พระนิพพานไม่ใช่เป็นจิต ไม่ใช่เป็นเจตสิก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 3 กันยายน 2012.

  1. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ ไวพจน์ของนิพพาน......พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงซึ่งนิพพาน แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลายจงฟังข้อความนั้น..........ภิกษุทั้งหลาย นิพพานเป้นอย่างไรเล่า?..........ภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่ง ราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะอันใด.......ภิกษุทั้งหลาย อันนี้แลเราเรียกว่า นิพพาน----สฬา.สํ.18/452/741:cool:พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงซึ่ง อสังขตะ แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลายจงฟังข้อความนั้น ภิกษุทั้งหลาย อสังขตะเป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะอันใด ภิกษุทั้งหลาย นี้แล เราเรียกว่า อสังขตะ---------สฬา.สํ.18/441/674:cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2012
  2. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ณ.วันเวลาที่พระพุทะองค์ทรงตรัสรู้เองโดยชอบ(ตรัสว่ารู้)
    สำเร็จเป็นพระอรหันต์ เรียกว่าองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าเพราะตรัสรู้ได้ด้วยตนเองนั้น

    คือพระพุทธองค์ทรงบรรลุถึงพระนิพพานเพราะสิ้นตัณหาใช่หรือไม่?
    ถ้าพระพุทธองค์ไม่มีจิตที่เป็นธาตุรู้อยู่ในพระวรกายของพระองค์ด้วย
    พระพุทธองค์จะทรงรู้ได้ไงว่า พระองค์ได้ทรงตรัสว่ารู้แล้ว?

    การจะศึกษาธรรมะนั้น ควรตั้งอยู่บนเหตุและผล ที่ตริตรองตามความเป็นจริงได้
    ไม่ใช่เชื่อตำราอาจารย์ที่ว่าไว้ในภายหลังยังไง แบบงมงาย
    ไม่เคยนำมาพิจารณา เพื่อพิสูจน์ตามหลักที่พระพุทธองค์ทรงวางหลักเกณฑ์ไว้
    ก็รีบเชื่อเข้าไปได้ เพียงเพราะเป็นสิ่งที่มีคนเชื่อตามๆกันมาเท่านั้น

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  3. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘
    อุทายีสูตร
    สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์และท่านพระอุทายีอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนคร
    โกสัมพี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น ท่านพระอุทายีออกจากที่พักผ่อนแล้ว เข้าไปหาท่านพระ
    อานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว
    จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรท่านพระอานนท์ กายนี้
    พระผู้มีพระภาคตรัสบอกเปิดเผย ประกาแล้วโดยปริยายต่างๆ ว่า แม้เพราะเหตุนี้ กายนี้
    เป็นอนัตตาดังนี้ ฉันใด แม้วิญญาณนี้ ท่านอาจจะบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย
    จำแนก กระทำให้ตื้นว่า แม้เพราะเหตุนี้ วิญญาณนี้เป็นอนัตตา ฉันนั้นหรือ ฯ
    ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูกรท่านพระอุทายี กายนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสบอก เปิดเผย
    ประกาศแล้วโดยปริยายต่างๆ ว่า แม้เพราะเหตุนี้ กายนี้ เป็นอนัตตา ดังนี้ ฉันใด แม้วิญญาณนี้
    ผมอาจจะบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้งเปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้นว่า แม้เพราะเหตุนี้
    วิญญาณนี้เป็นอนัตตาฉันนั้น ฯ
    [๓๐๑] ดูกรท่านพระอุทายี จักษุวิญญาณย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปหรือ ฯ
    อุ. อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ ฯ
    อา. เหตุและปัจจัยที่อาศัยจักษุวิญญาณเกิดขึ้น พึงดับไปหมดสิ้น หาส่วนเหลือมิได้
    จักษุวิญญาณจะปรากฏบ้างหรือหนอ ฯ
    อุ. ไม่ปรากฏเลย ท่านผู้มีอายุ ฯ
    อา. แม้โดยปริยายนี้แล จักษุวิญญาณนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสบอกเปิดเผย ประกาศ
    แล้วว่า แม้เพราะเหตุนี้ วิญญาณนี้เป็นอนัตตา ดังนี้ ฯลฯดูกรท่านพระอุทายี มโนวิญญาณ
    ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์หรือ ฯ
    อุ. อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ ฯ
    อา. เหตุและปัจจัยที่อาศัยมโนวิญญาณเกิดขึ้น พึงดับไปหมดสิ้น หาส่วนเหลือมิได้
    มโนวิญญาณจะปรากฏบ้างหรือหนอ ฯ
    อุ. ไม่ปรากฏเลย ท่านผู้มีอายุ ฯ
    อา. ดูกรท่านผู้มีอายุ แม้โดยปริยายนี้แล มโนวิญญาณนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสบอก
    เปิดเผย ประกาศแล้วว่า แม้เพราะเหตุนี้ วิญญาณนี้เป็นอนัตตา ฯ
    [๓๐๒] ดูกรท่านพระอุทายี บุรุษต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้ ถือ
    เอาขวานอันคมเข้าไปสู่ป่า พบต้นกล้วยใหญ่ ตรง ใหม่ ไม่รุงรัง ในป่านั้น พึงตัดที่โคนต้นแล้ว
    ตัดที่ปลาย ครั้นแล้วลอกกาบอก แม้กระพี้ที่ต้นกล้วยนั้นก็ไม่พบ ที่ไหนจะพบแก่นได้ ฉันใด
    ดูกรท่านพระอุทายี ภิกษุจะพิจารณาหาตัวตนหรือสิ่งที่เป็นตัวตนในผัสสายตนะ ๖ ไม่ได้ ฉันนั้น
    เหมือนกัน เมื่อเล็งเห็นอยู่อย่างนี้ ก็ไม่ยึดถือสิ่งใดในโลก เมื่อไม่ยึดถือ ก็ไม่ดิ้นรน เมื่อไม่
    ดิ้นรน ก็ปรินิพพานโดยแน่แท้ ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ
    ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
     
  4. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระนิพพานไม่ใช่เป็นจิต, ไม่ใช่เป็นเจตสิกหรือสิ่งที่เกิดขึ้นกับจิต โดยอาศัยจิตนั้น, ไม่ใช่มีรูปร่าง, เป็นก้อน เป็นตัว อันเป็นประเภทรูปธรรม, ไม่ใช่บ้านเมือง ไม่ใช่ดวงดาว หรือดวงโลกในโลกใดโลกหนึ่ง, และยิ่งกว่านั้น พระนิพพานไม่ใช่สิ่งที่มีความเกิดขึ้นมา, ไม่ใช่สิ่งที่มีความดับลงไป, หรือทั้งเกิดและดับสลับกันไปในตัว, ไม่ใช่สิ่งที่มีความดับลงไป, หรือทั้งเกิดและดับสลับกันไปในตัว, แต่พระนิพพานเป็นสภาวะแห่งธรรมชาติชนิดหนึ่ง และเป็นสิ่งเดียวเท่านั้น ที่ไม่ต้องตั้งต้นการมีของตนขึ้นเหมือนสิ่งอื่นๆ แต่ก็มีอยู่ได้ตลอดไป และไม่รู้จักดับสูญ เพราะไม่มีเวลาดับหรือแม้แต่แปรปรวน.
     
  5. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    อชิตปัญหาที่ ๑
    [๔๒๕] อชิตมาณพทูลถามปัญหาว่า
    โลกคือหมู่สัตว์อันอะไรหุ้มห่อไว้ โลกย่อมไม่แจ่มแจ้งเพราะอะไร
    พระองค์ตรัสอะไรว่า เป็นเครื่องฉาบทาโลกไว้ อะไรเป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น ฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสพยากรณ์ว่า ดูกรอชิตะ
    โลกอันอวิชชาหุ้มห่อไว้ โลกไม่แจ่มแจ้งเพราะความตระหนี่(เพราะความประมาท)
    เรากล่าวตัณหา ว่าเป็นเครื่องฉาบทาโลกไว้ ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น ฯ
    อ. กระแสทั้งหลายย่อมไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง อะไรเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย
    ขอพระองค์จงตรัสบอกเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย กระแสทั้งหลายอันบัณฑิตย่อมปิดได้ด้วยธรรมอะไร ฯ
    พ. ดูกรอชิตะ สติเป็นเครื่องกั้นกระแสในโลก เรากล่าวสติว่าเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย
    กระแสเหล่านั้นอันบัณฑิตย่อมปิดได้ด้วยปัญญา ฯ
    อ. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ปัญญา สติ และนามรูป ธรรมทั้งหมดนี้ย่อมดับไป ณ ที่ไหน
    พระองค์อันข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอจงตรัสบอกปัญหาข้อนี้แก่ข้าพระองค์เถิด ฯ
    พ. ดูกรอชิตะ เราจะบอกปัญหาที่ท่านได้ถามแล้วแก่ท่าน นามและรูปย่อมดับไปไม่มีส่วนเหลือ ณ ที่ใด
    สติและปัญญานี้ย่อมดับไป ณ ที่นั้นเพราะความดับแห่งวิญญาณ ฯ

    อ. ชนเหล่าใดผู้มีธรรมอันพิจารณาเห็นแล้ว และชนเหล่าใดผู้ยังต้องศึกษาอยู่เป็นอันมากมีอยู่ในโลกนี้
    ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระองค์ผู้มีปัญญารักษาตน อันข้าพระองค์ทูลถามแล้ว
    ขอจงตรัสบอกความเป็นไปของชนเหล่านั้นแก่ข้าพระองค์เถิด ฯ
    พ. ภิกษุไม่กำหนัดยินดีในกามทั้งหลาย มีใจไม่ขุ่นมัว ฉลาดในธรรมทั้งปวง มีสติ พึงเว้นรอบ ฯ
    จบอชิตมาณวกปัญหาที่ ๑

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๓๙๖/๔๑๘
     
  6. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    เจตนาสูตร
    [๒๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่าขอความไม่เดือดร้อนจงเกิดขึ้นแก่เราเถิด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ความไม่เดือดร้อนเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลนี้ เป็นธรรมดา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่มีความเดือดร้อนไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอความปราโมทย์จงเกิดขึ้นแก่เราเถิด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ความปราโมทย์เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่มีความเดือดร้อนนี้ เป็นธรรมดา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความปราโมทย์ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอปีติจงเกิดขึ้นแก่เราเถิด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ปีติเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความปราโมทย์นี้ เป็นธรรมดา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีใจประกอบด้วยปีติไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอกายของเราจงสงบเถิด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กายของบุคคลผู้มีใจประกอบด้วยปีติสงบนี้ เป็นธรรมดา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีกายสงบแล้ว ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอเราจงเสวยสุขเถิด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีกายสงบแล้วเสวยสุขนี้เป็นธรรมดา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีสุข ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอจิตของเราจงตั้งมั่นเถิด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่จิตของบุคคลผู้มีสุขตั้งมั่นนี้ เป็นธรรมดา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอเราจงรู้จงเห็นตามเป็นจริงเถิด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วรู้เห็นตามเป็นจริงนี้เป็นธรรมดา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้รู้เห็นตามเป็นจริง ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอเราจงเบื่อหน่ายเถิด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้รู้เห็นตามเป็นจริงเบื่อหน่ายนี้ เป็นธรรมดา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เบื่อหน่าย ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่าขอเราจงคลายกำหนัดเถิด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้เบื่อหน่ายคลายกำหนัดนี้ เป็นธรรมดา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีจิตคลายกำหนัดแล้วไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอเราจงทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติญาณทัสนะเถิด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลคลายกำหนัดแล้วทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติญาณทัสนะนี้ เป็นธรรมดา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิราคะมีวิมุตติญาณทัสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ นิพพิทามีวิราคะเป็นผล มีวิราคะเป็นอานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทาเป็นผล
    มีนิพพิทาเป็นอานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสนะเป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิ
    เป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ความปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ ความไม่เดือดร้อนมีความปราโมทย์เป็นผล มีความปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ศีลที่เป็นกุศลมีความไม่
    เดือดร้อนเป็นผล มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์ ด้วยประการดังนี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลายธรรมทั้งหลายย่อมหลั่งไหลไปสู่ธรรมทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายย่อมยังธรรมทั้งหลายให้บริบูรณ์ เพื่อการถึงฝั่ง (คือนิพพาน) จากสถานอันมิใช่ฝั่ง (คือสังสารวัฏ) ด้วยประการฉะนี้แล ฯ


    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๒๘๙/๓๓๓
     
  7. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    ธรรมไม่เจือกับจิต เป็นไฉน?
    รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เจือกับจิต.
    จิต จะกล่าวว่าเจือกับจิตก็ไม่ได้ ว่าไม่เจือกับจิตก็ไม่ได้.
     

แชร์หน้านี้

Loading...