๋องกินหลังจากฉันข้าวเสร็จอยู่แล้วล่ะ (พระวัดป่าฉันข้าวแค่มื้อเดียว) จริงๆ ผมว่าถ้ามีอาหารสดก็ถวายอาหารสดไปจะดีกว่า เพราะพวกอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารกระป๋องอาจมีผงชูรสหรือสารกันบูดอยู่เยอะ ซึ่งถ้ากินมากๆ เข้าอาจส่งผลต่อตับหรือไตได้

    พวกของหวาน ขนม นม ถ้าไปถวายวัดที่มีเณรอยู่เยอะๆ ก็น่าจะดี เณรน่าจะชอบกินครับ

    น้ำดื่มและน้ำปานะ

    น้ำดื่มที่เป็นน้ำเปล่า ถ้าจะถวายแบบเป็นขวดแนะนำว่าเอาแบบเป็นแพ็คมาถวายที่วัดจะดีกว่า ไม่ควรเอาน้ำดื่มเป็นขวดไปใส่บาตรให้พระเพราะมันหนัก ถ้าเป็นแบบแก้วน้ำเอามาใส่บาตรก็พอโอเค

    น้ำปานะ คือน้ำที่คั้นจากผลไม้ที่มีขนาดไม่ใหญ่กว่ากำปั้น (หรือไม่ใหญ่ไปกว่าผลมะตูม) หลังจากคั้นเสร็จต้องเอามากรองกากออกเพื่อให้เหลือแต่น้ำ แต่ปัจจุบันไม่ค่อยมีใครเอาผลไม้มาคั้นน้ำเพื่อถวายพระแล้ว ส่วนมากจะซื้อน้ำผลไม้แบบเป็นกล่องมาถวายพระกันซะมากกว่า น้ำปานะพระสามารถฉันหลังเที่ยงได้ ไม่ผิดกติกา

    น้ำผลไม้แบบกล่องนี่ต้องดูส่วนประกอบดีๆ ครับ ผมเคยเจอน้ำผลไม้ยี่ห้อนึง ที่หน้ากล่องเขียนบอกว่าเป็นน้ำทับทิมรวม 99% ก็ดูดน้ำกินไปได้ครึ่งกล่อง แล้วพอพลิกมาอ่านข้อมูลที่ข้างกล่อง ปรากฏว่าเป็นน้ำทับทิม 97% แล้วอีก 2% คือน้ำเต้าหู้ … อ่านเสร็จบ้วนทิ้งเลยครับ เพราะตอนนั้นที่กินน้ำนี้เข้าไปก็เป็นเวลาบ่ายๆ เกือบจะค่ำแล้ว

    น้ำที่มีส่วนประกอบของข้าว ถั่ว งา เม็ดบัว หรือเมล็ดพืชอื่นๆ ที่ไม่ใช่ผลไม้นี่ถือว่าเป็น “อาหาร” ไม่ใช่น้ำปานะ พระจะฉันได้ถึงไม่เกินเที่ยงวัน ถ้าฉันเกินเที่ยงถือว่าผิด ดังนั้นน้ำทับทิมรวมที่มีส่วนผสมของน้ำเต้าหู้อยู่ด้วยก็จะมีสถานะเป็นอาหาร ไม่ใช่น้ำปานะ

    น้ำผลไม้บางยี่ห้อ จะมีกากผลไม้มาด้วย พระฉันได้แต่ต้องกรองเอากากออกไปก่อน ส่วนน้ำผักถือว่าเป็นยา เวลาจะดื่มก็ต้องพิจารณาว่าเป็นยา ไม่ใช่น้ำปานะ ดังนั้นน้ำผักผลไม้รวมจึงอยู่ในสถานะของการเป็นยา ไม่ใช่น้ำปานะ

    สาเหตุที่น้ำปานะต้องทำจากผลไม้ที่มีขนาดไม่ใหญ่เกินกว่ากำปั้น ตรงส่วนนี้ผมเคยอ่านเจอมา เค้าบอกว่าในผลไม้ลูกใหญ่ๆ (เช่น สับปะรด แตงโม มะพร้าว) จะมีฮอร์โมนเพศชายอยู่เยอะ ซึ่งถ้าเกิดตอนก่อนนอนพระหนุ่มๆ ไปฉันน้ำผลไม้พวกนี้เข้า ตกดึกอาจฮอร์โมนพุ่งพล่านนอนไม่หลับได้ง่ายๆ แต่ข้อมูลตรงส่วนนี้อาจต้องรอยืนยันจากผู้รู้อีกทีครับ

    พวกน้ำผลไม้แบบ 10% 20% ที่ขายกันขวดถูกๆ 5 บาท 10 บาท พวกนี้บางทีเป็นแค่การเอาน้ำตาลมาต้มน้ำแล้วใส่สีใส่กลิ่นเลียนแบบผลไม้จริง (ส่วนมากจะเขียนฉลากว่า “น้ำรสส้ม” ไม่ใช่ “น้ำส้ม“) ซึ่งการดื่มน้ำพวกนี้เข้าไปมากๆ ดูจะไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพเท่าไหร่ ที่แน่ๆ คืออาจทำให้พระเป็นโรคอ้วนเพราะบริโภคน้ำตาลเยอะ หรืออาจทำให้เป็นเบาหวานได้

    เจเล่ หรือ เฉาก๊วย ทำมาจากรากของต้นไม้ พวกนี้สามารถกินเป็นยาได้ ไม่ถือว่าเป็นอาหาร ยกเว้นพวกเจเล่ที่ใส่วุ้นมะพร้าวหรือใส่พวกเม็ดแป้งที่สามารถเคี้ยวได้มาด้วย อันนี้น่าจะถือว่าเป็นอาหาร

    น้ำอ้อย ถือว่าเป็นยา ไม่ใช่ปานะ (แต่บางตำราก็บอกว่าอยู่ก้ำกึ่งระหว่างยากับปานะ) ส่วนพวกชาเขียว ไม่ว่าจะเป็นแบบพร้อมดื่มหรือแบบเป็นผงให้เอาไปชงกินเอง อันนี้ก็น่าจะอยู่ในส่วนของการเป็นยา
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เรื่องเล่าจากการบวช..
    -https://www.facebook.com/putthakom/posts/487017224802130:0-
    (ตอนที่ 2 จาก3 ตอน)

    ปนมัตถ์ หรือ ปารมัตถ์

    อันนี้หลายคนเข้าใจผิดเขียนเป็น “ปรมัตถ์” ซึ่งมันเป็นคนละคำ คนละความหมายนะครับ ปนมัตถ์นี่เป็นของกินที่ไม่ถือว่าเป็นอาหาร พระสามารถฉันหลังเที่ยงได้ จุดประสงค์ที่อนุญาตให้พระฉันของพวกนี้ได้คือเพื่อบำรุงสุขภาพ หรือเพื่อบรรเทาความเหนื่อยล้าจากการทำงานหนัก

    ปนมัตถ์หลักๆ ที่รู้จะมี 2 อย่าง คือ กาลิก ได้แก่เนยใส เนยข้น (ที่บ้านเราเรียกชีส แบบที่เอามาใส่ในพิซซ่า) น้ำมัน (เช่นพวกน้ำมันตับปลา) น้ำตาล น้ำผึ้ง กับอีกอย่างนึงคือพืชผักสมุนไพร เช่น กระเทียม กระชาย พริก ขิง ข่า ตะไคร้ มะนาว หัวหอม กะเพรา โหระพา ใบพลู เป็นต้น

    เวลาพระทำงานมาเหนื่อยๆ ตลอดทั้งวัน ตอนเย็นๆ ก็สามารถเอาของพวกนี้มาทำกินได้ เช่น อาจจะหั่นซอยพวกขิง ข่า ตะไคร้ แล้วใส่พวกน้ำผึ้ง เนย มะนาว ลงไป เพื่อกินแก้เหนื่อยได้ หรือบางทีก็อาจจะเอาขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด กะเพรา โหระพา พวกนี้มาต้ม ซึ่งรสชาติที่ออกมาก็จะคล้ายๆ ต้มยำ แต่ก็คือกินเพื่อแก้เหนื่อยล่ะนะ เพราะกินมากไปก็ไม่ดี สมุนไพรส่วนใหญ่ที่จะเอามาทำนี่ก็มีสรรพคุณช่วยเป็นยาระบายทั้งนั้น กินเยอะไปอาจจะท้องเสียแล้วเหนื่อยหนักกว่าเดิม

    พระมีงานหนักอะไรที่ทำให้ต้องเหนื่อยขนาดนั้น? จริงๆ แล้วถ้าแค่นั่งสมาธิ เดินจงกรม หรือภาวนา มันก็ไม่เหนื่อยหรอก แต่ถ้าใครได้ไปดูตามวัดต่างจังหวัด ที่อาจจะกำลังมีการก่อสร้างอาคาร หรือบูรณะซ่อมแซมวัดอยู่ บางทีวัดก็มีเงินไม่พอที่จะไปจ้างช่างมาสร้างหรือมาซ่อม ก็อาศัยแรงพระเณรที่อยู่ในวัดนี่แหละไปช่วยกันทำ หรือบางทีมีการจัดงานที่วัด ในส่วนงานที่เป็นด้านพิธีการของสงฆ์อันนี้ก็ต้องเป็นฝ่ายพระที่ต้องไปจัดเตรียมสถานที่ทำอะไรเองเหมือนกัน บางคนอาจจะบอกงานพวกนี้ไม่ใช่กิจของสงฆ์ คือจะว่าไปมันก็ใช่อ่ะนะแต่บางสิ่งบางอย่างถ้ามันไม่มีคนมาช่วยทำพระก็ต้องลงไปทำเองอยู่เหมือนกัน

    หนังสือ

    ตอนที่ผมบวช เวลาว่างๆ ก็จะชอบหาหนังสือมาอ่าน โชคดีที่วัดที่ไปบวชมีหนังสืออยู่มากมายเต็มตู้ ก็เลยได้ใช้เวลาตรงนี้ศึกษาหาความรู้อะไรใหม่ๆ ได้เยอะ

    นอกจากถวายอาหารแล้ว การบริจาคหนังสือให้วัดก็เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ครับ มีหนังสือหลายอย่างที่พระสามารถอ่านได้และมีหนังสือหลายอย่างที่ควรจะมีติดวัดไว้ ตัวอย่างหนังสือที่น่าจะหามาบริจาคให้กับวัด เช่น

    หนังสือธรรมะ –แน่นอนอยู่แล้ว แต่หนังสือธรรมะที่เห็นมีวางขายอยู่ตามท้องตลาดเดี๋ยวนี้มักจะมีพวกความเชื่อหรือความงมงายแอบแฝงอยู่เยอะ เช่นพวกทำนายทายทัก ดูดวง แก้กรรม หรืออะไรทำนองนี้ที่มันไม่ใช่หลักการที่แท้จริงของพุทธศาสนา ทางที่ดีผมว่าเลือกเอาหนังสือที่เป็นธรรมหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยตรงน่าจะดีกว่า อย่างเช่นหนังสือที่ท่านพุทธทาสเขียนขึ้นมานี่ก็โอเค

    บทสวดมนต์ – เอาไว้ให้พระหัดท่องบทสวด หรือเผื่อบางทีญาติโยมมาทำบุญที่วัดก็สามารถเปิดดูหนังสือดูบทสวดที่ถูกต้องได้ หนังสือสวดมนต์ถ้าหาแบบที่มีการแปลความหมายของบทสวดได้ก็จะยิ่งดีครับ ตอนท่องบทสวดมนต์บางทีผมก็ชอบเปิดอ่านศึกษาความหมายของบทสวดนั้นๆ ไปด้วย

    คู่มือพระบวชใหม่ – สำหรับพระบวชใหม่นี่หนังสือพวกนี้ช่วยได้เยอะมากๆ นะ เพราะจะมีอธิบายในเรื่องของระเบียบวินัยหรือหลักปฏิบัติที่พระใหม่ควรจะรู้ เพื่อที่จะได้ไม่ทำอะไรผิดพลาดโดยไม่ตั้งใจ อีกทั้งหนังสือบางเล่มจะมีข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่าขณะที่บวชควรทำตัวยังไง ปฏิบัติยังไง ตอนที่ผมบวชผมก็ได้ศึกษาอะไรหลายๆ อย่างจากหนังสือพวกนี้แหละ

    คู่มือการใช้ยา – พระก็เจ็บป่วยเป็น และวัดเดี๋ยวนี้ก็มักจะมีชุดยาสามัญประจำบ้านอยู่ในวัดอยู่แล้ว ถ้ามีการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ พระก็สามารถเอายาที่มีอยู่มากินเองได้โดยไม่จำเป็นต้องไปหาหมอ แต่ก็ควรจะรู้เรื่องยาที่กิน เพื่อที่จะได้ไม่ทำให้เกิดอันตรายหากใช้ยาผิดๆ

    การปฐมพยาบาลเบื้องต้น –ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ เช่น ลื่นล้ม แผลถลอก แมลงสัตว์กัดต่อย หรืออุบัติเหตุอื่นๆ รวมถึงโรคประจำตัวที่อาจต้องมีการดูแลรักษาอย่างเร่งด่วน การมีคู่มือวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นไว้ใช้ในยามฉุกเฉินก็เป็นสิ่งที่จำเป็นครับ โดยเฉพาะวัดป่าในหน้าฝนที่หากฝนตกตอนกลางคืนอาจจะมีพวกสัตว์มีพิษเข้าไปทำอันตรายกับพระได้ การเรียนรู้วิธีรักษาตัวเองไว้นี่ก็จะช่วยลดอาการบาดเจ็บได้เยอะ

    แผนที่ทางหลวง –จริงๆ ก็อาจจะไม่มีความจำเป็นมากนัก แต่ในบางทีถ้าพระต้องเดินทางไปรับกิจนิมนต์ที่ต่างจังหวัด การมีแผนที่ไว้คอยดูระหว่างเดินทางก็จะช่วยได้เยอะ

    ยารักษาโรค

    จริงๆ จะซื้อพวกชุดยาสามัญประจำบ้าน ที่มีขายตามร้านขายยา หรือตามอนามัย เอาไปถวายพระก็ได้ ซึ่งยาหลักๆ ที่น่าจะมีก็อย่างเช่น พารา ยาแก้หวัด แก้แพ้ ยารักษากรดในกระเพาะอาหาร ผงเกลือแร่ ยาแก้ไอ ยาหม่อง เหล่านี้เป็นต้น หรือถ้ามีพวกอุปกรณ์ทำแผล เช่น แอลกอฮอล์ ผ้าก๊อซ พลาสเตอร์ ได้ด้วยก็จะดีมาก
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เรื่องเล่าจากการบวช..
    -https://www.facebook.com/putthakom/posts/487017224802130:0-
    (ตอนที่ 3 จาก3 ตอน)

    ของใช้

    พวกสบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน อะไรพวกนี้ก็สามารถเอาไปบริจาคได้ ยาทากันยุงอันนี้สำคัญ ยาสระผม จริงๆ แล้วพวกที่เป็นสูตรบำรุงเส้นผมนุ่มสลวยที่คงไม่จำเป็น อาจจะเป็นพวกที่มีสารช่วยบำรุงหนังศรีษะ หรือถ้าง่ายที่สุดก็พวกแชมพูสระผมสำหรับเด็กไปเลยก็ได้ เพราะสำหรับพระนั้นก็ไม่ได้ต้องการใช้แชมพูอะไรมากมายอยู่แล้ว

    พวกของใช้อื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับวัด เช่น ไม้กวาด น้ำยาล้างห้องน้ำ เทียน ไฟฉาย อะไรพวกนี้ถ้าจะบริจาคก็อาจจะลองสอบถามทางวัดดูก่อนก็ได้ว่ามีความต้องการหรือเปล่า เพราะบางทีของพวกนี้ก็มีคนเอามาถวายเยอะแล้ว อาจจะไม่จำเป็นต้องเอามาเพิ่มเท่าไหร่

    ที่สำคัญที่สุดคือเงิน ไม่ควรถวายพระ เพราะพระเองก็ไม่น่าจะมีความจำเป็นต้องใช้เงินอยู่แล้ว ตอนผมบวชนี่ก็มีกฏว่าไม่ให้รับเงินเลย ถ้าเกิดมีคนถวายมาก็ให้เอาไปใส่เป็นของวัด ไม่ให้เก็บเป็นของสงฆ์ ซึ่งตลอดช่วงที่ผมบวชมาประมาณ 20วัน ก็ไม่เห็นจะมีความจำเป็นอะไรที่ต้องใช้เงินส่วนตัวเลย ถ้าใครต้องการบริจาคเงินให้วัดจริงๆ ก็ถวายเป็นค่าน้ำค่าไฟตามจำนวนที่เหมาะสม น่าจะโอเคกว่า

    ของทุกอย่างที่มีคนบริจาคให้เราตอนที่บวชเป็นพระ พอสึกแล้วต้องคืนของนั้นให้กับวัด ไม่ควรเอากลับเป็นสมบัติติดตัวไปเพราะถือว่าของนั้นๆ เป็นของๆ พระ ไม่ใช่ของฆราวาส

    ประโยชน์ของการทำทาน

    ก็อย่างที่บอกไปว่าการทำทานนี่จุดประสงค์จริงๆ ก็มีแค่การทำให้เรารู้จักเสียสละ รู้จักปล่อยวาง เท่านั้นเอง ผลตอบแทนจากการทำทานนี่ไม่จำเป็นต้องมีเลยด้วยซ้ำ เพราะแค่ให้ไป ถ้าเราได้รับความสุขใจกลับมา นั่นก็เท่ากับว่าเราได้คืนแล้ว

    ผลพลอยได้จากการทำทาน ผมรู้สึกว่าอย่างน้อยๆ ก็ได้ประโยชน์แบบเห็นได้ชัดอยู่ข้อนึง ตรงที่ทำให้เป็นคนรอบคอบมากขึ้น เพราะมีความช่างสังเกต อ่านฉลาก ดูส่วนประกอบหรือส่วนผสมของอาหารที่จะนำไปถวายพระ เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้เวลาพระรับของเราไปแล้วจะได้ไม่เผลอทำผิดศีลโดยไม่ตั้งใจ

    การอ่านฉลากตอนจะซื้อของไปถวายพระนี่ก็ช่วยให้ผมรู้ว่าอาหารอะไรที่มันมีประโยชน์ต่อร่างการบ้าง อาหารอะไรที่ไม่ได้มีประโยชน์เลย ควรหลีกเลี่ยง ซึ่งก็รวมถึงการเลือกซื้อข้าวของเครื่องใช้ไปถวายพระด้วยเพราะเวลาเราจะเลือกของไปถวายพระเนี่ยเราก็อยากจะให้พระได้ของที่ดีที่สุด ดังนั้นตอนจะซื้อก็เลยมีการเปรียบเทียบพวกสบู่ ยาสีฟัน หรือของใช้ต่างๆ ทำให้ได้รู้ว่ายี่ห้อไหนคุ้มค่าคุ้มราคาเงิน สมควรที่จะนำไปถวายพระ หรือสมควรที่จะซื้อมาใช้เอง ซึ่งผลพลอยได้ตรงส่วนนี้ก็จะทำให้ใช้เงินซื้อของได้คุ้มค่ากับราคาที่เราจ่ายไป

    ถ้าเกิดจะซื้อชุดสังฆทานไปถวายพระ ถ้าเจอร้านที่ดีก็ดีไป แต่ถ้าไปเจอร้านที่แย่ ก็อาจจะมีการแอบเอาของไม่ดีมาปน เช่น ของที่ใกล้จะหมดอายุ หรือของคุณภาพต่ำ เอามาแอบซุกไว้ตรงด้านล่างๆ เป็นต้น ซึ่งผมว่าถ้ามีเวลาซักนิดเดินไปหาเลือกซื้อของมาถวายพระเองน่าจะดีกว่า

    การจะบริจาคหรือทำทาน ควรทำด้วยปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรทำทานมากเกินไปจนเดือดร้อนตัวเองหรือไม่เดือดร้อนผู้อื่น ถวายอาหารไปเยอะๆ พระก็กินได้แค่พออิ่ม ถวายสิ่งของไปเยอะๆ พระก็เอาไปใช้ได้เท่าที่มีความจำเป็นต้องใช้ ดังนั้นจะทำบุญทำทานหรือจะบริจาคอะไรก็ควรเอาให้มันพอดีๆ

    สุดท้ายนี้ก็ขอให้คนที่ตั้งใจทำบุญทำทานทุกท่านได้ทำอย่างที่ตั้งใจไว้ ขอให้พระดีๆ อยู่คู่กับสังคมไทยต่อไป และขอให้ได้ประโยชน์จากการทำบุญกันทุกคนครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...