พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ๑. ทาน ที่จะให้ผลเกิดย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ
    ๑. มีศรัทธาอันถูกต้องในการสร้างทานนั้น
    ๒. มีเจตนา ๔ ในการทำทานนั้น คือ
    ๑. เจตนาก่อนที่จะทำทานนั้น
    ๒. เจตนาขณะที่กำลังทำทานนั้น
    ๓. เจตนาขณะที่ทำทานนั้นเสร็จแล้วใหม่ๆ
    ๔. เจตนาที่ทำทานนั้นเสร็จไปแล้วเป็นเวลานาน
    ๓. มีจิตเป็นมหากุศลดวงใดดวงหนึ่งใน ๘ ดวงในเจตนา ๔
    ๔. องค์ทานที่จะทำนั้นต้องได้มาด้วยความบริสุทธิ์
    ๕. องค์ทานนั้นต้องมีประโยชน์กับปฏิคาหกหรือผู้รับ
    ๖. ปฏิคาหกหรือผู้รับต้องเป็นบุคคลที่สมควร ( มีคุณธรรมสูงสุด คืออริยบุคคล ต่ำสุด คือผู้มีนิจศีล)
    ผลของ ทาน
    ปฏิสนธิกาล คือ กามสุคติภูมิ อันได้แก่ ความเป็นมนุษย์ และเทวดา ๕ ชั้น ( เว้นเทวดาชั้นดุสิต )
    ปวัตติกาล
    มีกินมีใช้ด้วยวคามอุดมสมบูรณ์ตามฐานะ

    ๒ ศีลที่จะให้ผลเกิดย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ
    ๑. มีศรัทธาอันถูกต้องในการที่จะรักษาศีลอันถูกต้อง
    ๒. มีเจตนา ๔ ในการรักษาศีลนั้น คือ
    ๑. เจตนาก่อนที่จะรักษาศีล
    ๒. เจตนาขณะที่กำลังอยู่ในศีล
    ๓. เจตนาที่พ้นจากศีลใหม่ๆ
    ๔. เจตนาที่พ้นจากศีลนานแล้ว
    ๓. มีจิตเป็นมหากุศลดวงใดดวงหนึ่งใน ๘ ดวงในเจตนา ๔
    ๔. ศีลแต่ละตัวจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนไม่ขาดตกบกพร่อง
    ๕. ประเภทของศีลอย่างหยาบๆมีดังนี้คือ
    ๑. นิจศีล หมายถึง ศีลที่ติดอยู่ตลอดไปโดยไม่ละทิ้ง และมีความถูกต้องครบถ้วน
    ๒. อุโบสถศีล หมายถึง ศีล ๒ อันได้แก่
    ๑. ปาฏิโมกขสังวร คือ ศีลทั้ง ๘ ตัว จะต้องมีครบถ้วนไม่บกพร่อง
    ๒. ภาวนา คือ ในขณะที่รักษาศีลอยู่นั้นจะต้องมีการภาวนาในอนุสสติ ๕ ให้เกิดขึ้น
    ตลอดเวลาที่รักษาศีล คือ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ เทวตานุสสติ
    ๓. วิสุทธิศีล หมายถึง ศีล ๔ อันได้แก่
    ๑. ปาฏิโมกขสังวร คือ ศีลที่รักษามีกี่ตัวจะต้องครบถ้วนสมบูรณ์
    ๒. อินทรีย์สังวร คือ การสำรวมทางทวาร ๖ อยู่ในความเป็นอุเบกขา
    ๓. อาชีวสังวร คือ การเลี้ยงชีวิตโดยชอบ ภิกษุได้แก่การบิณฑบาต ถ้าเป็นคฤหัสถ์จะ
    ต้องเป็นสัมมาอาชีวะ
    ๔. ปัจจยสังวร คือ การกินอาหารต้องพิจารณาว่ากินเพื่อดำรงชีวิตอยู่ การแต่งกายต้อง
    พิจารณาว่าแต่งกายเพื่อป้องกันอุณหภูมิร้อนเย็น และป้องกันความอุจาดลามก ที่อยู่อาศัยจะต้อง
    พิจารณาว่าเพื่อป้องกันแดดป้องกันฝน การกินยารักษาโรคต้องพิจารณาว่าเพื่อบำบัดทุกขเวทนา
    ให้ลดน้อยถอยลง จะได้ทำคุณงามความดีให้เกิดขึ้นได้
    ผลของ ศีล
    ปฏิสนธิกาล คือ กามสุคติภูมิ อันได้แก่ ความเป็นมนุษย์ และเทวดา ๕ ชั้น ( เว้นเทวดาชั้นดุสิต )
    ปวัตติกาล
    มีคนเคารพนับถือมีความสุขสบาย

    ๓ ภาวนาที่จะให้ผลเกิดย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ
    ๑. มีศรัทธาอันถูกต้องในการที่จะสร้างภาวนาให้เกิดขึ้น
    ๒. มีเจตนา ๔ ในการภาวนานั้น คือ
    ๑. เจตนาก่อนภาวนา
    ๒. เจตนาขณะกำลังภาวนา
    ๓. เจตนาเมื่อภาวนาเสร็จแล้วใหม่ๆ
    ๔. เจตนาเมื่อภาวนาเสร็จไปนานแล้ว
    ๓. มีจิตเป็นมหากุศลดวงใดดวงหนึ่งใน ๘ ดวงในเจตนา ๔๔. ภาวนาอันถูกต้องในพระธรรมของพุทธศาสนา๕. มีความรู้ความหมายของบทบริกรรมภาวนานั้นว่ามีความหมายประการใดแล้วโน้มจิตตามไป
    ผลของ ภาวนา
    ปฏิสนธิกาล คือ กามสุคติภูมิ อันได้แก่ ความเป็นมนุษย์ และเทวดา ๕ ชั้น ( เว้นเทวดาชั้นดุสิต )
    ปวัตติกาล
    ๑. มีจิตใจไม่วุ่นวาย
    ๒. การดำรงชีวิตมีสุข

    ๔. การเคารพบุคคลที่ควรเคารพหรือการอ่อนน้อมถ่อมตนที่จะให้ผลเกิดย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ
    ๑. มีศรัทธาอันถูกต้องในบุคคลผู้นั้น
    ๒. มีเจตนา ๔ ในการเคารพหรือการอ่อนน้อมถ่อมตน คือ
    ๑. เจตนาก่อนทำ
    ๒. เจตนาขณะกำลังทำ
    ๓. เจตนาเมื่อทำเสร็จแล้วใหม่ๆ
    ๔. เจตนาเมื่อทำเสร็จแล้วเป็นเวลานาน
    ๓. มีจิตเป็นมหากุศลดวงใดดวงหนึ่งใน ๘ ดวงในเจตนา ๔๔. บุคคลผู้นั้นมีคุณสมบัติอันดีทางโลกหรือทางธรรมอันถูกต้อง
    ๕. เคารพโดยการอนุโมทนาในคุณงามความดีในทางโลกหรือทางธรรมอันถูกต้องของผู้นั้น
    ผลของ เคารพบุคคลที่ควรเคารพ
    ปฏิสนธิกาล คือ กามสุคติภูมิ อันได้แก่ ความเป็นมนุษย์ และเทวดา ๕ ชั้น ( เว้นเทวดาชั้นดุสิต )
    ปวัตติกาล
    มีคนเคารพนับถือยอมรับเป็นผู้นำของเขา

    ๕. ขวนขวายในกิจที่ชอบที่จะให้ผลเกิดย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ
    ๑. มีศรัทธาอันถูกต้องในการที่จะขวนขวายในกิจที่ชอบ
    ๒. มีเจตนา ๔ ในการขวนขวายในกิจที่ชอบนั้น คือ
    ๑. เจตนาก่อนทำการขวนขวายในกิจที่ชอบ
    ๒. เจตนาขณะทำการขวนขวายในกิจที่ชอบ
    ๓. เจตนาที่ขวนขวายในกิจที่ชอบเสร็จแล้วใหม่ๆ
    ๔. เจตนที่ขวนขวายในกิจที่ชอบเสร็จแล้วนาน
    ๓. มีจิตเป็นมหากุศลดวงใดดวงหนึ่งใน ๘ ดวงในเจตนา ๔๔. การกระทำประโยชน์ให้เกิดขึ้นต่อส่วนรวมโดยไม่เดือดร้อนแก่ผู้ใด เช่น การทำประโยชน์ให้เกิดขึ้นต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
    ผลของ ขวนขวายในกิจที่ชอบ
    ปฏิสนธิกาล คือ กามสุคติภูมิ อันได้แก่ ความเป็นมนุษย์ และเทวดา ๕ ชั้น ( เว้นเทวดาชั้นดุสิต )
    ปวัตติกาล
    ๑. ดำรงชีวิตด้วยความปลอดโปร่ง
    ๒. มีคนช่วยเหลือและสนับสนุนในกิจการที่กระทำในชีวิต

    ๖. การแผ่กุศลผลบุญที่จะให้ผลเกิดย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ
    ๑. มีศรัทธาอันถูกต้องที่จะให้ความเอื้อเฟื้อความสุขความสบายแก่ผู้อื่น
    ๒. มีเจตนา ๔ ในการที่จะแผ่กุศลผลบุญนั้น คือ
    ๑. เจตนาก่อนที่จะแผ่กุศลผลบุญนั้น
    ๒. เจตนาขณะที่กำลังแผ่กุศลผลบุญนั้น
    ๓. เจตนาที่แผ่กุศลผลบุญนั้นเสร็จแล้วใหม่ๆ
    ๔. เจตนาที่ได้แผ่กุศลผลบุญนั้นเสร็จนานแล้ว
    ๓. มีจิตเป็นมหากุศลดวงใดดวงหนึ่งใน ๘ ดวงในเจตนา ๔๔. ตนได้สร้างกุศลอันถูกต้องให้เกิดขึ้นแล้ว อันได้แก่ กามาวจรกุศล รูปาวจรกุศล อรูปาวจรกุศล โลกุตตรกุศล อันถูกต้องในพระพุทธศาสนา
    ๕. การแผ่กุศลเสร็จแล้ว ควรจะได้ขออโหสิกรรมซึ่งกันและกัน ทั้งนี้เพราะผู้นั้นอาจเคยเป็น เจ้าเวรนายกรรมมาแต่ก่อนก็ได้๖. ระบุผู้ที่ควรแก่การแผ่กุศลนั้นด้วยเจตนาอันมั่นคง และสมควรแก่ฐานะที่เราจะแผ่กุศลผลบุญให้แก่เขา หรือสมควรแก่ฐานะของผู้รับจะได้รับหรือไม่
    ผลของ แผ่กุศลผลบุญ
    ปฏิสนธิกาล คือ กามสุคติภูมิ อันได้แก่ ความเป็นมนุษย์ และเทวดา ๕ ชั้น ( เว้นเทวดาชั้นดุสิต )
    ปวัตติกาล
    ๑. มีผู้ยกย่องสรรเสริญ
    ๒. มีกินมีใช้อันสมควรแก่ฐานะ
    ๓. มีผู้เสียสละให้แก่ตน

    ๗. การอนุโมทนาบุญที่จะให้ผลเกิดย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ
    ๑. มีศรัทธาอันถูกต้องที่ผู้นั้นกระทำคุณงามความดีอันถูกต้องในทางโลกหรือทางธรรม
    ๒. มีเจตนา ๔ ในการอนุโมทนาคุณงามความดีของผู้นั้น คือ
    ๑. เจตนาก่อนที่จะอนุโมทนา
    ๒. เจตนาขณะที่กำลังอนุโมทนา
    ๓. เจตนาขณะที่อนุโมทนาเสร็จแล้วใหม่ๆ
    ๔. เจตนาขณะที่อนุโมทนาเสร็จเป็นเวลานานแล้ว
    ๓. มีจิตเป็นมหากุศลดวงใดดวงหนึ่งใน ๘ ดวงในเจตนา ๔๔. รู้ว่าผู้นั้นกระทำโดยถูกต้องทั้งในทางโลกหรือทางธรรมเพื่อเป็นการสืบต่อ ๓ สถาบัน คือ ประเทศชาติ พระพุทธศาสนา องค์พระมหากษัตริย์ โดยไม่หวังประโยชน์ใดๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม
    ๕. อนุโมทนาคุณงามความดี หรือมีความยินดีต่อการกระทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมโดยไม่
    เบียดเบียนหรือหวังผลแต่ประการใดๆ เลย
    ผลของ การอนุโมทนาบุญ
    ปฏิสนธิกาล คือ กามสุคติภูมิ อันได้แก่ ความเป็นมนุษย์ และเทวดา ๕ ชั้น ( เว้นเทวดาชั้นดุสิต )
    ปวัตติกาล
    ๑. มีผู้สรรเสริญ
    ๒. ดำเนินชีวิตโดยความถูกต้อง

    ๘. การฟังธรรมที่จะให้ผลเกิดย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ
    ๑. มีศรัทธาอันถูกต้องที่ได้ฟังธรรมในพระพุทธศาสนา
    ๒. มีเจตนา ๔ ในการฟังธรรมนั้น คือ
    ๑. เจตนาก่อนที่จะฟัง
    ๒. เจตนาขณะที่กำลังฟังธรรม
    ๓. เจตนาที่ฟังธรรมเสร็จแล้วใหม่ๆ
    ๔. เจตนาที่ฟังธรรมเสร็จนานแล้ว
    ๓. มีจิตเป็นมหากุศลดวงใดดวงหนึ่งใน ๘ ดวงในเจตนา ๔๔. ตั้งใจฟังด้วยความเคารพในธรรมของพุทธศาสนาและพยายามจดจำไว้
    ๕. เมื่อฟังแล้วพิจารณากลั่นกรองด้วยเหตุด้วยผล และพิจารณาว่าธรรมนั้นสมควรแก่ฐานะ
    ของตัวเราที่จะประพฤติปฏิบัติได้หรือไม่
    ๖. เมื่อมีข้อสงสัยก็สนทนาไต่ถามเพื่อทำความเข้าใจอันถูกต้อง
    ๗. ประพฤติปฏิบัติธรรมที่ได้ฟังให้ถูกต้องตามควรแก่ฐานะ คือ การสืบต่อพระพุทธศาสนา
    นั่นเอง
    ผลของ การฟังธรรม
    ปฏิสนธิกาล คือ กามสุคติภูมิ อันได้แก่ ความเป็นมนุษย์ และเทวดา ๕ ชั้น ( เว้นเทวดาชั้นดุสิต )
    ปวัตติกาล
    มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ที่คนอื่นรู้ได้ยากแต่ตนรู้ได้โดยง่าย

    ๙. การให้ธรรมเป็นทาน ที่จะให้ผลเกิดย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ
    ๑. มีศรัทธาอันถูกต้องเพื่อดำรงไว้ซึ่งพุทธศาสนา
    ๒. มีเจตนา ๔ ในการที่ให้ธรรมอันสมควร คือ
    ๑. เจตนาก่อนให้ธรรม
    ๒. เจตนากำลังให้ธรรม
    ๓. เจตนาที่ให้ธรรมเสร็จแล้วใหม่ๆ
    ๔. เจตนาที่ให้ธรรมเสร็จนานแล้ว
    ๓. มีจิตเป็นมหากุศลดวงใดดวงหนึ่งใน ๘ ดวงในเจตนา ๔๔. เป็นธรรมในพระพุทธศาสนาอันถูกต้อง
    ๕. ธรรมที่ให้นั้นเป็นธรรมที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์แก่ผู้ฟังที่จะนำไปประพฤติปฏิบัติ
    ๖. ชี้แจงให้ผู้ฟังมีความเข้าใจ สามารถนำไปประพฤติปฏิบัติได้โดยถูกต้องตามฐานะ
    ผลของ การให้ธรรมเป็นทาน
    ปฏิสนธิกาล คือ กามสุคติภูมิ อันได้แก่ ความเป็นมนุษย์ และเทวดา ๕ ชั้น ( เว้นเทวดาชั้นดุสิต )
    ปวัตติกาล
    ๑. มีปัญญาเฉลียวฉลาด
    ๒. เข้าถึงธรรมอันถูกต้องได้โดยง่าย
    ๓. มีกินมีใช้อันสมควรแก่ฐานะ
    ๔. มีผู้เคารพนับถือ
    ๕. ดำเนินชีวิตไปด้วยความถูกต้อง

    ๑0. ทิฏฐุชุกรรม( การทำความเห็นให้ถูก ) ที่จะให้ผลเกิดย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ
    ๑. มีศรัทธาอันถูกต้องโดยเชื่อพระธรรมในพุทธศาสนาแต่ละเรื่องและขั้นตอนในการที่กระทำ
    สิ่งนั้นๆ ให้ถูกต้อง
    ๒. จะต้องมีการค้นคว้าในพระธรรมคำสอนอันถูกต้อง
    ๓. จะต้องมีการประพฤติธรรมปฏิบัติธรรมอันสมควรแก่ธรรมและผลเกิดขึ้นแล้วจึงจะสามารถรู้ได้ว่าอย่าง
    ใดผิดอย่างใดถูก
    ๔. ต้องใช้สติและปัญญาประกอบด้วยเหตุและผลแต่ละขั้นละตอน
    ๕. ในเรื่องแต่ละเรื่องจะต้องพิจารณาด้วยเหตุและผลด้วยจิตเป็นอุเบกขา ทั้งในเรื่องดีและ
    เรื่องชั่ว
    ๖. สิ่งที่ถูกต้องตามพระธรรมคำสอนนั่นก็คือ " ละความชั่ว ทำแต่ความดี "
    ๗. เมื่อการทำความเห็นให้ถูกต้องแล้ว จะกระทำในสิ่งอันถูกต้องนั้นจะต้อง ประกอบด้วยเจตนา
    ๔ อันมีจิตเป็นมหากุศลดวงใดดวงหนึ่ง ใน ๘ ดวง
    ผลของ ทิฏฐุชุกรรม
    ปฏิสนธิกาล คือ กามสุคติภูมิ อันได้แก่ ความเป็นมนุษย์ และเทวดา ๕ ชั้น ( เว้นเทวดาชั้นดุสิต )
    ปวัตติกาล
    ๑. มีสติปัญญาอันว่องไว
    ๒. มีความคิดความเห็นอันถูกต้องทั้งในทางโลกและทางธรรม
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <CENTER>ระวัง....การล่วงเกิน "ผู้มีธรรม"</CENTER>

    http://www.extrasoul.com/old7.html

    เมื่อเขียนเรื่องการใช้ไหว้วาน "ผู้ทรงธรรม" แล้ว ก็เลยอยากจะเขียนถึงเรื่อง "การล่วงเกิน "ผู้มีธรรม" ด้วย การใช้ไหว้วาน "ผู้ทรงธรรม" นั้น ก็เป็นสิ่งไม่อยู่แล้ว แต่การล่วงเกิน "ผู้ทรงธรรม" หรือ "ผู้มีธรรม" นั้นหนักกว่า บาปมากกว่า เพราะเป็นการล่วงเกิน เป็นการทำร้าย "ผู้ทรงธรรม" ไม่ว่าจะเป็นทั้งกายหรือใจ หรือจะด้วยเจตนาและไม่เจตนาก็ตาม

    เพราะ "ผู้มีธรรม" และ "ผู้ทรงธรรม" นั้น คล้ายกันในความหมาย ก็คือเป็นผู้ที่ยึดถือการกระทำความดี เป็นชีวิตจิตใจ เป็นสรณะ เป็นที่พึ่ง และเป็น "คนดี" ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คำว่าเป็นคนดีนั้น หมายความว่า....
    1. ทำอะไรก็แล้วแต่.....มีประโยชน์ต่อตนเอง
    2. ทำอะไรก็แล้วแต่.....มีประโยชน์ต่อคนอื่น
    3. ทำอะไรก็แล้วแต่.....ไม่สร้างเดือดร้อนต่อตนเอง
    4. ทำอะไรก็แล้วแต่.....ไม่สร้างเดือดร้อนต่อคนอื่น ต้องทำให้ได้ครบ 4 ข้อ เราจึงเรียกว่า "ความดี"

    "ผู้มีธรรม"....ต้องทำ "ความดี" ทั้งต่อหน้าและลับหลัง "ผู้มีธรรม" นั้นมีทั้งภิกษุ สงฆ์ ผู้ทรงศีล นักบวช และฆราวาสที่มี "จิต" ดี เราไม่มีโอกาสจะทราบได้อย่างแน่ชัด 100 เปอรเซ็นต์เลยว่า...ใครบ้างเป็น "ผู้มีธรรม" นอกจากการสังเกต และการสันนิษฐานของเราเองและผู้อื่น "ผู้มีธรรม" นั้น ตัวท่านเองก็ไม่สามารถจะพูดให้ใครฟังได้ว่าตัวเองเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เพราะบางทีตัวของ "ผู้มีธรรม" นั้นเอง ก็ยังไม่ทราบตัวท่านเองเลยว่า ท่านเป็นอย่างไร ? เพราะความเป็น "ธรรม" นั้น มันเป็นเรื่องของ "จิตใจ" ที่เกิดขึ้นมาจากความเป็น "ธรรมชาติ" ไม่สามารถหาซื้อจากที่ใดได้ อาจจะติดมาจากอดีต แล้วมา "ปรุงแต่ง" เพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ในภาวะปัจจุบัน เพราะฉะนั้น เมื่อเราไม่รู้ว่าใครบ้างเป็น "ผู้มีธรรม" จงอย่าได้มีความประมาท เผลอไผลไปตำหนิติเตียน หรือทำร้ายท่านทั้งทางกายและใจ ด้วยใจที่เป็นอกุศล หรือต้องการประชดประชัน ตีวัวกระทบคราด ใช้คำไม่สุภาพ หรือล่วงเกินในสิ่งที่ตัวเองยังไม่รู้จริง ความปลอดภัย เมื่อเราไม่รู้ว่าจะไป "ล่วงเกิน" ใครบ้างที่เป็น "ผู้มีธรรม" ควรทำอย่างนี้ เวลาจะออกความเห็นใด หรือกล่าวถึง ที่เป็นการกล่าวตรงข้ามกับความคิดเห็นหรือการกระทำของผู้อื่น ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นใคร ไม่ว่าจะอยู่ต่อหน้าหรือหลับหลังใครก็ตาม ควรกล่าวถึงหรือเขียนด้วยความเป็นสุภาพชน ไม่ใช้ถ้อยคำกระแทกแดกดัน ประชดประชัน กล่าวส่อเสียด ดูหมิ่น เหยียดหยามหรือแสดงในสิ่งที่ไม่สมควรแสดง เพราะ "ผู้มีธรรม" ก็เป็นคนธรรมดา ย่อมมีความผิดพลาดได้เป็นของธรรมดา เมื่อทำผิดพลาด ก็ย่อมได้รับคำติเพื่อก่อ เพื่อสร้างสรรค์ เช่นคนอื่นได้เช่นกัน เคยหรือไม่ ? ที่ท่านเองเคยมีคนหมั่นไส้ท่านอย่างไม่รู้สาเหตุ ไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไร ? เคยหรือไม่ ? ที่ท่านเคยถูกดูหมิ่นเหยียดหยามจากคนอื่น บางครั้งก็ไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไร ? เคยหรือไม่ ? ที่ท่านมักจะมึนงงกับปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่รู้ทางแก้ไข บางครั้งก็ไม่ทราบสาเหตุ เคยหรือไม่ ? ที่ท่านถูกกล่าวร้ายป้ายสีจากคนอื่น ทั้งๆ ที่ท่านไม่ได้ทำ บางครั้งก็ไม่ทราบสาเหตุ เคยหรือไม่ ? ที่ท่านพูดอะไรไปแล้ว ไม่มีคนเชื่อถือ หรือพูดอะไรไปแล้วคนไม่เชื่อ เหล่านี้คือ "กรรม" ที่ได้กล่าวล่วงเกิน "ผู้มีธรรม" ตรงกันข้าม...ถ้าใครให้เกียรติ ให้ความเคารพ แม้ว่าจะติเพื่อก่อ หรือให้เหตุผลที่ตั้งบนความบริสุทธิ์ใจ "กรรม" ที่ได้รับก็คือ........ ไปไหน ทำอะไร พูดกับใคร ไหว้วานใคร ร่วมงานบุญกับใคร เจอะเจอใคร ? ก็มีแต่คนรักใคร่ เป็นที่ชื่นชอบ เป็นที่รัก เป็นที่เคารพของหมู่ชนทั่วไป ลองสังเกตคนใกล้ตัว ไกลตัว หรือคนที่คุณรู้จัก ...ที่เป็นที่รักที่เคารพของคนทั่วไป ที่ไม่ใช่เพื่อนยกยอปอปั้น ชื่นชมกันเอง (ประเภทเขียนเอง..ชมเอง หรือไหว้วานให้คนอื่นมาชมแทน) ว่าเป็นเช่นนี้หรือเปล่า ? ถ้าใช่ ก็แสดงว่าคนๆ นั้นให้ความเคารพ "ผู้มีธรรม" อย่างดี อาจารย์ผมคนหนึ่งชื่อ อาจารย์ วิสุทธิ์ ปัญจะ เวลาท่านจะแสดงความคิดเห็นใด ต่อผู้ที่คิดว่าน่าจะเป็น "ผู้มีธรรม" ท่านมักจะขึ้นต้นว่า "ขออนุญาต ขอสอบถามเพื่อศึกษา เพื่อเรียนรู้ ว่า......" นั่นคือผู้ที่รู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควร แต่พวกเรา..ไม่ต้องขนาดนั้น ไม่ต้องนอบน้อมขนาดนั้นก็ได้ เพียงแต่ว่า พูดคุย แสดงความคิดเห็น หรือแลกเปลี่ยนความรู้ กล่าวถึง ด้วยความสุภาพอ่อนน้อมให้เกียรติคนอื่น ใช้กริยาวาจา (ข้อเขียน) ด้วยใจที่คิดว่ากำลังคุยกับเพื่อน ไม่ใช่คุยกับคนที่เกลียดขี้หน้ากัน การใช้วาจาตรงๆ ก็สามารถทำได้ เพราะการใช้วาจาพูดคุยกันตรงๆ ก็สามารถใช้คำพูดหรือข้อเขียนที่อ่อนน้อม สุภาพ ได้ คนปากกับใจตรงกัน หรือคนที่พูดตรงๆ ต่างจาก "คนปากพล่อย" มากมายนัก ในที่นี้ผมเพียงจะพูดถึงเรื่องการล่วงเกิน "ผู้มีธรรม" เพียงการพูด ทั้งการพูดต่อหน้าและลับหลัง การกล่าวถึง การตำหนิติเตียนด้วยความไม่ชอบ ยังไม่ได้พูดถึงการล่วงเกิน "ผู้มีธรรม" ด้วยการกระทำ เพราะแค่ล่วงเกิน "ผู้มีธรรม" ด้วยวาจา ด้วยการกล่าวถึง ยังต้องได้รับ "กรรม" ที่หนักหนาสาหัสแล้ว ถ้าล่วงเกิน "ผู้มีธรรม" ด้วยการกระทำด้วยแล้ว จะยิ่งสาหัสสากรรจ์มาไม่รู้กี่เท่าต่อกี่เท่า ผมได้รับการสั่งสอนจากครูบาอาจารย์หลายท่าน ให้เป็นอย่างนี้ และได้ถูกสอนให้เห็นถึงการล่วงเกิน "ผู้มีธรรม" อย่างชนิดที่ไม่ได้ถูกแค่สอนด้วยวาจา แต่ผมโดนสอนด้วยการถูกลงโทษจริงๆ จึงรู้..จึงเข้าใจว่า...การได้รับ "กรรม" จากการล่วงเกิน "ผู้มีธรรม" นั้น มันเจ็บปวดและทรมาน จึงไม่อยากให้ท่านที่พลั้งเผลอไปกล่าวล่วงเกิน "ผู้มีธรรม" ได้รับกรรมเช่นนั้น เมื่อเราไม่รู้ว่า ใครบ้างที่เป็น"ผู้มีธรรม" ก็จงอ่อนน้อมถ่อมตน ติเตียนด้วยความสุภาพ หรือแสดงความคิดเห็นด้วยใจที่ไม่มีอคติ... ทำอย่างนี้เอาไว้ก่อน...ปลอดภัยกว่ากันเยอะ ผม (อโณทัย) ไม่ใช่ "ผู้มีธรรม" เพราะยังมีอารมณ์ มีความโกรธ ไม่ได้เป็นคนดีทั้งต่อหน้าและลับหลังตลอด 24 ชั่วโมง หรือตลอดเวลา และไม่ได้ทำความดีครบองค์ประกอบ 4ประการ จะเชื่อหรือไม่เชื่อ...ก็ตามใจท่าน ผมมีหน้าที่แค่ "บอก" "กรรม" ใดใครทำ คนนั้นเป็นคนรับครับ

    อโณทัย เขตต์บรรพต
    </PRE>
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    -------------------------------------------
    ******************************
    -------------------------------------------


    แค่ล่วงเกินผู้มีธรรม ก็ลำบากแล้ว
    แต่ล่วงเกินพระอรหันต์ ยิ่งลำบากมากเป็นทวีคูณ

    ระวังจิตของตนเองให้ดีนะครับ

    .
     
  4. Phocharoen

    Phocharoen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    109
    ค่าพลัง:
    +225
    เรียน ท่านสมาชิก และคุณ สิทธิพงษ์
    ผมได้อ่านข้อความหลายๆท่าน ก็ไม่ได้มีอะไรผิดถูก เป็นเพียงการพิสูจณ์ทางวิทยาศาสตร์ ยังไม่ชัดเจน และคงชัดเจนได้เฉพาะผู้ที่ ปฏิบัติเท่านั้น สิ่งหนึ่งที่พิสูจณ์ได้ชัดเจนคือ ศีลในพระพุทธศาสนา ที่ทุกคนสามารถ ปฏิบัติ และเห็นได้ว่า ผู้มีศีลมีจิตใจเยี่ยงใด มีความสุข ขนาดใดในศีลที่ตน ปฏิบัติอยู่ สำหรับพระบรมครูเทพโลกอุดร เมื่อก่อนผมก็สงสัยอยากรู้อยากทราบว่า ท่านคือ ใคร แต่ปัจจุบันวันนี้ ผมว่าสิ่งนั้นไม่ใช่ หรือจำเป็นต้องทราบ ขอให้เราเร่งทำความดี ละความชั่ว ทำจิตให้ผ่องใส สิ่งที่เราไม่อยากรู้ ก็อาจได้รู้ เท่าที่ผมเขียนมานี้ เป็นเพียงความคิดเห็น และปัญญาเพียงเล็กน้อยที่ผมมี ท่านผู้ใดเห็นว่า ไม่ถูกต้องผมขออภัยมา ณ ที่นี้
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ขอนำมาลงอีก (ผมลงหลายรอบแล้ว)

    บุพกรรมของพระพุทธองค์
    http://www.dhammathai.org/store/karma/view.php?No=244

    คนธรรมะ

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>ความนำ
    พระพุทธเจ้าทรงเล่าบุพกรรมของพระองค์ ในพระชาติต่าง ๆ ๑๔ ชาติ ทรงเริ่มพระชาติแรกที่ทรงปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า และได้ถวายท่อนผ้าเก่าผืนหนึ่งแก่พระผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
    ผลแห่งทานนี้ได้เกิดแก่พระองค์ การที่ทรงเล่าบุพกรรมทั้งฝ่ายกุศลและฝ่ายอกุศลนี้ ก็เพื่อเป็นตัวอย่างว่า พระองค์เมื่อยังเป็นปุถุชน ก็ได้ทำดีและทำชั่วมาแล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นบทเรียนแก่พวกเรา ดังที่ตรัสไว้ตอนหนึ่งในพุทธาปทาน มีใจความว่า
    เมื่อเห็นความเกียจคร้านเป็นภัย เห็นความเพียรเป็นความปลอดภัย ก็จงปรารภความเพียรเถิด นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
    อนึ่ง เรื่องบุพกรรมเล่มนี้ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงกรรมและผลของกรรมที่แต่ละคนได้ทำไว้ ในเรื่องบุญและบาป ที่มักพูดกันว่า ด้วยอำนาจบาปที่ได้กระทำไว้ในชาตินี้ จะกลายเป็นแรงบาปส่งผลให้ไปเกิดในอบายภูมิทั้ง ๔ คือ นรก เปรต อสุรกาย และกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในชาติหน้าหรือชาติต่อ ๆ ไป
    ด้วยอำนาจบุญกุศลที่ได้กระทำไว้ในชาตินี้ จะกลายเป็นแรงบุญส่งผลให้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ในชาติหน้าหรือชาติต่อ ๆ ไป
    ผลกรรมที่แต่ละบุคคลได้ทำไว้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนดีที่นิยมเรียกว่าบุญ หรือส่วนชั่วที่นิยมเรียกกันว่าบาป ย่อมทำหน้าที่ในการตามให้ผลอย่างเที่ยงตรงและต่อเนื่อง โดยไม่มีอำนาจอื่นใดจะมาเบี่ยงเบนให้เป็นอย่างอื่นไปได้ ส่วนจะตามให้ผลทันตาเห็นในชาตินี้ หรือตามให้ผลในชาติต่อๆไปนั่น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
    ค่านิยมในสังคมปัจจุบันนี้ มีอะไรหลายอย่างเปลี่ยนแปลงไปมาก บุคคลส่วนใหญ่ไม่ค่อยคำนึงถึงบาปบุญคุณโทษกันเท่าไรนัก จนบางครั้งถึงกับมีการพูดว่า ถ้ามัวแต่คำนึงถึงบาปบุญคุณโทษ ก็ไม่ต้องไปทำมาหากินอะไรกันหรอก มีหวังอดตายกันหมด หรือเรื่องบาปบุญคุณโทษเป็นเพียงนิทานหลอกเด็ก ประกอบกับคนทำความชั่วบางคนสามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างสุขสำราญ และได้รับการยกย่องนานัปการว่าเป็นผู้มีเกียรติ เป็นผู้ทำคุณงามความดีอันเป็นประโยชน์ต่อสังคม เพียงแค่การบริจาคเงินให้แก่องค์กรสาธารณกุศลเพียงเล็กน้อย เป็นต้นตัวอย่างที่เห็นกันอยู่นี้เองทำให้คนอีกเป็นจำนวนมากเกิดความรู้สึกสับสน หรือให้ความสำคัญเรื่องบาปบุญคุณโทษน้อยไปได้
    ความจริง เรื่องบาปบุญคุณโทษมิใช่เป็นเรื่องเหลวไหลไร้สาระ เพียงแต่ว่าคนที่ทำความดีและความชั่วยังมิได้ประสบผลของมันโดยตรง จึงทำให้บุคคลอีกส่วนหนึ่งเกิดความเข้าใจสับสนไป แต่เมื่อใดที่ผลของความดีและความชั่วให้ผลโดยตรงแล้วนั่นแหละ บุคคลนั้น ๆ จึงจะยอมรับว่า บาปบุญคุณโทษนั้นมีจริง และให้ผลตามที่แต่ละบุคคลได้ทำไว้ทุกประการ ดังตัวอย่าง เรื่อง บุพกรรมของพระพุทธองค์
    ท่านพระอานนทเถระ เมื่อจะประกาศประวัติอดีตชาติของพระพุทธเจ้าว่าด้วยบุพกรรมเก่า จึงกล่าวว่า
    ณ พื้นศิลาที่น่ารื่นรมย์ ใกล้สระอโนดาตโชติช่วงด้วยรัตนะต่าง ๆ ในละแวกป่า มีดอกไม้มีกลิ่นหอมนานาชนิด พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก มีหมู่ภิกษุหมู่ใหญ่ห้อมล้อม ประทับนั่งที่ศิลาอาสน์นั้น ได้ตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์ว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงฟังบุพกรรมของเรา ดังต่อไปนี้

    ๑. เรื่อง ถวายผ้าไว้ในอดีต จึงได้รับผลบุญ
    คราวหนึ่ง ขณะที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ใกล้สระอโนดาต ได้ตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์เรื่องที่ ๑ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า
    ในชาติก่อน เรา เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพราหมณ์ เห็นภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร จึงได้ถวายผ้าเก่าผืนหนึ่ง ในกาลนั้น ข้าพเจ้าปรารถนาการตรัสรู้ เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรก ผลของการถวายผ้าเก่าให้ผลในความเป็นพระพุทธเจ้า
    เรื่องนี้ มีกล่าวอธิบายขยายความไว้ว่า หลังจากที่พระสิทธัตถโพธิสัตว์ได้เจริญในศากยสกุล มีถิ่นกำเนิดชื่อว่ากรุงกบิลพัสดุ์ พระบิดามีพระนามว่า
    สุทโธทนะ พระมารดามีพระนามว่า มายาเทวี ทรงครองฆราวาสอยู่ ๒๙ ปี มีปราสาท ๓ หลัง มีชื่อว่า สุจันทะ โกกนุท และโกญจะ มเหสีพระนามว่ายโสธรา โอรสพระนามว่า ราหุล ทอดพระเนตรเห็นนิมิต ๔ ประการ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตายและสมณะแล้วเกิดความสังเวชสลดใจ กลางคืนได้เสด็จทรงม้ากัณฐกะ พร้อมกับนายฉันนะ แล้วเสด็จถึงแม่น้ำอโนมานที รับสั่งให้นายฉันนะนำม้าและเครื่องทรงกลับ แล้วพระองค์ก็ตัดพระโมลีแล้ว ตั้งสัจจะอธิษฐานโยนไปในอากาศว่า จักเป็นพระพุทธเจ้า ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมานทีแล้ว ก็ดำริอีกว่า ผ้าของชาวกาสีอย่างดีเหล่านี้ ไม่สมควรแก่ความเป็นสมณะของเรา ในทันใดนั้นเอง สหายเก่าเมื่อครั้งพระกัสสปพุทธเจ้า ซึ่งไปเกิดเป็นพรหมชื่อว่า ฆฏิการมหาพรหม ช่วงระยะพุทธันดรหนึ่ง ไม่ถึงความพินาศเลย (คือดำรงอยู่ในชั้นพรหมโลกตลอด) เพราะเคยเป็นเพื่อนกัน จึงคิดว่า วันนี้ สหายเก่าของเราจะบวช เราจะถือสมณบริขาร ๘ อย่างกล่าวคือ ไตรจีวร บาตร มีดน้อย เข็ม ประคดเอว และผ้ากรองน้ำไป เพื่อสหายเก่าของเรานั้นดีกว่า ครั้นแล้ว ก็นำสมณบริขารทั้ง ๘ อย่างนั้น มาถวายด้วยตนเอง พระโพธิสัตว์ก็รับแล้วครองผ้าที่เป็นธงชัยแห่งพระอรหันต์อธิษฐานเพศนักบวชผู้อุดม

    ๒. เรื่อง ห้ามผู้อื่นดื่มน้ำ ทำให้ต้องอดน้ำ
    คราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ใกล้สระอโนดาต ได้ตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์เรื่องที่ ๒ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า
    ชาติปางก่อน เรา เมื่อครั้งเกิดเป็นนายโคบาล ต้อนโคไปเลี้ยง ได้เห็นแม่โคกำลังดื่มน้ำขุ่น จึงห้ามมันไว้ไม่ให้ดื่ม ด้วยผลกรรมนั้น ในภพสุดท้ายนี้ เรากระหายน้ำ ก็ไม่ได้ดื่มน้ำตามความปรารถนา
    มีเรื่องกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกว่า ก่อนที่พระผู้มีพระภาคจะปรินิพพานหลังจากเสวยพระกระยาหารที่นายจุนทกัมมารบุตรจัดถวายแล้ว ได้เกิดอาการพระประชวรอย่างรุนแรงลงพระบังคนหนักเป็นโลหิต(ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด) ทรงมีทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส(กระหายน้ำอย่างมาก) แต่ทรงใช้สติสัมปชัญญะข่มทุกขเวทนาไว้ ตรัสชวนท่านพระอานนท์ ออกเดินทางต่อไปยังกรุงกุสินารา ระหว่างทางทรงหยุดพักและรับสั่งให้พระเถระนำน้ำดื่มมาถวาย แต่พระอานนท์กราบทูลว่า น้ำในแม่น้ำตรงนั้น มีน้ำน้อยและถูกกองเกวียน ๕๐๐ เล่มเหยียบย่ำไปก่อนหน้านั้นแล้วก็ไม่ไปตักมาถวาย จนพระองค์ต้องรับสั่งในครั้งที่ ๓ พระอานนท์จึงไปตักน้ำนำมาถวายให้พระองค์ได้ทรงดื่ม และน้ำที่พระอานนท์ไปตักนั้น กลับเป็นน้ำใสสะอาด น่าอัศจรรย์ใจมาก

    ๓. เรื่อง กล่าวตู่พระอรหันต์ ทำให้ต้องตกนรก
    คราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ใกล้สระอโนดาด ได้ทรงตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์เรื่องที่ ๓ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า
    ในชาติปางก่อน เราได้เคยเกิดเป็นนักเลงชื่อว่าปุนาลิ ได้กล่าวตู่พระปัจเจกพุทธเจ้ามีนามว่า สุรภี ผู้ไม่ประทุษร้ายใคร ด้วยผลกรรมนั้นเราจึงได้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในนรกเป็นเวลานาน เสวยทุกขเวทนาหลายพันปี ด้วยผลกรรมที่เหลืออยู่นั้น ในภพสุดท้ายนี้ เราจึงได้รับการกล่าวตู่เพราะนางสุนทรีเป็นเหตุ
    เรื่องนี้ มีกล่าวไว้อธิบายไว้ว่า สมัยนั้น ลาภสักการะเกิดขึ้นแก่พระพุทธเจ้าเป็นอันมาก เป็นเหตุให้พวกเดียรถีย์ทั้งหลายอับเฉาสิ้นลาภสักการะไปตาม ๆ กัน ไม่ผิดอะไรกับแสงหิ่งห้อยในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น วันหนึ่ง พวกเดียรถีย์ได้ปรึกษากันหาทางจะทำลายลาภสักการะของพระพุทธเจ้า เพื่อจะทำให้ตนได้ลาภสักการะ ดังที่เคยเป็น จึงขอแรงนางสุนทรีปริพาชิกาผู้มีรูปงามให้ไปทำลายพระพุทธเจ้า โดยให้ไปใส่ความว่าประพฤติร่วมประเพณีกับพระพุทธเจ้า
    นางสุนทรีทำเช่นนั้นอยู่ ๒-๓ วัน พวกเดียรถีย์ก็จ้างพวกนักเลงให้ไปฆ่านางสุนทรี แล้ว หมกไว้ที่ระหว่างกองขยะดอกไม้ใกล้พระคันธกุฎี พวกนักเลงได้ทำตามสั่งทุกประการ เอาละคราวนี้ พวกเดียรถีย์ก็แกล้งโจษจันหานางสุนทรี กราบทูลเรื่องนั้นแก่พระราชา พระราชารับสั่งให้ค้นหาจนทั่ว จึงได้ไปพบศพนางที่กองขณะดอกไม้ พวกเดียรถีย์จึงยกศพนางขึ้นเตียงแล้วหามเข้าไปยังพระนคร ทูลแด่พระราชาว่า สาวกของพระพุทธเจ้าฆ่านางสุนทรี แล้วหมกไว้ในระหว่างกองขยะดอกไม้ด้วยคิดว่า เราจักปกปิดกรรมชั่วที่พระพุทธเจ้าได้ทำไว้
    พระราชาได้ให้ป่าวร้องไปทั่วพระนคร พวกเดียรถีย์ได้เที่ยวป่าวร้องด่าพวกภิกษุในภายในและภายนอกพระนคร แม้กระทั่งในป่า ภิกษุได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระศาสดา พระศาสดาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น พวกเธอจงกลับโจทมนุษย์เหล่านั้นอย่างนี้ แล้วตรัสคาถาเหล่านี้ว่า คนที่ชอบพูดเท็จ หรือคนที่ทำความชั่วแล้วกล่าวว่า
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    คนทั้งหลาย ไม่มีใครที่เป็นผู้รู้จริง รู้แจ้งเลย ยกเว้นไว้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ท่านเป็นสัพพัญญู เป็นผู้ที่รู้ในทุกสิ่ง

    แต่คนทั้งหลาย ก็รู้เพียงในส่วนที่ตนเองได้ศึกษา ได้ค้นพบ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาและค้นพบด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือกระบวนการทางจิต

    กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ไม่สามารถที่จะพิสูจน์ในเรื่องหลายๆเรื่องในพระพุทธศาสนาได้ เช่น บางคนถูกยิง แต่ไม่เข้า กระบวนการวิทยาศาสตร์จะพิสูจน์ได้อย่างไรว่า ทำไมเนื้อคน เมื่อถูกกระสุนปืนแล้ว มีเพียงรอยจ้ำแดงเท่านั้น

    แต่วิธีทางพุทธศาสนา พิสูจน์กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้ในทุกกรณี

    ดังนั้น การพิสูจน์ ต้องพิสูจน์ด้วยตัวเอง รู้ด้วยตัวเอง เป็นประสบการณ์ด้วยตัวเอง เท่านั้น ตามคำสอนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในหลักของกาลามสูตรครับ

    ซึ่งความคิดของคน ก็แตกต่างกันไป จากองค์ความรู้ที่ตนเองมีบ้าง จากองค์ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดมาบ้าง หรือจากแหล่งอื่นๆบ้าง ก็แล้วแต่ความเชื่อของแต่ละบุคคลครับ

    กาลามสูตร

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    กาลามสูตร แปลว่า พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตติยนิคม แคว้นโกศล เรียกว่า เกสปุตตสูตร ก็มี กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อ ไม่ให้เชื่องมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดี ก่อนเชื่อ มี ๑๐ ประการคือ
    1. อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ฟังๆ กันมา
    2. อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ทำต่อๆ กันมา
    3. อย่าเพิ่งเชื่อตามคำเล่าลือ
    4. อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างตำรา
    5. อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกเดา
    6. อย่าเพิ่งเชื่อโดยคาดคะเนเอา
    7. อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกคิดตามแนวเหตุผล
    8. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะถูกกับทฤษฎีของตน
    9. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะมีรูปลักษณ์ที่ควรเชื่อได้
    10. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะผู้พูดเป็นครูบาอาจารย์ของตน
    <DL><DD>เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล <DD>ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ <DD>ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข <DD>เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่ </DD></DL>ปัจจุบันแนวคิดและหลักสูตรที่สอนให้คนมีเหตุผลไม่หลงเชื่องมงาย ในทำนองเดียวกับคำสอนของพระพุทธองค์เมื่อ ๒๕๐๐ ปีก่อนได้รับการบรรจุเป็นวิชาบังคับว่าด้วยการสร้างทักษะการคิดหรือที่เรียกว่า "การคิดเชิงวิจารณ์" (Critical thinking) ไว้ในกระบวนการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยของประเทศพัฒนาแล้ว [1]



    อ้างอิง



    <TABLE style="CLEAR: both; BORDER-RIGHT: #90a0b0 1px solid; BORDER-TOP: #90a0b0 1px solid; FONT-SIZE: 90%; BACKGROUND: #fcfcfc; MARGIN: 10px 0px 0px; BORDER-LEFT: #90a0b0 1px solid; WIDTH: 100%; BORDER-BOTTOM: #90a0b0 1px solid" cellSpacing=0 cellPadding=3><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=40></TD><TD style="COLOR: #696969" align=left>กาลามสูตร เป็นบทความเกี่ยวกับ ศาสนา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
    <SMALL>ข้อมูลเกี่ยวกับ กาลามสูตร ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ศาสนา</SMALL>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><!-- NewPP limit reportPreprocessor node count: 51/1000000Post-expand include size: 7376/2048000 bytesTemplate argument size: 261/2048000 bytesExpensive parser function count: 0/500--><!-- Saved in parser cache with key thwiki:pcache:idhash:33307-0!1!0!!th!2 and timestamp 20080928033911 -->
    ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3".
    หมวดหมู่: คัมภีร์ในพุทธศาสนา | อภิธานศัพท์พุทธศาสนา | บทความเกี่ยวกับ ศาสนา ที่ยังไม่สมบูรณ์



     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    โดยส่วนตัว ทำไมผมจึงเชื่อ

    บอกสั้นๆว่า ได้รับข้อมูลมา และมีทั้งพระภิกษุและฆารวาส รับรองในข้อมูลนั้น และจากประสบการณ์ของผมเอง

    ส่วนจะเชื่อผมหรือไม่ ไม่มีปัญหา

    แต่ผมให้ไปพิสูจน์เอง ด้วยตัวเอง ดีที่สุดครับ
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    มาเล่าให้ฟังนิดนึง

    เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา พี่ใหญ่ได้บอกกับผมว่า เรื่องของการพิสูจน์ในเรื่องต่างๆ สิ่งที่เป็นจริงมากที่สุด ก็คือ การรู้ในทางจิต

    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 30 คน ( เป็นสมาชิก 2 คน และ บุคคลทั่วไป 28 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"></TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>sithiphong, nongnooo+ </TD></TR></TBODY></TABLE>

    แม่นครับคุณnongnooo แม่นจริงๆ
     
  9. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    ตกลงอารายแม่นครับ คน? จิต? หรือจิตของคน? หรือนิสัยคน? ครับ หุ หุ
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    แม่นหลายเรื่องครับ

    แต่ลับ ลวง พราง ไว้ก่อน ไว้เจอกันแล้วค่อยคุยดีกว่าออกอากาศครับ
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 20 คน ( เป็นสมาชิก 5 คน และ บุคคลทั่วไป 15 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"></TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>sithiphong, aries2947+, arsasrianan, สักกะ-สุธรรมา, พรสิตา </TD></TR></TBODY></TABLE>

    สวัสดีครับน้องเอ
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.agalico.com/board/showthr...452#post113452

    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=9 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">โพสดั้งเดิมโดย แฮมชีสคัตสึ [​IMG]
    หากมีการโพสหลังจากโพสนี้ผมและผู้โพสถือตามนี้ครับ

    ที่สำคัญที่สุด สำหรับผู้ที่โพสข้อมูลที่ต่างจากผมก็คือ ผมไม่รู้จักจักไม่ต้องไปเยี่ยมในนรกและไม่ต้องไปเป็นพยานกับองค์พยามัจจุราชเจ้า

    รับทราบตามนี้นะครับ และจะโพสอะไรก็เชิญครับ


    รับทราบคับว. 2

    ประเด็นสำคัญ
    ที่ทั้งผมและ คุณสุชัมบดี และคุณสักกะ-สุธรรมาได้ชี้ล้อมกรอบไว้
    คือการจำแนกและบ่งชี้ให้เห็นความชัดเจนของสภาวธรรมของท่านพระครู
    และท่านพญามัจจุราช
    จากมหาสติปัฎฐาน และพระสูตรของมหายาน
    โดยใช้พระธรรมะ ที่จะเป็นดรรชนีชี้วัดพฤติกรรมของจิด ได้อย่างกระจ่างและชัดเจน

    สามารถจำแนกจริตธาตุ และเล็งเห็นพฤติกรรมทั้งของ พระครูโลกอุดร และ ทั้งของท่านพญามัจจุราช ได้อย่างชัดเจนตามความเป็นจริง

    นั่นเรียกว่าชี้ให้เห็นซึ่งความเป็นจริงและ เห็นจริง ตามพระสูตรและมหาสติปัฎฐาน

    ไม่ใช่แค่รู้จัก เพียงรูปลักษณะ และธรรมที่ฟังจากพยายามกล่าวอ้างและตามความคิดความเห็นที่เป็นส่วนตัว คับ

    และสามารถ จะรู้ได้ถึงสภาวะที่ไม่มีอะไรที่เคลือบแฝง ห่อหุ้ม หรือพัวพัน และจะสามารถเล็งเห็นไปถึงพันธนาการของกรรม อันต้องไปถือกำนิดในนรก ต้องกำเนิดเป็นฤาษี อย่างกระจ่างแจ้ง

    เหมือน ดังเม็ดฟักทองที่ไปถือกำเนิด ในตลาดไทแหละคับ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ***************************
    ----------------------------------------



    ที่สำคัญที่สุด สำหรับผู้ที่โพสข้อมูลที่ต่างจากผมก็คือ ผมไม่รู้จักจักไม่ต้องไปเยี่ยมในนรกและไม่ต้องไปเป็นพยานกับองค์พยามัจจุราชเจ้า

    รับทราบตามนี้ครับ

    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  14. ake7440

    ake7440 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,528
    ค่าพลัง:
    +405
    อ่ะ... มันเกิดเรื่องอะไรขึ้นเหรอครับ ผมไม่เห็นทราบได้เลยครับ
     
  15. ake7440

    ake7440 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,528
    ค่าพลัง:
    +405
    ในความเห็นของผมความอยากรู้ก็เป็นเหตุแห่งการบรรลุได้ครับ
    ดั่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของพวกเรา ท่านก็สงสัยอยากรู้ในเหตุแห่งทุกข์ และอยากรู้หนทางดับทุกข์ ท่านจึงได้แสวงหา และค้นพบหนทางที่ท่านนำมาสั่งสอนพวกเรา
    ดังนั้นการสงสัยใคร่รู้ จึงไม่ใช่สิ่งไม่ดีไปเสียทั้งหมด แต่การสงสัยนั้น ต้องเปิดใจให้กว้าง เรียนรู้ให้จริง หาข้อมูลหรืออาจารย์ที่เชื่อถือได้ เพื่อจะได้รับคำสอนที่ถูกต้องเพราะเราไม่สามารถบรรลุได้ด้วยตนเองเหมือนพระองค์ท่าน และเมื่อเรียนรู้มาแล้วก็ต้องนำมาคิดวิเคราะห์ แต่ท้ายที่สุดก็ต้องพูดว่าแล้วแต่บุญแต่กรรมทำกันมา เพราะอะไร เพราะในขั้นตอนเหล่านี้ ไม่มีสักเส้นทางเดียวที่ปราศจากทางเดินที่หลงผิด ไม่มีทางที่เที่ยงตรงถูกต้อง 100% เพราะไม่มีใครตอบได้ เราก็ได้แต่พยายามหาถ้าโชคดีทำกรรมเก่ามาดี ก็คงได้เจออาจารย์ดี
    โลกปัจจุบันคนศึกษาธรรมกันก็มากแต่ก็อยากให้เปิดใจ ผมว่ายังมีอะไรหลายๆอย่างที่เห็นไม่ตรงกัน มันก็เป็นเรื่องของศรัทธา อย่าไปขัดกัน แนะกันได้ แต่ต้องวางบ้าง เพราะเราก็ไม่ชัวร์ว่าเราถูกจริงหรือไม่ แต่เราคิดว่าดี ทำแล้วดี
    ผมคิดได้เพราะผมเป็นหมอ ในการรักษาทางการแพทย์ 10 ปีก่อนรักษาอย่างหนึ่ง ต่อมาก็เปลี่ยนไปบอกว่าของเก่าผิด ก็เปลี่ยนแนวทางกันใหม่ รักษามาอย่างนั้นอีก 10 ปี ตอนนี้บอกว่าของเก่าดีแล้ว ของใหม่มีปัญหา ก็กลับไปทำแบบเก่ากันอีก แล้วอะไรคือข้อสรุป อะไรคือความถูกต้องครับ
    การศึกษาไม่จำเป็นต้องสิ้นสงสัย การเปิดใจไม่ใช่การปล่อยวาง และการปล่อยวางไม่ใช่การละเลยครับ
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.agalico.com/board/showthr...452#post113452

    http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=8477&page=102

    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=9 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">โพสดั้งเดิมโดย สักกะ-สุธรรมา [​IMG]
    ..รับทราบ ว.3 เปลี่ยน sitiphong

    ถ้าผมจะตกนรก...สุชัมบดีต้องตกก่อนผม สุชัมบดีหมัดหนักกว่าผม

    ..พูดถึงท่านสุชัมบดี..ดูท่านก็ตลกดี..ไม่ซีเรียสแบกจนวางไม่ได้เหมือนคุณ sitiphong...ผมว่าคุณ
    Sitiphong กำลังตกนรกเองด้วยซ้ำดูจากอารมณ์อันดุดันของคุณ
    ...คุณนิ่งไม่พอ..ที่จะเล่นสนามใหญ่อย่างอกาลิโกบอร์ด...ต้องทำการบ้านให้ดีกว่านี้...
    ...คุณต้องวิเคราะห์ทีละประเด็นที่คนอื่นเสนอความคิดเห็นที่แตกต่างไปจากคุณ...
    ยกตัวอย่าง..ที่คุณบอกว่าโลกอุดรจะมาต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ถึง 5000 ปี
    แต่ผมเสนอประเด็นว่า ตถาคตท่านไม่ได้ฝากศาสนาไว้กับใครคนใดคนหนึ่ง ต่อให้อีก 100 โลกอุดรมายืนเรียงกันเป็นตับ ตถาคตก็จะไม่ฝากให้ 100 โลกอุดรดูแลศาสนาแทนท่าน
    ตถาคตท่านฝากศาสนาไว้กับธรรมและวินัยเท่านั้น ตราบใดยังมีผู้เดินบนมรรคหลุดพ้นตราบนั้นโลกก็จะไม่ว่างจากพระอรหันต์
    จุดประสงค์ของตถาคตคือให้ชาวพุทธทุกคนปฏิบัติธรรม เมื่อสำเร็จแล้วก็ช่วยแจกแจงธรรมส่งต่อกันเป็นรุ่นๆ ไม่ให้ขาดช่วง

    เมื่อผมเสนอประเด็นแบบนี้ ผมก็คอยเงี่ยหูฟังว่า ปู่ใหญ่เทพโลกอุดรจะสั่งการผ่านลูกศิษย์แบบท่านอย่างไรเพื่อแก้ประเด็นที่ผมถามปู่ท่าน
    แต่การรอคอยคำตอบของผมจากผู้ที่อ้างว่าติดต่อกับพระครูโลกอุดรได้ ผมกลับต้องผิดหวัง
    เอะอ่ะ..อะไรก็ นรกๆ และก็ไม่แก้ต่างประเด็นอย่างสมเหตุสมผล
    คณะโลกอุดร...หรือ"ลวงโลก"


    ...ผมไล่อ่านดูโพสต์สุชัมบดีทุกๆโพสต์แล้ว ก็ถือว่า"ไร้เทียมทาน"
    เสนอธรรมได้ตรงประเด็นอธิบายธรรมที่ยากให้ดูเป็นง่าย...

    ...แต่ทำไมท่านสุชัมบดี ต้องเก็บเนื้อเก็บตัวขายฟักทองที่ตลาดไท..ผมไม่เข้าใจ..

    โพสต์ของสุชัมบดีมีไม่ถึงห้าสิบโพสต์ด้วยซ้ำที่ท่านนำเสนอในอกาลิโกบอร์ด...แต่ก็กลายเป็นตำนานเรื่องเล่าขานของชาวอกาลิโกโดยเฉพาะคอเซนในระดับหนึ่ง...หลายคนบ่นถึงสุชัมบดี..ผมเองก็อยากให้ท่านกลับมาวาดลวดลายอีกครั้ง

    ฐิตา 10 แฮมชีสคัตสึ น้องมารน้อย มดเอ็กซ์ หนูไม่มี คุณเม็ดทราย หลวงพ่อข้างบ้าน สุชัมบดี
    ก็ไม่มีอะไรด้อยไปกว่าโลกอุดรเลย...ในเส้นทางหลุดพ้น...
    ต่างคนต่างช่วยกันคนละไม้คนละมือในการพยูงอายุพระพุทธศาสนาให้ถึงห้าพันปีโดยส่งต่อธรรมกันเป็นช่วงๆด้วยการศึกษาปฏิบัติให้ถึงแก่นแท้ของธรรมและเผยแพร่ธรรมให้ถึงรุ่นต่อไป

    จิตแบบนี้ของผมที่เกาะกุศลธรรม
    หากจะตกนรก..ก็ให้มันรู้ไป..

    เอวัง...สาธุๆ...อนุโมทนามิ...

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ที่สำคัญที่สุด สำหรับผู้ที่โพสข้อมูลที่ต่างจากผมก็คือ ผมไม่รู้จักจักไม่ต้องไปเยี่ยมในนรกและไม่ต้องไปเป็นพยานกับองค์พยามัจจุราชเจ้า

    รับทราบตามนี้ครับ

    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  17. Phocharoen

    Phocharoen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    109
    ค่าพลัง:
    +225
    คุณ เอก กล่าวได้ดีๆ ครับ ผมชอบนะ การศึกษาต้องไม่สิ้นสงสัย การเปิดใจไม่ใช่การปล่อยวาง ผมขอต่อนิดหน่อยไม่ว่ากันนะครับ ความสงสัยความอยากรู้ ที่ไม่นำไปสู่ ธรรม ผมเองไม่ขอสงสัยอีกแล้วครับ แต่ท่านอื่นอาจสงสัยเพราะแต่ละท่านย่อมมีเหตุผลของตน ก็ไม่ว่ากันครับ ขออนุโมทนา ทุกท่าน ที่ช่วยกันคิดช่วยกันหาข้อมูลมาเสนอให้ผู้อื่นรับทราบ ..สาธุ
     
  18. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    อ่าคือว่าเมื่อคืนคิดถึงผมไม่ใช่หรือครับ หุ หุ
     
  19. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
  20. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    เอาล่ะสิครับ ท่านปาทาน ผบ. ผมขอให้เปลี่ยนนิมนต์พระพิมพ์ฟ้าผ่า แทน ปู่ ส.ครับ เดี๋ยวคงมีสนุกๆมาแอบเล่าสู่กันฟังครับ หุ หุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...