พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    7 สัญญาณอันตราย
    http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01lif10060152&sectionid=0132&day=2009-01-06
    คอลัมน์ ส่องโรค ไขสุขภาพ

    นพ.วศิน บำรุงชีพ จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุราและยาเสพติด โรงพยาบาลมนารมย์ส่งสัญญาณเตือนสุขภาพจิตของคนไทยในปี พ.ศ.2552 มีแนวโน้มจะแย่ลง เพราะสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่แน่นอน บวกกับสภาพเศรษฐกิจที่เข้าขั้นวิกฤตส่งผลทำให้คนไทยป่วยเป็นโรคเครียดซึมเศร้า วิตกกังวล มีอารมณ์สองขั้วหรือที่เรียกว่าโรคแพนิค

    และที่น่าเป็นห่วงมากในขณะนี้สังคมกำลังให้ความสนใจกับเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ มากกว่าปัญหาอื่นๆ ทำให้ปัญหายาเสพติดกลับสูงขึ้น ซึ่งจากข้อมูลการรักษาพบว่าผู้ที่ติดก็มักจะมีอาการป่วยทางจิตร่วมด้วย เนื่องจากในยาเสพติดมีสารกระตุ้นที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท ทำให้เกิดภาพหลอน หวาดกลัวและหวาดระแวงอยู่ตลอดเวลา และนานเข้าก็จะทำให้ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับสุขภาพจิตได้

    แนวโน้มยาเสพติดที่ทวีความรุนแรงมีสัญญาณอันตรายเตือน 7 สัญญาณ ดังนี้

    1.สภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ คนว่างงานไม่มีอาชีพ ทำให้หันมาขายยาเสพติดเช่นยาบ้า
    2. ยาเสพติดมีราคาถูกลงหาซื้อได้ง่าย
    3.สังคมวัยรุ่นและคนในยุคปัจจุบันมีทัศนคติเกี่ยวกับยาเสพติดมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะถ้าหากมีเพื่อนหรือคนรู้จักติดยาเสพติดก็ยังคบเป็นเพื่อนกันได้ ซึ่งแตกต่างจากในอดีตที่ใครติดยาเสพติดจะไม่มีใครคบ
    4.การตลาดที่แยบยลของกลุ่มผู้ค้าโฆษณาเชิญชวนให้เกิดความอยากรู้อยากลอง
    5.สภาพสังคมกับสถาบันครอบครัวเกี่ยวกับการเลี้ยงดูที่พ่อแม่ไม่มีเวลาดูแลลูก ซึ่งจะต้องให้ความรู้พ่อแม่ใหม่เกี่ยวกับการเลี้ยงลูก เพราะเลี้ยงผิดวิธี ทำให้เด็กมีการควบคุมตนเองไม่ค่อยดีตามมา
    6.เนื่องจากผลของการเลี้ยงดูที่ผิดจึงทำให้เด็กและเยาวชนมีการควบคุมตนเองได้ไม่ดี (self control) และก่อให้เกิดการอยากรู้อยากลอง หรืออดทนรอคอยไม่เป็น ก็อาจทำให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดได้ง่าย
    7.การปราบปรามที่ไม่ต่อเนื่อง เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองบ่อย ทำให้นโยบายการปราบปรามไม่ต่อเนื่อง ยาเสพติดจึงกลับมาระบาดได้ง่าย
     
  2. newcomer

    newcomer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,317
    ค่าพลัง:
    +3,934
    ขอบคุณ ครับ คุณน้องนู๋ ตอนนี้ เว๊ท แอน ซี ครับ
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เซ็กซ์ เซอร์วิส : อินเตอร์เน็ต แช็ต รูม กับความเชื่อ ผิดครึ่ง-ถูกครึ่ง เรื่องของสิทธิส่วนบุคคล
    http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01epe01060152&sectionid=0147&day=2009-01-06
    คอลัมน์ Active Opinion



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>"เป็นสิ่งที่ผิดครึ่งหนึ่ง ถูกครึ่งหนึ่ง และเป็นสิทธิส่วนบุคคล ถึงจะเป็นสิ่งที่ไม่ดี ผิดศีลธรรม ผิดกฎหมาย ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง แต่ก็เป็นเรื่องของผู้ซื้อและผู้ขายบริการ ไม่เกี่ยวกับผู้อื่น"

    "...นักศึกษาปีที่ 2 มหาวิทยาลัยเอกชน อายุ 19 ปี มีคนชอบแจงเยอะค่ะ แจงอวบแล้วก็ขาวก็เป็นลูกคนจีนค่ะ" เหตุผลที่แจงเริ่มงานนี้ ดูเหมือนไม่ต่างจากเพื่อนอีกหลายๆ คน "...อยากมีเงินใช้ค่ะแล้วก็เห็นว่าไม่เสียหายอะไร...แค่เทอม 1 ปี 2 แจงก็ก้าวเข้าสู่หลักสูตรสร้างเสริมประสบการณ์เซ็กซ์ มีห้องพูดคุญส่วนตัวกับรูปถ่ายแนวเซ็กซี่ๆ โชว์รูป 3-4 รูป เท่านี้ก็มีรายได้เสริม" เรื่องเล่าแบบเปิดอก ของหนึ่งในผู้หญิง ที่เรียนไป แต่ไม่รู้อยากจะเรียกว่า ทำ "อาชีพเสริม" ที่สุจริตบนเรือนร่างได้หรือไม่

    เทคโนโลยี กลายเป็นเส้นทางหนึ่ง ที่เปิดเผยพฤติกรรมดิบ จนขาดการคำนึงถึงความ "เหมาะสม" การใช้ชีวิตเพิ่มอย่างมาก

    ในงานวิจัย "การขายบริการทางเพศ ผ่านห้องสนทนาบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต" หรือ Sale of Sex Service through Internet Chat Room ของ ศศิดารา สิงหเนตร ซึ่งได้รับทุนอุดหนุนทำวิจัยจากมูลนิธิดำรงชัยธรรม ศึกษารูปแบบ ความคิด แนวโน้ม และข้อเสนอแนะเรื่องนี้ไว้

    เนื้องานวิจัย พบพฤติกรรมการขายบริการทางเพศผ่านห้องสนทนาบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไว้ ใน 2 รูปแบบใหญ่ๆ การขายโดยตรง เหมือนการขายสินค้า แบบ เอ็มแอลเอ็ม (MLM) และการขายแบบทางอ้อม

    ชีวิตของนักศึกษาสาวที่เล่าข้างต้น เป็นการขายบริการทางตรง ผ่านแช็ตรูม และการสุ่มเข้าไปเสนอขายบริการกับผู้ซื้อบริการเอง

    การขายตรงแบบนี้ ยังมีรูปแบบปลีกย่อยระบุลงไปอีกว่า 1.ประกาศขายบริการทางเพศก่อน แล้วรอให้ผู้ที่สนใจ "ซิบ" เข้าไป หรือรอดูประกาศว่า มีผู้ที่สนใจซื้อบริการ จึงซิบไปสนทนาด้วย หรือใช้ทั้งสองวิธีการร่วมกัน

    แต่ก็มีวิธีอ้อมกว่านี้อีก นั่นคือ ติดต่อกับเอเย่นต์ หรือคนกลางผ่านทางอินเตอร์เน็ต และขายบริการผ่านทางโทรศัพท์กับผู้ที่เคยซื้อบริการแล้ว หรือได้รับคำแนะนำมา

    ปัจจัยแวดล้อมและเหตุผลที่เกิดบริการขายทางเพศผ่านแช็ตรูม สิ่งแรกมาจากปัจจัยส่วนบุคคล คือ ความต้องการใช้เงิน ทั้งในเรื่องที่จำเป็นและไม่จำเป็น และความต้องการเรื่องเพศ

    ตามมาปัจจัยทางสังคม มาจากความฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย ใช้ของราคาแพง ตามแฟชั่น ชิงดีชิงเด่นกันในกลุ่มเพื่อน และค่านิยมเรื่องเซ็กซ์ที่เปลี่ยนไป กลายเป็นเรื่องธรรมดา

    เหตุสุดท้าย เกี่ยวเนื่องด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร เพราะอินเตอร์เน็ต เป็นสื่อเปิดกว้าง สะดวกสบาย เข้าถึงง่าย รวดเร็ว อิสระ เลือกช่วงเวลาได้ ไม่ต้องทำเป็นงานประจำ ไม่ต้องไปสถานบริการ สามารถแปลงตัวตนได้ มีตัวอย่างสินค้าให้ดู ไม่พอใจสามารถเปลี่ยน เลือกที่จะไม่ซื้อหรือขาย ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายบริการก็มีสิทธิเลือกได้เช่นกัน ติดต่อโดยตรง ไม่ต้องผ่านเอเย่นต์ ไม่โดนหักค่าหัวคิว รับเงินได้ทันทีครั้งละมาก เร็ว เป็นงานไม่หนัก เก็บเป็นความลับได้ดี หลบหลีกเรื่องกฎหมายได้ด้วย

    แต่เหตุที่ฟังแล้วน่าตกใจ สำหรับความเชื่อเรื่อง รักเดียวใจเดียว หรือคิดแบบพุทธศาสตร์ การมีผัวเดียวมีเดียว นั่นคือ ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ มีความเชื่อว่า การซื้อและขายบริการทางเพศ กลายเป็น "เรื่องธรรมดา" ในสังคมปัจจุบัน ไม่ใช่สิ่งที่น่ารังเกียจแต่อย่างใด

    "เป็นสิ่งที่ผิดครึ่งหนึ่ง ถูกครึ่งหนึ่ง และเป็นสิทธิส่วนบุคคล ถึงจะเป็นสิ่งที่ไม่ดี ผิดศีลธรรม ผิดกฎหมาย ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง แต่ก็เป็นเรื่องของผู้ซื้อและผู้ขายบริการ ไม่เกี่ยวกับผู้อื่น"

    การขายบริการทางเพศ ไม่ว่ายุคไหนสมัยใด ผ่านช่องทาง ผ่านสื่อเก่าหรือใหม่อย่างใดก็ตาม ผลที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ซื้อและผู้ขายบริการทางเพศ ที่ใกล้เคียงกัน นับตั้งแต่ความเสี่ยงต่อการติดโรค โดนหลอก และถูกลักทรัพย์

    ผู้ขายบริการยังมีโอกาสเสี่ยงถูกทำร้าย ขืนใจ แอบถ่าย พบคนที่เรื่องมากหรือมีความต้องการผิดปกติ การไม่จ่ายเงินหรือจ่ายไม่ครบ โดนตำรวจล่อซื้อ และทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง อับอาย

    อินเตอร์เน็ต สื่อที่เข้าถึงง่ายในคนทุกเพศ ทุกวัย เป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่วัยรุ่นที่ชอบทำตามเพื่อน อาจก่อให้เกิดความสนใจ อยากรู้อยากลอง ถ้าขาด "ความยับยั้งชั่งใจ" ไม่มีการป้องกันที่ดี ปัญหาที่ไม่สามารถควบคุมได้ก็คงตามมา ทั้ง ปัญหาชีวิตและครอบครัว การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ทำแท้ง และปัญหาสังคมด้านอื่นๆ

    แนวโน้มที่ไม่อยากให้มีและเกิดเพิ่ม รุนแรงมากขึ้น "ค่านิยมผิดๆ" ในหมู่วัยรุ่น เพราะถูกกล่อมเกลา กลายเป็นความคิด ความเชื่อว่า มีช่องทางที่หาเงินได้ง่ายและเร็ว

    สิ่งเหล่านี้กลายเป็นวัฎจักรที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ทั้งมีแนวโน้มรุนแรงต่อไป
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ฝากท่านโดครับ

    ------------------------------------

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>จินตนาการของหนู เข้าใจไม่ยาก
    http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9510000151701

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>6 มกราคม 2552 10:19 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>ในวัยที่จินตนาการของเจ้าตัวเล็กกำลังโลดเล่น ช่างคิด ช่างพูด และช่างเจรจา การพูดจาของเขาอาจะดูเพ้อเจ้อในสายตาผู้ใหญ่ แต่จริงๆแล้วการพูดของเด็กๆที่เพิ่งเริ่มหัดพูดนั้น เขาไม่รู้หรอกว่า
     
  5. aries2947

    aries2947 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    2,031
    ค่าพลัง:
    +11,622
    พี่หนุ่มครับ วันนี้ช่วงบ่ายโอนเงินร่วมทำบุญ 200 บาทแล้วนะครับ
    ช่วงนี้ปัจจัยน้อยไปหน่อยนะครับ เข้ากับออกต้องสมดุลย์กันครับ
    หลายๆอย่างรุมเร้าขอให้จบๆกันไปสักทีนะครับ
    (ขอบ่นหน่อยครับ)

    โมทนาบุญกับพี่หนุ่มและทุกๆท่านด้วยครับ
     
  6. ake7440

    ake7440 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,528
    ค่าพลัง:
    +405
    น่าสนใจมากครับ ต้องคอยดูจะได้เรียนรู้ครับ
     
  7. hongsanart

    hongsanart เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    1,332
    ค่าพลัง:
    +10,468
    ขอร่วมบุญด้วยค่ะ (500.00 บาท)
    โมทนาสาธุค่ะ
     
  8. aries2947

    aries2947 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    2,031
    ค่าพลัง:
    +11,622
    รายนามท่านที่ร่วมบุญ
    1.คุณพุทธันดร ร่วมทำบุญ 1,000 บาท (โอนเงินร่วมบุญแล้ว)
    2.คุณชวภณ ร่วมทำบุญ 1,000 บาท (โอนเงินร่วมบุญแล้ว)
    3.คุณพิมพาภรณ์ ร่วมทำบุญ 100 บาท (โอนเงินร่วมบุญแล้ว)
    4.คุณtawatd ร่วมทำบุญ 1,000 บาท (โอนเงินร่วมบุญแล้ว)
    5.คุณnewcomer ร่วมทำบุญ 300.72 บาท (โอนเงินร่วมบุญแล้ว)
    6.คุณnarin96 ร่วมทำบุญ 1,000 บาท
    7.คุณเพชร ร่วมทำบุญ 300 บาท (โอนเงินร่วมบุญแล้ว)
    8.คุณkwok ร่วมทำบุญ 500 บาท (โอนเงินร่วมบุญแล้ว)
    9.คุณdrmetta ร่วมทำบุญ 1,000 บาท
    10.คุณgnip ร่วมทำบุญ 300 บาท
    11.คุณพรสว่าง_2008 ร่วมทำบุญ 300 บาท (โอนเงินร่วมบุญแล้ว)
    12.คุณake7440 ร่วมทำบุญ 1,000 บาท (โอนเงินร่วมบุญแล้ว)
    13.คุณkaticat ร่วมทำบุญ 1,000.11 บาท (โอนเงินร่วมบุญแล้ว)
    14.คุณnongnooo ร่วมทำบุญ 500 บาท (โอนเงินร่วมบุญแล้ว)
    15.คุณdragonlord ร่วมทำบุญ 1,000 บาท (โอนเงินร่วมบุญแล้ว)
    16.คุณaries2947 ร่วมทำบุญ 200 บาท (โอนเงินร่วมบุญแล้ว)
    17.คุณ นายคัง ร่วมทำบุญ 200 บาท
    18.คุณคีตา ร่วมทำบุญ 500 บาท (โอนเงินร่วมบุญแล้ว)
    19.คุณ นายสติ ร่วมทำบุญ 300 บาท
    20.คุณhongsanart ร่วมทำบุญ 500 บาท
    รวมจำนวนเงินที่ร่วมทำบุญกัน 11,300.83 บาท + 200 +500 = 12000.83 บาท

    ลองช่วยรวมครับพี่หนุ่มครับ
    โมทนาบุญกับพี่หนุ่มและทุกๆท่านด้วยครับ
     
  9. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    เตรียมหนังสือขั้นเริ่มๆให้ 3เล่มแล้วครับ หุ หุ
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    โมทนาสาธุครับ
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    2 มกราคม 2552 06:38 PM
    #26354
    วันนี้( 2 มกราคม 2552) ผมมีงานบุญมาบอกกับชาววังหน้าทุกๆท่าน

    เนื่องในวันปีใหม่ของไทยเรา คือวันที่ 13 เมษายน 2552 ที่จะมาถึงนี้ ผมจะจัดงานสรงน้ำพระ บรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 5 พระองค์ ( องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนาม สมเด็จพระพุทธสิกขีที่1(สมเด็จองค์ปฐม) , องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามกกุสันโธ ,องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนาม โกนาคมนะ ,องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนาม กัสสปะ และองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนาม สมณโคดม ) ,พระ อรหันต์ ไม่น้อยกว่า 30 พระองค์ (มีพระธาตุพระอรหันต์สมัยพุทธกาล ,หลวงปู่พระอุปคุตเถระเจ้า และพระธาตุหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด) ,พระบูชา (พระพุทธรูป ,หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ,สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี)

    การจัดงาน ผมจะแจ้งวันและเวลาอีกครั้ง(ผมจะแจ้งโดยตรงถึงพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ทุกๆท่านเอง) ในงานสรงน้ำครั้งนี้ ผมจะนิมนต์พระอาจารย์นิล และพระอาจารย์ผม มาฉันเพล เมื่อเสร็จสิ้นการถวายเพล และการสรงน้าแล้ว ผมจะมีการแจกพระสมเด็จให้กับทุกๆท่านที่มาร่วมงาน ผมจึงมาบอกบุญกับพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ทุกๆท่าน

    การร่วมทำบุญมีหลักเกณฑ์ดังนี้
    1.ร่วมทำบุญ 100 บาท พระสมเด็จจำนวน 1 ชุด(ขอไม่แจ้งจำนวนองค์) แต่รับพระสมเด็จ 1 องค์
    2.ส่วนที่เหลือผมจะแบ่งไปสำหรับการมอบพระสมเด็จให้กับท่านที่ไปร่วมงานสรงน้ำ
    3.ในส่วนที่แจกทุกๆท่านที่ไปร่วมงาน หากยังมีเหลือ ผมจะนำไปมอบให้กับพี่ใหญ่ เพื่อมอบให้กับท่านที่ร่วมทำบุญกับทุนนิธิท่านอาจารย์ประถม อาจสาครครับ
    4.จะนำไปบรรจุที่พระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง
    5.จะนำไปบรรจุที่พระเจดีย์ที่พระอาจารย์ผมจะดำเนินการสร้างขึ้น

    หากผมนำไปบรรจุในพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้งไม่ทัน ผมจะขอนำไปบรรจุที่พระเจดีย์ที่พระอาจารย์ผมจะดำเนินการสร้างขึ้นนะครับ

    แต่หากว่ามีท่านที่ร่วมทำบุญมากกว่าพระสมเด็จที่มี อยู่ ผมจะนำพระพิมพ์อื่นๆมาเพิ่มเติม ในส่วนนี้ผมจะนำไปบรรจุในพระเจดีย์เพียงอย่างเดียว จะไม่มีการนำมามอบให้นะครับ

    ระยะเวลาในการร่วมทำบุญ ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2552
    สิ้นสุดวันที่ 15 มกราคม 2552 เวลา 18.00 น.

    สำหรับท่านที่มีความประสงค์ที่จะร่วมทำบุญ ผมขอพิจารณาเป็นรายท่านนะครับ เนื่องจากการโอนเงินร่วมทำบุญ จะต้องโอนเงินเข้าบัญชีผมเอง เมื่อผมตอบตกลงแล้ว ผมจะแจ้งหมายเลขบัญชีให้อีกครั้งครับ

    หมายเหตุ ท่านที่ร่วมทำบุญทุกๆท่าน เมื่อผมตอบตกลงแล้ว ให้แจ้ง ชื่อ - นามสกุล ของท่าน และบุคคลในครอบครัวของท่าน ที่ท่านประสงค์จะเป็นเจ้าภาพร่วมกัน ให้ผมทราบด้วย ผมจะได้นำรายชื่อไปแจ้งในงานสรงน้ำ ,มอบให้กับพี่ใหญ่(ในกรณีที่มอบพระให้กับทางทุนนิธิ) ,ถวายพระอาจารย์นิล และพระอาจารย์ผมครับ

    โมทนาสาธุครับ
    http://palungjit.org/showthrea...24#post1771424

    http://palungjit.org/showthrea...2445&page=1318

    รายนามท่านที่ร่วมบุญ
    1.คุณพุทธันดร ร่วมทำบุญ 1,000 บาท (โอนเงินร่วมบุญแล้ว)
    2.คุณชวภณ ร่วมทำบุญ 1,000 บาท (โอนเงินร่วมบุญแล้ว)
    3.คุณพิมพาภรณ์ ร่วมทำบุญ 100 บาท (โอนเงินร่วมบุญแล้ว)
    4.คุณtawatd ร่วมทำบุญ 1,000 บาท (โอนเงินร่วมบุญแล้ว)
    5.คุณnewcomer ร่วมทำบุญ 300.72 บาท (โอนเงินร่วมบุญแล้ว)
    6.คุณnarin96 ร่วมทำบุญ 1,000 บาท
    7.คุณเพชร ร่วมทำบุญ 300 บาท (โอนเงินร่วมบุญแล้ว)
    8.คุณkwok ร่วมทำบุญ 500 บาท (โอนเงินร่วมบุญแล้ว)
    9.คุณdrmetta ร่วมทำบุญ 1,000 บาท
    10.คุณgnip ร่วมทำบุญ 300 บาท
    11.คุณพรสว่าง_2008 ร่วมทำบุญ 300 บาท (โอนเงินร่วมบุญแล้ว)
    12.คุณake7440 ร่วมทำบุญ 1,000 บาท (โอนเงินร่วมบุญแล้ว)
    13.คุณkaticat ร่วมทำบุญ 1,000.11 บาท (โอนเงินร่วมบุญแล้ว)
    14.คุณnongnooo ร่วมทำบุญ 500 บาท (โอนเงินร่วมบุญแล้ว)
    15.คุณdragonlord ร่วมทำบุญ 1,000 บาท (โอนเงินร่วมบุญแล้ว)
    16.คุณaries2947 ร่วมทำบุญ 200 บาท (โอนเงินร่วมบุญแล้ว)
    17.คุณ นายคัง ร่วมทำบุญ 200 บาท (โอนเงินร่วมบุญแล้ว)
    18.คุณคีตา ร่วมทำบุญ 500 บาท (โอนเงินร่วมบุญแล้ว)
    19.คุณ นายสติ ร่วมทำบุญ 300 บาท (จะนำไปฝากที่พี่ใหญ่)
    20.คุณhongsanart ร่วมทำบุญ 500 บาท

    รวมจำนวนเงินที่ร่วมทำบุญกัน 12,000.83 บาท

    หากผมแจ้งผิดพลาด กรุณาช่วยเตือนด้วยนะครับ

    โมทนาสาธุครับ
    <!-- / message --><!-- sig -->
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  13. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    น้ำข้าวกล้องงอก ของดีทำง่าย

    http://hilight.kapook.com/view/32558

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]



    กลายเป็นเรื่องดังรับศักราชใหม่ในทันที ภายหลัง นายประเสริฐ โกศัล วิตร อธิบดีกรมการข้าว กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ออกมาเปิดเผยถึงผลวิจัยสารอาหารที่มีประโยชน์ในพันธุ์ข้าวไทยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้จดลิขสิทธิ์ไว้ถึง 81 สายพันธุ์ จากพันธุ์ข้าวพื้นเมืองทั่วประเทศกว่า 13,000 ชนิด รวมทั้งศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ได้วิจัย "น้ำข้าวกล้อง งอก" ผลิตภัณฑ์ที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ พร้อมนำน้ำข้าวกล้องงอกขึ้น ทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งพระองค์ท่านทรงมีรับสั่งให้นำทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยทรงให้ทำถวายขึ้นโต๊ะเสวยที่วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ทุก 3 วัน

    จากข้อมูลที่ค้นหาในเว็บไซต์ www.ubn.ricethailand.go.th และ www.bloggang.com มีการกล่าวถึงผลิตภัณฑ์จากข้าวไว้หลากหลายน่าสนใจ โดยระบุว่า ในปัจจุบันคนไทยจำนวนหนึ่งหันมาใส่ใจสุขภาพ ได้หันมาบริโภคข้าวกล้องหรือผลิตภัณฑ์จากข้าวกล้องแทนข้าวขาว (ข้าวสาร) เนื่องจากข้าวกล้องผ่านกรรมวิธีการสีเพียงครั้งเดียวเพื่อเอาเปลือก (แกลบ) ออกไป ทำให้ข้าวที่เหลือยังมีจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว (รำ) อยู่ครบถ้วน ซึ่งจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวนี้ล้วนอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และเส้นใยอาหาร จึงเป็นประโยชน์ ต่อร่างกายมากกว่าข้าวประเภทอื่นๆ อย่างไรก็ตามแม้ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะรู้ว่าข้าวกล้องมีประโยชน์ แต่ไม่นิยมบริโภคเท่าที่ควร เพราะข้าวกล้องมีข้อด้อยกล่าวคือ เนื้อแข็ง ทำให้รู้สึกว่ากินไม่อร่อย แต่ถ้าหากปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้น ก็จะมีผู้หันมานิยมบริโภคมากขึ้น​

    ทั้งนี้ข้าวกล้องที่ไม่ได้ผ่านการถนอมคุณค่าอย่างถูกหลักวิชาการ หลังจากกะเทาะเปลือกแล้วจะเสื่อมสภาพลงทุกๆ วินาที ไม่ว่าจะบรรจุในภาชนะพิเศษ สูญญากาศหรือไม่ก็ตาม สาเหตุจาก เอนไซม์ไลเปส (lipase) ในข้าวกล้องจะไปย่อยกรดไขมัน มีผลให้กรดไขมันที่ดีในข้าวกล้อง เสื่อมสภาพลง (oxidization) จนมีกลิ่นเหม็นหืนในที่สุด นอกจากนี้ปฏิกิริยา oxidization ยังก่อให้เกิดปัญหา อนุมูลอิสระ (free radicals) ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายด้วย​

    ส่วนข้าวกล้องงอก (germinated brown rice หรือ GABA-rice) ถือเป็นนวัตกรรมหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจ เนื่องจากเป็นข้าวกล้องที่ต้องมาผ่านกระบวนการงอก ตามปกติในข้าวกล้องเองจะมีสารอาหารจำนวนมาก เช่น ใยอาหาร กรดไฟติก วิตามินซี วิตามินอี และ สารกาบา (gamma aminobutyric acid) ซึ่งช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง เบาหวาน ช่วยควบคุมน้ำหนักตัว เป็นต้น เมื่อนำข้าวกล้องมาแช่น้ำทำให้งอก จะทำให้ข้าวกล้องมีสารอาหารเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ สารกาบา นอกจากจะได้ประโยชน์จากการที่มีปริมาณสารอาหารที่สูงแล้ว ยังทำให้ข้าวกล้อง งอกที่หุงสุกมีเนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่ม รับประทานได้ง่ายกว่าข้าวกล้องธรรมดา จึงง่ายแก่การหุงรับประทานได้โดยไม่ต้องผสมข้าวขาว

    จากการศึกษาทางกายภาพและทางชีวเคมีพบว่า "เมล็ดข้าว" ประกอบด้วย เปลือกหุ้มเมล็ด หรือแกลบ (Hull หรือ Husk) ซึ่งจะหุ้มข้าวกล้อง ในเมล็ดข้าวกล้องประกอบด้วย จมูกข้าว หรือ คัพภะ (Germ หรือ Embryo) รำข้าว (เยื่อหุ้มเมล็ด) และ เมล็ดข้าวขาวหรือเมล็ดข้าวสาร (Endo- sperm) สารอาหารในเมล็ดข้าวประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนประกอบหลัก โดยมี โปรตีน วิตามินบี วิตามินอี และแร่ธาตุที่แยกไปอยู่ในส่วนต่างๆ ของเมล็ดข้าว นอกจากนี้ ยังพบสารอาหารประเภท ไขมัน ที่พบได้ในรำข้าวเป็นส่วนใหญ่ ​

    ข้าวเมื่ออยู่ในสภาวะที่มีการเจริญเติบโตจะมีการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี การเปลี่ยนแปลงจะเริ่มขึ้น เมื่อน้ำได้แทรกเข้าไปในเมล็ดข้าว โดยจะกระตุ้นให้เอนไซม์ภายในเมล็ดข้าวเกิดการทำงาน เมื่อเมล็ดข้าวเริ่มงอก (malting) สารอาหารที่ถูกเก็บไว้ในเมล็ดข้าวก็จะถูกย่อยสลายไปตามกระบวนการทางชีวเคมีจนเกิดเป็นสารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กลง (oligosaccharide) และ น้ำตาลรีดิวซ์ (reducing sugar) นอกจากนี้ โปรตีนภายในเมล็ดข้าวก็จะถูกย่อยให้เกิดเป็น กรดอะมิโน และ เปปไทด์ รวมทั้งยังพบการสะสมสาร เคมีสำคัญต่าง ๆ เช่น แกมมาออริซานอล (gamma-orazynol) โทโคฟีรอล (tocopherol) โทโคไตรอีนอล (tocotrienol) และโดยเฉพาะ สารแกมมาอะมิโนบิวทิริกแอซิด (gamma-aminobutyric acid) หรือที่รู้จักกันว่า สารกาบา หรือ (GABA)​

    สารกาบา เป็นกรดอะมิโนจากกระบวน การ decarboxylation ของ กรดกลูตามิก (glutamic acid) กรดนี้มีความสําคัญในการทำหน้าที่ สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ในระบบประสาทส่วนกลางและ สารกาบา ยังเป็นสารสื่อประสาทประเภท สารยับยั้ง (inhibitor) โดยจะทำหน้าที่รักษาสมดุลในสมองที่ได้รับการกระตุ้น ช่วยทำให้สมองผ่อนคลายและนอนหลับสบาย อีกทั้งยังทำหน้าที่ช่วย กระตุ้นต่อมไร้ท่อ (anterior pituitary) ซึ่งทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต (HGH) ทำให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อ ทำให้กล้ามเนื้อกระชับ และเกิดสาร lipotropic ป้องกันการสะสมไขมัน

    จากการศึกษาและวิจัยพบว่า การ บริโภคข้าวกล้องงอกที่มีสารกาบามากกว่าข้าวกล้องปกติ 15 เท่า จะสามารถป้องกัน การทำลายสมอง เนื่องจากสารเบต้า อไมลอยด์เปปไทด์ (Beta-amyloid peptide) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคสูญเสียความทรงจำ (อัลไซเมอร์) ดังนั้น จึงได้มีการนำ สารกาบา มาใช้ในวงการแพทย์เพื่อการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาทต่าง ๆ หลายโรค เช่น โรควิตกกังวล โรคนอนไม่หลับ โรคลมชัก เป็นต้น รวมทั้งผลการวิจัยด้านสุขภาพระบุว่าข้าวกล้องงอกที่ประกอบด้วย สารกาบา มีผลช่วยลดความดันโลหิต ลด LDL (Low densitylipoprotein) ลดอาการอัลไซเมอร์ ลดน้ำหนัก ทำให้ผิวพรรณดี และใช้บำบัดโรคเกี่ยวกับระบบประสาทส่วนกลาง​

    อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ "ข้าว กล้องงอก" เคยเป็นผลงานวิจัยของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับประเทศญี่ปุ่น พบว่ามี สารกาบา มากกว่าข้าว กล้องปกติถึง 15 เท่า ในต่างประเทศ ได้นำ สารกาบา มาใช้ในวงการแพทย์ เพื่อการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาทต่างๆ ด้วย​

    การวิจัยเบื้องต้นของ อาจารย์พัชรี ตั้งตระกูล จากสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ได้ทำการศึกษาหาพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมและสภาพการผลิตข้าวกล้องงอกที่มีประสิทธิภาพ พบว่า ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เมื่อนำมาเพาะเป็นข้าวกล้องงอกจะมี สารกาบา มากที่สุด (15.2-19.5 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม) สูงกว่าข้าวกล้องชนิดอื่นๆ

    ส่วนสภาวะที่ทำให้ข้าวกล้อง งอกได้ดีที่สุดคือ ต้องนำข้าวกล้องไปแช่น้ำราว 48-72 ชั่วโมงในหม้อแช่ โดยมีการควบคุมอุณหภูมิ การไหลเวียนน้ำ ความดัน และความเป็นกรดด่างของน้ำ เพื่อให้ความชื้นจากน้ำไปกระตุ้นให้เมล็ดข้าวงอกและเปลี่ยนกรดกลูตามิกไปเป็นสารกาบาอันเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ต่อมา เมื่อได้ข้าวกล้องงอกในขั้นตอนนี้แล้ว ก็ต้องทำให้ข้าวกล้องงอกหยุดการงอกต่อไป โดยอบแห้งให้มีความชื้นต่ำกว่า 14% ในหม้ออบแห้ง จากนั้นจึงบรรจุลงในถุงสุญญากาศ ทั้งนี้ ข้าวกล้อง ที่สามารถนำมาแช่น้ำให้เกิดการงอกได้ดีนั้นจะต้องเป็นข้าวกล้องที่ผ่านการกะเทาะเปลือกมาไม่ เกิน 2 สัปดาห์​

    เมื่อได้ข้าวกล้องงอกเรียบร้อยแล้ว หากใครอยากจะทำ "น้ำข้าวกล้อง งอก" ก็ไม่ยาก นำไปแช่น้ำทิ้งไว้ 3-5 ชั่วโมง ให้ข้าวกล้องงอกเป็นตุ่มเล็กๆ บริเวณจมูกข้าว ก็นำไปหุงต้มจนเดือดพล่าน จากนั้นก็ใช้ผ้าขาวบางหรือตะแกรงกรองน้ำข้าวมารับประทานได้ทันที หากไม่ชอบรสชาติเดิมๆ แนะนำให้เติมเกลือป่นหรือน้ำตาลเล็กน้อย เท่านี้ก็อร่อยลิ้นแล้ว​

    งานนี้อิ่มท้องและเติมเต็มคุณค่าทางโภชนาการให้ร่างกายในคราวเดียวกัน

    ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก เดลินิวส์​

    [​IMG]
    โดย : ทีมข่าวเฉพาะกิจ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 01_101.jpe
      01_101.jpe
      ขนาดไฟล์:
      55.5 KB
      เปิดดู:
      4,728
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    สมัยเด็กๆ กินน้ำข้าวบ่อยครับ คุณยายหุงข้าว(แบบโบราณ) ก็มีน้ำข้าว ส่วนใหญ่คุณยายจะให้หมากิน ผมชอบไปแบ่ง(แย่ง)มากิน แล้วใส่เกลือ(เม็ด) อร่อยมากๆ

    .
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ทุกข์
    http://www.nkgen.com/2.htm

    <TABLE width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width=721>ปฏิจจสมุปบาท ปรมัตถธรรมอันเป็นเหตุปัจจัยให้ตรัสรู้

    </TD><TD width=239>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมอันลึกซึ้ง ที่หลังจากแรกตรัสรู้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงน้อมที่จะไม่แสดงธรรมแก่เหล่าสรรพสัตว์ เพราะมีพุทธดําริในแรกเริ่มว่าจะไม่เผยแผ่ธรรมที่ท่านตรัสรู้ ก็เนื่องจากความลึกซึ้งของ "ปฏิจจสมุปบาทและนิพพาน" ว่าเป็นที่รู้เข้าใจได้ยากแก่สรรพสัตว์ (พระไตรปิฎก เล่ม๑๒/ข้อ๓๒๑) เหตุที่กล่าวแสดงดังนี้ เพื่อให้ท่านได้พิจารณาธรรมนี้โดยละเอียดและแยบคายจริงๆ ไม่เกิดความประมาทว่าเป็นของง่ายๆ ดังปรากฎแก่พระอานนท์มหาเถระมาแล้ว [​IMG] จึงจักเกิดประโยชน์สูงสุดขึ้นได้ และควรกระทําการพิจารณา(ธรรมวิจยะ)โดยละเอียดและแยบคายด้วยความเพียรพยายามอย่างยิ่ง เพราะพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้แล้วว่า"ยากและลึกซึ้ง" แต่เรามีแนวทางปฏิบัติของท่านแล้ว จึงเป็นสิ่งอันพึงปฏิบัติได้ แต่กระนั้นเราผู้เป็นปุถุชนจึงมิควรประมาทว่าเข้าใจแล้วโดยการอ่าน, การฟังแต่เพียงอย่างเดียวโดยเด็ดขาดเพราะเกินกำลังอำนาจของปุถุชน จักต้องทําการพิจารณาโดยละเอียดและแยบคายจริงๆ(โยนิโสมนสิการ)จึงจักบังเกิดผลอย่างแท้จริง
    ปฏิจจสมุปบาท ดำเนินเป็นไปตามหลักธรรมอิทัปปัจจยตา ที่มีพระพุทธพจน์ ตรัสสอนไว้ว่า
    <TABLE width=461 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=207>เมื่อเหตุนี้มี ผลนี้จึงมี

    </TD><TD width=244>เพราะเหตุนี้เกิดขึ้น ผลนี้จึงเกิดขึ้น

    </TD></TR><TR><TD width=207>เมื่อเหตุนี้ไม่มี ผลนี้จึงไม่มี

    </TD><TD width=244>เพราะเหตุนี้ดับ ผลนี้จึงดับ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    อันแลดูเป็นธรรมดา แต่กลับแสดงถึงสภาวธรรมหรือสภาวธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ตามความเป็นจริงถึงขั้นสูงสุด(ปรมัตถ์) ถึงปัจจัยอันเนื่องสัมพันธ์กันจึงเป็นผลให้เกิดอีกสิ่งหนึ่งขึ้น อันเป็นหัวใจสําคัญในพุทธศาสนาที่ยึดในหลักธรรมที่ว่า" สิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย" หรือ " ธรรม(สิ่งหรือผล)ใด ล้วนเกิดแต่เหตุ" อันเป็นเฉกเช่นเดียวกับหลักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันนั่นเอง แตกต่างกันแต่ว่าหลักวิทยาศาสตร์นั้นส่วนใหญ่ครอบคลุมแต่เพียงด้านวัตถุธรรมหรือรูปธรรมเพียงด้านเดียว แต่ธรรมของพระพุทธองค์นั้นครอบคลุมถึงขั้นปรมัตถ์คือตามความเป็นจริงขั้นสูงสุด จึงครอบคลุมโดยบริบูรณ์ ทั้งฝ่ายรูปธรรม(วัตถุ)และนามธรรม(จิต,นาม), ปฏิจจสมุปบาทก็เนื่องมาจากหลักธรรมอิทัปปัจจยตาหรือกฎธรรมชาตินี้ แต่เป็นหลักธรรมที่เน้นเฉพาะเจาะจงถึงเหตุปัจจัยให้เกิดผล อันคือความทุกข์(ฝ่ายสมุทยวาร) และการดับไปแห่งทุกข์(ฝ่ายนิโรธวาร) โดยตรงๆ แต่เพียงเรื่องเดียว
    ช่างยนต์ ต้องรู้เรื่องเครื่องยนต์อย่างดี จึงจักซ่อมบํารุงได้ดี ฉันใด
    ผู้ที่ต้องการดับทุกข์ จึงต้องกำหนดรู้เรื่องทุกข์ และการดับทุกข์อย่างดี จึงจักดับทุกข์ได้ดี ฉันนั้น
    พระองค์ท่านได้ตรัสไว้ว่า ท่านสอนแต่เรื่องทุกข์และการดับทุกข์ ที่สอนให้รู้เรื่องทุกข์ต่างๆ มิใช่เพื่อให้เป็นทุกข์ แต่เพื่อนำความรู้ความเข้าใจในเรื่องทุกข์ ไปใช้ในการดับทุกข์ อันเป็นสุขอย่างยิ่ง
    ปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมในรูปกฎแห่งธรรมชาติขั้นสูงสุด คือเป็นสภาวธรรมจริงแท้แน่นอนอย่างที่สุดหรือมันต้องเป็นเช่นนั้นเองจึงอกาลิโกยิ่งนัก อันกล่าวถึง กระบวนจิตของการเกิดขึ้นของทุกข์และการดับไปของทุกข์ ที่แสดงถึง การอาศัยกันของเหตุต่างๆ มาเป็นปัจจัยกัน แล้วก่อให้เกิดเป็นความทุกข์ขึ้น, หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า
    ธรรมที่แสดงถึงเหตุปัจจัยชนิดต่างๆ ที่ทําให้เกิดเหตุปัจจัยต่อเนื่องสืบต่อกัน อันเป็นผลให้เกิดทุกข์ในที่สุด, หรือกล่าวอย่างละเอียดได้ว่า
    ธรรมที่แสดงถึงการที่ทุกข์เกิดขึ้นได้นั้น เพราะอาศัยเหตุปัจจัยอันเกิดต่อสืบเนื่องกันมาเป็นลําดับ...ซึ่งมีองค์ประกอบ ๑๒ ส่วนหรือองค์ธรรม เกี่ยวเนื่องเป็นปัจจัยแก่กันและกัน หมุนเวียนไปเป็นวงจรเกี่ยวเนื่องกันไปเป็นลําดับแต่หาต้นหาปลายไม่ได้เพราะเป็นภวจักรหรือวงจร ซึ่งเกิดจากเหตุปัจจัยอันหนึ่งเป็นปัจจัยของอีกอันหนึ่ง และปัจจัยอีกอันหนึ่งนี้ก็เป็นปัจจัยของอีกอันอื่นๆสืบต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด......จึงก่อเกิดเป็นสังสารวัฏการเวียนว่ายตายเกิดในภพ....ในชาติ, และมีการเกิดภพ เกิดชาติ ตั้งแต่ในปัจจุบันชาตินี้เอง กล่าวคือเกิด ภพ ชาติ ตั้งแต่ ณ ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันนี้นั่นเอง! และสามารถเกิด ภพ เกิด ชาติ อันเป็นทุกข์ได้ในทุกขณะจิต!

    เพราะความลึกซึ้งและแยบคายของปฏิจจสมุปบาทอันเป็นปรมัตถธรรมคือเป็นธรรมหรือสิ่งที่เป็นจริงขั้นสูงสุด จึงมีความหมายครอบคลุมไปถึงเรื่องข้ามภพ ข้ามชาติ หรือการเกิดภพชาติ ตลอดจนแม้กระทั่งกําเนิดของโลก อันเป็นโลกิยะ อันยังประโยชน์ต่อขันธ์หรือชีวิตของปุถุชน, แต่พระพุทธประสงค์โดยลึกซึ้งสูงสุดแล้ว เป็นการแสดงแบบโลกุตระ (ดังกล่าวแสดงโลกิยะและโลกุตระไว้ในมหาจัตตารีสกสูตร) ที่แสดงการเกิดขึ้นของภพ ชาติ แล้วดับภพ ดับชาติ เหล่านั้น เสีย ตั้งแต่ในปัจจุบันชาตินี้ ก่อนตายหรือแตกดับ หรือดับความทุกข์ที่เกิดจากภพจากชาติเหล่านี้ ที่เกิดดับ..เกิดดับ อยู่เป็นระยะๆทุกขณะจิตโดยไม่รู้และไม่เข้าใจด้วยอวิชชา เป็นการ เกิดดับ เกิดดับๆๆ..ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาทุกขณะ ทั้งๆที่ยังดำรงขันธ์หรือชีวิตอยู่ เยี่ยงนี้จึงเป็นเรื่องที่ถูกพระพุทธประสงค์อย่างถูกต้องและแท้จริงเป็นสูงสุด เป็นโลกุตระและเมื่อมีความเข้าใจอย่างถูกต้องแท้จริง(สัมมาญาณ) ย่อมทําให้ดําเนินไปในธรรมได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว (อ่านรายละเอียดได้ใน การตีความปฏิจจสมุปบาท)
    ดังพุทธพจน์ ที่ตรัสไว้ว่า


    เราตถาคต จึงบัญญัติความเพิกถอน ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ในปัจจุบัน
    (จูฬมาลุงโยวาทสูตร)


    เห็นทุกข์อะไร? จึงเริ่มเห็นธรรม อย่างแท้จริง
    หลายท่านเข้าใจว่าการปฏิบัตินั้น "ต้องเห็นทุกข์ จึงจะเห็นธรรม" อย่างผิดความหมาย อย่างเป็นอวิชชา(ความไม่รู้ตามความเป็นจริง) คือเข้าใจไปว่า ต้องเป็นทุกข์ จึงเห็นธรรม คือต้องเกิดทุกข์ขึ้นเสียก่อน แล้วจึงจะเหมาะแก่การเริ่มปฏิบัติ จึงจะสามารถเห็นหรือเข้าใจในธรรมต่างๆได้ดี หลายๆท่านจึงทอดทิ้งการปฏิบัติโดยกล่าวอ้างว่าไม่มีทุกข์ ทั้งๆที่มีทุกข์ หรือกําลังก่อความทุกข์อยู่ในทุกๆขณะจิตโดยไม่รู้ตัว, แต่แท้ที่จริงนั้นคําว่า เห็นทุกข์ หรือเห็นทุกขอริยสัจนั้นหมายถึง ทุกข์ให้ " รู้ " ที่มีความหมายครอบคลุมว่า มีสติรู้เท่าทันความทุกข์ที่เกิดขึ้น๑. และรู้เข้าใจหรือเห็นในสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ของทุกข์อย่างถูกต้องตามความเป็นจริงแห่งธรรม(ธรรมชาติ)๑. จึงมิได้มีความหมายถึงการที่ต้องประสบกับความทุกข์เสียก่อนแล้วจึงควรแก่การศึกษาปฏิบัติ, ดังนั้นก่อนอื่นจึงต้องกำหนดรู้ในทุกข์ เพื่อประโยชน์ในการใช้ไปในการดับทุกข์ ซึ่งเมื่อดับทุกข์แล้วผลที่เกิดขึ้นก็คือความสุข ที่สะอาด สงบ บริสุทธิ์ อันเป็นกิจอันพึงกระทำใน อริยสัจ ๔ (กิจจญาณ) ดังนั้นพึงทำความเข้าใจความหมายของคําว่า ทุกข์ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างถูกต้องเสียก่อน มิฉนั้นจะไม่เข้าใจในสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ของทุกข์ และไม่รู้เป้าหมาย(ทุกข์)ที่จะกําจัดอย่างแท้จริง อันคือ "ทุกข์อะไร?" ที่จะดับสนิทไม่ให้เหลือได้มดังพระพุทธประสงค์ และเพื่อให้เกิดความเข้าใจว่าทุกข์อะไรที่เป็นทุกข์ประจําขันธ์หรือชีวิต อันเป็นสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ที่ยังคงต้องเกิด ต้องมี ต้องเป็น? และต้องปฏิบัติเยี่ยงไรจึงไม่เป็นทุกข์ เพราะถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจ(อวิชชา)ถึงจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติอย่างถ่องแท้ถูกต้อง จักทําให้การปฏิบัตินั้นวนเวียนไม่ก้าวหน้าเพราะมัวแต่ปฏิบัติในสิ่งที่ยึด,ในสิ่งที่ตนเองเข้าใจผิด, หรือเป็นเพราะการยึดถือตามๆกันมาตามประเพณีที่สืบทอดต่อๆกันมาโดยไม่ถูกต้องหรือเข้าใจผิด อันทําให้ปฏิบัติไปตามความเชื่อ ความเข้าใจที่ผิด จึงเป็นไปในสภาพที่พยายามปฏิบัติให้เหนือกว่าสภาวธรรม(ธรรมชาติ)อันยิ่งใหญ่โดยไม่รู้ตัว อันอุปมาได้ดั่งการวิ่งไล่จับเงาที่ย่อมไม่มีวันประสบผลสําเร็จ ดังเช่น ความไม่เข้าใจว่าทุกขอริยสัจ อันเป็นทุกข์ประจำขันธ์หรือชีวิตของทุกคนและเวทนา(ความรู้สึกรับรู้ในสิ่งที่ผัสสะ จึงครอบคลุมถึงทุกขเวทนาที่ไม่ถูกใจ) อันเป็นทุกข์โดยธรรมคือธรรมชาตินั้นยังคงมีอยู่ เมื่อไม่รู้ จึงเกิดการพยายามปฏิบัติไปในลักษณะดับทุกขอริยสัจหรือทุกขเวทนาอันเป็นความเข้าใจผิดอย่างแรงกล้าเพราะทุกข์ที่จะต้องดับไปนั้น หมายถึงทุกข์อุปาทานคือความทุกข์ที่ประกอบด้วยตัณหาอุปาทานเท่านั้น ดังนั้นตามความเป็นจริงแห่งธรรมแล้วเราต้องดับทุกข์อุปาทาน ที่เร่าร้อนเผาลนด้วยเวทนูปาทานขันธ์(เวทนาที่ประกอบหรือถูกยึดครองด้วยอุปาทาน)ที่เกิดขึ้นเป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง แต่เพราะอวิชชาจึงแยกแยะสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ของทุกขอริยสัจและเวทนาอย่างแท้จริงไม่ได้ จึงพยายามไปดับทุกขอริยสัจหรือเวทนาโดยไม่รู้ตัว อันย่อมยังให้เกิดการปฏิบัติแบบนอกลู่ผิดทาง และก่อให้เกิดวิปัสสนูปกิเลสอีกด้วย ทำให้ไม่สามารถก้าวหน้าในการปฏิบัติสมดั่งวัตถุประสงค์เพื่อความดับสนิทแห่งทุกข์หรือพ้นทุกข์ อันเป็นสุขอย่างยิ่ง, หรือจางคลายจากทุกข์ได้ตามควรแห่งฐานะตน
    ใน "ธัมมจักกัปปวัตนสูตร" ซึ่งเป็นปฐมเทศนา คือการแสดงธรรมเป็นครั้งแรกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแก่เหล่าพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕, ตลอดจนหลักธรรม อริยสัจ ๔, สติปัฏฐาน ๔, หรือในบทสวดมนต์ทําวัตรเช้าบท"สังเวคปริกิตตนปาฐะ" และแก่นธรรมทั้งหลาย พระพุทธองค์ท่านทรงตรัสอธิบายเรื่องทุกข์ไว้ดังนี้

    ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือความจริงอันประเสริฐเรื่องความทุกข์ คือความเกิดก็เป็นทุกข์, ความแก่ก็เป็นทุกข์, ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์, ความตายก็เป็นทุกข์, ความประจวบกับสิ่งที่ไม่รักก็เป็นทุกข์, ความพรากจากสิ่งที่รักก็เป็นทุกข์, ความปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ กล่าวโดยย่อ ขันธ์ ๕ ที่ประกอบด้วยอุปาทานเป็นทุกข์
    (บาลี มหาวาร, สํ๑๙/๕๒๘/๑๖๖๔, ตรัสแก่ภิกษุทั้ง ๕ ที่ป่าอิสิปตมฤคทายวัน)
    ถ้าเราใช้การ "โยนิโสมนสิการ" คือการพิจารณาโดยละเอียดและแยบคายตามความเป็นจริงในธรรม(สิ่ง)นั้น ไม่ใช้แต่เพียงความคิดเห็นหรือความเชื่อของตนเองอันคือทิฏฐอันมักมีอคติหรืออธิโมกข์ใดๆมานําให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริง, แล้วจักเห็นได้ว่า ทุกข์ ที่พระองค์ทรงกล่าวไว้ทั้ง ๗ ข้างต้น อันมี ๑.ความเกิด ๒.ความแก่ ๓.ความเจ็บ ๔.ความตาย ๕.การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ๖.การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ๗.ความปรารถนาในสิ่งอันใดแล้วไม่ได้ในสิ่งอันนั้น ทั้ง๗ ประการนี้ เป็นเหตุที่ทำให้เกิดความทุกข์ขึ้น หรือเหตุแห่งทุกข์นั่นเอง อันครอบคลุมความทุกข์ทุกรูปแบบทุกประการประดามีในโลกนี้อย่างครบถ้วนบริบูรณ์ และเป็นไปอย่างปรมัตถ์คือตามความเป็นจริงขั้นสูงสุด จึงครอบคลุมสรรพทุกข์ของบรรดาสรรพสัตว์ล้วนสิ้น ตั้งแต่อดีตกาล จวบจนปัจจุบันและต่อไปในอนาคตและจักยังครอบคลุมทุกกาลสมัยหรืออนันตกาลตลอดไป ถ้าเราใส่ใจสังเกตุโดยแยบคายจักพบคําว่า โดยย่อแล้ว ขันธ์ ๕ ที่ประกอบด้วยอุปาทานเป็นทุกข์อันเป็นแก่นสาระ ที่มีความหมายที่สําคัญยิ่งว่า เหตุแห่งความทุกข์ทุกประการประดามีที่กล่าวมาแล้วทั้ง ๗ นี้ สามารถย่อหรือ "สรุป" ลงเหลือเพียงเป็น"หนึ่งเดียว" เท่านั้น กล่าวคือ ทุกข์ทั้ง ๗ นี้ อันเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ชนิดที่พระพุทธองค์ทรงเพียรสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้ดับสนิทลงไป คือ อุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์ หรือ "อุปาทานทุกข์" หรือก็คือ "กระบวนการดำเนินชีวิตโดยอาศัยขันธ์ทั้ง ๕ ที่เกิดในสภาวะที่มีอุปาทานร่วมหรือครอบงําด้วย" อันเป็นความทุกข์ที่บังเกิดแก่ใจหรือจิต นี้แหละคือความทุกข์แท้ๆ ที่สัตว์โลกทั้งหลายมองไม่เห็นด้วยตาหรือใจธรรมดา ซึ่งตามปกติมักเติมเต็มไปด้วยกิเลส,ตัณหาและอุปาทาน จึงปิดบังดวงตาไม่ให้เห็นสัจจธรรมนี้ จึงต้องอาศัยธรรมคําสั่งสอนของพระองค์ท่านเป็นแนวทาง เพื่อให้เกิดดวงตาเห็นธรรมที่หมายถึงตาแห่งปัญญาหรือความเข้าใจที่ถูกต้องแท้จริง(สัมมาญาณ) จึงจักสามารถมองเห็นได้อย่างแทงตลอด ถูกต้อง และแท้จริง
    ก่อนอื่นต้องโยนิโสมนสิการ ให้เกิดความเข้าใจจนน้อมย้อมรับตามความเป็นจริงว่า การดับทุกข์นั้น ไม่ใช่การดับทุกข์อริยสัจอันมี เกิด, แก่, เจ็บ, ตาย, การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก, การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก, หรือความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น.ซึ่งล้วนเป็นเหตุปัจจัยอันเป็นสภาวธรรมหรือกฎธรรมชาติแท้ๆ คือ เป็นสภาวะที่จริง แท้ แน่นอน, สิ่งเหล่านี้เมื่อสัตว์,บุคคลใดเกิดขึ้นมาในโลกนี้แล้วย่อมต้องประสบพบพาน ไม่มีผู้ใดหลีกเลี่ยงจากสภาวธรรม(ธรรมชาติ)นี้ หรือกฎพระไตรลักษณ์ได้ แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเหล่าพระอริยเจ้าทุกพระองค์, แต่พระพุทธองค์ทรงค้นพบสัจจธรรมขั้นปรมัตถ์อันสูงสุดว่า ทุกข์เหล่านั้นเป็นทุกข์ตามธรรมชาติ หรือทุกข์ประจําขันธ์หรือชีวิตอันยังต้องเกิด ต้องมี ต้องเป็น หรือมันเป็นเช่นนั้นเอง เป็นไปตามกระแสสภาวธรรมหรือธรรมชาติ แต่เพราะความไม่รู้ด้วยอวิชชา จึงไม่รู้จะกระทําหรือปฏิบัติเยี่ยงไรต่อทุกข์เหล่านั้นอันเป็นสภาวะธรรมชาติที่ต้องเกิดขึ้นและเป็นไปเป็นธรรมดา ที่ตามธรรมชาติเดิมแท้ ของมันนั้น ไม่เป็นทุกข์อันเร่าร้อนเผาลน และยาวนาน ต้องปฏิบัติเยี่ยงไรไม่ให้แปรปรวนไปถูกครอบงำด้วยตัณหา อุปาทาน อันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความทุกข์ หรือ อุปาทาน ทุกข์ ที่ปุถุชนรู้สึก เร่าร้อนเผาลนเกิดแก่ใจหรือจิตและเป็นไปอย่างยาวนาน เพราะแยกแยะไม่ออกเนื่องจากยังไม่มีวิชชา ของพระพุทธองค์ จึงยังคงถูกครอบงําด้วยอวิชชา อันคือความไม่รู้ตามความเป็นจริงในสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ของทุกข์และการดับทุกข์ จึงปฏิบัติดับทุกข์ไม่ถูกที่เหตุ จึงทำให้การปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์นั้นเป็นไปอย่างไม่ถูกต้อง กลับไปพยายามแสวงหาหรือปฏิบัติที่จะไม่ให้เกิดเหตุแห่งทุกข์ใดๆในสภาวธรรมที่ต้องคงเกิดมีเป็นเช่นนั้นเองดังทุกขอริยสัจและทุกขเวทนา กล่าวคือ ไม่อยากให้มีทุกข์ ไม่ให้มีโศก ไม่ให้มีโรค ไม่ให้มีภัย ไม่ให้มีเสนียดจัญไรใดๆมากระทบหรือเกิดขึ้น ซึ่งเป็นไปไม่ได้ และเป็นไปอย่างไม่รู้ตัวว่ายึดเยี่ยงนี้อยู่ โดยมัวแต่ยึดในบุญในกุศล เพื่อหวังผลบุญช่วยคํ้าจุนดังกล่าว จนขาดการปฏิบัติเพื่อดับภพ ดับชาติ อันเป็นเส้นทางตัดตรงถึงบุญถึงกุศลขั้นสูงสุดอย่างถูกต้องดีงาม.

    พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า
    "เมื่อกล่าวสรุปให้สั้นอย่างที่สุดแล้ว เบญจขันธ์(ขันธ์ ๕)ที่มีอุปาทาน เป็นตัวทุกข์."
    สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา

    คําสั่งสอนของพระพุทธองค์นั้น ล้วนเป็นคําสั่งสอนให้นําออกหรือดับอุปาทานทุกข์ หรือทุกข์ที่บังเกิดแก่ใจล้วนสิ้น และ "อุปาทานทุกข์" นี้แหละคือความทุกข์จริงๆที่มนุษย์ทั้งหลายกําลังเผชิญกันอยู่ทุกๆขณะจิต เพียงแต่ไม่รู้ไม่เข้าใจว่าเป็นอุปาทานทุกข์,เพราะความไม่รู้ไม่เข้าใจในสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ของทุกข์ที่พระพุทธองค์ได้ทรงสั่งสอน เพราะอวิชชาจึงพยายามปฏิบัติหาทางดับเวทนาอันเป็นทุกข์ธรรมชาติ หรือทุกข์ประจําขันธ์หรือชีวิต(กระบวนธรรมของชีวิต) อันเป็นสภาวธรรมชาติแท้ๆไปด้วย โดยไม่รู้ตัว,ี่แม้แต่พระพุทธองค์ก็ทรงยอมรับและประสบกับสภาวธรรมชาติเหล่านี้เช่นกัน, เมื่อไม่เข้าใจจึงก่อกลายเป็นอุปาทานทุกข์อันเป็นทุกข์แท้ๆให้เกิดขึ้นจากความไม่รู้ไม่เข้าใจเพิ่มขึ้นอีก จึงเกิดการเวียนวนไม่ก้าวหน้าในการปฏิบัติจนเหนื่อยอ่อน เพราะแน่นอนที่ย่อมไม่สามารถปฏิบัติให้ชนะธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ได้ตามความเชื่อ,ความเข้าใจผิดนั้นได้ จึงอุปมาดั่งวนเวียนไล่จับเงาตนเองอยู่ตลอดกาลสมัย ซึ่งย่อมไม่มีวันประสบความสําเร็จไม่ว่าจักนานไปถึงภพชาติใดๆก็ตาม

    อุปาทานคืออะไร? อะไรเป็นเหตุ มาเป็นปัจจัยที่ทําให้เกิด? เข้าใจจริงๆแล้วหรือ?
    ปฏิจจสมุปบาทสามารถอธิบายได้ว่าอุปาทานคืออะไร? อะไรเป็นปัจจัยให้เกิดขึ้น?
    เมื่อไม่คลุมเครือและเข้าใจอย่างชัดแจ้งว่า อันใดเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดอุปาทานอันเป็นมวลเหตุแห่งทุกข์ทั้งมวลแล้ว ย่อมสามารถแก้ปัญหาคือดับทุกข์ที่เหตุได้อย่างถูกต้อง อันอุปมาดั่งดับไฟที่ต้นเพลิง อันย่อมต้องบังเกิดผล ดั่งที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้
    ธรรมใดเกิดแต่เหตุ เมื่อเหตุดับ ธรรมนั้นก็ดับ

    อันคือ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนเกิดแต่เหตุ เมื่อเหตุดับ สิ่ง(ผล)นั้นก็ดับ
    จากปฏิจจสมุปบาทถ้าท่านพิจารณาโดยละเอียดและแยบคายแล้ว ท่านจะได้ประโยชน์อันสูงลํ้าค่า
    สมดังพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า
    ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม

    อนึ่งเราควรอ่านพิจารณาแยกแยะเวทนา(การเสวยอารมณ์หรือการเสวยความรู้สึก เป็นสุขเวทนา,ทุกขเวทนา,อทุกขมสุขหรือไม่ทุกข์ไม่สุข)อันคือทุกข์ธรรมชาติของชีวิตหรือขันธ์๕ อันเป็นกระแสสภาวะธรรมหรือสภาวะธรรมชาติแท้ๆ ให้ออกจากความทุกข์แท้ๆหรือ"อุปาทานทุกข์")อันเกิดแต่เหตุปัจจัยชนิดที่ไม่จําเป็นในการดํารงชีวิตมาปรุงแต่งจนเป็นทุกข์ให้ชัดเจน เพราะเป็นปัจจัยสําคัญให้เข้าใจในสภาวะธรรม อันจะมีกล่าวไปเป็นลําดับขั้น คําศัพท์บาลีอาจมีค่อนข้างมากเพื่อเทิดพระเกียรติ์แด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้ธรรมอันชอบด้วยพระองค์เอง และเพื่อการสืบทอดพระศาสนา เพื่อให้คงความหมายเดิมของพระพุทธองค์ไว้ แต่จะมีวงเล็บอธิบายไว้เป็นส่วนใหญ่ และบางคําท่านสามารถคลิกดูความหมายได้ทันที, หรือค้นหาคำศัพท์ โดยคลิกที่เม้าส์ขวาของทุกหน้า, ตลอดจนSearch Engine สำหรับการค้นหาข้อมูลภายในเว็บปฏิจจสมุปบาท, และเป็นความตั้งใจของผู้เขียนที่ต้องการให้อ่านอย่างพิจารณาช้าๆแต่โดยละเอียด เพื่อที่จะได้พิจารณาโดยแยบคาย(อย่างชาญฉลาด) และสามารถที่จะศึกษาต่อจากแหล่งข้อมูลอื่นๆได้อันล้วนแต่อ้างอิงหรือแปลมาแต่พระบาลีกันทั้งสิ้น, ขณะอ่านขอให้อ่านอย่างพิจารณาและพยายามลดละความมานะ (ความถือตัว,ถือตน ว่าดี ดีกว่า เก่งกว่า ด้อยกว่า) และทิฏฐุปาทานลงเสียให้ได้สักชั่วขณะระยะหนึ่ง อันเป็นอุปาทาน ชนิดยึดมั่นถือมั่นในทฤษฎี ในความเชื่อ ในความคิดของตัวเอง อันมีเป็นปกติธรรมของปุถุชนเพียงแต่ไม่รู้ตัว และเป็นสิ่งที่เรากําลังจะศึกษาและปฏิบัติเพื่อนําออกและละเสียให้ได้ จึงจะดับทุกข์ได้ โดยเฉพาะความคิดที่ว่า "รู้แล้ว เข้าใจแล้ว" เพื่อท่านจักได้ประโยชน์อันสูงสุดในการดับทุกข์สมดั่งพระพุทธประสงค์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    เมล็ดพืชอันเป็นสภาวะธรรมชาติถึงแม้มีอยู่ แต่จักงอกเป็นต้นไม่ได้ถ้าขาดปัจจัยคือดินและนํ้า คือ เมื่อไม่มีดินและนํ้าอันเป็นปัจจัยสําคัญให้เมล็ดพืชงอก, เมล็ดพืชนั้นย่อมไม่สามารถงอกเป็นต้นได้ฉันใด, เหตุแห่งทุกข์(อันคือบรรดาความเกิด, แก่, เจ็บ, ตาย, การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก, การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก, ความปรารถนาสิ่งอันใดไม่ได้ในสิ่งนั้น ทั้ง๗ประการ)ถึงแม้มีอยู่ดุจดั่งเมล็ดพืชอันเป็นไปตามสภาวะธรรม(ธรรมชาติ) แต่เมื่อไม่มีปัจจัยต่างๆอื่นอีก ก็ย่อมไม่สามารถงอกงามหรือเติบโตไปเป็นความทุกข์ได้ฉันนั้น.
    สรรพทุกข์ทุกอย่างในโลกนี้ล้วนคือ"ทุกข์อุปาทานหรืออุปาทานขันธ์๕ อันเป็นทุกข" ท่านไม่อยากทราบอุปาทาน "เกิด" ขึ้นและ "ตั้งอยู่" อย่างไร ? และจะ"ดับ"ได้อย่างไร ? ทําไมถึงครอบงําทุกสรรพสัตว์ไว้ได้ทุกกาลสมัย ? ให้เวียนว่ายตายเกิดในภพในชาติ และยังจะเป็นเช่นนี้จวบจนโลกนี้แตกสลายไปในที่สุด อันพึงยกเว้นแต่เหล่าพระอริยเจ้า
    ข้อพึงสังวรณ์ การอ่านแล้วมีความเข้าใจอย่างถูกต้องโดยประมาณ จักมีประโยชน์จนเราสัมผัสและรู้สึกได้ด้วยตนเอง(ปัจจัตตัง)ในระดับหนึ่งจนแปลกใจ แต่จะยังไม่ใช่คุณประโยชน์อันอนันต์ของปฏิจจสมุปบาท ท่านจักต้องพึงกระทําโยนิโสมนสิการในธรรมนี้ต่อไปคือพิจารณาในธรรมนี้โดยละเอียดและแยบคายด้วยความเพียรเพราะเป็นกระบวนธรรมของจิตอันสลับซับซ้อนละเอียดอ่อน การอ่านแล้วเข้าใจยังไม่ใช่การพิจารณาธรรม(ธรรมวิจยะ)หรือวิปัสสนา, ควรพยายามพิจารณาแก้ข้อสงสัยต่างๆ เมื่อพบแล้วพึงพิจารณาให้เข้าใจถึงใจ จนวิจิกิจฉาคือความสงสัยใดๆในธรรมนี้หมดสิ้นไป เพราะความเข้าใจ ไม่ใช่เพราะการจําได้จากการอ่าน,การฟังหรือการคล้อยตามข้อธรรม จึงจักยังให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด และนํามาเป็นแนวทางปฏิบัติ อันจักทําให้หมดความสงสัยที่แอบซ่อนอยู่ลึกๆในหลักธรรมพระพุทธศาสนา แล้วเราจักพบกับคุณอนันต์ของ
    [​IMG]
    "ปฏิจจสมุทปบาท"
    กระบวนธรรมของการเกิดขึ้นและดับไปแห่งทุกข์
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสอยู่เนืองๆว่าท่านทรงสอนแต่เรื่องให้รู้จักทุกข์ ที่หมายถึงรู้เข้าใจและรู้เท่าทัน ก็เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการดับทุกข์เท่านั้น ดังนั้นคําสอนทั้งหลายของพระองค์จึงมุ่งหมายเป็นที่สุดอยู่ที่การดับทุกข์ อันเป็นสุข สงบ บริสุทธิ์เป็นอย่างยิ่งทั้งสิ้น แต่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับเป้าหมาย บุคคล สถานะการณ์ และกิเลสตัณหาอันมากมายหลากหลาย คําสอนจึงมีตั้งแต่ขั้นทาน ศีล สติ สมาธิ ปัญญา เป็นลําดับขึ้นไป อันขึ้นอยู่กับเพศคือฆราวาสหรือบรรพชิตและภูมิปัญญาและจริตของแต่ละบุคคล คําสอนของท่านจึงมีมาก และยังแตกแขนงและได้ขยายความออกไปตามกาลสมัยถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์และเกิดเป็นนิกายต่างๆ แต่แก่นของธรรมแท้ๆยังคงแฝงอยู่ อันล้วนมุ่งสู่จุดหมายเดียวกันทั้งสิ้นคือ"ดับทุกข์" อันคือ"ดับอุปาทานทุกข" หรือ "ดับทุกข์ที่บังเกิดแก่จิต" อันยังให้เกิดการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏนั่นเอง ดังพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า
    ผู้ไม่มอุปาทานย่อมบรรลุพระนิพพาน
    (เวสาลีสูตร ๑๘/๑๒๓)

    อันล้วนปรากฎอยู่ในหลักธรรม "ปฏิจจสมุทปบาท" นี้ทั้งสิ้น, แม้ในขณะที่ทรงพระชนม์ชีพอยู่ พระองค์ท่านก็ได้ตรัสสั่งสอนปฏิจจสมุปบาทอยู่เนืองๆ แต่เนื่องจากความยากและลึกซึ้ง จึงได้แยกออกเป็นส่วนๆ หรือกล่าวในแนวทางอื่นๆเช่นกล่าวแบบอนุโลมคือการเกิดขึ้นของทุกข์บ้าง, แบบปฏิโลมการดับไปของทุกข์บ้าง, หรือการกล่าวจากท้ายวงจรของปฏิจจสมุปบาทย้อนไปต้นวงจรบ้าง(ปฏิโลมเทศนา), หรือองค์ธรรมย่อยๆแต่ละองค์ธรรมบ้าง ฯลฯ. ก็เพื่อสั่งสอนสรรพสัตว์ตามความเหมาะสมและสถานะการณ์นั้นๆ หรือตามจริตหรือกิเลสอันมีมากมายและหลากหลายของผู้ที่ท่านสั่งสอนเท่านั้น
    นักปฏิบัติสามารถใช้แก่นธรรมนี้เป็นหลักปฏิบัติ(มรรค-ทางปฏิบัติให้พ้นทุกข์ โดยใช้ความเข้าใจในปฏิจจสมุปบาท)จนดับทุกข์ที่เกิดที่เป็นให้ดับลงไป หรือให้จางคลายจากทุกข์เพื่อให้อยู่ในโลกนี้ได้อย่างเป็นสุขตามควรแห่งฐานะของตน หรือเพื่อนิโรธอันเป็นการสิ้นภพ สิ้นชาติ ตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันชาติ อันเป็นการสิ้นทุกข์อุปาทานหรือความทุกข์ทั้งปวงตลอดกาล, เมื่อสิ้นทุกข์ทั้งปวง นั่นแหละคือสิ่งที่สุขที่สุด ที่เราปุถุชนแสวงหากันจากภายนอกโดยไม่เข้าใจ เพราะความจริงแล้ว สุขนั้นก็ไม่มี มีแต่ทุกข์และดับทุกข์เท่านั้น
    ปฏิจจสมุปบาท แม้เป็นธรรมอันลึกซึ้ง ยากแก่การเข้าใจ สมดั่งพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ แต่พระพุทธองค์ท่านได้ทรงชี้แนวทางไว้แล้ว จึงไม่เกินความเพียรที่แน่วแน่อย่างแน่นอน แต่ต้องใช้ปัญญา ปัญญานี้ไม่ใช่ปัญญาในทางโลกๆที่เราท่านทั้งหลายเคยชิน ยึดมั่น เคยปฏิบัติกันในชีวิต แต่เป็นปัญญาที่หมายถึงความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องในสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)เรื่องทุกข์และการดับทุกข์, อันเน้นที่ความเข้าใจในสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)แท้ๆในการเกิดขึ้นของทุกข์และการดับลงของทุกข์ที่ใจหรือจิตเป็นสําคัญ อันในที่สุดย่อมยังผลให้จิตและกายเป็นสุขอย่างแท้จริงสูงสุดตามสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)
    แนวทางปฏิบัติในโฮมเพจปฏิจจสมุปบาทนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องสูงสุดตามหลักพุทธศาสนาที่แม้จะยากต่อการทําความเข้าใจแต่ก็ให้ผลตอบแทนอย่างสูงสุด ให้สมดังพระพุทธประสงค์ เพื่อความจางคลายจากทุกข์ตามฐานะแห่งตน หรือเพื่อการดับสนิทไปแห่งทุกข์ อันเป็นจุดหมายสําคัญอันสูงสุดของพระพุทธศาสนาเท่านั้น ดังเช่น
    ๑. ชี้ให้เห็นอริยสัจ๔ โดยเฉพาะ การกำหนดรู้ ทุกข์, ทุกข์อะไร? ที่เราต้องหมายมั่นกําจัด และสามารถกําจัดหรือดับได้จริงๆ และถูกต้องตามพระพุทธประสงค์ และทุกข์อะไร? ที่ยังคงเกิดคงมีเป็นสภาวะแห่งธรรมชาติ และปฏิบัติเยี่ยงไรจึงไม่รู้สึกเป็นทุกข์หรือทุกข์นั้นมารบกวนไม่ได้

    ๒. ชี้ให้เห็นและเข้าใจจริงๆในสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ต่างๆ ดังเช่น
    หลักธรรมอิทัปปัจจยตา อันเป็นธรรมแสดงกฎธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ว่า ทุกสรรพสิ่งล้วนเกิดแต่เหตุ ดังนั้นเมื่อเหตุดับ ผลก็ย่อมต้องดับ เป็นไปเยี่ยงนี้ในทุกสรรพสิ่งทั้งในฝ่ายรูปธรรมและนามธรรม ที่ไม่รู้อย่างแจ่มแจ้งก็เพียงแต่เพราะว่า เรารู้เหตุแค่ไหนเท่านั้นเอง อุปมาพุทธญาณหรือความรู้นั้นดังใบไม้ในป่าใหญ่ ส่วนธรรมคำสอนของพระองค์ท่านดุจดั่งใบไม้ในกำมือ เพราะหลักธรรมคำสอนนี้เพื่อนำไปปฏิบัติพิจารณา เพื่อให้เห็นเหตุอย่างแจ่มแจ้ง เพื่อที่จะได้ปฏิบัติดับที่เหตุได้อย่างถูกต้องดีงาม และธรรมของพระองค์ท่านเป็นการเน้นโดยเฉพาะเพื่อการดับไปแห่งทุกข์อันคืออุปาทานทุกข์นั่นเอง ที่มีแนวคำสอนอันดีงามไว้เป็นแนวทางปฏิบัติ

    ขันธ์๕ กระบวนการแห่งชีวิตที่เราใช้ในการดําเนินชีวิตให้เป็นปกติสุข โดยเฉพาะเวทนา(ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการกระทบสัมผัส)และจิตสังขาร(ความคิดความนึก,โทสะ,โมหะ,ราคะ ฯลฯ.)อันเป็นสังขารขันธ์ที่เป็นขันธ์หนึ่งของขันธ์๕ ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยสําคัญที่ก่อให้เกิดความทุกข์ที่หมายถึงอุปาทานทุกข์, และอุปาทานอะไร? ทําไมจึงกล้าแกร่งนัก? จนสามารถครอบงําสรรพสัตว์ไว้ได้ตลอดมาและตลอดไป ทุกภพ ทุกชาติ

    ธรรม หรือ ธรรมะ ในพระพุทธศาสนานั้นก็คือ คําสั่งสอนของพระพุทธเจ้าในเรื่องสภาวธรรมหรือธรรมชาติในการเกิดขึ้นของทุกข์และการดับไปแห่งทุกข์นั่นเอง เพื่อให้เกิดปัญญาหรือญาณ อันจักนําพาให้พ้นทุกข์
    ความยากในการปฏิบัติในข้อนี้คือการพิจารณาจนใจน้อมยอมรับด้วยใจหรือความเข้าใจในเรื่องสภาวะธรรมหรือสภาวะธรรมชาติ อันเป็นจริงยิ่งใหญ่ ที่มันเป็นเช่นนั้นเอง จึงจะสามารถปฏิบัติได้ก้าวหน้า

    ๓. อธิบายกระบวนการเกิดขึ้นและดับไปของทุกข์อย่างละเอียดโดยพิสดารตามความเป็นจริง โดยใช้หลักปฏิจจสมุปบาทและขันธ์ ๕ มาร่วมอธิบายแจกแจงอย่างเป็นระบบโดยละเอียดที่ยังไม่มีผู้ใดบันทึกไว้นับแต่อดีต เพื่ออธิบายถึงกระบวนการทํางานของจิตในการเกิดขึ้นแห่งทุกข์โดยแยบคาย อันเมื่อเข้าใจแล้ว(ญาณ)จะเกิดคุณอนันต์ในการปฏิบัติให้ถึงจุดมุ่งหมาย

    ๔ ใช้ความเข้าใจในธรรมนั้นมาปฏิบัติโดยตนเอง เพื่อดับทุกข์จริงๆ อันเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งยวดในการปฏิบัติ เป็นแนวทางมรรคปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผล กล่าวคือ เพื่อยังให้เกิดมรรคองค์ที่๙อันคือ สัมมาญาณ(สัมมาปัญญา)ซึ่งจักยังผลให้เกิดมรรคองค์ที่๑๐ อันคือสัมมาวิมุตติ(สุขจากการหลุดพ้น)ขึ้นได้ (อ่านมรรคมีองค์๑๐ หรือ สัมมัตตะ ๑๐)
    นักปฏิบัติส่วนใหญ่มักจะรอให้เกิดความทุกข์ขึ้นเสียก่อน(แต่ไม่เห็นทุกข์อันหมายถึงไม่รู้ไม่เข้าใจในเรื่องทุกข์-ทุกข์อุปาทานจริงๆ)จึงคิดปฏิบัติ อันทําให้การปฏิบัติเป็นไปอย่างยากลําบากและไม่สามารถดับทุกข์ที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที เพราะไม่เข้าใจว่าเหตุแห่งทุกข์นั้นยังคงมีอยู่อันเป็นสภาวะธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ อันไม่มีผู้ใดหลบหนีได้หมดสิ้น นักปฏิบัติที่มีความเพียรเสียตั้งแต่ไม่มีทุกข์จึงก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว และได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ไม่ตั้งอยู่บนความประมาท
    การอ่านนั้นควรอ่านอย่างช้าๆ พร้อมพิจารณาอย่างละเอียดไปด้วย ควรเปรียบเทียบกระบวนจิตต่างๆที่อธิบายอย่างแยบคายไปด้วย ไม่ควรอ่านแล้วเชื่อโดยทันที ควรตั้งอยู่บนหลักกาลามสูตร ไม่ควรอ่านอย่างรวดเร็วเพียงเพื่อให้จบๆไป เพราะจะไม่เกิดประโยชน์ตามควร สมดั่งเป็นปรมัตถธรรมขั้นสูงสุด ที่แม้พระพุทธองค์ทรงตรัสว่ายากและลึกซึ้งอันมีเพียงสอง แต่ก็มีคุณอันยิ่งใหญ่สมดังพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้
    ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม
    (มหาหัตถิปโทปมสูตรที่ ๘)
    ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเราตถาคต
    (วักกลิสูตร๑๗/๑๒๙)
    ดังนั้น คงพอสรุปได้ว่า "ทุกข์อะไร? ที่ยังคงเกิด คงมี" และ "ทุกข์อะไร? ที่ดับสนิทได้ ตามพระพุทธประสงค์"
    "ทุกข์อะไร ที่ยังคงเกิด คงมี" คือ เหล่าทุกขอริยสัจ อันเป็นทุกข์ประจำชีวิตหรือขันธ์๕นั่นเอง อันมี ๑.ความเกิด ๒.ความแก่ ๓.ความเจ็บ ๔.ความตาย ๕.การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ๖.การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ๗.ความปรารถนาในสิ่งอันใดแล้วไม่ได้ในสิ่งอันนั้น ทั้ง๗ นี้เป็นสภาวธรรมของชีวิต ที่ไม่อาจหลีกหนีได้ในที่สุด
    และทุกขเวทนา กล่าวคือ ทุกข์ที่เกิดขึ้นจากกระบวนธรรมของชีวิต ที่ย่อมเกิดความรู้สึก(Feeling)ในสิ่งที่รับรู้หรือกระทบ ที่พึงเกิดขึ้นจากการกระทบสัมผัส(ผัสสะ) อันพึงต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เป็นทุกข์ธรรมชาติอีกอย่างหนึ่งที่ยังคงพึงต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดาในผู้ที่มีชีวิตอยู่ เป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติหนึ่งของชีวิต และทุกขเวทนานี้ก็ล้วนย่อมเกิดขึ้นมาจากการกระทบกับเหล่าบรรดาทุกขอริยสัจข้างต้นนั่นเอง จึงยังให้เกิดทุกขเวทนาขึ้น จึงไม่อาจหลีกหนีได้เช่นกัน จึงต้องพิจารณาหรือเจริญวิปัสสนาให้เกิดนิพพิทาเพื่อไม่พึงไปยึดมั่นถือมั่นหรือยึดติดยึดถือในทุกข์ หรือแม้ติดเพลินในสุขอันไม่เที่ยง
    ทั้ง ๒ คือทุกขอริยสัจและทุกขเวทนา จึงกล่าวได้ว่าเป็น ทุกข์ธรรมชาติ เป็นทุกข์โดยสภาวธรรมหรือธรรมชาติของชีวิตนั่นเอง และยังคงต้องเกิดขึ้น และเป็นไปเยี่ยงนี้ในผู้มีชีวิตเป็นธรรมดา
    "ทุกข์อะไรที่ดับสนิทได้ตามพระพุทธประสงค์" อันคือ ทุกข์อุปาทาน หรือ อุปาทานทุกข์ อันเป็นทุกข์ที่เร่าร้อนเผาลนมวลมนุษย์ชาติอยู่ทุกผู้คน เพียงแต่จำแนกแยกแยะไม่ออกด้วยอวิชชา นี้เป็นสิ่งที่พระองค์ท่านเพียรสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้ดับสนิทไม่เหลือ มาโดยตลอดตั้งแต่ตรัสรู้จวบจนเข้าสู่พระปรินิพพาน ด้วยพระมหากรุณาคุณที่ต้องการปลดปล่อยเวไนยสัตว์ให้ออกจากกองทุกข์คืออุปาทานทุกข์นั่นเอง

    [​IMG]


    สิ้นภพ สิ้นชาติ ตั้งแต่ปัจจุบันชาติ
    คือสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเพียรพยายามสั่งสอนเวไนยสัตว์.

    "สุขนั้นไม่มีเป็นเพียงภาษาสมมุติ, จริงๆแล้ว มีแต่ทุกข์ที่เกิดขึ้น และดับทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้นลงไปเท่านั้น"
    ดับทุกข์ คือความสุขในภาษาสมมุตินั่นเอง
    ดับทุกข์ทั้งปวง จึงเป็นสุขอย่างยิ่ง[​IMG]

    <TABLE style="FONT-FAMILY: 'Tahoma;" height=0 borderColorDark=#9d6d2c width=585 align=center bgColor=#660000 borderColorLight=#d1a62e border=6><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle width=565>ทุกฺขเมว พิ สมฺโภติ ทุกฺขํ ติฏฺฐติ เวติ จ
    นาฌฺฌตฺร ทุกฺขาสมฺโภติ นาฌฺฌตฺร ทุกฺขานิรูชฺฌติ
    </TD></TR><TR><TD width=565>ความจริง ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป
    นอกจากทุกข์แล้ว ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์แล้ว ไม่มีอะไรดับ
    วชิราสูตร ๑๕/๕๕๒

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    มรดกที่ ๔๗. ตรัสว่า แต่ก่อนก็ดี บัดนี้ก็ดี เราบัญญัติแต่เรื่องความทุกข์ กับความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เท่านั้น ดังนั้น พวกเรา อย่าต้องเสียเวลา ในการศึกษา การถาม การเถียง กันด้วยเรื่องอื่นที่มิใช่สองเรื่องนี้ กันอีกเลย.(จาก "มรดกของพุทธทาส")

    [​IMG]

    ข้อคิด แนวทางปฏิบัติ
    หลักปฏิบัติ สมถสมาธิ(สมถกรรมฐาน)
    - ให้หยุดคิดหยุดนึกทั้งปวง มีแต่สติหรือจิตตั้งมั่นอยู่แต่ในอารมณ์
    หลักปฏิบัติ วิปัสสนา(วิปัสสนากรรมฐาน)
    - ให้หยุดแต่การคิดนึกปรุงแต่ง มีแต่สติหรือจิตอยู่กับการคิดพิจารณา(ใช้ปัญญา)ในเหล่าธรรมอันเป็นกุศล
    หลักปฎิบัติ สมถวิปัสสนา
    - เมื่อปฏิบัติสมถสมาธิ(สมถกรรมฐาน)เป็นกำลังแล้ว เจริญวิปัสสนา(วิปัสสนากรรมฐาน)
    พนมพร
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ๓.วงจรจําลองพื่อความเข้าใจในวงจรปฏิจจสมุปบาท

    http://www.nkgen.com/1mainpage1024.htm#title

    http://www.nkgen.com/3.htm


    สิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย กล่าวคือมีเหตุมาเป็นปัจจัยแก่กันและกัน ที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน อันคือ ปัจจัยหนึ่งเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดปัจจัยอีกอันหนึ่ง และปัจจัยอีกอันหนึ่งนี้ก็เป็นปัจจัยให้เกิดปัจจัยอีกอันหนึ่ง ต่อเนื่องกันไปเช่นนี้เป็นวงจักรหรือวงจรที่ไม่รู้จักจบสิ้น มองในมุมมองนามธรรมอันไม่มีตัวตนเพียงสัมผัสได้ด้วยใจอาจจักไม่เห็นชัดแจ้ง ลองพิจารณาจากวงจรจําลองของวงจรปฏิจจสมุปบาท เพื่ออธิบายนามธรรมอันไม่มีตัวตน ให้เห็นเป็นภาพพจน์หรือรูปธรรมที่ชัดเจนขึ้น เพื่อความเข้าใจในปฏิจจสมุปบาทในกาลต่อไป

    [​IMG]
    [​IMG] [​IMG]
    ---
    ไฟ อันลุกโพลง อันเกิดขึ้นจากการกระทำ โดยใช้แว่นขยาย(เลนส์นูน) ส่องรับแสงแดด ไปที่เชื้อไฟหรือฟืน
    ไฟที่เกิดขึ้นมานั้นมิได้มีตัวมีตนอยู่ในแว่นขยายนั้น
    ไฟที่เกิดขึ้นมานั้น ก็มิได้มีตัวมีตนอยู่ในแสงแดดนั้น
    ไฟที่เกิดขึ้นมานั้น ก็มิได้มีตัวมีตนอยู่ในสิ่งที่เป็นเชื้อไฟนั้น
    ไฟที่เกิดขึ้นมานั้น ก็มิได้มีตัวมีตนอยู่ในผู้กระทำ
    แต่ ไฟ นั้นเกิดจากเหตุปัจจัยทั้ง ๔ มาประชุมรวมเป็นปัจจัยแก่กันและกันชั่วขณะหรือระยะหนึ่งหรือปฏิจจสมุปบันธรรม ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปก็ไม่เกิดผลหรือไฟขึ้น และเป็นปัจจัยอย่างผสมกลมกลืนเนื่องสัมพันธ์กัน ดุจดั่งกรรมที่ใช้แว่นขยายส่องไปยังเชื้อไฟก็ต้องถูกต้องสอดคล้องได้ระยะกันอีกด้วย ถึงจักเกิดไฟขึ้นได้ จิตหรือชีวิตเราก็เฉกเช่นกัน เกิดแต่เหตุปัจจัยต่างๆมาประชุมกันดังกล่าวแล้ว มาเป็นจิตหรือชีวิต และยังมีเหตุปัจจัยปรุงแต่งหลัก อันคือกรรม(การกระทํา) อันทําให้ชีวิตเป็นไปตามกรรม(การกระทํา)นั้นๆอีกด้วย
    ขอให้สังเกตุดีๆว่าไฟนั้น มิได้เกิดแต่สิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยตรงๆ แต่เกิดจากเหตุปัจจัยมาประชุมปรุงแต่งกัน
    ถ้าเราจักจําลองคําอธิบายให้เป็นวงจร ดั่งวงจรแบบปฏิจจสมุปบาท(ประ-ติด-จะ-สะ-มุป-บาท)เพื่อให้เห็นภาพการทํางานที่ชัดเจนขึ้น เพื่อความเข้าใจในกาลต่อไปอย่างแจ่มแจ้ง เราจักจําลองได้เป็นดั่งนี้
    คน เป็นปัจจัยจึงมี กรรม อันหมายความถึง เพราะคนเป็นเหตุปัจจัยจึงเป็นปัจจัยให้มีการกระทําที่มีเจตนาจุดไฟขึ้น
    กรรม เป็นปัจจัยจึงมี แสงแดด อันไม่ได้หมายถึงการกระทําให้มีแสงแดด แต่หมายถึง การกระทําที่มีเจตนาเป็นเหตุจึงเป็นปัจจัยให้ใช้ประโยชน์จากแสงแดดและแว่นขยายนั้นได้
    แสงแดด เป็นปัจจัยจึงมี แว่นขยาย ..อันหมายความถึง แสงแแดดเป็นเหตุ จึงเป็นปัจจัยทําให้แว่นขยายได้ทําหน้าที่ส่วนของตน คือรวมแสงแดดนั้นได้
    แว่นขยาย เป็นปัจจัยจึงมี เชื้อไฟ .อันหมายความถึง แว่นขยายเป็นเหตุปัจจัยทําให้เกิดไฟได้ จึงทําให้เกิดการหาเชื้อไฟ
    เชื้อไฟ เป็นปัจจัยจึงมี ไฟเกิด ..อันหมายความถึง เชื้อไฟ เป็นปัจจัย ที่ทําให้ไฟเกิดการลุกไหม้
    ไฟเกิด เป็นปัจจัยจึงมี การลุกไหม้ที่แปรปรวนและดับไป อันหมายความถึง ไฟที่เกิดลุกไหม้เป็นปัจจัยให้ไฟที่เกิดนั้นย่อมมีการแปรปรวนลุกไหม้สว่างบ้าง หรื่บ้าง มอดบ้าง สว่างโพลงบ้าง ปะทุบ้าง..ฯลฯ และต้องดับไปในที่สุด
    การลุกไหม้ที่แปรปรวนและดับไป เป็นปัจจัยจึงมี คน อันหมายความถึง ไฟที่ได้แปรปรวนและดับไปเป็นเหตุ.ปัจจัยให้คนต้องจุดหรือเริ่มกระบวนการเกิดไฟขึ้นใหม่เพื่อใช้ประโยชน์จากไฟ....อันเป็นการเริ่มวงจรขึ้นมาใหม่ไม่รู้จักจบสิ้น อันเป็นไปตามวงจรนี้

    [​IMG]

    จากกระบวนการเกิดไฟจากเหตุปัจจัยต่างๆที่มาประชุมกันชั่วขณะ ถ้าเราพิจารณาจักเห็นการเกิดของไฟเกิดจากเหตุปัจจัยมาประชุมกันเป็นปัจจัยแก่กันและกันเป็นวงจรต่อเนื่องกันได้, เมื่อพิจารณาวงจรให้ดีจักเห็นได้ว่าถ้าเราต้องการดับไฟ (อันอุปมาดั่งดับอุปาทานทุกข์ในวงจรปฏิจจสมุปบาท) วงจรจักเป็นเช่นนี้
    คนดับ... กรรมดับ... แสงแดดดับ... แว่นขยายดับ... เชื้อไฟดับ...ไฟดับ... ไฟที่ลุกไหม้แปรปรวนดับ...
    ความหมายของวงจรดับไฟก็จักเป็นดังนี้
    คนดับ อันหมายถึงไม่มีใครหรือบุคคลที่ลงมือกระทํา ไฟนั้นย่อมไม่สามารถเกิดขึ้นได้แน่นอน อันคือไฟดับหรือทุกข์ดับลงนั่นเอง เพราะไม่มีคนตัวตนที่กระทํา
    กรรมดับ อันหมายถึง ไม่มีการกระทํา ไฟนั้นหรือทุกข์นั้นย่อมไม่สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน
    แสงแดดดับ อันหมายถึง ไม่มีแสงแดดหรือดับแสงแดดโดยใช้วิธีการต่างๆ ไฟย่อมเกิดไม่ได้
    แว่นขยายดับ อันหมายถึง แว่นขยายไม่ทําหน้าที่หรือไม่มีแว่นขยาย ไฟนั้นหรือทุกข์นั้นย่อมเกิดไม่ได้เช่นกัน
    เชื้อไฟดับ อันหมายถึง ไม่มีเชื้อไฟเช่นกระดาษ,ไม้นั่นเอง ไฟย่อมไม่สามารถติดได้แน่นอน
    จากกระบวนธรรมต่างๆเหล่านี้ถ้าขาดหรือดับหรือทำให้เสียสมดุลย์ไปล้วนย่อมสามารถดับไฟไม่ให้เกิดได้ทั้งสิ้น อันอุปมาดั่งเช่นเดียวกันกับการดับหรือตัดวงจรการเกิดขึ้นของทุกข์(ปฏิจจสมุปบาท)นั่นเอง แต่มีข้อสังเกตุที่ควรพิจารณา คือแสงแดดซึ่งเป็นกระบวนธรรม อันเป็นธรรมชาติที่ไม่สามารถควบคุมบังคับได้โดยคน เป็นกระบวนธรรมที่เราควรละเว้นไว้เช่นไม่มีแดดไฟย่อมไม่เกิดและจักบังคับให้มีให้เป็นก็มิได้ ดังนั้นปัจจัยนี้เราจึงควรหลีกเลี่ยงในการที่จะดับไฟเพราะแสงแดดเป็นเหตุเป็นปัจจัย เพราะเป็นสภาวะธรรมหรือกระบวนการธรรมชาติอันยิ่งใหญ่อันควบคุมบังคับโดยตรงไม่ได้ และแสงแดดดับในวงจรจําลองการเกิดแห่งไฟนี้จึงมีความหมายถึงแสงแดดไม่สามารถทํางานหรือทําหน้าที่ได้นั่นเอง มิได้ไปควบคุมบังคับแสงแดดนั้นให้ดับ ถ้าทําก็ต้องโดยทางอ้อมและยุ่งยากดังเช่นต้องหาอุปกรณ์มากั้นมากางเป็นต้น และเวลากลางคืนย่อมไม่มีแสงแดดอันจะบังคับให้มีแสงแดดย่อมไม่ได้เช่นกัน เหตุที่กล่าวนี้เพราะว่าในวงจรของปฏิจจสมุปบาท ก็มีกองธรรมหรือองค์ธรรมหลายๆองค์ที่แสดงไว้ให้เห็นถึงปัจจัยอันเนื่องให้เกิดอีกสิ่งหนึ่งแต่ไม่สามารถควบคุมบังคับได้ดั่งแสงแดดนี้ หรือควบคุมบังคับได้ยากเกินกำลังปุถุชน ดังถ้าเราเข้าไปยุ่งหรือพยายามปฏิบัติย่อมเสียเวลาและเสียกําลังและเกิดผลร้ายขึ้นได้ และย่อมไม่บังเกิดผลอย่างถาวร ดังเช่นแสงแดดนี้ และทุกข์ทั้งหลายอันคืออุปาทานขันธ์๕ อันเกิดเนื่องจากอุปาทานเป็นมูลเหตุปัจจัยสําคัญที่สุดและโดยตรง แต่ในทางปฏิบัติกลับไม่ดับอุปาทานนั้นโดยตรงๆแต่ฝ่ายเดียว เหตุเนื่องจากกําลังอันแก่กล้าดุจดั่งพระอาทิตย์ ยากแก่การควบคุมบังคับโดยตรง หรือแม้เป็นเหตุโดยตรงก็จริงอยู่ แต่ไม่สามารถไปดับมันได้เพราะมีความจำเป็นต้องใช้ในการดำเนินยังชีวิต ดังเช่นในกรณีของ เวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เราย่อมไม่สามารถดับเวทนาได้เลยแม้จะเป็นเหตุให้เกิดตัณหาโดยตรง เพราะความที่เป็นขันธ์หรือธรรมที่จำเป็นยิ่งในการดำรงชีวิต ไม่มีเสียก็ดำรงขันธ์หรือชีวิตไม่ได้เลย จึงต้องเป็นการปฏิบัติในลักษณะการใช้ปัญญาไปรู้ไปเข้าใจเวทนา เพื่อไม่ให้เป็นปัจจัยเกิดตัณหาขึ้นนั่นเอง เป็นต้น.
    ด้วยพระปรีชาญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ท่านจึงใช้วิธีตัดทอนกําลังอันแรงกล้าของอุปาทานนี้ โดยการลดละ หรือนําออกซึ่งกิเลส ตัณหา, หรือทําให้อ่อนกําลังลงเช่นในเวทนาด้วยปัญญา เพื่อให้เกิดนิพพิทาทอนกําลังของอุปาทานอันแกร่งกล้าลงก่อนนั่นเอง ในขณะเดียวกันนั้นก็ให้พัฒนาสติ,สมาธิ อันเพื่อนําไปใช้ให้เกิด"ปัญญา"ในการดับทุกข์เป็นที่สุด เพื่อทําลายอุปาทานให้สิ้นไปจากจิตอันหมายถึงนิโรธหรือพระนิพพาน บางครั้งพระองค์ท่านทรงทอนกําลังของอุปาทานโดยขั้นตอนการปฏิบัติในขั้นทาน ศีล สติ สมาธิ ปัญญา หรือตามเพศ(บรรพชิต, นักบวช) ตามกิเลสตัณหาอันหลากหลาย และตามกําลังสติ ปัญญา หรือสถานะการณ์นั้นๆ อันล้วนแล้วแต่เพื่อตัดทอนกําลังของอุปาทานหรือความทุกข์เพื่อให้เหมาะแก่สถานะภาพนั้นๆของผู้ที่ท่านสั่งสอนนั่นเอง คําสั่งสอนของท่านจึงแตกแขนงออกไปถึง๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์แต่ล้วนมุ่งสู่จุดหมายเดียวกันทั้งสิ้นคือดับทุกข์หรือดับอุปาทานทุกข์
    จากวงจรจําลองปฏิจจสมุปบาทนี้ควรสังเกตุพิจารณาดังต่อไปนี้
    ๑. พิจารณาความเป็นเหตุปัจจัยอันมาประชุมรวมกันชั่วขณะ(ระยะเวลาหนึ่ง มิใช่ตัวตน หรืออย่างถาวรแท้จริง) จึงทําให้เกิดไฟหรืออุปมาดั่งความทุกข์ หรือสิ่งทั้งหลายเกิดแต่เหตุอันคือ "ธรรมใด เกิดแต่เหต" ในพุทธอุทานคาถาที่๑ นั่นเอง
    ๒. พิจารณาให้เห็นความเป็นปัจจัยอันเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน คือปัจจัยอันหนึ่งยังให้เกิดหรือเป็นเหตุ ทําให้เกิดปัจจัยอีกอันหนึ่งหรือผล และปัจจัยนี้ก็ไปยังให้เกิดปัจจัยอื่นๆต่อเนื่องไป เป็นความสัมพันธ์อันสืบเนื่องต่อกันเป็นวงจร อันยังให้เกิดแรงหมุนเวียนอย่างสืบเนื่องขับดันวงจรอย่างไม่รู้จักจบสิ้น อันเป็นไปตามหลักธรรมอิทัปปัจจยตา เพราะเหตุนี้มี ผลนี้จึงเกิด
    ๓. พิจารณาให้เห็น เมื่อปัจจัยอันหนึ่งซึ่งเป็นเหตุเกิด ทําให้ปัจจัยอันต่อไปหรือผลก็ต้องเกิดเป็นธรรมดาเป็นปัจจัยต่อเนื่องเป็นลูกโซ่หรือวงจร และเมื่อปัจจัยอันหนึ่งดับ ปัจจัยอันเนื่องสัมพันธ์กันนั้นก็ต้องดับตามๆกันไปด้วยเป็นวงจร (ดับนั้นไม่ได้หมายถึง ดับสูญ แตกดับไป แต่เป็นภาษาธรรม ซึ่งในบางครั้งหมายความถึงไม่สามารถทําหน้าที่นั้นๆแห่งตนได้) อันจักเป็นไปตามหลักธรรมอิทัปปัจจยตา
    วงจักรหรือวงจรปฏิจจสมุปบาท ก็คล้ายๆกับการทํางานของวงจรจําลองนี้ เพียงแต่ไม่ใช่วงจรง่ายๆดังนี้ เป็นวงจรกระบวนการเกิดขึ้นและดับไปแห่งทุกข์ที่เป็นปรมัตถ์คือตามความเป็นจริงถึงแก่นแท้หรือขั้นสูงสุด และละเอียดอ่อนเป็นที่สุด
    คงพอจะเห็นได้ว่าสิ่งทั้งหลายเกิดแต่เหตุปัจจัย อันเป็นปัจจัยที่เนื่องสัมพันธ์กัน ไม่ใช่เฉพาะแต่รูปธรรมข้างต้นเท่านั้น แต่หมายถึงทุกๆสรรพสิ่ง อันรวมทั้งสิ่งที่เป็นทั้งนามธรรมและรูปธรรม ดังเช่นสิ่งที่เป็นรูปธรรมหรือวัตถุ
    นํ้าก็ประกอบด้วยปัจจัยของ 2H+O เป็น H<SUB>2</SUB>O หรือ นํ้า
    โมเลกุลก็ประกอบหรือเป็นเหตุปัจจัยจากอะตอมหลายๆอะตอมรวมตัวกัน
    [​IMG] [​IMG] [​IMG] แม้แต่อะตอมเพียงอะตอมเดียวอันเป็นสิ่งที่เล็กเกือบที่สุดที่มนุษย์รู้จักก็ประกอบด้วยเหตุปัจจัยของโปรตอนและอิเลคตรอน และยังแสดงอาการไม่เที่ยงโดยการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา แสดงให้เห็นอนิจจังความแปรปรวนอันไม่เที่ยงอยู่ตลอดเวลา จึงเกิดแรงบีบคั้นให้คงทนอยู่ไม่ได้จึงต้องดับไปในที่สุด ฯลฯ
    เซล เซลเดียวก็ประกอบด้วยเหตุปัจจัยต่างๆมากหลายมาประชุมกัน เช่นสารประกอบต่างๆ แร่ธาตุมากมาย โปรตีน นํ้า อากาศ สารอาหาร ชีวเคมี ฯลฯ.ที่เคลื่อนไหวแปรปรวนอยู่ตลอดเวลา
    กายหรือตัวตนก็ประกอบด้วยเหตุปัจจัยมากมาย ดังเช่น ธาตุดิน อันหมายถึงแร่ธาตุต่างๆ และธาตุนํ้า ธาตุลม ธาตุไฟ ช่องว่าง วิญญาณธาตุ, ที่มีการเสริมแต่งแปรปรวนอยู่ตลอดเวลาทุกขณะเช่นกัน
    เป็นเช่นนี้ในทุกสรรพสิ่ง แม้แต่จักรวาลอันใหญ่โตก็ล้วนแล้วแต่ประกอบด้วยธาตุต่างๆ ดาวต่างๆ พลังงานต่างๆ แรงดึงดูด สิ่งต่างๆทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ฯลฯ ที่แปรปรวนเปลี่ยนแปลงหมุนรอบตนเอง และเป็นปัจจัยแก่กันและกัน อันล้วนเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดจักรวาลขึ้นเช่นกัน
    พิจารณาในทางรูปธรรมหรือวัตถุสิ่งของต่างๆหรือกาย ทุกชนิดทุกสิ่งในโลกนี้ที่สงสัยอยู่ให้เห็นให้เข้าใจเสียก่อนว่าล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัยนั่นเอง เพื่อเป็นบาทฐานกําลังปัญญา ความเชื่อมั่น ว่ามันเป็นเช่นนั้นจริงๆ อันเป็นไปตามกฏของความเป็นเหตุเป็นผลตามหลักวิทยาศาตร์นั่นเอง หรือความเป็นเหตุปัจจัยตามหลักอิทัปปัจจยตา, การพิจารณาในสิ่งที่เป็นรูปธรรมอันเป็นของหยาบกว่าก็เพื่อให้เกิดความเข้าใจในหลักความเป็นปัจจัยอย่างแจ้งชัดเสียก่อน, ตลอดจนวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันก็สามารถยืนยันในคําสอนของพระพุทธองค์ที่มีมากว่า๒๕๐๐ปีได้เป็นอย่างดี
    ในทางนามธรรมอันเป็นของละเอียดอ่อน ก็เช่นเดียวกัน ทุกๆสรรพสิ่ง(ยกเว้นเพียงสิ่งเดียวคืออสังขตธรรม คือสิ่งที่ไม่ได้ถูกเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น เช่น นิพพาน ซึ่งมีอธิบายขยายความในภายหลัง) ก็เป็นเฉกเช่นเดียวกันกับรูปธรรมคือเกิดแต่เหตุปัจจัย เช่น จิตหรือใจจริงๆแล้วก็ประกอบด้วยเหตุปัจจัย ดังเช่น เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้งสี่หรือที่เรียกกันว่านาม จึงเป็นสิ่งที่เรียกว่าจิตหรือใจ และจิตนี้ก็ยังต้องมกายหรือตัวตนเป็นเหตุปัจจัยร่วมอีกด้วย
    แม้แต่ส่วนย่อยๆของจิตเองก็เกิดแต่เหตุปัจจัย ดังเช่นเวทนาก็เกิดแต่เหตุปัจจัยอันหลากหลายมาประชุมปรุงแต่งกันชั่วขณะ อันคือเกิดมาแต่เหตุปัจจัยต่างๆ ดังเช่นเวทนาจักเกิดขึ้นได้แต่ละครั้งแต่ละทีก็ย่อมมีเหตุมีปัจจัย พอจักเขียนเป็นกระบวนธรรมของเวทนา เพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ชัดเจนขึ้นดังนี้
    ตา+รูป+วิญญาณ >> ผัสสะ(การกระทบรับรู้ของทั้ง๓สิ่งนั้น) >> พร้อมความจําได้ >> จึงเกิดเวทนาความรู้สึกรับรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสเป็นชอบ, ไม่ชอบ หรือเฉยๆ(สุขเวทนา,ทุกขเวทนา,อทุกขมสุข)
    แม้แต่ความทุกข์ที่ครอบสรรพสัตว์ไว้ ก็ล้วนแล้วต้องเกิดแต่เหตุปัจจัยต่างๆเช่นกัน ดังที่พระพุทธองค์ท่านได้ทรงค้นพบและบัญญัติเปิดเผยเพื่อประโยชน์แก่เวไนยสัตว์ ใน
    ปฏิจจสมุปบาท กระบวนธรรมของการเกิดขึ้นและดับไปแห่งทุกข์
    ดังนั้นถ้าเราต้องการดับทุกข์ เราจึงควรรู้แจ้งว่าความทุกข์นั้นเกิดมาแต่เหตุปัจจัยใดบ้าง เราก็ย่อมมีโอกาสดับเหตุปัจจัยต่างๆเหล่านั้นเสียแต่ต้นมือได้ง่าย ก่อนที่จะเป็นทุกข์, อุปมาดั่งดับไฟที่เหตุหรือต้นเพลิง มิได้พยายามดับไฟที่เปลวเพลิงนั่นเอง

    การปฏิบัติในโฮมเพจหรือหนังสือเล่มนี้ เป็นการปฏิบัติที่จิต โดยใช้สติและปัญญาเป็นสําคัญ และปัญญานี้ไม่ใช่ปัญญาอย่างความหมายในทางโลก แต่หมายถึงวิชาหรือปัญญาความรู้ความเข้าใจในสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ของทุกข์และการดับทุกข์ ผู้ที่ไม่เคยปฏิบัติหรือปฏิบัติในแนวอื่น ในการอ่านแรกๆอาจจะงุนงงหรือรู้สึกขัดแย้งกับความเชื่อบ้างเป็นธรรมดา แต่ถ้ามีความเพียรโดยเฉพาะการหมั่นพิจารณาด้วยใจที่สงบ สบายๆ ถ้าใช้สมาธิก็แค่ระดับขณิกกะคือแค่ใจไม่วอกแวก ไม่ฟุ้งซ่าน และวางจากความเชื่อ ความยึดมั่นชั่วขณะ แล้วพิจารณาตามความเป็นจริงของธรรม(ธรรมชาติ) ผู้เขียนเชื่อว่าจักเกิดคุณอนันต์ต่อผู้ปฏิบัติในที่สุด ตลอดจนสามารถหลีกเลี่ยงและแก้ไขผลร้ายต่างๆ อันจักอาจบังเกิดขึ้นหรือได้บังเกิดขึ้นแล้วเพราะวิปัสสนูปกิเลส อันเกิดขึ้นเป็นธรรมดากับนักปฏิบัติเพราะแม้ว่าท่านได้กระทําประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ประเสริฐสูงสุดที่มนุษย์ทั้งหลายพึงปฎิบัติ แต่อย่าลืมสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)ตามความเป็นจริงที่ว่า สิ่งที่ยิ่งสูงนั้นถ้าตกก็ยิ่งเจ็บหรือยิ่งอันตรายเช่นกัน จึงไม่ควรประมาทควรปฏิบัติด้วยสติและปัญญาจึงจักสัมฤทธิ์ผลตามที่ตั้งใจไว้
    อนึ่งหนังสือหรือและโฮมเพจนี้ ผู้เขียนไม่ได้มีความตั้งใจเขียนเพื่อขัดแย้งกับผู้ใด หรือหลักธรรมใดๆที่ได้ยึดปฏิบัติกันอย่างหลากหลาย เป็นเพียงข้อเขียนของผู้เขียนที่เขียนขึ้นตามความเข้าใจในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่บังเกิดขื้นแก่ผู้เขียน และต้องการเผยแผ่หลักธรรมอันลํ้าค่าที่เข้าใจได้บ้างนี้เป็นธรรมทานแด่เหล่ากัลยาณมิตรนักปฏิบัติที่ต้องการดับทุกข์หรือต้องการจางคลายจากทุกข์เท่านั้น กัลยาณมิตรทั้งหลายมีหน้าที่ต้องใช้ธรรมวิจยะ(การพิจารณาในธรรม) อันเป็นโพชฌงค์องค์ประกอบอันสําคัญยิ่งแห่งการตรัสรู้หรือพ้นทุกข์, อันคือการพิจารณาในธรรมนี้โดยละเอียดและแยบคาย(โยนิโสมนสิการ) เพื่อให้ทราบประจักษ์แก่ตัวท่านเองว่า ถูกต้องหรือผิดประการใด อันเป็นไปตามหลักกาลามาสูตร แล้วใช้สัมมาญาณ ความเข้าใจหรือปัญญาอันจักเป็นฐานกําลังแห่งจิตนั้นปฏิบัติจึงจะเกิดคุณอนันต์สมดังพุทธประสงค์ อันยังให้เกิดสัมมาวิมุตติสุขจากการหลุดพ้นที่จําเป็นต้องมีสัมมาญาณจึงจะเกิดสัมมาวิมุตติขึ้นได้ จากมรรคองค์๘แห่งการปฏิบัติเป็นมรรคมีองค์๑๐ของพระอริยะเจ้าหรือสัมมัตตะ ๑๐ ที่บางท่านอาจไม่เคยได้ยินมาก่อนจึงมิรู้ว่าจำเป็นต้องยังให้เกิดสัมมาญาณหรือสัมมาปัญญาเกิดขึ้นก่อนจึงจะถึงซึ่งสัมมาวิมุตติ จึงมิใช่สมาธิแต่อย่างเดียว ยังให้เกิดสัมมาวิมุตตโดยตรงๆอย่างที่บางท่านอาจเข้าใจผิดโดยการเชื่อตามๆกันมา​

    สัมมัตตะ ๑๐
    ภาวะที่ถูกต้อง​


    <TABLE height=3 borderColorDark=#e6ad0a width=20 align=center bgColor=#ffffcc borderColorLight=#b38606 border=4><TBODY><TR><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    <TABLE height=3 borderColorDark=#e6ad0a width=337 align=center bgColor=#990000 borderColorLight=#e6ad0a border=3><TBODY><TR><TD width=323 height=15>นัตถิ ปัญญาสมา อาภา
    </TD></TR><TR><TD width=323 height=13>แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 3vj.gif
      3vj.gif
      ขนาดไฟล์:
      6.7 KB
      เปิดดู:
      911
    • fire.gif
      fire.gif
      ขนาดไฟล์:
      4.5 KB
      เปิดดู:
      601
    • magnify4.gif
      magnify4.gif
      ขนาดไฟล์:
      1 KB
      เปิดดู:
      563
    • sun.gif
      sun.gif
      ขนาดไฟล์:
      2.4 KB
      เปิดดู:
      744
    • atom1.gif
      atom1.gif
      ขนาดไฟล์:
      1.7 KB
      เปิดดู:
      613
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    [​IMG]

    <CENTER class=n>

    พระไตรปิฎก เล่ม ๔</CENTER>
    มหาวรรค ภาค ๑

    <TABLE style="BORDER-RIGHT: 6px groove; BORDER-TOP: 6px groove; BORDER-LEFT: 6px groove; BORDER-BOTTOM: 6px groove" cellSpacing=0 borderColorDark=#996600 width=28 align=center borderColorLight=#fdaf31 border=6><TBODY><TR><TD width=16>
    [​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <CENTER class=n>

    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น</CENTER><CENTER>
    มหาขันธกะ
    โพธิกถา ปฏิจจสมุปบาทมนสิการ</CENTER>[๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า แรกตรัสรู้ ประทับอยู่
    ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในอุรุเวลาประเทศ.
    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งด้วยบัลลังก์เดียว เสวยวิมุตติสุข
    ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ตลอด ๗ วัน และทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาทเป็น
    อนุโลมและปฏิโลม ตลอดปฐมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้:
    ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม
    (การเกิดขึ้นของทุกข์)
    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
    เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
    เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
    เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
    เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
    เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
    เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
    เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
    เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.

    ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม
    (การดับไปแห่งทุกข์)
    อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขารจึงดับ
    เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
    เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
    เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
    เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
    เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
    เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
    เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
    เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
    เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว
    จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้น ว่าดังนี้:
    พุทธอุทานคาถาที่ ๑
    เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์
    ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวง
    ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป
    เพราะมารู้ธรรม พร้อมทั้งเหตุ
    [๒] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาท
    เป็นอนุโลมและปฏิโลมตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้:
    ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม
    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
    เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
    เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
    เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
    เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
    เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
    เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
    เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
    เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.
    ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม
    อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขารจึงดับ
    เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
    เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
    เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
    เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
    เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
    เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
    เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
    เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
    เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว
    จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้น ว่าดังนี้:
    พุทธอุทานคาถาที่ ๒
    เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์
    ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวง
    ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป
    เพราะได้รู้ความสิ้นแห่งปัจจัยทั้งหลาย.
    [๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาท
    เป็นอนุโลมและปฏิโลมตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้:
    ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม
    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
    เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
    (ข้อความเหมือนดังเดิม)
    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.
    ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม
    อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขารจึงดับ
    เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
    (ข้อความเหมือนดังเดิม)
    เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว
    จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้น ว่าดังนี้:
    พุทธอุทานคาถาที่ ๓
    เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์
    ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น พราหมณ์นั้น
    ย่อมกำจัดมารและเสนาเสียได
    ดุจพระอาทิตย์อุทัย ทำอากาศให้สว่าง ฉะนั้น.
    <CENTER>
    จบ. โพธิกถา</CENTER><CENTER>(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒)</CENTER>

    ..............อนึ่ง พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระพจน์นี้ไว้ว่า
    ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม
    ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้น ชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท ดังนี้.
    ก็อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ใด อุปาทานขันธ์ ๕
    เหล่านี้ ชื่อว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรม แล.
    ความพอใจ ความอาลัย ความยินดี ความชื่นชอบ ในอุปาทานขันธ์ ๕
    เหล่านี้อันใด อันนี้ชื่อว่าทุกขสมุทัย.
    การกำจัดความกำหนัด ด้วยสามารถความพอใจ
    การละความกำหนัด ด้วยสามารถความพอใจ ใน
    อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ อันใด อันนั้นชื่อว่าทุกขนิโรธแล.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้แล
    คำสอนของพระผู้มีพระภาค เป็นอันภิกษุทำให้มากแล้ว.
    ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวธรรมปริยายนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น
    ชื่นชมยินดีภาษิต ของท่านพระสารีบุตรแล้วแล.
    จบ. มหาหัตถิปโทปมสูตรที่ ๘
    [​IMG]
    จาก"พุทธอุทาน"ที่บังเกิดขึ้น ทรงชี้ถึงธรรมหรือสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงปีติในญาณหรือการหยั่งรู้ทั้ง ๓ ครั้งดังนี้
    "รู้ธรรม พร้อมทั้งเหตุ" อันคือ รู้ธรรมหรือสิ่งทั้งหลายล้วนเกิดแต่มีเหตุมาเป็นปัจจัยกัน
    "ได้รู้ความสิ้นแห่งปัจจัยทั้งหลาย" กล่าวคือ เมื่อสิ้นเหตุปัจจัย ธรรมหรือสิ่งทั้งหลายก็ย่อมดับไป
    "ย่อมกำจัดมารและเสนาเสียได้ ดุจพระอาทิตย์อุทัยทำอากาศให้สว่าง" อันคือย่อมกำจัดกิเลส ตัณหา อุปาทานเสียได้
    ดุจดั่งพระอาทิตย์ที่ย่อมขับไล่ความมืดมัว อันจักทำให้โลกสว่างไสวและอบอุ่น
    หรือพอสรุปกล่าวได้ว่า
    ธรรมใดเกิดแต่เหตุ เมื่อเหตุดับ สิ่งหรือธรรมเหล่านั้นก็ดับไปเป็นธรรมดา


    นัตถิ ปัญญาสมา อาภา
    แสงสว่าง เสมอด้วยปัญญาไม่มี
     

แชร์หน้านี้

Loading...