พระพุทธเจ้าตรัสเรื่อง"กรรมทั้งสามทวาร"กรรมอันไหนที่ให้ผลร้ายแรงกว่ากัน

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย satan, 7 ตุลาคม 2008.

  1. satan

    satan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    5,015
    ค่าพลัง:
    +17,915
    ครุกรรม
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    ครุกรรม (อ่านว่า คะรุกำ) แปลว่า กรรมหนัก คือกรรมที่มีผลมาก มีโทษรุนแรงที่สุด เป็นชื่อกรรมอย่างหนึ่งเรียกตามการให้ผลหนักเบา


    ครุกรรม จัดเป็นกรรมที่หนักที่สุด ให้ผลเร็วและแรง มีทั้งฝ่ายที่เป็นกุศลคือฝ่ายดีและฝ่ายที่เป็นอกุศลคือฝ่ายไม่ดี ครุกรรมที่เป็นกุศลได้แก่ฌานสมาบัติ ๘ ผู้ได้ฌานสมาบัติชื่อว่าได้ทำกรรมฝ่ายกุศลที่ดีที่สุด เมื่อสิ้นชีวิตแล้วย่อมได้เกิดในพรหมโลกทันที ส่วนครุกรรมที่เป็นอกุศลได้แก่อนันตริยกรรม ๕ มี ฆ่าบิดา ฆ่ามารดา เป็น ผู้ทำอนันตริยกรรมชื่อว่าได้ทำกรรมฝ่ายอกุศลที่ร้ายแรงที่สุด เมื่อสิ้นชีวิตแล้วย่อมเกิดในนรกทันที

    ครุกรรม ย่อมให้ผลก่อนกรรมอื่นเสมอเหมือนลูกเหล็กที่คนนำไปทิ้งในเหวลึกพร้อมกับท่อนไม้ ใบไม้ และนุ่น ลูกเหล็กซึ่งเป็นโลหะหนักย่อมตกถึงพื้นก่อนสิ่งอื่น

    อ้างอิง
    พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548

    ข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org/
     
  2. satan

    satan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    5,015
    ค่าพลัง:
    +17,915
    กตัตตากรรม
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    กตัตตากรรม (อ่านว่า กะตัดตากำ) แปลว่า กรรมสักว่าทำ เป็นชื่อกรรมอย่างหนึ่งที่เรียกตามการให้ผลหนักเบา


    กตัตตากรรม ได้แก่ กรรมทั้งฝ่ายดีและไม่ดีที่ทำไปโดยไม่ได้ตั้งใจ ไม่มีเจตนาจะให้เป็นอย่างนั้น ภาษาวินัยว่าเป็นอจิตตกะ ทำไปก็สักแต่ว่าทำ แม้มีโทษก็ไม่รุนแรง ถือว่าเป็นกรรมที่มีโทษเบาที่สุดในบรรดากรรมทั้งหลาย ถ้าไม่มีกรรมที่หนักกว่าเช่นพหุลกรรม กรรมนี้จึงจะให้ผล

    เปรียบเหมือนลูกศรที่คนบ้าเสียสติยิงออกไปย่อมขาดความแม่นยำ ถูกเป้าบ้าง ไม่ถูกเป้าบ้าง หนักบ้าง เบาบ้าง เพราะคนยิงไม่ได้ตั้งใจแน่วแน่ อย่างเช่นคนที่ขับรถชนคนตายโดยประมาท แม้จะมีโทษ แต่ก็เบากว่าโทษที่ให้คนตายโดยเจตนา หรืออย่างเช่นมีเจตนาจะลงโทษจึงเฆี่ยนตีเพื่อให้เข็ดหลาบ แต่ผู้ถูกเฆี่ยนเกิดตายลง แม้อย่างนี้ก็มีโทษไม่รุนแรง เพราะเจตนาในการฆ่าไม่มี

    อ้างอิง
    พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548

    ข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org/
     
  3. satan

    satan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    5,015
    ค่าพลัง:
    +17,915
    กรรมบถ
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    กรรมบถ (อ่านว่า กำมะบด) แปลว่า ทางแห่งกรรม คือ การกระทำที่เข้าทางเป็นกรรมหรือที่จะนับว่าเป็นกรรม หมายทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ

    อกุศลกรรมบถ ทางแห่งกรรมชั่ว มี ๑๐ อย่าง คือ
    ฆ่าสัตว์
    ลักทรัพย์
    ประพฤติผิดในกาม
    พูดเท็จ
    พูดส่อเสียด
    พูดคำหยาบ
    พูดเพ้อเจ้อ
    โลภอยากได้ของเขา
    ปองร้ายเขา และ
    เห็นผิดจากคลองธรรม
    กุศลกรรมบถ ทางแห่งกรรมดี มี ๑๐ อย่างคือ
    เว้นจากฆ่าสัตว์
    เว้นจากลักทรัพย์
    เว้นจากประพฤติผิดในกาม
    เว้นจากพูดเท็จ
    เว้นจากพูดส่อเสียด
    เว้นจากพูดคำหยาบ
    เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ
    ไม่โลภอยากได้ของเขา
    ไม่พยาบาทปองร้ายเขา
    เห็นชอบจากคลองธรรม

    อ้างอิง
    พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548

    ข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org/
     
  4. satan

    satan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    5,015
    ค่าพลัง:
    +17,915
    กุศลกรรมบถ
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    กุศลกรรมบถ หมายถึง ทางแห่งกรรมดี,ทางทำดี, ทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล, กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่ความสุขความเจริญหรือสุคติ (wholesome course of action) เป็นธรรมส่วนสุจริต 10 ประการ จึงเรียกชื่อว่า กุศลกรรมบถ 10

    คำว่า กรรมบถ (อ่านว่า กำมะบด) แปลว่า ทางแห่งกรรม คือ การกระทำที่เข้าทางเป็นกรรมหรือที่นับว่าเป็นกรรม หมายถึง ทางแห่งกุศลกรรม คือการกระทำที่นับว่าเป็นความดีได้แก่

    ที่เป็นกายกรรม มี 3 อย่าง คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม
    ที่เป็นวจีกรรม มี 4 คือ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ
    ที่เป็นมโนกรรม มี 3 คือ ไม่โลภอยากได้ของเขา ไม่พยาบาทปองร้าย เห็นชอบตามคลองธรรม (สัมมาทิฐิ)
    กุศลกรรมบถ ก็คือสุจริตทางกาย ทางวาจา และทางใจนั่นเอง

    กุศลกรรมบถหมวดนี้ ในบาลีเรียกชื่อหลายอย่าง เช่นว่า ธรรมจริยา (ความประพฤติธรรม - righteous conduct), โสไจย (ความสะอาดหรือเครื่องชำระตัว -- cleansing), อริยธรรม (อารยธรรม, ธรรมของผู้เจริญ - virtues of a noble or civilized man), อริยมรรค (มรรคาอันประเสริฐ - the noble path), สัทธรรม (ธรรมดี, ธรรมแท้ - good law; true law),สัปปุริสธรรม (ธรรมของสัตบุรุษ - qualities of a good man)

    กุศลกรรมบถมาจากพุทธสุภาษิต สุจริตธรรมดังนี้

    ธมฺมญจเร สุจริตํ น ตํ ทุจฺจริตํ จเร
    ธมฺมจารี สุขํ เสติ อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จาติฯ


    สุภาษิตนี้มีเนื้อความว่า ธมฺมญจเร สุจริตํ บุคคลพึงประพฤติธรรมส่วนสุจริตอยู่ทุกเมื่อเถิด น ตํ ทุจฺจริตํ จเร ไม่พึงประพฤติธรรมส่วนทุจริตเลย ธมฺมจารี สุขํ เสติ ผู้ประพฤติธรรมส่วนสุจริต ย่อมนอนเป็นสุข หรือเป็นสุขทุกอิริยาบท อสฺมึ โลเก ปรมฺ หิ จ ทั้งในโลกนี้ด้วย โลกเบื้องหน้าด้วย ดังนี้ฯ

    กุศลกรรมบถ 10

    ประพฤติดีด้วยกาย 3 ประเภท
    ประพฤติดีด้วยกาย นั้นชื่อว่า กายกรรม คือ ทำกิจการงานด้วยกายอย่าให้ทุกข์เกิดขึ้นแก่ผู้อื่น กายกรรมที่ให้เกิดทุกข์แก่ผู้อื่นนั้น มี 3 ประการ

    - คือ อย่าเบียดเบียนร่างกายของท่าน คือ อย่าฆ่า อย่าฟัน อย่าทุบ อย่าตี ร่างกายของท่านผู้อื่นโดยที่สุด เว้นถึงสัตว์ติรัจฉานได้ยิ่งเป็นการดี ตรงภาษาบาลีที่ว่า ปาณาติปาตาเวรมณี ฯ
    - คือ อย่าเบียดเบียนทรัพย์สมบัติข้าวของของท่านผู้อื่น คืออย่าลักขโมย อย่าฉ้อโกง อย่าเบียดบังเอาข้าวของของท่านผู้อื่น ตรงภาษาบาลที่ว่า อทินฺนาทานาเวรมณี ฯ
    - คือ อย่าแย่งชิงลักลอบด้วยอำนาจของกายในหญิงที่ท่านหวงห้าม ตรงภาษาบาลีที่ว่า กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณีฯ

    ประพฤติดีด้วยวาจา 4 ประเภท
    ประพฤติดีด้วยวาจา 4 ประเภท (วจีกรรม 4 ประเภท) นั้นได้แก่

    - คือ ให้กล่าวแต่วาจาถ้อยคำที่สัตย์ที่จริง ให้เว้นจากวาจาที่เท็จไม่จริงเสีย ตรงกับภาษาบาลีที่ว่า มุสาวาทาเวรมณี ฯ
    - คือ ให้กล่าวแต่วาจาถ้อยคำอันสมานประสานสามัคคีให้ท่านดีต่อกัน ให้เว้นวาจาส่อเสียดยุยงเสีย ตรงกับภาษาบาลีที่ว่า ปิสุณายาวาจาเวรมณีฯ
    - คือ ให้กล่าวแต่วาจาถ้อยคำอันอ่อนโยน ให้เกิดความยินดีแก่ผู้ฟัง ให้งดเว้นวาจาที่หยาบคายขึ้นกูขึ้นมึง บริภาษตัดพ้อหยาบๆ คายๆ ให้ผู้ฟังได้รับความเดือดร้อนต่างๆ เสีย ตรงกับภาษาบาลีที่ว่า ผรุสฺสายวาจายเวรมณี ฯ
    - คือ ให้กล่าวแต่วาจาถ้อยคำที่เป็นไปกับด้วยประโยชน์ ให้เว้นวาจาที่เหลวไหล คือพูดเล่นหาประโยชน์มิได้เสีย ตรงกับภาษาลีที่ว่า สมฺผปฺปลาปาวาจายเวรมณี ฯ

    ประพฤติดีด้วยใจ 3 ประเภท
    ประพฤติดีด้วยใจ 3 ประเภท (มโนกรรม 3 ประเภท) นั้นคือ

    - คือ ให้ระวังเจตนากรรม ให้สัมประยุตต์ด้วยเมตตาอยู่เสมอ คือ ความดำริของใจ อย่าให้ลุอำนาจแห่งโลภะ คืออย่าเพ่งเอากิเลสกามและวัตถุกามของท่านผู้อื่น อันไม่สมควรแก่ฐานะของตน ตรงกับภาษาบาลีที่ว่า อนภิชฺฌา โหติฯ
    - คือ ให้ระวังเจตนากรรมให้สัมประยุตต์ด้วยกรุณาอยู่ทุกเมื่อ อย่าให้โทสะ พยาบาท เข้าครอบงำได้ ตรงกับภาษาบาลีที่ว่า อพฺพยาปาโท โหติฯ
    - คือ ให้ระวังเจตนากรรมให้สัมประยุตต์ด้วย มุทิตา อุเบกขา อยู่ทุกเมื่อ อย่าให้ไหลไปในทางผิด ให้เห็นตรงตามคลองธรรมทั้ง 10 นี้อยู่ทุกเมื่อ ตรงกับภาษาบาลีที่ว่า สมฺมทิฎฺฐิโก โหติฯ

    อ้างอิง
    พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ 12 พ.ศ. 2546
    พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท จันทร์) อัตตโนประวัติ ธรรมบรรยาย และ คิริมานนทสูตร ชมรมพุทธศาสน์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต 2531 ผู้พิมพ์ หจก. ป. สัมพันธ์พาณิชย์

    ข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org/
     
  5. มาร-

    มาร- เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    262
    ค่าพลัง:
    +487
    สาธุ สาธุ สาธุ

    ดีแล้ว ชอบแล้ว


    _____________________


    บุญกุศลเหล่าใดที่ข้าพเจ้าได้กระทำจัก จำได้ก็ดี จำไม่ได้ก็ดี ร้อยชาติก็ดี หมื่นชาติก็ดี อสงไขย์ชาติก็ อนันตชาติก็ดี


    ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมอำนาจพระพุทธคุณอันไม่มีประมาณแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ทั่วทั้งอนันตจักวาลที่มิได้มีประมาณ ทั้ง อดีต ปัจจุบัน และอนาคต โดยมี ภันเต ภควา องค์พระสิริมิตร องค์พระธรรมสามี พระธรรมราชา สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สิขี ทศพล ญาณที่1 สมเด็จองค์พระปฐม เป็นสมเด็จองค์พระประธาน แห่งองค์พระพุทธคุณ

    ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมอำนาจคุณพระธรรม พระสัจธรรมคำสอนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ อันไม่มีประมาณ เป็นองค์พระธรรมคุณ

    ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมอำนาจแห่งองค์พระปัจเจกพุทธคุณ แห่งองค์พระปัจเจกพุทธเจ้า ทุกๆพระองค์ ทั่วทั้งอนันตจักวาล ทุกกาล ทุกกัปป์ ทั้ง อดีต ปัจจุบัน และอนาคต เป็น องค์พระปัจเจกพุทธคุณ

    ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมอำนาจ แห่งคุณพระสงฆ์ พระสาวกแห่งพระผู้มีพระภาค องค์ภันเต ภควา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ทั่วทั้ง อนันตจักวาล อันไม่มีประมาณ อันหาที่สุด มิได้ เป็น พระสังฆคุณ

    ข้าพระพุทธขอน้อมอำนาจ คุณบิดา คุณมารดา พระอรหันต์แห่งบุตรของสรรพสัตว์ทั้งหลาย และของข้าพเจ้าทุกๆชาติ ทุกๆภพ ทุกๆภูมิ เป็น คุณแห่งบิดาและมารดา

    ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมอำนาจแห่งคุณพระอาจารย์ ทุกๆรูป ทุกๆนาม ทุกๆภพ ทุกๆภูมิ ตลอด อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ที่ได้ประสิทธิประสาท วิชา สั่งสอนในคุณความดี ตั้งมั่นใน มรรค มีองค์ 8 เป็น คุณแห่งครูบาอาจารย์

    ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมอำนาจแห่งคุณของ พระพรหม และเทพ เทวดา พระยายมราช ทุกรูป ทุกนาม ทุกๆชั้นฟ้า ทั้วทั้ง อนันตจักวาล สากลพิภพ อันไม่มีประมาณ จงร่วมกันบันดาล ปกป้องรักษาและอนุโมทนา

    ขออำนาจแห่งพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระปัจเจกพุทธคุณ พระสังฆคุณ คุณแห่งบิดา มารดา คุณแห่งครูบาอาจารย์ และ ทวยเทพเทวดาทั้ง โปรดดลบันให้....

    กุศลผลบุญ เหล่าใด ที่ข้าพระพุทธเจ้าได้ทำมา ได้บำเพ็ญมาโดยชอบ จำได้ก็ดี จำมิได้ก็ดี ข้าพระพุทธเจ้าขออุทิศกุศลเหล่านั้น แด่ สรรพสัตว์ทั้งหลาย ทุกรูป ทุกนาม ทุกภพ ทุกภูมิ ขอให้ได้ร่วมอนุโมทนา ขอให้มีส่วนร่วมในกองกุศลของข้าพเจ้า เพื่อยังผลให้ที่สุดแห่งกองทุกข์ จงหมดสิ้นไปด้วยเทอญ....
     

แชร์หน้านี้

Loading...